แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คุยธรรมะกันสืบเนื่องจากเรื่องที่พูดไปแล้วคราวก่อนก็พูดถึงเรื่อง องค์ประกอบของจิต คือว่าด้านการฝึกจิตหรือสมาธิเนี่ยได้พูดถึงว่ามีองค์ธรรมสำคัญอยู่อย่างน้อย 3 ตัวนี้เป็นตัวยืนในการทำงานของจิต ซึ่งในชีวิตที่ดีงามจะต้องอาศัยมันเพราะฉะนั้นท่านก็ไปกำหนดไว้ในมรรคมีองค์ 8 ในฝ่ายของด้านจิต หรือสมาธิทั้งหมด ก็มีความเพียร ซึ่งอาจจะเรียกว่าความพยายามก็ความหมายก็ถือว่าใช้แทนกันได้ ความเพียรพยายาม แล้วก็สติ แล้วก็สมาธิ ความเพียรพยายามนี้ก็เป็นตัวที่สำคัญมาก เพราะมันทำให้เกิดการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ทำให้ก้าวไปข้างหน้า นี้ถ้าหากว่าไม่มีความเพียรหยุดนิ่งเฉยไปเลยไม่มีการเคลื่อนไหว มันก็เท่าจิตไม่ทำงานนั่นเอง จะทำอะไรต่อไรก็เป็นไปไม่ได้เพราะฉะนั้นตัวนี้ก็สำคัญ เพราะฉะนั้นจึงอยู่ในองค์มรรค เหมือนกับว่าจะขาดไม่ได้ ในการที่ว่าจะให้เดินหน้าไปในชีวิตที่ดีงาม แต่ที่จริงก็คือจะให้จิตทำงานนั่นแหละ
ทีนี้ต่อไปตัวที่ 2 ก็สติ สติก็มีความสำคัญมากเพราะว่าเป็นตัวจับตัวกำหนดทำให้จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการ นี้ถ้าหากว่าสิ่งที่เราต้องการจะเกี่ยวข้องอยู่มันไม่อยู่กับจิตไม่ได้อยู่ต่อหน้าเรา เราก็ทำอะไรกับมันไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นสติก็ตัวสำคัญขาดไม่ได้อีกแหล่ะ จะทำอะไรกับสิ่งใด สิ่งนั้นก็ต้องอยู่ ๆ กับเรา อยู่ที่จิตของเราอยู่ต่อหน้าเรา ฉะนั้นสติก็เป็นตัวก็จับเอามาวางไว้ ในเราทำงานได้
ตัวที่ 3 สมาธิอีก สมาธินั้นถ้าจิตมันไหว มันแกว่ง มันส่าย มันถูกกวนอยู่มันก็ทำงานไม่ได้อีก อย่างที่พูดไปแล้ว บอกว่าสมาธินั้นมันทำให้เกิดความอยู่ตัว เหมือนกับมีที่รองรับ เมื่อที่รองรับนั้นมันมั่นคงไม่หวั่นไหวอะไรต่ออะไรที่ตั้งอยู่บนนั้นก็อยู่ได้ ถ้าที่รองรับนั้นมันไหวมันคอนแคนอะไรต่ออะไรอยู่บนนั้นก็กริ้งระเนระนาดล้มหรือหล่นไปเลย เพราะฉะนั้นเป็นอันว่าจิตจะทำงานต้องอาศัยเจ้าตัวนี้คือ 3 ตัว 1 ต้องมีวายามะหรือวิริยะมีความเพียร ทำให้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว แล้วก็ต้องมีสติเป็นตัวจับเอาไว้ แล้วก็มีสมาธิเป็นตัวที่ทำให้มันอยู่ ๆ นิ่ง อยู่ตัว ไม่สาย ไม่แกว่ง ไม่ไกว ไม่หวั่นไม่ไหว ไม่คลอน ไม่แคลน แล้วก็ไม่ถูกกวน เพราะฉะนั้นในองค์มรรคก็ไปเป็นความเพียรพยายามที่ถูกต้อง เพราะต้องการเป็นชีวิตที่ดี มันก็เพียรได้เหมือนกันทุกกรณี แต่เกิดเพียรไม่ถูกต้องก็เสียหายไป มันก็ไม่เป็นมรรค เพราะฉะนั้นก็เลยต้องเติม สัมมาไว้ข้างหน้า สัมมาวายามะเพียรชอบ และก็สติ ก็ต้องเป็นสัมมาสติใช้สติในทางที่ถูกต้องในทางที่ชอบ แล้วก็สัมมาสมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิตที่ชอบที่ถูกต้อง ก็เป็นอันว่าองค์ธรรม 3 อย่าง ฝ่ายจิตนี่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แล้วก็ได้พูดอธิบายไปแล้วว่าสมาธินั้นทำให้จิตมีลักษณะสำคัญ 3 ประการอันนี้ที่อธิบายไปยาวแล้วนะว่าโดยสรุปก็คือ
1 ทำให้จิตมีกำลัง มีพลังแข็งแรงเหมือนกับน้ำที่ไหลไปทางเดียวเป็นร่องเป็นรางเป็นทางไป
2 ก็ทำให้จิตใสเหมือนกับน้ำที่ว่าตั้งอยู่ในที่สงบนิ่งบนที่อันมั่นคง ก็ตกตะกอนแล้วก็น้ำใสมองเห็นได้อะไรต่างเอื้อต่อปัญญา แล้วก็
3 ก็ทำให้จิตสงบไม่มีอะไรกวน แล้วก็เลยทำให้เกิดความสุขเพราะว่าเมื่อไม่มีอะไรกวนจิตมันก็สบาย
3 อย่างนี้ต้องเอามาใช้ประสานกันในทางที่ดีงาม ก็คือเอามันใช้ในการทำงานของจิตที่ทำให้จิตเป็นกำมณียะ แปลว่าจิตนั้นควรแก่การงาน เหมาะแก่การใช้งาน พอเหมาะกับการใช้งานก็ไปหนุนปัญญา ก็ทำให้ปัญญานี้ทำงานได้ผลดี นี้ถ้าใช้ไม่ถูกทางก็อาจจะเอาพลังจิตไปใช้ทางฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ฮึกเหิมใจ หรือว่าเอาไปใช้ในทางสงบก็เลยถ้าติดเพลินไปสบายก็เลยขี้เกียจ เพราะฉะนั้นก็ต้องเอาทั้งด้านพลังความแข็งแรงเข้มแข็งของจิตนี้ แล้วทั้งด้านของความสงบนี่มาหนุนการทำงานในด้านที่ว่าจิตมันผ่องใส แล้วก็ทำให้มองเห็นอะไรชัดเจนขึ้นเกื้อหนุนกับการใช้ปัญญา ถ้ามันได้ลักษณะทั้ง 3 อย่างนี้ มาหนุนซึ่งกันและกันแล้วมันก็มาประกอบประสาน ทำให้จิตทำงานได้ผลดีไปสู่จุดหมาย ที่นี่ก็ได้พูดไปแล้วอีกอย่างหนึ่งบอกว่าเนี่ยตัวสมาธิเองเนี่ย เพราะเหตุที่มันทำให้จิตมันสงบมันไม่ถูกอะไรกวน มันก็ทำให้มีความโน้มเอียงไปในทางที่ว่ามีความสุขสบาย แล้วก็ชักจะเสวยความสุข เมื่อเสวยความสุขมันก็เกรียจคร้าน เพราะฉะนั้นเจ้าตัวสมาธิก็เลยเปิดช่องให้แก่ โกสันชะ ความเกียจคร้าน ความเกรียจคร้านก็ไปกันได้กับสมาธิ เพราะฉะนั้นก็เลยจะต้องมีเจ้าวายามะหรือวิริยะคือความเพียรนี่มาคอยถ่วงดุลไว้มาช่วยนั่นเอง มาช่วยไม่ให้มันขี้เกียจ ไม่ให้มันอยู่นิ่ง ให้มันเคลื่อนไหว ให้มันก้าวหน้าไป เพราะฉะนั้นก็เลยให้สมาธิเนี่ยกับความเพียรนี่เข้าคู่กัน ที่นี้ถ้าความเพียรซึ่งมันเป็นตัวทำให้เดินหน้านี่ มันจะไปหน้าท่าเดียว ถ้าไปหน้าท่าเดียวนี่มันรีบมันร้อน มันทำให้พรุ่งพล่าน ฉะนั้นก็ทำให้เสียการเหมือนกัน ความเพียรแรงไปพรุ่งพล่านไป รีบเร่งไป บางทีก็ไม่ได้ผลใช่ไหม ทั้ง ๆ ทำให้พลาด เพราะฉะนั้นก็เลยต้องมีสมาธินี่จะทำให้ความเพียรนี่ มันไปได้อย่างสม่ำเสมอได้ผลดี เพราะฉะนั้นมันต้องได้ทั้งสองอย่าง ว่าเพียรก็ต้องอาศัยสมาธิมาช่วย เดินหน้าก้าวหน้าไป แต่พร้อมกันนั้นก็ต้องก้าวไปอย่างมั่นคงด้วยใช่ไหม แต่ว่าเจ้าสมาธิเอง เอ้าเดี๋ยวมีแต่สมาธิก็จะหยุดนิ่งอีก สบายก็ต้องเอาเพียรมาคอยเล้าคอยผลักคอยดันไปเนี่ย นี่แหละครับก็เพราะฉะนั้นสมาธิกับความเพียรนี้ก็เข้าคู่กันก็ได้พูดกันแล้ว
ทีนี้อีกตัวหนึ่งก็คือสติ สตินี่เป็นตัวที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นตัวที่ว่า อ้าวเป็นตัวที่จะทำให้รู้ด้วย บอกให้รู้ว่า เอ้อตอนนี้อ้ายเจ้าสมาธินี่มันชักจะสงบสบายไปน่ะขาดความเพียร มันก็จะเป็นตัวบอกให้รู้ แล้วก็เอาความเพียรมาใช้ มันเหมือนเป็นยาม มันเป็นยามคอยตรวจตราคอยสอดส่อง ทีนี้ถ้าหากว่าเพียรมากไป เจ้าสติก็บอกอีกว่าเออตอนนี้เพียรมากไปแล้วนะให้มีความสงบบ้างอย่าพรุ่งพร่านรีบเร่งเกินไป งั้นก็จะทำให้เกิดความพอดี เพราะฉะนันสตินี้ก็เป็นตัวที่มีความสำคัญ ทีนี้เรื่องวิริยะ กับความเพียรกับสมาธินี่พูดไปแล้วพอสมควร
วันนี้ก็เลยจะพูดถึงเรื่องสติ ซึ่งอยู่ใน 3 องค์ประกอบในฝ่ายจิตที่มีความสำคัญ ทีนี้สติคืออย่างไร สติต่างกับสมาธิอย่างไร สตินี้เป็นตัวที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง มันจะมีเรื่องต้องพูดอีกเยอะเลย วันนี้เอาเฉพาะในแง่ที่ว่าสติคืออย่างไร แล้วก็ทำงานสัมพันธ์กับสมาธิอย่างไรอยู่ในฝ่ายจิตด้วยกัน สติเราแปลกันว่าความระลึกได้ ถ้าแปลง่ายกว่านั้นเป็นไทยแท้ก็แปลว่านึกนั่นเอง เอาเป็นว่า นึกก็ตาม ระลึกก็ตาม ก็เป็นสติ รองนึกดูซิครับ ภาษาไทยนี่ นึกกับระลึกคล้าย ๆ กัน นึกถึงอะไร ระลึกถึงอะไร คล้าย ๆ กัน นึกไม่เหมือนคิดน่ะ คิดคนละอย่าง นึกนี่มันดึงเอามา จิตไปกำหนดอันนั้น เอาเป็นว่าแปลกันไทยง่าย ๆ ก็ระลึกบ้าง นึกบ้าง แต่ว่าถ้าแปลให้เป็นรูปธรรมเนี่ย เราต้องมาเทียบกับเรื่องของวัตถุ สตินี้ก็ทำหน้าที่ เป็นตัวที่จับ เป็นตัวที่ยึด เป็นตัวที่กำหนด เป็นตัวที่ดึง เป็นตัวที่ตรึง เอาง่าย ๆ ว่า ดึงดีกว่า ดึงนี้เป็นรูปธรรมที่มีความหมายใกล้กับคำว่าระลึกหรือนึกนะ ลองคิดซิว่าระลึกในทางจิตใจ กับดึงในทางรูปธรรม จะคล้าย ๆ กัน ดึง ๆ นี่ไม่เป็นยังไง คือหมายความว่าสิ่งที่มันผ่านเข้ามาแล้วมันจะเลยไป เราจะเอามันไว้ ถ้ามันผ่านไปเราจัดการกับมันไม่ได้ เราก็ดึงมันไว้ก่อนไม่ยอมให้มันผ่านเลยไป นี่ 1 แล้วน่ะ ดึงไว้ มันผ่านมาแล้วมันจะเลยไปซะดึงมันไว้ก่อน เพราะเราจะจัดการกับมัน เราจะทำงานกับมัน ต้องดึงไว้ ถ้ามันผ่านไปเราก็ทำงานกับมันไม่ได้ เอ้าที่นี้ 1 แล้วนะครับ สิ่งที่ผ่านมาแล้วจะผ่านไปก็เลยดึงมันไว้มันก็อยู่ต่อหน้าเรา ๆ ก็ทำงานกับมันได้
ทีนี้ที่ 2 สิ่งที่ผ่านไปแล้ว มันมาทีนึงแล้ว ทีนี้มันผ่านไปมันก็คือไปอยู่ในความทรงจำของเรา สิ่งอะไรก็ตามถ้ามันผ่านมาแล้ว มันเลยไปแล้ว ก็คือมันเข้าไปอยู่ในความทรงจำ ตอนนี้มันไม่อยู่ต่อหน้าเราแล้ว เพราะมันอยู่ในความทรงจำ ที่นี้เราต้องการจะทำงานกับมันทำไงล่ะ ก็ดึงมันออกมาจากความทรงจำใหม่ ดึงออกมาจากความทรงจำว่ามาอยู่ต่อหน้าเราอีก นี่แหล่ดึงในกรณีนี้จะใกล้กันมากกับคำว่าระลึกใช่ไหม เช่นว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้วไปอยู่ในความทรงจำ เราระลึกขึ้นมาก็คือดึงมันกลับขึ้นนมา กลับขึ้นมาก็อยู่ต่อหน้าเราก็ทำงานกับมันได้อีก เช่นทำงานอะไรกับมัน เช่นจะดู จะดูให้มันชัดมันผ่านมาแล้วเห็นมันนิดเดียวแว้บหนึ่งยังไม่ทันรู้ว่าเป็นอะไร ยังไม่รู้รายละเอียด เอ้าดึงมันไว้ก่อน พอมันอยู่ต่อหน้าก็ดูชัดเจน ทีนี้สิ่งที่ผ่านไปแล้วไปอยู่ในความทรงจำก็เหมือนกัน เอ้มันยังไงกันแน่น่า อยากจะดูให้มันชัดอีกที ก็ดึงมันกลับมาก็มาดูชัด เอ้าเป็นอันว่าได้ความแล้วน่ะ นีล่ะครับสติ สติก็คือดึงเอาสิ่งที่ผ่านเข้ามา แล้วจะผ่านเลยไป ไม่ให้มันผ่านไป ดึงเอาไว้ให้มันอยู่ต่อหน้าจะได้ทำงานกับมัน 1 นี่ปัจจุบัน 2 ก็คือดึงสิ่งที่ผ่านไปแล้วในอดีตกลับจากความทรงจำ กลับออกมาอยู่ต่อหน้าเราใหม่ เพราะฉะนั้นการทำงานของสตินี้สำคัญมาก ถ้าสติไม่ทำงานสักอย่าง สิ่งนั้นมาอยู่กับเราแล้ว เราทำอะไรกับมันไม่ได้เลย ก็คิดว่าคงจะเข้าใจ
ทีนี้พอเข้าใจการทำงานหน้าที่ของสติแล้วความหมายมันอยู่ด้วยกันหมดแล้ว ก็จะโยงไปถึงสัมพันธ์กับองค์ธรรมอื่นที่สำคัญก็คือสมาธินี่ สมาธิกับสตินี่ต่างกัน สตินี่มันดึงไว้ ทีนี้ดึงไป ดึงมา ดึงไป ดึงมา ถ้าสิ่งนั้นมันจะไหวจะแกว่ง มันก็จะออกไปเรื่อย แต่ว่าทีนี้ในเรื่องจิตของคนนี่ มันมีว่าการดึงไปดึงมานี่ ดึงนาน ๆ บางทีมันอยู่ตัวเลยมันอยู่ได้อยู่นิ่งเลย ถ้ามันอยู่นิ่งเมื่อไรมันอยู่ตัวได้ได้น่ะ มันไม่หลุดลอยออกไปอีก มันไม่คอยจะหลุดลอยไม่ต้องคอยดึงอยู่ ภาวะที่มันอยู่ตัวอยู่ได้ อยู่กับที่นั้นได้เรียกว่าเป็นสมาธิ ก็ท่านอุปมาเหมือนอย่างนี้ เหมือนกับว่า เราเนี่ยไปจับเอาวัวป่ามา วัวป่าดีกว่า วัวป่ามันก็พยศ จับเอามาแล้ว ที่นี้มันก็จะหนีเข้าป่าเรื่อย ทำยังไงล่ะ เอ้อเราก็จะต้องเอามันให้อยู่ ตอนแรกมันจะไปเรื่อย เราก็ต้องเอาเชือกมาผูกมันไว้ เชือกผูกไว้กับอะไร กับหลัก ตอกหลักเข้าไป แล้วก็เอาเชือกมาผูกโยงระหว่างหลักกับวัว เอ้ามี 3 อย่าง หนึ่ง วัวพยศ สอง หลัก สาม เชือก ทีนี่อ้ายวัวพยศนั้นเปรียบได้เหมือนกับจิตของเรา เจ้าจิตของเรานี่มันเหมือนวัวพยศ คือมันไม่อยู่ มันจะไปเรื่อย ออกจากเรื่องนี้ไปเรื่องโน้น ๆ เรียกว่าเป็นความฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้นจะหาทางให้วัวอยู่ ๆ กับอะไร อยู่กับหลัก หลักนี่ก็คือสิ่งที่เราต้องการ คือจิตของเรา อ้ายเจ้าวัวไม่ยอมอยู่ มันจะไปเรื่อย เราจะพยายามให้จิตของเราคือวัวนี่มันอยู่กับหลัก คือสิ่งที่เราต้องการ เราก็เลยเอาเชือกมาผูกมัน เชือกนี้เปรียบได้กับสติ เชือกเป็นสติเป็นตัวดึง นี่แหล่ะ สติเป็นตัวดึงเหมือนกับเชือกดึงไว้ เจ้าวัวพยศนี่จะไปจะหนีไปทีไรเจ้าเชื่อก็ดึงเอาไว้ทุกที ไปไม่ได้สักที พอดึงเข้ามาแล้ว เดี๋ยวมันก็ไปอีกแล้ว เดินพล่าน ๆ ๆ ไป ไม่ได้ เดี๋ยวดึงออกไปอีกแล้ว มันจะออกไปเจ้าเชือกก็ดึงมันไว้ไปไม่ได้สักที เจ้าวัวพยศนี่นานเข้า ๆ ชักอ่อนอกอ่อนใจ ดึงกันไปดึงกันมา ในที่สุดก็เลยมาหมอบอยู่ตรงหลักนั่นเอง พอมองหมอบนิ่งอยู่กับหลักได้ ท่านบอกว่านี่แหละสมาธิแล้วน่ะ ตอนนี้อ้ายเจ้าเชือกคือสตินี่เหมือนกับไม่ได้ทำหน้าที่ดึง พอวัวมันอยู่มันหมอบเชือกมันอยู่เฉย ๆ เชือกไม่ได้ทำหน้าที่ดึง แต่ว่าเชือกไม่ได้ปล่อยนะ เชือกมันก็ยังผูกอยู่นั่น มันทำหน้าที่อยู่เหมือนกันแต่ว่ามันไม่ได้เด่นออกมาเพราะถ้าเจ้าวัวเกิดออกไปเมื่อไหร่ ก็เจ้าเชือกก็เอาอีกแน่ นี่คือเรื่องของสติกับสมาธินะ เป็นอันว่าตอนที่เจ้าวัวยังพยศพยายามออกไปอยู่เรื่อย ๆ แล้วก็เจ้าเชือกคือสติดึงไว้เนี่ย ตอนนี้ก็คือการทำงานของสติ เมื่อไหร่เจ้าวัวนั้นมันยอมอยู่นิ่งหมอบอยู่กับหลักการอันนั้น เรียกเป็นสมาธิ
ทีนี้มีคำที่ควรจะรู้เพิ่มนิดหน่อย ตอนนี้เรารู้แล้วว่าวัวพยศนั้นเปรียบได้กับจิต แล้วก็เชือกนั้นเปรียบได้กับสติ ทีนี้หลักนั่นแหละคือสิ่งที่จิตเรากำหนด มีศัพท์ทางพระเรียกว่าอารมณ์ นะครับ อันนี้เป็นศัพท์พิเศษเพราะว่ามันจะสับสนกับภาษาไทย ภาษาไทยเราพูดว่า อารมณ์ เราหมายถึงความรู้สึกในใจ เช่นความรู้สึกเสียใจ ความเศร้า ความโกรธ อะไรต่าง ๆ เหล่าานี้ เราเรียกว่า อารมณ์ พอใช้ในภาษาไทยอย่างนี้แล้วทำให้วุ่นหมดสับสนหมด เวลาพูดศัพท์พระว่า อารมณ์ นี่ไปคนละเรื่อง อารมณ์ มันหมายถึงสิ่งที่จิตกำหนด สิ่งที่จิตรับรู้อะไรก็ตาม แม้แต่ทางตา สิ่งที่ตาเห็นก็เรียกว่าอารมณ์ทางตา สิ่งที่ได้ยินทางหูก็เรียกว่าอารมณ์ทางหู คือเสียงนั่นเอง เสียงก็เป็นอารมณ์ รูปก็เป็นอารณย์ของตา เสืยงก็เป็นอารมณ์ของหู กลิ่นก็เป็นอารณ์ของประสาทจมูก แล้วก็รสเป็นอารมณ์ของลิ้น แล้วก็สิ่งที่คิดที่นึกในใจทั้งหลายนั้นก็เป็นอารมณ์ของจิตใจ การที่ภาษาไทยมันเพี้ยนไป ก็คงเริ่มจากสิ่งที่เรานึกเราคิดในใจนี่แหละ มันมีอารมณ์คือสิ่งที่ใจนึกคิดนี่ นี่เป็นอารมณ์ชนิดหนึ่ง ทีนี้สิ่งที่ใจนึกคิดนี่ ที่ใจรู้เลยมันเยอะเหลือเกินมันรวมทั้งความรู้สึกด้วย รวมทั้งความโกรธความเกลียดอะไรต่าง ๆ ความสุขความทุกข์นี่มันกลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่จิตรับรู้หมดเลย จากความหมายแคบ ๆ ในด้านอารมณ์ทางจิต คือสิ่งที่จิตรับรู้นี่ ภาษาไทยก็ค่อย ๆ เพี้ยน ค่อย ๆ คลาดเคลื่อนไปแคบเข้าไปเหลือเท่านี้ ภาษาไทยก็เลยเอาอารมณ์เป็น Emotion ในภาษาอังกฤษ ทีจริงนั้นถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษนั้นคำว่าอารมณ์นี้เขาจะแปลว่า Sense Object สิ่งที่รับรู้นั่นเอง คิดว่าเท่านี้ก็คงจะเข้าใจแล้วนะครับ เรื่องความสัมพันธ์รวมทั้งความแตกต่างระหว่างสติกับสมาธิ
ทีนี้อีกอย่างที่จะพูดก็คือว่า ในเมื่อสตินี่เป็นตัวดึงไว้ แล้วก็พอจิตมันอยู่ตัวได้ก็เป็นสมาธิ เราก็จะเห็นว่า เอ้อในการฝึกจิตก็เหมือนกับฝึกวัวเหมือนกันตอนแรกต้องใช้สติดึงไว้ก่อน ดึงจิตให้อยู่กับอารมณ์คือหลัก แล้วต่อมาสมาธิจึงเกิดได้เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าในการฝึกสมาธิต้องเริ่มด้วยสติ ให้นึกเลย ให้มองดูวิธีฝึกสมาธิทั้งหลาย จะต้องเริ่มด้วยสติ ถ้าสติมันไม่มาทำงานแล้วสมาธิมันจะอยู่จะมาได้ยังไงใช่ไหม เพราะฉะนั้นวิธีฝึกสมาธิหลายอย่าง จะมีชื่อลงท้ายว่าสติ วิธีฝึกสมาธิทำไมชื่อเป็นสติ เอ้า ก็เพราะเราใช้สติ สติเป็นตัวเริ่มต้นให้ในการฝึก แล้วสมาธิจึงตามมา อย่างเช่น อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจ เห็นไหมนี่ ตอนแรกต้องใช้สติกําหนดลมหายใจ พอสติกำหนดไปกำหนดมา มันจะลอยไปมันจะหายไป ก็เอาสติดึงไว้ สู้กันอยู่อย่างนี้ สติก็ทำงาน ตอนแรกยุ่งจัง สติทำงานหนักมาก จนกระทั่งเมื่อไรจิตมันอยู่กับลมหายใจได้ก็เป็นสมาธิ กว่าจะได้สมาธินี่ สติทำงานหนักขนาดไหนนะครับ
ฉะนั้น วิธีฝึกสมาธิมากมายจะมีชื่อลงท้ายด้วยคำว่าสติ พุทธานุสสติ สติระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ธรรมนุสติ สังฆานุสติ จาคานุสติ สีลานุสติ หมวดหนึ่งเลย เป็นเรื่องอนุสติ มรณสติ ถึงแม้หมวดที่ไม่มีชื่อว่าสติลงท้าย เวลาฝึกก็ต้องใช้สตินั่นแหละ เป็นอันว่าในการฝึกสมาธินั้นก็ต้องใช้สติมาเริ่มต้นให้ เมื่อสติเริ่มต้นให้แล้ว จิตอยู่ตัวได้ก็ไปสู่สมาธิ แต่เมื่อจิตเป็นสมาธินั้นไม่ได้หมายความว่าสติมันเลิกทำงานนะ สติมันก็ครออยู่แต่ว่ามันไม่เป็นตัวเด่นอีกต่อไปแล้ว ต่อจากนี้สมาธิจะไปตัวเด่น นี่ก็เป็นเรื่องของการฝึกในเรื่องจิตใจ ในกระบวนการปฏิบัติที่เราพัฒนาด้านจิตก็จะพูดถึงความสัมพันธ์แบบนี้ แต่ว่าในชีวิตทั่ว ๆ ไป นี่เราจะเห็นว่าสติจะเป็นตัวที่ทำงานเด่นมาก เพราะว่าเป็นตัวที่ต้องกำหนดเรื่องที่เราจะทำด้วยเกี่ยวข้องตลอดเวลา อย่างขับรถเป็นต้น อย่างขับรถนี่จิตต้องอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น ก็คือว่าอยู่กับรถอยู่กับการขับรถน่ะ ถ้าสติไม่ทำงานปั้บ คือใจลอย ใจลอยไปนึกเรื่องอื่น อะไรเกิดขึ้น มีหวัง อุบัติเหตุก็มา เพราะฉะนั้นสติเป็นตัวแกนในการที่จะไม่ประมาท ทีว่าไม่ประมาทก็คือมีสติกำหนดอยู่ แต่ว่าไม่ประมาทนั้นหมายถึงอาการเป็นอยู่ของมนุษย์ แต่สตินี่เป็นตัวคุณสมบัติเป็นองค์ธรรมที่ทำงาน สตินั่นแหละเป็นตัวที่ทำให้เกิดความไม่ประมาท แล้วก็สติไม่ทำให้เราไม่ประมาท สติเป็นตัวแกน เป็นตัวหลักให้ เราก็เป็นตัวเพรียรพยายามปฏิบัติไปตามสิ่งที่เราระลึกได้นึก ที่เกี่ยวข้องก็ทำไปมันก็ไม่ประมาท ก็คิดว่าพอสมควร วันนี้ก็จะพูดสั้น ๆ ก่อนพรุ่งนี้จะพูดเรื่องสติกับปัญญานะวันนี้เอาสติกับสมาธิ เริ่มด้วยความหมายและการทำหน้าที่ของสติ
ก็ทวนอีกซักนิดนึงว่า สตินั้นเราแปลกันว่านึกหรือระลึก ก็คือหน้าที่ในการดึง ๆ ให้จิตนั้นอยู่กับอารมณ์ คือสิ่งที่ต้องการ แล้วก็ทำให้จิตของเราทำงานได้ นั้นสติตัวนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการพัฒนาจิตใจและในการเป็นอยู่ชีวิตที่ดีงามจะเป็นไปได้ต้องอาศัยสติ ก็อยู่ในองค์ธรรม 3 ประการ ในหมวดของจิต หรือสมาธิ คือวายามะวิริยะความเพียร สติและสมาธิ เอาละครับ มีอะไรสงสัยไหม
(1)
คนฟังถาม อยากจะกราบพระเดชพระคุณ เกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิ ครับผม ก่อนอื่นที่เราจะปฏิบัติสมาธิ เราก็ต้องรู้เกี่ยวกับกฏระเบียบต่าง ๆ เราเรียกปริยัติถูกต้อง
พระตอบ ปริยัติต้องรู้ ถ้าไม่รู้แล้ว มันก็คลำ ไม่รู้ก็ต้องลองผิดลองถูก ก็เริ่ม ก็ไม่รู้จักใช้ปรโยชน์จากประสบการณ์ของท่านที่ได้ปฏิบัติมาก่อน ปริยัติคืออะไร ปริยัติคือคำบอกเล่าประสบการณ์ของท่านผู้ได้ปฏิบัติมาก่อนนั่นเอง ซึ่งในที่นี้หมายถึงพระพุทธเจ้า ปริยัตินั้นมุ่งเอาพุทธพจน์นะไม่ได้มุ่งอย่างอื่น ที่นี้ปริยัติคือพุทธพจน์ คำบอกเล่าประสบการณ์ของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ปฏิบัติมาแล้วเนี่ยเอามาเล่าให้เราฟังเป็นสิ่งที่เราจะต้องเล่าเรียน ก็เลยเรียกว่าปริยัติ คำว่าปริยัติแปลว่าสิ่งที่จะต้องเล่าเรียน เล่าเรียนอะไร ก็เล่าเรียนพุทธพจน์คือคำบอกเล่าประสบการณ์ของพระพุทธเจ้า ก็เราจะเอาประโยชน์จากพระพุทธเจ้า 1 เรานับถือพระพุทธเจ้า เราเชื่อว่าพระองค์นี้บรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐจริง เอ้าทีนี้เราก็จะปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ก็คือเราจะเอาประโยชน์จากพระองค์ แล้วเราไม่ไปเรียนรู้พระองค์ ไม่ไปฟังพระพุทธเจ้าว่าพระองค์ท่านสอนว่ายังไง แล้วเราจะไปทำไง เราจะเป็นพระพุทธเจ้าเองหรือยังไง พระพุทธเจ้าเองก็ยังเป็นไม่ได้ เพราะเราจะก็ต้องไปบำเพ็ญบารมี ก็ไปลองผิดลองถูก ไปลองยังไงล่ะไม่มีความรู้อะไรเลยใช่ไหม ปริยัติไม่มีอะไร ก็คืออย่างง่าย ๆ ที่ว่า คำบอกเล่าประสบการณ์ของพระพุทธเจ้าที่ถ่ายทอดต่อกันมาถึงเรา ถ้าเราอยากจะปฏิบัติให้ถูกตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนหรือทรงปฏิบัติมาก็ต้องเรียนปริยัติใช่ไหม แต่ว่าปริยัตินี่อาจจะเรียนแคบ ๆ คือว่าแทนที่จะเรียนโดยตรงจากคัมภีร์ก็อาจจะเรียนจากพระอาจารย์ การเรียนจากพระอาจารย์แบบหนึ่งก็คือว่าเรียนเฉพาะส่วนที่ต้องใช้แล้วก็ฝากความไว้วางใจโดยสมบูรณ์เรียกว่าขึ้นต่ออาจารย์ เป็นปริยัติที่ขึ้นต่ออาจารย์หมายความว่าจะใช้แค่ไหนอาจารย์จะบอกแค่นั้น อาจารย์จะเป็นผู้กำหนดว่าจะให้รู้แค่ไหน นั้นเวลาไปถึง อาจารย์จะบอก ไม่ต้องเรียนอะไรเธอ ฟังฉันอย่างเดียว ฉะนั้นอาจารย์ก็จะบอกว่าวันนี้เอานี่น่ะ เอ้าไปกำหนดลมหายใจ เวลากำหนดลมหายใจเข้าพุด หายใจออกโท นี้คือบอกปริยัติแล้วใช่ไหม ปริยัตินี่คือคำบอกเล่าประสบการณ์ แต่ว่าอาจารย์ไม่ได้มีประสบการณ์ที่เป็นผู้เริ่มต้นเองก็ต้องเอามาจากพระพุทธเจ้า ก็ถ่ายทอดต่อกันมาแล้วก็เอามาบอกกับลูกศิษย์ เพื่อให้ใช้ทีละนิด ๆ เพราะฉะนั้นอาจารย์ก็บอกแค่นี้ เอานะเธอเป็นกำหนดลมหายใจ บอกเท่านี้ก็เป็นปริยัติแล้ว ที่นี่ก็อยู่ที่ว่าอาจารย์นี่จะบอกปริยัติแค่ไหน ทีนี้อาจารย์อาจจะมีความกรุณาต่อศิษย์ เห็นว่าถ้าศิษย์ไปเรียนมากเลือกไม่ถูกฟุ้งซ่าน แล้วก็จับผิดจับถูกก็จะทำให้วุ่นวาย แทนที่จะปฏิบัติได้ผลก็เลยผิดพลาดไป พระอาจารย์ก็เลยบอกว่า เออฉันมีประสบการณ์ ฉันปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอนมาก่อน เพราะฉะนันถ้าเธอฟังฉันก็แล้วกัน ฉันจะบอกให้ ถ้านั้นพระอาจารย์ก็จะบอกให้ที่ว่าเอาแค่ไปใช้ปฏิบัติจริง ๆ เลยแค่เนี้ย แค่บอกว่าเอาวันนี้ไปกำหนดลมหายใจเข้าออกนะ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ หรือจะบอกว่านับ 1-10 หรือจะบอกว่าหายใจเข้าพุดหายใจออกโท
ท่านไพบูลย์ถาม ๆ ใหม่ซิครับ ในเรื่องของปฏิเวธ ผมติดใจสงสัยตรงนี้ครับผม ในส่วนของเรื่องของโสดาบัน ตรงนี้ที่เวลาเราร่ำเรียนมา เราศึกษามาระดับหนึ่ง พอเด็กถามในหลักสูตรปวชเกี่ยวกับพุทธศาสนา พูดถึงว่าคนธรรมดาสามัญสามารถเข้าถึงโสดาบัน ที่นี้ในส่วนของเด็กที่มีความคิดเห็น
พระตอบ หลักสูตรอะไรครับ บอกคนธรรมดา
(2)
คนฟังถาม ที่เรียนพุทธศาสนา น่ะครับ
พระตอบ แล้วหนังสือเขาเขียนว่าอย่างไง
(3)
คนฟังถาม เกี่ยวกับการปฏิบัติตนน่ะครับ สามารถบรรลุคนธรรมดาจะสามารถจะบรรลุโสดาบันได้ คือตรงนี้ผมไม่แน่ใจ
พระตอบ คือคำบรรยาในหลักสูตร
(4)
คนฟังถาม มีอยู่ในเอกสาร แบบเรียนเล่มหนึ่ง ผมก็จำไม่ค่อยได้ครับ
พระตอบ อันนี้มันก็ต้องระวังเหมือนกัน ถ้าหนังสือหรือเอกสารนั้น มันผิดก็ต้องว่าผิด แต่ผมไม่ทราบว่าคำบรรยายของเขาว่าอย่างไร ก็ต้องระวังเหมือนกัน แต่ว่าคำว่าคนธรรมดา มันก็คนธรรมดาทั้งนั้นแหล่ะ ไม่ว่าจะเป็นอะไรพอบรรลุแล้วเราก็เรียกว่าเป็นพิเศษ อันนี้คำว่าคนธรรมดามันก็คลุมเคลือ ถ้าคนธรรมดาหมายถึงปุถุชนแล้วก็ ปุถุชนก็ไม่ใช่โสดาบัน ถ้าเป็นโสดาบันก็ไม่ใช่ปุถุชน ทีนี้คนธรรมดา แม้แต่เราจะบอกว่า พระพุทธเจ้าก็เป็นคนธรรมดา มันก็พูดได้ ก็แล้วแต่ตำว่าธรรมดาเป็นคำที่ไม่มีความหมายจำเพราะ ฉะนั้นอันนี้ต้องมาตกลงกันก่อนว่า คำว่าคนธรรมดานี่มันหมายความว่าอย่างไรน่ะ เพราะอย่างเราพูดว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เราเล่นสำนวน เราก็บอกได้ว่า พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ธรรมดาว่างั้นใช่ไหม เอ้อก็ถูกใช่ไหม เพราะฉะนั้นคำพูดเหล่านี้ต้องมาตกลงกันให้ชัดก่อน คนธรรมดานี่แหละ ก็บรรลุเป็นโสดาบันจนกระทั่งเป็นพระพระพุทธเจ้า แต่ว่าพอเป็นคนธรรมดา ตอนแรกกันเป็นปุถุชนก่อน ทีนี้พอเป็นปุถุชน พอว่าได้บรรลุธรรมกำจัดกิเลสสังโยชน์ 3 เบื้องต้นได้ก็เป็นพระโสดาบันไปใช่ไหม ก็เปรี่ยนจากปุถุชน เอ้าเป็นอันว่ามันมีหลักการที่ชัดเจนนะ นั้นอาจจะเป็นปัญหาเรื่องถ้อยคำก็ได้ ทีนี้จุดสงสัยนี้อยู่ที่ถ้อยคำหรืออยู่ที่หลักการ
(5)
คนฟังถาม อยู่ที่หลักการ คือสงสัยในเรื่องคำว่าจุดของโสดาบันครับ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ขั้นถึงปริยัติปฏิบัติปฏิเวส ผลที่จะได้รับเข้าสู่ปฏิเวธที่ว่า คือโสดาบัน หลักการในหลักสามัญชนทั่ว ๆ ไป เขาจะใช้คำพูดที่ไม่ค่อย
พระตอบ คือการปฏิบัติก็เรื่องของปุถุชนสามัญชนนั่นแหละ เพียงแต่ว่ามีฉันทะ แล้วก็ไปลงมือปฏิบัติ อันนั้นก็วิธีปฏิบัติมันก็จะมีว่า เอ้าถ้าจะพูดกว้าง ก็มีสมถะวิปัสสนานี้เป็นต้น ซึ่งเราก็จะพูดกันต่อไป
สมถะนั้น จุดมุ่งหมายก็คือให้จิตเป็นสมาธิ จะได้มาช่วยให้จิตเนี่ยทำงานได้ผลดี อย่างที่เราได้พูดไปแล้วสมาธิเป็นตัวทำให้จิตทำงานได้ผลดี เราก็ต้องให้จิตมันอยู่ในภาวะที่ทำงานได้ดีก่อนสิ เพราะว่าในการที่จะได้บรรลุธรรมกำจัดกิเลสเนี่ย จิตต้องทำงานอย่างน้อยทำงานในด้านปัญญา นี่ถ้าไม่มีสมาธิ จิตทำงานไม่ได้ผลดีอ่ะ ทำงานแต่เต็มที ทำงานไม่ได้ผลดี มันก็การที่จะบรรลุธรรมก็เป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นเราก็ต้องการสมาธิอย่างน้อยระดับหนึ่ง พอให้จิตมันทำงานได้ในระดับที่เราต้องการหรือจำเป็นจะต้องใช้ เราก็เลยต้องการสิ่งที่เรียกว่าสมถะ มาฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ทีนี้พอจิตเกิดสมาธิ ทีนี้ก็มีระดับไหนล่ะ เราบอกว่าเราไม่เอามาก เอาสมาธิพอใช้งานในทางปัญญญา เราเอาเท่าเนี้ย เราก็มาตกลงกันว่าเอาระดับไหน แต่ละคนก็ไม่เหมือนกันอีก พื้นเพแต่ละคนนี่มันต่างกัน บางคนนั้นน่ะ ปัญญาแหม ปัญญานี่เฉียบคมมาก แม้ว่าจิตจะไม่แน่นเท่าไหร่ แต่พอให้จิตมันอยู่ตัวนิดนึงเนี่ยมันมีปัญญาเฉียบคมมันได้ยินได้ฟังอะไรนิดเดียว ในเวลาที่จิตมันอยู่ตัวนิดเดียวมันแทงทะลุเลย บางคนนี้ปัญญาไม่เฉียบคมทื่อต้องใช้เวลา ทีนี้ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิที่นาน ๆ แกเอาไม่รอด แกแทงไม่ทะลุ พอจะดูไม่ทันชัดไปเสียแล้ว ที่นีคนที่ปัญญามันเฉียบคม นี่มันแป้บเดียวได้เลย ฉะนันความต้องการสมาธิก็ไม่เท่ากันใช่ไปม แต่ว่ามันต้องการนิดหนึ่ง แต่มันจำเป็น เอ้าวันนี้ก็พูดเลยต่อไปถึงกระบวนการปฏิบัติด้วย อันนี้ที่จริงก็นอกเรื่องสำหรับวันนี้ ถือเป็นเรื่องพิเศษไป
ปฏิบัติเนี่ยเราต้องการธรรมะ 3 หมวด ที่เราเรียกว่าไตรสิกขานี่มาทำงานครบ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ต้องครบเราไปแล้วใช่ไหม พฤติกรรมก็ต้องใช้ จิตก็ต้องใช้ ปัญญาก็ต้องใช้ มันต้องมาทำงานประสานกัน ทีนี้ท่านเปรียบกับศีลนี่น่ะ เหมือนกับพื้นที่เหยียบที่ยัน พฤติกรรมกายวาจาของเรานี่มีความตั้งหลักได้มั่นคงอยู่ตัวพอสมควร ทีนี้ถ้ามันอยู่ตัวมันตั้งหลักได้มั่นนี่ พฤติกรรมของเราคือ
ศีล นั่นเปรียบเหมือนพื้นที่เหยียบที่ยัน
ทีนี่ 2 ฝ่ายจิตคือสมาธิ นั่นเหมือนพลังที่จะทำงานต้องมีความเข้มแข็งที่จะทำงาน
3 ปัญญาเหมือนกันอุปกรณ์เครื่องมือที่จะใช้ทำงาน ยกตัวอย่างว่าเราจะตัดต้นไม้ 1 ต้องมีที่เหยียบที่ยัน 2 ต้องมีกำลัง 3 ต้องมีอุปกรณ์คือเครื่องมือ ซึ่งควรจะคมเช่นมีดและขวานใช่ไหม
เอ้าทีนี้เรามี 3 อย่างแล้ว 1 แล้วก็มีพื้นที่เหยียบที่ยัน 2 มีกำลังคือจิต ได้แก่สมาธิเป็นแกน แล้วก็ 3 มีอุปกรณ์คือขวานหรือมีดที่คม ถ้ามี 3 อย่างนี้แล้วทำงานตัดต้นไม้ได้ ขาดสักอันได้ไหม ไม่ได้เลย ขาดพื้นที่เหยียบที่ยันนี่มันไม่มีทางตัดได้ 2 ขาดกำลังยกขวานไม่ขึ้น ตัดไม่ได้ 3 มีกำลังแต่ว่าไม่มีอุปกรณ์ตัดไม่ได้อีกใช่ไหม ต้องมีอุปกรณ์ ต้องมีทั้ง 3 ชนิดนี้ว่าเขามีทั้ง 3 แล้วเนี่ยการที่จะมีเท่าไหร่ตอนนี้ชักจะยืดหยุ่น ถ้ามีดีหมด ศีลบริบูรณ์ พื้นเหยียบยันก็มั่นคง 2 กำลังก็ดีแข็งแรงมาก 3 อุปกรณ์มีดขวานก็คมมาก ตัดชั้วต้นไม้ขาดเลยใช่ไหม บางทีก็ครั้งเดียว ขาดเลย ถ้าเกิดว่าพื้นไม่แน่น แต่ว่ากำลังแรงดีมากอาวุธคมมาก ที่เหยียบไม่แน่นนัก พอชั้วเดียวกขาดพิตัดได้ก็ใช้ได้ เอ้าทีนี้เกิดว่ากำลังไม่ค่อยดีพื้นแน่นกำลังไม่แข็งแรงนัก แต่มีดขวานนี่คมจังเลยใช่ไหม ก็ชั้วเดียวได้เหมือนกันบางทีชั้วเดียวยังไม่ขาดเพราะกำลังมันน้อยไป นี้ก็ยังพอไหวใช่ไหม ตัดก็ได้ ที่นี้อะไร ที่นี้ปัญญาตัวอุปกรณ์ไม่คม อุปกรณ์มีดขวานไม่คมชัด ต้องพื้นแน่นกำลังแข็งแรงมาก ก็ตัดหลาย ๆ ที
ก็ขาดได้ใช่ไหม ฉะนั้นตกลงว่าองค์ประกอบ 3 อย่างต้องมี จะเอาอย่างไหนให้มันเต็มที่ได้หมดมันก็ตี นี้ถ้าหากมันไม่ได้เต็มที่ก็อย่างที่ว่าก็ดูอ่ะมันจะต้องให้ยังไรอย่างนึง มันมีความกำลังแข็งแรงมีเป็นองค์ประกอบที่สมบูรณ์ใช่ไหม มาช่วยกันเป็นอันว่าคนที่มีปัญญามากนี่ แม้แต่ว่าพื้นไม่แน่นัก กำลังไม่ดีนัก แต่ว่าสามารถที่จะทำงานได้ผลใช่ไหม เพราะว่าความเฉียบคม ฉะนั้นแม้แต่พื้นไม่ดี มาฟังพระเจ้าตอนนั้นแกพัฒนาตัวพฤติกรรมแกก็อยู่ในความเรียบร้อยเฉพาะหน้า แต่จิตแกก็มีกำลัง เอาจริงเอาจังตอนฟังพุทธเจ้าเกิดสมาธิ เพราะว่าสนใจจริง ๆ ปัญญพื้นแกดีเฉียบคมมาก แกฟังพระพุทธเจ้าก็ชั้วขาดเลยใช่ไหม ทีนี้หลายคนนี่ปัญญาไม่คมเลย ทำไงต้องมาสร้างพื้นให้แน่น ต้องมาสร้างจิตกำลังให้พอใช่ไหม แล้วก็ต้องมาปฏิบัติตามหลักการอะไรกันว่ากันหลายขั้นตอน พอเข้าใจน่ะ
(6)
คนฟังถาม ที่กราบนมัสการท่านเจ้าคุณ ในระหว่างที่ผมทำงานสอนเด็ก ๆ ที่สอนเป็นเด็กอาชีวะ สภาวะจิตค่อนข้างจะกวัดแกว่ง คือสมาธิน้อย แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ให้ความรู้คือครูอาจารย์เองก็ ชี้นำก็ต้องเป็น ทีนี้ต้องที่เรียนถามกราบเรียนถามอาจารย์ เสด็จท่านเจ้าคุณ คือจะได้หลักอันนีไป ในการสอนเราเด็ก ถ้าเราได้หลักไปได้ผลแล้ว พระคุณที่ได้คำสอนวันนี้ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่กระผมต้องไปพิจราณาเปรียบเทียบ แล้วก็ประยุคในคำพูดที่เทศน์เป็นประโยชน์
พระตอบ อ๋อ แต่ว่า ที่ฟังนี้เข้าใจแล้วนะ เข้าใจครับ
(7)
คนฟังถาม ไปถึงจุดไหนอย่างไรก็แล้วแต่บุคคลใช้ปัญญา ก็ไปพิจารณาว่า แต่ละคนปฏิบัติโดยอาศัยปริยัติปฏิบัติปฏิเวส ผลจะเป็นอย่างไรก็ต้องขึ้นกับปัญญา
พระตอบ ต้องครบทั้ง 3 อย่าง ต้องครบทั้งศีลสมาธิปัญญา ไตรสิกขา โดยเฉพาะตัวที่จะเป็นตัวตัดสิน ก็คือปัญญานี่แหล่ะใช่ไหม เพราะเป็นตัวทำงานแท้เลย เป็นมีดที่จะตัดกิเลส ทำให้เข้าถึง เป็นตัวแสงสว่างก็ได้ เป็นตัวส่องทะลุให้เห็นตัวความจริง เป็นแสงสว่างหรือมีดอุปกรณ์ที่คม ก็ปริยัตินั่นก็คือคำบอกเล่าประสบการณ์ของพระพุทธเจ้า ปริยัติที่จริงไม่ใช่ทฤษฏี แต่เราไม่มีคำสมัยนี้ที่จะเทียบ ที่จริงไม่ใช่ทฤษฏี แต่ที่จริงไม่ใช่ ปริยัติคำบอกเล่าประสบการณ์ของพระพุทธเจ้า พระองค์ผ่านมาแล้วก็มาเล่า เราฟังก็บันทึกเอาไว้ เพราะฉะนั้นเราจึงถือสำคัญมากปริยัติเป็นสิ่งสำคัญมาก ปริยัติคือพุทธพจน์ พระไตรปิฏกสำคัญ ไม่งั้นเราจะรู้ได้ไงว่าพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อะไรผ่านอะไรมา สอนว่ายังไงใช่ไหม นั้นโบราณอาจารย์ถือสำคัญมากอันนี้ ถือปริยัติเป็นรากพระศาสนาเลย เพราะฉะนั้นเราก็กลับไปเป็นโยคีฤษีดาบสีตามเดิม เพราะว่าเราไม่อาศัยประสบการณ์พระพุทธเจ้า เราก็ไปลองผิดลองถูกเอาเอง เราก็เข้าป่าไปปฏิบัติด้วยตนเอง เราก็บอกว่าฉันไม่ต้องพึ่งพระพุทธเจ้าแล้ว ใครพูดว่าไม่ต้องใช้ปริยัติ เท่ากับพูดว่าฉันไม่ต้องพึ่งพระพุทธเจ้า เมื่อไม่พึ่งพระพุทธเจ้าก็ไม่จำเป็นต้องมาบวชด้วยใช่ไหม ไม่ต้องมาบวช ไปค้นคว้าเองเองซิใช่ไหม ก็ไว้ใจตัวเองก็หมดเรื่อง ปริยัติเป็นอันว่าเป็นคำบอกเล่าประสบการณ์ของพระพุทธเจ้า แล้วก็เลยถ่ายทอดกันมา เราก็เลยต้องเล่าเรียนให้เรารู้ว่าพระองค์สอนว่ายังไง เราจะได้ปฏิบัติได้ นี้ 2 ปฏิบัติก็คือนำเอาคำสอนของพระองค์มาปฏิบัติ คำสอนของพระองค์ที่สอนให้เราปฏิบัติก็รวมแล้วอยู่ในศีลสมาธิปัญญาใช่ไปม ฉะนั้นปฏิบัติได้แก่ ศีลสมาธิปัญญา คำพูดสั้น ๆ ก็คือ ไตรสิกขานั่นเอง ที่นี้คำว่า สิกขาแปลว่าศึกษา เพราะฉะนั้นขอให้สังเกตว่า ศึกษานี่อยู่ที่ตัวปฏิบัติ นี่ในภาษาไทยปัจจุบัน ศึกษาไปเอาที่เล่าเรียน ยุ่งหมด ศึกษาคือสิกขานี้ได้แก่ ศีลสมาธิปัญญาเป็นตัวปฏิบัติ เพราะฉะนั้นปฏิบัติได้แก่ศีลสมาธิปัญญา เอ้าปฏิบัติศีลสมาธิปัญญาก็ได้ไตรสิกขา ก็ต้องปฏิบัติไตรสิขา ได้แก่การศึกษา ศึกษาก็คือปฏิบัติ ปริยัติเป็นเบื้องต้นในการศึกษา ทีนี้เวลาพูดสั้น ๆ นี่ ปฏิบัติต้องอาศัยปริยัติ แล้วพูดควบว่าศึกษาเนี่ยก็คือปฏิบัติไปตามที่ได้เล่าเรียนปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่ได้เล่าเรียนมา เพราะถ้าไม่ได้เล่าเรียนมา มันก็ศึกษาไม่ได้ เพราะฉะนั้นพูดสั้น ๆ ก็รวมทั้งปริยัติและปฏิบัติ แต่มันเป็นตัวจริงของศึกษาในที่ปฏิบัติ เอ้าเป็นอันว่าแยก เป็นปริยัติปฏิบัติปฏิเวธ ถ้าพูดสั้น ๆ ศึกษาเท่ากับปริยัติปฏิบัติเลย ทีนี้ต่อไปพอศึกษาหรือว่าพูดแบบแยก ก็เป็นปริยัติปฏิบัติ ที่นี้ผลได้เกิดขึ้นมาเรียก ปฏิเวธ ปฏิเวธมุ่งที่มรรคผลนิพพานที่ จริง ๆ นะจะเอาที่มรรคผลนิพพาน คือปัญญาชำแรกเข้าถึงสัจธรรมเลย ปฏิเวธคือชำแรก แทงทะลุ แทงทลุเลยถึงตัวสัจจธรรม ความจริงชำแรกที่ทำลายกิเลสได้เลย ถ้างั้นก็ต้องถึงมรรคผลนิพพาน แต่ว่าเราก็เอามาใช้เป็นแบบอนุโลมว่า เอาล่ะปฏิบัติไปได้ผลก้าวหน้าไป ได้ประสบการณ์ในการปฏิบัติก็ถือเป็นปฏิเวธ ใช่ไหม ใช้โดยอนุโลม
(8)
คนฟังถาม จริง ๆ แล้วปฏิเวธตามศาสนาพุทธคือพระนิพพาน
พระตอบ คือการบรรลุนิพพาน ปฏิเวธเป็นตัวการบรรลุนิพพาน ไม่ใช่ตัวพระนิพพาน พระนิพพานเป็นสังฆธรรม ปฏิเวธเป็นกิริยา การบรรลุนิพพาน นอกจากว่าเราแปลซะใหม่ นิพพานคือองค์ธรรมภาวะที่เราได้เข้าถึงใช่ไหม แปลเป็นกรรมไป แปลว่าภาวะที่เราได้บรรลุ แต่ว่าปฏิเวธเป็นตัวการกระทำ แปลว่าการเข้าถึงใช่ไหม การบรรลุอะไรอย่างนี้ ไอ้ตัวการกระทำมันไม่ใช่ตัวนั้น เหมือนเราเดินทางไปเชียงใหม่ การถึงเมืองเชียงใหม่ตัวเมืองเชียงใหม่เชียงใหม่อันเดียวกันหรือเปล่า เป็นไหมครับ เชียงใหม่กับการถึงเชียงใหม่ มันคนละตัว ปฏิเวธคือการถึงเมืองเชียงใหม่ ไม่ใช่ตัวเชียงใหม่ใช่ไหม เข้าใจน่ะ นอกจากว่าเราแปลซะใหม่ เชียงใหม่ที่เราถึง แปลปฏิเวธเป็นเชียงใหม่ที่เราถึง แต่ว่าถ้าเราแปลตามตัว
(8)
คนฟังถาม เป็นสภาวะ
พระตอบ เป็นสภาวะซิ เปรียบเหมือนกับว่านิพพาน ถ้าเราเปรียบเหมือนจุดหมาย ก็อย่างเราจะไปเชียงใหม่ นิพพานหมายถึงเชียงใหม่ใช่ไหม การบรรลุนิพพานก็คือการเดินทางไปถึงเมืองเชียงใหม่ก็เป็นปฏิเวธ
(9)
คนฟังถาม เปรียบเทียบเรื่อง องค์ประกอบของปฐมฌาน ก็วิตกวิจาร เรื่องสติสมาธิ ไม่ทราบพอจะเทียบเคียงกันได้ไหม การวิตกถึงขั้นวิจารณ์ถึงขั้นสติทำงาน ขึ้นวิจารถึงขั้นสำเร็จเนื่องจากสมาธิ สมาธิเริ่มอยู่ตัวอะไรอย่างนี้
พระตอบ ไม่ใช่ ๆ พวกนี้มันเป็นตัวประกอบทัังนั้น ไม่ใช่ตัวทำงานสำคัญ เป็นคุณสมบัติในระหว่างทำงานที่ก้าวหน้าไปถึงระดับนี้ ระดับนี้มีเจ้าพวกนี้เกิดขึ้น
(10)
คุณฟังถาม ยกตัวอย่างในช่วงวิตก สติจะเป็นตัวเด่น แล้วก็ถึงช่วงวิจารณ์สมาธิจะเด่นแทนตัวสติ อะไรอย่างนี้ หรือไม่เกียว
พระตอบ มันเป็นตัวรองรับในการทำงานตลอดเวลา มีวิตกวิจารณ์มีอะไรต่ออะไร มีคุณสมบัติฝ่ายจิตที่มีเป็นหลายสิบมีเยอะแยะไปหมด แต่ว่าไอ้ตัวทำงานสำคัญก็มีเจ้า 3 ตัวนี้ มีเจ้าวิริยะความเพียร มีเจ้าตัวสติ มีเจ้าตัวสมาธิ เป็นตัวยืนเลย อ้ายเจ้าพวกนี้เป็นตัวยืนเลย อ้ายเจ้าอื่นก็มาประกอบการ อาจจะใช้ตอนนี้ใช้ตอนนั้น แล้วแต่ อย่างเมตตามา ศรัทธามา อะไรแล้วแต่เยอะแยะ นี่วิตกวิจารณ์มันก็จะเกิดขึ้นในกระบวนการที่เราฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิไปถึงระดับนี้ พอสมาธิมันอยู่ตัวจิตมันอยู่ตัวถึงระดับนี้คุณสมบัติในจิตมันก็เป็นไปเอง มันจะมีคุณสมบัติในจิตอย่างนี้ ๆ พอจิตมันไปถึงสมาธิระดับนี้แล้ว คุณสมบัติมันก็อยู่ในระดับนั้นก็จะมีอะไรเกิดขึ้น เราก็จะมาแยกดูซิว่า ท่านก็แยกดูว่า อ้อสมาธิมาถึงระดับนี้นะมันจะมีคุณสมบัติประกอบอยู่ด้วยอันนี้ เรียบกว่าวิตกวิจารปีติสุขใช่ไหมแล้วก็เรียกว่าจิตมันเป็นสมาธิระดับนี้มีองค์ประกอบในจิตอยู่อย่าเนี่ยเราก็เรียกว่า นี่จิตถึงปฐมฌานใช่ไหม ก็คือเรื่องของที่ว่า การที่จิตเข้าถึงสมาธินี่มันแนบสนิทขนาดไหน มันถึงปฐมฌานเป็นอัปนา ก็นานแน่วแน่แล้ว ตัวเองกับ เอกัคคตา เป็นตัวสมาธิ มีวิตกวิจารปีติสุขเอกัคคตาคือ อ้ายเจ้าตัวเอกัคคตาเป็นตัวสมาธิ รองรับอยู่แล้วใช่ไหม ทีนี้เจ้าวิตกวิจารก็คืออาการทำงานของจิตในระดับนี้ ระดับที่มีเอกัคคตาระดับนี้ มันก็จะมีวิตกมีวิจารมีปีติ ต่อไปมันอยู่ตัวหนักเข้าไปอีก วิตกวิจารหายใช่ไหม พอจะเข้าใจน่ะครับ
มีอะไรอีกไหมครับ พอยังมีเวลาคุยกันต่อ แล้วพรุ่งนี้จะได้ไปถึงเรื่องปัญญา พอไปพูดถึงเรื่องปัญญาแล้วอาจจะเข้าใจชัดขึ้นในสิ่งที่เราพูดไปแล้ว คือฟังไปแล้วนี่มันอาจสงสัยสิ่งที่เรารู้ต่อแล้วมันก็จะมาโยงทำให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น