แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
นี้เรื่องพระรัตนตรัยก็อยากจะมาทวนเสียอีกครั้งหนึ่ง คราวที่แล้วก็ไม่ได้ย้ำให้ครบทั้ง 3 อย่าง ไปย้ำแต่พระพุทธเจ้า พระรัตนตรัยนั้นก็มี 3 อย่างด้วยกัน คำว่ารัตนแปลว่าดวงแก้วคือสิ่งที่มีค่า แต่เดิมมานี่ก็เรียกสิ่งที่มีค่าว่าแก้ว สมัยนี้ก็มาให้ความสำคัญเรื่องเงินทอง ทองเพชร ถือว่าเพชรนี้มีค่ามาก ความจริงเพชรนั้นก็อยู่ในแก้วนี้ อยู่ในรัตนะ รัตนะหรือแก้วนี่ มีเยอะแยะไปหมดแต่ไม่ใช่แก้วน้ำ พวกดวงแก้ว สมัยก่อนนี้เราพูดถึงอะไรที่ดีมีค่าล่ะก็แก้ว แก้วแหวนเงินทองหรือคนดีก็เป็นแก้ว ลูกดีก็เป็นลูกแก้ว พ่อดีก็เป็นพ่อแก้ว แม่ดีก็เป็นแม่แก้ว คนภายไปหลังก็มาพูดเป็นเล่น พ่อแก้วแม่แก้วหมายความว่า พ่อก็แก้วนึง แม่ก็แก้วนึง หมายความว่า เหล้าคนละแก้ว อันนี้มันเป็นเรื่องของคนแผลง ๆ แต่ว่าเอาคำว่าแก้ว คือรัตนะเป็นความหมายแก้วมีค่าสูงสุด อันนี้สำหรับคนทั่วไปก็ไปมองวัตถุว่าเป็นสิ่งมีค่า ก็เป็นเรื่องของการตกลงกันในสังคมมนุษย์ ลองอยู่คนเดียวสิชีวิตของตนแท้ ๆ สิ่งที่เรียกว่าแก้วทางวัตถุ แม้แต่เพชรจะมีค่าแก่ชีวิตจริงหรือเปล่า มันจะมีค่าในแง่ของความนิยม เอามาอวดกัน มาแสดงฐานะมีความเชื่อมโยงไปเรื่องของการวัดสถานะเป็นต้น แต่ว่าคุณค่าที่แท้จริงต่อชีวิตเนี่ยโดยตรงเนี่ยมันไม่มี กินก็ไม่ได้ อย่างที่เคยยกตัวอย่างว่า ถ้าว่าเราไปติดอยู่บนเกาะไม่มีอาหารจะกิน มีเพชรสักกระสอบหนึ่งก็ไม่มีประโยชน์ สู้มีข้าวถังเดียวก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นแก้วภายนอกนี้มันไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีค่าแท้จริงในตัวของมันเอง มันเป็นค่าที่คนใส่ให้แก่มัน ตามแต่ตกลงตามแต่นิยม วัตถุบางอย่างมีค่าในสมัยนี้ แต่พอไปอีกสมัยหนึ่งก็เปลี่ยนไป อีกสมัยหนึ่งก็ไม่นิยม บางทีก็ขึ้นอยู่กับความหายากของมัน ถ้าเกิดหาง่ายขึ้นมามันก็หมดค่า บางทีก็ขึ้นกับความสวยงาม ซึ่งสวยงามก็เป็นเรื่องภายนอก ไม่เข้าไปในเนื้อในตัวชีวิตของเรา
แก้วเหล่านี้หรือสิ่งมีค่าเงินทองเพชรอะไรก็ไม่สามารถทำให้ชีวิตคนนี้ดีงามประเสริฐขึ้นมาได้ ไม่ช่วยให้คนนี้ดำเนินชีวิตได้รู้เข้าใจเกิดปัญญาเข้าถึงความจริงของสิ่งต่าง ๆได้ แต่ว่าเรามาเรียกพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์เป็นรัตนะเป็นแก้วนี้ก็เป็นการเตือนสติคนให้เห็นว่า อ้อ สิ่งที่มีค่าที่แท้จริงนี้นะ คืออย่างนี้คือพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ ซึ่งให้คุณค่าที่แท้จริงแก่ชีวิตสามารถที่จะทำให้เราเกิดปัญญารู้เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลายว่าเราไปยึดถือไปเกี่ยวข้องไปอาศัยท่าน เราก็จะได้รับการชักนำแนะนำสั่งสอน หรือให้หลัก ให้แนวทางที่ทำให้เรานี่เกิดปัญญา แล้วสามารถดำเนินชีวิตพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นมา ทำชีวิตที่เป็นปุถุชนหรือเป็นคนที่ไม่มีความรู้ไม่มีความดีไม่มีปัญญาไม่มีคุณธรรมให้เป็นชีวิตที่ดีงามประเสริฐขึ้นมาได้ ดำเนินชีวิตถูกต้อง แล้วเรารู้คำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีค่านี้ เราจะไปสร้างสรรค์อะไรต่าง ๆ ภายนอกตัวก็ได้ ไปสร้างสรรค์ในตัวเราไม่พอ สร้างสรรค์ภายนอก สร้างสรรค์ทรัพย์สินเงินทอง แม้แต่ที่เรียกรัตนะภายนอกอย่างที่เขานิยมกันมาก็สามารถสร้างได้ด้วยการที่ว่ามีรัตนะอยู่ภายในก็คือธรรมะ หรือตัวอย่างคนที่มีรัตนะภายนอกไม่มีลักษณะภายในเช่นความดีงาม ไม่มีปัญญาก็รักษารัตนาภายนอกไม่อยู่ อย่าว่าแต่คนธรรมดาเลย แม้แต่พระเจ้าจักรพรรดิผู้ปกครองชั้นยอดมีรัตนะ 7 ประการ มีจักรรัตนะ เป็นต้น ก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักธรรมะ ถ้าไม่ปฏิบัติตามต่อไปรัตนะเหล่านั้นก็ไม่อยู่ อย่างจักรรัตนะเป็นเครื่องหมายของอำนาจ ถ้าไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไปก็พระราชอำนาจก็เสื่อมได้ เพราะฉะนั้นตัวรัตนะที่แท้ ก็อยู่ที่สิ่งที่จะนำมาใช้ปฏิบัติใช้ดำเนินชีวิตใช้ฝึกฝนพัฒนาตนเองนี่แหละ ถ้าเรามีพระรัตนะที่แท้จริงแล้วก็จะทำให้ชีวิตของเราประเสริฐจนกระทั่งสามารถเข้าถึงความดีงามสูงสุดบรรลุจุดหมายของชีวิตได้ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าควรจะมาสนใจรัตนะที่แท้ก่อน รัตนะที่ตกลงสมมุติการนิยมกันก็เป็นเรื่องรองลงไป ซึ่งบางคนอาจจะไม่เห็นสำคัญเลย บางคนเห็นเป็นเกะกะ อย่างบางคนเห็นรัตนะภายนอกเกะกะ มันเป็นภาระในการเก็บรักษาเป็นห่วงกังวลแล้วก็ไม่มีประโยชน์อะไรกับตัวเองจะไม่ยึดถือซะอย่าง ก็ไว้สำหรับหาเงินทำทองเป็นเครื่องยังชีพมีประโยชน์โดยอ้อมในแง่นั้น ก็เรื่องความประเสริฐที่แท้ของรัตนะนี้ก็เป็นเพียงผู้ที่ได้เห็นเค้า เราสามารถบรรยายไปได้เรื่อย ๆ
แต่ว่ารัตนะสิ่งมีค่าที่แท้นี่ในทางพุทธศาสนานี้ก็มี 3 ประการก็ คือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ในแง่ที่มีค่าเปรียบประดุจดวงแก้วรัตนะ ที่นี้ในการที่ว่าจะให้เป็นสิ่งมีค่านั้น ในแง่ที่มีค่าประดุจดวงแก้วก็เรียกว่ารัตนะ ทีนี้ในการที่จะให้เป็นสิ่งมีค่า ก็โดยโยงมาหาตัวเอง โดยที่เราเอามาใช้ประโยชน์การที่เรานำมาใช้ประโยชน์นี้ก็คือ เอามาใช้เป็นหลักของชีวิต เป็นเครื่องเตือนใจเป็นเครื่องระลึก ในแง่ที่เอามาใช้ประโยชน์ เมื่อสัมผัสกับตัวเรานี่แหละเขาเรียกว่าเป็นสรณะ เพราะฉะนั้นนั้นก็มีชื่อเรียก 2 อย่างโดยสภาวะที่มีค่าสูงสุด ก็เรียกว่าเป็นรัตนะ โดยแง่ที่เราเอามาใช้ประโยชน์ก็เป็นสรณะคือเป็นหลักเตือนระลึก สรณะแปลว่าเป็นเครื่องระลึกก็คือ เตือนใจให้ระลึกนึกถึง หรือระลึกนึกถึงแล้วก็เตือนใจเรา ให้เราเนี่ยได้ปฏิบัติตามหลักนั้นโดยยึดท่านเป็นหลัก อย่างที่ว่าไปแล้วยังพระพุทธเจ้าก็ระลึกถึงแล้วก็ทำให้เราเกิดความสำนึกในหน้าที่ ๆ จะต้องฝึกต้น แล้วก็เกิดความมั่นใจมีศรัทธาในศักยภาพของมนุษย์ที่เป็นสัตว์ที่ประเสริฐได้ด้วยการฝึกฝนพัฒนาหรือเป็นสัตว์ที่พัฒนาได้จะมีชีวิตประเสริฐได้ด้วยการฝึกฝนพัฒนานั้นอย่างที่ว่าไปแล้วก็ 4 อย่าง แต่ที่ว่าโดยหลักการทั่วไปรัตนะ 3 ที่เป็นสรณะหลักยึดเหนี่ยวเตือนจิตใจนี่ เราก็เป็นศัพท์ที่ไปเทียบกับเรื่องยึดถือของมนุษย์กับการที่มีในศาสนาเก่า ๆ ที่เขาก็มีสรณะที่พึ่ง
ทีนี้ลักษณะการถือสรณะ หรือที่พึ่งของศาสนาเก่า ๆ ที่มีมาเดิมก่อนพุทธศาสนาเกิดขึ้นกับที่พุทธศาสนามาสอนใหม่เนี่ยต่างกันอย่างไร ลักษณการถือสรณะจะเป็นว่าการถือสรณะแบบเดิมนั้น สิ่งที่เป็นสรณะก็ได้แก่พวกเทพเจ้าอำนาจเร้นลับที่มองไม่เห็นที่เรียกว่า เหนือธรรมชาติ ซึ่งในพุทธศาสนานี้เราไม่ยอมรับ เราบอกว่าไม่มีอะไรเหนือธรรมชาติหรอก ก็เป็นธรรมชาติทั้งนั้นแหละเรายังไม่รู้หรอก เราก็นึกเหนือธรรมชาติ ความจริงก็เป็นสภาวะที่มีอยู่ตามธรรมดาสิ่งที่มีอยู่โดยธรรมดาตามสภาวะของมันนี่เป็นธรรมชาติทั้งนั้นแหละไม่มีอะไรเหนือธรรมชาติ แต่คนแม้กระทั่งปัจจุบันมีความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติอยู่ นี้เขาเชื่ออำนาจเหนือธรรมชาติเขาก็ยึดเอาสิ่งที่มีอำนาจเหล่านี้ ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นเทพเจ้าเป็นต้น มาเป็นที่พึ่ง ความเป็นที่พึ่งของเขาก็คือเขาต้องไปอาศัยชีวิตเขาต้องขึ้นต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อำนาจดลบันดาลเหล่านั้น เชื่อว่าชีวิตตนเองจะเป็นอย่างไรสังคมตนเองจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่การดลบันดาลของท่าน การดลบันดาลของท่านก็ขึ้นกับความพอใจไม่ชอบใจของท่านถ้าท่านโปรดปรานชอบใจท่านก็ดลบันดาลผลดีให้ ถ้าท่านไม่พอใจท่านโกรธขึ้นมา ท่านก็บันดาลผลร้ายเกิดภัยพิบัติเกิดน้ำท่วมไฟไหม้ฟ้าผ่าแผ่นดินไหวขึ้นมา ฉะนั้นก็ต้องเอาอกเอาใจ การยึดถือเป็นที่พึ่งก็คือการหวังความช่วยเหลือจากท่านนั่นเอง นี่ละน่ะ 1 แล้วนะหวังความช่วยเหลือจากท่าน ที่นี้ในพุทธศาสนานี่ การยึดถือเป็นที่พึ่งนี่มันไม่ใช่การที่ไปรอคอยหวังพึ่งท่านยกให้ท่าน หรือว่ามอบชีวิตจิตใจให้ท่านแล้วแต่ท่าน แต่กลายเป็นว่าพอระลึกถึงสรณะในพุทธศาสนาคือ พระรัตนตรัยนี้แล้วเนี่ย มันกลับมาเตือนถึงตัวเอง สรณะในพุทธศาสนานั้นโยงมาที่ตัวเอง กลายเป็นว่าพอระลึกถึงพระรัตนตรัย ก็กลายเป็นมาเตือนสิ่งที่เราจะต้องทำ ต่างจากที่ยึดถือในศาสนาโบราณว่าเมื่อถือสรณะ ก็คือท่านเป็นที่พึ่งให้เราจะไปขอความช่วยเหลือก็เป็นเรื่องของท่านแหละ เราก็มอบจิตมอบใจให้ท่าน แล้วแต่ท่าน ขึ้นต่อท่านโดยสิ้นเชิงของพุทธศาสนานี่กลายเป็นเรื่องโยงเข้ามาหาตัวเราหมด ว่าเราจะต้องทำอะไร เพราะฉะนั้นการเป็นสรณะนี่ต่างกันเลยต่างกันโดยพื้นฐาน
ที่ 2 แล้วต่อไปก็เคยพูดไปแล้วพอไปยึดถือสรณะภายนอกเดี๋ยวนั้นแล้ว เป็นที่ถึงที่ยึดเหนี่ยว ๆ แล้วดึงลงให้จม จมวนเวียนอยู่ในหลงความหมกมุ่น การที่ฝากจิตฝากใจไว้กับท่านตัวเองไม่รู้จะทำอย่าไร ในพุทธศาสนาพอยึดเหนี่ยวแล้วก็ดึงขึ้น พอไปเกาะไปจับก็ได้หลักแล้วท่านก็จะชี้ทางแนะนำทางให้เราเดินหน้า จนกระทั่งเราเป็นอิสระ ฉะนั้นพระพุทธเจ้ามาเป็นสรณะนี่พระองค์ให้เราอาศัย ๆ เพื่อเราให้เราเรียนรู้สิ่งที่พระองค์ได้ผ่านมาแล้ว แล้วเราก็จะได้มาปฏิบัติได้ตนเองจนกระทั่งเราก็เป็นอิสระ ถ้าเป็นศาสนาโบราณนี้เขาจะกลายเป็นขึ้นต่อสิ่งที่เป็นที่พึ่งนั้นตลอดไปเลย จะมีคำสอนในศาสนาแบบนี้ มอบจิตมอบใจให้สุดชีวิตเลยใช่ไหม เป็นอันว่าไม่ต้องไปสงสัยอะไร ไม่ต้องอะไรทั้งนั้น ให้ขึ้นต่อท่านตลอดไป ของเรานี่ไปอาศัยเพื่อได้เป็นกัลยาณมิตร ท่านจะได้แนะนำและปฏิบัติ เราก็จะเป็นอิสระหลุดพ้นด้วยตนเอง จุดหมายเป็นอิสระไม่ใข่ไปขึ้นต่อ เนื่องมาจากที่บอกว่าพอยึดเหนี่ยวแล้วไปดึงขึ้น เพราะชี้ทางไปสู่อิสรภาพของแต่ละบุคคล ฉะนั้นลักษณะการยึดถือสรณะ ก็เลยต่างกันมาก
ทีนี้สรณะในพุทธศาสนาที่ว่ามี 3 นี่ ที่ว่าแต่ละอย่างที่โยงหาตัวเองทั้งนั้นเลยที่ว่า
1 พระพุทธเจ้าโยงก็มาหาตัวเราอย่างที่ว่าไปแล้ว โยงมาหาตัวเราว่า พระองค์ก็เป็นมนุษย์มาก่อน บำเพ็ญบารมีพัฒนาพระองค์ให้เป็นผู้ประเสริฐเป็นพุทธะ นั้นเป็นมนุษย์มีศักยภาพวันนี้ พระระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็โยงมาหาตัวเอง อ้อให้เชื่อมั่นในศักยภาพนี้ แล้วให้เกิดความรู้ตระหนักในหน้าที่ต้องฝึกฝนพัฒนาตัวเองขึ้นไป พอระลึกถึงธรรมะเอ้าก็โยงมาหาตัวเองอีก โยงอย่างไรล่ะ ขอทวนเรื่องพระพุทธเจ้าก่อนเมื่อวานนี้ได้พูดเมื่อวานซืนมาเมื่อวาน ได้พูดถึงเรื่องของประโยชน์ในการระลึกถึงพระพุทธเจ้า 4 อย่างใช่ไหม
หนึ่ง ทำให้เกิดศรัทธาความมั่นใจในศักยภาพของความเป็นมนุษย์ที่เป็นสัตว์ที่ฝึกได้
สอง ก็ทำให้เกิดความรู้ตระหนักในหน้าที่ของสัตว์ที่สุดได้คือมนุษย์นี้ว่าจะต้องเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาตนขึ้นไป ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องเรียนรู้ต้องศึกษาและ
สาม ก็เกิดกำลังใจว่าพระองค์ได้ปฏิบัติมาแสนยากเย็นยังไงก็ประสบความสำเร็จ เราก็มีตัวอย่างนี้สำหรับไว้ปลุกปลอบใจตัวเองให้เกิดความแกล้วกล้า มีความเข้มแข็งที่จะปฏิบัติต่อไปแล้วก็
สี่ ก็คือว่าได้วิธีปฏิบัติที่ประสบการณ์ของพระองค์มาช่วยให้เรานี่ทำได้ง่ายขึ้นไม่ต้องลำบากลองผิดลองถูกอย่างพระองค์ทุกอย่างทุกข้อก็โน้มมาที่ตัวเอง
ทีนี้พระพุทธเจ้าก็โยงไปหาธรรมะว่าที่พุทธเจ้าได้เป็นพุทธะทั้งหมดเนี่ยก็เพราะว่าพระองค์ได้เข้าถึงตัวธรรมะได้รู้เข้าใจตัวความจริงในธรรมชาติ แล้วปฏิบัติให้สอดคล้อง ทำการให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาตินั้น ก็สำเร็จผลขึ้นมาเป็นการสามารถใช้ประโยชน์จากธรรมะคือความจริงในธรรมชาติได้ และได้การเข้าถึงความจริงของธรรมชาติที่ทั่วตลอดแม้แต่ชีวิตของตนเองก็เลยทำให้พระองค์มีจิตใจเป็นอิสระหลุดพ้น อันนี้ก็ชี้มาที่ตัวเราว่า อ้อเราเองนี่ชีวิตเขาเราเนี่ยก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติจะต้องเป็นไปตามกฎธรรมชาตินี้เป็นไปตามธรรม เราจะทำการอะไรดำเนินชีวิตอย่างไรจะให้ได้ผลดีก็ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องถูกต้องตามตัวธรรมะ ตามกฎธรรมชาตินี้ ฉะนั้นจะปฏิบัติให้ถูกต้องเราก็ต้องเรียนรู้ต้องรู้ความจริงอันนี้ ธรรมะก็โยงมาหาตัวเราแน่นอน นี่ถึงตัวแท้ ๆ เลย พอถึงธรรมะพระพุทธเจ้านี้ยังชี้มาให้ถึงธรรมะ แต่พอมาถึงธรรมะคือตัวจริงที่จะต้องทำแหละ เราจะต้องใช้ธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิตเลย ฉะนั้นระลึกถึงธรรมะนี้ ก็เป็นข้อที่สำคัญอย่างยิ่งคล้าย ๆ เป็นแกนในพระรัตนตรัยเลย ทีนี้พอเรารู้ธรรมะปฏิบัติตามธรรมะ ใช้ธรรมะให้เป็นประโยชน์ได้ เราก็จะพัฒนาตัวเองของเราแต่ละคน ๆ ขึ้นมา แต่ละคน ๆ ที่พัฒนาตัวดีขึ้นมาแล้วในแนวทางที่สอดคล้องถูกต้องตามธรรมะ ซึ่งเป็นปฏิปทาที่พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญไปแล้วและแนะนำเรานี่ เราแต่ละคนก็จะมาเป็นส่วนร่วมสร้างสรรค์ก่อขึ้นมาเป็นสังคมที่ดีงามประเสริฐเป็นชุมชนแห่งอริยบุคคลหรืออารยชนที่แท้จริง ชุมชนแห่งอริยชนที่แท้จริงที่ดีงามประเสริฐมนุษย์ที่พัฒนาแล้วเนี่ยเราก็ให้ศัพท์พิเศษเรียกว่าสังฆะ อย่างที่ว่าไปแล้ว นั้นสังฆะเป็นจุดเป้าหมายเป็นส่วนรวมที่เราจะไปเป็นส่วนรวม เมื่อระลึกถึงสังฆะ ก็โยงมาหาตัวเราอีกใช่ไหม ว่าเอ้อ การปฏิบัตตามธรรมนี่แหล่ะ เราจะได้มาร่วมกันสร้างสังคมที่ดีงามที่ประเสริฐ ซึ่งไม่มีการเดือดร้อนเบียดเบียนกันอย่างมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย และถ้าหากพัฒนาเป็นอริยชยชนแล้วเป็นอันว่าชุมชนหมู่ชนหรือสังคมเนี่ยเลิกไม่มีการเบียดเบียนแล้วนะ แต่เวลานี้มันยังไม่สามารถสร้างได้ใช่ไหม มันก็ยังเป็นสังคมกันอยู่เมื่อไหร่จะเปลี่ยนสังคมไปสังฆะได้ ที่จริงคำว่าสังคมนี้มันเป็นศัพท์สมัยใหม่ สมัยก่อนไม่ได้มีความหมายอย่างปัจจุบัน สังคมสมัยก่อนก็แปลว่าการที่คนมาเจอกันในไปด้วยกันเท่านั้นเอง คำว่าสังคมนี่เป็นรากศัพท์เดียวกับคำว่าสงคราม บาลีนี่ สังคามะแปลว่าไปด้วยกันหรือไปเจอกัน สังคามะก็หมายถึงที่ ๆ คนไปเจอกัน แต่ไปเจอกันแบบเป็นศัตรูนะ แทนที่จะเจอกันดีนี่ เป็นเจอแล้วไปสู้กันน่ะไปฆ่ากันไปทำร้ายกันกันน่ะ สังคามะแปลว่าที่คนไปเจอกัน เพราะฉะนั้นคำว่าสงครามมาจากสันสกฤตที่จริงบาลีเป็นสังคามะ สังคมกับสงครามนี่เป็นศัพท์มาจากรากศัพท์เดียวกันเลยมาจากสังคามะ ไปเจอกันไปร่วมกัน ที่นี้สังคมปัจจุบันนี่ ดีไม่ดีจะเป็นสงครามเข้าไปทุกทีเป็นศัพท์คำเดียวกัน เพราะว่ามนุษย์นี่ปลุกยุกระตุ้นเล้าให้มีความโลภความเห็นแก่ตัวจะเอาประโยชน์ให้กับตัวเอง ก็ต้องไปมองเพื่อนมนุษย์เป็นศัตรู เป็นคู่แข่ง เป็นปรปักษ จะไปแย่งไปชิงไปหาผลประโยชน์จากเขา เพราะฉะนั้นถ้าไม่ให้พัฒนาคนให้ดีให้ถูกหลักก็จะทำให้สังคมมนุษย์กลายเป็นสงคราม ซึ่งเดี๋ยวนี้มันก็เป็นมากแล้ว คนที่อยู่ในสังคมอย่างนี้มีสงครามภายในจิตใจอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขที่แท้จริง จึงมีปัญหาชีวิตจิตใจไม่มีความสุขมีความเครียด ไม่ค่อยมีไมตรีจิตมิตรภาพ มีปัญหาสังคมมากมาย เอาเพื่อนมนุษย์เป็นเหยื่อกันเนี่ย หาผลประโยชน์จากเพื่อนมนุษย์กันไม่รู้ว่ากี่อย่าง อย่างโสเภณีเด็กก็มาจากเรื่องมนุษย์เอาผลประโยชน์จากกันใช่ไหมชัดเจน เอามนุษย์เป็นเหยื่อ ค้าทาสนั่นเอง เป็นทาสสมัยใหม่คือการค้ามนุษย์ชนิดหนึ่ง หรือยาเสพนี้ก็ชัด คือมนุษย์เอามนุษย์ด้วยกันเป็นเหยื่อหาเงินหาทองจากเพื่อนมนุษย์ให้เขาต้องมาเสพให้เขามาติด แล้วตัวเองก็จะได้เงินอันนี้ก็คือมนุษย์ไม่ได้มีเจตนาดีต่อกัน เพราะฉะนั้นในสังคมแบบนี้ก็เป็นสังคมแบบสงคราม แบบในยุคที่ผ่านมาเขาเรียกว่าสงครามจิตวิทยาใช่ไหม ไม่ได้มาออกรบกันในการใช้อาวุธชัดเจนสงครามจิตชัดเจน ตอนนี้มนุษย์ก็อยู่ในสงครามจิตวิทยาตลอดเวลา ฉะนั้นสังคมอย่างนี้จะมีความสุขได้ยังไง ก็ต้องหาทางเปลี่ยนสังคมนี่แทนที่จะไปให้เป็นสังคามะหรือ สงครามก็ให้มาเปลี่ยนเป็นสังฆะ ถ้าพัฒนาคนให้ดีดำเนินชีวิตให้ถูกต้องตามธรรมะแล้วมันก็เกิดสังฆะ ทำให้เกิดชุมชนของคนที่พัฒนาตัวดีแล้วมีการศึกษาเอาธรรมะเอามาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งแก่ชีวิตตนและแก่สังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้ดี ก็จะมีสันติสุข เป็นชุมชนของอารยชนที่แท้จริง
ทีนี้การที่จะสร้างสังฆะนี่เป็นหลักการใหญ่ของพุทธศาสนา คล้าย ๆ ว่าเรามีสังฆะ เป็น รัตนะแล้วเป็นเครื่องเตือนใจว่าเป็นหน้าที่ของชาวพุทธจะต้องพยายามสร้างสังฆะให้เกิดขึ้น โดยเอาตัวเข้าไปเป็นส่วนร่วมโดยพัฒนาตัวเองขึ้นไป เมื่อตัวเองเราพัฒนาตัวเองขึ้นไปเนี่ยเราก็ไปเป็นส่วนร่วมในสังฆะนี้เช่นเดียวกับคนอื่นที่พัฒนาขึ้นไป ฉะนั้นการระลึกถึงสังฆะก็เป็นอันว่าโยงมาถึงตัวเรา โยงในแง่ที่ว่า เตือนใจให้เห็นว่า อ้อ นอกจากพระพุทธเจ้าที่เป็นบุคคลต้นแบบเป็นตัวอย่าง ก็มีคนอื่นที่ทำพัฒนาตัวเองได้ตามอย่างพระพุทธเจ้าโดยใช้ประโยชน์จากธรรมะนี่ แล้วก็พัฒนาขึ้นมาเป็นหมู่ชน ซึ่งทำให้เราเห็นว่า อ้อ เราก็สามารถที่จะเข้าไปสวนไปเป็นส่วนร่วมนี้ได้ เราก็จะทำได้เช่นเดียวกันเพราะมีประจักษ์พยานนอกเหนือจากพระพุทธเจ้าไม่ใช่ว่า เดี๋ยวพระพุทธเจ้าจะเป็นคนพิเศษองค์เดียวละมั้งที่ทำได้อย่างนี้ แล้วเดี๋ยวก็เลยท้อ ตอนนี้มีตัวอย่างมีคนอื่นที่เป็นหลักฐานว่าทำได้ เราก็มีกำลังใจเพิ่มขึ้นจากสังฆะนี้ด้วย เป็นอันว่าเมื่อระลึกสังฆะก็โยงมาหาตนเองทั้งในแง่ที่ว่าให้เกิดความมั่นใจว่านอกจากพระพุทธเจ้าที่เป็นต้นแบบ ก็มีมนุษย์อื่นที่ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ชี้ให้ แล้วก็ได้ประสบความสำเร็จพัฒนาการกันไปในระดับต่าง ๆ แสดงว่าให้เห็นว่าเรานี้ก็เป็นคนหนึ่งที่จะพัฒนาอย่างนี้ได้ แล้วเราก็ต่อไปก็เตือนใจว่าเราก็มีหน้าที่ ๆ จะต้องมาร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งอริยชนหรือคนที่พัฒนาและอย่างอื่นด้วยให้ไปเป็นส่วนร่วมในสังฆะนี้ สังฆะนี้เราจะต้องสร้างสังฆะขึ้นมา
อันนี้เป็นหลักพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา 1 พระพุทธเจ้า 2 พระธรรม และ 3 พระสงฆ์ ชี้มาที่ตัวเองทั้งนั้น พระพุทธเจ้าเป็นเป็นผู้ค้นพบธรรม แล้วก็เป็นผู้ค้นพบทาง ธรรมก็คือตัวความจริง และทางก็คือวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงตัวธรรมหรือเอาธรรมะมาใช้ประโยชน์ แต่ถ้าจะใช้สั้น ๆ ก็บอกว่าค้นพบธรรมก็พอ แต่บางทีเราก็ใช้เป็นสำนวนพูดให้เห็นความหมายเชิงปฏิบัติการด้วย พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบธรรมและเป็นผู้ค้นพบทาง นี้เมื่อไม่ค้นพบหรือเปล่า ๆ พระองค์มาชี้ธรรมและชี้ทางให้เรา ชี้ธรรมและชี้ทางให้เรา ก็คือตัวที่ 2 เนี่ย พระรัตนตรัย ข้อที่ 2 คือธรรมะ พอพระองค์ชี้ให้แล้วเราหรือหมู่มนุษย์ทั้งหลายก็ได้อาศัยธรรมและทางนั้นน่ะอาศัยความรู้ธรรมและปฏิบัติตามทางนั้นก็มาสร้างมาร่วมกันก่อเป็นสังเฆะขึ้นหรือเป็นชุมชนอันประเสริฐขึ้น ก็ครบ 3 รัตนะ นี่ก็เป็นวิธีพูดอย่างหนึ่ง ที่ว่าจะให้ครบพระรัตนตรัย พระพุทธเจ้าค้นพบธรรมและทางธรรมและชี้ธรรมและทางให้เราก็อาศัยธรรม ทางที่พระองค์ชิ้นนั้นมารู้และปฏิบัติให้เกิดมีสังฆชุมชนของอารยชนผู้ประเสริฐขึ้นมา
อันนี้การที่เราได้ปฏิบัติด้วยการที่ถือหลักพระรัตนตรัยเป็นสรณะนี้ก็เป็นคนที่ประเสริฐสามารถที่ดำเนินชีวิตที่ดีงามได้ด้วยปัญญา ไม่ต้องรอการบีบคั้นของปัจจัยภายนอก มนุษย์ทั่วไปจะต้องรอให้ทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามจึงจะฝึกตัวด้วยความจำใจ แต่ว่ามนุษย์ที่เป็นอารยะชนหรือเรียกว่าเป็นอริยสาวกนี้ รู้จักเอาปัจจัยภายนอกมาใช้เป็นเครื่องพัฒนาตัวเองฝึกตัวเอง โดยไม่ต้องรอปัจจัยภายนอกบีบคั้นเสียก่อนใช่ไหม อันนี้ก็เป็นลักษณะแตกต่างกันอันหนึ่งที่สำคัญ
นี่ที่เราพูดกันมาเมื่อวานก็พูดถึงเรื่องมนุษย์ทั่วไปเนี่ยมันก็จะเป็นอย่างนั้นต้องรอปัจจัยภายนอกมาบีบคั้นบังคับคือทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามความจำเป็นในการอยู่รอดจึงได้ฝึกได้หัดตัวเองขึ้นมาก็ทำให้มีความเก่งกล้าสามารถทำโน่นทำนี่ได้ สำหรับหมู่มนุษย์ทั่วไปนี่ถ้าหมู่มนุษย์พวกไหนมีภัยคุกคามมีทุกข์บีบคั้นมากบ่อย ก็มีแนวโน้มว่าจะมีความเจริญได้ดีไป นอกเสียจากว่าไปโดนศาสนาให้ที่พึ่งมาสยบให้ที่พึ่งก็สบาย ปลอบใจกล่อมใจตัวเองก็เลยเลิกดิ้นพวกนี้ก็จะหยุด ถ้าหากว่า ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามเช่นธรรมชาติไม่เอื้อบ่อย ๆ มาก ๆ แล้วก็ไม่มีตัวมาสยบทำให้กล่อมสบายซ่ะ แกก็จะดิ้นก็จะสร้างสรรค์ความเจริญได้มาก ทีนี้ในพุทธศาสนาเรานี้ต้องการให้คนเนี่ยมีความรู้ตระหนักถึงธรรมชาติตัวเองเลยใช้สติปัญญามาสร้างจิตสำนึกในการที่จะฝึกฝนตนเอง โดยไม่ต้องรอทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม ฉะนั้นเราก็ใช้ประโยชน์จากปัจจัยภายนอกแทนที่จะรอให้ปัจจัยภายนอกบังคับเราให้ฝึกให้ดิ้น เราไปใช้มันเลยใช้ปัจจัยภายนอกให้เป็นประโยชน์ในการเป็นเครื่องฝึกตัวเรา อันนี้คือจุดพิเศษของพุทธศาสนา ถ้าเราไม่ทำตามนี้ก็เรียกว่าคนประมาทใช่ไหม ฉะนั้นชาวพุทธนี่น่ากลัวปัจจุบันจะเสียหลักนี้ ก็ไปตกอยู่ในความประมาท ถ้าไปไปรอแบบธรรมชาติเอาแบบว่าทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม มนุษย์ที่อยู่ในภาวะที่มีทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามจากธรรมชาติหรือจากมนุษย์ด้วยกันเองคุกคามกันบ่อย ๆ คือภัยคุกคามนั้นก็มี 1 ภัยธรรมชาติ ๆ ที่ไม่เอื้อดินฟ้าอากาศที่ทรมานหนาวเย็นอะไรเป็นต้น แล้วก็อีกอย่างหนึ่งก็คือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน คอยบุกรุกเบียดเบียนกันอยู่เรื่อย พวกนี้ก็จะมีแนวโน้มมีโอกาสที่จะสร้างสรรค์ความเจริญแบบของชาวโลกได้มาก ส่วนมนุษย์ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่บีบคั้นไม่คุกคาม พวกนี้ก็อยู่สบาย ๆ ก็อยู่กับไปอย่างธรรมชาตินั้นไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงนะ อันนี้ก็แบบว่ามนุษย์สามัญ แต่ว่าถ้าไปในพุทธศาสนาก็ไปอันว่าให้พ้นจากภาวะนี้เสีย ไม่ใช่ว่าถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามก็ดิ้นรนทำไปฝึกตัวเองด้วยความจำใจในการฝึก นั้นก็นเป็นทุกข์ หรือไม่งั้นก็ไม่ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม ก็เลยประมาทเสวยความสุขอยู่ก็ไม่เป็นไร พระพุทธศาสนาก็เทางสายกลางว่าเป็นธรรมชาติกับมนุษย์นะจะมีชีวิตที่ดีต้องฝึกฝนพัฒนาตนเองไม่ต้องรอให้ทุกข์บีบคันภัยคุกคามให้รู้จักฝึกฝนป็นทางสายกลาง เป็นธรรมชาติของมนุษยน่ะ จะเป็นมนุษย์ที่ต้องฝึกฝนพัฒนาตนเอง ไม่ต้องรอให้ทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม ให้รู้จักฝึกฝนพัฒนาตนเองโดยยเอาปัจจัยภายนอกมาใช้เป็นเครื่องมือฝึกตนให้เป็นประโยชน์ การฝึกนี้ก็จะเป็นไปได้เต็มใจเพราะออกมาจากจิตใจตัวเองสมัครใจและมีความสุขในการฝึก อย่างนี้ก็เป็นทางสายกลางใช่ไหม เป็นทางสายกลางทางของสติปัญญาสอดคล้องกับความเป็นจริงกับกฏธรรมชาติ เวลาพูดอย่างนี้ก็ทำให้นึกถึงในใจถึงว่า สังคมฝรั่งที่ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามโดยธรรมชาติในมนุษย์สร้างความเจริญ แบบสุ่มสี่สุ่มห้า แบบที่ว่าไม่มีหลักที่เป็นปัญญาแท้จริงเป็นปัญญาเฉพาะเรื่อง ๆ ไม่เป็นปัญญาที่เข้าใจความจริงของชีวิตและโลก ก็เป็นความเจริญรุ่งเรืองแบบ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เป็นประโยชน์แท้จริงบ้าง ไม่เป็นประโยชน์บ้าง
แล้วก็มานึกถึงสังคมของไทยเราที่ธรรมชาติทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามน้อยก็เลยเรื่อย ๆ เปื่อย ๆ สบาย เปื่อยๆสบาย ๆ โน้มไปอยู่ในความประมาท ทำไงล่ะจะให้เกิดความพอดีอันนี้ ฉะนั้นเราจึงต้องมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ต้องหมั่นเตือนกันเพราะเราไม่ใช้พระรัตนตรัยมาเป็นสรณะให้เป็นประโยชน์ ทั้ง ๆ ที่พูดถึงพระรัตนตรัย ก็พูดไปอย่างนั้นใช่ไม ดีไม่ดีก็ไปนึกแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาเก่าสำหรับว่าจะได้ไปพึ่งขอร้องขอความช่วยเหลือให้ท่านทำให้เราแล้ว ก็เราก็ไม่มีเตือนจิตเตือนใจนึกถึงสิ่งที่ตัวเองจะต้องมาทำและช่วยกันทำ นี่แม้แต่หลักแรกในพุทธศาสนา นี้ถ้าใช้ถูกต้องมันก็เดินหน้าไปลิ่วเลยเพราะมันโยงไปหาหลักการพุทธศาสนาทั้งหมด ในยุคปัจจุบันนี้ก็เป็นปัญหาที่ชาวพุทธนี้ แม้แต่หลักแรกคือพระรัตนตรัย และไตรสรณะก็เข้าใจไม่ค่อยถูกต้อง เมื่อเข้าใจไม่ถูกต้องก็ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทำให้ถ้าใช้ถูกก็จะดำเนินชีวิตเข้าแนวทางพุทธศาสนาเข้าสู่ไตรสิขา แล้วดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ความไม่ประมาทก็จะเกิดขึ้น แต่ทั้งหมดเนี่ยจะคลุมไปหาจุดเบื้องต้นก็เริ่มมาจากการที่พระรัตนตรัยโยงเราเข้าหาตัวธรรมะ ความจริงในกฎธรรมชาติที่ว่าเมื่อวานนี้ก็พูดให้เห็นว่าธรรมะความจริงในกฎธรรมชาติในความเป็นจริงของธรรมชาติรอบตัวนี่ เข้ามาสัมพันธ์กับชีวิตของเราเมื่อมนุษย์จะเอามาใช้ประโยชน์นั้นจะออกรูปเป็นหลักการ อริยสัจ บอกว่าเมื่อระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะเป็นที่พึ่งแล้วก็จะโยงเรารับธรรมะในหลักที่เรียกว่าอริยสัจเพื่อมนุษย์จะได้ใช้ประโยชน์จากธรรมะได้
ตอนต่อไปเราก็จะมาพูดถึงเรื่องอริยสัจกันคิดว่าเช้านี้เอาแค่นี้ก่อนเป็นการทบทวนพระรัตนตรัย และไตรสรณ น่ะ
พระรัตนตรัยก็คือ การที่ยึดถือเอาว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ 3 อย่างนี้ เป็นสิ่งที่มีค่าแท้จริงทำให้ชีวิตของเราดีงามประเสริฐเลิศได้ แล้วมี 3 ประการ คำว่าไตรก็แปลว่า 3 รัตนตรัยก็แปลว่าดวงแก้ว 3 ดวง เรียกว่าสรณะ เพราะเรามาใช้ประโยชน์ เครื่องเตือนใจที่ระลึก สรณะแปลว่าระลึก เราแปลง่าย ๆ ว่า ที่พึ่ง ก็คือเตือนใจให้โยงไปหาสิ่งที่เราจะต้องทำแล้วเพราะมี 3 อย่างก็เลยเป็น ไตรสรณะ และเมื่อยึดเอาพระรัตนตรัยนั้นเป็นสรณะเป็นที่พึ่งที่ระลึกเตือนใจอย่างนี้ ก็เรียก ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณคมน์ ตัว คามานะคม หรือ อาคามานะอาคม แปลว่าถึง ตัวคำมานะแปลว่าถึง ก็คือไป อ่ะถึง ไปกับถึง ภาษาบาลีใช้ศัพท์เดียวกันได้ และ อาเติมเข้ามาก็กลับไปถึง มานะ ก็มาถึง ถ้าเดิมคามานะไปข้างหลัง การันตัวนอเสียก็คม มาต่อท้ายไตรสรณ ก็เป็นไตรสรณคมน์แปลว่าการไปถึงไตรสรณะคือถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ รัตนะ 3 นั้นเป็น สรณะ ถ้าเป็นไตรสรณคมน์ ก็มาถึงก็หมายความ มายึดถือเอาพระรัตนตรัยพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะมี 3 ประการ อย่างที่ว่ามาการจะจับหลักได้ ก็คือการรู้ภูมิหลังว่าพระพุทธศาสนาเกิดอย่างไร และการยึดถือสรณะที่พึ่งแต่ก่อนเขายึดถือกันอย่างไรเราก็จะเห็นชัดว่าหวังพึ่งรอคอยความช่วยเหลือให้ท่านบันดาลให้มันก็อย่างนี้น่า เรื่องที่พึ่งก็จะเป็นยังไง ให้มองพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ดีไม่ดีก็ไปแยกไม่เป็นก็นึกแบบเดียวกัน ก็ให้พระพุทธเจ้าศาสนาบันดาลให้ ตัวเองก็ไม่ต้องอะไร แทนที่จะนึกว่าพุทธศาสนาเปลี่ยนความหมายให้แล้ว พึ่งโดยไปอาศัยท่านเพื่อจะได้นำทางให้เราเป็นอิสระ โยงมาหาตัวเราต้องทำและก็ยกขึ้นไป นั้นลักษณะ 3 อันก็ 1 ชี้มาที่ตัวเรา โยงมาหาตัวเราที่จะต้องทำ 2 อาศัยเพื่อให้เรานี้ไปสู่ความเป็นอิสระไม่ใช่ไปอาศัยพึ่งท่านตลอดไป 3 มายึดแล้วก็ต้องดึงขึ้น ไม่ใช่ให้จมวนเวียนอยู่ที่เก่า
(1)
คนฟังถาม พวกขี้เกรีจทำมาหากิน ใช้ลงธูปเทียน
พระตอบ ก็เราพระเองก็ต้องปฏิบัติให้ถูก คือพระต้องรู้แล้วไปเกี่ยวข้องกับญาติโยมประชาชนด้วยความเมตตากรุณา อย่างน้อยคนเขายังไม่พร้อมก็ต้องให้เขาได้อาศัยบ้าง ถ้าเรารู้อยู่ว่าเขาต้องการสิ่งที่มาปลอบประโลมใจ ก็ให้เขาได้บ้าง แต่ว่าอย่าให้เขาตันอยู่ที่นั่น อย่าให้เขาตัน ว่าทำยังไงจะให้เขาได้ส่วนนี้และก้าวต่อไปส่วนที่เดินหน้า จึงบอกว่าให้ยึดเหนี่ยวได้แต่ต้องดึงขึ้น นี่คือจุดสำคัญ ทีนี้ยึดเหนี่ยวแล้วก็จมอยู่ที่นั่น ตัวเองก็พาเขาจมหนักเข้าไปอีก จุดนี่สำคัญ เอาและเขาจะมาพึ่งก็ให้เขาปรอบประโลมใจ นี่เขามีทุกข์มีเลือดร้อนแล้วเขามาหาพระ มาไหว้มาอะไร ก็ยังดีกว่าเขาจะไปชั่วทำร้ายใช่ไหม เกิดเขาไม่มาอย่างนี้เขาอาจจะไปกินเหล้าเมายาทำร้ายตัวเองหนักเข้าไปอีกเพื่อจะหนีทุกข์ หรือเขาอาจจะเกิดความเครียดแค้นอะไรต่ออะไรอาละวาดดีไม่ดีสติเสียอาลวาดยิงฟันคนเหมือนเมืองฝรั่ง ฝรั่งตอนนี้มันไม่มีหลักยึด ศาสนาเก่าตัวเองก็ไม่เชื่อ ไม่เอาแล้ว ศาสนาพระเจ้าพระเจ้ออะไร ไม่เอาแล้ว ฝรั่งไม่เอา ทีนี้ สังคมปัจจุบันก็บีบรัดมีทุกข์มาก ๆ ก็ทำไงล่ะไม่มีเครื่องที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจและคือศาสนาโบราณไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์เลย มี ทีนี้ตัวเองไม่รู้จะไปไหน ทีนี้ก็ฟุ้งซ่าน ว้าวุ่นใจ อ้อกลายเป็นโรคประสาทเสียสติ ทีนี้ถ้าได้สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจแม้แต่กล่อมมันก็ทำให้เพลิน ๆ สบายใจก็ไม่เสียสติ พอเสียสติมันก็อาละวาด ทีนี้ไปเอาปืนมา เอ้าลขึ้นหลังคากลาดลงมา นี่เมืองฝรั่งเป็นอย่านี้เลย อเมริกา ฉะนั้นนี้เป็นเครื่องหมายให้เห็นว่า แม้แต่ศาสนาอย่างบุพการก็ยังเป็นประโยชน์ เพราะมนุษย์เหล่านี้มีทุกข์มีภัยบีบคั้นมันต้องการให้ใจสงบ อย่างน้อยมันก็ได้มีอย่างน้อยมันก็มีที่ยึดเหนี่ยวจะได้อยู่บ้างปลอบประโลมให้ไม่มีความหวังมันก็ได้ประโยชน์ตรงนี้ ทำให้จิตสงบแต่ว่า พระพุทธศาสนาเล็งเห็นว่า มันยังมีโทษอยู่เพราะมาจมอยู่นี่ต่อไป มันเพลินประมาทใช่ไหม การแก้ปัญหาที่พระพุทธเจ้าจะบอกคุณได้แต่ความสบายใจเพลินมันไม่ไปไหนมันไม่ได้แก้ปัญหาที่แท้จริง แก้ปัญหาที่แท้จริงคุณต้องใช้ปัญญา คุณต้องรู้ความจริง คุณต้องเข้าถึงตัวความจริงได้ประกฎธรรมชาติว่าเป็นเหตุเป็นผลกันแล้วแก้ปัญหาที่เหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นใจสงบแต่ว่าต่อไปนี้ใช้ปัญญาเรียนรู้ศึกษาปฏิบัติให้ถูกต้อง นั้นพระก็มาหาหลวงพ่อโสธร เอาละได้ประโยชน์ข้อหนึ่งแล้ว ในเขาจะได้สงบดีกว่าที่จะออกไปกินเหล้าเมายา ไปกล่อมในสิ่งเสพติดที่เสียหายกินยาบ้าเสียสติไปอาละวาด ไปทำร้ายคนอื่นไม่ดีทั้งนั้น เอาละได้ส่วนหนึ่ง จะทำอย่างไงให้เขาได้หลักการได้ปัญญาต่อตรงนี้พรต้องคิดให้มากจึงจะนำเข้าสู่พุทธศาสนา จุดต่อตรงนี้เราไม่ได้ เราได้แค่เอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มาให้เขายึดถือแล้วก็จมเท่าน้น ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์และมีประโยชน์อยู่ แต่ว่าทำไงจะให้พระใช้เป็น ไม่เฉพาะพระเท่านั้น แม้แต่ชาวพุทธทั่ว ๆ ไปก็ต้องใช้ให้เป็น ให้เป็นบันได ก้าวต่อไป
(2)
คนฟังถาม เกี่ยวกับหลัก
พระตอบ ทีนี้พระไปมีเจตนามุ่งลาภเสีย ก็จบกัน ก็เอาชาวบ้านเป็นเป็นเหยื่อ เป็นมองเป็นระบบผลประโยชน์ พราคนที่มองหาลาภก์คือ มีความโน้มเอียงที่จะเอาเพื่อมนูษย์มาเป็นเหยื่อ ถ้าไม่แย่งก็มาเป็นเหยื่อ คืออีกอย่างก็ต้องแย่ง แต่ละคนก็แต่ละความสามารถต่างคนจะเอาเข้าแย่ง ทีนี้ถ้าตัวมีอุบายมีวิธีคิดขึ้นมาได้ เปลี่ยนจากการแย้งมาเป็นเอาเขามาเป็นเหยื่อเลย ฉะนั้นมนุษย์ท่แสวงหาลาภ ลาภโดยเฉพาะในปัจจุบันระบบผลประโยชน์ก็จะแนวความคิดทัศนคติสภาจิตแบบนี้ สภาพจิตที่แย่งกับเหยื่อ ชนิดหนึ่งแต่ว่าอาจจะพูดรุนแรงไปหน่อย
(3)
คนฟังถาม ที่กล่าวว่า พิพิธภัณฑ
พรตอบ ก็นั่นแหละ ก็ลักษณะการหาเหยื่อชนิดหนึ่ง ใช่หรือเปล่า แต่อาจจะพูดรุนแรงไปหน่อย
(4)
คนฟังถาม ไม่รุนแรงแต่ว่าถือว่าตรงไปหน่อย
พระตอบ ถ้างั้นต้องระวัง พระทำอย่างไรมีจิตที่ปรารถนาดีต่อประชาชนด้วยจริงใจ อยากจะให้เขาได้ไปประโยชน์แก่ชีวิตเป็นชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้น หน้าที่ในทิศ 6 หมวดสุดท้าย สมณพราหมณ์ อนุเคราะห์กุลบุตรโดยสถาน 6 ก็มีอยู่ข้อ 4 มั้งว่าอนุเคราะห์ด้วยจิตปรารถนาดีใช่ไหม คือไม่ได้หมายความไม่ได้คิดหวังร้ายไม่ได้คิดหวังประโยชน์จากเขาคิดแต่ว่าทำไงจะให้เขาเจริญงอกงามในชีวิที่ดี อย่างพระคถาจารย์ยกตัวอย่าง พรก็คิดหวังดีกับญาติโยม ญาติโยมที่มาวัด ญาติโยมที่มาปฏิบัติกิจที่จะรู้จักสัมพันธ์ได้ทำไงจะให้เขามีชีวิตดีงามที่ผิดไป แม้แต่ท่านบอกมีพระที่อื่นที่เป็นผู้รู้ทรงคุณธรรมตัวเองเราไม่สามารถแนะนำเขาได้เกินกว่านี้ก็บอกเขาว่า เอ้อมีท่านผู้รู้ที่นั่นนะลองไปหาท่าน ให้ไปถามปัญหาฟังคำสอนอย่างนี้ถือว่าอนุเคราห์ด้วยจิตปรารถนาดี อย่างสมัยปัจจุบันก็สามารถแนะนำญาติโยมว่า มีหนังสือดี ๆ น่ะ จะได้รู้เข้าใจ แก้ปัญหาชีวิตได้รู้ธรรมะ ได้หลักได้เกณฑ์ จะได้เอามาปฏิบัติได้ใช่ไหม เป็นการอนุเคราะห์ด้วยจิตปรารถนาดี ทำหน้าที่กัลยาณมิตร ก็เอานะเดี๋ยวจะพูดเลยไปอีก