แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
มาคุยกันเรื่องแทรกนิดหน่อย ที่ท่านสุรเดชถาม เกี่ยวกับวาจาที่พระพุทธเจ้าตรัส ความจริงเรื่องนี้มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักการที่เรียกว่า วิภัทชวาท ไม่ใช่อยู่ในเรื่องสัมมาวาจาโดยตรง คือวาจาพระพุทธเจ้าตรัสก็ย่อมเป็นสัมมาวาจาอยู่แล้ว แต่ทีนี้ว่ามันมีหลักการพิเศษขึ้นมา พระพุทธเจ้ามีวิธีตรัสเรื่องราวต่าง ๆ แล้วก็หลักการสำคัญอันหนึ่งก็คือ วิภัทชวาท ซึ่งเป็นหลักใหญ่จะเป็นการตอบปัญหาก็ตาม จะเป็นการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ก็ตาม จะทรงใช้วิภัทชวาทอยู่เสมอ จนกระทั่งบางทีก็เรียกว่าพระพุทธเจ้านี่ ไปมีคุณสมบัติเป็นวิภัทชวาทวาที และก็เรียกพระพุทธศาสนาก็เป็นคำสอนแบบวิภัทชวาท วิภัทชวาทวาทีก็คือว่า แยกแยะ กล่าว พูดแยกแยะ พูดแยกแยะนี่ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจน ให้ครบถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะบางทีความจริงนั้น เรายังพูดลงไปสู่คนเดียวไม่ได้ ต้องพูดให้ครบตามความจริงทุกแง่ทุกด้าน ยกตัวอย่าง เช่นเรื่องว่าอะไรดีอะไรชั่วนี่ แม้แต่คนจะไปบอกว่าดีหรือชั่วลงไปอย่างเดียวนี่ มันก็จะไม่ตรงตามความเป็นจริง มันแต่ละสิ่งแต่ละคนมีแง่ดีแง่เสีย ฉะนั้นถ้าจะพูดให้ตรงก็ต้องแยกแยะพูด แยกว่าเออดีในแง่นี้ ยังหย่อนในแง่นั้น ที่นี้ในการตอบคำถามก็เช่นเดียวกัน ตอบคำถามนี่คำถามบางอย่างนี่จะตอบเด็ดขาดลงไปอย่างเดียวไม่ได้ต้องมีการแยกแยะ เช่น อย่างเขาถามบอกว่า คนทุกคนในที่สุดต้องตายใช่ไหม อย่างนี้ก็เออพอจะตอบอย่างเดียวได้ว่า ใช่ แล้วไอ้ที่ตายล่ะทุกตนเป็นคนหรือเปล่าล่ะ อย่างนี้แหละตอบไม่ได้แล้ว ต้องแยกแยะ ต้องแยกแยะตอบ ว่าเป็นคนก็มี ไม่ใช่เป็นคนก็มี แล้วก็อย่างนี้เป็นต้น อันนี้เป็นหลักการเกี่ยวกับเรื่องของการที่จะแสดงความจริงให้ถูกต้อง มีเรื่องเป็นตัวอย่าง เป็นพระสูตร พระสูตร 1 ซึ่งเป็นวิภัทชวาท การแยกแยะเกี่ยวกับกรณีที่ว่าวาจาพระพุทธเจ้าจะตรัสและไม่ตรัส ก็เป็นอย่างที่ว่าเมื่อกี้ พระสูตรหนึ่งเลย พระสูตรนี้ก็มีเรื่องเล่าว่า เจ้าชายองค์หนึ่งชื่อ อภัย เรียกเต็ม ๆ ว่า อภัยราชกุมาร เป็นสาวกของนิครนถ์ อันนี้อยู่มาวันหนึ่ง นิคนถนาฎบุตร นึกยังไงขึ้นมาก็ไม่รู้ ก็บอกกับอภัยราชกุมารลูกศิษย์ว่านี่ ท่านรองไปหาพระสมณโคดมดูแล้วก็ไปยกวาทะเสีย ยกวาทะหมายความว่า ไปถามปัญหาหรือไปพูดด้วยวิธีการที่ทำให้พระพุทธเจ้านี่เรียกว่า เสียท่า ว่ายังงั้นเถอะ พูดภาษาชาวบ้าน หมดทางไป ตัน แล้วก็ แพ้ ฉะนั้นซึ่งถือว่าการที่ว่าไปโต้คารมหรืออะไรแล้วให้ยกวาทะได้นี่ ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งแพ้นี้ ในสมัยนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญมาก แสดงถึงสติปัญญาว่าอีกฝ่ายหนึ่งเก่งกว่า มีสติปัญญาดีกว่า ที่นี้ก็ถ้าท่านทำได้อย่างนี้น่ะ ท่านจะมีชื่อเสียงมาก เพราะว่าพระสมณโคดมนี่เป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือมากอยู่แล้ว ถ้าชนะได้ก็ยิ่งเก่งใหญ่ นิครนถนาฎบุตร ก็บอกวิธีบอกว่า ให้ท่านไปถามสมณโคดมว่า วาจาที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นนั้น พระสมณโคดมจะพูดไหม ว่าอย่างงั้นน่ะ ทีนี้ถ้าบอกว่าพูดก็เสียท่าแหล่ะ เพราะว่าท่านก็จะบอกได้เลยว่า พระสมณโคดมเขาไม่ต่างกับชาวบ้านทั้งหลาย ชาวบ้านเขาก็พูดวาจาที่ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่น นี่ถ้าพระสมณโคดมบอกว่าไม่พูด ท่านก็ยกวาทะได้อีก บอกว่าอ้าว ก็พระสมณโคดมเคยพูดถึงพระเทวทัต พูดกับพระเทวทัตพยากรณ์ว่า พระเทวทัตนี่จะต้องไปนรกเพราะทำกรรมชั่ว อ้าววาจาอย่างนี้พระเทวทัตก็ไม่ชอบแล้วท่านพูดมาแล้วนี่ ก็ไปไม่ได้ ทั้ง 2 ทาง อย่างนี้เรียกว่า อุปปาติโกปัญหา ปัญหาหรือคำถามที่มันเป็น 2 เงื่อน เรียกว่า ตอบข้างใดข้างหนึ่งก็ผิดทั้งคู่ อันนี้อภัยราชกุมารนี่ก็เชื่อนิครนฤนาทบุตร วันหนึ่งก็ได้โอกาสก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ไปถึงเย็นเกินไป ก็ไม่น่าดูเอ้ เวลาถ้าจะไม่เหมาะ ก็เลยเอาอย่างนี้ดีกว่า เรานิมนต์ให้พระสมณโคดมไปฉันที่บ้านพรุ่งนี้ แล้วก็จัดการที่นั่น ก็เลยนิมนต์ว่าขอให้ท่านสมณโคดมนี่รับภัตตาหารที่บ้านพรุ่งนี้ 4 รูป พระพุทธเจ้าก็เสด็จไป ถวายภัตตาหารเสร็จแล้ว ท่านอภัยราชกุมารก็ได้ทูลถามปัญหานี้บอกว่า ถ้อยคำที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของคนอื่นนี่ พระองค์ตัดไหม พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบว่าเรื่องนี้เราไม่ตอบเด็ดขาดเป็นอย่างเดียวว่า อย่างงั้นพอพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้อภัยราชกุมารเสร็จแล้วเราหมดท่าแล้วพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสออกมาว่าพูดหรือไม่พูดอย่างนี้ก็ อภัยราชกุมารก็ได้โอกาสหรือได้ทีเลยใช่ไหม นี่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสอย่างนี้ ตรัสบอกว่าเรื่องนี้เราไม่กล่าวลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งเด็ดขาดลงไปข้างเดียว ทีนี้เมื่ออภัยราชกุมารได้ฟังอย่างนี้ก็เลยบอกเสร็จแล้วพวกนิครนธ์แย่แล้ว ว่างั้น ท่านแค่อุทานออกมา พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสถามว่า อ้าวเป็นอย่างไรล่ะ อภัยราชกุมารก็เลยทูลเล่าให้ฟัง ว่าเรื่องมันเป็นอย่างนี้ นิครนถนาฎบุตรบอกให้มาถามที่ว่าจะยกวาทะพระสมณโคดมได้ อันนี้ในถ้อยคำที่ นิครถราฎบุตรพูดมาน่ะ บอกว่าถ้าหากว่าสมณโคดมตอบว่าตรัสหรือว่าตอบว่าไม่ตรัสก็ตามนี่ ก็เป็นอันว่าท่านไปไม่ได้ทั้งสองแง่ผิดหมด จะโดนภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เหมือนกับว่ามีตะขอเหล็กเข้าไปสับที่คอว่างั้น จะกลืนก็ไม่ได้คายก็ไม่ออก เมื่ออภัยราชกุมารกราบทูลพระพุทธเจ้าอย่างนี้แล้ว พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสถามไปอภัยราชกุมาร พอดีว่ามีเด็กคนหนึ่งเด็กเล็ก ๆ เด็กอ่อนมานอนอยู่บนตักของอภัยราชกุมาร พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามว่านี่ นี่ถ้าเด็กคนนี้เกิดหยิบเอาอะไรเป็นไม้หรือเป็นก้อนหิน,กรวดเล็ก ๆ ใส่ปากกลืนเข้าไปแล้วไปติดคอ ท่านจะทำอย่างไร อภัยราชกุมารก็ตอบกราบทูลว่า ก็ต้องเอาออกสิ แล้วที่นี้ถ้าเอาออก ออกยากก็ต้องล้วงต้องควักเอาจนกระทั่งให้ออกถึงแม้จะมีเลือดไหลมันก็ต้องเอา เอ้าที่ทำอย่างนี้ไม่ได้ว่าจะคิดร้ายต่อเด็ก แต่ว่านี่ด้วยความเมตตาด้วยความกรุณาต่อเด็กก็ต้องทำอย่างนี้ แม้เด็กจะต้องเจ็บ พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่านี่ก็เหมือนกันแหละ เราจะพูดวาจาอะไรก็ได้ปรารถนาดีกับคนนั้น แต่บางทีก็ต้องพูดคำที่ไม่ชอบใจเหมือนกัน แต่ที่นี้พระพุทธเจ้าก็ตรัส พระองค์ไม่ได้ตรัสที่เดียวอย่างนี้ พระองค์ตรัสว่า วาจาที่ไม่จริงไม่เป็นประโยชน์ไม่เป็นที่ชอบใจของเขา อย่างนี้พระองค์ไม่ตรัส อันนี้ก็ต่อไปวาจาที่จริงไม่เป็นประโยชน์ไม่เป็นที่ชอบใจของเขา พระองค์ก็ไม่ตรัส วาจาที่จริงเป็นประโยชน์ไม่เป็นที่ชอบใจของเขา พระองค์รู้จักการที่จะตรัสนี่ รู้จักการ ไม่ใช่ตรัสเรื่อยเปื่อย ต้องรู้จักการ รู้จักเวลาที่จะตรัส หมายความว่า บางที่ก็ต้องตรัสแต่ต้องรู้จักการด้วย อันนี้ก็ข้อสำคัญคำว่า ต้องรู้จักการ เอาละนะ ได้อันที่ 1 ที่ว่า มี 3 อันนี่ มีอัน 1 นี่ที่รู้จักการที่จะตรัส ไม่ใช่อยู่ ๆ ตรัสเลย อันนี้ต้องรู้จัการ ก็คือวาจาที่จริงเป็นประโยชน์แม้ไม่เป็นที่ชอบใจ ต่อไปวาจาไม่จริงไม่เป็นประโยชน์เป็นที่ชอบใจแก่เขา พระองค์ก็ไม่ตรัส วาจาที่อะไรจริงไม่เป็นประโยชน์เป็นที่ชอบใจของเขา พระองค์ก็ไม่ตรัส วาจาที่จริงเป็นประโยชน์เป็นที่ชอบใจของเขา นี่หมดเลยนะ จริงเป็นประโยชน์ ชอบใจเขาพระองค์ก็รู้จักการที่ตรัสคือไม่ตรัสเรื่อยเปื่อยต้องรู้จักการ จบ
เป็นอันว่ามี 6 ข้อ ก็หมายความว่าบางครั้งวาจาที่เขาไม่ชอบใจนี่ แต่ว่ามันเป็นความจริงและเป็นประโยชน์พระองค์ก็รู้จักเวลาตรัส ตรัสให้เหมาะรอเวลาหรือตรัสให้เหมาะสมกับกาลเวลานั้น ๆ ที่ทำอย่างนี้ก็เพราะว่าหวังประโยชน์แก่เขาด้วยเอ็นดูด้วยกรุณาไม่ใช่หวังร้ายเหมือนอย่างกับว่า ที่อภัยราชกุมารต้องล้วงเอาไม้,เศษไม้,เศษอิฐ,เศษหินออกจากคอเด็ก แม้เด็กจะเจ็บแม้แต่เลือดไหล แต่ว่าเพื่อจะช่วยเด็กนั้นนั่นเอง อันนี้การตรัสอย่างนี้วาจานี้ก็เป็นตัวอย่างของ วิพัทชวาท ที่ว่ามาแล้ว การตอบปัญหาอย่างนี้เรียกว่า วิพัทชวาทพยากรณ์ แต่ที่นี้เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสตอบไปอย่างนี้แล้ว อภัยราชกุมารก็เลื่อมใสก็เห็นในปรีชายานของพระพุทธเจ้า ก็ประกาศความเลื่อมใส ในที่สุดก็กล่าวว่าขอถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ก็จบ
อันนี้ก็จะเป็นหลักในการกล่าววาจาของคนทั่วไป และเป็นวิธีตอบปัญหาด้วย เหมือนอย่างจะมีใครมาถามว่า พระพุทธเจ้าสอนให้สันโดษใช่ไหมอย่างนี้ ถ้าตอบว่าใช่ แสดงว่าพลาดแล้ว เขาเรียกว่าเป็น เอกังพยากรณ์ หรือเอกังสวาทะ ตอบแง่เดียว ตอบผ่างลงไปเด็ดขาดอย่างนี้ กรณีนี้ผิด เพราะว่าพระพุทธเจ้าสอนให้สันโดษก็มี สอนไม่ให้สันโดษก็มี อย่างไงสอนให้ สันโดษ อ้าว ให้สันโดษในวัตถุเสพบำรุงบำเรอ สำหรับพระก็สันโดษในปัจจัย 4 ที่นี้ไม่สันโดษก็มีก็ให้ไปสันโดษในอกุศลธรรม ใช่ไหม นี่เป็นตัวอย่าง เพราะฉะนั้นใครมาถามปัญหาก็ต้องรู้จักแยกแยะแล้วก็ตอบให้ตรงความเป็นจริงพอดีพอดีความจริง พอดีได้ก็ต้องคบแง่ เอาล่ะครับ นี่ก็ตอบที่ท่านสุรเดช ไม่ใช่ตอบ ท่านขอให้พูดเรื่องนี้ก็เลยได้พูดไปแล้ว
ต้องรู้จักเวลา ตรัสแล้วให้ประโยชน์แก่เขา บางทีไปตัดบางเวลาไม่เป็นประโยชน์แก่เขา ต้องรู้จัก แม้แต่ในกรณีที่ตรัสก็ต้องมีการ ต้องรู้จักการ ต้องรู้จักเลือกเวลาและยังหลักเรื่องของวาจาสุภาษิต วาจาสุภาษิต วาจาที่ถือกล่าวดี จะมีหลักเป็นจริงแล้วก็เป็นประโยชน์ มีเหตุมีผล แล้วก็สมานสามัคคีหรือเป็นถ้อยคำสุภาพอ่อนหวานถูกกาล พอประมาณต่าง ๆ มีหลายอย่าง มีในที่โน่นบ้าง ที่นี้บ้าง คุณสมบัติของถ้อยคำเหล่านี้ม่เท่ากัน แต่ว่าถ้าเรารวมได้ก็ดี หมายความไอ้ตัวเกณฑ์สำคัญมันก็จะมีอยู่จริง
1.ละ ตัวจริง
2.เป็นประโยชน์ใช่ไหม แต่ว่าเพื่อจะให้ได้ผลดีมาก ๆ ขึ้นก็รู้คุณสมบัติของวาจาเหล่านี้ไว้มากที่สุด แต่ว่าไม่จำเป็นจะต้องพูดได้ครบทุกอันน่ะ แต่ว่าในกรณีใดที่สามารถพูดได้ครบทุกคุณสมบัติแล้วก็ต้องพูดให้ทุกอย่าง เราก็รู้ว่า อ้อวาจาที่ดีถ้อยคำทีดีมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เราก็มาตรวจสอบการพูดของเราว่า พูดได้ผลไหม ได้เกณฑ์ว่าจริง เป็นประโยชน์ถูกการ เป็นคำไพเราะอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ มันเป็นวิธีการทั้งที่ว่าถูกต้องในทางธรรมะด้วยและก็เป็นการฝึกตนเองด้วย เพราะเรื่องถ้อยคำนี่เป็นเรื่องใหญ่มาก โบราณก็บอกแล้วว่าปากเป็นเอกเลขเป็นโท แล้วยังต่อหนังสือเป็นตรี และยังมีคนต่อไปอีก ชั่วดีเป็นจัตวา ว่าไปนั่น ที่จริงปากเป็นเอกเลขเป็นโท นั่นละนะ ไม่รู้ใครไปต่อ ปากเป็นเอกเลขเป็นโท หนังสือเป็นตรีชั่วดีเป็นตรา ว่าอย่างนั้น ชั่วดีเป็นตราไม่ใช่ ชั่วดีเป็นจัตวา ชั่วดีเป็นจัตวาก็แย่เลยนะ ชั่วดีเป็นจัตวานี่ก็เลยกลายเป็นว่าชั่วดีมันเป็นที่ 4 เป็นปลาชั่วดีเป็นปลา ชั่วดีเป็นตรา
พระนวะ :อย่างนี้ก็มีปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณ
ท่านว่าหนังสือเป็นตรี มีปัญญาไม่เสียหาย ถึงรู้มากก็ไม่มีปากลำบากกาย มีอุบายใช้ไม่เป็นเหนื่อยกาย
พระตอบ: อันนี้ใครล่ะ อันนี่เป็นเรื่องของสุนทรภู่ที่ไปเอาวาจาเก่า คำพังเพยเก่ามาแต่งให้เป็นกลอนแปดอีกที เอาแหละ ขอผ่านไปแล้วเรื่องนี้นะ เป็นเรื่องแทรก
ที่นี่ก็กลับมาเรื่องมรรคของเราอีก ความจริงเรื่องวาจาอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ก็ไม่พ้นไปจากมรรคนี่แหละ เพราะว่ามรรคเป็นหลักใหญ่ที่คลุมหมดทั้งพฤติกรรมทางกายวาจาและเรื่องของจิตใจและปัญญา ที่นี้มรรคมีองค์ 8 พูดไปแล้ว บอกว่ามรรคนั้นเป็นทางดำเนินชีวิตที่ดีงามถูกต้องซึ่งเป็นทางเดียวแต่มีองค์ประกอบ 8 ประการ ถ้าเรามองดูอย่างที่พูดมาแล้วก็ทวนเสียอีกทีหนึ่งบอกว่าวิถีชีวิตหรือการดำเนินชีวิตอย่างนี้ก็มีฐานมาจากตัวสัมมาทิฏฐิหรือเป็นเชื้อให้เมื่อมีความรู้เข้าใจยึดถือหลักการอย่างไร ในกรณีนี้เป็นความเชื่อความยึดถือหลักการที่ถูกต้อง มันก็ออกมาเป็นความคิดแล้วก็มาเป็นการพูดการกระทำถูกต้อง ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามันมาเป็นลำดับ แล้วก็จะมีด้านจิตใจมีเรื่องของความเพียรพยายามสติสมาธิมาช่วย เราก็เห็นเรื่องความสอดคล้องเป็นลำดับไป แต่ถ้ามองให้ดีอีกทีหนึ่งจะเห็นว่าพอสัมมาทิฎฐิเป็นฐานให้ก็มีความคิดว่าจะปฏิบัติการให้เป็นไปตามความเข้าใจนั้น ด้วยว่าเห็นสิ่งนี้ดีก็จะทำสิ่งนี้ เห็นว่าสิ่งนี้ไม่ดีก็เว้นไม่ยอมทำ สัมมาทิฐิเป็นตัวฐานว่าเห็นว่าเชื่ออันนี้ดี สัมมาสังกัปปะก็ดำริว่าจะทำ พอดำริว่าจะทำนี่ไอ้ตัวผลักดันสำคัญนี้อยู่ในใจ นั่นคือตัวพลังของความเพียรที่จะออกมาเลย จะมาหนุนทันทีเลยน่ะ นึกให้ดีมันยังไม่ทันออกมาเป็นการปฏิบัติการด้วยซ้ำ ตัวเพียรนี่มันหนุนทันทีเลย มันก่อที่จะออกมาเป็นการกระทำด้วยซ้ำ ถ้าเราพูดแบบเมื่อกี้คล้าย ๆ กลับไปตามลำดับ เอ้อเชื่อ เห็นเข้าใจอย่างไรก็คิดอย่างนั้น คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ทำอย่างนั้นใช่ไหม แล้วความเพียรสติสมาธิมาหนุนไป ประคับประคองให้เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าเรามองอีกทีนะมีความเชื่อความเห็นความเข้าใจว่าอย่างไร ว่าอย่างนี้ดี ก็ดำริว่าจะทำ พอดำริว่าจะทำ เท่านั้นแหละ เจ้าตัวความเพียรนี่มันหนุนทันทีมาผลักดันมันจึงออกมาการกระทำใช่ไหม เพราะฉะนั้นเป็นตัวด้านจิตเป็นตัวสำคัญมาก ไอ้ตัวความเพียรนี่ก็เป็นตัวที่ให้เกิดการเคลื่อนไหวตั้งแต่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวแล้วก็เดินหน้ามุ่ง ก้าว หรือแม้แต่วิ่งไปอย่างเร็วเลยแหละ ไอ้นี่แหละตัวเพียรนี้แหละ มันมีเท่าไหร่ก็จะผลักดันไปสมาธิก็จะมาช่วยทำให้มันสม่ำเสมอมั่นคงตลอดจนกระทั่งทำให้ไม่เร่งร้อนผลีผล่ามพอดี แล้วสติก็คุมอยู่เรื่อยเลย ฉะนั้นเวลาเจ้าความเพียรมันมาออกนี่ มันมาผลักดันจึงเกิดเป็นคำพูดการกระทำขึ้นมา ไอ้การพูดการกระทำนั้นก็เป็นเหมือนกับว่าผลที่ถูกผลักดันมาจากเจ้าด้านจิตใจนี้อีกทีหนึ่ง แล้วก็เพียงแต่ว่าคุมไว้ด้วยสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ให้การกระทำหรือกิจกรรมนั้นไม่เสียหาย คือไม่ไปพลาด โดยที่เป็นวาจาก็ไม่ให้ไปอยู่ในกรอบไม่ล่วงละเมิด 4 ข้อนั้น แล้วก็ในแง่ของการกระทำทางกายก็ไม่ให้ไปออกนอกขอบเขต ด้านสัมมาวาจาไม่ออกนอกเขต 3 อย่างใช่ไหม เพราะฉะนั้นเมื่อไม่ละเมิดไม่เสียหาย 3 อย่าง 4 อย่างนี้ ในทางวาจาทางกายแล้วทำไปเลยตามที่ตัวความเพียรในจิตใจนี่มันผลักดันให้มันไป ฉะนั้นด้านจิตใจก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเป็นตัวที่มีบทบาทอย่างสูง เพราะฉะนั้น วายามะ นี่เป็นตัวเรื่องใหญ่ ที่นี้ว่าเรื่องวายามะความเพียร หรือวิริยะนี่มันจะได้ไม่ไปผิดทางหรือว่าไม่ไปผลีผล่ามเป็นต้น จนสติสมาธิก็มาช่วยคอยคุมคอยกำกับ เอ้าละครับที่จริงพูดมามากแล้วเรื่องมรรคนี้
ที่นี่สิ่งที่จะพูดต่อไปก็คือว่า เราพูดกันมาบ้างแล้วมรรคอย่างนี้มีวิถีชีวิตมีองค์ประกอบ 8 อย่าง เริ่มด้วยสัมมาทิฎฐิเป็นฐาน สัมมาทิฐิความเชื่อความเข้าใจความเห็นการยึดถือหลักการที่ถูกต้องเป็นจุดเริ่มให้มันเชื่อมันเห็นมันเข้าใจอย่างไร ก็จะคิดการทำไปตามนั้น ที่นี่ก็ถามย้อนกลับไปถามอีกทีว่าเอาแล้วความเชื่อความเห็นความเข้าใจกันถือหลักการที่ถูกต้องนั้นจะเกิดขึ้นอย่างไร ที่นี้ตอนนี้สินะ เรายอมรับแล้วสำคัญ มรรคสำคัญอย่างยิ่ง สัมมาทิฐิก็เป็นฐานของมรรคนี้เป็นตัวจุด เริ่มต้นเลยของมรรค ของทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ไม่ได้เถียง แต่ว่าแล้วทำอย่างไรถึงมีสัมมาทิฏฐิ ล่ะได้ สัมมาทิฐิที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือถ้าจะเปลี่ยนในรูปประธรรมก็ว่าทางเดินอยู่นั่นต้องไปเดินที่ทางนั้นตั้งแต่ต้นพอเข้าสู่ทางก็เดินไป เราก็บอก เอาล่ะยอมรับทางนั้นนี้ดีถูกต้องเราต้องไปเดินทางนั้น แต่คนจำนวนมากเขาอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้เขายังไม่เห็นเลยว่าทางจะอยู่ที่ไหน แล้วอยู่ ๆ เขาจะมาเข้ามาเดินทางนี้ได้อย่างไร คำถามก็มีขึ้นมา เพราะฉะนั้นมันจึงไม่จบแค่ทาง มันจึงให้รู้ว่าต้องเดินทางนี้ถึงจะถูกต้องไปถึงจุดหมาย เพื่อจะตอบคำถามว่า แล้วทำยังไงเขาจึงจะมาเข้าสู่ทางเดินนี้ หรือว่าจะทำอย่างไรให้เขาจะมีสัมมาทิฏฐิได้ จะได้มาเริ่มต้นเดินทางนี้ ก็มีคำตอบให้ ก็คำตอบนั้นถ้าเราพูดเป็นทางก็มี 2 วิธี
วิธีใหญ่ ๆ 1. มีคนบอกทางให้หรือช่วยนำช่วยพา มาเข้าทาง
2. ก็คือว่า ตัวเองเป็นคนรู้จักคิดรู้จักพิจารณา ต้องการทางเดินที่ถูกต้อง รู้จักคิดรู้จักพิจารณาก็ต้องรู้จักสังเกตสังการ ดูสิ่งโน้นดูสิ่งนี้ ดูไปดูมา ก็แยกแยะได้ในที่สุดก็สามารถเข้ามาสู่ทาง มองเห็นว่าเอออย่างนี้อย่างนั้น แล้วก็จะเป็นน่าจะเป็นทางที่เริ่มต้นที่นั่น คิดไปคิดมา ค้นไปค้นมาก็มาเจอทางเข้าจนได้ เพราะฉะนั้นก็มี 2 อย่าง ที่นี้การที่มีคนอื่นมาบอก มาช่วยชี้ มาช่วยชักพามาที่ทาง อันนี้ก็เป็นปัจจัยภายนอก อีกอย่างหนึ่งก็คือว่าตัวเองนี่โดยลำพังก็ใช้ปัญญาคิดพิจารณาดูร่องรอยอะไรต่าง ๆ เอ้ออาจจะมองดู เอ้ไอ้ตรงนี้มันมีลักษณะว่ามีอะไร มีเครื่องหมายอะไรบางอย่างหรือมีรอยคนหรือรอยสัตว์หรืออะไรที่จะเป็นเครื่องหมายทำให้สังเกตว่ามันน่าจะเป็นมีทางอยู่ตรงนั้น อะไรอย่างนั้น มีต้นไม้มองแล้วไม่มากไม่แน่นเหมือนตรงอื่น ใช่ไหม เออก็โดยสังเกตโดยการใช้ความคิดพิจารณาทำให้เขามาจนถึงจุดเริ่มต้นของทางได้สำเร็จนี่เป็นปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายนอกเสียงบอกจากคนอื่น ทางพระท่านเรียกว่า ปรโตโฆสะ ปะระโตก็จากคนอื่น โฆสะ ก็คือ เสียงบอก เสียงเล่า เสียงโฆษณา เสียงเชิญชวน อันนี้
ปัจจัยที่ 1 ปัจจัยภายนอก ปัจจัยปรโตโฆสะ แล้วก็
2 ก็ปัจจัยภายในคือการรู้จักคิดพิจารณาของตนเอง อันนี้ภาษาพระเรียกว่า โยอนิสงโยอธิกา
ก็เข้าสู่หลักการอีกหลักที่ 1. ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เรียกว่าปัจจัยแห่งสัมมาทิฐิ ก็หมายความว่าสัมมาทิฏฐิจะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุปัจจัย 2 อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งคือปัจจัยภายนอกได้แก่ ปรโตโฆสะ เสียงบอกจากผู้อื่นแล้วก็ 2. โยอนิสงโยอธิกา การทำในใจโดยแยกกาย ภาษาโบราณคือ รู้จักคิดรู้จักพิจารณา เอาล่ะแล้วก็เรามาได้หลักการอีกอันหนึ่ง นี้ในเมื่อเราถือว่ามรรคนี้สำคัญ สัมมาทิฏฐิสำคัญ เราก็ต้องยอมรับความสำคัญของปัจจัน 2 อย่างนี้ด้วย แล้วก็น่าจะเน้นมากในวงการพุทธศาสนานี้มักจะเริ่มเอาแต่มรรค แล้วก็มาถามว่าทำอย่างไรจะเข้าสู่มรรคหรือจะทำอย่างไรจะเกิดสัมมาทิฏฐิ โดยเฉพาะพวกเด็กเยาวชนอะไรพวกนี้ต้องเน้นจุดนี้ซิ ทำอย่างไรให้เขามีสัมมาทิฎฐิมันต้องเริ่มที่สัมมาทิฏฐิ คนอื่นที่จะมาช่วยบอกช่วยเล่าอันนี้ก็สำคัญมากเพราะฉะนั้น จึงเน้นความสำคัญของ พ่อแม่ ครูอาจารย์ผู้ใหญ่ สื่อมวลชนและที่จะมาช่วยให้ข้อมูลข่าวสารความรู้แนะนำชักจูงให้ถูกต้อง หรือเป็นที่ปรึกษาที่ดี นี่ถ้าหากว่าทำหน้าที่อันนี้มาช่วยให้ ปรโตโฆสะที่ดีที่ถูกต้องคนนั้นเราจะเรียกชื่อชีวิตพิเศษว่าเขาเป็นกัลยาณมิตร นี่ ฉะนั้นพ่อแม่ก็ควรจะเป็นกัลยาณมิตรของลูก ช่วยให้ปะระโตโฆสะที่ถูกต้อง ไม่ใช่ไปรับผิดชอบหรือเรื่อย ๆ เปลื่อย ๆ นี่เรียกว่าเป็นครูก็ต้องเป็นกัลยาณมิตรของลูกศิษย์ เป็นผู้ใหญ่ก็เป็นกัลยาณมิตรของเด็ก ๆ เป็นผู้กระจายข่าวสารทำงานสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์ก็ต้องพยายามให้ข่าวสารแก่ประชาชนในฐานะที่ตนเป็นกัลยาณมิตรของคนทั้งหมดในสังคม ฉะนั้นจะต้องทำด้วยความรับผิดชอบด้วยความปรารถนาดีหวังประโยชน์แก่สังคมนี้ แก่เพื่อนมนุษย์ให้เขาได้รับข่าวสารที่ถูกต้องเป็นประโยชน์เป็นการสร้างสรรค์ เป็นผู้ปกครองประเทศบริหารประเทศนี่ก็ยิ่งสำคัญมากต้องเป็นกัลยานิมิตรของประชาชนทั้งหมด พระสงฆ์ก็สำคัญมากต้องเป็นกัลยาณมิตรของพุทธบริษัทของประชาชนทั้งปวงทำหน้าที่ที่จะแนะนำสั่งสอนให้เขาพัฒนาให้เขาเข้าสู่สัมมาทิฏฐิตลอดจนกระทั่งให้เขาเดินหน้าในการพัฒนาพฤติกรรมจิตใจและปัญญา ก็ให้ปรโตโฆสะที่ถูกต้อง พระสงฆ์นี่เป็นกัลยาณมิตรสำคัญมากเพราะเป็นหน้าที่โดยตรงที่ว่านำธรรมะสู่ประชาชนเป็นผู้ให้ปัญญา เป็นผู้ให้ธรรม เป็นผู้สั่งสอน
อันนี้ก็พระพุทธเจ้าก็เป็นแบบอย่างของกัลยาณมิตรพระองค์ก็ตรัสไว้เองว่า เราเป็นกัลยานิมิตรของสัตว์ทั้งหลาย อาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตรสัตว์ทั้งหลายผู้ตกอยู่ใต้อำนาจความเกิดแก่เจ็บตาย โสกะปริเทวะ ทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็พ้นไปจากทุกข์เหล่านั้น นี่พระพุทธเจ้าที่มาสอนทั้งหมดนี่เป็นพระศาสดานี่คือทำหน้าที่กัลยาณมิตร พระองค์ก็ตรัสไว้อยู่ในพระสูตรเลยว่า เราเป็นกัลยาณมิตรของสัตว์ทั้งหลาย พระสงฆ์ก็ดำเนินตามปฎิปทาพระพุทธเจ้าก็เป็นกัลยาณมิตรแก่ประชาชน ที่นี้ส่วนประชาชนเองแต่ละคนนี้ก็ควรจะมีความรับผิดชอบต่อตนเองด้วย ไม่ใช่รอพึ่งต้องรู้จักคิดรู้จักพิจารณาด้วยตนเองมีโยอนิสงโยอธิกา ถ้าว่าการที่คนจะมีจะโยอนิสงโยอธิกาต้องยอมรับความจริงว่ามันน้อย คนส่วนมากแล้วนี่จะต้องอาศัยผู้อื่นช่วยบอกช่วยแนะนำ ถ่ายทอดความรู้อย่างน้อยบางทีบอกโดยไม่รู้ตัว เช่นอย่างสิ่งที่ถ่ายทอดต่อกันมาในวัฒนธรรม จะทำอะไร จะไปไหน จะดำเนินชีวิตอย่างไร จะไปซื้อของที่ไหนอะไรต่าง ๆ เหล่านี้นะก็ต้องบอกกล่าวกันทั้งนั้น บางที่ก็ไม่รู้ตัวไม่ได้ตั้งใจก็บอกกันไป ที่นี้เรื่องของวัฒนธรรมเรื่องของชีวิตในสังคมนี่มันก็จะเป็นเรื่องที่ว่า เป็นปรโตโฆสะ ทำให้คนที่เกิดขึ้นมาในสังคมนั้นได้อาศัย ที่นี้คนส่วนใหญ่ก็ต้องอาศัยนี่แหละ ปัจจัยข้อที่ 1 ปรโตโฆสะ โดยเฉพาะจากกัลยาณมิตรมาช่วย คนน้อยคนจะมีโยอนิสงโยอธิกาด้วยตนเองที่จะสามารถดำเนินชีวิตที่ดีด้วยโยอนิสงโยอธิกาน้อยคน
อย่างเด็กที่เกิดมาถ้าไม่มีพ่อแม่มาเป็นกัลยาณมิตรให้เป็นปรโตโฆสะที่ดี ก็อาจจะถูกชักจูงเขวไปได้ง่าย หรืออาจจะไปสนองกิเลสของตัวเองใช่ไหม มีแต่ตัณหาความปรารถนาในการเสพเป็นต้น การออกนอกลู่นอกทาง ฉะนั้นพ่อแม่ก็มีความดีสำคัญอันนี้ ที่ว่าทำให้ลูกอยู่ในแนวทางชีวิตที่ถูกต้อง ถ้าคนเราไม่มีพ่อแม่ช่วยก็ขาดหลักประกันอันใหญ่ยิ่งเลยที่สุดในชีวิตเลยที่จะเข้าสู่ชีวิตที่ดีงามได้ แต่ถึงงั้นมีหลักประกันแล้วบางทีพ่อแม่ไม่ทำหน้าที่ทำหน้าที่ไม่ดีก็อาจจะพลาดไปเหมือนกัน เพราะฉะนั้นในสังคมนี่ตั้งแต่พ่อแม่เป็นต้นไป ในครอบครัวต้องพยายามเป็นกัลยาณมิตรแก่กันและกัน โดยพ่อแม่เป็นกัลยาณมิตรแก่ลูกเป็นต้น ก็จะประคับประคองสังคมนี้เป็นไปด้วยดี ทีนี้คนจำนวนน้อยที่ว่ามีโยอานิสงโยอธิกานี่เป็นผู้ที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้าความเปลี่ยนแปลงในสังคม คนจำนวนน้อยนี้ก็โดยเฉพาะพระพุทธเจ้าก็ปัจเจกกับพระพุทธเจ้า แม้แต่พระสารีบุตรพระอรหันต์องค์สำคัญ การที่จะเข้าถึงปัญญาสูงสุดตรัสรู้สัจธรรมยังใช้โยอนิสงโยอธิกาของตนเองไม่เต็มที่เลยไม่สามารถตรัสรู้สัจธรรมได้ยังต้องอาศัย ปะระโตโฆษะ จากกัลยาณมิตรคือพระพุทธเจ้า ใช่ไหม ฉะนั้นคนที่มีโยอานิสงโยอธิกา จริง ๆ ถึง ยอดสุด ตรัสรู้สัจธรรมด้วยตนเองก็มีแต่ท่านยกไว้ให้พระพุทธเจ้าพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีคนที่มีโยอานิสงโยอธิกาอย่างนี้ ยุคสมัยไม่มีเกิดขึ้น การตรัสรู้นั่นเองไม่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยของมนุษย์ของสังคม อารยธรรมจะเดินหน้าไปไม่ได้เพราะว่าคนทั้งหลายก็ได้แต่ตามคนเก่าใช่ไหม คนเก่ามีความรู้ปรารถนาดีให้ปรโตโฆสะถ่ายทอดมาคนใหม่ก็รับไป ก็อยู่เท่าเดิม อย่างนี้พระพุทธเจ้าไม่มีโยอานิสงโยอธิกาพระพุทธเจ้าเกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมสังคมเหมือนกับพระราชบิดาพระราชมารดา พระพุทธบิดาพระพุทธมารดา ผู้ใหญ่ เจ้านายในวัง คนในสังคมยุคนั้น เขาก็เกิดมาท่ามกลาสภาพแวดล้อมอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้าและเขาก็ได้รับคำสอนคำกล่าวอะไรอย่างเดียวกัน เขาก็ดำเนินชีวิตไปได้ สร้างสรรค์สังคมไปได้ก็อยู่ไปอย่างนั้นเกิดตายกันไปหมุนเวียนกันไป พระพุทธเจ้าก็มาเกิดในท่ามกลางสภาพแวดล้อมนั้น ๆ โดยหมู่ผู้คนเหล่านั้น พระองค์ก็เห็นสิ่งเดียวกับที่เขาเห็นต้องไปทำดำเนินชีวิตท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวกัน แต่พระพุทธเจ้าเห็นสิ่งเหล่านั้นแล้วพระองค์มองแล้วไม่ได้เห็นเหมือนเขา เข้าใจไหม แต่นี้เห็นแต่ว่าเห็น เห็นนั่นแหล่ะเห็น แต่เห็นเหมือนกันแต่เห็นไม่เหมือนกัน หรือเห็นเหมือนกันแต่รู้ไม่เหมือนกัน หรือว่าใช้ศัพท์ให้แยกมองสิ่งเดียวกันแต่เห็นคนละอย่าง อันนี้พระพุทธเจ้าเห็นสิ่งที่คนอื่นเขาก็ได้เห็นอย่างเดียวกันนั้น แต่พระองค์ได้เห็นอะไรบางอย่างที่ลึกซึ้งซ่อนอยู่ในนั้นอีกทีหนึ่ง จากการที่มองเห็นความหมายความจริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังที่คนอื่นเขาไม่เห็นนี่ พระองค์ก็ได้ทรงกระทำสิ่งใหม่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับสังคมชมพูทวีปทำให้ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป เราดูพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง คนอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกันที่เรียกว่า เป็นมหาบุรุษสร้างยุคสมัยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้อารยธรรมนี้หันเหสู่ทิศทางใหม่ คือความก้าวหน้าอย่างใหญ่หลวงเลยทีเดียว ก็ล้วนแต่มีโยอานิสงโยอธิกา มองเห็นอะไรอย่างเดียวกับคนอื่น แต่ว่ามันได้ความรู้ความเข้าใจอย่างใหม่ขึ้นมา
เคยยกตัวอย่างเช่น นิวตันตอนนี้เอาอารยธรรมของตะวันตก คนอื่นก็เขาเห็นโลกเห็นชีวิตเห็นความเป็นไปการเคลื่อนไหวสิ่งต่าง ๆ เห็นแม้แต่ลูกแอปเปิ้ลหล่นลงมาทุกวัน พอเห็นแล้ว ลูกมันหล่นลงมาทุกวัน ว้า ไอ้ลูกนี้เสีย อาจจะต้องทิ้งเปื้อน ลูกนี้ดีเอาไปกิน จบใช่ไหม ก็ได้แค่นั้นแต่ว่านายนิวตันเห็นลูกแอปเปิ้ลตกลงไปแล้วมันไม่ได้เห็นแค่รูปแอปเปิ้ลตกแล้วจะเอาไปกินหรือเอาไปทิ้ง แต่ว่ามันเห็นความจริงที่อยู่เบื้องหลังอันนี้อีก อันนี้แหละเป็นโยนิสงโยอธิกา โยอนิสงโอธิกาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งนั้นเป็นตัวที่สร้างยุคสมัยเป็นตัวที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอริยธรรมทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ โดยเฉพาะมหาบุรุษอย่างพระพุทธเจ้าก็จึงต้องมีโยอานิสงโยอธิกา ที่พูดมานี้ก็เห็นว่าโยอนิสงโยอธิกา นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ว่าน้อยคนจะมีเพราะฉะนั้นคนส่วนใหญ่ก็ต้องอาศัยกัลยณมิตรมาให้ปรโตโฆสะที่ถูกต้อง
สังคมเห็นแก่คนจำนวนมากเหล่านี้ จึงได้จัดระบบกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมและความรู้วิชาการต่าง ๆ โดยจัดเป็นระบบจัดตั้งขึ้นมาเป็นการจัดตั้งระบบกัลยาณมิตรขึ้นมา เกิดเป็นกระบวนในระบบที่เรียกว่าการศึกษา เพราะฉะนั้นการศึกษาที่เราทำอยู่นี่ ที่มีโรงเรียน มีวิทยาลัย มีมหาวิทยาลัยก็คือระบบกัลยาณมิตรจัดตั้ง เพื่อจะให้คนส่วนใหญ่ในสังคมซึ่งจะต้องอาศัยปรโตโฆสะอันนี้ได้ประโยชน์ ได้สามารถพัฒนาตนเองได้ การศึกษาที่แท้ก็ไม่ใช่อยู่เฉพาะในระบบจัดตั้งที่เรียกว่าโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบัน การศึกษาที่แท้จริงก็อยู่ที่ชีวิตแต่ละคนนั่นแหละใช่ไหม เพราะฉะนั้นบางทีเราลืมไป ก็ไปมองการศึกษาเฉพาะในโรงเรียน ในสถาบันที่จัดตั้ง ก็อาจจะมองข้ามการศึกษาส่วนอื่นไปเสีย การศึกษาเริ่มแต่ในครอบครัว เป็นต้น ความเป็นกัลยาณมิตรก็พ่อแม่กับลูก เชื่อมให้กัลยาณมิตรที่ทำหน้าที่มาปลุกโยนิสงโยอธิกาให้เกิดขึ้นในเด็ก ถ้าเด็กนั้นได้มีโยอานิสงโยอธิกาก็จะพัฒนาได้ดีและจะพึ่งตนเองได้ ถ้าต้องอาศัย ปรโตโฆสะ กัลยาณมิตรก็ต้องพึ่งอยู่เรื่อยไป ที่เด็กรู้จักคิดรู้จักพิจารณาเด็กก็จะเริ่มเป็นทาสของตันหาน้อยลงก็จะมีปัญญามาดำเนินชีวิต ใช่ไหม ที่นี้ถ้าหากว่าเราไม่ได้อยู่ในโยอนิสงโอธิกาก็เชื่อฟังทำไปตามที่พูดบอกกล่าว แล้วก็ถ้าไม่มีผู้บอกกล่าวแนะนำก็ดำเนินชีวิตไปตามตัณหาและอวิชา ตามที่ตัวอย่างต้องการ โดยมีความไม่รู้ไม่เข้าใจมาเป็นพื้นฐานอยู่ ฉะนั้นก็เริ่มตั้งแต่มีชีวิตขึ้นมาก็ต้องดำเนินการให้ใช้หลัก ปรโตโฆสะ โดยมีกัลยาณมิตรฝึกโยอานิสงโยอธิกากันเรื่อย ๆ ไป ไม่เฉพาะไปรอเข้าโรงเรียนเป็นการศึกษาแบบแผนที่จัดตั้งให้เป็นการศึกษาที่ดีขึ้นในชีวิตจริง ๆ ตั้งแต่ในครอบครัวแล้วพอไปเข้าโรงเรียนก็ครูบาอาจารย์มารับต่อ เรียกว่าการศึกษาในโรงเรียนจะเป็นเพียงการถ่ายทอดศิลปวิทยาในการที่ว่ารู้เฉพาะอย่างหรือว่าเอาไปดำเนินชีวิตทำประกอบอาชีพเท่านั้นเอง ที่นี้ตัวการศึกษาที่แท้จริงของชีวิตที่จะให้ชีวิตดีงาม มันเริ่มมาแต่ในครอบครัวจึงเรียกพ่อแม่ว่าเป็น บุพพาจารย์ ในพระพุทธศาสนา นี่เรียกพ่อแม่ว่าเป็น บุพพาจารย์ แปลว่าอาจารย์ต้น ครูต้นครูคนแรก ถ้าครูคนแรกเริ่มไม่ดีให้การศึกษาพื้นฐานไปแล้ว เด็กพัฒนาพฤติกรรมจิตใจปัญญาดีก็ไปถึงโรงเรียนนี่ครูก็มาเสริมมาช่วย มาให้ความรู้เฉพาะอย่างเกื้อหนุนเด็กยิ่ง ๆ ขึ้นไป แต่ถ้าพ่อแม่ไม่ทำหน้าที่เด็กไม่มีการพัฒนาผิดพลาดมาแต่ต้น มีพฤติกรรมที่ผิด มีจิตใจที่ผิด มีความหลงผิด มีความเห็นผิดมา ไปถึงโรงเรียนแล้วครูรบกับเด็กอยู่นั่นไม่ต้องทำอะไรใช่ไหม แล้วเลยไม่ต้องสร้างสรรค์ ไม่ต้องเดินหน้าแล้ว ฉะนั้นเราไปความสำคัญการศึกษาที่โรงเรียนนี่ มันก็จะเป็นกระบวนการศึกษาที่บกพร่องขาดตอน โดยเฉพาะการสร้างพื้นฐานหายไปเลย เวลานี้ปัญหาเรื่องว่ามนุษย์นี่ชอบแบ่งหน้าที่กันทำจนเคยตัว ซึ่งเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ในการแบ่งงานกันทำ นั่นเสร็จแล้วมันกลายเป็นชำนาญพิเศษในแต่ละเรื่อง ถือว่าครูนี่แหละทำหน้าที่ทางการศึกษาคนอื่นไม่เกี่ยว แบ่งงานกันทำ พ่อแม่ก็เลยยกหน้าที่ให้ครู พ่อแม่ไม่มีหน้าที่ในการศึกษาจบเลยถ้าอย่างนี้ ก็ต้องให้พ่อแม่ตระหนักในเรื่องความเป็นบูรพาจารย์ ครูคนต้น และก็เป็นกัลยาณมิตรช่วยให้ปรโตโฆสะที่ดีแก่เด็กและชักจูงแนะนำเด็ก ให้มีโยอานิสงโยอธิกา รู้จักคิดรู้จักพิจารณาเด็กก็เจริญงอกงามอย่างที่ว่าเมื่อกี้นี้ทั้งพฤติกรรมจิตใจและปัญญา ไปถึงโรงเรียนครูก็สบายแล้วพ่อแม่วางฐานมาดีก็มาส่งเสริมต่อหนุนต่อให้เด็กก้าวไปช่วยประคับประคองเด็ก ช่วยกระตุ้นก็จะเป็นไปด้วยดี แล้วก็นอกจากนั้นระหว่างที่ครูทำหน้านั้นสื่อมวลชน เป็นต้น ก็ช่วยหนุนเข้าไปอีกมันถึงจะไปดีได้ เดี๋ยวนี้ครูโดดเดี่ยวอยู่ในโรงเรียนทำหน้าที่ พ่อแม่ก็ไม่เอาด้วย แถมสื่อมวลชนก็ทำการตรงกันข้ามอีกชักจูงเด็กเขวเป๋ไปเลย บางทีครูแพ้อีก ครูสู้สื่อมวลชนไม่ได้ สู้ได้ไหมครับ ท่านไพบูลย์ แต่ว่าเท่าที่เป็นมานี้ โดยทั่วไปในสังคมของเรา ครูสู้สื่อมวลชนได้หรือเปล่า นั่นสิอย่างทีวี เป็นต้น ครูก็แทบจะศิโรราบไปเลยใช่ไหม ในบ้านพ่อแม่ก็แพ้แล้ว เคยใช้คำว่าบ้านหรือครอบครัวเป็นแดนในอำนาจยึดครองของพ่อแม่ ใช่ไหมเป็นดินแดนครอบครองของพ่อแม่ แต่เดี๋ยวนี้ทีวีเข้าไปในฐานะเป็นศัตรูเข้าไปแย่งอำนาจครอบครองดินแดนอันนี้ไปเสีย เด็กนี่ไปอยู่ใต้อำนาจอิทธิพลของผู้บุกรุกเข้าไป พ่อแม่แพ้และก็แถมสื่อมวลชนและทีวีนี่เอาเด็กไปเป็นพวกเสียด้วย เอาเด็กไปเป็นพวก พ่อแม่ไม่เห็นด้วยกับสื่อมวลชนมวลชนสู้ไม่ได้ พ่อแม่ถ้าไม่เป็นก็กลายเป็นศัตรูของเด็กไปเลย ศัตรูของลูกไปคนละพวกเพราะลูกไปเข้าทางทีวี นี่ฉะนั้นตอนนี้การศึกษากำลังจะเสียมาก ในอเมริกานี้เสียไปแล้ว อเมริกานี่เป็นปัญหาอย่างยิ่งจนกระทั่งว่าได้เกิดกระบวนการที่ปฎิปักษ์ต่อทีวี มีครูเป็นต้น ถึงกับมีการเคลื่อนไหวกันให้ เขาเรียกว่ากระบวนการทีวี Free America อเมริกาที่ปลอดทีวี ไม่ให้มีทีวีเลยเราสู้กันอย่างน้อยขอบอกว่าให้มีสัปดาห์หนึ่งที่ปลอดทีวี แม้ว่าทีวีเป็นที่มาของ Violence ความรุนแรง ในการที่เด็กของอเมริกันมีปัญหามีความประพฤติเสียหายก่อให้อาชญากรรมตั้งแต่เด็ก ๆ ฆ่ากันตายมากเลยอะไรนี่ ก็มาจากทีวีเป็นตัวสำคัญ ฉะนั้นปัญหาของสังคมปัจจุบันนี้ ปัญหาเรื่องการศึกษาซึ่งเราจะต้องมองกว้าง หมายถึงการศึกษาในแง่ของปรโตโฆสะที่เข้ามาจากทุกด้านตั้งแต่ในครอบครัว สื่อมวลชน ซึ่งโรงเรียนจะเป็นตัวบทบาท แม้จะสำคัญแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด อย่าไปมองแยกเป็นลัทธิชำนาญพิเศษและก็ฝึกให้เด็กมีอานิสงส์อธิกาพ่อแม่สำคัญ อย่างพาลูกไปในที่ต่าง ๆ ก็อย่าไปเอาแต่ปรนเปรอสนองตัณหาของเด็ก พ่อแม่ไม่ให้การศึกษาแก่เด็ก คือไม่ชักนำให้เด็กมีการศึกษาเพราะไปมัวจะรักลูก แสดงความรักด้วยการเอาอกเอาใจปรนเปรอ เมื่อปรนเปรอตามใจ มันก็กลายเป็นว่า หนุนให้เด็กนี่ดำเนินชีวิตไปตามตัณหา โดยไม่มีปัญญาก็เป็นอวิชาตัณหาอุปทานหมายมั่นต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างนี้ แล้วก็เกิดโทษขึ้นมาไม่ได้อย่างใจก็ทุกข์เกิดการขัดแย้งในชีวิตในสังคมในครอบครัวเป็นต้นไป ฉะนั้นพ่อแม่ก็ตัวสำคัญเลยไม่ได้มองดูบทบาทตัวเองความรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นพ่อแม่ที่ไปตามใจเด็ก ก็คือไปกระตุ้นตัณหาของเด็ก ทำให้เด็กนี่ดำเนินชีวิตในทางที่ผิดพลาด ฉะนั้นจะต้องรักเด็กด้วยปัญญาไม่ใช่สนองตัณหา ไม่ใช่ไปเร้าตัณหาให้แรงยิ่งขึ้น หรือเสริมหนุนแต่ว่าพยายามให้เด็กนี่รู้จักดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เคยยกตัวอย่างบ่อย ๆ เช่นว่าพ่อแม่พาลูกไปห้างสรรพสินค้า เด็กก็เห็นสิ่งแปลกใหม่ เด็กก็สนใจสิ่งที่มีสีสันสวยงามแล้วของเล่น พอเห็นของเล่นสีเขียวสีแดงสวยก็จูงมือพ่อแม่ไปหาเลย ใช่ไหม จูงพ่อแม่ไปหาก็จะเอาโน่นเอานี่ชี้ไป พ่อแม่ที่ไม่มีโยอานิสงส์อธิกาในตนเองก็มุ่งแต่จะเอาใจเด็ก หรือไม่งั้นก็ต้านเด็ก ก็ได้แค่บวกลบในเชิงตัณหาเท่านั้นเอง ไม่นำในทางปัญญา อย่างเอาเลยลูกอันนี้ อันนั้นมันสวยกว่าอันนี้ อันนี้ดีกว่าอันนั้น อันโน้นสู้อันนี้ไม่ได้ คือพูดแต่ในแง่ของความสนองความต้องการในเชิงตัณหาที่เป็นเรื่องเสพเรื่องว่าสวยไม่สวยอะไรต่าง ๆ เป็นต้น น่าเอาไม่น่าเอา แต่ไม่ได้หนุนปัญญาของเด็กให้เด็กรู้จักพิจารณา เอ้ออันนี้มันคืออะไรมันเป็นอย่างไร มันเป็นเพราะอะไร มันใช้ทำอะไรได้ มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร คือรู้จักตั้งคำถามแก่เด็ก ตั้งคำถามเด็ก ตั้งคำถามเด็กเด็กมันจะคิด มันจะได้ปัญญาต่อไปเด็กก็พัฒนาปัญญาก็เกิดขึ้น พ่อแม่ของไทยเรานี่มักจะขาดอันนี้ ได้แค่สนองหรือไม่สนองตัณหา นี่ถ้านำเด็กถูกต้อง เด็กก็จะอาศัยตัณหาเป็นจุดเริ่มต้นจริง สนใจสิ่งที่สวยงาม แต่พอพ่อแม่ชักนำด้วยคำถามเป็นต้น เด็กเริ่มคิดใช้ปัญญา เด็กเกิดความสนใจใหม่ เกิดความใฝ่รู้การศึกษามาแล้วไปเลยทีนี้ไปเลย ดีเลยทีนี้ ยิ่งหาเรื่องมาถามเยอะ ๆ บางทีเด็กก็มาถาม พอเราถามอย่างนี้แล้ว เด็กก็จะถามเองตอบกันเอง ปัญญาเกิดกันใหญ่ก็จะพัฒนาไปเรื่อย
เอาล่ะครับวันนี้ก็พูดเรื่องปรโตโฆสะและโยอานิสงโยอธิกา ปรโตโฆสะ โยอนิสงโยอธิกาที่ถูกต้อง โยอนิสงโอธิกานั้นเป็นปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นตัวเริ่มต้นในมรรค นี่คือตัวชักจูงเข้าสู่มรรค เราก็ได้คำตอบแล้วว่า เอ้อทางมี ทางนั้นดียอมรับทำไมคนจะเข้ามาสู่ทาง สัมมาทิฏฐิถูกต้องจำเป็นสำหรับเริ่มต้น แล้วทำอย่างไรให้คนเราจะมีสัมมาทิฏฐิก็ตอบว่าต้องมีปัจจัยสัมมาทิฎฐิ 2 ประการนี้ คือ
1.ปัจจัยภายนอกปรโตโฆสะ โดยอาศัยผู้ที่จะมาช่วยหนุนอย่างสำคัญคือกัลยาณมิตร
แล้ว 2. ปัจจัยภายในของโยอธิสงโยอธิกา