แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คุยกันในเรื่องปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิไว้แล้ว ก็จบไปทีหนึ่งโดยหลักทั่วไป หรือว่าข้อความที่ควรทราบทั่วไป แต่นี่ว่าเรื่องโยนิโสมนสิการนี่เป็นเรื่องสำคัญ ก็อยากจะพูดเรื่องนี้เพิ่มเติมหน่อย โยนิโสมนสิการที่ว่าเป็นการทำในใจโดยแยบคายรู้จักคิดรู้จักพิจารณา เป็นเรื่องของการคิด หรือว่าการพิจารณาที่จะทำให้ได้รู้ความจริงแล้วก็ทำให้ปฏิบัติต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างได้ผลดี ที่นี้โยนิโสมนสิการนี้จะมีอุปสรรคสำคัญอยู่ก็
1. ก็คือว่ามีความเห็นผิดหรือมีความเชื่อที่ไปยับยั้งทำให้ไม่คิดซ่ะ บางทีคนเรานี่ก็ไปยึดถือด้วยตนเองบ้าง หรือว่ามีคนอื่น เช่นในวัฒนธรรมนั่นเอง หรือแม้แต่ในศาสนาที่ไปกำหนดความเชื่อไว้อย่างใดอย่างหนึ่งทำให้คนนี่ยอมรับตามไปโดยไม่ได้ใช้ความคิดแล้วก็เลยติดอยู่แค่นั้น มันกลายเป็นโทษไป แล้วก็อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ในตอนรับรู้เองแทนที่จะมาใช้ความคิดพิจารณา ก็ไปติดอยู่กับความชอบใจไม่ชอบใจซะ อันนี้ก็ถือว่าเบี่ยงเบน พอรับรู้ด้วยความชอบใจไม่ชอบใจ ทีนี่ก็ไปวุ่นกับเรื่องไปเพลิดเพลินหรือว่าไปเกิดความขัดเคืองแล้วก็คิดปรุงแต่งวุ่นไป ออกนอกทางไปเลยก็เลยไม่ได้ความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริง แล้วไม่สามารถเอาประโยชน์เท่าที่ควรจากสิ่งเหล่านั้น อันนี้ก็เป็นอุปสรรคต่อโยนิโสมนสิการ ที่นี้มาถึงตอนคิดเองพิจารณาเองก็ยังเกิดปัญหาเอง บางทีก็เป็นการคิดพิจารณา แต่ว่าไม่เป็นโยนิโสมนสิการกลับเป็นอโยนิโสมนสิการไป แม้แต่การคิดไปตามชอบใจไม่ชอบใจก็เป็นอโยนิโสมนสิการ คือ มันจะตกอยู่ใต้อำนาจความคิดปรุงแต่งที่เกิดจากชอบใจและไม่ชอบใจนั้นเข้ามาครอบงำเสีย หรือวิธีการคิดเหตุผลเองก็อาจจะตัน ก็ยกตัวอย่างง่าย ๆ นี่ อย่างคนโบราณก็ว่าคิดแล้วแต่คิดแล้วไปตันเสียเอง ก็อย่างมองเห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ มีฟ้าผ่า ฝนตก น้ำท่วม แผ่นดินไหว ก็อาจจะคิดในแง่ เอ้อสิ่งทั้งหลายก็ต้องมีเหตุใช่ไหม เอ้อแสดงว่าก็คิดเข้าที มีเหตุว่าแต่แทนที่จะสืบสาวไปตามลำดับก็มามองว่าเออ มันอะไรกันนี่ อะไรจึงทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ซึ่งน่ากลัวเป็นอันตรายมาก เช่นว่า ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว อะไรพวกนี้ ก็มานึกว่า เอ้อเอามาเทียบโยงเอาในหมู่มนุษย์เอง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องอันตรายใหญ่หลวง ที่นี้ในหมู่มนุษย์เรานี้ก็มีคนที่มีอำนาจเวลาเขาไม่ชอบใจเขาก็ทำอะไรที่ทำให้เกิดโทษเป็นผลร้ายหรือมีการลงโทษอาจจะรุนแรง ก็คิดไปในแง่ว่าคงจะมีผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่อยู่เบื้องหลัง ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นผู้บันดาลให้เกิดขึ้น นี่ก็คือมองคิดเทียบเคียงเอากับในหมู่มนุษย์เอง ก็เลยคิดมีเทพเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่ากลัวเหล่านั้น นี้ว่าในเมื่อมีผู้มีอำนาจดลบันดาล ที่นี่เราจะทำอย่างไรแก้ไขปัญหา ก็เหมือนในหมู่มนุษย์ คนที่มีอำนาจจะทำร้ายคนอื่น เราก็ต้องไปเอาอกเอาให้เขาพอใจ แล้วเขาจะได้หายโกรธหายพิโรธ ไม่ทำให้เกิดผลร้าย ไม่ลงโทษเรา ก็เลยต้องใช้วิธีนี้ไปปฏิบัติกับผู้มีอำนาจอยู่เหนือธรรมชาติ ก็คือเทพเจ้าต้องไปบวงสรวงอ้อนวอน เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการอะไรที่อยากจะได้เป็นผลดีกับตนเองก็เหมือนกันถ้าผู้มีอำนาจเขาโปรดปราน เขาก็ช่วยทำให้เราก็ได้ง่าย ๆ เราทำเองไม่ได้ เขาทำให้ได้ นี่ก็พวกเทพเจ้าเหล่านี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราต้องการผลดีท่านก็คงบันดาลให้ แต่เราต้องไปเอาใจท่าน นี่ความคิดมันก็ตัน หรืออย่างว่า เอ้อโลกนี้มันเกิดขึ้นมาอย่างไร ชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร นี่ก็คือปัญหาสำคัญมาก เรื่องของโลกและชีวิต มันเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นปัญหามาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นี่ก็คิดดูว่าเอ๊ะ สิ่งทั้งหลายที่เกิดมีนี่ก็มาคิดเทียบเคียงเอา ก็เอามนุษย์นี่มาเป็นหลักอีกแหละ ว่าสิ่งที่มันไม่มีแต่ก่อนเดี๋ยวนี้มันมีขึ้นมา อ้อก็มนุษย์สร้างมันขึ้น มันจะอยู่ ๆ เกิดขึ้นมาลอย ๆ ไม่ได้ ต้องมีคนสร้างมัน อย่างหม้อดิน หม้อดินเผาหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ แต่ก่อนมันก็ไม่มีนี่ ก็มนุษย์ก็มาสร้างขึ้น มันก็มีขึ้นมา โอ้นี่แหละธรรมชาติโลกชีวิต อะไรต่าง ๆ นี่มันต้องมีผู้สร้าง พออย่างนี้แล้ว เดี๋ยวก็ได้ข้อสรุป โอ้ต้องมีเทพผู้ยิ่งใหญ่มาสร้างสรรสิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้จึงเกิดมีขึ้นมีได้แต่ก่อนมันไม่มีเดี๋ยวนี้มันมี เหมือนกับที่ว่าเมื่อกี้ บอกว่าหม้อดินที่เราใช้หุงข้าวแต่ก่อนมันก็ไม่มี เดี๋ยวนี้ก็มีเพราะคนไปสร้างมันขึ้น โลกชีวิตอะไรต่าง ๆ จักรวาลนี่ แต่ก่อนมันก็ต้องไม่มี แล้วมันมีก็เพราะมีพระผู้เป็นเจ้านี่สร้างขึ้นมา นี่อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นอโยนิโสมนสิการ คิดไม่แยบคาย เอ้าไม่คิดต่อไปล่ะ ที่มนุษย์จะสร้างหม้อดินนั้นน่ะ ต้องเอาวัสดุมาทำน่ะ ไม่ใช่ว่ามันไม่มีอะไรเลย ต้องไปเอาวัสดุดินมาปั้นมาเผา มาอะไรต่าง ๆ ใช้ฝีมือมนุษย์ในการปั้น นี่ไม่คิดต่อไปจบแค่ว่า แต่ก่อนมันไม่มีแล้วมันมี มนุษย์ไปสร้างหม้อดินขึ้นมา ก็ไอ้วัสดุที่มาเป็นหม้อดินนี่ มันต้องมีก็เอาอะไรมาสร้างเป็นหม้อดิน ตอนนี้ไม่คิดต่อใช่ไหม ความคิดไม่ตลอดสาย หรือว่าแล้วคนละ คนที่สร้าง ที่มาปั้นหม้อดิน คนมาอย่างไรใช่ไหม มันต้องมาต่อ ๆ ไปอีก ความคิดอย่างงี้ก็ต้องถามเหตุปัจจัย สืบค้นลงไป อันนี้เป็นความคิดที่ตันคิดชั้นเดียว มันก็เลยไปลงข้อสรุป แล้วกลายเป็นความเชื่อไป ถ้าอย่างนี้ก็ถือยังคิดไม่แยบคายก็ไม่สามารถได้ความจริงได้ วิธีอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เป็นโยนิโสมนสิการก็รู้จักตั้งคำถาม ตั้งคำถามไปเรื่อย ๆ ถามไป อย่างพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้พระองค์ก็ถามพระองค์เองสภาพจิตอันนี้เกิดขึ้นมา เอ้าแล้วมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มันมีอะไรเกิดขึ้นมา มีอะไรในจิตใจก่อนแล้วจึงมีอันนี้ ก็สังเกตจิตใจตัวเอง ดูไปดูไปก็ได้คำตอบ พอได้ว่าอันนี้มีขึ้นมาก่อนแล้วอันนี้จึงมี ก็ไปถามต่อไปอีกว่า แล้วอันนั้นล่ะ อันที่สืบค้นได้ใหม่ มันมีขึ้นมา มันมีขึ้นได้อย่างไร พอค้นเจอก็ถามต่อไปอีก แล้วอันนั้นมาอย่างไร ค้นสืบหาสังเกตดู เหตุปัจจัยต่าง ๆ จนกระทั่งได้ครบกระบวนการ ก็ทำให้ได้คำตอบ ที่นี้เรื่องนี้เรื่องเกี่ยวกับการใช้โยนิโสมนสิการนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่เน้นในพุทธศาสนา คือไม่ให้ไปติดตันเอาง่าย ๆ หรือว่าเป็นอยู่โดยไม่ใช้ความคิด
แม้แต่ในเรื่อง ชาดก จะเห็นว่าชาดกเรื่องแรกในพระพุทธศาสนานี้ เรื่องแรกน่ะใน 547 เรื่อง เรื่องแรกนี้จะเป็นการฝึกให้คนรู้จักคิดเลย ไม่ใช่ไปหลงงมงายเชื่ออะไรง่าย ๆ แล้วก็พาชีวิตและหมู่คณะไปสู่ภัยพิบัติ
ก็เลยลองเอาชาดกเรื่องแรกมาเล่าให้ฟัง เป็นคติสอนพุทธบริษัทให้รู้จักดำเนินชีวิต เอาโยนิโสมนสิการมาใช้แม้แต่เรื่องชีวิตประจำวัน เรื่องเหตุการณ์ที่มนุษย์จะได้ประสพยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องลึกซึ้งภายในจิตใจที่จะค้นหาสัจธรรมอะไร
อันนี้ก็มีชาดกเล่าไว้ว่า สมัยหนึ่งพระโพธิสัตว์ก็ไปเกิดในเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี แล้วก็เป็นลูกพ่อค้า พอโตขึ้นมาก็เป็นหัวหน้ากองคาราวานนำกองเกวียน ซึ่งมีพรรคพวกรวมแล้วก็ 500 คัน สมัยก่อนนี้ถ้ามากละก็ 500 ไว้ก่อนละน่ะ อันนี้ก็เหมือนกันนำกองคาราวาน แสดงว่ากองใหญ่ล่ะ มีเกวียนเยอะ 500 คัน 500 เล่ม แต่ก่อนเกวียนเรียกว่าเล่ม เขาไม่เรียกคัน ถ้ารถเรียกคัน เกวียนเรียกเล่ม ทีนี้ก็พระโพธิสัตว์นี่ก็นำกองเกวียนหรือคาราวานนี่ออกเดินทางไปค้าขายตามเมืองต่าง ๆ ที่นี้พอดีว่าตอนนั้นในเมืองเดียวกันก็มีอีกครอบครัวหนึ่ง ลูกโตขึ้นมาก็มาเป็นพ่อค้านำกองเกวียนหรือกองคาราวานไปค้าขายเช่นเดียวกัน ก็มีมากอีกแหละ ก็นับกันง่าย ๆ ว่ามี 500 เหมือนกัน ตกลงว่ามีพ่อค้าเกวียนที่ 1. คือพระโพธิสัตว์ 2. ก็คือคนร่วมในเมืองเดียวกันนั้น ทีนี้คราวหนึ่งจะไปค้าขายในดินแดนไกลแห่งหนึ่ง ซึ่งยังไม่เคยไป แล้วทั้ง 2 กองเกวียนก็อยากจะไปด้วยกันทั้งคู่ เมื่อจะไปด้วยกันทั้งสองกอง พระโพธิสัตว์ก็มาคิดว่า เอ้ ถ้าหากว่าไปพร้อมกันนี่มันจะแออัดยัดเยียดคนปริมาณมันมากเกินไป การค้าขายปลายทางก็จะไม่ได้ผลดีเท่ากลับไปแย่งกันด้วย ในระหว่างเดินทาง ก็จะต้องกิน ต้องใช้ ต้องอะไรต่าง ๆ มาก 500 นี่มันก็มากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นควรจะมาตกลงกันเดินทางไปคนละครั้ง แต่ใครจะไปก่อนไปหลังล่ะ พระโพธิสัตว์ก็เลยให้โอกาสแก่กองคาราวานอีกกองหนึ่ง ก็ไปถามบอกว่านี่เราจะออกเดินทางไปที่เดียวกันนี่ มันก็ไม่ดีนะจะไปกันมากมายตั้ง 2 กองเกวียนต้องเท่ากับ 1,000 นี่ เพราะฉะนั้นมาตกลงกัน ใครไปก่อน ใครไปหลัง อ้าวท่านคิดว่าท่านจะไปก่อนหรือไปหลังล่ะ ฝ่ายหัวหน้ากองเกวียน ซึ่งเป็นชาวเมืองเดียวกันนั้น ซึ่งเป็นอีกคนหนึ่งนี่ แกก็คิดบอกว่า เอ้เราจะไปก่อนหรือไปหลังดี ถ้าไปก่อนนี้นะ ไอ้พวกเขาเรียกว่า ผัก ฝืน พวกอาหารสำหรับคน ก็อาจจะเก็บเอาพืชพันธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ไปเป็นอาหารได้ สำหรับคนก็ดี หญ้าสำหรับพวกวัว เป็นต้นก็ดี นี่มันยังพรั่งพร้อมบริบูรณ์ดีใช่ไหม แล้วก็น้ำก็ยังใส แล้วไปถึงปลายทางแล้ว เราจะตั้งราคาอย่างไงก็ได้เพราะยังไม่มีพ่อค้าอื่นมาขาย ฉะนั้นเราจะได้เปรียบ แล้วทางที่จะไปนี่มันก็ยังเรียบร้อยดี ถ้าไปทีหลังเกวียน 500 ผ่านไปแล้วทางชำรุดหมด ไอ้พวกไปทีหลังแย่ ฉะนั้นเราไปก่อนดีกว่า อย่างนั้นพ่อค้าที่เป็นอีกฝ่ายหนึ่งนี่ก็เลยบอกเราไปก่อน ทีนี้พระโพธิสัตว์ก็คิดบอกว่า เออ เราไปหลังนี่มันก็ดีน่ะ กองเกวียนที่ไปก่อนนี้จะทำให้ทางที่ไปนี่มันเรียบสม่ำเสมอขึ้น เพราะไปก่อนนี้ทางไม่เคยไปนี่มันจะขรุขระอะไรต่าง ๆ พอเกวียนไป 500 มันจะช่วยให้ทางเรียบขึ้นไป ทีนี้พวกพืชพันธุ์ต่าง ๆ นี่ และโดยเฉพาะพวกหญ้านี่ เมื่อถูกพวกแรกไปแล้วนี่ ถูกเด็ด ถูกอะไรออกไป มันจะงอกใหม่พองอกใหม่นี่จะอ่อนและจะอร่อยกว่าด้วย ใช่ไหมเอ้อ และก็พวกไปก่อนทางมันกันดาล ก็ไม่มีหาน้ำยากก็จะต้องไปขุด เราไม่ต้องลงแรงมาก พวกนั้นไปขุดไว้ให้พร้อมแล้ว เราไปก็มีบ่อน้ำอะไร เป็นต้น ฉะนั้นยิ่งไปถึงปลายทางแล้วพวกนั้นไปตั้งราคาไปกำหนดราคากว่าจะตกลงกันได้นี่แย่เลย ว่างั้น พอเขาตกลงกันได้แล้วราคามันมีเราไปถึงก็ขายตามราคานั้นสบาย ไม่ต้องไปลำบากเพราะว่าการกำหนดราคา แหม่เรื่องนี้เรื่องใหญ่มากลำบากลำบนคิดไปเสียอีกอย่าง ตกลงใครคิดถูก ฉะนั้นพระโพธิสัตว์ก็บอกเราไปหลังดีแล้ว ก็เลยตกลง ลองคิดดูสังเกตดู วิธีคิดของสองฝ่าย
เอาล่ะทีนี้ตกลงว่ากองเกวียนที่เป็นอีกฝ่ายไม่ใช่พระโพธิสัตว์ก็เดินทางก่อน ทางนี้เป็นทางกันดาลมากแบบทะเลทรายในสมัยก่อนเดินทางกองคาราวานมักจะผ่านทะเลทราย ที่นี้ก็ต้องเตรียมน้ำกันอย่างมากมาย ในกองเกวียนนั้น นอกจากใช้เนื้อที่สำหรับบรรจุสินค้าแล้ว ก็จะต้องใช้เนื้อที่จำนวนมากบรรจุพวกเสบียงอาหาร โดยเฉพาะก็คือน้ำ เอาตุ่มน้ำใหญ่ ๆ ใส่ แล้วเอาน้ำใส่ก็หนักเยอะเลยก็เดินทางไป เดินทางรอนแรมไปในทะเลทรายไปถึงตอนหนึ่งก็มี นี่กล่าวถึงพวกยักษ์พวกอมนุษย์ พวกอมนุษย์นี่เห็นมนุษย์มาก็ชอบ สมัยก่อนเขาถือพวกอมนุษย์นี่ก็จะมาชอบกินคน นี่ก็พวกนี้เห็นกองคาราวานใหญ่มาเป็นอมนุษย์ประเภทไหนก็แล้วแต่นะ ก็เลยว่าอ่ะ นี่ถ้าเราหลอกพวกนี้ได้ ก็ได้กินเยอะเลย ฉะนั้นก็เลยมาหลอก โดยที่ว่าทำเป็นว่านั่งเกวียนกันมาเป็นคณะย่อย ๆ สวนทางมา สวนทางมาแล้วก็ให้เห็นว่าตัวเองนี่ผ่านสภาพอุดมสมบูรณ์มา ผ่านฝนมา ตัวเปียก ผมเปียก ผ้าเปียก แล้วก็มีเอาของกินที่มาจากถิ่นที่มีน้ำ มีฝนเยอะ สมัยนั้นก็เป็นพวกเง่าบัวอะไรพวกนี้ แสดงท่าทางที่ว่าร่าเริง น้ำก็ยังเปียกอยู่ที่รถที่เกวียนอะไรอย่างนี้ที่ ก็ผ่านสวนกันมาแล้วก็มาหยุดทักทายกันก็ลงไปถามฝ่ายพวกอมนุษย์นี้ก็ถามหัวหน้ากองเกวียนนี่ท่านจะไปไหน บอกว่าจะไปขายของไปสินค้าขายที่เมืองโน้นปลายทางอีกไกล ก็ในเกวียนของท่านบรรทุกอะไรล่ะ ก็บรรทุกของมีค่าที่จะไปขายสินค้าเยอะ เอาแล้วเกวียนข้างหลังทำไมมาช้าจังล่ะมีอะไรเลอะ โอ้บรรทุกน้ำสิ เพราะจะต้องใช้น้ำมากในถิ่นกันดาลแห้งแล้งอย่างนี้ เป็นตุ่มน้ำใส่น้ำเต็ม เพราะฉะนั้นมันก็ต้องหนักมันก็มาได้ยากก็ช้าหน่อย โอ้ท่านจะต้องไปกลัวอะไรล่ะตอนนี้ ดูสิเห็นไหม พวกเรามานี่ ที่มานี่เราผ่านน้ำผ่านฝนมาข้างหน้า มีจุดหนึ่งที่มันมีน้ำบริบูรณ์มีต้นไม้ขึ้นเขียวชอุ่มไปหมดฝนก็ตกด้วย ฉะนั้นเราผ่านมานี้ ท่านจึงเห็นว่าพวกเรานี่เปียกปอนกันไปหมด แม้แต่รถก็ยังมีน้ำหยดอยู่ ฉะนั้นท่านเอาไอ้พวกตุ่มน้ำตุ่มเนิ้มทิ้งไปได้แล้ว ไปเอาข้างหน้าที่นั่น เกวียนมันจะได้เบาแล้วก็ไปได้ไวไม่ต้องเป็นห่วง ก็ฝ่ายหัวหน้ากองเกวียนนี้เห็นก็เออ ก็เห็นประจักษ์ชัด ๆ อยู่ในรถเขาก็เปียกอะไรต่าง ๆ ใช่ไหม แสดงว่ามันต้องมีน้ำแน่ ๆ อุดมสมบูรณ์ก็เลยเชื่อ แล้วก็เลยบอกพวก ๆ กัน พวกเราอย่าเอาไปเลยพวกตุ่มน้ำ น้ำเนิ้มอะไรเหล่านี้ เทมันซะให้หมด แล้วเกวียนมันจะได้เบา แล้วเราก็จะได้ไปถึงที่หมายไว ๆ ก็เลยตกลงกัน ก็เทน้ำทิ้งกันหมดเลย แล้วก็เดินทางไป ปรากฏว่าไปเท่าไหร่ ๆ ก็ไม่เจอน้ำสักทีผลที่สุดก็เหน็ดเหนื่อยก็หมดแรงลงนอนกัน ไป ๆ มา ๆ ตายหมด ทะเลทรายมันขาดน้ำก็ตาย ก็เลยโดนยักษ์อมนุษย์กินหมด เอาแล้วนะ พวกหนึ่งไปแล้ว
ทีนี้ฝ่ายพระโพธิสัตว์เวลาผ่านไปราวครึ่งเดือนก็เห็นเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็นำกองเกวียนออกเดินทางบ้าง ก็บรรทุกน้ำเนิ้มอะไรไปเยอะ ก็ได้สั่งความกับพวกลูกน้อง บอกว่านี่น่ะ น้ำนี่ต้องรักษาไว้ให้ดี เพราะเราเดินทางผ่านถิ่นกันดาล จะจัดการอะไรกับน้ำจะเททิ้งหรืออะไรต้องอนุญาตก่อน แล้วพวกต้นไม้พืชพันธ์ในถิ่นที่เรายังไม่เคยไป จะกินจะอะไรจะต้องศึกษากันก่อน แล้วก็ออกเดินทางไป ออกเดินทางไปก็ไปถึงจุดบริเวณนั้นที่ว่าเจออมนุษย์นี่ อมนุษย์ก็เอาอีก มันก็มาหลอกอีกทำแบบเดียวกัน อันนี้บอกว่า โอ้ท่านอย่าเอาไปทำไมน้ำเนิ้มหนักเปล่า ๆ เดี๋ยวก็ถึงแล้ว ที่โน่นมีน้ำมากมาย พระโพธิสัตว์ก็บอกว่า หลักการมีอยู่ว่าถ้ายังไม่เห็นน้ำใหม่ยังไม่เททิ้งน้ำเก่า ฉะนั้นถ้าเรายังไม่เห็นน้ำใหม่ต่อหน้าต่อตาแล้ว เราจะยังไม่ยอมทิ้งน้ำเก่าใช่ไหม ทีนี้ก็เลยเดินทางต่อไปไม่ยอมฟัง ทีนี้ฝ่ายลูกน้องพวกนายกองเกวียนนั้นก็ได้เห็นปรากฏการณ์นี้ได้เห็นเหตุการณ์นี้ ได้เห็นเกวียนที่สวนมา ได้เห็นคนที่นั่งมาเปียกอะไรต่าง ๆ ก็เลยลงมาตามมาพูดหัวหน้ากอง มานี่ท่านทำไมจะพากองเกวียนไปให้ลำบากเราก็เห็นกันอยู่ชัด ๆ ว่าเกวียนที่สวนมานี่เขาผ่านมาในแดนที่มีน้ำปรากฏชัด ๆ อยู่ เราอย่าไปให้เหน็จเหนื่อยแบบนี้เลยก็ในเมื่อชัดเจนอย่างนี้แล้วเราจะเทน้ำทิ้งได้แล้วไปเอาข้างหน้าเถอะ เอาไปแต่พอใช้ระหว่างที่จะไปถึงก่อนที่จะไปเจอน้ำใหม่นี่ พระโพธิสัตว์ก็ไม่ยอมบอกว่าจะต้องใช้หลักการที่ว่า เอ้าที่นี่ท่านไม่เชื่อขอประชุม ก็เลยให้พวกลูกน้องกองเกวียนทั้งหมดมาประชุมกัน ประชุมกันก็ถาม ตั้งคำถาม 1. ที่เราจะออกเดินทางมานี้ทางนี้มีชื่อว่ากันดาลแห้งแล้ง พวกท่านเคยได้ยินมีใครพูดบ้างไหมว่าทางนี้มันแหล่งน้ำมีฝนตก บอกว่าไม่เคยได้ยิน เอาละนะ 1 2. บอกว่าธรรมดาฝนตกมันจะมีกระแสลมเย็นไปได้ไกลเท่าไหร่โยชน์ พวกลูกน้องก็บอกมันจะมีกระแสลมเย็นเวลามีฝนตกประมาณ 3 โยชน์ เอาล่ะพวกท่านมานี้ เรามากองเกวียนกันนี่มีใครรู้สึกมีกระแสลมเย็นมาถึงเราบ้าง บอกว่าไม่มี ถามต่อไปอีกบอกว่า ธรรมดาว่าฝนจะตกหรือมีฝนตกเนี่ยเราต้องเห็นเมฆบ้าง เมฆนี่มันจะเห็นได้ไกลสักเท่าไหร่ ก็บอกเห็นได้ไกลราว ๆ 3 โยชน์ บอกใครได้เห็นเมฆบ้างไหม บอกว่าไม่ได้เห็น ถามต่อไปบอกว่า แล้วฟ้า สายฟ้า ฟ้าแลบอะไรต่าง ๆ นี่ จะมองเห็นไกลประมาณเท่าไหร่ บอกก็ประมาณ 4-5 โยชน์ ใครได้เห็นบ้างไหม ไม่มีใครได้เห็น แล้วก็ฟ้าร้องล่ะ ฟ้าร้องจะได้ยินไปไกลไปสักเท่าไหร่ บอกประมาณ 1-2 โยชน์ ใครได้ยินเสียงฟ้าร้องบ้างไหมบอกไม่ได้ยิน ว่าอย่างนั้นน่ะ แล้วก็เลยบอกว่า พวกเกวียนที่สวนทางเรามาแล้วมาชักชวนเรา บอกเราว่ามีน้ำข้างหน้าไม่ต้องบรรทุกน้ำไปให้หนัก คนพวกนี้ท่านรู้จักบ้างไหม บอกว่าไม่รู้จัก เพราะฉะนั้นอย่าได้ไว้ใจ พวกเราเดินทางกันต่อไปใช้หลักการที่ว่าไม่เห็นน้ำใหม่ไม่ทิ้งน้ำเก่า ตกลงก็เดินทางกันต่อไป จนกระทั่งว่าก็ไปเจอพวกกองเกวียนชุดก่อนที่เดินทางล่วงหน้าไปแล้ว ปรากฏว่าเหลือแต่กระดูก แล้วก็มีแต่กองเกวียนที่ทิ้งไว้ แต่ว่าไม่มีคนที่จะใช้ประโยชน์ สินค้าก็มากมายเพราะฉะนั้นจะทิ้งไปทำไม ก็เลยขนของไม่ดีในเกวียนของตัวออก เอาของดีในเกวียนพวกนั้นมาใส่ แล้วก็เกวียนไหนที่มันชำรุดคล่ำคล่าในระหว่างทางก็ไปเลือกเอาเกวียนดี ๆ ในกองเกวียนที่มันทิ้งอยู่นั่นเอามาแทน แล้วก็พากันเดินทางต่อไปจนถึงจุดหมายแล้วขายของได้ราคา ได้เงินทองก็เดินทางกลับมา นี่ก็เป็นเรื่องที่ว่าเป็นนิทานชาดก เรื่องนี้ก็จบ
นี่เป็นตัวอย่างของการที่ว่า ให้มนุษย์ดำเนินชีวิตโดยใช้ความคิดพิจารณาไม่ใช่หลงไปง่าย ๆ นี่เป็นคติในพุทธศาสนา ซึ่งมันจะเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดของพุทธต่างจากพวกเก่าอย่างไร มาเน้นเลยเรื่องที่หนึ่งในชาดก เริ่มที่โยนิโสมนสิการเลย พร้อมกันที่เล่าอย่างนี้มันก็ทำให้ได้คติอื่นสอนเข้ามาด้วยคือคนสมัยนั้นจะเชื่อในเรื่องเทวดา เรื่องผีสาง เรื่องอมนุษย์ ใช่ไหม มาดลบันดาลต่าง ๆ ในเรื่องนี้ก็จะได้ให้เห็น นอกจากว่าให้รู้จักคิดแล้วก็เอาไอ้เรื่องคติความคิดเชื่อเรื่องการดลบันดาลนี่ เอามาสอนซ้อนเสียอีกที ว่าไอ้ที่พวกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติมาบันดาลให้นี่ อย่าไปไว้ใจเลยล่ะ บางทีมันก็มาเนรมิตรในสิ่งที่มันเป็นโทษแก่เราใช่ไหม ให้พวกอมนุษย์นี่ เดี๋ยวจะไปนึกว่าเราต้องอ้อนวอนท่านมีอำนาจแล้วก็ให้ท่านโปรด อยู่ด้วยความเชื่อหวังพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น อย่าไปไว้ใจไอ้พวกสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีอำนาจ นี่บางทีมันก็หลอกเราน่ะ ว่างั้นใช่ไหม นี่ก็สอนทีเดียวได้ 2 อันเลย สอนทั้งคติความเชื่อเก่าอย่าได้ไปหลงไว้วางใจและให้รู้จักคิดรู้จักใช้การพิจารณา นี่ก็เป็นตัวอย่างของโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ นี่ก็เป็นเรื่องจำเป็นในการดำเนินชีวิต จะทำให้คนนี่พัฒนาตัวเองได้ด้วย แล้วก็ดำเนินชีวิตอย่างได้ผลดีด้วย เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและหมู่คณะ แก่ชุมชน แก่สังคม ในการใช้โยนิโสมนสิการ วิธีที่สำคัญก็อย่างที่ว่าแล้วคือ รู้จักตั้งคำถาม ถามว่าคืออะไร เป็นอย่างไร เกิดจากอะไร เป็นเพราะอะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ด้านไหนดี ด้านไหนเสีย เพราะว่าการพิจารณาในเรื่องโยนิโสมนสิการนี้ต้องการรู้ความจริงอย่างหนึ่ง และก็แล้วอีกอย่างหนึ่งก็รู้จักหาประโยชน์จากสิ่งนั้นได้ โยนิโสมนสิการก็เลยมีวิธีการที่เป็นวิธีคิดหลายแบบ ซึ่งเคยได้รวบรวมไว้มีประมาณ 10 วิธีด้วยกัน ในบรรดาวิธีเหล่านั้นวิธีที่สำคัญก็คือ วิชาที่ว่าแยกแยะวิเคราะห์อย่างพระพุทธเจ้านี่ จะศึกษาชีวิตเพื่อให้รู้ความจริงของชีวิตนี่ ถ้าไม่มีวิธีคิดก็ตัน ความคิดมันก็ไม่เดิน พระพุทธเจ้าก็แยกชีวิตออกเป็นส่วนประกอบ เกิดจากนามและรูป ออกเป็น 2 ด้าน ด้านกายและด้านใจ ด้านกายแยกยังไง แยกออกไปเป็นมหาภูตรูป อุปทายรูป เป็นมหาภูตรูป 4 อุปทายรูป 24 โอ้แยกเป็น 4 อุปทานรูป 24 แยกต่อไปอีกแยก ๆ ๆ ๆ ไป แยกวิเคราะห์ไปเรื่อย ที่นี้ด้านจิตใจล่ะ แยกด้านจิตใจมีเป็นนามธรรม แยกกันเป็น 4 เป็นเวทนา สัญญา สังขาล วิญญาน เวทนาแยกออกไป สัญญแยกออก สังขาลวิญญานก็วิเคราะห์ไปเรื่อย ๆ นี่ก็เป็นวิธีที่หาความจริง เราไปเจออะไรก็วิธีหนึ่ง ก็คือแยกแยะส่วนประกอบออกมา มันก็ความเข้าใจสิ่งนั้น
เด็กนี่ก็มีแนวโน้มอย่างนี้อยู่การศึกษาก็จะมาสอนให้รู้จักแยกว่า ได้รถมาคันหนึ่ง ก็เอามาแยกออก รถแล่นไม่ได้ เด็กบางคนชอบแยก รถพังหมดเลย แต่ว่ามันก็เป็นวิธีเจริญปัญญาอย่างหนึ่ง นี่ก็เป็นวิธีหนึ่งก็คือแยกแยะวิเคราะห์หาความจริงหาส่วนประกอบ ที่นี่อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า สืบสาวเหตุปัจจัยแยกแยะวิเคราะห์ก็แยกแยะเป็นส่วนประกอบ ที่นี้อีกอย่างหนึ่งก็คือสืบค้นหาเหตุปัจจัยว่าไอ้ที่เป็นอย่างนี้ มันเป็นเพราะอะไร มันเป็นมาอย่างไร สืบไปเรื่อย เพราะอะไร มันจึงเป็นอย่างนี้ แล้วที่เป็นอย่างนั้นก่อนนั้นเป็นเพราะอะไร ๆ ๆ ก็สืบกันเรื่อยไป ค้นหาเหตุปัจจัยไปเรื่อย นี่ก็เป็นการที่พัฒนาในเรื่องความคิด ก็ยังมีวิธีอื่นให้เห็นลักษณะความจริงของมัน ว่ามันมีความเป็นไปอย่างไรให้เห็นว่า อ้อมันมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ มันได้อยู่นิ่ง ฉะนั้นมันมีการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงมาโยงกับไอ้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่สืบค้น อ้อมันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปรากฏการณ์ขึ้นมา แล้วก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ในเมื่อมันเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย เอ้าถ้าอย่างงั้นผลที่จะเกิดขึ้นนี่มันเกิดจากเหตุปัจจัย เราก็ต้องสืบค้นเหตุปัจจัยให้ได้ต้องการผลอย่างไร ก็ทำให้เกิดเหตุผลปัจจัยอย่างนั้น จนกระทั่งว่าเราเองก็เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นปัจจัยได้ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ตัวเราด้วยเพราะเป็นปัญญาพิเศษที่มีปัญญา ฉะนั้นด้วยปัจจัยพิเศษที่มีปัญญานี้ก็เข้าไปร่วมในกระบวนการเหตุปัจจัย ก็ไปกันเหตุปัจจัยไม่ดีไม่พึงประสงค์แล้วไปเป็นตัวส่งส่งเสริมสนับสนุนเหตุปัจจัยที่ดีที่พึงประสงค์ ก็เกิดผลที่ต้องการได้ นี่ความคิดก็เดิน เชื่อมโยงจากโยนิโสมนสิการ ในด้านความจริง มาสู่โยนิโสมนสิการประเภทใช้ประโยชน์ เอาประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม จากสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้องแล้วก็การมองความจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ในระดับสมมุติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ที่เราจะใช้ประโยชน์ เราจะไปวินิจฉัยอะไรดีอะไรชั่ว เราไปบอกว่าดีหรือชั่วเลย เลยไปมองด้านเดียว แง่เดียว หรือว่าแม้แต่ส่วนมากมันก็ไม่ถูก เพราะฉะนั้นจะต้องมองให้ตรงตามความจริงพอดีความจริง พอดีความจริงยังไงสิ่งทั้งหลายมีหลายด้านนี่ ก็ต้องว่ากันไปเลยว่า ด้านนี้ดี ด้านนั้นไม่ดี ด้านนั้นถูกต้อง ด้านนั้นไม่ถูก แยกไป อย่างพระพุทธเจ้าตรัสถึงว่า มีคนมาพูดว่าเอ้อ นายคนนี้ซึ่งเป็นผู้ครองเรือนนี้เป็นคนดี รู้จักทำมาหากิน นายคนนี้ไม่ดี ประพฤติไม่ดี พระพุทธเจ้าก็ อย่าเพิ่งอย่าเพิ่ง เอาอย่างนี้ก่อน อย่าเพิ่งไปเหมาว่าดีไม่ดี มาแยกกันก่อนว่านายคนนี้มีแง่ที่จะพิจารณาว่าดีหรอไม่ดีอย่างไรบ้าง เช่นว่า ยกมาซิ 1. ในแง่ของการแสวงหาทรัพย์ เขาหามาได้อย่างไร เขาหามาโดยสุจริตชอบธรรมหรือหามาได้โดยวิธีร้ายกดขี่ข่มเหงผู้อื่นนั่นแหละ เอ้าก็ดูว่าในการแสวงหาทรัพย์ นายคนนี้ก็วินิฉัยได้ ในแง่หาทรัพย์เขาบกพร่องที่ว่า หามาโดยวิธีไม่ชอบเบียดเบียนข่มเหงคนอื่นเอาเปรียบ หรือว่าถ้าเขาหามาด้วยวิธีที่ดี ก็บอกว่า เอ้อในวิธีหาทรัพย์เขาดี ว่าอย่างนั้น ได้มาอีกแง่ 2. เขาได้รับทรัพย์มาได้ปฏิบัติอย่างไร เขาหวงแหนตระหนี่ขี้เหนียวอันนี้ไม่ดีแล้ว แสวงหาดีแต่ว่าในแง่เก็บรักษาไม่ดีบกพร่อง อีกคนหนึ่งนั้นรู้จักเอามาใช้ประโยชน์ รู้จักเก็บไว้โดยมีเหตุผล แล้วก็เอามาใช้ประโยชน์ เอามาเลี้ยงดูชีวิตตัวเองครอบครัวคนในความรับผิดชอบให้มีความสุข ในแง่นี้ถ้าหากคนไหนขี้เหนียว ตัวเองก็ไม่อยู่ให้เหมาะสมควรแก่ทรัพย์สินที่มาลำบากลำบน ไม่เลี้ยงดูครอบครัวให้เป็นสุขแสดงว่าบกพร่อง ถ้าใช้จ่ายให้คนที่อยู่ด้วยมีความสุข เอ้อแสดงว่าใช้ได้ ดีไปอีกแง่หนึ่ง
เอาที่นี้ต่อไปในแง่ทำประโยชน์แก่สังคมมนุษย์เพื่อนมนุษย์ เอาทรัพย์นี้ไปทำในสิ่งที่ดีงาม สร้างสรรค์อะไรหรือเปล่า ถ้าเอาไปใช้ก็ดีในแง่นั้นอีก แล้วก็ถ้าไม่ใช้ไม่เกื้อกูนต่อสังคมก็บกพร่องในแง่นั้น อ้าวไปอีกอัน ยังอีก ต่อไปแล้วในการที่เขาปฏิบัติต่อทรัพย์สินเงินทอง จิตใจเขาเป็นอย่างไร จิตใจเขามีแต่ความกลุ้มกังวล มีแต่ความเครียจมีแต่ความเศร้าหมองมีทุกข์เพราะมีทรัพย์สินนี้ จิตใจเป็นทาสของทรัพย์ มีอะไรเกิดขึ้นกับทรัพย์ก็เป็นทุกข์ รู้สึกว่ามีปัญหาจิตใจมาก หรือว่าเขามีจิตใจเป็นอิสระรู้ความมุ่งหมายของการมีทรัพย์ มีเพื่ออะไรใช้จ่ายมันให้เป็นประโยชน์ แล้วก็จิตใจก็ไม่ไปมีปัญหาเพราะเรื่องทรัพย์เหล่านั้น เรียกว่าเป็นนายของทรัพย์ไม่เป็นทาสของทรัพย์ เอ้อนี่บกพร่องไหมในแง่นี้ไหม ได้ไหมเป็นด้าน ๆ แล้วก็มาแยกว่าคนนี้นี่ดี 1 ส่วน หรือดี 2 ส่วน เสีย 2 ส่วน เสีย 1 ส่วน หรือเสีย 3 ส่วน หรือได้ดี 3 ส่วนหรือดีทั้ง 4 ส่วนเลย ว่ากันไปอย่างนี้
นี่พระพุทธเจ้าใช้วิธีอย่างนี้ เรียกวิภัชชวาท ที่พูดไว้เมื่อวาน ก็เป็นส่วนหนึ่งของโยนิโสมนสิการ ฉะนั้นอะไรต่ออะไรนี่ มันจะเป็นความพอดีกับความจริงเลยไม่ใช่เหมารวมด้วยการสรุปของตัวเอง เพราะว่าสิ่งทั้งหลายมีหลายด้าน เราก็ต้องว่าเป็นด้าน ๆ ด้านนี้ดี ด้านนี้ไม่ดี ถูกต้องไม่ถูกต้องแยกกันไป แล้วมันจะทำให้การพูดตรงกับความเป็นจริง แล้วก็จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาด้วย เพราะเราต้องการทำให้ดียิ่งขึ้น พอเราแยกได้แล้วนี่ เราจะไม่ไปภูมิใจหลงระเริง โอ้ดีแล้วใช่ไหม พอไปสรุปว่าดีแล้วก็เลยไม่ต้องไปปรับปรุง หรือว่าเสียก็เลยไม่รู้จะไปแก้ตรงไหนอีก พอเราแยกได้ ส่วนไหนดี ส่วนไหนหย่อน ส่วนไหนบกพร่อง มันเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาแก้ไขปรับปรุงใช่ไหม เอ้อ เราดีแล้วแต่เราก็ยังไม่ใช่ดีหมด ยังมีหย่อนข้อนี้ คนที่รู้จักใช้วิพัชวาทรู้จักโยนิโสมนสิการ แก้มีแต่ปรับปรุง ไอ้ส่วนที่ดีแล้วก็ทำให้ดียิ่งขึ้นรักษาไว้ตามหลักสัมปทาน หรือสัมมาวายามะ ทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วส่วนที่ยังบกพร่องจะได้แก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ก็มีทางที่จะเกิดความสมบูรณ์ นี่ก็เป็นหลักเรื่องการที่ว่า ทั้งได้ความจริงด้วย ทั้งได้ประโยชน์ด้วย ตกลงว่าวิธีคิดนี่มีเยอะ รู้หลักการ รู้ความมุ่งหมาย รู้คุณ รู้โทษ รู้จุดอ่อน จุดแข็งและรู้ทางแก้ไข วิธีคิดมีมากมาย อันนี้ผมยกมาเป็นตัวอย่าง
แต่ว่าสรุปเอาว่าเป็นว่ามี 2 ก็แล้วกัน จะมีวิธีคิดหลายอย่างแต่รวมแล้วก็คือ 1. คือหาความจริง คิดให้มันได้ความจริง 2. คิดให้มันได้ประโยชน์ คิดได้ประโยชน์นี่ไม่เหมือนกับคิดในแง่ดีน่ะ บางทีหลอกตัวเองยิ้มกริ่มไปอย่างงั้น แต่ว่าไม่ได้แก้ปัญหาหรอกตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องระวังมองในแง่ดีกับมองให้เห็นประโยชน์ มันไม่เหมือนกัน คนที่มองโลกในแง่ดี บางครั้งมันก็เหมือนกับมองให้เป็นประโยชน์ แต่บางครั้งมันเป็นเพียงหลอกตัวเองให้สบายใจ แล้วเสร็จแล้วก็เลยไม่ได้สัมผัสกับความจริงแท้ไม่ได้แก้ไขปัญหา ใช่ไหม เพราะฉะนั้นมองแง่ดี พุทธศาสนายังไม่ยอมรับ ต้องมอง 2 แบบ 1.มองให้เห็นความจริง 2. มองหาประโยชน์ให้ได้ ทีนี้แม้แต่สิ่งมันไม่ดีที่ชาวโลกเขาติเตียนกัน บางทีมันก็เป็นไม่ดีในระดับสมมติเท่านั้นเอง มนุษย์ไปตกกันว่าไม่ดี หรือแม้แต่มันไม่เกื้อกูลโดยธรรมชาติของมัน แต่ถ้ามนุษย์รู้จักคิดรู้จักพิจารณาก็จะสามารถหาประโยชน์จากมันได้ใช่ไหม ฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างนี้ มนุษย์ถ้ารู้จักคิดพิจารณาก็เลยหาประโยชน์ได้หมด อย่างที่เคยยกตัวอย่าง เช่นว่าคำด่าของเขาก็ต้องฝึกว่าทำยังไงให้หาประโยชน์จากคำด่าคำติเตียนของเขาให้ได้ เขาจะไปนักฝึกตน ฉะนั้นเราก็จะไปมัวแต่กลุ้มใจไปโกรธเขาจิตใจก็เศร้าหมองมีความทุกข์ ใช่ไหม ก็แทนที่จะไปมัวทุกข์อะไรก็ไปคิดหาทางเอาประโยชน์จากคำด่าเขาเสีย พระพุทธเจ้านี่ให้รู้จักหาประโยชน์ได้ไหมจากสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ ความตาย คนเราพอนึกถึงความตาย ใจมันก็ไม่ดี ใจมันก็กลัว กลัวก็เศร้าหมอง หรือไม่งั้นก็ใจหดหู่ ไม่งั่นก็เศร้า ไม่กลัวก็เศร้าแล้วนึกถึงความตาย 2 อย่าง ถ้าไม่งั้นก็ได้ยินข่าวคนที่เราไม่ชอบเป็นศัตรูตายดีใจเลยใช่ไหมนี่ ไปอีกตรงข้าม ที่นี่พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่านี่เป็นอโยนิโสมนสิการ เพราะฉะนั้นให้รู้จักหาประโยชน์ 1.พอนึกไปถึงความตายก็โยงไปหาความจริงของธรรมชาติ สังขาล เห็นความจริงเกิดปัญญา 1. ล่ะได้ปัญญา 2. ก็ได้ประโยชน์ ไหน ๆ มันก็เป็นสิ่งมีแน่นอนแล้วจะไปเลี่ยง อย่าไปกลัว อย่าไปหนี้เลยทำให้ใจเศร้าหมองเปล่า ๆ ก็มามองให้มันได้ประโยชน์ มองเป็นเครื่องกระตุ้นเล้าไม่ให้เกิดความประมาท ใช่ไหม งั้นเร่งรัดทำหน้าที่ของตัวเอง เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ให้เอาประโยชน์ได้จากสิ่งที่เรวร้ายที่สุดแม้แต่ความตาย ใช่ไหม นี่แหละ โยนิโสมนสิการ ก็เป็นประโยชน์มาก
ตกลงว่าเรื่องโยนิโสมนสิการ นี่ก็คิดว่าพอสมควรสรุปได้เป็น 2 ประการนี่ แล้วใช้เป็นหลักในการมองสิ่งต่าง ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ว่า อย่ามองตามชอบใจไม่ชอบใจ มองตามเหตุปัจจัยแค่นี้ ก็เข้าโยนิโสมนสิการ มันเป็นจุดเริ่มของการที่จะทำให้เกิดการคิดค้น แล้วก็ทำให้เกิดปัญญาได้ โยนิโสมนสิการโดยสรุปก็มี 2 อย่าง ที่ว่าไปแล้ว คือการมองการคิดพิจารณาในแง่ที่จะให้เห็นความจริงเข้าถึงความจริงอย่างหนึ่ง และการมองการพิจารณาในแง่ที่จะทำให้ได้ประโยชน์จากสิ่งทุกอย่าง ให้เห็นประโยชน์หรือเป็นประโยชน์หรือหาประโยชน์ให้ได้อีกอย่างหนึ่ง โยนิโสมนสิการ ก็ได้บอกแล้วว่ามันเป็นหลักการที่คู่กันกับเรื่องของปรโตโฆสะ ปรโตโฆสะนี่เป็นเรื่องของเสียงอิทธิพล หรือคำบอกเล่าแนะนำจากภายนอก มาช่วยให้เรารู้เข้าใจ แต่โยนิโสมนสิการ นี่เป็นปัจจัยภายในที่เราสามารถหาความรู้ความเข้าใจขึ้นมาเอง ทีนี้ในที่การจะให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ในเมื่อจัดกันเป็นสังคมเป็นกิจกรรมใหญ่ คือเป็นกิจการเลยในหมู่มนุษย์นี่ ก็เลยว่าเราก็ให้ความสนใจที่จะให้เด็กพัฒนาขึ้นอย่างถูกต้อง ที่นี้จะทำอย่างไร ในเมื่อเด็กส่วนใหญ่ ก็อย่างที่ว่าแล้วคนส่วนใหญ่ก็ต้องอาศัยปรโตโฆสะ ปรโตโฆษะที่ดีก็มาจากพวกที่ตั้งใจทำหน้าที่ช่วยเขา ช่วยเด็ก ๆ เหล่านี้ก็คือคนที่เป็นกัลยาณมิตร เช่นอย่างพ่อแม่ ครูอาอาจารย์ ผู้ใหญ่ พระสงฆ์ สื่อมวลชน ผู้บริหารประเทศชาติอะไรพวกนี้น่ะ ก็ต้องมาทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรพยายามที่จะหาปรโตโฆสะที่ดี ที่เป็นประโยชน์ ที่ให้ความจริง ที่จะสร้างสรรค์มาให้แก่เด็ก ๆ ต้องตั้งใจอันนี้ ถ้าสังคมยังทำหน้านี้อยู่สังคมนี่ค่อนข้างปลอดภัย
แต่ในเวลานี้ในสังคมยุคนี้แย่อย่างยิ่งเลย ปรโตโฆสะนี่หาดียาก โดยเฉพาะสื่อมวลชนและผู้บริหารประเทศชาติก็ไม่สามารถจะมาช่วยอันนี้ได้ พ่อแม่ก็ไม่สามารถชักนำเด็กเข้ามาสู่ปรโตโฆสะที่ดี บางทีก็ได้แต่ตามใจสนองตัณหาของเด็กปลุกเล้าตัณหาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป หรือเป็นศัตรูขัดใจกับเด็ก พระสงฆ์บางทีก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อีก โดยเฉพาะก็สื่อมวลชนนี่สำคัญอย่างยิ่ง นำเอาปรโตโฆสะที่เป็นโทษที่เสริมโมหะหลอกทำให้เด็กนี่ไม่สามารถเห็นความจริง แม้แต่เรื่องโฆษณาต่าง ๆ นี่ก็เป็นเรื่องของการที่หลอกลวงเยอะ ทำให้ไม่เห็นความจริงแล้วก็ไม่ชี้แนะในการเอาประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ พ่อแม่ก็ถ้าหากว่าเก่งก็จะมาปลุกเล้าโยนิโสมนสิการให้เด็กนี้เก่ง เก่งจนกระทั่งว่ารับมือกับยุคสมัยที่มันมีปรโตโฆสะที่แย่ได้ ถ้าเด็กมีโยนิโสมนสิการดี เด็กก็จะสามารถเอาประโยชน์จากสิ่งแวดที่ไม่ดีได้ รายการไม่ดีอะไรต่าง ๆ ให้เป็นก็ได้ประโยชน์หมด รายการที่ชั่วร้ายที่สุดถ้ามีโยนิโสมนสิการ ก็สามารถเอาประโยชน์ได้ แต่พ่อแม่ก็ต้องมีโยนิโสมนสิการก่อน แล้วก็แนะกับเด็ก ให้เด็กรู้จักมองรู้จักพิจารณา ก็เปลี่ยนพลิกผลันสิ่งที่ร้ายให้กลายเป็นดีไปได้ ฉะนั้นในการที่จะให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ก็ต้องระดมกำลังจากทุกฝ่ายมาช่วยกัน ไม่เฉพาะจะไปปัดให้เป็นหน้าที่ของครู ฉะนั้นผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในปัจจุบันก็สื่อมวลชนนี้จะต้องเอาใจใส่เรื่องนี้ ถ้าถือว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ก็เลยว่าเราก็เอาหลัก 2 หลักนี้มาประสานกันซะ คือหลักปรโตโฆสะกับโยนิโสมนสิการ เราก็บอกว่า สังคมนี้หรือผู้รับผิดชอบตั้งแต่พ่อแม่ เป็นต้นไป ผู้ใหญ่ สื่อมวลชนนี่ ควรจะจัดหาปรโตโฆสะที่ดีให้แก่เด็ก หาข่าวสาร ข้อมูล สิ่งแวดล้อมทางสังคม ข่าวสารคำแนะนำที่มันดีให้แก่เด็ก ให้เขาได้ความรู้ความเข้าใจและประโยชน์ นี่ด้านหนึ่งแล้วนะ จัดสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก แต่อีกด้านหนึ่งก็คือในตัวเด็ก เราก็ต้องไปพัฒนาให้เขาเกิดโยนิโสมนสิกาที่จะสามารถเอาประโยชน์ได้หาความจริงได้จากสิ่งที่เรวที่สุดใช่ไหม ถ้าได้จาก 2 อันนี้มาผสานกันก็สมบูรณ์ เพราะเราจะไปหวังได้อย่างไร เราเองพยายามจัดให้ดีที่สุด ให้เด็กได้พบสิ่งที่ดีที่สุด แต่ในชีวิตความจริงแน่นอน เด็กจะต้องไปเจอทั้งสิ่งที่ร้ายและดี ฉะนั้นเราก็ต้องเตรียมในตัวเด็กของเราให้มีความสามารถว่าทำให้เด็กของเราไปสามารถรับมือกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี โดยท่าทีที่ถูกต้อง หาความจริง หาความรู้ได้ หาประโยชน์ได้จากสิ่งที่เรวที่สุดนั้น เอ้าเป็นอันว่าได้หลักการ ขึ้นมาอีกอันว่า ในการให้การศึกษาของหมู่ชนนี้ในการฝึกอบรมพัฒนาเด็กก็เอา 2 อย่างนี้มาผสานกันคือ 1. เราทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร จัดสรร ปรโตโฆสะ เช่น ข่าวสารข้อมูลที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก 2. พร้อมกันนั้นในตัวเด็กเราก็พัฒนาให้เขาพัฒนาให้เขามีโยนิโสมนสิการที่จะสามารถหาความรู้หาความจริงและหาประโยชน์ได้จากสิ่งที่เรวที่สุด แม้แต่ข่าวสารข้อมูลที่เลวร้ายก็ให้หาประโยชน์ได้ ถ้าได้อย่างนี้แล้วก็จะเกิดความปลอดภัยแก่ชีวิตและสังคมนี้ วันนี้ก็พูดมายาวนานแล้วนะครับ ก็คิดว่าพอ ทีนี้มีอะไรสงสัยหรือเปล่า
(1)
คนฟังถาม: หนูตั้งข้อสังเกต ที่นี่มีคนเขาไปรับข้อมูลโยนิสงมรสิการบอกว่า ค่อนข้างจะแยกเป็น 4 วิธี แล้วท่านก็บอกว่าจริง ๆ มองด้านอีกประเภท ก็คือแยกเป็นประเภทที่แยกส่งเสริมจริยธรรมกับประเภทที่ส่งเสริมสัจจธรรม เจริญพร
พระตอบ: แต่ว่ามันเป็นภาษายากไปหน่อย ก็อย่างที่พูดเมื่อกี้ 1. ให้เห็นความจริง 2. ให้เห็นประโยชน์
(2)
คนฟังถาม: เอาแค่นี้อันนี้ก่อนน่ะค่ะ ประเภทบางทีมันจะมีความเหมือน เช่น มันอย่างแยกแยะเป็นกอง ๆ กับสื่อสารนี่ แต่ว่าเคยเขียนไว้ในโยนิโสมนสิว่าการบางครั้งนี่ ในวิธีคิดบางครั้งเราไม่ได้ใช้ประเภท ทีนี้ปัญหาที่หนูเจอเลยกับการที่เข้าไปฝึกให้คน อย่างเช่นการเล้าจริยธรรม หนูจะเห็นว่าหลายคนจะมีความเชื่อของเขา เช่นเขาจะได้ความพระพุทธทาสเขียนไว้ บางทีเขามีความดีมาอยู่แล้ว เสร็จแล้วมันก็จะเกิดปรากฎการที่ว่าทุกคนก็จะบอกว่า วิธีที่อย่าไปมองเขาอย่างนั้นต้องมองในแง่ดีทุกคนก็บอกว่าพยายามจะเน้นเมตตา แต่พอเน้นเมตตาเสร็จแล้ว ตัวเองเข้าไปมีสัมผัสแล้ว ทั้ง ๆ ที่รู้เขาพยามกลบเกลื่อน แล้วเดี๋ยวก็ไม่สบายใจก็เอากลับมาบ่นอีก เอ้ทำไมเป็นอย่างงั้น ทำไมเป็นอย่านี้ ทีนี้ท่านเจ้าคุณบอกว่าเราน่ามองทั้งสองด้าน ส่วนใหญ่ ทุกคนก็จะไม่มองสองด้านอย่างเช่นบอกว่า อย่าพูดไปเดี๋ยวไม่สบายใจกันเอาสามัคคีดีกว่า เสร็จแล้วพอสามัคคี เขาก็เอาคนซึ่งมีทั้งแง่ที่ดีและไม่ดี แต่ไม่ดีเยอะเข้ามาเป็นคนระดับคนปกครองมันก็สร้างปัญหาเยอะแยะ ทีนี้ท่านเจ้าคุณบอกว่า มันก็มีวิธีคิดอยู่อันหนึ่ง เขาก็จะอ้างโน่นอ้างนี่ การคิดเล้ากุศล เขาจะพูดมองในแง่ดี แต่มันไม่ได้มองตามความเป็นจริง ทีนี่ท่านเจ้าคุณ บอกว่าอันนี้มีจุดเสียคือจริง ๆ ให้หยุดตรงในแค่แง่ดี ให้มองหาประโยชน์ พระตอบ ใช่ ทีนี้ก็ไปไม่ได้ เขาไปไม่ได้ ทีนี้เรื่องมองหาประโยชน์ มันจะทำอย่างไรให้มามองแง่ดีแล้วมองหาประโยชน์ เพราะอย่างที่ท่านเจ้าคุณบอกว่า การที่ของที่ไม่ดี แล้วมาพลิกพัฒนาเพราะการใช้ความจริง ต้องเป็นคนแข็งแรงมากถึงจะทำได้ ถ้าคนไม่แข็งแรงจะไม่มีวันก้าวเข้าไปสู่อันนั้น จะนั่งบ่นแล้วมองไม่เห็นทางออก เพราะฉะนั้นไม่มีคนที่จะไปมองหาประโยชน์ แม้กระทั่งสิ่งไม่ดี กลับสิ่งร้ายกลายเป็นดีนี่ บางครั้งเราใช้คำถามว่า เหตุการที่เกิดขึ้นนี่ คุณช่วยมองในแง่ดีซิ เขาจะมองไม่ออกเลย บางครั้งที่เขาไม่ได้มีช่องทางเยอะเพราะฉะนั้นหนูจึงพบว่าคนแข็งแรงเท่านั้น จึงจะมองเห็นการร้ายในชีวิต โดยสามารถเห็นจุดดีในการเรียนรู้ได้ ส่วนใหญ่จะมองไม่ออก ถ้ามองไม่ออก เราได้เรียนรู้อะไรจากประสพการณ์ ดังนั้นเราจะพบ ทีนี้อีกส่วนที่หนูจะพยายามฝึก ทีนี้อีกส่วนหนึ่งการที่เล้ากุศล หนูจะพบทุกคนก็พยายามปลอบใจว่า เราเป็นพุทธน่ะ เราเมตตาเรามองในแง่ดี แต่จะไม่เข้าใกล้ความจริง เช่นบางคนบอกว่า โอ้ ลูกพี่ลูกน้องอย่าทะเลาะกันเลย เขาก็มีดีตรงนี้ แล้วก็หยุด ไอ้ส่วนไม่ดีของเขา สรุปพอมันมีเรื่องขึ้นมาก็จะมาบ่น แต่จะไม่แก้ปัญหาในการหาประโยชน์ ทีหนูก็ว่า เราต้องหยุดการคิดอยู่ที่เล้ากุศล แล้วก็มองในแง่ของการปลอบใจ เราจะทำอย่างไร หรือว่ามีความต่างกันตรงไหนระหว่างการคิดในแง่ดีและหยุดเพื่อหลอกตัวเอง กับการที่หาประโยชน์เขาไม่ได้
พระตอบ: ก็อันที่หนึ่งก็คือต้องฝึก เพราะว่าถ้าเราไม่ฝึก บางทีมันก็ทำไม่สำเร็จใช่ไหม และถ้าทำไมสำเร็จก็ทำบ่อย ๆ จนกระทั่งเป็นนิสัยโดยเฉพาะแต่เด็ก ๆ 1. แล้วเรื่องฝึก 2.ก็คือว่าการแยกระหว่างมองในแง่ดีกับมองในแง่หาประโยชน์น่ะ มันก็ไม่เหมือนกันอย่างที่ว่าเมื่อกี้ ทีนี้ถ้าเราไปมองแง่ดีบางทีหลอกลวงตัวเอง เสร็จแล้วเกิดผลร้าย ใช่ไหม มันเพียงแต่ว่าการมองในแง่ดีนี้ก็กลายเป็นเพียงเครื่องกล่อม เอาละซิเข้าหลักการกล่อมเป็นประมาทไปใช่ไหม กล่อมใจสบายจะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์ร้อน ฉะนั้นต้องระวังเรื่องการมองในแง่ดี ฉะนั้นจึงมองให้ครบทั้งแง่ดีแง่เสีย มีเสียเท่าไหร่ ดีเท่าไหร่ และก็ส่วนที่เสียจะได้แก้ไข ไม่ใช่ทิ้งใช่ไหม คือเมื่อเราดูครบเราจะได้ไปแก้ส่วนที่ยังบกพร่องให้มันได้ดีครบทุกด้านแล้วมันจะได้สมบูรณ์ ที่นี้ในเชิงปฏิบัติการนี่ มันก็ต้องมามีโยนิโสมนสิการหลายด้านอีก ไม่ใช่ไปมองเฉพาะเขา มองตัวเราอีกแล้วสิว่า ในกรณีนี้เรามีความสามารถไหม เช่นอย่างพระพุทธเจ้าตรัสถึงว่า เอ้าคนพาลไม่ควรคบน่ะ แล้วก็ตรัสว่า นอกจากว่าคบเพื่อช่วยเหลือ อย่างนี้เอาล่ะเป็นอันว่าเราคบเพื่อช่วยเหลือถูกไหม เราอาจจะบอกคบเพื่อช่วยเหลือเสร็จแล้วก็ไม่ได้โยนิโสมนสิการ ดูตัวเองว่าไหวไหม เสร็จแล้วก็เสร็จเลยไปช่วยเขาตัวเองก็เลยแย่ไปเลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็ต้องมาดูว่า เอ้อเราจะไหวไหม เรามีกำลังพอไม่ให้ถูกครอบงำหรือถูกชักจูงไปเสียเอง อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นก็ต้องมองหลายด้าน ฉะนั้นโยนิโสมนสิการ นี่บางทีไปใช้กับไอ้ตัวเป้าหมายจำเพาะอันเดียวและก็เลยไม่ได้ดูองค์ประกอบอื่นที่จะต้องดูด้วย ต้องดูองค์ประกอบฝ่ายเขา ฝ่ายเราอีก ใช่ไหม และฝ่ายคนอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ใช่เฉพาะเขากับเรา เพราะในกรณีบางอย่างมาเกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก เราก็ต้องดูว่า เอ้อนายคนนี้มีส่วนดีส่วนเสียอย่างนี้ เมื่อเอาเข้ามาทำงานที่มันเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของคนหมู่มากมันจะได้ผลดีหรือผลเสีย ใช่ไหม นี่เอาอีก
(3)
คนฟังถาม จากการเข้าไปดูในภาคในปฎิบัติชาวพุทธจะรู้เรื่องสมาธิมาก รู้เรื่องเมตตามาก มาสู่เรื่องปัญญานี่ จะงง ๆ มาก เช่นอย่างมองคนในแง่ดี ถ้าสมมุติเรามองเล้ากุศลในแง่ดี นึกถึงในองค์กรเรามองในแง่ดี คำตอบเยอะมาก และหลังจากนั้นคุณจะมองความจริงอย่างไรคิดไม่ออก ไม่ได้ฝึกเลย
พระตอบ ไม่ได้ฝึกเลย
(4)
คนฟังถาม: เพราะฉะนั้นประเภทจริยธรรม หนูว่าเราพอมีไหม แต่ว่าประเภทคิดให้เข้าสู่สัจธรรมที่มันจะต้องเอาความคิดประเภทอื่นที่มาประกอบด้วยนี่
พระตอบ: ด้านปัญญาแท้ ๆ ไม่ค่อยได้ฝึกกัน อ้าวก็สังคมไทยนี่ก็เป็นสังคมเถรวาท มันก็ขัดแย้งกันในตัว เถรวาทปกตินี่ ตามหลักการที่เขาว่ากันมาโดยประเพณีถือว่าเน้นปัญญา ใช่ไหม ฝ่ายมหาญานเน้นกรุณา แต่ว่าในสังคมไทยก็เน้นเมตตากรุณากลับไม่ได้เน้นปัญญา ใช่ไหม และทั้งที่เป็น เถรวาท
(5)
คนฟังถาม: อย่างเรื่องของเจ้าแม่กวนอิม จะเข้ากันง่ายมากไหลเข้ามาง่าย เป็นเครื่องปลอบใจ แล้วจะกลัวบาปด้วยถ้าเราบอกว่า มองเขาอีกมีแง่หนึ่ง มองความจริงไม่บาปเหรอ คือจะมองเป็นเรื่องบาป มองส่วนที่เป็นลบของคนอื่น มองแบบวิภัชชวาทจะมองว่าเป็นเรื่องของการที่จะไม่ดีจะบาป
พระตอบ: เจตนามันมุ่งหาความจริงและก็เพื่อจะได้เกิดการปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นผลดีต่อไป เจตนามันก็ดีนี่ใช่ไหม ฉะนั้นก็ต้องให้คำแนะนำให้ความรู้กันใหม่เรียกว่า เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็อย่างที่ว่าแหละ เวลาเอาคนที่ว่ามีปัญหามาเข้ามาในกิจการของส่วนรวมมันก็ต้องพิจารณาทุกอย่างใช่ไหม ทุกแง่ แล้วก็ดูว่าส่วนที่เขาดี ก็เอาล่ะดี ใช้ประโยชน์ได้ แต่ส่วนที่ไม่ดีนี้ก็แก้ไขได้ไหม แล้วก็มันจะมีผลลบต่อส่วนรวมมากเกินไปจนกระทั่งยอมรับไม่ได้ก็ต้องไม่เอา
(6)
คนฟังถาม: แต่ทีนี้ ยกตัวอย่างที่สามารถจริงแล้ว มีปัญหามากจากธุรกิจ อย่างเราถามว่า อาชีพมีไหม เขาบอกว่าไมมี แต่ถ้าเรามองอีกแง่หนึ่ง คือกตัญญู แล้วถามเขาว่า สรุปรวมแล้วเราจะแก้ส่วนทีไม่ดีอย่างไร รักษาส่วนที่ดี รักษาส่วนกตัญญู ไม่ ก็อันนี้มันได้กตัญญูแล้ว ให้มันกลบกันไปได้ ทัศนคติของสังคมค่านิยมจะเข้ามาบล๊อคเป็นอย่างนั้น คิดอย่างอื่นไปด้วย
พระตอบ: ก็นั่นแหละมองตีขลุม มองตีขลุมก็ใช้ไม่ได้แล้วอยู่แล้ว ไม่เป็นวิภัชชวาท วิภัชชวาทต้องแยกแยะได้หมด
(7)
คนฟังถาม: ทีนี้ท่านเจ้าคุณเคยช่วยให้กระเทาะหลุดออกไปได้อันหนึ่ง เคยเรียนถามท่านเมื่อปีที่แล้วหรืองัยนี่ ตอนที่ท่านเทศน์เรื่องนี้ว่า แบบเวลาที่หนูออกไปใช้วิธีคิดสืบสาวหาเหตุปัจจัยนี้เป็นวิธีแรก แล้วก็แบบแยกแยะองค์ประกอบแยกแยะวิภัทชวาทนี่ หนูก็ข้อสังเกตุว่า หลายคนพอไปถึงจุดก็บอกว่า ได้หลายวิธี จะรู้พอดีวิภัชชวาทก็คล้ายกันกับแยกแยะองค์ประกอบน่ะ
พระตอบ: ก็แน่นอน ก็นั่นแหละ ในพุทธธรรมก็บอกแล้วไง ที่จริงวิธีวิภัชชวาทคลุมแทบหมดทุกข้อเลย บอกไว้ในนั้นแล้วทีนี้ว่า ต้องการกระจาย เพื่อจะให้เห็นแง่มุมเยอะ ๆ วิภัทชวาทจึงใช้เป็นคำเรียกชื่อพระพุทธเจ้าเลยงัย เพราะว่ามันคลุมวิธีอื่นไปด้วย
(8)
คนฟังถาม: ทีนี้หนูเคยไปเจออย่างเวลาพวกฝรั่งเขาจะพยามอธิบาย แล้วเราก็จะพยายามจะเน้น เราเรื่องพวกสมาธิ เราพูดว่าในหนังสือของพุทธนี่เรื่องสมาธิ นี่ฝรั่งไม่เข้าใจผิด พอมาถึงเรื่องปัญญาฝรั่งจะเข้าใจผิด หนูเห็นหนังสืออกมา บอกว่าไม่ต้องคิดให้รู้ตามความเป็นจริง ที่นี้ถ้าเราไม่ฝึกคิดแล้วจะรู้ความเป็นจริงได้อย่างไร ไปบล๊อค ใช้แต่กำลังของสมาธิไม่ได้ ก็เลยพูดกันในเรื่องของเดี๋ยวก่อนน่ะหนูกำลังจะพูดว่า ก็มีความเชื่อที่ท่านพูดว่า ถ้าเราไม่คิดนอกทางเราจะหลุดจากอันนั้นได้ แต่จะมีอยู่อันหนึ่งที่กล่องความคิดเดิมของเรากับความเชื่อของเรามีมากต่อกัน ขอพยายามองเรามีมากต่อกันโดยโยนิสงมรสิการ ฝรั่งก็ไม่เชื่ออนัตตา ฝรั่งไม่สนไม่เชื่อเรื่องกฎ ไม่ใช่ไม่เชื่อเพราะไม่เคยเรียนรู้และไม่เคยสัมผัส เพราะฉะนั้นในลักษณะนี้ตลอดสายนี่ มันไปบล๊อคแล้วน่ะท่าน เพราะว่ามองไม่เห็น ที่ท่านเจ้าคุณบอกหนูว่าไม่ต้องไปสนใจ เรื่องอะไรไปอธิบายเข้าใจ ให้คิดในแง่ทฤษฎีพัฒนาการ ให้เขาถามตัวเองเรื่อย ๆ ในที่สุดมันก็จะเห็นตัวเขาเอง แต่ปรากฎไม่น่ะ ไปยังงัยเขาก็ยังไปถึงตัว Self อยู่นั่น เพราะว่าของเขาเป้าหมายสูงสุดคือ การใช้ประโยชน์กับตัวตน ถ้าหลังจากนั้นเป็นอะไรเขาก็ไม่เชื่อเหมือนกับเรา
พระตอบ: ก็ของเรามันเป็นการแยกการพูดถึงความจริงของธรรมชาติ เรื่องอัตตา นี่ ทีนี้เรื่องของการปฏิบัติการในชีวิตที่เป็นอยู่ในโลกมนุษย์ มันก็เป็นเรื่องของอัตตา อันนี้พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฎิเสธนี่ อัตตาในพระศาสนาพูดมาคำสอนเรื่อง การใช้ชีวิตการเป็นอยู่ที่มีแต่เรื่องตัวตนทั้งนั้นแหละ อัตตาหิอัตโนนาโถ เป็นต้น ก็มันเรื่องของการที่พูดถึงสภาวะตามธรรมชาติ มันก็เป็นเรื่องของอนัตตา เวลาพูดไปก็พูดถึงสภาวะธรรมสิ่งนั้น ๆ มันเป็นของมันอย่างนั้นตามเหตุปัจจัยอย่างนั้น ก็ไม่มีเรื่องตัวตนขึ้นมา ต่อมาเมื่อพูดถึงการดำเนินชีวิตของคนที่เป็นอยู่ในโลก
มันก็มีเรื่องของเขาตัวฉันตัวอื่น ๆ ตามสมมติ มันอยู่ที่การเข้าใจสัจจะ 2 ชั้น หรือสมมุติสัจจะความจริงตามสมมุติ กับเรื่อง ปรมัตถสัจจะ บางทีก็อยู่ที่ Appose ของเราด้วยน่ะ เจริญพร การอธิบายคือเวลานั้นกำลังอธิบายเรื่องของสภาวะธรรมตามความจริงธรรมชาติ ตอนนั้นเราจะไม่มีเรื่องตัวตนขึ้นมา ถ้ามาพูดถึงเรื่องการดำเนินชีวิต การทำกิจหน้าที่เรื่องของการหาประโยชน์ในสังคมอะไรอย่างนี้ มันก็เป็นเรื่องของอัตตาตัวตนขึ้นมา เพราะเป็นเรื่องของระดับสมมุติ ก็เรื่องหนึ่งที่จะต้องระวังก็คือไม่เอา 2 ด้านมาสัพสนกัน เจริญพร ถ้าพูดในระดับของเรื่องของการพัฒนาคนอะไรต่าง ๆ นี่เราพูดได้เลยคำว่าอัตตาตัวตน
(9)
คนฟังถาม: ทีนี้มีบทความอยู่หลายบทความมากที่ถูกคนในเรื่องของสมาธิและปัญญานี่ ทีนี้เวลาฝึกเรื่องสมาธิไม่ค่อยมีปัญหา แต่พอมาถึงขั้นระดับปัญญาจะเห็นในบทความหลายอย่าง หรือหนูอาจจะเข้าใจผิดเองก็ได้ ที่คนพยายามบอกว่าเวลาที่สมมุติว่าจะพูดถึงเรื่องสติปัฏปฐาน 4 ระดับ วาจาเวทนา สุตาธรรมา แต่พอแยกออกไปอย่างเช่นบทความ ที่หนูอ่านเมื่อสองวันที่แล้วส่งมาให้ ของนายแพทย์จำรองที่เชียงใหม่ พอไปถึงขั้นกายาเวทนา อธิบายเราไม่สับสนน่ะค่ะ แต่เราเริ่มสับสน เพราะว่าทุกคนจะย้ำไปค้นจากตำราฝรั่งว่า ทุกคนจะย้ำเวลานั้นเพียงแต่รู้ไม่ต้องคิด ท่านเจ้าคุณบอกว่า ตัวปัญญามันเกิดจากความคิดถูกวิธี พอเข้าถึงขั้นสูงธรรมเราต้องรู้จักพิจารณา เราพูดคำว่าพิจารณา พอเวลาพิจารณาเราก็ต้องบอก เดิมจะต้องมีพื้นฐานความเคยชินของเราแบบไหน ถ้าเราพื้นฐานความเคยชินของเรามองสิ่งต่าง ๆ ไปตามหลักของกฎของบาปตามที่เคยเรียนมา แนวโน้มที่จะเข้าสู่ตัวสัจจธรรมมันก็ระดับหนึ่ง แต่ว่าถ้าเราไม่เคยฝึกมาทางนั้น เราบอกไม่ต้องคิดเลย มันได้กำลังสมาธิ ใช่ไหมท่าน
พระตอบ: คือมันไม่ใช่ ๆ กำลังสมาธิอย่างเดียวสมาธิอย่างเดียว ก็เป็นเพียงให้ใจสงบ แต่หมายถึงว่าดูสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นในปัจจุบันคือ ในชีวิตร่างกายในจิตใจของเรานี่ ความรู้สึกสบายไม่สบายเกิดขึ้นมามันก็เป็นตัวอารมณ์ให้ดูในขณะนั้นเลย แต่ว่าสภาพจิตขุ่นมัวเศร้าหมองมีความโกรธหรือไม่มีความโกรธ ของจริงที่มีอยู่ในชีวิตจิตใจของเรา
(10)
คนฟังถาม: ที่ถ้าตามดูเวทนาคือความจริงที่เกิดรับอารมณ์ แต่พอดูเสร็จมันไม่เคยรู้เรื่องเกิดดับไม่เคยรู้ว่าความไม่เที่ยงเพราะอาจจะคิดไปเลยว่า เดี๋ยวไอ้โน่นมา เดี๋ยวไอ้นี่มา มันไม่มีความเชื่อม
พระตอบ: การดูมันไม่เพียงพอ ไม่ต่อเนื่องเพียงพอคล้ายกับว่า คือการดูแบบนี้นั้นดูตามที่มันเกิด มันเป็นไป เมื่อมันได้เห็นความจริงนั้นต่อเนื่องเพียงพอ สภาพความจริงของมันที่เป็นอย่างนั้นก็จะปรากฏขึ้นมา แต่ว่าการที่สิ่งนั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มันก็เหมือนกับว่าได้ความรู้ที่เป็นข้อสรุปเป็น General Principle จากการที่เราเห็นตามดูอันนี้ เราก็ไม่ต้องไปคิด ก็เกิดขึ้นไปเป็นอย่างไงเปลี่ยนแปลงไปมันไม่ได้คงอยู่อย่างเดิม เวลาเกิดขึ้นมาแล้ว เช่นความคิดอันหนึ่งหรือความรู้สึกอันหนึ่งมันเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยให้เกิด แล้วความรู้สึกนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงหรือมันก็จะเลือนหายไป ความรู้สึกอย่างอื่นก็จะเกิดขึ้นมา แล้วก็เห็นความรู้สึกอันนี้ความคิดอันนี้ มันก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หายไป อันอื่นก็เกิดมา นี่การที่มันมีความเป็นไปเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เราตามดูไปเรื่อยก็คือ การเห็นการเกิดขึ้นดับไป ใช่ไหม อันนี้แหละ พอตามดูอย่างนี้เรื่อย ๆ ไปก็คือ เกิดการรู้ที่เป็นข้อสรุปนี่ คือการเกิดขึ้นตั้งอยู่ต่อไป ที่เรียกว่า อนิจจัง แล้วมันก็เป็นภาวะที่ไม่อยู่ในสภาพเดิม แล้วก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน นี่ก็คืออนิจจังทุกขังอนัตตา ตามที่เป็นจริงตามภาวะของมัน คือดูต่อเนื่องเพียงพอ เห็นตามทันมัน ส่วนความคิดก็ต้องแบ่ง ความคิดนั้นก็เกินไปที่บอกว่าไม่ให้คิด เพราะความคิดมี 2 แบบ การคิดอย่าอโยนิโสมนสิการ อยู่ใต้อำนาจความชอบใจไม่ชอบใจปรุงแต่งไปตามความชอบใจ ไม่ชอบใจนั้น นี่อย่างหนึ่ง อันนี้ที่ไม่ให้เอา ไม่สนับสนุน
แต่ความคิดที่มันเป็นตัวนำทำให้เกิดช่องทางเป็นตัวเปิดช่องให้แก่การเห็นความจริงอันนี้ที่สำคัญ คือการคิดที่มันถูกต้อง มันเป็นความคิดที่เปิดช่องให้แก่การมองเห็นความจริงนั้นเลย มันเป็นการนำจิตไปสู่การมองเห็นในเรื่องนั้น ๆ ถ้าไม่มีความคิดช่วยแล้ว มันไม่มีตัวนำเข้าสู่เป้าหมาย ดังนั้นความคิดที่มีประโยชน์ก็เป็นความคิดประเภทนี้ จึงเป็นความคิดแบบโยนิโสมนสิการ เช่นรู้จักตั้งคำถามถามอย่างนี้ พอเราตั้งคำถามปั๊บ มันทำให้เรานี่มีเป้าที่จิตมันจะเดินไปหา ในการที่จะดูด้วย เราจะดูอะไร อย่างไม่มีจุดชัด พอมีความคิด ซึ่งเกิดจากการตั้งคำถามเป็นต้น มันก็มีจุดที่จะมองเลย ใช่ไหม แล้วมีทิศทางด้วย พอมีจุดที่จะมอง แล้วมีทิศทางที่จะมอง การดูความจริงตามมา ใช่ไหม หมายความว่าการคิดกับการดูความจริงนี่ มันประสานกัน ไม่ใช่เป็นความคิดแบบปรุงแต่งใต้อำนาจของความชอบใจไม่ชอบใจแล้วก็ว่าเรื่อยไป มันก็กลายเป็นความฝันไป ใช่ไหม อันนี้ความคิดก็มี 2 แบบ ความคิดที่มาประสานกันเรื่องการมองการเห็นความจริง ซึ่งมันจะไปช่วยด้วย ถ้าขาดอันนี้เสีย ไอ้การมองก็มองโดยอยู่ในขอบเขตจำกัดไม่มีทางไปก็อยู่แค่นั้น ก็ให้การคิดนี้ประสานกับการมองความจริงและการมองความจริงก็ต้องมองอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งว่าไอ้ความจริงนั้นปรากฎตัวมันเอง ไม่ใช่ว่าเราต้องไปคิดมัน
(11)
คนฟังถาม: แต่จริง ๆ ถ้าเราไม่ฝึกความเคยชินของการคิดโยนิโสมนสิการก่อน ความจริงมันก็ปรากฎเยอะแยะ การเรามีสมาธิเพียงพอที่จะพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่การเหตุการเกิดดับ แต่ว่าเมื่อเราไม่เข้าใจสัจจธรรมเป็นไปได้ไหมท่าน
พระตอบ: ก็มันยังไม่เพียงพอหมายความว่า ความประจักษ์ในจิตของตัวเองยังไม่เพียงพอ ก็จึงให้เจริญจนกระทั่งเป็นเหมือนกับเป็นนิสัยของตัวเองไปเลย เพราะว่าในขณะนี้เราต้องยอมรับว่า เรานี่ถูกครอบงำด้วยการสะสมเก่า การสะสมที่จากการมองพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ตามชอบใจไม่ชอบใจนี่ คนละหลาย ๆ 10 ปีเลย หมักหมมมาใช่ไหม ไอ้เจ้านี่มันก็ครอบครองครอบงำความคิดความเข้าใจของเราอยู่ ทีนี้เราจะฝึกใหม่ไม่ให้ไอ้ตัวการสะสมอิทธิพลนี้มาครอบงำเรา เราจึงได้ให้มีการใช้สติและก็อยู่กับปัจจุบันมองเห็นความจริงเฉพาะตามที่มันเกิดขึ้นอยู่ นี้ถ้าเห็นความจริงที่มันเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ต่อเนื่องไป ไอ้ภาพความจริงนั้นมันก็ปรากฏขึ้นมา ปรากฎขึ้นมาจากภาวะของมันเองที่ว่าธรรมชาตินั้นมันไม่ได้ปกปิดมัน มันไม่ได้ปกปิดมันไม่ได้ปิดกั้นอะไรเอาเลย แต่เพราะเรานี่ไปถูกอิทธิพลของความเชื่อความชอบใจไม่ชอบใจที่มีมา มันก็เลยมามองสิ่งทั้งหลาย ไม่ได้มองตามที่มันเป็น แต่มองตามที่เราอยากให้เป็น หรือตามที่เราคิดหวังให้มันเป็นใช่ไหม ไอ้ตัวนี้ความคิดหมาย ความคาดหวังจากสิ่งต่าง ๆ มันเข้ามาครอบงำนำเอาความคิดของเราไปเสียก่อน แทนที่ว่าจะอยู่กับความเป็นจริง นี้ความเป็นจริงก็มองไปแค่ความจริงที่มันเกิดนี่แหละ สิ่งทั้งหลายเราเรียกว่าเป็นไป ไม่มีอะไรในโลกที่หยุดนิ่ง พอเรามองปั๊บนี่ มันก็มีความเคลื่อนไหวมีความเป็นไปของมัน ความเป็นไปของมันก็คือการเปลี่ยนจากสภาพหนึ่งไปอีกสภาพหนึ่ง การที่ไม่คงอยู่ในภาวะเดิมใช่ไหม และการที่มันจะเปลี่ยนแปลง แปลไป ไปสู่ภาวะใหม่นี่เป็นยังไง ก็เป็นไปตามองค์ประกอบปัจจัยที่สัมพันธ์กันใช่ไหม อันนี้ คือภาวะที่เรียกว่าอนิจจังทุกขังอนัตตา ภาวะที่ว่าภาพนั้นสิ่งนั้นหรือสภาวะธรรมอันนั้นมันปรากฏขึ้นมา แล้วมันก็หายไปปรากฏขึ้นมาแล้วก็หายไป สภาวะนี้เรียกว่าอนิจจัง และภาวะที่มันไม่คงอยู่ในสภาพเดิม มันปรากฏในสภาพใหม่อยู่เรื่อย ๆ คงอยู่ในภาวะเดิมไม่ได้แปลเปลี่ยนจากภาพนี้ไปภาพนั้น อย่างนี้เรียกว่า ทุกขัง แล้วมันก็ไม่สามารถสนองความต้องการของคน ถ้ามองในแง่เกี่ยวกับเรื่องของมนุษย์น่ะ มนุษย์ก็มีความต้องการของตนเอง ต้องการให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนเกี่ยวข้องอยู่ในภาวะใดอย่างหนึ่ง คนมีความต้องการที่จะให้สิ่งที่ตัวเกี่ยวข้องแม้แต่ชีวิตของตนเองอยู่ในภาวะอันหนึ่งที่ตัวต้องการ แต่ว่าสิ่งเหล่านั้นมันจะไม่มาอยู่ในภาวะที่เราต้องการเพราะว่ามันก็ไปตามกระแสของมัน มันก็เกิดขึ้นปรากฎในภาวะนี้ แล้วก็ภาวะนี้ก็ลับหายดับไป แล้วก็ปรากฏในภาพสภาวะอีกอย่างหนึ่ง อันนี้เป็นอนิจจัง แล้วก็ในเมื่อมันแปรไปเรื่อย ๆ ก็เป็นทุกขัง ถ้ามาเทียบกับความต้องการของเราคือขัดกัน ขัดกันก็ทุกขังในใจของมนุษย์ แล้วการที่มันแปรไปคืบเคลื่อนจากภาวะหนึ่งไปอีกภาวะหนึ่งนี่ มันไม่ได้เป็นเลื่อนลอยของมันเองน่ะ มันต้องอาศัยความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น เป็นไปตามเหตุปัจจัยในระบบความสัมพันธ์นั้นภาวะนี้เรียกว่าอนัตตา ก็ไม่มีอะไรก็เท่านี้ มันก็เป็นความจริงที่มันของปรากฏอยู่อย่างนี้ นี่คือ อนิจจังทุกขังอนัตตา ถ้าเรามองสภาพธรรมชาติตามที่มันเป็นอย่างนี้มันก็ได้แค่นี้ ก็จบ ใช่ไหม เจริญพร
(12)
คนฟังถาม: เพราะฉะนั้นเวลาตำราที่เขาเขียนตามสมมุติที่เขาเขียนภาษาเขา มนุษย์ไม่ต้องคิด แต่หนูว่าคิดว่าถึงจะรู้เป็นไปได้ไหม
พระตอบ: ต้องประสานกัน คิดก็ต้องบอกคิดโดยไม่ใช่คิดปรุงแต่ง โดยอยู่ใต้อิทธิพลของความชอบใจไม่ชอบใจเป็นต้น แต่คิดโดยบริสุทธิ์ เป็นกระบวนการที่คิดบริสุทธิ์ที่ว่าไปเชื่อมโยง เปิดช่องหรือให้ทิศทางแก่การมองความจริง เพราะว่าถ้าไม่มีการคิดมาช่วยนำ อย่างที่ว่ามันไม่ได้จุดเริ่ม และไม่ได้ทิศทางการมองความจริง เช่นว่าถามว่าอันนี้มีเพราะอะไร นี่คำถามนี้ ทำให้เกิดการมองความจริง ความคิดนั้นแหละจะทำให้มองความจริง ก็พระพุทธเจ้าถามว่าปรากฏการณ์นี้คือสภาพจิตนี้เกิดขึ้น อ้าวมันเป็นเพราะอะไรนี่ อันนี้ปั้บมันทำให้เรามองความจริงโดยไปสังเกตว่า อ้าวมันเป็นยังไงมาใช่ไหม ก็คือการคิดสืบสาวหาความจริงแต่ไม่ใช่คิดเรื่อยเปื่อยไปสังเกตดูความจริงเลยว่า สภาพจิตของเรานี่เปลี่ยนแปลงไปยังไง จากสภาพจิตไหนมาจึงมาเป็นสภาพจิตนี้ ก็เลยกลายเป็นว่าไปดูความจริงเลย ทีนี้ถ้าเราไม่มีการคิดมันก็ไม่ดูความจริงอันนี้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นมันประสานกันเลย ความคิดอันนี้ เจริญพร อาจารย์จะพอมองเห็นทางนั้นหรือเปล่า เพราะว่าอย่างที่ว่า ความคิดที่ทำให้เรามองแบบสืบสาวเหตุปัจจัยนี่ ถ้าไม่มีไอ้ตัวคำถามแบบที่ว่าไม่มีความคิดแบบที่ว่ามันไม่มองน่ะ ใช่ไหม เพราะเหมือนกับต้องการรู้ว่าสภาพจิตอันนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร จากการคิดจากการตั้งคำถามอย่างนี้ก็เลยทำให้มองมีจุดเน้นในการมอง มองดูซิว่ามันมาอย่างไร ที่นี้คือมองจากความจริงด้วยใช่ไหม ไม่ใช่คิดเอานะ แต่การคิดนั้นทำให้มอง ใช่ไหม ทำให้ไปมองว่า เอ้อความรู้สึกของเราสภาพจิตของเรานี้มันคืบเคลื่อนมาอย่างนี้จากอันนี้เป็นอย่างนี้แล้วมาเป็นอันนี้ ก็ได้ความจริงขึ้นมา ฉะนั้นการคิดที่ถูกนี้มันจะประสานกับการมองความจริงไปเลย มันเอื้อต่อกัน
(13)
คนฟังถาม: ที่นี้เวลาประสพการณ์ที่หนูไปปฎิบัติธรรมหนูจะไม่พูดในแง่ของดีไม่ดี พูดในแง่ของความพอดี ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องกำลังของสมาธิมากกว่าเรื่องปัญญาจะบอกไม่ให้คิด เรามีคนรู้อยู่แล้ว พูดอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจากกำลังของสมาธิที่รู้ ทีนี้เวลาหนูไปอ่านหนังสือจารึกบุญจารึกธรรมที่บอกว่าพระพุทธเจ้าเวลาตรัสรู้นี่เป็นเพราะว่า คือหนูไม่รู้พุทธศาสนาเรียกว่าอะไร แต่ฝรั่งเขาบอกว่าถ้าเมื่อไหร่เราตั้งคำถามเกิดจากการหลักคิดขึ้นมา มีคำถามขึ้นมา คิดแบบโยนิโสมนสิการ เจ้าคุณเคยเขียนบอกว่าคนที่ศึกษาสมบูรณ์แล้ว เมื่อเวลาอยู่ก็มีสติอยู่กับปัจจุบัน หนูก็ทำงานทำการก็อยู่ด้วยสติ แต่เมื่อเวลาจะคิดก็คิดอย่างเดียว เพราะฉะนั้นตัวความคิดไม่ได้บอกไม่ให้คิดให้รู้ ทีนี้เวลามาปฎิบัติธรรมทำไมบอกไม่ให้คิด
พระตอบ: อันนั้นก็เป็นเพราะที่ว่า อาตมาไม่ได้พูดอย่างนั้น ทีนี้บางสำนักท่านจะพูดแบบนั้น ซึ่งมันจะทำให้เขว เพราะว่ากลายเป็นว่าตัดความคิดหมดเลยต้องแยกเป็นออกหมดเลย มันต้องแยกคิดอย่างไรต่างหาก ใช่ไหม มันไม่ใช่บอกไม่คิด แต่ต้องพูดว่าคิดอย่างไร ไม่คิดอย่างไรใช่ไหม ต้องเปลี่ยนใหม่ คือถ้าไปบอกไม่คิดนี้ก็อาจจะเกิดผลร้ายได้ ต้องบอกว่าคิดอย่างไร ไม่คิดอย่างไร อันนี้ก็เป็นปมปัญหาและปลุกสมาธิอีก ถ้าเอาแต่สมาธิ คือไปคิดว่าเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วก็เห็นความเป็นจริงเอง เข้าใจอย่างนั้น ไปอ้างพุทธภาษิต พุทธพจบอกว่า สมาหิโตยถาปูตังอนาติ แปลว่า จิตเป็นสมาธิก็เกิดปัญญาเอง คล้าย ๆ อย่างนั้น ต้องระวังนะอันนี้ ถ้าเกิดสมาธิและปัญญามาเอง งั้นฤษีชีไพรก่อนพระพุทธเจ้าได้ญาณสมบัติ สมาธิลึกมากไม่ใช่เหรอใช่ไหม แล้วทำไมพวกนันก็น่าจะตรัสรู้ไปหมดน่ะสิ ถ้าสมาธิมันพอ ใช่ไหม
(14)
คนฟังถาม: จากประสพการณ์คนที่รู้จัก เล่าเรื่องประสพการณ์กับการที่ตอนหลังมาได้โยนิสงมนสิการ เวลาที่เราไปบอกไม่ต้องอ่าน ไม่ต้องอะไรแล้ว มาฝึกไปตามนี้นะ พอฝึกการนั่ง ฝึกในการหายใจ การทำสมาธิ การเดินจงกลม อะไรอย่างนี้ คือเอาเป็นฝึกรูปแบบด้วยสาระต้องอธิบายไม่ชัดเจน พอฝึกไป พอฝึกไปถึงจุดหนึ่งที่ใจเรามี หมายถึงว่าเรามีสมาธิพอ การดูลมหายใจ ดูเวทนาที่เกิดขึ้นอะไรนี่นะ เสร็จแล้ว สักพักหนึ่งมันมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เกิดประสพการณ์ของตัวหนู มันเกิดความเบื่อหน่าย ๆ เพราะบางทีท่านก็เทศน์ด้วย ท่านบอกว่า นั่นก็คือจริง ๆ นั่นก็คือตัวปริยัติ ก็เทศน์ให้เบื่อหน่าย ร่างกายอะไรต่ออะไร ทีนี้เรามีสมาธิแล้วเราก็ฟังเทศน์เบื่อหน่ายร่างกาย เราก็เบื่อก็เลยไม่อยากทำอะไร หลายคนก็บ่นกันเบื่ออยากทิ้ง ๆ ไป มีอนัตตาก็เบื่อ แล้วก็เบื่อ แล้วก็เกิดเป็นอาการอยู่นานมาก พอนั่งสมาธิเกิดอาการเบื่อมาก มีปัญหาแต่ว่าเอาไปใช้กับประโยชน์ต่อสังคมไม่ค่อยได้เพราะว่าเบื่อ จนกระทั่งหนูเห็นโยนิสงมนสการก็มาอ่านละเอียด ที่ท่านเขียนว่า จริง ๆ เวลาพิจรานาความตายสุดท้ายต้องไม่ประมาท และจริง ๆ มันไม่ได้ว่าให้เบื่อยหน่ายน่ะ เบื่อหน่ายในตัวสังขาลหรืออะไรนี่แหละ แต่ว่ามันต้องใช้ตัวตนเรานี่ทำประโยชน์ได้มากที่สุดบ้าง จริง ๆ ถ้าอยู่ใกล้ตัวสมาธิก็มีความสุข ไอ้เบื่อหน่ายมันใก้ลความทุกข์
พระตอบ: มันเป็นเพียงขั้นตอนคือว่า เรื่องนี้ในแง่มุมเยอะ เอาอย่างงี้ก่อน 1.มรณะสติ ระลึกถึงความตาย มันให้โยนิโสมนสิการ มันได้ทั้งสองด้าน คือว่าทำให้เห็นความจริงก็ได้ ให้เห็นอนิจจังทุกขังอนัตตา อนิจจังของชีวิต สังขาลที่มันเป็นที่เกิดขึ้นดับไป ในแง่นี้มรณะสติโยงไปหาการให้เห็นความจริง แต่อีกด้านหนึ่งก็คือปลุกเล้ากุศล พอมรณะสติก็ทำให้เราเอ้อเราจะต้องไม่ประมาทน่ะ ต้องรีบทำชีวิตมีคุณค่าทำความดีนี้เรียกว่า ฝ่ายมองเห็นประโยชน์ หมายความว่ามรณะสติได้ทั้งในแง่ให้เห็นความจริงและในแง่หาประโยชน์ได้ ได้ทั้งคู่เลย อย่างอนัจจังที่ว่าเมื่อกี้ ที่อาตมาพูดไป ก็พอเห็นความจริงของสิ่งทั้งหลายมันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ เป็นอนัตตานี่เห็นความจริง อนิจังก็ทำให้เราไม่ประมาท ก็ได้ประโยชน์ก็ได้ทั้งคู่ แต่ทีนี้เรื่องว่าเรื่องของการที่ว่า เทศน์แล้วให้เบื่อสังขาลอะไรต่ออะไร เพราะพูดในแง่ที่มันไม่น่าพึงพอใจอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าตามปกติแล้วพระพุทธเจ้าจะทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยพื้นเพจริตของคนฟังใช่ไหม ที่นี้มาใช้กับคนจำนวนมากนี่มันก็เกิดได้ทั้งผลร้ายและผลดี เพราะคนที่ฟังนี้พื้นเพอุปนิสัยความแตกต่างไม่เหมือนกัน ฉะนั้นคนนี้อยู่ในระดับนี้จิตมันจะต้องใช้อันนี้จะต้องเกิดประสพการณ์นี้แล้ว เขาจึงจะสามารถก้าวต่อ สมมุติว่าคนนี้เกิดความยึดติดผูกพันหลงมากเกินไป ก็มาสอนอันนี้ปั้บ เพื่อที่จะสร้างปฎิกิริยาขึ้นมาให้จิตมันขยับเขยื้อนได้ มิฉะนั้นแล้วจิตจะหมกติดอยู่อย่างนั้น ก็เลยเอาไอ้เรื่องของความเบื่อหน่าย เรื่องของสภาพที่มันไม่น่ายึด ไม่น่าเป็นเอา ไม่น่าเป็น มาเทศน์ทำให้จิตเกิดปฎิกิริยา มันจะได้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะออก อันนี้สำหรับอีกคนหนึ่ง เขามีความโน้มเอียงจะเบื่อหน่ายอยู่แล้ว ไปพูดมากก็เลยฆ่าตัวตายไปเลย จบเลย ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านทรงสอนเองต้องดูคนน่ะ ดูว่าคนนี้เขาจะอยู่ในระดับไหนอย่างไงสอนให้พอดี อันนี้พระ เดี๋ยวนี้ท่านสอนได้ตามที่ท่านนึก แล้วท่านก็ว่าไปตามท่านเข้าใจของท่านอยู่องค์เดียว ไม่เหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสามารถเข้าใจคนที่ฟัง เขาใจคนอยู่ขั้นไหนระดับไหน ใช่ไหม ฉะนั้นเรื่องเหล่านี้มันก็เกิดจาก หนึ่ง ความแตกต่างระหว่างบุคคลคนที่ฟัง สอง ความสามารถของผู้ฟังผู้สอนเอง สาม ระดับจิตของคนอีก ระดับจิตของคนมันก็มีวิวัฒนาการถ้าว่าโดยรวม ๆ คนเรานี่ปุถุชน มันจะอยู่ใต้อำนาจความชอบใจไม่ชอบใจมันเป็นธรรมดาสะสมแล้วมีโลภะโทสะโมหะ อันนี้ความยึดติดถือมันก็จะมีมาก อันนี้จะทำอย่างให้ก้าวไปได้เลยต้องมีอันหนึ่งก็คือว่าการที่จะเข้าไปสู่เห็นความจริง มันต้องมีจุดที่จะก้าวต่อโดยการที่ทำอย่างไรให้คลายออกไป ฉะนั้นก็เลยต้องมีปฎิกิริยาออกมาตอนแรกพอพิจารณาเห็นว่าสังขาลสิ่งทั้งหลายมันไม่เป็นอย่างที่เราเคยเข้าใจ มันไม่ได้เป็นไปอย่างที่ปรารถนา มันมีแงร้าย แง่อะไรต่าง ๆ ก็มองก็ไปในแนวทางตรงกันข้ามก็เกิดปฏิกิริยาก็เบื่อหน่าย ไอ้การเบื่อหน่ายนี่ทำให้เขาก้าวไปได้ แต่ว่ามันไม่ใช่จุดจบ อย่างในลำดับญานเคยเล่าให้พระท่านฟังแล้ววิปัสนาฌานนี่ มันจะมีการเห็นการเกิดดับของรูปนาม เอามาเริ่มตั้งแต่แยกให้เห็นว่าสิ่งทั้งหลาย อ้อไม่มีอะไรในโลกนี้ก็มีแต่รูปธรรมนามธรรม ใช่ไหม เจริญพร ต่อมาก็เอ้อเห็นรูปธรรมนามธรรมก็รู้ว่าเกิดขึ้นดับ ดับไป ๆ ไม่มีอะไรคงอยู่ตลอดไป ต่อมาก็โอ้มันก็ดับไปหมด มีอะไรก็ดับไปหมด ต่อมาก็ชักรู้สึกว่าเอ้ มันไม่เห็นจะน่าเอาน่าเป็น มองเห็นข้อบกพร่องชักเกิดความเบื่อหน่าย เบื่อหน่าย พอเบื่อหน่ายก็อยากจะหนี อยากจะไปให้พ้นไม่เอาแล้วว่างั้น ต่อมาพอพิจรานาความจริงไป ๆ มา ๆ ในที่สุดก็เห็นอ้อ มันก็ความจริงธรรมดาของมันอย่างนั้น มันอยู่ที่เรา ไม่ใช่ยึดมันว่า อย่างนี้เราชอบมาก่อน ต่อมาพอมันไม่เป็นตามที่ชอบก็เกิดเบื่อหน่าย มันเป็นปฎิกิริยาในใจของเราเอง แต่มันก็ไม่ใช่เกิดมาลอย ๆ มันเกิดจากเห็นความจริงบางอย่างใช่ไหม อันนี้ก็เป็นการพัฒนาของจิตใจของเขา จากที่ปัญญามันเริ่มงอกเงยเจริญขึ้นมา ทีนี้พอไปเห็นความจริงไปถึงจุดหนึ่งเบื่อหน่าย แล้วต่อมาเห็นความจริงแล้วปรับใจเข้าใจตัวเองด้วยน่ะ เห็นความจริง มันเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นน่ะ มันก็เป็นอย่างนี้ของมันอยู่อย่างงั้น มันก็ไม่ใช่เรื่องทีใครจะชอบใจไม่ชอบใจ มันเป็นเรื่องธรรมดาสภาวะ ตอนนี้จิตมันปรับได้เกิดอุเบกขาเลย เป็นสังขาลอนุเบกขาญาน วางใจพอดี เรียบสงบ ลงตัว ไม่บวกไม่ลบเลยทีนี้ เป็นกลางเลยใช่ไหม เจริญพร ตอนนี้จึงจะตรัสรู้ได้ ถ้ายังอยู่ตรงเบื่อก็ไม่ตรัสรู้หรอก
(15)
คนฟังถาม: หนูถึงบอกว่าปัญญา เป็นเรื่องโครงการที่สำคัญมาก
พระตอบ: สำคัญเลย สำคัญ แต่ว่าตกลงว่าถ้าเขาเบื่อหน่ายก็รู้ทันเขาก็แล้วกัน
(16)
คนฟังถาม: รู้ยากน่ะ อันนี้จะมีสติ
พระตอบ: อย่างน้อยก็ให้หลักเขาให้หลักธรรมปริยัติ ให้เขา พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า จิตมาถึงตรงนี้ นี่ที่คุณเบื่อหน่ายดีแล้ว แต่ที่คุณมาถึงจุดนี้ได้ แต่ว่าอย่าลืมว่าพระพุทธ้เจ้าตรัสต่อไปน่ะ คุณจะได้บรรลุจุดหมายคุณจะต้องก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ที่จะเห็นความจริง ที่มันเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้น และวางใจเป็นกลางได้ นั่นและคุณจะก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ให้เขาเห็นทางบ้าง อย่าให้เขาไปติดอยู่แค่เบื่อย แล้วก็เลยหมดจิต หมดใจ หมดพลัง แล้วหันกลับไปเรื่องสมาธิ ที่ว่าสมาธินี่ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าจิตตั้งมั่นแล้วจึงจะรู้เห็นตามเป็นจริง หมายความว่ามัน แปลความหมายได้ทั้งทางในแง่ต้องมีสมาธิน่ะจึงจะเกิดปัญญาได้ แล้วก็เมื่อมีสมาธิแล้วจิตตั้งมั่นก็สามารถจะเห็นตามตวามเป็นจริง จะเห็นได้ตามเป็นจริง แต่ไม่ใช่มีสมาธิแล้วปัญญามันจะมาเอง อย่างงั้นต้องไปพัฒนาปัญญาซิ ก็อย่างที่บอก ถ้าอย่างงั้นฤษีชีไพรก็ได้สมาธิออกลึกซึ้งใช่ไหม แต่ก่อนพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ก็อย่างที่ว่า อาฬารดาบส กามะโคต อากิญจัญญา ยะสะมาบัตเป็นสมาธิขั้นสูง จตุถฌาน อันนี้ก็สูงสุดแล้วยังไปถึงรูปฌานอีกแน่วแน่สนิทลงไปอีก แล้วอุฬารดาบส รามมาบท เนวสัญญานาสัญญายตนะ จบสมาบัติ 8 ก็สมาธิยอดเยี่ยมแล้วทำไมไม่ตรัสรู้ล่ะ ถ้าบอกถ้าไปตีความอย่างงั้นกลายเป็นว่า เอ้าถ้าอย่างงั้นก็พุทธเจ้าจะต้องเกิดทำไมเล่าฤษีเขาได้สมาธิกันออกเก่ง ๆ ใช่ไหม นี่เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วว่า ต้องพัฒนาไปด้วยกันทั้งศีลสมาธิปัญญา พฤติกรรมจิตใจและปัญญา ไม่ใช่สมาธิพอได้แล้วก็ปัญญาเกิดเอง เพราะฉะนั้นไม่ต้องมีวิปัสนา ก็มีแต่สมาถะก็พอ เพราะสมาถะทำให้เกิดสมาธิ คือไม่เข้าใจความเป็นปัจจัยกัน และความสัมพันธ์กันระหว่างองค์ประกอบในการปฎิบัติทั้งศีลสมาธิปัญญานี้ใช่ไหม เจริญพร นี่ตัวสำคัญก็เลยทำให้เข้าใจไขว้เขวไป
(17)
คนฟังถาม: อย่างใช้ศีลได้สมาธินี่ค่อนข้างดีใช้กลายเป็นว่าสอนลำบากด้วยน่ะ แต่มันไม่มีตัวฌานมาก่อน
พระตอบ: มันก็ติดน่ะซิ
(18)
คนฟังถาม: ไปจำตรงนั้นมาเอาตรงนี้มา พอได้สมาธิบางคนแม้กระทั่งว่า สภาพจิตไม่ดีนี่ สมาธิดีก็สอนยาก ก็จะดิ่งไปเรื่องนั่น กลับจะเป็นโทษ
พระตอบ: ใช่ซิสมาธิเป็นโทษเยอะซิ สมาธิก็หนึ่ง ก็ทำให้โน้มไปสู่ความขี้เกียจ สบายใช้เป็นสิ่งกล่อม กล่อมใจหนีปัญหาหลบปัญหาไม่ต้องทำอะไรเวลามีทุกข์มีร้อนก็หลบเข้ามานั่งสมาธิเพลิน ก็เลยกลายเป็นตัวถ่วง ไม่ให้เดินหน้าด้วย ฉะนั้นสิ่งที่ว่าดี ใช้ไม่เป็นก็เป็นโทษ มิฉะนั้นก็จะมีเหรอมิจฉาสมาธิ สมาธิก็เป็นสมาธิเป็นมิจฉา ใช้ผิดเอาไปกล่อมใจซะ หรือใช้หาฤทธิ์ อะไรเป็นต้น
(19)
คนฟังถาม: พวกฝรั่งที่มาเล่นกันตอนหลังมันเป็นการพิสูจน์ มีการพิสูจน์ตัวเอง
พระตอบ: คือบางทีมาคิดดิ่งในแง่เดียวคิดในแง่นั้นไปดีแล้ว ๆ แต่แง่อื่นมันไม่มอง
(20)
คนฟังถาม: อย่างเวลาที่เจ้าคุณ พูดหนังสือพวกนี้มองไม่เห็น เรื่องวิภัทชวาท อย่างเรื่องการทำแท้งหรืออะไรที่ทางหมอศิริราชเขาถาม ท่านเจ้าคุณจะแยกจะให้มีความคิดที่ปราณีตก่อน แต่ส่วนใหญ่คำถามของแพทย์ต้องการให้ท่านเจ้าคุณว่าตอบลงไปเลย
พระตอบว่า: ตอบผางลงไปเรียกว่า เอกังสวาท
(21)
คนฟังถาม: แล้วมันคืออะไร แสดงว่าแต่ละคนให้ตัดสินเลย หนูว่าการแยกทำให้ฝึกละเอียด
พระตอบ: ต้องฝึกความคิด พระพุทธเจ้าจะไม่ใช้เอกังสวาท นอกจากเป็นความจริงที่เด็ดขาด การตอบก็มีเอกังสวาท เอกังทรัพยากร ปติปุจฉาพยากรณ์ต้องย้อนถาม
(22)
คนฟังถาม: ทีนี้การปะทะกับสิ่งต่าง ๆ กับผู้คนนี่ วิธีฝรั่งวัดไอคิว จะมองตรงนั้น เวลาเขาตอบปัญหาอะไรไป เขามองสื่อสารมองรวมกันได้เยอะมากไหม ถ้าเยอะแล้วเป็นแบบวิภัทชวาท มันเป็นตัววัดตัวหนึ่ง
พระตอบ: ก็จะเห็นความจริงได้ชัดทุกแง่ทุกมุม ให้พอดีกับความจริง ถ้าไม่งั้นไม่พอดีกับความจริง เพราะตัวไปมองแง่เดียวกับความจริง มีหลายแง่ มันก็ไม่พอดีกับความจริง นี่ก็
1. เอกังทรัพยากร ตอบถามผางเดียวเด็ดขาด
2. ปติปุจฉาทรัพยากร ต้องย้อนถามก่อน แล้วจึงตอบ
3. วิภัชชวาทพยากรณ์ ต้องแยกแยะตอบ จำแนกแจกแจง แล้วก็สุดท้ายก็ทับปัญหาเลย หมายความว่าปัญหานั้นถามผิดต้องทับไปเลย
(23)
คนฟังถาม: พรุ่งนี้ต้องไปฝึกเยอะแล้วเอามาเปลี่ยนนิสัยได้ไหม
พระตอบ: เป็นวิธีคิดโยอนสงโยธิกา แต่อย่างอนัตตานี้ก็อธิบายแก่ท่านในที่ประชุมนี้ท่านเข้าใจไหมฮะ แต่พอในภาวะทั่ว ๆ ไป คือเราอย่าไปเริ่มที่อะไรที่จับจุดตายตัวเสีย แล้วต้องพูดถึงสภาพทั่วไป คือการที่สิ่งทั้งหลายนี่ คือพอเรามองลงไปในโลกนี้ มันก็จะเห็นสิ่งทั้งหลาย ใช่ไหม สิ่งทั้งหลายไม่ได้อยู่นิ่งเลย มันมีความเป็นไป นี่ความเป็นไป ที่เราอยู่ในโลกนี้มันเป็นโลกแห่งความเป็นไป ใช่ไหม ทั้งหมดมีความเป็นไป ไอ้ความเป็นไปอะไร คือจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งใช่ไหม สภาพนี้ปรากฏและสภาพนี้ก็เลือนหายไป แล้วก็มีสภาพใหม่ ก็ไปอย่างนี้เลื่อย นี้เรียกความเป็นไป ความเป็นไปอย่างนี้ก็คือความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงก็คือเปลี่ยนจากสภาพหนึ่งไปอีกสภาพหนึ่ง สภาพเก่าหาย สภาพใหม่ปรากฏ นี้คืออนิจจัง นี่อนิจจังปรากฏแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลย เพราะว่านี่คือโลกแห่งความเป็นไปก็ต้องอนิจจังเท่านั้น ทีนี่การที่มาเป็นอนิจจังคือเกิดปรากฏแล้วก็หาย เกิดแล้วก็หาย มันก็ไม่อยู่ในภาวะเดิม ใช่ไหม อาการที่ใม่อยู่ในภาวะเดิม เราเรียกว่าทุกขัง มันไม่สามารถจะคงอยู่ในภาวะนั้นได้ ต้องไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง อนิจังทุกขังรวมกันเรียกว่าความเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนแปลงคืออนิจจัง เราพูดแบบง่าย ๆ เปลี่ยนแปลงมันเป็นศัพท์รวมเป็น Concept รวมที่พูดทั้งอนิจจังทุกขัง เพราะว่าอนิจจังนั้นคือการที่สภาพหนึ่งปรากฎแล้วสภาพนั้นก็หาย สภาพใหม่ปรากฏ คือการเกิดดับ อันนี้เรียกว่าอนิจจัง ไม่ใช่ว่ามาพูดเป็นการเปลี่ยนแปลง แล้วก็จากการที่ว่าไม่คงอยู่ในภาวะนั้น อันนี้เรียกว่าทุกขัง ทีนี้การที่มันไม่คงอยู่ในภาวะนั้น มันก็เกิดการที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงแล้ว ตอนนี้เราได้แล้วอนิจจังทุกขังเปลี่ยนแปลง พอเปลี่ยนแปลงไปมันก็เป็นสภาวะของมันเอง แล้วที่มันเป็นอย่างนี้มันไม่เป็นไปเลื่อนลอย ที่มันปรากฏใหม่ในภาวะอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ใช่เกิดโดยเลื่อนลอยนะ แต่มันปรากฏเพราะมันอยู่ในระบบความสัมพันธ์ ใช่ไหม และอิทธิพลของสิ่งมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์นั่นแหละทำให้มันปรากฏรูปอีกอย่างหนึ่งนี่ อันนี้ก็คือความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลายระบบความสัมพันธ์ที่สิ่งทั้งหลายนี้ขึ้นต่อกันเป็นปัจจัยหนุนแก่กัน เป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็คือภาวะที่มันเป็นไปตามสภาพของมัน มันเป็นอยู่เป็นไปตามสภาพของมัน ตามเหตุปัจจัยของมันเป็นต้น โดยไม่ได้มีใครมาเป็นเจ้าของครอบครองบังคับบัญชา สั่งการได้นี้เรียกว่า อนัตตา ก็จบ
(24)
คนฟังถาม: ทีนี้จะให้เข้าไปในองค์ประกอบของเหตุปัจจัยที่ให้เป็นเหตุ
พระตอบ: อันนั้นแหละคือ มนุษย์ต้องไปเป็นปัจจัยตามระบบปัจจัยของมันไม่ใช่เอาความปรารถนาสั่งบังคับ เอ้อแกต้องเป็นอย่างนี้ แก่ต้องเป็นอย่างนั้น นั่งพูดเอา ใช่ไหม การที่มนุษย์เข้าไปจะทำอะไรนี่ก็คือต้องเข้าไปเป็นปัจจัยในนั้น มันก็เลยกลายเป็นระบบความสัมพันธ์ปัจจัย ก็เท่านั้น ไม่ได้มีตัวสั่งบังคับได้
(25)
คนฟังถาม: อันนี้สมมุติว่า เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่เกิดความทุกข์ คือเราก็มองตามเหตุปัจจัย ถ้าสมมุติแต่มีการโต้แย้งกันมากที่คิดอย่างนี้ เขาบอกว่าเวลาเราจะเข้าไปเกี่ยวข้องเราจะต้องมองเป้าหมาย คือเราจะต้องมองเป้าหมายและมีการวางแผนต้องมองเป้าหมายในการวางแผนเริ่มคิดสะระตะก่อนที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง มันมีความคาดหวังมี Expectation แล้วพอมี Expect จะได้ฝึกเป็นไปคาดหวังไม่ได้ มันเป็นการคาดหวัง แล้วท่านเจ้าคุณเทศน์ต่อไป ไอ้นี่เแหละคือสิ่งที่เราเคยหวังมันไปสวนกระแสธรรมชาติ ทำให้เกิดทุกข์ แล้วถามว่าถ้าไม่หวังจะทำอย่างไรไม่ให้หวัง คือทำให้เป็นกลางในที่สุด เราก็เข้าไปเกี่ยวข้องเท่าที่ปัญญาเรารู้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การเปลี่ยนอีกระดับหนึ่ง มันมีสภาพเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้ เหมือนเราคิดข้างหน้าก่อน
พระตอบ: ไม่ ไม่ใช่อย่างงั้นแล้ว ค้าน การคาดหวังคือเอาเลย ต้องวางแผนจะเอายังไง มันควรจะเป็นด้วยปัญญา คือปัญญามองเห็นด้วยเหตุผลมันควรจะเป็นอย่างงี้ ตั้งเป้าเลย แล้วทำตามเหตุปัจจัยเลย แล้วศึกษาเหตุปัจจัยทำตามเหตปัจจัย แล้วผลเกิดเท่าไหร่ สำเร็จหรือไม่สำเร็จเป็นไปตามเหตุปัจจัยรู้ตามนั้น นี่ต่างหากที่สำคัญ คือไม่ใช่เอาตัวความอยากของตัวหรือความอยากเรียก ไม่ ไม่ มันมีคาดหวังสองอย่างคาดหวังด้วยความอยากเป็น Emotion การคาดหวังด้วยปัญญา ว่ามันควรจะเป็นอย่างไร ทีนี้การคาดหวังนี้สำเร็จหรือไม่สำเร็จเรารู้ตามที่เหตุปัจจัยให้เป็นสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ให้เป็นตามเหตปัจจัยของมัน แม้แต่เวลารอผลก็ไม่เกิดทุกข์ ใช่ไหม เพราะว่ามันมองที่มนุษย์ เออใช่สำเร็จหรือไม่จะสำเร็จตามนี้ก็ตามเหตุปัจจัย เมื่อไม่สำเร็จเราก็มองว่า เอ้าแสดงว่าเหตุปัจจัยอะไรขาดที่จะเกิดผลไม่ได้ หรือมีเหตุปัจจัยอื่นมาขัดแย้ง เราก็ศึกษาต่อซิ ด้วยการมองแบบปัญญาอย่างนี้ ก็ตัดไอ้เรื่องของความยึดอยากของตัวเองที่จะให้เป็นตามปรารถนา ถูกไหม เอ้อมันคนละระบบเลยน่ะ เจริญพร ปัญญาแท้ ๆ แล้วแม้แต่สำร็จหรือไม่สำเร็จก็ไม่ทุกข์ ใช่ไหม เจริญพร ทีนี้เจ้าตัวตัณหาแท้ ๆ นี่ ตอนแรกที่มันตัณหาแท้น่ะ ล้วน ๆ มันจะมีแต่การ อยากจะให้เป็นตามที่ตัวอยาก ไม่มีปัญญาเข้ามาเลย ตอนนี้จะทุกข์เต็มที่เลย ไม่สำเร็จด้วยแล้วทุกข์เต็มที่ ต่อมาเริ่มเอาปัญญาเข้ามาช่วย แต่ว่าเป็นปัญญาสนองตัณหา ต่อมาปัญญามันบริสุทธิ์ เอาตัณหาออกไปเสียได้ ก็เป็นปัญญาบริสุทธิ์ พอปัญญาบริสุทธิ์นี้ มีทั้งทำการสำเร็จด้วย ไม่ทุกข์ด้วย ใช่ไหม ไม่ใช่ปัญญา ปัญญาก็ต้องมีความรู้ปัญญาจะเป็นได้อย่างไร ว่าสิ่งไรควรจะเป็นอย่างไร นี่สิต่างหากเป็นปัญญาแท้ ใช่ไหม มันไม่ใช่เป็นความที่จะเป็นตามที่ปรารถนาเฉย ๆ แต่มันเป็นความที่ควรจะเป็นตามปัญญาบอก ใช่ไหม หรือแม้แต่จุดหมายก็ต้องมีจุดหมายของปัญญา กับจุดหมายของตัณหาแล้ว นี่เราต้องเริ่มตั้งแต่การวางแผนเพื่อสนองจุดหมายที่ปัญญาเห็นว่าควรจะเป็น ไม่ใช่ไปสนองจุดหมายที่ตัณหาอยากให้เป็น ใช่ไหม แค่นี้ต้องแยกแล้ว
แต่อาตมาอยากจะย้อนกลับไปเรื่องอนัตตา ก่อนที่จะมาใช้ปฏิบัตให้เกิดผลก็คือ มองสภาวะที่ว่ามันเป็น อนิจังทุกขังอนัตตา อนัตตาคือภาวะที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นอยู่ ดำรงอยู่ตามสภาพของมันแล้วเป็นไปตามสภาพของมัน ซึ่งเป็นไปตามเหตปัจจัย เป็นต้น ไม่ขึ้นต่อความปรารถนาคำสั่งบังคับของใครทั้งสิ้น ถูกไหม อันนี้เรียกว่าอนัตตา ก็สิ่งทั้งหลายก็ดำรงอยู่เป็นตามสภาพของมัน ถูกไหม เช่นตามเหตุปัจจัย ใครไปเป็นเจ้าของยึดครองสั่งการณ์บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ ไม่มี ใช่ไหม นี่แหละคือภาวะอนัตตา ก็คือมองเป็นกระบวนการของธรรมะเหตุปัจจัย ล้วน ๆ ระบบความสัมพันธ์นี้ ก็คือมองเห็นอนัตตานี่ มันจะมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นระบบความสัมพันธ์อันใหญ่ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันส่งผลต่อกันเป็นปัจจัยแก่กันแล้วเป็นกระบวนการ ก็คือเคลื่อนไปเรื่อย ใช่ไหม เจริญพร หมดนี่คืออนัตตา ไม่มีตัวตนขึ้นมาสั่งบังคับปรารถนาจะให้เป็นอย่างนี้อย่างนั้นได้
(26)
คนฟังถาม: ถ้าเรามีความจริงอย่างนี้สืบตัวเอง เราจะมีความละเอียดและมีเวลาจะเข้าไปเกี่ยวข้องปัญญาแท้ ๆ
พระตอบ: มันก็ต้องมองกว้าง มองอะไรทำให้ไม่ติดอยู่กับความปรารถนาของตัวเองเท่านั้น ใช้ไหม มันก็จะไปมองที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องระบบความสัมพันธ์เป็นอย่างไร ระบบความสัมพันธ์ยิ่งใหญ่ที่สุด
(27)
คนฟังถาม: หนูว่า แม้เราไม่ใช้ปัญญาตลอด แต่ว่าฝึกโดยไม่มีวิวาทสุขภาพจิตดีขึ้น
พระตอบ: ก็เพราะปลีก มันตัด มันแยกออกไปจากตัวตนได้ ไอ้ตัวตนนี่มันเกิดจากไอ้ตัณหานี่ คือมีตัวตนพอเรามีตัณหามีความปรารถนาปั้ป มันมีตัวตนที่จะเป็นเจ้าของความปรารถนาทันทีเลน ใช่ไหม แต่พอมันมองความจริงตามสภาวะของมัน ตัวตนมันเกิดไม่เกิดได้ ฉะนั้นตัวตนในเชิงจริยธรรมก็ตัวตนอันนี้ที่มีความอยากความปรารถนาจะให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามที่ตัวอยากปรารถนา ยึดหมายสำคัญมั่นหมายคือตัวตนในทางอารยธรรม และตัวตนในทางความเป็นจริงมันไม่มีอยู่แล้ว เพราะว่าสิ่งทั้งหลายเป็นระบบ ความสำพันธ์ในเหตุปัจจัยต่อสิ่งทั้งหลายรวมอยู่ในสภาพของมันเป็นไปตามคันรองของมันเอง ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ของมันอย่างที่ว่า
(28)
คนฟังถาม: หนูได้ความคิดขึ้นเยอะ บางทีนี่เราเข้าใจแล้วข่าวสารไม่ชัดเราเลยมันแต่มันก็มีสองระดับสัจธรรม กับระดับจริยธรรม ระดับโลอุตระ แต่ที่หนูได้มาว่า อนินจังทุกขังระบบของเปลี่ยนแปลงอนัตตาเป็นระบบของการเปลี่ยนแปลงแล้วมองที่ตัวเอง
พระตอบ: แล้วความเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ได้จริงต้องมีความมีอนัตตาอยู่ด้วย ก็คือมีระบบความสัมพันธ์มีสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัยของมันเป็นต้น ดำรงอยู่แล้วเป็นไปตามสภาวะของมัน
(29)
คนฟังถาม: ส่วนที่มีประโยชน์มาก เราไปรวมกลุ่มกันมีประโยชน์มาก ก็คือ สิ่งที่ได้รับกลับมา คือว่าถ้าเขามีหลักอย่างนี้บ้าง แม้เขามีหลักอย่างนี้บ้าง แต่หนูอธิยายไม่ชัดเจน ถ้ามีหลักนี้บ้าง ความทุกข์มันกระทบแล้วเรารับเข้าจะน้อยลง
พระตอบ: ก็มันไมมีตัวตนมารับกระทบ ใช่ไหม เพราะมีตัวตนแล้วกระทบมันก็เลยทุกข์ไม่มีที่ตั้ง เรียกว่าอย่างงั้น ทุกข์ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีที่ก่อตัวมันก็เลยไม่รู้จะเจริญงอกงามได้อย่างไร นี่ถ้าเราไปเอาตัวตัณหาความปรารถนาขึ้นมาก็มีผู้อุปทานเข้าหมายมั่นต่อสิ่งนั้นให้มันเป็นอย่างนั้นปั้บ ทุกข์ก็มีที่ก่อตัวขึ้นมาก็เจริญงอกงามได้ ถ้ามองเห็นตามสภาพภาวะระบบความสัมพันธ์ในเหตุปัจจัยทั้งหลาย เป็นสภาวะทางเคลื่อนไหวไปมองตามเหตปัจจัยนั้นมันก็ไม่มีตัวตนที่จะมาเป็นจุดเริ่มต้นก่อตั้งทุกข์ที่จะเจริญงอกงามได้
เอาล่ะ เจริญพร ถ้าอย่างนั่น พูดมาวันนี้ก็ยาวยึดเลย