แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ที่พูดไปแล้วนี่เรื่องปัจจัยของสัมมาทิฐิ 2 ประการ คือ ปรโตโฆสะ โดยเฉพาะปรโตโฆสะที่มาช่วยโดยตรงเลย ตั้งใจมาช่วยมาให้ ปรโตโฆสะ ที่ดี คือ กัลยาณมิตร นี่เป็นปัจจัยภายนอก และอีกด้านหนึ่งก็คือปัจจัยภายในในตัวเองก็ความรู้จักคิดรู้จักพิจารณา เรียกว่า โยนิสงมนสิการ อันนี้ได้พูดไปพอสมควรแล้ว นี้ปรโตโฆสะ และโยนิสงมนสิการ นี้เป็นปัจจัยสัมมาทิฐิซึ่งเป็นองค์มรรคข้อที่ 1 เพราะฉะนั้นเป็นตัวนำเข้าสู่มรรค ทีนี้ตัวนำเข้าสู่มรรคนี้ ไม่ได้มีเฉพาะ 2 ตัวนี้ยังมีอีก 5 ตัว ก็เลยเอามาพูดซะให้ครบ สำหรับ 2 ตัวนี้เป็นพิเศษที่ว่า ทั้งเป็นปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิด้วย และเป็นตัวนำเข้าสู่มรรคด้วย ทีนี้ส่วนอีก 5 ตัวนั้นไม่ได้เป็นปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ แต่ว่าเป็นตัวนำเข้าสู่มรรคได้ ในแง่ที่อาจจะเป็นตัวกระตุ้น เป็นตัวช่วยให้เกิดความเอาจริงเอาจัง ทำให้เกิดคิดก้าวหน้า ทำให้เดินทางเข้ามาสู่มรรคได้ นี้ 5 ตัวนี้คืออะไรเพิ่มเข้ามา ก็แสดง ที่จริงมี 7ตัวน่ะ 7 ตัวคือรวมปัจจัยสัมมาทิฐิ 2 ตัวนี้ด้วย สำหรับ 2 ตัวนี้ ได้บอกแล้วว่า ปรโตโฆสะ กับโยนิโสมนสิการ นี้ปรโตโฆสะ นี่มันเป็นพวกพูดเป็นกลาง ๆ ปรโตโฆสะ หมายถึง ที่ดีที่ถูกต้องหมายถึงเป็นปัจจัยของสัมมาทิฏฐิพูดเป็นหลักการ ที่นี้ในแง่ที่ว่าจะมาเป็นตัวนำเข้ามรรคนี้ต้องตั้งใจเลย นั้น ปรโตโฆสะ ในแง่ที่ว่าเป็นตัวนำเข้าสู่มรรคนี่ ต้องออกมาในรูปที่เป็นกัลยาณมิตรที่พูดไปแล้ว ตอนที่แล้วมาพูด ปรโตโฆสะ พันไปกับ กัลยาณมิตร ก็คิดว่าแยกได้น่ะ ปรโตโฆสะ นี่เป็นตัวเสียงบอกจากผู้อื่น ที่นี้เสียงบอกจะมายังไง ก็ต้องมีตัวผู้บอก ตัวผู้บอกที่ตั้งใจบอก ก็มาทำหน้าที่ได้เมตตาความปรารถนาดีนั่นแหละ ผู้ทำหน้าที่เรียกว่ากัลยาณมิตร ที่นี้ถ้าเราพูดว่าปัจจัยแห่งสัมมาทิฎฐิ เราก็พูดแค่หลักการว่าปรโตโฆสะ ที่ดีที่ถูกต้อง แต่นี่ถ้ามานำเข้ามรรคนี่ต้องตั้งใจทำหน้าที่เลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราก็เลยใช้คำว่ากัลยาณมิตร ตกลงว่าในตัวนำเข้าสู่มรรคนี้ก็ปรโตโฆสะ ที่เป็นปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ก็เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าเป็น กัลยาณมิตรปัตตา ความมีกัลยาณมิตร ส่วนโยนิโสมนสิการก็คงเดิมเป็นปัจจัยภายใน ไปเป็นนี้มี 2 ตัวนี้ไปเป็นตัวหัวกับตัวท้ายในชุดนำเข้าสู่มรรคที่ว่ามี 7 ตัวเพิ่มอีก 5 ตัว ก็เอาปรโตโฆสะที่ว่าเป็นกัลยาณมิตรเนี่ยไปเป็นไปเป็นข้อที่ 1 ใน 7 ข้อนั้น แล้วเอาโยนิสงมนสิการไปเป็นข้อสุดท้าย เป็นที่ 7 ก็เติมเข้ามาข้างใน 5 ข้อ พอเติมเข้ามาครบ 5 ข้อ เป็นชุด 7 เนี่ยเราก็เรียกซะว่า เป็นตัวนำเข้าสู่มรรค ตัวนำเข้าสู่มรรคภาษาพระท่านเรียก เป็นบุพพนิมิตรแห่งการเกิดขึ้นของมรรค บุพพนิมิต ก็แปลว่าอะไร แปลว่าเครื่องหมายนำหน้าสิ่งที่บอกให้รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น นี่เรียกว่า บุพพนิมิต บุพพาแปลว่าก่อ นิมิตแปลว่าเครื่องหมาย ถ้าเป็นทางไม่ดีเราเรียกว่า ลาง ใช่ไหม ลางร้าย อันนี้เป็นลางดี ลางดีเขาไม่ใช้ ก็ต้องเรียกว่าเป็นเครื่องหมายบอกถึงการที่จะเกิดมีขึ้นของสิ่งที่จะตามมา บุพพนิมิตร บุพพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นมรรค ก็หมายความว่าก่อนมรรคจะเกิดขึ้นก็จะมีเจ้า 7 ตัวนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นพอเกิดขึ้นก็บอกให้รู้ว่าอ้อ ต่อไปมรรคจะมีแล้วนะ ทีนี้ถ้าเรียกอีกอย่างเราเรียกว่ามรรค มรรคนี่ก็คือศีลสมาธิปัญญา ซึ่งเป็นระบบไตรสิกขา ถ้าเรามองแง่ไตรสิขา เจ้า 7 ตัวนี้ เราก็เรียกชื่อว่ารุ่งอรุณของการศึกษา รุ่งอรุณก็บุพพนิมิตร มันก็เป็นความหมายคล้าย ๆ กัน ที่นี้เราไปดูหลักในหลักพุทธพจน์เลย ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 ตอนต้น ๆ พอเริ่มก็มาเรื่องนี้เลย ซึ่งหลักธรรม 7 ข้อเนี่ยแปลกที่ถูกมองข้ามไปหมด ซึ่งสำคัญมากเรารู้ความสำคัญของมรรคแต่เราไม่ค่อยพูดถึงตัวนำเข้าสู่มรรค ทีนี้เจ้า 7 ตัวนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งได้ทั้งนั้นเป็นตัวที่เกิดขึ้นมีก็เป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่ามรรคจะตามมา นี่พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้บอกไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายเหมือนอย่างว่า เมื่อพระอาทิตย์จะอุทัยก็มีแสงเงินแสงทองหรือจะเรียกแสงอรุณก็ได้ ปรากฎขึ้นก่อนฉันใด ทำที่ว่า 7 ข้อนี้ ก็เป็นบุพพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของมรรคฉันนั้น ว่างั้นน่ะ นี่ก็แสดงว่าธรรมะ 7 ข้อนี้เป็นเครื่องบ่งบอกการเกิดขึ้นของมรรคเป็นตัวนำเข้าสู่มรรคเหมือนอย่างกับเป็นแสงเงินแสงทองที่มีมาก่อนที่พระอาทิตย์จะอุทัย แสงเงินแสงทองนี่เราเรียกก็อีกอย่างว่าแสงอรุณ ใช่ไหม ที่นี้ 7 อย่าง ก็หนึ่งก็กัลยาณมิตตตา เป็นผู้มีกัลยาณมิตร แล้ว 2 ข้อ 2 นี้เติมเข้ามาแล้วนะ ที่ว่าอีก 5 ข้อ 2 นี่ก็เรียกเป็นภาษาบาลีว่า สีลวีสัมปทาน อาจจะยากสักหน่อย ชื่อบาลีไม่ต้องจำก็ได้ เอาเป็นว่าความถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยศีลก็เคยพูดแล้ว ศีลคือ การที่เป็นผู้มีวินัยนั่นเอง พูดภาษาปัจจุบัน ศีลก็คือความมีวินัยหรือการตั้งอยู่ในวินัย แล้วก็ 3 ก็ ฉันทสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ ฉันทะก็พูดไปแล้วนะ ฉันทะอธิบายมาเยอะเลย เป็นตัวตรงข้ามกับตัณหา ฉันทะก็ความใฝ่รู้และใฝ่ดี หรือฝ่ายศึกษา หรือฝ่ายสร้างสรรค์ ฝ่ายรู้ ใฝ่ดี ใฝ่ศึกษา ฝ่ายสร้างสรรค์ ฉันทะ ต่อไปอัตตสัมปทา ศัพท์นี้แปลกที่อื่นแทบไม่มีเลย เพราะฉะนั้นโดยทั่วไปจะไม่รู้จักธรรมะข้อนี้ อัตตสัมปทาแปลว่าการทำตนให้ถึงพร้อม การทำตนให้ถึงพร้อม ในคาถาท่านอธิบายว่าได้แก่การทำจิตให้ถึงพร้อม แล้วเดี๋ยวจะอธิบายต่อไป ทำตนให้ถึงพร้อมนี่ จะพูดง่าย ๆ ว่า จิตสำนึกในการฝึกตน
ต่อไปก็ ทิฎฐิสัมปทาความถึงพร้อมด้วยทิฐิหมายความว่า มีความเชื่อ แนวความคิด การยึดถือหลักการถูกต้องที่เอื้อต่อการเจริญปัญญาต่อไป หรือเอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของตน ต่อไปก็ อัปปมาทสัมปทา แปลว่าความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็คือการที่ดำเนินชีวิตโดยมีสติ เป็นผู้ตื่นตัวทันต่อเหตุการณ์ไม่ปล่อยปละละเลย ไม่เฉื่อยชา ไม่ทอดทิ้งหน้าที่ เป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของกาลเวลา มีความกระตือรือร้นเร่งรัดเอาใจใส่ในการที่จะพัฒนาชีวิตของตนเอง แล้วไปข้อสุดท้ายข้อ 7 โยนิโสมนสิการสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการซึ่งอยู่ในปัจจัยสัมมาทิฎฐิ ที่บอกเมื่อกี้ว่าปัจจัยสัมมาทิฎฐิมาเป็นข้อ 1 กับข้อ 7 หัวกับท้ายขบวน ตรงกลางก็เติมเข้ามา 5 ข้อ พระพุทธเจ้าตรัสให้ความสำคัญทั้ง 7 ข้อ เป็นทำนองว่า ตัวใดก็ได้ให้มีสักตัวแหละจะเป็นบุพพนิมิตรแห่งการเกิดขึ้นของมรรคได้เลย นี้ธรรมะ 7 ข้อทุกข้อนี่สำคัญอย่างยิ่งเพราะฉะนั้นเราควรจะมาช่วยกันเน้นให้คนเห็นความสำคัญมากขึ้น เพราะว่าคนอยู่ ๆ จะเข้ามรรคทันทีเนี่ย มันไปไม่ได้ มันต้องมีคนที่มานำหรือมีคุณสมบัติอะไรในตัวนี่มาช่วย ก็หมายความว่าปัจจัยภายนอกอย่างหนึ่งปัจจัยภายในอย่างหนึ่งมาช่วยใน 7 ตัวนี่แหละ จะเป็นตัวนำเข้าสู่มรรค เราไปพูดถึงความสำคัญของมรรค ก็ยอมรับว่ามรรคสำคัญ ทำอย่างไรเข้ามรรคได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องอาศัย 7 ตัวนี้
ทีนี้ก็มาอธิบายโดยย่อใน 7 ข้อนี้อีกครั้งหนึ่ง สำหรับข้อ 1 กัลยณมิตรตัตตา ก็เรียกง่าย ๆ ภาษาไทยก็ความมีกัลยาณมิตร นี้เรื่องของกัลยาณมิตรนี่ เคยพูดไว้แล้วว่าใครก็ตามที่จะมาช่วยแนะนำบอกกล่าวให้ความรู้ความเข้าใจให้ข่าวสารข้อมูลหรือเป็นเสียงบอกที่ดีงาม ให้ความรู้ที่ถูกต้อง เราก็เรียกกัลยาณมิตร กัลยาณมิตรตัวอย่างก็พระพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เราเป็นกัลยาณมิตรของสัตว์ทั้งหลาย อาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตรสัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดแก่เจ็บตายตกอยู่ใต้อำนาจของโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็พ้นจากทุกข์เหล่านั้นได้ ทีนี้ก็มี ต่อจากนั้นก็มีพระภิกษุทั้งหลาย พระสงฆ์ทำหน้าที่อนุมัติตาพระพุทธเจ้าก็เท่ากับเป็นกัลยาณมิตรของประชาชน แล้วก็พ่อแม่ในครอบครัวและครูอาจารย์ แล้วก็สื่อมวลชน และผู้บริหารสังคมประเทศชาติ และทุกคนที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน อันเนี้ยแม้แต่เรื่องของวัฒนธรรมต่าง ๆ นี้ก็เป็น ปรโตโฆสะที่กัลยาณมิตรจะเอามาให้แก่กัน ซึ่งเราจะถ่ายทอดให้แก่กันโดยไม่รู้ตัว เช่นพ่อแม่ครูอาจารย์จะถ่ายทอดวัฒนธรรม วัฒนาธรรมนั้นโดยมากไม่ใช่ทั้งหมดนะ โดยมากจะเป็นสิ่งที่สังคมได้ยอมรับและก็เป็นประโยชน์ดีงาม แต่บางครั้งวัฒนธรรมนั้นก็อาจจะมีข้อบกพร่องแล้วก็เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปวัฒนธรรมนั้นก็อาจเกิดโทษได้เหมือนกัน ฉะนั้นวัฒนธรรมนั้นก็พูดได้ทั่ว ๆ ไปว่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะนำมาถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลังที่จะทำให้เขาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ แต่ก็ไม่ถึงเป็นหลักประกันแท้ทีเดียว ฉะนั้นจึงต้องให้วัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมจะต้องได้รับการตรวจสอบหลักธรรม ที่เป็นของแท้ของจริงอีกชั้นหนึ่ง วัฒนาธรรมไทยได้จากพุทธศาสนาเยอะแต่ก็เพี้ยนเยอะ อย่างเรื่องของการที่ว่าให้เรียนหนังสือได้มานะ เป็นต้น นี่ถือว่าเพี้ยนแล้วแล้ว คนไทยก็นึกว่ามานะเป็นดีไปเลย มานะเป็นขยันหมั่นเพียร อย่างงี้เป็นต้น มีเยอะที่เพี้ยนไป แม้แต่เรื่องของน้ำใจ เรื่องของเมตตากรุณาที่เราเคยพูดกันไปเยอะแล้ว และนาน ๆ ก็จะต้องมาตรวจสอบกันอีกทีหนึ่ง และทีนี้เรื่องกัลยาณมิตรนี้ขอแบ่งเป็น 3 ชั้น 1 ก็คือการที่ผู้อื่นนี่มาตั้งใจเป็นกัลยาณมิตรให้แก่คนนั้น เช่นเด็ก อย่างเด็กหรือลูก พ่อแม่ก็มาตั้งใจทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร อยากให้ลูกมีความสุขมีความเจริญพ่อแม่ก็เป็นกัลยาณมิตรมาตั้งใจเลี้ยงดู มาตั้งใจสั่งสอน หรือไปโรงเรียนครูอาจารย์ก็ตั้งใจเป็นกัลยาณมิตร พระสงฆ์ก็ตั้งใจทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นกัลยาณมิตรโดยผู้อื่นพยายามทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้ 2 ก็คือตัวบุคคลนั้นเอง เช่นเด็ก รู้จักเลือกหากัลยาณมิตรไปหาเอง อยากคบ อยากจะไปปรึกษาอย่างว่า ตัวเองนี่มีความใฝ่รู้ขึ้นมาแล้ว อยากรู้อะไรก็ไปหาพ่อแม่ ไปถามครูอาจารย์ ไปถามท่านผู้รู้หรือแม้แต่ไปเข้าห้องสมุดไปหาหนังสืออ่าน เด็กที่เลือกอ่านหนังสือ อยากอ่านหนังสือ ชอบอ่านหนังสือนี้ก็แสดงว่าเป็นคนที่รู้จักหากัลยาณมิตร อันนี้เป็นตัวเด็กเองหรือตัวคนนั้นเองที่ไปหากัลยาณมิตร หาแหล่งความรู้หรือรู้จักเลือกหาแบบอย่างที่ดี อย่างว่าดูโทรทัศน์ก็รู้จักเลือกรายการที่ดีดู แล้วก็รู้จักเอาอย่างคนที่เขาดีอย่างนี้เรียกว่า เด็กนี่ไปคบกัลยาณมิตร รู้จักเลือกอ่านหนังสือ หาหนังสือดี ๆ อ่าน ดูโทรทัศน์รู้จักเลือกรายการดี ๆ ให้ความรู้และก็เอาอย่างคนที่เขาดี อย่างนี้แสดงว่าเด็กรู้จักเลือกคบกัลยาณมิตรนี่ 2 แล้ว แล้วก็ 3. คือเด็กเป็นกัลยาณมิตรของผู้อื่น ไปช่วยคนอื่น ไปเป็นมิตรที่ดีแก่พวก ๆ ของตนเอง แก่เด็ก ๆ นักเรียนด้วยกัน ไปช่วยแนะนำเขาให้ความรู้แก่เขา เป็นต้น นี่ 3 ขั้นแล้วนะ กัลยาณมิตร 1.กัลยาณมิตรคนอื่นมาทำกัลยาณมิตรให้ 2. ตัวเองรู้จักคบกัลยาณมิตรหากัลยาณมิตร 3. ตัวเองเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ผู้อื่น ในกรณีนี้ความมีกัลยาณมิตรที่ท่านประสงค์ที่ว่าจะเป็นบุพพนิมิตแห่งมรรคหรือเป็นรุ่งอรุณของการศึกษานี้หมายถึงข้อ 2 เป็นต้นไป ต้องข้อ 2. ถ้าเป็นข้อ 1. ยังไม่เข้าหลักการนี้ ก็คนอื่นไปเป็นกัลยาณมิตรให้แต่ตัวเองอาจจะยังไม่เอาด้วยก็ได้ใช่ไหม อันนั้นยังเป็นหลักประกันไม่ได้ว่ามรรคจะมาหรอก ถ้าเด็กได้แค่ว่ามีคนอื่นเป็นกัลยาณมิตร พ่อแม่ก็ดีพยามตั้งใจ ครูอาจารย์ก็ตั้งใจสั่งสอนแนะนำ แต่ก็เด็กก็ยังไม่เอาด้วยถ้าอย่างนี้ถือว่ายังไม่เข้าคุณสมบัตินี้ ต้องได้ขั้นที่สองก็คือเด็กเอง นี่รู้จักเลือกหากัลยาณมิตรเป็นคนที่คบกัลยาณมิตรมิตร ถ้าอย่างนี้แล้วจึงจะถือว่าเป็นบุพพนิมิตแห่งมรรค และก็มรรคจะเกิดแน่นอน เพราะเด็กเอาทีนี้ ต่อจากนั้นก็คือเด็กเมื่อเป็นผู้ที่รู้จักเลือกหากัลยาณมิตร ตัวเองมีคุณสมบัติดีก็จะไปเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ผู้อื่นต่อไป
เรื่องกัลยาณมิตรนี่ก็ได้พูดมาเยอะตอนว่าด้วยปัจจัยสมาธิ ผมคิดว่าผ่านไปได้ อันนี้ก็เป็นข้อที่สองก็คือศีลและสัมปทานถึงพร้อมด้วยศีล ก็บอกแล้วว่าศีลนั้นในภาษาพระถ้าพูดกันอย่างเคร่งครัดเป็นคุณสมบัติที่ตัวคน แต่ภาษาไทยนี่เอามาใช้เป็นภาษาชาวบ้านหมายถึงข้อปฏิบัติหรือข้อบัญญัติให้ปฏิบัติ เช่นอย่างศีล 227 ของพระนี่ ที่จริงไม่ใช่ศีล 227 ชื่อจริงคือ สิกขาบท ใช่ไหม สิกขาบทก็คือข้อฝึกหรือข้อศึกษา ที่นี้เมื่อเราไปปฏิบัติตาม ข้อฝึกข้อศึกษานั้นแล้วเราจึงเป็นผู้มีศีล ถ้าหากว่าไม่ปฏิบัติตาม สิกขาบทมันก็เป็นข้อฝึกอยู่อย่างงั้น ข้างนอกตัวเอง เพราะฉะนั้นเมื่อใช้ให้ถูกต้องตามความหมายแท้จริงก็เป็นอันว่า ศีลนี้ต้องมาเป็นคุณสมบัติที่ตัวคน ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามสิกขาบทตั้งอยู่ในวินัย สิกขาบททั้งหลายนี่ข้อฝึกทั้งหลายรวมกันเรียกว่า เป็นวินัย วินัยนั้นก็เป็นตัวประมวลสิกขาบท ประมวลระเบียบกฏเกณฑ์กติกาทั้งหมด ของพระก็วินัยประกอบด้วยสิกขาบท 227 ข้อ เฉพาะในปาฏิโมกข์ และมีสิกขาบทนอกปาฎิโมกข์ต่างหาก อันนี้เมื่อเราตั้งอยู่ในวินัยนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีศีล ศีลก็อยู่ที่ตัวคนและเป็นการฝึกตัวเองให้ตั้งอยู่ในวินัยนั้น ทีนี้วินัยกับศีลก็เป็นอันว่าคู่กัน วินัยอยู่ข้างนอกศีลอยู่ในตัวคน ถ้ามันยังเป็นวินัยเป็นสิกขาบทเป็นข้อฝึกอยู่ มันก็ยังไม่เข้าเป็นองค์บุพพนิมิตรของมรรค ใช่ไหม ต้องเด็กปฏิบัติตั้งอยู่ในวินัยเป็นผู้มีศีลนี่จริงเรียกว่าเป็นบุพพนิมิตรของมรรค แบบเดียวกับกัลยาณมิตรเมื่อกี้ เอาตัวคนข้างนอกเข้ามาทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้ เขามาสั่งสอนมาแนะนำแต่เด็กยังไม่เอายังใช้ไม่ได้ ยังไม่เป็นบุพพนิมิตรของมรรค ต้องเด็กเอา เป็นผู้คบกัลยาณมิตร ข้อ 2 ก็เช่นเดียวกัน เป็นวินัยเป็นสิกขาบทอยู่ข้างนอก เด็กยังไม่เอา มันก็ยังไม่เอาก็ยังไม่เป็นบุพพนิมิตรของมรรค ตัองเด็กเอาก็เกิดศีลขึ้นมา เอาล่ะ ทีนี้ราไปมองดูวินัยกันอีกทีหนึ่ง วินัยนี่บอกแล้วว่าเป็นประมวลสิกขาบทก็เป็นพวก หนึ่งก็คือการจัดวางระบบการจัดระเบียบชีวิตว่าเราจะอยู่กันยังไง จะตื่นนอนเมื่อไหร่ จะไปรับประทานข้าวเวลาไหน ไปโรงเรียนเวลาไหน การจัดวางระบบ ที่นี้เพื่อจะให้มันจดจำได้ง่าย แล้วมีข้อมายืนยันเป็นหลักฐานอ้างอิง เป็นต้น จำได้ง่ายไปเขียนขึ้น
ตกลงกันจัดวางยังไงก็มาเขียนขึ้นเป็นข้อกำหนดนี่ก็เป็นวินัยเหมือนกัน ตกลงวินัย 2 ความหมายแล้วน่ะ 1. การจัดวางระเบียบระบบระเบียบความเป็นอยู่ระบบของสังคมกิจการสังคมจะเอายังไงจะอยู่กันยังไง อย่างนี้นะการจัดวางนี้เรียกวินัย 2. ก็ตัวข้อกำหนดที่มาเขียนมาวางกันขึ้นสำหรับหมายรู้ สำหรับเป็นหลักฐานอ้างอิง สำหรับจดจำได้ว่า เอาอย่างนี้นะจัดวางไว้มันอย่างนี้นะ นึกว่าเป็นวินัยข้อในความหมายที่ 2 3.การฝึกให้คนหรือควบคุมดูแลให้คนปฏิบัติไปตามนี้ เป็นไปตามข้อกำหนดกฎเกณฑ์ระเบียบที่วางไว้แล้ว นี่ก็เรียกว่า วินัย ตกลงได้ 3 ความหมายแล้วน่ะ วินัยความหมายที่ หนึ่ง ก็ตัวการจัดวางระบบระเบียบ สอง ก็คือข้อกำหนดมาเทียบได้กับคำว่ากฎหมาย กฎหมายนี่ก็เป็นวินัยในความหมายที่ 2 และ สาม การดูแล การฝึกคนให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อกำหนดนั้น อันนี้ได้แก่อะไร ได้แก่การปกครอง ถูกไหม เพราะฉะนั้นวินัยนี้ความหมายกว้างการปกครองและกฎหมายคู่กัน คนจะปกครองได้ก็ต้องมีกฎเกณฑ์กติกา กฎหมายเป็นเครื่องมือ ใช่ไหม กฎหมายมีไว้เรามาดูแลคนให้ปฏิบัติตามควบคุมตามให้เป็นไปตามนั้นฝึกคนให้ปฏิบัติตามนั้น ก็เรียกว่าเป็นการปกครองก็เป็นวินัยต้องใช้กฎหมายใช่ไหมวินัย การปกครองก็อาศัยกฎหมายใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ การปกครองที่พระพุทธเจ้าต้องการก็คือ การปกครองโดยโดยฝึกคนและช่วยคนให้ฝึก โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือฝึกทำให้คนได้ฝึกฝนพัฒนาตน มองกฎหมายนี่เป็นเครื่องมือฝึกตัวจะได้ไม่รู้สึกบังคับบีบคั้นกัน ก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายบัญญัติเพื่ออะไร เพื่อประโยชน์ร่วมกันความอยู่ดีเพื่อชีวิตที่ดีงามสังคมที่ดีงามน่ะ เมื่อเห็นคุณค่าประโยชน์ ตั้งใจปฎิบัติตามการฝึกคนมีใจยินดีสุขภาพจิตสุขภาพจิตดี แต่ถ้าการปกครองเป็นการบังคับคนให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้าอย่างนี้แล้วสุขภาพจิตเสีย แล้วจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งในใจอาจจะเป็นปฏิปักษ์คิดจะละเมิดอยู่เรื่อย การปกครองแบบนี้จะใช้อำนาจต้องบังคับกัน ก็ต้องเน้นการลงโทษ ที่นี้ในพุทธศาสนานี้ท่านให้มองวินัยนี่เป็นเครื่องฝึก ก็การปกครองก็จะป็นการศึกษา ก็คือเป็นการที่ว่าดูแลให้เขาได้ฝึกตนพัฒนาตนเองขึ้นไป การปกครองที่ดีในความหมายพระพุทธศาสนาเป็นการที่ช่วยให้คนฝึกฝนพัฒนาตน ถ้าการปกครองกลายเป็นการบังคับควบคุมใช้อำนาจก็แสดงว่าเป็นการปกครองที่ไม่ได้ผลดีไม่ตรงตามความหมายในพุทธศาสนา ปัจจุบันนี้เราจะเห็นว่าการปกครองนั้นอาจจะมาเน้นในแง่ของการใช้อำนาจมาก
เอาละครับอันนี้คือวินัย ได้ความหมาย 3 อย่าง ทีนี้ วินัยนี่เพื่อจะให้มองเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่ดีงาม มีปัญญาเข้าใจแล้วจะได้ฝึกฝนตนตนเองต้องมองวินัยว่าไม่ใช่การบังคับ วินัยก็เป็นเครื่องฝึกคนอย่างที่ว่า แล้วนอกจากเป็นเครื่องฝึกคนแล้วมันมีความหมายลึกลงไปอีก ก็คือว่ามันเป็นเครื่องจัดสรรโอกาส วินัยเป็นเครื่องจัดสรรโอกาส ทำไมถึงเป็นเครื่องจัดสรรโอกาส ยกตัวอย่างบ่อย ๆ เอาง่าย ๆ ในบ้านของเราหรือในที่อยู่ในศาลาเนี้ย ลองไม่มีวินัย ไม่มีการจัดวางระเบียบระบบไม่ว่าคนก็ตาม สิ่งของวัตถุก็ตาม ยกตัวอย่าง เก้าอี้ โต๊ะ เป็นต้น เราไม่จัดระเบียบระบบโดยมีความมุ่งหมาย ตั้งทิ้งเกะกะ ๆ ไปหมด สมมุติว่ามีเก้าอี้สัก 25 ตัวนี่ เกะกะไปหมด ไม่มีความมุ่งหมายว่ามันจะอยู่ที่ไหน ไม่มีการจัดระเบียบระบบ เต็มไปหมดนี่ เราจะทำอะไรไม่สะดวกเลยในศาลานี้ แค่เดินออกไปจะเดินจากนี่ไปถึงประตูเตะโดนชนเก้าอี้ กว่าจะไปถึงประตูได้นี่เจ็บด้วย แล้วก็เสียเวลาด้วย หลายนาทีจะถึง ทีนี้ถ้าเราจัดระเบียบระบบ เราก็รู้ความมุ่งหมายว่า เราจะให้อยู่ดีตรงนี้ มีช่องว่างจะทำงาน อย่างงั้นอย่างงี้ เก้าอี้นี่มาอยู่ที่นี่ คนจะนั่งได้สดวก อะไรอย่างนี้มีจุดมุ่งหมายเกิดขึ้นแล้วก็จัดระเบียบระบบให้สนองความมุ่งหมายนั้น ตอนนี้เรารู้เลยว่าให้ไอ้ส่วนนี้เป็นทางเดินจะต้องไปที่ประตู เราก็ไม่วาง เวลาจะเดินทางจากจุดนี้ไปที่ประตู เดืนปรู้ดเดียวถึงเลยใช่ไหม นี่วินัยเป็นการจัดสรรโอกาสทำให้ชีวิตและกิจการของสังคมดำเนินไปด้วยดี ถ้าลงไม่มีวินัยติดขัดวุ่นวายไปหมด ยิ่งงานอะไรที่มันมีความสำคัญ แล้วก็ต้องการความรวดเร็วเป็นต้นประสิทธิภาพความฉับไว วินัยจะเข้ามาอย่างเต็มที่เลยอย่างหมอ หมอจะผ่าตัดนี่ความเป็นความตายของคนไข้ ถ้าทำอะไรเสียเวลานิดเดียว อาจจะไม่ทันกาลใช่ไหม เพราะฉะนั้นเขาจะต้องมีการวางวินัยกันอย่างละเอียดถี่ถ้วนเลย เช่นว่าพยาบาลที่ส่งเครื่องมือให้หมอ จะต้องมีลำดับแน่นอนเลยจนกระทั่ง หมอนี่ไม่ต้องดู พอใช้อันนี้เสร็จอันนั้นต่ออันนั้นต่อ ๆ ไปใช่ไหม ถ้าลองส่งเครื่องมือผิด นี่ไม่แน่คนไข้อาจตายเลยก็ได้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น วินัยนี่คือการจัดระเบียบระบบเพื่อให้การทำกิจการงานนั้นสำเร็จผลด้วยดี คือการจัดสรรโอกาส เพราะฉะนั้นสำคัญอย่างยิ่ง นี่เราจะเห็นได้ในกรณี หมอผ่าตัดซึ่งทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามระเบียบที่วางไว้อย่างแน่นอนและฉับไว มัวไปวางเครื่องมือไว้ 20 ชิ้นเต็มไปหมด พอหมอจะเอา หยิบเหยิบเลือกดูกว่าจะได้ก็พอดีคนไข้ตาย เพราะฉะนั้นสำคัญมากวินัย หรืออย่างทหารไปรบใช่ไหม ลองไม่มีวินัยสิ อาจจะพาให้กองทัพทั้งกองนั้นถึงกับความพินาจตายกันเป็นร้อย เป็นพันเลย เพราะฉะนั้น ยิ่งสิ่งที่ทำนี้ต้องฉับไวความแม่นยำ วินัยยิ่งต้องเข้ามา อันนั้นในสังคมทั้งหมดก็เช่นเดียวกัน ถ้าอะไรต่ออะไรไม่เป็นระเบียบระส่ำระสายวุ่นวายไปหมด กิจการอะไรต่ออะไรทำไม่สำเร็จ ไม่เป็นไปด้วยดี ก็แค่ในท้องถนนไม่มีวินัยการจัดระบบระเบียบในการเดินรถไม่ดี หนึ่ง เราต้องมีไฟแดงไฟเขียว ก็เพราะว่าต้องการวินัย เมื่อมีวินัยปั๊บเกิดโอกาสเลยใช่ไหมถ้าไม่งั้นรถ รถเมล์ 50,000 คัน หรือ 1,000 คัน นี้ไปไม่ได้สักคันหนึ่งติดหมด พอจัดให้มีวินัยขึ้นมาให้มีไฟเขียวไฟแดง ฝ่ายไหนหยุดฝ่ายไหนไป มันก็ไปได้เลย เพราะฉะนั้นทำให้เกิดโอกาสในการที่กิจการของชีวิตและสังคมจะดำเนินไปได้ ยิ่งถ้ามีวินัยดีในท้องถนนนี้ แทนที่รถจะติดหรือติดแทนที่ติดมากไปไม่ได้เลย ก็ยังมีทางไปได้ ฉะนั้นวินัยจะช่วยสังคมเป็นอย่างมากสังคมไหนที่ไม่มีวินัยสังคมนั้นจะติดขัด อะไรต่ออะไรไม่คล่องตัวไม่เป็นไปด้วยดี หรือวินัยที่มองออกไปให้เห็นกว้างขึ้นก็คือความระส่ำระสายในสังคม ถ้าคนไม่ประพฤติตามหลักในการเป็นอยู่ร่วมกันให้ดีละเมิดต่อชีวิตทรัพย์สินกันไปไหนก็ไม่ปลอดภัยคนก็เกิดความหวาดระแวง จะไปถนนนั้น เอ้ถิ่นนี้ไม่ได้น่ะ มีโจรผู้ร้ายเยอะเกิดมีกิจการต้องทำธุระต้องทำ ไม่กล้าไป เสียงานเสียการ หรือว่าไปได้เฉพาะในเวลากลางวันกลางคืนไปไม่ได้ เอาอีกก็ทำให้เกิดความติดขัดในสังคม นี่ถ้าหากว่ามีวินัยดี คนตั้งใจประพฤติตามกติกาสังคม ก็อยู่ในความเป็นระเบียบเรียบร้อยดำเนินกิจการอะไรต่ออะไรไปได้ดีหมด จะไปไหน ธุระที่ถนนไหน เวลาไหนไปได้หมด กลางค่ำกลางคืนไม่ต้องกลัวไปได้หมด อย่างนี้สังคมอยู่ร่มเย็นเป็นสุขกิจการดำเนินไปด้วยดี นี่ถ้ามันเกิดความติดขัดอย่างที่ว่า ถิ่นนี้ไปไม่ได้ถิ่นนั้น หรือไปไม่ได้เวลานั้น ธุรกิจการงานเสียเศรฐกิจก็ไม่เจริญงอกงามเกิดความเสียหายกับเศรฐกิจทันทีเลย ใช่ไหม เอ้อนั่นแหละวินัยคือ การจัดสรรโอกาสที่เรามีวินัยขึ้นก็เพื่อจัดสรรโอกาส ฉะนั้นวินัยเป็นเบื้องต้นเลย ชีวิตของคนสังคมนี่จะดำเนินไปด้วยดีต้องวางฐานก่อนจัดอันนี้ให้ดี จัดสรรโอกาสสภาพความสัมพันธ์ในสังคมหรือว่าระเบียบชีวิตของตัวเองให้มันดีเสียก่อน พอได้อันนี้แล้วโอกาสเกิดขึ้น ทีนี้แหละการพัฒนาชีวิตการดำเนินกิจการไปได้ ฉะนั้นท่านจึงวางเรื่องศีลไว้เป็นข้อที่สอง ใช่ไหม ต้องอยู่ตอนต้น ๆ แล้วถ้ามองแง่หนึ่ง มันจะเริ่มจากนอกเข้ามาที่ข้างในเรื่อย กัลยาณมิตรนั้นเกี่ยวข้องกับผู้อื่นอยู่ เอ้าอยู่ข้างนอกตัวเรานี่ เราไปมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนมนุษย์ เราได้ประโยชน์จากเขากัลยาณมิตรได้ประโยชน์จากคนอื่นสามารถเอาประโยชย์จากเพื่อนมุนษย์จากสิ่งแวดล้อมได้ คนไหนที่ไม่รู้จักเลือกหาจากกัลยาณมิตรแล้วเป็นคนที่สูญเสียโอกาสของตนเอง คืออยู่ในสังคมแทนที่จะได้ประโยชน์จากสังคมจากสิ่งแวดล้อมจากผู้คนอื่นไม่ได้ประโยชน์ คนที่รู้จักเลือกคบหากัลยาณมิตรก็ได้ข่าวสารข้อมูลความรู้ได้ตัวอย่างที่ดีเป็นคนที่รู้จักเอาประโยชน์จากสังคมจากเพื่อนมนุษย์จากสิ่งแวดล้อมอยู่ข้างนอกก่อน และกัลยาณมิตร ทีนี้พอมาถึงศีลมาอยู่ที่ตัวแล้ว ก็คือรู้จักดำเนินชีวิตในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมให้ดีก็ด้วยการจัดสรรโอกาสอย่างที่ว่า ชีวิตตัวเองมีวินัยไหม รู้จักจัดเวลาเป็นไหม อย่างนี้เป็นต้น พอจัดเวลาเป็นปั้บ เอ้อ วันหนึ่งได้งานเยอะ ถ้าไม่รู้จักจัดเวลานี่ วันหนึ่งไม่ได้เรื่องราวอะไรเลยเสียไปเปล่า ๆ พิจัดเวลาเป็นได้งานเยอะแยะเลย ถ้าเช่นนั้นก็เป็นฐานของการพัฒนา นอกจากจัดระเบียบชีวิตตนเองแล้วก็จัดระบบความเป็นอยู่กับผู้อื่นให้ดี ตัวเองก็ไม่ต้องหวาดระแวงภัย ถ้าทุกคนประพฤติดีสังคมก็เรียบร้อยก็สบายใจ เท่ากับเปิดโอกาสให้ชีวิตของตัวพร้อมที่จะเดินหน้าในการพัฒนาได้ เอาละน่ะจากกัลยาณมิตรที่อยู่ข้างนอกแล้วเอาประโยชน์จากเขาแล้ว เอาประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมมาที่ตัวเองจัดระบบชีวิตของตัวเองกายวาจานี้ให้ดีซ่ะ ระบบความสัมพันธ์ แม้แต่การคบหากับผู้อื่น ถ้าเรามีพฤติกรรมกายวาจาที่ดี คนอื่นเขาก็อยากมาเกี่ยวข้อง อยากจะมาสัมพันธ์ อยากจะมาช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ ถ้าเราเป็นคนไม่มีศีลคนอื่นเขาไม่กล้า ไม่ไว้ใจ ไม่แน่ใจอย่างน้อยเขาก็หลีกไปก่อนล่ะ ใช่ไหม เราก็ไม่ได้ประโยชน์ ฉะนั้นเราก็เอาศีลเข้ามาที่ตัวแล้วน่ะ แต่ยังที่อยู่ด้านกายวาจายังอยู่ เรียกว่าด้านนอก แต่เป็นการเตรียมพื้นฐาน การจัดสรรโอกาสชีวิตไว้ เพราะฉะนั้นต้องมีอันนี้ ให้ชีวิตสังคมไปด้วยดี วินัยจึงเป็นการจัดสรรโอกาส ที่นี้คนที่เข้าใจความมุ่งหมายของวินัยอย่างนี้ แล้วก็จะมีความยินดีมีความพอใจเต็มใจมากขึ้นในการปฎิบัติตามวินัย อย่างน้อยมองเห็นว่าเอ้อ มันไม่ได้อย่างใจก็ยังมองว่านี่เครื่องฝึกตัวเองน่ะ พอมองเป็นเครื่องฝึกก็มีความเต็มใจที่จะทำ แล้วตัวเองก็รู้สึกว่าได้ก็มีความสุข แล้วต่อไปวินัยพอเราไปประพฤติจนชินน่ะ เราไม่มีความรู้สึกที่จะต้องฝึกตัวเอง เราจะมองแต่เพียงว่า อ้อ มันเป็นเครื่องหมายว่ารู้ร่วมกันในการอยู่ร่วมสังคมในการที่จะอยู่ร่วมกัน มันก็ต้องมีเครื่องหมายที่จะให้รู้ว่าเราต้องทำอย่างไรกันไปทำเวลาไหน เมื่อไหร่ทำอย่างไรแล้วสังคมจึงจะอยู่ร่วมกันด้วยดี ฉะนั้นคนที่มีปัญญารู้เข้าใจความมุ่งหมายของวินัยของกฎหมายนี้แล้ว สบาย กฎหมายที่ว่าไปตีความ กฎข้อกำหนด หมายที่ให้หมายรู้กัน ก็ไม่ได้มีความหมายเป็นเครื่องบังคับอะไร เป็นข้อกำหนดที่ให้รู้กันว่า เอาอย่างนี้น่ะ เราอยู่ร่วมกันในสังคม นี่คือผู้มีอารยชนพัฒนาแล้วจะมองกฎหมาย หมายถึงกฎหมายที่วางด้วยดีน่ะ อย่าไปเอากฎหมายร้ายน่ะ ถ้ากฎหมายนั้นตั้งด้วยเจตนาไม่ดีไม่บริสุทธิ์ไม่มีปัญญาเราต้องแก้ไข ทีนี้กฎหมายที่ดีนี้มันจะเป็นกฎหมายประเภทที่เป็นข้อกำหนดสำหรับกฎหมายรู้ร่วมกัน ที่ว่าเราอยู่ร่วมกันจะเอาอย่างไร เพื่อจะให้เกิดโอกาสในการมีชีวิตและทำกิจการงานอย่างที่ว่าไปแล้ว ฉะนั้นพระอรหัต์ก็ต้องมีวินัย ก็ต้องมีกติกาเพราะว่าคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปนี่เวลามาอยู่ร่วมกัน ถ้าไม่มีกติกาข้อกำหนดแล้ว มันจะทำให้กิจการไม่ดำเนินไปด้วยดี อย่างอยู่ 2 คน ก็ต้องตกลง เอ้อเราจะมารับประทานอาหารเวลาไหนถ้าเราจะอยู่ด้วยกัน นี้ถ้าไม่ข้อกำหนดไม่มีกติกาวางไว้ก็ยุ่งซิ เดี๋ยวคนนั้นมารอคนนี้ยังไม่มาเดี๋ยวตามคนโน้น ๆ ไปไหนก็ไม่รู้ วันหนึ่งไม่ได้ทำอะไร ถ้างั้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แม้แต่เป็นพระอรหันต์ก็ต้องมีกติกาคือต้องมีวินัย ก็เพื่อเป็นเครื่องหมายรู้ร่วมกันในการที่ว่าเราอยู่ร่วมกัน เราจะทำกืจการอย่างไงเมื่อไรใช่มั้ย เพราะฉะนั้นจึงยกตัวอย่างบ่อย ๆ พระอรหันต์มาอยู่ร่วมกันปั้บ สมมุติว่า 10 องค์ ก็ต้องมีกติกาในการอยู่ร่วมกันแล้วน่ะ เอาน่ะเรา เราน่ะ 6.15 น. ออกบิณฑบาตร เอาอย่างนี้ใช่ไหม ถ้าไม่มีกติกาข้อกำหนดเป็นวินัยไว้ยุ่งเลย รอกันอยู่นั่นแหละ พอตกลงเวลากันแล้ว พอ 6.15 น. ออกก็ไป เวลากลับมาแล้วน่ะพร้อมแล้วมาฉันประมาณ 7 โมง สมมุติว่าอย่างนั้น เสร็จแล้วก็ทำโน่นทำนี่ เวลาต่างองค์ต่างไปอยู่ในที่ของตัวแล้วอยู่กันมาก ๆ เกิดมีเหตุการณ์อะไรขึ้น ใช้ตีระฆังน่ะ พอตีระฆัง ถ้าตี 3 ครั้ง หมายความว่าให้มาประชุมกันมีญาติโยมมา หรืออย่างนี้ มาทำบุญ สมมุติว่าอย่างนั้น ถ้าหากว่า 5 ครั้งตีระฆัง 5 ครั้งหมายความว่า มีพระภิกษุองค์หนึ่งอาพาธให้มาช่วยกันหน่อย หรืออะไรอย่างนี้น่ะ หรือว่ามีตีกี่ครั้งหมายความว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นต้องให้มาประชุมกันรีบด่วนต้องรีบแก้ปัญหา ถ้าตีเท่านั้นครั้ง หมายความให้มาธรรมะสวดมนต์อย่างนี้น่ะ นี่กติกาสำหรับเป็นวินัย สำหรับหมายรู้เท่านั้นเอง เพื่อจะให้ชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกันนั้นมันได้ผลดี ใช่ไหม ฉะนั้นมันจะไม่มีความหมายเป็นการบังคับหรือเป็นการฝืนใจหรือแม้แต่ต้องฝึกเลยน่ะ แต่ถ้าคนยังไม่คุ้นก็อาจจะต้องฝึก ทีนี้ถ้าคนไม่เข้าใจความมุ่งหมายเลยจะมองไอ้พวกกติกาวินัยกฎหมายเป็นเครื่องบังคับไปเลย ใช่ไหม เพราะมันไม่ได้อย่างใจ
ก็นี่ก็เป็นเรื่องของการมองความหมายของวินัย 3 ขั้น 1. คนที่ไม่มีปัญญาเอาแต่ใจตนอยู่ด้วยตัณหา มองเป็นเครื่องบังคับ
2.คนที่มีปัญญาเข้าใจความมุ่งหมายแต่ว่ายังพัฒนาตนไม่ได้เด็มที่ จิตใจของตนยังอยากจะได้อย่างใจอยู่ แต่ว่ารู้เข้าใจว่ามันเป็นประโยชน์เป็นสิ่งที่ควรจะทำก็จะฝึกตนเองมองเป็นเครื่องฝึก
3.ก็หมายถึงคนที่พัฒนาตนดีแล้วไม่มีอะไรที่ต้องตามใจตนเองเอาแต่ปัญญาเข้าว่า เห็นว่าสิ่งนี้ดีชอบด้วยเหตุผลก็ปฎิบัติ ก็มองวินัยเป็นเครื่องหมายรู้ว่าอย่างนี้ ๆ
นี่แหละพระอรหันต์ก็จะอยู่ด้วยความเข้าใจในแบบที่ 3 มองวินันในความหมายที่ 3 แต่อย่างที่บอกแล้วกฎหมายวินัยอะไรต่าง ๆ นี้ต้องมาจากปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงเห็นคุณค่าประโยชน์ความมุ่งหมายในการที่ว่าจะวางวินัยทำไม 2. ก็มีเจตนาบริสุทธิ์มุ่งเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เพื่อความดีงามร่วมกัน แล้วก็วางไว้ ถ้าเป็นกฎหมายวินัยที่วางจากจิตใจไม่บริสุทธิ์เจตนาร้ายเพื่อเอาประโยชน์แก่ตนเองหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นอย่างนี้ใช้ไม่ได้ แล้วก็หรือแม้มีเจตนาดีแต่ปัญญาไม่พอไม่รู้ความจริงวางผิดวางถูกก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะต้องระวังเหมือนกันต้องคอยตรวจสอบกฎหมายเหล่านี้หรือกติกาเหล่านี้เพื่อจะให้ได้ผลสมบูรณ์ คือ เกิดจากปัญญารู้ความจริงแท้ทั่วตลอดและเกิดจากเจตนาที่บริสุทธิ์น่ะฮะ
ก็เป็นอันว่านี่เป็นเรื่องของศีลเมื่อเราได้ตั้งอยู่ในวินัยด้วยปัญญาเข้าใจอย่างนี้แล้ว อย่างน้ยก็มองต้องเครื่องฝึก เราก็ฝึกปฎิบีติตามเราก็ต้องมีศีล สังคมนี้มีศีลโดยทั่วกันก็วินัยของสังคมก็ดำเนินไปด้วยดี กฎหมายกติกาเป็นไปด้วยดีสังคมเรียบร้อยชีวิตของแต่ละก็คนมีโอกาสที่จะพัฒนากิจการของสังคมดำเนินกันได้ด้วยดี ๆ เรียกว่าฐานดีแล้ว ที่นี้ก็ก้าวไปสู่ข้างในแล้ว ต่อไปคุณสมบัติข้อที่ 3 นี่จะเข่าในตัวแล้ว พระพุทธเจ้าจัดเป็นลำดับ ๆ หมดเลย เอ้วละครับวันนี้ 3 ทุ่มเกือบครึ่ง เพิ่งได้แค่ 2 ข้อ พูดเยิ่นเย้อเรื่อย เอาละครับก็ไว้ค่อยต่อข้อ 3 4,5,6 และ 7 แล้วพูดกันไปแล้วก็ไปขมวดท้ายอีกที
มีอะไรสงสัยไหมครับ สำหรับวันนี้ เคยได้ยินมาก่อนไหมเรื่องบุพพนิมิตรของมรรค ไหนฮ่ะ
(1)
คนฟังถาม: ยังเลยครับ
พระตอบ: ทีจริงก็เห็นมาหลายเล่มแล้วพยามยามเน้นเรื่องนี้มาหลายปีน่ะ ในพวกหนังสือที่เกี่ยวกับการศึกษาหรือแม้แต่ทั่ว ๆ ไป อย่างแสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม รุ่งอรุณของการศึกษา แล้วไปอยู่ในเล่มเกี่ยวกับการศึกษาโดยตรง เพราะว่าถ้าไม่เอาใจใส่เรื่องบุพพนิมิตรของมรรค หรือรุ่งอรุณของการศึกษานี่ จะทำให้คนเข้าถึงธรรมยาก อยู่ ๆ ก็ไปเริ่มมรรคเลย เราก็บอกแล้วยอมรับว่ามรรคดีจำเป็น แล้วทำอย่างไรให้คนเข้ามรรค แล้วไม่พูดสักที อยู่ ๆ จะให้เขามาเข้ามรรคได้อย่างไร ฉะนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์ไม่ได้ทรงมองข้ามสิ่งเหล่านี้ ตรัสไว้แต่ชาวพุทธเองมองข้ามไปเองไม่เอาใจใส่หรืออย่างน้อยก็คือไม่ได้ศึกษาธรรมะเป็นระบบ
(2)
คนฟังถาม: เป็นเรื่องที่ธรรมสอนตั้งแต่เด็กจนโต ธรรมะสมควรให้เด็กเรียน ไม่มีการธรรมะรวมเข้าไปหมวด
พระตอบ: เป็นระบบไม่มีการมองเป็นระบบ ระบบความสัมพันธ์ของธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริงในธรรมชาติ ฉะนั้นธรรมะเป็นระบบซิ เพราะว่าตัวธรรมชาติความเป็นจริงในธรรมชาติ อันนี้เป็นระบบสัมพันธ์ของมัน ใช่ไหม ธรรมะก็เอาความจริงในระบบของธรรมชาตินั้น เอามาใช้ประโยชน์ เอามาสอน เอามาพูดกัน แล้วให้คนปฎิบัติ เพื่อจะได้ประโยชน์จากระบบความเป็นจริงในธรรมชาติ ต้องให้มองเห็นภาพ ความจริงที่สัมพันธ์กันเอง
(3)
คนฟังถาม: ที่ปรึกษาส่วนใหญ่ก็จะหยิบมา บางท่านหยิบมาแต่เรื่องจะหยิบมา
พระตอบ: เป็นพวกข้อ ๆ เป็นหมวด ๆ ไป โดยไม่รู้ว่าหมวดไหนมาอย่างไร มันตั้งอยู่ที่ไหนในระบบนี้
(4)
คนฟังถาม: เรื่องอรุณแสงแสงทอง ก็เยอะ
พระตอบ: ก็อยู่ในเล่ม 19 นี่ ตรัสแล้วตรัสอีกในเล่ม 19 นี่ ไม่รู้กี่ครั้งแล้วน่ะ แต่แปลกอยู่ที่เดียวนั่นแหละ ไม่มีที่อื่นอีกแต่ว่าตรัสบ่อยเหลือเกิน ตรัสไปแล้ว ก็ตรัสอีก ๆ จนกระทั่งท่านต้อง หมายความว่าละไว้ หมายความไม่เอาข้อความซ้ำมาใส่ เพราะตรัสแล้วตรัสอีก ๆ ที่นี้โดยเฉพาะอัตตสัมปทานมันไม่มีที่อื่นเลย มันมีแต่ที่นี่ ส่วนข้ออื่น
(5)
คนฟังถาม: มันทำให้คนที่ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้งเลยมองข้ามไป
พระตอบ: ก็มองข้าม ไม่พูดถึงกันเลย อาจเป็นได้ว่า พระพุทธศาสนามาตั้งแต่เข้ามาเมืองไทยไม่ได้เอามาพูดเลย ไม่เคยได้ยินแปลกเหมือนกัน ก็ตกลงว่าต้องเน้นเรื่องนี้ให้มาก เพราะถ้าได้ 7 ตัวนี่น่ะ ก็พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง เมื่อแสงเงินแสงทองปรากฎแล้วไม่ต้องไปเรียกร้องว่าให้พระอาทิตย์ขึ้น มันขึ้นเอง ถ้าหากธรรมะ 7 ข้อนี้ ข้อใดข้อหนึ่งเกิดขึ้นในตัวบุคคลแล้ว มรรคก็มาโดยไม่ต้องไปเรียกร้อง ฉะนั้นเราก็สบายใจเลยใช่ไหม ไม่ต้องไปเรียกร้องมรรค ให้รู้ว่ามรรคมีอะไรบ้าง ให้รู้เข้าใจไว้จะได้ไปปฏิบัติถูก แต่ข้อที่ต้องทำ ก็คือเจ้า 7 ตัวนี้ ทำเจ้า 7 ตัวนี้แล้วมีขึ้นมาแล้ว มรรคจะตามมาเอง ใช่ไหม