แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เรื่องอริยสัจก็พูดไปโดยย่อ ถือว่าจบไปขั้นหนึ่ง แต่ก็มีแง่มุมที่น่าจะพูดอีก ก็เอามาทวนอีก อาจจะรู้สึกว่า ซ้ำ ๆ บ้าง ก็ถือว่าช่วยย้ำให้แม่น หรือให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ที่นี้พูดไปแล้วก็คือโยงมาจากพระรัตนตรัย ที่เราถือเอามาเป็นสรณะว่าพระพุทธเจ้าทรงค้นพบธรรมะ แล้วก็ทรง ชี้ธรรมชี้ทางให้เรา เราทั้งหลายอาศัยธรรมนั้น คือนำธรรมะนั้นมาใช้ประโยชน์ปฏิบัติตาม ก็จะเป็นเหมือนอย่างพระพุทธเจ้า คือเราทั้งหลาย หรือคนทั้งหลายที่ปฏิบัติตามนี้ก็จะเป็นอย่างเดียวกับที่พระพุทธเจ้าเป็น จนกระทั้งเป็นพุทธะ ถือว่าเป็นพุทธะที่ตรัสรู้ตาม ไม่ใช่เป็นสัมมาสัมพุทธะที่เป็นผู้ค้นพบ ที่นี้เมื่อเป็นอย่างพระพุทธเจ้า แม้ยังไม่ถึงที่สุดอยู่ในระหว่างการพัฒนาขึ้นไป ก็เป็นอริยชน หรือเรียกว่าเป็นอริยบุคคล เป็นคนที่ประเสริฐ หรือยังไม่เป็นอริยบุคคล ก็ยังเป็นปุถุชนที่ดีงามเป็นกัลยาณปุถุชน ผู้ที่พัฒนาตนเป็นอย่างพระพุทธเจ้าในแนวทางของพระพุทธเจ้านี้เป็นคนที่มีคุณสมบัติดีงามมากมายหลายประการก็จะมาประกอบกันเข้ารวมกันเข้าเป็นสังคมที่ดีงามร่วมกันสร้างสรรค์สังฆะขึ้นมาได้ อันนี้ก็คือ หลักพระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ นี่ก็ได้พูดไปแล้วว่า ในการที่จะให้เกิดผลสำเร็จอย่างนี้จนกระทั่งสร้างสังฆะขึ้นมาได้นี่ เราก็ต้องเอาธรรมะมาใช้ประโยชน์ ตั้งต้นได้รู้ได้เข้าใจในธรรมะเพื่อปฏิบัติให้ได้ผล ทีนี้ธรรมะที่จะให้ปฏิบัติได้ผล ธรรมะนั้นก็อยู่ที่สิ่งทั้งหลายนั่นเอง ก็คือความจริงของสิ่งทั้งหลาย คือความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งเราจะต้องรู้เข้าใจ ที่นี้ สิ่งทั้งหลายที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องรวมทั้งตัวเราเองชีวิตของเราทั้งหมดนี่ ภาวะของมันที่เราเรียกว่าธรรมะ ความเป็นไปสภาวะต่าง ๆ นี่ ปรากฏว่า มันมีความเกิดดับ เป็นต้น ไม่คงอยู่ในภาวะเดิมเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยของมันดำรงอยู่ในตามสภาพของมัน ไม่เป็นไปตามปรารถนาบังคับบัญชาไม่ได้ ในเมื่อเราเข้าไปเกี่ยวข้องนี่ แน่นอนว่า มันไม่อาจจะให้ความพึงพอใจโดยสมบูรณ์แก่เราได้ เพราะภาวะของมันเป็นอย่างนั้น มันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน มันไม่ได้เป็นไปตามปรารถนาของเรา อันนี้เป็นจุดสำคัญ คือเราพูดได้เลยว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่สามารถจะให้ความพึงพอใจแก่เราอย่างแท้จริงหรือโดยสมบูรณ์ได้ เพราะมันมีภาวะของมันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างที่ว่ามา โดยเฉพาะเมื่อเราเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมันด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจ เอาแต่ความอยาก ความปรารถนา ความยึด ความถือสำคัญมั่นหมาย คือตัณหาอุปทานที่ตั้งอยู่บนฐานของอวิชชาเอาไปเกี่ยวข้องกับมันสัมพันธ์กับมันไม่ถูกต้อง ที่นี้ เมื่อมนุษย์เข้าไปสัมพันธ์ไม่ถูกต้องเอาแต่อวิชชา และเอาความอยาก ความหมายมั่นเข้าไปนี่ ก็พวกหนึ่งก็หาทางออกเมื่อเกิดความทุกข์ ความติดขัดบีบคั้นขึ้นมา ก็ได้สิ่งกล่อมต่าง ๆ โดยการที่จะให้สนองความพึงพอใจนั้น โดยหลบหลีกจากปัญหา ก็ได้สิ่งกล่อมประเภทต่าง ๆ มากหมาย แม้แต่เรื่องอย่างเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์อำนาจดลบันดาลที่จะมาช่วยให้ความหวัง ถึงแม้มันจะไม่สบายในปัจจุบัน ก็ยังมีหวัง ในอนาคตก็ได้ความสุขไปทุกอย่าง ไม่ว่าจะออกไปทางวัตถุ สิ่งเสพติด สุรายาเมา ซึ่งมีมาทุกยุคทุกสมัยนั้นกำลังจะเกลื่อนกลาดมากขึ้นในยุคนี้ ก็เป็นทางออกของมนุษย์ที่มีความทุกข์เยอะ ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ไม่สามารถจะปฏิบัติต่อชีวิตของตนและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้ด้วยปัญญาหรืออย่างมีประสิทธิภาพ หรืออย่างได้ผลดี ทีนี้การกล่อมนี้ไม่ช่วยให้แก้ปัญหาได้ นั่นก็เป็นเพียงว่าหลบปัญหาไปได้ชั่วครั้งชั่วคราว แล้วก็หมักหม่มปัญหาให้มากขึ้น ทำให้ทุกข์รุนแรงยิ่งขึ้นเหมือนคนเสพยาเสพติด ตอนแรกไปอาศัยมันได้ความสุข แต่ต่อไปได้ทุกข์ที่ตามมานั้นจะหนักขึ้นทุกที จนกระทั่งแก้ไม่ได้เลยก็จะสูญเสียไปทั้งชีวิต สูญเสียชีวิตของตนเองยังไม่พอ สูญเสียแก่สังคมด้วย อีกด้านหนึ่งก็คือ คนเมื่อถูกทุกข์บีบคั้นมีปัญหาขึ้นมานี้ก็ดิ้นรน เมื่อดิ้นรนโดยไม่ได้ใช้ปัญญาเท่าที่ควรก็จะทำสะเปะสะปะ เขาก็พยายามแก้ปัญหาแก้ทุกข์นั้นกลายก็เป็นสร้างสรรค์อะไรต่าง ๆ แปลก ๆ ขึ้นมา ซึ่งเราเรียกว่าเป็นความเจริญ บางทีก็มีความภูมิใจในความเจริญที่สร้างสรรค์ จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นร้อยปี เป็นพันปี สองพันปี จึงรู้ว่าไอ้ที่สร้างมาความเจริญนั้นไม่ได้เป็นความเจริญแท้จริง และไม่ได้เกิดผลดีแก่ชีวิตเป็นผลร้ายเสียมาก นี่ก็เป็นปัญหาของมนุษย์อยู่ แต่อย่างไรก็ตามในกระบวนของการที่เผชิญปัญหามีความทุกข์บีบคั้น มนุษย์ดิ้นรนหาทางออกนี้ ในฝ่ายกล่อมก็ดีที่ว่า ได้ความสุขสบายใจไปชั่วคราวก็พอไม่เป็นโรคจิตโรคประสาท แต่ว่าถ้าแรงไปกลายเป็นเติมโรคจิตโรคประสาทเข้าไป ซึ่งเป็นทางไม่ปลอดภัย ได้ที่พึ่งมาให้ความหวังที่ยึดเหนี่ยวก็ไม่ปลอดภัย ทีนี้ หรือว่าดิ้นรนเพราะความจำเป็นบังคับทุกข์บีบคั้น ภัยคุกคาม ก็เลยดิ้นรนขวนขวายทำโน่นทำนี่ไป ซึ่งเกิดความผิดพลาดก็มาก แต่ว่าถ้าหากไม่หลงติดเพลิดเพลิน มีทิฐิที่ผิดเกินไป นี่ความผิดพลาดมันจะเกิดจากการระหว่างดิ้นรน เกิดทิฐิอีกด้วย ทิฐิความเห็นความเข้าใจต่อโลกและชีวิตผิด ว่าชีวิตของเราที่ดีคืออย่างนี้ คือชีวิตที่เสพบริโภคเต็มที่ เกิดความเข้าใจ ในการความดิ้นรนก็จะพาออกนอกลู่นอกทาง เขว ทำให้แก้ไขยาก ที่นี้ ในระหว่างที่ดิ้นรนเพราะทุกข์บีบคั้น ภัยคุกคามนั้น ก็เป็นโอกาสของมนุษย์ได้เรียนรู้ เพราะความทุกข์มันเป็นความจำเป็นมาบีบคั้น การที่ตัวจะดิ้นรนหาทางออกนั้นก็ได้เรียนรู้ได้ฝึกตนไป ในการเรียนรู้นี่แหละ ถ้ามีโยอนิสง โยอธิกา คือรู้จักคิดรู้จักพิจารณา บางคนก็เลยได้ทางออกจะเห็นว่าบางคนก็สามารถเอาทุกข์มาใช้ประโยชน์ เรียนรู้ปัญหา เรียนรู้จากการดิ้นรนของชีวิตแก้ไขปัญหา ทำให้ได้พบว่าชีวิตที่ดีงามคืออย่างไร ทำให้หาทางออกได้ เพราะฉะนั้นทุกข์ก็เลยกลายเป็นประโยชน์ บางท่านก็สำเร็จเป็นปัจเจกกับพระพุทธเจ้า ในยุคที่ไม่มีพระพุทธเจ้า อย่างของเราเรียกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท่านก็สามารถที่จะเกิดปัญญามองเห็นความจริง ชีวิตที่ดีงามเป็นอย่างไร เกิดปัญญาแสงสว่างขึ้นมาก็ทำให้ชีวิตจิตใจเป็นอิสระทำชีวิตให้ดีงามได้ เราเรียกว่าเป็นพระปัจเจกกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าของเราก็เรียนรู้จากทุกข์เหมือนกัน ที่นี้ว่าคนเราจะเรียนทุกข์รู้จากทุกข์ได้เป็นไหม ปัญหาปัจจุบันก็คือว่าอารยธรรมที่ผ่านมาที่แสนจะรุ่งเรืองงอกงามนี้ มันกลายเป็นอารยธรรม ที่ว่าได้มีทิฐิที่ผิดพลาด เช่นความสัมพันธ์กับธรรมชาติ เป็นต้น
พระพุทธเจ้านี่ก็คือท่านผู้ตรัสรู้ ได้รู้ถึงสัจธรรม หรือความจริงของสิ่งทั้งหลายนี่แหละ แล้วก็ได้รับประโยชน์จากธรรมะคือความจริงนั้น ท่านทำชีวิตของตนเองให้ดีงามประเสริฐเลิศจนถึงที่สุด เราเรียกว่าได้เป็นพระพุทธเจ้า ที่นี้ พระพุทธเจ้านี่ก็จะมีความแตกต่างกันไปก็เพียงในแง่ว่า บางท่านนี่ไม่มีใครได้รู้ความจริงนี้มาก่อน ท่านเพียรพยายามค้นคว้าหาความจริงนี้ด้วยตัวเอง เราเรียกว่าบำเพ็ญบารมี จนกระทั่งได้ตรัสรู้ ค้นพบความจริงนี้ด้วยพระองค์เอง เมื่อค้นพบด้วยพระองค์เองโดยไม่มีครูอาจารย์ที่ตรัสรู้ก่อนมาบอกให้ ท่านก็เป็นผู้ค้นพบคนแรก ค้นพบแล้วก็เป็นผู้ปฏิบัติ จนกระทั่งสำเร็จเป็นคนแรก เพราะฉะนั้นท่านก็ได้เป็นทั้งผู้ค้นพบทาง ท่านเป็นค้นพบธรรมและค้นพบทาง แล้วท่านก็ใช้ความสามารถในการสอน ในการจัดตั้งวางระบบนี่เอาธรรมะที่ค้นพบและหนทางคือวิธีปฏิบัติเข้าถึงความจริงนี่มาแนะนำสั่งสอนคนอื่น ท่านผู้ความสามารถอย่างนี้เป็นค้นพบเอง ทั้งสามารถเอาไปสั่งสอนแนะนำคนอื่นจัดตั้งวางระบบให้คนอื่นได้ประโยชน์ได้รู้อย่างพระองค์ด้วยอย่างนี้ ทำได้ทั้ง 2 ด้าน หรือ 2 หน้าที่ อย่างนี้ความจริงก็ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน คือเป็นความดีงาม ความมีคุณธรรม ความกรุณาของท่านเองนี่เอง ก็ท่านก็มาบำเพ็ญประโยชน์แก่มนุษย์ อย่างนี้เรียกว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่นี้ท่านที่ได้แค่ว่า ยังไม่มีใครค้นพบ ไม่มีใครมาสอนท่าน ท่านก็เพียรพยายามลองผิดลองถูกของท่าน พยายามค้นพบธรรมจนค้นพบได้ ปฏิบัติได้สำเร็จ แต่ว่าท่านไม่ถนัดที่จะไปสั่งสอนแนะนำใคร ก็เลยรู้ได้เฉพาะตัวเอง ได้รับประโยชน์จากธรรมะเฉพาะตัวเอง จะสอนแนะนำคนอื่นก็ได้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สามารถจะให้ถึงขั้นที่เขาจะมาตรัสรู้เข้าถึงธรรมะอย่างท่านได้ นี่ก็เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกันแต่เรียกว่าปัจเจกกับพระพุทธเจ้า คือเป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เฉพาะตัว ซึ่งอาจจะเกิดมีในยุคต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทีนี้ในส่วนท่านอื่น ซึ่งมาฟังพระพุทธเจ้า คือสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเรียนรู้ มาเล่าเรียนศึกษาตาม มาปฏิบัติตามโดยตัวเองไม่ได้ค้นพบเอง อาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบไว้ให้แล้วเอามาสอนก็เลยได้พลอยรู้เข้าใจตามได้รู้ถึงตัวธรรมะนั้น และได้ประโยชน์จากธรรมะนั้นจนถึงที่สุดเช่นเดียวกัน ก็เป็นพุทธะแต่ว่าเป็นพุทธประเภทตรัสรู้ตาม เราเรียกว่าเป็นอนุพุทธะ เอาน่ะ 3 อย่าง เช่น พระสารีบุตร โมคคัลลานะ อัญญาโกณฑัญญะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ วัปปะ กุมารกัสสปะ พระพุทะนตามีบุตร เยอะแยะไปหมดนี่แหละอย่างนี้เรียกว่าเป็นอนุพุทธะ เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน แต่เป็นอนุพุทธะ อรหันต์มีพระพุทธเจ้า สัมมาสัมพุทธก็เป็นอรหันต์ แต่เรียกว่าอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า อรหันต์เป็นคำกลาง เป็นคำหมายถึงท่านผู้ที่ได้รู้ธรรมะและได้ประโยชน์จากธรรมะโดยสมบูรณ์ไม่ว่าเป็นใครก็ตาม พระพุทธเจ้าก็เป็นพระอรหันต์ แต่ก็มีคำเติมต่อท้ายด้วยเพื่อให้รู้ว่า อ้อเป็นองค์ที่ค้นพบ เรียกว่า อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพระพุทธเจ้าก็เป็นพระอรหันต์ ก็ต้องเรียกอรหันต์ปัจเจกกับพระพุทธเจ้า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ก็เป็นพระอรหันต์ แต่ก็เป็นผู้มาตรัสรู้ตาม เป็นผู้ฟัง เล่าเรียนตาม เรียกว่าอรหันต์สาวก ก็ต้องเติมท้ายเป็นอรหันต์สาวก เพราะฉะนั้นคำว่า อรหันต์นี่กว้าง ๆ มาก
ย้อนกลับมาที่เก่า เป็นอันว่าเมื่อคนเรานี่รู้จักเรียนรู้จักทุกข์ มีอนิสงส์อธิกาก็ได้ประโยชน์จากทุกข์นั้น แต่ว่าถ้าหากว่ามันไปติดทิฐิที่ผิดหรืออาจจะหลงทางไปนาน อาจจะเป็นพัน ๆ ปีก็ได้ ช่วงระหว่างนี้ก็อาจมีคนที่ไม่ได้อยู่ในอิทธิพลครอบงำของค่านิยม ความเชื่อทิฐิเหล่านั้นทั้งหมด บางคนก็สามารถแหวกตัวออกไปได้ ได้ค้นพบความจริง ความดีงาม อันนี้ แต่ก็มันได้ประโยชน์แก่คนจำนวนน้อย ซึ่งต้องค้นพบ ค้นคว้าเอง ดิ้นรนเอง ที่ถ้าหากสามารถสร้างกระแสอารยธรรมที่ดีมีทิฐิที่ถูกต้อง คนส่วนใหญ่ก็จะได้ประโยชน์ไปด้วย นี่เราจึงต้องการสร้างสังฆะนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นสังคมส่วนใหญ่ ให้มีมนุษย์ที่ปฏิบัติต่อโลกและชีวิตคือสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้องตามธรรมะ ตามความเป็นจริงของมัน อันนี้ผู้ที่ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายถูกต้อง เราเรียกว่าปฏิบัติต่อทุกข์อย่างถูกต้องก็จะพัฒนาตนเอง พัฒนาตนเองขึ้นมา แทนที่จะรอให้ทุกข์บีบคั้น ภัยคุกคาม แล้วจึงเรียนรู้กระพร่องกระแพร่ง สะเปะสะปะ ก็รู้จักคิดรู้จักพิจรณาอย่างเป็นระบบ มีแนวมีทางโดยมาโยงสัมพันธ์กับความเป็นไปของชีวิตกับสิ่งทั้งหลาย รู้จักเข้าใจปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง ก็เลยรู้จักเป็นการเรียนรู้หรือศึกษาหรือฝึกฝนตนเองจากสภาพแวดล้อม และที่มีปัญหามีทุกข์นี่แหละ ก็เรียกว่าใช้ทุกข์ ใช้สภาพแวดล้อมนั้นเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยในการพัฒนาชีวิตของตนเองกลายเป็นว่าทำให้ชีวิตตนเองดีได้ เป็นอันว่าเวลามนุษย์ที่ดีนั้นไม่ต้องรอทุกข์บีบคั้นและภัยคุกคามแล้วจึงมาเรียนรู้ ฝึกฝนตนเองอย่างสะเปะสะปะ แต่ว่ารู้จักเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมเอาทุกข์เป็นต้นนั้นมาเป็นปัจจัยในการพัฒนาตนเอง แล้วเขาจะมีชีวิตที่ดีงามได้ อันนี้ก็คือ ชาวพุทธที่ถูกต้อง ก็จะใช้วิธีการนี้ ไม่งั้นก็ต้องเข้าสู่กระแสโมหะอย่างที่ว่า 1. ทุกข์บีบคั้น ภัยคุกคาม ดิ้นรนขวนขวาย เรียนรู้ไปกระพร่องกระแพร่งบ้างถูกบ้างผิดบ้าง อีกอย่างก็ไม่งั่นหลบหนีทุกข์ หันไปหาสิ่งกล่อม ซึ่งไม่ใช่ทางที่จะปลอดภัยอย่างแท้จริง ที่คนส่วนมากก็จะไปเพลิดเพลินกับสิ่งกล่อม เพราะฉนั้นบางทีก็ดิ้นรนเรียนรู้จากทุกข์มาก มันหาทางออกไม่ได้ ผลที่สุดก็มาจมกับสิ่งกล่อมเหมือนอารยธรรมปัจจุบันนี้ แทบจะมาจนจมกับสิ่งบริโภคและสิ่งเสพติด ถ้าไม่สามารถแก้ไขปัญหากันได้ เอาหละที่นี้ เมื่อรู้จักพัฒนาชีวิตของตนเองก็จะมีชีวิตที่ดีงามตัวเองก็เป็นชีวิตดี มีคุณสมบัติดีงาม มีพฤติกรรมดีงาม มีจิตใจดีงาม มีคุณสมบัติ มีจิตใจที่มีสมรรถภาพ มีความสุข และมีปัญญารู้ความจริงต่าง ๆ ก็เข้ามาเป็นส่วนร่วมในสังคมที่ดีงาม แต่ว่าไม่ใช่แค่นั้น นอกจากทำชีวิตตนเองให้ดีงาม พัฒนาตัวเองจากการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมจากทุกข์แล้วนี่ เราต้องไม่ลืมว่า มนุษย์นั้นบอกแล้วว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ชีวิตของเขาก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งเป็นไปตามธรรม เป็นไปตามกฎธรรมชาติ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็สิ่งทั้งหลาย แต่อย่าลืมว่ามนุษย์เรานี่ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ชีวิตของเราทั้งชีวิตนี่ก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติด้วย ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย โดยที่มันมาสัมพันธ์กัน ในเมื่อตัวเราชีวิตเราก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มันก็เข้าไปร่วมในกระบวนการของเหตุปัจจัยด้วย นั้นชีวิตของเรานี้ก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในกระบวนการของธรรมชาติได้ทั้งหมด อันนี้เราต้องไม่มองข้ามอันนี้ ในเมื่อเราต้องการให้โลก ชีวิต สภาพแวดล้อมนี่มันดีงาม เราก็เอาตัวของเราเข้าไปเป็นปัจจัยได้เลย ที่นี้ มนุษย์นี่นอกจากเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งเหมือนกับปัจจัยอื่น ๆ แล้ว มันเป็นปัจจัยพิเศษ เป็นปัจจัยพิเศษเหนือปัจจัยอื่น คือ 1. มันมีเจตจำนง มีความตั้งใจ ตั้งใจว่าจะเอายังไง ๆ สามารถคิดตั้งใจไม่เหมือนปัจจัยอย่างอื่นในธรรมชาติ มันอยู่ในความสัมพันธ์กับไอ้ความสัมพันธ์เป็นเครื่องกำหนดมาเลย มนุษย์นี้สามารถเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นได้ด้วยความตั้งใจของตัวเอง แต่ว่าเจ้าเจตนา ก็เสี่ยงนะ กลายเป็นว่าเจตนาร้าย เจตนาดี เจตนาไม่ดีก็กลายเป็นทางทำลาย กลายเป็นตัวปัจจัยในทางที่จะทำลายกันได้ หรือว่าจะเป็นเจตจำนงความตั้งใจที่ดีเกื้อหนุน ก็กลายเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุน นี่ความพิเศษ อีกอย่างหนึ่งก็คือ มนุษย์นี้เป็นปัจจัยพิเศษ ที่ว่า มีปัญญา นี่มีความรู้ความเข้าใจคนอื่น ในการที่รู้นี้มันทำให้เป็นปัจจัยพิเศษที่ไปส่งผลอิทธิพลต่อปัจจัยอย่างอื่นในทางที่ตัวต้องการ ตัวมีเจตจำนงแล้วแถมมีปัญญา ไอ้เจ้า 2 อันนี้ สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งมันมี 1. เจตนา 2. มันมีปัญญา ที่นี้ก็เอาเจตนามาตั้งตามปัญญา มีปัญญารู้เข้าใจ เหตุปัจจัยอื่นก็เข้าไปร่วมในขบวนการของเหตุปัจจัยนี้สามารถมาไปเป็นตัวสั่งอิทธิพลกับปัจจัยอื่น ที่จุดนั้นจุดนี้เพื่อจะให้กระบวนการของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย มันเกิดผลในทางที่ตนต้องการ นี่ด้วยความรู้อันนี้ มนุษย์นี่เลยเป็นปัจจัยพิเศษไม่เหมือนปัจจัยอื่น ที่ว่าต้องถูกกำหนดโดยสถานะความสัมพันธ์ของมันกับสิ่งอื่น มันได้เท่านั้น มันอยู่ในสถานะความสัมพันธ์ ตำแหน่งความสัมพันธ์ อะไรเป็นปัจจัยได้อย่างนั้น แต่มนุษย์นี่มีความตั้งใจเจตจำนงด้วยแล้วแถมเจตจำนงนั้นมีดีมีร้ายแล้วก็ยังมีปัญญาอีก แล้วก็ปัญญานี้ก็พัฒนาได้ด้วย ฉะนั้นมนุษย์ก็มีพิเศษที่เราพูดอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสัตว์ที่พัฒนาได้ฝึกได้ เป็นปัจจัยตัวที่พัฒนาได้ ก็เปลี่ยนแปลงและกลับส่งผลในการเปลี่ยนแปลงนี้ไปเป็นยังสิ่งอื่น นี่แหละตอนนี้ที่มีความสำคัญ นั้นก็เมื่อมนุษย์ก็เป็นปัจจัยพิเศษอย่างนี้แล้ว มาร่วมกระบวนเพราะเหตุปัจจัย ทีนี้ถ้าหากตัวเองไม่พัฒนา นี้ตัวเองมีเจตนา มีความจงใจแต่ตัวเองไม่พัฒนาปัญญาก็เจตนานั้นก็สเปะสปะอีกแล้ว แล้วแถมเป็นเจตนาร้าย มุ่งแต่ว่าจะเอาตัวรอด กลายเป็นว่าเป็นปฏิปักษ์จะทำร้ายสิ่งอื่น กลับทำให้เกิดผลร้ายแก่ระบบความสัมพันธ์ แก่การอยู่ร่วมกัน แก่สังคมมนุษย์ แก่โลกทั้งโลกที่มีธรรมชาติแวดล้อมอยู่ด้วยเสียหายไปเลย หนักยิ่งกว่าที่ว่าพวกปัจจัยอื่นที่มันไม่เก่งด้วย ใช่ไหม กลายเป็นมนุษย์นี่ทำร้ายก็ทำร้ายได้มากที่สุด เพราะไม่พัฒนาตัวเอง และเจตนาจำนงที่มีนี่แหละที่เรียกว่ากรรม เพราะฉะนั้นมนุษย์ก็เลยทำกรรม คือการเข้าไปเป็นปัจจัยในระบบความสัมพันธ์ของโลกและชีวิต โดยเอาเจตจำนงของตัวเป็นฐาน เป็นตัวมูล เป็นตัวลาด ทำให้เกิดกรรมขึ้นมา ซึ่งส่งผลกับสิ่งต่างๆ เมื่อมนุษย์ไม่ได้พัฒนาตน กรรมที่ออกจากเจตจำนงก็เป็นไปในทางที่มืดบอด เอาแต่ตัวรอดมุ่งผลประโยชน์แก่ตัว ทำร้ายสิ่งอื่นก็ส่งผลร้ายต่อทุกอย่าง ชีวิตของตนเองก็หาได้ดีไปด้วยไม่ เพราฉะนั้นในการที่เป็นปัจจัยพิเศษอันนี้ มนุษย์จะต้อง กลับต้องระวังตัวให้มาก ก็คือทำอย่างไรให้ตัวเองไปเป็นปัจจัยที่ดีที่สุด ซึ่งชีวิตของตัวเองก็จะได้ดีด้วยส่งผลต่อสังคมต่อโลก ต่อระบบของธรรมชาติในทางที่ดี เกื้อหนุนกัน เพราะฉนั้นทำให้มีเจตนาที่ดี และเจตนาที่ดีจะสำเร็จผลต้องมีปัญญา ใช่ไหม เจตนาที่ดีสำเร็จผลต้องมีปัญญาใช่ไหม ถ้าไม่รู้จะไปตั้งเกณฑ์เจตนาดีทำไม่ถูก เพราะมีเจตนาดูดี ๆ ด้วย ต้องมีปัญญา เจตนาดี ๆ ดูด้วย พัฒนาขึ้นไป เจตนาก็อยู่ในจิต คุณสมบัติ มีคุณธรรมมีความดีงามต่างๆ และมีจิตใจสบาย มีความสุข มีความเข้มแข็ง จิตใจเจตนาที่ดี และจิตความรู้ความเข้าใจได้ปัญญาความรู้ ความรู้ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ระบบความสัมพันธ์ด้วยเหตุปัจจัยที่จะเอาเข้าไปเกี่ยวข้อง เราจะไปจัดการ เราไปช่วยมันเกื้อหนุนมัน นี่ปัญญาก็มาช่วยทำให้เจตนาที่ดีนั้นสำเร็จผล ที่นี้ในการที่จะปฏิบัติให้สำเร็จผลก็ออกมาทางพฤติกรรม พฤติกรรม กาย วาจา นี้แหละก็เลยออกมาสัมผัสกับสิ่งอื่น ก็เลยพัฒนา 3 ด้านให้มันดี พัฒนาเจตนาที่มีคุณสมบัติของจิตใจต่าง ๆ ให้พรั่งพร้อมพัฒนาจิตใจให้ดี พัฒนาปัญญาที่รู้ แล้วก็มาพัฒนาพฤติกรรมนี้ด้วย พัฒนาพฤติกรรมนี่เป็นของยาก พัฒนาอยู่เรื่อยตั้งแต่ต้นพัฒนาพฤติกรรมที่มีปัญญา รู้เข้าใจความจริงอย่างทั่วถึงพร้อมมีเจตนาด้วยประกอบเจตนาดีจิตใจดี ก็เลยให้มีพฤติกรรมได้เอื้อเป็นประโยชน์ในระบบความสัมพันธ์ ก็ส่งผลดี ฉะนั้นมนุษย์ก็เลยเป็นปัจจัยที่เป็นประโยชน์ เป็นปัจจัยที่มาช่วยโลกนี้ดีขึ้น แต่ก่อนนี้โลกธรรมชาติแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์รวมทั้งความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ถ้ามันปล่อยไปตามความสัมพันธ์ของมันเองที่เป็นอยู่นี่ มีการเบียดเบียนกันมาก ทีนี้มนุษย์เป็นปัจจัยพิเศษอย่างที่ว่าพัฒนาได้ มาพัฒนาให้ดีขึ้นทั้ง 3 ด้าน โดยเฉพาะปัญญาให้มีเจตนาดี ก็พฤติกรรมเก่งมาทำให้ช่วยให้ระบบความสัมพันธ์ เช่น สังคมมนุษย์เองดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น เบียดเบียนกันน้อยลง อันนี้ก็คือ เรื่องของอริยสัจทั้งหมด ทีนี้ต่างกับแนวคิดของตะวันตก ซึ่งเรามองจากแนวคิดนี้ เราก็เห็นว่าพวกเขานี้ ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามก็ดิ้นรนสะเปะสะปะ เรียนรู้จากการดิ้นรน จากการต่อสู้ จากการแก้ปัญหา จากการหาทางพ้นทุกข์นั้นก็ได้เก่งขึ้นมา แต่ว่ามันมีทิฐิผิด ในที่สุดก็ไปมีทิฐิที่ว่า มนุษย์จะดีงาม ประเสริฐมีความสุขสมบูรณ์เมื่อไปพิชิตธรรมชาติอื่นได้ ดังนั้น ก็เลยจะกำจัดมัน เอามาเป็นทาสรับใช้ไป ๆ มา ๆ กลายเป็นทำลายธรรมชาติแวดล้อม เกิดภัยพิบัติ เราก็เลยเรียกธรรมชาติแวดล้อมเสื่อมโทรม ก็เลยกลายเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เพราะฉะนั้นก็ต้องแก้ไขปัญหากันใหม่ ทีนี้จะหาทางออกอย่างไร เราก็บอกต้องเอาระบบความคิดนี้ไปใช้ เอาพระพุทธศาสนานี่แหละ อริยสัจนี่แหละ ตั้งแต่พระรัตนตรัย ถ้าปฏิบัติตามนี้แล้วแก้ปัญหาได้ ถ้าไม่ยอมก็แก้ไม่สำเร็จ ก็บอกว่าอย่างงั้น นี่ก็เป็นอันว่าเรื่องอริยสัจก็มาโยงกับเรื่องของปัญหาปัจจุบัน มนุษย์ก็ใช้หลักการนี้มาแก้ปัญหาได้หมด นี่ก็เป็นคุณค่าอย่างหนึ่งของธรรมะที่ออกมาในรูปของการใช้ประโยชน์ โดยมนุษย์เพื่อมนุษย์ และเป็นการแก้ปัญหาของมนุษย์ เราใช้ศัพท์เรียนแบบประชาธิปไตยบอกว่า อริยสัจนี่เป็นวิชาแก้ปัญหาของมนุษย์โดยมนุษย์เพื่อมนุษย์ แต่ว่า เพื่อมนุษย์จะน้อยไหมเนี่ย ต้องเพื่อโลกทั้งหมด ใช่ไหม ตอนนี้เรากว้างกว่า เป็นของมนุษย์โดยมนุษย์แต่เพื่อทั้งโลก ประชาธิปไตยยังแคบ เพราะว่าของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน ถูกไหม แคบ มันต้องประชาธิปไตย ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ประชาธิปไตยเพื่อประชาชน ประชาชนในที่นี้หมายถึงแค่มนุษย์ ผิดนี่ ประชาธิปไตยต้องปรับตามนี้ด้วยนะ ถ้าประชาธิปไตยนี้ไม่ใช่เพื่อโลกทั้งหมดนี่ แก้ปัญหาไม่ได้เพราะเอาแต่คน การพัฒนาไม่ยั่งยืนไม่สอดคล้อง ไอ้เรื่องของความรู้ความเข้าใจปัจจุบันที่ว่า ปัจจุบันนี้จะต้องแก้ปัญหาทั้งโลก ทั้งระบบธรรมชาติแวดล้อมด้วย ประชาธิปไตยยังอยู่แต่คนเท่านั้นเอง จุดหมายมันไปตัน ถ้าเอาแค่เพื่อคน ก็ลืมนึกถึงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมไปทำลายเบียดเบียนประเทศอีก งั้น ต้องเอาตามพุทธศาสนา ของมนุษย์โดยมนุษย์แต่เพื่อทั้งโลก เพื่อระบบธรรมชาติแวดล้อมทั้งหมดที่มีมนุษย์อยู่ด้วย ประชาธิปไตยก็จะต้องปรับตามนี้ด้วย เอาแหละ พูดไว้เรื่องนี้เดี๋ยวไปกันใหญ่
ขอย้อนกลับมาที่หลักอริยสัจอีกครั้งหนึ่ง ทีนี้ เรามองอริยสัจมองได้หลายแง่ วิธีมองแง่หนึ่ง ก็คือ มองเหมือนกับว่าทุกข์นี้เป็นโรค ทุกข์เป็นปัญหาของชีวิต ใช่ไหม ก็มองเหมือนโรคภัยไข้เจ็บ ทีนี้ โรคภัยไข้เจ็บนี่ก็เป็นปัญหาสำหรับชีวิต แต่เป็นเรื่องที่หมอนี่แหละเข้ามาจัดการ หมอนี่ก็จะมาช่วยคนไข้ช่วยชีวิตของคนให้หายจากโรค เพราะฉะนั้นโลกเป็นเรื่องที่หมอเอาใจใส่เป็นพิเศษ แต่ว่าหมอนั้นต้องการจะมาทำให้ชีวิตนี่หายโรค ก็คือ ให้มีสุขภาพดีนั่นเอง จะให้มีชีวิตที่ดี ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี ที่นี้เวลาเขามาแก้โรค โรคคือปัญหาของชีวิตของร่างกาย เฉพาะด้านของร่างกาย ทีนี้เขาจะมาแก้ปัญหาจะมาบำบัดโรค เดี๋ยวนี้เขาเรียกรักษาโรค ที่จริงไม่ถูก รักษาโรคก็ต้องเอาโรคไว้ รักษาคือทำให้คงอยู่ด้วยดี รักษาโรคก็เอาโรคไว้ ทีนี้มาพูดกันผิด มันต้องรักษากายให้หายโรค ก็ต้องบำบัดโรค สมัยโบราณเขาใช้บำบัดโรค อ้าวมาดูว่าหมอก็จะมาบำบัดโรคแล้ว แต่ก็คือจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี ทีนี้เป็นอันว่าการที่หมอจะมาบำบัดโรค จะให้ร่างกายคนไข้แข็งแรงมีสุขภาพดี ทีนี้จุดนี้ไปอยู่ที่โรค ทีนี้บำบัดโรค หมอที่จะมาช่วยรักษาคนให้หายโรค เวลาเขาเรียนเขาฝึก เขาเริ่มที่ไหน ถ้าหมอปัจจุบันเขาเริ่มเรียน เขาเรียนร่างกายมนุษย์ก่อน เขาไม่ได้เรียนโรค ถูกไหม เขาเริ่มเรียนไปเรียนร่างกาย เรียนกายวิภาค เอาศพคนนี่มาเรียนมาผ่า มาแยกดู ใช่ไหม เรียนกายวิภาค แบ่งแยกร่างกายออกไป (Anatomy) ให้รู้ว่าอะไรส่วนไหนตรงไหนเป็นอย่างัย ๆ ต่อมาก็รู้เรียนระบบการทำงานของร่างกาย เรียกว่า สรีรวิทยา ต้องเรียนเรื่องของร่างกายทั้งตัววัตถุส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกาย เรียนส่วนประกอบของมัน วิภาคแยกเยอะของมันและเรียนระบบการทำงานของมัน เรียกว่า สรีรวิทยา ก็คือ เรียนร่างกาย เขาจะบำบัดโรคแต่กลับมาเรียนที่ร่างกาย นี่อันนี้ขอให้คิดให้ดี เพราะอะไร เพราะโรคมันเป็นที่ไหน มันเป็นที่ร่างกาย ใช่ไหม ถ้าไม่เข้าใจร่างกายจะไปจัดการแก้ไขโรคได้อย่างไร และถ้าไปเรียนโรคจะเรียนไม่มีสิ้นสุด สรีระร่างกาย ร่างกายนี้มันเป็นที่ตั้งของโรค โรคเป็นที่ร่างกาย แล้วการวิปริตผันแปรของร่างกาย ถ้าร่างกายนี้เราปฏิบัติจัดการกับมันไม่ถูก มันเป็นทางเกิดโรคอีกมากมาย ไม่เฉพาะโลกที่รู้จักกันเท่านี้ ที่จริงต้องเรียนเรื่องร่างกายให้ร่างกายมันอยู่ในสภาพร่างกายที่ดี มันมีการทำหน้าที่มันประสานกลมกลืนกันทั้งระบบ มีดุลภาพร่างกายมันต้องอยู่ได้ดี อันนี้คือ แกนหัวใจของการบำบัดโรค ทีนี้เสร็จแล้วก็เรียนโรคภัยไข้เจ็บ หมอทุกคนจะต้องเรียนรู้ร่างกายนี้ทั้งหมด แต่จะเรียนพิเศษเฉพาะจุด แต่เรื่องโรคนี้เขาจะเรียนไม่หมด ใครจะเรียนโรคได้หมดทั้งโลก ทีนี้ก็เป็นอันว่าถ้าเราจับจุดถูกก็เหมือนกัน ที่เราบอกว่าทุกข์ ๆ นี่ ความจริงก็คือสภาวะสิ่งทั้งหลายที่ไม่คงอยู่ในภาวะหนึ่งของมันคงอยู่ของมนุษย์ได้ นี่มันปรากฏกับมนุษย์ในลักษณะที่ไม่ได้อย่างใจ มันไม่ให้ความพึงพอใจโดยสมบูรณ์แก่ผู้ที่เอาแต่อยากเข้าว่า ทีนี้ มันก็เป็นปัญหาขึ้นมา ทีนี้เราจะแก้ปัญหาไม่ให้มีทุกข์ ไม่ให้มีปัญหาคือไม่มีโรคนั่นเอง ก็เหมือนแพทย์จะทำให้คนไม่มีโรค ไม่ต้องไปเรียนเรื่องโรคเท่าไหร่หลอก มาเรียนเรื่องร่างกาย เรื่องชีวิตมนุษย์ ทุกข์นั้นมันเกิดที่ไหน มันเกิดที่ชีวิตและจิตใจคน ฉะนั้นก็จะต้องเรียน เข้าใจชีวิตจิตใจ งั้นตกลงว่า อริยสัจข้อ 1. ให้เราเรียนอะไรก็เหมือนกับแพทย์จะบำบัดโรคก็มาเรียนเรื่องร่างกาย ผู้ที่จะป้องกันทุกข์ดับทุกข์ไม่ให้มีทุกข์เกิดขึ้น คำว่าดับทุกข์นี่ที่จริงเป็นคำที่ชวนให้เข้าใจผิดน่ะ ความจริงนั้นหมายถึง ทำให้ไม่มีทุกข์เกิดขึ้น เป็นภาวะไร้ทุกข์ ไม่มีทุกข์เกิดขึ้น การที่จะไม่ให้มีทุกข์เกิดขึ้น มันก็ต้องมาเรียนรู้เข้าใจ นี่แหละที่ตั้งของทุกข์อยู่ที่ไหน ตัวที่จะเป็นตัวที่จะทำให้เกิดทุกข์ ก่อทุกข์ขึ้นมาได้ก็ชีวิตจิตใจและสิ่งที่สัมพันธ์กับชีวิตจิตใจของคนก็คือ สิ่งแวดล้อมทั้งหลาย รูปธรรมนามธรรมนี่แหละ ตกลงว่าชีวิตทั้งหมดของเรา ไม่มีอะไรก็เป็นรูปธรรมนามธรรม สิ่งทั้งหลายก็เป็นรูปธรรมนามธรรม อันนี้แหละ ถ้าเรารู้เข้าใจปฏิบัติกับมันถูกต้อง ไอ้เจ้าทุกข์ก็ไม่มีเองแหละ ถูกไหมครับ ก็กันไม่ให้ทุกข์เกิดขึ้นเลย ไม่ต้องไปดับทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว กลายเป็นว่ามันทำให้ไม่มีทุกข์เกิดเลย ฉะนั้นตกลงว่า เรื่องอริยสัจนี่เรามาเรียนที่นี่เอง มาเรียนที่ชีวิตของเรา เข้าใจสิ่งทั้งหลายทั้งชีวิต ก็คือสังขาร ซึ่งสังขารนี่จะโยงจากชีวิตของเราไปหาสิ่งทั้งหลายภายนอกสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด นี่คือสิ่งที่เราต้องเรียน พอเราเรียนเสร็จแล้ว เราปฏิบัติต่อชีวิตต่อสังขาร ต่อรูปธรรมนามธรรมที่ถูกต้อง ก็เป็นอันว่า ทุกข์ไม่เกิด อย่างคนมีทุกข์เกิดเป็นปัญหาเกิดขึ้นมาแล้วจะแก้อย่างไร เหมือนหมอ เหมือนหมอนีาบอกหมอบำบัดโรค รักษาโรคไม่ถูกสักคำ เมื่อกี้บอกบำบัดโรค ไม่ถูกหรอก บำบัดโรคก็ไม่ถูก รักษาโรคก็ผิด บำบัดโรคก็ผิด ถ้าใช้คำว่าบำบัดโรคในความหมายของไปทำลายโรค โรคไม่ให้เกิดให้มันหมดไป มีใครไปทำลายไปบำบัดโรคได้ หมอเขาจะทำให้คนหายโรค เขาทำอย่างไรรู้ไหม เขาไปกำจัดสมุฎฐานของโลก เขาต้องเรียนโรค นี่เขาไม่ได้ไปแก้ที่โรคเขาไปแก้ที่เชื้อโรค ถูกไหม คนเป็นโรคท้องเดิน ปวดหัว เขาไปแก้ที่อาการ ให้ยาแก้ปวดระงับอาการนี้แก้โรคไม่ได้ ทำงัยต้องไปแก้ที่สมุฏฐาน สมุฏฐานนี่มันเป็นเชื้อโรค ก็ไปกำจัดเชื้อโรค เชื้อโรคกับโรคไม่เหมือนกัน ถูกไหมครับ โรคอย่างหนึ่ง เชื้อโรคอย่างหนึ่ง เวลามันจะไปแก้โรค เราต้องไปแก้โรคต้องไปที่เชื้อโรค ต้องไปทำลายเชื้อโรค แล้วโรคหายไปเอง ถูกไหม ว่าเราไปทำลายเชื้อโรคอหิวาต์ หรือเชื้อบิด เชื้ออะไรในท้อง ไอ้โรคท้องเดิน ท้องเสีย ปวดท้องหายไป แล้วอยู่ ๆ เราจะไปรักษาโรค บำบัดโรค ทำให้หายปวดท้อง หายท้องเดินอย่างไร ใครไปทำได้ต้องไปกำจัดเชื้อโรค นั่นแหละสมุฏฐาน บางทีสมุฏฐานไม่ใช่เชื้อโรคก็มี เกิดจากความผิดปกติของส่วนไหนของร่างกาย ก็ต้องไปปรับส่วนของร่างกายนั้นให้ถูกต้อง อาจจะมาที่อุตุ ดินฟ้าอากาศภายนอก และร่างกายมีภูมิต้านทานไม่พอ ต้องไปแก้ที่อุตุ ปัจจัยแวดล้อมภายนอก หรือไม่ก็ต้องไปแก้ที่ปัจจัยภูมิต้านทานภายในตัวเองใช่ไหม ก็ไม่รู้แหละตกลงจะไปแก้โรค ถ้าแก้โรคก็ไปแก้ที่สมุฏฐานไม่ได้ไปแก้ที่ตัวโรค ไม่มีใครบำบัดโรคได้ นี่เพราะฉะนั้นหมอเขาก็ทำอย่างนี้ ทีนี้เช่นเดียวกันในเรื่องอริยสัจ เป็นอันว่า 1. ทุกข์ ถ้าเรามองแบบโรคเหมือนของหมอ ก็เป็นตัวโรค โรคนั้นจริง ๆ ก็เป็นอาการที่ผิดปกติของร่างกายบกพร่อง ทีนี้เอาหล่ะ 1. ก็ต้องเรียนที่ตั้งของโรค ก็คือชีวิตและร่างกายเพื่อปฏิบัติต่อมัน และก็ 2 เรียนสมุฏฐานของโรค แล้วก็ไปกำจัดสมุฏฐานนั้น ก็คือสมุทัย คือการเกี่ยวข้องกับสัมผัสที่ผิด และไอ้ตัวทุกข์เราไม่ต้องทำอะไรมันก็หายไปเอง ไม่มีใครไปทำลาย ที่จริงไมมีใครไปทำให้ทุกข์ได้ ทุกข์หายไปจากสมุฏฐานของมัน ทีนี้ก็ได้พูดไปแล้วว่า เมื่อเรากำจัดถูก เราก็บรรลุจุดหมายความมีสุขภาพดี ความไม่มีโรค ชีวิตที่ดีงาม อันนี้ก็เป็นจุดหมายของเราที่เราจะต้องเข้าใจว่าเราควรจะเข้าถึงจุดหมายที่เป็นไปได้ เป็นไปได้และดีด้วย ถ้างั้นเราจะไปทำ ๆ ไม ทีนี้ก็ต่อไปวางข้อปฏิบัติ วางข้อปฏิบัติออกมาก็แล้วแต่ละตอนนี้เรื่องของหมอนี่ หมอเมื่อวินิจฉัยโรค แล้วก็ต้องหาตัวเชื้อโรคและสมุฏฐานกำจัดเชื้อโรคนั้น กำหนดเป้าหมายว่า ภาวะที่ตนต้องการให้เป็นอย่างนี้ และวางวิธีปฏิบัติ วางวิธีปฏิบัติเช่นการให้ยา หรือการผ่าตัด การปฏิบัติตัวของคนไข้ รายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้มากมายเหลือเกิน เรียกว่าเป็นเรื่องของมรรคทั้งสิ้น นี่ก็คือการเทียบ เรื่องอริยสัจกับเรื่องการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องของหมอก็คล้าย ๆ กัน ทีนี้พูดถึงตอนนี้แล้วเลยมาดูเรื่องอริยสัจ อริยสัจก็เลยโยงไปหาความจริงของสิ่งทั้งหลาย เพราะบอกแล้วว่า อริยสัจก็คือ การนำเอาธรรมะความจริงมาใช้ประโยชน์แก่มนุษย์ ให้มนุษย์ปฏิบัติได้ ก็เลยเป็นหลักการ 4 ข้อ ทีนี้ หลักการ 4 ข้อมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็จากการที่พูดมานี้ เราก็จะเห็นได้ว่า เราจะต้องทำอะไรในแต่ละข้อ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็เลยทรงวางหรือสอนไว้ ซึ่งวิธีปฏิบัติของแต่ละข้อนี้ อย่างที่บอก เช่นเมื่อกี้ที่บอกทุกข์เรากำจัดไม่ได้ เป็นต้น นี่เรียกว่า ทุกข์ถ้าเราปฏิบัติไม่เป็น เราจะหลงแม้กระทั่งเอามันมาเป็นทุกข์ให้เราก็ได้ ผิดหมด ฉะนั้นการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ต้องให้ถูกต้อง เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็วางสิ่งที่เรียกว่ากิจต่ออริยสัจ และผู้ที่เรียนอริยสัจ ต้องเรียนรู้กิจต่ออริยสัจ หรือกิจอริยสัจด้วย ว่าอริยสัจแต่ละนี้เรามีหน้าที่จะทำกับมันอย่างไร หน้าที่ต่ออริยสัจต้องทำไม่ให้ผิด ถ้าผิดเราพลาดแล้วเกิดผลเสีย อริยสัจข้อ 1 ทุกข์ ทุกข์ก็อย่างที่บอกแล้ว สิ่งทั้งหลายอยู่ในภาวะที่มันไม่อยู่ในภาวะที่คงตัวอยู่ที่เราจะให้เป็นไปตามปรารถนาของเราได้ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เราต้องเรียนรู้มันรู้เท่าทัน รู้จักมันตามเป็นจริง รู้ธรรมชาติของมัน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น เพื่อเราจะได้วางใจกับมันถูก แล้วเราจะได้ก้าวไปสู่ข้ออื่น ๆ สู่วิธีปฏิบัติ เพราะฉะนั้นทุกข์คืออริยสัจข้อ 1 ก็คือ สภาวะสิ่งทั้งหลาย เรามีหน้าที่ที่จะต้องรู้เท่าทันมัน เรียนรู้จักมันท่านเรียกว่าปริญญา เป็นว่าทุกข์ที่เราไม่ได้กำจัดเลยน่ะ แล้วเราก็ไม่มีหน้าที่เป็นทุกข์ด้วย ฉะนั้นใครมาเรียนอริยสัจแล้วเป็นทุกข์ แสดงว่า ผิด ไปเรียนรู้อริยสัจพระพุทธเจ้า ตรัสรู้ว่า ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ในโลกนี้มีทุกข์ ชีวิตเป็นทุกข์ ชาติเป็นทุกข์และเกิดความเศร้าซึมเหงาหงอย แสดงว่าปฏิบัติผิดแล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอริยสัจมาให้เรามาเป็นทุกข์ สอนทุกข์มาสำหรับให้เรารู้จักหน้าที่ต่ออริยสัจมีแน่นอนกำหนดไว้เลยทุกข์ขังปริญายัง ทุกข์เป็นสิ่งที่จะต้องรู้เท่าทัน ปริญญา ทีนี้เรามาทำปริญญากันเยอะถึงปริญญาเอก ถ้าได้ข้อ 1 นี่เก่งมาก ปริญญาทั้งหมดไม่เหนือปริญญาในทุกข์ ก็คือถ้าปริญญาในทุข์ ถ้ารู้จักโรค ชีวิตทุกสิ่งตามเป็นจริงแล้วในระบบของสังขาร อันนี้ปริญญาปัจจุบันเรียนถึงปริญญาเอกก็ยิ่งเจาะลงไปเฉพาะแง่ เลยแทนที่จะรู้ความจริงของโรคเลยยิ่งแคบลงไปหนักเข้าไปอีก เข้าไปเจาะเฉพาะมันต้องมีปริญญาอีกชั้น ที่มีปริญญาหลังจากเจาะลึกแล้วมาโยงอีกทีทั้งจักรวาล ปริญญาที่ 4 ต้องเลยปริญญาเอก เรียกว่าปริญญาอะไรหล่ะ ไม่รู้แหละ เรียกเอาก็แล้วกัน ปริญญานี้มันจะต้องมาอีกขั้นก็คือเจาะลึก ชำนาญพิเศษก็มาสู่การโยงทั้งจักรวาลทั้งโลกทั้งพิภพ โยงระบบความสัมพันธ์เข้าใจทั่วถึงทั่วตลอด ได้ (General Principle) ได้หลักการทั่วไป อันนี้สำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นปริญญาเอกนี้ยังไม่จบ ที่นี้ก็กลับมาเรื่องนี้ เป็นอันว่าคำว่าทุกข์เป็นเรื่องสำหรับปริญญา ปริญญาเป็นหน้าที่ต่อทุกข์ เรียนรู้โรคให้เข้าใจยังไม่ไปไหนเลย ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้เลยได้แค่ปริญญา แต่ถ้ารู้จริงแล้วมันถึงกันเอง อริยสัจ 4 ข้อ ถ้าปริญญาจริงและหน้าที่ต่อสมุทัย นิโรธ มรรค มันตามกันมา แต่ว่าเราต้องรู้แต่ละข้อทำอย่างไร เป็นอันว่า 1. ทุกข์ ก็คือ สภาวะของโรคและชีวิตที่มันเป็นไปมันตามเหตุปัจจัยของมัน แต่มันคงไม่อยู่ในสภาวะเดิมของมัน แล้วมันไม่อยู่ในสภาวะที่เราจะเอาตามใจของเราได้ มันเป็นเรื่องของมัน ทำจิตใจให้เป็นอิสระ ก็รู้จักรู้เท่าทันมัน มีปริญญาหนึ่งแล้วน่ะ 1. ได้ปริญญา
2.หน้าที่ต่ออริยสัจ ข้อ สมุทัย นี่คือสมุฏฐานของโรค หรือปัจจัยเหตุของทุกข์ อันนี้แหละที่เราจะต้องไปกำจัดมันเสีย นี่คือเป้า เราจะกำจัดนี่ไปกำจัดทุกข์ กำจัดเหตุของทุกข์สมุทัย สมุทัยนี้คืออะไร คือ การปฏิบัติเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างผิดพลาด ในท่าทีของการสะเปะสะปะ เกิดจากความไม่รู้ ไปสมุฏฐานที่สุดก็คือไม่รู้นั่นเอง จากการไม่รู้อวิชชา ก็เป็นอันว่าทุกข์ เจ้าทุกข์นี้ เจ้ากระบวนการนี้ทั้งหมดอวิชชาไม่รู้ ตัณหา ความสัมพันธ์ที่ผิดเอาอยากเขาว่า เอาอุปทานยึดความสัมพันธ์มั่นหมายจะให้เป็นอย่างใจ เป็นตัวเชื่อมต่อถึงปัญหาทำให้สิ่งทั้งหลายมันพลอยทุกข์ขึ้นมาจริง ๆ เป็นปะทะอุปทานตัวโยงตัณหามาจับเข้ากับสิ่งต่างๆ ทำให้สิ่งเหล่านั้นกลายเป็นทุกข์ขึ้นมาจริง ๆ ในใจของมนุษย์ ทีนี้ไอ้เจ้าอวิชชาปัญหาอุปทานนี้แหละเป็นสมุฏฐานเราต้องกำจัดมัน หน้าที่นี้เรียกว่าปหานะ
1. หน้าที่ต่อทุกข์ คือ ปริญญา
2. หน้าที่ต่อสมุทัย คือ ปหานะละกำจัด แต่เรารู้เท่านั่นเอง เราไปกำจัดโดยตรงไม่ได้ ก็ทำอย่างไรล่ะ เดี๋ยวต้องมีวิธีปฏิบัติเพื่อกำจัด แต่ว่าเราต้องรู้เป้าหมายก่อน ก่อนที่เราจะไปกำจัด เราต้องรู้เป้าหมายว่ากำจัดเพื่ออะไร แล้วก็กระบวนการหลักการ ที่จะกำจัดละสมุทัยนั้น มันเป็นกระบวนการตามธรรมชาติอย่างไร เราต้องเข้าใจธรรมชาติ เข้าใจตัวธรรมอันนี้ เข้าใจระบบกระบวนการของมัน จนกระทั่งผลที่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการนี้ กระบวนการธรรมชาติถึงจุดหมายได้ พอเข้าใจอันนี้ นี่คือจุดหมายที่เราจะต้องเข้าถึงทำให้สำเร็จ อันนี้เรียกว่านิโรธ หน้าที่ต่อนิโรธก็คือ สัจจิกกิริยา แปลว่าการทำให้แจ้ง ก็คือทำให้มันเป็นจริงขึ้นมา ทำให้สำเร็จ บรรลุนั่นเอง ทำให้สำเร็จทำให้บรรลุ นี่เราจะต้องเข้าถึงบรรลุจุดหมายอันนี้ ทีนี้จะบรรลุได้อย่างไร บรรลุได้ด้วยการกำจัดไอ้ตัวสมุฏฐานของมัน แล้วจะกำจัดได้อย่างไร แล้วจะทำให้ทุกข์หมดไปเองแล้วไม่เกิดขึ้น คือว่าต้องมีวิธีการปฏิบัติตามวิธีนี้ พระพุทธเจ้าก็มาช่วยเราแล้ว พระองค์ปฏิบัติไปแล้วก็ทรงมีพระปัญญาฉลาดก็เลยมาวางวิธีปฏิบัติให้เราทั้งหลักการไปให้แก่มนุษย์ที่มีความแตกต่างกันไป ก็เป็นระบบวิธีปฏิบัติกระบวนการปฏิบัติมากมายทั้งหมดนี้ สรุปอยู่ในข้อที่เรียกว่า มรรค ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ประการมี สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น สัมมาสมาธิ เป็นประโยชน์ 3 ประการ เป็นเรื่องของปัญญาเป็นเรื่องของพฤติกรรมและจิตใจ หรือในกระบวนการมาจัดประยุกต์ให้เป็นการฝึกมนุษย์ก็เลยเป็นเรื่องของพฤติกรรมทางกาย เรียกว่า เรื่องของศีล ทางกายวาจา และเรื่องของจิตใจ มีสมาธิเป็นแกน เป็นประธานเป็นที่รองรับการฝึกฝนฝ่ายจิตและปัญญา พัฒนาความรู้ ความเข้าใจมีสติทั้งหลายรวมทั้งชีวิตของตนเองด้วย นี่แหละด้วยการดำเนินชีวิตฝึกฝนพัฒนาตนเอง อย่างนี้ ด้วยการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการเรียนรู้จากมันได้ประโยชน์จากมันเอามาพัฒนาตัวเอง และเข้าไปเป็นปัจจัยที่ดีงาม ในการที่ใช้ปัญญาที่จะสนองเจตนาดีในการนี้ไปเป็นปัจจัยแก่สิ่งอื่นในโลกและชีวิต ก็จะร่วมสร้างสังคมดีงามแล้วเกิดสังฆะขึ้นมา อันนี้ก็จะสำเร็จผล ก็เพราะฉะนั้นหน้าที่ต่อมรรคข้อสุดท้าย วิธีปฎิบัติก็คือภาวนา ภาวนาก็คือ ลงมือทำ ทำให้เป็น ทำให้ดีขึ้นมา ตกลงได้หน้าที่ต่ออริยสัจ อริยสัจ 4 ประการ
ก็ทวนอีกที
1. ทุกข์ เรามีหน้าที่ปริญญา รู้เข้าใจมัน เป็นอันว่าทุกข์ เป็นเรื่องสำหรับปัญญารู้ ไม่เป็นเรื่องสำหรับเราจะไปเป็นทุกข์ ถ้าใครเรียนอริยสัจแล้วเป็นทุกข์ แสดงว่าคนนั้น ผิด ผิดตั้งแต่ต้น พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนทุกข์สำหรับคนมาเป็นทุกข์ สอนเพื่อให้รู้เท่าทันมัน จะได้จัดการแก้ไขปัญหาได้ นี่คนโดยมากคนไม่ได้เรียนเรื่องกิจอริยสัจ เรียนแต่อริยสัจ 4 ฉะนั้นปฏิบัติผิดหน้าที่ต่ออริยสัจ ก็เลยไปหมดเลย ก็ 1. ทุกข์ เรามีหน้าที่ปริญญา ต้องรู้เท่าทันทำความรู้จักมัน เหมือนหมอจะวินิจฉัยโรค
2. สมุทัย สมุฏฐานของโรค ตัวปัจจัยให้เกิดปัญหา อันนี้ต้องปหานะ หน้าที่คือ กำจัดละมัน ทำให้มันไม่มี ทำให้หมดไป
3. นิโรธ คือจุดหมาย หลักการที่ถูกต้องเรานำไปสู่จุดหมาย อันนี้เราจะต้องทำให้เป็นจริงทำให้สำเร็จ ก็เรียกว่าสจจกิริยาปริญญา ต่อไปข้อสุดท้าย
4. มรรค เพื่อเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อจะให้สำเร็จผลบรรลุจุดหมายนั้น และก็กำจัดสมุทัย สาเหตุของปัญหาคือสมุฏฐานของโรคแล้ว ทำให้ไม่มีโรคไม่มีทุกข์เกิดขึ้น อันนี้หน้าที่ของเราคือภาวนา คือลงมือทำ ทำให้เกิดให้มี ให้เป็น เป็นอันว่า 4 ข้อครบแล้ว
นี่คือหลักโยงระหว่างอริยสัจ 4 กับกิจต่อริยสัจ 4 ที่นี้เมื่อเรามีกิจต่ออริยสัจ 4 แล้ว เราก็มามอง อ้อ สิ่งทั้งหลายบรรดาที่มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรวมทั้งชีวิตของเรานี่ แยกได้มันจะเป็นสิ่งสำหรับเรารู้จักกำหนดทุกอย่าง และก็มันจะเป็นจำพวกสิ่งที่เราจะต้องกำจัดละพวกนี้ของมนุษย์ และก็จะเป็นสิ่งทุกอย่างจะต้องกำจัดละทุกข์ เป็นสิ่งที่จุดหมายที่เราต้องเข้าถึง และเป็นประเภทข้อปฏิบัติที่เราจะต้องลงมือทำอีกพวกหนึ่ง เพราะฉะนั้นหลักกิจอริยสัจ 4 มาจัดประเภทของธรรม ธรรมในที่นี้คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีที่เกี่ยวข้งมาจัดประเภทได้เลยตามกิจอริยสัจ 4 ก็เลยเกิดหมวดธรรมขึ้นมาอีกหมวด หมวดธรรมที่แยกเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่มี 4 ประเภท แต่ 4 ประเภทนี้จัดในแง่ความสัมพันธ์กับมนุษย์ ในแง่ที่มนุษย์จะปฏิบัติต่อมัน เพื่อที่จะเกิดผลดีแก่ชีวิต และแก่ระบบการเป็นอยู่ร่วมกัน ระบบธรรมชาติ แก่โลก แก่สังคม ชีวิตและโรคทั้งหมด ก็เอาเป็นว่านี้น่ะ เอาธรรมะสิ่งทั้งหลายมาจัดตามประเภท นี่ก็ได้ 4 ข้อ ก็กลายเป็น 1. เป็นสิ่งทั้งหลายที่เราต้องปริญญา ท่านเรียกว่าปริญญาธรรม มีศัพท์พิเศษ ปริญญาธรรม คือ ธรรมที่ต้องปริญญา อันนี้ก็คือสิ่งทั้งหลาย บรรดามีอย่างที่พูดมาแล้วที่มันมีภาวะเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ดำรงตามสภาพของมัน มันไม่คงอยู่ในสภาวะเดิมของมัน มันก็เปลี่ยนแปลงไป และมันก็ไม่อยู่ในภาวะที่เราจะเอาตามใจเราได้ อันนี้ทั้งหมดนี้ สิ่งทั้งหลายพวกนี้เป็นปริญญาธรรมทั้งหมด ซึ่งเราจะต้องรู้จักเข้าใจมัน เรียนเรื่องของปริญญา พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้โดยย่อ ก็คืออุปทานขันธ์ 5 เรายังไม่ได้เรียนขันธ์ 5 ท่านก็พูดสั้นๆว่า อุปทานขันธ์ 5 นี่แหละคือเป็นปริญญาธรรม ธรรมที่เราจะต้องรู้จักด้วยปริญญา ทีนี้ 2. ธรรมะอีกประเภทหนึ่ง คือ สิ่งทั้งหลายอีกประเภทหนึ่ง คือประเภทที่เราต้องจัดการกำจัดมันเสีย ละมันเสีย ไอ้พวกนี้คือ ตัวพวกเหตุของความชั่วร้ายเสียหาย สิ่งที่เป็นโทษ อันนี้ก็เป็นฝ่ายร้าย โดยเฉพาะก็คืออยู่ที่ในใจของเรา ที่มันเป็นตัวทำให้เจตจำนงของมนุษย์ที่เป็นปัจจัยพิเศษธรรมชาติมันเป็นไปในทางเสียหายไม่เกื้อหนุนเกื้อกูลอะไรล่ะ เขาบอกแล้ว 1. เจตนา เกิดเป็นเจตนาไม่ดี แย่แล้วใช่ไหม เจตนาที่ไม่ดี 1. มีตัณหาเอาแต่ใจอยากตัวเองเค้าว่า 2. ก็คือ ลึกเข้าไปเอาอวิชาความไม่รู้เพราะว่าใจตัวดี เราบอกมนุษย์เป็นปัจจัยพิเศษ มีเจตนาดี กับ 2 มีปัญญาพัฒนาได้ เราต้องการเจตนาดี กับปัญญาให้ปัญญานี้มาสนองมองกับเจตนาที่ดี ทีนี้ไอ้เจ้ามนุษย์ที่มันมีปัจจัยตัวร้าย ตัวที่มันจะทำให้เกิดผลเสีย มันไม่เป็นไปตามนี้ ก็คือ มันมีเจ้าตัณหามาเป็นตัวปรุงตัวเจตนา แล้วก็มีอวิชาความไม่รู้ก็สะเปะสะปะเอาแต่ตัวรอด เอาแต่ว่าจะทำอย่างไรให้ตัวได้อย่างที่ว่าเมื่อกี้นี้ เจตนาก็เลยมีอวิชาเป็นตัว เป็นตัวให้ฐาน เป็นตัวให้ท้าย ก็เลยไปทางไม่ดี ตกลงก็พวกฝ่ายร้ายนี้มีเยอะแยะ แต่จะเอามาจับตัวหลักก็คือเอาอวิชาและตัณหา อวิชชาและตัณหาโดยเฉพาะตัณหาคือความอยากให้ตัวตนคงอยู่ตลอดกาล นี่สำคัญที่สุด อยากเสพ อยากบริโภค เป็นกามตัณหา แต่ในที่สุดแล้วมันมายึดมั่นในตัวตน มีตัวตนขึ้นมาจะต้องสนองเห็นแก่ตัว จะเอาตัวรอด จะเอาให้เป็นอย่างตายตัวเอาไปทำร้ายคนอื่น เจ้านี่แหละเป็นตัวปรุงเจตนาที่สำคัญที่สุด เพราฉะนั้น ท่านก็เลยบอกในจำพวกธรรมะประเภทที่จะต้องละกำจัดเยอะแยะไปหมด แต่ไอ้ตัวกลางสำคัญที่มีออวิชากับตัณหา ปรุงเจตนากับตัวที่ให้ท้าย ก็จะได้เกิดเป็นเจตนาที่เป็นกุศลแล้วก็มีปัญญาเป็นตัวที่จะให้ใช้เจตนานั้นในทางที่เกื้อหนุนเกื้อกูล เอาล่ะ 2. เป็นธรรมะประเภทที่จะต้องละกำจัด ท่านเรียกว่า ปะหะตะสำปะธรรม
หมวดที่ 1 เรียกปริญญาธรรม
หมวดที่ 2 ก็เรียก ปะหะสะปะทา
หมวดที่ 3 เป็นจุดหมายนี่คือพึงบรรลุแล้ว อันนี้ก็สิ่งที่เราจะต้องเข้าถึงพยายามสร้างสรรค์ทำให้มีให้ได้ในชีวิตของเราควรจะมีจุดหมายอะไร อะไรคือชีวิตที่ดีงาม คนเข้าถึงสังคมควรจะดีงามอย่างไร อันนี้ก็มีเยอะ ภาวะที่ดีที่ชีวิตมีมนุษย์สังคมมนุษย์คนเข้าถึง นี่มาเริ่มที่ชีวิตของเราก่อน ก็มีอะไร เช่นว่า เราจะพูดถึงความสุข ความสุขในที่นี่หมายถึงไร้ทุกข์ด้วยน่ะ ไม่ใช่สุขแบบสัมผัสสุขแบบไร้ทุกข์เลย มีสันติความสงบ มีอิสรภาพ มีความบริสุทธิ์ เยอะแยะ ท่านก็ให้สั้น ๆ ว่า 2 อย่าง บอกว่าในประเภทนี้คือ วิชชาระวิมุตติ วิชาก็คือความรู้แจ้งเลย แล้วก็วิมุตธรรมคือ ความหลุดพ้นก็คือภาวะเป็นอิสระ ชีวิตจิตใจที่เป็นอิสระ จิตใจมันพ้นจากทุกข์พ้นกิเลสก็เป็นอิสระเกิดจากปัญญารู้เข้าใจโลกนี้อย่างถูกต้อง ปฏิบัติกับมันถูกต้อง นั่นท่านก็เอามาว่า ตัวแทนของธรรมะบทนี้ ประเภทที่ 3 นี้ เรียกว่า สักกัจจะสัมปะทา ได้แก่ วิชชาระวิมุตติ
4. ในฝ่ายวิธีปฏิบัติก็เป็นธรรมะมากมายไม่รู้กี่อย่างที่พระพุทธเจ้าสอนทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนเยอะแยะไปหมด อธิบาท 4 โคชะนะ 7 หรือว่า ปัญญาพุทธิธรรม วุฒิธรรม 4 มงคล 38 โอ้ยมี..มีปฏิบัติเยอะแยะ นี่ท่านเรียกว่า พาเวปะตะธรรม ธรรมะที่พึงเจริญ ธรรม ธรรมที่ลงมือทำ ทำให้เกิด ให้มี ให้เป็นขึ้นมา ประเภทนี้เพื่อเอาโดยย่อ จุดที่สำคัญเลยคือ เพื่อจะให้ชีวิตนี้ถึงจุดหมาย เป็นวิชชาวิมุตติ ท่านมาจับเอาสมถะวิปัสสนา สมถะก็คือ กระบวนการระบบการพัฒนาด้านจิตใจ และวิปัสสนา ก็กระบวนการพัฒนาการด้านปัญญาให้ถึงความรู้แจ้งเป็นขั้นสุดท้าย ตอนนี้จะเห็นว่า ทำไมไม่เอาศีลและพฤติกรรม ตอนนี้มาจับเอาจุดยอด เอาสมถะวิปัสสนาเป็นภาเวตัพพธรรม ที่จริงก็คือกว้างหมดคลุมไปหมด จะมาสมถะได้ก็ต้องพัฒนาพฤติธรรมได้ด้วยวิปัสสนาปัญญาก็เหมือนกัน ฉะนั้นเอามาโยงกันไปจับเอาจุดสำคัญ ก็เป็นอันว่า เอาธรรมะ 4 ประเภทหรือ 4 หมวด ตามทำหน้าที่ต่ออริยสัจ
1. ปริญยาธรรม คือ ธรรมะที่พึงกำหนดรู้ รู้เท่าทัน รู้เข้าใจมัน
2. มหาปะทะธรรม คือ ธรรมะที่พึงละกำจัด ทำให้หมดไป ทำให้ไม่มีไม่เกิดขึ้น
3. สักกัจจะสัมปะทา คือ ธรมมะทำพึงทำให้แจ้ง ทำให้สำเร็จบรรลุเข้าถึง
4. อเวสัมปะทา คือ ธรรมะพึงเจริญทำให้เป็น ทำให้มีปฏิบัติที่ใช้ลงมือทำ 4 ประเภท
1.ปริญญาธรรม ธรรมะที่พึงกำหนดรู้ รู้เท่าทัน ได้แก่ อุปทานนะ ขันธ์ 5 ก็รวมทั้งรูปธรรมนามธรรม ธรรมทั้งหลายทั้งปวงรวมทั้งหมดที่เราจะต้องรู้จักมันอยู่ตามภาวะของมันไม่ขึ้นกับปรารถนาของเรา
2. มหาปะทะธรรมคือ ธรรมที่พึงละกำจัด นี่ก็ได้แก่สิ่งที่เป็นมูลเหตุของความชั่วร้ายทั้งหลาย ซึ่งเป็นตัวสำคัญได้แก่อวิชชาตัณหา
3. ตัวจุดหมายที่ดีงามที่พึงบรรลุเข้าถึงนั้น ซึ่งมีหลายอย่างพูดได้หลายแบบ สุดท้ายคือนิพพานนั่นเอง ท่านใช้ศัพท์ว่า วิชาระวิมุตติ
4. ภาเวสัมปะธรรม ธรรมะพึงเจริญ ลงมือปฎิบัติ ลงมือทำ ก็มีมากมายเป็นข้อปฎิบัติทั้งหมดในพุทธศาศนา มีสมาธิปัญญา รวมทั้งมีวินัย เป็นต้นไป เอาจุดสำคัญตัวที่จะให้ถึงจุดปลายยอดที่เรียกว่า สมถะวิปัสสนา แต่ต้องเข้าใจความหมายของคำศัพท์เหล่านี้ให้ถูกต้อง เพราะบางทีคำว่า สมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี ก็ไปเข้าใจกันผิดพลาด ยุคหนึ่งถึงเข้าใจวิปัสสนาไปนั่งทางในให้หวยเบอร์ อันนี้ก็ไปไกลเป็นความเคลื่อนคลาดในสังคมไทยเรานี่เอง สังคมอื่นอาจไม่ทำให้เข้าใจอย่างนี้ หรือเขาไม่ทันเข้าใจอย่างนี้ ก็เป็นอันว่าก็จบอริยสัจ อีกด้านหนึ่ง
ปริยัติธรรมก็คือเรื่องของทุกข์ น่ะแหละ พูดไปพูดมาก็ทุกนี่แหละ
มหาสัมปะทา ก็คือเรื่องของ สมุทัย
สักกัจจะสัมปะทา ก็เรื่องของ นิโรธ
อเวสัมปะทา ก็เป็นเรื่องของมรรค
เป็นอันว่า คิดว่าจบกันทีเรื่องอริยสัจ 4