แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เรื่องขันธ์ 5 พูดไปแล้วได้ใน 2 ข้อแรก: รูปกับเวทนา เวทนาก็ยังไม่ได้บอกว่ามีอะไรบ้าง ก็พูดเป็นภาษาไทยไว้ ยังไม่ได้ตั้งเป็นข้อให้ชัดเจน
เวทนาความรู้สึกก็มี 3 อย่างคือ สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์หรือเรียกเป็นภาษาบาลี ไม่สุขไม่ทุกข์เรียกว่า อทุกขมสุขะ หรืออทุกขมสุข ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า อุเบกขา ก็คือเฉยๆ ความรู้สึกเฉยๆเป็นอทุกขมสุขหรืออุเบกขา บางครั้งก็แยกเป็น 5 อันนี้เรียกว่าแยกเป็น 3-สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์หรือเฉยๆ นี่แยกเป็น 5-ก็คือว่า แยกเป็นสุขทางกายกับทางใจ แล้วก็ทุกข์ทางกายกับทางใจ ถ้าอย่างนี้ก็เป็นสุขหมายถึงสุขกายและทุกข์ก็หมายถึงทุกข์กาย โสมนัสหมายถึงสุขใจ โทมนัส-เสียใจก็คือทุกข์ทางใจ อุเบกขาก็เฉยๆ อันนี้แบ่งเป็น 5 แบ่งเป็น 3 ก็ได้ แบ่งเป็น 5 ก็ได้ แต่ทั่วไปจะพูด 3 เพราะมันครอบคลุมดีและก็พูดง่าย ไม่ต้องเสียเวลาสุขกายสุขใจก็เป็นสุข ทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นทุกข์ คำว่า อุเบกขาที่แปลว่าเฉยๆ เป็นคำที่ต้องระวังนิดหน่อย อุเบกขาในหมวดนี้มันเป็นเวทนา ก็คือ เป็นเพียงความรู้สึก ความรู้สึกที่เฉยๆ เป็นของกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ความรู้สึกไม่ดีไม่ชั่ว แต่ว่าความรู้สึกเฉยๆนี้สำหรับคนทั่วไปมักจะมากับโมหะ ที่เฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์นี้มันจะคล้ายเป็นคนซึมๆ เรื่อยๆ เฉื่อยๆ มันไปกันได้ดีกับความมีโมหะ แต่ว่าอุเบกขาอีกอย่างหนึ่งที่เป็นสังขารอยู่คนละหมวด อยู่ในหมวดที่จะพูดต่อไปข้างหน้า อุเบกขานั้นเป็นกุศลธรรมเป็นฝ่ายดี เป็นอาการของจิตที่เป็นกลางๆ เรียบ ไม่ว่าทุกอย่างลงตัว เข้าที่พอดีหมด เช่น อุเบกขาในโพชฌงค์เป็นต้น อุเบกขาอย่างนั้นมีศัพท์เรียกในอภิธรรมว่า ตัตรมัชฌัตตตา แปลว่าความเป็นกลางในธรรมนั้นๆ เป็นภาวะจิตที่เป็นกลาง อย่างที่ว่าคนที่มีปัญญาเมื่อพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆจะต้องจัดการให้มันเรียบร้อยเป็นไปด้วยดี แต่ในที่นี้ในเมื่อเขาจัดการทำอะไรทุกอย่างมันลงตัวดีแล้ว เขาก็มองเห็นการที่สิ่งทั้งหลายมันเข้าที่ มันลงตัวอะไรต่ออะไรเรียบร้อย มันก็ไม่ต้องทำอะไรมัน เขาเรียกว่าไม่ต้องขนขวาย อาการที่จิตได้ความรู้ว่าอะไรทุกอย่างมันลงตัวเข้าที่ดีแล้ว ก็เรียกมีดุลยภาพลงตัวหมด สภาพจิตอย่างนี้เรียก อุเบกขา ก็เป็นภาวะที่คล้ายๆว่าเฉยๆนั่นแหละ แต่เฉยแบบรู้เพราะทุกอย่างมันเรียบร้อยแล้ว สำหรับอุเบกขาเวทนาเป็นสักแต่ว่ารู้สึก แต่ว่าไม่สุขไม่ทุกข์ก็เฉยๆ ดังนั้นต้องแยกกันให้ได้ อย่างที่ว่าสำหรับปุถุชนนี้อุเบกขาตามปกติก็จะมาด้วยกันไปด้วยกันด้วยดีกับโมหะ ส่วนพระอริยบุคคลอย่างพระอรหันต์ก็จะมีอุเบกขาที่เป็นภาวะจิต ที่ว่าด้วยปัญญาที่รู้และเข้าใจ ตรงข้ามเลย ที่นี่อุเบกขาที่เป็นเวทนาเป็นความรู้สึกเฉยๆนี้ ท่านบอกว่าถ้าจะจัดเข้า มันจะเข้าฝ่ายสุข คือมันมีสุข ทุกข์ เฉยๆหรือไม่สุขไม่ทุกข์เป็นอุเบกขา แต่ว่าความจริงเฉยๆอยู่ข้างสุข สุขอ่อนๆ มันเพลินๆ คนที่มีอุเบกขาแบบเวทนาก็เพลินๆ อาการเพลินๆก็เป็นลักษณะของจิตที่มีสุขเหมือนกัน แต่เป็นสุขอ่อนๆ เรื่อยๆ เพลินๆไป ก็เลยไม่ต้องดิ้นรน เพราะถ้าทุกข์มันต้องดิ้นรนใช่ไหม ทุกข์มันถูกบีบคั้น อุเบกขาก็ไม่ถูกบีบคั้นอะไร มันก็สบายๆ เพราะฉะนั้นมันอยู่ข้างสุข แต่เป็นสุขแบบเพลินๆ เฉื่อยๆ เฉยๆกับเฉื่อยๆไปด้วยกันได้ดีก็เลยเป็นพวกโมหะ ก็เป็นอันว่าข้อสำคัญระหว่างอุเบกขาเวทนาซึ่งอยู่ในหมวดเวทนาขันธ์ซึ่งเป็นหมวดที่ 2 กับอุเบกขาอีกตัวหนึ่งซึ่งเป็นกุศลธรรม ภาวะจิตที่เป็นกลางๆลงตัวที่อยู่ในสังขารขันธ์ สังขารขันธ์ในสภาวะจิตอันนั้นก็จะมี เช่นอุเบกขาต่อคน ต่อสัตว์ อุเบกขาต่อธรรม อุเบกขาก็แยกไปได้อีกเยอะเลย อุเบกขาต่อคนก็หมายความว่า รู้เข้าใจว่าควรปฏิบัติต่อเขาอย่างไรให้เป็นไปโดยธรรมและวางใจเป็นกลาง จิตเรียบดิ่งสงบ อุเบกขาต่อเหตุการณ์เช่นว่ามีเรื่องตื่นเต้น โวยวาย แต่ว่าด้วยปัญญารู้เข้าใจ คนที่มีปัญญารู้เข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้ยังไง มันจะเป็นไปยังไง จะจัดการยังไงด้วยความรู้ความเข้าใจแล้วนี่ก็เฉย จิตใจเรียบสงบด้วยปัญญาที่รู้ อย่างนี้ก็เป็นอุเบกขา ในที่นี้เราก็พูดถึงอุเบกขาเวทนา เพราะฉะนั้นเราเพียงแต่แยกให้ออกว่าเป็นคนละอย่าง ก็ขอผ่านไป เป็นอันว่าเวทนานี้จัดเป็น 3 ก็ได้ เป็น 5 ก็ได้ แล้วยังแถมจัดเป็น 6 ก็ได้อีก จัดเป็น 6 ยังไง จัดเป็น 6 ก็จัดตามทางที่เกิด ก็เป็นเวทนาที่เกิดจากผัสสะทางตา ท่านเรียกว่า จักขุสัมผัสชา เวทนา เป็นเวทนาที่เกิดจากผัสสะทางตา และเวทนาที่เกิดจากผัสสะทางหู ผัสสะทางจมูก ผัสสะทางลิ้น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ เพราะฉะนั้นก็เลยมีเวทนา 6 ขึ้นมาตามทางที่เกิด อันนี้ก็ไม่ยากอะไร เป็นเพียงว่าให้เป็นความรู้ประกอบแล้วก็ผ่านไป
ขอผ่านหมวดเวทนาไปสู่หมวดที่ 3 สัญญา สัญญาขันธ์ สัญญาก็แปลว่าจำได้หมายรู้ จำนี้มีปัญหานิดหน่อย เพราะว่าความจําเป็นคำกว้างๆ ในที่นี้กำลังพูดถึงองค์ธรรมที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง สัญญานี้เอาง่ายๆ หมายรู้ จำได้หมายรู้ ก็พูดแบบว่าคล่องปาก เอาแค่หมายรู้ก็ได้ หมายรู้อาจจะทำให้สับสนน้อยกว่า หมายรู้ว่าอะไรเป็นอะไร การที่จะหมายรู้ก็คือว่ามันมีเครื่องหมาย รู้อาการลักษณะของสิ่งนั้นๆ ตลอดจนสิ่งที่เรียกว่าเครื่องหมาย แม้แต่ชื่อเรียกอะไรต่างๆที่ทำให้เราจำสิ่งนั้นๅได้ หรือรู้จักว่ามันเป็นอะไร อย่างว่าหมายรู้ว่าเขียว ว่าแดง ว่าเหลือง จากที่ตาที่เห็น ว่ารูปร่างกลม แบน ยาว สั้น รี แล้วก็เรียกชื่อว่าอะไรก็แล้วแต่ว่าจะมีเครื่องกำหนดหมายขึ้นมา อันนี้สัญญาจะใกล้ๆกับคำว่าสัญญาณ สัญญาณก็เป็นเครื่องหมาย เครื่องกำหนดหมายให้รู้ว่าอันนั้นๆ เพราะฉะนั้นเวลาพูดว่าต้นไม้ปั๊บ นี่ที่เป็นคำเครื่องหมายบอกให้รู้ มันก็ทำให้เราหมายรู้ว่าอันนี้นะ พอเจออันนี้อีกก็ต้นไม้ ตอนแรกต้องหมายรู้ไว้ว่าอะไร อันนี้เรียกอะแดปเตอร์ อันนี้เรียกว่าเครื่องบันทึกเสียง อันนี้เรียกว่าไมโครโฟน อันนี้ก็เป็นการหมายรู้ชนิดที่เรียกว่าจากบัญญัติของมนุษย์ขึ้นไปซ้อน แต่หมายรู้ขั้นๆแรกก็เป็นรายละเอียดไม่ว่า เขียว แดง เหลือง สั้น ยาว กลม แบน เป็นต้น แล้วยังแถมสำทับเข้าไปเป้นเครื่องหมายรู้ว่า รวมนี้เรียกว่าอะไรใช่ไหม เวลานี้รวมเรียกว่าอะไร เราก็ต้องรู้รายละเอียด ต้องหมายรู้ว่ารูปร่างเป็นยังไง การทำหน้าที่และสิ่งที่เป็นเครื่องหมายที่บอกอาการลักษณะแต่ละอย่างๆเหล่านี้ ที่หมายรู้ไว้ เก็บไว้ เก็บไว้ที่ไหน ก็เก็บเป็นความทรงจำ ทั้งหมดเป็นเรื่องของสัญญา ก็เลยแปลกันง่ายๆว่า หมายรู้ ก็ได้แก่ หมายรู้อาการ ลักษณะ เครื่องหมาย เครื่องกำหนด ชื่อเรียกอะไรเป็นต้น ที่จะให้รู้ว่าอันนั้นคืออะไร อะไรเป็นอะไรและมันก็จะได้เป็นข้อมูลไว้ ทั้งหมดนั้นเป็นข้อมูล สัญญามันก็จะเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ เวลาเก็บข้อมูลนี้มนุษย์มีความฉลาดก็อย่างที่ว่าก็มีคำบัญญัติเรียก คำบัญญัติเรียกนี้จะสื่อทำให้เราพูดถึงคำนี้ปั๊บ อาการลักษณะของสิ่งนั้นๆก็ปรากฏแก่เรา เพราะว่าบัญญัติเป็นตัวแทน พอพูดถึงคำนี้เรานึกถึงลักษณะอาการนั้นหมดเลย แล้วก็ด้วยลักษณะอาการเหล่านั้นทำให้เราจำสิ่งนั้นได้ ตอนแรกสัญญาก็กำหนดหมาย หมายรู้อันนี้ๆว่า อันนี้สีเขียว สีแดง ยาว สั้น กลม แบน ภาพเป็นเสียงก็ เสียงดัง เสียงเบา เสียงแหลม เสียงทุ้ม เสียงอย่างนี้เรียกว่า เสียงระฆังนะ เสียงอย่างนี้เรียกว่า เสียงคลื่นซัดฝั่ง เสียงอย่างนี้เรียกว่า เสียงนก เครื่องหมายลักษณะอาการ รายละเอียดของข้อมูลนั้นๆจะปรากฏอยู่ที่มาบัญญัติเรียกอย่างนั้นมันมีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราก็เรียกเก็บข้อมูลนั้นไว้ สัญญาหมายรู้ก็เก็บข้อมูล เก็บข้อมูลก็เป็นความทรงจำ ที่นี้ต่อไปจะเรียกใช้ ก็ใช้สติมาดึงออกมา สติก็ดึงออกมา ดึงอะไร ก็ดึงข้อมูลที่สัญญาเก็บไว้ เพราะสัญญาเป็นฝ่ายเรียกเก็บ สติเป็นฝ่ายเรียกใช้ ใช้ศัพท์คอมพิวเตอร์ปัจจุบันก็ได้ ก็อย่างที่ว่าเรียกเก็บข้อมูลกับเรียกใช้ข้อมูล เรียกเก็บข้อมูลเรียกว่าอะไรนะ ลืมไปละ เรียกอะไรนะ เรียกเก็บข้อมูล
ลูกศิษย์ตอบ: Store
พระอาจารย์บรรยาย: Store กลายเป็นที่เก็บไปแล้ว ตอนเรียกเก็บผมนึกชื่อไม่ออก ศัพท์คอมพิวเตอร์ เรียกใช้ก็ retreive
ลูกศิษย์ตอบ: save ครับ
พระอาจารย์บรรยาย: ไม่ใช่ save นั่นเก็บเลย นี่เรียกเก็บไม่ใช่เก็บ ใช้ศัพท์อะไรนะ และเวลาเรียกใช้ก็ retreive ขึ้นมา
ลูกศิษย์ตอบ: save file ใช่ไหมครับ
พระอาจารย์บรรยาย: save มันก็เก็บเลย เรียกเก็บข้อมูล เรียกใช้ก็ retreive ก็เอาละ เอาภาษาไทยก็พอละ เรียกเก็บข้อมูลก็เป็นสัญญา เรียกใช้ก็เป็นสติ สติจะมีอะไรมาเรียกใช้ได้ ระลึกได้ก็ต้องมีสัญญาหมายรู้เก็บ เรียกเก็บเอาไว้ ดังนั้นคำว่า ความจำในภาษาไทยยังเป็นคำที่ยังคลุมเครือในภาษาบาลี เพราะมันยังไม่ได้เป็นองค์ธรรมอันใดอันหนึ่ง มันเป็นขบวนการ เพราะฉะนั้นเราต้องแยกได้ กระบวนการของความจำนี้ตอนเรียกเก็บนี้เป็นสัญญา เรียกใช้ก็เป็นสติ ในกรณีที่ไม่ต้องเรียกใช้ เช่นอย่างว่า เราไม่ต้องระลึก แต่ว่าเราไปเจอสิ่งนั้นเข้าเลย เราเจอสิ่งนั้นหรือไปเจอคนนั้น อย่างที่คนเราเคยเห็น เราไม่พบมานาน พอเจอปั๊บเราจำได้ การจำได้กรณีใช้สัญญา แต่ถ้าต้องระลึก เช่นว่าสิ่งนั้นไม่ได้ปรากฏอยู่ ระลึกถึงคนนั้นขึ้นมา อันนี้เป็นสติ-ระลึกขึ้นมาได้ เอาละเป็นสัญญาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นข้อมูล ถ้าเราไม่มีข้อมูล เราเอาทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นสัญญาจึงเป็นเรื่องใหญ่เป็นภาพที่ทำให้เรามีข้อมูลที่จะไปใช้ประโยชน์ต่อไป ก็ตอนที่เรียกเก็บข้อมูลมาแล้วก็เป็น store เป็นคลังข้อมูลอยู่เอาไว้ คราวนี้มีคลังข้อมูลแล้ว สติก็จะเรียกมาใช้ ถ้าหากสัญญาตอนที่กำหนดหมายของเราชัดเจนก็จะทำให้จำได้ดีด้วย ดังนั้นสัญญาที่ชัดจะช่วยให้ความจำดี ก็เราคือหมายรู้ทำเครื่องหมายมันอย่างชัดเจน เช่นว่า เราจะเรียกเก็บข้อมูลอะไรก็กำหนดหมายรายละเอียดให้มาก อันนี้ข้อมูลนี้มีรายละเอียดอย่างไร มีลักษณะอย่างไร สีเขียว สีแดง สีเหลือง มีลวดลายยังไงๆ ยิ่งกำหนดหมายชัดได้รายละเอียดเหมือนกับกำหนดไว้ด้วยความที่เอาจริงเอาจังเหมือนขีดลงไปอย่างลึกเลย เวลาจะเรียกใช้จะได้ผลดี ถ้าหากว่าสัญญาไม่ดี กำหนดหมายอ่อน สักแต่ว่าเห็น กำหนดหมายนิดเดียว เขียว แดง แล้วก็ผ่าน มันก็จะเบาหมด พอเบาพอระลึกขึ้นมาก็ระลึกไม่ค่อยได้ ดังนั้นสัญญาชัดจะทำให้การระลึกคือสติทำงานได้ผลดียิ่งขึ้น ทีนี้ถ้าหากสัญญากำหนดหมายไว้ไม่ให้ดี เวลาสติระลึกก็ระลึกได้เท่าที่สัญญาเรียกเก็บข้อมูลไว้ มันก็ไม่สามารถระลึกเกินนั้น เหมือนกับเราเห็นอะไรสักอย่าง เห็นใบอะไรอย่างเดินผ่านมาก่อนมาศาลานี้ เห็นใบอะไรตก เรากำหนดหมายไว้ เราแค่ว่าเจอใบไม้ใบหนึ่ง เวลาสติระลึก ก็ระลึกได้เท่าที่สัญญาเรียกเก็บตอนนั้น ไม่ได้รายละเอียดเพราะสติไม่มีข้อมูลจะระลึก ถึงมันจะระลึกเก่งแต่มันไม่มีข้อมูลจะให้ระลึก นี่ถ้าเราระลึกไว้เช่น ใบนี้มีรูปร่างมันอย่างนั้น สีมันอ่อน มันแก่ เป็นใบอ่อน ใบแก่ ใบใหญ่ ใบเล็กขนาดไหน ลวดลายยังไง กำหนดหมายไว้ชัดเจนข้อมูลอยางงี้ มันก็จะละเอียดมาก เวลาสติระลึกก็พลั่งออกมาเยอะแยะ แต่ว่าบางทีสัญญาดี สติไม่ดีเสียอีก หมายความว่าสัญญายิ่งชัดเท่าไหร่ก็มีโอกาสให้สติทำงานได้ดี หมายความว่าสติต้องดีด้วยนะ แต่ถ้าเกิดสัญญาดีแต่สติไม่ดี มีข้อมูลให้แต่แกนึกไม่ออก หรือสติดีแต่สัญญาณไม่ดี เรียกเก็บไม่ดี สติเก่งจะระลึกก็ไม่มีอะไรให้ระลึก ก็ต้องประสานกัน สัญญาดีด้วย สติดีด้วย อย่างนี้ละได้ความเลย สติไปอยู่ในหมวดสังขาร คนละหมวดกันนะ เป็นอันว่าสัญญาเรียก ภาพข้อมูล เรียกเก็บข้อมูล เป็นการกําหนดหมาย หมายรู้ ทำให้เกิดเป็นความจำ ทำให้มีข้อมูลแห่งความจำ ก็ขอผ่านไป สัญญานี้ก็สามารถแบ่งได้ตามทางที่เกิด ก็เป็นสัญญาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
ขอผ่านไป ต่อไปอีกหมวดหนึ่งก็หมวดสังขาร สังขารนี้แปลว่าการปรุงแต่ง เป็นการปรุงแต่งในใจ การปรุงแต่งก็คือว่า เอาละตอนนี้ 2อันแรกที่ผ่านมาจะมีอิทธิพล เวทนา-ความรู้สึกสุขทุกข์ มันก็จะมีอิทธิพลว่า ถ้ามันสุข มันก็ชอบ พอชอบใจ มีปฏิกิริยาสังขารเกิดแล้ว ทุกข์ไม่สบายเป็นเวทนาที่เป็นทุกข์ เราก็เกิดปฏิกิริยาจิตไม่ชอบใจ ชัง เกลียด นี่แหละความรู้สึกชอบ ชัง พอใจ ไม่พอใจ เป็นหมวดที่ 3 เป็นสังขาร จิตเกิดการปรุงแต่ง เกิดมีคุณสมบัติมีสภาพซึ่งเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา เป็นดีเป็นร้ายเป็นต้น ตัวที่ปรุงแต่งจิตใจทำให้ดีให้ร้ายเป็นต้นนี้เรียกว่า สังขาร เริ่มตั้งแต่ชอบ ไม่ชอบใจเป็นต้น และคุณสมบัติอื่นอีกเยอะแยะโดยเฉพาะที่สำคัญก็คือ เจตจำนง เจตนา ความตั้งใจ ความตั้งใจเป็นตัวนำในการปรุงแต่ง พอเจออันนี้เข้าได้ข้อมูลนี้หรือระลึกถึงข้อมูลนี้ มีเจตนาตั้งใจต่อเจ้าข้อมูลนี้หรือประสบการณ์นั้นอย่างไร ตัวคุณสมบัติอื่นๆจะมาช่วยกันมาปรุงแต่งตามเจตนานี้ เจตนาก็เป็นตัวนำ เพราะฉะนั้นในหมวดนี้บางทีท่านเรียก เจตนาเป็นตัวแทนทั้งหมด เจตนานี้แหละเป็นตัวกรรมเพราะว่าที่เราจะคิดอย่างไร จะพูดอย่างไร จะทำยังไงเป็นไปตามเจตนา เจตจำนง เจตนาเป็นตัวแทนของหมวดสังขารและเป็นชื่อเรียกแทนกรรมได้เลย เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่า
เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ
เราเรียกเจตนาว่าเป็นกรรม
ก็หมายความว่าตัวกรรมก็อยู่ที่เจตนานี้แหละตัวแท้ๆของมัน แต่เวลาพูดว่ากรรมเราจะรวมทั้งเจตนาพร้อมทั้งตัวอื่นที่มาร่วมกับเจตนาในการปรุงแต่งสภาพจิตในเวลานั้นๆที่ทำให้ออกมาเป็นการคิด การพูด การทำ คิดพูดทำยังไงก็แล้วแต่เจตนานั้นพร้อมทั้งคุณสมบัติมาช่วยปรุงแต่ง ในกระบวนการปรุงแต่งคุณสมบัติจะมีเยอะซึ่งเราเรียกว่าเป็นฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว หรือเป็นฝ่ายกลางๆก็ได้ เราก็พูดได้อีกอย่างคุณสมบัติที่ปรุงแต่งจิตให้ดีให้ชั่วเรียกว่า สังขาร ก็รวมแล้วก็คือ เครื่องปรุงของจิตนั่นเอง แล้วเอาอะไรมาปรุงล่ะ นี่แหละตอนที่จะปรุงก็ต้องมีข้อมูล ข้อมูลตัวนี้เช่นว่า นึกถึงข้อมูลเป็นคนก็ได้ เป็นต้นไม้ก็ได้ เป็นอะไรก็ได้ เป็นต้นไม้ต้นนี้เราก็จำมันไว้ สัญญา-กำหนดหมายมีข้อมูลมาให้เรา เราก็มีความรู้สึกนึกคิดต่อมัน ตอนนี้แหละก็คือการปรุงแต่ง ปรุงแต่งว่าเราชอบมัน ไม่ชอบมัน จะคิดกันยังไง จะเอายังไงกับมัน ซึ่งการที่คิดว่าจะชอบไม่ชอบนี้ เวทนาความรู้สึกสุขทุกข์จะเป็นตัวอิทธิพลสำคัญ ถ้าสิ่งนี้เราระลึกขึ้นมา ข้อมูลนี้ถ้าเราเจอเราพบ เราระลึกถึงปั๊บ มันเกิดจากความรู้สึกสบายก็จะปรุงแต่งในทางชอบใจ ถ้าเกิดว่ามันรู้สึกไม่สบายใจ มันทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ปั๊บ เราก็จะปรุงแต่งในทางใจไม่ชอบ ไม่เอา คิดทำลายใช่ไหม เพราะฉะนั้นก่อนที่จะปรุงแต่งอิทธิพลจึงมาจากเวทนานี้มาก แล้วก็ปรุงแต่งเพื่อเวทนาอีก เพื่อจะหาทางให้ได้เวทนาที่เป็นสุข ก็เอาข้อมูลต่างๆมาใช้ประโยชน์ ตอนนี้จะเรื่องใหญ่ใช่ไหม นี่เราต้องการจะได้ความสุขซะอย่าง ก็ทำยังไงจะได้ความสุขนั้นละ เราก็ต้องมีคิด มีพูด มีทำ มีการแสวงหา การที่จะอย่างนั้นได้เราก็ต้องเอาข้อมูลต่างๆเท่าที่เราเรียกเก็บไว้ได้ ใครมีข้อมูลก็ได้เปรียบใช่ไหม นี่ก็เอาข้อมูลเหล่านี้มาปรุงแต่ง จนกระทั่งวางออกมาเป็นกระบวนการหรือแผนการในการกระทำนั้น ว่าจะพูดยังไง จะทำยังไง จะเคลื่อนไหวยังไง ใช้อะไร นึกถึงมีด นึกถึงขวาน ถึงปืนเลย นี่คือข้อมูลทั้งนั้นเอามาใช้ เจ้าสังขารปรุงแต่งเพื่อจะให้แผนการที่จะบรรลุเวทนาเป็นสุขสำเร็จ แกคิดมากมายเรื่องใหญ่เลยเป็นแผนการ เพื่อจะหลีกเลี่ยงกำจัดไม่ให้มีเวทนาที่เป็นทุกข์ก็เช่นเดียวกัน ก็คิดไปจำกัด ไปปกป้อง ก็จะเกิดการใช้ข้อมูลต่างๆเพื่อสนองความต้องการออกเป็นสังขาร ความคิดปรุงแต่งต่างๆ คุณสมบัติที่ปรุงแต่งนี้เยอะแยะหมด เป็นอันว่าใช้ข้อมูลในสัญญาที่เก็บไว้และอาศัยอิทธิพลจากเวทนาเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะได้เวทนาที่ดีและหลีกเลี่ยงเวทนาที่ไม่ดี สังขารก็คิดปรุงแต่งโดยมีเจตนาเป็นตัวนำ ก็ปรุงแต่งกันไปต่างๆ ที่นี้หากสังขารนี้ปรุงแต่งฝ่ายดี มันก็จะออกเป็นการกระทำที่ดีที่เกื้อกูลเกื้อหนุนกัน ถ้าหากว่าเป็นสังขารฝ่ายไม่ดี ฝ่ายชั่ว ฝ่ายร้าย เป็นอกุศล มันก็จะเป็นไปในทางที่จะทำลาย กำจัด เบียดเบียนเป็นต้น ตอนนี้ก็เป็นอันว่าสังขารก็คือเครื่องปรุงแต่งจิตทำให้ดีให้ชั่วซึ่งมีมากมาย เอาฝ่ายร้ายก่อนเช่น โลภะคือความโลภ โทสะ-ความโกรธ ความขัดเคือง โมหะ-ความหลงหรือว่าอิจฉา-ความริษยา อหิริกะ-ความไม่ละอายต่อบาป อโนตัตปปะ-ความไม่เกรงกลัวบาป เรื่องไม่ดืๆฝ่ายอกุศลก็เยอะแยะไป นี่เรียกว่าเป็นสังขารฝ่ายร้าย สังขารฝ่ายดีก็เยอะเช่นเดี่ยวกัน ศรัทธา-ภาวะที่จิตมีความผ่องใสต่อสิ่งนั้นๆ พอนึกถึงสิ่งนั้นแล้วมีความชื่นชม มีความที่ว่าผ่องใสของจิตใจ มีความเลื่อมใส หรือสติ-ความระลึกได้ สมาธิ-การที่จิตตั้งมั่น สงบไม่ถูกกวน ปัญญา-ความรู้ ความเข้าใจ ปัญญาก็เป็นสังขาร อย่างปัญญาเป็นตัวปรุงสังขารที่สำคัญทีเดียว เพราะว่ายิ่งรู้เท่าไรก็ยิ่งปรุงได้มากเท่านั้น ยิ่งใช้ข้อมูลได้ดี แต่ปัญญาก็ต้องอาศัยข้อมูลจากสัญญานี้แหละ เรื่องของสังขารเป็นเรื่องใหญ่มาก ตกลงว่ามาถึงสังขารก็เรียกว่าคนเรานี่ออกมีบทบาทดำเนินการต่างๆ มีบทบาทในการทำกรรม หรือดำเนินชีวิตทำให้การต่างๆเป็นไปได้ มีแต่ข้อมูลมีแต่เวทนามันก็ยังตันอยู่ มันจะต้องมาถึงตัวนี้ ถึงสังขารก็การปรุงแต่งและใช้ประโยชน์จากขันธ์อื่นๆที่ผ่านมาหมด
แต่ที่ทั้งหมดทำงานได้ที่เป็นสังขาร รวมมาตั้งแต่รูป เวทนา สัญญา แล้วก็มาสังขาร ที่มาออกโรงดำเนินกิจกรรมทำงาน ดำเนินชีวิต มีความเป็นไปต่างๆทั้งหมด มันมีแกนอยู่คือ ตัววิญญาณ เป็นขันธ์ตัวสุดท้ายคือ ตัวรู้นั่นเอง ธาตุรู้ ตัวรู้ซึ่งก็เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ตัวรู้อันนี้-ภาวะที่รู้ อย่าเรียกว่าตัวเลย เดี๋ยวมันยุ่ง เดี๋ยวมันจะเป็นอัตตา ภาวะที่รู้มันไม่เป็นตัวยืนอยู่หรอก เป็นสภาวะที่เกิด-ดับ ถ้าจะพูดให้เป็นสภาวะ ก็ให้พูดว่าการรู้ สภาวะที่รู้ อาการรู้ การรู้นั่นเอง การรู้นี้ก็ออกมารู้ทางตา รู้ทางหู รู้ทางจมูก รู้ทางลิ้น รู้ทางกาย รู้ทางใจ ก็รู้ทางตาเรียกว่า วิญญาณทางตา ก็เรียกว่า จักขุวิญญาณ ก็คือการเห็น รู้ทางหูก็เรียกว่า โสตะวิญญาณ ก็คือได้ยิน รู้ทางจมูกก็เรียกว่า ฆานวิญญาณ คือได้กลิ่น รู้ทางลิ้นเรียกว่า ชิวหาวิญญาณ ก็คือรู้รส รู้ทางกายที่สัมผัสก็เรียกว่า กายวิญญาณ ก็คือรู้สัมผัสผัสสะทางกายต่างๆ รู้กระทบกระทั่งทางกาย แล้วก็มโนวิญญาณ-รู้ทางใจ รู้สิ่งที่ปรากฏในจิตใจที่สติระลึกมา หรือที่กำลังคิดพิจารณาอะไรต่างๆเหล่านี้ ความรู้สึกแม้แต่ความรู้สึกโกรธ ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ ตัววิญญาณก็รู้เข้าไปอีกทีหนึ่ง มันจะเป็นแกนของการรู้ทั้งหมดเหมือนกับว่ามันเป็นตัวยืน เป็นตัวยืนในการที่ชีวิตจิตใจของเราจะทำงานได้ ถ้าไม่มีตัวรู้ ไม่มีภาวะที่รู้หรือการรู้อันนี้ อันอื่นๆทำงานไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นในทุกขณะที่เป็นไปมีตัวรู้ มีที่ภาวะรู้อันนี้อยู่ สุขก็มีรู้ด้วย มีการรู้ความสุขนั้น ทุกข์ -ความรู้สึกทุกข์ก็มีรู้ในความรู้สึกทุกข์นั้น เวลาหมายรู้-ก็มีความรู้นั้นด้วย คือมีตัวความรู้นี้เป็นตัวยืนทำให้เวทนา สัญญา สังขารนี้มีบทบาททำงานได้ ส่วนรูปธรรมก็ต้องอาศัย ถ้าหากไม่มีรูปธรรม ตัวการรับรู้ต่างๆก็เป็นไปไม่ได้ รูปธรรมเช่น ตา ถ้าไม่มีตาก็จะไม่เกิดเวทนา เวทนาทางตาก็หายไปทั้งชุด ขาดหูซึ่งเป็นรูปธรรม เวทนาทางหู สัญญาทางหูหมดเลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นต้องอาศัยรูปธรรม แต่ว่าตัวทางด้านจิต ฝ่ายนามธรรมก็มีวิญญาณนี้เป็นตัวยืนให้ ก็จากวิญญาณหรือความรู้การรู้เป็นขันธ์หนึ่งซึ่งเป็นขันธ์ที่สำคัญ ทั้งหมดนี้ก็มีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
ขันธ์ 5 ก็ตกอยู่ในสภาวะที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติ ก็คือเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นการเกิดดับตลอดเวลา ไม่คงอยู่ในภาวะเดิม และไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครอง เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน อันนี้มนุษย์ก็มายึดถือเป็นตัวเป็นตน ความจริงเป็นภาวะตามกฎธรรมชาติทั้งนั้นเลย เช่น อย่างรูปธรรม ร่างกายของเรา เราก็มีการยึดถือว่านี่ตัวฉัน นี่มือของฉัน นี่นิ้วของฉัน การที่เป็นของฉันนี่จะไปโยงกับความเข้าใจว่า อ๋อ! มันของฉัน ฉันก็บังคับบัญชาได้ สั่งมันได้ นิ้วนี่ของฉัน ฉันสั่งให้กระดิกก็ได้ มื้อนี่ของฉัน ฉันจะหยิบยังไงก็ได้ อันนี้เป็นธาตุที่เกิดขึ้นจากความเป็นไปตามเหตุปัจจัยขององค์ธรรมเหล่านั้น ของสิ่งเหล่านั้นหรือภาวะเหล่านั้น แล้วเรามายึดซ้อนเข้าไป ความจริงนั้นมันทำงานนั้นไปตามเหตุปัจจัยของมัน มือที่เราบอกฉันเป็นผู้สั่ง มือของฉัน ฉันจะหยิบฉันก็หยิบได้ ที่จริงมันก็เป็นกระบวนการทำงานซึ่งซับซ้อนมาก เป็นการทำงานของสังขารที่ปรุงแต่ง มีตัววิญญาณความรู้ มีสังขารการปรุงแต่ง การปรุงแต่งนี้ชอบใจสิ่งนี้จะเอานะ แล้วก็สั่งระบบประสาทในร่างกายทำงาน ร่างกายจะทำงานให้เกิดผลนั้นได้ มีประสาท มีเลือด มีกล้ามเนื้อเป็นต้น ก็ทำให้มือนี้ทำงาน แต่ถ้าเหตุปัจจัยในกระบวนการนี้ขาดไปเช่น เส้นประสาทเสีย หรือว่าศูนย์กลางบัญชาการในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องการใช้มือหยิบเสียไป ก็เป็นอันว่าบอกมือของฉัน ฉันสั่งให้มันหยิบ ทำไมมันไม่หยิบ มันไม่มีเหตุปัจจัย มันเสียไปในกระบวนการระบบของมัน เส้นประสาทเสีย ก็เป็นอันว่าจะบอกว่ามือของฉันยังไงๆมันก็ไม่หยิบ มันทำงานไม่ได้เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย มันไม่ใช่ของเราจริงๆ ถ้าเป็นของเราจริงก็บังคับได้ตามชอบใจ ในภาวะที่เรียกว่าอนัตตา คือต้องมองว่าเหตุปัจจัยเป็นไปยังไง แล้วแก้ไขไปตามเหตุปัจจัย อย่ามัวมาบอกมือของฉันๆ แล้วเอาแต่ปรารถนาคือ ตัณหา ต้องร้องไห้เปล่าๆไม่ได้ผล ถ้ามือไม่ทำงานก็ต้องสืบสาวเหตุปัจจัยของมันสิ เป็นเพราะกล้ามเนื้อหรือเป็นเพราะเส้นประสาทยังไง แล้วแก้ได้ไหม แก้ไขตามเหตุปัจจัยนั้น เรียกว่าทำด้วยปัญญา ถ้าเอาแต่ตัณหา ก็บอกว่าของฉันๆ ก็ไม่ได้ทำอะไร ก็ได้แต่ทุกข์ไป
ตกลงว่าขันธ์ 5 พูดไปแล้ว ทวนอีกครั้งหนื่งว่า มีสิ่งทั้งหลายโดยเฉพาะที่ตัวมนุษย์ ชีวิตของเราเป็นวิวัฒนาการสูงสุดของธรรมชาติและมีเหมือนกับครบทุกอย่าง เราก็มาดูที่ตัวคนมันมีอะไรบ้าง แยกสิ่งเหล่านี้ให้ง่ายๆเพื่อสะดวกในการศึกษาแล้วมาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ก็แยกเป็น 5 หมวดเรียกว่าขันธ์ 5
1 รูปขันธ์ หมวดรูป ได้แก่รูปธรรมที่มาเป็นร่างกายของเรา ซึ่งจะแยกแบบสมัยใหม่ สมัยเก่าก็ตามเช่น เป็นธาตุ4 เป็นต้น พร้อมทั้งอาการ คุณสมบัติต่างๆของมันที่มาเป็นร่างกาย อวัยวะต่างๆ และโดยเฉพาะตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แค่กาย ใจเป็นฝ่ายนาม
2 เวทนาขันธ์ หมวดเวทนาก็คือความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์หรือเฉยๆ
3 สัญญาขันธ์ หมวดความหมายรู้ ซึ่งเป็นฝ่ายเรียกเก็บข้อมูล ทำให้เรามีข้อมูลที่จะใช้ให้มีความจำ
4 สังขารขันธ์ คือหมวดของการปรุงแต่ง หรือว่าสภาพหรือคุณสมบัติที่ปรุงแต่งจิตให้ดีให้ชั่ว มีความชอบใจไม่ชอบใจเป็นต้น
5 วิญญาณขันธ์ หมวดวิญญาณ คือความรู้ หรือจะเรียกว่าการรับรู้ก็แล้วแต่ การรู้คือการได้แก่ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่นเป็นต้น ซึ่งเป็นความรู้ที่ยืนตัวทำให้องค์ประกอบส่วนอื่นทำงานไปได้
ขันธ์ 5 ก็จบโดยย่อ มายกตัวอย่างเช่น อย่างผมพูดนี่ก็ได้ยิน พอได้ยินกันปั๊บ จะมีขันธ์ 5 ทำงานหมดเลย เอาเสียงผมก็อาจจะพูดลำบาก เอาเสียงอะไรดี เอาเสียงแมวร้องสมมุติว่าอย่างงั้น เสียงก็เป็นรูปธรรม หูที่รับเสียงนี้ที่เสียงมากระทบเป็นโสดประสาท เป็นประสาทหูก็เป็นรูปธรรม ในขันธ์ 5 ก็เป็นรูปธรรม การได้ยินคือการรู้ต่อเสียงนั้นก็เป็นวิญญาณ วิญญาณมาละ รูปกับวิญญาณ พอมีการรู้คือได้ยินเป็นวิญญาณ ที่นี่หมายรู้ว่าเป็นเสียงแมวเป็นสัญญา เป็นสัญญาขันธ์ แล้วเกิดความรู้สึกสบายหู-ไม่สบายหู เสียงแมวนี้สบายหูดี แต่บางท่านกำลังต้องการความสงบ ไม่สบายหูแล้วใช่ไหม นี่ก็คือสุขหรือทุกข์-เวทนาขันธ์ ทีนี้ถ้ารู้สึกสบายหู เราก็ชอบใจ หรือว่าเสียงแมวนี้แม้มันน่ารำคาญจริง รู้สึกไม่สบายเป็นทุกขเวทนา ก็จะเกิดปฏิกิริยาคือไม่ชอบใจ เคือง ขัดใจ ชอบใจ-ไม่ชอบใจนี่ก็เป็นสังขารขันธ์ สังขาร จากชอบใจไม่ชอบใจเป็นปฏิกิริยานี้เป็นจิตปรุงแต่งมีคุณสมบัติเกิดขึ้นดีร้าย และจะคิดยังไงต่อไปก็จะเป็นเรื่องของสังขาร บทบาทของสังขารนี่เยอะ แต่สังขารจะใช้ข้อมูลจากสัญญาและใช้อิทธิพลของเวทนาเพื่อเวทนา โดยมีวิญญาณเป็นตัวยืนตลอดเวลา ในการปรุงแต่งคิดแต่ละขั้นตอนนั้นมีการรู้ตลอดเวลา มีวิญญาณเป็นตัวรู้ เพราะฉะนั้นในการดำเนินชีวิตของเราก็จะมีการทำงานของขันธ์ 5 อยู่ตลอดเวลา ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส มันไม่ใช่อยู่แค่เห็น ได้ยินหรอก มันอะไรต่ออะไรอยู่ในนั้นอีกหมดทั้งกระบวนเลย ก็คิดว่าเรื่องขันธ์ 5 พอสมควรแล้วนะ คิดว่าพอจะเข้าใจ ท่านใดมีข้อสงสัยอะไรไหม
ลูกศิษย์ถาม: ??? สงสัยว่าตัวเวทนา ความรู้สืกร้อนหนาวเป็นเวทนาหรือสัญญา
พระอาจารย์ตอบ: ถ้ากำหนดว่าร้อนว่าหนาวเป็นสัญญา ความรู้-รู้สัมผัสเป็นวิญญาณ คือวิญญาณเป็นฐานเป็นตัวยืนอยู่แล้วล่ะ ก็รู้คือว่า รู้ทางตา ทางหู ทำจมูก ทางลิ้น ทางกายเป็นเวทนา เช่นว่า เราจึงเรียกการรู้ทางตาว่าการเห็น ถึงเห็นไม่ได้พูดถึงความรู้สึกอะไรทั้งสิ้น ไม่ได้หมายรู้อะไรทั้งนั้น พอรู้ว่าหนาว กำหนดละ สัญญาทำงานละ
ลูกศิษย์ถาม: แล้วเวทนา ???
พระอาจารย์ตอบ: เวทนาก็รู้สึกด้วยซิ สบาย-ไม่สบายใช่ไหม สบาย-ไม่สบายก็เป็นเวทนา มาด้วยกันเสร็จ มาทีเดียวเลย มันมาพลั๊บเลย
ลูกศิษย์ถาม: ??? คือผมเข้าใจว่าเวทนาเป็นสุขทุกข์ มีตัวความรู้สึกที่สุขทุกข์เป็นขั้นตอนหลัง แรกเลยเรามีความรู้สึกร้อนหรือหนาวก่อนเลย และมีสังขารไปปรุงแต่งว่าชอบหรือไม่ชอบ ก็ทำให้เกิดเวทนาในเรื่องของการปรุงแต่ง
พระอาจารย์ตอบ: ไม่เลย เวทนาซ้อนตลอดเวลา มันทุกอันนี้เป็นปัจจัยแก่กันจะซับซ้อนยิ่งขึ้น แ่ต่ขณะแรกที่รับรู้ รู้สึกทันทีเลย พระบางท่านจะบอกว่าผมรู้สึกเวทนาก่อน ยังไม่ได้กำหนดหมายอะไรด้วยซ้ำ รู้สึกสบายไม่สบายมาเชียว พร้อมกันนั้นก็กำหนดว่าเป็นหนาวเป็นร้อน แต่ว่าจะหนาวหรือร้อนก็ตาม ไม่สบายนี่เป็นเวทนาใช่ไหม ไม่ใช่ต้องนี่หนาวจึงจะไม่สบาย ร้อนก็ไม่สบายเหมือนกันใช่ไหม เพราะฉะนั้นรู้สึกไม่สบายก็เวทนาละ เวทนาที่ไม่สบายอาจจะเป็นร้อนก็ได้ อาจจะเป็นหนาวก็ได้ ให้รู้ว่าร้อนหนาวเป็นสัญญา ชอบใจไม่ชอบใจก็เป็นสังขาร เรียกว่าปั๊บได้ความเลย
ลูกศิษย์ถาม: ??? ถ้าเกิดมายังไม่มีตัวสัญญา แรกสุดความรู้สึกเวทนาอย่างที่ไม่มีสัญญา
พระอาจารย์ตอบ: ไม่ สัญญานี้เราเอาคำบัญญัติไปใส่เพื่อให้เราพูดกันได้เท่านั้น เด็กก็มีความรู้สึกแยกต่างได้ว่าระหว่างหนาวกับร้อนใช่ไหม มันกำหนดหมายที่ต่างกัน แม้ว่าไม่มีชื่อเรียก มันมีภาษาที่ไม่มีชื่อเรียกถูกไหม เด็กก็รู้จักหนาวรู้จักร้อน แต่ไม่มีชื่อเรียกใช่ไหม ไม่มีชื่อเรียกเท่านั้นเอง
ลูกศิษย์ถาม: ??? เมื่อเกิดมามีข้อมูลบางอย่างที่ติดมา
พระอาจารย์ตอบ: มันมีการหมายรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่การหมายรู้นั้นยังไม่ซับซ้อน เพราะไม่มีข้อมูลเก่ามาช่วย
ลูกศิษย์ถาม: ??? ถ้ารวมความของขันธ์ 5- เกิดขึ้นพร้อมกันดับขึ้นพร้อมกัน ทำหน้าที่พร้อมกันหมด เราจะไปคิดอย่างโน้นอย่างนี้ ทำพร้อมกันหมดเลย มันจะไปพูดยังไง มันทำพร้อมกันหมด มันจะไปปรุงแต่งตรงนั้นตรงนี้ ไม่ปรุงแต่งตรงนั้นตรงนี้ เกิดขึ้นพร้อมกันหมดดับขึ้นพร้อมกัน พร้อมกันหมดใช่ไหมครับพระอาจารย์
พระอาจารย์ตอบ: คือท่านเรียกว่าเป็นเจตสิก วิญญาณทางอภิธรรมเรียกว่าจิต ที่นี่เวทนา สัญญา สังขารเรียกว่าเจตสิก เจตสิกแปลว่าสภาวะที่ประกอบกับจิต ประกอบกับจิตมีการเกิดขึ้นและดับไปพร้อมกับจิต อันนี้เพราะฉะนั้นเจ้าเวทนา สัญญา สังขารนี่ถือว่าเกิดดับพร้อมกันกับจิตไปด้วยกัน ก็เราเรียกว่า มีวิญญาณเหมือนว่าเป็นตัวยืนให้ เหมือนกับว่าเป็นแกนให้ นี่ใช้ภาษารูปธรรม แต่ว่ามันต้องระวัง เดี๋ยวจะมองเป็นอัตตาไป แต่ว่าพูดเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ
ลูกศิษย์ถาม: ??? เวทนาจะมุ่งเน้นตัวความสุข เป็นอทุกขมสุขเวทนาคู่กับเวทนาหรือเปล่า
พระอาจารย์ตอบ: อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา เป็นด้านหนึ่งของความรู้ แต่ว่ามีจะมีทันทีเลย เวลาเรามีประสบการณ์ปั๊บ ความรู้สึกสบาย ไม่สบาย เฉยๆก็มีทันที การกำหนดหมายว่าอะไรเป็นอะไรก็จะมี แล้วก็จะมีปฏิกิริยาพอใจ ไม่พอใจเป็นต้น อันนี้ก็เท่ากับว่าพร้อมกับความรู้ที่เรียกว่าวิญญาณ เช่นการเห็นเป็นต้น ก็จะมีอาการของจิตเหล่านี้เกิดขึ้นด้วย จะเรียกว่าอาการก็ได้ เวทนาก็เป็นอาการของจิตด้านหนึ่ง ด้านที่รู้สึกสบาย-ไม่สบาย สัญญาก็เป็นอาการที่หมายรู้สิ่งนั้น สังขารเป็นเรื่องของการจิตที่มีคุณสมบัติที่เป็นดี-เป็นร้ายของมัน
ลูกศิษย์ถาม: ???โดยมีวิญญาณเป็นตัวรู้
พระอาจารย์ตอบ: วิญญาณเหมือนกับตัวยืน ถ้าพูดเป็นภาษาอัตตา เป็นตัวแกนให้ เพราะถ้าไม่มีวิญญาณ ภาวะรู้อันนี้ เจ้าอันอื่นทำงานไม่ได้เลย ดังนั้นมันมีความรู้อันนี้ยืนตัวตลอดเวลา แม้แต่เริ่มรับประสบการณ์เห็น ก็มีวิญญาณอันนี้ตลอดแต่นั้นตั้งแต่เห็นไปแล้ว มันจะรู้สึกนึกคิดยังไง ตัวรู้นี้ยืนพื้นตลอด ตัวรู้อันนี้เรียกว่าวิญญาณ
ลูกศิษย์ถาม: ???
พระอาจารย์ตอบ: ก็วิเคราะห์แยกแยะออกไป ก็เป็นเพียงสภาวะธรรมที่มันมีการเกิดดับไปเรื่อย เวลาเราจะเกิดตัวเราขึ้นมา จิตต้องปรุงแต่งมาเป็นสังขาร แล้วตัวสังขารก็เอาข้อมูลต่างๆมา ข้อมูลเหล่านี้มักจะไม่ชัดเจน ก็ยึดเป็นภาพรวมๆว่าเป็นตัวเรา เป็นตัวฉัน พอจะบอกว่าตัวฉันอยู่ที่ไหน บอกไม่ถูก นี่เราพูดว่าที่คุณว่าตัวคุณนะ ตัวคุณชอบใจ ตัวคุณไม่ชอบใจ ตัวคุณที่ชอบใจไม่ชอบใจ มันอยู่ตรงไหน ท่านก็ชี้ไม่ถูก มันก็ไม่รู้ว่าจะเอาอะไร ท่านก็เดาตัวร่างกายนี้ก็เป็นรูปขันธ์ เอาความคิดก็เป็นสังขารขันธ์ เอาความรู้สึกสบายไม่สบายเป็นเวทนาขันธ์
ลูกศิษย์ถาม: ??? ทุกอย่างทั้งหมดก็เป็นสภาวะธรรม
พระอาจารย์ตอบ: สภาวะธรรม สภาวะธรรมคือกระบวนการที่คืบเคลื่อนไป ไม่หยุดนิ่ง บางทีฝรั่งใช้คำว่าเป็น Flux ??? ของเราเรียกว่าเป็นสันตติ การสืบต่อ การต่อเนื่องไป นี่เวลาเรายึดเป็นตัวตน สร้างภาพขึ้นมาซ้อนสภาวะอีกทีหนึ่ง เป็นภาพที่ปรุงแต่งขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง แต่ว่าภาพนี้พอเอาเข้าจริงก็เลือนรางไม่รู้อยู่ที่ไหน เหมือนยังกะคนที่อยู่ด้วยตัณหาปั๊บ อัตตาจะเด่นขึ้นมาทันที เพราะว่ามันมีความอยาก ความปรารถนา ก็จะเกิดมีตัวตนขึ้นมาทันที แต่พอว่าใช้ปัญญาปั๊บ ตัวตนหาย ปัญญาก็รู้เป็นเรื่องๆ รู้รายละเอียด รู้เป็นเหตุปัจจัย รู้ตามความจริง พอรู้ตามความเป็นจริง ไม่รู้ตัวตนไปไหนเลย
ลูกศิษย์ถาม: ???
พระอาจารย์ตอบ: ก็ไม่เป็นไร นี่ภาษาไทย ภาษาไทยก็สับสน
ลูกศิษย์ถาม: ??? พูด ถ้าพูดให้ชัดอย่างนี้ วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นผัสสะ
พระอาจารย์ตอบ: ไม่ใช่สิ ผัสสะเป็นรูปธรรม คนตายแล้วมีเส้นประสาท แต่รับรู้ไม่ได้
ลูกศิษย์ถาม: ??? ไม่ใช่คน ตานี่นะ เวลาไม่ตายตาจะมองเห็นเพราะมีเส้นประสาท ตาดีใช่ไหม พอคนตาย ประสาทถึงจะมองไม่เห็นเพราะไม่มีเส้นประสาท หูเช่นเดียวกันทั้งหมด
พระอาจารย์ตอบ: ไม่ใช่ ประสาทเป็นรูปธรรม รูปขันธ์ วิญญาณเป็นนามขันธ์
ลูกศิษย์ถาม: ??? วิญญาณเป็นสภาวะจิต ตายแล้วไปเกิด
พระอาจารย์ตอบ: ไม่ใช่ ไม่ใช่ นั่นแหละเดี๋ยวจะยุ่งกันใหญ่ วิญญาณก็คือการรู้ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น จากกลุ่มประสาทก็เป็นฝ่ายร่างกาย รูป แสง สี ก็เป็นรูปธรรมใช่ไหม มาเจอกันเข้าเกิดการเห็น การเห็นนี้เรียกจักขุวิญญาณ การรู้ทางตาเรียกว่าเห็น รู้ทางหูเรียกว่าได้ยิน การรู้การเห็นการได้ยินการได้กลิ่นนี้เรียกว่า วิญญาณเป็นนามธรรม
ลูกศิษย์ถาม: ???ที่ท่านว่ามันเกิดขึ้นพร้อมกันดับพร้อมกัน ถ้าเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกับจิต ถ้ามัน เกิดพร้อมกับดับพร้อมกัน เราจะแยกรูปกับนามทำไมต้องมี 2 ขั้น มีรูป มีนาม ถ้าว่าเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมดับขึ้นอันนี้มันอันเดียวกัน แต่ว่าไม่ใช่อันเดียวกัน แต่ว่าถ้าขันธ์ 5 เกิดขึ้นพร้อมกันดับขึ้นพร้อมกันมันคงจะเป็นไปไม่ได้
พระอาจารย์ตอบ: พูดไปแล้วก็ชัดอยู่แล้ว ว่าจิต เจตสิก เจตสิกก็ประกอบกับจิตเกิดดับพร้อมกัน รูปตอนนี้เราไม่ได้พูดถึง รูปขันธ์เป็นที่อาศัย อาศัยในการเกิดดับในนามเป้นไปของนามขันธ์นี้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน แต่รูปกับนามเกิดดับไวไม่เท่ากันอยู่แล้ว รูปขันธ์รูปธรรมนี้การเกิดดับนี้ช้ากว่าด้านจิต เกิดดับช้ากว่ากันมาก จิตนี้เกิดดับไวกว่ามาก
ลูกศิษย์ถาม: ???
พระอาจารย์ตอบ: มันพูดยาก ศัพท์เป็นเรื่องการที่ให้หาทางให้เข้าใจตัวสภาวะใช่ไหม อันนี้ถ้อยคำบางทีต้องใช้หลายๆคำก็จะมาสื่อความหมายอันเดียว
ลูกศิษย์ถาม: ??? การรู้หมายจำเฉพาะเป็นวิญญาณ อาการรู้ประกอบเป็น 2 เรื่อง สัญญา สังขาร
พระอาจารย์ตอบ: อย่าไปพูดอย่างนั้นเลย เดี๋ยวก็สับสนอีกละ คำว่าอาการรู้มันไม่ชัดอยู่ในตัวแล้วนะใช่ไหม คำว่าอาการรู้มันไม่ชัดว่าอะไร คือศัพท์ต่างๆเหล่านี้จะเป็นศัพท์ที่ว่า
1 ศัพท์ที่พยายามให้เป็นตัวกำหนดสภาวะ
2 ศัพท์ประเภทที่พยายามใช้เพื่อช่วยขยายความอธิบายเพื่อสร้างความชัดเจน แต่ว่าศัพท์บางศัพท์จะมีความคลุมเครือในตัว ใช้ได้เป็นเพียงคำประกอบในเวลาอธิบาย ถ้าใช้เป็นตัวเครื่องหมายแทนสภาวะใช้แล้วยุ่ง เพราะฉะนั้นลำบาก เพราะฉะนั้นก็พยายามที่จะใช้ศัพท์ที่รู้ร่วมกันอย่างที่ว่าเช่น วิญญาณนะ การรู้ เช่นการเห็น การได้ยินแล้วจะอธิบายว่า แปลว่า มีอาการรู้ มีอาการต่างๆก็ว่าไป เพราะว่าคำว่าอาการบางทีก็คล้ายๆกับคำว่าลักษณะ เดี๋ยวก็จะมีปัญหาอีก วิญญาณก็มีลักษณะรู้ เดี๋ยวมีอาการรู้อีกละ ก็ยุ่งสิใช่ไหม
ลูกศิษย์ถาม: ??? อย่างพิจารณาเรื่องเจตสิก เรื่องสัญญา สังขาร เวทนา ถ้ามองในแง่เป็นลักษณะเป็นเหตุปัจจัย มันไม่ได้เป็นเหตุปัจจัยทางเดียว แต่จะเป็นเหตุปัจจัยในทางกลับกันไปด้วย
พระอาจารย์ตอบ: นี่แหละกลับการตลอด หมายความว่าปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันใช่ไหม นี่เช่นยกตัวอย่างเสียงแมวเมื่อกี้นี้ สัญญาและสังขารกลับมาเป็นปัจจัยกับเวทนา แมวตัวนี้เราไม่เคยเห็นมาก่อน และเดี๋ยวนี้ก็ไม่เห็นตัว มันร้องเหมียว เราอยู่ในอาการสภาพสภาวะจิตยังไง คนหนึ่งต้องการสงบเงียบ ตั้งใจจะฟัง แหมมันขัดหูจัง รู้สึกไม่สบาย ขัดหู ปรุงแต่งสังขาร สังขารก็เป็นปัจจัยกับสังขารเองด้วย ในกรณีที่เป็นแมวที่เห็นมาก่อน 4องค์5องค์นี่ไม่เหมือนกัน องค์หนึ่งเกิดรู้เลยว่าแมวตัวนี้ร้องอย่างนี้และชอบรักมัน รักมันมีสังขารเก่าแต่งจิต พอได้ยินเสียงแมวตัวนี้เวทนาเกิดเป็นสุขเลย เหมียวถ้ามันร้องดัง ถ้าเป็นแมวตัวอื่นไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้จัก จำไม่ได้ พอได้ยินปั๊บ ขัดหูเลย ไม่สบาย เวทนาเป็นทุกข์ แล้วก็ปรุงแต่งสังขารยิ่งไม่ชอบใจใหญ่ แต่สังขารที่ปรุงจิตไว้เดิมนี้ชอบรักแมวตัวนี้มาก รักแมวตัวนี้มากให้สัญญากำหนดหมายไว้แทนแมวตัวนี้ พอได้ยินเสียงปั๊บ มันจำได้เลยว่าเสียงของแมวตัวนี้ มันจำได้เลย สัญญานี้ข้อมูลเก่าและสังขารปรุงแต่งไว้ว่ารัก เกิดเวทนาใหม่ขึ้นมาตอนนี้สุขเลยถูกไหม เพราะฉะนั้นสัญญา สังขารกลับมาเป็นปัจจัยกับเวทนา แล้วเวทนาเป็นปัจจัยกับสังขารอีก พอเวทนาเป็นสุขก็ชอบใจ ดังนั้นก็ซ้อนๆกันไป ต่อมาสัญญาก็เก็บข้อมูลอีก เช่นว่า เราเกิดชอบสัตว์พันธุ์นี้ประเภทนี้ทั้งหมดกำหนดหมายไว้ พอกำหนดหมายสัญญาแบบนี้ปั๊บ ต่อมาพอได้ยินอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ สังขารจะปรุงแต่งเป็นชอบ ชอบใจ แต่การที่เกิดสังขารชอบใจซึ่งจากสัญญาและไปผนวกเวทนาสุขนั้นๆ ตอนแรกมันมายังไงล่ะ มันมาจากการปรุงแต่งก่อนมาจากสังขารก่อน สังขารก็ปรุงแต่งมาอย่างนี้ สัญญาก็กำหนดหมายไว้ถ้าอย่างนี้เราเอานะ พอสัญญากำหนดอย่างนี้ก็เลยได้ทั้งพวกเลย ถ้าเจออย่างนี้ได้ยินอย่างนี้ ก็ชอบทันทีเลย เป็นปัจจัยต่อกันตลอด เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นมันมีความซับซ้อนอยู่ในตัว แต่ว่ารวมแล้วคือ การทำงานขององค์ประกอบเหล่านี้ พอมันยิ่งซับซ้อนขึ้นมากก็เป็นชีวิตของเราที่ออกมาสู่บทบาทในการเป็นอยู่ ในการที่ก้าวไปทำกิจในสังคม ในการอยู่ร่วมและทำการต่างๆ ซึ่งมันอาจจะเป็นการทำงานขององค์ธรรมเหล่านี้
ลูกศิษย์ถาม: ??? การรักษาเจตนาไว้ให้ดี
พระอาจารย์ตอบ: เจตนาก็เป็นตัวที่สำคัญเพราะ เป็นตัวที่ปรุงแต่งได้ คือเป็นตัวกรรม อันนั้นเราทำได้ก็ตัวนี้เจตนาที่ว่า เราเหมือนกับว่าเป็นผู้ทำเอง เราจึงเรียกว่าเราเป็นเจ้าของกรรม เพราะเราเป็นเจ้าของเจตนานี้ เราก็ตั้งใจอย่างไร เราก็ตั้งใจไปในทางที่ดีซะ ตั้งใจให้เป็นกุศลใช่ไหม นี่พอตั้งใจเป็นกุศล กระบวนการของสังขารก็มีตัวดีที่สำคัญคือ สตินั่นแหละ สติอยู่ในนี้เป็นเครื่องปรุงของจิต สติก็มาคอยระลึกไว้ว่าเอาอย่างนี้นะ ระลึกไว้เลยว่าคอยมากำกับ มากำกับให้จิตมีความตั้งใจในทางที่ดีๆ มันก็จะปรุงแต่งจิตจนกระทั่งว่าเคยชินในแนวทางของความดีงาม กุศลก็สะสมมากขึ้นๆก็กลายเป็นความโน้มเอียงที่จะเป็นอย่างนั้น ความโน้มเอียงนี้จะออกจากจิตมาสู่พฤติกรรม กาย วาจา มันก็จะสอดคล้องกันไปเลย เกิดเป็นบุคลิกลักษณะ ความโน้มเอียงในจิตใจก็ออกมาเป็นบุคลิกภาพ ออกจากบุคลิกภาพก็เป็นวิถีชีวิต
ลูกศิษย์ถาม: ??? ที่ชาวบ้านหรือคนท้องถิ่นโดยทั่วไปกราบพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรู้สึกว่าสบายใจ รู้สึกว่าเย็น นี่ก็เป็นเพราะส่วนนี้ด้วยใช่ไหม ที่ท่านอธิบายลักษณะที่ว่า ถ้ามีเจตนาดีแล้ว การแสดงออกก็จะเป็นกาย วาจา ก็ทำให้เกิดสงบอย่างที่ผู้ท่ีกราบไหว้
พระอาจารย์ตอบ: ก็คือจักขุวิญญาณของเขา โสตวิญญาณของเขารับรู้สิ่งที่ดีที่งามซึ่งจะมีผลต่อจิตของเขา เวทนาความรู้สบาย และก็จิตเขาสังขารก็ปรุงแต่งด้วยศรัทธา ความรู้สึกสงบ ความเย็น ความอ่อนโยน มันก็ปรุงแต่งจิตให้โน้มไปทางนั้น พอเราเห็นปั๊บ สังขารเก่าก็พลึบขึ้นมาทันที พอเห็นปั๊บอาการอย่างนี้จิตก็มีอาการอย่างเดิมคือว่า สบาย สงบ สุขมาเลย เพราะสะสมมาแล้วนิ พอสะสมบ่อยๆ ทีนี้จิตก็มีความโน้มเอียงอย่างนั้น เวลามานั่งคนเดียวก็โน้มไปในทางที่จะสงบ ผ่อนคลาย เย็น ก็อาศัยพระรูปนั้นเป็นปัจจัยในการปรุงแต่งจิตของตัวเอง จนกระทั่งว่ากลายเป็นสภาพจิตประจำไปเลย ก็เหมือนคนไปทำบุญ ทำบุญบ่อยๆ จิตก็คิดเรื่องการทำบุญอยู่เรื่อย มันคิดอยู่เรื่อยๆสะสมหมักหมมมันอยู่ อย่าเรียกว่าหมักหมม เรียกว่าสะสม สะสมอยู่เรื่อยๆมันก็ชิน มันก็เคย จะใช้คำว่าลงล่องก็แล้วแต่ จิตมันเคยของมันอยู่อย่างนั้น อย่างคนตรงกันข้าม-คนมันกลุ้มใจจับแต่อารมณ์ที่มันมากระทบกระทั่งมา เวลาไปนั่งอยู่คนเดียวปั๊บ เอาละสิสัญญาที่เก็บไว้ สังขารมันแรงปรุงแต่งไว้ในเรื่องขัดใจต่างๆ มันก็ชอบเก็บสิ สัญญาก็เก็บมั่น เก็บชัด เก็บเอาจริงเอาจัง เก็บเอารายละเอียดเรื่องที่ไม่ชอบ สัญญาก็เก็บๆไว้ ทีนี้จิตเคยชินที่จะระลึกใช่ไหม สติก็ไประลึกเอาสัญญาประเภทนี้ขึ้นมาอีกเวลาไปอยู่เงียบๆ จิตก็มีแต่เรื่องเหล่านี้ทั้งนั้น ไม่สบายใจ กระทบใจ กังวล กลุ้มใจ อันนี้ไปนั่งสงบที่เดียวทีไร มีแต่อันนี้ขึ้นมาทุกที จิตก็ชินมีแต่ความกลุ้ม ความกังวล ความไม่สบายใจ อันนั้นก็กลายเป็นนิสัยของจิต จะแก้ยังไง ต้องหาทางสิ่งหยาบมาช่วยก่อนมากระตุ้นเรียกว่า ให้เห็นสิ่งที่ดี ให้ทำบุญบ่อยๆ ทำความดี เอาการกระทำทางกายให้มันมาบังคับจิตหรือมาโน้มจิต เมื่อทำอย่างนี้ทำสิ่งที่ดี จิตก็นึกเรื่องดีเลย ทำบ่อยๆจิตมันเคยเข้าๆ เวลาไปนั่งก็คอยนึกเรื่องนี้ เดี๋ยวจะต้องไปทำบุญที่นี่ เดี๋ยวต้องไปให้ที่นี่ นึกเรื่องนี้เรื่อยๆ พอนึกเรื่องนี้ขึ้นมา สิ่งที่เกี่ยวข้องที่นึกมันโยงความสบายใจ ความสุขมันก็ตามกันมา ต่อมามันก็เป็นความเคยชินของจิต ที่ว่าจะนึกถึงเรื่องบุญเรื่องกุศลสิ่งที่ดีเรื่องที่จะทำให้สงบเยือกเย็น สบาย เบิกบาน เพราะฉะนั้นการทำบุญบ่อยๆกลายเป็นสร้างสภาพจิตที่ดีไปด้วย ก็ใช้ทานมาเป็นจุดเริ่มต้นเพราะเป็นของหยาบมาช่วยโน้มจิตไป
ลูกศิษย์ถาม: ??? การนำด้วยการฝืนใจ การฝืนใจทำดีเป็นอกุศลไหม
พระอาจารย์ตอบ: มี แต่ว่าก็ตั้งเจตนาและเอาปัญญามาพิจารณา เมื่อปัญญามาพิจารณาทำให้ได้ความเข้าใจว่านี้เป็นการฝึกและจิตโน้มไปเป็นการฝึก เปลี่ยนจากฝืนใจไปเป็นเต็มใจ เพราะฉะนั้นโยนิโสมนสิการเข้ามาตอนนี้
ลูกศิษย์ถาม: ??? โยนิโสมนสิการเป็นกุุศล
พระอาจารย์ตอบ: คือกรณีนี้เป็นโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการมาบอกว่าที่เราทำอย่างนี้นะ มันเป็นการฝึกทำให้เราได้พัฒนาตัวเอง มาเปลี่ยนแนวคิดของจิต จากการที่มองว่าฝืนใจมาเป็นการที่ได้ฝึกมองว่าเป็นการได้ พอโยนิโสมนสิการมาเปลี่ยนท่าทีของจิตใหม่ปั๊บ หมดเลย เปลี่ยนไปเป็นสุขเลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นโยนิโสมนสิการจึงสำคัญมาก โยนิโสมนสิการก็เป็นตัวอยู่ในพวกปัญญา ตอนนี้ก็อยู่ที่ว่าวิถีทางที่มันจะมาช่วยกันจะหามาช่วยมาประกอบมาเสริมอะไรต่างๆ ถ้าเราฉลาดในวิธีมันก็จะได้ผล ก็หาตัวช่วยมาเพื่อจะมาแก้ปัญหาในแต่ละกรณี แต่โยนิโสมนสิการเป็นตัวที่ทำงานได้เรียกว่าได้มาก แก้สถานการณ์ต่างๆได้มากมาย