แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คุยเกร็ดความรู้ ไม่ต้องถือเป็นสำคัญว่าประดับความรู้ เกร็ดความรู้ก็เป็นเรื่องประดับความรู้ ไหน ๆ พูดถึงเรื่องศีลแล้วก็เลยมาพูดถึงเรื่องปลีกย่อยละเอียดลงไปหน่อย แต่ว่าไม่จำเป็นต้องจดจำอะไรที่บอกว่า
ในไตรสิกขา นี่ข้อที่ 1 ศีลเป็นการฝึกพฤติกรรมกายวาจาที่ไปสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคมบ้าง ทางวัตถุ เช่น ปัจจัย 4 บ้าง นี้เราลองมาดูตัวอย่าง ก็ในศีลของพระนี่ คือว่าศีล นี่เวลาพูดอย่างชาวบ้านมักจะไปนึกถึงศีล 5 ศีล 5 นี่มันก็เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ทางสังคม ที่ว่าจะให้มนุษย์อยู่ไม่เบียดเบียนกัน ซึ่งที่จริงก็เรียกว่าสิกขาบท 5 ทีนี้มาดูศีลของพระหรือที่จริงก็คือวินัยของพระ แล้วก็โยงมาหาศีลด้วยนั่นแหละจะได้เห็นชัดขึ้นว่า อ้อ เฉพาะด้านสังคมอย่างเดียว ดูวินัยของพระนี่ ท่านจัดเป็น 4 หมวด ศีลของพระซึ่งปฏิบัติตามวินัยเนี่ยมีเยอะแยะหมดเลย นี้ว่าเยอะแยะนี่ก็ต้องมีหลักการณ์จัดเพื่อจะให้สดวกในการเล่าเรียนศึกษาและจดจำ ทีนี้จัดได้ตั้ง 4 ประเภทด้วยกัน 4 ประเภทมีอะไรบ้าง เอ้า
1 ท่านเรียกว่าปาฏิโมกขสังวรศีล ชื่อนี่แหละบอกว่า เป็นเกร็ดความรู้จำยากก็เลยบอกไว้ก่อนว่า ไม่ต้องจำ ปฏิโมกขสังวรศีล ปาฏิโมกข์ก็ได้ยินอยู่แล้วนะ แล้วก็สังวร แล้วก็ศีล ก็ไม่ถึงกับยากอะไรมาก ปฏิโมกข์คำหนึ่ง แล้วก็สังวรคำหนึ่ง แล้วศีลคำหนึ่ง แปลว่าศีลคือความสำรวมในปฏิโมกข์ ปฏิโมกข์ก็อะไรละ ปาฏิโมกข์ก็อย่างที่เราไปวัดพระพิเรนทร์แล้วก็ไปฟังสวดใช่ไหม ก็คือศีลแม่บท หรือที่จริงก็วินัยแม่บท ได้แก่ประมวลสิกขาบทของพระ 227 ข้อ แต่เราเรียกกันว่าศีล 227 ชื่อจริงก็คือสิกขาบท 227 เพราะมีข้อฝึกอยู่ 227 ข้อ อันนี้เป็นวินัยแม่บทของพระภิกษุ ถ้าเป็นของภิกษุณีก็มี 311 ข้อ เอาเฉพาะของพระภิกษุนี่ 227 ข้อ รวมกันเรียกทั้งหมดปฏิโมกข์ ก็เป็นวินัยแม่บทเป็นบทใหญ่สำหรับควบคุมความประพฤติของพระภิกษุที่มาอยู่รวมกันนี่ ให้อยู่ในหลักความประพฤติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อันนี้ก็คำว่าปาฏิโมกข์นี่แปลว่าเป็นแม่บทนะแหละ แปลง่าย ๆ ก็แม่บทอย่างที่ว่าเมื่อกี้เป็นประธานหรือเป็นประมุข นี้ก็เป็นหลักใหญ่ แต่ที่นี้นอกจาก 227 ข้อที่เรียกว่าปาฏิโมกข์นี้ ก็ยังมีอื่นอีก นี้ไปประเภทที่ 2 ท่านเรียกว่าอินทรียสังวรศีล ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ เมื่อกี้สำรวมในปาฎิโมกข์ แม่บทมี 227 ข้อก็ว่าไป
ทีนี้ประเภทที่ 2 นี่คือความสำรวมอินทรีย์ก็คือตาหูจมูกลิ้นกายและใจของเราว่าเวลารับรู้ด้วยตา ด้วยหู คือได้เห็นได้ยินเป็นต้นแล้วเนี่ยให้มีสติกำกับไม่ปล่อยให้อกุศลเข้ามาครอบงำ อกุศลก็ความยินดียินร้าย เรียกว่าโลภะโทสะโมหะ ก็ตาม ไม่ให้ความรู้สึกที่ชอบใจไม่ชอบใจเข้ามาครอบงำจิตใจ แต่ว่าให้มีสติกำกับก็ทำให้มีปัญญารับรู้ก็ได้ความรู้ว่า เอ้อนี่ มันคืออะไร มันเป็นอย่างไรทำไมเป็นอย่างนี้ เป็นเพราะอะไร อย่างที่เคยพูดไปแล้วนะ ก็คือการใช้ตาดูหูฟังให้เป็น เป็นต้นนะแหละ อย่างที่เคยอธิบายไปแล้ว แต่ตอนนี้เรามารู้จักกันตัวหลักก่อน 2 แล้วนะ
ทีนี้ก็ต่อไปหมวดที่ 3 หมวดที่ 3 ท่านเรียกว่า อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ คือการเลี้ยงชีพ พระภิกษุนี่ก็เลี้ยงชีพเหมือนกัน เดี๋ยวจะว่าพระภิกษุไม่เห็นประกอบอาชีพอะไร ทำไมบอกมีอาชีพด้วยละ อาชีพในที่นี้ก็หมายถึงว่าทางที่จะได้มาซึ่งปัจจัยเครื่องยังชีพ พระภิกษุไม่ฉันข้าวอยู่ได้ไงใช่ไหม นอกจากฉันข้าวแล้วยังต้องมีปัจจัย 4 มีเครื่องนุ่งห่ม มีที่อยู่อาศัย มียารักษาโรค สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเครื่องยังชีพทั้งนั้นแหละ ทีนี้เครื่องยังชีพเรานี่ได้มาอย่างไร สำหรับพระภิกษุนั้นไม่ไปประกอบพวกอาชีพอย่างชาวบ้านคือการทำมาหากิน แต่ว่าพระภิกษุก็มีอาชีพของตนเองก็คือการที่ว่าดำรงตนอยู่ในหลักปฏิบัติของตนทำหน้าที่ของตน ประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญตนตามหลักไตรสิกขาพัฒนาตนอยู่เสมอนี่แหละก็เป็นการทำหน้าที่ต่อสังคมไปด้วยในตัวเองใช่ไหม เอ้าหน้าที่นี้แหละสำคัญที่สุดอาชีพอะไรจะมาสำคัญเท่าอาชีพนี้ใช่ไหม พระภิกษุนี่ทำหน้าที่ต่อสังคมมาก อาชีพของชาวบ้านเขาก็ยังเป็นอาชีพประเภทนี้หากินเลี้ยงตัวเอง แต่ว่าอาชีพของเขานั้นที่จริงอาชีพแต่ละอาชีพมันเป็นหน้าที่ต่อสังคมไปด้วยนะ เพราะว่าอาชีพแต่ละอาชีพนี้มีขึ้นเพื่ออะไรเป็นเครื่องช่วยเหลือเกื้อกูลแก้ปัญหาชีวิตและแก้ปัญหาสังคมอย่างเราเห็นได้ง่าย ๆ อาชีพแพทย์นี้ใช่ไหม อาชีพแพทย์คนเราเป็นโรคภัยไข้เจ็บไม่มีแพทย์ก็แย่สิ อาชีพการรักษาพยาบาลนี้ก็จำเป็นเป็นการช่วยเหลือสังคมช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้หายเจ็บป่วย อันนี้ตัวอาชีพนั้นเกิดจากการงานที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมมนุษย์ แต่ทีนี้ว่าคนแต่ละคนนั้นก็เอาการงานนี้มาใช้เป็นเครื่องมือหาเงินหาทองมาเลี้ยงชีวิตตนเอง ทีนี้ถ้ามองไม่เข้าใจนี่มองด้านเดียวก็มองเพียงเครื่องมือหาเลี้ยงชีพให้แก่ตนเองไป แต่ที่จริงนั้นเป็นการทำหน้าที่ต่อเพื่อนมนุษย์ต่อสังคมใช่ไหม นี้ถ้ามองด้านเดียวนี้จะเกิดปัญหา เวลานี้มนุษย์เรามักจะมองด้านเดียว มองด้านที่ว่า เอ้อเราประกอบอาชีพก็หาเงินหาทองให้เราทำไงเราจะได้มากที่สุด ไม่ได้มองว่าความมุ่งหมายพื้นฐานที่แท้จริงของอาชีพนั้นน่ะมันเกิดมีขึ้นเพื่อจะทำหน้าที่ต่อเพื่อนมนุษย์สังคมช่วยเหลือเกื้อกูลใช่ไหม เป็นแพทย์ทำอาชีพหมอก็จะได้รักษาคนไข้ทำให้เขาหายเจ็บป่วยเป็นการทำหน้าที่ช่วยเหลือเกื้อกูลและเสร็จแล้ว เอัาเราเองเราจะไปมัวช่วยเหลือคนอื่นทำอาชีพนั้นทำหน้าที่นั้น เสร็จแล้วเราจะอยู่ได้ไงล่ะคนเราก็ต้องมีกินใช่ไหม อันนั้นมันก็เลยสังคมนี่วางระบบแบบแผนมาให้แต่ละคนนี้ ไม่ต้องเป็นห่วงกังวล ไม่ต้องไปมัวกังวลกับการเป็นอยู่ เมื่อท่านทำหน้าที่นี้แล้ว ท่านช่วยเหลือสังคมแล้ว สังคมก็ตอบแทนท่าน ให้ท่านมีอาหาร มีปัจจัย 4 มีเครื่องอำนวยความสะดวกให้ท่านอยู่ได้ด้วยดี ก็ให้เครื่องตอบแทนมา นั้นก็อาชีพต่าง ๆ เหล่านี้ก็เราก็ได้เงินได้ทองมา ทีนี้ต่อมามนุษย์เนี่ยอย่างที่ว่าแหละหลงสมมติแทนที่จะไปมองไอ้ตัวผลที่แท้จริงของตัวหน้าที่การงานซึ่งเป็นเหตุว่า การแพทย์เป็นเหตุ ทำให้คนไข้หายโรคเป็นผล อันนั้นคือว่าเหตุผลตรงตามธรรมชาติ กลับมามองการแพทย์เป็นเหตุได้เงินเป็นผล อย่างที่ว่ามนุษย์ก็เลยไม่รู้เท่าทันความจริงของธรรมะก็เลยมาติดอยู่กับสมมติ ที่ว่าวางขึ้นเพื่อให้ตัวเองได้เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยการที่ไปพ่วงอยู่กับหน้าที่การงานที่เป็นการทำประโยชน์แก่มนุษย์หรือสังคม เอาละครับตกลงว่า นี่แม้แต่อาชีพชาวบ้านเองที่แท้จริงมันก็เป็นการทำประโยชน์ช่วยเหลือเกื้อกูลแก้ปัญหามนุษย์และสังคมแล้วก็ตัวเองก็ได้อาหาร ได้ปัจจัย 4 ได้เงินทองมาเลี้ยงชีพ ทีนี้สำหรับพระภิกษุนััน หน้าที่สำคัญเลย เพราะรักษาตัวธรรมะไว้ให้แก่สังคมใช่ไหม แล้วก็รักษาด้วยการที่ทรงตามสืบต่อตัวธรรมะนั้นไว้ก็ตาม หรือว่ารักษาด้วยการที่ตัวเองประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างเลย เมื่อตัวเองประพฤติแบบอย่างธรรมะมาอยู่ที่ตัวเองแล้ว ธรรมะนี้ก็จะได้เป็นแบบอย่างให้คนอื่นได้เห็นและเห็นว่าเป็นคุณค่าเป็นประโยชน์ อ้อธรรมะนี่มีที่ผู้ใดชีวิตผู้นั้นก็ดีงาม เป็นชีวิตที่มีความดีงามช่วยให้โลกมีสันติสุขอะไรเนี่ย เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพระนี่ก็สำคัญมากที่จะดำรงไว้ซึ่งสันติสุขในสังคมมนุษย์ก็เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นหน้าที่รักษาสืบต่อธรรมะไว้ให้แก่สังคมและก็รักษาไว้แล้วก็ยังเผื่อแผ่ขยายสั่งสอนไปอีก เพราะฉะนั้นอย่างนี้สังคมก็ต้องตอบแทนซิใช่ไหม เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพระนี่ทำแล้วเป็นทางของอาชีวะทำให้พระนี้ได้อาชีพ ได้อาหารเป็นต้น ได้ปัจจัย 4 เครื่องยังชีพชาวบ้านเขาก็เห็นว่าพระนี่ทำประโยชน์แก่สังคมรักษาธรรมไว้ให้ สังคมจะอยู่ได้ไงถ้าไม่มีธรรมะเป็นไปไม่ได้ เดี่ยวเดือดร้อนวุ่นวายหมด อันนั้นก็เห็นคุณ เห็นค่า เห็นประโยชน์ของพระสงฆ์ เห็นคุณความดีของท่านระลึกถึงคุณของท่านก็ตอบแทน ด้วยว่ามีศรัทธาเลื่อมใสในท่านแล้วก็ถวายปัจจัย 4 พระก็ไม่เรียกร้องก็เป็นอยู่ง่าย ๆ ใช่ไหม ถ้าเขาไม่ให้ก็ไม่ไปขอ ว่าอย่างงั้น ขอก็เป็นเพียงว่าถือบาตรไป เขาจะถวายก็เรื่องของเขาอย่าไปออกปากขอไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น ถ้าไปออกปากขอเขาก็มีความผิด นั้นพระก็ต้องดำรงอยู่ในอาชีพที่บริสุทธิ์ของตนเองเนี่ย ท่านเรียกว่าอาชีวปาริสุทธิศีล ก็คือว่าด้วยการที่ตนเองประพฤติปฏิบัติธรรม ทำหน้าที่รักษาธรรมปฏิบัติธรรมนี่ แล้วประชาชนเขาเห็นคุณค่าเขาถวายภัตตาหารให้เป็นอยู่เรียกว่าอาชีพบริสุทธิ์ แต่ถ้าหากว่าพระไปเกิดหากินหาทางหาลาภ นอกเหนือจากการทำหน้าที่รักษาธรรม ผิดทันทีเลย ไปถึงก็อย่างที่เคยยกตัวอย่างนะ บอกว่าพระภิกษุไปออกปากขออาหารกับผู้มิใช่ญาติ มิใช่ปวราณา ขออาหารมาเพื่อตนโดยไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วยนี่ ต้องอาบัติมีความผิด เรื่องขอพระพุทธเจ้าระวังมาก โดยปกติก็ขอได้เฉพาะญาติกับปวราณา คือผู้ที่เขาบอกไว้ว่าให้ขอเขา นี้จะไปแสวงหาลาภผิดจากนี้ จะไปหลอกลวงเขา อันนี้แน่นอนว่ามีความผิดมาก พระบางองค์ก็ไปหลอกลวงเขา หาเงินหาทอง บางองค์ก็ไปใช้ลาภต่อลาภให้น้อยเพื่อได้มาก บางองค์ก็อาจจะไปใช้วิธีเลียบเคียง พูดจาเลียบเคียงทำให้เขาให้หรือไปประจบประแจง อะไรต่าง ๆ ผิดหมด ท่านเรียกมิจฉาชีพหรือไปประกอบอาชีพอย่างแม้แต่ว่าไปเป็นหมอยา นี่ไปประกอบเพื่ออาชีพนะ ก็เป็นความผิด เพราะฉะนั้นพระนี่ต้องระวังมาก ก็เป็นอันว่าทำอะไรก็ตามประกอบเป็นอาชีพอย่างชาวบ้านแล้วก็ผิดหมด ท่านเรียกเป็นมิจฉาชีพ
คนฟังถาม ถ้าพูดถึงเรารู้ชื่อยาไปหาซื้อเองไม่ได้
พระตอบ เอ้า ไอ้นี่เราไปไม่ได้ประกอบอาชีพนะ นี่เป็นการช่วยเหลือสงเคราะห์กันใช่ไหม แต่ว่าโบราณนี่ท่านระวังมาก ท่านจะบัญญัติจุกจิกในเรื่องเหล่านี้ แม้แต่ว่าพลาดนิดพลาดหน่อยไม่ได้ คือให้พระวังตัวเต็มที่เลย แต่หลักการก็คือว่าไม่ไปทำเป็นอาชีพเข้าใจใช่ไหม หาเงินหาทอง เอาละครับวันนี้ก็เรื่องอาชีวปาริสุทธิศีล ศีลเกี่ยวกับเรื่องอาชีวะให้บริสุทธิ์
ต่อไปข้อสุดท้ายก็ปัจจัยสันนิสสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย 4 ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย 4 ก็คือว่า เอ้าแม้แต่จะได้อาหารมาโดยถูกต้องแล้วก็มีปัจจัย ปัจจัยที่เรารู้กันอยู่แล้วสันนิสสิตศีล สันนิสสิตแปลว่าเกี่ยวข้องหรืออิงอาศัย แล้วก็ศีล ศีลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 นี่ก็ขนาดว่าได้ปัจจัย 4 มาถูกต้องแล้วน่ะ อาชีพก็บริสุทธิ์แล้ว เวลาจะฉันเอาอีกแล้ว เวลาจะฉัน นี่ฉันด้วยปัญญา ฉันเพื่อสนองความมุ่งหมายที่แท้จริงเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงของมันไหม ถ้าหากว่าฉันโดยมัวเมาลุ่มหลงเห็นแก่เอร็ดอร่อยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ที่แท้จริง ว่าเช่นอาหารนี้เพื่อประโยชน์แก่การดำรงรักษาร่างกายจะได้เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เราประพฤติพรหมจรรย์ให้เราทำประโยชน์ใช้ชีวิตนี้ใช้ร่างกายนี้ไปบำเพ็ญศาสนกิจอะไรนี่ ถ้าไม่ทำอย่างนั้นก็มัวเมาลุ่มหลงเพลิดเพลินหวังแต่จะเอร็ดอร่อยก็จะทำให้ไม่สันโดษ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วก็ไม่มีศีลอีกข้อ อีกหมวดเลยน่ะ เรียกว่าปัจจัยสันนิสสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย 4 เพราะฉะนั้นจึงฝึกกันมาแต่โบราณว่าพระนี่เวลาบวชเข้ามาแล้ว ฉันจะต้องพิจารณาปัจจัย 4 ฉันด้วยพิจารณา ที่เรียกว่าปะฏิสังขาโย นิโสปิณฑะปาตังปฏิเสวามิ บทปะฏิสังขาโย ก็เป็นบทพิจารณาปัจจัย 4 เริ่มตั้งแต่อาหารว่า ปะฏิสังขาโยนิโสปิณฑะปาตังปฏิเสวามิ เป็นต้น บอกว่า ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วโดยแยบคาย จึงฉันอาหารบิณฑบาตนี้ว่ามิใช่ฉันเพื่อสนุกสนาน เพลิดเพลิน ลุ่มหลงมัวเมา โก้เก๋ ประดับประดา อะไรต่าง ๆ แต่ว่าฉันเพื่อให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ ชีวิตเป็นไปเพื่อจะได้เกื้อหนุนกับการประพฤติความดีงามหรือว่ามีชีวิตที่ประเสริฐเจริญในไตรสิกขาเพื่อจะได้อยู่ผาสุขไม่มีโรคภัยเบียดเบียนอะไรต่าง ๆ นี่ฉันก็ต้องสนองคุณค่าที่แท้จริง ฉันด้วยปัญญาพิจารณาไม่ใช่ลุ่มหลงเพลิดเพลินมัวเมา ก็เป็นว่าถ้าฉันด้วยพิจารณานี้ก็ถูกต้องก็มีศีลข้อนี้ ถ้าฉันโดยไม่พิจารณาก็เป็นอันว่าขาดศีลข้อนี้ไป นี้โบราณก็ถือมาก บอกว่าถ้าหากว่าฉันโดยไม่พิจารณาปัจจัย 4 ฉันโดยลุ่มหลงมัวเมา นี่ท่านเรียกว่าเป็นการฉันอาหารหรือใช้ปัจจัย 4 อย่างเป็นหนี้ ว่าอย่างงั้น เป็นหนี้ชาวบ้านเพราะชาวบ้านเขาถวายมาด้วยศรัทธานี่ พระเป็นผู้รักษาธรรมะปฏิบัติธรรมะ แล้วพระมาบกพร่องใช้ปัจจัย 4 เขานี่ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายไม่ใช้เพื่อให้เป็นไปตามประโยชน์ตามคุณค่าที่แท้จริงกับใช้เพื่อลุ่มหลงมัวเมาแสดงว่า พระนี่ใช้ปัจจัย 4 ผิดวัตถุประสงค์ก็ใช้อย่างเป็นหนี้ชาวบ้าน เป็นหนี้โบราณก็เลยบอกว่าพระที่ฉันอาหารไม่พิจารณานี่ตายไปแล้วไปเกิดเป็นควายให้ชาวบ้านใช้ ว่าอย่างงั้น นี่โบราณว่าแรงนะ ว่ากันมานานนะ แล้วชาวบ้านรุ่งเก่ารู้เลย พระนี่ถ้าฉันอาหาร ฉันปัจจัย 4 ไม่พิจารณาตายไปแล้วไปเกิดเป็นควายให้ชาวบ้านเขาต้องเอาไปไถนาว่าอย่างงั้นน่ะ อันนั้นก็เลยถือเป็นคติมา การถือคติแบบนี้ก็เพื่อจะได้เอามาพูดสัมทับพระนั่นเองใช่ไหม เพื่อจะได้เห็นความสำคัญแล้วก็ตั้งใจ ก็ครบแล้วนะ ศีล 4 ประเภท 4 ประเภทสำหรับพระภิกษุ
นี้ 4 ประเภทนี้เอาลองดูสิว่า อันไหนเป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านสังคม อันไหนเป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านวัตถุปัจจัย เพราะบอกแล้วนี่ว่าศีลนี่ เป็นการฝึกฝนพัฒนาพฤติกรรมทางกายวาจาที่เกี่ยวข้องกับด้านสังคมฝ่ายหนึ่งแล้วก็ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องวัตถุของใช้สภาพแวดล้อมอะไรต่าง ๆ ทั่วไป ลองดูซิครับ 4 ประเภทนี่ อันไหนมันเกี่ยวข้องกับสังคม อันไหนมันเกี่ยวข้องกับวัตถุปัจจัย คนฟังบอก อาชีวศีล ไปเกี่ยวอะไร อ๋อ แล้วปาฏิโมกขสังวรละ คนฟังบอก เกี่ยวข้องปัจจัย เกี่ยวข้องทั้งวัตถุและสังคม ปฏิโมกขสังวรนี่เป็นศีลแม่บท ก็เลยคลุมเอาข้อสำคัญ ๆ มารวมหมด 227 ข้อ แต่ว่าในที่นี้จะเห็นว่า โอ้ศีลของพระนี่ไม่ใช่มีแค่ 227 ข้อนะเยอะเหลือเกินใช่ไหม เดี๋ยวใครจะบอกว่า พระมีศีลแต่ที่จริงต้องเรียกสิกขาบท พระนี่มีสิกขาบท 227 ข้อ ไม่จริงหรอก ความจริงเยอะกว่านั้นเป็นพัน ๆ ข้อเลยนะ นี้เพราะฉะนั้นที่ชาวบ้านพูด หรือแม้แต่พระพูดเองนะยังไม่ถูก มักจะถามพระมีศีลกี่ข้อ แล้วก็ตอบมี 227 ใช่ไหม นี่มันเป็นการเอาเฉพาะในปาฏิโมกข์ศีลแม่บท ความจริงนั้น 4 หมวดนี้เยอะเลย ในพระไตรปิฎกนี่ครับ นอกจากปาฏิโมกข์แล้วมีอีกเป็นพัน ๆ เลย ท่านเรียกว่าสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์มากมาย เอ้าจากนี้เราก็ 1 ปาฏิโมกขสังวรศีลนี่มีทั้งที่เกี่ยวกับสังคม และก็มีทั้งที่เกี่ยวกับวัตถุหรือทางกายภาพ เช่น ปัจจัย 4 ต่อไปอินทรียสังวร นี้ละครับเป็นประเภทไหนเกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสังคม คนฟังบอก ทั้ง 2 ก็ไม่ค่อยเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง คนฟังบอก มันต้องระวัง มันเรื่องของการ ระวังนั้นเป็นเรื่องอาการแสดงออก แต่ว่าไอ้ตัวตาดูหูฟัง เป็นดูวัตถุ เราดูเห็นแล้วยังไงจะมีสติไม่เกิดกิเลสครอบงำตัวเองใช่ไหมด้าน คนฟังตอบ การดูคน ดูคนนี้ก็ไม่ใช่มองในแง่ความสัมพันธ์กับคนนะ ไม่ใช่ไปทำอะไรเขาใช่ไหม อันนั้นจะเข้าในอันไหน สภาพแวดล้อม จะเรียกปัจจัยมันแคบไปใช่ไหม ปัจจัยหมายความถ้าใช้ศัพท์ทางวิชาเขาเรียกสิ่งแวดล้อมทางกาย ทางกายภาพก็หมายความทางด้านที่เกี่ยวกับด้านร่างกายที่ไปสัมพันธ์ทั่วไปไม่ได้เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ในทางสังคมก็แล้วกันใช่ไหม กว้างมากแม้แต่ต้นไม้ภูเขาอะไรต่าง ๆ เราไปเกี่ยวข้องที่อยู่อาศัยอะไรพวกนี้ ก็อยู่ในนี้ อินทรียสังวรนี่มันจะไปทางด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพใช่ไหม แล้วทีนี้ปัจจัยสันนิสสิตละ คนฟังบอก เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ กายภาพชัดเจนเลยใช่ไหม อันนี้ส่วนอาชีวปาริสุทธิศีลนั้นเกี่ยวข้องกับสังคมใช่ไหม เพราะเป็นเรื่องของการเกี่ยวข้องในเรื่องของการเลี้ยงชีพ ก็คือว่าทำหน้าที่ต่อผู้อื่นอย่างไร ทำงานให้เขาอย่างไร แล้วก็เขาให้ผลตอบแทนยังไงหาเงินได้จากเขา เขาให้เงินแก่เรา เขาให้ปัจจัย 4 แก่เราใช่ไหม อาชีวะ ก็เป็นเรื่องเกี่ยวด้านสังคม นี่ก็เห็นได้เลยว่าศีลของพระมี 4 ประเภทนี่มันก็จะออกไปทางด้านกายภาพกับด้านสังคม นี้เป็นตัวอย่างก็เลยบอกว่าวันนี้เป็นเกร็ดความรู้ อันนี้เกร็ดความรู้นี้ก็เป็นอันว่าถือจบไปเรื่องนึงล่ะ
ทีนี้ถ้ามันไม่จบโดยสิ้นเชิง มันไปโยงไปหาอีกเรื่องหนึ่งที่น่าจะพูดไว้ด้วย ก็คือว่า เพราะเหตุที่ว่าศีลนี่มันเกิดแยกได้เป็นความสัมพันธ์ 2 ด้าน ด้านกายภาพกับด้านสังคม เวลาแยกการฝึกคนออกให้ละเอียดท่านก็เลยแยกออกเป็น 4 เลย เพื่อจะให้มันชัดออกไปเลย แยกสี่ก็ได้ ไตรสิกขานี่แยก 3 ใช่ไหม เอาเรื่องพฤติกรรมมารวมเป็นหมวดเดียว ไม่ว่าพฤติกรรมสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือสิ่งแวดล้อมทางสังคมก็อยู่ในศีลหมด ทีนี้เรื่องจิตใจกับสมาธิเรื่องความรู้เข้าใจปัญญา แต่ทีนี้ว่าบางครั้งท่านต้องการแยกละเอียดซอยศีลนี่ออกไปอีก เพื่อจะแยกการฝึกการพัฒนาพฤติกรรมที่ไปสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพนี่ไปไว้สะส่วนหนึ่งเลย แล้วก็พัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในทางสังคมก็ไว้ส่วนหนึ่งเลย แยกข้อศีลนี่ออกไปเป็น 2 ข้อ เอ้าที่นี้พอแยกเป็น 2 ข้อแล้วก็นี่ก็เป็นความรู้พิเศษนะ เป็นเกร็ดความรู้ แยกยังไงล่ะ แยกออก ก็แยกข้อหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องจะเรียกเป็นพื้นฐานกว่าก็คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพพวกวัตถุปัจจัยนี่ เอาสะก่อน จัดเป็นหมวด 1 เลย เรียกว่ากาย เรียกว่ากายยะ แล้วคำว่าสิกขานี่ท่านไม่ให้สับสน ท่านก็เลยสงวนไว้สำหรับไตรสิกขาไม่เอาไปใช้ในกรณีนี้ ทีนี้จะเอาอะไรมาแทนล่ะ เอาอะไรแทนสิกขาล่ะไม่อยากเอาสิกขาไปใช้กรณีนี้เพราะเดี๋ยวจะกลายเป็นสีกขา 4 ยุ่งกันใหญ่ ให้มีไตรสิกขาเท่าเดิม ท่านก็เลยเอศัพท์อื่นที่มันมีความหมายใช้แทนกันได้กับสิกขามาแทน ศัพท์หนึ่งที่ใช้แทนกันได้กับคำว่าสิกขา คือคำว่าภาวนา ฉะนั้นในกรณีแยก 4 เนี่ยใช้คำว่าภาวนามาแทน ภาวนาแปลว่าการฝึกอบรม การเจริญทำให้เจริญขึ้นหรือทำให้พัฒนา ตรงกับคำว่าพัฒนา ทีนี้คำว่าภาวนาภาษาไทยเอามาใช้นี้ก็ยุ่งอีกแล้ว เป็นความหมายที่คลาดเคลื่อนไปแคบไปนะ ไม่ถึงกับว่าผิดแต่ว่าแคบไป พอเราใช้คำว่าภาวนานี่ชาวบ้านคนไทยมักจะมองไปที่ว่า อ้อมุบ ๆ มิบ ๆ ว่า พึม ๆ พำ ๆ ใช่ไหม กลายเป็นว่านั่นภาวนา ว่าบทนั้น บทนี้ ว่าคาถา ก็เรียกเป็นภาวนา ใช้เป็นคำไทยรู้กันแล้ว แต่ว่ามันความหมายแคบไป ภาวนามันไม่ใช่มาท่องบ่นอย่างนี้ ภาวนานั้นแปลว่าทำให้เจริญขึ้น หรือแปลง่าย ๆ ว่าเจริญเลย ตรงกับคำว่าพัฒนา แต่ว่าภาวนานี่เป็นศัพท์วิชาการทางธรรมะเป็น Technical Term ส่วนพัฒนานั้นทางพระนี่เป็นศัพท์สามัญใช่ไหม มันยุ่งอย่างนี้ ในภาษาไทยศัพท์สามัญของพระเราเอากลับมาใช้เป็นศัพท์วิชา พัฒนานี่ในภาษาไทยมาใช้เป็นศัพท์วิชาคือ มีความหมายต้องให้คำจำกัดความใช่ไหม ทีนี้ในภาษาพระ พัฒนาเป็นศัพท์สามัญ ศัพท์วิชาการคือภาวนา ภาวนาก็คือพัฒนา แต่พัฒนาในความหมายพิเศษคือ ทำให้เจริญงอกงามอย่างดีเรื่องของชีวิตจิตใจเรื่องของมนุษย์พูดง่าย ๆ ว่าพัฒนาคน ท่านเรียกว่าภาวนา พัฒนาคนนี้จะแยกเป็นด้านไหนก็ตามอยู่ในภาวนาหมด ถ้าไปพัฒนาเฉย ๆ นี่มันอาจจะใช้กับอะไรก็ได้ ยกตัวอย่างบ่อย ๆ เช่น กองขยะ กองขยะพัฒนาหมายความว่าคนไปทิ้งมากกองมันโตขึ้นเรียกว่ากองขยะพัฒนาใช่ไหม นี่ อันนั้นการพัฒนานี่เอาแน่ไม่ได้ร่างกายของเราโตขึ้นก็เรียกว่าพัฒนา ใช้ได้ทั้งดีและร้าย นั้นศัพท์พัฒนานี่ ในศัพท์พระนี่เป็นศัพท์สามัญ ไม่ใช่เป็นเรื่องดีเรื่องร้าย แต่ว่าถ้าเป็นภาวนาแล้วหมายถึงการพัฒนาในเรื่องของมนุษย์ พัฒนาตัวคน
ทีนี้ก็ในกรณีท่านใช้คำว่าภาวนามาแทนสิกขา เอ้าศีล สิกขา เรื่องศีลนี้เลยแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ก็เอาคำว่ากายไปใส่ แล้วก็เติมคำว่าภาวนา ก็เป็นกายภาวนา นะเอาละครับ กายภาวนา แปลว่าพัฒนากาย หรือพัฒนาด้านกาย พัฒนาด้านกายดีกว่า พัฒนากายมันมองไปว่าทำให้ร่างกายโตใช่ไหม พัฒนาด้านกาย ต่อไป 2 ก็คงคำว่าศีลไว้ หมายความว่าศีลนี้แหละแยกก็ส่วนหนึ่งเป็นกายภาวนา แล้วส่วนที่เหลือก็เรียกศีลและภาวนา นะเอ้า ศีลและภาวนา ตกลงคำว่าศีลยังอยู่ ไปเป็นศีลและภาวนา ถ้าไปเจอคำว่าศีลและภาวนา กับศีลที่เป็นสิกขานี่จะต้องรู้เลยว่าอ้อความหมายไม่เท่ากันนะ เพราะว่าเป็นในสิกขานี่มันจะคลุมไปถึงกายภาวนาด้วย แต่ถ้าหากว่าเป็นศีลและภาวนานี่มันแค่ส่วนสังคม เนี่ยมันยุ่งอย่างนี้นะ เอ้าละครับเป็นอันว่าได้ความนะ เป็นอันว่าในสิกขา 3 ข้อที่ 1 คือศีลไปแยกละเอียดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมในด้านนี้พัฒนาขึ้นไปเรียกว่ากายภาวนา แล้วส่วนที่ 2 ก็เรื่องพฤติกรรมในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคมยังคงใช้คำว่าศีลอยู่ตามเดิมและเติมภาวนาเข้าไปเป็นศิลภาวนานะ ส่วนข้อที่ 3 คงไว้ตามเดิมไม่แยกละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอันที่ 3 เรียกว่าจิตภาวนานะ จิตภาวนาพัฒนาจิตใจตรงศัพท์เลย แล้วข้อที่ 4 เรียกว่าปัญญาภาวนา พัฒนาปัญญา ครบแล้วนะ
ตอนนี้ก็ทวนเสียอีกที 1 เป็นอันว่าไตรสิกขาที่มี 3 อย่างนั้นถ้าแยกให้ละเอียดออกไปโดยซอยข้อศีลออกเป็น 2 ก็จะเป็นภาวนาศีล 4 แปลว่าการพัฒนา 4 ด้านของตัวคนก็คือ 1 กายภาวนาพัฒนาความสัมพันธ์ พัฒนาพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ เช่นปัจจัย 4 เป็นต้น และอินทรียสังวรการดูการเห็น การใช้ตาหูเป็นต้นนี่อย่างที่ว่าไปแล้ว แล้วก็ 2 ศีลภาวนาพัฒนาพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ เพื่อนมนุษย์ว่าจะอยู่กันยังไง ไม่ฆ่าฟันกัน ไม่ลักทรัพย์กัน ไม่ละเมิดคู่ครองกัน ไม่พูดปดพูดเท็จกันอะไรอย่างนี้เป็นต้น เราไม่ขู่คุกคามความปลอดภัยของเขาด้วยการดื่มสุราเมรัย นี่ก็ศีลและภาวนา ต่อไปก็จิตตภาวนาพัฒนาจิตใจทำให้จิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมมีจิตใจเข้มแข็งมีสมาธิมีความสุขอะไรนี่นะ จิตภาวนา แล้วก็ 4 ปัญญาภาวนา พัฒนาปัญญา ธรรมปัญญา ความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายให้เจริญงอกงามรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายที่รู้เห็นตามเป็นจริง รู้เหตุรู้ผลของมัน รู้จักวิเคราะห์แยกแยะ รู้จักเชื่อมโยง รู้จักใช้ปัญญาแก้ปัญหา รู้จักสร้างสรรค์อะไรต่าง ๆ โลกชีวิตเข้าถึงความจริงของสังขาร จนกระทั่งทำจิตใจให้เป็นอิสระได้ครบแล้วนะครับ เป็นอันว่า ภาวนา 4 ก็จบเลยก็ได้ธรรมะอีกหมวดหนึ่ง เรียกว่าภาวนา 4 นี้ภาวนา 4 ก็เท่ากับพัฒนาทั้งคนแล้วทีนี้ 4 ด้านนี่ เท่าเต็มคนเลย พัฒนาทั้งคน แล้วถ้าถามพัฒนาคนนี้เป็นยังไง ก็แยกเป็น 4 ด้าน ทีนี้พอพัฒนาเสร็จ คนนั้นก็จะเป็นคนที่พัฒนาแล้ว อันนี้มาใช้สำหรับวัดผล เอ้าแล้วทำไมไม่แยกให้เป็น 4 เสียให้หมดเรื่องจะได้ไปชุดเดียวไม่ต้องมาจำยากเป็น 2 ชุด ชุดไตรสิกขามี 3 ชุด ภาวนามี 4 แหมยุ่งจังเลย ก็จัดเป็นชุดเดียวสะไม่ได้เหรอแยกละเอียดเป็นภาวนา 4 เอ้ามีเหตุผล เอ้อมีเหตุผลยังไง ทำไมจึงจัดเป็นสิกขา 3 ทำไมจึงจัดเป็นภาวนา 4 อันนี้ก็เป็นความรู้รอบตัวอย่างหนึ่ง แต่เป็นความรู้รอบตัวที่เป็นประโยชน์มากนะสำคัญถึงหลักเลย ลองคิดดูซิครับว่าจะตอบได้ไหม แล้วทำไมไม่จัดเสียชุดเดียวจะได้ไม่ต้องจำลำบาก แยกเป็นภาวนา 4 เสียก็หมดเรื่อง พัฒนาการคนให้เต็มคนก็มี 4 ด้านนี่ใช่ไหม ถ้าไม่จัดให้เป็น 3 อีกให้มี 2 ชุด ให้ลำบากเปล่า ๆ นี่แหละครับ เอ้าผมจะลองเฉลยดูนะครับ ก็บอกแล้วนี่ครับชีวิตของเรานี้มี 3 ด้านนี่ เรากลับไปที่หลักการเดิม มีด้านพฤติกรรมจิตใจและปัญญา แล้ว 3 ด้านนี่ไปด้วยกันมันแยกขาดจากกันไม่ได้ใช่ไหม ในเวลาทำพฤติกรรม 1 นี่มันก็ต้องมีความตั้งใจออกมาจากจิตใจมีสภาพจิตมีปัญญารู้แค่ไหน แต่พฤติกรรมนี่มันทำทีละพฤติกรรมนะใช่ไหม ไม่ใช่ทำทีละ 2 พฤติกรรมใช่ไหม ทำพฤติกรรมอันใดอันหนึ่งจะเป็นพฤติกรรมที่ไปเกี่ยวข้องกับวัตถุปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือเป็นวัตรหรือเป็นความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้านสังคมก็ที่ละอันเดียวใช่ไหม อันใดอันหนึ่ง แต่ในพฤติกรรมอันใดอันหนึ่งมันมีจิตใจมีปัญญาด้วยเพราะฉะนั้นในการพัฒนาคนที่แท้เป็นการฝึกในไตรสิกขานี่มันต้องเอาตามเป็นจริง กระบวนการที่เป็นการฝึกฝนพัฒนาคนที่แท้นี่เป็นการประสานกัน 3 ด้านพฤติกรรมจิตใจและปัญญาไม่มีทีละ 3 เท่านั้นไม่มีเป็น 4 ใช่ไหม เป็นแต่เพียงว่าด้านพฤติกรรมนั้นในขณะหนึ่งในครั้งหนึ่งมันอันใดอันหนึ่งใช่ไหม มันจะเป็นด้านวัตถุกายภาพหรือด้านสังคมก็อันใดหนึ่ง ถูกไหม เพราะฉะนั้นพฤติกรรมนี่มันอันใดอันหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงต้องรวมในไตรสิกขานี่มันเป็นตัวกระบวนการฝึกจริงนี่ มันเป็นกระบวนการในเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาคน นั้นต้องว่าไปตามความเป็นจริงเพราะธรรมชาติ นั้นมันก็มี 3 เท่านั้น 1 พฤติกรรมอันใดด้านหนึ่ง จะเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสังคม หรือพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ปัจจัย 4 ก็อันใดอันหนึ่ง แต่ในขณะนั้นมันจะมีจิตมีปัญญาด้วยถูกไหม เพราะฉะนั้นแต่ละครั้งในการฝึกชีวิตจริงมี 3 เท่านั้นถูกไหม ฉะนั้นจึงต้องรวมพฤติกรรมทั้ง 2 ข้อมาไว้ในศีลข้อเดียวกันนะครับ เอาละนะ เข้าใจแล้วนะ อ้าวแล้วทำไมไม่แยก 4 ทำไมล่ะ เอา 3 ก็พอแล้วใช่ไหม ก็พฤติกรรมรวมอยู่พฤติกรรม ทำไมแยกเป็นกายภาวนา ศีลภาวนาอีก เอ้า ก็มีหลักอีกแหละ มีหลักอย่างไงละ ก็ตอนไปวัดผลไงละ ตอนวัดผลนี่แยกให้ละเอียดยิ่งดีใช่ไหม ข้อภาวนาศีลใช่สำหรับวัดผล สิกขา 3 นี้ใช้ในกระบวนการฝึกเป็นตัวภาคปฏิบัติการใช้งานทำฝึกคนนี่ ต้องเอาสิกขา 3 เพราะมันเป็นกระบวนการพัฒนาเป็นระบบมันเป็นความสัมพันธ์กับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทีนี่พอวัดผลนี้มันแยกเลยนี่เพื่อสะดวกใช่ไหมจะได้ดูให้ชัดวัด เวลาวัดผลนี่ยิ่งแยกละเอียดยิ่งดีใช่ไหมแยกเป็นด้าน เอ้อดูซิพฤติกรรมในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเป็นอย่างไง ดูสิเขากินปัจจัย 4 บริโภคอาหารเขาใช้ปัญญาไหม หรือกินเพื่อเพียงเสพรสอร่อย ใช้จีวรเป็นยังไง ใช้ตาหูจมูกลิ้นเป็นยังไง นี้วัดผลต้องว่ากันเป็นส่วน ๆ แยกละเอียดยิ่งดีเลย เพราะฉะนั้นเวลาว่าเป็นภาวนา 4 นี้ใช้ในการวัดผล วัดผลก็มาแยกเป็น 1 พฤติกรรมในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเป็นไงจะ นี่เป็นกายภาวนา 2 ดูสิการพัฒนาพฤติกรรมในด้านความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นยังไงอ่ะดูศีลภาวนา 3 จิตตภาวนาดูสิการพัฒนาจิตใจเป็นยังไงสมาธิเป็นยังไงความสุขเบิกบานผ่องใสเป็นยังไงจิตใจเศร้าหมองขุ่นมัวแค่ไหน ต่อไป 4 ปัญญาภาวนาดูซิพัฒนาปัญญาเป็นยังไงรู้เข้าใจอะไร มองสิ่งทั้งหลายเห็นตามเป็นจริงหรือว่าเห็นไปตามลำเอียงอคติความชอบความชัง วินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ตามปัญญาแท้หรือเปล่าใช่ไหม หรือว่าถูกโลภะโทสะโมหะ หรือตัณหามานะทิฏฐิครอบงำ นี่แหละครับตกลงว่าภาวนา 4 นี้แยกละเอียดไว้ท่านมีเหตุผลเพื่อใช้ในการวัดผล เพราะฉะนั้นชุดภาวนา 4 มันจึงไปสัมพันธ์กับการวัดผลจริง ๆ ถ้าคนไหนได้พัฒนากาย ท่านก็มีศัพท์ให้กลับจากกายภาวนาเป็นภาวิตากาย อันนี้เป็นหลักภาษาบาลี อาจจะจำยากนิดหน่อย ยากสำหรับผู้ไม่รู้ภาษาบาลีก็เอ้ะอะไรกัน จากกายภาวนาการพัฒนากายเป็นคนเป็นภาวิตากายเป็นผู้มีกายอันพัฒนาแล้ว นั้นหลักภาวนา 4 ท่านจะไปใช้เรียกคน ดูซิว่าเขาพัฒนาแล้วยัง ก็เป็นด้าน ๆ ไปพัฒนากาย เรียกภาวิตากาย พัฒนาศีลเรียกภาวิตาศีล พัฒนาจิตแล้วเรียกภาวิตาจิต แล้วพัฒนาปัญญาแล้วเรียกภาวิตาปัญญา อย่างพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลายนี่ท่านจะเรียกเป็นผู้ที่พัฒนาตนแล้วเรียกตัวรวม ๆ เรียกภาวิตาโต เป็นผู้พัฒนาตนแล้ว หรือมีตนพัฒนาแล้ว แล้วท่านก็ไขความ กล่าวคือ เป็นภาวิกะตาโย มีกายพัฒนาแล้ว ภาวิตะสีโลมีศีลอันพัฒนาแล้ว ภาวิจิตโตความมีจิตใจอันพัฒนาแล้ว ภาวิตาปัญโญมีปัญญาอันพัฒนาแล้ว พอพัฒนาครบ 4 ด้านนี่ก็เป็นอันว่าเป็นพระอรหันต์จบ วัดผลได้ 4 อันนี้นะ ถ้าครบ 4 อันเป็นพระอรหันต์แล้ว นั้นบางทีเราไปวัดได้ตัดสังโยชน์เท่านั้น ข้อนั้นข้อนี้แต่ว่านี่แหละครับ ท่านมีศัพท์ที่แสดงลักษณะผู้ที่เป็นพระอรหันต์เป็นพระพุทธเจ้าว่า มีภาวนา 4 อย่างที่ว่านี้ พัฒนาตนแล้วใช้ศัพท์รวมภาวิตาโต ผู้มีตนอันพัฒนาแล้วกล่าวคือภาวิตะตาโย พัฒนากายแล้ว ภาวิตาสีโลพัฒนาศีลแล้ว ภาวิตาจิตโตพัฒนาจิตแล้ว ภาวิตาปัญโญพัฒนาปัญญาแล้ว จบสิกขา 3 ใช้พัฒนาฝึกในกระบวนการปฏิบัติ แต่ว่าพอปฏิบัติมาดูว่าพัฒนา 4 ด้าน วัดผลเป็นอันว่าได้ความ นี่คือเหตุผผลว่าทำไมจึงจัดเป็น 3 ในสิกขาแต่มาจัดเป็น 4 ในภาวนานะ เข้าใจชัดเจนพอหรือเปล่า
คนพังถาม เช่นในกรณีกายกับศีล มันแยกเป็นข้อ ๆ ได้ไหมครับ ภาวิตาปัญญาก็น่าจะมีทั้งศีลทั้งกาย
พระตอบ อันนี้เขาสำหรับตรวจสอบนะ หมายความว่าดูเป็นด้าน ๆ ไม่ได้วัดผลนี่ครับ การวัดผลนี่ไม่ต้อง คือหมายความเวลาเราไปวัดผลเราจะได้ดูแต่ละอย่าง มันเป็นการวิเคราะห์ออกไปเพื่อจะดูเพื่อตรวจสอบ เราจะได้ตั้งเกณฑ์ได้ไงนี่ ด้านกายนี่ มีความสัมพันธ์กับปัจจัย 4 ดูสิกินอาหารเป็นยังไงดูซิอะไรต่าง ๆ และมันไปโยงเองแหละ ไอ้โยงนั้นเป็นเรื่องอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าเรารู้อยู่แล้วนี่หลักการพัฒนามันต้องสัมพันธ์แน่ใช่ไหม แต่นี้ในตอนนี้เราต้องการจะตรวจสอบวัดผลเราต้องแยกออกไปเพื่อจะให้มีจุดที่จะดูมีเกณฑ์ที่จะวัดใช่ไหม เพราะฉะนั้นในกระบวนการปฏิบัติที่มันจะเกิดผลเป็นอย่างนี้แต่ละด้านแน่นอนทั้ง 3 ด้านและสัมพันธ์กันอยู่แล้วใช่ไหม ทั้งพฤติกรรมจิตใจและปัญญา แต่มันออกผลมาอย่างนี้ออกผลมาให้เห็นว่าด้านนี้สมบูรณ์ยังหรือด้านนี้สมบูรณ์หรือยัง แล้วก็ด้านโน้นสมบูรณ์หรือยัง
คนฟังถาม ถ้าอย่างในกรณีภาวนาจะเรียกสมถะภาวนาใช่ไหมครับ
พระตอบ ก็ยักเยื้องไปได้ อันนั้น แต่ว่ามันเป็นศัพท์ที่ค่อนข้างใช้ในเวลาอื่นในกรณีอย่างอื่น ถ้ามาในชุดนี้ก็เรียกให้มันตรงไปเลย กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา ปัญญาภาวนา แต่อย่างที่ว่าปกติท่านใช้ในทางวัดผลเพราะฉะนั้นท่านจะไปวัดดูคุณสมบัติของคนมันจะมาในรูปของภาวิตากาโย ภาวิตาศีโล ภาวิตาจิตโย ภาวิตาปัญโญ เขาไปดูที่คน ถ้าไม่มีอะไรสงสัยวันนี้ก็เอาเท่านี้
คนฟังถาม จะคุยกับคุณวรเดชบอกว่ามีญาติโยม ก็เคยทำบุญทำทานเสร็จในวัดต้องการรถตู้รถอะไรเข้าก็มาพูดในลักษณะ
พระตอบ พระเหรอ
คนฟังถาม โทรมาที่บ้านญาติโยม
พระตอบ อ๋อ ไปบอกเขามีเคราะห์ แล้วเอาไงต่อล่ะ
คนฟังถาม เขาเอาโน่นเอานี่ก็ถวาย ครั้งหลังคราวแล้วมาเจอ บอกว่าขอให้ซื้อที่ดินเพิ่ม วัดในกรุงเทพแพงมาก เขาก็บอกเป็นล้าน ไม่สบายใจ จะถามคุณวรเดชถ้าอย่างนี้มันจะเหมือนกับพูดทั่ว ๆ ไปกรรโชก แบบนี้จะทำอย่างไง
พระตอบ ก็อเนสนา มิจฉาชีพของพระ ไม่ต้องมีข้อสงสัยสักนิดเดียว มิจฉาชีพชัด ๆ ก็นี่แหละเรียกว่ามิจฉาชีพ
คนฟังถาม ก็แบบนี้ทั่วไป เรียกว่ากรรโชกครับ
พระตอบ กรรโชกก็เป็นลักษณะหนึ่งของมิจฉาชีพ อยู่ในนี้อยู่ในอเนสนา อเนสนามีหลายอย่าง
คนฟังถาม เหมือนเอานรกสวรรค์มาขู่
พระตอบ ต้องว่ากลับไป โยมนะแหละถ้ารู้หลัก เอ้ท่านจะตกนรกแล้วนะนี่ เอ้ผมสงสารท่านนะมีเมตตากรุณาต่อท่านแล้ว ผมนี่จะไปสวรรค์แน่แล้ว เพราะผมมีกรุณาใช่ไหม แต่ท่านนี่จะไปนรกแน่เลย แต่อย่างว่าชาวบ้านไม่รู้หลักก็จะเกิดความไม่สบายใจ นั้นนี่ก็เป็นทางที่ทำให้เกิดปัญหาเพราะพระไม่น้อยเหมือนกันที่จะมีแบบนี้ใช่ไหม
คนฟังถาม ก็ซื้อรถตู้ถวาย ตอนหลังแอร์ก็ถวายให้ ตอนหลังจะมาให้ขยายที่ดิน
พระเดชพระคุณในกรณีเขามาขู่เป็นอเนสนา
พระตอบ ก็เหมือนมุ่งลาภเพื่อตนเอง แน่นอนไม่ต้องสงสัย แต่พูดเรื่องสวรรค์นี่เพื่อประโยชน์กับเขาเอง เพื่อการสั่งสอนไม่เป็นไรใช่ไหม ไปพูดนรกก็เหมือนกันแหละ ก็บอกคุณทำอย่างนี้คุณประสพผลร้ายไปนรก อันนั้นเพื่อประโยชน์เขาเอง เราไม่ได้มุ่งไปหาเงินหาทองอะไรจากเขาใช่ไหม
คนฟังถาม เอาสวรรค์มาล่อเพื่อให้เขาบริจาค บริจาคแค่นี้
พระตอบ ก็นี้ต้องระวังละครับ ต้องระวังให้ดีนะ อันนี้โดยมากไปมองกันว่า มันเพื่อหาลาภให้แก่ตนเอง มันเป็นเรื่องการบริจาคในพระศาสนาใช่ไหม แต่ต้องระวัง ถ้าว่าที่จริงว่าไปตามเหตุตามผล แต่มันมีหลักการให้อยู่ว่าพูดถึงเมื่อท่านทำดีได้บริจาคมันก็ทำให้ได้รับผลดี ในบรรดาผลดีทั้งหลายก็อันหนึ่งก็ได้ไปสวรรค์ ใช่ไหม อันนั้นก็พูดไปตามเหตุตามผลตามหลัก นั้นก็บางทีมันก็เสี่ยง ๆ อยู่ ก้ำ ๆ กึ่ง ๆ อยู่ที่เรียกว่าระวังจะล้ำเส้นต้องพูดให้อยู่ในหลักการแล้วไม่มุ่งประโยชน์แก่ตน เอาละนะครับ