แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คิดว่าจะพูดสั้น ๆ หน่อยเป็นเรื่องสืบเนื่องจากเก่า ญาติโยมไม่ได้ฟังต่อเนื่องมาก็อาจจะไม่ปะติดปะต่อ อาจจะเข้าใจลำบากนิดหน่อย ถือว่ามาสรุปเรื่องเดิมที่คุยกับพระมาเรื่องธรรมวินัยนี่แหละ นี่ก็มีข้อที่ควรทราบเพิ่มอีกนิดหน่อยบางทีอาจจะคุยกันไปแล้วก็ได้แล้วก็มันมากเข้าก็ชักจะลืมเลือนไปว่าพูดหรือยัง นี่ก็เรื่องธรรมวินัยรวมความสั้นๆ ก็ว่า ตัวจริงเดิมก็คือธรรมะ มีธรรมะก็ความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาธรรมชาติ อันนี้ว่ามนุษย์เราก็อยู่ในธรรมชาติก็เป็นธรรมชาติ แล้วก็ต้องเป็นไปตามกฎธรรมชาติ นี่ก็จะชี้ให้ชีวิตนี้ดีงามดำเนินไปอย่างถูกต้อง ก็จะต้องรู้เข้าใจธรรมะนั้นแล้วก็ปฏิบัติให้เป็นไปตามธรรม นี่เพื่อจะให้มนุษย์ได้ประโยชน์จากธรรมะ ท่านผู้รู้ก็เลยมาจัดวางระบบระเบียบกฎเกณฑ์กติกาวิธีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตขึ้น จากธรรมะก็เกิดเป็นวินัยว่า ธรรมะคือตัวความจริง นี่ก็เอาความรู้ในความจริงที่เรียกว่าธรรมะนี่มาจัดตั้งวางเป็นระบบแบบแผนขึ้น อันนี้เรียกว่าวินัย ที่นี้วินัยก็ต้องเป็นไปตามธรรมะเพราะว่าเราก็คือเอาความจริงนั่นแหละมาใช้ ดังนั้นวินัยที่เอาประโยชน์จากความจริงหรือเอาความจริงมาใช้ประโยชน์ มันก็ต้องให้มันเป็นประเด็นสอดคล้องกับตัวธรรมะ เมื่อจัดวางวินัยเป็นแบบแผนเป็นระบบเป็นโครงสร้างในสังคมมนุษย์ขึ้นมาแล้ว มนุษย์ก็จะได้ปฏิบัติตามนั้นก็เท่ากับปฏิบัติตามธรรมไปด้วย ก็หมายความว่าการจัดตั้งวางระบบที่เรียกวินัยก็ต้องจัดตามธรรม พอจัดขึ้นมาแล้วก็ช่วยให้คนได้ปฏิบัติตามธรรม พอคนปฏิบัติตามธรรมแล้วก็จะได้เข้าถึงธรรม เข้าถึงธรรมแล้วก็จะได้ประโยชน์จากธรรม นี่คือความประสานสอดคล้องระหว่างธรรมะกับวินัย
ที่นี้ในเรื่องของธรรมะนั้น ความหมายที่เราพูดกันไปแล้วมี ๔ อย่าง
อันที่ ๑ ก็คือสิ่งที่มี ที่เป็นอยู่ตามธรรมดาของมันที่เราเรียกว่าธรรมชาติ ๒ ก็ความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ความเป็นไปของมันที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย หรือเรียกว่าธรรมดาของสิ่งทั้งหลายหรือกฎธรรมชาติ แล้วก็ ๓ ตัวความจริงนั้นที่มาสัมพันธ์กับมนุษย์ ว่ามนุษย์จะต้องปฏิบัติตามมันเพื่อจะให้ตนเองนี่ได้มีชีวิตที่ดี เราจะมีชีวิตที่ดีได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องสอดคล้องกับตัวธรรมะความจริงนั้น สิ่งที่จะต้องปฏิบัติหรือข้อปฏิบัติที่มนุษย์ควรจะทำตามเพื่อให้เกิดผลดีกับชีวิตของตนก็เรียกว่าธรรมะ ๓ อย่างนี้ก็เป็นของที่เป็นนามธรรมมีอยู่ตามธรรมดาธรรมชาติ นี่พระพุทธเจ้าไปค้นพบ รู้ความจริง รู้ธรรมะทั้ง ๓ อย่างนี้ เอามาสั่งสอน เอามาประกาศ เอามาแสดง คำสอนของพระองค์ก็เป็นสื่อให้เราเข้าถึงธรรมะ ๓ ประการแรก ธรรมะคำสอนของพระองค์นั้นเท่ากับเป็นตัวแทนของตัวธรรมะที่เป็นความจริงอยู่ธรรมดา ก็เลยพลอยเรียกคำสอนของพระองค์ว่าเป็นธรรมะไปด้วย นี่ก็เป็นธรรมะความหมายที่ ๔ คือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นสื่อเป็นตัวแทนแสดงความจริงที่เป็นธรรมะอยู่ในธรรมชาติ ที่นี้ด้านวินัยก็เหมือนกัน ธรรมะกลายเป็นว่าเป็นคำสอนที่เอามาจารึกเป็นข้อความได้ ก็เรียกว่าธรรมะ ที่นี้วินัยตัวการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามธรรมะนั้น การวางระบบจัดตั้งแบบแผนในสังคม กติกาเอามาเป็นแม่บท เป็นตัวบทกฎหมาย เป็นตัวบทกฎหมายให้รู้ว่าจะจัดรูปแบบสังคมอย่างไร จะให้มีระเบียบในการดำเนินชีวิตอย่างไร ให้สังคมนี้ ชุมชนนี้ มีโครงสร้างอย่างไร ให้ตัวบทหรือเป็นกฎหมายอะไรพวกนี้ก็เลยเรียกว่าวินัยด้วยเหมือนกัน เพราะว่าตัวบทข้อความที่มากำหนดว่าจะให้จัดยังไงปฏิบัติกันยังไง เป็นความหมายหนึ่งของวินัยก็เลยเป็นคู่กับความหมายของธรรมะที่ว่าเป็นคำสอนที่สื่อเป็นตัวแทนแสดงตัวธรรมะที่แท้จริง ที่นี้ธรรมะที่เป็นคำสอนก็มาจารึกเป็นข้อความเป็นหนังสือเป็นคัมภีร์ได้ วินัยที่เป็นแม่บทเป็นตัวบทเป็นกฎหมายก็เอามาจารึกเป็นข้อความในคัมภีร์ในหนังสือได้เช่นเดียวกัน อันนี้แล้วก็เป็นธรรมะกับวินัยที่ถ่ายทอดกันมาถึงเราได้ในปัจจุบัน แต่วินัยที่มาบันทึกไว้ในคัมภีร์พุทธศาสนาก็จะเน้นที่วินัยสำหรับพระสงฆ์ ซึ่งเป็นชุมชนที่พระพุทธเจ้าจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ เรียกว่า สังฆะ ก็เป็นตัวบทบัญญัติสำหรับมาจัดสงฆ์นี้ เพื่อจะให้พระภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในสงฆ์นี้ดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามนั้น ที่นี้ก็เป็นอันได้ความหมายในแง่ที่เป็นตัวหนังสือและธรรมะกับวินัยนี้ เป็นข้อความหรือคำพูดก็แล้วแต่ ก็คู่กันมาเวลานี้เราพูดถึงคำว่าธรรมวินัย ในด้านหนึ่ง ธรรมะก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้า วินัยก็คือว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติจัดวางไว้เป็นตัวบทกฎหมาย คิดว่าแค่นี้ก็คงจะทำให้เกิดความชัดเจนพอสมควรในเรื่องธรรมวินัย ก็คู่กันมาทั้งหมดนี้ก็รวมเป็นพระพุทธศาสนา
ที่นี้ในคำว่าวินัยนี้ก็ยังมีสิ่งที่น่าศึกษาเพิ่มอีกนิดหน่อยมีคำใกล้เคียงคือ คำว่าวินัย มันจะได้ยินใกล้กับคำว่าศีล และคำว่าสิกขาบท สำหรับท่านที่ไม่คุ้นกับศัพท์ทางพระศาสนาก็อาจจะได้ยินไม่ครบทุกคำ แต่ว่าจำเป็นจะต้องรู้ไว้เพื่อความชัดเจน เพราะคำว่าวินัยนี่เป็นคำรวม อย่างเวลาบัญญัติเป็นตัวบทกฎหมายว่าให้พระภิกษุประพฤติอย่างนั้นอย่างนี้ วินัยนี้จะเป็นคำกว้าง ๆ หมายถึงทั้งหมดเลย หมายถึงถ้าเรียกอย่างกฎหมายก็คล้าย ๆ ประมวลกฎหมาย เป็นคำรวมทั้งหมดไม่เป็นข้อๆ เป็นข้อ ๆ นี่เรียกว่าวินัยไม่ได้ บางทีเราก็มาใช้เรียกกันก็ไม่ถูกต้อง คำว่าวินัยในภาษาบาลีเป็นคำเอกพจน์ คือทั้งหมดอย่างประมวลกฎหมาย ประมวลบทบัญญัติ สำหรับพระภิกษุทั้งหมดก็เรียกว่าวินัยสำหรับพระภิกษุ ทั้งหมดเรียกเป็นอันเดียวกันยังไม่แบ่งเป็นข้อ ๆ หรือถ้าหากว่าเป็นสำหรับภิกษุณีสงฆ์ ก็เป็นวินัยสำหรับภิกษุณี ก็หมายถึงทั้งหมด มีเท่าไหร่ก็รวมเป็นวินัยเป็นอันเดียว แต่ละข้อละข้อนั้นเรียกวินัยไม่ได้ วินัยเป็นคำรวม ทีนี้ทำไง เวลาแยกเป็นข้อ ๆ เวลาเป็นข้อบัญญัติว่าจะให้ทำยังไงหรือไม่ให้ทำยังไง เช่นว่าภิกษุไปขออาหาร บิณฑบาตกับคฤหัสถ์หรือญาติโยมที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปรณา ??? นี่ถ้าขอมาเพื่อตนมีความผิดอย่างนี้เป็นต้น เป็นอาบัติ นี่อย่างนี้เป็นข้อหนึ่งที่จะต้องปฏิบัติ เรียกว่าอะไร เรียกว่าสิกขาบท แต่ละข้อเหมือนอย่างกฎหมายนี่ก็เป็นคำรวม แต่ละข้อก็อาจจะเรียกเป็นมาตราหรืออะไรก็แล้วแต่ คำว่ามาตรานี่ไม่ได้มีความหมายดีชัดเหมือนของพระ 8e;jk สิกขาบทจะมีความหมายที่ชัดเจนว่าแสดงวัตถุประสงค์ว่าเพื่ออะไร เป็นอันว่า วินัย เป็นคำรวม แต่ละข้อในวินัยนั้นเรียกว่าสิกขาบท สิกขาบทแปลว่าอะไร สิกขาบทก็มาจาก สิกขา กับ บท บทแปลว่าข้อ สิกขาแปลว่าศึกษาหรือสำหรับฝึกคน ดังนั้นสิกขาบทก็แปลว่าข้อฝึกหรือว่าแบบฝึกหัด แต่ที่จริงก็คือข้อฝึกหัด ข้อฝึกตน พุทธศาสนามองการประพฤติปฏิบัติว่าเป็นเรื่องของการศึกษาหมดเป็นเรื่องการฝึกฝนทำให้คนดีขึ้น ถ้ามองเป็นเรื่องฝึก ก็ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องบังคับ สำหรับกฎหมายบ้านเมืองนี่บางทีไม่ได้ทำความเข้าใจเรื่องนี้ ประชาชนก็มีความรู้สึกเป็นข้อบังคับไป จะสังเกตเห็นว่าไม่ได้เรียกข้อบังคับ เรียกว่าข้อฝึก คนไทยเราชอบใช้คำว่าข้อบังคับ ในพระพุทธศาสนาเรียกว่าข้อฝึก ให้เราเกิดความรู้สึกว่า เออนี่มันเพื่อความดีความงามของชีวิตของสังคม เรามาปฏิบัติตามนี้เราก็ฝึกตนเพื่อเราจะได้มีชีวิตที่ดีงาม เป็นอันว่าวินัยเป็นคำรวม แล้วในวินัยนี้บทบัญญัติแต่ละข้อเรียกว่าสิกขาบทแปลว่าข้อฝึก
แล้วอย่างศีล ๒๒๗ ของพระนี่ก็เรียกไปอย่างนั้นเองที่จริงศัพท์ที่ถูกเรียกว่า สิกขาบท ๒๒๗ พระภิกษุก็มีสิกขาบท มีวินัยที่ประกอบด้วยสิกขาบทคือข้อฝึกนี้ ๒๒๗ ข้อ ไม่ได้เรียกว่าศีล ศีลก็เป็นภาษาชาวบ้าน ดังนั้นเวลานี้ก็ใช้สับสนหมด คำว่าวินัย คำว่าศีล คำว่าสิกขาบทอะไร สิกขาบทนี่ไม่ค่อยได้ยิน ได้ยินแต่วินัยบ้างศีลบ้าง มาเรียกเป็นศีล ๕ ศีล ๒๒๗ เพราะเอาศัพท์จริงนี่ไม่ถูกหมดเลย เพราะแต่ละข้อนี้น่ะเรียกว่าสิกขาบทแปลว่าข้อฝึก ภิกษุไปลัก ภิกษุใดไปถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ตั้งแต่ ๕ มาสก ??? ขึ้นไปขาด ก็เป็นปาราชิก อย่างนี้ก็เป็นสิกขาบทหนึ่ง ภิกษุที่ไปฆ่ามนุษย์ก็เป็นสิกขาบทหนึ่งเป็นอาบัติปาราชิก หรือภิกษุฆ่าสัตว์เล็ก ๆ น้อย ๆ อันนี้ก็เป็นอาบัติเล็กลงมาเบาก็เลยเป็นอาบัติปาจิตตีย์ แต่ละข้อ ๆ นี่สิกขาบทเป็นข้อฝึกหมด เอาล่ะครับนี่ก็เป็นเรื่องของถ้อยคำที่ควรทราบ ทีนี้ถ้าป็นภิกษุณีก็จะมีวินัยที่ประกอบด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ข้อ ทีนี้ถ้าเป็นญาติโยมก็ต้องมาตกลงกันสำหรับญาติโยมนี่ ก็เอาอะไรเป็นวินัยล่ะ วินัยสำหรับญาติโยมชาวพุทธนี่ไม่ค่อยชัดเจน สำหรับพระนั่นชัดแล้ว นี่ในอรรถกถาท่านก็แนะ ท่านบอกว่าใช้หลักใน สิงคาลกสูตร นี่แหละเป็นวินัยสำหรับคฤหัสถ์ แต่ที่พูดกันในเมืองไทยโดยมากก็จะเอาศีล ๕ ที่จริงศีล ๕ นี่คงไม่พอ แต่ก็อย่างน้อยก็ยังดี อย่างในอรรถกถามงคลสูตร หรืออย่างในมังคลัตถทีปนี ก็ให้เอากุศลกรรมบถ ๑๐ การเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ นี้เป็นวินัยสำหรับคฤหัสถ์ นี่ก็คนไทยทั่วไปก็จะเอาแค่ศีลที่เราเรียกว่าศีล ๕ ซึ่งที่จริงไม่ถูก ที่เราเรียกว่าศีล ๕ นี่ให้เป็นวินัยสำหรับคฤหัสถ์ ชาวพุทธคฤหัสถ์น่าจะมาตกลงกันสักทีว่าเอาไหนแค่ไหนเป็นวินัย ที่นี้วินัยของคฤหัสถ์ก็จะประกอบด้วย ถ้าเอาศีล ๕ ก็เท่ากับมีสิกขาบท ๕ วินัยนี่ก็มีสิขาบท ๕ หรือจะเอาศีล ๘ ถ้าศีล ๘ มันก็จะไม่พอดี มันเกินไปอาจจะเกินจำเป็น ศีล ๘ ศีล ๑๐ ท่านเอาแค่ศีล ๕ คือที่จริง สิกขาบท ๕ และอาจจะไปเอาข้อปฏิบัติอื่น ๆ เข้ามารวม ก็ให้เป็นวินัยสำหรับคฤหัสถ์ เอาละครับเรื่องวินัยกับสิกขาบทก็คงจะเข้าใจชัดแล้ว ทีนี่ศีลล่ะ วินัยก็มาคู่กับคำว่าศีลอีก เราก็ใช้คำว่าศีลจนกระทั่งสับสน ศีลก็ปนเปสับสนกับคำว่าวินัยบ้าง ปนเปสับสนกับคำว่าสิกขาบทบ้าง วินัยกับศีลบางคนก็แยกไม่ออกว่ามันต่างกันอย่างไร วินัยก็บอกแล้วนี่เป็นการเอาธรรมะ เอาความรู้ในความจริง มาจัดตั้งวางเป็นระเบียบระบบแบบแผนในสังคมมนุษย์ ให้มนุษย์ได้ปฏิบัติกันจริงเป็นรูปธรรม มิฉะนั้นธรรมะก็ยังอยู่ในธรรมชาติอยู่ ไม่มีเครื่องกำหนดช่วยว่าทำไงจะได้ปฏิบัติจริงจัง เป็นเรื่องแล้วแต่บุคคลแล้วแต่สมัครใจ พอวางเป็นวินัยเป็นแบบแผนขึ้นมา เอาจริง ๆ นะในชุมชนนี้ในสังคมนี้ที่ต้องว่ากันตามนี้ เพื่อจะได้ชีวิตมันจะได้เป็นไปตามธรรมะ ทีนี้วินัยก็เป็นรูปแบบเป็นการจัดตั้งเป็นการจัดระเบียบระบบภายนอกตลอดจนกระทั่งเป็นตัวบทกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์กติกาอยู่ข้างนอก มันก็มาเป็นเครื่องฝึกคน เป็นเครื่องฝึกคนทำให้คนได้มีชีวิตที่ดีงามตามธรรมะ ถ้าเป็นเรื่องของชุมชนบางทีก็เลยกลายเป็นการปกครองไป วินัยนี่มีความหมายเป็นการปกครองก็ได้ เพราะว่าเมื่อเราจัดตั้งวางระบบอย่างนั้นแล้ว ก็จะต้องมีกระบวนการที่จะให้คนปฏิบัติไปตามนี้ กระบวนการที่จะให้คนปฏิบัติไปตามนี้ ตามรูปแบบระบบกฎเกณฑ์กติกาที่วางไว้ เราก็เรียกว่าการปกครอง ดังนั้นวินัยก็เลยมีความหมายเป็นการปกครองด้วย แต่มันก็ยังอยู่ข้างนอกนั่นแหละ จะเป็นระบบแบบแผนที่จัดตั้งวางจะเป็นกติกาจะเป็นบัญญัติ อาจจะเป็นการปกครองเพื่อจะให้คนไปทำตามบัญญัติเหล่านี้มันก็ยังเป็นของอยู่ข้างนอก อันนี้ทำไงจะให้มันเป็นของจริงก็ต้องปฏิบัติตาม ทีนี้คนไหนปฏิบัติตามวินัยที่เป็นของจัดวางไว้ข้างนอกได้ ตัวเองคนนั้นปฏิบัติตาม ปฏิบัติตามก็ต้องฝึกตัวซิใช่มั้ย ปฏิบัติตามจนกระทั่งทำได้ตามนั้น ถ้าใครทำตามวินัยนั้นซึ่งแยกเป็นข้อ ๆ ก็เป็นสิกขาบท ทำได้ตามนั้น ตัวเองก็เลยมีความประพฤติอย่างนั้น มีความประพฤติตามวินัย วินัยก็เหมือนเข้ามาอยู่ในตัวเอง ถ้าเมื่อไรการปฏิบัติตามวินัยนั้นเข้ามาเป็นคุณสมบัติของตัวคน คือคนนี้ไปตั้งอยู่ในวินัยอันนั้นกลายเป็นศีล ศีลก็คือคุณสมบัติของคน การที่คนนั้นไปปฏิบัติตามวินัย หรือตั้งอยู่ในวินัย หรือแยกเป็นข้อก็ปฏิบัติตามสิกขาบท นี่เรียกว่าศีล ดังนั้นศีลเป็นคุณสมบัติของคน วินัยนี่เป็นของข้างนอก เป็นระเบียบระบบการจัดตั้ง และการปฏิบัติไปตามวินัยนั้นก็เป็นศีล เพราะฉะนั้นศีลอยู่ที่ตัวคน นี่คือความหมายที่แท้ ส่วนความหมายที่ว่าทั่ว ๆ ไปนี้ก็จะสับสน ก็ถือว่าใช้อย่างรู้กัน แค่นี้ก็ตอนนี้ก็แยกได้แล้วนะระหว่างวินัยกับศีล เพราะฉะนั้นเราจะได้ยินว่า มีญาติโยมมาขอศีลเนี่ยแต่พระไม่ได้ให้ศีล แต่เราพูดว่าพระให้ศีลแต่ที่จริงพระไม่เคยให้ศีล แล้วถ้าดูคำบาลีแล้วไม่มีหรอกพระไม่เคยให้ศีล ญาติโยมจะมาขอศีล มาถึงก็ มะยังภันเต วิสุงวิสุง รักขะนะธายะ ติสะระเน นะสะหะ ปัญจะ ศีลานิยาจามะ ว่างั้นนะ บอกว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอ ปัญจะศีลานิ ขอศีล ๕ แล้วก็บอก วิสุงวิสุง รักขะนะธายะ เพื่อจะแยกรักษาหรือรักษาแยกแยกเป็นส่วนส่วน แต่ว่ารวมความก็คือมาบอกว่าขอศีล แล้วแถมแยกเป็นข้อ ๆ อีก ที่จริงศีลนี่เอาเข้าจริง ๆ มันเป็นคุณสมบัติในตัวคนมันแยกเป็นข้อไม่ได้เป็นคุณสมบัติของคน ทีนี้โยมเกิดมาขอศีล อ้าวทีนี้พระทำไง พระก็เอานะเธอต่อไปนี้ว่าตาม จะขอศีลก็ปฏิบัติตามต่อไปนี้ ๑ ปาณา ติปาตา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ ว่างั้นนะ ก็บอกว่าอะไรล่ะ สะมาธิยามิ บอกข้าพเจ้าขอรับไปถือรับไปปฏิบัติ นี่สะมาธิยามิ ข้าพเจ้าขอรับปฏิบัติ ซึ่งสิกขาบท นี่มาละ สิกขาปะทัง ไม่มีคำว่าศีล ข้าพเจ้าขอรับปฏิบัติซึ่งสิกขาบท คือข้อฝึก ปาณาติปาตาเวรมณี ที่จะงดเว้นจากการทำลายชีวิต ไม่มีคำว่าศีล แล้วก็ไม่ได้ให้ด้วยเป็นเรื่องของท่านนะ ให้ท่านว่าเอาสิ ท่านก็พูดเอาเอง บอกว่าตัวข้าพเจ้าจะรับไปปฏิบัติใช่ไหม ญาติโยมก็บอก กลายเป็นญาติโยมจะปฏิบัติเอง ข้าพเจ้าขอรับปฏิบัติ ขอถือปฏิบัติซึ่งสิกขาบท คือข้อฝึกที่จะเว้นจากการทำลายชีวิต และข้อ ๒ ก็เว้นจากการถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ข้อ ๓ ก็เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ข้อ ๔ ก็เว้นจากการพูดเท็จ ข้อ ๕ ก็เว้นจากสุราเมรัยเครื่องดองของเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ตกลงว่าที่มาขอศีลน่ะโยม พระบอกให้โยมว่าเอาเองว่าฉันจะถือปฏิบัติอย่างนี้ ๆ เป็นอันว่า ๑ ไม่ได้ให้ด้วย ให้เขาบอกจะรับปฏิบัติเอง และ ๒ ก็ไม่ได้ให้ศีลด้วย เป็นสิกขาบทแต่ละข้อละข้อเป็นข้อฝึก นี่สรุป พอพระบอก ๕ ข้อนี้เสร็จนะโยมว่าตามเสร็จ พระก็สรุปบอก อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ ใช่มั้ย นี่นะโยมขอ ปัญจะ ศีลานิยาจามะ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอ ปัญจะ ศีลานิ ศีล ๕ แต่พระสรุปบอก อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ บอกนี่คือสิกขาบท ๕ ใช่ไหม อ้าว...เขาขออย่างหนึ่งไปบอกอีกอย่างหนึ่งใช่มั้ย เวลาสรุปก็ไม่ตรงกับที่เขาขอ แทนที่จะบอก อิมานิ ปัญจะ ศีลานิ ไม่ได้บอกอย่างนั้น บอก อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ บอกนี้คือสิกขาบท ๕ ศีเลนะ ทีนี่จึงบอกอานิสงส์ต่อไป ศีเลนะ สุขคติงยันติ บอกว่าบุคคลจะถึงสุคติได้ด้วยศีล ทีนี้ตอนนี้ล่ะบอกละ บอกเรื่องศีลแล้ว บอกว่าถ้าคุณประพฤติตามนี้นะคุณจะเป็นผู้มีศีล แล้วด้วยศีลนั่นแหละ คือที่คุณประพฤติได้แหละจะทำให้ไปสุคติได้ ศีเลนะโภคะสัมปะทา ด้วยศีลก็จะมีความถึงพร้อมด้วยโภคะ นี่เป็นเรื่องสังคม ถ้าสังคมเต็มไปด้วยการเบียดเบียนการประพฤติผิดในสิกขาบทนี้ นี่ก็เดือดร้อนกันไปหมด สังคมจะอยู่ดีไม่ได้ สังคมจะดีก็ต้องคนในสังคมนั้นจะต้องมีศีล มีศีลก็คือรักษาสิกขาบทนี้ ถือปฏิบัติตามสิกขาบท ศีเลนะสุขคติงยันติ ศีเลนะโภคะสัมปะทา ศีเลนะนิพพุติงยันติ จะบรรลุนิพพานได้ก็ได้ด้วยศีล หมายความว่าต้องอาศัยศีลเป็นฐานนะไม่ใช่ศีลอย่างเดียวพอนะ อาศัยศีลนี้ก็จะบรรลุนิพพานได้ด้วย แต่ตอนนี้ท่านสรุปว่าได้ศีล ได้ศีลก็คือด้วยคุณสมบัติในตัวท่านที่ท่านไปปฏิบัติตามสิกขา ก็เป็นอันว่าเท่ากับพระบอกว่า คุณมาขอศีลหรือคุณเอาสิกขาบทนี้ไปปฏิบัติ เมื่อคุณปฏิบัติตามสิกขาบทนี้แล้วคุณก็จะมีศีล เป็นเรื่องของตัวคุณเอง พระให้ศีลไม่ได้ และใครจะไปให้ศีลกันได้ยังไงล่ะ ศีลมันเป็นคุณสมบัติในตัวใช่มั้ย คุณต้องไปปฏิบัติไปฝึกเอา เมื่อท่านฝึกเอา ศีลก็เกิดในตัวท่าน และด้วยศีลนั้นก็จะเกิดอานิสงส์ จะเกิดประโยชน์ต่าง ๆ อย่างที่ว่าไปนั่น ตัสสมา ศีลัง วิโสทะเย เพราะฉะนั้นพึงชำระศีลให้บริสุทธิ์ หมายความว่า ทำความประพฤติปฏิบัติตัวเองให้ดี จบ เป็นอันว่าโยมขอศีล พระให้สิกขาบท บอกว่าท่านปฏิบัติตามข้อฝึก คือ สิกขาบท นี้แล้วท่านก็จะเป็นผู้มีศีล เข้าใจนะ เป็นอันว่าจะได้เห็นกันให้ชัด เพราะเดี๋ยวนี้ก็พูดกันแล้วไม่ได้มีความชัดเจนในเรื่องเหล่านี้ เอาไปอาราธนาศีล ขอศีลพระ อาราธนาศีล ๕ บ้าง ศีล ๘ บ้าง แล้วก็บอกพระให้ศีล แต่ความจริงไม่ได้ให้เลย ถ้อยคำบาลีชัดเลยว่าไม่ได้ให้ศีล ถ้าเข้าใจหลักการนี้และก็ในการปฏิบัติก็จะชัดด้วย เนี่ยถ้อยคำเหล่านี้เป็นการแสดงหลักการพระพุทธศาสนาชัดเจน ว่าเป็นชีวิตแห่งการฝึกฝนพัฒนาแล้วจะได้เป็นชีวิตที่ดีงาม
อันนี้เมื่อพูดถึงเรื่องศีลแล้วก็เลยพูดถึงสมาธิปัญญาด้วย เพราะว่าเป็นชุดกัน ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการให้ ให้ศีลก็ไม่ได้เหมือนกัน ให้สมาธิให้ได้ไหมก็ไม่ได้เหมือนกันใช่ไหม ให้สมาธิได้ไงสมาธิมันต้องเป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นในตัวคนนั้นเขาต้องฝึกให้มันมีในตัว ให้ปัญญาได้ไหม ให้ไม่ได้ตกลงว่าไม่เฉพาะ ศีลหรอก สมาธิ ปัญญาให้ไม่ได้ทั้งนั้น ทำไงล่ะเขาอยากจะได้ศีลก็ให้เขาเอาสิกขาบทไปปฏิบัติ เมื่อเขาฝึกปฏิบัติตามสิกขาบทเขาก็มีศีลขึ้นมา ๑ แล้วนะ ที่นี้ถ้าเขาขอสมาธิทำไง พระท่านก็ให้กรรมฐานไป คุณเอากรรมฐานไปฝึกปฏิบัติคุณก็ได้สมาธิ สมาธิก็เกิดขึ้นในตัวคุณเอง แล้วปัญญาล่ะ เขาขอปัญญาให้ปัญญาไม่ได้แล้วทำไง ก็ให้ สุตตะ ไป ให้ข้อมูลความรู้ให้ข้อแนะนำคำสั่งสอน แล้วเขาก็ไปเรียนรู้ ไปพิจารณา ปัญญาก็เกิดกับตัวเขาเอง เป็นอันว่า ศีล สมาธิ ให้กันไม่ได้ เป็นเรื่องที่คนนั้นจะต้องฝึกฝนพัฒนาขึ้นในตนเอง ก็จึงเรียกว่า สิกขา แปลว่าการเรียนรู้ฝึกฝนทำให้มีขึ้นมา อันนี้ก็เป็นเกร็ดความรู้ ย้ำอีกที เป็นอันว่าเขาขอศีลเราให้อะไร ให้สิกขาบทนะ เอาข้อฝึกไปปฏิบัติเอาแล้วคุณก็จะมีศีล เขาขอสมาธิให้อะไร ให้กรรมฐาน หรือจะเรียกว่าให้อารมณ์กรรมฐานก็แล้วแต่ ก็คือข้อปฏิบัติที่จะไปฝึกแล้วเกิดสมาธิ แล้วก็ขอปัญญาให้อะไร ให้ สุตตะ สุตตะ ก็แปลว่าสิ่งที่ได้สดับฟัง สิ่งที่เล่าเรียน สิ่งที่อ่าน อะไรก็ตาม ก็เป็นข้อแนะนำคำสั่งสอนนั่นแหละให้ไป แล้วเขาก็ไปเรียนรู้ก็เกิดปัญญาขึ้นมาในตัวเขาเอง
อ้าวที่นี่ก็มีศัพท์พิเศษอีกศัพท์หนึ่ง คือเราจะได้ยินว่ามีคำว่าศีลวัตร ??? คำว่าวัตรก็เป็นคำหนึ่ง ทีนี้ศีลอย่างที่บอกแล้วในภาษาชาวบ้านและในความหมายอย่างหนึ่งที่พูดกันง่าย ๆ ก็เลยไม่เคร่งครัด ก็มาใช้เรียกเหมือนกับมาเรียกตัวบทข้อบังคับที่เรียก สิกขาบท ด้วย แต่ว่าใช้ในความหมายความกว้าง ๆ คือว่าเป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติที่วางให้คนทุกคนในหมู่ชนนั้น เช่นในสงฆ์ต้องประพฤติปฏิบัติเสมอกัน คล้าย ๆ กับว่าถ้าอยู่ในชุมชนนี้ก็ต้องถือเหมือนกัน ก็จะเป็นเรื่องศีล ที่นี้มันจะมีข้อปฏิบัติพิเศษที่ว่าไม่จำเป็นต้องถือปฏิบัติเหมือนกัน ให้เลือกได้ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความเหมาะสมเฉพาะตัวบ้างอะไรบ้าง ข้อปฏิบัติพิเศษอย่างนี้นะเขาเรียกว่า วัตร เช่นอย่าง ธุดงค์ ธุดงค์ ก็ภาษาไทยก็เข้าใจผิดอีกแหละ ธุดงค์ แปลว่า ข้อปฏิบัติในการขัดเกลากิเลส ธุตตะ ??? ผู้ขัดเกลากิเลส อังคะ ??? แปลว่า องค์หรือคุณสมบัติ คุณสมบัติข้อปฏิบัติของผู้ที่ขัดเกลากิเลสมี ๑๓ ข้อ มีหลายอย่างข้อปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องอาหารบ้าง เกี่ยวกับเรื่องเครื่องนุ่งห่มบ้าง เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยบ้าง เกี่ยวกับอิริยาบทบ้าง ถือข้อปฏิบัติเหล่านี้จะกลายเป็นผู้เคร่งครัด การเคร่งครัดก็คือความประสงค์ขัดเกลากิเลสของตนเอง ไม่ได้เคร่งครัดเพื่อจะไปให้ใครมาเลื่อมใสนับถือหรืออะไรไม่ใช่ไปอวดใคร เพื่อขัดเกลากิเลสตัวเองเพราะตัวเองนี่มันอาจจะกิเลสมาก บางคนกิเลสมากในเรื่องไหนก็จะไปถือธุดงค์ในเรื่องนั้น หรือแม้ไม่มีกิเลสมากแต่ว่าต้องการขัดเกลาตัวเองฝึกตัวเองเป็นพิเศษก็ถือธุดงค์ข้อนั้น ๆ หรือถ้าผู้บรรลุธรรมแล้วบางทีก็ถือเพราะว่าเห็นว่าเหมาะกับชีวิตของตนเอง ทำให้ชีวิตตัวเองนี้มันเหมาะสมแล้วก็เป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลังอย่างพระมหากัสสปะ ??? ก็ถือได้ถือเป็นตัวอย่าง อันนี้เกี่ยวกับอาหารก็เช่นว่าฉันมื้อเดียว ฉันมื้อเดียวก็เป็นธุดงค์ หรือว่าถือบิณฑบาตเป็นวัตรคือเป็นประจำ ถือบิณฑบาตออกบิณฑบาตไม่รับนิมนต์ญาติโยมนิมนต์ไปฉันที่บ้านไม่เอา ฉันแต่อาหารที่ออกไปเดินบิณฑบาตอย่างเดียวนี่ก็เป็นธุดงค์ หรือว่าอย่างเครื่องนุ่งห่มจีวรก็ใช้จีวรแค่ชุดเดียว ๓ ผืนเรียกว่าไตรจีวรเกินนั้นไม่เอานี่ก็เป็นธุดงค์ข้อหนึ่ง หรือว่าใช้แต่ผ้าจีวรบังสกุลคือผ้าที่เขาทิ้ง แล้วตัวเองไปเที่ยวเก็บมา แล้วก็มารวบรวมไว้พอแล้วก็มาต้มมาตัดมาเย็บมาย้อมทำเป็นจีวรเอง นี่เรียกว่าบังสกุลจีวร ถือว่าทำอย่างนี้เท่านั้นไม่รับจีวรดี ๆ ที่ญาติโยมถวายไม่เอา ถ้าถืออย่างนี้ก็เป็นธุดงค์อีกข้อหนึ่ง พระธุดงค์ก็มีเยอะนะ เสนาสนะ ??? ก็เหมือนกัน ถืออยู่แต่ป่าเป็นวัตรคือเป็นประจำก็เป็นธุดงค์ข้อหนึ่ง แต่ว่าที่ว่าถืออยู่ป่านี้ไม่ใช่เป็นประจำตลอดชีวิต แล้วแต่ถือกำหนดเวลาเดือนเดียวก็ได้ ๒ เดือนก็ได้ ถือพรรษาหนึ่งก็ได้ หรือถือตลอดชีวิตอย่างพระมหากัสสปะก็ได้ คือยืดหยุ่น หรือว่าถืออยู่โคนไม้ก็ได้นี่ก็เป็นธุดงค์ข้อหนึ่ง เรียกว่า รุกขมูล ถือธุดงค์ข้ออยู่โคนไม้ไม่อยู่ในกุฏิไม่อยู่ในที่อยู่ แต่ว่าถือข้อธุดงค์ข้ออยู่โคนไม้นี่มีวินัยเป็นบัญญัติ เป็นสิกขาบท ห้ามไว้อีกว่าถือได้เฉพาะนอกพรรษา ในฤดูฝนเข้าพรรษาแล้วห้ามถือธุดงค์ข้อรุกขมูล เพราะเป็นอันตราย จะอยู่ยังไงอยู่ที่โคนไม้อยู่ใต้ร่มไม้ฝนตกลงมันก็แย่ซิใช่มั้ย เพราะฉะนั้นการถือธุดงค์ข้อนี้ก็มีข้อจำกัด เวลาเข้าพรรษาแล้วจะต้องมีที่อยู่ที่คุ้มฝนได้ปลอดภัย อันนี้บางท่านก็ถืออยู่ป่าช้านี่ก็เป็นธุดงค์ข้อหนึ่ง หรืออย่างบางท่านในแง่อิริยาบท ถือนั่งไม่นอนเลย นอนด้วยกันนั่งหลับ เวลาจะหลับก็นั่งหลับเอานี่มีพระบางองค์ อันนี้เรียกว่าข้อนี้ถือนี่เฉียด ๆ เข้าไปแล้ว เฉียดที่จะทรมานตัวต้องระวัง เพราะว่าไม่นอนเลยนี่นั่งหลับเอา หลวงลุงท่านได้ทั้งนั่งทั้งนอนได้ทั้งสองอย่าง อันนี้ก็เป็นตัวอย่างของธุดงค์นะทั้งหมดมี ๑๓ ข้อ จะเห็นว่าเป็นข้อปฏิบัติของผู้ขัดเกลากิเลสที่เคร่งครัด อย่างนี้เป็นวัตรไม่เป็นการบังคับ ไม่ใช่ภิกษุทุกรูปต้องถือ ใครจะถือไม่ถือก็ตามสมัครใจเป็นข้อปฏิบัติพิเศษที่ว่าเลือกจำเพาะได้ หรือบางทีก็เป็นข้อปฏิบัติที่ทุกองค์ต้องถือแต่ถือเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่นว่าข้อปฏิบัติในการไปฉันอาหารในโรงฉัน เวลาไปโรงฉันจะต้องปฏิบัติยังไง หรือข้อปฏิบัติต่ออาคันตุกะแขกมาจะต้องปฏิบัติอย่างไร หรือข้อปฏิบัติในการที่ไปเป็นแขกไปเยี่ยมวัดคนอื่น อย่างนี้ก็เป็นวัตรเหมือนกัน ขออภัยแม้แต่เข้าห้องน้ำก็ยังมีข้อปฏิบัติในการเข้าห้องน้ำ อันนี้ก็เรียกว่าเป็นพวกวัตรต่าง ๆ หรือข้อปฏิบัติระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ หรือครู หรืออุปัชฌาย์กับลูกศิษย์ก็มี อุปัชฌายวัตร ข้อปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ สัทธิวิหาริกวัตร ข้อปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก มีอาคันตุกวัตร อาวาสิกวัตร ข้อปฏิบัติของอาคันตุกะเป็นแขกไปที่วัดอื่น หรือว่าข้อปฏิบัติฝ่ายเจ้าอาวาสเจ้าถิ่นจะต้อนรับยังไง อย่างนี้เป็นต้น หรือว่าข้อปฏิบัติในโรงฉันในหอฉันเรียกว่า ภัตตัคควัตร อย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร เป็นข้อปฏิบัติเฉพาะเรื่องเฉพาะเรื่อง หรือว่าข้อปฏิบัติอย่าง ธุดงค์ ก็เป็นข้อปฏิบัติที่เลือกเอาได้ ไม่ได้บังคับไม่ได้ถือว่าจะต้องทำเสมอกันหมด เนี่ยจะต่างกับศีล หรืออย่างปัจจุบันนี่มีการถือมังสวิรัติ นี่ก็ถือว่าเป็นวัตรชนิดหนึ่ง เป็นข้อปฏิบัติที่เลือกได้แต่สำหรับภิกษุนี่เลือกไม่ได้ เพราะสำหรับภิกษุนี่ที่จริงแล้วไม่มีวัตรข้อถือมังสวิรัติ เพราะภิกษุนี่ต้องอาศัยอาหารที่ผู้อื่นถวาย แต่ญาติโยมจะถือได้ ข้อมังสวิรัติก็ถ้าถือก็เป็นวัตรสำหรับญาติโยม อันนี้ก็เป็นความแตกต่างระหว่างศีลกับวัตรนะ ศีลก็เป็นข้อปฏิบัติที่ควรจะต้องประพฤติให้สม่ำเสมอกันสำหรับชุมชนนั้นทั้งหมด ส่วนวัตรนั้นเป็นข้อปฏิบัติพิเศษที่ถือตามสมัครใจเพื่อประโยชน์ในการขัดเกลาตนเอง หรือเป็นข้อปฏิบัติเฉพาะกรณีเฉพาะเรื่อง อันนี้อย่างพวกธุดงค์ อย่างที่ว่าก็ต้องมีหลักในการถือนะไม่ใช่ว่าอยากจะถือก็ถือ ท่านก็ให้หลัก พระพุทธเจ้าท่านก็ให้หลัก พระอรรถกถาจารย์ ท่านก็เอาคำแนะนำจากพระพุทธเจ้ามาแนะต่ออีกทีนึง ว่าธุดงค์ข้อไหนเราถือแล้วกุศลธรรมเจริญงอกงามก็ควรถือ ถ้าธุดงค์อันไหนเราถือแล้วจะทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญก็ไม่ควรถือว่างั้น เช่นว่าบางข้อนี่อย่างบางท่านจะไปปฏิบัติข้อนั่งไม่นอนอย่างนี้อาจจะทำให้จิตใจวุ่นวายกระวนกระวายเสื่อมเสียสุขภาพไม่เหมาะกันก็ไม่ควรถือ ก็แล้วแต่ก็ต้องดูว่ามันจะช่วยให้กุศลธรรมเจริญมั้ย ฉะนั้นหลักการของเรื่องเหล่านี้ก็เพื่อฝึกหัดขัดเกลาตนเอง ไม่เป็นเหตุที่จะมาให้มาอวดตัวยกตัวถ้ามาถือข้อปฏิบัติเหล่านี้เป็นเหตุให้ยกตัวว่าฉันถือได้พิเศษและเคร่งครัดกว่า ท่านเรียกว่าเป็น อสัตบุรุษ ??? ท่านว่างั้น ถ้าผู้ใดถือข้อปฏิบัติเหล่านี้ด้วยจิตใจอย่างนั้นด้วยความรู้สึกว่าฉันถือข้อปฏิบัติได้เคร่งครัดกว่าองค์อื่น พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าเป็น อสัตบุรุษ เพราะว่าการยึดถือสิ่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อขัดเกลาตัวเอง หรือถ้าหากว่าไปถือปฏิบัติเพื่อจะอวดชาวบ้านเขาเลื่อมใสอะไรต่าง ๆ ก็เป็นความผิด เป็นความผิดทางธรรมะ เป็นเรื่องของกิเลส ก็เป็น อสัตบุรุษ นั่นเอง ดังนั้นก็ต้องระวังคือถือเพื่อขัดเกลาตนเอง เพราะการที่เราถือข้อปฏิบัติเคร่งครัดบางอย่าง เพราะเราอาจจะมีกิเลสมากในเรื่องนั้น เช่นเป็นคนที่ปกติแล้วเห็นแก่กิน เราก็ต้องฝึกตนเองเป็นพิเศษในเรื่องการรับประทานการฉันภัตตาหาร ก็เลยมาฝึกธุดงค์เรื่องภัตตาหารเป็นพิเศษ นี่เพราะเรานี่หนักไปทางนั้นก็เลยเพื่อจะขัดเกลาตนเองก็เลยถือให้เป็นพิเศษ ไม่ใช่หมายความว่าจะเป็นผู้ที่ดีกว่าคนอื่นหรืออะไรทั้งนั้น พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ด้วยซ้ำ สำหรับพระองค์เองมีคนเคยมาชมพระพุทธเจ้า พระองค์นี่เป็นอยู่ง่ายฉันอาหารก็น้อยอยู่ที่สงบสงัดอะไรต่าง ๆ แบบนี้ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า นี่ไม่ใช่เหตุที่จะมายกย่องสรรเสริญเรา ถ้าท่านจะมาสรรเสริญเราเพราะอย่างนี้แล้วสาวกของเราเยอะแยะไปที่ถือปฏิบัติเคร่งครัดกว่าเราในเรื่องเหล่านี้ เราไม่ใช่เป็นผู้ที่สาวกจะเคารพนับถือยกย่องด้วยเหตุเหล่านี้ แต่ที่สาวกเคารพนับถือเราเพราะเราเป็นผู้ที่ค้นพบธรรมะแล้วก็นำธรรมะนั้นมาแนะนำมาเปิดเผยและแสดง ฉะนั้นพระสาวกหลายองค์อย่างพระมหากัสสปะนี่ถือเคร่งครัดกว่าพระพุทธเจ้ามาก ถือธุดงค์เต็มที่เลยตลอดชีวิต แม้แต่เมื่อแก่แล้วที่เคยเล่าให้ฟังว่าพระพุทธเจ้าชวนกัสสปะ คือเวลาพระพุทธเจ้าเรียก พระมหากัสสปะ ก็เรียก กัสสปะ เฉย ๆ คือชื่อเดิมท่านก็แค่ กัสสปะ แล้วมาเติม มหา เข้าไปเพื่อแยกจากองค์อื่น เพราะคำว่า กัสสปะ นี่เยอะเหลือเกินเป็นชื่อที่นิยมมากในยุคนั้น ก็เลยเอาคำอื่นมาเติมหน้าเพื่อให้รู้ว่าเป็น กัสสปะ องค์ไหน เป็นมหากัสสปะ เป็นกุมารกัสสปะ เป็นอุรุเวลกัสสปะ อะไรพวกนี้ ที่นี้พระพุทธเจ้าเมื่อเห็นพระมหากัสสปะนี้อายุเฒ่าชราลงมา ก็เลยชวนว่า เธอถือแต่ธุดงค์อย่างจีวรก็ใช้แต่ผ้าบังสกุล ผ้าที่ไปเก็บของที่เขาทิ้งมาต้มตัดเย็บย้อมอะไรเนี่ย โดยมากก็ผ้าไม่ดีเนื้อหยาบหนัก ท่านก็แก่แล้วควรจะใช้ผ้าละเอียดประณีตที่คฤหบดีเขาถวาย แล้วก็พวกการฉันการเป็นอยู่อะไรให้มันสะดวกขึ้น ก็หมายความว่าหยุดถือธุดงค์เหล่านั้นก็ได้ คล้าย ๆ พระพุทธเจ้าก็ให้โอกาส พระมหากัสสปะก็ขอโอกาสกลับว่าท่านขอปฏิบัติไปตามเดิม ขอถือตามเดิมที่อยู่ป่าเป็นวัตร ใช้ผ้าบังสุกุล และถือฉันแต่อาหารบิณฑบาต ท่านจะถือไปตามเดิม พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามว่าทำไมล่ะ พระมหากัสสปะก็กราบทูลบอกว่าท่านจะได้ประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างสำหรับชนรุ่นหลังต่อไป
(ปะฌิมา ชนัตตา ธิษฐานุทะติง อาปัชญะ) ??? แปลว่า ประชุมชนที่เกิดตามมาภายหลังก็คือพระภิกษุทั้งหลายเป็นต้น จะใด้ถือเอาเป็นแบบอย่างเป็นตัวอย่าง นี่ก็สำหรับพระอรหันต์นี่ไม่ได้ถือเพื่อฝึกตนเองแล้ว แต่ถือเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป แล้วท่านก็บอกว่าเป็นความสบายพอใจของท่านอย่างนั้นด้วย คล้าย ๆ ว่าท่านปฏิบัติมาจนชินแล้วตลอดชีวิต ที่นี่ก็มีข้อสังเกตอีกอันเกี่ยวกับคำว่า ธุดงค์ ที่เรามาใช้ในภาษาไทยและความหมายมันเพี้ยนไป ธุดงค์คนสมัยปัจจุบันนี่เข้าใจไปว่า พระเที่ยวเดินทางไปใช่มั้ย เดินทางไปพักที่โน่นแวะที่นี่ เอากลดไปด้วยไปถึงก็ค่ำที่ไหนก็กางกลดเข้าแล้วก็ไปจำวัดในกลด อันนี้เราก็เลยนึกว่าธุดงค์คืออย่างนี้ มันเป็นศัพท์ที่ความหมายเพี้ยนแล้วมันเพี้ยนไปได้อย่างไร ท่านว่าถือบิณฑบาตทุกวันนี่ก็เป็นธุดงค์นะ ที่นี่ว่าทำไมมันเพี้ยนกลายเป็นว่า ธุดงค์ ก็คือพระที่เที่ยวเดิน กลายเป็นเรียกพระธุดงค์ อ้าวมันก็มีเหตุ ในธุดงค์ ๑๓ ข้อนั้นเมื่อกี้บอกแล้วมันมีอยู่ข้อหนึ่งคือว่า ถืออยู่โคนไม้ ถืออยู่โคนไม้นี่มันไปเรื่อย ๆ นะเพราะว่าไม่มีที่อยู่ชัดเจน โคนไม้นี่มันมีเรื่อยยิ่งสมัยก่อนป่าเต็มไปหมด เดินทางไปไหนก็มีโคนไม้ให้ไปพักได้ทั้งนั้น และคนที่อยู่โคนไม้นี่เป็นอิสระใช่ไหมไม่มีความติดผูกพัน ไปไหนก็ไปได้วันนี้ค้างที่นี่อีกคืนนี่ไปค้างที่โน่นอยู่โคนไม้ ที่นี้พระที่ถืออยู่โคนไม้เป็นประจำเนี่ยก็อำนวยโอกาสให้ท่านเดินทางจาริกไปเรื่อย ๆ ทีนี้ในสมัยก่อนในเมืองไทยนี่พระบวชแล้วมักจะอยู่กันค่อนข้างนาน เมื่ออยู่กันค่อนข้างนาน พระเก่าก็เวลาพระใหม่บวชออกพรรษาแล้วไม่ต้องอยู่ประจำที่ ก็สมัยก่อนอย่างพุทธกาลนี่พอออกพรรษาก็จาริกต่อ พระเก่าก็จะชวนพระใหม่เอ้าออกไปรุกขมูลกัน สมัยก่อนเขาเรียกไป รุกขมูล นี่แหละ รุกขมูล ก็คือไปถือธุดงค์ข้อไปอยู่ตามโคนไม้ สมัยก่อนเขาเรียก รุกขมูล ไปรุกขมูลกันก็หากลดมา ก่อนจะออกพรรษาก็เตรียมกลด ออกพรรษารับกฐินแล้วทีนี้ก็ออกจาริกกันละ ทีนี้ก็ไปรุกขมูล ก็ไปกันเดินทางไปแล้วก็ค่ำไหนก็ไปกางกลดแล้วก็นอนพักจำวัดกันในกลดตามโคนไม้ นี่แหละไปรุกขมูล ไปรุกขมูลถือธุดงค์ข้อรุกขมูลคืออยู่โคนไม้ก็ทำให้ได้เดินทางไปเรื่อย ๆ ทีนี้รุกขมูลก็เป็นธุดงค์อย่างที่ว่าแล้วใช่ไหม ธุดงค์ข้อรุกขมูลแหละที่ทำให้เดินทางไปเรื่อย ๆ ก็เลยกลายเป็นเรียก ธุดงค์ ข้อรุกขมูลนี่เอง กลายเป็นว่าจำกัดความหมายของธุดงค์มาอยู่แค่ รุกขมูล นี่แหละ เลยแค่เดินทางจาริกไปตามโคนไม้ไปใช่ไหม ทั้งที่ธุดงค์มีตั้งหลายข้อ แต่สมัยก่อนเขาไม่ค่อยสับสน เขาเรียกรุกขมูลอย่างที่ว่า เดี๋ยวนี้มาเรียกเป็นธุดงค์ แล้วคนสมัยนี้ก็ไม่รู้จักคำว่ารุกขมูลแล้วใช่ไหม รุกขมูลก็แปลว่าโคนไม้ นี่คือความเป็นมาที่ทำให้ศัพท์มีความหมายเพี้ยน แล้วธุดงค์เดี๋ยวนี้ยิ่งเพี้ยนใหญ่ มีความหมายว่าเดินจาริกไป ที่นี้ไม่ได้อยู่โคนไม้แล้วนี่จะไปอยู่ข้างตึกก็มีใช่มั้ย เข้าเมืองเข้าอะไรไปวุ่นวายหมดแล้วธุดงค์เดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเจอพระธุดงค์ก็บอกท่านมาธุดงค์อะไรแถวนี้ โน่นโคนไม้โน่นไป มันกลายเป็นเข้าเมืองไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไรก็ไม่รู้ มันไม่ใช่เพื่อขัดเกลากิเลสแล้วใช่ไหม ก็ต้องจับหลักให้ได้
๑ ธุดงค์ในความหมายว่าเดินทางนี้หมายถึงรุกขมูล ๒ ต้องเป็นการปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสของตนใช่ไหม แล้วท่านไปปฏิบัติขัดเกลากิเลสของตัวเองอะไรบ้างไหมองค์นั้น ถ้าไม่ทำตามนี้ก็ไม่ใช่ธุดงค์ ไปเที่ยวปักกลดแล้วแจกอะไรต่ออะไรวุ่นวายหมด นี่ก็เป็นเรื่องของความเพี้ยน ทีนี้ถ้าพุทธศาสนิกชนเรารู้หลักอยู่ใช่ไหม ก็จะเป็นเครื่องช่วยในการรักษาพระศาสนาด้วย ถ้าไม่ไหวแล้ว
ถาม : อย่างอาราธนาศีล พระไม่ได้ให้ศีล พระให้สิกขาบท แล้วอาราธนาธรรม พระให้ธรรม ???
ตอบ : พระแสดงธรรม ตอนนี้ก็ขอยุติเท่านี้ก่อน