แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ก็ไม่เป็นไร มานี่ก็พระอาจารย์ก็เล่าให้ฟังแล้ว ดีมั้ย สนใจรึเปล่า สนใจได้ความรู้นะ แล้วเติ้งกับหมิง แทมล่ะครับได้เรียนด้วยกันใช่มั้ย แล้วเป็นไง ชอบมั้ย
ชอบครับ
ชอบเรื่องอะไรล่ะ เรียนวิชาอะไรบ้าง
๑. กินเป็นอยู่เป็น
๒. ศีล ๕ พละ ๕ อิทธิบาท ๔
แล้วเรื่องธรรมะล่ะ แล้วทีนี้วิชาอะไรอีก พุทธประวัติ
ก็มีพุทธประวัติ
มีธรรม ๑ ธรรม ๒ แล้วพุทธประวัติ ก็ ๓ อย่าง
??? สมาธิ เจริญสติ
มีพระอาจารย์สอนกี่องค์
มีหลวงพี่???
ก็อาจารย์มากกว่าลูกศิษย์สิ ใช่มั้ย อาจารย์ ๔ ใช่มั้ย ลูกศิษย์ ๓ เอาละ ดีแล้ว แสดงว่าท่านตั้งใจนะ อาจารย์มากกว่าลูกศิษย์นี่ ลูกศิษย์ต้องนึกว่าอาจารย์ตั้งใจมาก มาสอนพวกเรานี่ เราต้องเรียนให้จริงจังเต็มที่เลย ใช่มั้ย อาจารย์จะได้ดีใจว่า โอ ลูกศิษย์ของเรานี่ตั้งใจเล่าเรียนศึกษา อาจารย์เห็นลูกศิษย์ตั้งใจเรียน อาจารย์ก็เกิดความดีใจ ปลื้มใจ เขาเรียกว่ามีปีติ เชื่อมั้ย ถ้าเห็นลูกศิษย์ดีแล้ว โอ อาจารย์สอนเท่าไหร่เท่ากัน
เอ้า แล้วที่ว่ากินเป็นอยู่เป็น ได้ยินย้ำวันก่อน ถามก็บอกกินเป็นอยู่เป็น เป็นยังไงพอจะอธิบายได้มั้ยครับ
พิจารณาอาหารว่ามาจากไหน แล้วก็จะได้ประโยชน์ยังไง แล้วก็อยู่ให้เป็นคือไม่เรื่องมากครับ
เขาเรียกว่าเลี้ยงง่าย ใช่มั้ย เป็นคนที่เลี้ยงง่าย เลี้ยงง่ายก็ไม่ชอบทำตัวให้เป็นภาระใครๆ ไม่รบกวนใครมาก อยู่ง่ายๆ แล้วก็ไปคิดช่วยเขามากกว่า แทนที่คิดจะเอาๆ จะเรียกร้อง เป็นนักเรียกร้องนี่ไม่ค่อยดี ใช่มั้ย เรียกร้องก็ต้องเรียกร้องเรื่องสิ่งที่ดีงาม เช่นว่าความถูกต้อง อะไรอย่างงี้ แต่ไปเรียกร้องเอาผลประโยชน์ให้กับตัวนี่ไม่ค่อยดี ใช่มั้ย เราก็คิดช่วยคนอื่น นึกว่าเราจะทำอะไรให้ใครได้บ้าง อย่างนี้ ถ้าคิดอย่างนี้ล่ะก็จะได้ประโยชน์ เขาเรียกว่าพยายามให้ความสุขแก่คนอื่น ถ้าเราให้ความสุข ต่อไปความสุขมีมากขึ้น ก็ได้ความสุขด้วยกัน จริงไม่จริง
กินเป็นก็แปลว่า ต้องรู้ว่ากินเพื่ออะไร ใช่มั้ย แล้วกินเพื่ออะไรล่ะ
กินเพื่ออยู่ครับ
กินเพื่ออยู่ นี่ก็ขั้นหนึ่งแล้ว ต่อจากกินเพื่ออยู่คืออะไร กินเพื่ออยู่ก็คือกินเพื่อมีชีวิตอยู่ได้ ใช่มั้ย
???
แล้วเราจะได้มีร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี แล้วเราจะได้ใช้ประโยชน์ เอาร่างกายนี้ไปทำความดี ไปเล่าเรียนศึกษา เป็นต้น ถูกมั้ย นี่อย่างนี้ต้องเรียกว่าเป็นขั้นตอน คือว่ากินเพื่ออยู่ ก็ต้องว่า เอ้า ที่อยู่น่ะคือว่าเอาร่างกายนี่ไปใช้ประโยชน์ พอร่างกายมันไม่แรง ไม่มีอาหาร มันก็อ่อนแอ เป็นโรค ก็ทำอะไรไม่ได้ ใช่มั้ย พอเราร่างกายแข็งแรงดี อาหารเพียงพอแล้ว เราก็เอาร่างกายนี้ไปเล่าเรียนศึกษา ไปทำอะไรที่ดี เขาเรียกว่าทำสร้างสรรค์ได้ ใช่มั้ย ก็เรียกว่ากินโดยรู้ว่ากินเพื่ออะไร เขาเรียกว่ากินด้วยปัญญา ใช่มั้ย แล้วอีกอย่างเขาเรียกว่ารู้จักประมาณในการบริโภค ทำไมจึงเรียกว่ารู้จักประมาณ
???ไม่อ้วน
อย่างนี้ล่ะ อย่างนี้เรียกว่ารู้จักประมาณรึเปล่า อ้าว ทำไมรู้ตัวล่ะ แล้วทำไงทีนี้
???
ลดนะ เรียกว่ารู้จักประมาณ รู้จักประมาณก็คือรู้จักพอดี ใช่มั้ยครับ รู้จักพอดี พอดีคือต้องวัดด้วยอะไร
ปริมาณอาหารไม่มากไม่น้อยเกินไป
นั่นสิ ไอ้ปริมาณจะรู้ ไม่มากไม่น้อยนี่เอาอะไรเป็นเครื่องวัดล่ะ
กินพออิ่มแล้วก็พอครับ
นั่นสิ เนี่ย เราจับให้ได้ว่าเอาอะไรเป็นตัววัด ร่างกายของเราเนี่ย ต้องการอาหาร ถูกไม่ถูก เราจึงกิน ถ้าร่างกายของเราไม่ได้อาหาร เป็นไง
อ่อนแอ
อาจจะถึงตายเลย ใช่มั้ย เป็นอันว่าร่างกายมันต้องการอาหาร เราก็ต้องกิน อย่างนี้เรียกว่ากินเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย ถูกมั้ยครับ
ครับ
นี่ กินเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย ก็คือร่างกายเนี่ย เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นเขาพูดอีกสำนวนหนึ่งว่ากินเพื่อสนองความต้องการของชีวิต เพราะว่าถ้าหากว่าไม่กินแล้วชีวิตมันไม่อยู่ มันตาย ใช่มั้ย นั่นเขาเรียกว่ากินเพื่อสนองความต้องการของชีวิต
ทีนี้ถ้ามีคนอีกพวก ก็ต้องการเหมือนกัน ต้องการกิน พวกนี้ต้องการกิน เช่นว่ามันอร่อยลิ้น ใช่มั้ย กินเพื่อสนองความต้องการอร่อย ตอนนี้ร่างกายต้องการหรือเปล่า ไม่แน่ ใช่มั้ย กินเพื่อสนองความต้องการเอร็ดอร่อย ก็นี่เขาเรียกว่า อันเนี้ยถ้าใช้ศัพท์พระจะเรียกว่าความต้องการของตัวตน ไม่ใช่ชีวิต ไม่ใช่ร่างกาย ตัวตนที่มันไม่มี ไม่เห็นตัว เราบอกว่าตัวคนนั้นตัวคนนี้ ตัวเรา บอกได้มั้ยว่าอยู่ตรงไหน ตัวนี้แหละ ตัวสำคัญ ที่มองไม่เห็นนี่แหละ มันต้องการกินเพื่ออร่อย ถูกมั้ย มันมีความต้องการของตัวตนที่ต้องการอร่อย หรือบางทีต้องการให้ตัวโก้ก็มี ใช่มั้ย บางคนนี่ต้องการกินอาหารให้ตัวตนโก้ จะได้อวดเขาว่าฉันกินของดี ของแพง ใช่มั้ย ถ้าไปกินที่หรูหรา อย่างนี้นะเขาเรียกว่ากินสนองความต้องการของตัวตน ตกลงมี ๒ พวก
๑. กินสนองความต้องการของชีวิต ร่างกายมันต้องการ เราก็กินให้มัน
๒. อีกอย่างต้องกินเพื่อสนองความต้องการของตัวตน คืออยากอร่อย อยากโก้ อยากฟู่ฟ่าหรูหรา
เนี่ยอย่างนี้เราตอบได้ชัด กินสนองความต้องการของอันไหนถูก ใช่มั้ย ของอันไหนล่ะ
???
ทางความต้องการของชีวิต ถูก ถ้ากินสนองความต้องการของตัวตน ก็ไม่ถูก บางทีไปกินของอร่อย แต่เป็นพิษกับร่างกายก็มี ถูกไม่ถูก แล้วเป็นไง ร่างกายก็แย่ เป็นโรค บางทีไปกินของแพงเพื่อโก้ ใช่มั้ย เสร็จแล้วไม่มีประโยชน์เลย กินแล้วกลับเป็นโทษ แล้วสิ้นเปลืองเงินด้วย พ่อแม่ก็ลำบากอีก ใช่มั้ย กินแล้วทำลายตัวเอง กินแล้วทำลายพ่อแม่ กินแล้วเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์นี่ แย่งกัน ใช่มั้ย
แล้วกินอย่างไหนถึงจะพอดี ที่บอกว่าวัด วัดว่ายังไงพอดี ก็ต้องเอาความต้องการของร่างกาย ใช่มั้ย ร่างกายชีวิตนี่มันต้องการอาหารแค่ไหน ปริมาณแค่ไหน เราก็กินแค่นั้น ก็กินพอกับที่มันต้องการ แล้วก็กินอาหารที่มีคุณภาพ ตรงกับที่ร่างกายต้องการด้วย เราก็ต้องศึกษา ร่างกายต้องการอาหารประเภทไหน ต้องการโปรตีนเท่าไหร่ ต้องการคาร์โบไฮเดรตเท่าไหร่ ต้องการไขมันเท่าไหร่ อะไรอย่างนี้เป็นต้น ใช่มั้ย
แต่ถ้าต้องสนองความต้องการของตัวตนก็ โก้ อร่อย ตอนนี้วัดไม่ได้เลย ถูกมั้ย โก้นี่มันไม่รู้จักจบ ถูกมั้ย กินเท่าไหร่ก็ไม่พอ หมื่นก็ไม่พอ แสนก็ไม่พอ มันไม่จบโก้ เพราะฉะนั้น กินเพื่อสนองความต้องการของตัวตน จะอร่อยหรือโก้ก็ตามเนี่ย ไม่รู้จักประมาณ ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต แต่ถ้ากินเพื่อสนองความต้องการของชีวิต ของร่างกาย มีขอบเขตพอดี ปริมาณก็พอดี คุณภาพก็พอดี เพราะฉะนั้นเขาจึงเรียกว่ารู้จักประมาณในการบริโภค คือกินด้วยปัญญา เพื่อสนองความต้องการของชีวิตร่างกาย เข้าใจแน่นะ เนี่ยต่อไปนี้ต้องปฏิบัติตามนี้ ผิดไม่ผิด
???
ปฏิบัติตามหลักที่พระพุทธเจ้าสอนว่ากินเพื่อสนองความต้องการของชีวิตร่างกาย ไม่มีทางผิดเลย ใช่มั้ยครับ เพราะกินด้วยความรู้จริง ถูกต้อง ตรง ถ้าไปสนองความต้องการตัวตน ไม่ถูก ผิดแน่นอน
สามเณรหมิงเคยเรียนมั้ยครับเรื่องนี้ เรื่องเนี้ย กินรู้จักประมาณ ???ไม่เข้าใจ เอาละนะ เอาไปใช้ปฏิบัติด้วย แล้วก็ไปแนะนำคนอื่น แล้วก็จะทำให้ เนี่ย ประเทศชาติของเราจะเจริญเลยถ้าพวกเรากินอาหารเป็น เชื่อมั้ย
??? ไม่ฟุ่มเฟือย
ไม่ฟุ่มเฟือยด้วย แล้วก็สุขภาพเราก็จะดีด้วยนะ แล้วพ่อแม่ก็สบาย พ่อแม่ก็ไม่สิ้นเปลืองมาก ช่วยคุณพ่อคุณแม่ด้วย คุณพ่อคุณแม่น่ะแสนจะเหน็ดเหนื่อยหาเงินให้ลูก ถูกมั้ย เพราะรักลูกก็อยากให้ลูกเป็นสุข ลูกก็เรียกร้องจะเอาโน่นเอานี่ ทีนี้พ่อแม่ก็เดือดร้อน ถ้าไม่ให้ลูกก็ร้องไห้ ใช่มั้ย ก็เป็นทุกข์ ทีนี้พอลูกรู้จักคิด มีปัญญา รู้จักว่าอะไรถูกอะไรผิด เออ อย่างนี้ถูกนี่ กินอาหารมันสนองความต้องการของชีวิต ต้องรู้จักประมาณ ต้องกินด้วยปัญญา เราก็เกิดความมั่นใจ ชีวิตของเราก็ดี คุณพ่อคุณแม่เห็นเรามีปัญญา ทำถูกต้อง เงินทองก็ไม่สิ้นเปลือง เอาไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์เล่าเรียนศึกษาก็ได้เต็มที่ คุณพ่อคุณแม่ก็ดีใจ ใช่มั้ย ประเทศชาติก็เจริญเพราะพวกเราเป็นคนแข็งแรง แล้วก็เล่าเรียนศึกษาได้ผล
เพราะฉะนั้นเนี่ยแค่กินอยู่เป็นนี่ก็ช่วยคุณพ่อคุณแม่ ช่วยตัวเราเอง ช่วยประเทศชาติสังคมได้มากมายแล้ว
ก็เสื้อผ้าก็เหมือนกัน ใช่มั้ยครับ ต้องตอบได้ว่านุ่งห่มเพื่ออะไร
ปิดบังร่างกาย ปกปิด ให้ความอบอุ่น
ให้ความอบอุ่น กันแดด กันหนาว ใช่มั้ย กันหนาวกันร้อนกันแมลง กันละอาย ใช่มั้ย อันนี้ก็เราก็ต้องรู้ว่า อ้อ คุณค่ามันอยู่ที่นี่
อ้าว มีโทรศัพท์มาซะแล้ว เดี๋ยวขอไปรับนิดเดียวนะ เดี๋ยวรอนิดนึง
ทางพระท่านเรียกว่าใช้ปัจจัย ๔ โดยพิจารณา ก็หมายความว่าใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แม้แต่ที่อยู่อาศัย รับประทานอาหารเนี่ย โดยมีปัญญาพิจารณา รู้เข้าใจว่ามันมีเหตุผลอะไร กินเพื่ออะไร นุ่งห่มเพื่ออะไร นุ่งห่มเพื่อปิดบังร่างกาย กันหนาวกันร้อน อะไรอย่างนี้นะ กันพวกแมลงสัตว์กัดต่อยอะไรก็แล้วแต่เนี่ย ก็คือสิ่งแวดล้อมที่มันจะมารบกวนเรา
แต่ทีนี้นอกจากนั้นก็คือว่า มันต้องมอง ๒ ประเด็น
๑. คือในแง่ตัวเรา ก็คือประโยชน์แก่ตัวเรา แก่ชีวิตเราเนี่ย เออ เสื้อผ้านี่ใช้แล้วเราได้ประโยชน์มั้ย กันหนาวกันร้อนได้
๒. ก็คือมองในแง่คนอื่น มองในแง่คนอื่นก็คือว่ามนุษย์ทุกคนเนี่ย เราอยู่ร่วมกันในโลกเนี่ย เราต้องการให้อยู่กันด้วยดี ถ้าอยู่ด้วยกันด้วยดี แต่ละคนเนี่ยก็ต้องเอื้อเฟื้อคนอื่นด้วย เข้าใจคำว่าเอื้อเฟื้อมั้ยครับ
เข้าใจครับ
เอื้อเฟื้อก็หมายความว่าเราต้องนึกถึงอกเขาอกเรา เราไปไหนเราก็อยากเห็นสภาพแวดล้อม ต้นไม้เขียว มีดอกไม้สวยงาม สถานที่สะอาดสะอ้าน ใช่มั้ย ตึกเติกอะไรก็สะอาด เห็นผู้คนก็เหมือนกันแหละ พอเราเห็นคนแต่งกายเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ต้องเอาโก้เก๋อะไรหรอก เอาแค่สวย ระเบียบเรียบร้อย สะอาดสะอ้าน ใจเราก็สบาย ใช่มั้ย ถ้าเขาแต่งตัวมอมแมมๆ เราก็สบายใจไม่ได้เหมือนกัน ใช่มั้ย ก็อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกรังเกียจอะไรกัน ไม่ดี เพราะฉะนั้น เนี่ย ทุกคนเนี่ยเป็นสิ่งแวดล้อมให้แก่คนอื่น เขาเป็นสิ่งแวดล้อมของเราฉันใด เราก็เป็นสิ่งแวดล้อมของคนอื่นฉันนั้น เราไปไหนเราก็อยากเห็นสิ่งแวดล้อมสวยงาม สะอาดตา เขาก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราก็ต้องแต่งกายของเราเนี่ยให้เรียบร้อย ให้สะอาด เขาจะได้สบาย เขาเรียกว่าเป็นที่เจริญตาเจริญใจ นี่แหละ
เพราะฉะนั้นก็ ในแง่ตัวเอง เราก็แต่งตัวให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง ตามความมุ่งหมาย สนองความต้องการของชีวิตร่างกาย และในแง่คนอื่นก็คือว่าเราเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่น่าเจริญตาเจริญใจแก่ผู้อื่น ใช่มั้ย นี่คือเหตุผล เดี๋ยวเราจะบอก ฉันจะแต่งตัวยังไงก็ได้ เพราะฉันไม่เอาแล้วโก้เก๋ อ้าว อย่างนี้มันก็สุดโต่งไป คือเราไม่เอาโก้เก๋ แต่เราเอาสะอาดเรียบร้อย ให้คนเค้าเห็นแล้วสบายตาสบายใจ ใช่มั้ยฮะ เราก็เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีของกันและกัน เราก็อยู่กันในโลกมีความสุข พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ก็คือให้เรารู้จักใช้ปัญญา ก็ในแง่นี้ก็พอแล้ว เรื่องกินอยู่เป็น ก็มีเรื่องพูดกันเยอะ
ทีนี้สามเณรหมิงอยากจะไป อาจจะไปอเมริกา ถามเป็นความรู้รอบตัวกันนิดหนึ่ง ประเทศอเมริกานี่ผืนแผ่นดินกว้างใหญ่สักเท่าไหร่ พอรู้มั้ย
???
ต้องรู้ไว้นะฮะ เตรียมไว้ด้วย แล้วเทียบกับประเทศไทย ใหญ่กว่าไทยเยอะมั้ย
???
๑๘ เท่า ถ้าอย่างนั้นพอรู้ไทยแล้วก็คำนวณอเมริกาได้ ประเทศไทย พอทราบมั้ยครับว่าเนื้อที่เท่าไหร่เอ่ย
???
โอ ๕๓๐๐๐๐ ถ้าคิดเป็นไมล์ พอไปเมืองอเมริกาแล้วเค้าคิดเป็นไมล์ ถ้าคิดเป็นไมล์นี่ของไทยได้ ๑๙๘๐๐๐ ตารางไมล์ เราไปเมืองฝรั่งไปพูดกิโลนี่ ฝรั่งบางคนก็คิดออก บางคนก็คิดไม่ออก เพราะเขาพูดเป็นไมล์ เชื่อมั้ย ไปอเมริกานี่เขาพูดฟุต พูดไมล์ เขาพยายามพูดกิโลเหมือนกัน มีอยู่ยุคหนึ่ง หลายปีมาแล้ว เขาพยายามแจกเลยนะ เอาไอ้ไม้บรรทัดชนิดเป็นเมตริก เมตริกก็คือเป็นมาตราแบบ ๑๐ แบบทศนิยม แบบกิโล กิโลเมตร กิโลกรัม อะไรพวกนี้ ถึงกับแจก แต่เสร็จแล้วมันก็ไม่ค่อยได้ผล ฝรั่งอเมริกันก็ยังติดเรื่องไมล์อยู่นั่น เพราะฉะนั้นเขาก็จะรู้จักเรื่องไมล์มากกว่า
ทีนี้ถ้าคิดเป็นไมล์นี่ ไทยเรา ๑๙๘๐๐๐ ตารางไมล์ อเมริกานี่ ๓๗๑๗๐๐๐ ตารางไมล์ ๓๗๑๐๐๐๐ ประเทศอะไรที่มีเนื้อที่ใกล้เคียงกับอเมริกามากที่สุด
จีน
จีน เอ้าไม่ใช่ เนื้อที่นั่นแหละ ขนาดใกล้เคียงกัน นั่นแหละ ถูกแล้ว จีน จีนทราบมั้ยครับ กับอเมริกา ใครใหญ่กว่ากัน
จีน
จีนเคยใหญ่กว่าแต่ตอนนี้อเมริกาเขาบอกเขาใหญ่กว่าแล้ว เออ ใหญ่ขึ้นไปกว่าจีนหน่อยนึง เพราะจีน ๓๖๙๐๐๐๐ ตารางไมล์ อเมริกาเขาขยับขึ้นไป ๓๗๑๗๐๐๐ ต่างกันนิดเดียวนะครับ ๓๗๑ อันนี้ ๓๖๙ ห่างกันเท่าไหร่ ๒๐๐๐๐ เท่านั้นเอง ๒๐๐๐๐ ตารางไมล์ นิดเดียว เอามากกว่ากันนิดหน่อย เอาชนะกันนิดเดียว
แต่ประชากรล่ะ จีนเท่าไหร่ครับ ๑๒๐๐๐๐๐๐๐๐ แล้วอเมริกาเท่าไหร่ ๒๘๐๐๐๐๐๐๐ ก็เกือบ ๓๐๐ นั่นแหละ เอา ๓๐๐ ก็พอไหว อยู่แถวๆ นั้นน่ะ ระหว่าง ๒๘๐ ถึง ๓๐๐ เขาไม่ยอมให้ถึง ๓๐๐ อเมริกาเขาพยายามคุม ก็เป็นอันว่าอเมริกานี่เนื้อที่ว่างเยอะ เรียกว่าอัตราความหนาแน่นประชากรนี่น้อย เนื้อที่เขาว่างเยอะ ไทยเรายังหนาแน่นกว่าเยอะ คนไทยมีเนื้อที่ ๑๙๘๐๐๐ ตารางไมล์นี่ มีคนเท่าไหร่ครับ
???
๖๒ ขึ้น ๖๓ ล้าน ช่วง ๖๒ กับ ๖๓ ต่อแหละ ๖๒ ขึ้น ๖๓ ล้าน เนี่ย เพราะฉะนั้นประชากรเราหนาแน่นกว่าอเมริกา ยิ่งเทียบกับจีน จีนยิ่งหนาแน่นมาก แต่ยังมีอีกประเทศหนึ่งหนาแน่นกว่าจีนอีก ประเทศอะไรเอ่ย
???
รัสเซียมันมีแผ่นดินเสียเปล่าเยอะเลย ไซบีเรีย จีน มาเก๊า อ่า ใช่ มันต้องอินเดีย ประเทศที่หนาแน่นมากกว่าจีนก็คืออินเดีย อ้าว ไหนๆ พูดมาถึงอินเดียแล้วก็ ประเทศอินเดียนี่มีประชากรใกล้เคียงกับจีนนะ จีนมี ๑๒๐๐๐๐๐๐๐๐ อินเดียมี ๑๐๐๐๐๐๐๐๐๐ ใกล้แล้วนะ ต่อไปจะทัน เพราะว่าอัตราเกิดของอินเดียสูงกว่าจีน จีนยังมีการคุมได้ แต่ว่าอินเดียคุมแทบไม่ได้เลย นี้ เนื้อที่ล่ะ อินเดียมีเนื้อที่เท่าไหร่พอทราบมั้ยฮะ
???
มีเนื้อที่เล็กกว่าจีน เล็กกว่าอเมริกาประมาณ ๓ เท่า คือมีเนื้อที่ ๑๒๒๐๐๐๐ ตารางไมล์ ส่วนอเมริกา ๓๗๑๐๐๐๐ จีนนี่ ๓๖๙๐๐๐๐ ไทยนี่ ๑๙๘๐๐๐ ตารางไมล์ เอาล่ะ นี่เป็นความรู้รอบตัว สามเณรหมิงจะไปอยู่ LA อยู่ในรัฐอะไรครับ
???
รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐแคลิฟอร์เนียนี่เป็นรัฐใหญ่มาก แต่เป็นรัฐที่ยาว ยาวตามแนวฝั่งมหาสมุทรอะไรครับ
???
แปซิฟิค แปซิฟิคก็อยู่ตรงข้ามกับรัฐอะไร อยู่ตรงข้ามฝั่งมหาสมุทร ผืนแผ่นดินฟากนี้กับฟากโน้น อะไรนะฮะ
???
หมายถึงว่าประเทศอเมริกาด้วยกันน่ะ มันอยู่ ๒ ฝั่งมหาสมุทรเลยใช่มั้ย ฝั่ง LA นี่อยู่มหาสมุทรแปซิฟิค แล้วไปตรงข้ามอีกฟากหนึ่งก็เป็นมหาสมุทรแอตแลนติค แผ่นดินที่อยู่ฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติคนี่ ที่ตรงกับ LA นี่ เป็นแถวๆ ไหน
???
ใกล้ๆ ทีนี้ถ้าเอาขึ้นมาเหนือๆ เอาเมืองใหญ่ๆ ด้วยกัน นิวยอร์ค นิวยอร์คก็อยู่ริมฝั่งแอตแลนติค วัดไปจาก LA ไปถึงนิวยอร์คนี่ประมาณเท่าไหร่
???
๓๐๐๐ ไมล์ ๔๘๐๐ กิโล ก็ของสามเณรคือกิโล ประมาณ ๔๘๐๐ กิโลเมตร ก็ ๓๐๐๐ ไมล์
ทีนี้ประเทศเค้าก็ใหญ่มาก ก็รู้ไว้เป็นเรื่องความรู้รอบตัว LA แถวแคลิฟอร์เนี่ยนี่เป็นรัฐที่มีคนเอเชียไปอยู่มาก คนไทยก็ไปอยู่มาก แต่นิวยอร์คก็เยอะเหมือนกัน แต่ก็ไม่มากเท่ากับ LA เมืองใหญ่ของอเมริกามี LA นี่ นิวยอร์ค แล้วเมืองอะไรอีกที่ใหญ่ในระดับใกล้กันมาก
ชิคาโก้อยู่กลาง ใช่มั้ย ๒ เมืองนี้อยู่ริมฝั่งมหาสมุทร ก็อันนี้ก็เป็นเรื่องของความรู้ในทางภูมิศาสตร์ ทีนี้ถามในเชิงประวัติศาสตร์นิดนึง จะได้จำไว้ คติของประเทศ เทียบกับประเทศไทย ประเทศไทยมีคติว่าอย่างไร อเมริกามีคติว่าอย่างไร
???
เนี่ย เรียนไว้ ให้รู้แต่ต้นนี่ดี คนไทยนี่เราพูดกันมา สังคมของเรานี่ดีนะ เป็นยังไง ดียังไง ดีก็คืออุดมสมบูรณ์ คำว่าอุดมสมบูรณ์นี่เขาพูดใช้สำนวนว่ายังไง แสดงว่าอุดมสมบูรณ์ เคยได้ยินมั้ย
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว
ถูกมั้ย เคยได้ยินทุกคนใช่มั้ย นี่แหละคติไทย พูดกันมาด้วยความภาคภูมิใจว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แต่เดี๋ยวนี้มีมั้ย
มี
มี แต่ว่าน้อยลงแล้ว เนี่ยเราจะต้องคิดแล้ว เอ แสดงว่าเสื่อมหรือเจริญ
เสื่อม
เสื่อมก็ไม่ดีสิ จะต้องแก้ เอาละคติไทยว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว คติอเมริกาว่าอย่างไร
???
คติอเมริกาตรงข้ามกับไทย เอ้า ใบ้หน่อย ไทยว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว โอ ชั้นอยู่สบายแล้ว ที่นี่สบาย อเมริกานี่
???
คนไทยที่อยู่นี่ ดีแล้ว ก็ไม่อยากจะไปไหน แต่ฝรั่งอเมริกันนี่ ไม่ อยู่ไม่ได้ ต้องไป อยู่ไม่ได้ต้องไป คติอเมริกาเขา จำไว้นะ ให้เฉลยรึยัง
เฉลยครับ
เฉลย คติอเมริกาเขาเรียกว่าคติบุกฝ่าขยายพรมแดน บุกฝ่า ฝ่าหมายความว่าไง
ลุยฝ่าฟัน นี่นะจำไว้เลย คติอเมริกันเขาเรียกว่าบุกฝ่าขยายพรมแดน เมื่อเรียน ฝรั่งก็ต้องจำภาษาอังกฤษไว้ด้วย รู้จักมั้ย พรมแดน ภาษาอังกฤษว่าไง
???
จำไว้เลย ตั้งแต่วันนี้ จะได้รู้จักอเมริกัน เขาเรียกว่า frontier เคยได้ยินมั้ยฮะ ได้ยินแล้ว f r o n t i e r ถูกแล้ว สามเณรก็รู้จักนี่ แปลว่าพรมแดนนะ แล้วก็ขยายแปลว่ายังไงภาษาอังกฤษ expansion เพราะฉะนั้นคำเต็มว่า frontier expansion การขยายพรมแดน แต่ว่าฝรั่งเขาต้องการพูดให้สั้นเพราะฉะนั้นเขาก็พูดแค่ frontier พอ คติอเมริกันเขาเรียกคติ frontier จำไว้เลย เพราะฉะนั้นอเมริกันเขาจะพูดเรื่อย บุกฝ่าพรมแดนอวกาศ space frontier พรมแดนวิชาการ frontier of science แล้วก็ electronic frontier แล้วก็ land frontier sea frontier แต่เดี๋ยวนี้ land frontier เขาถือว่าจบไปแล้ว รบชนะอินเดียนแดงได้ดินแดนหมด แล้วก็ sea frontier เขาก็ขยายไป space frontier นี่เขายังบุกอยู่ electronic frontier cyberspace frontier นี่ก็คือพวกคอมพิวเตอร์ ใช่มั้ย เนี่ยตอนเนี้ยเขากำลังออกบุกอยู่ ฉะนั้นเราต้องรู้ทัน คนไทยเนี่ยอยู่สบายอุดมสมบูรณ์ มันก็ชวนให้เพลินเพลิน มันก็ประมาท เข้าใจมั้ย ประมาท คือไม่กระตือรือร้น เรื่อยเฉื่อย ใช่มั้ย อย่างนี้ดีไม่ดี
ไม่ดี
ไม่ดี เพราะฉะนั้นเราต้องระวังตัว คนที่อยู่สบายนี่มักจะขี้เกียจ เพราะฉะนั้นจะต้องตื่นตัว ให้ขยันอยู่เสมอ ประมาทไม่ได้ ส่วนฝรั่งเขาขยาย frontier เพราะอะไร เพราะเขามาจากยุโรป แล้วเขาไม่มีแผ่นดินของเขาเอง มาขึ้นอเมริกา ใช่มั้ย เขาก็ต้องบุกฝ่า frontier ไปข้างหน้า เขาก็ต้องสู้ต้องรบตลอด ๓๐๐ ปีจึงจบ frontier เพราะฉะนั้นเขาก็มีคตินี้ ก็คือต้องบุกไปข้างหน้า เขาอยู่กับที่ไม่ได้ มันไม่พอ ของเรามันอยู่ที่สบาย มันไม่ต้องไปไหน ของเขามันอยู่ที่นี่ไม่ได้ต้องไปหาข้างหน้า เพราะฉะนั้นอเมริกันมันก็เลยมีนิสัยที่เขาเรียกว่า adventure ใช่มั้ย เป็นนักผจญภัย เข้าใจมั้ย adventure ชอบผจญภัย เป็นนักบุกฝ่า นี่ก็ไอ้การที่เขาบุกฝ่ามันทำให้เขากระตือรือร้นขวนขวายเข้มแข็ง ก้าวหน้าได้ ใช่มั้ย แล้วเขาก็แข่งขันกันใหญ่เลย นี่ของเราก็ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว พอแล้ว เหลือเฟือ ก็เผื่อแผ่กัน ช่วยเหลือกัน เพราะฉะนั้นคนไทยก็ เป็นไง มีน้ำใจ ใช่มั้ย แล้วพระพุทธเจ้าก็สอนให้มีเมตตากรุณาใช่มั้ยครับ แล้วเราก็มีกินมีใช้มาก เราก็เผื่อแผ่โอบอ้อมอารีกัน เพราะฉะนั้นคติไทยเราก็โอบอ้อมอารี เพราะในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ส่วนฝรั่งก็ต้องแข่งขันกัน เอาชนะกัน เพราะว่าบุกฝ่าขยายพรมแดน ถูกมั้ย
ทีนี้เราต้องรู้ทัน เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องไม่ประมาท การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เรียกว่ามีน้ำใจ ถูกมั้ย คนไทยได้ชื่อว่ามีน้ำใจ ยิ้มเก่ง แล้วดีมั้ย มีน้ำใจ ดี แต่ว่าขี้เกียจดีมั้ย เพราะฉะนั้นอันหนึ่งก็ไทยได้ อันหนึ่งไทยเสีย ถูกมั้ย ไอ้ที่ไทยได้ก็คือว่ามีน้ำใจ มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี แต่ไอ้ที่เสียคือชักจะขี้เกียจ ประมาท เพราะฉะนั้นไอ้ที่ดีเราก็รักษาไว้ ไอ้ที่เสียต้องทำไง ต้องแก้ไข แล้วก็เอาส่วนดีของฝรั่งมา ส่วนดีของฝรั่งคือขยัน บุกฝ่าไปข้างหน้า ก็เอาไป ใช่มั้ย อันนี้เอา ใช่มั้ย ไม่ประมาท แต่ไอ้ส่วนที่ฝรั่งไม่ดีคือแย่งกัน เบียดเบียนกัน ไม่มีน้ำใจ ใช่มั้ย ตัวใครตัวมัน ถูกมั้ย ฝรั่งตัวใครตัวมัน คอยเอาเปรียบกัน คอยเพ่งคอยดู ไอ้นี่ไม่ดี เราไม่เอา ใช่มั้ย แต่ว่าเราทำไงจะได้ทั้ง ๒ เนี่ย ก็คือเราเนี่ย เขาเรียกว่ามีวัฒนธรรมน้ำใจ วัฒนธรรมน้ำใจก็คือมีเมตตากรุณา อันนี้เราต้องรักษาไว้ แต่คนไทยปัจจุบันนี้ชักจะไม่ค่อยเมตตาแล้วนะ จริงมั้ยครับ เพราะอะไรลองดู ไหน มีตัวอย่างมั้ยที่แสดงว่าคนไทยชักจะไม่เมตตาแล้ว
???
คอรัปชั่น อะไรอีกครับ สามเณรหมิง ยกตัวอย่างซิ คนไทยเดี๋ยวนี้ชักไม่เมตตา
???
ทำร้ายสัตว์ก็ยัง ไม่ใช่แค่สัตวน์นะ คนด้วยกันก็ฆ่ากันเก่งมั้ย เดี๋ยวนี้ฆ่ากัน โลภมากแล้วก็ฆ่ากัน เบียดเบียนกัน แล้วก็ไม่มีใจ น้ำใจก็ชักน้อยลง ขนาดเดี๋ยวนี้นะลูกฆ่าพ่อแม่มีเยอะขึ้น ใช่มั้ย พ่อแม่ฆ่าลูกก็มี ใช่มั้ย คลอดออกมาแล้วเอาไปทิ้งเลย ถูกมั้ย อย่างนี้เรียกว่ามีเมตตามั้ย
ไม่มี
ไม่มี นี่แหละคนไทยชักจะเสียแล้ว เมตตาชักเสื่อม แสดงว่าคนไทยนี่กำลังจะแย่
๑. เมตตา น้ำใจ ที่เคยมีก็เสื่อมลง ไอ้ความกระตือรือร้นขวนขวายขยันหมั่นเพียรก็ไม่ค่อยเอา ก็เสียทั้ง ๒ สิ แทนที่จะดีขึ้นทั้ง ๒ ใช่มั้ย ดีที่มีน้ำใจเมตตาต้องรักษาไว้ ไอ้ที่ไม่กระตือรือร้นขวนขวายขี้เกียจ ไม่เอา ต้องแก้ ต้องมีความขยันหมั่นเพียร ใช่มั้ย ต้องให้ได้ทั้ง ๒ อย่าง ทั้ง ๒ อย่างก็เดินหน้า แล้วคนไทยนี่ ไอ้ขยันหมั่นเพียร ขยันหมั่นเพียรสำคัญอันนึงก็คือขยันหาความรู้ คนไทยไม่ค่อยขยันหาความรู้ ขยันไปเล่น ขยันเล่น ถูกไม่ถูก ไปหากินหาเสพย์ มีเงินก็ไปซื้ออย่างเดียว ไม่ไปหาความรู้ อันนี้คนไทยก็เสียตรงนี้ เพราะฉะนั้นต้องขยัน หมายถึงอย่างสำคัญคือขยันหาความรู้ แล้วก็ขยันสร้าง ขยันผลิต ไม่ใช่ขยันแค่บริโภค คนไทยนี่ขยันบริโภค ถูกไม่ถูก จริงเลยนะ เรียกว่าจี้จุดใจดำเลย คนไทยเนี่ย ขยันบริโภค ขยันเสพย์ ไม่ขยันผลิต ไม่ขยันหาความรู้ ต้องแก้ ฝรั่งที่เขาเจริญได้
๑. เป็นนักผลิต
๒. หาความรู้ หาความรู้ถูกมั้ย เป็นนักสืบหาความรู้ ใฝ่รู้ อยากรู้ หนังสือหนังหาตำราค้นกันจัง ของเรานี่ไม่ค่อยเอา หนังสือในห้องสมุดยังไม่อ่านเลย เพราะฉะนั้นก็ต้องแก้ให้ได้ เอาล่ะนะ คนไทยนี่มีเมตตา กรุณา มีน้ำใจดี ต้องรักษาไว้ ๒ ไอ้ที่ขาดไปก็คือว่าขยันหมั่นเพียรในการหาความรู้ และขยันสร้าง ขยันผลิต
คนไทยอยากเจริญมั้ย อยากเจริญ แล้วทำตัวให้เจริญรึเปล่า
ไม่
เอ้า ถ้างี้ก็ไม่ดีสิ ต้องแก้ใช่มั้ย ทีนี้คนไทยอยากเจริญเนี่ย เขาก็จะมองตัวอย่าง ว่าอยากเจริญอย่างใคร อยากเจริญอย่างใคร
อย่างอเมริกา
แล้วเติ้งว่าไง คนไทยอยากเจริญอย่างใคร
จีน ญี่ปุ่น
อื้ม อยากเจริญอย่างจีนหรือ คนไทยน่ะ
เณรหมิงว่าไง
???
นั่นสิแล้วเวลามองว่าคนเจริญที่ดีนี่ คือมองไปที่ไหน เวลานี้ เอาคนไทยส่วนมาก
???
มองไปที่อเมริกา มองอเมริกามากกว่าอื่น มองญี่ปุ่นก็มองบ้าง ใช่มั้ย เพราะว่าญี่ปุ่นเขาก็เก่งทางเทคโนโลยี ทีนี้คนไทยที่อยากเจริญอย่างอเมริกา อยากเจริญอย่างฝรั่ง อยากเจริญอย่างญี่ปุ่นเนี่ย ที่ว่าอยากเจริญอย่างฝรั่ง เจริญหมายความว่าไงเอ่ย ตอบได้มั้ย
พัฒนาขึ้น
เออ ก็รู้แล้ว พัฒนาขึ้นจึงเรียกว่าเจริญ เนี่ยไม่ชัดแล้ว ต้องตอบให้ได้ คนที่บอกว่าเจริญอย่างฝรั่งน่ะ ในใจเขาเนี่ยมี ๒ พวก เจริญอย่างฝรั่งคืออะไร ต้องตอบให้ได้นะ เนี่ย ไม่เคยคิดใช่มั้ย พวกหนึ่งเขาจะคิดอย่างนี้ ฝรั่งมีมือถือ เราก็จะมี เรามีมือถืออย่างฝรั่งเราก็เจริญอย่างฝรั่ง ฝรั่งมีรถอะไรอย่างดีใช้ เรามีรถอย่างนั้น เราก็เจริญอย่างฝรั่ง ฝรั่งมีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่มา เรามีอย่างฝรั่ง เราก็เจริญอย่างฝรั่ง อย่างนี้ใช่รึเปล่า
ไม่ใช่
คน ไม่ใช่อย่างที่เข้าใจกันเนี่ย ส่วนมากเข้าใจอย่างนี้รึเปล่า เออ ฝรั่งมีกินอะไรเราก็มีกินอย่างนั้น ฝรั่งมีใช้อะไร เราก็มีใช้อย่างนั้น ใช่มั้ย คนส่วนมากคิดอย่างนี้ นี่พวกที่หนึ่ง
อีกพวกหนี่งคิดยังไง เออ ลองซิ
???
นี่ใกล้เข้าไปแล้ว แต่ว่ามันต้องไปตีจุดที่ว่าเจริญอย่างฝรั่งคือยังไง เออ อันนั้นก็เป็นเหตุให้เจริญนี่ ขยันเป็นเหตุให้เจริญ ใช่มั้ย ตอนนี้เราจะหมายถึงความเจริญที่เป็นผลน่ะ ก็เราวัดที่ว่ามีผลิตผล มีของกินของใช้อย่างฝรั่งก็เลยบอกเจริญอย่างฝรั่ง อันนี้เราเอาที่ผล จะบอกให้ เฉลยมั้ย
เฉลย
เจริญอย่างฝรั่งอีกแบบหนึ่งก็คือฝรั่งทำอะไรได้ ฉันต้องทำได้อย่างนั้น เออ นี่ จริงไม่จริง ฝรั่งทำอะไรได้ ฉันต้องทำได้อย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่าเจริญอย่างฝรั่ง ญี่ปุ่นทำอะไรได้ ฉันทำได้อย่างญี่ปุ่น อย่างนี้เรียกว่าเจริญอย่างญี่ปุ่น แล้วคนไทยคิดงี้รึเปล่า คิดแบบไหน คิดแบบที่ ๑ คิดแบบที่ ๑ ก็คือมีกินมีใช้อย่างฝรั่ง พอเห็นฝรั่งมีอะไรเรามีบ้าง บอกว่าฉันเจริญอย่างฝรั่งแล้ว ใช่มั้ย แต่ที่จริงไม่ใช่ เจริญอย่างฝรั่งต้องทำได้อย่างฝรั่ง พอทำได้อย่างฝรั่ง ต่อไปจะคิดว่าต้องทำให้ดีกว่าฝรั่ง ญี่ปุ่นเขาคิดอย่างนี้ ใช่มั้ย ที่ญี่ปุ่นสร้างประเทศมาได้ เพราะญี่ปุ่นคิดอย่างนี้ คิดว่าเจริญอย่างฝรั่งคือทำได้อย่างฝรั่ง ฝรั่งทำอะไรได้ ฉันต้องทำได้อย่างนั้น เพราะฉะนั้นฝรั่งทำอะไรปั๊บ ญี่ปุ่นรีบไปซื้อมาดู แยกๆๆๆ รื้อหมดเลย แล้วทำให้ได้อย่างนั้น ตอนแรกญี่ปุ่นก็ทำได้แค่เลียนแบบ ใช่มั้ย ก็คุณภาพไม่ดี คนก็ด่าญี่ปุ่น บอกว่าของญี่ปุ่นนี่ไม่ได้เรื่อง แล้วเดี๋ยวนี้เป็นไง ญี่ปุ่นก็พัฒนาขึ้นๆ พยายามคิด???ฝรั่ง เดี๋ยวนี้นำเลย
นี้คนไทยคิดอย่างเดียวคือเจริญอย่างฝรั่ง มีกินมีใช้อย่างฝรั่ง ไม่เคยคิดว่าเจริญอย่างฝรั่งคือทำได้อย่างฝรั่ง เพราะฉะนั้นเราก็เลยไปไม่ไหว เพราะฉะนั้นต้องคิดใหม่ ถูกมั้ย เออ นายกบอกคิดใหม่ทำใหม่ นายกคิดอย่างนี้รึเปล่าไม่รู้ คิดใหม่ทำใหม่ต้องคิดอย่างนี้ ต้องคิดว่าเจริญอย่างฝรั่งคือทำได้อย่างฝรั่ง เพราะฉะนั้นแบบที่ ๑ เจริญแบบฝรั่งคือมีกินมีใช้อย่างฝรั่ง เขาเรียกว่ามองความเจริญอย่างฝรั่งแบบนักบริโภค ทีนี้อย่างที่ ๒ ว่าเจริญอย่างฝรั่งคือทำได้อย่างฝรั่ง เขาเรียกว่ามองความเจริญอย่างฝรั่งแบบนักผลิต แยกได้แล้วนะ ฉะนั้นก็เนี่ย ที่ว่าเจริญอย่างฝรั่งก็ต้องแยกเป็น บอกเจริญอย่างฝรั่งแบบนักบริโภค กับเจริญอย่างฝรั่งแบบนักผลิต แล้วเราจะเอาไหน
เจริญอย่างฝรั่งแบบนักผลิต
ตกลงนะ ต้องไปชวนพวกด้วยนะ เห็นด้วยใช่มั้ยที่ว่าเนี่ย ต้องไปชวนพวก บอกว่าพวกเรา อย่าเลย เจริญอย่างฝรั่งแบบนักเสพนักบริโภค เลิกซักที ประเทศไทยเราจะล้าหลังตลอดไป ประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนาอยู่ ไม่พัฒนาซักที ถ้าเราอยากจะพัฒนาต้องเป็นเจริญอย่างฝรั่งแบบนักผลิต ฝรั่งทำอะไรได้ต้องทำให้ได้ นะ จำไว้เลยนะ เอาล่ะ
ทีนี้ธรรมะก็เรียนกันมาเยอะแล้วนี่ อิทธิบาทนี่แหละ เอามาใช้ได้เลย เจริญแบบนักผลิต ใช่มั้ย อะไรอีกบ้าง เรียนอิทธิบาท แล้วก็เรียนอะไรอีก
???
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ เข้าใจหมดรึเปล่า
???
ได้นะฮะ แต่ว่าอินทรีย์ ๕ พละ ๕ เนี่ย อาจจะยากกว่าอิทธิบาท ถูกมั้ย สามเณรอิทธิบาท ๔ จำได้มั้ยครับ
??? ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
๔ ข้อ แล้วเข้าใจความหมายดีมั้ยฮะ สามเณรฟังด้วยนะ จะได้จำไว้
๑. ฉันทะ พอใจ เรียกว่าใจรัก เช่นทำงานอะไรก็ใจรักงานนั้น คือพึงพอใจ ก็พูดสำนวนภาษาชาวบ้าน ใจรักนั่นเอง ใช่มั้ย รักงาน เช่นเรียนหนังสือเนี่ย ก็รัก อยากเรียน อยากรู้
๒. วิริยะ เพียรพยายาม ก็คือใจสู้ คือพยายามนี่ถ้าพูดแบบชาวบ้านนะ ใจสู้ หมายความว่าเจอแล้วไม่ถอย เจอยากไม่ถอยนี่เขาเรียกว่ามีความเพียรนะ พิสูจน์ง่ายๆ ถ้าใครเจอยาก ถอยละ เสร็จละ แสดงว่าไม่มีวิริยะนะ
อันที่ ๑ ใจรัก อันที่ ๒ ใจสู้ อันที่ ๓ อะไร
๓. จิตตะ หมายความว่าไง ใจจ่อเหรอทีนี้ ใจรัก ใจสู้ ใจจ่อ ใจจ่ออยู่กับมันเลย ทีนี้ใจจ่อก็หมายความว่า ภาษาสมัยใหม่เขาเรียกว่าอุทิศตัวอุทิศใจให้กับสิ่งนั้น เข้าใจมั้ยฮะ commitment dedicate เลย commitment เข้าใจมั้ยฮะ ทำอะไรก็ commit เลย เอาใจ??? อุทิศตัวอุทิศใจให้ เรียกว่าใจจ่อ ต่อไป
๔. อะไรครับ วิมังสา หมายความว่าไงครับ ๓ ตัวแรกนี่เป็นเรื่องใจ ตัวที่ ๔ นี่เป็นเรื่องปัญญา นี่ต้องใช้??? ต้องคิดว่าใจอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีปัญญาด้วย ฉะนั้นข้อที่ ๔ นี่คือตัวปิดท้ายรายการ สำคัญมาก คือตัวปัญญา ปัญญาต้องมา ถ้าปัญญาไม่มานะ ใจเก่งเท่าไหร่ไปไม่รอด เชื่อมั้ย ใครจะมีกำลังใจ เข้มแข็งยังไง ถ้าไม่มีปัญญา แพ้แน่ ใช่มั้ย ข้อ ๔ ปัญญา
วิมังสาคืออะไร ก็คือถ้าแปลตามตัวก็แปลว่าคิดค้นคว้าทดลอง วิมังสานี่เป็นการทดลอง ก็คือคิดค้นคว้าทดลองหาเหตุหาผล หาทางทำให้ดีขึ้น หาทางแก้ไขปรับปรุง ยังงี้เขาเรียกวิมังสา คนที่อยากจะทำให้มันดีขึ้น เขาก็จะต้องทดลอง ทำงี้ดีมั้ย ทำอย่างนั้นจะสำเร็จมั้ย ใช่มั้ย อันนี้บกพร่องไปจะแก้ยังไง ให้ดีขึ้นอย่างนี้จะทำยังไง อย่างนี้เรียกว่าคิดแบบวิมังสา คิดแบบหาทางแก้ไขปรับปรุงด้วยการทดลอง เพราะฉะนั้นพวกวิมังสานี่ต้องค้นคว้าทดลอง ก็แปลได้หลายอย่าง แต่ก่อนโบราณเขาแปลกันว่าไตร่ตรอง ไตร่ตรองพิจารณา ก็ถ้าแปลแบบเราก็ค้นคว้าทดลอง ใช่มั้ย
ก็ตกลงว่า ๓ อันต้นนี่ ใจ ใจรัก เดี๋ยวสิ เอาตอนนี้แปลสำนวนใหม่ ใจรัก อันที่ ๑ ฉันทะนี่ พึงพอใจคือใจรัก ๒ เพียรพยายามคือใจเป็นไง ใจสู้ อันที่ ๓ ก็คือใจเป็นไง ใจจ่อ เอา ๒ ตัวพอ ใจรัก ใจสู้ ใจจ่อ หรือใจจ้องก็ได้ ใจจ้องมันก็อยู่ตรงนั้นเลย ใช่มั้ย
ทีนี้อันที่ ๔ นี่ เป็นเรื่องปัญญาก็ค้นคว้าทดลอง คิดค้นได้ ง่ายๆ สั้นๆ ก็คิดค้น ใจจ่อแล้วคิดค้น หรือบางทีก็ใช้คำว่า ต้องใช้ปัญญาด้วย เอาละคิดค้นก็ใช้ได้แล้ว ต้องหาตัว จ มา ได้มั้ยฮะ มันจะได้เป็นชุด จ ไง ใจรัก ใจสู้ ใจจ่อ แล้วอะไรดี แต่มันไม่ใช่ใจแล้วนะตอนนี้ มันเรื่องปัญญาแล้ว อันที่ ๔ ไม่ต้องจิตแล้วมันเรื่องปัญญาแล้ว ไม่ใช่เรื่องใจแล้ว เรื่องปัญญา ฝากให้ไปคิดเอา ถ้าคิดได้ก็ดี ได้ตัว จ มาเข้าชุดเลย ๔ ตัว ช่วยกันนะครับ สามเณรด้วยแล้วก็ทั้งเติ้ง และก็ทั้งแทม
เป็นไงเมื่อยยัง ได้เวลานอนกี่ทุ่ม
???
ระยะนี้ที่มาอยู่วัด นอนกันกี่ทุ่ม
???
อ๋อนี่เพิ่งสามทุ่มครึ่ง เอาทีนี้พูดให้ฟังเยอะแล้ว ที่จริงก็คือคุยกันนั่นแหละนะ ทีนี้ทางฝ่ายสามเณรกะเติ้งกะแทม มีอะไรถามมั้ยครับ
ไม่มีครับ
ทำไมไม่มีล่ะ ต้องเป็นนักถามสิ ใช่มั้ย
การเรียนโบราณเขาบอกว่าต้องมี ๔ อย่าง อันนี้นอกเรื่องนิดหน่อย นั่นแหละเขาเรียกเป็นภาษาคำเก่าเขาเรียกว่าอะไร สุ จิ ปุ ลิ ได้แล้ว วันนี้มาทวนอันนี้กัน แสดงว่ารู้แล้ว
อันที่ ๑ สุ คืออะไร ย่อมาจากอะไรเอ่ย สุตะ แปลว่าฟัง
๒ จิ จินตนา เคยได้ยินมั้ย จินตนา แปลว่าอะไรจินตนา คิด
๓ ลิ ลิขิตแปลว่าอะไรครับ เขียนสิ ลิขิต บอกว่า ท่านผู้นั้นมีลิขิตไปยังท่านผู้นี้ เขาเรียกว่ามีจดหมายไป ใช่มั้ย คือสิ่งที่เขียน ลิขิต
สุ จิ ปุ อ้าว ตก ปุ ไป ปุอะไรครับ
ปุจฉา ถาม แล้วก็ลิ ลิขิต เขียน นี่แหละ สุ จิ ปุ ลิ
สุ คือสุตะ ฟัง
จิ คือจินตนา คิด
ปุ คือปุจฉา ถาม
ลิ คือลิขิต เขียน
สุ จิ ปุ ลิ แปลว่าฟัง คิด ถาม เขียน ฟังนี่เขารวมอ่านด้วยครับ เพราะสมัยก่อนมันไม่มีตัวหนังสือ ก็ใช้ฟัง พอมีตัวหนังสือแล้วไปอ่านหนังสือก็คือเหมือนกับไปฟังนั่นแหละ คนนั้นเขาพูดให้เราฟัง แต่เขาพูดออกมาโดยทำเป็นตัวหนังสือ ใช่มั้ย ฉะนั้นฟังกับอ่านนี่ถือว่าเท่ากัน
เอ้า ทีนี้จะให้ภาษิตไว้ ถ้าใครจำได้ก็เก่ง อันนี้แหละ ท่านว่าเป็นภาษาบาลีว่า สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กะถังโส ปัณฑิโต ภะเว เป็นคาถาเลย เนี่ย คาถานี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ เอาไปปฏิบัติ บางคนท่องคาถาไปแล้วไม่รู้เรื่อง คาถานี้รู้เรื่องนะ แล้วขลังด้วย ปฏิบัติได้ เอ้า ว่าตาม สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กะถังโส ปัณฑิโต ภะเว ว่าได้ยัง เอ้า ว่าตาม ๓ เที่ยว
สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กะถังโส ปัณฑิโต ภะเว
สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กะถังโส ปัณฑิโต ภะเว
สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กะถังโส ปัณฑิโต ภะเว
เอาล่ะ ทีนี้แปลให้นะ สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต วินิมุตโต แปลว่าปราศจาก ปราศจากสุ จิ ปุ ลิ เสียแล้ว
กะถังโส ปัณฑิโต ภะเว ปัณฑิโตแปลว่าอะไร ทายสิ บัณฑิต มาจากบาลีนี่แหละ
กะถังโส ปัณฑิโต ภะเว แปลว่าจะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
แปลเต็มอีกทีหนึ่งว่า ปราศจากสุ จิ ปุ ลิ เสียแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร นี่ ดูถูกไว้เลย ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมีสุ จิ ปุ ลิ
เอ้าแปล คราวนี้ว่าตาม ว่าทั้งตัวบาลีทั้งตัวไทย
สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กะถังโส ปัณฑิโต ภะเว แปลว่า พูดตาม แปลว่าปราศจากสุ จิ ปุ ลิ เสียแล้ว กะถังโส ปัณฑิโต ภะเว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร เอ้า แปลอย่างเดียวครับ ลองดู
เมื่อปราศจากสุ จิ ปุ ลิ เสียแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
เอ้า ลองว่าซ้ำสิครับ
เมื่อปราศจากสุ จิ ปุ ลิ เสียแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
สามเณรหมิง
เมื่อปราศจากสุ จิ ปุ ลิ เสียแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
คำว่าปราศจากนี่แปลว่าขาดก็ได้นะ ขาดสุ จิ ปุ ลิ เสียแล้ว อันนี้จะง่ายขึ้น ใช่ไหม จำง่ายขึ้น ก็เอาง่ายๆ ว่า ขาดสุ จิ ปุ ลิ เสียแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร จำไว้เลย เอาไปปฏิบัติได้ไหมครับ เพราะฉะนั้นต้องให้ครบ
ฟัง ฟังไม่ฟังเปล่าๆ ไม่ใช่ผ่านหูซ้ายทะลุหูขวา เข้าใจมั้ย เค้าเรียกว่าอย่างนั้น โบราณน่ะ ต้องคิดด้วย คิดพิจารณาแล้วเราจะได้ปัญญา คนที่ไม่คิดเนี่ยปัญญามันเกิดยาก มันไม่เกิด มันก็ผ่านไปเฉยๆ ได้แต่ อย่างดีก็ได้แค่จำตัวหนังสือ
ทีนี้คิดแล้วเขียนไว้ บันทึกไว้ เขียนมี ๒ อย่าง
๑. บันทึกสิ่งที่ได้ฟัง จับสาระไว้ว่าเขาพูดอะไร หรืออ่านไปแล้วนี่ได้ความว่าไง จดไว้ บันทึกไว้
๒. หัดเรียบเรียงขึ้นใหม่ ใช่มั้ย แต่งความใหม่เลยว่า เออ จากที่เราฟังมาเนี่ย เราได้ความคิดของเรา แล้วเราจะไปทำอะไรอย่างไร คิด ๒ เขียน ๒ ขั้น เขียนให้คบ ๒ ขั้นเนี่ย เก่งแน่ เป็นปราชญ์เลย
ทีนี้ เพื่อจะได้ให้ครบ พอเราฟัง บางทีได้ไม่ครบ พอคิด เออ มันขาดตรงนั้นไป ทำให้คิดไม่ออก ตรงนั้นมันอะไรกันน้อ เขียนก็ได้ไม่ครบแล้ว เราก็เติมซะให้เต็มโดยถาม ใช่มั้ย ไปเติมซะ อันไหนยังขาด อันนี้ยังสงสัย ยังไม่ชัดเจน ถาม นักถามเนี่ยเก่ง คนไม่ถามจะต้องเดาเอา เข้าใจมั้ย ก็มันไม่รู้ ไม่ชัด เสร็จแล้วก็ไม่ถาม ก็ได้แต่เดา เลยกลายเป็นนักเดา ถ้าไม่เป็นนักถามเลยกลายเป็นนักเดา ดีมั้ยนักเดา ไม่ดี เพราะฉะนั้นนักถามดีกว่า ถ้าเราไม่ต้องการเป็นนักเดาก็ต้องเป็นนักถาม ถามก็ถามให้เป็น ถามสุภาพ เรารู้จักถาม รู้จักใช้ถ้อยคำให้ชัดเจน ถามให้ตรงจุด ถามให้เขาเข้าใจคำถามของเรา บางคนถามอยู่นานเขาก็ไม่รู้ว่าไอ้นี่ถามอะไร ใช่มั้ย บางคนถามไม่เป็น ถามแล้วเขาไม่อยากพูดด้วยเลย ใช่มั้ย เพราะถามไม่สุภาพ ถามก็ต้องทั้งทำให้เขาอยากตอบเราด้วย แล้วก็ถามให้ชัดเจน ว่า ให้เขารู้ว่าเราสงสัยอะไร จะได้ตอบให้ตรง เนี่ย ๔ อันนี้ ใช้ได้ครบแล้วก็สบายเลย
เพราะฉะนั้นสามเณรแล้วก็เติ้งแทมเนี่ยกำลังเรียนหนังสือตอนนี้ เอาหลักพวกนี้ไปใช้ให้เต็มที่เลย จะพัฒนา โดยเฉพาะพัฒนาปัญญา เมืองไทยเราต้องพัฒนาปัญญาให้มาก เมืองไทยเราดีทางจิตใจไง น้ำใจดี แต่ขาด อ่อนทางปัญญา นั้นเราจะต้องเร่งเรื่องปัญญาให้ดี
เอาละ จวนจบละ แถมให้อีกเรื่องหนึ่ง รับไหวมั้ย วันนี้พูดกันไปเยอะแล้ว ไหวนะ แต่ถ้าเข้าใจแล้วไม่ต้องห่วง เพราะว่าเราไม่ได้เอาให้จำ ใช่มั้ย จำมันก็หนัก จำได้รึปล่าไม่รู้ พูดอะไรไปก็ต้องไปนั่งจำ มันไม่ได้ติดอยู่ในความเข้าใจ ถ้าเข้าใจเสียแล้ว มัน เขาเรียกว่าเข้าใจ มันเข้าไปอยู่ในใจ คราวนี้ไม่ต้องจำก็ได้ มันจำไปในตัวเพราะมันเข้าใจแล้ว ก็เลยรู้ พูดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้เลย
นี้อีกอย่างก็คือว่าเวลาเล่าเรียนศึกษาอะไรนี่นะ ทางพระท่านเรียกว่าต้องให้แตกฉาน เข้าใจมั้ยครับคำว่าแตกฉาน ต้องแตกฉาน ทำไงจะแตกฉาน แตกฉานนี่มี ๔ ข้อเหมือนกัน สุ จุ ปุ ลิ ก็มี ๔ ข้อ แตกฉานนี่ก็ยิ่งหนักเข้าไปอีก ให้ตัวปัญญาแท้ๆ เลย แตกฉาน ๔ ข้อ ๔ ข้อนี่ก็จัดเป็น ๒ กรุ๊ป เป็นภาครับ ๒ เป็นภาคใช้งาน ๒ ใช้งานแล้วแสดงออก รับเข้ามา ๒ ใช้แสดงออก ๒ ยังงี้ก็ง่ายแล้วเพราะแบ่ง บอกว่า ๔ เออ เยอะ บอก ไม่เป็นไร ๒ กรุ๊ป กรุ๊ปละ ๒ ง่ายแล้วทีนี้ ใช่มั้ย
กรุ๊ปที่ ๑ เป็นฝ่ายรับ ฝ่ายรับก็เอามาใช้เลย คือจะฟังจะอ่านอะไรต่ออะไรเนี่ย ต้องเข้าใจความหมาย ถ้าพูดสั้นๆ เขาเรียกว่าเข้าใจเนื้อหา แต่ที่จริงคือเข้าใจความหมายของเนื้อหา คือเข้าใจความหมายของสิ่งที่เขาพูดหรือเขาเขียนนั่นเอง เวลาพูดสั้นๆ ก็เข้าใจเนื้อหา แต่ว่าที่จริงความหมายเต็มคือเข้าใจความหมายของสิ่งที่เขาได้พูดได้เขียน บางคนนี่ฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ เขาพูดว่ายังไง เขาเขียนว่ายังไง เพราะฉะนั้นเริ่มต้นต้องได้อันนี้ก่อน อ่านหนังสือนะ พออ่านไปเนี่ยต้องถามตัวเองตลอด เช่นว่าอ่านไปหน้านึงเนี่ย ถามตัวเอง หรือตรวจสอบตัวเองก็ได้ว่าเราเข้าใจความหมายทั้งหมดมั้ย เข้าใจความหมายในที่นี้ก็พูดง่ายๆ เข้าใจเนื้อหา เข้าใจเนื้อความทั้งหมดมั้ย หรือแม้แต่บท ๑ แม้จะตลอดทั้งหมด เข้าใจหมดมั้ย คนที่เก่ง เขาจะเรียนเก่ง เขาต้องเข้าใจไปตลอดทุกระยะทุกลำดับเลย ไม่ใช่ปล่อยทิ้ง ไม่ใช่อ่านไปไม่เข้าใจก็ปล่อยไป ต่อไปจะเคยเป็นนิสัย แล้วก็อ่านทิ้งๆ ขว้างๆ ไม่เข้าใจก็ปล่อย ทีนี้อ่านหนังสือทั้งเล่มก็ไม่ค่อยได้อะไร แต่ถ้าคนที่ฝึกไว้นะ มันเอาตลอดเลยตั้งแต่ อ่านไปตลอดต้องเข้าใจตลอดไป ถ้าไม่เข้าใจตรงไหน ไม่ยอมทิ้ง บางคนเขาใช้วิธี คือ ๑ อ่านลวกๆ ก่อน ตลอด แล้ว ๒ คราวนี้มาอ่านชนิดที่ว่าให้ละเอียดเลย แต่ว่าหลักการมีอยู่ว่าเรา รวมแล้วก็คือก่อนจะผ่านเรื่องนั้นไปเนี่ย ยิ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นวิชาของเราโดยตรงที่เราต้องเรียน ต้องใช้หลักการนี้เลย อ่านแล้วต้องเข้าใจตลอดหมด ตรงไหนไม่เข้าใจอย่าทิ้ง นี่แหละถาม เอาอะไรมาใช้เลย เช่นอ่านภาษาอังกฤษไป เข้าใจหมดมั้ย ตลอดทุกตัวทุกประโยค เข้าใจหมด ถ้าไม่เข้าใจตรงไหน ถาม ไปซักไปถามไปค้น ถาม ไปถามคนเขาเรียกว่า ก็ไปถามปุจฉา ถ้าไปค้นคว้าเขาเรียกว่าปริปุจฉา หนักเข้าไปอีกปริปุจฉาเลย ค้นให้มันทั่วเลย กว่าจะได้คำตอบมา ใช่มั้ย อย่างนี้เราจะเรียนอะไรผ่านไปนะ ได้เรียบหมดเลย ร้อยเปอร์เซนต์ต้องเป็นของเราหมด นี่ ๑ นอกจากว่าไม่ได้จริงๆ เราบอก ฝากไว้ก่อน ฝากไว้ก่อน เข้าใจมั้ย ฝากไว้ก่อน ต่อไปฉันไม่ทิ้ง เอาคืน ต้องมาเข้าใจให้ได้ นี่นะ อันที่ ๑ เนี่ยคือเรียนอ่านอะไรฟังอะไรพยายามให้เข้าใจทะลุปรุโปร่งหมดเลย เข้าใจความหมายของสิ่งที่เขาพูดเขาเขียน เรียกสั้นๆ ว่าเข้าใจเนื้อหา
๒. ก็นอกจากเข้าใจหมดแล้ว จับประเด็นได้ จับหลักได้ จับจุดได้ สรุปความได้ว่าที่พูดมาหน้าหนึ่งนี่ หัวข้อหนึ่งนี่ ๑๐ หน้านี้ จนกระทั่งเล่มหนึ่งนี่เขาพูดเรื่องอะไร เข้าใจมั้ยฮะ บางคนอ่านไปจนหมดแล้ว ก็เข้าใจอยู่แต่มันจับประเด็นไม่ได้ ตั้งเป็นหัวข้อไม่ได้ คนที่จะเก่งในข้อ ๒ หลักข้อ ๒ คือตั้งหัวข้อเป็น พออ่านอะไรไปหมดนะ ลองหัดตั้งหัวข้อดู ว่าไอ้ที่เขาพูดมาทั้งหมดเนี่ย เราลองตั้งเป็นหัวข้อสั้นๆ ซิ อ่านตั้ง ๑๐ หน้า ตั้งหัวข้อเดียว บรรทัดเดียว แล้วหัวข้อเดียวเนี่ยมันจะแทนทั้งหมดเลย ถ้าทำได้นะ นี่เก่งขึ้นไปกว่าอันที่ ๑ ขั้นที่ ๑ ก็เก่งแล้วนะ เข้าใจความหมายสิ่งที่เขาพูดเขาเขียนหมดเลย ต่อไปขั้นที่ ๒ นี่ จับตั้งหัวข้อได้อีก ก็คือสรุปความเก่ง คราวนี้ต้องหัวเก่งมาก รวบรัดจับความได้ ตั้งหัวข้อได้ปั๊บ เวลาทวน คนนี้จำหัวข้อไว้อันเดียว พอทวนปั๊บ เอาหัวข้อมาปั๊บนี่ มองเห็นความตลอดเลย ไม่ต้องไปเสียเวลาทวนหมด ถ้าเอาหัวข้อมาปั๊บแล้วมองออกหมดเลย ในใจนี่ โอ ขยายได้หมด สบายแล้ว ทีนี้ถ้ามานึกหัวข้อแล้ว เออ มันไม่กระจ่าง นี่ค่อยทวนจริงๆ เพราะฉะนั้นคนที่เขาเก่งนี่เพราะเขาใช้หลักข้อที่ ๒ เวลาทวนสอบนี่ง่ายมาก เพราะเขาตั้งหัวข้อไว้หมดแล้วนี่ เวลาทวนนี่ทวนหัวข้อเท่านั้นเอง หนังสือเล่มหนึ่ง ๑๐๐ หน้า เขาตั้งไว้ ๑๐ หัวข้อ ข้อๆ หนึ่งก็เท่ากับ ๑๐ หน้าใช่มั้ย พอเขาดูข้อที่ ๑ ปั๊บ เขามองความ ขยายความได้เท่า ๑๐ หน้า เขามองออกหมดเลย สว่างในใจเลย เห็นหมดเลย เพราะฉะนั้นเขาก็ไม่ต้องเสียเวลาอ่านอีก ใช่มั้ย ข้อ ๑ ได้หมดแล้ว เอ้า ดูข้อ ๒ หัวข้อ ๒ ว่าอย่างนี้ เออ เนื้อความว่าไง มองในใจ???หมด ข้อที่ ๓ ได้ความ???หมด ๔ ???หมด ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ สบายแล้ว ฉะนั้นทวนวิชา ใช้เวลานิดเดียว บางคนทวน โอโห เสียเวลามาก ใช่มั้ย คนที่ทำอย่างนี้สบายมากเลย ทวนแป๊บเดียว จริงไม่จริง เอานะ ข้อที่ ๒ ต้องได้ จับหลักจับประเด็นตั้งหัวข้อได้
เวลาเรียนเอาอย่างนี้เลยนะ แล้วจะเก่งแน่ๆ เลย รับรอง อันที่ ๒ นี่ภาครับนะ ภาครับ ๒ แล้ว ๒ ข้อนี่พอแล้ว
ต่อไปทีนี้ภาคแสดง ภาคใช้แล้ว ภาคแสดง ภาคใช้ ก็อันที่ ๑ ก็คือว่าที่เราเรียนเราอ่านเราเข้าใจมาเนี่ย หัดพูด หัดเขียน เอามาพูดมาเขียน พูดให้เพื่อนฟัง เขียนให้คนอื่น ให้ครูอาจารย์ก็ได้ หรือว่าเขียนให้ตัวเองดูก็ได้ เอามาแสดงออก เขาเรียกว่าเอามา express ใช่มั้ย เอามาพูดมาเขียน มาติวให้เพื่อนฟังอะไรเนี่ย เวลาติวเนี่ย คนที่ติวให้ได้มากกว่าคนฟังอีก เชื่อมั้ย เพราะฉะนั้นเราก็หัดพูด เวลาหัดพูดเนี่ย เราต้องรู้จักพูดให้ได้ลำดับ ให้ได้ถ้อยคำที่กระชับ ให้คมคาย ให้สละสลวย ให้หนักแน่น แล้วพูดให้เป็นลำดับ ให้เข้าใจง่าย คนไหนนะ พูดให้เขาเข้าใจได้อย่างที่ตัวต้องการให้เข้าใจ เก่งมาก ถ้าคนยังแสดงออกไม่เป็นนี่ อยากจะให้เขาเข้าใจ พูดยังไงเขาก็ไม่เข้าใจ จริงไม่จริง เพราะฉะนั้นเราต้องหัด หัดพูดหัดเขียนให้เขาเข้าใจอย่างที่เราต้องการให้เข้าใจ จำไว้เลย อันนี้คือภาคแสดงออกข้อที่ ๑ หัดไว้เลย เวลาเรียนไปแล้ว เข้าใจไปแล้ว ไม่พอ อย่าไปหยุดแค่นั้น ต้องเอามาพูดให้คุณพ่อคุณแม่ฟังก็ได้ ใช่มั้ย คุณพ่อคุณแม่ถามท่าน คุณพ่อคุณแม่จะฟังมั้ย วันนี้แทม วันนี้เติ้ง หรือท่านสามเณรหมิงจะเอาวิชาที่เรียนวันนี้มาพูดให้ฟัง ขยายให้ฟัง อธิบาย ตรงไหนสำคัญอธิบายให้ฟัง ตรงไหนไม่สำคัญ สรุปให้ฟัง เนี่ย ได้ทั้งข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๑ ก็ขยายความหมด ใช่มั้ย ข้อ ๒ ก็สรุปความ ตั้งหัวข้อให้ได้ ตอนแรกไปพูดก็ตั้งหัวข้อให้ท่านก่อน บอกคุณพ่อ วันนี้เรียนเรื่องนี้ ตั้งหั้วข้อให้แล้ว นี่แสดงว่าเราสรุปเป็น แล้วหัวข้อนี้มีคำอธิบายว่าอย่างนี้ มีเนื้อความว่าอย่างนี้ อธิบาย พูดให้ท่านฟัง ถ้าเราพูดให้ท่านเข้าใจได้ แสดงว่าเรามีความสามารถ แล้วหัดอย่างนี้นะ เณรนะ เติ้ง แทมนะ เดือนเดียวเห็นชัดเลย จะมีความสามารถแล้วต่อไปจะพูดเก่งด้วย พูดให้เป็นลำดับ พูดให้กระทัดรัด พูดให้ได้ความหมายชัดเจนจะแจ้ง เวลาพูดนี่เขาเรียกว่าต้องพูดฉะฉาน ชัดถ้อยชัดคำ แต่ต้องสละสลวย สุภาพด้วย ไม่ใช่พูดก้าวร้าว ใช่มั้ย พูดสุภาพ แต่ไม่ใช่พูดเหยาะแหยะ เขาเรียกว่าอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ เข้มแข็งแต่อ่อนโยน เข้มแข็งอ่อนโยนนี่ไปด้วยกันได้ ไม่ใช่อ่อนแอแต่ว่าแข็งกร้าว อย่างนั้นมันไม่ใช่ ไม่ถูก เอาละนะ หัดพูด หัดเขียน แล้วต่อไปก็เก่ง นี่ข้อที่ ๓ เป็นข้อ ๑ ในภาคแสดงออก
ต่อไปข้อสุดท้าย ข้อสุดท้ายนี่ยากที่สุด ตอนนี้ล่ะจะเป็นนักปราชญ์ได้เลย ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นนักประดิษฐ์อะไรต่ออะไรนี่ ข้อที่ ๔ ข้อที่ ๔ คืออะไรรู้มั้ย
???
นั่นแหละจะคิดค้น ทำไง ต้องจับให้ได้นะที่จะคิดค้นเนี่ย
???
นี่ใกล้เข้าไปแล้ว ดีแล้ว คือเรามาเรียนหนังสือ เราก็เรียนไปแล้ว ต่อไปสำคัญที่ว่าจะไปใช้ยังไง คนที่จะใช้เก่งก็คือว่าเอาความรู้แล้วรวมทั้งความคิดที่ตัวเคยมีมาทั้งหมดนี่ เรียนไว้เท่าไหร่ เป็นข้อมูลไว้ เอามาเชื่อมมาต่อมาโยงกัน เขาเรียกว่ามาเชื่อมโยง การสร้างเป็นความรู้ความคิดใหม่ เนี่ย การเอาความรู้เดิมที่มีอยู่มาสร้างเป็นความรู้ความคิดใหม่เนี่ย เรียกว่าข้อที่ ๔ แล้วตรงนี้จะเป็นนักประดิษฐ์ จะเป็นนักสร้างสรรค์ เป็นผู้นำ เป็นผู้คิดการสำคัญใหญ่ๆ ใหม่ๆ ได้ ก็เรียกว่าสร้างสรรค์สำเร็จ สร้างสรรค์อยู่ที่ข้อ ๔ ก็เอาให้ครบ
ตกลงมี ๔ ข้อ เอาอีกที
๑. เป็นภาครับ ๒
๒. เป็นภาคแสดงออกใช้ ๒
ภาครับ ๒ ข้อคือ ๑ คือ
???
เดี๋ยวสิ เอา
???
เข้าใจรายละเอียด คือเข้าใจความหมายของสิ่งที่เขาพูดเขาเขียน ใช่มั้ย เข้าใจรายละเอียดเนื้อหาหมด เข้าใจหมดตลอดเลย เข้าใจทั่วตลอด สำนวนหนึ่งเขาใช้คำว่า เข้าใจทั่วตลอด หรือจะใช้ว่าทะลุปรุโปร่งก็ได้ ถ้าบอกว่าเข้าใจทั่วตลอดสามเณรเข้าใจมั้ย ทั่วตลอด ทะลุปรุโปร่ง
๒. ตั้งหัวข้อได้ จับหลักจับประเด็นได้ หรือตั้งหัวข้อได้ หัดไว้ ๒
ทีนี้ต่อไปก็ไปข้อฝ่ายแสดงออก ใช้แล้ว ข้อที่ ๑ ว่าไง อันนี้คือ ๓ จากนับทั้งหมด เป็นข้อที่ ๓ ก็คือว่าพูดเขียน
???
ต้องนำสิ่งที่เรารู้มาพูดมาเขียนถ่ายทอดให้ผู้อื่นรู้เข้าใจอย่างที่เราต้องการได้ ใช่มั้ย ถ่ายทอดนั่นเอง ใช่มั้ย มีแล้วถ่ายทอดไม่เป็นก็จบเลย ก็ตันอีก บางคนก็เป็นอย่างนั้น รู้แล้วถ่ายทอดไม่เป็น ถ่ายทอดเป็นอีก สบายเลย
ต่อไป ๔ อะไร
???
เอาความรู้ความคิดที่มีอยู่มาสร้างสรรค์ หรือมาเชื่อมโยง เป็นความรู้ความคิดใหม่ ใช่มั้ย ก็อันที่ ๓ อันแรกของฝ่ายแสดงออกหรือใช้นั่นเป็นเรื่องพูด อันที่ ๔ เป็นเรื่องเอามาทำเลย ใช่มั้ย ทำได้เลย ต้องเก่งทั้งคู่เลยนะ ถ้าดี แล้วถ้าครบ ๔ นี้เป็นไง
???
นักปราชญ์ แน่นอนมั้ย แน่นอนเลย เขาเรียกว่าแตกฉาน นี่แหละ
เอ้า ให้ศัพท์ซะหน่อย อยากรู้มั้ยว่าภาษาบาลี ภาษา technical term ของคำว่าแตกฉานนี่เรียกว่าอะไร อยากทราบมั้ยฮะ อยากทราบจำไว้นะ ปฏิสัมภิทา เอ้า ลองว่าตาม ปฏิสัมภิทา แปลว่าปัญญาแตกฉาน เอ้า ว่าตาม ปัญญาแตกฉาน
เอ้า ว่าตามอีกสักหน่อย
ปฏิสัมภิทา แปลว่า ปัญญาแตกฉาน
มี ๔ ข้อ จัดเป็นภาครับ ๒ ข้อ เป็นภาคใช้งาน ๒ ข้อ
ภาครับ ๒ ข้อคือ
๑. รู้เข้าใจความหมายของสิ่งที่เขาพูดเขาเขียนตลอดทั้งหมด อันนี้อธิบายแล้วนะ มันยาวไปหน่อย
๒ สรุปความของสิ่งที่ได้รู้ได้เข้าใจตั้งเป็นหัวข้อ หรือเป็นประเด็นได้ เข้าใจนะ
ภาคใช้หรือภาคแสดง ๒ อย่างคือ เอ้าว่าตาม
๑ ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้ผู้อื่นรู้เข้าใจได้อย่างที่ตนต้องการ
๒ นำเอาความรู้และความคิด ที่มีอยู่แล้วมาเชื่อมโยง สร้างเป็นความรู้ความคิดใหม่ได้
เข้าใจมั้ยครับ ชัดเจนพอนะ แล้วเอาไปใช้ได้มั้ยเนี่ย ถ้าไปทำเนี่ย สามเณรกับเติ้งกับแทมเนี่ยเป็นนักปราชญ์สร้างประเทศไทยได้แน่เลย แน่นอนรับรอง เชื่อมั้ย
เอ้า วันนี้ได้กี่เรื่องแล้วเนี่ย
??? ไหนลองว่ามาซิมีเรื่องอะไรบ้างวันนี้คุยกัน
กินเป็นอยู่เป็น เรียกว่ากินด้วยปัญญาหรือรู้จักประมาณ รู้จักพอดี พูดได้หลายอย่าง หลายสำนวนนะ
อิทธิบาท ๔ แล้วก็เรื่องสุ จิ ปุ ลิ แล้วก็เรื่องสุดท้าย นี่แหละก็คือหัวข้อเมื่อกี้ สรุปเลย ที่เราพูดหัวข้อสุดท้ายก็เป็นตัวสรุป ตัวหัวข้อที่ตั้งชื่อมันน่ะ เรียกว่าอะไร อันสุดท้ายที่เราพูดหัวข้อปั๊บก็รวมความหมดเลย ๔ ข้อท้ายที่ว่าภาครับ ๒ ภาคแสดงใช้ ๒ อะไรเอ่ย ปฎิสัมภิธา แปลว่าอะไรนะ ปัญญาแตกฉาน โอ นี่ท่าจะชักมากไปนะ ชักจะไม่ไหวแล้วนะ ให้พระอาจารย์ หลวงพี่ท่านช่วยทวนให้บ้างนะ แล้วถามกันเองบ้าง ตกลงว่า ๔ อันวันนี้นะ ควรจะจำให้เป็นหลักไว้ ที่จริงยังมีมากกว่านี้อีกนะ เอ้าจะทวนให้ฟัง
๑. กินอยู่เป็น
๒. เรื่องคติไทย คติฝรั่ง คติไทยว่าไง ในน้ำมีปลาในนามีข้าว คติฝรั่งว่าไง อเมริกัน บุกฝ่าขยายพรมแดน ภาษาอังกฤษว่าไง frontier จำไว้เลย ฝรั่ง frontier ก็จะต้องพูดเรื่อย ต่อไปก็ความหมายของเจริญอย่างฝรั่ง มีกี่แบบ คือแบบอะไร แบบนักบริโภค กับนักผลิต นักบริโภคคือยังไง มีกินมีใช้อย่างฝรั่ง นักผลิตคือยังไง ???
แล้วก็มาอิทธิบาท ๔ แล้วก็มาเรื่องสุ จิ ปุ ลิ แล้วก็มาปฏิสัมภิทา ๔ โอ เยอะหมือนกันนะ ไม่ใช่น้อย วันนี้เราเรียนกันมาเนี่ยนะ แต่เข้าใจหมดมั้ย หมายถึงเวลาตอนที่ฟังอะไรต่ออะไรนี่เข้าใจหมดมั้ย ถ้าเข้าใจแล้วไม่ยาก ต่อไปเวลาทวนจะง่าย แล้วจะไม่สับสน ถ้าคนไหนฟังไม่เข้าใจแล้ว มันยุ่งมันปนกันหมดแหละ ต่อไปมันไม่ได้เรื่อง ใช่มั้ย นี่ต่อไปเวลาเราเข้าใจแล้ว เวลาพูดทวนปั๊บ ได้เลย เนี่ยนะที่พูดกันวันนี้นะ พอใช้เลยนะ เชื่อมั้ย เอาไปเล่าเรียนศึกษาจนจบปริญญาเอกได้เลยนะ จบปริญญาเอกแล้วก็ยังไปใช้ได้ต่ออีก ไปสร้างประเทศชาติสังคมอีก เจริญก้าวหน้า
ฉะนั้นก็เอาละนะ วันนี้ก็คุยกันมาพอสมควรแล้ว ได้ตั้งชั่วโมงกว่าแล้ว ก็อยากให้เณรหมิงแล้วก็เติ้งแล้วก็แทมได้ประโยชน์ ยิ่งมาวัดแล้วก็ต้องให้ได้ประโยชน์จริงๆ มาแล้วเรียกว่าต้องให้คุ้มเลย เวลาเนี่ย เขาเรียกว่าได้กำไร แต่กำไรในที่นี้เราไม่ได้หมายถึงกำไรทรัพย์สินเงินทอง เป็นกำไรของชีวิต เป็นกำไรที่ถ้าเรียกเป็นทรัพย์เขาเรียกว่าเป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐ ทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายในที่กินใช้ไม่รู้จักหมด ทรัพย์ภายนอกยิ่งใช้ยิ่งหมด มีหมื่นใช้ทีละ ๕๐๐๐ สองครั้งหมด มีทรัพย์ภายในคือความรู้และความดี ใช้เท่าไหร่ไม่หมด ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม ใช่มั้ย แล้วก็ทำให้เราสามารถหาทรัพย์ภายนอกได้ด้วย คนที่ไม่มีทรัพย์ภายใน ไม่มีความรู้ ไม่มีความดี ทรัพย์ภายนอกมีเท่าไหร่ก็หมด รักษาไม่ได้ คนที่มีทรัพย์ภายใน มีความรู้ความดี ทรัพย์ภายนอกไม่มีก็หาได้ ทรัพย์ภายนอกที่มีอยู่ก็ทำให้เพิ่มขึ้น ไม่ลดลง แล้วก็ทำให้เป็นคนดีประเสริฐได้ด้วยทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอกก็เป็นเพียงเครื่องอาศัยเท่านั้น
เอาละนะวันนี้ก็โมทนาสามเณรหมิง เรียกทวนอีกทีว่าสามเณร??? แล้วก็โมทนาเติ้ง คือ??? ใช่มั้ย แล้วก็โมทนาแทม คือ??? ทั้ง ๓ นี่ก็โมทนาที่ตั้งใจดี ในขณะที่ว่าบางคนเขาอาจจะไปคิดหาสนุกสนาน เรามุ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นสาระ มาหาความรู้ หาสติปัญญา มาอยู่ในที่ที่สงบเป็นธรรมชาติ พัฒนาจิตใจของเรา แล้วก็พัฒนาปัญญา ได้ปัญญา ได้จิตใจ แล้วก็ได้พฤติกรรมด้วย ความประพฤติดีงาม ได้ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น ใช่มั้ย เอื้อเฟื้อกัน อย่างนี้ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นเรียกว่าศีล อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม แล้วก็เรื่องจิตใจดีงาม สงบ ผ่องใส มีความสุขเรียกว่าสมาธิ แล้วก็เรื่องปัญญา ความรู้ความเข้าใจ ๓ อย่าง ศีล สมาธิ ปัญญา เรามาอยู่นี่เราได้ ก็อนุโมทนา ก็ขอให้เจริญงอกงามก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ให้มีความสุข ทั้งตัวเณรเองและตัวเติ้ง แทม แล้วก็ทั้งให้คุณพ่อคุณแม่โยมมีความสุขด้วยนะครับ
อย่าลืมนะ ที่มีความสุขเนี่ย ขอแบ่งให้คุณพ่อคุณแม่ได้ร่วมสุขด้วย เวลาเจอแล้วบอกนะ เนี่ยอย่างเณรบวชเนี่ย โยมพ่อโยมแม่เห็นแล้วปลื้มใจ เชื่อมั้ย จริงไม่จริง เห็นมั้ย เห็นคุณพ่อคุณแม่ปลื้มมั้ย เห็นเลย ท่านเห็นแล้ว ถ้าเณรยิ่งประพฤติตัวดี เรียบร้อย ห่มผ้างดงาม แล้วก็ตั้งใจเรียนหนังสือ มีความรู้พูดให้ท่านฟัง ท่านจะดีใจจนน้ำตาไหลเลย เชื่อมั้ย เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้โยมพ่อโยมแม่ คุณพ่อคุณแม่เนี่ยดีใจนะ ท่านจะได้มีความสุขกับเราด้วย ก็เอาละ เอาเป็นว่าอย่างน้อยแน่ใจว่าคุณพ่อคุณแม่มีความสุข แล้วก็คุณตาคุณยายคุณปู่คุณย่าก็มีความสุขด้วยทั้งหมด พ่อแม่พี่น้องมีความสุข สุขร่วมกัน เอาแล้วก็ขอให้สุขต่อไปนะครับ
เอาละวันนี้ก็จบกันเท่านี้ก่อน แล้วค่อยมีโอกาสค่อยคุยกัน อีกกี่วันเนี่ย ??? ก็เอานะ วันนี้ก็จะได้พักผ่อนกัน