แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
(1)
คนฟังถาม ศีล 5 ที่พระสมเด็จพระคุณอาจารย์ ได้อธิบายว่าทั้งหมดมี 2 คู่ เอาสติเป็นตัวกลาง งั้นผมจะเสนอให้ท่านพิจารณาว่าในกรณีในแง่มี 2 คู่แล้วมีสติเป็นตัวควบคุมแล้ว ถ้าเรามองในแง่ระดับขั้นนี้เป็นไปได้ไหมว่าศรัทธาเกิด วิริยะเกิด สติสมาธิจะนำไปสู่ปัญญา
พระตอบ ก็เวลาทำงานมันก็หนุนกันอยู่ตลอด มันหนุนกันถ้าเราไปมองในแง่ลำดับมันจะไปอยู่ในชุดอื่นมากกว่า ชุดนี้มันมุ่งในการมาทำงานประสาน มาช่วยหนุนกัน แต่ว่าอย่างที่เราพูดแล้วศรัทธาก็หนุนปัญญา ศรัทธาเป็นเบื้องต้น ปัญญาเป็นที่ฝึก แต่ว่าในแง่นี้เราต้องการมองในแง่ของการทำงานประสานกัน จึงได้มามองในแง่ความสม่ำเสมอพอดีมากกว่า ถ้ามองในแง่นั้นก็จะไม่เห็นลำดับในชุดอื่น อย่างเช่นโพชฌงค์นี่ นั่นจะทำงานลำดับ
เอานะทีนี้วันนี้ก็พูดเป็นเกร็ดความรู้ดีกว่าไม่ต้องถือเป็นเรื่องนักหนาจริงจังเดี๋ยวจะรู้สึกว่ายาก คือถ้าให้มองเป็นเรื่องผ่าน ๆ อย่างน้อยว่า อ้อก็ได้เคยได้ยินแล้วเรื่องนี้อะไรก็ยังดี ความจริงมันอาจจะเป็นเรื่องที่ไว้ศึกษาในอีกระดับหนึ่ง แต่ว่าเมื่อเรื่องมาเกี่ยวข้องแล้วก็เลยพูดถึงซะ นี่พูดถึงเรื่องปัญญาเนี่ย เราว่ามาตามลำดับเรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องการทำงานประสานกันในระบบการพัฒนาคนก็พูดมาหมดแล้ว ทีนี้แต่ละอย่าง ละอย่างนี้เราก็มาพูดรายละเอียดกันบางส่วนในข้อที่ควรทราบ ศีลก็พูดไปแล้ว สมาธิก็พูดไป ปัญญาก็เริ่มบ้างแล้ว นี้ปัญญาก็มาพูดเพิ่มเติมหน่อย ก็เคยบอกไว้แล้วว่าปัญญาเนี่ย ก็มีหลายระดับหลายขั้น ตั้งแต่การรับรู้เลย พอเห็นได้ยินก็ทำไงจะเกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เห็นได้ยินเป็นต้น แล้วก็รู้ตามเป็นจริง รับรู้โดยไม่ถูกเจ้าตัวอกุศลเข้ามาครอบงำ อย่างเช่น ความชอบใจไม่ชอบใจ อย่างที่ว่าทำไงจะรับรู้ให้ชอบใจไม่ชอบใจ แต่ว่ารับรู้ด้วยปัญญา รับรู้ด้วยมองตามเหตุปัจจัยเป็นต้น แค่นี้ก็อยากแล้ว
เมื่อเวลาคิดพิจารณาวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ทำอย่างไงจะวินิฉัยตัดสินไป โดยความรู้ตามสภาวะหรือตามความเป็นจริงแท้ ๆ ไม่ใช่มีกิเลสโลภะโทสะโมหะเข้ามาครอบงำ ถ้าโลภะความอยากได้ผลประโยชน์ส่วนตัว โทสะความขัดเคือง เกียจชังเข้ามาครอบงำ การวินิฉัยสิ่งต่าง ๆ ก็เกิดอคติเอนเอียง มันก็ไปมีเรื่องอคติอีก ถ้ามีอคติเข้ามาปัญญามันก็ไม่บริสุทธิ์มันก็ไม่เป็นปัญญาแท้ ๆ นอกจากนั้นมีปัญญาที่รู้ลึกซึ้งเข้าไปไปอีก เรื่องวิเคราะห์แยกแยะสิ่งต่าง ๆ ออกไปให้เห็นชัดนอกจากว่าสิ่งนั้นคืออะไรแล้ว ยังว่าประกอบด้วยอะไรเป็นอย่างไร นอกจากนั้นยังมีปัญญาที่รู้เหตุปัจจัยสืบค้นสืบสาว ว่าที่เป็นอย่างนี้เป็นเพราะอะไร มีอะไรก่อนจึงมีอันนี้ หรือการที่สิ่งนี้มีขึ้นต้องอาศัยปัจจัยร่วมอะไรบ้าง ทำให้มองโยงความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ เป็นระบบไปเลย อันนี้ก็ทำให้เข้าใจธรรมชาติกว้างขวางออกไป แล้วก็เอาความรู้นั้นมาเชื่อมมาโยงสามารถที่จะใช้ความรู้หรือข้อมูลเก่า ๆ ความเข้าใจเก่า ๆ มาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันในการแก้ปัญหาตลอดจนกระทั่งคิดเชื่อมโยงความรู้นั้นมาสร้างเป็นความรู้ใหม่ ๆ สร้างสรรค์ทำสิ่งใหม่ ๆ ได้ ตลอดจนกระทั่งรู้โยงความจริงของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติได้ทั่วถึง เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งในสังขารทั้งปวง หรือโลกและชีวิตทั้งหมดมองเห็น เป็นความหยั่งรู้หยั่งเห็นเข้าถึงแก่นความจริงของสิ่งทั้งหลาย หรือความจริงที่ครอบคลุมสิ่งทั้งหมดทำให้ปลดเปลื้องจิตเป็นอิสระได้ นี่ปัญญามีหลายขั้นหลายระดับหลายแง่เหลือเกิน หรือเราอาจจะแยกสั้น ๆ จากความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวกิจการของมนุษย์ที่เป็นเรื่องสมมติที่จะทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ทำกิจการงานต่าง ๆ ได้สำเร็จ เช่น รู้วิชาการต่าง ๆ แลัวก็รู้ไปถึงตัวสภาวะธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องหลังของสมมตินั้น อยู่เบื้องหลังเขาการที่มนุษย์จะเอามาใช้ประโยชน์ ก็คือตัวความจริงแท้ของสิ่งเหล่านั้น รู้ถึงการเชื่อมโยงระหว่างความจริงแท้ของสิ่งทั้งหลายกับการที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ว่า ความรู้ 2 ระดับนี้มันก็ต้องเชื่อมโยงอาศัยกัน
ปัญญาเยอะแยะเลยเกินเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ทีนี้ปัญญา คำว่าปัญญานะเป็นคำร่วม เป็นคำที่กว้างที่สุด แต่เรื่องของปัญญานั้นเพราะเหตุที่มีหลายด้านหลายระดับหลายแง่ ก็เลยมีชื่อเรียกจำเฉพาะออกไปะเยอะแยะ ชื่อเหล่านั้นมักจะเป็นชื่อที่ใช้เรียกปัญญาที่ทำงานในหน้าที่จำพาะ จำเพาะไป ฉะนั้นเราจะได้ยินคำอื่น ที่มีความหมายเป็นปัญญานี่อีกเยอะ แต่ก็ต้องทำความเข้าใจอย่างที่พูดไปแล้วย้ำว่าปัญญาเป็นคำที่กว้างที่สุด ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจและใช้ปัญญานี้ครอบคลุมหมดทุกระดับ ใช้ตั้งแต่ชั้นโลกีย์จนถึงโลกุตระเลย อันนี้พอเราไปพูดถึงเรื่องปัญญาในชื่ออื่น ๆ เนี่ยมักจะเป็นชื่อที่ใช้จำกัด ปัญญาที่มีชื่อจำกัด ใช้เฉพาะกรณีหรือใช้เฉพาะการทำหน้าที่บางอย่างของปัญญา ก็จะยกตัวอย่างมาให้ฟัง อย่างที่พูดไปแล้วเช่นคำว่าสัมปชัญญะ ก็อธิบายไปแล้วต่างกับปัญญาอย่างไร ที่จริงไม่ใช่ต่างกับปัญญาเป็นเพียงปัญญาที่ทำหน้าที่ในกรณีหนึ่งเราเรียกชื่อว่าอย่างนี้ คำว่าปัญญานั้นคลุมหมด นี่ผมจะยกตัวอย่างมาให้ฟังชื่อปัญญา ถ้าขืนมานึกได้เวลาสั้น ๆ นึกไม่ไหว เพราะฉะนั้นก็เลยเอาเขียนมาให้เลย ลองฟังดูที่บอกเป็นเกร็ดความรู้ จะได้เห็นว่าปัญญานี่ชื่อมันเยอะเหลือเกิน
แล้วก็มีทั้งชื่อที่นำเข้ามาใช้ในภาษาไทยจนเป็นคำไทยไปแล้วก็มี เป็นชื่อที่คนไทยไม่คุ้นก็มี ก็จะได้ยิน
ชื่อที่คุ้น ๆ ก็มีเยอะเช่น ปัญญา วิชา พุทธิ โพธิ ญาณ วิปัสสนา วิจัย วิมังสา สัมปชัญญะ ปฏิภาณ อโมหะ สัมมาทิฏฐิ โกศล ปฏิสัมภิทา นี่น่ะ เอ้า นอกจากนี้ยังมีอีกนะชักได้ยินน้อยลงไป เมทา มันตา โยนิ ปันดา เนปะกะ วิจราณา ธี ที่มีคำว่าธีระ จากคำว่า ธีนิ่มาเป็นคนเป็นธีระ ตัวธีนั้นเป็นปัญญา หรืออย่างเมทาเป็นปัญญา แต่พอเป็นเมทีเป็นคนมีปัญญา และอีกคำก็คือคำว่า เวทะ ของพราหมณ์เขาไปใช้เรียกคัมภีร์ พระเวท เวทะตัวนี้แปลว่าปัญญาเป็นความรู้ เป็นคนก็เป็นเวที ยังมีอีก มะติ มุติ ภูริ เนปุณยะ เนปะกะ จินตา เวพะพายา อุปริขา ปรินายิกาเป็นต้น หลายชื่อคิดว่าท่านคงยังไม่เคยได้ยินเลยใช่ไหม แต่หลายคำพวกที่หนึ่งเป็นคำที่จะคุ้นมากหน่อย ทั้งที่มาใช้ในภาษาไทยแล้วในวงการธรรมะ และกลุ่มที่ 2 นี่ได้ยินน้อยลง กลุ่มที่ 3 นี้แทบไม่ได้ยินเลย
ก็มี กลุ่มที่หนึ่ก็มี ปัญญา วิทชา พุฒิ โพธิ ญาณ วิปัสสนา วิจัย วิมังสา ที่จริงบาลีเป็นวีมังสา สัมปชัญญะ ปฏิภาณ อโมหะ สัมมาทิฏฐิ โกศล ปฏิสัมภิทา เวทะ หรือเวท ที่เป็นคนเป็นเวที เมทาเป็นคนเป็นเมที มันตา โยนิ ปันดา ปันดาเป็นคนเป็นบัณฑิต เนปะกะ วิจารณา ธี คนเป็นธีระ มติ มุติ ภูริ เนปุนยะ เวพะพายา จินตา อุปาริขา ปะริยานิกา
ทีนี้ที่ท่าน สุรเดช ถามอุเบกขา นั้นมันเป็นสภาพจิตที่อาศัยปัญญาอีกที มีปัญญาแล้วจึงเกิดสภาพจิตนี้ได้ ไม่ใช่ตัวปัญญาน่ะ อันนี้ต้องแยกกันให้ดี เพราะสภาพจิตบางอย่างต้องอาศัยปัญญา ปัญญาก็มาปรับสภาพจิต อันนี้ก็อุเบกขาก็ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญา คือ อัญญานุเบกขาก็เป็นปัญญา เฉยโง่อย่างที่เคยพูดไปแล้ว เฉยไม่รู้เรื่อง เป็นอกุศล
(2)
คนฟังถาม แล้ววุมิตล่ะครับ
พระตอบ วิมุตเป็นเรื่องของอาการพ้นไปของจิตจากกิเลส แต่วิมุตนั่นเป็นมรรคก็ได้ เป็นผลก็ได้ เป็นนิพพานก็ได้ แล้วแต่จะแปล แปลมรรคก็คือการที่หลุดพ้นไปได้จากกิเลส เป็นมรรค วิมุติเป็นผลคือภาวะที่ได้หลุดพ้นจากกิเลส แล้วเป็นนิพพานหมายถึงภาวะที่คนเข้าถึงเมื่อจิตหลุด แปลได้หลายอย่าง
เอ้าทีนี้กลับมาเรื่องปัญญา เดี๋ยวจะสับสนเรื่องอื่นเอาไว้ก่อน เพราะเหตุที่ปัญญามีหลายชื่อเนี่ย เราจึงต้องได้หลักการเข้าคร่าว ๆ เอาน่ะปัญญานี้เป็นคำกว้างที่สุดครอบคลุมหมด แล้วก็จะไปเรียกชื่ออะไรเราก็ไปดูอีก บางคำมันก็เป็นคำที่สงวนไว้ใช้สำหรับในกรณีพิเศษจริง ๆ อย่าโพธิ อย่างนี้ หมายถึงการตรัสรู้เลย ทั้งที่ว่าโดยตัวศัพท์มันก็ไม่ได้ต่างอะไรกับคำว่าพุฒิ พุฒิโพธิ นี่ตัวรากศัพท์ก็ตัวเดียวกัน จากบาลีท่านเรียกว่าธาตุ ธาตุก็คือตัวรากศัพท์ ก็พุทธะ พุทธทาสคำเดียวกัน แล้วพอมาทำตามไวยากรณ์ออกมาเป็นพุทิตัวหนึ่ง ออกมาเป็นโพธิตัวหนึ่ง แต่ใช้ในความหมายไม่เหมือนกันแหละใช่ไหม โพธินี่มุ่งเอาปัญญาปรีชาญาณสูงสุดตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พุทธินี่ใช้ได้กับคนทั่วไปความเข้าใจรู้เหตุรู้ผลยังงี้น่ะ อันนี้เป็นเรื่องของ บางทีก็เป็นเรื่องความนิยมหรือการที่ว่าได้ใช้จนกระทั่งว่ามีความหมายจำกัดเฉพาะ เป็นเรื่องของความหมายของศัพท์นี่มันเกิดจากเหตุหลายอย่าง บางทีก็ตัวศัพท์เองมันแสดงความหมายไปด้วย ก็ขอให้นึกเทียบอย่างคำว่าเดิน คำว่าเดินอาจจะมีศัพท์อื่นอีกเยอะ ก้าว ย่าง ย่อง ยุรยาตร เยื้องย่าง ดำเนินใช่ไหม ยังมีราชดำเนิน พุทธดำเนิน นวยนาด อะไรต่าง ๆ อีก คำว่าปัญญานี้ก็ถ้าเทียบกับรูปธรรม คล้าย ๆ คำว่าเดิน เป็นคำที่กว้างที่สุด ทีนี้คำอื่นบางคำก็เป็นเพียงอาการส่วนหนึ่งของการเดิน เช่น จะเดินก็ต้องมีการก้าว ใช่ไหม ก้าวก็เป็นส่วนหนึ่งของการเดิน ย่างก็เป็นส่วนของการเดินใช่ไหม หรืออย่าง ย่องก็เป็นการเดินชนิดหนึ่ง หรือว่าเยื้องย่างเป็นอาการเดินอีกแบบหนึ่ง ยุรยาตรก็ไปอีกอย่าง ดำเนินกับเดินก็ตัวเดียวกัน เพียงแต่แผลงเดินเป็นดำเนิน แต่เวลาใช้ในกรณีจะควรใช้เดิน ก็ใช้เดินไปใช้ดำเนิน มันก็รู้สึกไม่เข้ากันใช่ไหม เนี่ยอย่างนี้เป็นต้น เรื่องปัญญาที่มีชื่อต่าง ๆ มันมีเหตุผลหลายอย่าง เอาเป็นว่าปัญญากว้างที่สุดเหมือนคำว่าเดิน ที่นี้บางคำก็เหมือนกับคำก็เหมือนว่าก้าว บางคำก็เหมือนว่าย่าง บางคำก็เหมือนย่อง อะไรอย่างนี้น่ะ เอาน่ะคิดว่าเข้าใจ ทีนี้เมื่อรู้แนวกว้าง ๆ นี้แล้ว เราก็อาจจะยกตัวอย่างบางคำมาพูดกัน ที่ยกตัวอย่างไปแล้วก็สัมปชัญญะใช่ไหม ที่อธิบายไปแล้วว่ามันเป็นปัญญาที่ใช้ในกรณีอย่างไร
ทีนี้วันนั้นท่านไพบูลย์ ถามเรื่อง ปัญญากับญาณ อันนี้ก็น่ารู้เหมือนกัน ปัญญากับญาณ ก็เป็นอันว่าญานเป็นชื่อหนึ่งของปัญญา แต่เป็นปัญญาที่ทำหน้าที่สำเร็จผลในเรื่องนั้น ๆ ปัญญาคำกว้าง ๆ ความรู้ความเข้าใจมันก็ทำงานไปรู้เข้าใจไป เรื่อง ๆ ต่าง ๆ แต่ญาณนี่หมายถึงปัญญาที่ทำงานสำเร็จผลเป็นเรื่อง ๆ ไปเลย อย่างอตีตังสญาณ ญาณกำหนดรู้ส่วนอดีต เห็นไหม หยั่งรู้ส่วนอดีตนี้ปัญญาทำงานสำเร็จผลในเรื่องนั้นคือในเรื่องส่วนอดีต หรืออย่าง นามะรูปังปริจเฉทญาณ ญานกำหนดแยกนามและรูปได้ นี่หมายความว่าเป็นปัญญาที่ทำงานสำเร็จผลเป็นเรื่อง ในเรื่องนามรูปนี่ โอ้รู้เลยว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนามแยกได้ หรือปัจจยปริคาญาน ญาณที่กำหนดจับปัจจัยของนามรูปได้ โอ้รู้ว่านามรูปเกิดเพราะอะไร นามอันนี้มีเพราะปัจจัยอะไร มีอะไรเป็นเหตุปัจจัย รูปอันนี้เกิดจากอะไร อะไรอย่างนี้ นักสืบต่อมายังไงนี่ ญาณก็เป็นความรู้เป็นปัญญาที่ทำหน้าที่ทำงานสำเร็จในเรื่องนั้น ก็เราจึงมีญาณเยอะแยะไปหมด ตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นญาณ ญาณอย่างหนึ่ง ๆ ๆ จนกระทั่งไปถึงโพธิญาณนี่ คือปัญญาที่ทำงานในการตรัสรู้สัจธรรมสำเร็จใช่ไหม หรือว่า อาสวักขยญาณ ปัญญาที่หยั่งรู้ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวัก หรือรู้ถึงการที่จะทำอาสวักให้สิ้นไปได้ใช่ไหม เป็นเรื่องว่าไปเรื่อง ๆ ไปเลย เราจึงเห็นว่าโดยมากจะมีคำนำหน้า ว่าเป็นญานในเรื่องอะไร แล้วก็จำกัดไปเรื่องนั้น ๆ เข้าใจแล้วน่ะ
นี้พูดถึงญาณอย่างนี้แล้ว เลยยกตัวอย่างให้เห็นเยอะแยะ อย่างวิปัสสนาญาณ 9 พอดีเมื่อคืนวันนั้นก็คนที่ขับรถแท็กซี่มาก็ถามถึงเรื่องของการสอบอารมณ์ซึ่งเป็นคำไทย สอบอารมณ์เขาก็จะดูว่าผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนานั้น ได้ปฏิบัติก้าวหน้าสำเร็จไปได้ญาณลำดับไหน ก็จะดูลำดับญาณที่ได้บรรลุ อันนี้ลำดับญาณตามปกติก็จะใช้หลักใหญ่คือหลักวิปัสสนาญาณ 9 แต่วิปัสสนาญาณ 9 นี่มันมีความจำกัดอยู่ในระดับที่สำคัญมาก ทีนี้อยากจะวัดให้มันได้ลงมาถึงต่ำ ๆ กว่านั้นวิปัสสนาญาณ 9 ก็จะอยู่ในระดับที่เรียกว่า ไม่พอ คือมันสูงเกินไป ฉะนั้นก็หาญาณที่มันต่ำลงมาช่วยวัดอีก ก็เลยเอามารวมกันได้ 16 ญาณ เรียกว่า ญาณโสฬส เรียกเต็ม เรียกแบบบาลีก็ โสฬสญาณ ญาณ 16 สำหรับสายวิปัสสนา สำนักต่าง ๆ มักชอบเอาหลักญาน 16 นี่ มาใช้วัดความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติวิปัสสนา เพราะวิปัสสนานี่เป็นเรื่องของปัญญา เมื่อกี้บอกแล้ววิปัสสนาเป็นชื่อหนึ่งของปัญญา แปลตามตัวก็แปลว่าการเห็นแจ้ง หมายถึงปัญญาที่เห็นแจ้งความจริงของสังขารทั้งหลายของทุกสิ่งทุกอย่างเห็นความจริงของธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ได้แก่พระไตรลักษณ์เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา นี่วิปัสสนาเป็นปัญญาประเภทนี้ ทีนี้ในวิปัสสนาจะมีการก้าวไปขั้น ๆ ๆ ๆ เยอะเลย แล้วก็จะมีญานของวิปัสสนา ที่เรียกว่าวิปัสสนาญาณ ซึ่งมีพระอรรถกถาจารย์รวมไว้ 9 อย่าง ซึ่งในพระไตรปิฎกท่านก็ไม่ได้มาจัดไว้อย่างนี้หรอก ท่านก็ไปรวมมาจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ปฏิสัมภิทามะก็เป็นพระไตรปิฏกเหมือนกัน แต่หมายความว่าในพระไตรปิฏกท่านไม่ได้มาจัดเป็นชุดไว้ ท่านเพียงแต่ว่าบอกหัวข้อไว้ชื่อญาณในบทแรกของคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคจะว่าด้วยเรื่องญาณต่าง ๆ มากมายเต็มไปหมด ท่านให้หัวข้อชื่อญาณไว้มากมาย นี้พระอาจารย์รุ่นพระอรรถกถานี่ก็คงจะสืบมาตามสายการสอนของครูอาจารย์ ก็มาจัดเป็นวิปัสสนาญาณ 9 จับเอาจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งมีอยู่ในหน้าที่ 1 เลย เริ่มต้นท่านขึ้นมา เรื่องญาณท่านก็บอกว่า ชื่อญาณนั้น ญาณนั้นเยอะแยะไปหมด ท่านก็จับมา 9 อัน ว่าเป็นญาณในวิปัสสนาน่ะ ทีนี้ในคัมภีร์รุ่นหลังมาอีก ในวิสุทธิมรรคจับได้มาเป็น 9 วิปัสสนาญาณ 9 พอมาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ จับเอามาเพิ่มก็เอาจากปฏิสัมภิทามามรรคนั่นแหล่ะ วิสุทธิมะเอามาแค่ 9 อภิธัมมัตถสังคหะเอามาอีก 10 เอามาอีกตัวหนึ่ง เอามาอันต้นอันก่อน ก่อนของวิปัสสนาญาณ 9 ก็เลยในอภิธัมมัตสังคหะเป็นวิปัสสนาญาณ 10 ไม่เป็น 9 แล้ว ทีนี้พอมาอาจารย์รุ่นหลังอีกต้องการจะมาตรวจสอบวัดลูกศิษย์ อยากให้ได้ขั้นต้น ๆ เพราะกว่าจะถึงวิปัสสนาญาณที่พระพุทธโฆษาจารย์ในวิสุทธิมรรคว่าไว้นี่ มันต้องขึ้นไปขั้นสูงหน่อย ก็เลยมาเอาที่ต่ำ ๆ กว่า รวมแล้วเลยทั้งก่อนทั้งวิปัสสนาญาณ 9 แล้วไปนับเอาหลังวิปัสสนาญาน 9 สูงเข้าไปอีก รวมเป็น 16 ที่ว่าเมื่อกี้ เพิ่มก็อีก 7 ญาน ก็เป็นญาน 16 ตอนนี้ไม่เรียกวิปัสสนาญาน เรียกญานเฉย ๆ เรียกญาน 16 เรียกเป็นไทยง่าย ๆ ว่า ญาณโสฬส หรือโสฬสญาณ โสฬสก็แปลว่า 16 นั่นเอง ก็มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบความก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนา อันนี้ก็เป็นความรู้พิเศษอย่างที่ว่า ท่านอย่าไปเอาจริงเอาจังนัก เพราะมันยาก ที่นี้ให้ยินก็ผ่านไว้
นี้ก็เรื่องของการปฏิบัติวิปัสสนานี่มาในพระไตรปิฎกแท้ ๆ ว่าเป็นลำดับไปเลยในการปฏิบัติ ท่านเรียกวิสุทธิ 7 ใครเคยได้ยินบ้างวิสุทธิที่ 7 วิสุทธิ 7 เป็นหลักของคัมภีร์วิสุทธิมรรคเลย วิสุทธิมรรคแปลว่าทางแห่งความบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นอย่าใช้หลักวิสุทธิ7 เป็นหลักของคัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่นี้ วิสุทธิ 7 นี้ก็เป็นหลักธรรมที่มาในพระสูตร เป็นพระสูตรหนึ่งเลย ทีนี้ในพระสูตรนี้กล่าวถึงลำดับแห่งการปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์ ก็เป็นความบริสุทธิ์ในแต่ละขั้น ก็ฟังไว้เราจะเห็นความสัมพันธ์ในไตรสิกขาด้วย ไตรสิกขามีศีลสมาธิปัญญาใช่ไหม เอาล่ะมาดูกัน วิสุทธิ 7 เราจะเห็นว่านี่ไตรสิกขาไปขยายเป็นวิสุทธิ 7 ก็ได้ วิสุทธิ 7 ก็มี 1 สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีลนี่เห็นไหม เมื่อเจริญไตรสิกขาอันแรกก็เจริญเรื่องศีล ก็ได้สสีลวิสุทธิความบริสุทธิแห่งศีล เสร็จแล้วต่อไปอันที่ 2 เรียกว่าจิตตวิสุทธิความบริสุทธิ์แห่งจิต อันนี้ได้สมาธิแล้ว ต่อไปอีก 5 วิสุทธิปัญญาหมดเลยนี่ เห็นไหมเรื่องปัญญาเรื่องใหญ่ สิลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ศีลสมาธิ ไปแล้ว ต่อจากนี้เป็นเรื่องปัญญานี้กว้างขวางเหลือเกินอีก 5 ขั้น ก็มีอะไร มี ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ เกิดความรู้ความเข้าใจ เห็นถูกต้องแล้วเป็นสัมมาทิฏฐิจริงตอนนี้ ต่อไปอะไร แต่ไปจากวิสุทธิ ก็ไปกังขาวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาที่ทำให้ข้ามพ้นความสงสัยได้ ตอนทิฏฐินี้ถูกแล้ว เข้าหลักแล้วถูกหลัก แต่ตัวเองก็ยังไม่หมดความสงสัย ปัญญาได้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นต่อมา ก็กังขาวินตรณวิสุทธิเป็นความบริสุทธิแห่งปัญญาที่ข้ามพ้นความสงสัยได้ กังขาวิตรณวิสุทธิ์ ต่อจากนั้นไปอีก มคามรรคญาณ ทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาที่มองเห็นว่าอะไร เป็นทางแล้วมิใช่ทาง เป็นมรรคหรือมิใช่มรรค อันนี้ทางหรือมิใช่ทาง นี่แยกแล้ว ตอนนี้จะเดินทางเข้าทางที่ถูกต้องมาผ่านขึ้นที่ว่าแยกผิดแยกถูกได้
ต่อไปก็ปฏิบัติปทาญาณทัศนะวิสุทธิตอนนี้เป็นความบริสุทธิ์แห่งปัญญาความหยั่งรู้หยั่งเห็นที่เป็นตัวทางแล้วเข้าทางแล้ว ทีนี้เห็นทางเลย เมื่อกี้มันแยกทางผิดทางถูกทาง ทางหรือไม่ใช่ทางเข้านี้ ทีนี้เข้าทางเลย เห็นรู้ว่าเป็นปฏิปทาเป็นทางเป็นตัวทางที่จะถึงนิพพานแท้ ต่อจากปฏิปทาญาณทัศนะสุทธิ ก็ถึงข้อสุดท้าย ก็เหลือแค่ญานทัสสนวิสุทธิ แปลว่าความหมดจดแห่งปัญญาที่หยั่งรู้หยั่งเห็น ก็หมายถึงหยั่งรู้หยั่งเห็นสัจธรรมเลย คราวนี้ถึงนิพพานเลย เมื่อกี้นี้เป็นทาง ทางนี้เป็นตัว ตัวความรู้ที่เป็นญาน เป็นโพธิเลย เอาน่ะนี่เป็น 7 อย่าง เรียกว่าวิสุทธิ การปฏิบัติเราเรียกวิปัสสนานี่ ซึ่งที่จริงในกรณีนี้ไม่ใช่เฉพาะวิปัสสนาแล้วมันหมดเลยกระบวนการปฏิบัติทั้งหมด จนกระทั่งบรรลุนิพพานอยู่ในวิสุทธิ 7 แล้วครอบคลุมไตรสิกขา แต่ว่าจะเห็นชัดว่าขั้นตอนสำคัญอยู่ที่ปัญญา ซึ่งมีตั้ง 5 ขั้นตอน ทีนี้ 5 ขั้นตอนของวิสูตรที่ 7 นี่แหละ พอได้ศีลและวิสุทธิ ศีลหมดจดแล้ว จิตตวิสุทธิ จิตหมดจดแล้วได้สมาธิดีแล้ว ต่อจากนี้เป็นขั้นปัญญา พอเริ่มขั้นปัญญาทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้นไปตอนนี้จะเกิดญาณต่าง ๆ ญาณคือความหยั่งรู้ที่จะทำให้ได้เป็นวิสุทธิชั้นนั้น ๆ เพราะฉะนั้นเรื่องญาณต่าง ๆ ก็จะมาในวิสุทธิ ตั้งแต่ทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้นไป
ทีนี้พระอาจารย์ท่านก็ไปรวบรวมญาณที่ท่านบอกไว้ในหนังสือคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคที่ผมพูดเมื่อกี้อยู่ในพระไตรปิฎกนะ ซึ่งรู้กันว่าเป็นคัมภีร์ที่พระสารีบุตรแต่ง อันนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแต่ง พระสารีบุตรก็เรียนมาจากพระพุทธเจ้า เพราะท่านมีปัญญาปราดเปรื่องมากเป็นคัมภีร์ของพระสารีบุตรในพระไตรปิฎก มีคัมภีร์ของพระสารีบุตรแท้ ๆ อยู่ตั้ง 3 คัมภีร์ ปฏิสัมภิทามรรค นิเทศ มหานิเทศ จุลนิเทศ นี่เป็นคัมภีร์พระสารีบุตรหมด เป็นการอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้ง นอกจากนั้นยังมีพระสูตรที่พระสารีบุตรกล่าวก็ต่างหากในที่อื่น ๆ แต่ว่าเฉพาะที่เป็นทั้งคัมภีร์เป็นเล่ม ๆ เลย เป็นล้วน ๆ ของพระสารีบุตร ที่ปฏิสัมภิทามรรคก็อยู่ในพระไตรปิฏก เล่มที่ 31 อันนี้หน้าแรกบอกแล้วมีชื่อญานต่าง ๆ
ทีนี้พระอาจารย์รุ่นหลังท่านก็ไปเอาชื่อญาณเหล่านี้มา แล้วก็มาจัดระบบให้เห็นในการปฏิบัติอย่างที่ผมพูดเมื่อกี้ อันนี้ญาณที่ท่านเอามาใช้เนี่ยที่ว่าโสฬสญาณ ญาณ 16 ก็เริ่มเกิดตั้งแต่ทิฏฐิวิสุทธิ การที่ทิฏฐิจะวิสุทธิจะเกิดความหมดจดแห่งทิฏฐิก็เพราะเกิดญาณปัญญาที่ทำงานสำเร็จในเรื่องหนึ่ง สำเร็จในเรื่องอะไรล่ะ ญาณ 16 ก็เริ่มตั้งแต่ทิฏฐิวิสุทธิที่จะทำให้เกิดทิฏฐิวิสุทธิ คือ นามะรูปะภิเฉทญาน นี่แปลว่าญาณที่กำหนดแยกนามและรูปได้ ปริเฉทกำหนด กำหนดแยกให้เห็นอย่างน้อยเริ่มต้นก็รู้ว่า โอ้นี่สิ่งทั้งหลายบรรดามีที่เรารู้เห็นชีวิตคน นาย ก นาย ข ต้นไม้อะไรต่าง ๆ มันไม่มีอะไรหรอกมันมีเพียงนามรูปเท่านั้น เป็นสภาวะตามธรรมชาติมีเพียงนามรูป ลองดูซิอะไรต่ออะไรในโลกนี้ เอ้าไม่เป็นนามก็เป็นรูป พอรู้อย่างนี้แล้วก็แยกได้ซิ อันนี้เป็นนาม อันนี้เป็นรูปใช่ไหม เช่นอย่างที่ผมยกตัวอย่างคืนนั้นบอกว่า พอเรามองเห็นอะไรตัวจากจขุปสาทตาที่เรามองเห็นเมฆเป็นรูปธรรมใช่ไหม แล้วก็สิ่งที่เรามองเห็นก็เป็นรูปธรรม ส่วนการเห็นคือเป็นจักขุวิญญาณเป็นนามธรรม อย่างนี้เรียกว่ากำหนดรู้นามรูปเลยแยกได้ว่าอั นไหนเป็นรูปอันไหนเป็นนาม นี้ท่านบอกว่าเป็นญานที่ 1 ในญานโสฬส โสฬสญาณ 16 นะ เอามาใช้ตรวจสอบ
เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าสำนักวิปัสสนาจะเริ่มด้วยสอนอันนี้ เอ้าแยกให้ได้น่ะ อย่างวัดมหาธาตุก็ต้องสอนใช่ไหมว่า ตาเป็นรูป ศีลเป็นรูป การเห็นหรือวิญญาณเป็นนาม อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียก นามรูปะภิเฉทญาณ นี่เป็นญานที่ 1 พอกำหนดรู้จักว่า อ้อสิ่งทั้งหลายในโลกบรรดามีมันก็แค่เนี้ยเป็นรูปธรรมนามธรรมสภาวะทางธรรมชาติ นอกนั้นก็เป็นเรื่องของการสมมติกันไปเป็นโน่นเป็นนี่ เป็นนาย ก นาย ข อะไรไป อย่างนี้ท่านเรียกเข้าทิฏฐิวิสุทธิ พอได้นาม นามะรูปะภิเฉทญาณ ก็ได้ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิแห่งทิฏฐิ คือความเข้าใจหรือทิฏฐิถูกต้อง เอ้าทีนี้ต่อไป พอเดินหน้าไปอีก พอนอกจากรู้นามรูปแล้วทีนี้ก็สืบได้ว่า นามรูปนี้แต่ละอย่าง ละอย่างนี่ มันเกิดจากปัจจัยอะไรมันไม่ได้เกิดลอย ๆ นะ มันเป็นไปตามปัจจัยของมันอย่างที่ว่า เอ้าทำไมจึงเกิดจากวิญญญาน เอ้าก็เพราะว่าจักขุปสาท ตา รูปารมณ์ ศีลเข้ามากระทบกันเกิดจากจักขุวิญญาณขึ้นนี่เรียกว่าจับปัจจัยได้อย่างนี้เป็นต้น เวทนาความรู้สึกมีเพราะอะไร พะสัต ตัณหาเกิดเพราะอะไร เพราะว่ามันมีความติดในเวทนาความรู้สึกสุขทุกข์อย่างนี้เป็นต้น พอกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูปได้อันนี้เรียกว่าปัจจะปะริหญาณ แล้วญานที่กำหนดจับปัจจัยของนามรูปได้ก็ข้ามไปเป็นวิสุทธิข้อที่ 4 ซึ่งเป็นข้อที่ 2 ในด้านปัญญาคือกังขาวิตรณวิสุทธิ มันก็เริ่มลงมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ท่านเลยเรียกว่า ข้ามพ้นความสงสัยนี่นา เรียกว่ากังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นวิสุทธิข้อที่ 4 ใน 7 ข้อแต่เป็นข้อที่ 2 ในหมวดปัญญา อันนีัก็ก้าวมาอีกขั้นหนึ่ง นี่แหละลำดับญาณที่เห็นว่าโสฬสญาน ญาณ 16 ข้อที่ 2 แล้วนะ หวังว่าคงไม่สับสนน่ะ ขั้นนี้พอได้ญานนี้เป็นกังขารวิตรณวิสุทธิ พระอรรถคถาจารย์บอกท่าน ผู้นี้เป็นจุลโสดาบัน เป็นพระโสดาบันน้อย ที่จริงยังเป็นปุถุชนหรอก เพราะท่านยังไม่นับเป็นพระโสดาบัน แต่พระอรรถคถาจารย์นี่ท่านมาแยกขยาย ให้เห็นเพื่อจะได้เห็นความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติ ท่านบอกว่าขั้นนี้เป็นจุลโสดาบันแล้วน่ะ เป็นโสดาบันน้อย เอ้อคนปฏิบัติก็ค่อยใจชื้นหน่อย เออถึงเรายังไม่ได้เป็นโสดาบันก็ได้เป็นพระโสดาบันน้อย ว่าอย่างนั้น เอ้าน่ะเป็นจุลโสดาบัน ได้กังขารวิตรณวิสุทธิ คือได้ปะริยาคทาญาน ได้ญานที่กำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูปได้
เอ้าทีนี้ต่อไป
อันที่ 1 ทวนอีกที กำหนดแยกนามรูปได้
2 ก็จับปัจจัยของมันได้สืบสาวลงไปปัจจัยเป็นมายังไง
ต่อไป 3 รู้ต่อไปอีก โอ้สภาวะลักษณะของมันที่มันเป็นไปตามปัจจัยเนี่ย โอ้มันเป็นมีอาการที่เรียกว่าเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา พิจารณาเห็นสิ่งต่าง ๆ สังขาร ชีวิต ร่างกาย รูปธรรม นามธรรม จิตและศีล ล้วนแต่อยู่ในภาวะที่เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาไม่เที่ยงเกิดแล้วดับไป ตั้งอยู่ไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันไม่ยอมไม่มีตัวมีตน เรียกว่าเป็นตามพระไตรลักษณ์ ญาณอันนี้เรียกสัมมสนญาณ เป็นญาณที่พิจารณาสังขารตามพระไตรลักษณ์ พอถึงขั้นนี้แล้วมันเข้าจะจวนจะเข้าวิปัสสนาแทนละน่ะ
นี่ ๆ ตอนนี้ จวน ๆ แต่ท่านยังไม่นับเป็นวิปัสสนาแท้ วิปัสสนาแท้จะขั้นต่อไป พอถึงตอนนี้แล้วเป็นตัวจ่อเข้าสู่วิปัสสนา พอเห็นแนวตามแนวไตรลักษณ์ก็จะ ท่านบอกว่าตอนนี้จะเกิดวิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสของวิปัสสนาเช่นเกิดความรู้สึกว่า โอ้โฮ เข้าใจอะไรจะชัดเจนไปหมด หรือว่าเกิดการเห็นเป็นแสงเป็นสีสวยงามและแสงสว่าง เกิดลึกความสงบเป็นพิเศษอย่างที่ตัวเองไม่เคยประจักษ์มาเลย ประสบการณ์ตอนนี้จะทำให้เกิดความหลงผิดโอ้โห นึกว่าหมือนตัวเองตรัสรู้แล้ว แต่ท่านเรียกว่า นี่คือวิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสของวิปัสสนาไม่ใช่ตัวจริง อันนี้ผู้ปฏิบัตินี่ก็ตอนนี้มันอยู่ที่ขั้นที่พิจารณาเข้าใจพระไตรลักษณ์ เมื่อไม่หลงไปตามวิปัสสนาก็จะเข้าใจความจริงและเห็นทางที่ปฏิบัติที่แท้ที่เป็นเรื่องของปัญญาแท้ ๆ แยกได้ว่าไม่ใช่ไอ้การที่ว่ามาเกิดประสบการณ์ได้พ่วงมาเป็นความรู้สึกสงบ เป็นความสว่างไสว เป็นความรู้อะไรต่าง ๆ ไม่ใช่อย่างนี้ พอแยกแล้วนี่ ท่านเรียนมัคคามรรคญาณทัสสนวุสุทธิ แปลว่าเป็นความบริสุทธิปัญญาที่มองเห็นว่าเป็นมรรคมิใช่มรรค หรือทางมิใช่ทาง อย่างตอนนี้อยู่ในขั้นที่เรียกว่า สัมมสนญาณ เอานะได้ 3 อย่างแล้ว ในญาณ 16
มาถึงมัคคามรรคญาณวุสุทธิ มัคคามัคญาณวุสุทธิ ซึ่งเป็นวิสุทธิข้อที่ 5 ในวิสุทธิ 7 และเป็นข้อที่ 3 ในวิสุทธิฝ่ายปัญญา ข้อที่ 3 มรรค ข้อที่ 4 ก็ 1 ทิฏฐิวิสุทธิ 2 กังขาวิตรณีสุทธิ 3 มัคคามรรคญาณวิสุทธิ ใช่ไหม อย่างมัคคามรรคญาณทัสสนวุสุทธิ ทีนี้ก็ตอนนี้ก็เป็นอันว่าอยู่ในญาน 16 ข้อที่ 3 นะตรงนี้แหละที่ อภิธรรมสังคหะ เอาไปด้วยสัมมะทะนะญาณ เลยไปเรียกวิปัสสนา ญาน 10 ก็หมายความว่าอภิธรรมสังคหะนับข้อนี้เข้าวิปัสสนาด้วย ฝ่ายวิสุทธิมรรคไม่นับ อันนี้จะจ่อเข้าวิปัสสนาต้องให้ผ่านทางไม่ใช่ทางก่อน แต่ทางอภิธรรมสังคหะนี่นับด้วยบอกว่าพอแยกทางผิดทางถูก ก็เข้าทางถูกก็ถือว่าเป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นมติของพระอาจารย์นี่ไม่เหมือนกัน นั้นถ้าเราไปอ่านวิสุทธิมรรค ก็จะมีวิปัสสนาญาณ 9 แต่ไปอ่านอภิธรรมสังคหะก็เป็นวิปัสสนาญาณ 10 น่ะ
อ้าวทีนี้ต่อไปก็ ปกติเราจะใช้ 9 ใช้วิปัสสนาญาณ 9 นี้พอมัคคามรรคญาณทัสสนวิสุทธิ์แยกทางมิใช่ทางได้แล้วก็ก้าวไปสู่ขั้นวิสุทธิข้อ 6 แล้วซิทีนี้ใช่ไหม ข้อ 6 ก็เป็นปฏิปทาญาณทัสสนะวิสุทธิ ความบริสุทธิหมดจดแห่งปัญญาที่หยั่งรู้หยั่งเห็น ปฏิปทาคือ ตัวทางแล้วที่นี้ เนี่ยตอนนี้ตัวทางเลย ทีนี้พอเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นตัวทาง ความบริสุทธิหมดจดแห่งปัญญาที่หยังรู้หยั่งเห็น ปฏิปทานี้เป็นตัวทางแล้ว นี่ตอนนี้ตัวทาง ทีนี้พอเป็นปฏิปทา ญานทัสสนวิสุทธิ นี้เป็นตัวทางที่เป็นวิปัสสนาที่แท้จริง อันนี้แหละวิปัสสนาญาณ 9 อยู่ในนี้หมด วิปัสสนาญาณ 9 อยู่ในขั้นนี้ที่เรียกว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ทั้งหมด อ้าวก็มาถึงข้อนี้ก็อุทะคนาญาณเกิดขึ้น วิทสุทธิมรรคจะเรียกเป็น วิทานะรูปามะญาณ กายานุปัสสนาญาณ อภิธัมมัตถสังคหะ จะเรียกสั้น แค่อุทะคนาญาณ แต่นั้นเอง ก็ชื่อเหล่านี้อย่าไปติดใจมาก ก็เรียกต่างกันไปได้ แต่ว่ามันก็ตัวเดียวกันแหละ อันหนึ่งเรียกอุทยัพพยญาณ เอาสั้น ๆ อันนึงนี่เติมคำว่าอนุปัสสนาเข้าไปเป็นอุทธอนุปัสสนาญาน นี้อุทะคนาญาณ หรือ อนุปัสสนาญาณ ก็แปลว่าญาณหรือปัญญาที่หยั่งรู้ถึงการเกิดขึ้นและดับไป แห่งนามรูป ตอนนี้เห็นการเกิดดับใช่ไหม ทีนี้มันชัดขึ้นมันเห็นความจริงของการเป็นไตรลักษณ์เลย ตอนนี้ความเข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายเห็นตัวปรมัติเป็นนามรูปก็เห็นแล้วแยกได้ เห็นปัจจัยของมัน เห็นเป็นทีละอย่าง ๆ แล้วมาเห็นตามแนวไตรลักษณ์
ตอนนี้มันก็จะมาออกเป็นความชัดเจนที่เห็นความเกิดดับเลย ความเกิดดับก็คือการแสดงตัวหมดเลยใช่ไหมของนามรูป แล้วก็ทั้งการที่มันเป็นไปตามปัจจัยทั้งการที่มันเป็นไปตามเข้าใจ อันนี้เริ่ม นี่คือเข้าปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นวิปัสสนาญาณ 9 ข้อที่ 1 แต่เป็นญานข้อที่เท่าไหร่ในญาณ 16 เป็นข้อที่ 4 ใช่ไหม เป็นข้อที่ 4 ในญาณโสฬสหรือโสฬสญาน ที่สำนักวิปัสสนามาใช้วัดลำดับญาณ หรือความก้าวหน้าในวิปัสสนา เอานะเป็นอุทะคนาญาณ ญาณหยั่งรู้การเกิดขึ้นแล้วดับไป เห็นนามรูปเกิดดับ ๆ โอ้เอาล่ะซิทีนี้ ต้องอาศัยสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ จิตมันก็ฟุ้งซ่านไปซิ การที่จะเห็นสิ่งเหล่านี้มันต้องมีความคงที่สม่ำเสมอพอสมควร จิตมันต้องอยู่ต่อเนื่องพอสมควรกับสิ่งนั้นจึงจะเห็นได้ นี่เห็นไหมปัญญจะทำงานได้ผลต้องอาศัยสมาธิ เอ้าทีนี้ต่อไปพอได้อุทะคนาญาณ ญานหยั่งเห็นความเกิดขึ้นความดับไปแล้วทีนี้ เมื่อเห็นไป เห็นไป ๆ นี้ว่าจะไปเด่นตัวดับ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เกิดดับ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ทีนี้พอเห็นไปนาน ๆ ต่อเนื่องกันไปนี่ ไอ้ความชัดเจนมันเจ็งการดับมันจะเด่่นที่การดับ ก็เรียกชื่อตอนนี้ว่า ภังคญาณ ญานหยั่งรู้การแตกดับไปแห่งนามรูป ตอนนี้ตัดการเกิดออก มาเด่นที่การดับ มันเกิดมาไม่เท่าไหร่มันก็ดับไปหมด คล้าย ๆ ว่าสรุปเป็นคอนเซ็พก็ได้ทำนองนั้น เกิดมาดับไปหมด เกิดมาดับไปหมด ถ้าเรียกเป็นแบบของวิสุทธิมรรคก็พังคานุปัสสนาญาณ แบบ อภิธรรมสังคหะ ก็เรียก ภังคญาณ ทีนี้พอเห็นแต่การการดับ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ก็เกิดความหยั่งรู้เป็นญานข้อต่อไป ตอนนี้ก็จะเกิดการเห็นว่าสิ่งทั้งหลายนี่มันมีแต่ว่าดับไป เกิดแล้วก็ดับไปหมด ชักรู้สึกน่ากลัว เห็นเป็นภัย ท่านเรียก ภยตูปัฏฐานญาณ แปลว่าญาณหยั่งเห็นนามรูปหรึอสังขาลทั้งหลายโดยความเป็นของปรากฏ โดยความเป็นของน่ากลัว อุปัฏฐา แปลว่าความปรากฏ เห็นปรากฏเป็นของน่ากลัว นี่ถ้าดับ ๆ ไป อะไรเกิดมาก็ดับไปหมดเป็นของน่ากลัว ญานมองเห็นโดยเป็นของความน่ากลัวนะนี่เป็นวิปัสสนาญาณข้อที่ 3 ใช่ไหม แล้วเป็นญาน 16 ข้อที่เท่าไหร่ล่ะ ข้อที่ 5 ใช่ไหม เอาต่อไปที่นี้ก็เดินหน้าต่อไปอีกพอเห็นไปของน่ากลัวแล้วก็เห็นว่าโอ้มันไม่ได้มีดีอะไรเลยสิ่งทั้งหลายนามรูป สิ่งที่มนุษย์ยึดถือคลั่งไคล้ลุ่มหลงไป ว่าเป็นความสุขความอะไรต่าง ๆ สิ่งบำรุงบำเรออไรทั้งหลายในโลกนี้ มันเป็นสิ่งที่มีข้อบกพร่อง ไม่ใช่สิ่งที่มีความสมบูรณ์ ไม่ใช่สิ่งที่จะน่าเอาน่าเป็นอะไร แล้วไม่ใช่ไม่น่าจะเป็นจุดหมายของชีวิต ท่านเรียกว่าอาทีนวญาณหรืออาทีนวนุปัสสนญาณ ญาณหยั่งเห็นหยั่งรู้ด้วยความเป็นโทษ มองเป็นโทษแล้วทีนี้ มองเห็นโทษข้อเสียข้อบกพร่องจุดอ่อนของสิ่งทั้งหลายว่ามันบกพร่องมันไม่สมบูรณ์ มันไม่ใช่สิ่งที่จะพึงเป็นจุดหมายของชีวิต ไม่ทำให้ชีวิตดีงามประเสริฐเลิศอะไรขึ้นมาได้ ทีนี้เป็นอาทีนวญาณ พอเห็นโทษแล้วทีนีต่อไป ก็เกิดขึ้นมาอีกญานต่อจากนั้นเลย ต่อจากนั้นก็เป็นเบื่อหน่ายเลย หน่ายออกแต่ก่อนเคยยึดติดเคยผูกพันธ์ เคยลุ่มหลงคลั่งไคล้มัวเมาอะไรต่าง ๆ แล้วแต่ระดับ แม้แต่ติดนิดติดหน่อย ตอนนี้มันตรงข้ามันหน่ายออกคลายติด ไม่ติดแล้ว หน่ายออกไปจนหลุดออกไป ตอนนี้นิพพิทาญาน หรือวิสุทธิมรรคก็เรียก นิพพานนุปัสสนาญาน
อ้าวญานที่เท่าไหร่แล้ว ชักเยอะใหญ่แล้วน่ะ 1 ในวิปัสสนาญาณ 9 1 อุทยัพพยญาณ 2 พังคญาน 3 พะยะตูปทาญาณ 4 อทีนวญาน 5 ตัวนี้แหล่ นิพพานญาณ ญาณหยั่งเห็นโดยความเบื่อหน่าย ทำให้เกิดความหน่ายออกไป หายติดล่ะตอนนี้ พอเกิดนิพพิทาญานวิปัสนานี้ก็ต่อไปก็เกิดปฏิสังขารญาณ ปฏิสังขารญาณพอหน่ายก็ ทีนี้ก็เอ้ทำอย่างไรจะหลุดออกไปได้จะเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านี้ ก็เป็นญาณที่กลับไปทบทวนหาทางแล้ว ทบทวนหาทางเพื่อให้เห็นทางออกไปจากสิ่งเหล่านี้ สิ่งที่เป็นโทษแล้วก็มองเห็นว่าน่าเบื่อหน่ายจะไม่ติดแล้วจะอยากจะเป็นอิสระจะออกไปได้อย่างไร ญาณตัวนี้เป็นญาณที่ไปทบทวนความรู้เก่า ไปทบทวนมองเห็นความเป็นจริงของสังขารที่เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาตามพระไตรลักษณ์ ก็เป็นการพิจารณาทบทวนในการที่จะเห็นทางออกไปเป็นอิสระ ทีนี้มาทบทวนพิจารณาความจริงของสังขารของนามรูปไปมาก็จะเห็นว่าอ้อมันก็เป็นของมันอย่างนี้แหละ มันเป็นธรรมดาของมันไม่ได้ดีได้ชั่ว สิ่งทั้งหลายเป็นอนิจจังทุกขังอนัตา เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป มันก็เป็นไปตามธรรมชาติ มันเรื่องอะไรเราไปติดมันเองแล้วเราไปหลงแล้วเราก็ไปเบื่อไปหน่ายใช่ไหม ไอ้ที่จริงเบื่อหน่ายมันก็เป็นอาการของเราที่เกิดจากความติดเก่าปฏิกิริยา ที่จริงสิ่งทั้งหลายมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ พอว่า อ๋อสิ่งทั้งหลายเป็นของมันอย่างนั้นเองมันเป็นกฎธรรมชาติตามธรรมชาติ ตอนนี้แทนที่จะหน่ายก็เปลี่ยนเลย ตอนนั้นเบื่อหน่ายใช่ไหม ตอนนี้เปลี่ยนเป็นวางใจเป็นกลางได้ ตอนนี้จิตเรียบเลย สังขารุเปกขาญาณ มาแล้ว ตอนนี้เรีกว่า สังขารูเปกขาญาณ แปลว่าญาณที่ทำให้เกิดความวางใจเป็นกลางต่อสังขารนี้อุเบกขามาแล้ว สังขารูเปกขาญาณ นี่แหละคือปัญญาที่เห็นความจริง ลองคิดดูสิกว่าจะมาถึงอุเบกขาได้ต้องผ่านญาณมาตั้งกี่ญาน อุเบกขานี่ไม่ใช่เบา สูงมาก จิตเรียบเลยทีนี้ ตอนนั้นมันยังไปเอียงขวาเอียงซ้ายใช่ไหม ตอนแรกมันยึดติดในสิ่งทั้งหลายอยู่เอียงไปอีกข้างหนึ่ง ที่พอเห็นความจริงว่าสิ่งทั้งหลายเกิดดับ เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตามาเอียงอีกข้างแล้ว เอียงไปทางจะหน่าย จะไม่เอาแล้ว จะหนี เบื่อหน่าย พอเห็นความจริงแท้อีกทีหนึ่งถึงขั้นรู้ความจริงมากขึ้นชัดเจน คราวนี้อุเบกขามาเลยจิตเรียบสงบเลย วางใจเป็นกลางและไม่เอียงขวาไม่เอียงซ้ายแล้วใช่ไหม มันก็เป็นอย่างนั้นธรรมดาของมันนี่เรื่องอะไรจะไปหน่ายอะไรต่ออะไร ก็วางใจเป็นกลางเป็นจิตที่เป็นอิสระแท้ จิตอิสระแท้ไม่ใช่จิตปฏิกิริยาจะไปเบื่อหน่าย จะไปหนีไปอะไร ไอ้นั่นเพียงขั้นตอน แต่ถ้าไม่อาศัยไม่ได้ขั้นนั้นมาก็ไม่ถึงขั้นนี้เหมือนกัน เอานะก็ได้สังขานุเบกขาญาน ญานที่หยั่งรู้ทำให้วางใจเป็นกลางต่อสังขาร ต่อไปตอนนี้พอวางใจเป็นกลางสังขาร
ต่อไปนี้ได้ที่นี่ก็เกิดความพร้อมขึ้นมาเลย จิตก็โน้มคล้อยไปตามเห็นความจริงสอดคล้องกับความเป็นจริงที่แท้เรียกว่าสัจจานุโลทิกญาณ แปลว่าญานที่คล้อยตามสัจจะหมายความว่าเห็นตรงสอดคล้องกับความเป็นจริงที่แท้ของสิ่งทั้งหลาย แต่ก่อนนี้เห็นไม่ตรงใช่ไหม ทีนี้เห็นคล้อยตรงตามสัจจะ ถ้าเป็นอภิธรรมสังคหะ เรียกสั้น ๆ ว่า อนุโลมญาน ถ้าเป็นวิสุทธิมรรคเรียก ยาวหน่อยเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ ครบยังวิปัสสนาญญาน 9 ครบไหม เอะแล้วอะไรหาย ไม่เป็นไปไรถ้าอย่างนั้น 1 อุทัพพยาญาณ 2 พังคญาณ 3 พยะปตูปถานะญาน แล้ว 4 อภิญญาญาณ 5 นิพพิทาญาน 6 มนจิจุมันยุตาญาณ หายตัวนี้ หายตัวมนจิจุมัยุตาราม มนจิจุมัยุตารามก็เป็นตัวที่อยากจะพ้นไป เมื่อกี้ลืมพูดไป พอมันหน่ายแล้วมันก็อยากจะพ้น ต่อจาก นิพพิทาญาน น่ะหน่ายแล้วทีนี้ มนจิจุมัยุตาราม ตอนนี้อยากจะพ้นไม่เอาแล้วเลิก จะออกจะหลุดมนจิจุมัยุตารามญาณ ญาณที่ทำให้อยากจะพ้นไปเสีย ก็อยากจะพ้นไปเสียก็ปะฏิสังขายานก็มาทบทวนหาทางออก หาทางเพื่อพ้นไปเสียเป็นปฏิสังขารญาน แล้วก็มาทบทวน สังขารนุเบกขาญาน แปลว่าญานที่ทำให้ใจเป็นกลางสังขารใช่ไหม ตอนนี้เป็นอันว่าจิตเรียบสงบ แล้วก็มา สัจจาอนุโลมญาน หาทางออก เพื่อพ้นเสีย เป็นปฏิสังขารญาณ แล้วมาเป็นสังขารนุเบกขาญาณ ญานที่ทำให้เป็นกลางของสังขารใช่ไหม ตอนนี้เป็นอันว่า จิตเรียบสงบ ต่อไปก็ไป สัจจานุโลมิกญาณ ญานที่เห็นคล้อยตามสัจจะ ก็เป็นอันว่าจบ วิปัสสนาญาณ 9 วิปัสสนาญาน 9 ทั้งหมดทั้งชุดเนี้ยอยู่ในวิสุทธิข้อเดียวกันคือปฏิปทาญาณวิทัสวิสุทธิ อยู่ในวิปัสสนาญาณ 9 ก็เกิดตรงนี้ เป็นข้อที่เท่าไหรในวิสุทธิที่ 7 1 ศีลสุทธิ 2 จิตตวิสุทธิ 3 สติวิสุทธิ กังขาวิตรณสุทธิ 5 อะไร มคามรรคญานทัสสนวิสุทธิ 6 ปฏิปทาญานทัสสนวิสุทธิ สุทธินี้ 6 แล้วเหลืออีกอันเดียว เอ้าละทีนี้พอถึงนี้จะเห็นว่าวิปัสสนาญาน 9 มาเกิดเอาวิสุทธิข้อที่ 6 จวนจะจบเลย ตอนนี้วิปัสสนาญาน 9 มาก็คือปฏิบัติเป็นข้อปฏิบัติที่แท้นั่นเอง เป็นตัวปฏิปทาซึ่งจะให้ถึงจุดหมายแล้ว จะถึงมรรคผลแล้ว
พอต่อไปนี้ก็ถึงมรรคผลแล้ว ตอนนี้ก็จะมีญาณที่เข้ามาคั่นกลางระหว่างภาวะปุถุชนกับอริยบุคคลเลย นี่เป็นอันว่าจบที่นี่ความเป็นปุถุชน ญานตัวนี้ก็เป็นญานที่อยู่ช่วงระหว่างไม่จัดเข้าในวิสุทธิข้อไหน ท่านเรียกโคตะระภูญาณ แปลว่ากันว่าญานครอบโคตร โคตรหมายถึงโคตรปุถุชน โคตรพระอริยบุคลน่ะ อริยบุคคลนี่เป็นโคตรหนึ่ง ปุถุชนนี่เป็นโคตรหนึ่งคนละโคตร ทีนี้โคตะระภูญานเป็นญานครอบโครตคือเป็นตัวต่อระหว่างปุถุชนกับอริยบุคคล มาจัดในวิสุทธิ์ข้อไหน มันเป็นตัวคั่นเฉย ๆ เกิดเป็นญาณหนึ่งขึ้นมา เรียกว่า โคตะระภูญาณ อันนี้เป็นญานที่เท่าไหร่แล้วในญาณที่ 16 ญาณ 9 หมดไปแล้วนะวิปัสสนาญาณ 9 ก่อนที่จะถึงวิปัสสนาญาน 9 มี 3 ญาณ เพราะฉะนั้นเป็น 12 เพราะฉะนั้นอันนี้เป็น 13 ญาณที่ 13 เรียกว่าโคตะระภูญาณ พอโคตะระภูญาณมาถึงแล้วก็เข้าไปสู่ความเป็นอริยบุคคล ก็ขึ้นวิสุทธิข้อสุดท้าย เป็น ญาณทัสสนวิสุทธิ แปลว่าความบริสุทธิแห่งปัญญาหยั่งรู้หยั่งเห็น ก็เป็นตัวโพธิแล้ว จะทำกิเลสอาสวะ แต่ว่าไม่หมดสิ้นไปต้องเป็นขั้น ๆ เริ่มตั้งแต่โสดาบัน ก็ได้แล้วอันนี้ ก็ได้ถึงขั้นมรรคผลนิพพานแล้วน่ะ ญาณทัสสนวิสุทธิ ก็เริ่มด้วยมรรคก่อน ที่นี่พอถึงญาณทัสสนวิสุทนี่ก็ได้มรรค เพราะฉะนั้นก็จะเกิดญาณที่เป็นมรรคเป็นตัวมรรค เรียกว่ามรรคขญาน ญานวิสนสุทธิ ก็มีมรรคญาน มรรคญานก็เป็นญาณที่ 14 อยู่ในญาณที่ 16 ต่อจากมรรคญาณเกิดแล้วก็เป็นผลญาณแล้ว ญาณหยั่งรู้ผล พอได้โสดาปัตติมรรค ก็โสดาปัตติผลก็ตามมา มรรคแล้วต่อด้วยผล พอผลญาณมา ก็เป็นญาณที่ 15 อยู่ในญาณทัสสนวิสุทธิ ก็จบญานทัสสนวิสุทธิ นี่คือบรรลุแล้วใช่ไปไหม เพราะเป็นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สังฆทาวิมรรค สังฆทานผล อะนะคามีผล อะนะตะมะ อะนะตะมะผล ก็จบญาณทัสสนวิสุทธิ ทีนี้พอบรรลุมรรคผลแล้ว ก็จะมีญานอีกญานหนึ่ง เป็นขั้นเรียกว่า เสวยผลแล้ว ไม่ได้เรียกว่าเสวยผลเป็นการพิจารณา เรียกว่าปัจจเวกขะณะญาณ แปลว่าญาณหรือปัญญาที่มาพิจารณา พิจารณาอะไร พิจารณาข้อปฏิบัติของตนการพิจารณาได้บรรลุ พิจารณามรรคผลที่ตนได้บรรลุ พิจารณากิเลส ที่ตนได้กำจัดไปแล้ว แล้วพิจารณากิเลสที่ยังเหลือทียังไม่ได้กำจัด ถ้าเป็นพระโสดาบัน อะตะคามี อะนะคามี ก็ยังมีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งจะต้องละต่อไปถ้าเป็นพระอรหันต์ก็ตัดอันนี้ไปได้ แล้วก็พิจารณานิพพาน นี้เรียกว่าปัจจะเวกขะนะญาณ เป็นของผู้ที่บรรลุมรรคผลแล้ว ก็ปัจจะเวกขะนะญาณ ก็เป็นญาณที่ 16 ก็ครบ นี่คือญานโสฬส ก็คลุมเดิมมาตั้งแต่ วิสุทธิ มาถึงญาณทัสสนวิสุทธิจบไปเลย
(3)
คุณฟังถาม มีญานนี้ด้วย
พระตอบ ตั้งแต่พระโสดาบันเลย หมายความว่าพอบรรลุมรรคผล ก็มีญาณนี้มา เพราะฉะนั้นแน่นอน
(4)
คนฟังถาม ข้อ16 นี่ พระอรหันต์ที่นิพพานก็ต้องมีเลย
พระตอบ ก็พอบรรลุผลก็มีปัจเวกธรรมญาณ ก็เป็นอันว่าจบนะ นี่จะเห็นว่าญาณ มีชื่อต่าง ๆ เยอะแยะ คือใช้ในเรื่องหนึ่ง ๆ ญาณคือปัญญาที่รู้หรือทำกิจแห่งความรู้ความเข้าใจสำเร็จในเรื่องนั้น ๆ ก็จะมีชื่อต่าง ๆ ไป นี่เป็นญาณในวิปัสสนาญาณอื่น ๆ ยังมีชื่ออีกเยอะแยะไป ญาณเยอะแยะไปหมด อาจจะเป็นร้อยเป็นพันแล้วนะ ก็แล้วแต่จะเป็นญาณในเรื่องอะไร เรียกอะไร คงจะเข้าใจชั้นแล้วน่ะ ว่าญาณกับปัญญา
(5)
คนฟังถาม ค่อนข้างติดอยู่ในภาษาบาลีที่เรียกญาณต่าง ๆ
พระตอบ แต่พอเห็นเค้าไหมว่ามีความหมายมันเป็นยังไง เอาพอให้เข้าใจแนวทาง
(6)
คนฟังถาม ลำดับขั้นตอนยังสับสนนิดหน่อย
พระตอบ ยังสับสน ทวนซะอีกทีก็ได้ ทวนน่ะ ก็มาเริ่มกัน
เป็นการทบทวนว่าการปฏิบัติเพื่อบรรลุจุหมายของพระพุทธศาสนานนั้น เป็นการดำเนินตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา ทีนี้ในกระบวนการปฏิบัติที่จริงจังเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน ท่านก็แยกย่อยออกไปให้เห็นชัดแจ้งขึ้น เรียกว่าเป็นการปฏิบัติเพื่อความบริสุทธิ์หรือเป็นขั้นตอนแห่งความบริสุทธิ์เป็น 7 ขั้นเรียกว่าวิสุทธิ 7 ซึ่ง เราก็ต้องเข้าใจว่าเป็นวิธีการจัดระบบ แบ่งขั้นตอนแบบหนึ่งนะไม่จำเป็นจะต้องแบ่งแบบนี้เท่านั้น
ทีนี้การแบ่งแบบนี้นั้นก็จะเน้นขั้นตอนในขั้นปัญญาให้เห็นว่าการปฏิบัติขั้นปัญญาซึ่งสำคัญมากในแยกซอยเป็นอย่างไร
วิสุทธิ 7 ก็เริ่มตามแนวไตรสิกขา
ข้อที่ 1 ก็สีระวีสุทธิความบริสุทธิ์แห่งศีล
ขั้นที่ 2 ก็เรียกว่าจิตตวิสุทธิความบริสุทธิ์แห่งจิตคือเรื่องสมาธิ พอได้ศีลและสมาธิเป็นฐานก็ปัญญาก็จะเดินหน้าตอนนี้จะยิ่งมีเรื่องต้องทำมากละเอียดลึกซึ้งไปตามลำดับ
ก็เป็นข้อ 3 เป็นข้อแรกของปัญญาคือทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือความเห็นความเข้าใจเบื้องต้นที่เกิดสัมมาทิฏฐิที่แท้จริง ในขั้นนี้ก็จะมีญาณหนึ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงของสิ่งทั้งหลาย โดยรู้ว่าอ๋อที่แท้แล้วสิ่งทั้งหลายไม่มีอะไรมันเป็นเพียงนามรูปคือเป็นสภาวะตามธรรมชาติ
อันนี้เป็นความจริงที่แท้เป็นปรมัติไม่ใช่เป็นตามสมมติ อันนี้ก็เป็นชื่อหนึ่งเรียกว่า นามะรูปริเฉทญาณ ญาณที่กำหนดแยกนามและรูปได้ เป็นญาณที่ 1 ในญาณ 16 ต่อไปพอได้ญาณที่ 1 แยกนามรูปได้แล้วมีความเห็นถูกต้องเป็นวิสิวิสุทธิ ก็ก้าวไปสู่ขั้นต่อไปก็คือว่าสามารถมองเห็นว่า อ้อ นามรูปที่มันปรากฏอย่างเงี้ย มันมีเพราะปัจจัยมันเป็นตามปัจจัยของมัน ว่าอันนี้เป็นเพราะอันโน้น เกิดการเห็นเป็นปรากฏการณ์ เป็นนามรูปอย่างนี้มันเกิดเพราะปัจจัยอะไร มันมีอะไรจึงทำให้เกิดขึ้น ตอนนี้แสดงว่าจับปัจจัยได้เรียกว่าปัจจะมริหญาณ หรือจะเรียกเต็มว่านามะรูปริคญาณ ก็ได้ ก็จะเป็นความบริสุทธิ์อีกขั้นหนึ่งเป็นปัญญาที่ก้าวไปถึงขั้นรู้ปัจจัยก็เรียกว่าเป็นกังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นญาณที่ทำให้ข้ามพ้นความสงสัย นี้ต่อไปจากนี้จะเกิดญาณต่อมาอีก คือว่านอกจากมองเห็นความจริงของสิ่งทั้งหลายที่เป็นนามรูปเป็นสภาวะล้วน ๆ เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นของในธรรมชาติ เป็นไปตามปัจจัยของมันแล้ว อ้อมันก็มีอาการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นไปตามพระไตรลักษณ์เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ตอนนี้ก็เป็นญาณที่เรียกว่าสัมมสนญาณ แต่เป็นขั้นที่พิจารณายังไม่ได้มองเห็นชัดเจนอะไรล่ะ ท่านพิจารณาท่านจึงวิสุทธิมรรรคไม่ไดจัดขั้นวิปัสสนาญาณ แต่ว่าอภิธรรมสังฆะญาณ จัดเข้าด้วย ตอนนี้มันเริ่มเข้าสู่ทางที่ถูกต้อง ออกจากสิ่งที่ไม่ใช่ทาง หรือมิใช่มรรค ก็เรียกว่า มคามรรคญาณ ทัศนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาน ปัญญาที่มองเห็นว่าเป็นทางและมิใช่ทาง เป็นมรรคมิใช่มรรค อ้าวที่นี้ต่อไปก็จะเกิดญาณที่มาเห็นความเป็นไปอาการที่เป็นจริงเลย เห็นอาการที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของสิ่งทั้งหลายของนามรูปเหล่านั้น ตอนนี้ก็จะก้าวไปสู่ขั้นวิปัสสนาญาณแท้เป็นวิปัสสนาญาณแท้ที่ 1 เรียกว่าอุทยัพพยญาณ อุทยัพพยญาณอุปัสสนา หรืออุทคนะญาณ ญาณหยั่งรู้หยั่งถึงความเกิดขึ้นดับไปของนามรูปหรือสังขาร ขั้นนี้ก็เข้าสู่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเริ่มแรกเลย
ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องของปฏิปทาญาณทสสนวิสุทธิ์ไปจนจบวิปัสสนาญาณ 9 ทีนี้ในปฏิปทาจะมีการดำเนินก้าวหน้าไปต่อจาก ๆ ที่ได้เห็นการเกิดดับแล้วก็จะเห็นชัดในส่วนการดับ จะเห็นสิ่งทั้งหลายเกิดมาเท่าไหร่ดับไปเท่านั้น ดับหมด ๆ ๆ ๆ พอเห็นการดับ เรียกว่า ภังคานุปสนาญาณ หรือ ภังคญาณ ที่นี้พอเห็นการดับมาก ๆ เข้า มีแต่การดับเหมือนสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วดับไปก็เลยมองเห็นโดยความเป็นภัย เป็นของที่น่ากลัว ก็เลยเรียกว่าเป็น ภยตูปถานะญาณ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ภยญาณ ทีนี้มองเห็นเป็นของน่ากลัวแล้วก็เห็นเป็นสิ่งที่บกพร่องนามรูปสังขารอะไรต่าง ๆ ที่ไม่ใช่สิ่งสมบูรณ์เป็นสิ่งที่เป็นโทษไปยึดเข้ามีแต่สิ่งเสียหายไม่เป็นไปตามใจปรารถนา ไปยึดเข้ามันฝืนความปรารถนาไปยึดเข้าก็เป็นทุกข์เห็นโทษ ก็เรียกว่า อทีนวญาณ ต่อจากการเห็นเป็นโทษแล้วก็เกิดนิพพิทาญาณก็เบื่อหน่อย นิพพิทาเบื่อหน่าย เบื่อหน่าย หน่ายออกคลายติดไม่ติดแล้วคราวนี้ จะออกไปก็เลยเกิดเป็นมนจิตุกัมยตาญาณ ญาณความรู้หยั่งรู้ทำให้ปรารถนาจะพ้นไปเสีย เรียกว่า มนจิตุกัมยตาญาณ พอมนจิตุกัมยตาญาณมาแล้ว ทีนี้ก็พิจารณาหาทางออก ทบทวนความรู้ความเข้าใจความจริง เพื่อจะให้เห็นทางที่จะพ้นออกไปเสีย อันนี้เรียกปฏิสังขาญาณ หรือ ปฏิสังขารนุปัสสนาญาณ อ้าวแล้วทีนี้พอพิจารณาในความจริงไป ๆ มา ๆ จะหาทางออกก็จะรู้เข้าใจว่า อ้อที่เราจะออกทำไมเราจะไปออก มันเป็นเดิมเราไปติดมัน ก็เกิดปฏิกิริยาจะออก ความจริงสิ่งทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้มันเป็นธรรมชาติไม่ได้ดีไม่ได้ชั่ว ที่มันเกิดแล้วดับมันไม่ดีไม่ชั่ว มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นจริงอย่างนั้น ก็เกิดอุเบกขาคือวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลายคือนามรูปเหล่านั้น ใจก็เรียบสงบเงียบเลย พอใจเรียบสงบแล้วตอนนี้แหละก็จะเกิดปัญญาหยั่งเห็นสอดคล้องกับความเป็นจริงที่แท้ จากสังขารุเบกขาญาณ ก็จะเกิดก้าวไปสู่ สัจจานุโลมิกญาณ ญานที่คล้อยตามสัจจะ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อนุโลมญาน เป็นญานสุดท้าย เป็นวิปัสสนาญานที่ 9 แล้วทำให้จบปฏิปทาญานทัสสนวิสุทธิด้วย เพราะปฏิปทาญาทัสสนวิสุทธิก็เป็นเรื่องของวิปัสสนาญานทั้ง 9 อันนี้พอถึงตอนนี้ มันจะก้าววุสุทธิข้อที่ 7 ซึ่งเป็นข้อสุดท้าย ก็จะมีญานที่คั่นเข้ามาเรียกว่า โคตะระภูญาณ ครอบโครตคั่นความเป็นปุถุชนอริยบุคคล จากนี้ก็ก้าวไปสู่ญาณปฏิปทาวิสุทธ เป็น วิสุทธิที่ 7 เกิดเป็นมรรคญาน ญานที่เป็นตัวมรรคเลย มาตัดกิเลส เป็นโสดาปฏิมรรคเป็นต้น แล้วก็ต่อลำดับนั้นก็จะเกิดผลญาน ญานที่เป็นผล ก็เป็นว่าจบญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นวิสุทธิข้อที่ 7 วิปัสสนาญาณนั้นจบไปแล้วตั้งแต่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ตอนนี้มรรคขญาณ มรรคผลญาณ เป็นญานที่ 14, 15 ในญาณ 16 แล้ว แล้วก็เกิดมีญาณอีกอันเอามาพิจารณามรรคผลนิพพานเรียกว่า ปัจจเวกขะนะญาน สำหรับท่านผู้บรรลุมรรคผลแล้ว ก็เป็นอันว่าจบญาณ 16 พระอาจารย์ท่านก็เห็นว่าญาณ 16 นี่ดี เพราะบอกมาตั้งแต่ต้นเลย เริ่มตั้งแต่ได้เข้าสู่แนวทางวิปัสสนา แม้แต่ยังไม่เป็นตัววิปัสสนาแท้ มันเริ่มเข้าใจอะไรได้ถูกต้อง การวัดมันจะได้ละเอียดยิ่งขึ้น ก็เอาโสฬสญานหรือญานที่ 16 มาใช้วัดผู้ปฏิบัติวัปัสสนา เรียกว่าลำดับญาณ ก็จบน่ะ เอาน่ะ
(7)
คนฟังถาม ท่านพระอาจารย์ขอเรียนถามว่าอย่างในกรณี โสดาปฏิมรรคผลมันจะอยู่ในช่วง 14,15, 16 แค่นั้นเอง ไม่ต้องกลับไป 1 มันมี 1-16 พร้อมแล้วก็
พระตอบ อ๋อ เวลานั้นมันอยู่ในนั้น หมดเลย
(8)
คนฟังถาม แค่ 14,15,16 เท่านั้น
พระตอบ ไม่หรอก มันคลุมหมดเลย
(9)
คนฟังถาม มัตคลุมก็ต้น ๆ แล้ว หมาความว่าไอ้ช่วงนี้ไม่ได้แบ่ง เขาไม่ได้แบ่ง
พระตอม มันเกิดมันปั้บเดียวเลย มันหมายความเวลา แบบเดียวกับสัมปชัญญะ เวลาเราเกิดปัญญาอะไรแล้วน่ะ ทีนี้ไอ้ที่มันมีอยู่นี่ มันไม่ต้องไปนึกทบทวนแล้วใช่ไหม มันรู้แล้ว แต่มันพิจารณาคลุมหมด ไม่ใช่ไม่เกี่ยวน่ะ ใช่ไหม มันต้องหยั่งรู้อย่างนั้น ถ้าไม่มีความรู้นามรูป แล้วจะไปมีอันนี้ได้อย่างไร
(10)
คนฟังถาม ก็รู้มาแล้ว
พระตอบ แต่ความละเอียดละออ มันต่างกัน
(11)
คนฟังถาม ขั้นของความละเอียด
พระตอบ ใช่ ชี้ให้เห็นชัดลงไปครอบคลุมหมด
(12)
คนฟังถาม อย่างขั้น 1-13 มีความจำเป็นจะต้องไปลำดับขั้นอย่างนี้ มีความจำเป็นจะต้องลำดับขั้น บางคนจาก 1 ไป 3 บางคนไป 13 จะต้องต่อเนื่อง
พระตอบ คืออย่างนี้ต้องอุปมา คือว่ามันอาจจะไม่ต้องปรากฏชัดออกมา เพราะมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนของจิต ของปัญญา เหมือนท่านขึ้นยอดเขา ถ้าท่านเดินท่านอาจจะเห็นเป็นลำดับชัดใช่ไหม เดินขึ้นเขา แต่บางคนเขาไม่เดินขึ้น เขาใช้รถยนต์ขึ้น บางคนเขาไม่เอารถยนต์ขึ้น ก็เอาเฮลิคอปเตอร์ขึ้นเลย ถูกไหม แต่ว่าไม่ว่าขึ้นอย่างไหนต้องลำดับหมด ถูกไหม แต่ว่าเรื่องเฮลิคอปเตอร์มันแทบไม่ต้องพูดถึงลำดับเลย ไม่มันคลุมหมด มันครอบคลุมไปเลย แต่ที่จริงมันก็ลำดับน่ะแหละ อันนี้เป็นเพียงอุปมา
(13)
คนฟังถาม คำว่าอัศวญาณ ไม่ทราบไม่ได้จัดลักษณะนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับขั้น
พระตอบ อยู่ คลุมอยู่ในนี้หมด ไม่อยู่มันก็บรรลุนิพผลนิพพานไม่ได้ ไม่ใช่ อยู่ในขั้นมรรค ผลญาณ ปัจจเวกขะนะญาณเป็นเพียงพิจารณาสิ่งที่ได้บรรลุไปแล้ว
(14)
คนฟังถาม โคตะระภูญานนี่เป็นระหว่างปุถุชนกับอริยะบุคคล
พระตอบ ใช่ ญานครอบโคตรตัวขั้นระหว่างความเป็นปุถุชนกับอริยบุคคล
(15)
คนฟังถาม อันนี้คนที่ได้ โคตรภูญานนี้จะถือว่าเป็นอริยบุคคลได้หรือยังไหม
พระตอบ มันไม่มา มันอยู่อย่างนั้นแหล่ะ
(16)
คนฟังถาม ยังไม่ได้ใช่ไหมครับ
พระตอบ ไม่ใช่ มันไม่อยู่อย่างนั้นหรอก มันเป็นเพียง ญานที่มาคั้นแล้วก้าวไปเลย มันไม่ใช่ของที่มาหยุดอยู่ได้
(17)
คนฟังถาม ผมรู้พวกนี้พริบตาเดียว หมายความว่าถ้าพูดถึงช่วงจังหวะที่ได้ กับจังหวะหยุด
พระตอบ ตัวโคตะระภูญาณไม่ได้เป็นมรรคเป็นผล ไม่เป็นมรรคเป็นผล การที่จะเป็นอริยบุคคลต้องเป็นมรรคญาน เป็นตัวเด็ดขาด คือว่าไม่ได้มรรคญาน ก็เป็นว่าไม่มีทางมันยังไม่ได้เป็นอริยบุคคล เพราะตัวตัดสินมันอยู่ที่นี่ โสดาปฏิมรรค โสดาปฏิมรรคเรียกเต็มว่า โสดาปฏิมรรคญาน ใช่ไหม
ก็ยาวแล้วน่ะวันนี้ ก็บอกแล้วเป็นความรู้พิเศษ คือเรายังพูดในเรื่องทั่ว ๆ ไปก่อน แล้วตอนนี้กลายเป็นมาพูดเรื่องข้อปฏิบัติจำเพาะ ก็พอเอาประดับความรู้ไว้ ก็อาจจะเอามาพูดปัญญาในแง่อื่น ๆ ต่ออีกบ้าง สำหรับเช้านี้ก็เอาเท่านี้ก่อนแล้วกันน่ะ