แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
มาคุยกันต่อในเรื่องปลีกย่อยแทรกเกี่ยวกับเรื่องอริยสัจถือเป็นเกร็ดความรู้น่ะ คำว่าอริยสัจนี่ไม่ได้แปลให้ฟังก็เลยแปลสักหน่อย อริยสัจแปลว่าอะไร สัจจะก็ทราบกันดีว่าแปลว่าความจริง พูดในภาษาไทยว่าสัจจะก็รู้กันเลย ไม่ต้องแปลเป็นไทยก็ได้ อริยะก็แปลว่าประเสริฐ ถ้าแปลอย่างง่าย ๆ ก็แปลว่าความจริงอันประเสริฐ ความจริงประเสริฐในแง่ความหมายหนึ่งก็คือว่า มันเป็นของแท้แน่นอนไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนในความจริงที่เคยพูดไปแล้วมันยั่งยืน ชีวิตมนุษย์ยังต้องดำเนินอยู่ยังต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายก็จะต้องว่าไปตามหลักการนี้ ทีนี้ก็ประเสริฐในแง่อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เป็นความจริงที่ทำให้คนกลายเป็นอริยะไป ทำให้คนกลายเป็นคนประเสริฐ ใครมารู้เข้าถึงสัจจะอันนี้แล้วก็กลายเป็นอริยะชน กลายเป็นคนผู้ประเสริฐอย่างพระพุทธเจ้าก็ได้มาตรัสรู้อริยสัจแล้วก็กลายเป็นพระพุทธเจ้าไปเป็นอริยะไป แม้ท่านอื่น ๆ ก็เหมือนกันใครมารู้เข้าถึงอริยสัจให้เข้าถึงสัจจะเหล่านี้ก็เป็นอริยบุคคล ฉะนั้นก็เลยเรียกว่าอริยสัจ เพราะเป็นสัจจะทำให้ผู้ที่รู้นี่เป็นอริยะ หรือแปลอีกอย่างก็แปลว่าเป็นสัจจะที่อริยะหรืออริยชนได้ตรัสรู้และได้แสดงไว้ อริยะหรืออริยะชนในที่นี้มุ่งเป็นผู้วิเศษก็คือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และมาทรงแสดงไว้ ในเมื่อเป็นความจริงหรือสัจจะที่พระอริยะท่านแสดงไว้ หรือตรัสรู้แล้วแสดงไว้ก็เลยแปลง่าย ๆ ว่าเป็นความจริงของพระอริยะ เป็นความจริงของอารยชน ความจริงอย่างอื่นก็มีมากมายแต่ไม่เป็นความจริงของอริยชน เช่นการรู้ข้อมูลอะไรต่าง ๆ มากมายถึงอาจจะไม่ไร้สาระไม่เป็นประโยชน์ อันนี้ก็เป็นความหมายต่าง ๆ ของคำว่าอริยสัจ ก็เป็นเพียงเกร็ดความรู้ไว้ ถ้าแปลง่าย ๆ ก็ความจริงอันประเสริฐ แต่ว่าที่แปลว่าความจริงที่ทำให้เป็นอริยะนี่ ก็ดีถือให้ความหมายที่โยงไปหา ไอ้การอธิบายต่าง ๆ ให้ได้สาระมากขึ้น
เอาทีนี้มาดูถึงเนื้อหาของอริยสัจ 4 ในอริยสัจข้อ 1 นี่บอกว่า โดยย่อหรือโดยสังเขป อุปทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ โดยทุกข์ก็เป็นอุปทานขันธ์ 5 นั่นเอง ก็ได้บอกไปแล้วว่าถ้าพูดภาษาไทยก็ทุกข์ ก็คือสภาพของสิ่งทั้งหลายทุกอย่างที่เราเกี่ยวข้อง ซึ่งมันไม่อยู่ในภาวะที่เราจะให้เป็นไปตามต้องการ มันไม่สามารถให้ความพึงพอใจแก่เราได้โดยสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นก็จะมีการให้ความหมายของคำว่าทุกข์นี้แปลว่าเป็นภาษาอังกฤษกันต่าง ๆ แปลเป็นภาษาอังกฤษหาศัพท์ยาก นิยมแปล ทุกข์ กันว่า Suffering Suffering มันก็เป็นอาการของคนที่ได้รับความทุกข์หรือเป็นตัวความทุกข์ที่คนได้รับ มันก็เป็นทุกข์ที่โจ่งแจ้งออกมาแล้ว ที่นี้ทุกข์ในอริยสัจนี่มันไม่จำเป็นจะต้องออกมาเป็นความรู้สึกทุกข์เลย ใช่ไหม มันเป็นภาวะของสิ่งต่าง ๆ ที่เราเรียกว่ามันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เพราะมันอยู่ในภาวะของมันเอง ซึ่งมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยมันไม่คงที่อยู่ มันก็คงอยู่ในภาวะเดิมนั้นไม่ได้ตลอดไป แม้แต่ขณะใดขณะหนึ่งมันอยู่ไปแล้วก็ผ่านไปผ่านไปคนก็ไม่ได้อย่างใจอย่างที่ว่า ที่นี่ภาวะนี้เรียกว่าทุกข์นั้นมันไม่จำเป็นต้องออกมาเป็นความรู้สึก อันนี้ก็เลยว่า แปลยังไรดีก็หาทางแปลกันเยอะแยะหมด ฝรั่งบางคนก็แปลว่า Ill Ill นี่แปลง่าย ๆ ก็ว่า เจ็บป่วย แต่ว่าไม่จำเป็นต้องแปลว่า เจ็บป่วย Ill ในภาษาอังกฤษแปลว่า มันร้ายก็ได้ แปลว่าไม่น่าปรารถนา มันไม่ดีนั่นเอง มันมีแต่ความบกพร่อง บางท่านก็แปลอื่น เช่นอย่างท่านพุทธทาส ก็แปลว่า Unsatisfactory แปลว่าภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจก็คล้าย ๆ ที่เราพูดเมื่อกี้นี้เหมือนกันว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่สามารถให้ความพึงพอใจแก่คนได้จริง แต่ว่ามองอีกอย่างหนึ่งก็ว่าไอ้ที่ว่ามันเป็นทุกข์เป็นภาวะที่คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้เพราะว่ามันถูกความเกิดดับเหมือนกับมาบีบคั้นให้ต้องพ้นต้องออกไปจากภาวะนั้นมีความบีบคั้นและความขัดแย้งอยู่ในตัวตลอดเวลาบางทีก็แปล State ความบีบคั้ความกดดัน ในสิ่งทั้งหลายนี่มันจะมีภาวะนี้ตลอดเวลา มันมีความบีบคั้นกดดันที่จะให้ต้องพ้นออกไปจากภาวะเดิม และก็มีความขัดแย้งก็เป็น Conflict แปลกันไปต่าง ๆ ก็ยังหายุติไม่ได้ ในที่สุดก็คงต้องทับศัพท์ เหมือนกับคำว่า กรรม แต่ก่อนก็แปลกันนักหนาคำว่ากรรม นี่หาคำแปลกัน แปลเป็นภาษาอังกฤษ ก็แปลเป็น Act เป็น Action เป็นอะไรกันไปต่าง ๆ หรือบางทีก็เติมคำให้ชัดเข้าไป เพราะว่าเป็นการกระทำที่ต้องมีเจตนาก็เป็น Voluntary Action Voluntary Action การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาหรือเจตจำนง ก็แปลกันไปมา ๆ ในที่สุดเดี๋ยวนี้ทับศัพท์ กรรมมะ ฝรั่งก็รู้กันแล้วทีนี้ ฝรั่งรู้กันเยอะแล้ว เพราะฉะนั้นก็เลยไม่จำเป็นต้องแปลเพราะว่าแปลยังไง ๆ ก็ไม่ตรงแท้ ก็เลยทับศัพท์กันซะเลย ไหน ๆ ก็เลยรู้กันกว้างขวางว่า กรรมมะ กรรมมะ เดี๋ยวนี้ทับศัพท์กันมาก ใช้แบบบาลีก็เป็น Kamma กรรมะ ใช้ภาษาสันสกฤตเป็น การามะ Karma เช่นเดียวกับคำว่าธรรมเหมือนกัน ธรรมะก็แปลกันนักหนาแปลยังไงก็ไม่ได้ตรงสักที ธรรมะนี้แปลยากที่สุด แปลยากยิ่งกว่ากรรมอีก ธรรมะนี่ความหมายกว้างอะไร ๆ ก็ต้องเป็นธรรมะก็เคยอธิบายให้ฟังแล้วว่า เอาโดยสรุปรวบรัด 4 ความหมาย แค่ 4 ความหมาย ก็หาศัพท์ภาษาอังกฤษให้มันคลุม 4 ความหมายไม่ได้ ต้องใช้ศัพท์เดียว เอาพูดได้ในความหมายนี้มันก็ไม่คลุมความหมายโน้น ก็ลำบาก ฉะ นั้นก็แปลเป็นชุดก็ความจริง แปลเป็น Reliability เป็นภาวะที่เป็นจริงสิ่งที่มีจริง หรือแปลเป็น Law แปลเป็น Law นี่ใช้มาก แปลเป็น National Law ทีนี้มันก็ไม่คุมเป็นตัวกดเป็นตัวความจริง ที่นี้เป็นธรรมชาติแล้วก็เลยแปลว่า Major ก็มี แปลเป็น Sin เหมือนภาษาไทยก็มี แปลเป็น State ก็มี แปลกันสารพัด ในที่สุดก็หาศัพท์อะไรที่มันแทนได้จริงไม่ได้ ฝรั่งก็รู้มากเข้ามากเข้ากว่าจะหาศัพท์ที่ดีได้ ฝรั่งรู้จักคำนี้ก่อนแล้วก็เลยยังไม่ทันได้ศัพท์ลงตัว เลยตกลงว่ารู้กันพอสมควรก็เลยเอ้าใช้ ธรรมะทับศัพท์เลย ที่นี้ก็ใช้ธรรมะทั่วไป Dhamma Dharma นั้นจะใช้เป็นบาลีหรือสันสกฤต Dictionary ฝรั่ง เดี๋ยวนี้ถ้าจะใหญ่ใช้หมดแล้ว คำว่ากรรมะธรรมะนี่ฝรั่ง Dictionary ใส่หมด อย่าง นิพพาน ก็เหมือนกัน นิพพานก็ไม่รู้จะแปลอะไร ซัมมะโมนำ แปลเป็นอะไรต่ออะไรก็ในที่สุดก็ทับศัพท์ดีกว่า ก็ทับศัพท์เป็นบาลี ทิปานะ หรือเป็นภาษาสันสกฤตก็เรียก วานะ เท่า Dictionary ฝรั่งทั่วไปหมด ศัพท์ในพุทธศาสนาเดี๋ยวนี้เข้าใน Dictionary ฝรั่งมากมายแล้ว สังฆะ ก็เข้าไปอยู่แล้ว ไม่ต้องไปแปลก็ได้ เขียนสังฆะ ฝรั่งก็รู้กันเยอะ ไม่รู้ก็ไปเปิด Dictionary ฝรั่งเอาเองก็ว่าอย่างนั้น Buddha ก็แน่นอน นี่เขาตอนแรกบอกเป็นชื่อ ที่นี้รู้จักก่อนเข้าถึง Dictionary ฝรั่งมานานแล้ว ตอนนี้ก็เป็นอันครบ พุทธะ ธัมมะ สังฆะ เข้าคลิปฝรั่งหมด ธรรมะก็เข้าไปด้วย ศัพท์อื่น ๆ อย่างทุกข์ต่อไปก็คงต้องทำ เพราะมันหาคำแปลไม่ได้ อันนี้ก็เป็นเกร็ดความรู้
อ้าวที่นี้มาเรื่องทุกข์นี่ ก็เป็นอันว่าเป็นสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายนี่ สภาวะของมันดีเป็นอย่างนั้นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรานี่ ถ้าเราเกี่ยวข้องไม่ดีก็ก่อให้เกิดทุกข์ได้ทั้งนั้น ทีนี้มันก็คือว่า อย่างนั้นก็ในข้อทุกข์นี่ ก็เลยได้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์จะเข้าไปเกี่ยวข้อง นี้สิ่งที่มนุษย์จะเข้าไปเกี่ยวข้องนี่มีอะไรบ้างล่ะ ก็ข้างนอกมันก็เป็นพวกรูปวัตถุรูปธรรมทั้งหลายใช่ไหมมากมาย เรียกแบบสมัยใหม่ก็จะแยกเป็นธาตุต่าง ๆ เยอะแยะ ที่นี้ก็มี 100 กว่าธาตุที่ค้นพบ หรือจะวิเคราะห์แยกแยะออกไปเป็น Atom เป็นพวกอนุภาคต่าง ๆ จนกระทั่งเป็นคลื่นอะไรก็แล้วแต่ อันนั้นก็เป็นโลกแห่งวัตถุ แต่ทีนี้ว่าในโลกนี้มันมีชีวิตด้วย และชีวิตทั้งหลายนี่ที่สมบูรณ์ที่สุด ก็คือมนุษย์ และในมนุษย์นี่มีทั้งด้านวัตถุทั้งด้านนามธรรม อันนี้มนุษย์นี่ก็เป็นสุดยอดของวิวัฒนาการของสิ่งทั้งหลาย ในมนุษย์นี่เป็นประชุมของทุกสิ่งทุกอย่างมีครบ ฉะนั้นถ้าพูดชีวิตมนุษย์นี่แทนทุกอย่างในโลกในจักรวาลได้ เพราะมีมาประชุมพร้อมอยู่ที่ตัวมนุษย์นี่ ก็เลยเอาที่มนุษย์นี่แหละ เราเองก็เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักความจริงที่จะต้องใช้ประโยชน์จะต้องเข้าใจชีวิตของตัวเองนี้ด้วย แล้วจากชีวิตมนุษย์นี่ก็มันจะคลุมไปถึงสิ่งทั้งหลายทั่วไปด้วย เพราะว่าในชีวิตมีทั้งรูปธรรมนามธรรม เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสถึงทุกข์ก็เอาที่ชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมีส่วนประกอบทั้งรูปธรรมและนามธรรม แยกออกไปเพื่อให้ความเข้าใจได้เกิดความชัดเจนขึ้นท่านก็แบ่งเป็น 5 อย่างว่าเป็นรูปธรรมนามธรรม หรือสิ่งทั้งหลายที่จัดได้เป็น 5 หมวด หรือ 5 ประเภท หรือ 5 กอง เรียกว่า ขันธ์ 5 ขันธ์ 5 แปลว่ามันเป็นที่ตั้งแห่งอุปทาน คืออุปทานความยึดมั่นหมายของมนุษย์นี่ไปจับจากการที่มนุษย์มีตัวตัณหาความต้องการมีความอยากความปรารถนา ความปรารถนานี้ก็เข้าไปยึดเอาไอ้ตัวขันธ์ 5 คือรูปธรรมนามธรรมสิ่งที่มีประกอบเข้ากับชีวิตของเรา ไปยึดถือมั่นหมายว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นมา ฉะนั้นอุปทานนี้เป็นตัวโยง เรากับชีวิตหรือสิ่งทั้งหลายให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมา อุปทานนี้เป็นตัวต่อเลยจากตัณหาที่เรามีเข้าไปเชื่อมเข้ากับรูปธรรมนามธรรมสิ่งทั้งหลายในชีวิตของเราเป็นต้นไปนี่ ทำให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมาพออุปทานก็ไปจับปั้บเกิดทุกข์ขึ้นเลย ทีนี่ถ้าไม่มีอุปทานนี่ก็สิ่งทั้งหลายก็อยู่ในภาวะของมันเป็นทุกข์ตามธรรมชาติไม่เกิดเป็นทุกข์ในตัวคน
อันนี้ก็เลยว่าเอาล่ะ เพื่อจะให้เข้าใจชีวิตของตัวเองเหมือนกับหมอที่จะเข้าใจรักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บจะต้องมาเริ่มต้นด้วยการศึกษาและเข้าใจในร่างกายคน ที่นี้ให้ทุกข์ที่มันเกิดเป็นอาการขึ้นมานี่ มันก็มาเกิดที่ชีวิตนี่แหละ เพราะฉะนั้นก็ต้องเข้าใจชีวิตก่อนก็เลยให้ศึกษาเข้าใจชีวิตนั้นเรื่องทุกข์ก็เลยศึกษาเรื่องขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ก็คือองค์ประกอบของชีวิตที่มีแยกได้ จัดแยกเป็นประเภทได้ 5 หมวดด้วยกัน เอาน่ะก็เป็นอันว่าชีวิตของเรานี้เกิดจากส่วนประกอบต่าง ๆ.มาประชุมกันเข้าจัดแยกประเภทได้เพื่อให้ศึกษาได้ง่ายเป็น 5 ประเภทหรือ 5 หมวด หรือ 5 กองเรียกว่าขันธ์ 5 ขันธ์ คำว่าขันธ์ ก็แปลว่า กอง ก็คือหมวด นั่นเอง 5 หมวด 5 กอง ซึ่งมันจะเป็นตัวที่ตั้งแห่งอุปทานของเรา ที่นี้ขันธ์ 5 ที่มาประกอบเข้าเป็นชีวิตนี่ คืออะไรบ้าง ตอนนี้มาศึกษากันสักหน่อย หนึ่งก็ง่ายที่สุด รูป หนึ่งเรียกว่า รูป เรียกเต็มว่า รูปขันธ์ คำว่าขันธ์ ต่อท้ายเป็นรูปขันธ์ หมวดรูป คือกองแห่งรูป หมวดรูปก็คือเอาชีวิตด้านร่างกายของเรา ด้านรูปธรรม ก็อวัยวะต่าง ๆ ร่างกายของเรา ตัวสรีระที่มันเกิดจากรูปธรรมย่อย ๆ ต่าง ๆ มาประชุมกัน ถ้าเราแยกในแง่ของชีวิตจะเป็น cell cell เกิดจากอะไรล่ะ เกิดจากธาตุต่าง ๆ สมัยโบราณไม่ต้องพูดยาวแยกเป็นธาตุมากมาย อย่างวิทยาศาสตร์ แยกเอาแค่ 4 ธาตุพอ เรียกว่าปฐวี อาโป เตโช วาโย ปฐวีธาตุ เราก็แปลว่าภาษาไทยง่าย ๆ ว่า ก็แปลว่า ธาตุดิน อาโปก็ธาตุน้ำ เตโชก็ธาตุไฟ วาโยก็ธาตุลม ที่นี้จะแยกแบบวิทยาศาสตร์ก็ได้ แต่ว่าจะทำให้คนชาวบ้านศึกษายากขึ้น ฉะนั้นเราต้องการให้คนทั่วไปเข้าใจได้ด้วย เพราะว่าเจตนาประสงค์เพื่ออะไร เจตนารมย์ต้องการให้รู้ว่าร่างกายของเรานี่ก็คือรูปธรรมต่าง ๆ มาประกอบกันขึ้น ถ้าไปเที่ยวศึกษาแบบแยกแยะแบบวิทยาศาสตร์ มันก็ให้นักวิชาการที่จะต้องใช้เวลาเยอะแยะเลย ขืนแยกแบบนั้น ชาวบ้านแย่ กว่าจะเข้าใจธรรมะก็เลยเสียเวลามาก นี่ก็ให้เข้าใจว่า อ้อ ดินน้ำลมไฟส่วนประกอบต่าง ๆ มีของแข็งของเหลว แก็ส แล้วก็ความอุ่นหรือความร้อน นี่แหละอุณภูมิ นี่เป็นองค์ประกอบที่ประกอบคลื่นชีวิต เป็นชีวิตส่วนประกอบของร่างกายง่าย ๆ ที่นี้ก็ร่างกายของเราก็เป็นอย่างงี้ ซึ่งเราจะเอาออกมาดูข้างนอก นอกจากชีวิตของเราในโลกนี้มันก็มีอย่างนี้เหมือนกันก็เป็นเรื่องของธาตุ 4 ดินน้ำลมไฟ นี่ด้านรูปธรรม เรียกว่า รูปขันธ์ ที่นี่ขอแทรกนิดหนึ่งว่าธาตุ 4 นี่แหละ มาวิเคราะห์ออกไป ธาตุ 4 นี้ไม่ใช่ง่ายเหมือนกันน่ะ ถ้าจะเอาลึกซึ้งมันมีธาตุหลายระดับ ธาตุ 4 นี้มีความหมายในชั้นหยาบ ๆ ตามภาษาชาวบ้าน ชาวบ้านคงไม่รู้เรื่อง ดินน้ำลมไฟ แต่ถ้าพูดไปอีกระดับของแข็งของเหลวก๊าซและอุณหภูมิ ถ้าพูดไปอีกอย่างหนึ่ง นี่เข้าไปถึง Atom เลย เคยมีฝรั่งก็มาศึกษาเพราะว่าเวลาท่านวิเคราะห์ในเชิงวิชาการในคัมภีร์อย่างอภิธรรมนี้น่ะ ท่านไม่ได้หมายถึง ดินน้ำลมไฟอย่างที่ชาวบ้านเข้าใจกัน จะมี ธาตุอโป ธาตุเดโช ธาตุอาโย เพราะว่าอย่างในน้ำนี่เราหยิบน้ำขึ้นมานี่ เอาขึ้นมาสักหยดหนึ่งนี่ น้ำหยดนี้ถ้าภาษาชาวบ้านเรียกว่า เป็นอาโปธาตุใช่ไหม ธาตุน้ำ แต่ภาษา อภิธรรม นี่ไม่ใช้อย่างนั้น ในน้ำมีธาตุ 4 ครบ น้ำอาโปธาตุแท้ ๆ นั้น เราไม่มีสิทธิไม่มีทางไปสัมผัสมันหลอก ที่เราสัมผัสนั้นธาตุดิน น้ำหยดหนึ่งที่เอาขึ้นมานี่ ถ้ามือเราไปแตะ ปั๊บ นี้เราสัมผัสนั้น นี่เราสัมผัสธาตุดินนะ เอาละซิชักยุ่งแล้วสิ ชาวบ้านชักงงว่า เพราะว่าหยดน้ำที่ใสบริสุทธิ์นี่ แจ๋วแหวว มือเราไปแตะนี้ เราแตะธาตุดินน่ะ ตัวอาโปธาตุที่เราแปลว่าธาตุน้ำ นั้นเราสัมผัสไม่ได้ ในหยดน้ำนั้น มีทั้งธาตุดินธาตุน้ำธาตุลมธาตุไฟครบ อ้าวว่า ทำไมว่าอย่างนั้น ธาตุดินก็คือ ไอ้ตัวสภาพที่แผ่ขยายกินเนื้อที่ เราอาจจะพูดง่าย ๆ คือเนื้อสาร ใช่ไหม ฉะนั้นน้ำก็มีเนื้อสาร แล้วก็อาโปคือความดูดซึม ภาวะที่ดึงดูด ฝรั่งเคยพยายามแปลว่า Cohesion ไอ้ตัว ปฐวีธาตุ แปลว่า กินเนื้อที่หรือแผ่ไป ฝรั่งก็แปลว่า Extension ตอนนี้ไม่แปลเป็น Earth แล้ว ปฐวีธาตุ แปลว่า Earth ใช่ไหม ในกรณีนี้เป็นทาสในความหมายลึกซึ้งทางธรรมะนี้ หมายถึงภาวะที่กินเนื้อที่ แปลว่า Extension ทีนี้อาโปธาตุคือ ภาวะที่ดึงดูด เรียกว่า Cohesion ไอ้นี่ก็ต่อไปก็ วาโยธาตุคืออะไร คือความเคลื่อนไหวความสั่นไหว ฝรั่งก็แปลว่า Vibration และก็สุดท้ายคือ เดโชธาตุความร้อน ความร้อนมีอยู่จริง ความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อนน้อยมากใช่ไหม ทีนี้น้ำที่จริงน้ำเย็นแต่ที่จริงมันคือร้อนน้อยถูกไหม บางทีน้ำเย็นนี่ เราไปโดนเย็นมาก่อนมาสัมผัสมันกลายเป็นอุ่นเลยถูกไหม ฉะนั้นไอ้ตัวนี้มันไม่ใช่ความจริงมันเป็นความรู้สึกเท่านั้นความจริงก็คืออุณภูมิ อันนี้ฝรั่งแปลง่าย ๆ ว่า Heat ถ้าเราวัดเรียก Temperature ฉะนั้นตกลงว่าในน้ำหยดเดียวมีธาตุ 4 ฉะนั้นธาตุ 4 ในความหมายแท้จริงในธรรมะไม่ได้หมายถึงธาตุที่ชาวบ้านเข้าใจ ที่นี่ฝรั่งเขาไปดูใน Atom นี่ เอ้อมีอะไร มี Electon Proton Newton เป็น Nucleus ภายในนี้ทั้งหมดนี่เป็นอนุภาพ เป็น Particle พวกนี้จัดเป็น ปฐวีธาตุ ใน Atom นี้มันดำรงอยู่นี่มันเป็นอยู่นี่ มันมีตัวสารอนุภาคนี้ แล้วมันก็มีอะไร มันมีความดึงดูดถูกไหม ไอ้เจ้าตัว Proton Electon นี่ มันจะดูดกันอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่งั้นมันคงเป็น Atom ไม่ได้ แล้วมันมีอะไร Vibration การหมุนโอ้ยเจ้าตัว Electon นี้หมุนรอบ Necleus ใช่ไหม ที่มี Newton Proton ไอ้เจ้า Electon หมุนตลอดเวลา นี่คือ Vibration แล้วก็ในเมื่อมันหมุนกันอยู่อย่างนี้มันก็มี Heat ตลอดเวลา นี่ถ้ายิ่งหมุนเร็วกว่านี้ก็จะ Heat Temperature ยิ่งสูงเร็วขึ้นเพราะฉะนั้นในสารที่มันลุกไหม้นี่ Electron จะหมุนเร็วมาก ตกลงว่าใน Atom สารขนาดเล็กพอสมควรนี่ แยกตัวออกไปแล้วนี่ก็จะมีธาตุ 4 อยู่ ถ้าไม่มีธาตุ 4 ครบก็เป็น Atomไม่ได้ กลายเป็นว่าธาตุ 4 ในบาลีลึกซึ้งกว่าไอ้ธาตุ Element ของวิทยาศาสตร์ เพราะ Element ต่าง ๆ เหล่านั้นประกอบด้วย Atom ใช่ไหม อันนี้ก็คือธาตุ 4 นี้เป็นภาวะที่อยู่ใน Atom อีกที
อันนี้ก็เป็นเรื่องของการพยายามศึกษาความหมายของธาตุ 4 ก็เราก็ไม่จำเป็นจะต้องไปเอาใจใส่อะไรมากนัก เพราะสาระมันอยู่ที่ว่าให้เข้าใจว่าชีวิตด้านหนึ่งนี่คือรูปธรรม ได้แก่ร่างกายของเรา อวัยวะต่าง ๆ ถึงแยกย่อยออกไปเป็นธาตุ 4 อย่างน้อยก็เอาง่าย ๆ ของแข็ง ของเหลว แก๊ส อุณหภูมิ นี่ ที่นี้ร่างกายนี้ที่เป็นรูปประธรรมไม่ใช่เฉพาะตัวเนื้ออวัยวะส่วนประกอบของร่างกาย แต่หมายถึงอาการพฤติกรรมของมัน ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของมันด้วย เช่นว่าการดีดนิ้ว การเดินการอะไรต่าง ๆ เหล่านี้การขยับปากอะไรต่าง ๆ นี่เรียกว่ารูปทั้งนั้นไม่ใช่เฉพาะตัวเนื้อวัตถุ แต่หมายถึงการเคลื่อนไหวด้วยเรียกว่ารูปหมด ลักษณะอาการความเป็นไปของร่างกายหรือส่วนประกอบร่างกายทั้งหมด นี่เป็นเรื่องของด้านรูปธรรม รูปขันธ์ หน้าตา หู จมูก ลิ้น กายของเราเป็นรูปขันธ์หมด ทีนี้ไอ้ส่วนที่จะมาทำหน้าที่ในการดำเนินชีวิตนี้ ท่านเอาใจใส่มาก รูปธรรมส่วนตานี่มันใช้ในดำเนินชีวิต จมูกลิ้นมือเท้าพวกนี้ใช้ในการดำเนินชีวิต ช่วงนี้จะให้ความสำคัญ เพราะมันเกี่ยวกับการออกผลไปสู่ความดำเนินชีวิตที่ดีงามหรือว่าสุขทุกข์นั้นจะเอาใจใส่เรื่องนี้มาก เอาละทีนี้ได้ 1 รูปแล้วนะ ก็เรียกว่ารูปขันธ์ต่อไป 2, 3, 4, 5 เป็นนามธรรมหมด ที่นี้ด้านนามธรรมนี้มีละเอียดอ่อน ท่านจึงแยกละเอียดขึ้น ที่จริงถ้าไม่แยกก็เป็นนามธรรมหมด ก็แยกเพื่อจะให้มองเห็นการทำหน้าที่ การทำงานชีวิตของเรา ก็แยกนามธรรมออกเป็น 4 ขันธ์ หรือ 4 หมวด 4 กองด้วยกัน นับตั้งแต่รูปมาเมื่อกี้มาเป็นหนึ่ง
ก็มาถึงอันที่ 2 ก็เป็น เวทนาขันธ์ เวทนาขันธ์นี่เป็นอันดับ 1 ในฝ่ายนามธรรม เป็นอันที่ 2 ในขันธ์ 5 เวทนาขันธ์ก็คือโหมดคือกองแห่งเวทนา เวทนาก็คือความรู้สึก ความรู้สึกถ้าแปลแบบพระ เสวยอารมณ์ เสวยอารมณ์หมายถึงความรู้สึก ความรู้สึกอะไร ความรู้สุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์เฉยๆ อันนี้เป็นเวทนา ไม่ใช่รู้สึกอย่างอื่น เอาละน่ะ เป็นอันว่ารู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ หรือเฉย ๆ นี่คือเวทนา เอ้าเป็นเท่านี้ ทำไมจัดเป็นตั้งกอง 1 มีตั้งขันธ์หนึ่ง มีนิดเดียว รู้สึกสุขทุกข์เฉย ๆ ทำไมจัดมาให้ใหญ่โตไปตั้งขันธ์หนึ่ง นี่แหละสำคัญน่ะ เรื่องสุขเรื่องทุกข์นี่แหละ มันมีบทบาทสำคัญเหลือเกินในชีวิตมนุษย์มันเรื่องใหญ่เลย มนุษย์ที่ดำเนินชีวิตกันอยู่นี่ เรามองในแง่หนึ่งคือการแสวงหาสุขทั้งนั้น ที่เราเคลื่อนไหว แม้แต่ไปประกอบอาชีพทำมาหากินอะไรต่าง ๆ ดิ้นรนขวนขวายตลอดจนกระทั่ง มาเกิดการสัมพันธ์กันในทางดีก็ตามไม่ดีก็ตาม ในการแย่งชิงทำร้ายกันใช่ไหม เอ้อ ทั้งหมดนี่มันเป็นเรื่องของการหาสุขและหนีทุกข์ งั้นเรื่องสุข เรื่องทุกข์เป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์เลย ต้องจัดให้ความสำคัญเป็นพิเศษมันมีบทบาทอย่างยิ่งเลยในการกำหนดวิถีชีวิตพฤติกรรมความเป็นไปทั้งในชีวิตบุคคลและในสังคมทั้งหมด อย่างแค่ฝรั่งอารยธรรมปัจจุบันมีความเชื่อว่า สุขก็คือการได้มีวัตถุเสพบริโภคพรั่งพร้อมนี่ แค่นี้ก็พัฒนาอุตสาหกรรมเสต็ปโลก ใช่ไหม ทำให้มีการทำลายธรรมชาติกันขนานใหญ่ มีการบริโภคนิยม สังคมเป็นสภาพที่ครอบงำสังคมไปเลย เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก เอาล่ะ ก็เป็นอันว่านี้เรื่องสุขเรื่องทุกข์นี่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับชีวิตและสังคม มนุษย์นี่ทำอะไรทุกอย่างดำเนินชีวิตหรือแม้ประกอบกิจกรรมในสังคมหรือแม้แต่ว่าวิถีของสังคมค่านิยมอะไรต่าง ๆ นี่ มีเรื่องทุกเรื่องสุขนี่เป็นเป้าหมายสำคัญเป็นตัวอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง ฉะนั้นก็มนุษย์ก็มุ่งหาความสุขและหนีความทุกข์ก็ทำให้ชีวิตทั้งโลกเป็นไปต่าง ๆ แล้วก็มันเป็นตัวอิทธิพลต่อขันธ์อื่นที่จะพูดต่อไปด้วย ถ้าเรื่องใดทำให้เกิดสุขเราก็เอาใจใส่มาก ไอ้ตัวขันธ์อื่น ๆ มันก็จะมาทำงานหนัก เพื่อจะมาสนองตามอิทธิพลของความรู้สึกเวทนานี้ใช่ไหม ฉะนั้นก็ให้มองเห็นความสำคัญของเวทนา หมวดนี้ก็แค่รู้สึกสุขทุกข์เฉย ๆ เท่านั้น แต่เป็นหมวดใหญ่เป็นประเภทหนึ่งของด้านหนึ่งของชีวิตของเราที่เราจะต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง เอาล่ะครับ
วันนี้ก็เรื่องเวทนาอยู่ในขันธ์ 5 เป็นขันธ์ที่ 2 ก็ขอยุติเพียงเท่านี้ก่อน