แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
หัวข้อต่อไปที่ควรจะพูดไว้เป็นเรื่องสั้นๆ เป็นหัวข้อที่ 5 ในเรื่องหลักทั่วไปของวิปัสสนา ก็คือ ตัวอุปสรรค สิ่งกีดขวาง ในกระบวนการปฎิบัตินั้น ซึ่งจะทำให้เราหลงผิดก็ตาม หรือว่าเป็นสิ่งที่ว่า มันเป็นสภาวะที่มีอยู่ในเรา ที่มันไม่ถูกไม่ต้องอยู่แล้ว จะต้องแก้ไขกำจัดไปก็ตาม อันนี้แนวจะพูดในที่นี้จะมีอยู่สัก 2 อย่าง
อันที่ 1 ก็คือว่า วิปลาส 4 วิปลาสนี่ก็แปลว่าความคลาดเคลื่อน คือ ความรู้เข้าใจคลาดเคลื่่อนนั่นเอง วิปลาสนี่มาใช้ ในภาษาไทย ก็คือ วิปลาสนั่นเอง ภาษาบาลีท่านเรียกว่าวิปลาสะ หรือ วิปลาส ไทยเราเรียกว่า วิปัลลาส ก็เป็นเรื่องของความรู้ เข้าใจคลาดเคลื่่อน ก็มี 4 อย่าง
หนึ่ง ก็คือเป็น นิจจวิปลาส คือ เห็นคลาดเคลื่อนในของที่มันไม่เที่ยง ว่าเป็นเที่ยง อันนี้ก็เป็นธรรมดามนุษย์ปุถุชน เพราะเราไม่เห็นสภาวธรรมที่มันมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราก็เห็นเป็นของเที่ยง
แล้วก็สอง ก็ สุขวิปลาส ความรู้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นสุข ซึ่งที่จริงนั้นสิ่งทั้งหลายมันเป็นสภาวะ ที่คงอยู่ในสภาพ เดิมไม่ได้ ที่เราบอกว่า เป็นทุกข์ แต่ก็คนก็เห็นว่าเป็นสุข
แล้วก็ต่อไป อัตตวิปลาส ก็คือความรู้เข้าใจคลาดเคลื่อนเห็นเป็นเรื่องเป็นตัวเป็นตน เป็นอัตตา ซึ่งสภาวะที่แท้จริงนั้น เป็นอนัตตา เป็นภาวะที่ เป็นที่ประชุมของเหตุปัจจัย เป็นไปตามเหตุปัจจัย
แล้วก็สี่ สุภวิปลาส ก็ความรู้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นสิ่งที่สวยที่งาม คือว่าสิ่งทั้งหลายที่เป็น รูปธรรม นามธรรม ตาม สภาวะ มันก็เป็นของมันอย่างนั้นน่ะ ความยึดถึอของเรานั่นเอง ที่ทำให้เห็นเป็นสวยเป็นงาม อันนี้ ถ้าหากว่าตรงข้าม ก็ไปเห็น เป็นน่าเกลียด น่ากลัว ขยะแขยง ก็คือ มนุษย์เราก็เกิดไปสร้างภาวะที่เป็นคู่ตรงข้ามขึ้นมา พอเราเห็นสวยงาม เราก็เห็น น่าเกลียดด้วยพร้อมกันไป เพราะว่าเมื่อมีสวยมีงาม ก็มีตรงข้าม คือมีความน่าเกลียด แต่สภาวะที่แท้จริงนั้น มันไม่ใช่สิ่งจะมา สวยมางามหรือน่าเกลียดทั้งนั้น
มันก็เป็นสภาวะของมันอย่างนั้นเอง เป็นรูปธรรมนามธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อ มันคงอยู่สภาพเดิมไม่ได้ มันก็เปลี่ยนไป ก็สลายไป แล้วก็มาในรูปใหม่อะไรต่างๆ นี้ รู้เข้าใจสภาวะตามเป็นจริงก็ มันก็เห็นแต่ เพียงรูปนามที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อย่างที่กล่าวมาแล้ว เห็นกระบวนการของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็จะไม่หลงในวิปลาส 4 ก็จะทำลายวิปลาสนี้ได้
ก็เป็นอันว่า ถ้าเราปฎิบัติวิปัสสนาไปนี่ ก็จะพ้นจากวิปลาส 4 ที่มันเข้ามาเป็นตัวอิทธิพลกำกับ ครอบงำชีวิตจิตใจเรา หลอกล่อเรา ให้ประพฤติไป ทำการให้คิด พูด ทำไปต่างต่างนานา ที่เป็นไปตามอำนาจของมัน นี่ก็วิปลาส ความรู้เข้าใจคลาด เคลื่อน
ทีนี้อีกอย่างหนึ่ง ที่พูดเมื่อกี้แล้ว คือเรื่องที่ว่า เมื่อเจริญวิปัสสนาก้าวหน้าไป จนถึงกระทั่งว่า ตอนจะเริ่มเกิดวิปัสสนา ญาณ ตอนที่จะเป็นวิปัสสนาตัวแท้ ตอนที่จะเป็นวิสุทธิขั้นที่ 6 ที่เรียกว่า ปฎิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ตอนนี้แหละ ก่อนที่จะถึง ขั้นนั้นน่ะ มันจะมีตัวแทรกเข้ามา ที่เรียกว่า พอเกิดญาณที่ 1 ในวิปัสสนาญาณ 9 ขึ้นมาอ่อนๆ เรียกว่า อุทยัพพยญาณ ญาณ หยั่งรู้ความเกิดขึ้นดับไป หรือ การเกิดขึ้นแล้วสลายไปเนี่ย ก็จะเกิดตัวความสภาพที่ดีงามทางจิตและปัญญา ที่ทำให้เกิดความ หลงผิด เป็นของที่ดีเหลือเกิน ที่ไม่เคยพบเคยเห็น จนกระทั่งว่ามีความสุขเหลือเกิน หรือมีความเชื่อมั่นในตัวเองเหลือเกิน เกิด ความที่เรียกว่านึกว่ารู้เข้าใจถึงที่สุด สัจจธรรมแล้ว อันนี้ ก็คือสิ่งที่เรียกว่าวิปัสสนูปกิเลส 10 ประการ
จะบอกรายชื่อวิปัสสนูปกิเลส ทั้ง 10 อย่างนี้ไว้ พอให้ทราบ เป็นคล้ายๆ ความรู้ประกอบ ก็มี
หนึ่ง โอภาส แปลว่าความสว่าง คือเกิดมีความรู้สึกสว่างขึ้นมาในใจ เป็นประสบการณ์ที่แปลกดีเหลือเกิน ยังไม่เคยพบ เคยเห็นมาก่อนเลย อันนี้ก็มันทำให้เกิดความรู้สึกที่ทำให้หลงผิดได้ คือพบสิ่งที่ดี ที่พิเศษเหลือเกิน ไม่เคยพบมาก่อน ก็แสดง ว่าตัวเองนี่คงจะก้าวหน้าไปถึงขั้นโน้นขั้นนี้ ก็เกิดความสำคัญผิดขึ้นมา
นี้ก็อันที่สอง ก็อาจจะเกิดญาณ คือ ความหยั่งรู้ เพราะว่าตอนนี้ ก็ได้ถึงขั้นอุทยัพพยญาณ ปัญญาหยั่งถึงความเกิด ความ ดับไปของนามรูปของสังขารทั้งหลาย แล้วก็ความรู้อันนี้ มันก็มาประกอบกับความรู้ที่ตัวมีอยู่ ทำให้เกิดความรู้สึกว่า มีปัญญา หยั่งรู้เห็นความจริง เห็นสัจจธรรม อย่างชนิดเหมือนกับรู้ล่วงปลอดโปร่งไปหมด หรือไม่ก็อาจจะเกิดอย่างที่สาม
อย่างที่สาม ก็คือ เกิดปีติ ความอิ่มใจ ปลื้มใจอย่างมาก หรือไม่ก็อาจจะเกิด ปัสสัทธิ ซึ่งก็อยู่ในเครือพวกเดียวกัน ปัสสัทธิก็ความสงบเย็นกายใจ ความสงบเย็นกายใจนี่ ก็เป็น ประสบการณ์ที่ดีทางจิตเป็นอย่างยิ่ง แล้วก็จากปัสสัทธิ ก็ตามมาด้วย สุข ความสุขอย่างที่เรียกว่า ก็ต้องเป็นความสุขที่พิเศษที่ดี เป็นประสบการณ์ที่เลอเลิศ
แล้วก็มิฉะนั้นก็ อาจจะเกิด สิ่งที่เรียกว่า อภิโมกข์ อภิโมกข์นี่เป็นเรื่องของความเชื่อ คือ มีความเชื่อมั่น เชื่อมั่นอาจจะ เชื่อมั่นในนี้ แม้แต่หลักปฎิบัติธรรมในพุทธศาสนา เชื่อมั่นในสิ่งที่ได้ประสบความสำเร็จนี่ อย่างที่เรียกว่า ไม่มีความเคลือบแคลง สงสัย ความเชื่อมั่น มั่นใจอย่างเต็มที่นี่ มันก็เป็นประสบการณ์ที่ดีทางจิตอย่างพิเศษเช่นกัน ที่ทำให้เกิดความหลงผิดว่า ตนได้ บรรลุธรรมสำเร็จแล้ว
หรือมิฉะนั้นก็อาจจะเกิดภาวะเรียกว่า ปัคคาหะ แปลว่าความเพียรที่อยู่ตัว ประคับประคองดีเหลือเกิน ความเพียรที่ พอเหมาะพอดีอย่างยิ่ง กำลังใจที่เต็มเปี่ยม อันนี้ก็เป็นภาวะอันหนึ่งที่เป็นประสบการณ์ที่ดีทางจิตที่ดี
หรือมิฉะนั้นก็อาจจะเกิดอีกข้อหนึ่ง เรียกว่า อุปัฎฐาน หมายถึงการที่สตินี่ ชัด ตามดูรู้ทันนี่ เด่นเหลือเกิน การที่มีสติ ปรากฎเด่นชัด ทันอย่างยิ่ง นี่ก็เป็นประสบการณ์ที่ดีเช่นเดียวกัน
มิฉะนั้นก็อาจจะเกิด อุเบกขา อุเบกขาก็ภาวะจิตที่วางตัวอย่างสมดุลย์ได้ที่ วางใจราบเรียบเป็นกลาง ภาวะจิตที่เป็น อุเบกขานี้มันมีหลายระดับ ตั้งแต่อุเบกขาในพรหมวิหารขึ้นไป จนกระทั่งในขั้นสูง อย่างอุเบกขาในสัมโพชฌงค์ ภาวะจิตที่เป็น อุเบกขานี่ มันเป็นความที่ มันเป็นความเบา เป็นความเรียบ เป็นความ เรียกว่าลื่นสบาย มันพอดีๆ สมดุลย์ ได้ที่ มันก็ทำให้เกิด ความหลงผิดว่าได้บรรลุธรรมชั้นสูง
แล้วก็ข้อสุดท้าย ข้อที่ 10 ท่านเรียกว่า นิกันติ แปลว่าความพอใจ พอใจ ชอบใจ ในสิ่งที่ประสบเป็นอย่างยิ่ง ในสิ่งที่ ได้พบ ได้บรรลุ ได้ถึง อันนี้ความพอใจอย่างนี้ ก็ทำให้เกิดความหลงผิดได้เช่นเดียวกัน
ก็รวมเป็นวิปัสสนูปกิเลส 10 ประการ ซึ่งเป็นประสบการณ์ทางจิตทางปัญญา ที่ทำให้ตัวเองหลงผิดไปว่า ได้บรรลุ ธรรมชั้นสูง หรือได้บรรลุมรรคผลนิพพาน นี้ท่านก็เตือนไว้ เท่ากับวิปัสสนูปกิเลส เป็นหลักทางปริยัติให้รู้แต่ต้นว่า ถ้าเจริญ วิปัสสนาไปนี่ อาจจะเกิดสิ่งที่ดีงามอย่างนี้ขึ้นมา แล้วก็ต้องพิจารณา จะเกิดความหลงผิด โดยที่ตัวเองไม่ได้เข้าถึงสัจจธรรม อย่างแท้จริง นี่ก็เพียงแต่ว่าให้เป็นความรู้ประกอบไว้ ก็ขอผ่านไป