แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
มาคุยกันต่อ ได้พูดไปแล้วในเรื่องอริยสัจเป็นหลักการสำคัญ และก็ได้พูดถึงข้อที่ 1 ที่นี้ก็ในกรณีของเราก็จะเน้นในเรื่องภาคปฏิบัติ ภาคปฏิบัติก็จะมาอยู่ที่ข้อที่ 4 เพราะว่าได้พูดกันในเรื่องหลักการกว้าง ๆ แล้วว่า
ข้อ 1. ทุกข์ เรื่องของสิ่งทั้งหลายทั่ว ๆ ไป ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง ก็ต้องมีความรู้จักเข้าใจมันตามความเป็นจริง ทุกข์ก็ต้องปริญญา แล้วก็ต้องมีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องโดยไม่ให้เป็นความสัมพันธ์ที่เรียกว่าตัณหา ที่ทำให้เกิดทุกข์ ทีนี้ตัวความสัมพันธ์ที่ผิด ก็เกิดจากภาวะในจิตใจของเราเองที่ขาดปัญญา เอาแต่ความปรารถน
าความต้องการเอาเข้าไปยึดไปหมายมั่นต่อสิ่งเหล่านั้นตามความอยากปรารถนาของตนเอง อันนี้เรียกว่าสมุทัย สมุทัยนั้นก็จะต้องกำจัดละเสีย เมื่อกำจัดละเสียมันก็จะเกิดกระบวนการที่ถูกต้องเป็นการปฏิบัติต่อธรรมชาติหรือสิ่งทั้งหลายแม้แต่ชีวิตของตนเองอย่างถูกต้อง ก็จะบรรลุชีวิตที่ดีงามเป็นนิโรธ นิโรธก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องทำให้เป็นจริงขึ้นมาด้วยการเข้าถึง หรือว่าจะเรียกภาษาพระว่า ทำให้แจ้ง นี่ก็ให้มนุษย์นี้ก็ดูนิสัยความเคยชินและจากฐานที่ตัวไม่มีความรู้ความเข้าใจก็เรียกว่ามีอวิชา และก็เอาแต่ความปรารถนาตัวเองเขาว่า ดำเนินชีวิตผิดพลาด เพื่อจะให้ได้ผลในการที่แก้ไขการดำเนินชีวิตที่ผิดพลาด และให้มีการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เราก็มีการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง สอดคล้องกับความเป็นจริงนั้น ซึ่งก็จะต้องอาศัยกระบวนการฝึกฝน เมื่อเราฝึกฝนเราก็จะมีชีวิตที่ดีงามขึ้นมา มีทั้งพฤติกรรมที่ดีงาม แล้วก็มีจิตใจดีที่เอื้อต่อชีวิตที่ดีงามและมีความสุข และก็พัฒนาปัญญาความรู้ความเข้าใจที่จะเป็นองค์ประกอบสำคัญให้ดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง ไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น หรือให้สัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายทั้งชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยไม่เกิดปัญหาไม่เกิดความทุกข์ ก็ถือว่าต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งนี่ก็คือตัวเนื้อหาการดำเนินชีวิตของเราเป็นภาคปฏิบัติ ในข้อที่ 4 นี่เรียกว่าเป็นมรรค มรรคนี่ก็เป็นภาคปฏิบัติ ต้องลงมือทำ คือการดำเนินชีวิตที่แท้จริงอยู่ที่ข้อ 4 นี่สำหรับข้อนี้เราก็มาเน้นที่เราพูดกันไปแล้วก็คือเรื่องของการฝึก คือการเรียนรู้และก็ศึกษาพัฒนาชีวิตของเรานี่ ให้มันเป็นชีวิตที่ดีงามซึ่งเราเรียกว่าสิกขา หรือ ไตรสิกขา เราก็พูดกันมาเยอะแล้ว ทีนี้เข้ามาสู่ตัวชีวิตที่ดีงามนี่ เมื่อเราฝึกมันแล้วชีวิตของเราดีงามเป็นมรรค การดำเนินชีวิตที่ดีงามนี่จะมีองค์ประกอบ 8 อย่าง ซึ่งจะช่วยให้เรานี้ได้มีหลักในการดำเนินชีวิต คือเป็นตัวคล้าย ๆ ว่า แนวทางให้เราใช้ในการดูตัวเองตรวจสอบตัวเองด้วยก็ได้ ที่นี้แนวทางชีวิตที่ดีงาม หรือมรรคนี้ สรุปก็คือ 3 ด้าน ที่พูดไปแล้วว่า ศีล สมาธิปัญญา ด้านพฤติกรรม จิตใจและปัญญา แต่ว่าท่านแยกให้เห็นชัดเป็นองค์ประกอบ 8 ข้อ วันนี้เราก็มาพูดถึงเรื่ององค์ประกอบ 8 ข้อ หรือองค์แห่งมรรคกันหน่อย ได้พูดไปแล้วครั้งหนึ่งว่ามรรค ทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนั้นเป็นทางเดียวแหละ แต่ว่ามีองค์ประกอบ 8 อย่าง จึงเรียกว่ามรรคมีองค์ 8 ไม่ใช่มรรค 8 มรรค 8 เป็นภาษาชาวบ้านพูดให้สั้น ๆ แต่ว่าอาจจะชวนให้เข้าใจผิดไปว่ามีทาง 8 ทาง หรือ 8 มรรค ความจริง มรรคมีมรรคเดียว แต่ว่ามีองค์ประกอบ 8 อย่าง เมื่อองค์ประกอบครบ 8 แล้วจึงเป็นมรรคได้ องค์ประกอบ 8 อย่าง ก็เริ่มตั้งแต่
1. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เริ่มตั้งแต่ความเชื่อถือถูกทาง การยึดถือในหลักการที่ถูกต้อง ซึ่งเอื้อต่อการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ช่วยให้เกิดการพัฒนา ถ้าเราเชื่อไม่ถูก ไม่สอดคล้องกับความจริงของกฎธรรมชาติ ไม่สอดคล้องกับตัวธรรมะนั่นเอง ไอ้ตัวความเชื่อหรือการยึดถือหลักการนั้นความเห็นนั้น มันไม่ช่วยให้เราพัฒนาชีวิตของเราได้ ดีไม่ดีมันตรงข้ามเลย มันขัดขวางการดำเนินชีวิตที่ดีงาม มันอาจจะเชื่อผิดแล้วก็นำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ผิด ทั้งตนเองก็ดำเนินชีวิตผิด ทั้งทำให้เกิดการเบียดเบียนกัน คนเราเชื่อผิดนี่ปัญหามาก ถ้าหากว่าเชื่อว่าเราจะต้องมีความสุขด้วยการที่เสพวัตถุให้มากที่สุดอย่างที่เคยพูดไปแล้วนี่ แค่นี้ก็ยุ่งแล้วน่ะ แต่ละคนก็จะต้องเอาของตัวเข้าว่า แย่งชิงผลประโยขน์เบียดเบียนกันและชีวิตก็ไม่ได้สุขจริง สังคมก็เดือดร้อน ธรรมชาติก็ย่อยยับอย่างปัจจุบันนี้กำลังมีคติอันนี้อยู่ ความเชื่ออันนี้ ทิฐิตัวนี้ แพร่หลายไปมาก ที่ว่าต้องมีสิ่งบริโภค สิ่งเสพบำรุงบำเรอวัตถุพรั่งพร้อมนั้นคือความสุขนี่ ทิฐิอย่างนี้ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของชีวิต ว่าชีวิตจะต้องมีความสุขได้เพียงเพราะเสพวัตถุ ใช่ไหม นี่เป็นสอดคล้องกับความเป็นจริง แล้วก็ทำให้เกิดการเบียดเบียนกัน ไม่ส่งเสริมการพัฒนาชีวิตของเรา เชื่อไปอย่างนี้แล้วไม่พัฒนา เรียกว่ามีทิฐิว่า มนุษย์จะอยู่ดีมีสุขสมบูรณ์จะต้องพิชิตธรรมชาติจัดการกับธรรมชาติ อย่างนี้เราก็เรียกว่าเป็นทิฏฐิที่ไม่เอื้อแหละ ก็เป็นมิจฉาทิฐิ นี่เป็นตัวอย่างของทิฐิ ซึ่งมีมากมาย อย่างคนที่ดำเนินชีวิตตามค่านิยมในโลก ถ้าสืบให้ลึกลงไปมันก็ไปอยู่ในทิฐิที่เราพูดมาไม่น้อย อย่างที่เมื่อเช้านี้ที่ฟังญาติโยมพูดถึงเรื่องของผู้คน การเชื่อดารา การที่มีค่านิยม โก้เก๋ โดยที่ว่าไปตามกระแสของเครื่องของการเชิดชูดารา ว่าดาราทำอะไรก็ทำไปตามนั้น นี่ก็แสดงว่า ไม่ได้มีสติปัญญาของตนเองพิจารณาว่าไอ้สิ่งที่ทำนั้นมันดีมันชั่วมันเป็นประโยชน์หรือไม่ ถูกต้องหรือไม่ สักแต่ว่านิยมฟู่ฟ่ากันไป คนไม่ได้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา มันก็เป็นเรื่องของโมหะ ถ้าพูดในแง่การศึกษา มันจะเป็นการศึกษาได้อย่างไร อย่างคนอย่างนี้จะให้มีการศึกษา คือที่สักแต่ว่าดำเนินชีวิตตามค่านิยมไม่ได้ใช้ปัญญาของตนเอง นั้นสัมมาทิฏฐิ มันก็ต้องเป็นเรื่องของความเชื่อความคิดเห็นยึดถือหลักการที่มันมีปัญญาเป็นฐาน พอมีปัญญาก็ไปสอดคล้องกับความเป็นจริง สอดคล้องกับความจริงของสิ่งทั้งหลาย แล้วมันก็เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของตนเอง ความเชื่อแม้แต่ทางศาสนาก็อย่างที่ว่าถ้าไปเชื่อว่า มีอำนาจเร้นลับจะดลบันดาลให้เรา เราต้องการอะไรก็ไปอ้อนวอนกราบไหว้ แล้วก็จะได้ อย่างนี้ก็ไม่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตเหมือนกัน ก็ไปรอซิ รอ ก็เป็นแต่ไปอ้อนวอนบวงสรวง บูชายัญ ให้ท่านโปรดปรานบันดาลให้ตัวเองก็ไม่คิดทำ ชีวิตที่ดีงามจะเกิดได้อย่างไร พัฒนาชีวิตก็ไม่ได้ สังคมก็พัฒนาไม่ได้ ก็ได้แต่สิ่งกล่อมพอให้สบายใจเพลินไปชั่วคราว นั่นเรื่องของทิฐิความเชื่อความคิดเห็น การยึดถือหลักการแนวความคิดนี้มันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่เอื้อ ต่อการพัฒนาชีวิตของตนไม่เอื้อต่อสังคมมีเยอะแยะเหลือเกิน แล้วปัจจุบันนี้สังคมที่ว่าเจริญมีอารยธรรม ก็ไม่ได้ปรากฏว่า มีความเจริญก้าวหน้าในทิศทางที่ถูกต้อง แม้แต่ข้อแรกขององค์มรรคก็คือสัมมาทิฏฐิ ใช่ไหม นั่นมีวิชาทิฏฐิเป็นตัวรองรับ มันก็เลยมีปัญหากันไม่รู้สิ้นสุด เราก็ต้องหาสัมมาทิฎฐิให้มันเป็นตัวแรก เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนย้ำเรื่อง สัมมาทิฏฐิเป็นตัวตั้งต้น เป็นตัวรากฐานของชีวิต เป็นตัวจุดเริ่มของฐาน มันเหมือนกับว่าเรามาตั้งจุดเริ่มต้นทิศทางเดินที่ถูกแล้ว มันก็พอสัมมาทิฎฐิ มันเริ่มให้ถูกต้อง การเดินทางต่อไปก็ถูกตาม ๆ กันไป ถ้าเชื่อถูกเห็นถูก เข้าใจถูก มันก็คิดถูก พูดถูก ทำถูก ใช่ไหม ทีนี้ความเพียรพยายามอะไรต่าง ๆ มันก็ไปในแนวทางสอดคล้องกัน มันก็ดูได้ดี ได้ผลดีก็เลยเอาสัมมาทิฐิเป็นข้อต้น ทีนี้ ก็เอามาดูว่า สัมมาทิฐินี้ เป็นอันว่า ได้แก่ความเชื่อ ความเห็น แนวความคิดการยึดถือหลักการที่สอดคล้องกับความจริง แล้วเอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของเรา แล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่แท้จริง ท่านก็แบ่งไว้เป็น 2 ระดับ สัมมาทิฏฐิในระดับโลอุตระกับโลกีย ในระดับโลอุตระนั้น จะเน้นในแง่ของความจริง คือความเชื่อที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ที่นี้ในระดับโลกีจะเน้นในเรื่องของความดีงาม ในการเชื่อกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว อย่างนี้ มันเน้นในแง่ของการที่จะมีความดีงามไว้จนเกินความชั่ว แต่ว่าในที่สุดในตัวทิฐิมันเป็นเรื่องปัญญา มันจะต้องไปถึงความจริงให้ได้ ที่นี้ ในการที่จะอยู่ในระดับความดีความชั่วมันก็ต้องอาศัยศรัทธาคือเชื่อต่อผู้อื่น เชื่อปัญญาของพระพุทธเจ้า ถ้าเชื่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริง ไอ้เรื่องความดีความงามก็เป็นคำสอนของท่านผู้รู้ความจริงก็สอดคล้องกับความจริงไปในตัว คือความดี ความชั่ว พระพุทธเจ้าสอนไว้ยังไงก็สอนมาจากการตรัสรู้ของพระองค์ เพราะฉะนั้นเรื่องสัมมาทิฏฐิในระดับโลกียที่เป็นเรื่องความดี ความชั่ว นี่ก็สอดคล้องกับความจริง แต่เป็นความจริงที่อาศัยผ่านศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า แต่ที่นี้ในที่สุดแล้วจะต้องเป็นการรู้ด้วยปัญญาตนเองจึงจะเป็นอิสระแท้ เพราะฉะนั้นก็จะต้องก้าวไปสู่สัมมาทิฎฐิ ที่เป็นโลอุตระ คือการที่ว่ามีความเชื่อความเข้าใจสอดคล้องกับตัวความจริงแท้ของธรรมชาติ ก็เอากันง่ายๆว่า สัมมาทิฏฐิก็เป็นสองระดับ ระดับโลกียะ เน้นในเรื่องของทำดีเว้นชั่ว เพราะฉะนั้นจะเน้นในเรื่องการเชื่อกรรม ฉะนั้นคนเรานี่เชื่อกรรมดี ก็ทำดีได้ดีน่ะ ถ้าทำชั่วได้ชั่วเพราะฉะนั้นเว้นกรรมชั่วทำกรรมดี ท่านจะก็บรรยายไว้ยาวแต่รวมความ ก็คือเรื่องเว้นชั่วทำดีเป็นสัมมาทิฐิในระดับโลกียสำหรับมนุษย์ปุถุชนอยู่ในโลกยังไม่ได้พัฒนามาก เอาละได้แค่นี้ก็ยังดีมีศรัทธาเชื่อกรรมไหม จะได้เว้นจากกรรมชั่ว ที่นี่ถ้าจะก้าวให้ถึงความเป็นอิสระที่แท้จริงก็ต้องมีสัมมาทิฐิที่เป็นโลอุตระ เป็นเรื่องของการมองเห็นความจริงแท้ของสิ่งทั้งหลาย เห็นนั่นเข้าใจในเรื่องหลักการแก้ไขปัญหาที่แท้คืออริยสัจ 4 คือว่านี่แหละการที่มนุษย์จะพ้นปัญหาได้แท้จริงนี้จะต้องเข้าใจมองเห็นตามหลักอริยสัจ 4 อย่างที่ว่าไปแล้ว นี่ถ้ามองเห็นตามนี้ก็เป็นสัมมาทิฏฐิที่เข้าในโลอุตระ เรียกว่าเข้าใจในหลักของความจริงว่าสิ่งทั้งหลายนี่ มันมีอยู่ตามธรรมดาของมันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงไม่คงอยู่ในสภาพเดิม แล้วก็อยู่ตามสภาพของมันเป็นสิ่งที่เป็นไปตามปัจจัย เป็นต้น อันนี้ก็เป็นเรื่องของการที่มองเห็นความจริงตามหลักไตรลักษณ์ อันนี้ก็เป็นสัมมาทิฏฐิเหมือนกัน หรือการมองเห็นปฎิจจสมุปบาท มองเห็นกระบวนการของการสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏขึ้นมาตามเหตุปัจจัยสิ่งทั้งหลายของมัน มีความสัมพันธ์ในระบบของธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในระบบความสัมพันธ์นี้เป็นปัจจัยแก่กันและกัน ส่งผลต่อกัน จะเกิดขึ้นได้ยังไงมาตามปัจจัย อันนี้ก็เป็นการที่มองเห็นความจริงของธรรมชาติอีกด้านหนึ่ง คือ ปฎิจจสมุปบาท การที่เข้าใจหลักความจริงอย่างนี้ก็เป็นสัมมาทิฏฐิอีก นี่ก็เป็นในแง่ความจริง ก็เรื่องของสัมมาทิฏฐิ นี่ก็บรรยายได้หลายอย่าง แต่สรุปแล้วก็อย่างที่ว่า ขั้นโลกีเป็นเรื่องของความเชื่อในบาปในกรรม ด้วยความดีความชั่วในระดับโลกอุตรก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับความจริง ที่นี้พอเรามีความเชื่อมีความคิดเห็นสอดคล้องความเป็นจริงนี้ ก็เอื้อทางการพัฒนาชีวิตด้วย การดำรงชีวิตที่ดีงาม เอื้อยังไง ก็อย่างเช่นว่า เอาในแง่การทำความดีเชื่อกรรมก็ทำให้เรานี่ทำดีเว้นชั่ว แล้วก็สามารถที่จะได้ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าได้ต่อไป ในกรณีนี้ยึดถือศรัทธาเป็นสำคัญ หรืออย่างว่ามีความเห็นมีความเชื่อยึดถือหลักการที่เป็นสัมมาทิฏฐิว่า เอ้อ สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ทีนี้ก็เป็นความเชื่ออันหนึ่ง เป็นทิฐิ ทิฐิอย่างนี้ มันต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง แล้วก็หนุนให้เราแสวงหาปัญญา พอเราเจออะไรมีประสบการณ์อะไรสักอย่างหนึ่ง เราก็มีความเชื่อหรือยึดถือหลักการ โอ้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย พอเรามองด้วยท่าทีอย่างนี้ เราก็เริ่มสืบค้นหาความจริง หาเหตุปัจจัยของมัน ปัญญาเริ่มงอกงามทันที ฉะนั้นแม้แต่เพียงมีทิฐิว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยแค่นี้ ทิฐิตัวนี้ก็นำเราให้พัฒนาได้เลย ปัญญาพัฒนา แต่ถ้าเราไปเชื่อ โอ้สิ่งทั้งหลายจะเป็นยังไงก็แล้วแต่เทพเจ้าท่านบันดาลก็จบ ตอนนี้ก็เป็นอันว่าไม่ต้องคิดไม่ต้องถามอะไรแล้วก็แล้วแต่ท่าน แล้วแต่เทพเจ้า ก็ไม่พัฒนาหรือว่าเชื่อว่าอะไรต่ออะไรก็เป็นยังไงก็แล้วแต่โชค แล้วแต่โชค แล้วแต่บังเอิญนั่นเอง แล้วแต่บังเอิญถึงคราวดีก็ดีเอง ถึงคราวร้ายก็ร้ายเอง ถ้าอย่างงั้นก็ปล่อยซิ ใช่ไหม ถ้าเชื่อโชคบันดาล เรื่องโชคชะตา เรื่องความบังเอิญอย่างนี้มันก็ไม่สนับสนุนให้เราใช้ปัญญาค้นคว้าเหมือนกันก็อยู่แค่นั้น ถึงคราวดีก็ดีเองถึงคราวร้ายก็ร้ายเอง มนุษย์ก็ไม่ต้องขวนขวายแล้วก็ไม่พัฒนา หรืออีกพวกหนึ่งก็เชื่อกรรมเก่า ลัทธินิครนถ์ ก็เชื่อกรรมเก่าอะไร ๆ ก็แล้วแต่กรรมที่ทำไว้ชาติปางก่อน เอ้าก็แล้วแต่ชาติปางก่อนถ้าอย่างนั้นเราก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว ถึงเวลามันก็กรรมเก่าก็มาบันดาลเองก็จบอีก เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ บอกไว้นี่นะ การยึดถือหรือพวกแนวทัศนะความคิด 3 แบบนี้ อันนี้ยึดถือเข้าแล้วนี่จะทำให้ไม่สนับสนุนการกระทำ ไม่ช่วยเกิดการดำเนินชีวิตที่ดีงามก็ไม่พัฒนาตนเอง ก็ 1. อันนี้เรียกว่า ลัทธิบุพเพกะตะวาท การถือว่าอะไรต่ออะไรเป็นอย่างไรจะสุขจะทุกข์ยังไงมนุษย์จุดประสพความเป็นไปในชีวิตนี้สุดแต่กรรมเก่าที่ทำไว้ในชาติปางก่อน อันนี้เป็นลัทธินิครนถ์ นิครนถ์เชื่ออย่างนี้ อันนี้ต้องระวังต้องแยกจากพุทธศาสนาให้ได้ อย่าเอามาปนกับกรรมในพุทธศาสนา เรียกสั้น ๆ ว่า ลัทธิบุพเพกะตะวาท ฉนั้นคนเราเชื่ออย่างนี้ไม่ต้องทำอะไรไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงแล้วแต่กรรมเก่าในชาติก่อน
ที่นี้ 2. ลัทธิอิสรนิมานเหตุวาท จะเรียกว่า ลัทธิอิศวรนิรมิตตวาท อิศวรนิรมิตก็แล้วแต่พระอิศวรคือพระพุทธเจ้าจะเนรมิตบันดาลนั่นเอง เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ต้องทำอะไร เราก็ไม่มีอำนาจจะทำอะไรได้ก็แล้วแต่พระผู้เป็นเจ้า
แล้วก็ 3. ลัทธิ หรืออเหตุปัจจัย หรือ อเหตุปัจจัยวาท คือลัทธิที่ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยแล้วแต่โชค ถึงเวลาดีก็ดีเองถึงเวลาร้ายก็เอง
3 ลัทธินี้ ไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิก็อย่างที่พูดไปแล้ว ความเชื่อความคิดเห็นยึดถือหลักการที่สอดคล้องกับความจริง เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตและก็ได้แก่เชื่อในเรื่องความดีความชั่วเรื่องกรรม เรื่องการกระทำของตนเอง เรื่องของความจริง เรื่องของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นต้น อันนี้อย่างน้อยก็เอาล่ะให้ได้ว่ามองอะไรก็มองตามเหตุปัจจัยได้แค่นี่ก็เอื้อต่อการพัฒนาแล้วน่ะ ทำให้เกิดการคิดค้นแสวงหาปัญญา แล้วทำให้โอกาสที่ตัณหาจะเข้ามาครอบงำจิตใจน้อยลง เวลาเจอเหตุการณ์อะไรก็ เอ้อมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยนะ อย่าเอาตามความชอบใจของตัวเขาว่า โดยมีเรื่องราวเช่น ในบ้าน ในครอบครัวก็แทนที่จะมองว่ามันชอบใจตัวไม่ชอบใจตัว ก็มองในแง่เอื้อเป็นตามเหตุปัจจัย เราต้องแก้ไปตามเหตุปัจจัย ใจเสียอย่างนี้ก็ช่วยเยอะเลย ชีวิตก็มันเข้าสู่กระแสของมรรคที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นตอนแรกนี่อย่างน้อยก็เอาว่า เรามองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย อย่าไปมองตามชอบใจไม่ชอบใจ เพราะจะมองไปตามชอบใจไม่ชอบใจแล้วปัญหาเกิดเรื่อย เอามองตามเหตุปัจจัยเป็นไปตามเพื่อแก้ปัญหา ถ้ามองตามชอบใจไม่ชอบใจเป็นไปในทางทำให้เกิดปัญหา หรือว่าทำให้ก่อปัญหา มองตามชอบใจไม่ชอบใจก็ก่อปัญหา มองตามเหตุปัจจัยก็แก้ปัญหา คิดว่าสัมมาทิฎฐิ นี่พูดไปแค่นี้ก็พอสมควร น่ะ
ที่นี้ไปก็ข้อ 2 พอเรามีความเชื่อ ความคิดเห็น ความเข้าใจถูกต้องแล้วนี่ การคิด การตั้งจุดมุ่งหมาย ความดำริอะไรต่าง ๆ นี่ มันก็เป็นไปกับโดยสอดคล้องกับความเชื่อนั้น ที่เราเชื่อในความดี เราก็ตั้งใจจะทำสิ่งที่ดีงาม เราเชื่อว่าโอ้ ชีวิตของเรานี่จะต้องทำให้มีค่าเป็นประโยชน์ด้วยการทำกรรมดี กรรมดีทำให้เกิดผลดี เราก็ตั้งใจทำความดี ใช่ไหม นั้นสัมมาทิฏฐิมันก็จะเป็นตัวเป็นฐานให้แก่ความสำเร็จ ที่เรียกว่า สังกัปปะ พอเป็นสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะก็ตามมาได้ การคิดดำริในสิ่งที่ดีงาม การคิดดำริในสิ่งที่ดีงามเป็นไปในทางสร้างสรรค์ เกื้อกูลพัฒนาชีวิต เสาะแสวงความดีพัฒนาพฤติกรรมจิตใจและปัญญา มันเยอะแยะไปหมด ที่นี้ท่านก็ให้เกณฑ์ไว้อย่างหนึ่งว่า ยังไงก็ตามให้ความดำรินั้น มันปลอดจากสิ่งที่ไม่ดี 3 ประการ จะได้เป็นบรรทัดฐานพอวัดได้ว่า เอ้อ สังกับปะ ความดำริของเราถูกต้องไหม เขาบอกว่าเป็นความดำริที่ปลอดจากความเห็นแก่ตัว เป็นเนตรสังกับปะ แปลว่ากันว่า ความดำริที่ปลอดจากกาม แปลตามภาษาตามตัวอักษร เนตรธรรมะสังกับปะ ความดำริในการออกจากกาม ในธรรมะนี้แปลว่า ออก ฉันออกบวช ถ้าตามตัว แปลว่าออกบวช ในธรรมะ ก็ ออกบวช อย่างพระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชา ก็เรียกว่า ทรงเนตรคำมัด ใช้เป็นภาษาสันสกฤต ก็เป็น เนสะกลม เนสากะมานะ ที่นี้เป็นของพระพุทธเจ้าก็เติมคำข้างหน้าให้เป็นเรื่องสำคัญ ก็เป็นมหาพิเนษากรมณ์ พระมหาภิเนษกรมณ์ นี่ก็มาจากสันสกฤต บาลีก็คือ มหาพินิคัมนะ มหาพินิคัมนะ การเสด็จออกเพื่อคุณความดีอันยิ่งใหญ่ ที่นี้ สาระสำคัญคือ การที่คิดอย่างไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่มุ่งเพื่อตนเอง
แล้ว 2 ก็เป็นความดำริความคิดที่ไม่มีการมุ่งเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ไม่เกิดจากความพยาบาท การคิดเครียดแค้นชิงชัง อันนี้เรียกว่า อพาปานะสังกะปัท
แล้วก็ 3 ก็เป็นความดำริที่ปลอดจากการวิหิงสา วิหิงสาก็แปลว่า เบียดเบียน เบียดเบียนในความหมายจากการข่มเหงรังแก ทำร้ายเขาโดยที่ว่าเขาไม่มีอำนาจ ไม่มีความสามารถมีกำลังน้อย อย่างพวกไปล่าสัตว์เห็นแก่สนุก อย่างนี้เรียกว่าวิหิงสา สัตว์ก็ไม่ได้ทำอะไร ตัวเองไปรังแกมันข่มเหงมัน หรือว่าแกล้งเผาป่าเล่นสนุกอะไรอย่างนี้ อย่างนี้เขาเรียกว่า วิหิงสา ถ้าเป็นข้อพยาบาทนี้มันมีความแค้นเคืองขัดใจหรือไม่พอใจ ชังอะไรกัน มันเป็นเรื่องของโทสะ ที่นี้ วิหิงสานี่มันไปเบียดเบียนบางทีเห็นแก่สนุก ใช่ไหม ไม่ได้มีเรื่องกันเลย อยู่ดี ๆ แท้ ๆ ไปไล่ยิงมันเล่น สนุกดี อะไรอย่างนี้น่ะ เด็ก ๆ เห็นสุนัขมันเดินไปเดินมา นึกสนุกขึ้นมา ก็เอากระป๋องไปผูกขามัน ใช่ไหม ให้มันวิ่ง มันก็วิ่งหนีเสียงกระป๋อง วิ่งไม่รู้จักจบ หรืออะไรก็แล้วแต่เห็นแก่สนุกสนาน แล้วก็ไปทำร้ายมัน อย่างนี้ก็เรียกว่ารังแกมัน อย่างนี้เป็นวิหิงสา ก็นี่แหละ ให้เป็นความดำริที่ปลอดจากเจ้า 3 อย่างนี้ ก็ถือว่าเป็นไปในทางที่ดีงาม จะทำไปอย่างไรอย่างไรแต่ให้เป็นในแนวทางของมรรค แต่ทีนี้เรามักจะไปแปลกันว่า สัมมาสังกัปปะ ดําริชอบ คือดำริในการที่จะออกบวช ในการที่จะไม่พยาบาท ในการที่จะไม่เบียดเบียนข่มเหงรังแก คล้าย ๆ ว่าเอาไอ้ 3 อย่างนี้ เป็นเป้าในการกระทำ ที่จริงคือความดำริอะไรก็ได้ที่ปราศจากนี่ คือ ปลอด หรือปราศจาก อันนี้ การตีความมองอย่างไงมันเลยแคบไป เอ้อ สัมมาสังกัปปะ ก็ต้องไปคิดออกบวช ไปคิดไม่ตั้งใจ ไม่พยาบาทใคร ตั้งใจ ไม่ต้องคิดทำอะไร ที่ว่าจะคิดทำอะไรที่มันดีงาม โดยที่มันไม่มีเจ้าสามตัวนี้มาผ่อนปนเป็นแรงจูงใจแฝงอยู่เบื้องหลัง ที่นี้ จะทำอะไรก็ทำซิ ที่เป็นประโยชน์ทำได้หมด เอาล่ะครับ
นี่ก็ 2 อย่างนี้ จัดเป็นหมวดปัญญา เพราะว่าเรื่องของทิฐิความเชื่อความคิดเห็น แนวความคิดความเข้าใจก็เป็นเรื่องปัญญา ปัญญาความรู้ความเข้าใจของเรามีแค่ไหนก็ทำไปแค่นั้น เรารู้เข้าใจอย่างไร เห็นอย่างไร ก็ทำไปตามนั้น เพราะฉะนั้น 1 ทิฐินี่แม้จะเป็นปัญญาเบื้องต้นก็สำคัญ จะเป็นเชื้อในการที่จะพัฒนาปัญญาต่อไป แล้วก็จะเป็นฐานในการที่จะออกสู่การกระทำ และการที่จะมีจิตใจเป็นอย่างไรต่อไปด้วย ก็จัดเป็นชุดแรก ก็เริ่มตั้งแต่คิดเห็นเชื่อ แล้วก็มาเชื่อ แล้วก็เห็น แล้วก็เข้าใจ ยึดถือหลักการอย่างไร แล้วก็ดำริตั้งใจ คิดที่จะทำการต่าง ๆ ไปตามนั้น เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิก็จะตามมาด้วย สัมมาสังกัปปะ หมดปัญญาก็จบลงได้ทันที นี่เมื่อมีความคิดเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะแล้วก็ออกมาสู่การกระทำ การกระทำก็ออกทางพฤติกรรม พฤติกรรมนี้ก็มีทางกายกับวาจาอย่างที่พูดไปแล้ว
ก็มาดูเริ่มต้น ท่านไปเอาวาจาก่อน เรายังไม่ต้องเดินต้องอะไร ก็พูดออกมาได้แล้วใช่ไหม ดังนั้นเหมือนกับคนอยู่นิ่ง ๆ ปากมันขยับได้ง่าย แต่ถ้าเราเริ่มข้อว่าวาจาก่อน แล้ววาจาเมื่อพูดไปแล้วบางทีถ้าคนมาอยู่ในสังคมนี้จะทำการร่วมกันก็ใช้วาจา ในการชักชวนกัน เป็นต้น โดยการปรึกษาหารือ ถ้าเช่นนี้ก็เน้นด้วยวาจาว่า เมื่อออกสู่พฤติกรรมในการที่จะปฏิบัติการนี้ก็ให้เป็นสัมมาวาจา เป็นการพูด เป็นการเจรจาที่ถูกต้อง การเจรจาที่ดีงามถูกต้องที่จะเข้าเป็นองค์มรรค คือเป็นองค์ประกอบของการดำเนินชีวิตที่ดีงามได้ คือพฤติกรรมนี่ ก็สารพัด และ พูดอะไรก็พูดไป แต่ขอให้มันปลอดจากข้อเสียหายต่อไปนี้
ข้อเสียอะไรบ้างนั้นจัดเป็น 4 ข้อ
ข้อเสียหายที่
1. คือว่า มันเป็นเท็จ พูดเท็จ ฉะนั้นให้วาจาพูดวาจาไม่เท็จ พูดวาจาปราศจากคำพูดที่ไม่เป็นความจริงโกหกหลอกลวง 1 แล้ว
2. ก็เป็นวาจาที่ปลอดจากการส่อเสียดยุยง จะแกล้งปลุกปั่นคน ยั่วยุให้เขาแตกแยกกัน ให้เขาเป็นปฏิปักษ์ทำร้ายซึ่งกันและกันแตกสามัคคีกัน อันหนึ่งเรียกว่า ข้อที่ 1 ลืมบอกไปว่า เรียกว่า เว้นจากมุสาวาท ปลอดจากมุสาวาท ปลอดจากคำเท็จ ข้อที่ 2 ก็เรียกว่า ปราศจากปริศนาวาจา ปริศนาวาจาแปลว่าวาจาที่สอดเสียดยุยงทำให้แตกความสามัคคี ก็ต้องเป็นวาจาที่ตรงข้ามเป็นไปในทางประสานสามัคคี ช่วยคนนี่มีความคิดดีงามต่อกันมองกันในแง่ดี ปรารถนาดีต่อกัน แล้วก็ต่อไปก็เป็นวาจาที่ไม่หยาบคาย ไม่รุกรานผู้อื่น แต่เป็นวาจาที่สุภาพอ่อนหวานอ่อนโยน เป็นวาจาที่น่ารัก อันนี้ก็เรียกว่าเว้นจาก ผลุสะวาจา ปราศจากผลุสะวาจา
ข้อสุดท้าย ก็ข้อที่ 5 อีกอย่างก็คือว่า ต้องไม่เป็นวาจาที่เพ้อเจ้อ เพ้อเจ้อก็พล่าม เหลวไหล ไร้สาระ ไม่มีประโยชน์พูดเรื่อยเปื่อย แต่บอกว่าไม่มีเนื้อมีแต่แกลบ ว่างั้น คล้าย ๆ เป็นวาจาโปรยแกลบ แกลบนั้นมันก็ไม่มีสาระด้วยยังแถมเลอะเทอะหมด ออกไปแล้วมันทำให้ดีนั้นเป็นอย่างไรดูแล้วแย่เลย ดูแล้วมันก็ไม่สะอาดแล้วก็กวาดยากเสียด้วยนะ ฉะนั้นก็ให้เป็นวาจาที่มันปลอดหรือปราศจากไอ้ข้อเสียหาย 4 ประการนี้ อันนี้จะพูดอะไรก็พูดไป ที่นี้เราไปแปลกันในแง่ว่า สัมมาวาจาก็ไปเว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ หรือว่าไม่ต้องพูดอะไรกันใช่ไหม ก็เลยกลายเป็นไม่ต้องพูดอะไร ก็เป็นวาจาชอบ วาจาอะไรก็พูดไป แต่ให้มันปราศจากข้อเสียหายนี้ เพ้อเจ้อ สัมปาระปะ
ตกลงมี 4 ข้อ ข้อเสียหาย
1. มุสาวาท คำเท็จ คำโกหกหลอกลวง โดยเฉพาะมุ่งทำลายประโยชน์ของเขาทำให้เขาเสียหายเป็นหลักเลย ต้องเอาอันนี้เป็น 1
2. ก็ไม่เป็นปริศนาวาจา วาจาสอดเสียด ยุยง
3.ไม่เป็นวาจาพลุสวาส พลุสวาสวาจาคำหยาบ
4.ไม่เป็น สัมปาระปะ ไม่เป็นคำพูดเพ้อเจ้อ พล่ามเหลวไหล
เอาล่ะ 4 อย่างนี้น่ะ ทีนี้มันก็จะกำกับให้วาจาในขอบเขตที่ดีงาม เป็นไปในทางที่สร้างสรรค์
ที่นี้ถ้าเอาคำตรงข้าม ก็
ข้อ 1 ก็ไม่พูดเท็จ พูดความจริง
ข้อ 2 ไม่พูดคำส่อเสียด ก็พูดคำสมัครสมาน ประสานสามัคคี
ข้อ 3 ไม่พูดคำหยาบ ก็พูดคำอ่อนหวานสุภาพ
ข้อ 4 ไม่พูดคำเพ้อเจ้อ เป็นคำที่เป็นประโยชน์เป็นเนื้อหาสาระ พูดถูกกาลถูกเวลาเป็นคำพูดพอประมาณและก็พูดด้วยความปรารถนาให้เกิดประโยชน์ อันนี้ นี่ก็เป็นเรื่องของวาจาเป็นสัมมาวาจา ก็นี้ออกมาสู่ด้านพฤติกรรม ถ้าว่าสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ มาเป็นฐานให้แล้ว มันก็จะนำสู่สัมมาวาจา สัมมาวาจาก็เลยเอาไอ้ 4 ข้อนี้ มาเป็นกรอบไว้อีกว่า อย่าให้มันไปละเมิดอีกน่ะ
ที่นี้ต่อไปก็ออกสู่การกระทำการเคลื่อนไหวทางกาย ทางด้านการเคลื่อนไหวทางกายก็ ก็ให้เป็นการทำอะไรต่ออะไรที่ดีงามสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาชีวิต เป็นต้น โดยปราศจากข้อเสียหายทางกายอีก 3 ประการ ข้อเสียหายทางกาย 3 ประการ
1. การที่ไปทำลายชีวิตผู้อื่นเขา หรือแม้ไม่ถึงชีวิตก็ทำร้ายร่างกายเขา ก็เป็นการละเมิดต่อเรื่องชีวิตร่างกายนั่นเอง ให้เป็นการกระทำที่ไม่มีการละเมิดต่อชีวิตร่างกายผู้อื่น คือ เบียดเบียนชีวิตร่างกายของผู้อื่น
2. ก็ไม่เป็นการเบียดเบียนละเมิดต่อทรัพย์สินของเขา สิ่งที่เขาครอบครองเป็นทรัพย์สมบัติที่ตกลงกันไว้ในสะมดของสังคม ตกลงกันไว้แล้วเพื่อให้อยู่กันด้วยดีมันก็ต้องไม่ล่วงละเมิดกันในทรัพย์สินเงินทองในกรรมสิทธิ์ ในปัจจัย 4 เป็นต้น
แล้วก็ 3 ก็ไม่ละเมิดในเรื่องคู่ครอง คู่ครองกันเพื่อสังคมอยู่ด้วยดี สังคมก็จะต้องมีแบบแผน มีกติกา มีวินัย ในเรื่องของคู่ครองก็เลยต้องไม่ละเมิดกันในเรื่องเหล่านี้ มันจะได้อยู่ด้วยกันโดยไม่เบียดเบียน อันนี้ ทำอะไรก็ทำไป ขอให้มันปราศจากเจ้า 3 ตัวนี้ ก็สำหรับการทำลายชีวิต ทำร้ายร่างกายกันนี่ก็เป็นเรื่อข้อปาณาติบาต เว้นจากปาณาติบาต ปลอด จากปาณาติบาต 2 เว้น คือปลอดจากเรื่องของการละเมิดซึ่งทางทรัพย์สินเว้นจากอธินาทาน 3 เรื่องของการละเมิดต่อคู่ครอง เรียกว่ากาเมสุมิจฉาจาร ก็ให้พฤติกรรมปราศจากสิ่งเหล่านี้ เอาล่ะครับ
ก็นี่เข้าสู่มรรคในด้านพฤติกรรม อ้อแล้วมีอีกข้อนึง ข้อที่สำคัญก็คือ การเลี้ยงชีวิต การหาเลี้ยงชีพ การประกอบอาชีพก็ต้องเป็นสัมมาอาชีวะ เป็นอาชีวะที่ถูกต้อง ข้อนี้ท่านจะพูดไว้แบบว่าให้หลักการคร่าว ๆ เพราะอาชีพของคนเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ให้เป็นอาชีพที่ดีงามถูกต้อง เช่นว่าตามข้อกำหนดของสังคมอย่างในยุคปัจจุบัน ก็ถือกฎหมายเป็นหลักไม่ให้เป็นอาชีพที่ผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายนั้นก็ปกติก็ยึดถือเราประโยชน์สุขของสังคม ก็คือหลักศีลธรรมนี้เป็นเกณฑ์ว่าเป็นอาชีพที่ไม่ทำร้าย ไม่ทำร้ายผู้อื่น โดยมากอาชีพมันจะมุ่งคล้ายว่า ตามหลักที่ว่ามาแล้ว นี้แหละคือเป็นอาชีพการทำมาหากิน โดยที่ว่าไม่ไปเบียดเบียนทำลายชีวิต ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ไม่ละเมิดต่อชีวิตร่างกายของเขา แล้วก็เป็นอาชีพที่ไม่ไปล่วงละเมิดต่อทรัพย์สินผู้อื่น เป็นอาชีพที่ไม่ละเมิดคู่ครองเหมือนกัน ตลอดจนกระทั่งถูกต้องตามสัมมาวาจาอาชีพโดยมากก็จะเป็นไปตามนี้ก็จะเอากฎหมายบ้านเมืองนี้เป็นแนวทั่ว ๆ ไป แต่ทีนี้ว่าสำหรับอุบาสก ยังมีอีกก็เรียกว่ามิจฉาอาวิชา เราก็ว่าไม่อยู่ในคำจำกัดความของมรรค วิชาอภิชาพระพุทธเจ้าตรัสในที่อื่น ในบาลีเรียก อกรณียวิชา ปานาคถา เรียก มิจฉาวิชา ในบาลีเรียก อกรณียวิชา แปลว่าการค้าที่ไม่พึงกระทำหรือไม่พึงประกอบ ก็มี เอ้า ลูก ๆ จำได้ไหมครับ อ้าว 1 มิจฉาวิชา กะระณียะวิชา 1. ค้าอาวุธ 2. ค้ามนุษย์ 3. ค้าสัตว์ ค้าเพื่อให้เขาเอาไปขายกิน 4. ค้าสุรายาเสพติด เรียกว่ามัจฉะวิชา ไม่ใช่บอกสุรานะ มัจฉะก็เครื่องดองของเมา พวกยาเสพติดนี่แหละ และข้อ 5 วิสาวิชา ค้ายาพิษ อันนี้เป็นเรื่อง ก็ดู ก็สาระไปอยู่ที่นี่แหละ อยู่ที่เรื่องลองดูซิ ในเรื่องของกายวาจา เรื่องกายนี้แทบทั้งนั้นเลยใช่ไหม ยาพิษมันก็ทำร้ายชีวิตเขา เรื่องของค้ามนุษย์ เรื่องของการค้าสัตว์ไปเป็นอาหาร ทำเป็นเนื้ออะไรพวกนี้ มันก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องการเบียดเบียนในเรื่องของสัมมากัมมันตะ การกระทำ ก็ตกลงว่าให้ประกอบอาชีพที่ดีงามถูกต้อง ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น แต่ว่ามองให้กว้างออกไปนี่น่ะ เอาล่ะ ก็อาชีพที่ดีงามนี่ ก็เป็นอันว่าไม่ก่อความเดือดร้อนเบียดเบียนสังคม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น อันนี้นอกจากไม่เบียดเบียนผู้อื่นแล้ว อาชีพที่ดีงามนั้น มันจะยังช่วยสร้างสรรค์สังคมด้วย อาชีพทั้งหลายนี่มันเกิดจากการที่มนุษย์มีความต้องการแก้ไขปัญหาในสังคมตนเองแก้ไขปัญหาชีวิต
อย่างอาชีพแพทย์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ก็เพราะมนุษย์มีความต้องการสุขภาพดี ต้องการหายโรค การประกอบอาชีพอย่างนี้มันก็เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ สร้างสรรค์ให้คนอยู่ดีมีสุขสุขภาพดีมีคุณภาพชีวิต อาชีพก่อสร้างมีขึ้นมาเพราะอะไร เพราะมนุษย์ต้องการมีบ้านเรือนที่อยู่อาศัย มีปัจจัย 4 ใช่ไหม เพราะฉะนั้นอาชีพต่าง ๆ ที่มันเป็นสัมมาอาชีพ นอกจากจะไม่ก่อความเดือดร้อน เบียดเบียนผู้อื่นแล้ว ก็จะเป็นอาชีพที่เป็นไปในทางแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่สังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉะนั้นเมื่อเราให้มันเว้นจากฝ่ายไม่ดีแล้ว เรามาเน้นฝ่ายดี เอาน่ะในด้านหนึ่ง ไม่ให้มันเบียดเบีบนก่อความเดือดร้อนใคร ฉะนั้นไม่ให้มันเน้นจากฝ่ายไม่ดีแล้ว เรามาเน้นฝ่ายดี แล้วมาเน้นว่า แล้วมันก่อให้เกิดประโยชน์อะไรช่วยแก้ปัญหาอะไรอาชีพพวกนี้ดีน่าสนับสนุนดี เป็นการส่งเสริมที่ดี เป็นหลักการในจะดูว่าอาชีพอะไรควรส่งเสริม ก็ดูอาชีพนี้ มาช่วยแก้ปัญหาสังคมไหม มาช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์ความดีงาม สังคมนี้เจริญในทางที่ถูกต้องไหม นั้นอาชีพบางอย่างนี่มันทำให้คนนี่เพลิดเพลินลุ่มหลงมัวเมา ส่งเสริมค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง ส่งเสริมโลคะ โทสะ โมหะ เข้ามาไม่น่าสนับสนุนใช่ไหม แม้ยังไม่เห็นชัดลงไปว่าเป็นอาชีพที่ไปผิดกฎหมาย ไม่ผิดเลย อาชีพบางอย่างไม่ผิดกฎหมาย แล้วจะไปเอาในแง่ของการไม่เบียดเบียนอะไรตรง ๆ ก็ไม่ใช่ ก็ดูว่ามันไปส่งเสริมค่านิยมไม่ดี มันไม่ส่งเสริมการแก้ปัญหา มันไม่ช่วยสร้างสรรค์สังคมเลย อาชีพพวกนี้ไม่น่าสนับสนุน ที่นี้มีเยอะใช่ไหม อาชีพที่ทำให้คนลุ่มหลงมัวเมาอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ตอนนี้กลายเป็นอาชีพที่ได้เงินได้ทองมากด้วย ฉะนั้นก็ต้องจะช่วยสังคมก็ต้องพยายามส่งเสริมสัมมาอาชีพที่ถูกต้อง ที่มันสร้างสรรค์อย่างที่ว่า เอ้านอกจากแก้ปัญหาสร้างสรรสังคมแล้วอะไรอาชีพที่ดีมีอะไรอีก อาชีพที่ดีเพราะมันอยู่ในองค์ของมรรคนี่ มันจะเป็นตัวเอื้อการพัฒนาชีวิตของตัวเจ้าของผู้ประกอบอาชีพนี้เองด้วย คือไม่ใช่เฉพาะไปเอื้อต่อสังคมประเทศชาติเท่านั้น มันเอื้อต่อการพัฒนาตัวเองด้วยนะ สัมมาอาชีพ เวลาเราไปประกอบสัมมาอาชีพน่ะ เราได้มีโอกาสฝึกฝนพัฒนาพฤติกรรมของเรา ตกลงเราไปทำงานทำการที่ดี เราได้อยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักกับทำงานกับคนอื่น รู้จักพูดจะจา พูดอย่างไรจึงจะทำให้สม่ำสมานสามัคคี พูดยังไงจะทำให้เราได้รับความร่วมมือ ทำให้การงานมันได้ผลดี มันก็ฝึกพฤติกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเขาในแง่ต่าง ๆ แล้วก็ฝึกความจัดเจน ฝึกฝีมือ ทำให้มีฝีมือก็เรื่องพฤติกรรมทั้งนั้น ฉะนั้นอาชีพที่ดีนี่พฤติกรรมนี่เราได้พัฒนาด้วย 2 จิตใจเราก็ได้พัฒนา เวลาเราประกอบอาชีพนี่เราจะทำงานให้สำเร็จ เราต้องมีจิตใจที่รับผิดชอบเราต้องมีจิตใจที่มีความขยันหมั่นเพียรไม่ท้อแท้ไม่เกียจคร้านหนักเอาเบาสู้มีความอดทน แล้วก็สร้างฉันทะ ความอยากให้งานสำเร็จให้เป็นผลดี อะไรต่าง ๆ ด้านจิตใจก็พัฒนาได้ขึ้นมาได้เยอะแยะหมด แม้แต่สติก็ฝึก สมาธิก็ฝึก ทำงานด้วยความตั้งใจจริง ทำงานด้วยใจรักมีสมาธิมีใจแน่วแน่ในงานนั้น ทำให้งานได้ผล ฝึกจิตใจ แล้วก็ฝึกปัญญา เรายิ่งได้เรียนรู้ในอาชีพที่เราทำเวลาเราค้นคว้าวิชาการเพื่อจะมาทำงานของเราให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เราเรียนรู้จากประสบการณ์ในการทำงานได้เห็นโลกเห็นชีวิต เข้าใจโลกชีวิตตามเป็นจริง เพราะฉะนั้นคนที่รู้จักใช้อาชีพให้เป็นประโยชน์ก็เอาอาชีพนี้มาเป็นการแดนพัฒนาชีวิตของตนเอง ทั้งพฤติกรรม จิตใจและปัญญา โดยตั้งใจเลยไม่ใช่ปล่อยทิ้ง แล้วพอเราอาชีพมาเป็นแดนพัฒนาชีวิต เราจะมีความสุขในการทำงาน มองเห็นว่า เอ้อ เราทำงานนี้มันเป็นประโยชน์แก่ชีวิตของเราอย่างนี้ด้วย ดังนั้นใจมันก็จะเบาลงจากการที่มัวไปมองข้ามอันนี้ คนจำนวนมากมองข้ามอันนี้ไป ไม่เห็นประโยชน์ก็เลยเสียประโยชน์ที่จะพึ่งได้ เสร็จแล้วนอกจากนั้น ก็คือว่า ยังทำให้จิตใจไม่มีความสุขในการทำงาน ก็ไปมองแต่ผลประโยชน์ที่รับตอบแทน มองข้ามปั้บจะทำงานก็จะได้เงินเดือนเท่าไหร่ผลตอบแทนเท่าไหร่ใจมองข้ามไปอยู่ที่นั่น ที่นี่ เอาละสิ การงานกลายเป็นเรื่องของความจำใจ กลายเป็นเรื่องทรมานใจ กลายเป็นเรื่องของการที่ต้องรอคอยว่า เมื่อไหร่งานถึงจะผ่าน จะหมดเวลาทำงานจะได้รับผลตอบแทน เลยขาดประโยชน์ที่พึงได้ แล้วทำให้ผลเสียต่อคุณภาพชีวิตจิตใจไม่ดี นั้น ประโยชน์ที่แท้ของการงานอาชีพมันอยู่ตรงนี้มากกว่าเงินเดือน เงินทอง เงินทองผลตอบแทนนั้นเป็นเพียงข้อสมมุติ ข้อตกลงในสังคมเพื่อเอื้อต่อการที่เขาจะได้ทำงานกันได้ใช่ไหม เป็นเครื่องเอื้อเพื่อสนับสนุน คนจะได้อยู่ใจ คอยจะไม่ต้องไปกังวลเรื่องความเป็นอยู่ เพราะคนเราอยู่ไม่มีปัจจัย 4 เขาก็ให้เงินเดือนให้ผลตอบแทนไว้ให้เป็นหลักประกันว่าคุณไม่ลำบากนะ คุณทำงานตั้งใจไปเถอะไม่ต้องห่วงใยเรื่องนี้ ที่นี้ตัวประโยชน์ที่แท้การทำงานนั้นตามเหตุตามผลของมัน ตามกฎธรรมชาติคือทำงานอะไรเกิดผลอันนั้น เมื่อทำงาน ทำสวน ก็ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามเพราะคุณตั้งใจทำ เหตุให้ตรงกับผลที่ต้องการ ที่นี้เราก็ทำงานไป แล้วเห็นว่ามันเป็นโอกาส งานนี้ก็ทำให้เราได้พัฒนาชีวิตของเรา พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจปัญญาไปหมดเราก็ดี แล้วก็ทำงานด้วยความรู้สึกว่าได้จากงานโดยตรงตลอดเวลาเลย จิตใจอย่างนี้ เราก็เป็นจิตใจที่ตรงไปตรงมาตามบทธรรมชาติด้วย และก็เป็นผลดีมีความสุขในการทำงานด้วย เพราะฉะนั้นที่ตรงนี้เลยเป็นสำคัญมากก็คือว่า เอางานเอาอาชีพมาเป็นแดนพัฒนาชีวิตของตนเอง เราก็จะประสบความความก้าวหน้าความสำเร็จด้วย และอันนี้ที่สำคัญมาก เพราะอะไร เพราะว่าเวลาของคนเรานี้ในชีวิตนี่มันเป็นเวลาที่มาใช้ประกอบอาชีพเสียมาก วันหนึ่งนี่เราต้องให้เวลากับการประกอบอาชีพเท่าไหร่ อย่างข้าราชการก็ไปทำงานประมาณ 8 ชั่วโมง 8 ชั่วโมง นะครับ 8 ชั่วโมงนี่คิดเป็นเวลานอน คนธรรมดานอนกี่ชั่วโมง 6 เหรอ ก็ 6, 7, 8 ถ้า 8 ชั่วโมง ก็เป็นเวลานอน 8 แล้วทำงานเป็น 8 เป็น 16 แล้ว เหลืออีก 8 ชั่วโมงก็เดินทาง เดินทางยิ่งเดี๋ยวนี้กรุงเทพด้วยว่าจะไปถึงกว่าจะกลับมาถึงบ้าน อะไรอย่างี้ วันหนึ่งหมดไปเยอะ เวลารับประทานอาหาร เวลาที่จะต้องทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ อาบน้ำแต่งตัว โอ้ยอีกเยอะแยะตกลงว่า เวลาที่เป็นเรื่องเป็นราวแท้ ๆ เนี่ย เป็นเวลาที่ทำงานเสียไป 8 ชั่วโมงใช่ไหม นอนยังไม่แน่ 8 ก็มี 6 ชั่วโมง 7 ชั่วโมง 8 ก็มี ก็คนเรา อย่างที่ว่าแล้ว เวลาในแต่ละวันของแต่ละชีวิตมันหมดไปกับการทำงานกำหนดไว้สำหรับทำงานอันนี้ตั้ง 8 ชั่วโมง สำหรับคนยุคปัจจุบัน ราชการบางทียังทำงานมากกว่านี้ บางคนเกิน 8 ชั่วโมง นะครับ นั่นสิ บางคนทำมากกว่า มากกว่านั้นอีกใช่ไหม ลองคิดดูเราชีวิตเราอยู่กับการงานเท่าไหร่แล้วไปนอนเสีย หมดไปอีกตั้ง 6, 7, 8 ชั่วโมง เหลือเวลาอื่นไม่เท่าไหร่ ฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถเอาประโยชน์จากเวลาทำงานได้ชีวิตของเราจะเสียไปไม่รู้เท่าไหร่ ฉะนั้นความสุขความดีงามอะไรต่างๆ ที่จะได้แก่ชีวิตนี้ต้องหาทางเอาจากงานให้ได้น่ะ เพราะฉะนั้นชีวิตของเราเสียอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนใช่ไหม เพราะในเวลาหนึ่งวันนี่ 8 ชั่วโมง ก็คือ 1 ใน 3 แล้วเสร็จแล้ว คิดไปตลอดชีวิตก็ 1 ใน 3 ของชีวิต หมดไป แล้วเสียเปล่านี่ ถ้าทำงานแล้วเกิดโทษหรือไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควรนี่ เสียชีวิตไปเปล่า ๆ ฉะนั้นชีวิตจะดีงามต้องเอาให้ได้จากอาชีพนี้แหละ ใช้เวลาทำงานกับอาชีพนี้ เอ้อพัฒนาชีวิตของตนเองทำงานให้มีความสุข ทำงานให้เป็นการสร้างสรรค์แก้ปัญหาสังคม ทำประโยชน์ให้เกิดขึ้น โอ้ยทำความดี น่ะนี่ ให้เสร็จเลย พวกความดีงาม คุณค่าชีวิตก็เลยมาอยู่ในแดนนี้แทบทั้งนั้น ฉะนั้นเรื่องอาชีพสำคัญมากพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญเวลานี้บางทีเราพูดถึงศีล เราก็ลืมมองข้ามเลย ลืม ลืมเรื่องอาชีพมองข้ามเรื่องอาชีพไม่เน้นแต่เรื่องการศีล 5 ก็มันไปอยู่แค่สัมมาวาจา สัมมาสัมกะปะ สัมมาอาชีวะไม่ค่อยพูด ทั้ง ๆ เป็นเรื่องศีลด้วยสำคัญ พอมาถึงสัมมาอาชีวะแล้ว แค่นี้ก็จะเห็นโลกทั่งโลกก็เป็นไปอย่างนี้แหละใช่ไหม ออกมาสู่ภาคปฏิบัติการเป็นชีวิตจริง พอหมดแดนนี้แล้วมาสู่พฤติกรรมแล้ว
ทีนี้ก็ไปตัวอยู่เบื้องหลังที่จะมาช่วยสนับสนุนให้การแสดงพฤติกรรมนี้มันได้ผลตามวัตถุประสงค์ให้มันแข็งข้นให้มันจริงจังอะไรต่าง ๆ นี่มันก็ต้องเอาไปสู่ด้านจิตใจก็เลยเอาไปสู่องค์มรรค อีก 3 ข้อ ข้อสุดท้ายด้านจิตใจนี้มาเป็นฐานอยู่ภายในมาเป็นตัวเอื้อตัวหนุนตัวสนับสนุนส่งเสริม ตัวทำให้มั่นคงยิ่งขึ้น ถ้าหากพฤติกรรมไม่มีจิตใจเป็นรากฐานแล้วมันก็ไม่มั่นคงแล้วไม่จริงจัง เช่นว่าจะประพฤติความดีนี่ มันก็จะขัดกับหลักไป เพราะฉะนั้นก็เอาด้านจิตใจมา ด้านจิตใจองค์ประกอบด้านจิตใจมันเยอะแยะ แต่ตัวที่มาเป็นหลักสำคัญการทำงาน ยืนโรงก็คือ 3 ตัว ที่เคยพูดไปแล้วด้านจิตใจ ตัวทำงานยืนโรงก็คือ ด้านความเพียรพยายาม ความเพียรพยายามนี้เริ่มตั้งแต่ แม้แต่ไอ้ตัวที่มันทำให้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวเนี่ย คนเราไม่มีตัวความเพียรแม้แต่นิดเดียวมันไม่ขยับเขยื้อนอยู่นิ่งเฉยไปเลย อันนั้นตัวเพียรนี่เป็นตัวทำให้ขยับเขยื้อน เราจะมีพฤติกรรมก็ต้องมีเพียร ที่นี้เพียร มีเพียรมาก ๆ ก็ยิ่งขยับเขยื้อนมาก แรงยิ่งมากยิ่งก้าวไป ไอ้ตัวเพียรนี้ทำให้ก้าวหน้าไม่หยุดอยู่กับที่ เพราะฉะนั้นความเพียรนี่คู่กับความก้าวหน้า จึงทำให้เกิดความสำเร็จ ความเพียรก็ลักษณะอย่างหนึ่งคือการที่จะก้าวหน้าต้องกล้าด้วย ก้าวหน้าก็ต้องกล้าไป กล้าเดินไป แล้วก็ต้องไม่เกียจคร้านไม่เฉื่อยชา
ที่นี้ความเพียรนี้ท่านก็บอกว่าไม่เป็นความเพียรที่มี
แนวทางมีเป้าหมาย
1.ความเพียรในการป้องกันอกุศลสิ่งไม่ดีไม่งามที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดมีขึ้น อันนี้ก็สำคัญนะ ตั้งแต่ในจิตใจของเราความชั่วอกุศลธรรมมันจะเกิดไม่ให้มันเกิด ถ้ามองในแง่สังคมก็ความชั่วร้ายอะไรต่าง ๆ ในสังคมนี่ เพียรป้องกันมันอย่าให้มันเกิดขึ้นคนเราทำหรือเปล่าความเพียรในแค่นี้ เพียรป้องกันความชั่วสิ่งชั่วร้ายสิ่งเสียหาย สิ่งเป็นโทษร้ายประโยชน์ไม่ให้เกิดขึ้น
2. เพียรในการละความชั่วกำจัดสิ่งเสียหายโทษความเร็วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว บาปอกุศลธรรมในใจ คือความไม่ดีไม่งามในสังคมที่มันเกิดมันมีขึ้นแล้วนี่ อย่างเดี๋ยวนี้สังคมเราเยอะแยะเหลือเกินใช่ไหม ความชั่วเสียหายแก้ไขกำจัดเสีย 2 แล้ว ความเพียรที่ 2 อันที่ 1 ท่านเรียกว่าสัมมาสัปปธาน เพียรป้องกันระวางป้องกัน สังวาลสัมปธาน ความเพียรในที่นี้ใช้คำว่า ปธาน แทน สัมมาสัมปธาน เพียรระหว่างป้องกัน
2 มหาสัมปทาเพียรละกำจัดแก้ไขให้หมดไป ทีนี้ เอาด้านบวกบ้าง ต่อไปก็คือเพียรสร้างสรรค์กุศลธรรมความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดมีขึ้น อะไรที่มันยังไม่ดีให้ดีงามขึ้นมาควรจะมีการสร้างสรรค์ขึ้นมา อันนี้เป็นความเพียรสร้างสรรค์แล้ว ท่านเรียกว่าภาวนาประธาน เพียรในการทำให้เจริญขึ้นมา ทำให้มีขึ้นมา อันนี้ก็สำคัญนะ คนที่เป็นนักบริหารเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองควรจะเอาความเพียร 4 นี้ไปใช้เป็นหลัก ตอนนี้ความดีก็สร้างสรรค์
ต่อไปข้อ 4 สิ่งดีงามความดีงามกุศลที่เกิดมีขึ้นแล้วต้องพยายามรักษานี่อีก เพราะว่าคนเราสร้างความดีพอมันมีความดีขึ้นมาแล้ว บางทีมันเพลิน ตกอยู่ในความประมาท ปล่อย ก็เลยความเจริญความดีนั้นก็เสื่อมไป อันนั้นจะต้องเพียรพยายามที่จะรักษาไว้และทำให้งอกงามยิ่งขึ้นไป จนไพบูลย์ใช้คำนี้นะไม่ใช่ว่าเพียรรักษาน่ะ เดี๋ยวจะเข้าใจผิด ในบาลีท่านอธิบายไว้เสร็จ บอกว่าทำให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ภิยโย ใช้คำภิยโยจนจะถึงไพบูลย์เลย จนไพบูลย์เลย จนกระทั่งถึงเวรปุระไพบูลย์เลย ฉะนั้นต้องทำให้เจริญจนเต็มที่ อะไรเจริญแล้วเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ไพบูลย์ อันนี้เรียกอนุรักษ์ขนาประทา อนุรักษ์ นั่นเอง แปลว่า ความเพียรในการอนุรักษ์ ฉะนั้นจะต้องทำความเข้าใจ คำว่า อนุรักษ์ ไม่ใช่แค่รักษา แต่หมายถึงว่าให้มันเจริญต่อเนื่องไปและก็ยิ่งขึ้นไปจนกระทั่งเต็มเปี่ยม เป็นอันว่า 4 ข้อ นี่เป็นความเพียร เพียรอะไรก็เพียรไปมันเข้าแนวนี้ 4 อย่าง เป็นมาตรฐานเป็นกรอบ
ทวนอีกครั้งหนึ่ง
1.สัมมัปปธาน เพียรระวังป้องกัน
2.ปหานปธาน เพียรแก้ไขกำจัด เลิกละ ทำให้หมดไป
3.ภาวนาปธาน เพียรสร้างสรรค์ ทำให้เกิด ให้มี ให้เป็นขึ้นมา
4.อนุรักขนาปธาน เพียรในการอนุรักษ์ คือรักษาส่งเสริมธรรม ทำให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์เต็มเปี่ยม
เอาล่ะครับ นี่ก็หลักการสำคัญที่มันจะเกิดจากในใจ เพียรใจต้องเข้มแข็งมีกำลังใจสู้ไม่ท้อถอย อันนี้ถ้าทำได้อย่างนี้ ท่านเรียกว่า สัมมาวายามะ เป็นความพยายามชอบ มันจะมาเป็นตัวหนุนไอ้เจ้าพฤติกรรมเลย วาจาและการกระทำทางกายต้องมีเจ้าตัวเพียรนี้มาอยู่แล้วมันถึงจะเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จได้ แต่ทีนี้ตัวนี้ก็ยังไม่พอ ท่านบอกว่า ไอ้ตัวทำงานในใจ อีกตัวสำคัญคือสติ สติก็คือความระลึก ความนึกได้อย่างที่ว่าแล้วเป็นตัวที่ทำให้ตื่นตัวทันต่อสถานการณ์ มีความเพียรก็จริงแต่ไม่รู้เรื่องรู้ราวสถานการณ์เป็นอย่างไร เวลานี้อะไรเกิดขึ้น ก็เลยไม่รู้จักฉวยประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่รู้สถานการณ์ที่เป็นปัญหา ไอ้ความเพียรก็ไม่รู้จะไปทำอย่างไรมันทำไม่ถูกจุดถูกที่ แล้วอะไรที่จะมาเป็นอุปสรรคแก่ความเพียรก็เลยไม่รู้ทันมัน งั้นต้องมีสติ สติก็เหมือนกับตรวจตรา เพราะว่าคอยระลึก คอยนึกว่ามีอะไรเกิดขึ้นเป็นไปจะส่งผลกระทบในทางบวกทางลบ ในทางร้ายมันจะทำให้เกิดผลเสียหายขึ้น ในทางดีก็จะทำให้เราได้โอกาสในการสร้างสรรค์ ฉะนั้นในเมื่อมีสถานการณ์เกิดขึ้นเป็นไป สติเอามาระลึก เอามานึก จับมาดู จับมาดูอยู่เรื่อย สตินี่จับมาดู จับมาดูแล้วก็ถ้ามันจะก่อให้เกิดผลร้ายก็รีบป้องกัน กำจัดใช้ความเพียรเข้ามาจัดการเลย ใช่ไหม และก็ถ้ามันจะทำให้เกิดผลดีก็ฉวยโอกาสใช้โอกาสนั้นให้เป็นประโยชน์ รีบทำซะ สร้างสรรค์ซะ จับเหตุปัจจัยที่ดีนั้นมาเป็นประโยชน์ สติก็เป็นตัวที่ทันต่อสถาระการณ์ตื่นตัวตลอดเวลา ที่นี้ในชีวิตของเราเองนี่ ท่านก็เรียกว่าสติสัมปทา สตินี้มันจะต้องมาจับมาคุม มาตรวจ มาดู มาระลึกนึกถึง ไอ้การความเป็นไปในทางกายของเราในการที่ว่าจะดำเนินชีวิตในการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ให้มันถูกต้องมันเกิดผลเสียหายแล้วให้มันเกิดปัญญา เพราะสติก็จะช่วยหนุนปัญญาอย่างที่เคยพูดไว้แล้ว เรื่องของความรู้สึก ความสุข ความทุกข์ ก็รู้เท่าทัน หากขาดสติ กรณีนี้มีสติสัมปชัญญะมาด้วย คือจะพูดรวม ๆ กันไปเลย แล้วก็เรื่องของสภาพจิตใจของเราเป็นยังไง ก็คอยคุมไม่ให้ฝ่ายร้ายเกิดขึ้นเอาให้มีแต่ฝ่ายดี เรื่องของความคิดนึก นึกเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นไปในจิตใจของเราสารพัดนี่ก็รู้ จับมันมาดู คอยดู คอยทันมันไว้ แล้วก็ให้มันเป็นในทางที่เกื้อหนุน เป็นประโยชน์ให้มันส่งเสริมต่อปัญญา แต่ว่าเอามาใช้ในทางสังคม ก็อย่างที่ว่ามันเป็นตัวตรวจตราแล้วมาลองสถานการณ์และเป็นตัวที่ใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ ก็เป็นผู้ตื่นตัวทันต่อเหตุการณ์อย่างที่ว่ามาแล้ว ก็สติเป็นตัวสำตัญเมื่อสตินี่มันถูกต้องเรียกว่า สัมมาสติ เกื้อหนุนทำให้เราออกโรงมาสู่โลกได้พฤติกรรมดี ใช่ไหม พฤติกรรมขาดสติก็ไม่คว้างเลื่อนลอยไป ขาดทิศทาง
ที่นี้ต่อไปก็สุดท้ายก็ความมั่นคงของจิตใจ ความสงบ จิตใจที่แน่วแน่ จิตใจที่อยู่กับสิ่งที่ต้องการไม่ฟุ้งซ่าน ไม่พล่า ไม่กระสับกระส่าย ไม่วอกแวก มันทำให้อยู่ในเป้าหมายอย่างแน่นอน ทรงตัวไปอย่างมั่นคง เรียบ เดินหน้าก็เดินไปอย่างสม่ำเสมอและมีความมั่นคง อันนี้ก็จะทำให้การทำงาน การกระทำพฤติดรรมต่าง ๆ ทุกอย่างนี้ได้ผลดีไปสู่เป้าหมายหมดไม่มีอะไรเข้ามากวนได้ ตัดสิ่งที่จะทำให้เกิดความเสียหาย ปิดช่องทางร้ายได้ ก็เป็นอันว่าด้านจิตใจนี้ก็จะมาเป็นตัวหนุนอยู่เบื้องหลังขาดไม่ได้เหมือนกัน 3 ตัวนี้เป็นตัวสำคัญและไอ้คุณสมบัติอื่นก็เอาใช้ตามสมควร เพราะให้มีเจ้าองค์ประกอบมาหยิบยืมเป็นตัวชูโรง 3 ตัวนี้แหละ ก็ได้ความมีวิริยะความเพียรให้เป็นสัมมาวายามะ มีสติที่เป็นสัมมาสติ แล้วมีสมาธิ มาเป็นสัมมาสมาธิ เอาให้สู่ทางที่มันเป็นไปเพื่อพัฒนาชีวิต เป็นต้น ก็ครบองค์มรรค 3 ข้อท้ายนี้เป็นด้านสมาธิหรือเป็นด้านจิตใจนั่นเอง ก็รวมความ อันนี้ก็พูดเรื่องมรรคก็จบแล้วนะ
มรรคมีองค์ 8 ประการ 2
ขอแรกเป็นเรื่องปัญญา ได้แก่สัมมาทิฎฐิ ความเชื่อ ความเห็น ความเข้าใจ การยึดถือหลักของการถูกต้องเป็นไปเพื่อความดีงามและสอดคล้องกับความเป็นจริง ทำให้เราเข้าถึงความจริง พัฒนาชีวิตของเรา
แล้วก็ 2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริความตั้งใจคิดมุ่งหมายต่าง ๆ ที่เป็นไปในทางที่พัฒนาชีวิตของตนเป็นไปในทางสร้างสรรค์โดยปราศจากความมุ่งหมายในทางที่จะเห็นแก่ตัว จึงเป็นเนตรสัมมาสังกัปปะ แล้วก็ไม่เป็นไปการที่มุ่งร้ายเคลียดแค้นชิงชังทำด้วยความเกลียดชังถือเป็นพยาสังกัปปะ แล้วก็ไม่เป็นไปไม่ข่มเหงเบียดเบียนรังแกเขา ที่เรียกว่า เป็นอหิงสาสังกัปปะ 2 ข้อนี้ก็ได้เป็นด้านปัญญาเป็นฐาน ต่อไปก็ออกสู่พฤติกรรม ก็พฤติกรรมเป็นศีลที่ 3 ข้อ ก็เป็น ให้เป็นการทำพฤติกรรมที่เป็นสัมมาวาจา ปลอดจากวาจาที่เท็จโกหกหลอกลวง คือไม่เป็นมุสาวาทเป็นวาจาที่ไม่สอดเสียดยุยงก่อความแตกแยก แต่ว่าไม่เป็นปริศนาวาจาแต่เป็นวาจาประสานสามัคคีสมานกัน แล้วก็ไม่เป็นวาจาหยาบคาย เรียกว่าไม่เป็นผรุสวาจา แต่เป็นวาจาที่สุภาพ ชวนให้น่าฟังแล้วก็เป็นวาจาที่ไม่เพ้อเจ้อ ไม่เหลวไหลไร้สาระ ไม่เป็นสัมมาสังกัปปะ แต่เป็นวาจาที่มีเหตุมีผลประกอบด้วยประโยชน์ เป็นต้น รู้จักกาลรู้จักเวลาพูดพอเหมาะพอดี แล้วก็นี่ด้านสัมมาวาจาก็จบแล้วก็ ต่อไปก็ด้านกาย สัมมาสังกัปปะในการกระทำพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ไม่ละเมิดไม่เบียดเบียนคนอื่นในทางชีวิตร่างกายแล้วก็ไม่เป็นการปานาทิบาท ต่อมาก็ 2 ก็คือไม่เป็นพฤติกรรมที่ละเมิดเบียดเบียนในผู้อื่นเป็นทางทรัพย์สินเงินทอง เครื่องเลี้ยงชีพของเขา ไม่เป็นอทินนาทาน
3. ไม่เป็นการละเมิดเบียดเบียนผู้อื่นในเรื่องของคู่ครอง ของรักหวงแหนของเขา ไม่เป็นกาเมสุมิจฉา และจะทำอะไรต่ออะไรเป็นในทางพัฒนาสร้างสรรค์
ต่อไปนี่หมวด 4 แล้ว 3 ข้อสัมมาวาจา สัมมากัปปะ และก็อีกข้อคือ สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีพ ประกอบอาชีพในทางที่ว่าไม่เป็นการเบียดเบียนก่อความเดือดร้อนผู้อื่นเรื่องสังคม แต่เป็นอาชีพที่ช่วยแก้ปัญหาให้แก่ชีวิตหรือสังคมช่วยสร้างสรรค์ ทำให้เกิดประโยชน์สุขและก็เป็นอาชีพที่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตและสังคมตนเอง เอาอาชีพนั้นมาใช้เป็นแกนการพัฒนาชีวิตของตนเองก็ตกลงว่าจบศีลสัมมาวาจา สังกัปมะตะ สัมมาอาชีวะ 3 ข้อ
ต่อไปก็หมวดสุดท้ายเป็นตัวด้านจิตใจที่เป็นพื้นฐานอยู่ข้างในทำให้เป็นแรงจูงใจเป็นฐานของความตั้งใจเป็นตัวเจตจำนงและก็เป็นพลัง ก็ให้มีจิตใจที่ประกอบด้วยวายามะ หรือวิริยะความเพียรที่ถูกต้อง เป็นความเพียรทั่งในแง่ของการป้องกันความชั่วร้ายเสียหายและก็กำจัดแก้ไข จนกระทั่งในทางสร้างสรรค์ ความดีงาม รักษาความดีงามให้เจริญจนไพบูลย์เรียกว่า สัมมาปฎิปทา มหานาปธาน ภาวนาปธาน อนุรักษคนาปะทา 4 อันนี้เป็นสัมมาวายามะ นอกจาก สัมมาวายามะความผิดถูกต้องให้ใจนี้มีสติคอยกำกับ คอยตื่นตัว ทันต่อสถานการณ์ จับเอาทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาที่จะส่งผลกระทบในทางดีทางร้ายต่อชีวิตสังคมนี้มาพิจารณาตรวจสอบและแก้ไขป้องกันส่งเสริม ไปตามเหตุตามผลด้วยปัญญา อันนี้ก็เป็นสัมมาสติ และก็อีกอันหนึ่งก็เป็นแกนเป็นประธานอยู่ก็คือมีสมาธิ มีจิตใจที่สงบมั่นคงแน่วแน่ต่อสิ่งที่กระทำ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่พล่า ไม่ส่ายไป ก็ทำให้มีความสม่ำเสมอและเดินหน้าไปด้วยดีในทิศทางที่ประสงค์ไปสู่จุดหมาย ก็เป็นสัมมาสมาธิ ก็จบด้านจิต 3 ประการ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ก็ครบองค์ 8 ประการ ก็เป็นมรรคคือ การดำเนินชีวิตที่ดีงามถูกต้อง ก็ถือว่าวันนี้จบเรื่องมรรคมีองค์ 8