แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ที่พูดค้างไว้เรื่องพระรัตนตรัยว่า พระรัตนตรัยนั้นก็โยงเราเข้ามาหาธรรมะ ทีนี้ว่าธรรมะที่มาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในการที่จะใช้ประโยชน์นี่ ก็คือหลักอริยสัจ 4 เพราะฉะนั้นพูดโดยรวบรัดก็บอกว่า เมื่อถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ๆ พระรัตนตรัยก็จะมาโยงเราเข้าหาอริยสัจ 4 ทำให้เรานี่สามารถจัดการกับชีวิตและปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมได้โดยถูกต้องให้เกิดผลดีแก่ชีวิตและสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทีนี้ว่าพระรัตนตรัยโยงเราเข้าหาอริยสัจ 4 อย่างไร ก็มาดูที่คำว่าธรรมะนี่แหละ เพราะว่าอริยสัจก็บอกแล้วว่าเป็นการนำเอาธรรมะนี่มาใช้ประโยชน์แก่มนุษย์
ทีนี้ ธรรมะนั้นก็ได้พูดไปแล้วว่ามีความหมาย 4 ประการ ถ้าเข้าใจความหมาย 4 ประการนั้น เวลาพูดถึงคำว่าธรรมะนี่ก็จะมีภาพที่เกิดความชัดเจน ในที่นี้ก็จะไม่ไปทบทวงกับความหมาย 4 อย่างของธรรมะอีก เอาเป็นว่าง่าย ๆ ก็คือว่า เรานี่มีชีวิตที่เป็นธรรมะด้วยอยู่ท่ามกลางธรรมะ ฉะนั้นว่าเราจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรมะคือ ความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย คือกฏธรรมชาติแห่งเช่นความเป็นไปตามเหุตปัจจัยที่ว่าเราต้องรู้เข้าใจมันปฏิบัติให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของมัน จะได้เอามันมาใช้เป็นประโยชน์เกิดผลดีแก่ชีวิตของเรา ทีนี้ธรรมะนั้นอยู่ที่ไหนล่ะ ธรรมะก็อยู่ที่สิ่งทั้งหลายที่เราเกี่ยวข้องตั้งแต่ชีวิตของเรานี้เป็นต้นไป พูดง่าย ๆ ในแง่นี้เอาสักความหมายหนึ่งของธรรมะก็ที่สำคัญที่สุดก็คือความจริงของสิ่งทั้งหลายนั่นเอง ตัวธรรมะความจริงของสิ่งทั้งหลายก็ย่อมอยู่ที่สิ่งทั้งหลายนี่แหละ ทีนี้สิ่งทั้งหลายที่เราเห็น ถ้าเราเกี่ยวข้องก็ปรากฎในลักษณะที่ว่าเราเห็นความเป็นไปของมัน เห็นความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ความจริงของสิ่งทั้งหลายพูดในความหมายง่าย ๆ ที่ปรากฎแก่มนุษย์ก็คือ ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ แม้แต่ชีวิตของเราเองนี่มีความเป็นไป สิ่งทั้งหลายที่เราเกี่ยวข้องก็มีความเป็นไปทั้งนั้น อย่างชีวิตของเรานี้ก็มีความเป็นไปอยู่ตลอดเวลาเราก็เห็นอยู่รู้อยู่ มันมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ แม้กระทั่งว่า เราบอกว่า หลับเหมือนกับว่าไม่เป็นไป มันก็เป็นไป ใช่ไหม ในเวลาหลับทั้งจิตทั้งกายก็มีความเป็นไปตลอดเวลา เอายิ่งกว่านั้นก็คือ ตาย ตายแล้วบอกว่าหยุด นิ่ง แต่ที่จริงไม่ได้นิ่งมีความเป็นไปตลอดเวลา ร่างกายนั้นมันก็มีความผันแปรไป มีอาการต่าง ๆ แปลกไปจากเดิมเรื่อย ในที่สุดมันก็เน่าเปื่อยไป ฉะนั้นที่ว่ามันหยุดนิ่งมันก็ไม่ได้หยุดนิ่งอะไร ทีนี้ ในโลกนี้เราอยู่กับความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายมองเห็นความเป็นไปอยู่ตลอดเวลา อันนี้คือความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ อย่างง่ายที่สุดที่ปรากฏแก่มนุษย์ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทีนี้ความเป็นไปเหล่านี้ ก็คืออะไร ก็คือความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง ที่สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนไปนั้นก็คือ มันเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงนั้นก็คือการที่ว่าสภาพเก่ามันดับหายไป แล้วก็มีสภาพใหม่เกิดขึ้น สภาพเก่าดับไป สภาพใหม่เกิดขึ้นนี้เรียกว่าความเปลี่ยนแปลง ใช่ไหม เราก็จะเห็นได้เลยว่า อ้อนี่สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไป สภาพเก่าเป็นอย่างนี้ มาเป็นสภาพใหม่งี้ แล้วสภาพใหม่นั้นก็ดับหายไปอีก ก็เลยกลายเป็นสภาพเก่าไป ก็มีสภาพใหม่ นี้ที่เราเห็นง่าย ๆ ก็คือความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในระดับหยาบ ช่วงเวลายาว ๆ เราจะเห็นชัด อย่างชีวิตร่างกายของเรา เราก็ไม่รู้สึกตัวว่ามันมีความเป็นไปเปลี่ยนแปลงอย่างไร จนกระทั่งนาน ๆ ทีหนึ่ง เราก็เห็นยิ่งเราอยู่กับตัวเราเองตลอดเวลา เราไม่เห็นหน้าตาเราเปลี่ยนแปลงอย่างไร ร่างกายเราเปลี่ยนแปลงอย่างไร จนกระทั่งเห็นมันชัด ๆ เราไปเทียบเมื่อ โอ้ ตอนนั้นเราเป็นเด็ก ต่อมาเราโตขึ้นเราเป็นผู้ใหญ่ ต่อมาเราแก่ตัวลง นี่ช่วงยาว ๆ เราเห็น หรืออย่างเราไปพบกับคนอื่นที่เรารู้จักกันนาน ๆ พบกันที แล้วก็เห็นว่าเปลี่ยนแปลง ถ้าว่าเห็นกันอยู่ทุกวันนี่ดูไม่ออก ใช่ไหม แต่ว่าถ้าห่างกัน 5 ปี 10 ปีนี่ เมื่อเห็นว่าแปลกตาไปเลย แต่ความจริงนั้นมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งว่า ละเอียดยิบเลย ในที่สุดก็เปลี่ยนแปลงทุกขณะ กว่ามันจะปรากฎเป็นความเปลี่ยนแปลงช่วงยาวนั้น มันเปลี่ยนแปลงทุกขณะตลอดเวลา ทีนี้ความเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างที่ว่า มันก็อยู่ในความจริงที่ว่าก็คือ สภาพเก่าดับไป สภาพใหม่เกิดขึ้น ก็อย่างนี้ไปเลื่อย ๆ นี้อาการปรากฎสภาพเก่าดับไป สภาพใหม่เกิดขึ้น สภาพเก่าลับหาย สภาพใหม่ปรากฏ อันนี้ก็คือ ความที่มันไม่คงอยู่ในสภาพเดิม เอ้อ พูดในแง่หนึ่ง พอเราพูดว่า สภาพเก่าดับหาย สภาพใหม่เกิดขึ้น มันหมายถึงยังแยกเป็น 2 แต่พอเราพูดอีกทีรวมกันก็คือว่ามันไม่คงอยู่ในสภาพเดิม เพราะฉะนั้นความเปลี่ยนแปลงพูดในความหมายหนึ่ง คือการไม่คงสภาพเดิม เมื่อไม่คงอยู่ในสภาพเดิมมันมีความเปลี่ยนแปลงไม่คงอยู่ในสภาพเดิม มันมีความเป็นไปอย่างนี้ เอ้าที่นี้มันก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเป็นไปเลื่อนลอยเลื่อยเปื่อย มันมีความเปลี่ยนแปลงเป็นไปโดยที่ว่า อื้ม มันมีอะไรเกี่ยวข้องสัมพันธ์ที่ทำให้มันต้องปรากฎในรูปใดรูปหนึ่ง จากการอยู่ในสภาพนี้เก่าดับหายไป ปรากฎสภาพใหม่นี่ มันไม่ใช่จะเป็นอย่างไรก็ได้น่ะ มันเป็นไปในอาการที่ว่า เอ้อมันมีอะไรที่จะทำให้มันเป็นอย่างงั้น อันนี้ก็คือการที่มันไปเกี่ยวข้องกันและกันนั่นเอง สิ่งทั้งหลายทั้งหมดมันมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ไอ้ความสัมพันธ์ต่อกันนี่แหละ มันมีผลมีอิทธิพลต่อกัน ทำให้การที่สิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปนั้นปรากฏในลักษณะในสภาพที่เป็นอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นต่ออิทธิพลของความสัมพันธ์นั้น การที่สิ่งทั้งหลายที่มีความสำพันธ์ต่อกันมีอิทธิพลต่อกันนี้ เราเรียกว่าเป็นปัจจัยแก่กันและกัน นั่นเราเลยเรียกว่า อาการนี้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ใช่ไหม
1. ก็มีความเป็นไป ความเป็นไป ก็เป็นศัพท์คลุม ๆ แหละ แยกออกไปให้ชัดขึ้น อ้อความเป็นไปก็คือความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงก็คืออาการที่สิ่งทั้งหลายมีสภาพเก่าดับไป สภาพใหม่เกิดขึ้น หรือสภาพเก่าเลือนหาย สภาพใหม่ปรากฏ คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่คงอยู่ในสภาพเดิม ความเปลี่ยนแปลงเป็นไปทั้งหมดนี้ เป็นไปตามความสัมพันธ์ต่อกันของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งมีอิทธิพลต่อกันโดยเป็นปัจจัยแก่กันและกัน นี้ก็สิ่งทั้งหลายก็คืบเคลื่อนของมันอย่างนี้ตลอดเวลา ความเป็นไปทั้งหมดนี้ ที่เป็นอย่างเงี้ยมันเป็นระบบความสัมพันธ์ในเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายหรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลายที่เป็นปัจจัยต่อกันอย่างนี้ ไม่มีใครมาเป็นผู้บังคับบัญชา ไม่มีอะไรมาครอบครองมีอำนาจสั่งบังคับดลบรรดาลให้มันเป็นไป มันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันของสิ่งทั้งหลายเอง ฉะนั้นเราไม่ต้องไปหาตัวผู้บันดาลจะให้เป็นหรอก หน้าที่ของเราที่จะหาตัวความจริงเพื่อจะปฏิบัติต่อมันให้ได้ คือจับตัวปัจจัยมันได้ ถ้าเราจับปัจจัยมันได้เมื่อไร นั่นคือเรารู้เข้าใจมัน แล้วเราจะปฏิบัติต่อมันได้ถูกต้อง แทนที่ไปหาตัวผู้สร้างผู้บันดาลผู้กำหนดบังคับนี่ ไม่ได้เรื่อง จับให้ได้ตัวปัจจัยอยู่ที่ไหน เอาล่ะครับ นี่ก็คือความจริงของสิ่งทั้งหลาย
ในเมื่อสิ่งทั้งหลายมีความเป็นไปอย่างนี้รวมทั้งชีวิตของเราด้วย เราก็จะต้องเข้าใจมัน คือถ้าเราจะดำเนินชีวิตของเราให้ดีงาม เราก็จะต้องปฏิบัติต่อมันให้เกิดผลดี ซึ่งมันจะเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นเราก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเหตุปัจจัย แน่นอนว่าเราต้องการให้ชีวิตของเรานี่ดีงาม เราต้องการได้รับผลดี ๆ นั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ก็ต้องเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยของมัน เราไม่รู้เหตุปัจจัยแล้วเราไปทำให้เกิดผลดีได้อย่างไร เราก็ทำสุ่มสี่สุ่มห้า ปะเหมาะเคราะห์ดีไปตรงเข้า เหตุปัจจัยที่ดีไปตรงเข้า มันก็เกิดผลดี ทำไม่ถูกไม่ต้อง มันก็เกิดผลเสียไม่สำเร็จผล ฉะนั้นทางที่ดีก็คือว่า เมื่อสิ่งทั้งหลายเริ่มแต่ชีวิตของเรานี้ มันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามเหตุปัจจัยคือ ความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ก็ไปจับตัวปัจจัยนี้ให้ได้ ไปมองระบบความสัมพันธ์ให้ได้ แล้วไปปฏิบัติให้ถูกต้องตามเหตุปัจจัยนี้แหละ
อันนี้ กลับมาดูภาพรวมของความเป็นไปหรือความจริงอันนี้ กติกาที่สิ่งทั้งหลายนี่ มันมีความสัมพันธ์ต่อกัน เป็นปัจจัยแก่กัน มันปรากฎขึ้นในสภาพใหม่อย่างไรต้องอาศัยปัจจัยในระบบความสัมพันธ์ของมันนั้น แล้วปรากฎขึ้นมา อาการที่เป็นอย่างนี้มีศัพท์ เรียกชื่อว่า อิทัปปัจจยตาจตุบาท คือการที่สิ่งทั้งหลายมีความเป็นไปตามปัจจัยเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้ จึงมีไปตามปัจจัย และก็อาศัยปัจจัยในระบบความสัมพันธ์นั้นจึงปรากฏขึ้นมา อาการที่เป็นอย่างนี้มีศัพท์เรียกชื่อตัว อิทัปปัจจยตาจตุบาท อาการที่ว่าภาวะอย่างนี้มันก็เป็นของมันอย่างนั้น คือมันเป็นของมันตามธรรมดาของมัน ไม่ใช่มีผู้สร้างผู้บันดารผู้มามีอำนาจครอบครองสั่งบังคับอะไร การที่มันเป็นของมันอย่างนั้น หรือภาวะที่เป็นเช่นนี้นั่นเอง เราเรียกว่า ตถตา ตถตาตัวนี้ก็เป็นคำเรียกสั้น ๆ ซึ่งก็คือ อิทัปปัจจยตาจตุบาท เป็นอีกชื่อหนึ่ง หรือเป็นคำบรรยายของคำว่า อิทัปปัจจยตาจตุบาท ทีนี้ มันเป็นอย่างนี้ เพราะว่ามันอยู่ในระบบความสัมพันธ์ที่มันมีอิทธิพลต่อการเป็นปัจจัยแก่กัน มันก็จะต้องเป็นอย่างนี้ มันไม่อาจเป็นอย่างอื่นไปได้ ท่านเลยให้คำจำกัดไว้อีก เพื่อให้แน่นเข้าสัมทับเข้าไปว่า อวิตถตา แปลว่าภาวะที่มันไม่อาจจะเป็นอย่างอื่นไปได้ ไม่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นอย่างนั้น แล้วอีกคำก็เรียกว่า อนันยตถตา ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะมันไม่อาจเป็นอย่างอื่นไปได้ แต่คำเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องสนใจมาก พอรู้ศัพท์ที่สำคัญก็คือ คำว่า อิทัปปัจจยตาจตุบาท รองลงมาก็คือ ตถตา ส่วนคำว่า อวิตถตา อนันยตถตา ถือว่าเป็นคำบรรยายพิเศษเพิ่มขึ้นมาไม่จำเป็นต้องจำ ทีนี้ในความเป็นไปอย่างนี้นั้น เราก็ไปดูรายละเอียดที่ความเป็นไป เปลี่ยนแปลงอะไรทั้งหมดนี่ มันมีอาการปรากฏขึ้นมาที่เราพูดไปแล้ว ก็มีอาการที่ว่ามันมีการเกิดขึ้นดับไปหรือว่าสภาพเก่าดับไป สภาพใหม่ปรากฎขึ้น นี่คือการเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป ไม่มีสิ่งไหนคงอยู่เรื่อยไป มันมีแต่เกิดดับเกิดดับ ๆ ไอ้การเกิดดับนี้แหละทำให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปได้ ถ้ามีการเกิดดับสิ่งทั้งหลายเป็นไปได้อย่างไร ใช่ไหม นี้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นดับไป ๆ อาการที่มันเกิดขึ้นดับไปเป็นสภาพเก่าลับหาย สภาพใหม่ปรากฏนี้เรียกว่าอนิจจัง แปลว่าไม่เที่ยง หรือเรียกเป็นศัพท์เป็นภาวะเรียกว่า อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ไม่เที่ยงก็คือเกิดแล้วดับไป ๆ เกิดดับ ๆ ๆ ถ้าหากว่าจะดูความจริงให้ถึงที่สุดจะต้องมองให้เห็นความเกิดดับของสิ่งทั้งหลายเลย นักวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ก็พยายามที่จะค้นหาไอ้ความจริงของความเปลี่ยนแปลงนี้มาถึงการที่เกิดดับ ๆ แต่ว่าเป็นเพ่งในแง่วัตถุ เอ้าที่นี้ก็ภาวะที่มันไม่คงอยู่ในสภาพเดิม คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อันนี้ก็มีศัพท์เรียกว่า เป็นทุกข์ เรียกว่า ทุกขตา เรียกเป็นศัพท์ธรรมดาก็เรียกว่า อนิจัง ทุกขัง ถ้าเรียกเป็นภาวะเรียก อนิจจตา ทุกขตา ทีนี้อาการสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันเป็นไปตามภาวะของมันเอง ไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองบังคับสั่งมันได้ เราเรียกว่า เป็นอนัตตา อนัตะตาเป็นภาวะ คือมันมีความเป็นไปของมันตามความสัมพันธ์ของมันกับสิ่งทั้งหลาย มันไม่ต้องมามีเจ้าตัวผู้หนึ่งที่มาเป็นเจ้าของแล้วมาบังคับอยู่ต่างหาก ถ้าขืนมีล่ะก็มันก็ยุ่งไอ้ระบบความสัมพันธ์ความเป็นไปตามเหตุผลปัจจัยมันก็เป็นไปไม่ได้ ใช่ไหม กลายเป็นว่ามีผู้มาสั่ง ไอ้เจ้าผู้สั่งบังคับดลบันดารนี่ก็ เอ้อบอกไม่ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยว่างั้นซิใช่ไหม มันก็ยุ่งกันใหญ่เป็นไปไม่ได้ มันไม่มีไอ้ตัวผู้สั่งผู้บังคับเจ้าของครอบครองต่างหาก ฉะนั้นอันนี้ก็เป็นลักษณะที่ 3 ที่เรียกว่า อนัตตา หรือเรียกเป็นภาวะ อนัตะตา การที่ว่ามันไม่มีเจ้าของบังคับครอบครองสั่งบันดาลมันเป็นไปตามสภาวะของมันนี่ มันดำรงอยู่เป็นไปตามสภาวะของมันนี่ เช่น เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเป็นต้น แล้วสังขาลทั้งหลายนี่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ไม่ได้เป็นไปตามความสั่งบังคับความปรารถนาของใครทั้งสิ้น เป็นอันว่านี่ได้ลักษณะ 3 อย่างคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเรียกให้เต็มว่า อนิจตา ทุกขตา อนัตตา ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ ไตรก็สาม ลักษณ์ก็คือลักษณะ ลักษณะ 3 ประการ ลักษณะ 3 ประการของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันนี้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในที่นี้เราเรียกว่า ธรรม ทีนี้ธรรมะนี้ก็มีการแยกออกไปอีก อย่างง่าย ๆ ก็เป็น 2 ส่วนหรือ 2 ประเภท ก็คือว่าสิ่งทั้งหลายที่มันเกิดจากปัจจัยปรุงแต่งหรือว่ามีความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนี้ อันนี้เรียกว่า สังขาล แล้วก็มีภาวะอย่างหนึ่งที่ธรรมะ คือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น เพื่อจะให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นก็แบ่งเป็น 2 ประเภท คือสิ่งทั้งหลายที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งหรือว่าเป็นไปตามปัจจัยขึ้นต่อสิ่งอื่น ๆ ที่เข้ามาสัมพันธ์เรียกว่า สังขาล ที่นี้มีภาวะอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ขึ้นต่อปัจจัยต่าง ๆ มาอยู่ในระบบความสัมพันธ์ที่จะต้องขึ้นต่อสิ่งอื่น ท่านเรียก วิสังขาล ได้แก่นิพพานมีภาวะอันนี้อันเดียวที่ไม่ขึ้นต่อปัจจัย ถ้าใช้ศัพท์หนึ่งก็สังขาล นั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม และก็ วิสังขาล หรือ นิพพาน นั้นเรียกว่า อสังขตธรรม สังขารก็แปลว่าสิ่งที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา สังขตธรรม ก็เช่นเดียวกันก็แปลว่าธรรมที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ส่วนคำว่า วิสังขาร ปราศจากการปรุงแต่ง อสังขตธรรม ธรรมะที่ไม่ถูกปรุงแต่ง ทีนี้ที่ว่ามีลักษณะ 3 นี้จะเห็นว่าอันใดที่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย อันนั้นเรียกว่าสังขารนั้น พวกนั้น ๆ จะมีภาวะที่ไม่เที่ยง คือเกิดดับ ๆ แล้วก็ไม่คงอยู่ในสภาพเดิม ก็คือมีความเปลี่ยนแปลงนั่นเอง อันนั้นทั้งหมดนี้เป็นสังขาร แต่ส่วนอสังขตธรรม หรือ วิสังขาล นี่ เพราะไม่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ขึ้นต่อสิ่งอื่นในระบบความสัมพันธ์ ก็ไม่มีความเปลี่ยนแปลงแล้วก็ไม่ขึ้น ไม่อยู่ในภาวะที่ว่าตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ก็คือปราศจากหรือพ้นจากภาวะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง แต่มันก็ยังมีภาวะอันหนึ่งร่วมกับอย่างอื่น ก็คือว่าดำรงอยู่ตามสภาพของมันเอง ไม่มีใครมาเป็นเจ้าของบังคับครอบครองสั่งดลบันดาลได้ อันนั้น ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือทั้งสังขาลและวิสังขาล จะมีลักษณะร่วมกันทั้งหมดก็คือเป็นอนัตตา ย้ำอีกทีว่า อนัตตา ก็คือภาวะที่ว่าดำรงอยู่ตามสภาพของมันเอง ถ้าหากว่าเป็นสังขาลก็จะเป็นไปตามสภาพของมันด้วย เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน แต่ว่าสำหรับนิพพานเราจะพูดว่าดำรงอยู่ตามสภาพของมัน โดยไม่มีใครมาเป็นเจ้าของครอบครองสั่งบังคับดลบันดาล อันนี้ในเมื่อทั้งสังขารและวิสังขารทั้งหมดเนี่ย คือทั้งธรรมที่เป็นสังขาล และธรรมที่เป็นวิสังขาร หรือทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรมมีลักษณะร่วมกันอย่างนี้ งั้น จะใช้คำว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา คือคลุมหมดเลย อันนี้ถ้าพูดว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนิจจังด้วยก็จะเกิดปัญหาว่า เอ้ะก็นิพพานที่เป็นสังขตธรรม หรือวิสังขารนั้น มันจะพ้นจากอนิจจัง แล้วนิ ก็จะเกิดความผิดพลาด ฉะนั้นก็เลยต้องพูดให้จำกัดลงมาว่าสังขารทั้งปวงหรือสังขตธรรมทั้งปวง หรือธรรมที่เป็นสังขตะ ธรรมที่เป็นสังขตะธรรม คือธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งได้ทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง เป็นทุกขังไม่คงอยู่ในสภาพเดิม ฉะนั้น 2 ข้อแรกนี้ใช้คำว่า สัพเพสังขารา สังขารทั้งหลายทั้งปวง เพราะเพื่อจะกันนิพพานออกไป กันอสังขตกรรมออกไป แต่ที่จริงจะพูดให้เต็มก็คือ ธรรมทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ใช่ไหม จำกัดอยู่แค่นั้น หรือจะพูดอีกศัพท์หนึ่ง สังขตธรรมทั้งปวง สังขตธรรมทั้งปวง เป็นอนิจัง เป็นทุกขัง มีการเกิดดับและก็ไม่คงอยู่สภาพเดิม ส่วนนิพพานนั้นอยู่ในคำว่า ธรรมทั้งปวงรวมทั้งสังขตธรรม อสังขตธรรม อันนั้นรวมเป็นอนัตตาเพราะดำรงอยู่ตามสภาพของมัน ไม่มีเจ้าของครอบครองบังคับสั่งการดลบันดาลได้ ไม่เป็นในอำนาจของใครว่างั่นเถอะ นิพพานไม่เป็นในอำนาจของใครทั้งนั้น ว่างั้นเถอะ หรือแม้แต่สังขาลทั้งหลายก็เหมือนกันอันนี้เป็นสภาพที่เหมือนกัน ไม่มีใครมาสั่งบังคับได้ทั้งนั้น
(1)
คนฟังถาม: เที่ยงด้วย
พระตอบ: เอ้านิพพานก็พ้นภาวะไม่เที่ยงก็เที่ยงซิ แล้วก็พ้นภาวะทุกข์ จะเรียกว่าเป็นสุข ก็ได้ เอาเป็นว่าลักษณะ 3 อย่าง
1.ไม่เที่ยง เกิดดับ ๆ
2. เป็นทุกข์ ไม่คงอยู่ในสภาพเดิม หรือไม่คงอยู่ในสภาพนั้น ๆ คงอยู่ในสภาวะนั้นไม่ได้
3. อนัตตาแปลว่าไม่มีเจ้าของครอบครองสั่งบังคับดำรงอยู่ตามสภาพของมัน ก็สังขาลทั้งหลายทั้งปวง หรือสังขตธรรมทั้งปวงนั้นได้ข้อ 1 และข้อ 2 น่ะ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และข้อ 3 ด้วย ส่วนนิพพานนั้นเป็นเฉพาะอนัตตา ข้อ 3 อย่างเดียว จึงพูดว่า สัพเพสังขาราอนิจา สังขาลทั้งหลายทั้งปวง คือ สังขตธรรม ทั้งปวงไม่เที่ยง สัพเพสังขารา ทุกขา สังขาล หรือ สังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ ดำรงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สัพเพธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งปวงอันนี้หมดเลย ทั้งสังฆธรรม อสังฆธรรมเป็นอนัตตา ก็คือว่าไม่เป็นตัวเป็นตน ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองสั่งบังคับดลบันดาลได้ ดำรงอยู่ตามสภาพของมัน คำว่าดำรงอยู่ตามสภาพของมันเนี่ย ถ้าเราใช้สังขตธรรม เราสามารถพูดขยายไปว่า เป็นไปตามสภาพของมัน คือเป็นไปตามเหตุปัจจัย ใช่ไหม เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ไม่มีใครมาสั่งบังคับนอกเหนือจากนั้น เอาน่ะเป็นอันว่าครบแล้ว
นี่ก็คือเรื่อง ไตรลักษณ์ นี่ เราก็อยู่กับความเป็นจริงอันนี้ ความเป็นจริงของความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายเราอยู่ในโลก ชีวิตของเราก็เป็นอย่างนี้ สิ่งทั้งหลายก็เป็นอย่างเงี้ย เมื่อเราอยู่กับความเป็นจริง เรียกว่า ธรรมะ อันนี้มีความเป็นไปอย่างนี้ ก็บอกแล้วว่าชีวิตเราเป็นอย่างนี้สิ่งทั้งหลายเป็นอย่างนี้ เราดำรงชีวิตท่ามกลางสิ่งเหล่านี้เราจะให้ชีวิตของเราดำเนินอยู่ด้วยดีเป็นไปด้วยดีได้รับผลดีจากสิ่งต่าง ๆ เราก็ต้องปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง มันเป็นไปยังไงมีภาวะความจริงอย่างไรเราต้องรู้ ปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักความจริงนั้น เพราะฉะนั้นความจริงเหล่านี้เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นหน้าที่ของเราก็คือว่า ทำยังไงจะได้รู้เข้าใจมัน ทีนี้ตอนนี้เรามาดูว่ามนุษย์เมื่อไปสัมพันธ์กับความเป็นจริงอันเนี้ยกับสิ่งทั้งหลายพร้อมทั้งความจริงของมันตั้งแต่ชีวิตของตนเป็นต้นไป มนุษย์มีความสัมพันธ์และปฏิบัติต่อมันอย่างไร เราดูตั้งแต่การสัมพันธ์ที่ถูกและไม่ถูก ความสัมพันธ์ที่ผิด ย้อนกลับไปดูภาวะความเป็นจริงของมัน ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเนี่ยนี่ มันเป็นไปอย่างนี้ นี้มนุษย์นี่มีอันหนึ่งก็คือ ความต้องการ ใช่ไหม มนุษย์มีความปรารถนา อันนี้เป็นตัวสำคัญมากเลย มนุษย์มีอันหนึ่งก็คือความปรารถนาหรือความต้องการ ต้องการอะไรล่ะ ต้องการให้ชีวิตของตนดี ต้องการความสุข ต้องการอะไร ๆ ไม่รู้ที่มันดี ๆ มีผลดีกับตนเอง มีความปรารถนาอันนี้ ทีนี้ดี ๆ มีผลดีกับตัวเอง ความปรารถนาก็ต้องการให้สิ่งทั้งหลายเนี่ยมีความเป็นไปอย่างที่ตัวปรารถนา ใช่ไหม นี่มนุษย์ก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น มีความต้องการ มีความอยากความปรารถนาให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทีนี้ความจริงของมันที่มันจะปรากฏสำคัญแก่มนุษย์ก็คือ ความเป็นไปที่ว่าการที่มันเป็นไปของมันเรื่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ นี่มันไม่คงอยู่ในภาวะนั้นหรอก ที่นี้ มนุษย์นี้มีความต้องการอยากให้มันเป็นไปในภาวะที่ตัวเองอยากให้เป็น ทีนี้สิ่งทั้งหลายมันก็จะเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันหรือเป็นไปตามภาวะสัมพันธ์ของมันเนี่ย มันก็ไม่อยู่ในสภาพที่ตรงกับความปรารถนาของมนุษย์ ตอนนี้แหละความสัมพันธ์กับมนุษย์นี่แหละเรื่องของมนุษย์ที่เข้าไปสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ก็คือสิ่งทั้งหลายก็มีความเป็นไปของมันมีความจริงของมัน มนุษย์ก็มีความต้องการ พอไปเจอกันอันนี้ความต้องการกับความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายนี่ มันจะเริ่มมีทางที่จะไม่สอดคล้องกันได้แล้ว ก็คือว่าสิ่งทั้งหลายมีความเป็นไปของมัน ซึ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัยเป็นต้น มันจะไม่คงอยู่ในภาวะนั้น ๆ แต่มนุษย์ต้องการภาวะอย่างหนึ่งที่ตัวจะให้สิ่งนั้นเป็น ใช่ไหม อันนี้ เมื่อสิ่งทั้งหลายไม่อยู่ในภาวะนั้น ไม่คงในภาวะนั้น มนุษย์ไม่ได้ตามต้องการ มนุษย์จะเกิดอะไรขึ้น นั้นเรียกว่า ทุกข์ เกิดความรู้สึกบีบคันติดขัดขัดข้อง ภาษาพระะเรียกว่า ทุกข์ ถ้ามองในแง่นี้แล้วก็คือการที่สิ่งทั้งหลายเนี่ยมันหาได้เป็นไปตามปรารถนาของมนุษย์ไม่ ถูกไหม เพราะฉะนั้นความต้องการของมนุษย์ก็จะถูกขัดขวางถูกบีบถูกขัดแย้งเรื่อย อันนั้นเมื่อมองในแง่นี้แล้วสิ่งทั้งหลายนี้ มันอยู่ในภาวะที่จะก่อให้เกิดอาการนี้ได้เสมอเลย ใช่ไหม คือตัวมันเองมันเกิดดับ มันไม่คงอยู่ในภาวะนั้นตลอดไป ภาวะนี้เรียกว่าทุกข์ของมันตามสภาพไม่เกี่ยวกับเราน่ะ มันเป็นของมันเอง มันไม่คงอยู่ในสภาพนั้น ที่นี้ พอมาสัมพันธ์กับมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการ มนุษย์ต้องการภาวะอันหนึ่งที่ให้สิ่งนั้นเป็นอยู่อย่างนั้น มันเป็นไปของมัน มันก็ไม่สามารถจะอยู่ในภาวะที่เราต้องการ ภาวะที่มันไม่อยู่ในสภาพเดิมของมันนั้น ซึ่งเป็นทุกข์ของมันนี่ จะมาเป็นอาการในจิตใจของมนุษย์ เรียกว่าทุกข์ในใจของมนุษย์เลย ถูกไหม ดังนั้นสิ่งทั้งหลายตัวเด่นของมัน อาการปรากฏก็คือการที่มันไม่คงอยู่ในภาวะนั้น ๆ อันนี้ที่เราเรียกความเปลี่ยนแปลง ทีนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตัวปรากฏแก่มนุษย์คือ ทุกข์ ภาวะของสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏแก่มนุษย์คือ อาการที่มันไม่คงอยู่ในภาวะนั้น ๆ เราจะเรียกความเปลี่ยนแปลง หรืออะไรก็เป็นศัพท์รวม ๆ เรามักจะเอาคำว่าความเปลี่ยนแปลงนี้ไปหมายถึงอนิจัง ที่จริงอนิจจังมันยังไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงเป็นภาวะเกิดดับ ๆ ๆ แล้วก็ไม่คงอยู่ในสภาพนั้นเราเรียกรวมว่าความเปลี่ยนแปลง ใช่ไหม ทั้งอนิจจัง ทุกขัง นี่เรียกรวมว่า ความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันจะโยงไปหาอนัตตาด้วยในแง่ว่า มันเป็นไปตามภาวะของมัน ในแง่ที่สังขาลทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นอันว่า ไอ้ตัวเด่นเวลาปรากฎแก่มนุษย์นี่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่ สิ่งทั้งหลายที่ปรากฏแก่มนุษย์ ปรากฏในภาวะที่มีความเป็นไปไม่คงอยู่ในภาวะนั้น ๆ ใช่ไหม แล้วอาการที่มันไม่คงอยู่ในภาวะนั้น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยนี่ มาสัมพันธ์กับความปรารถนาความต้องการของมนุษย์ขึ้น จะเกิดความขัดแย้ง พอเกิดความขัดแย้งขึ้นก็จะเกิดอาการเป็นการไม่ได้ตามปรารถนา ขัดแย้งต่อความปรารถนาของมนุษย์เรียกว่าทุกข์ อีกขั้นหนึ่ง ทุกข์ในใจของมนุษย์ก็เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งทั้งหลายมองในแง่นี้แล้วเป็นสภาพที่เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ได้ทั้งสิ้น ถูกไหม (หรือมีเงื่อนไขว่า ถ้ามนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องโดยเอาความปรารถนาของตนเข้าไปยึด) การที่มนุษย์ มีความอยากต้องการอย่างนี้ เป็นความอยากความปรารถนา โดยเกิดมาจากความอยากในใจไม่มีเหตุมีผลอะไรทั้งนั้น อยากจะให้เป็นอย่างที่ถูกใจชอบใจ ความอยากประเภทนี้เรียกว่า ตัณหา เป็นความอยากที่ไม่ต้องมีเหตุมีผล สักแต่ว่าชอบใจ พอใจ ถูกใจ อันนี้พออยากแล้วมันก็ยึดอยากจะต้องให้เป็นอย่างนั้น ให้อยู่ในภาวะอย่างนี้ การที่ว่าจะต้องให้อยู่ในภาวอย่างนี้ อยู่ในภาวะที่ตนปรารถนานี้เรียกว่า อุปทาน อยากให้เป็นอย่างที่ตัวต้องการ ก็ยึดว่า มันจะต้องอยู่ภาวะที่เราต้องการนี้ นั่นเรียกอุปทาน อุปทาน แปลว่า ความยึดมั่นก็คือ ความอยากที่แรงขึ้นมาเป็นยึดจะต้องเป็นอย่างนี้ เอาละครับนี่ภาวะที่จิตสำคัญต่อมนุษย์คือ อุปทาน สิ่งทั้งหลายมีความเป็นไปของมัน ไม่คงอยู่ในภาวะนั้น ๆ ไปเรื่อย เปลี่ยนแปลงไอ้มนุษย์ก็จะให้อยู่ในภาวะอันหนึ่งที่ตัวต้องการให้มันได้ มันเกิดความขัดแย้งนี่ มันก็เกิดความกระทบกระทั่งบีบคั้นขัดแย้งกันขึ้น ฉะนั้นไอ้ตัวความยึดจะให้เป็นให้ได้ จากตัณหาให้มาเป็นอุปทานนี่ ไอ้เจ้าอุปท่านนี่พอเข้าไปสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายก็ทำให้มนุษย์เกิดภาวะที่เรียกว่าทุกข์ขึ้น ฉะนั้นสิ่งทั้งหลายที่มนษย์เข้าไปยึดไปถือ เรียกว่าด้วยอุปทานนี้ ก็จะทำให้เกิดทุกข์ได้ทั้งสิ้น ทุกข์ในใจของตัวเอง จากทุกข์ที่มันมีอยู่เองมันตามธรรมชาติก็เกิดเป็นทุกข์ในใจมนุษย์ ใช่ไหม ทุกข์ในธรรมชาติเป็นอาการปรากฏลักษณะเด่นของสิ่งทั้งหลายต่อมนุษย์ คือมันไม่คงอยู่ในภาวะเดิม ไปเรื่อย ทีนี้ก็เมื่อมนุษย์เข้าไปสัมพันธ์ก็เอาความต้องการความอยากและก็ความยึดความหมายมั่นของตนเข้าไปสัมพันธ์ เพราะฉะนั้นมันก็ทำให้เกิดอาการเป็นทุกข์ในใจของมนุษย์ไม่ได้ตามปรารถนาเกิดความบีบคั้นขัดแย้ง ฝืนความปรารถนามันไม่อยู่ในภาวะที่เราต้องการใช่ไหม ทีนี่เมื่อพูดอย่างนี้เราก็พูดถึงสิ่งทั้งหลายทั้งหมดที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องว่า ตัวมันเองเป็นทุกข์ แล้วสำหรับมนุษย์มันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ คือหมายความว่ามันมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดทุกข์แก่มนุษย์ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอุปทาน ใช่ไหมครับ เอาน่ะ นี่คือสิ่งแรกที่มนุษย์จะต้องเข้าใจเลย ว่าในการเข้าไปสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ นั้นเราจะสัมพันธ์อย่างไรจึงจะถูกต้อง ถ้าเราเข้าไปสัมพันธ์ด้วยความอยากความต้องการของเรา มันก็จะมีลักษณะเป็นตัณหาแล้วก็อุปทานตามมา แล้วก็จะได้ซึ่งความทุกข์ ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจความจริงของมันถูกไหม การที่เราจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นให้เกิดผลดีกับชีวิต บอกแล้วว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามธรรม ฉะนั้นเราจะมาเอาแต่ความอยากความปรารถนาของเราไม่ได้ หน้าที่ของเราที่จะทำ ที่จะปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดี บอกแล้วว่าจะต้องทำให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของมันที่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นต้น จะทำไงให้สอดคล้องได้ ให้เกิดผลดีก็ต้องรู้เหตุปัจจัยนั้น รู้ความจริง เพราะฉะนั้นต้องเปลี่ยน ๆ จากการที่มาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายด้วยตัณหาอุปทาน เปลี่ยนเป็นเอาปัญญาเข้ามา ใช่ไหม เราบอกแล้วว่า ไอ้เจ้าตัณหาอุปทานนี่เอาความอยากความยึดเข้าว่า มันไม่ได้เกิดจากปัญญาไม่รู้เลย เพราะฉะนั้นมันมาจากตัวสำคัญที่เป็นฐานรองรับอยู่คือ อวิชชาความไม่รู้ ฉะนั้นถ้าสืบก้นบึ้งเข้าไปก็คืออวิชชา ความไม่รู้แล้วไปสัมพันธ์เอาแต่อยากจะยึดให้หมายมั่นให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยไม่รู้เข้าใจเลย เพราะฉะนั้นอวิชชา ตัณหา อุปทานก็มาเข้าชุดกัน นี้เพราะฉะนั้นก็เราก็จะเปลี่ยนแปลงใหม่ว่า เอ้อ เราจะต้องการให้เกิดผลดีแก่ชีวิต ดำเนินชีวิตให้ผลดี สิ่งทั้งหลายมันก็เป็นธรรมชาติของมันอย่างนี้ มันเป็นไปตามธรรม คือความเป็นจริงตามเหตุปัจจัยมีการเกิดดับ ๆ ไม่คงอยู่ในภาวะเดิม มีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอยู่เสมอ เราต้องรู้เท่าทันความจริงของมันอันนี้ เสร็จแล้วเมื่อรู้เข้าใจความจริงแล้วนะ เราต้องการจะให้เป็นยังไร เรากำหนดความต้องการอย่าไปอยู่ความต้องการของมัน แล้วก็ไปศึกษาเหตุปัจจัยใช่ไหม ศึกษาเหตุปัจจัยจับเหตุปัจจัยได้ เราก็สามารถปฏิบัติต่อมันให้เกิดผลดีตามที่ต้องการ นี่เรียกว่าเป็นการสัมพันธ์ด้วยปัญญา ก็เปลี่ยนจากการที่ว่าสัมพันธ์ด้วยตัณหารวมทั้งอุปทานและอวิชชาด้วยนี่ มาเป็นความสัมพันธ์ด้วยปัญญา
ความสัมพันธ์ด้วยปัญญาก็จะทำให้เกิดผลที่ดีแก่เรา ก็คือว่า
1.ก็คือ เราเป็นอิสระ จากการที่ว่ามองสิ่งทั้งหลายเนี่ยรู้ตามความเป็นจริง ว่าอ้อ มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันมันจะเป็นยังไงก็ขึ้นกับเหตุปัจจัยนั้น มันไม่ขึ้นต่อความปรารถนาของเราเนี่ย เราจะพ้นจากอำนาจความอยากหรือตัณหาของเราได้ คือเราจะไม่ปล่อยใจของเราให้มันขึ้นต่อไอ้ตัวความอยาก เพราะเราเอาตัวของเราพ้นจากความอยากมันได้อยู่ด้วยปัญญามองตามความเป็นจริงก็จิตใจก็เริ่มเป็นอิสระตั้งท่าที่เป็นอิสระขึ้นมาได้ เสร็จแล้วพอมีท่าทีเป็นอิสระแล้ว ก็อย่างที่รู้แล้วนี่ว่า สิ่งทั้งหลายจะเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน จะทำอะไรก็ทำไปตามเหตุปัจจัยศึกษามันก็เข้าไปศึกษาเหตุปัจจัย จับเหตุปัจจัยให้ได้แล้วทำที่เหตุปัจจัยแก้ไขตามเหตุปัจจัย ได้แค่ไหนก็แค่นั้นตามเหตุปัจจัยใช่ไหม ก็ต้องพัฒนาตนอยู่เรื่อยสิ เพราะฉะนั้นเราจะรู้เข้าใจเหตุปัจจัยจะทำการให้สำเร็จตามเหตุปัจจัยแล้วก็ต้องพัฒนาตัวเรา ตัวสำคัญก็คือพัฒนาปัญญาขึ้นมาให้มีปัญญา รู้เข้าใจความจริงมากขึ้นและเราก็ปฏิบัติแต่สิ่งเหล่านั้นถูกต้องก็ได้ผลขึ้นมา นี่ก็หลักการใหญ่ก็มี 2 อันแล้วนะ 1. มีท่าทีที่เป็นอิสระไม่ขึ้นกับตัณหาของตนเอง เพราะว่าถ้ามีการมองตามความจริงนี่ ทำให้จิตใจเป็นอิสระอยู่แล้วนะ แม้จะพ้นจากเรื่องความทุกข์ การที่สิ่งทั้งหลายจะไม่คงอยู่ในภาวะนั้นตามปรารถนา มันไม่มีให้ตัวความปรารถนามาบังคับตัวเอง เราไม่ขึ้นกับความปรารถนาเราก็พ้นจากความทุกข์ไปได้ขั้นหนึ่ง ทีนี้
2.คือเอาปัญญาเอามาใช้ในการศึกษาเหตุปัจจัยปฏิบัติกับมันตามเหตุปัจจัยก็จะทำการนั่นได้ผลดีขึ้น เมื่อได้ผล ได้แค่ไหนก็ตามเหตุปัจจัยเราก็รู้ตลอดเวลาเพราะฉะนั้นเราก็ เมื่อทำไปแล้วได้ผลไม่ได้ผลเราจะไปโยงเข้ากับเรื่องความเป็นไปตามเหตุปัจจัย และเราก็จะไม่ทุกข์ที่ไม่ได้ตามที่ต้องการ หรือทุกข์น้อย นี้การที่จะทำให้ได้ผลดีนี้ก็ เราจะต้องมีความเข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยเนี่ยบอกแล้วว่ามันอยู่ในระบบความสัมพันธ์กัน เมื่อมันอยู่ในระบบความสัมพันธ์นี่สิ่งทั้งหลายสัมพันธ์ ๆ กันออกไป สัมพันธ์กับสิ่งนี้ในด้านนี้แต่พร้อมกันนั้นให้เจ้าสิ่งที่ไปสัมพันธ์นี้ ก็ไปสัมพันธ์กับสิ่งอื่นอีก พอทำอะไรไปกระทบต่อไอ้เจ้าตัวนี้ ไอ้เจ้าตัวนี้ก็ส่งผลกระทบต่อเจ้าตัวโน้น ต่อ ๆ ๆ กันออกไป นอกจากนั้นพอไปทำกับไอ้ตัวนี้อย่างนี้แล้ว อีกด้านหนึ่งของเรานี่ เราก็มีความสัมพันธ์กับอย่างอื่นอีกเยอะแยะ พอมาสัมพันธ์กับอันนี้อย่างนี้ ไอ้ความสัมพันธ์อื่นของเราก็เปลี่ยนด้วยน่ะ โดยเราเป็นไปเองเลย พอเราสัมพันธ์กับสิ่งนี้อย่างนี้ ไอ้ความสัมพันธ์ของเราที่มีต่อสิ่งนี้อย่างนี้ ก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ฉะนั้นผลมันจะเกิดขึ้นอีกหลายด้านในระบบความสัมพันธ์ ฉะนั้นในการที่จะทำอะไรให้ได้ผลดี เราต้องตระหนักความจริงอันนี้ คือมองระบบความสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทั่วถึงที่สุด ฉะนั้นจะต้องมองกว้าง ถ้าเรามองเฉพาะตัวสัมพันธ์ เช่น ปัจจัยตัวเดียวเนี่ย อาจจะเกิดผลพ่วงอย่างอื่นได้ผลอันนี้ที่ต้องการในขอบเขตอันหนึ่ง แต่ปรากฏผลพ่วงอื่นตามมา ซึ่งอาจจะเปลี่ยนเป็นผลร้ายไม่คุ้มกับผลดีที่เกิดก็ได้ ฉะนั้น ก็จะต้องมองให้กว้าง มองให้ทั่วถึงระบบความสัมพันธ์เท่าที่เป็นไปได้ อย่าคิดมองแคบ ๆ เอาแค่เหตุปัจจัยอันเดียว นี่ก็เป็นหลักการอันหนึ่งในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย ฉะนั้นท่านจึงให้หลักในการพัฒนามนุษย์อย่างเรื่อง ไตรสิกขา ที่เป็นภาพรวมความสัมพันธ์ทั้งระบบของชีวิต ใช่ไหม ไม่ใช่ไปพัฒนาชีวิตด้านใดด้านหนึ่ง จะต้องมองว่าพฤติกรรมจิตใจและปัญญานั้นสัมพันธ์กันทั้งหมดน่ะ อะไรเป็นต้น นั้นจะต้องมองระบบความสัมพันธ์ให้กว้างให้ทั่วถึงเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นต่อการพัฒนาปัญญาของเราด้วย และอีกอันหนึ่งก็คือว่า มองการปฏิบัติของเราในระบบความสัมพันธ์นี้ ด้วยเจตจำนงความตั้งใจในทางที่ดีในทางเกื้อกูล อย่าไปมองในแง่ทำลายหรือเป็นปฏิปักษ์ อันนี้ก็สำคัญเหมือนกัน เมื่อเรามองในแง่ของการที่จะเป็นปฏิปักษ์ จะไปจัดการกับมันให้เป็นไปตามความปรารถนาของเราอะไรอย่างนี้น่ะ คล้าย ๆ มองในท่าทีที่ว่าไปทำลายมันหรือทำร้าย อันนี้จะส่งผลในระบบเหตุปัจจัยที่ว่าบางทีไม่รู้ตัว ตัวเองจะได้ผลที่ต้องการอันนั้น แต่เกิดผลร้ายอื่น ๆ ฉะนั้นในขณะที่เรายังมองความสัมพันธ์ในระบบปัจจัยไม่ทั่วถึง ความปลอดภัยก็คือ การพยายามปฏิบัติในความสัมพันธ์ ในการทำเหตุปัจจัยในลักษณะที่เป็นทางเกื้อกูล อันนี้จะปลอดภัยที่สุด ใช่ไหม ฉะนั้นก็ตั้งจิตในการปฏิบัติในระบบเหตุปัจจัยในทางเกื้อกูล ทีนี้เราจะมองเห็นว่ามนุษย์ปัจจุบันมีความเจริญด้วยวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์นี้ทำให้มนุษย์ค้นพบความจริงในระบบเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย แต่ว่าเป็นด้านวัตถุ ก็ทำให้มนุษย์มีอำนาจมีความสามารถไปทำให้เกิดผลที่ต้องการได้ ใช่ไหม นี่ก็เข้าหลักการในเรื่องธรรมะ ก็คือพอรู้เหตุปัจจัยและไปจัดการกับเหตุปัจจัยนั้น แต่ว่ามนุษย์ไม่รู้ความสัมพันธ์ทั้งระบบนี้ พอทำเป็นแล้วเกิดผลพ่วงที่ร้าย แต่ว่าตัวสำคัญก็คือมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยท่าทีของจิตใจที่เป็นปฏิปักษ์ อย่างตะวันตกทั้งหมดมีแนวคิดว่าจะพิชิตธรรมชาติ ใช่ไหม อันนั้นมันสูญเสียไอ้ตัวหลักประกันที่จะช่วยเกิดความปลอดภัยนี้ไป เพราะมันไปสัมพันธ์ด้วยความตั้งใจท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ ฉะนั้นเพื่อให้เราปลอดภัยในขณะที่เรายังไม่รู้ ไม่เข้าใจทั่วถึงระบบความสัมพันธ์นี่ ให้สัมพันธ์ด้วยเจตนาดีเกื้อกูล ก็ทำต่อสิ่งทั้งหลายในระบบความสัมพันธ์ในลักษณะเจตจำนงที่ตั้งใจดี ให้เกื้อหนุนต่อการเพิ่มผลดีแก่เราในขณะที่ให้เกิดผลดีกับสิ่งเหล่านั้นด้วยอันนี้จะช่วยให้เกิดความปลอดภัย ผลที่เกิดขึ้นต่อสิ่งอื่น ๆ ที่ย้อนกลับมาหาเรา ซึ่งเราไม่รู้ มันก็จะเกิดเป็นในทางผลดีมากกว่า ใช่ไหม อ้าวก็เป็นอันว่า ได้หลักปฏิบัติ 4 อันแล้วนะ
ในระบบความสัมพันธ์ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เรื่องของสิ่งทั้งหลายที่เป็นความจริง เป็นพระไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้
1. ก็คือการมีท่าทีของจิตใจที่เป็นอิสระด้วยการที่ไม่เอาตัวเข้าไปอยู่ใต้อำนาจความปรารถนาหรือตัณหา อุปทาน ให้มีท่าทีของปัญญา การมองสิ่งทั้งหลาย ตามความเป็นจริงว่าอย่างน้อย มีท่าทีที่เป็นหลักการที่ยึดถือว่าเป็นสัมมาทิฏฐิว่า เออสิ่งทั้งหลาย เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันนะ ไม่ได้เป็นไปตามความอยากความปรารถนาความยึดมั่นถือหมายมั่นของเรานั้น
1.ได้ท่ามีอิสระเราก็จะมีชีวิตที่ดีขึ้น
2.ก็คือว่า เข้าไปศึกษาและปฏิบัติที่เหตุปัจจัย ตามเหตุปัจจัย นี่ทำการภาคปฏิบัติ อันที่ 1 นี้ ได้ความรู้ความเท่าทันมีท่าทีอิสระ 2. ภาคปฏิบัติการเข้าไปทำตามเหตุปัจจัยให้ตรงเหตุปัจจัย ก็จะเกิดผลดีขึ้นตามที่เราต้องการได้ด้วยและจิตใจของเราก็ไม่มีทุกข์ด้วย เท่าไหร่ก็เท่านั้น ตามเหตุปัจจัย 2.ปฏิบัติการแล้ว
3. ในการปฏิบัติการอย่างนี้ให้เข้าใจว่าระบบความสัมพันธ์นี้มันไปมีความเกี่ยวเนื่องโยงกันมากมายกว้างขวางเพราะฉะนั้นมองกว้าง ๆ ว่าอย่าเอาเฉพาะแคบ ๆ แค่ปัจจัยอันหนึ่งอันเดียวระบบความสัมพันธ์ที่กว้างขวาง มองให้กว้างไว้ อันที่ 3 นี้ มองระบบความสัมพันธ์ให้กว้างขวางทั่วถึงเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วมันจะมากระตุ้นให้เราต้องศึกษาเหตุปัจจัยให้กว้างขวางขึ้น
4.ในการปฏิบัติการนั้นต้องตั้งใจตั้งเจตจำนงให้การปฏิบัตินั้นเป็นไปในทางที่มุ่งเกื้อกูลเกื้อหนุนไม่ใช่เป็นปฏิปักษ์หรือทำลายทำร้าย
ก็ได้หลัก 4 ประการ ที่นี้ ย้อนกลับไปพูดถึงความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายที่เป็นความจริงอย่างที่ว่ามาทั้งหมดเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหล่านี้ มันเป็นความจริงที่เป็นกลาง ๆ มันก็เป็นของมันอย่างนั้น มันไม่ดี ไม่ชั่ว ไม่ใช่ว่ามันเปลี่ยนแปลงไปอย่างนี้ มันจะดี หรือเปลี่ยนแปลงอย่างนี้จะชั่ว หรือแม้แต่เจริญหรือเสื่อม สิ่งทั้งหลายที่เป็นตัวความจริง มันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างงั้น ดีหรือชั่ว เจริญหรือเสื่อมไม่มี มันปรากฏขึ้นในความยึดและความอยาก และเรื่องของความคิดของมนุษย์ว่า มันดีมันชั่ว หรือมันเจริญมันเสื่อม ใช่ไหม เมื่อเหตุปัจจัยมันเป็นอย่างนี้ มันก็ปรากฏผลออกมาอย่างนี้ เหมือนอย่างปัจจุบันนี่เราบอกธรรมชาติเสื่อมโทรม ต้นไม้หายไป ต้นไม้ถูกตัด เราเรียกว่าธรรมชาติเสื่อมโทรม นี่สายตามนุษย์มอง ความจริงอะไรมันเสื่อมมีที่ไหน ใช่ไหม มันก็มีแต่ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อมีการทำเหตุปัจจัยให้ต้นไม้หมดต้นไม้ก็หมด เมื่อต้นไม้หมดก็เกิดภาวะอื่นที่การขาดต้นไม้เป็นปัจจัย เช่นให้เกิดความร้อนความแล้ง หรือน้ำท่วมเกินไป ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย มันก็เป็นภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย หรือแม้โลกนี้มันจะพินาศมันก็เป็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยเท่านั้นน่ะ ใช่ไหม มันก็ปรากฏในรูปอื่น ถ้ามนุษย์ไม่มี ๆ มนุษย์มา ไอ้ความเสื่อมความเจริญนี้ไม่มีความหมาย ใช่ไหม มันก็เป็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่นี้ไอ้ที่มันเสื่อมมันเจริญมันดี มันชั่ว มันเป็นความหมายสำหรับมนุษย์ มนุษย์มองตีความหมายขึ้นมา เพราะมีผลต่อตัวเองตามที่เกี่ยวกับความต้องการหรือผลดีต่อชีวิตของตนเองเป็นต้น แม้แต่มนุษย์ไม่มี มันก็ไม่เป็นเสื่อมเจริญ มนุษย์ไม่มีก็เป็นธรรมชาติอย่างนั้นแหละ ธรรมชาตินี่ไม่จำเป็นต้องมีมนุษย์นะ ฉะนั้นธรรมชาติมันเสื่อมโทรมก็หมายความว่ามันไม่เป็นผลดีต่อมนุษย์ มันก็มีแต่ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยเรื่อยไป ไม่มีเจริญ ไม่มีเสื่อมทั้งสิ้น ไม่มีดีมีชั่ว ดีชั่วนี่ก็เป็นเรื่องของมนุษย์ตั้งความหมายให้มัน เพราะฉะนั้นถึงมันจะเรียกว่าเจริญ มันก็คือ ความเปลี่ยนแปลง มันเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็คือความเปลี่ยนแปลง มันเสื่อม มันก็คือความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยเสื่อมต่อไป ก็เป็นความเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นมนุษย์นึกว่าเจริญแล้วเสื่อม คือเปลี่ยนแปลง เสื่อมแล้วเจริญแล้ว เปล่าไม่ถูก เสื่อมแล้วก็เสื่อมต่อไป งั้นก็เป็นเปลี่ยนแปลงอยู่นั่น เจริญแล้วเจริญ เจริญต่อไปก็เปลี่ยนแปลง เจริญแล้วก็เสื่อม เปลี่ยนแปลง เสื่อมแล้วเจริญก็เปลี่ยนแปลง อันนี้เป็นเรื่องของมนุษย์ สำหรับคำว่าเจริญและเสื่อม มันดีมันชั่ว ก็ดีต่อมนุษย์ตรงปรารถนามันก็ดี ไม่ตรงปรารถนาก็ว่า ไม่ดีว่าชั่ว นี่คือเรื่องของความเป็นจริงในธรรมชาติพูดง่าย ๆ ก็คือมีภาวะที่เป็นกลาง ๆ ของมันอย่างนั้น แต่คำว่าไม่ดีไม่ชั่ว กับคำว่าไม่มีความดีและไม่มีความชั่วคนละอย่างนะครับ ความดีความชั่วมี ไม่ใช่ไม่มี มันกลายเป็นสภาวะ ไอ้สภาวะนี้ต้องมาพูดอีกระดับหนึ่ง คือในแง่ของมนุษย์มันก็มีความจริงในความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์ ตอนนี้เราก็จะมาพูดในระดับที่ว่า เอ้อ มันดีมันชั่วภาวะในจิตใจของมนุษย์เองที่ว่า เป็นคุณสมบัติเกิดมีขึ้นมา แล้วมันก็เกิดผลในทางที่เกื้อหนุนอย่างนี้น่ะ ในตัวของเราเองภาวะอันนั้น เราก็เรียกว่าดี ถ้ามันเกิดผลร้ายเราก็เรียกว่าชั่ว แต่ก็ถือว่าเป็นบัญญัติอีกเหมือนกัน ถ้าเอาเข้าจริง ๆ ถึงที่สุด มันก็ไม่มีดีมีชั่วอีกแหละ แต่ว่ามันเป็นอีกขั้นหนึ่ง แต่ในระดับนี้ต้องยอมรับในแง่ของการที่ว่า เพราะในที่สุดเราต้องการเอามาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ใช่ไหมครับ มนุษย์จะดำเนินชีวิตได้ดี นี่ก็ต้องรู้เข้าใจองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะมาเป็นปัจจัย ซึ่งจะใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของตนเอง อะไรเป็นผลดีแก่ชีวิตจิตใจของตนเอง อะไรไม่เป็นผลดีในแง่นี้แล้ว ก็เป็นบัญญัติในระดับหนึ่ง ซึ่งก็เป็นความจริงในแง่ว่า มันเป็นปัจจัยส่งผลในทางที่เกื้อหนุน เราก็ว่าดี ตกลงนะ บัญญัตินี้ยอมรับ ถ้ามันเกิดขึ้นเป็นปัจจัยส่งผลในทางทำลายบั่นทอน เราก็เรียกว่าไม่ดี เพื่อจะให้ปลอดภัยใช้ศัพท์ กุศล อกุศล กุศลก็เกื้อหนุน ถ้าเป็นก็อกุศลก็ไม่เกื้อหนุน แล้วก็นี่เป็นการพูดที่เดี๋ยวจะละเอียดเกินไปแต่เอาความเป็นจริงก็คือว่า ในแง่ของความจริงทั่ว ๆ ไป เราก็พูดว่ามันก็มีแต่ภาวะที่สิ่งทั้งหลายมีความเป็นไปเปลี่ยนแปลงเกิดดับ ไม่คงอยู่ในภาวะเดิม แล้วเป็นไปตามสภาพของมัน ซึ่งสิ่งที่เป็นสังขารก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันไม่เข้าใครออกใคร ไม่ขึ้นต่อใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองบังคับเท่านั้น ไปของมันอย่างนี้ เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับมันก็อยู่ที่เราแล้ว เราจะปฏิบัติต่อมันอย่างไรให้ถูกต้อง ถ้าปฏิบัติไม่ดีเอาความอยากความยึดตัณหา อุปทานเข้าไปจับมัน แล้วก็โดยไม่มีความรู้เป็นอวิชชาก็ต้องเกิดผลร้ายแก่ตัวเอง ฉะนั้นก็เป็นอันว่าให้ใช้ปัญญา พัฒนาขึ้นมาจะได้รู้ความจริงปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้องตามเหตุปัจจัย นี่ก็คือ นี่คือการที่ว่าเราจะเอาธรรมะมาใช้ประโยชน์ เอาละนะ นี่ก็คือหลักความจริงธรรมะที่ไปมีอาการปรากฏ ซึ่งจะมาเกี่ยวข้องกับเราแล้ว ก็ดูความจริงของมันที่เป็น ไตรลักษณ์ มีลักษณะ 3 ประการ แล้วก็จะปฏิบัติต่อมัน ตามที่ว่ามาทั้งหมด ให้ปลอดภัยก็ใช้หลัก 4 ประการที่ว่ามานั้น แล้วก็พูดไปแล้วว่า ความเป็นไปอันนี้ทำไมจึงเรียกว่าอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท เรียกว่า ทัตตา และความเป็นไปอย่างนี้ อาการที่มันเป็นอย่างนั้น เรียกว่า อนิจตา อาการที่เป็นอย่างนั้นเรียกว่า ทุกขตา อาการที่เป็นอย่างนั้นเรียกว่า อนัตตา เป็นอันว่าตอนนี้ ตัดตอนไปได้ตอนหนึ่งแล้ว 1 ถือว่าพูดเรื่องปฏิจจสมุปบาท แล้วก็พูดเรื่องไตรลักษณ์ จบโดยย่อ ทีนี้พอได้อันนี้แล้ว ทีนี้จะเข้าส่งอริยสัจได้ชัดเจนขึ้น ทีนี้ ตอนนี้มีอะไรสงสัยไหมครับพูดกันไปซักก่อน เพราะเดี๋ยวมันไปสู่อีกหลักหนึ่งเป็นหลักใหญ่ เรื่องอริยสัจ แล้วเดี๋ยวถ้าไม่ชัดเจนแล้วที่พูดต่อไปก็จะพลอยไม่ชัดไปด้วย แล้วก็ปัญหาเก่า ๆ ข้อสงสัยเก่า ๆ ก็จะลืมไปเสีย มีอะไรไหมครับตอนนี้
(2)
คนฟังถาม: อุปทานกับสัตตา ตัวอย่างที่ชัด ๆ จากกรณีที่อ่านข่าว มีคนตายถือว่ามีพิจารณาโรค ถ้าเมื่อไหร่ไม่ใช่ญาตของเรา โรคหรือปัญหาของโรค เรารู้สึกว่าต้องการแค่อ่านข่าวเท่านั้น ความรู้สึกไม่ไปยึดถืออะไรมันเกิดขึ้น ถ้าเมื่อไหร่เป็นเรื่องของ ญาติ ครอบครัว บุพการี หรือญาติผู้ใหญ่ที่เราเคารพ จะเป็นเรื่องของโรคที่กำลังวิกฤตมีผลกระทบกับเรา อุปทานะทำงานทันที ๆ ทันตา
พระตอบ: เอ้าก้อแน่นอนแหละ เพราะว่าเรามีความ ยึดอันนี้ ยึดหมักหมมสะสมฝังลึกลงมาจนกระทั่งว่าไม่ต้องรู้สึกตัว ไม่ต้องคิด มันทำงานปั้บทันที มันลงสู่จิตไร้สำนึกเลย กระทบปั้บเป็นได้ความ เหมือนอย่างเข้าป่า บอกว่าเสือมาเท่านั้นแหละ ตัวสั่น โดยไม่ต้องคิดเลยใช่ไหม ใครต้องไปคิดบ้าง บอกเสือมาแล้วตัวเองในภาวะที่ไม่มีหลักประกันความปลอดภัย ใช่ไหม ไม่ต้องไปคิดว่าเสือคืออะไร รูปร่างมันเป็นอย่างไร มันน่ากลัวอย่างไร มันจะทำอะไรเรา ใช่ไหม มันปั้บ ตัวสั่นทันทีเลย หรือว่าถ้าเราเกิดไปอยู่ในที่มั่นคงปลอดภัย อยู่ในที่ถ้ำหรือว่ามีกรงเหล็กอยู่ ใช่ไหม เสือทำอะไรเราไม่ได้แน่นอน บอกเสือมา เราก็เฉยได้ ถูกไหม ไม่ต้องไปนึก ไอ้นี่มัน ความตระหนักอันนี้ มันพรั่งพร้อมทีเดียวเลย
(3)
คนฟังถาม: แสดงว่าเป็นการยากที่จะเราใช้ปัญญาไปจัดการกับจิตใต้สำนึกส่วนนี้ รู้สึกจะฝังลึก
พระตอบ: อ้าวเราก็มองในมุมกลับสิ สะสมมาได้ยังไงมันก็แก้ด้วยการค่อย ๆ แก้ความสะสมนี้ คล้าย ๆ สร้างความเคยชินใหม่ สร้างความสะสมใหม่ สะสมฝ่ายปัญญาขึ้นมาซิ แต่ก่อนมันสะสมหมักหมมฝ่ายตัณหาอุปทาน ใช่ไหม โดยอาศัยอวิชชาเป็นเชื้อ เป็นมูล เป็นฐานให้ ที่นี้เราก็มาสะสมฝ่ายปัญญา ทีนี้พอฝ่ายสติปัญญามันมา มันก็ค่อย ๆ ดีขึ้น ตีตื้นขึ้นไป
ถ้าไม่มีอะไรสงสัยก็ต่อไปนะครับ
อ้าวในเมื่อเรารู้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย อย่างที่ว่ามาแล้วเนี่ย เราก็มาจัดเป็นหลักการขึ้นมา เพื่อให้เกิดผลดีในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในการที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย ที่ว่าเอาธรรมะหลักความจริงนี่มาจัดวางเป็นหลักการปฏิบัติ อันนี้ไม่ใช่เรา พระพุทธเจ้าวาง คือพระพุทธเจ้าทรงค้นพบความจริงอันนี้แล้ว พระองค์ก็มาจัดวางเป็นหลัก ก็หลักการนี้ก็เริ่มจากจุดที่ว่าเมื่อกี้ คือจุดที่ 1 ก็คือว่า สิ่งทั้งหลายที่ปรากฏแก่เรา บอกแล้วนี่ เราอยู่ในโลกเราเกี่ยวข้องกับสิ่งสัมพันธ์ก็คือ เราเห็นความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ สิ่งทั้งหลายปรากฏแก่เราในภาวะที่ว่าเมื่อกี้ คือมันมีความเป็นไปตลอดเวลาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่คงอยู่ในภาวะนั้น ๆ อาการที่มันไม่คงอยู่ในภาวะนั้น ๆ เนี่ยปรากฏชัดใช่ไหม นี่คือศัพท์ที่พระเรียกว่า ทุกข์ นี่คือภาวะภาพที่สิ่งทั้งหลายปรากฎแก่เรา และจุดนี้แหละที่มันสัมพันธ์กับตัวเรา ก็คือว่าเราจะมีท่าทีต่อความเป็นไปนี้อย่างไร เราก็จะมีท่าที ก็คือเราต้องการของเราอยู่แล้ว เราก็ปรารถนาให้อยู่ในภาวะอันหนึ่งที่เราต้องการ และอันนี้คือจุดขัดกันเลย เพราะฉะนั้นจุดเริ่มเมื่อมนุษย์วางท่าทีผิด อันนี้ปั๊บเกิดเรื่องทันที งั้นถ้าแก้อันนี้ถูกก็เป็นว่าหมดปัญหา นี้ก็แปลว่า 1. ภาวะสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันเป็นทุกข์ คือไม่คงอยู่ในภาวะนั้น ๆ มีความเปลี่ยนแปลงเป็นไป อันนี้เมื่อมาสัมพันธ์กับมนุษย์ มนุษย์เข้าไปสัมพันธ์ถึงความอยาก มนุษย์มีความต้องการมันก็จะเกิดความขัดแย้งเพราะฉะนั้นมันก็เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ใช่ไหม ฉะนั้นสิ่งทั้งหลายนี้เป็นทุกข์ในตัวมันและเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์สำหรับมนุษย์ที่เข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ในวงเล็บว่า (ด้วยตัณหา อุปทาน) ใช่ไหม พระพุทธเจ้าจะตรัสถึงว่า อ้าวเราจะมองถึงความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายมองที่ไหนก่อนก็มองที่ความปรารถนาของเราต่อชีวิตของเราก่อนใช่ไหม มองชีวิตของเรามีความเป็นไปไม่คงอยู่ ไม่คงอยู่กับภาวะเดิม แม้แต่ในขณะขั้นตอนหนึ่งของชีวิต และในที่สุดทั้งชีวิตนี่แหละ ก็ไม่คงอยู่ คือตายใช่ไหม เกิดแก่เจ็บตาย นี่ภาวะนี้ปรากฏขึ้นก่อนเลย ในความจริงในความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายมนุษย์ก็มอง เอาความต้องการมาจับที่ชีวิตของตัวเองก่อน ก็มีความเกิดขึ้นแก่เจ็บตาย นี่เป็นภาวะที่ไม่คงที่ ไม่คงภาวะเดิมเปลี่ยนแปลง ไอ้นี่ตัวความเป็นไปของมันแหละ แล้วเสร็จแล้วก็ได้ความสัมพันธ์ด้วยตัณหา ก็จะมีว่าเกิดความพลัดพรากจากสิ่งที่ต้องการที่ชอบ นี่ตัณหามาแล้ว หรือว่าไปประจวบเข้ากับไอ้สิ่งที่ไม่ชอบใจ และก็อะไรล่ะ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้อย่างนั้น ใช่ไหม พระพุทธเจ้าก็ตรัสสรุปว่า ขันธ์ 5 หมดละทั้งชีวิตนี้ รวมทั้งทุกสิ่งที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เป็นทุกข์ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นต้องตัดตัวอุปทานนี้ออกไป ความสัมพันธ์นี้ที่ผิด ฉะนั้นก็เลยโยงไปหาข้อที่ 2 ก็ตั้งหลักขึ้นมาว่าไอ้ตัวเหตุก็คือความสัมพันธ์ที่ผิด การที่เข้าไปสัมพันธ์ด้วยความอยากความปรารถนา ความต้องการ โดยไม่มีความรู้เข้าใจ คือมีอวิชชาเป็นฐาน แล้วเอาตัณหาเข้าไปเกี่ยวข้อง ฉะนั้นความต้องการตัวนี้ที่อยากจะให้สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นอยู่ในภาวะนั้นนี้ที่ขัดกับความจริงของธรรมชาติเข้า เป็นตัวมูลเหตุของทุกข์ ซึ่งสืบลึกลงไปก็ถึงตัวอวิชา แล้วไปโยงเข้ากับตัวภาวะข้างนอกก็คือตอนเป็นอุปทาน ถูกไหม อุปทานบอกไว้ในข้อ 1 แล้วข้อทุกข์ ทีนี้ข้อ 2 นี้บอกไอ้ตัว ตัวนี้เจ้าบทบาทสำคัญ ก็คือตัวตัณหาความต้องการ มนุษย์มีความต้องการอันนี้อยู่ แล้วก็ไปยึดไปอยากหมายมั่นในสิ่งนั้นอยู่ในภาวะที่ตนต้องการ และเพราะไม่ได้ประกอบด้วยความรู้ ก็เป็นอันว่าข้อ 2 นี่ก็คือท่าทีความสัมพันธ์การเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายที่ผิด อันนี้ต้องแก้ การแก้ต้องดูว่ากระบวนการทั้งหมดนี่ มันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันนั้นแหละ ก็ต้องสืบลึกลงไปว่าไอ้เจ้าตัวความต้องการนี้มาจากไหน ท่านก็ให้กระบวนการของชีวิตจิตใจของมนุษย์ที่มันทำให้เกิดภาวะนี้จนกระทั่งเกิดผลในการเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลาย เรียกว่าเป็นภาวะที่เป็นทุกข์ขึ้นมานี่ มันสืบมาตั้งแต่อวิชชาความไม่รู้ ซึ่งเมื่อกี้เราพูดไปแล้ว แต่ตอนนี้ต้องการให้เห็นการสืบทอดต่อเนื่องความสัมพันธ์ในระบบที่ว่ามีองค์ประกอบอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้างในการเป็นปัจจัยแก่กันที่ทำให้เกิดภาวะอันนี้ เพราะฉะนั้น อันนี้เป็นเรื่องของที่มนุษย์จะต้องจัดการให้ถูก จัดการกระบวนการที่ทำให้ตัณหาแสดงตัวออกมา ทำให้ปรารถนาต่อสิ่งทั้งหลายในแง่ตามความอยากความต้องการของตัวเองเป็นความสัมพันธ์ที่ผิดเนี่ยมันไปอย่างไรกระบวนการของชีวิตจิตใจ ก็ต้องจัดการภาวะนี้ให้ถูก ถ้าจัดการกับภาวะนี้ถูกมันก็กลายเป็นว่าทำลายวงจรหรือกระบวนการนี้เสีย ใช่ไหม ก็กลายเป็นการแก้ปัญหาไปเลย หรือการทำให้ปัญหาไม่เกิดขึ้น ภาวะที่ไม่เกิดปัญหาอันนี้ เป็นสิ่งที่เราจะต้องเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ใช่ไหม และภาวะนี้ก็เพื่อจะให้มนุษย์นี่เห็นว่ามันมีคุณค่า ท่านก็อาจจะบรรยายเห็นว่ามันดีอย่างไรด้วย ให้มนุษย์เห็นว่ามีคุณค่าเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ เป็นสิ่งที่พึงบรรลุถึงเข้าถึง อันนี้ก็เลยเป็นอริยสัจข้อที่ 3 อริยสัจข้อที่ 1 ก็เป็นอันว่าหมายถึงภาวะที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องนี่ ที่ปรากฎกับเราที่เป็นจุดของความสัมพันธ์ อันที่ 2 ก็เป็นอริยสัจคือการเข้าไปสัมพันธ์ที่ผิดพลาดใช่ไหม คือสัมพันธ์ด้วยตัณหา เอาความอยากเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งมีอวิชชาเป็นมูลเป็นฐาน และ 3 คือภาวะที่จะไม่มีปัญหาอย่างนี้เกิดขึ้น ซึ่งก็คือการที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการที่ว่ามา ก็คือกระบวนการที่ถูก มันก็คือการกลับกันนั่นเอง ถ้าหากว่ากระบวนการที่ผิด ระบบความสัมพันธ์ที่ผิดเป็นอย่างนี้ ก็ต้องกลับตรงข้ามเสียใหม่ใช่ไหม ก็เป็นการปฏิบัติที่ถูก จากฐานของการปฏิบัติด้วยตัณหาก็เปลี่ยนมาเป็นด้วยปัญญา ซึ่งก็หมายถึงการลบล้างอวิชชาด้วย ที่ว่าการปฏิบัติที่เกิดจากอวิชชาก็มาเป็นการปฏิบัติที่เกิดจากวิชชา ใช่ไหม อันนี้ ก็จะอยู่ในภาวะที่ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น ฉะนั้น อันนี้ตั้งเป็นจุดหมายเลย เป็นภาวะที่ เป็นภาวะที่หลุดพ้นจากวงจรที่มันผิดพลาดนั้น เรียกว่า วิมุติ หรือความเป็นอิสระ เป็นสันติ เป็นความสงบ เป็นวิสุทธิ เป็นความหมดจด เป็นนิพพาน จะเรียกว่า เป็นความดับความเย็น ก็แล้วแต่ใช้ศัพท์เรียกได้หลายอย่าง ก็เรียกศัพท์สุดท้ายก็เรียกว่า นิพพาน ทีนี้ เพื่อจะให้เกิดผลจริงให้มันเข้าถึงภาวะอันนี้ ซึ่งเรามองในแง่ของความเป็นจริงเนี่ยเราพูดได้ อ๋อ ก็เราเลิกปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายด้วยอวิชชา ตัณหา อย่าไปเอาความอยากความต้องการเข้าไปเป็นตัวกำหนดสิ เราก็พูดได้แต่ทำยังไงจะให้เกิดผลอย่างนั้นแหละ มันต้องมีวิธีปฏิบัติ ใช่ไหม ยกอุปมาบอกว่าเหมือนกับไฟไหม้ ไฟไหม้ก็เป็นสภาวะที่ไม่พึงประสงค์ ใช่ไหม ก็เทียบได้กับทุกข์ เอ้าจะแก้ปัญหาไฟไหม้ ก็ต้องแก้ที่เหตุของมัน ซึ่งเรียกว่าสมุทัย อะไรล่ะเป็นเหตุให้ไฟลุกได้ มีเชื้อ มีออกซิเจน มีอุณหภูมิสูง ศึกษาไปศึกษามาจับได้ ไอ้ 3 ตัวนี่สำคัญที่สุดเลย จะแก้ยังไง โอ้ ก็ไม่ยาก ก็ไม่ให้มีออกซิเจนเสียมันก็ดับ หรือไม่ให้มันมีเชื้อซะมันก็ดับ หรือให้อุณหภูมิต่ำกว่าจุดลุกไหม้มันก็ดับ พูดง่าย ใช่ไหม อันนี้ก็คือภาวะนี่ ภาวะนี้ก็คือข้อ 3 นิโรธ ภาวะที่ว่ามันไม่มีเชื้อ มันไม่มีออกซิเจน หรือว่า อุณหภูมิมันต่ำกว่าจุดลุกไหม้ ภาวะนี้จะไม่เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นมา เป็นภาวะที่เรียกว่า นิโรธ ข้อที่ 3 เราพูดได้แต่จะทำอย่างไรจะทำได้ ก็ต้องมีวิธีปฏิบัติ ใช่ไหม อันนี้ เพื่อจะให้ทำได้ตามนิโรธให้บรรลุผลนั้นก็เลยต้องวางวิธีปฏิบัติ วางวิธีปฏิบัติขึ้นมา โอ้โห ต้อง โอไม่ได้ ต้องหารถฉีดน้ำ ต้องหาทางเอาน้ำไปฉีด ให้อุณหภูมิมันต่ำเย็นลงมา ทำไงล่ะ ก็ต้องมีคนฉีดซิ คนฉีดเข้าไปง่าย ๆ เมื่อไหร่ ไฟลุกอันตรายต้องฝึกคน ใช่ไหม แล้วน้ำเอาไปได้อย่างไร เดี๋ยวนิดเดียวไปถังเดียวไม่พอดับ ต้องมีรถ ต้องมีเครื่องฉีดเป็นเรื่องใหญ่กลายเป็นว่าแค่จะทำให้อุณหภูมิต่ำกว่าจุดลุกไหม้นี่ เป็นเรื่องใหญ่ในวิธีปฏิบัติของมนุษย์น่ะ พูดง่ายทำยาก พูดว่าให้อุณหภูมิต่ำแต่เวลาปฏิบัติการ นี้มันต้องมาวางกำหนดนะ ต้องมาหาทางทำให้มีน้ำจำนวนมาก ๆ มีที่เก็บน้ำไว้ในยามปกติ ใช่ไหม เพื่อเวลาไฟไหม้จะได้มีน้ำสำรองใช้ทันที ต้องมีเครื่องมือในการที่จะฉีดน้ำ ต้องมีท่อน้ำตั้งมีคนที่ฝึกไว้มาอย่างดี ไอ้คนนั้นก็ยังแถมต้องมีเครื่องมือป้องกันตัวเองต้องใส่เสื้อพิเศษอะไรต่ออะไร โอ้วุ่นวายเรื่องใหญ่ หรือว่าจะทำให้ออกซิเจนหมด ก็ต้องประดิษฐ์เครื่องมือใช่ไหม ตัองประดิษย์สารเคมีอย่างอื่นที่จะมาแก๊สเกิ้ดอะไรก็ว่าไป หรือว่าจะทำให้หมดเชื้อก็ต้องมีเครื่องมืออีกแหละ และต้องมีปฏิบัติการกระบวนการปฏิบัติทั้งหมดที่วางขึ้นเพื่อจะให้บรรลุจุดหมาย เพื่อจะทำแก้ปัญหาทั้งหมดนี่ เรียกว่า มรรค เป็นข้อ 4 เป็นวิธีปฏิบัติของคนแล้ว ข้อ 1 เป็นเรื่องธรรมชาติ ข้อ 2 ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติเหมือนกันแต่ธรรมชาติที่เจตจำนงของมนุษย์ ข้อ 2 ขึ้นกับเจตจำนงมนุษย์ เรียกว่า มินเมเจตนา เข้าไปสำพันธ์ตัณหาก็เป็นกรรมขึ้นมาเลย ข้อที่ 3 ก็เป็นธรรมชาติอีก ข้อที่ 4 นี่เป็นปฏิบัติการของมนุษย์เองเลย เพื่อจะให้เกิดผลตามธรรมชาติ พอมนุษย์ใช้วิธีปฏิบัติอย่างนี้นะ มีตำรวจดับเพลิง มีกอง มีกรม มีผู้รับผิดชอบ มีจัดระบบการบังคับบัญชาเวลาเกิดไฟไหม้จะแจ้งข่าวอย่างไร จะให้รีบไปได้ไวอย่างไร จะมีใครบังคับบัญชาอะไร ต่ออะไรว่ากันไป มีเครื่องรถดับเพลิง มีเครื่องยนต์ มีปั๊ม มีสายท่ออะไรต่ออะไร ฝึกกันมาอย่างไรนี่ ทั้งหมดนี้ปฏิบัติการทั้งหมดเนี่ยเวลาไปทำแล้วน่ะ เวลาเกิดผลนี่ 3 ข้อเกิดทีเดียวหมด ถูกไหม คือ เช่นว่าทำให้อุณหภูมิต่ำลงไป ซึ่งได้ผลนั้น ก็เป็นการทำให้ไฟดับด้วย ใช่ไหม ทำลายเหตุของปัญหาด้วยบรรลุผลที่ต้องการด้วย ใช่ไหม หมดทีเดียว 3 ข้อเลย ด้วยวิธีปฏิบัติข้อ 4 คือมรรค ฉะนั้น 3 ข้อต้นไม่ต้องทำอะไร วิธีปฏิบัติของมนุษย์อยู่ที่ข้อที่ 4 แต่ว่า 3 ข้อต้นนี้มนุษย์ต้องรู้น่ะ ถ้าไม่รู้ก็ทำไม่ได้เหมือนกัน ใช่ไหม แต่เวลาปฏิบัติทำที่ข้อ 4 ข้อเดียว และ 3 ข้อต้นมันเสร็จผลของมันเอง
อันนี้ก็คือวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า อริยสัจ 4 ก็ถึงเริ่มด้วย
1. ทุกข์ คือสภาพที่ปรากฏ ที่มันจะเป็นปัญหาเป็นทุกข์ก่อเรื่องก่อเราแก่มนุษย์ได้ ซึ่งสืบเนื่องมาจากข้อที่ 2 มนุษย์เข้าไปมีความสัมพันธ์ไม่ถูกต้อง เอาความอยากต้องการของตัวเองเป็นกำหนด แล้วตัวเองก็เกิดปัญหาขึ้นเอง แล้วก็ข้อ 3 คือว่าอย่างนั้นต้องตั้งจุดหมายใหม่ให้ถูกต้อง แล้วกำหนดระบบความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง กระบวนการที่ถูกต้อง แล้วก็ 4 เพื่อให้กระบวนการนี้บรรลุผลสำเร็จ ก็วางวิธีปฏิบัติของมนุษย์ขึ้นมา ตอนนี้มากมายไม่รู้เท่าไหร่เลย รายละเอียดแยกเป็นมรรคมีองค์ 8 ประการ สรุปเป็นศีลสมาธิปัญญา ศีลก็แยกออกไปอีก ศีลระดับศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ศีล 311 อะไรก็ว่าไปหรือจะแยกไปเป็นในระดับของการปฏิบัติต่อสิ่งบริโภคปัจจัย 4 เป็นผู้โภชนีวิมันยุตา ภาคปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมติดตาเห็นหูฟังเป็นอินทรีย์สังวรเป็นการประกอบอาชีพเป็นอาชีวปาริสุทธิศีล สัมมาชีพยังไงอีก เรื่องจิต เรื่องกรรมฐาน เรื่องสมาธิ เรื่องสติ เรื่องความเพียร เรื่องไปหมดเลย ปัญญาปัญเญอพัฒนาเป็น ปฏิสัมภิทา โกสน เป็นวิปัสสนา ปัญญาระดับต่าง ๆ ไม่รู้สาระพัด โอ้โฮ ทั้งหมดอยู่ในเรื่องมรรคหมดเลย ก็เพื่ออะไร เพื่ออันนี้เท่านั้นเอง เพื่อ 3 ข้อต้นจัดการให้มันถูก เหมือนอย่างที่ว่า เพื่อที่จะแก้ปัญหาแค่ให้ไฟมันดับโดยให้อุณหภูมิมันต่ำหรือให้มันหมดเชื้อไม่มีออกซิเจน ก็วุ่นวายเป็นเรื่องของกิจการในสังคมมนุษย์มากมายเหลือเกิน อันนี้เราได้แล้วน่ะ อริยสัจ 4 ทีนี้ อริยสัจ 4 ก็บอกแล้วว่าเป็นตัวธรรมะความจริงที่เอามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ เพื่อมนุษย์จะได้ประโยชน์จากธรรมะ เอาธรรมะมาใช้แล้วเกิดผลดีแก่ชีวิตของตนเอง ฉะนั้นในการนี้ก็เลยอริยสัจเป็นธรรมะภาคปฏิบัติ แต่ความจริงนั้นในธรรมชาติมันก็มีแต่เพียงอะไร
พระพุทธเจ้าแยก จะแยกแบบง่าย ๆ ก็แยก 2 ก็ได้ คือ 1. ภาวะที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นระบบความสัมพันธ์ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่เรียกว่าอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาทที่มีความจริง มีเท่านี้นิพพาน
2.ก็คือนิพพา ใช่ไหม ปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท นี่เป็นฝ่ายของสังขาร สังขตธรรม อยู่ใน ปีจจยตา ปฏิจจสมุปบาท แล้วก็นิพพาน นี้เป็นฝ่ายวิสังขาล อสังขตธรรม ความจริงทั้งหมดมีเท่านี้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้า เวลาพระองค์ปรารภว่า เราได้ตรัสรู้ธรรมะ ซึ่งทุรานุโพทา หรือ ทุระนุโพทา คนจะตรัสรู้ตามได้ยาก พระองค์ก็บอกว่า คือ อิทปัตจจตาจตุบาท และนิพพาน พระองค์ตรัสเท่านี้ นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เวลาปรารภกับพระองค์เอง เอาตัวสภาวะแท้ เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ รู้อะไร เอาจากพระดำรัสที่ทรงพระปรารภในพระทัยของพระองค์ ก็แค่นี้ 1.อิทับปัจจยตา ปตจตุบาท 2 นิพพาน ใช่ไหมครับ ที่เราพูดไปแล้วไงเมื่อกี้ที่เราพูดไปแล้วเมื่อกี้นี่ ว่าธรรมะ เราไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายเกี่ยวข้องธรรมะความเป็นไป ไอ้ความเป็นไปนี่คืออะไร เราพูดไปแล้วความเป็นไปนี่คือ อิทัปปัจจยตาจตุบาท ปติจะสมุบาท ก็คือการที่สิ่งทั้งหลายเนี่ยมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยในระบบความสัมพันธ์ของมันใช่ไหม แล้วก็อาการปรากฏขึ้นมาเป็นไม่เที่ยง เกิดดับ ไม่คงอยู่ในภาวะเดิมนั้น เป็นทุกขัง แล้วไม่มีใครเป็นเจ้าของบังคับบัญชาสั่งการได้ ไม่อยู่ในอำนาจใคร เป็นอนัตตา ก็อาทิปปัจจยตา ปติจะสุบาท ทั้งหมดอันเดียว แต่พูดในแง่ต่าง ๆ ก็ออกเป็น ไตรลักษณ์บ้าง เป็นอะไรบ้าง แล้วอีกอัน นิพพาน ทุกข์เท่านี้ แต่เวลาจะเอามาทำให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เป็นภาคปฏิบัติการ จาก อิทัปปัจจยตา ปจิสุบาท นิพพาน ก็มาวางเป็นอริยสัจ 4 ข้อ เพื่อให้มนุษย์นี่เข้าถึงได้ มนุษย์ก็จะได้เริ่มในภาคปฏิบัติ เริ่มไปจับเอาที่โลกนี้ที่ปรากฏกับตนเองที่ตนจะเข้าไปสัมพันธ์นี่คือภาวะที่เราเรียกว่าทุกข์ รู้เลยว่าอันนี้น่ะที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง มันคือภาวะที่เป็นไปตลอดเวลา ไม่อยู่ในภาวะนั้น ๆ อย่างเดิม นี่เรียกว่าอาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นทุกข์ แล้วถ้าคุณสัมพันธ์ผิดปั๊บ ต้องเกิดผล ปฏิกิริยาขึ้นในชีวิตจิตใจของคุณทันที เป็นทุกข์ขึ้นมาทันทีเกิดขึ้นมา ภาวะขัดแย้งถึงความปรารถนา อันนี้ก็จากจุดเริ่มนี้ก็ต่อไป งั้นก็สัมพันธ์ให้ถูกต้อง ต้องแก้ความสัมพันธ์ สัมพันธ์ที่ผิดต้องรู้ว่าเหตุมาจากสัมพันธ์ที่ผิดนี้ คือตัณหา รวมทั้งโยงไป อุปทาน อวิชชา แล้วคุณปรับระบบความสัมพันธ์ใหม่ ซึ่งจะต้องจัดการแก้กระบวนการที่ผิดนั้นหมดเลย ก็เลยด้านนี้เข้าสู่ ข้อ 3 ซึ่งจะมีจุดหมายวางไว้ ให้เห็นเลยว่ากระบวนการที่มันถูกต้องนั้นจะเข้าจุดหมายอะไร นี่เรียกว่านิโรธ 4 ก็วางวิธีปฏิบัติของมนุษย์ขึ้นมาเป็นระบบที่เรียกว่า มรรคทั้งหมด และก็เพื่อจะให้ผลตอนนั้น เพื่อจะให้ดำเนินชีวิตไปได้ตามมรรค ก็เลยกำหนดไตรสิกขา ระบบการฝึกฝนมนุษย์ระบบการศึกษาขึ้นมา นี่ก็เลยเป็นทั้งหมดของพุทธศาสนา เอาละน่ะเป็นอริยสัจ 4 เพราะฉะนั้นอริยสัจ 4 ก็เป็นหลักการที่บอกแล้วว่าเป็นการนำเอาธรรมะมาใช้ประโยชน์แก่มนุษย์ให้ออกผลในเชิงปฏิบัติได้ ไม่งั้นถ้าพูดแค่ อิทัปปัจจะยตา ปฏืจสุบาท และนิพพาน คนไม่รู้จะไปเข้าไปเกี่ยวข้องยังไงเลยจับจุดไม่ถูก เอาน่ะก็เป็นว่า อริยสัจ 4 ก็เป็นการเอาธรรมะ ซึ่งจะแยกเป็น 2 เป็น อิทะปัจจยตา ปจิสุบาท กับนิพพาน ก็ได้ แล้วก็เอามาโยงเข้าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์เพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์จากธรรมชาติหรือธรรมะนั้นได้ผลดีแก่ชีวิตของตนเอง พอมาหลักเป็นอริยสัจ 4 ก็ปฏิบัติได้เลย ถ้ามองไปในแง่เหตุผลก็ได้ มองแบบง่ายที่สุด ไม่ให้ลึกซึ้งก็มองในแง่ระบบเหตุผล นี้ธรรมะมันเป็นเหตุเป็นผลในตัวเองแล้ว และระบบอริยสัจทั้งระบบ ระบบนี้มันก็เป็นระบบ ทั้งเหตุและผล แต่ว่าแปลก ธรรมดาว่ามนุษย์ นี่มนุษย์ เหตุต้องมาก่อนผล เหตุและผล เหตุและผล แต่ว่าอริยสัจนี้กลับกัน เป็นผลแล้วมาเหตุ ผลแล้วมาเหตุ ใช่ไหม เพราะทุกข์ ภาวะที่ปรากฏ ภาวะที่ปรากฏของธรรมชาติที่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันใช่ไหม หรือว่าผลที่เกิดขึ้นในจิตของมนุษย์ จากการที่เหตุคือความสัมพันธ์ไม่ถูกต้อง ใช่ไหม นี่มันฝ่ายผลนี่ แล้วจึงข้อ 1 เป็นผลเป็นทุกข์ แลัวจึงสืบไปถึงข้อ 1 เป็นเหตุ ก็คือสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์คือ ความสัมพันธ์ที่ผิดด้วยตัณหา หรือสืบลึกไปในทางภาวะของสิ่งต่าง ๆ ก็คือการที่สิ่งทั้งหลายเป็นไปต่างเหตุปัจจัยของมัน เป็นกระบวนทั้งหมด อันนี้กลายเป็นว่าเอาผลมาแล้วก็เหตุ แล้วต่อไปข้อที่ 3 เป็นภาวะที่เป็นจุดหมาย ก็คือสิ่งที่เราต้องการอีกแหละ แล้วก็ข้อ 4 เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงจุดหมายนี้ เพื่อให้เกิดผลตามกระบวนการนี้ เอ้า อย่างนั้นข้อ 3 ก็เป็นผลอีก ข้อ 4 เป็นเหตุอีก ใช่ไหม เป็นเหตุผล 2 ชุด หรือ 2 คู่ คู่ที่ 1 ทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ คู่ที่ 2 นิโรธเป็นผล มรรคเป็นเหตุ อ้าวทำไมพระพุทธเจ้าไปตัดผลก่อนเหตุ ตัดเหตุก่อนผล นี่แหละ ๆ ต้องตัดอย่างนี้ เพราะว่าบอกแล้วว่าเป็นภาคปฏิบัติการของมนุษย์ มนุษย์จะปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติจากการเจอปัญหาแล้วค่อยแก้ปัญหาอย่างไร เราไปเจอปัญหาแล้วจึงจะไปสืบค้นหาเหตุของมัน แล้วเราจึงจะวางจุดหมาย แล้วเราถึงจะปฏิบัติการบรรลุจุดหมาย นี่ปฏิบัติการต้องเป็นอย่างนี้ ถูกไหม ฉะนั้นมันเป็นเรื่องของการเอามาจัดเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ ก็ต้องปฏิบัติ ต้องจัดเหตุผลในเชิงปฏิบัติการ เหตุผลในเชิงปฏิบัติการ กลายเป็นว่าต้องเอาผลก่อนเหตุ หนึ่งแล้วนะในเชิงปฏิบัติ 2. ในเชิงการสอนเป็นความสามารถในการสอน การสอนให้ได้ผลนั้นต้องไปจากสิ่งที่ปรากฏ แล้วจึงโยงไปหาสิ่งที่ไม่ปรากฏ สิ่งที่ไม่ปรากฏเอาไปสอนขึ้นมาคนไม่รู้เรื่องไม่รู้จักไปนึกภาพอะไรต่ออะไรได้ยังไงเลย มันต้องมีตัวโยงให้ก่อน ตัวจากสิ่งที่รู้เข้าใจหรือมองเห็นนี่ และโยงไปหาสิ่งที่ยังมองไม่เห็น อันนั้นทุกข์คือ ภาวะที่สภาพปรากฏ ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ อาการของสิ่งทั้งหลายปรากฎแก่เรา หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในจิตใจของเราแล้วก็ตาม ทั้งหมดนี้คือ เป็นสิ่งที่ปรากฏสิ่งที่มองเห็น การสอนต้องเริ่มจากสิ่งที่มองเห็น ซึ่งง่าย แล้วจึงโยงไปหาสิ่งที่มองไม่เห็น ใช่ไหม ก็สืบสาวหาเหตุปัจจัย ฉะนั้นพระพุทธเจ้าสอนนี่ สอนตามหลักการทรงวางวิธีสอนมาให้ด้วย แล้วสอนจากสิ่งที่มันเกี่ยวข้องกับคน ไปหาสิ่งที่ยังไม่เกี่ยวข้อง สิ่งที่เกี่ยวข้องกับคน ก็คือปัญหาที่เขาจะต้องสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ทุกข์ของเขา ปัญหาในใจของเขานี่ สิ่งที่เขาเกี่ยวข้อง สิ่งที่เขาสนใจอยู่แล้ว คนเรานี่ปัญหาเกิดขึ้น ใครพอพูดถึงปัญหาคนเราก็ต้องสนใจแน่ เพราะเรามีปัญหาอยู่แล้ว ฉะนั้นการสอนต้มเริ่มจากสิ่งที่มองเห็นไปหาสิ่งที่มองไม่เห็น จากสิ่งที่เกี่ยวข้องจากสิ่งที่สนใจอยู่แล้ว ไปหาจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากนะ พระพุทธเจ้าก็เริ่มจากทุกข์ ก็เป็นจุดกระตุ้น พอพูดถึงปัญหาของคุณปั้บก็สนใจทันทีเลย แล้วจึงโยงไปหาเบื้องหลัง คุณมีปัญหาอย่างนี้คุณต้องแก้ที่เหตุมันนะ แล้วทำไงล่ะเหตุเป็นเพราะอะไร เขาสนใจแล้วนี่มีปัญหาเขาจึงจะมาสนใจถึงเหตุของมันที่จะแก้ได้ ถ้าอยู่ ๆ ไปพูดเหตุของมันมาเลื่อนลอยเลยใช่ไหม ฉะนั้นหลักการสอนกันถูกต้อง เอาแล้วนะเป็นอันว่า เริ่มจากทุกข์คือสภาพที่ปรากฏมองเห็นง่ายน่าสนใจเกี่ยวข้องกับตัวเขา ก็จึงสืบไปหาสิ่งที่ยังมองไม่เห็นไม่ปรากฏยาก ต่อไปข้อ 3 นิโรธ พอนิโรธนี่เป็นจุดหมาย วิธีปฏิบัติข้อ 4 วิธีปฏิบัตินี้อาจจะยากน่ะ เป็นเรื่องเราจะต้องทำแล้ว โอ้ก็เป็นเรื่องนี่ต้องทำให้คนพอจะทำอะไรมันเริ่มกลัวแล้วมันไม่อยากทำแล้วแหละ ใช่ไหม ไปบอกว่าให้ทำนู่นทำนี่ โอ้มันไม่เอาด้วย ฉะนั้นพูดถึงจุดหมายก่อน พูดถึงผลที่ต้องการว่า โอ้มันดีอย่างนี้นะจุดหมายนี้ดีเหตุผลที่เราจะได้ดีอย่างงั้นอย่างนี้ ยิ่งคนชอบอยากได้ เห็นว่าจุดหมายนั้นดีเท่าไหร่ ตอนนี้แหละมันจะพร้อมที่จะปฏิบัติให้วิธีปฏิบัติยากเท่าไหร่ ไม่กลัว ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจะต้องเอานิโรธมาก่อน โอ้คุณมีทุกข์ แก้ปัญหาเขาก็อยากอยู่แล้วล่ะ ต้องแก้ที่เหตุและพระพุทธองค์ก็แก้ได้น่ะแก้ได้ การแก้ทุกข์นี้ชีวิตที่ดีงามเป็นอิสระเป็นสุขแท้ ๆ เป็นไปได้จริง ๆ มันมี มันเป็นอย่างนี้ ๆ นะบอกให้เลย พอบอกว่ามันดีอย่างงั้นดีอย่างนี้คนก็ โอ๋อยากจะไปเต็มที่เลยตอนนี้ พออยากจะไปเต็มที่ ก็อยากจะไปมันก็หาวิธีปฏิบัติ พระพุทธเจ้าก็บอกเลยสนองความต้องการ บอกวิธีปฏิบัติ ตอนนี้ถ้ามันชอบจุดหมายนั้นเท่าไร มันยากก็ไม่กลัวนะ ยิ่งชอบจุดหมายนั้นมาก ยากเท่าไหร่ไม่มีพลั่นเลย ใช่ไหม อันนั้นพระพุทธเจ้าสอน พระองค์ด้วยวิธีสอนดีที่สุดเป็นวิธีสอนที่ยอดเยี่ยมที่สุด อริยสัจ พอบอกเป้าหมายก็ให้เห็นจุดหมายดีและก็บอกวิธีปฏิบัติ ทีนี้ถ้าจะยากเย็นอย่างไร ก็ไม่กลัวก็สู้หมด ถ้าไปบอกการปฏิบัติก่อน คนก็ถอยตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่เอาด้วย ก็เป็นอันว่า ว่าโดยปฏิบัติการ ก็ต้องใช้วิธีอริยสัจ หมายความว่า การที่พระพุทธเจ้าสอนหลักอริยสัจจัดการนำธรรมะหรือความจริงนั้นมาประยุกต์เข้ากับการปฏิบัติการของมนุษย์และการสอนให้ได้ผล ทั้งในแง่ปฏิบัติการและการสอน แม้แต่ว่าจะใช้ในการปลุกระดมมวลชน ก็ต้องใช้วิธีอริยสัจ ทำไมล่ะอย่างเราจะมาปลุกระดมคน อย่างนักปลุกระดมทั้งหลายต้องเริ่มชี้โทษชี้ความบกพร่องความเสียหาย โอ้ดูซิ ในประเทศไทยสังคมไทยเวลานี้มันเลวร้ายมันมีแต่ปัญหาอย่างนั้นอย่างนี้นะ ชี้ให้เห็นตัวทุกข์นี่ ความไม่เรียบร้อย ความเลวร้ายชั่วร้ายทั้งหลายนั้น บางคนเห็นแล้ว โฮ ใจมันเกิดความไม่ชอบใจอย่างมากเลย ใช่ไหม ที่นี้ความสนใจเอใจใส่มันเต็มที่ ที่นี้พอบอกอย่างนี้นะสิ่งที่ชั่วร้ายมันไม่ชอบใจเต็มแล้ว ชี้เหตุละทีนี้ สมุทัยมา ตัวการมันอยู่ที่นั่น เอาละซิน่ะ บอกตัวการ ไอ้เจ้านั้นน่ะ ในกลุ่มนั้น โอ คราวนี้มันอยากกำจัดทันที ใช่ไหม เพราะทุกข์มันมาแล้ว พอเห็นความชั่วร้ายไม่ดี ไอ้ตัวการนี่ไอ้พวกนี้เองมันทำยังงั้น ๆ คราวนี้เลยกระเหี่ยนกระหือรือเลยใช่ไหม จะต้องจัดการกำจัดไอ้พวกนี้ ทีนี่เอาละน่ะพร้อมแล้วนะ ใจนี่เต็มที่ ทีนี้บอกจุดหมาย บอกนี่ที่เราจะต้องจัดพวกไอ้นี้น่ะ เพื่อเราจะได้เป็นสังคมแบบ ๆ อย่างนี้ สังคมจะเป็นอย่างนี้อย่างนี้สังคมนี้ มันดีอย่างนี้นะ พูดได้เห็นเป็นแสงสีทองผ่องอำไพ ใช่ไหม มันแสนจะดี ดี โฮ ดี ทีนี้มันก็ยิ่งอยากไปใหญ่ ทีนี้จะไปถึงจุดหมายนี้ยังไง ต้องจัดการในไอ้เจ้าตัวการนี้ จึงจะแก้ปัญหานี้ได้หมด โอ้ตอนนี้พร้อมเลยเต็มที่น่ะ คราวนี้บอกวิธีปฏิบัติเลย ใช่ไหม พอพร้อมอย่างนี้แล้วบอกวิธีปฏิบัติต้องทำยังไงตอนนี้ยากยังไงเอาหมด สู้ บางทีกลายเป็นว่าแม้แต่วิธีการร้ายแรงรุนแรงที่ปกติถือว่าชั่วร้ายก็เอา ใช่ไหม ทำได้เต็มที่เลย เพราะมันปลุกมาได้ถึงขนาดนั้น เพราะฉะนั้น วิธีอริยสัจนี่น่ะ ถ้าเอาไปใช้ไม่ดีก็กลายเป็นเรื่องของการปลุกระดมไปเลย นักปลุกระดมก็ต้องใช้อย่างนี้เหมือนกัน วิธีปฏิบัติจะเป็นข้อสุดท้าย แล้วมันก็อยู่ที่นี่ พอวิธีปฏิบัติมาก็ได้ผล 3 ข้อ มันไปด้วยกันทีเดียวหมด คงจะเข้าใจนะ
เรื่องของธรรมะวันนี้พูดซะทีเดียว 3 เรื่องเลยแบบสั้น ๆ พอให้เห็นภาพ ให้ได้ความเข้าใจแบบกว้าง ๆ แล้วเราได้ภาพนี้แล้วเราจะไปศึกษารายละเอียดก็ง่ายขึ้น แปลว่าวันนี้พูดถึงเรื่อง เรื่องเก่าที่โยงพระรัตนตรัยมาเป็นสรณะ เพื่อโยงเราก็หาธรรมะ เพื่อจะได้เกิดประโยชน์แก่สังคมมนุษย์ ธรรมะก็ประยุกต์มาเป็นปฏิบัติการ เป็นหลักสำหรับปฏิบัติก็เป็นอริยสัจ 4 อ้อแต่ว่าเดี๋ยว เราโยงมาหาธรรมะ เราพูดถึงธรรมะก่อนว่าธรรมะความจริงนั้น ที่มาสัมพันธ์กับมนุษย์นี่ ก็ออกในลักษณะที่จะต้องรู้ความจริงของการที่มันเป็นระบบความสำคัญเหตุปัจจัย ที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตาปตจตุบาท อิทธิบาท จตุบาท ตถตา แล้วก็ในความเป็นจริงอันนี้ มีอาการปรากฏก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วเราจะเข้าไปปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ให้เกิดผลดีก็มาวางหลักความจริงนี้ในภาคปฏิบัติเป็นอริยสัจ 4 ก็เป็นระบบแห่งเหตุผลที่ว่านี้ ซึ่งขอพูดต่อสักนิดนึงว่า หลักอริยสัจนี่ เป็นหลักที่สืบเนื่องมาจากตัวธรรมคือความจริงที่เป็นของมีอยู่ตามธรรมดาในธรรมชาติ ฉะนั้นก็จะมีความพิเศษมีคุณค่าหรือลักษณะที่พิเศษ ก็คือว่า 1.มันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการที่มนุษย์ถ้าต้องการมีชีวิตที่ดีงามต้องการจะแก้ปัญหาของมนุษย์นี่ อันนี้ขาดไม่ได้ เราอาจจะไปสนใจอะไรต่ออะไร เรื่องอะไรต่ออะไรมากมายในโลกนี้มากมายมีการประดิษฐ์คิดค้นมีโลกเจริญขึ้นอะไรต่าง ๆ มีสิ่งที่เกี่ยวข้องในชีวิตมนุษย์มากมาย แต่ถ้ามนุษย์ต้องการจะมีชีวิตที่ดีงามอะไรต่ออะไรอื่นที่สร้างขึ้นมาอาจจะขาดได้สมัยนี้มีอันนี้สมัยนั้นสมัยโน้นไม่มีอันนี้เป็นเรื่องของมนุษย์แต่ว่าหลักการ 4 อย่างในการแก้ปัญหาและเพื่อจะให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีงามนี้ 4 อันนี้ขาดไม่ได้ ต้องเป็นเรื่องที่ยืนตัวอยู่อย่างนี้ เอ้า 2. ก็คือว่ามันเป็นของยั่งยืนอยู่หรือยืนยงตลอดไป ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่และต้องการมีชีวิตที่ดีงาม มนุษย์อาจจะสร้างสรรค์วัฒนธรรม อารยธรรม มีวิชาการอะไรต่าง ๆ วิชาการอื่น ๆ มีเยอะแยะ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิชาการเหล่านี้ จะมี จะเจริญ จะเสื่อมอย่างไรก็ตาม วิชาการจะเป็นเรื่องของส่วนประกอบปลีกย่อยไปหมดเลย ส่วนวิชาความรู้ที่แท้จะต้องอยู่ที่อริยสัจ 4 ยืนยงตลอดไป ไม่เป็นวิชาที่เจริญเสื่อมไปอย่างอื่น อันนี้ก็ 2 แล้วนะ 1. เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ 2. เป็นสิ่งที่ยืนยงอยู่ตลอดไป 3. เป็นวิธีการแห่งปัญญา ใช่ไหม ใช้ความรู้ในความจริงของธรรมชาตินี่แหละ มาปฏิบัติในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้เรามีชีวิตที่ดีงามได้ เป็นวิธีการแห่งปัญญา แล้วก็ 4. ก็คือว่ามันเกณฑ์การปฏิบัติให้สำเร็จผลด้วยฝีมือมนุษย์เอง หมายความว่ายอมรับศักยภาพของมนุษย์ให้มนุษย์แก้ปัญหาได้ด้วยตนเองไม่ต้องไปพึ่งพาอำนาจดลบันดาลของเทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรภายนอก ใช่ไหม นี่เป็นการแก้ปัญหาด้วยฝีมือมนุษย์ ก็ด้วยปัญญามนุษย์นั่นแหละ ตกลงว่าเป็นคุณค่าพิเศษของอริยสัจ 4 ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ถ้าเรามาเปรียบเทียบแล้วจะต่างจากเรื่องของวิธีการแก้ปัญหา เรื่องของการนับถือศาสนาอะไรต่าง ๆ ทั่วไป แม้แต่การแก้ปัญหาในสังคมในมนุษย์ปัจจุบัน เอาน่ะ
(4)
คนฟังถาม: มรรคมีด้วยกันหลายวิธี จะเลือกแก้ปัญญาแก้ปัญหาได้ไหม
พระตอบ: คือมรรค ก็มรรคเดียวน่ะแหละ แต่องค์ประกอบมันเยอะ มีวิธีปฏิบัติอันนี้ยักเยื้องไป วิธีการแต่หลักใหญ่มันอันเดียว หลักศีลสมาธิปัญญาก็เป็นหลักการใหญ่ที่เหมือนกันหมด แต่ว่าเราจะไปยักเยื้อง อันนี้ต้องขึ้นต่อสภาพแวดล้อมบ้าง เรื่องของปัจจัยภายในของบุคคลบ้าง จริตอัธยาศัยมีความแตกต่างในอินทรีย์คนแต่ละคนนี่ มีความแตกต่างกันทั้งแนวตั้งและแนวนอน แนวราบหรือแนวนอน แนวตั้งก็คือระดับการพัฒนาไม่เท่ากัน ที่เราเรียกว่าอินทรีย์แก่กล้าอ่อนกว่ากัน ปัญญาอ่อนปัญญาแก่ ศรัทธามากศรัทธาน้อย สมาธิจิตกำลัง จิตอะไรเข้มแข็งน้อยมากกว่ากันนี่ ระดับการพัฒนาแนวตั้งไม่เท่ากัน แนวนอนแนวโน้มความสนใจความถนัดอัทธยาใสไม่เหมือนกัน อย่างพระพุทธเจ้าจะไปสอนคนในระดับเดียวกันในอินทรีย์พัฒนาเท่ากัน แต่คนนี้เขาเป็นนักรบ คนนี้เขาเป็นชาวนา คนนี้เขาเป็นอะไร อะไร เป็นไอ้พวกนักอุตสาหกรรม พ่อค้าพานิชย์ หรือคนนี้เป็นนักวิชาการ เป็นพราหมณ์ พระพุทธเจ้าก็จัดไอ้สิ่งที่จะสอนให้เหมาะกับคนประเภทนั้น ๆ ใช่ไหม อันนี้เรียกว่า แนวราบก็ไม่เหมือนกัน อันนี้อย่างการที่จะไปให้เรื่องศีลสมาธิ เรื่องปัญญา คนนี้จะมาเริ่มวิปัสสนาจุดไหนดีอาจจะได้สมาธิเท่านี้ก็เริ่มได้ แต่คนนั้นควรจะสมาธิอีกระดับหนึ่งจึงเริ่มใช่ไหม ไม่เหมือนกัน ศีลเศินก็ต่างกันไป ใช่ไหม แต่ว่าหลักการใหญ่เหมือนกันหมดก็ต้องมีครบศีลสมาธิปัญญา แต่จะเอาแค่ไหนจุดไหนจะใช้วิธีการยักเยื้องนี้ต่างออกไปตามคน
(5)
คนฟังถาม: มรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติครบไหม
พระตอบ: ครบแน่นอน ก็คือว่า ไอ้ตัวหลักการใหญ่นี่ มันเป็นหลักการเดียวกัน เพราะว่า มันเป็นหลักความจริงที่มาจากชีวิตนี้ มาจากความจริงของธรรมชาติชีวิตนี้ ถ้าปฏิบัติต่อชีวิตไม่ถูกต้องตามธรรมชาติของมัน ผลก็ไม่เกิด มรรคนั้นก็ดี สิกขา 3 ก็ดี วางขึ้นมาจากความเป็นจริงของชีวิตของมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติ ใช่ไหม
เอานะครับ อย่างงั้นวันนี้เอาเท่านี้ก่อน