แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
วันนี้ก็จะมาคุยกันต่อบ้างที่พูดไปแล้วนี่เข้าไปในเรื่องไตรสิกขา ศีลสมาธิปัญญา แล้วชักจะเข้าในรายละเอียดไปบ้างพอสมควร อาจจะเลยไปบ้าง ทั้ง ๆ ที่ว่าความจริงก็ต้องการให้รู้หลักนั่นเอง เพราะเรื่องไตรสิกขา ศีลสมาธิปัญญาทั้งหมดนั้นก็หลักการก็มาจากที่คุยไปแล้วว่า ให้เห็นว่าเป็นธรรมชาติของมนุษ์ว่า เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก คือต้องมีการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาจึงจะมีชีวิตที่ดีงามได้ แม้แต่จะอยู่รอดก็ต้องมีการเรียนรู้ฝึกฝน แต่ว่าพร้อมกันนั้นเพราะความที่เป็นสัตว์ที่ฝึกได้นั่นแหล่ะ มนุษย์ก็สามารถพัฒนาตนจนกระทั่งเป็นสัตว์ที่ประเสริฐยอดเยี่ยม จนกระทั่งสามารถเป็นพุทธะก็ได้ ฉะนั้นในเมื่อธรรมชาติของมนุษ์เป็นอย่างนี้เราก็ปฏิบัติให้สอดคล้องใช้ธรรมชาติของมนุษย์ให้เป็นประโยชน์ คือพยายามที่จะเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนอยู่เสมอจะได้มีชีวิตที่ดีงามจนถึงจุดหมายสูงสุด แต่ว่าในการที่มนุษย์จะเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนนี้ทั้งหมดนี่ มันก็จะต้องเป็นไปตามความเป็นจริงของธรรมชาติด้วย มนุษ์จะดำเนินชีวิตอย่างไง จะทำอะไรก็ตาม ก็ต้องทำให้ถูกต้องกับความเป็นจริงของกฏของชีวิตธรรมชาติ เช่นทำให้ถูกต้องตามเหตุปัจจัยของมัน ผลจึงจะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นก็เลยกลายเป็นความจำเป็นว่ามนุษย์จะต้องรู้ตัวความจริงนี้เรียกว่าธรรมะ เพื่อจะทำให้ถูกต้องแม้แต่การพัฒนาตัวเองต่าง ๆ นี้ มันก็เป็นกระบวนการที่เป็นไปตามกฏธรรมชาติทั้งนั้น นั้นเรื่องการฝึกฝนพัฒนาตนของมนุษย์ จึงมาสัมพันธ์กับความจริงของกฏธรรมชาติ และความจริงของกฏธรรมชาติ อันนี้เราเรียกว่าธรรมใช่ไหม เมื่อเราต้องฝึกฝนพัฒนาตนเองถูกต้องตามกฏธรรมชาติทำอะไรก็ทำให้มันถูกต้องตามนี้ อันนั้นก็หนีไม่พ้นต้องมีปัญญา ต้องพัฒนาปัญญาขึ้นมา ปัญญาก็เป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนามนุษย์ แล้วก็เรื่องจิตใจ เรื่องพฤติกรรม ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในด้านต่าง ๆ ของชีวิตของเราที่แยกกันไม่ออกจากปัญญานั้น ก็ต้องพัฒนาไปด้วยกันแหละ เราก็เลยบอกว่านี่ เรื่องของการฝึกฝนพัฒนามนุษย์ก็ต้องให้ครบ 3 ด้าน ทั้งพฤติกรรมที่เรียกว่าศีล ทั้งจิตใจที่มีสมาธิเป็นแกนหรือประธาน และทั้งปัญญาเอง แต่ตัวสำคัญที่สุดกับการไปเชื่อมโยงกับความจริงของกฎของธรรมชาติก็คือตัวปัญญา ปัญญาเชื่อมมนุษ์เข้ากับกฎความจริงของธรรมชาติ ที่เรียกว่าธรรม พอมนุษย์มีปัญญาขึ้นมาก็ไปรู้ตัวธรรมะ พอรู้ตัวธรรมะความจริงนั้น มนุษย์ก็สามารถที่จะทำอะไรอะไรให้ได้ผล ไป ๆ มา ๆ มนุษย์สามารถเอาความจริงในกฎธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ทำอะไรต่ออะไรสร้างสรรค์จนกระทั่งว่าโลกมนุษย์นี่เจริญงอกงามชีวิตก็ดี สังคมก็เจริญงอกงาม ก็จุดที่เราต้องการจะพูดมันก็อยู่ที่นี่ แต่ในที่สุดเองมนุษย์ก็จะต้องรู้ความจริงขั้นสุดท้ายก็คือความจริงของชีวิตของตนเอง ธรรมะนี่ความจริงก็รวมถึงความจริงของชีวิตของตัวเองด้วย ในฐานะที่ชีวิตของตนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติหรือเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มีความเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ใช่ว่ามนุษย์มีความรู้แล้วไปจัดการอะไรตามที่ตัวเองมีปัญญารู้กฎของธรรมชาติทำได้จริง แต่ว่า เอ้อเสร็จแล้วอ้ายชีวิตเขาตัวเองนะมันคืออะไร แล้วมันต้องการอะไร อะไรเป็นความดีกับชีวิตของตน ทำเรื่อยเปื่อยไป บางทีทำแล้วทำได้จริงแต่เกิดโทษแก่ชีวิตตัวเองกลับย้อนมาเป็นอันตราย
ฉะนั้นในที่สุดก็หนีไม่พ้นมนุษย์จะต้องเข้าใจธรรมชาติแห่งชีวิตของตนเอง แล้วก็จะได้สามารถรู้ว่าชีวิตที่ดีคืออย่างไร ทีนี้เมื่อมนุษย์มีความรู้เข้าใจชีวิตดีงาม อะไรมันจะดีกับชีวิตของตนเอง รู้ความจริงต่าง ๆ นี้ก็เรียกว่าธรรม มนุษย์กว้างขวางทั่วถึงมนุษย์จะสามารถจัดตั้งวางระบบความเป็นอยู่ของตนเอง ชีวิตทั้งตนและการอยู่ร่วมกับสังคมของตนจัดทำอะไรสร้างสรรค์ขึ้นมาเนี่ย เพื่อจะให้สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่นั้นเกื้อหนุนการที่ตัวเองจะมีชีวิตที่ดีงามขึ้นมาอีก อันนี้ก็จะกลายเป็นความเจริญของสังคมมนุษย์ที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมอารยธรรม การจัดตั้งวางระบบแบบแผนทั้งหมด นี่ออกมาเป็นเรื่องต่าง ๆ เป็นระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครอง ระบบการศึกษา ระบบอะไรสารพัดในทางสังคม ซึ่งเราใช้ศัพท์พระคำเดียววินัยใช่ไหม เราก็พูดกันไปแล้ววินัยในการจัดตั้งวางระบบความเป็นอยู่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์สภาพแวดล้อมทั้งหมดเนี่ย ก็จะต้องให้มาเกื้อหนุนต่อชีวิตที่ดีงาม เกื้อหนุนต่อการพัฒนาของมนุษย์เอง ทีนี้มนุษย์นี่มันมีปัญหาก็คือว่าเวลาตนเองพยายามเรียนรู้เพื่อจะได้เข้าถึงความจริงของธรรมชาติแล้วจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้วก็เอาธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ หรือเอาความรู้ในความจริงของธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ มันรู้กระพร่องกระแพร่งรู้ไม่ทั่วถึง รู้ด้านนั้นไม่รู้ด้านนี้ เช่นว่ารู้จักจัดการกับธรรมชาติภายนอก รู้จักต้นไม้เป็นยังไงเกิดจากอะไร รู้จักเพาะพันธ์ปลูกต้น ต่อมารู้จักประดิษฐ์จอบเสียม รู้จักประดิษฐ์ของใช้อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ แต่ทีนี้อย่างเช่นว่ารู้ไม่ทั่วถึง ยังไม่รู้ความจริงแก่ชีวิต แกก็ไปเข้าใจว่าอ้ายชีวิตที่ดีคือการที่จะได้เอาชนะคนอื่นได้ครอบงำเขาได้ กำจัดคนอื่นได้หมดใช้โทสะเป็นหลัก หรือตัวเองต้องมีผลประโยชน์ให้มาก มีของเสพมาก มีความสุขอยู่ที่การเสพวัตถุ มันก็ใช้ความสามารถนี้ไปสนองความต้องการไม่ตรงความจริงที่แท้ ผลที่สุดก็กลับมาเป็นโทษแก่ชีวิต มันก็เลยเป็นปัญหาแก่ชีวิตสังคม มนุษย์กันอยู่ไม่รู้จักสิ้นสุด เพราะว่าไอ้ตัวธรรมะเข้าไม่ถึงสักที แม้แต่พัฒนาสังคมจัดตั้งวางวินัยเป็นระบบสังคมเศรษฐกิจการเมือง แกก็ได้แค่เป็นด้าน ๆ แกอยากจะคิดว่า โอ้มนุษย์จะมีความสุขเมื่อมีวัตถุเสพมากที่สุดใช่ไหม แกก็วางระบบเศรษฐกิจขึ้นมา ทีนี้ในระบบเศรษฐกิจนี่มาจากฐานทฤษฎี ทฤษฎีที่มีความเข้าใจเป็นว่านี่ความสุขอยู่ที่มีวัตถุเสพพรั่งพร้อมแค่นี้ แกคิดแค่จำกัดอย่างนี้ แกก็ไม่มองทั่วถึงว่าชีวิตที่แท้ต้องการอะไร แล้วสังคมมนุษย์จะอยู่ดีกันได้ยังไง มันทำไปแล้วมันจะมีผลกระทบอย่างอื่นแค่ไหน แกก็เป็นผู้ชำนาญเฉพาะทาง เฉพาะทาง เลยเป็นเรื่องของอารยธรรมมนุษย์ยุคที่เจริญมากของตะวันตกที่ว่าชำนาญเฉพาะเรื่อง เฉพาะเรื่องก็พยายามหาความรู้ความจริงเจาะลึกที่สุดในด้านของตนเองดิ่งลงไป ดิ่งลงไป พอเป็นความรู้ดิ่งเฉพาะด้าน กลับมีผลกระทบกับด้านอื่น แต่ด้านตัวนี่พยายยามไปให้ถึงที่สุด กลับมาแก้ปัญหามนุษย์ไม่ได้ เช่นว่า ทฤษฎีเศรษฐกิจทำให้มนุษย์คิดวางระบบในการต่อสู้แย่งชิงหาผลประโยชน์ให้ได้มากใช่ไหม แต่เสร็จแล้วการที่ได้วัตถุเสพมาก มันก็ไม่ได้เกิดเป็นความสุขที่แท้จริงแก่มนุษย์ เกิดปัญหาชีวิตจิตใจ เช่นความเครียดเกิดปัญหาความแก่งแย่งเดือนร้อนในสังคม ทำลายทรัพยากรธรรมชาติอีก ต่อมาก็จึงรู้สำนึกผิดกว่าจะรู้ผิดสังคมก็ต้องเดินทางมาในทิศทางที่ตั้งเป็นหลายร้อยปีหรือเป็นพันปี อารยธรรมมนุษย์ก็เลยหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ นี้จะทำอ่างให้รู้เข้าใจไอ้ตัวความจริงแท้ที่มันเป็นระบบความสัมพันธ์ของทุกสิ่งหมดนี่ ให้รู้เข้าใจชีวิตของตนเองธรรมชาติ ชีวิตของตัวเองคืออะไร เป็นอย่างไร มันควรจะต้องการอะไรมันจึงจะเป็นชีวิตดี นี่แหละมันเป็นเรื่องที่มนุษย์ไปกันไม่ค่อยถึง
นี้ในทางพุทธศาสนาเราถือว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อันนี้ ตรัสรู้ความจริงที่เห็นระบบความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลายทั่วถึง ทั้งชีวิตของเราและธรรมชาติแวดล้อมทั้งหมด จากความรู้ความเข้าใจระบบความสัมพันธ์อย่างทั่วถึงนี้ ให้เห็นในความเป็นไปเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาที่มีผลกระทบต่อกัน ส่งผลดีผลร้ายอย่างไร มองอย่างทั่วถึงอันนี้จึงจะมาจัดการกับชีวิตและสังคมได้ถูกต้อง จึงจะมาสร้างสรรค์ทำให้เกิดผลดีแท้จริงได้ นี้เราก็ย้อนกลับไปดูการดิ้นรนของมนุษย์ที่พยายามที่จะเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา เกิดปัญญารู้วิชาการต่าง ๆ สร้างอารยธรรมวัฒนธรรมมนุษย์ มนุษย์เกิดขึ้นมาในโลกเป็นอยู่ด้านหนึ่งก็คือ เกิดความจำเป็นต้องเรียนรู้ แต่ตัวเองก็เรียนรู้เพื่อสนองความต้องการเฉพาะหน้า หลักการก็มีว่ามนุษย์เกิดมาแล้วถ้ามองไปชีวิตบุคคลก็จะเห็นเป็นการที่พยายามเอาชีวิตรอด และก็มนุษย์มีการเรียนรู้ฝึกตัวขึ้นมา เพื่อดำเนินชีวิตตั้งแต่กิน ดื่ม พูดจา เดินอะไรเป็นต้น พื้นฐานก็ต้องอาศัยผู้อื่น คือพ่อแม่ ทีนี้มองไปในแง่สังคม เพราะการที่มนุษย์ต้องอาศัยกันนี่ ไม่สามารถอยู่รอดลำพัง มันก็มีการที่มายึดเป็นกลุ่มเป็นพวกช่วยกันบ้าง แต่พร้อมกันนั้นอีกด้านหนึ่งก็ยังมีความเห็นแก่ตัวก็แย่งชิงกัน มนุษย์ก็เรียนรู้สังคมชีวิตแต่ละคนนี้ก็ถูกคุกคามด้วยภัย คือความที่จะอยู่รอดหรือไม่รอด สังคมก็เช่นเดียวกันมองกันที่สังคมมนุษย์ มองเป็นประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมแล้วก็จะเห็นเรานี่ มีภัยอันตรายคุกคาม เราก็ใช้คำว่า นี่หมู่มนุษย์นี่ ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม เมื่อมนุษ์ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม แกก็ดิ้นรน ดิ้นรนขวนขวายเพื่อจะอยู่รอด การที่จะดิ้นรนอยู่รอดนี้ก็จำเป็นจะต้องเรียนรู้ เพราะฉะนั้นการเรียนรู้การฝึกฝนตนเองนี่เป็นธรรมชาติของมนุษย์อย่างที่ว่าไปแล้ว มนุษย์จะมีชีวิตอยู่แม้จะอยู่รอดได้ต้องเรียนรู้ต้องศึกษา แต่ว่าอ้ายที่แกเรียนรู้ศึกษาก็เพราะภัยมันคุกคามทุกข์บีบคั้น มันเกิดความจำเป็น แกก็เรียนตามความจำเป็น แต่การที่ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม ทั้งภัยคุกควมความเป็นอยู่ของมนุษย์สังคมมนุษย์ก็ดิ้นรนขวนขวาย การเรียนรู้อะไรต่าง ๆ เกิดปัญญาขึ้นมาเป็นเรื่องเป็นราวทำสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้แก้ปัญหาได้ก็เจริญงอกงามในสังคมมนุษย์ขึ้นมา
แต่ว่าข้อสังเกตก็คือว่า มันเป็นการที่ว่าการดิ้นรนขวนขวายนั้นเกิดจากทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม ทำไปตามความจำเป็น ไม่ใช่เกิดจากความรู้เข้าใจมาก่อน ชีวิตสังคมของตัวเองไม่ได้รู้เข้าใจใช่ไหม อันนั้นเป็นเพียงสนองความต้องการเฉพาะกรณี มันก็ไม่เป็นระบบ ทีนี้ก็แล้วแต่วิถีทางสภาพแวดล้อมเหตุจำเป็นภัยที่คุกคามทุกข์ที่บีบคั้นนั้น มันจะมาด้านไหนตัวเองก็คิดหาทางออกไปคิดเท่าที่ได้ อารยธรรมก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาพร้อมกับการที่ใช้กิเลสเดิมนั่นแหละคือการที่ตัวเองจะต้องหาผลประโยชน์ให้กับตัวเอง และการที่จะต้องต่อสู้คนอื่นแย่งชิงบีบคั้นกัน ต่อสู้กับภัยทั้งนอกธรรมชาติบ้าง ภัยจากมนุษย์ด้วยกัน ภัยจากนุษย์นี่แหละมากมายเหลือเกิน แต่ละฝ่ายก็จะดิ้นรนเพื่ออยู่รอด จะให้ตัวอยู่ดี อีกฝ่ายก็เช่นเดียวกันก็มาเข้ามาต่อสู้กันข่มเหงกันครอบงำซึ่งกันและกันก็นเป็นอย่างนี้ สังคมก็เป็นแบบว่าเจริญแบบสุ่มสี่ห้า ถ้าว่าไปตามรูปภาพ ภาพรวมของสังคมมนุษย์คล้าย ๆ บอกด้วยว่ามีแผน เป็นเพียงเพื่อตัวเองเนี่ยจะให้พวกตัวหรือกลุ่มตัวอยู่ดีเท่านั้นไม่ใช่เป็นแผนที่รู้เข้าใจความจริงของธรรมชาติของชีวิตจริงหรอก มันไม่ใช่แผนที่สอดคล้องกับความจริงทั้งหมด มันเป็นแผนเพื่อความสำเร็จเฉพาะหน้าของตัวเอง นั้นความเจริญแบบนี้ก็เป็นความเจริญแบบที่ว่าเป็นไปตามความจำเป็นบีบคั้นคือ ทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม นี่อันหนึ่งล่ะ
นี้ในกระบวนการที่มนุษย์ได้พยายามเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตัวก็คือการศึกษาด้านหนึ่งระดับหนึ่ง เพื่อให้ตัวอยู่รอดได้มีชีวิตที่เป็นสุขตามประสาที่ตัวเข้าใจน่ะ ก็เลยเจริญกันขึ้นมาดิ้นรนกันไป ขวนขวายกันไป พร้อมกันนั้นมนุษย์ก็แสวงหาที่พึ่งในการแสวงหาที่พึ่งนี่ก็จะเกิดมีความรู้สึกที่ว่าสิ่งมีอำนาจอะไร ที่มันเป็นตัวบันดาลให้เกิดผล หรือว่ามันเป็นตัวอยู่เบื้องหลังภัยอันตราย แล้วก็อยู่เบื้องหลังผลสำเร็จที่ตัวต้องการ อันนี้ก็มีอันหนึ่งก็คือสภาพที่มนุษย์ไม่รู้ไม่เข้าใจโลกและชีวิตตัวเองมายังไง ชีวิตตัวเองจะเป็นยังไงข้างหน้า ในธรรมชาติมีอะไรก็ไม่รู้ นี้ในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์เอง มนุษย์ก็เห็นอยู่กับคนที่มีอำนาจกว่า เราก็ต้องเชื่อต้องฟังต้องยอม แล้วก็สามารถบันดาลผลให้แก่เราได้ เรากลัว ถ้าเขายอม เขาชอบเรา เขายอมหยุดไม่เบียดเบียนไม่ทำร้ายเรา เราก็สามารถอยู่รอดได้ปลอดภัยได้ นี่เราต้องการให้เขาจะบันดาลผลสำเร็จให้เรา เราก็ทำได้เราก็จะได้ผลประโยชน์นั้น นี้มนุษย์ก็คิดไปคิดมา ก็ไปเห็นว่าในธรรมชาติที่มีอะไรเป็นไปอย่างไง มีภัยอันตรายบ้าง มีสิ่งที่ตัวเองพอใจสมปรารถนาบ้างนะ มันต้องมีอำนาจอยู่เบื้องหลังใช่ไหม ก็เลยเกิดมีความเชื่อในเรื่องของอำนาจเร้นลับเป็นเทพเจ้าคือพวกเทวดาอะไรต่าง ๆ ขึ้นมา ศาสนาก็เกิดมีขึ้นเป็นศาสนาแบบโบราณ ทีนี้ศาสนาก็เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามของมนุษย์อีกละน่ะ ก็คือว่าทำให้เกิดความรู้สึกได้ที่พึ่ง พอได้ที่พึ่งมันก็สบายใจขึ้น เพราะฉะนั้นเรื่องที่เกิดมาจากทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามตอนนี้เราจะเห็นว่าออกเป็น 2 ด้าน ด้านหนึ่งก็คือมนุษย์จะต้องเกิดความจำเป็นในการดิ้นรนขวนขวายเพื่อให้ตัวอยู่รอดและได้สิ่งที่ปรารถนานะนี่ เป็นการสร้างสรรค์ความเจริญ อีกด้านหนึ่งก็คือได้เกิดมีความหวังในสิ่งที่เป็นที่พึ่งที่จะช่วยให้ตนอยู่รอดปลอดภัยโดยเฉพาะในกรณีที่เป็นภัยอันตรายที่ตัวมองไม่เห็นพ้นอำนาจคนวิสัยตัวเอง ในด้านที่ 1 นี้ก็ทำให้มนุษย์สร้างสรรค์ความเจริญขึ้นมาอย่างที่เราเห็นกัน
แต่อีกด้านหนึ่งก็คือศาสนาเข้ามา ศาสนานี้ก็จะมีความหมายอย่างที่เรามาพูดกันทีหลัง พวกนักปราชญ์ทางศาสนาก็จะบอกนี่เห็นไหม ศาสนาก็คือที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ใช่ไหม เพราะว่ามีทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม เราก็ได้มีที่หวังที่พึ่งว่าเราเนี่ยอยู่ใต้อำนาจเทพเจ้าสิ่งเร้นลับ หรือพระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างสรรค์โลก ถ้าหากว่าเราทำให้ท่านชอบใจได้ท่านมีอำนาจ ท่านก็จะช่วให้พ้นภัยอันตราย แล้วถ้าท่านโปรดปรานท่านจะนำผลที่เราต้องการมาให้ด้วยใช่ไหม อย่างน้อยความคิดนึกความหวังอย่างนี้ก็ทำให้ใจสบายขึ้น แล้วก็เลยประดิษฐ์ประดอยหาวิธีเอาอกเอาใจเทพเจ้าในศาสนาโบราณทุกถิ่นไปหมดทั่วโลกจะมีเรื่องนี้
แต่ในประเทศอินเดียก็จะมีลักษณะพิเศษ คือหมายความว่า โดยทั่วไปก็จะเหมือนกันแบบเดียวกัน คือว่าจะหวังพึ่งอำนาจเร้นลับเหนือธรรมชาติ แล้วก็เกิดความสัมพันธ์ในการอ้อนวอน แต่ว่าวิธีการอ้อนวอนบวงสรวงของแต่ละถื่นนี้ แต่ละวัฒนธรรมก็จะต่างกันไป นี่สำหรับอินเดียก็การพัฒนามากจนกระทั่งเป็นพิธีบูชายัญ อย่างที่เราพูดกันไปแล้ว นี้เทพเจ้าของอินเดียนั้นมันไม่ใช่แค่ว่ามาบันดาลคนที่ต้องการให้ ยังเอื้อมาจัดการสังคมมนุษย์ว่ามนุษย์นี่ถูกสร้างมาเสร็จ โดยจัดให้มาอยู่ในชนชั้นระดับต่าง ๆ ในสังคม ตั้งแต่เกิดจนตายก็ต้องอยู่อย่างนั้น ซึ่งความเชื่ออันนี้มันได้กลายเป็นตัวที่กำหนดสภาพสังคมอินเดียไปจนกระทั่งปัจจุบัน ทำให้แก้ไขได้ยาก แล้วก็เลยอยู่ที่ลักษณะความสัมพันธ์กับอำนาจเร้นลับนี้สัมพันธ์กันแบบไหน คล้าย ๆ จับพลัดจับผลู ถ้าสัมพันธ์ในลักษณะที่เอื้อกลายเป็นเครื่องกระตือรือร้นบีบบังคับกระตุ้นให้คนยิ่งเพียรพยายามก็ได้ แต่กระตุ้นไม่ดีหรือว่ากำหนดไม่ดี เชื่องไม่ดี เชื่อพลาดทำให้กลายเป็นว่า ทำให้คนนี้ยึดติดอยู่ขยับเขยื้อนไม่ได้เลยใช่ไหม อย่างสังคมอินเดียนี่ความเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้า เทพเจ้าบันดาลอยู่เบื้องหลังโลกมนุษย์ได้มากำหนดมนุษย์ให้เกิดมาเป็นวรรณะไหนอยู่อย่างนั้นจนตายห้ามเปลี่นแปลง ก็เลยเป็นอันว่าทำให้มนุษย์ต้องหยุดอยู่กับที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ใช่ไหม อันนี้เป็นตัวอย่าง แต่ละสังคมจะมีข้อดีข้อเสียต่าง ๆ กัน แต่หลักการในเรื่องนี้ก็ถือว่าทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามหาที่พึ่ง ศาสนาเข้ามาให้ที่พึ่ง คนก็เลยมองว่าศาสนานี่เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจปรอบประโรมใจหายทุกข์หายกลัว อย่างน้อยก็มีความหวังขึ้นมา แต่ว่ามันเกิดอะไรขึ้น มนุษย์นั้น เอ้าละน่ะมนุษย์ด้านหนึ่ง ทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามดิ้นรนขวนขวายทำการสร้างสรรค์อะไรต่าง ๆ หาทางอยู่รอดก็เกิดความเจริญขึ้นมา ด้านนี้นะพอเจริญดีแล้วสบายแล้วทีนี้ เอาละตัวเองมีอำนาจมีความสำเร็จมีความสุข มนุษย์ก็จะมีความโน้มเอียงไปในทางที่จะเพลิดเพลินมัวเมากับความสุขนั้นและหยุดดิ้นรนขวนขวาย ตอนนี้แหละสังคมก็เสื่อมอีก ด้านนี้ก็ปรากฏว่าอารยธรรมมนุษย์นี่ได้ตกอยู่ในวงเวียนของความเสื่อมความเจริญเรื่อยมา พอทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม มนุษย์รุ่นเก่าก็ดิ้นรนขวนขวายอยู่นิ่งไม่ได้มันตาย พอว่าสร้างสรรค์เจริญขึ้นมาได้เพราะมีวัตถุเสพพรั่งพร้อมเป็นต้น สังคมของตัวเองมีอำนาจไม่กลัวใครจะมาบีบคั้น ตอนนี้ก็จะมัวเมาเสพสุขก็เสื่อมใช่ไหม ไอ้นี่ด้านหนึ่ง ด้านที่มีที่หวังพึ่งอำนาจเร้นลับเอาอีก พอมีอำนาจเร้นลับมาให้พึ่งได้ที่พึ่งแล้วมีเครื่องปลอบประโลมใจ ตอนนี้แทนที่จะดิ้นก็ไม่ดิ้นด้วยซ้ำ เพราะว่าเอ้อเดี๋ยวเทพเจ้าจะช่วย มีความหวังแล้ว เราก็นอนรอคอยความช่วเหลือเทพเจ้า มันก็ไม่เจริญก้าวหน้าอีก อันนี้ก็กลายเป็นว่าสยบมนุษย์ ให้อยู่กับที่เหมือนกัน ก็เป็นจุดอ่อนอีก เราอาจจะเรียกว่านี่คือที่สุด 2 อย่างในสังคมมนุษย์ คือด้านหนึ่ก็คือดิ้นรนขวนขวายไป เมื่อทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามแล้วก็เจริญขึ้นมามัวเมาสิ่งเสพ ทีนี้อีกด้านหนึ่งคือว่า บางทีไม่ต้องดิ้นรน ดิ้นรนบางด้านที่จำเป็น แต่ว่าการดิ้นรนกลายเป็นมีขอบเขต เพราะใจสบายขึ้นมา หรือมีความหวังจากเทพเจ้าจะมาช่วยเป็นต้น ก็เลยไม่ดิ้นรนขวนขวาย
อันนี้เรามาถึงจุดพุทธศาสนาว่า พุทธศาสนาเกิดขึ้นมาได้ทำไม เรามองในสายตาพุทธศาสนาก็ว่า 2 อย่างเนี่ย เป็นสุดโต่ง หมาความด้านหนึ่งก็ดิ้นรนไปตามทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในความจริงของโลกชีวิตอะไรและเราก็เป็นดิ้นเพราะมันจำเป็น แล้วก็คือความเจริญสนองความต้องการตัวเองแล้วก็เพลิดเพลินมัวเมาก็เสื่อม ซึ่งสังคมแม้แต่ประเทศตะวันตกปัจจุบันนี้ก็กำลังจะอยู่ในสภาพนั้น เจริญขึ้นมาแล้วก็ถึงจุดก็เพลิดเพลินมัวเมา ก็จะเสื่อม ทีนี้อีกด้านหนึ่งก็คือว่าจากการที่มีความหวังในความช่วยเหลือจากอำนาจเร้นลับอะไรต่าง ๆ นี้ เมื่อถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามก็ได้ที่พึ่ง ความหวังนี้ก็มาปลอบประโลมใจก็ทำให้ตัวเองผ่อนคลายเบาคลายทุกข์ ก็เลยไม่ค่อยดิ้นรน อันนี้ก็ทำให้อยู่กับที่ ศาสนาก็กลายเป็นมีความหมายเป็นเพียงสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ แล้วก็ปลอบประโลมขวัญทำให้สุขสบายใจได้
พุทธศาสนาไม่ได้เห็นด้วยกับวิธีทั้ง 2 อันนี้ก็จะเป็นจุดสำคัญอันหนึ่งที่จะต้องแยกเพราะว่ามีคนไม่น้อย แม้แต่นักวิชาการทางเข้าใจแค่ว่าศาสนาก็คือที่พึ่งจะยึดเหนี่ยวจิตใจของคน เสร็จแล้วก็จะได้ปลอบประโลมใจสบายนึกว่าศาสนาคือแค่นี้ ก็เคยพูดไปแล้ว บอกว่าถ้าศาสนามีความหมายแค่นี้ พุทธศาสนาก็ไม่ต้องเกิดขึ้น เพราะว่าอินเดียนั้นเขามีอยู่แล้ว เขามีเทพเจ้าให้หวังพึ่ง มันเป็นแสน ๆ เทพเจ้าของอินเดียน่ะ มีตั้งแต่พระพรหมณ์ลงมา ไม่รู้เทพพยดามีเท่าไหร่ใช่ไหม นั้นเขามีที่พึ่งอยู่แล้วที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ พุทธศาสนาจะไปเกิดทำไม พระพุทธศาสนาไม่ได้มีความหมายแค่นั้นใช่ไหม นั้นพุทธศาศนาก็มองเป็นไปถึงนี่ ธรรมชาติของมัน ว่าสัตว์ที่ต้องฝึกจึงจะมีชีวิตที่ดีงามได้ ฉะนั้นมนุษย์อยากจะมีชีวิตที่ดีงามจะต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนเอง แต่พวกหนึ่งมันไปรอจำเป็นบีบคั้นมันจึงดิ้นรนมันจึงเรียนรู้ฝึกตน แล้วอีกพวกหนึ่งก็สบาย เลิกเรียนรู้ฝึกตนซะ ทำไงจะให้มนุษย์เนี่ยอยู่กับความเป็นจริง ทำการด้วยความรู้เข้าใจธรรมชาติ แล้วก็ปฏิบัติในเรื่องการเรียนรู้ฝึกฝนตนนี่ให้มันถูกต้อง เราก็เลยสอนว่าน่ะ ที่แท้มันก็คือธรรมชาติของมนุษย์อย่างนั้นเอง เราจะต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนแล้วจึงจะมีชีวิตที่ดีงามได้ แล้วถ้าเราได้เรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนไปเนี่ยมันจะสามารถมีชีวิตที่ดีงามประเสริฐ เป็นมนุษย์ที่เลิศ ถ้าเป็นบุคคลก็เป็นพุทธะเลย ตั้งไว้ป็นแบบให้มนุษย์ดีงามประเสริฐเลิศมีความสุขมีความสมบูรณ์ในตัวอย่างไร และก็ถ้าหากว่าเราพัฒนาคนอย่างนี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นการพัฒนาถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงของกฏธรรมชาติด้วยความรู้ในความจริงของธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ อย่างเนี้ยมนุษย์ที่พัฒนาดีขึ้นมาน่าจะมาสร้างสรรค์สังคมที่ดีซึ่งเป็นสังคมมนุษย์ที่มีการพัฒนาที่แต่ละคนมีคุณธรรมมีความดีแล้วก็มาช่วยเหลือกันเอง จะได้เป็นสังคมที่ดีงามได้ สังคมอย่างนี้เป็นสังคมที่พึงปรารถนาเป็นสภาพที่เอื้อ สังคมนี้จะมีสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อการแต่ละคนก็จะมีชีวิตที่ดีงามมีความสุข ทั้งชีวิตคนก็ดีคือชีวิตคนที่ดีพัฒนาแล้วประเสริฐ ก็จะมาเอื้อต่อสังคม แล้วสังคมที่มีคนที่พัฒนาอย่างนี้ก็จะเอื้อต่อการพัฒนาตัวของแต่ละคน อันนั้นในแง่บุคคลก็พัฒนาได้สูงสุดจนเป็นพุทธะ แล้วก็ในแง่สังคม สังคมที่ดีก็คือสังคมคนที่พัฒนาได้อย่างนี้ เราเรียกว่าสังฆะ อันนี้ทั้งพุทธะและสังฆะ นี้เราก็เห็นได้ว่าจะเกิดขึ้นมาจะมีแต่ละคนนี่ จะพัฒนาตนเองจนเป็นพุทธะ หรือเข้าเป็นในทางพุทธะได้ ก็เพราะดำเนินชีวิตได้ถูกต้องตามความจริงของกฎธรรมชาติ ทำการต่าง ๆ ถูกต้องตามกฎธรรมชาตินั้น ตามเหตุปัจจัย รู้จักเอาความจริงกฏธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ แล้วก็เข้าถึงตัวความจริงนั้น จนกระทั่งวางใจจิตใจต่อโลกและชีวิตได้ถูกต้อง
ฉะนั้นทั้งหมดเนี้ยการที่จะเป็นพุทธะก็ตาม สร้างสรรค์สังฆะสังคมที่ดีงามได้ก็ตามนี่ ต้องโยงเข้าหาตัวธรรมะ ตัวความจริงในกฏธรรมชาต ซึ่งจะเข้าถึงได้ใช้ประโยชน์อย่างมันได้ด้วยปัญญา ฉะนั้นมนุษย์ต้องพัฒนาปัญญาแล้วจะพัฒนาปัญญาได้ก็ต้องอาศัยพฤติกรรมจิตใจมาเกื้อหนุนต้องไปด้วยกันทั้งหมด แล้วเสร็จแล้วมนุษย์ก็ทำการได้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติรู้ความจริงของธรรมชาติ เอาความจริงของธรรมชาติมาใช้ประโยชน์และจิตใจที่รู้ความจริงนั้นก็จะปรับตัวเองเป็นจิตใจที่วางท่าทีต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องเป็นชีวิตที่ดีงาม ก็เลยเราก็ได้หลักขึ้นมาว่าเป็นพระรัตนตรัย จากธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ต้องฝึกนี่ สามารถพัฒนาขึ้นไปจนสูงสุดเป็นพุทธะ เราก็ได้บุคคลไว้เป็นแบบอย่าง พุทธะนี้เป็นตัวตั้ง เป็นสุดยอดของความเป็นมนุษย์ได้พุทธะ เป็นสุดยอดของมนุษย์ มนุษย์พัฒนาไปเป็นพุทธะ ที่มนุษย์จะพัฒนาไปเป็นพุทธะได้ก็เพราะรู้เข้าใจทำได้ถูกต้องสอดคล้องกับตัวความจริงที่เรียกว่าธรรมะ เอาธรรมะมาใช้ประโยชน์จนถึงที่สุด ก็ต้องธรรมะก็หมาความว่า ไอ้นี่ก็คือตัวความจริงในธรรมชาตินี่เองใช่ไหมก็ต้อง หนึ่ง ได้หลักพุทธะ เป็นสุดยอดของมนุษย์พัฒนา สอง ธรรมะเป็นตัวที่จะทำให้มนุษย์พัฒนามาเป็นพุทธะได้ ธรรมะนี้ก็อยู่ในธรรมชาตินี่เองเป็นแก่นเป็นเนื้อหาเป็นสาระของธรรมชาติต้องเข้าถึงตัวนี้ แล้วก็เมื่อแต่ละคนได้มาดำเนินชีวิตปฏิบัติตามหลักความจริงของธรรมชาติคือธรรมะนี้ เอาธรรมะมาใช้ประโยชน์ชีวิตแต่ละคนก็พัฒนาขึ้นมา มนุษย์ที่พัฒนาอย่างนี้จะมารวมกันเป็นสังคมที่ดีงาม เรียกว่าสังฆะ นี่คือหลักของพุทธศาสนา 3 อย่าง ถ้าเรายึดถือหลัก 3 อย่างนี้ไว้แล้ว เราจะโยงไปหาความเข้าใจพุทธศาสนาได้หมด อันนี้ก็เท่ากับว่ามาเป็นหลักสำหรับให้เราเป็นจุดเริ่มต้นจะเข้าสู่พุทธศาสนา จะเข้าสู่หลักการปฏิบัติอะไรต่าง ๆ นี่ มองอันนี้เป็นหลักไว้ มองพุทธะ ธรรมะ สังฆะ เป็นหลักเป็นจุดเริ่มต้น เป็นจุดเชื่อมโยงไปหาหลักการข้อปฏิบัติอื่นได้หมดเลย
ก็เป็นอันว่าพุทธศาสนาได้สร้างความเปลี่นแปลงขึ้นมาที่ว่าศาสนานั้นไม่ได้เป็นแค่ที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจที่จะทำให้คนนี่ปลอบประโลมใจปลอบประโลมขวัญ แล้วก็มีความหวังในการที่จะเป็นอยู่ โดยที่คิดว่าจะมีสิ่งที่มีอำนาจเร้นลับมาช่วยเหลือไม่ไปมัวแต่ไปรอคอยอย่างนั้นแล้ว มันเปลี่ยนท่าทีใหม่ก็คือว่า พระพุทธเจ้าก็เอาสิ่งยึดเหนี่ยวอันใหม่เข้ามาให้แทน แต่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวชนิดที่ว่าไม่ใช่พอยึดเหนี่ยวแล้ว ก็เลยไปรอคอยหวังพึ่งแล้วตัวเองก็เลยไม่ต้องทำอะไร แต่เป็นที่ไปยึดเหนี่ยวในแง่ว่า อ้อจะได้มีหลักที่จะโยงไปหาหลักการใหญ่ ๆ สำคัญที่เกี่ยวกับการฝึกฝนพัฒนามนุษย์ ฉะนั้นหลักยึดเหนี่ยวในพุทธศาสนาก็จะต่างจากศาสนาเดิม ในที่นี้ก็เกิดขึ้นในอินเดียก็ศาสนาพราหมณ์ ว่าเดิมนั้นเขามีสิ่งที่ให้ยึดเหนี่ยวจิตใจจะได้หวังพึ่งก็รอคอยความช่วยเหลือก็ไปอ้อนวอนด้วยการบูชายัญเป็นต้น ศาสนาก็ให้สิ่งยึดเหนี่ยวขึ้นมาก็คือพระรัตนตรัย พุทธะ ธรรมะ สังฆะ พอมายึดเหนี่ยวพระรัตนตรัยแล้ว จะโยงไปหาสิกขาทันทีใช่ไหม พุทธะมนุษย์มีชีวิตที่ดีงามได้พัฒนาได้จนสุดยอดเป็นพุทธะ นั้นตัวเราก็เหมือนกัน เราก็สามารถจะเป็นพุทธะ จะมีชีวิตที่ดีงาม ก็ทำไงล่ะก็ต้องฝึกฝนพัฒนาตัวเองขึ้นไปเรียนรู้ เรียนรู้ยังไงก็ต้องเข้าถึงธรรมะหลักที่ 2 ใช่ไหม แล้วเราก็จะได้มารวมกัน จากคนที่พัฒนาอย่างนี้ก็จะเป็นสังฆะเป็นสังคมที่เป็นอุดมคติ เราตั้งอันนี้ไว้โยงไปหาการฝึกฝนพัฒนามนุษย์ เพราะฉะนั้นศาสนาก็ไม่ใช่เป็นเพียงที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแล้วก็ปลอบประโลมใจแล้วก็สบายหายทุกข์หายร้อน แล้วก็ไปอ้อนวอนนอนรอคอยความช่วยเหลือ แต่กลายเป็นว่าเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเป็นหลักให้พอไปมองดูพอไประลึกถึง แล้วก็มากระตุ้นเตือนตัวเองให้เราระลึกถึงหน้าที่ความสามารถที่ตัวมี ว่าเราจะต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตัวเอง
ฉะนั้นจึงได้พูดว่าศาสนานั้น ถ้าเราจะใช้คำว่าที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวก็ต้องแยกเป็น 2 แบบคือเอาสำนวนเก่าเขามาใช้ แล้วก็แยกซะ ศาสนาในความหมายหนึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ดึงเหนียวแล้วเหนี่ยวลง ดึงลง ๆ ให้จมให้วนเวียน วนเวียนอยู่อย่างนั้น วนเวียนอยู่ในความหวัง โดยการปลอบประโลมใจตัวเอง แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรรอคอยความช่วยเหลือ อันนี้เรียกว่า เหนี่ยวแล้วดึงลง ทีนี่พุทธศาสนานี่ให้ที่พึงที่ยึดเหนี่ยวจิตใจจะได้ดึงขึ้น พอมายึดเหนี่ยวพระรัตนตรัยปั้ปได้ สรณะ เป็นที่พึ่งก็คือเตือนใจให้นึกถึงธรรมชาติของตัวเอง ให้นึกถึงหลักการของธรรมชาติ นึกถึงการที่จะต้องพัฒนาปัญญา ว่าจะต้องทำการดำเนินชีวิตนี้ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงให้ถูกต้อง และพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นไปทั้งพฤติกรรมจิตใจและปัญหาจนเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐสร้างสังคมที่ดีขึ้นมาด้วยการรู้เข้าถึงธรรม ใช้ธรรมะให้เป็นประโยชน์ใช่ไหม อันนั้นเราเรียกว่า เหนี่วแล้วดึงขึ้น อาศัยเป็นที่เกาะ เดิมเขาจะไม่รู้จะไปทางไหนเคว้งคว้างเลื่อนลอย ยังไม่มีหลัก พอได้พระรัตนตรัยมาปั๊บก็ได้หลัก หลักนี้ก็จะชี้นำตัวเองโยงไปหาสิ่งที่ตัวจะต้องปฏิบัติต่อไปให้ถูกต้อง นั้นเราเรียกว่า ยึดเหนี่ยวแล้วดึงขึ้น เหนี่ยวขึ้นไม่ใช่เหนี่วแล้วดึงลง เราก็ใช้สำนวนเก่า เป็นอันว่า ศาสนาที่เรียกว่าพระพุทธศาสนานั้นถ้าจะใช้คำว่าศาสนาเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจก็ต้องมีในความหมายว่า เหนียวแล้วดึงขึ้น พอเหนี่ยวปั้บ ท่านจะได้ช่วยชี้ทางให้ต่อไปว่าตัวเองจะต้องทำอะไรใช่ไหม อันนี้ก็เป็นเรื่องเหมือนกับการสรุปสิ่งที่พูดมาอีกครั้งหนึ่ง ทีจริงก็พูดไปแล้ว พูดไปพูดมาก็กลับมาสรุปกันอีกนะ
อันนี้ก็เลยโยงเข้าหาคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัส พระพุทธเจ้าตรัสไว้คาถานี้มีในพระธรรมบท ซึ่งทำให้เรามองเห็นภาพของศาสนาต่าง ๆ รวมทั้งพุทธศาสนาด้วย พระพุทธเจ้าตรัสว่า พะหุงเวสะระนังยันติปะพะตานิวะนาวิจะ เป็นต้น คาถานี้ก็แปลได้ความว่ามนุษย์ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้วนี่แหละที่เรียก ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม ก็พากันยึดเอาเจ้าป่าเจ้าเขาต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์เป็นต้นเป็นที่พึ่ง แต่อันนั้นไม่ใช่สรณะอันเกษม มนุษย์ทั้งหลายยึดเอาสิ่งเหล่านี้เป็นสรณะที่พึ่งแล้วจะพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงหาได้ไม่ ส่วนผู้ใดมาถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ แล้วรู้ทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ รู้จุดหมายสภาวะเป็นที่ดับไปแห่งทุกข์ และมันคาหรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ด้วยปัญญาชอบ นั่นแหละจึงจะเป็นสรณะอันเกษม เมื่อถึงสรณะนี้แล้วก็จะสามารถพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เห็นไหมนี่คือการแยกระหว่างศาสนาโบราณ เช่นศาสนาพราหมณ์กับพุทธศาสนาใช่ไหม อันเก่านั้นก็ทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม แกก็มายึดเอา เจ้าป่าเจ้าเขาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่ง แก่ก็ได้ความหวัง ปลอบประโลมใจอย่างน้อยก็ เอ้อใจก็สบายหลบทุกข์ไปได้ชั่วพักชั่วยามก็ยังดีใช่ไหม เรียกปลอบประโลมบำรุงขวัญก็สบายใจ แต่มันก็เลยจมอยู่นั่นเอง ก็รอคอยความช่วยเหลือ ทีนี้มายึดพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ มันไม่หยุดอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าจะบอกอ้าวนี่เห็นไหมในท่านมีความสามารถท่านเป็นสัตว์ที่ฝึกได้เช่นเดียวกั เรานี่เราต้องพัฒนาตัวมาจึงเป็นพุทธะ ท่านก็พัฒนาตัวได้ เอาสิท่านก็เรียนรู้พัฒนาปัญญารู้เข้าใจความจริงในธรรมชาติคือตัวธรรมะ แล้วท่านก็จะปฏิบัติสิ่งทั้งหลายทำการต่าง ๆ ให้สำเร็จผลได้สอดคล้องกับความเป็นจริงตามเหตุปัจจัย ท่านทำการสำเร็จ ท่านพัฒนาชีวิตของตนเองเจริญยิ่งขึ้นจนเป็นพุทธะได้ แล้วแต่ละท่านทำอย่างนี้ขึ้นมา สังคมของท่านก็จะดีงามเป็นสังฆะใช่ไหม นี่คือพอยึดแล้วมันต้องมีอะไรทำต่อไปเดินหน้า จึงเรีกว่ายึดเหนี่ยวแล้วดึงขึ้น ก็นี่แหละเพราะฉะนั้นพระรัตนตรัยนี่ โยงไปหาอริยสัจ อริยสัจคือความจริงของความเป็นเหตุเป็นผลในกฎธรรมชาติที่มาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ก็คือความจริงในธรรมชาติ ก็คือกฏแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัยเป็นต้นมันมีของมันอยู่อย่างนั้น แต่ในแง่ที่มาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่มนุษย์จะใช้ประโยชน์ ความจริงในส่วนที่จะมาใช้ประโยชน์กับมนุษย์นี้เรียกว่า อริยสัจ เป็นความจริงที่มนุษย์จะต้องรู้เพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องต่อสิ่งทั้งหลายต่อธรรมชาติ แล้วมันจะเกิดผลแก่ชีวิตของตนเองในการแก้ปัญหาในการสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีงาม พอไปตกลงก็ตอนนี้ก็เท่ากับว่าพอไปแล้วระลึกถึงพระรัตนตรัยยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ พระรัตนตรัยนั้นก็จะโยงตัวเราเข้ามาหาหลักความจริงของธรรมชาติในส่วนที่จะมาใช้ประโยชน์แก่มนุษย์เรียกว่า อริยสัจ เพราะฉะนั้นพระรัตนตรัยก็โยงมาหาอริยสัจ พอถึงอริสัจก็คือการที่มนุษย์เอาความจริงในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้ แล้วก็มนุษย์ปฏิบัติได้โดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของกฏธรรมชาติ จนกระทั่งเข้าใจรู้เข้าถึงความจริงของกฏธรรมชาติ จนกระทั่งมีจิตใจที่เป็นอิสระได้ จนกระทั่งว่าสภาวะในธรรมชาติที่เราเรียกว่ามันเป็นกฎธรรมชาติเป็นสภาวะลักษณะของมันที่ว่ามันไม่เที่ยง มันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป มันเป็นทุกข์ตั้งอยู่ไม่ได้ มันไม่เป็นตัวตนของมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยอะไรต่าง ๆ ซึ่งปรากฏแก่มนุษย์ในลักษณะที่ว่ามันไม่เป็นไปตามปรารถนาของเราเลยใช่ไหม คือโลกนี้ทั้งโลกเนี่ยมันไม่เป็นไปตามปรารถนาของมนุษย์ มันเป็นไปตามทางของมันเพราะมัน เพราะมันมีกฎธรรมชาติอยู่เบื้องหลัง ภาวะที่มันมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์นี่ ปรากฏการณ์ที่ไม่เป็นไปตามปรารถนา เราเรียกว่าทุกข์ ทีนี้การที่มันไม่เป็นตามปรารถนาก็เพราะต้องมาก่อนมันธรรมชาติของมันเองมันเป็นอย่างนั้น คือการที่มันไม่เที่ยง มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เมื่อมนุษย์รู้เข้าถึงมันก็จะใช้ประโยชน์จากมันได้ ในการที่ว่า
1 ก็คือรู้ความจริงที่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยแล้ว ก็รู้ว่ามันไม่เป็นไปตามปรารถนาของเราหรอก มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยก็มันเอง เพราะฉะนั้นถ้าเราจัดให้สิ่งทั้งหลายเป็นยังไงตามที่เราต้องการเราต้องไปศึกษา ไปเรียนรู้ ทำให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของมัน แล้วปฏิบัติให้ถูกต้องตามความเป็นจริงนั้น ผลมันถึงจะเกิดขึ้นไปตามต้องการ ถูกไหมครับ นี่อันที่ 1 แล้ว
2 เมื่อรู้ความจริงอันนั้นก็คือว่า ไอ้ความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายที่มันเปลี่ยนแปลงไปอย่างนั้นอย่างนี้ทั้งหมดเนี่ย มันเป็นสภาวะในธรรมชาติ มันไม่ใช่เรื่องของเราที่จะต้องไปหวังไปปรารถนา เอาจะให้เป็นยังไงตามที่เราต้องการ เพียงแต่วางใจให้ถูกด้วยปัญญา ปฏิบัติต่อมันด้วปัญญา ก็อย่างที่ว่าข้อต้นก็คือว่า เราก็รู้ความจริงและปฏิบัติต่อมันด้วยปัญญา ทำให้มันเกิดผลจากการกับเหตุปัจจัยก็เป็นไปตามนั้น แล้วเสร็จแล้วไอ้ที่มันเป็นไปต่าง ๆ ที่ว่ามันเป็นทุกข์ความปรารถนานั้นมันเป็นเรื่องของธรรมดาในธรรมชาติเป็นภาวะที่มันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เปลี่ยนแปลงไป มันอยู่ในภาวะเดิมไม่ได้เป็นทุกข์ในธรรมชาติ เมื่อเรารู้ถึงที่สุด แล้วทุกข์ในธรรมชาติก็เป็นทุกข์ในธรรมชาติไม่มาเป็นทุกข์ในตัวเรา แยกออกไปได้เป็นอันว่า ทุกข์ก็จะเป็นภาวะตามกฎธรรมชาติเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาไตรลักษณ์ เป็นเรื่องของธรรมชาติเป็นสังขตธรรมทั้งหลายก็เป็นอย่างนั้นของมันเอง เราไปแก้มันไม่ได้ แต่เราไปใช้ประโยชน์จากมันได้ จากที่ว่าให้เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา เราไปใช้ประโยชน์จากการรู้ตัวธรรมคือความจริงของมัน และปฏิบัติด้วปัญญา แต่ว่าเราจะไปแก้มันให้มาเปลี่ยนกฎธรรมชาติเปลี่ยนไม่ได้ แต่ว่าทำไงจะไม่ให้ไอ้ทุกข์ในธรรมชาติความเป็นไปนั้นเข้ามาครอบงำจิตให้เรากลายเป็นทุกข์ เมื่อเรารู้ความจริงถึงที่สุด เราทุกข์ในธรรมชาติก็อยู่ในธรรมชาติ ไม่มาเป็นทุกข์ในตัวคน ฉะนั้นคนก็หลุดพ้น ได้ 2 ขั้น คือ
1 สามารถปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายด้วยปัญญา ทำให้เกิดผลสำเร็จตามที่ต้องการเท่าที่เป็นไปได้ตามเหตุปัจจัยและวิสัยแห่งปัญญาของตน
2 พร้อมกันนั้นก็ทิ้งให้ทุกข์นั้นเป็นทุกข์ในธรรมชาติไม่มาเป็นทุกข์ในตัวเรา เราก็เป็นอิสระ ทีนี้มนุษยย์เราสุดท้ายมันเป็นอย่างนี้ เพราะมันวางตัววางใจปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายแม้แต่ชีวิตของตนเองไม่ถูกมันถึงได้เกิดวุ่นวายไปหมด ขั้นสุดท้ายก็มาอยู่ที่นี่
พระพุทธศานาก็ให้หลักการกว้าง ๆ อย่างนี้ เมื่อให้หลักการกว้างนี้แล้วมนุษย์ก็มาดำเนินชีวิตปฏิบัติกิจการ พัฒนาชีวิตของตนเองสร้างสรรค์สังคมจัดวางระบบให้มันตั้งอยู่บนฐานความรู้เข้าใจความจริงนี้ก็แล้วกัน แล้วมันจะแก้ปัญหาได้ ทีนี้ก็อยู่ที่ว่าเราจะเน้นจุดไหน เราจะแก้แค่ไหนให้มันอยู่ดีมีความเข้าใจมีปัญญา ก็จัดจุดที่ว่ามนุษย์เกิดมาต้องอยู่รอดถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม แง่หนึ่งก็คือว่าเพราะมันถูกทุกข์บีบคั้นภัยยคุกคามก็เลยจำเป็นต้องดิ้นรนขวนขวายก็ทำโน่นทำนี่ขึ้นไป แบบว่าเป็นความเจริญตามที่ตนเรียก ไม่รู้ว่าเจริญหรือเสื่อมแน่ ก็รู้มันก็มีการสร้างสรรค์อะไรต่ออะไรที่เราเรียกว่าพัฒนาขึ้นมานาน ๆ ก็มารู้ว่าพัฒนา พัฒนาผิดแล้ว พัฒนาไม่ยั่งยืนแล้ว อันนี้ทำกันไปก็เป็นเรื่อง 1 เป็นความเจริญงอกงามของมนุษย์ซึ่งอาจจะเรียกว่าผิดก็ได้ เพราะว่ามันไม่รู้ความจริงอย่างถ่องแท้นี้ด้านนึง แล้วก็ 2 ก็คือการที่เกิดมีศาสนาซึ่งให้ที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจปลอบประโลมขวัญ ทั้งหมดเนี่ยจะเห็นว่ามาจากทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม เพราะฉะนั้นจากจุดนี้ทำไงมนุษย์จะเข้าสู่ทางที่ถูกต้อง พุทธศาสนาก็โยงเข้าสู่ธรรมชาติมนุษย์ ให้เห็นว่าที่แท้แล้ว ก็เป็นแต่เพียงว่าพุทธศาสนาก็มาให้ 1 ชี้ความสุขให้ 2 ให้เครื่องบำรุงขวัญในแง่เกิดกำลังใจที่จะทำ สู้ต่อไป
วันนี้ก็เท่ากับว่า เราก็มาโยงเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ให้เห็นว่ามันมาจากเรื่องความเป็นไปในชีวิตสังคมมนุษย์ แล้วก็พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น มีความแตกต่างกับศาสนาอื่นอย่างไร และปฏิบัตต่อเรื่องทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม ที่เป็นสิ่งประจำในโลกมนุษย์นี้อย่างไร พุทธศาสนาก็โยงไปถึงเรื่องของการฝึกฝนเรียนรู้พัฒนามนุษย์ตามความเป็นจริงของกฏธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์เอง ทำให้เกิดหลักไตรสิกขาขึ้นมาใช่ไหม สิกขาก็จะทำให้เราเอาความรู้หรือความจริงตัวธรรมะในกฎรรมชาติมาใช้ได้ แล้วก็พัฒนาปัญญาที่จะรู้ถึงความจริงนั้น มันก็วนอยู่แค่นี้แหละ เรื่องของมนุษย์ก็ไม่ไปไหน ตอนนี้เราได้หลักพระรัตนตรัย พระรัตนตรัยก็คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ก็มาสรุปความหมายของพระรัตนตรัย กันนิดหนึ่งว่า การที่ว่ามนุษย์ดิ้นรนขวนขวายอยู่ไม่มีหลักไม่มีแนวทาง ก็หาทางรอดดิ้นรนทำนู่นทำนี่สร้างความเจริญขึ้นมาอย่างสุ่มสี่สุ่มห้าอย่างหนึ่ง แล้วก็มีศาสนาให้สิ่งที่เข้าใจว่ามีอำนาจเร้นลับดลบันดาลมาสำหรับให้มนุษย์ได้อ้อนวอนรอคอยความช่วยเหลือมีความหวังปลอบประโลมใจเป็นสาย 1 เนี้ย พระพุทธเจ้าก็มาค้นพบความจริงแล้วก็บอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกฝนพัฒนาได้ต้องฝึกฝนพัฒนาตัวเองถึงจะมีชีวิตที่ดีงาม ก็เลยเป็นบุคคลที่มาเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้อื่น ในขณะที่คนทั้งหลายไม่มีหลัก ก็ได้พระพุทธเจ้ามาเป็นหลักให้ จะได้มาเป็นตัวอย่างสำหรับเราระลึกถึงแล้วก็จะได้โยงเข้าหาตัวหลักความจริงที่ว่ามาทั้งหมด เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็คือท่านผู้ที่ได้พัฒนาชีวิตตนเอง พัฒนาตนเองจนกระทั่งบรรลุความสำเร็จเกิดปัญญารู้ความจริงของธรรมะ ใช้ประโยชน์จากธรรมะได้เต็มที่ เราก็เรียกว่าเป็นผู้ตรัสรู้แล้วเป็นพุทธะ เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง
1 ก็คือทำให้เกิดความมั่นใจในศักยภาพของมนุษย์ เพราะว่าพระพุทธเจ้านี่ก็เป็นมนุษย์นี่น่า เห็นไหมมนุษย์นี่มีความสามารถพัฒนาตนเองด้านจนกระทั่งมีปัญญารู้ธรรมะ เป็นผู้ประเสริฐมีคุณสมบัติเลิศ มีคุณความดีมีความสุขมีความเป็นอิสระมีความพรั่งพร้อมบริบูรณ์ในตัวอย่างนี้ นี่มนุษย์พัฒนาได้ ก็ทำให้เกิดมนุษย์ให้เกิดความมั่นใจแก่ตนเองของมนุษย์ทั้งหลายที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความมั่นใจในศักยภาพของความเป็นมนุษย์ ว่าโอ้เราก็เป็นมนุษย์อย่างพระพุทธเจ้าพัฒนาตัวเองได้ เราจะเป็นได้อย่างพระองค์ท่านถ้าเราต้องพัฒนาตัวเอง เกิดความมั่นใจนี้เรียกว่า ศรัทธา เป็นศรัทธาพื้นฐาน เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็เกิดศรัทธาพื้นฐานอันนี้ขึ้นมา ศรัทธานี้ก็จะเรียกได้ว่าตถาคตโพธิสัทธา ศรัทธาความเชื่อมั่นในปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต ก็แปลความว่า เชื่อมั่นในปัญญาที่ทำให้มนุษย์ตรัสรู้ไปเป็นพุทธะได้ มนุษย์ธรรมดาพัฒนาปัญญานี้ขึ้นมากลายเป็นพุทธะได้ เราพัฒนาปัญญานี้ขึ้นมาเราก็เปลี่ยนเป็นพุทธะเหมือนกัน เกิดความเชื่อมั่นอันนี้ อันนี้เป็นศรัทธาที่ 1 พอระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็ได้อันนี้แหละ
2 อะไร ก็ทำให้ตระหนักในหน้าที่ของมนุษย์ว่า ก็เราต้องการชีวิตที่ดีงาม เราจะมีชีวิตที่ดีงามได้ไง เราก็ต้องฝึกฝน ต้องเรียนรู้ ต้องพัฒนาตัวเอง ต้องศึกษาหน้าที่ของมนุษย์ ก็คือการเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาตนเองนี่คือหน้าที่แท้จริง ก็เกิดความรู้ตระหนักในหน้าที่ สำนึกในหน้าที่นี้อยู่เสมอว่าจะเป็นคนที่เรื่อยเฉื่อยปล่อยปละละเลยไม่ได้ แล้จะมีชีวิตที่ดีงามต้องฝึกฝนพัฒนาตัวเองเรียนรู้ เตือนให้นึกถึงหน้าที่ตัวเองนะ
เอ้า 3 อะไรอีก นึกถึงพระพุทธเจ้า ก็ได้กำลังใจ ถ้าเกิดรู้ว่ามนุษย์จะต้องฝึกตัวเอง เอ้ถ้าฝึกไปแล้วมันขึ้นได้แค่ไหนแล้ว มันจะสำเร็จหรือเปล่า หรือแม้แต่ว่ามั่นใจว่าสำเร็จ แต่ว่าพอไปเจออุปสรรคแล้วมันยาก ถอยชักท้อ อันนี้พอมีพระพุทธเจ้าไว้เป็นหลังระลึกถึงพระพุทธเจ้า ไม่ระลึกเปล่าท่านก็ให้ประวัติการพัฒนาตนเอง ประวัติการค้นแสวงหาธรรมะของพระพุทธเจ้า ประวัติการที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมี พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีแสนจะยากลำบาก แม้แต่สละชีวิตก็ทำได้ มีเรื่องราวมากมายเหลือเกิน อุปสรรคในการที่จะพัฒนาตน พอเราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงประวัติการบำเพ็ญบารมีของพระองค์ ถ้าเราจะเกิดเป็นท้อใจ เราเกิดอ่อนแอขึ้นมา เราไปเจออุปสรรคชัดท้อ พอระลึกประวัติพระพุทธเจ้าเราได้เห็นว่า โอ้พระพุทธเจ้าเจอมาหนักกว่าเราเยอะแยะ แค่นี้จะไปกลัวทำไม ก็ฮึดสู้ต่อเกิดกำลังใจขึ้นมา เพราะฉะนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็ได้กำลังใจ
แล้วก็ 4 ได้อะไร พระพุทธเจ้า นี่แม้ลำบากพระองค์เป็นคนแรกบุกเบิกต้องลองผิดลองถูกกว่าจะสำเร็จนี่ยากมาก ทีนี้พอสำเร็จแล้วพระองค์ก็เอาประสบการณ์ของพวกมันเล่าทำให้รู้ว่าอันไหนผิดอันไหนถูก การที่จะปฏิบัติถูกทำยังไงก็เลยพัฒนาวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องขึ้นมาทำให้ง่ายแก่เรา เราไม่ต้องไปเรียนผิดเรียนถูกลองผิดลองถูกอย่างพระพุทธเจ้าเราได้ประสบการณ์ของพระพุทธเจ้ามาใช้ประโยชน์ได้วิธีปฏิบัติลัดสั้นเลย ฉะนั้นตกลงว่า 4 เราก็คือได้ประโยชน์จากประสบการณ์พระพุทธเจ้าเป็นวิธีปฏิบัติที่ง่ายขึ้นใช่ไหม เป็นอันว่าระลึกถึงพระพุทธเจ้านี่ได้ประโยชน์ 4 เราเรียกว่าเป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกเป็นเครื่องเตือนใจ ทวนอีกทีหนึ่งหนึ่ง
1 ก็ทำให้เราเกิดความมั่นใจ เกิดศัทธาพื้นฐานคือเชื่อในปัญญาของมนุษย์ที่พัฒนาได้ ซึ่งจะทำให้สามารถทำให้มนุษย์กลายเป็นผู้ประเสริฐเป็นพุทธะได้เลย ซึ่งเราก็เป็นมนุษย์ผู้หนึ่งที่จะพัฒนาได้อย่างนี้
2 ก็ทำให้เกิดความรู้ตระหนักในหน้าที่ของตนว่าเป็นมนุษย์แล้วจะมีชีวิตดีแล้ว ได้ต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนต้องศึกษา
3 ก็ทำให้เกิดกำลังใจว่าจากประวัติการเพียรพยายามบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า พระองค์ลำบากกับเรา เราอย่าไปท้อ ในที่สุดพระองค์ก็สำเร็จ เราทำ เราสู้ เราก็จะดีก็ได้สำเร็จ แล้วก็
4 ก็ได้ประโยชน์จากประสบการณ์ของพระองค์ ที่ทำให้เราได้วิธีปฏิบัติที่สะดวกและง่ายขึ้น ไม่ต้องลองผิดลองถูกอย่างพระองค์
แต่ที่ข้อสำคัญทั้งหมดนี้ก็คือ การระลึกถึงพระพุทธเจ้าจะโยงไปหาธรรมะ เอ้าที่เราได้พัฒนาตัวเองมาสำเร็จอย่างนี้เป็นพุทธะก็เพราะอะไร ก็เพราะว่าได้รู้ธรรม ค้นพบธรรม แล้วได้ปฏิบัติสอดคล้องถูกต้องตามความเป็นจริงของกฏธรรมชาติ แล้วก็เลยสามารถเอาความรู้ด้วยความจริงก็กฏธรรมชาติมาใช้ประโยชน์แก่ชีวิต ตลอดจนสร้างสรรค์มาตั้งสังฆะ มาตั้งชุมชนอะไรต่าง ๆ ขึ้นมา เราก็เหมือนกันเราจะต้องใช้ธรรมะเป็นหลัก เอาธรรมะคือตัวจริงในการที่จะดำเนินชีวิตในการที่จะสร้างสรรค์ทำการในสังคมอะไรต่าง ๆ ที่จะให้มีสังคมชีวิตที่ดีสังคมที่ดีต้องรู้เข้าใจตัวความจริงในกฎธรรมชาตินี่แหละ เอามาเป็นหลักเพื่อดำเนินชีวิตในการที่จะสร้างสรรค์ ในการทำสังคมต่าง ๆ แล้วจะให้สังคมที่ดี เราต้องรู้เข้าใจในกฏธรรมชาติ แล้วก็ทำให้สอดคล้อง เพราะฉะนั้น ธรรมะจะต้องเป็นหลักสำคัญ ฉะนั้นจากพุทธะก็โยงมาหาธรรมะ และเราก็จะสามารถพัฒนามนุษย์พวกเราด้วยกันเนี่ยมาสร้างเป็นชุมชนที่เอื้อต่อกันเป็นชุมชนของคนที่พัฒนาในระดับต่าง ๆ แล้วมีความสัมพันธ์มีความเป็นอยู่ซึ่งจะเอื้อต่อกันให้แต่ละคนนี้พัฒนาตัวเองได้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นสังคมที่ดีงามร่มเย็นมีสุขสันติสุขเป็นสังฆะ เป็นสังคมแห่งกัลยาณมิตร นี่แหล่ะชีวิตสังคมมนุษย์ที่ดี ในที่สุดก็ต้องอย่างนี้ อย่าไปมัวหวัง หนึ่งก็คือ ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม ก็ดินรนขวนขวายต่อสู้สุ่มสี่สุ่มห้าไป เจริญไป มีความสุขสบายกับมัวเมา กลับเสื่อม หรือไม่อำนาจเร้นลับภายนอกมาคอยช่วย แล้วก็เลยไม่พัฒนาตัวเองก็อยู่อย่างนั้น หมกอยู่จมอยู่วนเวียนอยู่ในเรื่องของความงมงาย ความหวัง การรอคอยความช่วยเหลือการปลอบใจตัวเองอยู่ตรงนั้น ก็ไปไหนไม่ได้เหมือนกัน นั้นพุทธศาสนามองในแง่นี้ก็เป็นทางสายกลาง ทางสายกลางระหว่างสองสาย 1 ถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามดิ้นรนขวยขวายสุ่มสี่สุ่มห้าที่ว่าเจริญดี แล้วก็เสื่อมสะทีมัวเมา แล้วอีกพวกหนึ่ง พวกศาสนาที่ให้ความหวังรอคอยก็ไม่ต้องทำอะไรจบ ก็เป็น เรื่องถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามชี้ไปสู่ความจริงของธรรมชาติมนุษย์และความจริงในธรรมชาติจะต้องรู้เข้าใจพัฒนาตัวเองให้มีปัญญาปฏิบัติไปตามความจริงนั้นด้วยปัญญานั้นพัฒนาชีวิตและสังคมที่ดีขึ้นมาช่วยกันเองในหมู่มนุษย์ ไม่ต้องไปรอเทพเจ้าช่วย ช่วยกันดีในหมู่มนุษย์ช่วยกันนี่แหละดีที่สุดกว่าอะไรช่วยอีก พัฒนาพวกเราช่วยกันซิ แล้วก็เอาความรู้ความจริงนั้นมาจัดสรรสังคม มาจัดวางระบบระบบชีวิตให้มันเอื้อต่อชีวิตของแต่ละคน จัดระบบสังคมให้เอื้อต่อชีวิตแต่ละคนจะอยู่ดีพัฒนาตนเองได้ก็เป็นวินัย จากธรรมะ ก็มาเป็นวินัย ก็มาสร้างสังฆะขึ้นมา ก็โยงมาสัมพันธ์กับชีวิตแต่ละคน ชีวิตแต่ละคนก็พัฒนาไปตามไตรสิกขา คืออาศัยสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมความสัมธ์ระหว่างมนุษย์มาเป็นตัวเอื้อ ก็มาพัฒนาไปได้ด้วดีใช่ไหม แล้วเกิดความสัมพันธ์ระหว่างธรรมะกับวินัย
อย่างที่พูดไปแล้ววันนี้เป้าหมายที่สำคัญพูดมาทั้งหมดก็เพื่อให้เห็นความหมายของคำว่าพระรัตนตรัย แต่ว่าโยงไปหาเรื่องอื่นทั้งหมด ก็พูดมายาวนานแล้วนะครับ มีอะไรสงสัยไหมครับ แต่ว่าจะชัดเจนพอหรือเปล่า ชัดไหมครับ
(1)
คนฟังถาม ถ้าเราโยงเรื่องที่พระเดชพระคุณให้ความรู้ทางด้านปัญญา 2 ข้อ ในขั้นแรกเราต้องรู้ว่า ที่เป็นไปตามเหุตปัจจัย ข้อที่ 2 เอาความรู้นั้นมาพัฒนา หรือทำความเข้าใจเหตุผลตัวเอง จนกระทั่งสามารถบรรลุและโยงเข้าปฏิสัมภิทาก็คือ ข้อ 1 ก็คล้ายกับ 1, 2 เลยปฏิสัมภิทาญาณ
พระตอบ ปฏิสัมภิทาญาณนั้นคล้าย ๆ เป็นความรู้ปลีกสึกย่อยในระบบใหญ่นี่ ที่มาใช้ประโยชน์เป็น เรื่อง ๆ ไป อย่างน้อยเราไปเรียนรู้อะไร เราจะต้องรู้ปัญญามารู้ธรรมะ เราก็ต้องรู้พัฒนาปฏิสัมภิทาใช่ไหม ว่าเราไปเรียนรู้เกี่ยวข้องกับเราก็พยายามให้เข้าใจถึงเนื้อหาสาระความจริงของมันให้ถ่องแท้ใช่ไหม แล้วก็มาเอื้อต่อการู้ธรรมะนั่นแหละ โยงเราเข้าหาธรรมะ พอเราเรารู้เนื้อหารายละเอียดเราจับหลักได้เลยนั่นคือตัวธรรมใช่ไหม ตัวกฎธรรมชาตินี่ ตัวธรรมะเป็นตัวกฏเลย อย่างนักวิทยาศาสตร์แก ตอนแรกก็ไปเรียนออฟเซอร์เวชั่นใช่ไหม สังเกตุหาความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ในความเป็นเหตุเป็นผลกันระหว่างสิ่งโน้นสิ่งนี้ แกก็ไปดูไปศึกษาเป็นรายละเอียดแต่ละข้อแต่ละอย่างแต่ละเรื่อง เอ้ ต่อมา ต่อมา แกก็วางกฏได้เป็นประเด็นได้ เป็น General Principal นี่คือธรรมะแล้วใช่ไหม เป็นข้อสรุปเป็นประเด็นหลัก ถูกไหม นักวิทยาศาสตร์แกค้นหาความจริงในธรรมชาตินี่ แกต้องการไอ้ตัวนี้น่ะ แกต้องการตัวธรรมะนี้ ตัว General Principal ตัวกฏทั่วไปนี่ สุดยอดปรารถนาของนักวิทยาศาสตร์อยู่ที่นี่ Einstein ค้นหาไปศึกษาเรื่องนี้เป็นยังไง เรื่องนี้เป็นยังไง ใช่ไหม นี่ตอนนี้หาอัตถะแล้ว ได้รายละเอียดได้เนื้อหาความจริงศึกษาให้มันถ่องแท้ มันโยงมาสัมพันธ์กันอย่างไร ต่อไปพอชัดเจนนะ มันวางกฏใหญ่ได้เลยใช่มั้ย ได้กฏตัวนี้ปั้ม มันคลุมหมดเลยใช่ไหม มันเข้าใจจากกฏเดียวเนี่ยหมายถึงเข้าใจอะไรหมดเลย ถูกไหม ทีนี้แกก็พยายามหา General Principal กฏทั่วไปเนี่ย แต่กฏทั่วไปที่แกได้มามันเป็นกฎทั่วไปเพียงในระดับที่ยังไม่สูงสุดใช่ไหม มันกลายเป็นกฏเทั่วไปหลายกฏ ยังอยู่ระดับรอง ๆไม่ถึงได้กฏสูงสุดสักที แกใฝ่ฝันอยากจะได้ตัว General Principal อันใหญ่ที่สุดเลยไม่ได้สักทีถ้าได้อันนี้มันเข้าใจทั้วโลกทั้งจักรวาลใช่ไหม แต่ชนาด Newton ได้กฎแห่งความโน้มถ่วงก็เข้าใจจักรวาลในด้านหนึ่งไปหมดเลยใช่ แต่ว่า Einstein บอกยังไม่ถูก นั่นกฎแห่งสัมพันธภาพ มันก็ทำให้เข้าใจชัดเจนลึกซึ้งลงไปอีก ทีนี้พุทธศาสนานี่ก็มาให้เรามีปฏิสัมภิทาเรียนรู้เข้าใจเนื้อหารายละเอียดสิ่งต่าง ๆ ให้มันชัดเจนถ่องแท้เราก็จะได้ธรรมะตัวกฏใหญ่ ที่มันเป็นตัวแทนความจริงของสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดใช่ไหม ทีนี้ตัวธรรมะมันก็อย่างว่ามีหลายระดับ เป็นกฏทั่วไปที่คลุมถึงความจริงระดับนี้อยู่ในขอบเขตเท่านี้ หรือด้านนี้ ตัวธรรมะกฏธรรมชาติเนี่ย ยังเป็นกฏขอบเขตนี้บ้าง ในด้านนี้บ้างอะไรงี้นะ จนกระทั่งถึงกฏใหญ่ที่สุด เพราะฉะนั้นจึงกลายเป็นหลักการที่ย่อย ๆ ๆๆ ลงมา ธรรมะ ก็คือหลักการจากกฏใหญ่ พระพุทธเจ้ากฏความจริงธรรมะที่เราใช้แทนเป็นตัวคำเดียว กฏใหญ่คลุมความจริงทั้งหมดและสามารถแยกย่อยเล็ก ๆ เรื่อยไป ทีนี้ตัวความจริงในกฎธรรมชาติทั้งหมดในแง่ที่มาสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ก็เรียกว่าอริยสัจ อริยสัจคือธรรมะความจริงในธรรมชาติ เมื่อมาสัมพันธ์กับมนุษย์ที่มนุษย์จะเอาไปโยชน์จากกฎธรรมชาติ
(2)
คนฟังถาม พิจารณาคนในสังคม มนุษย์ยังพยายามไขว่คว้าเรียนรู้สิ่งภายนอกเยอะแยะ เรื่องที่กลับมาสู่ตัวเองเรื่องในจิตใจของตัวเองเป็นส่วนใหญ่
พระตอบ ก็ใช่สิเพราะว่า มันเอาตามความจำเป็นทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามทำให้ดิ้นรนแสวงหาใช่ไหม มันก็นแสวงดิ้นรนไปตามความต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่อง ๆ ก็สุ่มสี่สุ่มห้า ก็เลยสร้างเป็นความเจริญของอารยธรรมขึ้นมาถูกไหม มันไม่ได้เกิดจากปัญญาเข้าใจความจริง มันเกิดจากเหตุภายนอกบังคับตัวเองให้ดิ้นแล้วก็จำเป็นต้องเรียนรู้ก็เรียนรู้ในขอบเขตสนองความต้องการนั้น ๆ ใช่ไหม ซึ่งมีความต้องการที่มันไม่เอื้อต่อการเห็นความจริง เพราะเช่นว่าเป็นความต้องการในแง่สนองผลประโยชน์ของตัวเองที่ต้องการเป็นโลภะ หรือสนองความต้องการในการที่จะเป็นกำจัดศัตรูได้อย่างนี้เป็นต้นใช่ไหม ไอ้ความต้องการอย่างนี้มันไม่มีความต้องการที่จะทำความจริงในกฎธรรมชาติ มันได้แก้สนองความต้องการเฉพาะกรณี แต่มันก็ทำให้เกิดความเจริญแบบที่ว่าเนี่ย มันก็จะเจริญเป็นด้าน ๆ แง่ ๆไป บางทีต้องใช้เวลาต้องเป็นหลายร้อยปีจึงรู้ว่ามันผิด ก็เหมือนอย่างฝรั่งที่ว่า นึกว่าตัวเองเอาชนะธรรมชาติได้ก็คือความสำเร็จถูกไหม ความสุขสมบูรณ์ของมนุษย์นี่ อยู่ที่เนี่ย ชนะธรรมชาติได้จะได้จัดการธรรมชาติได้ตามชอบใจ ซึ่งมันก็เป็นความจริงระดับหนึ่ง แต่ถ้าไมแกเกิดอันนี้ขึ้นมา ก็ผมเคยยกตัวอย่างที่ฝรั่งอาจารย์เยอรมันที่มาสอนที่มหิดลนี่ใช่ไหม ไปที่ภูเขาคุยกัน พอฝรั่งเขาว่า หนังสือของเขาเองซื้อเขาว่าอารยธรรมเขานี่ตั้งอยู่บนทิฏฐิความเชื่อความคิดหลักการยึดถือว่า มนุษย์จะต้องเอาชนะธรรมชาติพิชิตธรรมชาติและจึงมีชีวิตที่สุขสมบูรณ์ ทีนี้ก็บอกว่าเนี่ย ฝรั่งเป็นอย่างนี้ เขาก็อึ้งไป แล้วเขาก็สักครู่เขาก็ผายมือไปข้างนอก ซึ่งอยู่บนเขาก็คือไปที่ธรรมชาติเขาก็บอกนี่เป็นประเทศของท่าน ธรรมชาติมันเป็น friendly ธรรมชาติมันเป็นมิตร ก็นี่ก็ว่าไปตามสภาพชีวิตที่ทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามใช่ไหม มันเป็นเรื่องที่ว่ามันเป็นเรื่องของความจำเป็นในการดำรงชีวิต แล้วเป็นไปตามความรู้สึกที่เป็นกิเลสธรรมดาของปุถุชนเท่านั้นเอง ที่ว่าเพราะอยู่เมืองฝรั่ง ธรรมชาติมันมีบีบคั้นมันมีความหนาวเย็นเป็นต้น มันรู้สึกต่อธรรมชาติเป็นศัตรู ธรรมชาติเหมือนศัตรูมาแล้วมันทำให้เราเดือดร้อน มีความทุกข์ เราจะต้องสู้กับมันตลอดเวลา ทำไงจะผ่านฤดูหนาวนี้ไปได้ ในแง่ความหนาวเย็น ทำอย่างไงจะมีอาหารกินให้อยู่รอดไปได้เพราะว่าฤดูหนาวแล้วไม่มีอะไรจะกินเลย ต้องต่อสู้ตลอดเวลา ไอ้ความคิดความรู้สึกต่อธรรมชาติก็เป็นศัตรู เป็นปรปักษ์จะต้องชนะจะต้องพิชิต ก็มนุษย์ก็เกิดกำลังใจในการต่อสู้ดิ้นรนขวนขวายว่าจะต้องเอาชนะมันให้ได้ ซึ่งทำให้เขาพัฒนาได้ แต่มันเป็นความเจริญด้วยเป้าหมายที่ผิด ก็คิดว่าถ้าชนะธรรมชาติได้เราก็จะเป็นนายธรรมชาติ เอาธรรมชาติมาจัดการตามชอบใจ ต่อมาก็สนองความประสงค์ตรงนี้ พอมันมีความรู้ในตัวธรรม คือกฏธรรมชาติ มันก็จัดการกับธรรมชาติ ด้วยความรู้ด้วยปัญญานั้น เอามาสนองความต้องการของตัวเอง กลายเป็นทำลายธรรมชาติ พอทำลายธรรมชาติ เสร็จแล้วตัวเองต้องอาศัยธรรมชาติ ตัวเองก็เลยเดือดร้อน ก็เลยมาสำนึกผิดเมื่อเวลาผ่านไปสองพันปี ลองคิดดูซิอารยธรรมผ่านไปตั้งสองพันปี มนุษย์จึงสำนึกว่าที่ยึดถือมานั้น แม้ขนาดเป็นรากฐานของอารยธรรมยังพลาดได้ เแต่ก็เจริญได้ขนาดนี้นะ ด้านหนึ่งก็เป็นความเจริญเหลือหลาย แต่อีกด้านนึงก็จะเป็นความพินาศของมนุษย์ ผิดพลาดของก็เลยต้องปรับทิฏฐิ ปรับความเห็น ปรับเปลี่ยนหลักการกันใหม่ใช่ไหม การพัฒนาที่ผ่านมานี่เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนเสียแล้ว ต้องหาทางออกใหม่ ก็ยังดิ้น ยังหาช่องไม่ทะลุปรุโปร่งยังไม่รู้ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้หลักการที่แท้มันคืออะไรแน่ มันก็ได้แค่ว่า เช่นต้องให้เศรษฐกิจก็ไปได้ สิ่งแวดล้อมก็อยู่ดี แล้วก็จะมาพัฒนาวิธีการจะทำยังไง เพื่อให้ได้ผลตามนี้ มุ่งไปหมดอยู่กันแค่นี้มันไม่มีอะไรเรื่องของมนุษย์ อริยธรรมทั้งหมด
(3)
คนฟังถาม ศึกษา แล้วทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม
พระตอบ อันนั้นพอต่อมามันก็จะมีไอ้ตัวความปรารถนาซับซ้อนขึ้นมา เช่นว่าเมื่อตัวเองชักเก่งขึ้นก็มีความปรารถนาจะครอบงำ ต้องการยิ่งใหญ่อะไรเป็นต้น ต้องการความความฟุ่มเฟือย ความพรั่งพร้อม ซึ่งเกินจำเป็นอะไรต่าง ๆ ความโอ่อ่ามันก็ตามาเอง แต่ว่าจุดแรกตัวบีบคั้นก็คือทุกข์บีบคันภัยคุกคาม
เอานะ ก็วันนี้เอาเท่านี้ก่อน