แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
นี่พูดถึงเรื่องไตรสิกขา มันก็ย่อมไปเกี่ยวพันธ์กับเรื่องมรรคเป็นธรรมดา ทีนี้เรามาพูดกันมาแต่เรื่องไตรสิกขาสืบเนื่องมาจากเรื่องอื่น ๆ ทีนี้เมื่อได้พูดถึงเรื่องมรรคไว้ เวลาไปมีเรื่องเกี่ยวข้องก็เลยเกิดปัญหาหน่อยในแง่ที่ว่า ถ้าไม่มีพื้นมาก็จะงง เพราะฉะนั้น วันนี้ก็เลยนึกว่าจำเป็นต้องพูดถึงเรื่องมรรคสักนิดหน่อย พอให้มีความรู้พื้นฐานที่จะมาโยงกันได้เท่านั้น ยังไม่พูดละเอียดลึกซึ้งอะไร
มรรคก็คือข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้แปลเป็นภาษาแบบประเพณีน่ะครับ ที่จริงนั้นแปลว่าทาง มรรคกับทางอย่างที่รู้กันอยู่แล้ว คำว่ามรรค มอรอหันคอ ก็ใช้ในภาษาไทยด้วย แปลว่าทาง ทีนี้ทางนั้นก็สำหรับสามัญก็หมายถึง ทางเดินถนนอะไรพวกนี้ ทีนี้เอามาใช้กับเรื่องธรรมะก็หมายถึง ทางดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิต ทีนี้การที่จะดำเนินชีวิตก็พูดในแง่ของการปฏิบัตินั่นเอง คือเรื่องของการที่จะปฏิบัติธรรม หรือเอาสิ่งที่ดีงามสิ่งที่ควรจะประพฤตินำมาปฏิบัติตาม ทีนี้เรื่องมรรคเลยเป็นเรื่องของการปฏิบัติ แต่ถ้าจะแปลให้ตรง ก็แปลว่าทาง ก็คือทางดำเนินชีวิตที่จะนำไปสู่จุดหมายของพุทธศาสนา ได้แก่นิพพาน นิพพานนี้จะเรียกอย่างอื่นก็ได้ จะเรียกว่า เป็นความหลุดพ้น เป็นสันติ เป็นความสุข เป็นอิสรภาพ ก็แล้วแต่จะใช้ถ้อยคำ แต่รวมความก็คือว่า มรรคนี้เป็นทางดำเนินชีวิตที่จะให้ถึงจุดหมายนั้น ทีนี้ถ้าพูดอีกคำหนึ่งก็ใช้ใช้คำว่า วิถีชีวิตก็ได้ ทีนี้ทางดำเนินชีวิตวิถีชีวิตที่นำไปสู่จุดหมายก็คือ ก็เป็นวิถีชีวิตที่ดีงาม อันนี้ก็มาคู่กับสิกขา ในแง่ที่ว่าเรา เอ้าเราต้องการที่จะมีชีวิตที่ดีงามดำเนินให้ถูกต้อง จะทำอย่างไรล่ะ เราก็ต้องมีความรู้ เราก็ต้องฝึกตัวเองเพราะว่ามุษย์เรานี้ จะทำอะไรเป็นก็ต้องฝึกต้องเรียนรู้ทั้งนั้น ฉะนั้นก็ต้องเลยมีสิกขามา เพื่อจะมาช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามได้ เพราะฉะนั้นสิกขากับมรรคนี้เท่ากับว่าต้องมาควบคู่กันไปด้วยกัน สิกขาก็เป็นการฝึกการเรียนรู้การฝึกพัฒนา ฝึกตัวเองไว้อย่างไรก็จะดำเนินชีวิตได้อย่างนั้น นั้นสิกขาก็มาทำให้เรานี่ได้มีมรรคที่ถูกต้อง ก็เนื่องกันอย่างที่ว่านี้ สิกขาเป็นการฝึกฝนพัฒนา แล้วก์มรรคเป็นการดำเนินชีวิต
ทีนีสิกขาก็มี 3 ด้าน คือ ฝึกในด้านพฤติกรรม เรียกว่าศีล ทางด้านจิตใจมีสมาธิเป็นประธานและก็ด้านปัญญา ทีนี้พอมาดำเนินชีวิต บอกแล้วฝึกอย่างไรได้อย่างนั้น เพราะฉะนั้นก็เมื่อฝึกแล้วดำเนินชีวิตอย่างไร ดำเนินชีวิตก็คือว่าเมื่อมีพฤติกรรมมีจิตใจและก็มีปัญญาที่มันพัฒนาขึ้นมา แล้วก็ดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะฉะนั้น สิกขา 3 มี ศีลสมาธิปัญญาฉันใด มรรคก็แยกออกไปเป็น 3 เป็น ศีลสมาธิปัญญาฉันนั้น ก็ตรงกัน อย่างที่บอกแล้วฝึกอย่างไรก็ได้อย่างนั้น แต่ทีนี้มรรคที่ว่า แบ่งเป็นประเภท 3 ด้าน คือ ศีลสมาธิปัญญาอย่างเงี้ย พระพุทธเจ้ายังย่อยออกไปอีกให้เห็นองค์ประกอบให้มันชัดขึ้น แยกย่อยลงไป จาก 3 ก็เลยเป็น 8 เรียกว่าองค์ประกอบของมรรค 8 อย่าง หรือเรียกง่าย ๆ องค์ 8 ของมรรค องค์ 8 ของมรรคนี้ก็มี
1 สัมมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูกต้อง หรือความเห็นชอบ คือความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ ความเห็นการยึดถือหลักการต่าง ๆ ที่ถูกต้อง นี่เป็นข้อที่ 1 เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ พอมีสัมมาทิฏฐิมีความเห็นความเข้าใจถูกต้องแล้ว ก็มีความคิดการตั้งจิตตั้งใจที่จะทำการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความเห็นความเชื่อนั้น ความคิดความตั้งใจความดำริอันนี้ก็เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ แปลว่าความดำริชอบ ได้ 2 แล้ว 2 อย่างนี้จะเห็นเป็นเรื่องของความคิดความเข้าใจเพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของปัญญา ก็เป็นอันว่า 2 ข้อแรกนี้ได้เป็นหมวดที่ 1 แล้วคือปัญญา
นี้ต่อไป จากความคิดก็จะออกมาสู่การกระทำ การกระทำก็มาทางวาจาก็พูด คิดอย่างไรเข้าใจอย่างไรคิดแล้วก็พูดตามนั้น มีความเข้าใจมีความเห็นถูกต้อง คิดถูกต้องแล้วก็พูดถูกต้องไปตาม การพูดถูกต้องนี้ ก็เรียกว่า สัมมาวาจา แปลว่าเจรจาชอบหรือพูดชอบพูดถูกต้องนั่นเอง
ทีนี้นอกจากพูดถูกต้องแล้วกระทำออกไปทางกาย การแสดงออกทางกายก็เป็นการกระที่ถูกต้องด้วย การกระทำถูกต้องนี้ก็เลยเรียกว่า สัมมากัมมันตะ สัมมากัมมันตะแปลว่าการกระทำที่ถูกต้อง หรือการกระทำชอบ โบราณก็แปลว่าการงานชอบ เราก็แปลว่าการกระทำชอบดีกว่า จะได้ไม่สับสนกันเรื่องของการเลี้ยงชีพ
นี้ต่อไปก็การเลี้ยงชีพการประกอบอาชีพการงานที่เป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ของชีวิต อันนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันก็จะต้องอาศัยความเชื่อ ความเข้าใจและการการคิดที่ถูกต้อง เมื่อเชื่อเห็นเข้าใจถูกต้องคิดถูกต้องก็จะประกอบการอาชีพที่ถูกต้องไปด้วย แต่เห็นว่าการทำร้ายสัตว์อื่นมันดีไม่เสียหายอะไร การประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิตก็เบียดเบียนสัตว์อื่นได้ แต่ถ้าหากว่า มีความเห็นว่า เอ้อการเบียดเบียนกันไม่ดี การฆ่าไม่ดี อาชีพอะไรที่มันเป็นการทำร้ายคนอื่นเอาเปรียบคนอื่น เราก็จะพยายามหลีกเลี่ยงใช่ไหม ก็สอดคล้องกันอย่างนี้เป็นต้น
นี้สัมมาวาจา เจรจาชอบหรือพูดถูกต้อง สัมมากัมมันตะ กระทำการถูกต้อง แล้วก็สมาอาชิวะ เลี้ยงชีวิตถูกต้องนี้ จัดเป็นหมวดศีล เป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรม ฉะนั้นก็อยู่ในหมวดศีล 3 ข้อ
และต่อไปก็ในการที่เราจะปฏิบัติให้ถูกต้องนำความรู้ความเข้าใจมาสู่การปฏิบัติต้องมีด้านจิตใจหนุน มีกำลัง มีความเข้มแข็ง มีความเพียรพยายาม มีจิตใจที่เหมาะแก่การใช้งานมาหนุน มีตัวการคอยมีสติ คอยระลึกถึงสิ่งที่ทำ มันก็ทำให้ทำการนั้นได้ผลดี อันนั้นด้านจิตใจก็ต้องมาหนุนด้วย ก็เลยตามด้วยด้านจิตอีก 3 ข้อ ก็เป็นข้อที่ 6 ก็คือสัมมาวายามะ แปลว่าความเพียรพยายามชอบ เพียรพยายามถูกต้อง แล้วก็ต่อไปก็สัมมาสติความระลึกชอบ แล้วก็สุดท้ายสัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ 3 ข้อนี้ก็เป็นบทสมาธิ
ก็เป็นว่าครบองค์ 8 ของมรรค แล้วก็จัดมาเป็น 3 หมวดอย่างที่ว่า ก็เห็นเพียงการแยกซอย ให้เห็นว่าด้านศีลแยกละเอียดลงไปอย่างไร สมาธิแยกละเอียดอย่างไร ปัญญาแยกละเอียดอย่างไร แต่ที่จริงไม่ละเอียดจริงหรอก นี่คือการแยกเฉพาะเป็นส่วนที่นับเป็นองค์ของมรรค คือเป็นองค์ประกอบที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะให้วิถีชีวิตที่ดีงามนี่มันดำเนินไปได้ แต่ว่ารายละเอียดในชีวิตของคน อย่างด้านจิตใจมันมีเยอะแยะไปมีอีกมากมายกว่านี้ มีเป็นหลายสิบอย่าง ไม่ใช่แค่ว่าด้านจิตใจมี 3 อย่าง ด้านปัญญาก็มีเรื่องเยอะแยะความรู้ความเข้าใจของคน ด้านศีลความประพฤติก็มีรายละเอียดเยอะแยะ แต่โดยหลัก ๆ ก็แยกได้เท่านี้เพราะเป็นตัวประกอบสำคัญในการที่จะมาทำการ นี่เราพูดกันไปแล้วถึงด้านศีล ไปแยกในของสิกขา ทีนี้ด้านของมรรคนี่ จะเห็นว่าไม่ได้แยกเป็นหมวดแบบว่า เป็นด้านเกี่ยวกับปัญญาศานติศีล ปาฏิโมกข์กับสังวรศีลไม่ได้แยกแบบนั้น มาแยกเอาด้านกายวาจาและอาชีพ นี่จะเห็นว่า มันจะไปทำอะไรก็ตามมันก็อยู่ใน 3 อย่างนี้ นี้ด้านการแสดงออกทางกาย จะทำอะไรก็ทำ แต่ขอให้ปราศจากการละเมิดทำร้ายชีวิตร่างกายผู้อื่น ปราศจากการล่วงละเมิดทรัพย์สินผู้อื่น ปราศจากการละเมิดคู่ครองของรักหวงแหนผู้อื่น แล้วจะทำอะไรก็ทำไป มันไม่ใช่หมายความว่า มีแค่ไปเว้น แต่หมายความว่าเป็นการกระทำที่ปราศจากไอ้นี่ เป็นอันว่าใช้ได้ วาจาที่พูดก็อย่าพูดให้เป็นวาจาเท็จ นี่อย่างแคบที่สุด แต่ท่านขยายในมรรค ท่านจะพูดถึงว่า เว้นจากวาจาเท็จ แล้วยังมีเว้นจากวาจาหยาบคาย เว้นจากวาจาสอดเสียด เว้นจากวาจาเพ้อเจ้อ แล้วเมื่อเว้นจากวาประเภทนี้แล้ว พูดอะไรก็พูดไป มันก็นจะเป็นวาจาที่ใช้ได้ ซึ่งมันจะมีรายละเอียดเยอะแยะเลยเรื่องวาจา แต่ขอให้ปราศจากไอ้พวกที่ว่า อาชีพก็เหมือนกันก็อย่าให้เป็นอาชีพที่เสียหาย ซึ่งมันก็จะโยงมาหาในเรื่องของวาจาและกัมมันตะนั่นแหละ เอ้าก็ประกอบอาชีพซึ่งมันทำไปแล้วมันก็ไม่มีการพูดเท็จทำลายผลประโยชน์ของเขาหลอกลวงเขา แล้วก็อาชีพนั้นมันก็ไม่ก่อการเบียดเบียนทำร้ายชีวิตร่างกายผู้อื่น ไม่ไปละเมิดทรัพย์สินผู้อื่น ไม่ไปละเมิดคู่ครองอะไรเขาใช่ไหม อาชีพประเภทนี้โดยหลักการก็ใช้ได้ แต่ว่ามันก็จะมีข้อกำหนดในสังคมขึ้นมาอีกว่า มีอาชีพอะไรที่เสียหาย ที่ไม่ยอมรับในสังคม แม้กระทั่งจะมีรายละเอียด เช่น การกำหนดกรณียะ วณิชชาการค้าที่ไม่ควรทำ หรือเรียกในสมัยเรา มิจฉาวณิชชา การค้าขายที่ผิด นี่ก็จะแยกรายละเอียดออกไปเรื่อย ๆ
ถึงเป็นพระภิกษุก็จะมีรายละเอียดว่าอาชีพอะไรทำไม่ได้ การเลี้ยงอาชีพอย่างไรไม่ถูกต้อง เรื่องรายละเอียดอย่างนี้ขยายไปเรื่อย แต่ว่าโดยหลักการก็จะพูดไว้สั้น ๆ เท่านั้น ก็เป็นอันว่าเรื่องศีลนี่เราก็พูดกันไปแล้วว่า มันก็แล้วแต่จะไปอยู่ในสภาพชีวิตอย่างไร อย่างของพระภิกษุ ปาฏิโมกข์สังวรศีล ที่แยกเป็นสิกขาบท 227 และยังมีสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์อีกเป็นหลายร้อยหรือเป็นพัน ของภิกษุณีก็สิกขาบทปาฏิโมกข์ 311 เป็นต้น ถ้าเป็นคฤหัสต์ก็เอาหลัก ๆ เป็นสิกขาบท 5 แล้วก็มาดูกันว่า จะวางวินัยอะไรต่ออะไรอย่างไร ฉะนั้นเรื่องนี้มีเรื่องรายละเอียดวิจิตรพิสดารมีเรื่องเยอะแยะพูดแทบจะไม่มีสิ้้นสุด แต่หลักการก็ได้อย่างที่ว่า สำหรับชีวิตพระจัดเป็นศีล 4 หมวดอย่างที่ว่า
ทีนี้เรื่องศีลก็พูดไปแล้วเท่านั้นก็น่าจะพอ ทีนี้เรื่องของสมาธิหรือด้านจิตใจนี่ ก็มีแค่ 3 ข้อ
สัมมาวายามะเพียรพยายามชอบ
สัมมาสติระลึกชอบ
สัมมาสมาธิตั้งจิตมั่นชอบ
3 ข้อนี่ ก็คือความเพียรสติและสมาธิ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำงานด้านจิตใจของมนุษย์ ที่จะให้ทุกอย่างดำเนินไปได้ คุณสมบัติอย่างอื่นมีอีกเยอะแยะแต่ท่านไม่เอามาพูดถึง เพราะเจ้า 3 ตัวนี้ เป็นสิ่งที่ต้องการทำประจำ อย่างเวลาพูดถึงผู้ปฏิบัติกรรมฐาน จะเห็นว่าเจ้า 3 ตัวนี้จะเด่นขึ้นมาเลย หรืออย่างแม้แต่ไปปฏิบัติวิปัสสนาฐานไปบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ก็จะมี อาตาปีสัมปชาโนสติมา อาตาปีก็เพียรพยายามนี่อยู่ในสัมมาวายามะ สัมปชาโนสัมปชัญญะ นั้นเป็นเรื่องปัญญาวิปัสสนา แต่ว่า สติมามีสติ แต่พร้อมกันนี้ สมาธิก็ต้องเป็นฐานรองอยู่ถ้าจิตไม่มีสมาธิบ้างเลย ก็ทำงานไม่ได้ผลใช่ไหม จิตไม่เหมาะกับการใช้งานอย่างที่เคยพูดไปแล้ว สมาธิก็ต้องรองรับไว้ แต่ในการปฏิบัติวิปัสสนา อย่าง สติปัฏฐาน สมาธิไม่ใช่ตัวเด่นไม่ได้ต้องการสมาธิลึกซึ้งนัก กลับเป็นตัวสตินี่ตัวเด่น แต่ว่ายังงัยสมาธิก็ต้องรองรับเป็นฐานรองอยู่ มีสมาธิอยู่บ้าง แต่ก็จะเห็นว่าแม้ไปปฏิบัตวิปัสสนาซึ่งไม่ต้องการสมาธิมากมาย ไอ้เจ้าองค์ประกอบฝ่ายจิต คือความเพียรแล้วก็สติ ก็ต้องทำงานเป็นกำลังสำคัญ ที่นี้การดำเนินชีวิตของคนก็เหมือนกัน ในด้านฝ่ายจิตมันจะต้องมี หนึ่ง ตัวความเพียรนี่อยู่ ถ้าไม่มีตัวความเพียรนี้ แล้วอะไรจะไปทำงานใช่ไหม ฉะนั้นคุณสมบัติอื่น ๆ เป็นตัวประกอบอยู่ ทีนี้แม้แต่โกรธจะทำตามโกรธก็ต้องมีความเพียรใช่ไหม แต่ว่ามันไม่เป็นสัมมาวายามะ ไม่เป็นพยายามชอบ แต่เป็นมิจฉาวายามะไป ในกรณีนี้เราต้องการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง วายามะความเพียรพยามก็มา แต่เป็นสัมมาวายามะ แต่ว่าคุณสมบัติอื่นอะไรก็ตามที่จะมามีผลในทางที่จะปฏิบัติการในการดำเนินชีวิตได้ ก็ต้องมีตัววายามะความเพียร ต้องมีสติคอยกำกับ คอยเรียกมา คอยจะให้เอาใจใส่ กับไอ้เจ้าตัวนี้ คุณสมบัตินี้จะพัฒนามันขึ้นมา หรือจะใช้งานมันก็ตาม ก็ต้องมีสติทั้งนั้น แล้วสมาธิก็เป็นฐานรองรับอย่างที่เคยพูดไปแล้ว ว่าจะทำให้คุณสมบัติเหล่านั้นตั้งอยู่ได้เจริญงอกงามไม่งั้นหล่นระเนระนาดหมดหายหมด นั้นก็นี่เลยอะไรเนี่ย 3 ตัวนี้ ฝ่ายจิตก็มีสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นองค์ประกอบในด้านการทำงานที่จะให้การดำเนินชีวิตที่ดีงามนี้เป็นไปได้ ฉะนั้นก็โยงมาหาเรื่องคุณสมบัติสำคัญในด้านจิตนี่ ว่ามี 3 ประการที่เป็นหลัก ส่วนด้านปัญญานั้นก็มุ่งที่ว่าตัวสัมมาทิฏฐินี้ จะเป็นตัวฐานรองรับหมด ปัญญาความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ มันก็มีอยู่ที่ว่ามันเข้าใจถูกแล้วเข้าใจผิดใช่ไหม จะเข้าใจถูกเข้าใจผิด เห็นถูกเห็นผิด เชื่อถูกเชื่อผิด ยึดถือหลักการถูกหรือผิด มีอยู่แค่นี้เป็นฐานตั้ง ถ้าฐานผิดก็ผิดไปตลอดกระบวนเลย ถ้าถูกก็ไปถูกตลอกระบวนเลย เพราะฉะนั้นตัวปัญญาก็มาจับเอาตัวสำคัญ ที่จะเป็นฐานในการดำเนินชีวิตตัวทิฐินี่ถูกหรือผิด ต่อจากนั้นเอ้า ไอ้ที่จะออกไปสู่การดำเนินชีวิตมันก็ต้องมีความคิดใช่ไหม มันมีความคิด มันจึงจะออกปฏิบัติการก็ต้องต่อจากความรู้เข้าใจเชื่อความเห็นยึดหลักการเข้ามาสู่ความคิดความดำริ และก็ไปต่อเชื่อมกับการดำเนินชีวิตด้านพฤติกรรมด้านจิตใจมาช่วยหนุนอย่างที่ว่า ก็นี่เป็นด้านของมรรค อย่างที่บอกไปแล้ว มรรคนี้เป็นได้ด้านดำเนินชีวิตของคน ซึ่งว่าไปตามธรรมชาติเมื่อคุณสมบัติอย่างนี้มีแล้วมันดำเนินไปตามกระบวนการของมัน ฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ต้องตรัสสัมมาทิฏฐิเป็นตัวต้น ซึ่งเป็นด้านปัญญาว่าเชื่อคิดเห็นเข้าใจอย่างไรก็จะดำเนินชีวิตไปตามนั้น นั้นฝ่ายมรรคนี่จึงเริ่มด้วยฝ่ายปัญญาก่อนใช่ไหม รู้อย่างไรเข้าใจอย่างไรทำไปตามนั้นและได้ในขอบเขตเท่านั้นด้วยน่ะ ปัญญาตัวมีเท่าไหร่ก็อยู่ในขอบเขตเท่านั้น เมื่อปัญญาพัฒนาขยายไปก็เปิดกว้างออกไปไกลออกไปลึกซึ้งออกไป ส่วนฝ่ายสิกขานี่เพราะเป็นการฝึกตั้งใจจะมาฝึกมาพัฒนาชีวิต ก็มาเริ่มที่ส่วนที่จับง่ายหยาบ เป็นเครื่องมือก่อนอย่างที่ว่าก็เอาศีลนำหน้า ศีลก็นฐานเลย เป็นฐานในการฝึก พอฝึกศีลก็เป็นฐานให้ก้าวต่อไปสู่จิตสู่ปัญญาได้ผลดี
อันนี้ก็นเป็นอันว่าความสัมพันธ์โยงกันระหว่างฝ่ายสิกขากับฝ่ายมรรค ก็รวมความก็สิกขาก็เป็นการเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาชีวิตให้ดำเนินชีวิตไปอย่างถูกต้อง ฝึกอย่างไรได้อย่างนั้น เมื่อเราฝึกมีพฤติกรรมจิตใจปัญญาได้อย่างไร เราก็ใช้พฤติกรรมจิตใจและปัญญานั้นในการดำเนินชีวิตได้อย่างนั้น ก็สอดคล้องเป็นอันเดียวกัน ทีนี้ขอแทรกอีกนิดนึงว่ามรรคนั้น บางทีไปพูดเป็นมรรค 8 มรรค 8 เป็นภาษาพูด ให้เข้าใจว่าเป็นเพียงสํานวนเท่านั้นเองพูดให้เข้าใจง่าย ๆ เดี๋ยวจะเข้าใจเป็นมรรคมี 8 มรรคทางเข้า ไม่ใช่ 8 มรรค ความจริงคำว่ามรรค 8 นี่เป็นการพูดผิดด้วยซ้ำ แต่มันเป็นวิธพูดของคนไทยที่พูดให้สั้น เพราะจะพูดให้เต็มให้ถูกมันยาว
คำที่แท้จริงยาวมรรคมีองค์ 8 หมายความว่ามรรคอันเดียว มรรคคือทางเดียวแหละ ทางดำเนินชีวิต ๆ ก็มีทางเดียวทางที่ถูก มรรค 8 แล้วมีองค์ประกอบ 8 อย่างนี้มารวมเป็นทางอันเดียว ไม่ใช่เป็น 8 ทาง เดี๋ยวเข้าใจเป็น 8 ทาง ยุ่งหมดเลย สัมมาทิฐิไปทาง สัมมาสังกัปปะไปทาง เป็นไปไม่ได้ มันเป็นทางเดียวกัน แล้วองค์ประกอบทั้ง 8 นี้ก็มาประสานกัน แล้วก็มาต่อเนื่องกันทำให้เราดำเนินชีวิตไปได้
ก็เห็นจะจบได้แล้วนะ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิกขากับมรรค พอให้เห็นความเชื่อมโยง พอให้จับหลักได้ เวลาพูดอธิบายลึกซึ้งลงไปละเอียดก็จะได้มีพื้นฐานที่จะเข้าใจเท่านั้นเอง
นี้ต่อไปก็จะได้ไปพูดในเรื่ององค์ประกอบในฝ่ายสมาธิด้านจิตเนี่ยให้เข้าใจว่า อ้อที่เรียกว่าสติ นั้นเป็นอย่างไร แล้วสติสัมพันธ์กับสมาธิอย่างไร แล้วตลอดจนกระทั่งว่า ไปเชื่อมต่อกับปัญญาอย่างไรด้วย เพราะว่าจากฝ่ายจิตนี่มาหนุนกับใช้ปัญญาให้ได้ผลใช่ไหม เคยพูดไปแล้ว ทีนี้จะดูว่ามันมาสัมพันธ์กันอย่างไร ผมไม่แน่ใจว่าเคยพูดไปแล้วยัง ความสัมธ์ระหว่างสติกับสมาธิ กับความสัมพันธ์ระหว่างสติกับปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิกับปัญญา พูดไปหรือยัง ถ้าอย่างนั้นก็จะพูดเสียอีกที พูดถึงเรื่องนี่องค์ประกอบเหล่านี้ที่มันมาสัมพันธ์กันทำงานกันอย่างไร รวมทั้งความหมายของแต่ละอย่างด้วย ก็สำหรับวันนี้ก็คิดว่าเอาเท่านี้ก่อนสั้น ๆ