แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
มาคุยกันต่อ เรื่องเก่าที่คุยกันไว้แล้วก็คือเรื่อง ธรรมวินัย ความจริงก็น่าจะจบแล้ว ทว่าก็มีแง่มีมุมบางอย่าง แยกออกไปได้เรื่อย ๆ นี่เรื่องวินัยก็บอกแล้วว่าเป็นเรื่องของการ จัดระเบียบแบบแผนระบบ ในชีวิตสังคมมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้นมาแล้วก็ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเกี่ยวกับสังคมจะเน้นการอยู่ร่วมกันในหมู่สังคมมนุษย์ รึว่าการที่มนุษย์จัดตั้งขึ้นมาด้วยเจตนาของตนเองเพื่อที่ว่าให้เกิดผลในการดำเนินชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น เป็นการฝึก พูดกันง่าย ๆ ว่าเป็นการจัดตั้งวางระบบ ทีนี้วินัยก็เป็นเรื่องของสมมุติไปหมายความว่าไม่มีโดยธรรมชาติ เป็นการมาตกลงกัน หรือแม้แต่ตกลงกับตัวเองจัดตั้งวางขึ้นมา แล้วสามารจัดตั้งวางระเบียบในชีวิตของตัวเราเองก็ได้ อย่างว่า เราจะแบ่งเวลาในแต่ละวันในการดำเนินชีวิตหรือในการทำงานอย่างไร ว่าวันหนึ่งจะตื่นเมื่อไร จะออกจากบ้านไปทำงานเมื่อไร บางอย่างวินัย ถ้าเป็นของส่วนรวมก็ต้องตามเขา อย่างว่าทำงานรัฐบาลเขาก็มีกำหนด ก็เป็นวินัยของส่วนรวมอันอันก็ต้องร่วมกัน แต่ว่าถ้าเป็นงานเอกชนส่วนตัว เราอาจจะวางวินัยของเราเองว่าเราจะเริ่มงานเมื่อนั่นเมื่อนี้ แต่ว่าทั้งนี้เราอยู่ในสังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เราจะวางก็ต้องไปสอดคล้องกันผู้อื่นอีกด้วย สมมุติว่าเราทำงานส่วนตัวของเรา แต่ว่างานของเราก็ต้องสัมพันธ์กับกิจการของผู้อื่น ๆ ถ้าเราไปทำในเวลาที่เค้าไม่ทำ ไปติดต่อเค้าก็ยุ่งใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นว่าทำอย่างไงจะให้สำเร็จผลที่ต้องการ ก็อยู่ทีเราจะมีปัญญาจะทำอย่างไรให้ได้ผล หรือว่าอย่างเรื่องการเงินการทองจะจัดอย่างไร ให้เกิดเป็นระเบียบในการใช้เงินขึ้น แล้วจึงเป็นผลดี จะใช้อะไรเท่าไร จะใช้แค่ไหน จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าแนะนำไว้ว่า ให้แบ่งทรัพย์เป็น ๔ ส่วนนะ ใช้เพื่อเลี้ยงชีวิต เลี้ยงครอบครัว แล้วก็ทำสิ่งที่ดีงามบำเพ็ญประโยชน์ รวมอยู่ใน ๑ ส่วนแรก อีก ๒ ส่วนลงทุนกทำการงาน อีกส่วนหนึ่ง ส่วนที่ ๔ ก็เก็บไว้ใช้ยามจำเป็น เป็นหลักประกันชีวิตเช่นในยามเจ็บไข้ได้ป่วย หรือใช้ในเหตุการณ์ที่คับขันฉุกเฉิน เราจำเป็นต้องใช้เงิน หรือช่วงที่ขัดข้องในการหาเงินที่ว่าไม่อาจจะได้มา เช่นเกิดสงคราม หรือเกิดอะไรก็แล้วแต่ ก็ต้องไม่ประมาท นี่ใช่มั๊ยในส่วนของเงินที่จะใช้ลงทุนทำการงาน ๒ ส่วนนั้นจะแยกละเอียดอย่างไร เงินในส่วนการใช้จ่ายเลี้ยงต้นเลี้ยงครอบครัว บำเพ็ญประโยชน์ จะแบ่งจะจัดละเอียดอย่างไรบ้าง ก็อยู่ที่ว่าเราก็ต้องมาคิดพิจารณา หาประสบการณ์หาความรู้ผู้อื่นมา แล้วก็มาจัดวางเป็นระเบียบขึ้นมา เพราะฉะนั้นเรื่องระบบ ระเบียบ แบบแผนในมนุษย์นี่เกิดจากเจตนาของเราทำขึ้นมาแล้วจะได้ผลอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญา ทีนี้นี่เป็นเรื่องของวินัยในแง่ของมนุษย์จัดทำขึ้นต้องอาศัยความรู้ในตัวความจริง เช่นในความเป็นเหตุเป็นผลกันในสิ่งทั้งหลาย ว่าจะจัดอย่างไรผลถึงจะเกิดขึ้นตามความต้องการ ถ้าไม่รู้ เรื่องเหตุปัจจัยไม่รู้ผลมันก็จัดไม่ได้อีกแหละ แล้วจัดเพื่ออะไร ก็จัดเพื่อให้ผลดีมันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ คือตามธรรม เพราะฉะนั้นก็บอกว่า ธรรมเป็นทั้งฐานและเป็นทั้งจุดหมายของวินัยอันนี้ก็อธิบายกันไปมากแล้ว นี้วินัยในเรื่องมนุษย์เนี่ย เป็นสิ่งที่มนุษย์จัดตั้งวางขึ้น แต่เราจะเห็นว่าอันนี้ มันเหมือนกับว่าในธรรมชาติเองก็มีวินัยอยู่ ความเป็นระเบียบในสิ่งทั้งหลายนี่มีอยู่ทั่วไปหมด แม้แต่ในดอกไม้ เราลองดูซิ ดอกไม้นี่มันจะมีกลีบเป็นระเบียบออกไป ถ้ากลีบมันขัดกัน ลองกลีบหนึ่งออกมานี่ อีกกลีบขวางไปโน่นจะเกิดอะไรขึ้น มันก็เกิดความขัดข้องในตัวมันเองใช่ไหม เพราะก่อนที่มันจะบานมันก็ต้องตูมอยู่ แล้วค่อยบานออกไป ในความมีเป็นระเบียบในธรรมชาติมันก็เกิดจากระบบความสัมพันธ์ของมันนั่นแหละ ความเป็นเหตุปัจจัยในสิ่งในทั้ง สัมพันธ์กันจนกระทั้งมันออกลูกเป็นอย่างนั้น จึงออกลูกขึ้นมา จึงเป็นผลดีขึ้นมาได้ ถ้ามันไม่เป็นไปยังงั้น ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เกิดความขัดข้อง หรืออย่างชีวิตสัตว์ทั้งหลายก็เหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายก็มีชีวิตที่เป็นระเบียบว่าเจ้าหากินเมื่อไรอย่างไร แม้จะบินไปเป็นฝูงอย่างนกนี่่ เวลาบินไปก็จะเห็นว่ามันก็มีความเป็นระเบียบ ถ้ามันไม่มีความเป็นระเบียบ มันก็ไม่สามารถคุมฝูงอยู่ได้ มันก็จะกระทบกับตัวมันเอง เกิดภัยอันตรายกันตัวมันเองนั่นแหละ เพราะฉะนั้นคล้าย ๆ กับว่าในความจำเป็นในความเป็นอยู่กับธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์และองค์ประกอบของปัจจัยทั้งหลายนี่เอง ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบขึ้นมา เหมือนกับว่าในธรรมชาตินี่ก็มีวินัยแล้ว ระเบียบความมีวินัยนี่แหละ ที่ทำให้สิ่งทั้งหลายดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะฉะนั้นอย่างนักวิทยาศาสตร์อย่าง ไอสไตล์ นี่เค้าก็บอก เพราะมีความเชื่อในความเป็นไปอย่างมีระเบียบของธรรมชาติ เค้าจึงเกิดมีกำลังใจที่จะค้นคว้าหาความจริงนั้น คือมีความเชื่อนั้นเอง เชื่อว่าในธรรมชาตินี่มีความเป็นระเบียบ มีกฎ มีเกณฑ์ ด้วยศรัทธาในความเชื่อเช่นนั้นทำให้เค้าค้นหาความจริง ว่ากฏธรรมชาตินี่เป็นอย่างไร อ่าที่นี่ในธรรมชาตินั้นมีกฎเกณฑ์ แต่ในความเป็นระเบียบนั้นมันไปตามระบบเหตุปัจจัยของมัน กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ แต่ในหมู่มนุษย์นี่นั้น อย่างที่ว่า มนุษย์นั้นมีเจตจำนง แต่ส่วนสัตว์ทั้งหลายนั้นชีวิตมันบังคับไปตามสัญชาตญาณ มันก็อาศัยสัญชาตญาณนั้นแหละเรียนรู้ไปตามสัญชาตญาณ มันก็เรียนรู้ไปตามระเบียบทำให้มันก็ดำเนินชีวิตไปได้ด้วยดีตามขอบเขตของมัน ที่นี่มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษที่ว่า มีเจตจำนงเป็นอิสระ ที่ว่ามากว่าสัญชาตญาณ สามารถควบคุม สัณชาติญาณได้ สามารถทำอะไรที่เหนือกว่าสัญชาติญาณ ที่สัญชาตญาณไม่ได้บอกให้ทำ ที่นี่ก็ขึ้นอยู่ที่ว่ามนุษย์จะให้ความสามารถนี้อย่างไร ถ้ามนุษย์ใช้เป็นก็มาจัดระเบียบแบบแผนในการดำเนินชีวิตในการอยู่ร่วมกัน ความสัมพันธ์ในสังคมตลอดจนจัดการความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมให้เอื้อโอกาสในการดำเนินชีวิตของตัวเอง ก็คือการที่ใช้วินัยนั้นเอง ก็เอาหลักที่เรียกว่าวินัยมาจัดการกับสิ่งทั้งหลาย นี่ถ้ามนุษย์มีเจตจำนง มีปัญญา ของตนเพราะความเป็นอิสระจากสัณชาตญาณ แล้วเป็นอยู่อย่างปล่อยเรื่อยเปื่อย มีความประมาท ไม่จัดให้มีระเบียบขึ้นมา ชีวิตของตนเองก็จะแย่ยิ่งกว่าสัตว์ทั้งหลายนี่อีก นี่ทีถ้ามีความสามารถแล้ว มีความเป็นอิสระจากสัญชาตญาณแล้ว มนุษย์จึงเป็นสัตว์พิเศษเพราะขึ้นกับเจตจำนงและการฝึกฝน พัฒนาตน ถ้าไม่ยอมฝึกตนไม่ยอมพัฒนาตนไม่ยอมระเบียบแบบแผนไม่ใช่ปัญญามาจัดการ ชีวิตตนเองก็จะยิ่งแย่ ชีวิตของตนเองก็ไม่ดีขึ้นแล้วสังคมก็จะเกิดปัญหา เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ มากมาย ก็อยู่ที่ว่ามนุษย์นี่ คล้าย ๆ กับว่าต้องเป็นสัตว์ที่ฝืนสัญชาตญาณ พอมันมีความโน้นเอียงที่จะปล่อย เพราะว่าพอที่จะมีการจัดตั้งระบบ มันก็ไม่เหมือนในสัตว์อื่น ที่เป็นไปตามสัณชาตณาณ พวกนั้นเป็นไปโดยเหมือนกับบังคับมา แต่มนุษย์นี่เป็นอิสระ ทีนี้ถ้าไม่บังคับควบคุมตนเองก็ปล่อย เมื่อปล่อย ก็เกิดความเสื่อมเสียหายแก่ชีวิตของตนเอง และสังคม เพราะฉะนั้นมนุษย์ก็จะต้องทำไงจะใช้ธรรมชาติอันประเสริฐ การเป็นสัตว์ที่ฝึกได้เนี่ยมาทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนอย่างแท้จริง นี่ถ้าขืนปล่อย ไปตามความประมาท ปล่อยไปตามใจตัวชีวิตและสังคมก็ไม่สามารถเจริญงอกงามได้ เพราะฉะนั้นวินัยก็เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างหนึ่งว่ามนุษย์นี่ จะใช้ความประเสริฐของตนเองให้เป็นประโยชน์ได้หรือไม่ ถ้าใช้ก็คือว่าจัดตั้งว่างระเบียบ ระบบ แบบแผนในการดำเนินชีวิตและในการอยู่ร่วมกันในสังคมของตนให้ดีขึ้น ที่นี่ในการพัฒนาของมนุษย์ ในการจะทำอะไรต่าง ๆ เราจะเห็นว่าก็ต้องมีเรื่องของวินัย มีการจัดระเบียบแบบแผนมาทั้งนั้น เมื่อเราจะเริ่มผลิตสิ่งของสิ่งหนึ่งขึ้นมา นี่คือมนุษย์เริ่มที่จะทำงานให้เกิดผลขึ้นมา ก็ต้องเริ่มที่มีวินัย ต้องมีระเบียบ แบบแผน ระบบ ขึ้นมาว่าต้องทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ แล้วมนุษย์ที่มีความเพียรในการจัดตั้งระเบียบแบบแผน จึงจะประสบความสำเร็จ เค้าจะพยายามพัฒนาระบบระเบียบแบบแผนในการที่ จะดำเนินการเพื่อให้เค้าได้ผลที่ดียิ่งขึ้น ไม่ประมาท ไม่ปล่อยตัว นี่ก็เมื่อพยายามพัฒนาพยายามจัดให้ดียิ่งขึ้นมันก็สำเร็จผลดี มีประสิทธิภาพในการทำงานเป็นตัน อย่าว่าแต่ในการผลิตเลย แม้แต่ในการใช้ การบริโภค ก็ยังต้องมีวินัย ใช่ว่าเราจะเห็นว่าผลิตสิ่งของด้วยเทคโนโลยี ยิ่งเทคโนโลยียิ่งสูง นี่ยิ่งมีความละเอียดซับซ้อน จะออก Instruction คำแนะนำหรือคำชี้แจง ข้อกำหนดในการใช้ออกมาด้วย ว่าจะใช้นะ มันต้อง ๑ ๒ ๓ ๔ ก่อนท่านจะใช้เครื่องมีอุปกรณ์นี้ หรืออุปกรณ์นี้ แม้แต่หม้อหุงข้าวไฟฟ้า หรือว่ากระติกต้มน้ำ หรือว่าเครื่องบันทึกเสียงต้องมีข้อชี้แจง ข้อกำหนดการใช้ทั้งนั้น ๑ ๒ ๓ บอกว่าก่อนจะใช้ให้ท่านอ่านซะก่อน ทีนี้ ถ้าใช้แล้วศึกษา แล้วเข้าใจดีก็จะใช้ได้ประโยชน์เต็ม สามารถเอาประโยชน์จากมันได้เต็มที่ จะใช้ไม่ผิดพลาด ถ้าหากว่าไม่อ่าน ใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่แล้วอาจจะเกิดความผิดพลาดอาจจะเกิดอันตรายด้วยใช่ไหม อย่างเครื่องไฟฟ้าบางชนิด เพราะฉะนั้นสังคมที่พัฒนานี่ จะเห็นว่าเรื่องวินัยนี่สำคัญมาก ซึ่งจะออกมาในแง่ไม่เฉพาะกฎหมาย หรืออะไร ต่ออะไร ที่บังคับ แต่มันจะออกมาสู่ทุกอย่างในกระบวนการแม้แต่ในเรื่องเศรษฐกิจ การผลิต การบริโภค ก็เลยเป็นนิสัย พวกฝรั่งนี่ฝึกมาเค้าจะมีนิสัยที่ว่า เมื่อซื้อสิ่งของเครื่องใช้มานี่เค้าจะพยายามหาประโยชน์ให้ได้เต็มที่จากมัน และใช้ให้ปลอดภัย เค้าคำนึงถึงความปลอดภัยนี่สูงมาก และเค้าจึงอ่านคำแนะนำข้อกำหนดในการใช้ละเอียด ต่างจากคนไทย คนไทยนี่ซื้อของใช้มานี่ไม่ค่อยจะอ่าน บางทีก็ใช้มันเลย บางทีถ้าใช้ไม่เป็นก็ค่อยไปอ่านเอาตรงที่ใช้ไม่เป็น ก็ต้องอ่านเพราะไม่งั้นแล้วก็ไม่รู้จะใช้ยังไง ความจำเป็นบังคับก็เลยไปอ่าน อ่านเฉพาะข้อที่จะใช้ได้ ไอ้ส่วนที่เหลือจากนั้นก็ไม่อ่านอีก นี่ก็เลยไม่ค่อยได้ประโยชน์เต็มที เนี่ยเป็นข้อเสีย ฝรั่งเองก็เกิดจากความจำเป็นเหมือนกันเพราะว่าระบบวัฒนธรรมฝรั่ง ทำให้ต้องพึ่งตนเองมาก จะพึ่งกันไม่ค่อยได้ เพราะฉะนั้นแต่ละคนก็ต้องพยายามเรียนรู้เอา พยายามช่วยตนเองให้ได้ผลดีมากที่สุด จากสภาพความเป็นอยู่ นี่ก็ต้องบังคับให้ตัวเองเนี่ยฝึกตัวเอง จะต้องพยายาม ก็เลยเกิดเป็นนิสัย แล้วก็มันเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคมเนี่ยการที่จะเรียกร้องสิทธิผลประโยชน์นี่ ถ้าเกิดว่าสิ่งของนี้ตัวเองใช้ผิดเอง อ้าวก็ไปเรืยกร้องเอาไม่ได้ แต่ถ้าใช้ถูกแล้วมันเกิดเสียหายขึ้นมาก็ไปเคลมได้ เพราะฉะนั้นมันเกี่ยวกับเรื่องระบบวัฒนธรรมด้วย เพราะฉะนั้นฝรั่งนี่สภาพความเป็นอยู่นี่ค่อนข้างบังคับทำให้เขาเกิดความจำเป็นในการฝึกตัวเอง ฝึกโดยจำใจเป็นไปเองจากสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้การฝึกนิสัย ซึ่งว่าการที่จะปฏิบัติการวินัยนี่ต้องมีความอดทน ถูกไหมจะอ่านข้อกำหนดให้ครบนี่แล้วจะใช้ให้ได้ตามนั้น มันต้องอดทนตั้งแต่เริ่มต้น จะตามใจตัวเองมันอยากจะใช้ทันที มันก็ไม่ใช้ ก็ต้องมานั่งอ่านนั่งศึกษา คำชี้แจง ทีนี้ในแง่นี้เราจะเห็นว่าวินัยในสังคมตะวันตกเค้าพัฒนามาพอสมควร แต่อาจจะเกิดจากสภาพชีวิตบังคับ ต่างจากของเรา เพราะของเราไม่ได้ฝึกฝนพัฒนามา เพราะฉะนั้นของเราก็จะปล่อยตัวในเรื่องนี้มีความประมาท ทีนี่ถ้าหากว่าไม่ระวังก็จะกลายเป็นความมักง่าย ผู้ขาดวินัยก็จะมักง่าย นี่ก็เป็นเรื่องที่ที่เราจะต้องเพียรพยายามจะฝึกตน บังคับตนเอง ก็บังคับด้วยความรู้สึกว่าเราจะฝึกตนเอง มองเห็นจุดมุ่งหมายมองเห็นประโยชน์ในการกระทำ ที่นี่วินัยนี่มันจะไปดูเรื่องพฤติกรรมเป็นสำคัญ ก็โยงมาหาธรรมะอย่างที่เคยพูดไปแล้วว่า วินัยเป็นเรื่องของการจัดตั้งวางระบบในเรื่องสมมุติ ทีนี่ก็มาสัมพันธ์กับธรรมะเพราะว่าเราต้องการให้เกิดผลตามธรรมะ ที่นี่ธรรมะ ก็อยู่ที่ตัวชีวิตของเรานี่เป็นต้น พอวินัยนี่มาจัดระบบแบบแผน ก็ออกมา ที่พฤติกรรมก็คือหมายความว่า ก็เหมือนมาควบคุมพฤติกรรมของเราเพราะฉะนั้นวินัยจึงมาสัมพันธ์กับเราตรงที่ด้านพฤติกรรมเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้นวินัยจึงมาสัมพันธ์กับศีล จนกระทั้งเรามาสับสนกับคำว่าวินับกับศีลไปเลย จริง ๆ แล้ว วินัย เป็นการจัดระเบียบ แบบแผน
เพื่อให้เราได้ฝึกพฤติกรรมของเรา การที่เราได้ฝึกพฤติกรรมของเราก็เป็นศีล เราฝึกพฤติกรรมของเราด้วยอะไร ก็ด้วยอาศัยวินัย เพราะฉะนั้นวินัยกับศีลแยกกันได้ แต่ว่าเป็นเครื่องเกี้อหนุนกัน
สัมพันธ์ซึ่งกันละกัน เราก็อาศัยวินัยนั่นแหละมาฝึกพฤติกรรมของเรา ก็เกิดเป็นศีลขึ้นมา พฤติกรรมที่ดีก็คือศีล ทีนี้ในการที่เราจะฝึกพฤติกรรมเนี่ยมันโยง ถึงจิตใจและปัญญาด้วย มันไม่ได้อยู่ที่พฤติกรรมอย่างเดียว เพราะฉะนั้นจุดเน้นก็คือว่าเมื่อฝึก ตัวเองมีวินัยก็ได้ศีล ได้พฤติกรรมที่ดี แต่ว่าพร้อมกันนั้น ทางด้านจิตใจ ทางด้านปัญญาก็จะพัฒนาด้วย เช่นว่าเมื่อกี้นี้
หวังว่าจะปฏิบัติการวินัย หวังว่าจะใช้วัตถุอุปกรณ์อย่างหนึ่ง ฝึกพฤติกรรมคือพฤติกรรมในการใช้ จะใช้เทป ใช้เครื่องต้นน้ำ หรือว่าอะไรก็ตามนั้นเป็นพฤติกรรมทั้งนั้น พฤติกรรมจะถึงฝึกละ จากการที่ว่าวินัยกำหนด ก็ต้องทำตามลำดับอย่างนั้น อย่างนี้ คือพฤติกรรมของเรานั้นถูกกำหนดนี่คือด้านศีลหรือพฤติกรรม แต่ว่าเราต้องอดทนในการฝึก เราต้องอ่านคำชี้แจงเป็นต้น เราต้องฝึกจิตด้วย เราก็มีความอดทนมีความเพียร มีความเพียรพยายามในการอ่านและใช้ให้ถูกต้อง ถ้าจะพัฒนาพฤติกรรมได้ จิตก็ต้องมีความเพียรพยายาม มีความอดทนด้วย มีความตั้งใจ ก็ฝึกจิตไปในตัว แล้วพร้อมกันนั้นเราก็ได้เรียนรู้ด้วยเวลาที่เราอ่านคำแนะนำข้อกำหนด ก็ได้เรียนรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ปัญญาก็พัฒนา เพราะฉะนั้นอาศัยวินัยเนี่ยมันไม่ได้ฝึกเฉพาะพฤติกรรมอย่างเดียว มันฝึกจิตใจและฝึกปัญญาไปด้วย นี่เวลาเราปฏิบัติตามข้อกำหนดตามวินัยต่าง ๆ เราจะเคยชิน เราจะบังคับจิตใจของตัวเองได้ ฉะนั้นเวลาเราไปอยู่ในสถานการณ์บางอย่างทีเราไม่สามารถทำได้ตามชอบใจเนี่ย คนนั้นจะมีจิตใจมั่นคงเข้มแข็งอดทน ได้ดี ที่นี่คนที่ไม่เคยฝึกวินัยเลย เคยแต่ทำอะไรตามใจอยาก ที่นี่พอมันเกิดเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ไม่สามารถทำตามใจตัวได้ ที่นี่ก็พลุ่งพล่าน ทุรนทุราย กระวนกระวาย มีความทุกข์มาก เพราะฉะนั้นประโยชน์ในการฝึกเรื่องวินัยนี่มีมากมายหลายประการ ก็มาช่วยเรื่องจิตใจและปัญญาอย่างที่ว่า แต่อย่างไรก็ตามจุดสัมพันธ์ที่แท้มันก็อยู่ที่พฤติกรรม เพราะฉะนั้นวินัยก็เป็นตัวต่อจากภายนอกเข้ามาสู่ชีวิตมนุษย์ที่พฤติกรรมมนุษย์ แล้วปรากฎว่าอยู่ในพฤติกรรมมนุษย์แล้วพฤติกรรมนั่นอยู่ในวินัยหรือไม่ แต่ว่ากระบวนการพัฒนาพฤติกรรมนั้นเองเราก็จะได้ฝึกจิตใจและฝึกปัญญาไปด้วยอันนี้ก็เข้ามาสู่ตัวธรรมะ พอเข้ามาถึงพฤติกรรม ออกเป็นศีลก็เป็นด้านธรรมะแล้วก็เข้ามาด้านจิตใจปัญญา นี่ก็เข้ามาสู่ชีวิตของเรา ศีล สมาธิ ปัญญา พูดไปแล้วว่ามนุษย์มีชีวิตที่ดำเนินไป พร้อมกัน ๓ ด้านได้แก่ พฤติกรรม จิตใจ และ ปัญญา การฝึกในด้านพฤติกรรมเรืยกว่าศีลคือกาย วาจา ฝึกกายวาจา แล้วก็ได้อาศัยสมาธิเป็นแกนในการฝึก ก็ด้านปัญญาก็ฝึกความรู้ความเข้าใจ การรู้จักคิดพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อันนี้เป็นว่าโยงเรื่องวินัยที่เป็นระเบียบแบบแผนซึ่งมนุษย์จัดตั้งวางขึ้นมา เข้าสู่เรื่องของธรรมะที่อยู่ที่ตัวมนุษย์ที่มีพฤติกรรม เป็นศีล สมาธิ ปัญญา งั้นระบบการฝึกตอนนี้ต้องแยกได้ วินัยเป็นเรื่องของสมมุติ ส่วนศีล สมาธิและปัญญาเป็นเรื่องของธรรมะ เป็นเรื่องของความจริงตามกฎธรรมชาติ ถ้ารู้จักจัดตั้งชีวิตและวางแผนมันก็กลับมาเอื้อชีวิตของตนเอง พัฒนาชีวิตของตนเองให้ดีงามขึ้น ก็นี่เป็นความสามารถที่พิเศษของมนุษย์ ที่สามารถจัดต้้งวางระเบียบแบบแผนวางระบบความสัมพันธ์ในสังคมมนุษย์จัดสรรสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่าวินัย งั้นวินัยเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ ที่ไม่มีในสัตว์อื่น สัตว์อื่นนี่เป็นไปตามสัณชาตญาณ มนุษย์ก็สามารถใช้เจตจำนงของตนจัดวาง และอาศัยปัญญา แต่ถ้าขาดเจตจำนงที่จะจัดตั้งวางระบบและไม่มีปัญญา นั่นก็คือความเสื่อมและความพินาศของมนุษย์เอง และจากวินัยก็จะพัฒนาเป็นวัฒนธรรม อารยธรรม ทั้งหมด เป็นระบบสังคมของมนุษย์อย่างที่เราเห็น แต่ว่าก็อย่างที่ว่า ว่าสนองเจตนาอะไร ถ้าเจตนาไม่บริสุทธ์ก็เกิดปัญหา เช่นว่ามนุษย์จัดตั้งวางระบบเป็นกองทัพก็เป็นวินัยแล้วใช่ไหม แต่ว่าจัดกองทัพนี่เพื่อไปห้ำหั่นกัน ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อเกี้อหนุนชีวิตที่ดีงามอะไร ก็จัดเพื่อปกป้องตัวเองก็คล้ายกับว่าเป็นการดำเนินชีวิตอย่างหนึ่ง แต่ว่ามันก็ไม่นำไปสู่การมีชีวิตที่สันติได้ แล้วก็ปัญญาที่รู้เข้าใจธรรมะอย่างที่ว่า เพราะฉะนั้นก็แม้แต่ว่าการวางกฎหมายอย่างสภาผู้แทนราษฎรก็อาศัย ๒ อย่าง เจตนาเป็นอย่างไร มุ่งประโยชน์ในการวางกฎหมายนี่เพื่อตัวหรือเปล่า ใช่ไหม เรียกว่าปัญญารู้เข้าใจแค่ไหน ก็การจัดตั้งในหมู่มนุษย์มีหักการสำคัญ คือมีเจตจำนง และปัญญาอย่างที่ว่า ก็อยู่ที่ ๒ อันนี้ในเมื่อมนุษย์มีความประเสริฐ มีความอิสระจากสัณชาตญาณแล้ว มนุษย์จะตัวเองและสังคมของตัวเองไปสู่ความดีงามได้หรือไม่ ก็อยู่ที่จุดนี้ ก็วันนี้ก็คิดว่าคุยกันแค่สั้น ๆ ก่อน
-พระใหม่ถาม >> ถ้าสัณชาตญานการไม่มีวินัย เช่นออกข่าวที่วา เด็กเรียนนายสิบนายร้อยถูกโดนแขวนคอ ถือว่าขาดความมีวินัยในความเป็นมนุษย์ใช่ไหมครับ
- ท่าน ป.อ ปยุตโต ตอบ >> เพราะวินัยนี่เป็นการจัดระเบียบแบบแผนวางกฎกติกากันยังไง แล้วธรรมะนั่นมีเมตตา กรุณากันหรือเปล่า นี่ของฝ่ายธรรมมะเป็นเรื่องของความจริงของชีวิต เช่นคุณสมบัติของจิตใจเป็นต้น แต่ว่าวินัยนี่เป็นเรื่องของมนุษย์มาตกลงกันว่าจะเอายังไง ว่าอ้าววางระเบียบไว้นะ ว่าถ้าใครทำแบบนี้ลงโทษประหารชีวิตโดนแขวนคอ นี่ใช่มั๊ยนี่วินัยละ ก็จะเอาว่าถ้าใครทำละเมิดอันนี้ก็จัดการแขวนคอ อย่างว่าสมัยโบราณก็มีว่าใครกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดินก็ประหารชีวิตเจ็ดชั่วโคตร อย่างนี่ก็วินัยใช่ไหม วินัยก็ออกเป็นกฎหมายอะไรอย่างนี้ แต่อย่างว่าวินัยนี้จัดตั้งขึ้นเพื่ือเจตจำนงอะไร เจตนาเพื่ออะไร เจตนาเพื่อรักษาตัวเอง รักษาผลประโยชน์ของตัวเอง นี่เจตจำนงนี่มีเพื่อเป็นไปของความดีงาม กว้างขวางแค่ไหน มองแค่ตัวเอง รักษาผลประโยชน์ หรือมองเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน เพื่อสังคมที่ดีงาม ที่นี่เจตนาจะสำเร็จหรือไม่ก็อยู่ที่ปัญญาอีก มีความรู้ ความเข้าใจความจริงแค่ไหน รู้ในความเป็นเหตุเป็นผล ความเป็นเหตุปัจจัยได้แค่ไหน ถ้ารู้เข้าใจดีก็วางได้สำเร็จ นี่้ถ้ามองในแง่นี้แล้วละก็ผู้ที่จะเข้ามาเป็น ส.ส ในสภานี่ก็ ๑ ก็ต้องมีเจตนาดี คุณธรรมแน่นอน เจตนาถ้ามันมาเพื่อหาผลประโยชน์ก็เสียฐานตั้งแต่ต้นแล้วก็ไปไม่รอดแล้ว แล้วก็ปัญญาเรามีความรู้ความเข้าใจอะไรแค่ไหน อันนี้ก็่น่าหนักใจนะเนี่ย ส.ส เข้ามาประกอบด้วยความรู้ ปัญญาแค่ไหน ถึงจะมาวางกรอบวางระเบียบวินัยให้แก่สังคม ถ้ามันไม่รู้ไม่เข้าใจเพียงพอก็ไม่สามารถที่จะวางกฎเกณฑ์ กติกา ระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ให้ดำเนินได้อย่างได้ผลดีได้
- พระใหม่ถาม >> กระผมมองว่าเป็นเรื่องที่ยากที่จะมองกฎหมายเนี่ย ที่จะเป็นกฎหมายที่ดีได้ เพราะคนออกก็เต็มไปด้วย ตัญหา ความจริงธรรมชาติก็เป็นสิ่งที่ยากอยู่แล้ว แล้วก็ต้องแปลงความรู้ความเข้าใจจากสิ่งธรรมชาติออกมาเป็นสิ่งสมมุติที่จะมาใช้ควบคุม มันเป็นความยาก ๒ ชั้น จริง ๆ วินัยในทางปฏิบัตินั้นยากยิ่ง
- ท่าน ป.อ ปยุตโต ตอบ >> ก็นั่นนะซิ ถึงได้ว่ามันเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ ยังไงก็ให้มีได้มีเจตนาดี ไว้ให้เป็นหลักประกันไว้อันหนึ่ง แล้วก็ ๒ ปัญญาก็พัฒนาไปเรื่อยให้มีเป็นพื้นฐานไว้บ้าง ที่นี่มันก็อยู่ที่ปัญญาของประชาชนด้วย เจตนาของประชาชนด้วย ประชาชนเรามีความเข้าใจและมีเจตนาอะไร ในการเลือกผู้แทน ทีนี่ถ้าหากว่าราษฎรมีปัญญาพอสมควร มีเจตนาที่แท้จริงมุ่งเพื่อประโยชน์สุขของสังคมของตัวเอง มุ่งเพื่อธรรมะความดีงามความถูกต้อง ก็เลือก ส.ส ที่เค้าดีใช่ไหม อ่ามันก็มาช่วยอย่างน้อยก็ดีขึ้นไม่มีโทษหรือผลเสียหายมากนัก พอจะประคับประคองสังคมให้มันทรงตัวอยู่ได้ก็ยังดี ทีนี้ก้าวเป็นอย่างช้า ๆ แล้วก็เราก็ถือว่าคนเหล่านี้เค้าไม่ได้มีความสมบรูณ์แต่อาศัยว่าเค้ามีเจตนาดี แล้วก็มีปัญญากันมาบ้าง แล้วก็อาศัยเจตนาที่ดี แล้วก็พยายามทำดีที่สุดสุดขีดของปัญญาของตน แล้วเค้าหลาย ๆ คนเป็นร้อย ๆ ก็จะได้เอาปัญญาเจตนาดีนี้ มาประกอบกันก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น เราไม่ได้ไว้ใจคนเดียว เพราะเราก็ไม่ได้ยอมรับว่าคนนั้นสมบรูณ์ เจตนาอาจจะดีแต่ว่าปัญญามันไม่สมบรูณ์ พอปัญญามันไม่สมบรูณ์ก็อาศัยช่วยกันซิ ก็ประกอบกัน ร้อยคน สองร้อยคน สามร้อยคน มันก็ดีขึ้น ไม่พลาดง่าย
พระใหม่ถาม >> วินัยที่เป็นอุดมคติ หรือ พระอริยะวินัยใช่ไหมครับ
ท่าน ป.อ ปยุตโต ตอบ >> อริยะวินัยก็หมายความว่า ความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากตัวธรรมะจริง ๆ มีเจตนาดีเพื่อให้เป็นไปตามธรรมะ เอาปัญญารู้ธรรมะมาจัดเจตนาก็เพื่อธรรมะอีกเป็นวัตถุประสงค์
พระใหม่ถาม >> พระอริยะวินัยไม่ขึ้นกับกาละด้วยใช่ไหม
ท่าน ปอ ปยุตโต ตอบ >> พระอริยะวินัยก็ขึ้น แต่หมายความแต่เพียงว่า มีความสามารถกับความรู้ความจริงนั้น สามารถมาปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์เพราะว่า สังคมสภาพแวดล้อมคงต้องเปลี่ยนอยู่เรื่อย ก็หมายความว่าสามารถปรับได้ให้มันสอดคล้องกันตัวความจริง