แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คุยเรื่องวันอุโบสถซะหน่อย บางทีเราไปแล้วเราก็ไปร่วมโดยไม่ได้เข้าใจชัดเจนว่าไปทำอะไร อุโบสถเรามักจะหมายถึง ตัวโรง อุโบสถที่เรียกกันว่าโบสถ์ ที่จริง อันนั้นเป็นคำที่ใช้กันมาในภาษาไทยไม่ได้ถูกต้องอะไรนัก อุโบสถเรียกสั้น ๆ ว่า โบสถ์ เป็นชื่อของ กิจกรรม ไม่ใช่ชื่อของสถานที่ แต่นี้สถาน ๆ เอาทำกิจกรรมนั้น เรียกเต็ม ๆ ว่า โรงอุโบสถ เป็นภาษาบาลีว่า อุโบสถคะ หรือ อุโบสถาขะ คือเอาคำว่า อุโบสถ หรืออุโบสถา ไปบวกคำว่า อักคะ แปลว่าโรง หรืออาคาร ก็โรง เพราะฉะนั้นต้องพูดเต็มตามภาษาบาลีต้องเป็น อุโบสถคะ หรืออุโบสถาคาน ทีนี้มาภาษาไทยเราก็ใช้เพื่อให้สะดวกลิ้นของเรา เราก็เรียกกันว่า อุโบสถ พระอุโบสถ ตัดสั้น ๆ ว่าโบสถ์ อันนี้เป็นการทำความเข้าใจเรื่องศัพท์ ทีนี้กิจกรรมที่เรียกว่าอุโบสถ นั้นคืออะไร ก็เป็นคำเก่าแก่ ซึ่งมีมาก่อนพุทธกาลในศาสนาที่มีมาแต่เดิมนั้น เขาก็มีกิจกรรมเหมือนกัน นี่กิจกรรมอย่างหนึ่ง ที่ปรากฏว่ามีในศาสนาทั้งในอินเดียและในดินแดนอื่น ๆ ยังทางพวกตะวันตกรู้สึกว่าไม่รู้จะเป็นอย่างไรมีการติดต่อ มีการเผยแพร่กันอย่างไร มีประเพณีอย่างหนึ่ง เขาเรียกการถือศีลอดหรือจำศีล การอดอาหาร อดมาก อดน้อย ก็อีกเรื่องหนึ่งอันนี้ในบางศาสนา นี้อย่างศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นศาสนาที่เกิดยุคหลังมาก ก็มีการถือศีลอด อดอาหารนานเป็นเดือนเลย แล้วก็อดตลอดตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก อดจนกระทั่งไม่กลืนแม้แต่น้ำลาย ในช่วงเดือนนั้น เรียกเป็นภาษาไทยว่า เดือนเราะมะฎอน นี่ในศาสนาอื่นก็มีการถือศีลอดเป็นเรื่องของสาระสำคัญก็คือการอดอาหาร ซึ่งอาจจะไม่ได้อดมากเป็นทั้งวันอย่างนั้น อย่างในพุทธศาสนาของเรา นี่ พระของเราก็ฉันอาหารในเวลาเช้าถึงเที่ยง อันนี้สำหรับพระภิกษุก็เป็นเรื่องธรรมดา นี่สำหรับชาวบ้านก็มีการถืออย่างนี้ แต่เป็นการถือพิเศษในจำเพาะบางวัน ก็คือถือในวันขึ้น 8 ค่ำ แรม 8 ค่ำ แล้วก็ขึ้น 15 ค่ำ แล้วก็แรม 15 ค่ำ ในกรณีที่เดือนเต็ม หรือแรม 14 ค่ำในกรณีเดือนขาด ในการถืออดอาหาร เฉพาะแค่หลังเที่ยงไปแล้ว ใช่ไหม ก็อยู่ในหลักการที่เป็นการอดอาหารอย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่ว่าไม่ได้ถือนักหนาถึงกับอดทั้งวัน ที่นี้ในลัทธิศาสนาทั่ว ๆ ไป เราก็จะเห็นว่ามีเรื่องเหล่านี้ อุโบสถของเรามีเรื่องของการถือเรื่องอดอาหาร หรืองดเว้นอาหารอยู่ด้วยเนี่ย ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ไปมีความสัมพันธ์กับประเพณีแต่เก่าก่อนในศาสนาแต่โบราณก็ได้ เวลาฝรั่งแปลคำว่าอุโบสถของเรา ก็แปลว่า Fasting แปลว่าการอดอาหาร เพราะเขาก็เอาไปสัมพันธ์กับโยงกัน ก็ตามที่พูดมานี้ก็เห็นว่า คำว่าอุโบสถเนี่ย มันไปเกี่ยวโยงกับ ประเพณีในศาสนาเก่า ๆ เรื่องของการอดอาหาร แต่ตัวอุโบสถเองนี่แปลว่าการอยู่จำ หรือเข้าไปอยู่ เข้าไปอยู่ก็ อุปัทวสะทะ แปลว่าเข้าไปอยู่ เข้าไปอยู่ก็อย่างที่เราแปลเป็นไทยว่า เราก็แปลว่า เช่นว่าเข้าไปอยู่ในวัดไปอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง เราเรียกว่าจำศีล จำอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เห็นไหม ถือข้อปฏิบัติในทางศาสนา ที่นี้ในตอนต้นพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนาใหม่ ๆ ตั้งคณะสงฆ์พระไปประกาศพระศาสนา ตอนแรกก็เป็นระยะที่พระต้องออกไปสั่งสอนประชาชน ขยายไปเรื่อย ๆ กิจกรรมต่าง ๆ ก็ค่อย ๆ เริ่มมีไม่ได้ลงตัวครบถ้วน ที่นี้ในระยะแรก ๆ ก็มีเรื่องราวปรากฏขึ้นมา ถึงเหตุที่จะทำให้มีการบัญญัติถึงอุโบสถว่า นี่เท่าที่ผมจำได้นะ ว่าตอนแรก ๆ เนี่ย ในวันที่บอกเมื่อกี้ว่าขึ้น 8 ค่ำ แรม 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 หรือแรม 14 ค่ำ นักบวชในศาสนาอื่น ๆ เขาก็มีการมาประชุมกัน แล้วก็พูดธรรมะ พูดแสดงกล่าวคำสอนให้คนชาวบ้านหรือศาสนิกาของเขาฟัง
ที่นี้ทางพระพุทธศาสนาของเราก็ยังไม่มีพระสงฆ์กิจกรรมนี้ ก็คงมีแต่การเทศน์แสดงธรรมไปเรื่อย ๆ ไม่ได้จัดในวันเฉพาะอย่างนี้ อันนี้พระเจ้าพิมพิสาร ทรงเป็นอุบาสก เรื่อมใสในพุทธศาสนามาก พระเจ้าพิมพิสารก็เลยไปดำริว่า เอ้นี่ถ้าในหมู่พระสงฆ์ของเราในพระพุทธศาสนานี่ มีการมาประชุมกัน และก็มากล่าวสนทนาธรรม แสดงธรรมให้ประชาชนชาวบ้านฟังคงจะดีนะ ก็เลยมาเสนอ กราบทูลเสนอพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงเห็นชอบด้วย ก็เลยตรัสประชุมพระสงฆ์ว่า ในวันที่ว่านี่ วันขึ้น 8 ค่ำ แรม 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 หรือ 14 ค่ำเนี่ย ให้พระประชุมกัน ที่นี้ตอนนี้ไม่ได้ตรัสกำชับไว้มั่นเหมาะในเรื่องแสดงธรรม ปรากฏว่าพระนี่ก็คงมีหลายแห่งหลายหย่อมอยู่กันที่ต่าง ๆ หลายแห่งนี่ท่านมาประชุมกันจริง แต่ท่านก็ว่ามานั่งเฉย ๆ ไม่ได้ทำกิจกรรมในแง่การแสดงธรรมสั่งสอนประชาชน ให้เป็นเรื่องเป็นราวออกมา คนเขาก็เลยเอาไปติเตียน พระในพุทธศาสนาอะไรมาถึงวันนี้มานั่งประชุมกันมานั่งกันเฉย ๆ ไม่พูดไม่จา พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสเติม บัญญัติว่าให้แสดงธรรมแก่ประชาชน นี่ก็เป็นส่วนหนึ่ง นี่ก็เท่ากับว่าวันอุโบสถในพุทธศาสนาได้เกิดมีขึ้นแล้ว การอุโบสถนี่ก็เป็นกิจกรรมที่ว่าน่ะ กิจกรรมก็ที่มาประชุมกัน แล้วก็มีการแสดงธรรม แต่ว่าเราจะเห็นต่อมาว่า ความหมายไม่ได้จำกัดแค่นี้ สำหรับชาวบ้านนั้น ก็เป็นโอกาสที่จะมาอยู่ มาวัดกันเป็นพิเศษในวันนั้น แล้วก็มาเป็นพิเศษแล้ว มาฟังธรรมมาอยู่ใกล้พระภิกษุ ก็ได้ถือข้อปฏิบัติเป็นพิเศษซ่ะ นั้นก็จะพัฒนาออกมาเป็นว่า ตัวอุโบสถนี้จะมาเน้นเรื่องตัวศีลคือสิกขาบทนั่นเอง เราเคยพูดกันแล้วคำว่าศีลนี่เป็นเรื่องคุณสมบัติตัวคน ตัวข้อปฏิบัตินั้นเรียกว่าสิกขาบท อันนี้ในวันอุโบสถเนี่ยที่มาประชุมกัน ชาวบ้านก็มาร่วมด้วย เลยก็เลยเป็นเหตุให้มาอยู่ที่วัดนาน ๆ ก็เลยถือข้อปฏิบัติพิเศษ ข้อปฏิบัติพิเศษนั้นก็เลยขยายจากศีล 5 มาเป็นศีล 8 เราก็เรียกว่าศีล หรือสิกขาบทที่รักษาในวันอุโบสถนี้ เรียกกันเป็นภาษาชาวบ้านว่า ศีลอุโบสถ แต่ที่จริงภาษาพระแค่ว่าถืออุโบสถเท่านั้น ก็หมายถึงว่าการถือข้อปฏิบัติ หรือสิกขาบท 8 ข้อนี้เลย ที่นี่ก็เลยมีถึงการนอนค้างที่วัดกันเลย จะไม่นอนค้างวัดก็ได้ ก็ไปถือที่บ้านก็ได้ แต่รวมความก็คือวันอุโบสถนี่ก็ถืออุโบสถรักษาอุโบสถ ก็คือว่าปฏิบัติตามสิกขาบท 8 ข้อนี้ เป็นการปฏิบัติพิเศษ ว่าในวันพิเศษคือข้อปฏิบัติให้เป็นพิเศษ
สิกขาบท 8 ข้อ ที่เราเรียกกันว่าศีล 8 ซึ่งเป็นตัวอุโบสถนี้ก็มี 1. ปาณาติปาตา เวรมณีสิกขาปะทังสมาทิยามิ ก็คือเว้นจากปาณาติบาต ทำลายชีวิต 2. อทินนาทาน การถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ 3. ก็เปลี่ยนข้อกาเมสุมิจฉาจาร เป็นศีล 5 มาเป็น อพานาเวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ต้องถือพรหมจรรย์ไม่ร่วมประเวณีในวันนั้น เว้นจากมุสาวาท เว้นจากสุราเมรัย นี่ก็ 5 ข้อ เปลี่ยนข้อ 3 เป็นอพานาเวรมณีไปแล้ว ต่อไปก็เติมข้อ 6 วิการะโภชะนาเวรมณี เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล หลังจากเที่ยงไปแล้ว มีการถกเถียงกันเหมือนกันเดิมที่จะหมายถึง หลังค่ำไปหรือเปล่าแปลว่า วิกาล คำว่าวิกาล ตามศัพท์แปลว่า แค่ผิดเวลา ผิดเวลานี้หมายถึงอย่างไร บางสิกขาบทหมายถึงหลังเที่ยง บางสิกขาบทหมายถึง พระอาทิตย์ตกดินแล้ว นี่ก็มีการมาวิจารณ์กัน เอ้สำหรับข้อนี้ สำหรับคฤหัสถ์นี้ แต่เดิมจะหมายถึงหลัง ค่ำไปแล้วหลังพระอาทิตย์ตกดินหรือเปล่า แต่เอากันเป็นปัจจุบันก็ถือยุติว่า หลังเที่ยง แล้วต่อไปก็เว้น นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระมัณฑะนะวิพภูสะนัฎฐานา ก็เว้นจากเรื่องของการ ฟ้อนรำขับร้อง ดูการละเล่น เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ของหอม การประดับตกแต่งร่างกาย แล้วก็ไป สุดท้ายก็เว้นจากที่นั่ง ที่นอน ที่สูงใหญ่ ที่มุ่งเรื่อง ความหรูหรา นอนสบาย เอาความนุ่ม ความมีฟูกฟูยัด ทำให้นอนเกิดสัมผัสที่มีความสุข อันนี้ก็เว้นจากเหล่านี้ 8 ข้อ นี่สำหรับชาวบ้าน ก็ให้ถืออันนี้เป็นหลัก กิจกรรมในการฟังธรรก็ร่วมมาด้วย แล้วก็จะได้เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้ตัวเองมีเวลาในการที่จะเจริญจิตภาวนามากขึ้น เพราะไม่ยุ่งเรื่องอาหาร ไม่ยุ่งเรื่องฟ้อนรำ ขับร้อง อะไรต่าง ๆ แล้ว โอกาสมันก็เอื้อในการที่จะปฏิบัติฝึกฝนทางจิตใจจะทำสมาธิ กรรมฐานก็ง่ายขึ้น แล้วนอกจากนั้นก็พัฒนามาเรื่องของวันนั้นก็ทำทานเป็นพิเศษด้วย มาวัดแล้วก็มาเลี้ยงดูพระสงฆ์ ถวายภัตตาหาร ถึงกับว่ามีการทำบุญเลี้ยงพระกันเป็นพิเศษ ในเมืองไทยเราก็จะเห็นชัดเจน ก็เลยกลายเป็นว่าวันอุโบสถ เรียกปัจจุบันว่าวันพระนี่ มีทั้งเรื่องของทาน ศีล ภาวนา ภาวนานี่ก็รวมทั้งเรื่องของการฟังธรรมด้วย เพราะเป็นการเจริญปัญญาก็เป็นทานภาวนา ก็โดยทั่วไปก็มุ่งเอาที่การเจริญจิตภาวนา คือการทำสมาธิ นี่ก็เป็นเรื่องของคฤหัสถ์ที่เป็นประเพณีสืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน ในอุโบสถนี้ก็อาจจะถือเพิ่มกว่านี้อีกก็ยังได้ อันนั้นเป็นรายละเอียด ก็จะไม่พูดในที่นี้
ที่นี้กล่าวถึงเรื่องอุโบสถฝ่ายพระ พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติให้พระสงฆ์ประชุมกันและแสดงธรรมแก่ชาวบ้านในวันที่ว่าเมื่อกี้แล้ว ที่นี้ ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงพระดำริว่า เอ้ ในวันที่ว่ามานี่ ถ้าหากว่าจะให้พระภิกษุทั้งหลายซึ่งมาประชุมกันเนี่ย ได้นำเอาสิกขาบทที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้เนี่ย มาสวด มาทบทวนกัน มาซักซ้อมกัน ก็จะเป็นการดี ก็เลยทรงบัญญัติขึ้นมา ให้สวดปาฏิโมกข์ในวันที่เรียกว่าวันอุโบสถนี้ เรียกว่าเป็นการทำอุโบสถของพระภิกษุ หรือพระภิกษุสงฆ์ตลอดถึงภิกษุณีสงฆ์ด้วย เอ้าทีนี้ก็เลยกลายเป็นทำอุโบสถของพระกับของชาวบ้านต่างกันแล้ว ชาวบ้านก็อย่างที่ว่ามาฟังธรรม มารักษาศีล 8 อะไรอย่างนั้น ตลอดจนบำเพ็ญทานอะไรก็ว่าไป แต่ของพระนี่ทำอุโบสถหมายถึง เอาสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับพระภิกษุ หรือสำหรับภิกษุณีสงฆ์มาทบทวนซักซ้อมกัน การเอาสิขาบทมาสวดมาทบทวนก็เลยถือเป็นสังฆกรรม เป็นกิจกรรมของสงฆ์ ของที่ประชุม ของส่วนรวม จะทำได้ก็โดยมีพระภิกษุสงฆ์มาประชุมตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป เรียกว่าเป็นสงฆ์กำหนดอย่างต่ำ องค์ประชุมอย่างน้อย 4 รูป ข้อบัญญัตินี้ก็คือสงฆ์ที่อยู่ในสีมาในเขตเดียวกันนี้ ถึงวันนี้จะต้องมาประชุมพร้อมกัน แล้วก็มาสวดปาฏิโมกข์ ที่นี้วันที่ใช้ก็ตัดไม่เอาขึ้น 8 ค่ำ แรม 8 ค่ำไม่เอา เอาเฉพาะขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 หรือ แรม 14 ค่ำ เอาแค่นี้ นี่เป็นอุโบสถสำหรับพระภิกษุสงฆ์ เรียกว่าทำอุโบสถ เมื่อเป็นสังฆกรรมก็ต้องมีกำหนดอย่างที่ว่า ที่ประชุมสงฆ์มีองค์เท่าไหร่ก็ 4 องค์ แล้วก็พระในเขตไหนจะมาประชุมกันก็ต้องมีเขต เขตนี้เรียกว่าสีมา เดิมก็คือกำหนดเขตที่พระที่อยู่ร่วมกันเป็นชุมชนหนึ่ง ๆ นี่ ทั้งหมดพระที่อยู่ในชุมชนนี้ ซึ่งมีเขตที่กำหนดตามพระวินัยที่เรียกว่าสีมาเนี่ย เมื่อถึงวันที่กำหนดครึ่งเดือนครั้งหนึ่งเนี่ย ขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 แรม 14 ค่ำ จะต้องมาประชุมพร้อมกัน แล้วก็มาสวดสิกขาบท 227 ข้อ ก็เลยต้องมีบัญญัติเรื่องเขต เรื่องสีมากำหนดเพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า อ้อพระที่อยู่ในเขตนี้มาประชุมกัน เจตนารมณ์ก็มุ่งให้พระทั้งหมดที่เป็นชุมชนเดียวกัน อยู่ในเขตเดียวกัน ชุมชนเดียวกันก็หมายความหาทางกำหนดเขต เมื่ออยู่ในเขตนี้ต้องมาประชุมพร้อมกัน ต่อมานี้เรื่องของการกำหนดเขตนี้ไป ๆ มา ๆ นี่เอาสะดวกเข้าจนเหลือแค่ตัวโรงที่ใช้สวด แต่เดิมนี่ตามเจตนารมณ์แสดงว่าต้องหมายเขตทั้งหมดที่พระอยู่ด้วยกันเป็นชุมชนหนึ่ง ก็คือวัดหนึ่งนั่นเอง วัดหนึ่งก็มีเขตของตัวเอง ทีนี้เป็นอันว่าตอนหลังนี้ก็มีการทำโรงอุโบสถ พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้สร้างโรงอุโบสถ ขึ้นมาเรียกว่า อุโบสถาขะ หรือ อุโบสถาคาร เพื่อจะได้ใช้เป็นที่ประชุม พระที่อยู่ในเขตนี้ก็มาประชุมกันในโรงอุโบสถนี้ โรงอุโบสถนี้ก็คือหอประชุมเป็นที่เพียงประชุม เดิมนั้นไม่ใช่หมายความว่าจะมีเขตอยู่เฉพาะแค่ตัวโรงอุโบสถ โรงอุโบสถก็คืออยู่ในเขตใหญ่เป็นหอประชุม เพราะว่าจะไปประชุมกันที่ไหนพระทั้งวัด มันก็ต้องมีจุดกำหนด แล้วก็ที่ในประชุมนั้น ถ้าไม่มีหลังคาไม่มีอาคาร ก็จะเป็นอันตราย ฝนตกแดดออก ไม่สะดวกใช่ไหม แล้วไม่มีสัดมีส่วนก็ทำให้ต้องมีโรงอุโบสถเป็นที่ประชุมขึ้นมา ต่อมาก็มีการที่ว่าผูกสีมาเฉพาะตัวโรงอุโบสถเลย กลายเป็นว่า อ้าวใครจะมาเข้าที่ประชุม ก็เอาถือแค่ว่า อยู่พร้อมในเขตของโรงอุโบสถแล้วก็ใช้ได้ไม่ต้องไปคำนึงถึงพระนอกนี้ เพราะว่าตามพระวินัยนั้น พระที่อยู่ในเขตที่เรียกว่าสีมาทุกองค์ต้องมาประชุม ถ้าผู้อยู่ในเขตสีมาไม่เข้าที่ประชุม ไม่อยู่ในหัตถบาตรไม่มานั่งประชุมในที่กำหนด การประชุมนั้นว่าเป็นโมฆะ ใช่ไหม อันนี้เมื่อมากำหนดเขตเฉพาะโรงอุโบสถ ก็เลยไม่ต้องไปคำนึงถึงพระที่อยู่นอกโรงอุโบสถ จะอยู่ในจะมีใครก็ช่างเอาแค่ว่าอยู่ในเขตโรงอุโบสถมานั่งในหัตถบาตร ในที่ประชุมที่ว่าอยู่ร่วมกันพร้อมแล้วก็ใช้ได้ เลยกำหนดเอาแค่นี้ นี่จะเรียกเป็นความที่ว่าหย่อนลงก็ได้ ทำให้มันสะดวกขึ้น แต่ก็ทำให้เจตนารมณ์นี้ลดหย่อนลงไป นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่ง
ที่นี้ เรื่องตัวการสวดเองก็บอกแล้วว่าเป็นสังฆกรรมการ เจตนารมณ์เพื่อให้พระได้มาทบทวน ซักซ้อม พระวินัย ที่มีเป็นข้อย่อย ๆ คือสิกขาบทต่าง ๆ 227 ข้อ ถ้าผู้ใดไม่ได้ปฏิบัติตามสงฆ์ก็อาจจะได้พิจารณาลงโทษ ก็เป็นการทบทวนตรวจสอบตนเองของแต่ละองค์ด้วย ที่ประชุมก็ตรวจสอบกันด้วย อันนี้ก็เป็นวิธีการที่จะช่วยรักษาพระศาสนา ช่วยรักษาสงฆ์ให้มั่นคงอยู่ เพราะว่าสิกขาบท 227 นั้นเป็นหลักพื้นฐานในการที่จะคลุมให้สงฆ์ตั้งอยู่ได้ เพราะเมื่อผู้ที่เป็นสมาชิกของสงฆ์นี้มีศีลเสมอกันคือ ปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยก็ดำรงอยู่ในสังคมแต่ละสังคมนี้ต้องมีกฎมีเกณฑ์ ทุกคนต้องเสมอกันต่อหน้ากฎหมาย อันนี้ก็เป็นหลักที่มีมาในพระวินัย ก็ถ้าพระรักษาศีลเสมอกันตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ทั้ง 227 ข้อ ก็จะเป็นพื้นฐานให้สงฆ์ดำรงอยู่ แล้วก็เมื่อสงฆ์ดำรงอยู่ก็ทำกิจหน้าที่ต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยดี เพราะวินัยนั้นบัญญัติไว้ เพื่อสร้างสภาพเอื้อในการที่จะปฏิบัติกิจการในพุทธศาสนา ในการบำเพ็ญไตรสิกขาเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนาเอง ถ้าหากว่า 227 ข้อ นี่มันบกพร่องไปมาก ๆ แล้วก็สภาพของการเป็นชุมชนสงฆ์ในพุทธศนาก็จะค่อย ๆ หมดไป ที่นี้เมื่อเข้ามาในที่ประชุมอย่างนี้ เดิมก็เป็นอันว่าเจตนารมณ์ แสดงว่าผู้ที่มาเข้าที่ประชุมรู้อยู่แล้วว่าสิกขาบท 227 มีอะไร ก็มาสวดเป็นการซักซ้อมกันทวนกัน
มายุคหลังมาในเมืองไทยเราถึงวันสวดเรามาสวด ๆ กันเป็นภาษาบาลี บางทีพระที่เข้าสวดนั้นการศึกษาก็ไม่ค่อยมี ก็ไม่รู้ ฟังก็ไม่ออก เป็นแต่เพียงภาษาบาลีเท่านั้นเอง ก็เลยทำกันเป็นสักแต่เป็นพิธีสังฆกรรมก็เลยกลายเป็นเพียงพิธีกรรม ซึ่งจะได้เห็นว่า สังฆกรรมมากมายในพุทธศาสนา อย่างในประเทศไทยเรานี่ ได้กลายเป็นเพียงพิธีกรรม ใช่ไหม สังฆกรรมหมายถึง กิจกรรมของหมู่ ของสงฆ์ ของส่วนรวม ซึ่งจะต้องร่วมกันทำ ซึ่งสมาชิกทุกท่าน มีความรับผิดชอบ แต่บัดนี้ก็กลายเป็นพิธีกรรม สักแต่ว่ามาประชุม ๆ กัน นั่งแล้วก็บางทีก็ไม่รู้เรื่อง ก็ผ่าน ๆ ไป อันนี้ก็ในเมื่อเป็นพิธีกรรมแล้วแสดงว่าเสื่อม เอ้า ถ้ามองไปในแง่เสื่อมก็เสื่อมล่ะ แต่ก็มองในแง่หนึ่งก็ยังดีที่รักษารูปแบบไว้ได้ เพราะเคยพูดไว้แล้วนี่ รูปแบบนี้ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเหมือนกัน เพราะว่าเป็นเหมือนแก้วน้ำที่จะรักษาน้ำไว้ได้ ถ้าไม่มีแก้วน้ำ ๆ น้ำก็ไม่อยู่ แต่ว่าที่จริงนั้นจะต้องให้มีแก้วที่มีน้ำด้วย ในกรณีที่มีแก้วไม่มีน้ำ ก็ยังดีกว่าไม่มีทั้งแก้วไม่มีทั้งน้ำ ก็ยังมีแก้วไว้อย่างหนึ่ง เผื่อมีโอกาสยังจะไปหาน้ำมาใส่ ใช่ไหม ทีนี้ว่า ในพระพุทธศาสนาของเราในเมืองไทยเนี่ย อะไรต่ออะไรมันเหลือแต่รูปแบบเยอะ เหลือเป็นพิธีกรรมไป ซึ่งพิธีกรรมเอง ก็คือความหมายเดิม พิธีกรรมก็บอกแล้วว่า หมายถึงการกระทำที่เป็นวิธีการ เพื่อจะให้ได้เกิดผลที่ต้องการ แต่เดี๋ยวนี้มันเหลือความหมายที่เป็นพิธีเองมันก็เลือนแล้ว พอได้พูดแต่สักว่าเป็นพิธีมันก็เลยไม่รู้อะไร เป็นเพียงรูปแบบเท่านั้นเอง สักแต่ว่าทำไปตามที่สืบ ๆ กันมา อันนี้รูปแบบที่ว่านี้ มีความสำคัญในแง่ของกิจกรรม ขั้นตอนและตัวบทที่เอามาสวด ที่ว่าเป็นภาษาบาลี นี้ก็อาจจะมีข้อถกเถียงว่า เอ้อ ก็อย่างนี้ถ้าพระฟังสวดเป็นภาษาบาลีไม่รู้เรื่อง เราก็แปลเป็นไทยเอามาสวดเป็นไทยไม่ดีหรือ ก็อาจจะดีเหมือนกัน ก็ได้ประโยชน์ส่วนหนึ่ง แต่ภาษาไทยนี่เสี่ยง เพราะอะไร เพราะคำภาษาบาลีตัวบทเดิมนี่ ถ้าแปลเป็นไทย มีโอกาสคลาดเคลื่อน คำแปลนั้นไม่สามารถจะรักษาเนื้อความให้เต็มตามเดิมได้ ไม่ว่าการแปลใดทั้งสิ้น ที่นี้ถ้าไปหลายคนแปล หลายแห่งแปล ต่างคนต่างแปลต่อไปไม่รู้คำเดิมคืออะไร แล้วใครถูกใครผิด เกิดมีการถกเถียงกันยุ่ง เพราะฉะนั้นในพระพุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาทของเราถือนักต้องรักษาตัวบทเดิมไว้ให้ได้ จะแปลก็แปลไป แต่ต้องรักษาตัวเดิมไว้ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าใช้แปลน่าจะเป็นว่า ตัวบาลีเดิมก็ต้องรักษาไว้ด้วย พร้อมทั้งสวดแปลด้วย พระก็คงไม่ค่อยเอา เพราะขนาดสวดบาลี อย่างเดียวนี่ก็ว่าไปตั้ง 40 นาที บางองค์สวดตั้งเกือบชั่วโมง ใช่ไหม หาองค์ที่สวด 30 นาทีนี้แทบไม่ได้เลย 40 นาทีนับว่าไวแล้วนะ ถ้าสวด 30 นาทีนี้ฟังแทบไม่รู้เรื่องเลย ขนาด 40 นาทีบางองค์สวดฟังไม่รู้เรื่อง ทีนี้สวดบาลี 40 นาที ถ้าขืนแปลอีกก็เข้าไปเป็นไทยจะยิ่งยาวกว่า ดีไม่ดี ก็อีกชั่วโมงกว่า รวมเป็น 2 ชั่วโมง แต่ที่จริงถ้าทำได้ก็ดี แต่ว่าถ้าตัดบาลีนี่ไม่ควร ก็เหมือนกับว่าผู้ที่เข้าประชุมนี่ควรจะมีการศึกษา ได้รู้เข้าใจแล้วตัวสิกขาบทบาลีว่ายังไง แล้วแปลเป็นไทย เนื้อหาว่ายังไงเข้าใจแล้วพอไปถึงวันนั้นก็ไปร่วมประชุมกัน ก็พยายามรักษาตัวบทไว้ได้รักษาให้แม่นยำที่สุด คือการรักษาของเดิมไว้ แล้วก็แปลกันก็แปลเพื่อศึกษา เพื่อเล่าเรียนให้เข้าใจ ไม่ใช่เอาแปล ไม่ใช่เอาคำแปลมาเป็นตัวบท มาเป็นตัวหลัก ต้องเอาตัวบทเดิมเป็นหลัก แล้วเอาตัวแปลเป็นเครื่องประกอบในการศึกษาเล่าเรียน ที่นี้เมื่อรักษาตัวบทไว้ได้ ต่อไปเราก็มาพัฒนาพระที่บวชเข้ามาแล้วไม่ค่อยได้เล่าเรียนศึกษา ต่อไปก็ให้มีการศึกษาให้รู้เข้าใจซะ เพราะเวลานี้พระบวชเข้ามาในจังหวัดต่าง ๆ เนี่ย บวชมาแล้วไม่ได้เรียนอะไรเลยเยอะเหลือเกิน ฉะนั้นถ้าเราจะพัฒนา ก็พัฒนาย้อนกลับดีกว่า คือพัฒนาพระที่บวชเข้ามา ให้เรียนรู้เข้าใจ แล้วมาฟัง ถึงวันมาฟังก็ฟังด้วยความรู้ความเข้าใจ ไม่ใช่ไปผ่อนตามพระที่ไม่มีการศึกษา ใช่ไหม ต่อไปก็ผ่อนตามเรื่อยไป ต่อไปก็เออ สวดหมดมันก็ไม่จำเป็นหรอก โสดแค่เอาแค่ตัดแค่นี้ก็พอแล้ว ต่อไปก็หย่อนเลื่อย ถ้าลงหย่อนแล้วก็หย่อนเลื่อย ดีไหมก็เหมือนพระมหายาน ก็เลยต่อไปหาของเดิมไม่ได้
อย่างมหายานปัจจุบันนี้ คัมภีร์เดิมแม้แต่ที่เป็นภาษาสันสกฤต หาไม่ได้แทบจะคัมภีร์เดียว เหลือแต่เป็นภาษาที่แปลแล้วเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบต ฉะนั้นก็ยากที่จะรู้ว่าตัวเดิมเป็นอะไรใช่ไหม อันนี้ก็แปลว่า สายเถรวาทของเรารักษาของเดิมไว้ให้บริสุทธิ์ที่สุด ถือเป็นของสำคัญ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่ามาถึงปัจจุบันนี่เมื่อสภาพเป็นเช่นนี้เราก็ต้องยอมรับถึงความเสื่อมของพระพุทธศาสนา ซึ่งความเสื่อมที่สำคัญก็คือ ความเสื่อมในการศึกษา หมายถึงด้านเริ่มแต่ปริยัติ การเล่าเรียนพุทธพจน์ ธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้ แล้วมันก็เลยมาเสื่อมการศึกษาที่ เรียกว่าเป็นตัวจริงคือการปฏิบัติด้วย เพราะเมื่อไม่มีปริยัติรองรับ การปฏิบัติก็คาดเคลื่อนได้ อันนี้ก็เมื่อเสื่อมอย่างนี้แล้ว ก็เป็นอันว่าเราก็เอาเป็นว่า อย่างน้อยก็รักษารูปแบบไว้ได้ก็ยังดี เพราะรูปแบบยังมีโอกาสที่จะฟื้นกลับ ถ้าหากมันไม่เหลือรูปแบบการประชุมในวันอุโบสถก็ไม่มีเหลือ การสวดไม่มีเหลือตัวบทไม่มีเหลือ คราวนี้จะฟื้นยังไง ไม่มีทางเลยหมดเลย แม้แต่ว่ากิจกรรมในการประชุมหมดไปแล้วนี่ ต่อไปจะมาเรียกกลับให้มีประชุมอีก มันไม่มีเครื่องที่จะมาดึงมาเหนี่ยว มาควบคุมบังคับ ทำยากใช่ไหม อันนั้นประเพณีช่วยรักษาไว้ รักษารูปแบบไว้ได้ ก็จะเป็นโอกาสในการที่จะฟื้น อย่างน้อยพระที่มีความเอาใจใส่ก็จะได้มาพูดจาทำความเข้าใจกันในหมู่ที่ท่านมีความเห็นความสำคัญของหลักการนี้ เหมือนอย่างที่เรามาที่มาทำความเข้าใจกันอยู่
อันนี้ก็เป็นตัวอย่างของสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่ว่า ได้เหลือแค่เป็นพิธีกรรม แต่ก็อย่างที่ว่า การปฏิบัติให้ถูกเรื่องนี้ก็คือว่า เราถือว่าแม้จะเหลือรูปแบบก็ยังดี ที่มันยังยังเหลืออยู่ แล้วก็เป็นโอกาสที่ให้ฟื้นเนื้อหาขึ้นมา ถ้ามีโอกาสก็ฟื้นให้มันครบ ให้รูปแบบนั้นมีเนื้อหาอยู่ด้วย แล้วมันก็จะเกิดความสมบูรณ์ต่อไป ก็คิดว่าคุยกันพอได้ความ มีอะไรสงสัยก็มาถามกัน
(1)
คนฟังถาม: ทีนี้ทุกวัดนี่ ผมเข้าใจว่าโอวาทปาฏิโมกขฺมนุษย์คงเข้าใจไม่หมด
พระตอบ: เดี๋ยวนี้มากำหนดเอาแต่โรงอุโบสถเป็นหลัก เพราะแม้ว่าพระอาคันตุกะเข้าไปก็ถือเป็นพระอาคันตุกะเข้าเขตก็ต้องเข้าร่วม คือหมายความว่า ในเวลานั้นทุกองค์ที่อยู่ในเขตต้องเข้าที่ประชุมหมด ถ้าผู้ที่อยู่ในเขตนั้นน่ะ ไม่มาเข้าในที่ประชุม ก็แสดงว่าสงฆ์ไม่พรักพร้อม เมื่อสงฆ์ไม่พรักพร้อมแล้วการประชุมเป็นโมฆะเลย สังฆกรรมถืออย่างนี้เลย ถือว่า เอาทวนอีกทีว่า พระภิกษุทุกรูปที่มีสิทธิ์ผู้อยู่ในเขตนั้น เขตที่เรียกว่าสีมา เมื่อถึงเวลาประชุมนี้ต้องมาเข้าที่ประชุมทั้งหมด ที่เขาเรียกว่านั่งในหัตถบาส ในเขตที่มาถึงเนี่ย ถ้ามีองค์ใดองค์หนึ่งไม่เข้าที่ประชุมนี้ แต่อยู่ในเขต ถือว่าสังฆกรรมนั้นผิดหลัก ผิดวินัยไม่พร้อมเพรียง ไม่ครบ ที่ประชุมนั้นไม่พร้อมเพรียง เมื่อที่ประชุมไม่พร้อมเพรียงทำให้สังฆกรรมนั้นเป็นโมฆะ เลย
(2)
คนฟังถาม: พูดสั้น ๆ ถ้าโหวตกันแล้วพอดี ถ้ามีใครไปยืนร้อง
พระตอบ: ตอนนี้ก็ไม่เป็นไรก็สร้างเฉพาะโรงอุโบสถสีมา ก็แค่นั้น เวลาดูก็ดูว่า ทุกองค์ที่มาอยู่ในโบสถ์ เข้าที่ประชุมหรือยังยิ่งง่ายใหญ่ เดี๋ยวนี้เอากันแค่นั้น ที่พูดเมื่อกี้เข้าใจไหม ตอนแรก สีมาหมายถึงทั้งวัด และโรงอุโบสถก็เป็นเพียงที่ประชุม จะตั้งอยู่ตรงไหนก็ได้ในเขต ก็เวลาจะประชุมทีก็ดูว่า ทุกองค์ในเขตนี่มาเข้าที่ประชุมหรือยัง อย่างสีมาใหญ่ที่ทั้งวัดเดี๋ยวนี้ก็ยังมี วัดราชบพิธ เป็นตัวอย่าง พอถึงวันอุโบสถนี่ จะต้องมีโยมมาคอยดู เฝ้าทางเข้าวัดเลย เพราะถ้ามีพระองค์หนึ่งเข้าไปเขตปรั้บนี่ กรรมเสียเลย สังฆกรรมเป็นโมฆะ
(3)
คนฟังถาม: พูดถึง เขาปิดประตูใหญ่ได้ไหม พูดถึงว่าต้องปิดประตู
พระตอบ: ปิดประตูแล้วก็ นั่นแหละต้องมีคนเฝ้า เขาก็กลัวเดี๋ยวเกิดมีอะไรขึ้นมา ใช่ไหม อันนั้นก็มีวัดอยู่บ้างที่ยังมีอุโบสถเป็นสีมาทั้งวัด สีมาใหญ่เรียกว่ามหาสีมา วัดราชบพิธเป็นตัวอย่าง แต่ทีนี้วัดทั่วไปก็ใช้แค่โรงอุโบสถผูกสีมาแค่นั้น เพราะฉะนั้นเวลาประชุมสังฆกรรม สังฆกรรมก็ดูแค่ในโรง ในสีมาในโรงอุโบสถ พระนอกจากนั้นไม่เกี่ยวจะมาจะไปก็เรื่องของท่าน แม้แต่อยู่ในวัดนั้นเองไม่เข้า ก็ไม่ว่า
(4)
คนฟังถาม: ที่นี้อย่างตอนจะเข้าโบสถ์ต้องมี เข้าไปโบสถ์ก็มีอันหนึ่ง แล้วในตัวโบสถ์ก็มีอีกอัน แล้วในตัวโบสถ์เองก็มีสีมาด้วยใช่ไหม หน้าโบสถ์นะ ก็มีพอเข้าไปถึงข้างหลังพระ แสดงว่าในตัวโบสถ์ มีสีมาอยู่ภายในด้วย แสดงว่าในตัวโบสถ์มีสีมาด้วยใช่ไหมครับ
พระตอบ: ไม่ใช่ สีมาก็มีเขตอันเดียวแหละ แต่ว่ามันมีลูกนิมิต ลูกนิมิตนั้นหมายความว่าเครื่องหมาย เป็นก้อนหินเป็นอะไร เป็นเครื่องหมายของเขต ที่นี้การที่วันทาสีมา นี่เป็นเรื่องประเพณี ความจริงนั้นเดิมไม่มีหรอก ในสมัยพุทธกาล ไม่มีการไปวันทาสีมา เพราะว่าสีมาเป็นเพียงเขต และนิมิตก็เป็นเครื่องหมายบอกเขต นั่นคำว่าสีมาแล้วจะไปไหว้ทำไม สีมาก็เขตเท่านั้นเอง ใช่ไหม แต่ที่นี้มันเป็นประเพณีคล้าย ๆ ว่า ให้ความเคารพ ให้ความเคารพแก่สถานที่อย่างที่ว่า ก็เลยไหว้ ๆ เมื่อจะเข้าเขตสีมาก็ไหว้ เคารพแล้ว เมื่อก็เข้าไปในเขตก็ต้องไหว้ แสดงความเคารพในเขตอีก ใช่ไหม ที่นี้ การผูกสีมามีลูกนิมิตรนี่ ที่จริงนั้นไอ้ตัวนิมิตรก็อยู่ที่เขตนั่นแหละเป็นเครื่องหมายเขต มาเป็นประเพณียังมีลูกกลางอีกใช่ไหม ลูกกลางโบสถ์อีก ก็เลยถือลูกนิมิตกลางโบสถ์บางทีเป็นสำคัญเสียด้วยสำหรับชาวบ้าน
(5)
คนฟังถาม: ลูกนิมิตมีกำหนดไว้ไหมครับ ว่าต้องมีกี่ลูก ๆ
พระตอบ: ก็มีอย่างน้อย ถ้าไม่ครบก็อย่างน้อย ก็บอกเขตไม่ได้ซิ ใช่ไหม
(6)
คนฟังถาม: อย่างน้อยต้อง 4 ใช่ไหม
พระตอบ: อย่างน้อยก็ เข้าใจว่า 4 หรือเท่าไหร่ ผมจำไม่ได้แล้วน่ะ จำได้ไหมกี่ลูก อย่างน้อย ลืมแล้ว
(7)
คนฟังถาม: 8 ลูก น่ะ
พระตอบ: 8 ลูกน่ะ ลูก 9 น่ะ เป็นได้สำคัญอะไร
(8)
คนฟังถาม: 8 ลูก แต่เขานิยม 9 เขานิยม
พระตอบ: 9 นั่นหมายถึงรูปพิเศษ เอาแต่วินัย ก็เป็นอันว่า 8 ลูก หลวงลุงยังแม่นวินัยอยู่
(9)
คนฟังถาม: พักสีมาทางขวา อย่างวัดที่อเมริกา กำหนดเอาเป็นเขตหมู่บ้าน ไม่มีสีมา ไม่มีโบสถ์ ไม่มีการกำหนดสีมา
พระตอบ: ก็นั่น อพัทธสีมา ไงหล่ะ
(10)
คนฟังถาม: คือเมื่อพระผ่านเข้าไป
พระตอบ: เสีย ก็เสียสิ คือว่า คือเพราะท่านยังไม่ผูก ท่านก็เลยต้องกำหนดเอาอย่างนั้น แต่ทีนี้เป็นประเทศที่หาพระได้ยาก ก็เลยมั่นใจว่า ในเขตนั้นคงไม่มีพระอื่นเข้ามาหลอก ตลอดเวลาที่เรากำลังทำสังฆกรรม แต่ก่อนนี้ก็อาจจะเอาทั้งเมืองเลย เอา city of New York นิวยอร์กซิตี้เลย
(11)
คนฟังถาม: นี่สมมุติเอา
พระตอบ: สีมานี่นะ สีมาที่สงฆ์ตกลงกันกำหนดไว้ นี่อย่างหนึ่ง สีมาที่สงฆ์ไม่ได้กำหนดขึ้น แต่ถือเอาเขตกำหนดของบ้านเมืองอย่างหนึ่ง คือในเมื่อสงฆ์ยังไม่ได้กำหนดของตนเอง ก็เลยถือเอาตามที่บ้านเมืองเขามีเขตของเขา คือเขตการปกครอง เป็นอำเภอ เป็นตำบล แล้วเป็นเมือง ก็กำหนดเอาตามบ้านเมืองนั่นเอง อย่างนั้นเขาเรียกว่าอพัทธสีมา ทีนี้อพัทธสีมานี้ อย่างที่ว่ามาเมื่อกี้ พระไปอเมริกาหรือไปต่างประเทศ ตอนนั้นก็ยังไม่ผูกสีมา จะผูกก็ยังไม่ได้ไม่มีพระผู้ชำนาญ แล้วไม่มีจำนวนพระสงฆ์ครบ ยังไม่มีปัจจัยแวดล้อมเพียงพอที่จะทำการผูกสีมาด้วยได้ ยิ่งตามประเพณีไทย ยิ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก จะทำก็ทำต้องเป็นเรื่องใหญ่โต ต้องนิมนต์พระผู้ใหญ่จากประเทศไทยไป ก็เลยว่าเอ้ ระหว่างนั้นเราจะทำอย่างไร จะมีสังฆกรรม ก็เลยเอาสีมาที่ประเภทที่ว่า ถือตามบ้านเมือง ไม่ต้องผูกก็มาตกลงกันในที่ประชุมสงฆ์เฉพาะที่นั่น บอกว่าเอาน่ะเรากำหนดตามเขต ตำบล เขตหมู่บ้านเกิดเมืองนี้ ทีนี้ก็อย่างที่ว่าต้องมี ความมั่นใจว่า ไม่มีพระอื่นเข้ามาหรอก ตามปกติก็ไม่มีอยู่แล้ว แต่เกิดบังเอิญมีเข้ามาก็ยุ่งเหมือนกัน ก็เข้ามาเขตสีมานั้นทำให้สังฆกรรมเป็นโมฆะไป
(12)
คนฟังถาม: ในกรณีที่ต่างนิกาย ถ้าเกิดจะต้องมีโอกาสจะไปทำสังฆกรรมร่วม
พระตอบ: อ้อ อันนี้ก็เป็นกรณีอีกอันหนึ่ง คือว่าเวลานี้ก็พูดกันถือว่า ต่างนิกายเป็นนานาสังวาสกัน ไม่ยอมร่วมอุโบสถกัน เมื่อไม่ยอมร่วมอุโบสถกันก็เลยถือว่า ไม่เป็นเหตุให้กรรมเสีย ถ้าพระที่ต่างนิกายมา ก็หมายความว่า ถือว่าเป็นนอกกลุ่ม นอกหมู่ ใช่ไหม เข้ากันไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็พอเข้าที่ประชุมไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าเข้าที่ประชุมสิ ทำให้สังฆธรรมเขาเสีย ถือกลับกันเลย ถ้าขืนเข้าไปร่วมเข้าสังฆกรรมแล้ว ทำให้สังฆกรรมเขาเสีย แต่นี่ก็มีเรื่องปลีก ๆ ย่อย ๆ อย่าง พระเถระธรรมยุตยุคก่อน ก็จะมีชวนพระเถระมหานิกายบางองค์ไปเข้าร่วมสังฆกรรมด้วย คล้าย ๆ ยอมรับตอนนั้นทางคณะสงฆ์ทางธรรมยุตคล้ายถือตัว เพราะว่าเป็นผู้ยอดสุดสูงกว่า อันนี้ก็ไปยอมรับพระมหานิกายแต่บางองค์มาเข้าร่วมสังฆกรรมได้ อ้าวถ้าอย่างนี้มันก็เป็นปัญหาใช่ไหม เอั ถ้าอย่างนั้นก็อยู่ที่ว่าเอาอะไรมาเป็นเครื่องวัดที่จะยอมรับ ใช่ไหม ก็ยอมรับโดยเห็นว่าท่านผู้นี้มีความประพฤติดีอะไรต่าง ๆ เหล่านี้มีศีลาจารวัตรดี แล้วองค์ที่ไม่เห็นล่ะ ก็คงมีดีเยอะเหมือนกันใช่ไหม ถ้างั้นก็คงจะยกขึ้นมาเป็นข้อ พิจารณาก็คงเป็นปัญหาเหมือนกัน แต่ว่าเอาข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก็คือไม่ร่วมสังฆกรรม ตอนก่อนนี้พระธรรมยุตถือก็ว่า พระมหานิกายนี่เป็นเณรเลย ตอนระยะใหม่ ๆ นี่ถือกันรุนแรงมาก ไม่ฉันอาหารด้วยกัน ฉันอาหารก็ไม่ฉัน และมีการถือกันรุนแรง มีองค์หนึ่งอยู่วัดเบญจ เป็นพี่เป็นมหานิกาย แล้วองค์น้องไปบวชอยู่วัดอะไรจะเป็นราชาธิวาส หรือว่าเป็นวัดอะไรธรรมยุต จำไม่ได้แล้ว ที่นี้องค์พี่นี่ก็ไปเยี่ยมองค์น้องเป็นครั้งเป็นคราว เมื่อไปเยี่ยมไปถึงกฏิแล้ว ก็เอาจีวรออกก็พาดสายระเดียง คือที่สายที่จะตากผ้าน่ะ ที่นี้พอพาดแล้ว เวลากลับก็ห่มกลับไป ถือกันแรงมากองค์น้องนี่เป็นธรรมยุตก็ถือว่าสายระเดียงนี้ใช้ไม่ได้แล้ว ถืงกันขนาดนั้น ตัดเลย สายระเดียง ตัดแล้วทำใหม่ อันนั้นพระพี่ชายมาทีไร กลับไปพระองค์น้องก็ต้องตัดสายระเดียงทุกครั้งไป ต่อมาพระองค์พี่ได้ยินข่าว รู้เข้า ตอนแรกไม่รู้มาแล้วก็กลับไป ไม่รู้ว่าน้องทำอย่างนี้ ต่อมาได้ยินว่า ท่านมาแล้วพาดจีวรที่สายระเดี่ยงกลับไปแล้ว น้องก็จะตัดสายระเดียงแล้วทำใหม่ ท่านก็โกรธ ก็เลยมาถึงวันนั้น เอาจีวรนี้มาพาดคอน้องเลย ทีนี้กูตัดคอมึงเลย อะไรทำนองนั้น นี่เป็นเรื่องขำ ๆ ที่ว่าถือกันรุนแรงในยุคนั้น ต่อมาก็ค่อย ๆ คลาย จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ท่านก็เหมือนกันไปหมด ถือเป็นอย่างเดียวกันแทบจะไม่มีอะไรต่างกัน
(13)
คนฟังถาม: ปกติถ้าเราไปต่างจังหวัดเจอทั้งอุโบสถ แล้วจะทำอย่างไรขอไปอุโบสถลงโบสถ์ ต้องเป็นนิกายที่เหมือนกันไหม
พระตอบ: ได้ วัดไหนก็ได้ ก็ไปร่วมในนิกายเดียวกัน เพราะว่าถ้าเป็นต่างนิกายเขาไม่ยอมให้ไปเข้าหรอก
(14)
คนฟังถาม: พวกมหานิกายแปลง เขาจะยอมเขาจะมีปัญหาไหม
พระตอบ: เขาไม่มีปัญหา มหานิกายเหมือนกัน แปลงไม่แปลงก็ไม่มีปัญหา ก็เหมือนอย่างวัดเบญจ ก็ห่ม คล้าย ๆ กับทางพระธรรมยุต ท่านก็เป็นพระมหานิกาย
(15)
คนฟังถาม: คืออย่างสมมุติ ในการรับศีลอุโบสถของคฤหัสถ์ นี่น่ะครับ จำเป็นไหมครับ ที่ช่วงเช้าจะต้องไปรับศีลจากพระ ถ้าเกิดเราตั้งใจว่าวันนี้ จะถือศีล 8
พระตอบ: อ้อ ได้ คือไอ้เรื่องที่ว่าไปรับกับพระนี่ เป็นการที่ว่าไปสมาทาน กล่าววาจา นี่สมาทานด้วยใจตัวเองก็ได้ ก็เหมือนกับให้ท่านเป็นพยานให้เรา ก็ถ้าทำเองก็เป็น อธิษฐานอุโบสถ ตั้งจิต ถึงวันนั้นก็รู้กันก็ ถือศีลนั้นเลยใช่ไหม