แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คุยกันต่อเรื่องปัญญาอีกหน่อย ปัญญาที่พูดเมื่อเช้านี้ เอาเรื่องญานยากนิดหน่อยเป็นข้อปฏิบัติโดยตรงเลยที่มุ่งสู่จุดหมายคือ พระนิพพาน ว่าเห็นลำดับขั้นตอน ทีนี้ยังมีปัญญาชื่ออื่นอีกเยอะแยะ บางอย่างก็เป็นเรื่องของการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันในการทำงานทำการ หรือการศึกษาเล่าเรียน ทีนี้มีอยู่หมวดหนึ่งนี่เป็นธรรมะที่มีประโยชน์มาก ท่านมักจะกล่าวไว้กับพระอรหันต์ว่ามีคุณสมบัติ 4 ประการ แต่หมายถึงพระอรหันต์ที่เก่งจริง ๆ ที่พร้อมจะทำงานเผยแผ่พระศาสนาได้ดี ท่านจะบอกว่า บรรลุพร้อมอติพลปฏิสัมภิทา 4 นี่ ปฏิสัมภิทา 4 นี่ถ้าพระอรหันต์ผู้ใดมี ก็ท่านมีความสามารถในการที่จะนำเอาธรรมะไปสั่งสอนผู้อื่นให้ได้ผลดี เป็นความสามารถเรื่องปัญญาในเชิงที่จะเอามาใช้ประโยชน์ทั่ว ๆ ไปด้วย แล้วก็ถึงจะไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ก็ควรจะพัฒนาคุณสมบัติทำนองนี้ขึ้นมา ยิ่งสมัยปัจจุบันยุคข่าวสารข้อมูล ปัญญาที่เรียกว่า ปฏิสัมภิทา นี้ก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องข่าวสารข้อมูล จะสามารถเอาใช้ประโยชน์ข่าวสารข้อมูลได้ดี ก็เลยมาเน้นในยุคนี้พูดถึงเรื่องปัญญาทีไรก็ยกเอาปฏิสัมภิทา ขึ้นมาพูดเรื่อย ปฏิสัมภิทา นี้แปลว่า ปัญญาแตกฉาน ตัวศัพท์ก็แปลว่าแตกฉาน ปัญญาแตกฉานนี้ก็มี 4 ข้อด้วยกัน เป็นบอกแล้วว่าเป็นการปฏิบัติต่อเรื่องข่าวสารข้อมูล เรื่องของสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง เรื่องที่ได้เล่าเรียน อย่างเด็กนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนก็น่าจะต้องพัฒนานี้ให้มาก และคนทั่วไปในยุคนี้ก็รับข่าวสารข้อมูลก็ควรจะได้พัฒนาปัญญาด้านนี้ ก็ปัจจุบันนี้ถ้าไม่มีหลักไม่มีปัญญาในด้านนี้ บางทีก็ไม่ได้ประโยชน์จากข่าวสารข้อมูลไม่รู้เท่าทัน ถูกหลอกง่าย และก็ไม่สามารถเอามาใช้ประโยชน์ได้ ทีนี้ปัญญาแตกฉาน 4 อย่างนี้ ในเมื่อเกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลหรือสิ่งที่สลับตับฟังเล่าเรียนศึกษา ก็เลยแบ่งเป็น 2 ฝ่าย หรือ 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นด้านรับ ด้านรับเข้ามามี 2 ข้อ แล้วอีก 2 ข้อ ก็เป็นด้านใช้ประโยชน์ ด้านรับ 2 ข้อ ด้านใช้ 2 ข้อ ทีนี้ด้านรับเป็นอย่างไร ก็เริ่มด้วย
ข้อที่ 1 ก็ปัญญาแตกฉาน ในอรรถ คือในเนื้อหา อันนี้ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งเลย ก็ต้องเริ่มต้นก่อน เราจะเริ่มเล่าเรียน ฟังอะไรจะอ่านอะไรนี้ต้องมีความแตกฉานในเนื้อหา แตกฉานในเนื้อหาอย่างไรล่ะ ก็เริ่มด้วยต้องเข้าใจเนื้อหานั้นชัดเจนถูกต้อง เข้าใจจริงเข้าใจถ่องแท้ไม่ใช่เป็นคนที่พล่า ๆ มัว ๆ รับฟังอะไรศึกษาอะไรเล่าเรียนอะไรก็ไม่รู้จริง ไม่เข้าใจจริง นี่ถ้าเคยเป็นนิสัยแล้วก็จะสะสมปล่อยผ่าน ๆ ต่อไปแต่ละอย่างที่เข้ามารับฟังไม่ชัดสักอย่าง ไม่เข้าใจจริงสักอย่าง ก็สะสมเอาความพร่ามัวไม่ชัดเจนอันนี้เอาไว้ ก็เป็นคนรู้อะไรไม่จริง ถ้าตอนแรกนี่จะต้องฝึก เช่นอย่างเวลาเรียนหนังสืออ่านทุกตอนเลย ถ้าที่เราจะเอาจริงนะเป็นเรื่องที่เราเรียน อ่านแล้วต้องถามตัวเองว่าเข้าใจจริงไหม ถ้ามีอะไรไม่เข้าใจไม่ยอมปล่อยผ่าน ทุกตอน ทุกหน้า ทุกเนื้อความ อ่านแล้วต้องถามว่าเข้าใจชัดไหม ไม่เข้าใจต้องให้เข้าใจให้ได้ หาความรู้ชัดแจ้ง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมากมันจะเป็นนิสัยเลย พอเราเรียนอะไรเนี่ย ทุกอย่างจะผ่านไปด้วยความชัดเจน ไม่ทิ้งอะไรให้คลุม ๆ เครือ ๆ ไว้ อันนั้นคนจะทำให้มีการที่ว่าจะต้องไปชัด ถ้าไม่ชัดก็จะต้องไปค้นไปคว้าอะไรต่าง ๆ เอาให้มันแจ่มแจ้งให้ได้ จนกระทั่งมันสุดวิสัยจริง ๆ ก็ฝากไว้ก่อน แต่ว่าโดยหลักการจะต้องหาความชัดเจนให้ได้ นอกจากว่าชัดเจนเฉพราะนั้นแล้ว โยงไปหาอะไร มันจะต้องให้มันชัดเจน เขาพูดอ้างอิงอะไรเกี่ยวข้องขึ้นมาเอาให้มันชัดให้หมด คือสิ่งที่ปรากฏเข้ามาในเรื่องนี้ที่ผ่านเข้ามาแล้วต้องว่ากันให้ชัด เอากันให้รู้ชัดแจ้ง เนี่ยสำคัญมากนะ ฉะนั้นอ่านหนังสือไปเล่มหนึ่งนี่ต้องรู้จริง ๆ เข้าใจจริง ๆ ในหนังสือทั้งเล่ม อย่างนี้ไม่แตกฉานได้อย่างไร นีอันที่ 1 แหละ นั้นการใช้คำถามเป็นการตรวจสอบตัวเองก็เป็นเรื่องสำคัญ ทีนี้ต่อมาเป็นนิสัยเวลาไปเกี่ยวข้องกับเรื่องข่าวสารอะไรต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นคนที่สร้างสรรค์สักแต่ว่าตื่นข่าว ตื่นเต้นแล้วเอามาพูดคุยเรื่องสนุก ๆ แล้วก็จบใช่ไหม เพราะฉะนั้นต้องพยายามหาจะแจ้งให้จริง อย่างเรียนภาษาอังกฤษนี่ เรียนไปคำนี้เจอแล้ว มันยังไงความหมายมัน หาความชัดเจนในความหมาย สิ่งที่เกี่ยวข้องก็พลอยชัดไปด้วย คำนี้อ่านว่าอย่างไร อ่านแล้วมีเสตทตรงไหน สะกดตัวอย่างไร ลองหลับตาดูซิ คำนี้สะกดได้ไหม ไม่ได้ก็ไม่ผ่าน เอากันให้มันจะแจ้งไปทุกอย่าง ๆ นี่คือเรื่องของการปฏิบัติต่อข่าวสารข้อมูลข้อแรกต้องหาความชัดเจน จนกระทั่งว่า โอ้ พอเขาพูดอะไรมาในเรื่องนั้นแล้วเรามองเห็นข้อความเนื้อหาชัดไปหมดเลยจะแจ้ง สามารถขยายความอธิบายในใจตัวเองได้ก่อน นี่แล้วน่ะ 1 ล่ะ นี่เรียกว่า อัถติสัมปฏิสัมพิทาน การแตกฉานในอรรถ ในเนื้อหา ในความหมาย ทีนี้ต่อไป
ข้อ 2 แน่พอเข้าสู่รายละเอียดมองเห็นรายละเอียดเนื้อหาชัดเจนแล้ว คราวนี้จับหลักจับประเด็นบ้าง อ่านไปทั้งหน้านี่ นอกจากเข้าใจแต่ละเรื่องที่พูดถึงชัดเจน แต่ละคำแต่ละชัดแล้ว ทีนี้จับความให้ได้ทั้งหน้าทั้งตอนนี้ทั้งหัวข้อนี้ว่า หน้านี้ หัวข้อนี้ บทนี้ ตอนนี้ ว่าด้วยเรื่องอะไร ประเด็นอยู่ที่ไหน จบเล่มแล้วก็พูดได้ว่า อ้อ หนังสือนี้ว่าด้วยเรื่องนี้ นี่ก็เป็นความชัดเจนอีกแบบหนึ่งนะ สำคัญกว่าอันที่ 1 อีก อันที่ 1 ง่ายกว่า แต่มันต้องเริ่มด้วยอันที่ 1 อันที่ 2 นี่จับหลักจับประเด็นได้ พอเราจับหลักจับประเด็นได้เท่านั้นแหละ หนังสือบทหนึ่ง ๆ ก็ตาม เล่มหนึ่ง ๆ ก็ตามนี่ จะจำง่าย ถ้าเราไปจำรายละเอียดทุกอย่างนี้ จำยาก เข้าใจชัดแล้วมันก็จำง่ายเยอะ ทีนี้จะจำให้ได้หมดยาก ถ้าเราจับหลักจับประเด็นได้ปั๊บนี่ สบายเลยคราวนี้ จำหนังสือทั้งเล่มก็จับได้ประเด็น 2 ประเด็น ตัวหลัก ๆ ทั้งหมดก็ได้ประเด็น อย่างนี้เวลาทวนหนังสือนะยังอ่านไปแล้วก็เข้าใจได้จับประเด็นได้หมดแหละ ถามตัวเองอ่ะ เอ้าตอนนี้บทนี้ว่าด้วยเรื่องอะไร มีอะไรเป็นประเด็นหลัก จบแล้วก็เข้าใจหมดที่นี้เวลาทวน ทวนนี้มองปราดเดียว เช่นว่าหัวข้อนี้เวลาทวนก็พอมองเห็นหัวข้อเราก็นึกออก อ้อเป็นสาระสำคัญมันอย่างนี้ ไม่ต้องไปอ่านอีกแล้ว ทุ่นเวลาหมดเลย อย่างนี้เราสามารถที่ว่าพูดแทนคนเขียนได้เลยใช่ไหม ว่าพอเห็นหัวข้อปั้บ หรือเห็นชื่อบทนี้ปั้บ ในใจมันตีออกไปได้หมดเลย เนื้อความว่าอย่างนี้สาระสำคัญจากสาระสำคัญอันนี้ประเด็นเป็นอย่างนี้ กระจายเนื้อความเป็นอย่างนี้ ๆ หมด บางทีอธิบายได้ดีกว่าหนังสือเล่มนั้นอีก เพราะเวลาเราอ่านเราเจอประเด็นข้อปลีกย่อยอะไร ที่เราต้องการความชัดเจน เราไปค้นไปคว้าอีกใช่ไหม นี่สบายไปเลย นะอันที่ 2 นี่สำคัญ ยิ่งกว่าข้อที่ 1 เรียกว่าธรรมะปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในหลัก เมื่อกี้ในเนื้อหาใช่ไหม ข้อที่ 1 ในอัตถะ ในข้อที่ 2 ในตัวหลัก ตัวหลักต้องจับประเด็นให้ได้
ฉะนั้นเวลามีข่าวสารอะไรเกิดขึ้นนี่ ถ้าใครจับประเด็นจับหลักได้นี่ คนนั้นเข้าถึงเรื่องได้รวดเร็ววินิจฉัยเรื่องได้ง่ายและแก้ไขปัญหาก็ได้ดี ทีนี้้ปัญหาสำหรับสังคมปัจจุบันนี้ก็คือความพล่า มีข่าวสารมากมายไม่รู้จริงสักอย่าง นี่ก็เป็นเรื่องยุ่งอีกแหละ ข่าวสารมากมายไม่ได้ดีสำหรับมนุษย์หรอก เพราะว่ามนุษย์ไม่มีความสามารถ ไม่ได้พัฒนาความสามารถที่จะมารับมือกับข่าวสารข้อมูลที่เจริญงอกงาม เพราะฉะนั้นมันเจริญไม่ทันกัน พัฒนาคนไม่ทันกับข่าวสารข้อมูล ฉะนั้นจึงไม่เป็นหลักประกันว่าจะมีข่าวสารข้อมูลมากแล้วคนจะมีสติปัญญาดีไม่ดีเป็นคนลุ่มหลงถูกหลอกง่ายขึ้น ทีนี้ยิ่งจับหลักจับประเด็นไม่ได้อีกคนก็ยิ่งสับสน รู้ไม่จริงแล้วแก้ปัญหาไม่ได้ ไม่รู้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นปัญหานั้นประเด็นนั้นมันอยู่ที่ไหน จุดของปัญหาอยู่ที่ไหน เถียงกันวุ่นวายทะเลาะกันอีก อย่างเวลานี้สังคมนี่ก็เป็นปัญหาเพราะว่ามันจับหลักจับประเด็นอะไรไม่ได้ปัญหาเกิดขึ้นก็จับจุดไม่ถูก อย่างปัญหาเรื่องพระศาสนาเกิดขึ้นจุดของปัญหาอยู่ที่ไหนประเด็นที่จะแก้คืออะไร มันก็พูดกันออกไปเรื่องปลีก ๆ ย่อย ๆ ปลีกฝอย ไม่ได้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาสังคม แก้ปัญหาพระศาสนาแก้ไม่ได้ มันจับจุดไม่ถูก ขาดนี่ ขาดปัญญา 2 ประการ นี่สองประการนี้เป็นฝ่ายรับนะ หนึ่ง ก็คือ ต้องแตกฉานในเนื้อหารายละเอียดเนื้อความเรื่องราวความเป็นไปชัดเจนแจ่มแจ้ง สอง ก็จับหลักจับประเด็นได้จับจุดของเรื่องได้ ก็ใช้ได้ทุกกรณี
อย่างที่ว่ายังเป็นนักเรียนฝึกไว้ดีที่สุดเลย ถ้าฝึกอย่างนี้แล้วการเล่าเรียนจะประสบความสำเร็จมาก แค่ 2 ข้อนี้ก็สบายเยอะเลย เพราะฉะนั้นหัดตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบตัวเอง ก็ทุกอย่างต้องผ่านไปด้วยความเข้าใจอย่างที่ว่าไม่ชัดเจนไม่ปล่อยผ่าน ต้องจับหลักให้แน่ จับประเด็นให้ได้ว่า ตอนนี้ บทนี้ เล่มนี้ ว่าด้วยเรื่องอะไร แม้แต่เวลาจะจำเนื้อความ เช่นว่ามีสิ่งที่ต้องท่อง 10 ข้อ ก็ใช้หลักนี้มาเป็นวิธีจำได้ มีสิ่งที่ต้องจำว่า 10 ข้อ แต่ละข้อนี่ยาวตั้งบรรทัด 1 2 บรรทัด ถ้าท่องทุกคำนี้คงเสียเวลาเยอะ ท่องอยู่นั่นว่าจะได้มันนาน ก็อ่านให้เข้าใจ ถ้าข้อนั้น ข้อ 1 อ่านเข้าใจแล้ว จับตัวแทนของข้อให้ได้คำหนึ่ง พอจับตัวแทนของข้อได้คำ หลับตามองจะทำขยายความทั้งข้อได้ ลองขยายดูก่อน ถ้าจับคำนี้ไว้ในใจ อ้อ ขยายความได้เต็มข้อใดอย่างนี้ จับคำที่เป็นตัวแทนของทั้งข้อได้ แล้วคำนี้จำไว้คำเดียว แล้วมองในใจตัวเองว่า อ้อคำนี้เราขยายความไปทั้งข้อ โดยบรรทัด 2 บรรทัดได้ เพราะเราได้แล้วแน่ใจจำคำเดียว ๆ ข้อละคำ ข้อละคำ หรือจับในข้อที่มันอาจจะมีหลายคำเป็นตัวแทนของข้อได้ เอาคำที่มันง่ายและอาจจะคล้องจองด้วย ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 จำ 10 คำ ได้ 10 ข้อ 20 บรรทัดสบายเลยใช่ไหม อย่างนี้ใช้หลัก ปฏิสัมภิทาปัญญา มาช่วยในการจำ ฉะนั้นคนที่มีหลักวิธีก็ไม่ต้องเสียเวลาท่องมากมาย อย่างที่ว่า10 ข้อ ก็ท่อง 10 คำพอ ถึงเวลาสอบก็ 10 คำขยายปึ้บ ๆ 1 2 3 4 5 6 8 9 10 เอาละครับ นี่ภาครับ ภาครับนี่ได้ปฏิสัมภิทา 2 ข้อสบายแล้ว หนึ่ง อรรถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในเนื้อหา สอง ธรรมะปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในหลัก ในตัวประเด็นในจุดของเรื่อง
ต่อไปทีนี้เป็นภาคใช้บ้างล่ะ เอ้าที่ก็ต่อไป
ข้อ 3 ภาคใช้เริ่มด้วย ปัญญาแตกฉานในการใช้ภาษา ในการรู้จักใช้ภาษามาสื่อสาร ต้องหัดพูดหัดเขียน เพื่อสื่อความต้องการของตนเองให้คนอื่นเข้าใจได้ สื่อความหมาย สื่อสาระ จนกระทั่งว่าสามารถชักจูงให้เขาเห็นตามตัวเองได้ อันนี้ก็เป็นเรื่องของความรู้จักการใช้ภาษา มีความสามารถเชิงภาษาในการใช้ภาษาสื่อสาร ก็อย่างน้อยก็ต้องบอกความต้องการของตัวเองให้ชัดเจน เริ่มต้นหลายคนจะประสบปัญหา เราต้องการจะพูดให้เขาเข้าใจอย่างนี้จะบอกความต้องการของตัวเองเสร็จแล้วนี่พูดให้เขาเข้าใจความต้องการของตัวเองไม่ได้ไม่ชัดเจน ก็ขาดข้อนี้ เป็นขาดปัญญาแตกฉานในภาษาหรือในการสื่อภาษา เอาว่าสื่อภาษาก็แล้วกัน ทีนี้นอกจากบอกความต้องการของตัวเองเข้าใจแล้วทีนี้ก็ต่อไปก็คือว่าอธิบายเรื่องราวให้เขาเข้าใจ และนี่ยากขึ้นไปอีก ทีนี้อธิบายเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่ายใช่ไหม แล้วก็สามารถชักจูงให้ตามเราได้ สามารถแบบนี้บางทีใช้ในทางเป็นโทษก็ได้ อยู่ที่เจตนา บางคนนี่พูดเก่งสามารถพูดชักจูงให้คนอื่นเห็นตามนี่ แต่ว่าเจตนาไม่ดี กลายเป็นว่าเอาคนอื่นเป็นเหยื่อไปเลยใช่ไหม แต่ว่าอันนี้เราพูดถึงความสามารถก่อน ส่วนที่จะใช้อย่างไรนั้นอยู่ที่คุณธรรมอื่นเป็นเหยื่อ แต่ว่าเราพูดความสารถก่อน ส่วนจะใช้อย่างไร อยู่ที่คุณธรรม ก็คือต้องมีเจตนาบริสุทธิ์หวังดี ต้องการให้เขาเห็นความจริง อันนี้ก็ข้อภาคใช้แล้วน่ะ แค่นี้คงจะเข้าใจไม่ยาก
ที่นี้ปัจจุบันคนจะมีปัญหาเรื่องข้อนี้ ก็คือว่าการฝึกในการสื่อภาษานี้น้อย เช่น ข้อสอบก็จะใช้วิธี ขึดถูกขีดผิด เลยไม่ได้สือภาษาเลย นี้ถ้าสอบโดยวิธีเขียนอธิบาย ก็จะมีโอกาสให้ฝึกได้เยอะ ต้องฝึกวิธีพูดวิธีใช้ถ้อยคำภาษาพูดจนกระทั่งเขาเข้าใจได้ ทีนี้ต่อไป
ข้อ 4 ภาคใช้ ที่สำคัญก็คือ 3 นิรุตติปฏิสัมภิทา นิรุตติก็สื่อภาษา ต่อไปก็ข้้อ 4 ปัญญาแตกฉานอีกขั้นหนึ่งนี่คือ ขั้นที่สามารถเอาความรู้ที่แล้วจากที่เราได้รับเข้ามาหลายเรื่องหลายราว คนละครั้ง คนละคราว หลายแหล่ง เราสามารถเอาข้อมูลความรู้เหล่านั้นมาเชื่อมมาโยงกันได้ สร้างเป็นความรู้ใหม่ เรียกว่าสร้างเป็นความหยั่งรู้ หยั่งเห็นใหม่ใช่ไหม แล้วก็เอามาใช้ประโยชน์ เช่น ในการแก้ปัญหาได้ตรงรู้ทันกับสถานการณ์ ทำให้เราแก้ปัญหาได้สำเร็จ หรือสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ อันนี้สำคัญอย่างยิ่งเลย อันนี้ถ้าเรารับก็ได้ เราก็รู้ตามที่เขาเขียนไว้แล้วเขาบอกไว้แล้ว ก็ได้แค่ตามเขา แต่ว่าเราไม่สามารถจะไปต่อใช่ไหม อันนี้เราสามารถสร้างสรรค์ต่อ เอาความรู้ที่คนอื่นเขาพูดมาแล้ว นี่เขาได้มาแค่นี้ เราเอาความรู้นี้ไปต่อไปเชื่อมกับเรื่องอื่นได้เป็นความรู้ขึ้นมาใหม่ ข้อ 4 นี่แหละที่เป็นปัญญาที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ แล้วทำให้เกิดแก้ปัญหาได้ เรียกว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในความคิดทันการ ก็สาระสำคัญ ก็คืออย่างที่ว่าสามารถจับเอาข้อมูลความรู้ที่ตนได้รับมาก่อนแล้วนั้นมาเชื่อมโยงกัน สร้างเป็นความหยั่งรู้หยั่งเห็นใหม่ใช้แก้ปัญหาและคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ ก็ครบแล้ว 4 ข้อ แต่ 2 ข้อหลังนี้เป็นภาคใช้งาน
ถ้าแค่นี้มีกันแล้วก็สบายแล้วอยู่ในยุคข่าวสารข้อมูล พอเลยใช่ไหม เรื่องอื่นก็เป็นตัวประกอบ อย่างเราอ่านหนังสือเล่มหนึ่งเนี่ย มันก็จะได้ไม่เท่ากัน บางคนอ่านหนังสือเล่มนี้ แค่จะเข้าใจตามที่เขาเขียนไว้ทั้งเล่มก็แทบจะไม่ไหวแล้ว คือเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง อ่านแล้วยังตามเขาไม่ได้ ยังไม่พอที่จะรู้ตามที่เขาบอก
บางคนอ่านแล้วรู้เข้าใจหมดที่เขาบอก แต่ก็หยุดแค่นั้น
บางคนนี้อ่านเข้าใจแล้วก็เกิดความคิดใหม่ ๆ จากการที่ได้อ่านหนังสือนี้กระตุ้นความคิดตัวเองขึ้นมาอีกเยอะแยะเลย
บางคนก็เอาไปเล่าให้คนอื่นฟังได้ สามารถเล่าเรื่องเนื้อความรายละเอียด สามารถจับประเด็นให้คนอื่นฟัง จับไปเล่าให้คนอื่นฟัง คนอื่นเข้าใจ
นอกจากนั้นก็สามารถเอาความรู้เนี่ยไปใช้ประโยชน์หรือไปเชื่อมโยงกับความรู้จากแหล่งอื่น ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหาและทำการใหม่ ๆ คิดสิ่งใหม่ ๆ แตกเป็นความรู้ในแง่มุมต่าง ๆ ออกไปเยอะแยะเลย อย่างที่ว่า อ่านหนังสือเล่มหนึ่งอาจจะเขียนหนังสือได้ 10 เล่ม อย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้นเรื่องของปัญญาแตกฉานนี้ จึงมีแตกฉานต่าง ๆ กันหลายอย่าง ก็ลองเอา 4 อย่างนี้ไปพิจารณาว่าไปอ่านหนังสือเล่มหนึ่งนี่คนจะต่างกันอย่างไร
ในข้อที่ 1 ก็ปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในเนื้อหา คนก็จะเข้าใจไม่เท่ากันแหละ บางคนเข้าใจนิด ๆ หน่อย ๆ บางคนเข้าใจชัดเจนหมดทั้งเล่ม
2 ธรรมะปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในหลักในตัวประเด็น บางคนก็พล่าไปหมด จับประเด็นไม่ได้ จับหลักไม่ได้ บางคนก็จับประเด็นได้ชัดเจน
3 ก็เอาไปสื่อสารจากสิ่งที่ตัวได้อ่านไปพดให้คนอื่นเข้าใจตามได้ ไปเล่าให้เขาฟังได้ จะเล่าลายละเอียดก็ได้ จะเล่าโดยสรุปจับความให้บอกประเด็นของสาระของเรื่องให้ฟังก็ได้ และสามารถเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์อย่างที่ว่าเป็น
ข้อ 4 ก็เป็นปัญญาที่มีความสำคัญ เรียกว่า ปฏิสัมภิทาปัญญา อันนี้อาจจะใกล้ตัวของเรามากขึ้น พูดถึงเรื่องฌานเมื่อเช้า ฌาน 16 นี่ก็สำคัญแต่ว่าในชีวิตประจำวัน เราอาจจะไม่เกี่ยว ปฏิสัมภิทานี้ได้ประโยชน์มาก อย่างพวกเด็กนักเรียนต่าง ๆ นี่ก็น่าจะได้รับการฝึกหัดให้ดี อย่างที่บอกแล้วว่าในยุคปัจจุบันยุคข่าวสารข้อมูล 4 ข้อนี้จะเป็นประโยชน์มาก ก็เป็นว่าจบน่ะครับ ปฏิสัมภิทา 4 ปัญญาแตกฉาน 4 ประการ แยกเป็นรับ 2 คือ 1 อัตปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในเนื้อหา 2 ธรรมะสัมภิทา เนื้อหาธรรมะปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในตัวหลัก เป็นภาคใช้การ 2, 3 คือข้อ 3 นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในการสื่อภาษา และก็ 4 ปฏิสัมภิทาปัญญาแตกฉานในความคิดทันการ ก็จบเท่านี้ก่อน ถ้างั้นวันนี้ก็เอาเท่านี้ก่อนนะครับ