แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
[00:00:01] พระพุทธศาสนาก็คือธรรมวินัย
เรื่องหลักธรรมใหญ่ ๆ นี้ก็ยังพูดไปได้ไม่กี่เรื่อง เลยไปมีเรื่องหลักธรรมย่อย ๆ แทรกด้วยอิทธิบาทบ้าง พรหมวิหารบ้าง ทีนี้กลับมาเรื่องใหญ่บ้าง แล้วเรื่องใหญ่เองก็มาพูดไปนาน ๆ เข้าตอนนี้ชักจะไม่แน่ใจว่าพูดไปหรือยัง ก็พูดไปหลายเรื่องเหมือนกันนะ มีทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่จนกระทั่งบางเรื่องก็อาจจะพูดไปแล้ว แล้วมาเดี๋ยวกลายเป็นพูดซ้ำใหม่ คือพูดไปเรื่องตัวหลักการสำคัญก็เรื่องหนึ่ง เรื่องหนึ่งที่พูดไปแล้วก็เรื่องความหมายของธรรมะ ทีนี้ธรรมะนี้ก็เป็นหลักสำคัญพื้นฐาน แต่ก็ยังมีหลักที่ต้องเรียนรู้อีก ซึ่งใหญ่เหมือนกัน เอามาเติม เราจะได้ยินชื่อพระพุทธศาสนาเรื่องคำว่าธรรมวินัย ที่จะพูดวันนี้ก็ความจริงก็มีอยู่ในหนังสือนี้ด้วย คือพุทธศาสนานี่เราก็จำ เราก็เรียกชื่อกันว่าพุทธศาสนาแหละ แต่ความจริงคำว่าพุทธศาสนานี่ไม่ใช่ชื่อเดิม ไม่ได้ชื่อที่เรียกตัวพุทธศาสนาทั้งหมด เพราะคำว่าพุทธศาสนานี้ ในพระไตรปิฎกเองก็ใช้เป็นคำธรรมดา คือหมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะคำว่าพุทธะ พระพุทธเจ้า ศาสนาก็แปลว่าคำสอน พุทธศาสนาก็คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นคำค่อนข้างสามัญ นี้คำที่เรียกชื่อพระพุทธศาสนาจริง ๆ เนี่ย คือคำอะไร เดิมทีเดียวนี่ท่านใช้คำว่าธรรมวินัย เช่นว่า ภิกษุบวชแล้วในธรรมวินัยนี้ ทีนี้พระพุทธศาสนาก็คือธรรมวินัยนี้ บางครั้งก็อาจจะใช้คำอื่น เช่นว่า ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เนี่ยคือชื่อเดิม นี้คำว่าธรรมวินัยเนี่ย มีความหมายอย่างไร ธรรมะก็ได้พูดกันมาแล้ว นี้มีคำเพิ่มอีกอย่างหนึ่งก็คือวินัย แล้วทำไมจึงเรียกพระพุทธศาสนาว่าธรรมวินัย ไม่เรียกแค่ธรรมะ มีเติมคำว่าวินัยเข้าไปด้วย ก็เราก็เริ่มมาจากคำว่าธรรมะนั่นแหละ เพราะว่าได้เคยพูดไปแล้วว่าคำว่าธรรมะนี่ เป็นความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าพระองค์จะเกิดหรือไม่เกิด ธรรมะก็มีอยู่ตามธรรมดาของมัน อย่างพุทธพจน์ที่เคยยกมาอ้างว่า ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดก็ตาม ความจริงก็มีอยู่ของมันเป็นธรรมดาอย่างนั้นอย่างนั้น เช่นเรื่องไตรลักษณ์ ก็มีอยู่ในธรรมชาติไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า แต่ว่าพระพุทธเจ้ามาทรงค้นพบความจริงนี้แล้ว แล้วก็เอามาเปิดเผย เอามาแสดงชี้แจงทำให้เข้าใจง่าย คือพระพุทธเจ้านี่ก็มีความพิเศษอยู่ตรงที่ว่าไปค้นพบความจริงนั้น ค้นพบธรรมะนั่นเอง และนอกจากค้นพบแล้ว นอกจากรู้ด้วยตนเองแล้ว ก็เอามาสอนผู้อื่นให้คนอื่นพลอยรู้ตามด้วย ฐานะของพระศาสดาคือพระพุทธเจ้าก็อยู่ตรงเนี้ย ทีนี้พอเราได้ฟังพระพุทธเจ้าแล้ว ถ้าปัญญาเราพัฒนาพอ เราก็เข้าใจธรรมะคือตัวความจริงนั้นเหมือนกับพระองค์ พอเราเข้าใจเหมือนอย่างพระองค์แล้ว เราก็ได้เข้าถึงความจริง และก็ เราก็จะมีปัญญา เราก็จะมีความดีงามขึ้นมาเหมือนกับพระพุทธเจ้า แม้อาจจะไม่เท่าทีเดียว เพราะว่าพระพุทธเจ้านั้นได้พัฒนาพระองค์มาโดยบำเพ็ญบารมีอย่างมากมาย แต่ก็ลักษณะทั่วไปก็เหมือนกันก็คือว่า เรียกว่าพ้นจากกิเลสและความทุกข์ ทีนี้จุดสำคัญก็คือตัวธรรมะนี่แหละ แล้วทำไมธรรมะนี่มีคำว่าวินัยเพิ่มเข้ามา นี้เราลองมาดู ว่าอ๋อ ตกลงว่าพระพุทธเจ้านี้มาค้นพบธรรมะคือความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา แล้วก็มาเปิดเผยแสดงชี้แจงให้คนอื่นเข้าใจตามด้วย นี้พระพุทธเจ้ามาชี้แจงสั่งสอนคนอื่นให้เข้าใจ ก็ถ้าหากว่าสอนไปเรื่อย ๆ ไม่มีวิธีการนี่ ธรรมะที่พระองค์สอนนี่ จะได้ประโยชน์แก่คนเนี่ย คงไม่มากเท่าไหร่ เพราะว่าจะต้องไปพบทีละคนละคน พระองค์จะต้องเดินทางไป อย่างตอนแรก ๆ เนี่ยเราจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าต้องทรงเหน็ดเหนื่อยมาก เพราะว่าเป็นการเริ่มต้น ต้องเสด็จเดินทางไปโน่นไปนี่ ไปพิจารณาว่าจะไปสอนใครดี ใครจะมีพื้น มีความพร้อม แล้วก็เสด็จไปหาเขาไปสอนเขา บางทีก็พบโดยบังเอิญ เดินผ่านกันแล้วเขาก็สนใจก็มาไถ่ถาม ทีีนี้ใช้เวลานานกว่าจะได้มีพระศาสนาจะได้แผ่ไพศาลไป และถ้าพระพุทธเจ้าใช้วิธีนี้ตลอดนี่คงจะกินเวลามากมายเหลือเกิน นี้จะทำไงให้ธรรมะเนี่ยได้เกิดประโยชน์ เป็นผลแก่คนจำนวนมากมายได้ เพราะว่าพระพุทธเจ้าก็ต้องการให้คนจำนวนมากเนี่ย หรือมนุษย์ทั้งโลกเลยได้ประโยชน์จากธรรมะที่พระองค์ค้นพบ อันนี้ก็จะต้องมีวิธีการ วิธีการจะทำยังไงล่ะ
[00:06:46] การจัดตั้ง : วิธีการทำให้เกิดประโยชน์แก่คนจำนวนมาก
วิธีการที่จะทำให้ได้เกิดประโยชน์แก่คนจำนวนมาก ๆ นี่ก็คือต้องมีการจัดตั้ง จัดตั้งยังไงล่ะ ก็อย่างที่ว่าเมื่อกี้ ถ้าไปสอนทีละคนละคนก็ต้องเดินทางและก็ต้องเหน็ดเหนื่อยมาก ใช้เวลามาก ไปสอนเขาที่นี่เขาอาจจะสนใจ แล้วเสร็จแล้วพระองค์เสด็จผ่านไป เขาก็รู้อยู่แค่นั้น แล้วในเมื่อไม่ได้มีคำสอนเพิ่มเติม บางทีเขาก็ค่อย ๆ ลืมไป หรือเขาก็ถูกสิ่งอื่นมาชักจูงไป แล้วกลับเข้าไปอยู่ในสภาพเดิม อย่างที่เรียกว่าถูกกลืนไป แล้วก็ หนึ่งก็คือว่าได้ทีละคนละคนก็ช้า สอง แม้แต่คนที่ได้ที่สนใจไปแล้ว ก็อาจจะไม่ก้าวหน้าต่อจากนั้น หรือว่าอาจจะถอยหลังด้วยซ้ำไป ทำไงจะได้เกิดประโยชน์แก่คนจำนวนมาก แล้วคนที่ได้ประโยชน์แล้วก็สามารถพัฒนาได้ยิ่งขึ้น ก็ต้องมีวิธีปฏิบัติอย่างที่เรียกบอกเมื่อกี้ว่าใช้วิธีจัดตั้ง อย่างง่าย ๆ เริ่มต้นก็คือว่า อ้าว คนที่สนใจแล้วฟังพระองค์แล้วอยากจะรู้ยิ่งขึ้นไป ก็สามารถไปอยู่กับพระองค์ได้ ไปอยู่ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็จะได้สอนเพิ่มเติม สอนไปเขาก็ฟังเพิ่มเติม เรียนรู้ไปเรียนรู้ไป ก็มีความเข้าใจพัฒนามากขึ้นมากขึ้น ก็จัดเป็นวิธีของการฝึก ทำให้คนมีโอกาสฝึกตัวเองเรียนรู้เพิ่มขึ้นและวิธีหนึ่งก็ง่าย ๆ ก็คือไปอยู่กับพระองค์ คราวนี้ถ้าหากว่าคนมาอยู่มาก ๆ ขึ้น แล้วก็จำเป็นจะต้องมีระเบียบขึ้นมาแล้ว เพื่อจะให้อยู่ด้วยกันด้วยความเรียบร้อย แล้วถ้าจะให้ดีก็ให้การเป็นอยู่นั้น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มันเอื้อต่อการที่เขาจะได้ฝึกตัวเอง ได้เรียนรู้ ได้พัฒนาตัวเพิ่มขึ้นด้วย ฉะนั้นก็เลยต้องมีการจัดตั้งวางระบบแบบแผนขึ้นมา เพราะฉะนั้นในที่สุดก็ปรากฏว่าพุทธเจ้าก็ตั้งเป็นคณะสงฆ์ เป็นสงฆ์นั่นเอง เป็นสงฆ์ขึ้นมา สงฆ์ก็เป็นชุมชนนี่เอง ชุมชนนี้ คนที่มีความมุ่งหมายดีงาม รู้ ว่าตัวเองมีเป้าหมายอย่างไรในการมาอยู่เนี่ย ใจเขาพร้อมอยู่แล้วนี่ ก็จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ว่าถ้าหากว่าอยู่กันมาก ๆ ต่อมาก็มีคนที่มีพื้นน้อยบ้าง มากบ้าง อัธยาศัยใจคอต่าง ๆ กันก็จะต้องมีระเบียบความเป็นอยู่ ก็จัดตั้งวางระเบียบขึ้นมา ต่อมาพวกระเบียบกฎเกณฑ์กติกาอะไรต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นมา [00:09:59] เรื่องของการจัดเป็นชุมชนแล้วก็มีกฎเกณฑ์กติกา มีความเป็นอยู่ที่เอื้อหรือเหมาะแก่การมาศึกษา มาเรียนรู้ มาพัฒนาตัวเองทั้งหมดเนี่ย เราเรียกกันว่าวินัย วินัยก็คือการจัดตั้งวางระบบของชุมชนและสังคมแล้วก็ระเบียบแบบแผนในการดำเนินชีวิต ในการอยู่ร่วมกัน ก็พูดง่าย ๆ ว่า การจัดสภาพชีวิต ระบบการอยู่ร่วมกัน การดำเนินกิจการ และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เนี่ย ให้เอื้อต่อการปฏิบัติที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชุมชนนั้น คนที่มาอยู่กับพระพุทธเจ้าเป็นสงฆ์นี้มีวัตถุประสงค์อะไร อ้าว วัตถุประสงค์ก็เพื่อจะมาศึกษา มาเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเข้าจุดหมายตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ คือการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงวิมุติความหลุดพ้นเพื่อนิพพาน เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ อันนี้เมื่อมีจุดหมายอย่างนี้แล้วเนี่ย ระเบียบการดำเนินชีวิตเป็นอยู่ของแต่ละคนก็ตาม ระบบการอยู่ร่วมกันสัมพันธ์กัน ในระหว่างผู้อยู่ในชุมชนนั้นคือพระภิกษุทั้งหลายก็ตาม การจะดำเนินกิจการต่าง ๆ ทั้งหมด ของชุมชนนั้นก็ตาม สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ก็ตามเนี่ย จะมีจุดหมายอันเดียวกันคือเพื่อให้มันเป็นเครื่องช่วย ในการที่ทุกคนทุกท่านที่อยู่ในชุมชนเนี้ย จะได้ก้าวหน้าไปในการศึกษาในการเรียนรู้ปฏิบัติของตนสู่จุดมุ่งหมายอันนั้น นี่แหละ อย่างนี้ทั้งหมด อย่างที่บอกเมื่อกี้เรียกว่าวินัย คือ [00:11:56] การจัดตั้งวางระบบแบบแผนระเบียบกฎเกณฑ์กติกาของชุมชน นี้ถ้าจัดวางได้ดีนี่ คนที่มาอยู่ในชุมชนนี้จะได้ประโยชน์มาก ก็จะทำให้คนจำนวนมากนี่ได้ประโยชน์จากธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ฉะนั้น วินัยคือการจัดตั้งวางระบบแบบแผนระเบียบกติกาเหล่าเนี้ย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะมาช่วยให้ธรรมะนี้เกิดประโยชน์แก่หมู่มนุษย์จำนวนมาก มิฉะนั้นแล้วก็จะ ธรรมะก็จะเกิดประโยชน์แก่คนน้อยคน
เมื่อถือว่าเรื่องการจัดตั้งนี้ การจัดวางเป็นชุมชนนี่เป็นเรื่องสำคัญ ในที่สุดก็เลยเอาคำว่าวินัยนี้มาคู่กับคำว่าธรรมะเลย ก็เรียกพุทธศาสนาว่าธรรมะและวินัย นี้พอเป็นชุมชนที่คนมาอยู่รวมกันเพื่อการศึกษา ฝึกฝนพัฒนาตนเองเนี่ย ลองดูว่าจะมีประโยชน์เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง ก็คือว่า
หนึ่ง คนที่มีความสนใจบ้างแล้ว เช่นว่าพบกับพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่งเลื่อมใสอยากจะเรียนรู้เพิ่มขึ้น ก็จะได้มีโอกาสมาอยู่ใกล้พระพุทธเจ้า รวมทั้งท่านผู้ใหญ่อื่น ๆ ที่เป็นมหาสาวกที่เก่า ๆ ที่ท่านจะได้มาช่วยสอนแนะนำเพิ่มเติมหรือมาเป็นที่ปรึกษาไต่ถามคนนั้นก็จะก้าวหน้าเพิ่มขึ้น แล้วก็ ผู้ที่อยู่ร่วมกันนี้ มีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน ก็จะมาเป็นสภาพแวดล้อมแก่กันและกัน เกื้อหนุนกัน เรียกว่าเป็นกัลยาณมิตร ในการที่แต่ละคนจะก้าวหน้าไป ไม่พา ไม่ถูกล่อชักจูงไปในทางที่มันเขว อย่างถ้ามันไม่มาอยู่ในชุมชนนี้ ไปอยู่ข้างนอก สภาพแวดล้อมไม่เอื้อ อย่างเราเข้ามาทางธรรมะแล้วไปอยู่ในชุมชนขี้เมาอย่างเงี้ย ก็เป็นอันว่าไม่ได้เรื่องแล้ว สภาพแวดล้อมไม่อำนวย นอกจากว่าจะไม่ช่วยเอื้อต่อเราแล้ว ยังแถมจะพาชักลากเราออกไปข้างนอกด้วย นี่เพราะฉะนั้นก็ได้ประโยชน์มาก แล้วสภาพแวดล้อมอย่างอื่นก็ต้องจัดให้เหมาะ เช่นว่าอาจจะเป็นสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ มีความสงบอะไรเป็นต้น ทุกอย่างเนี่ยมันจะเอื้อไปหมด และนอกจากนั้นแล้ว ก็นอกจากในชุมชนนี้จะเอื้อต่อกันเอง แต่ละคนที่เป็นผู้ใหม่ก็สามารถแสวงหาความรู้ฝึกฝนตนเองได้มากขึ้น แล้วก็ได้ประโยชน์จากกันและกัน แล้วก็ได้ประโยชน์จากผู้เก่า ผู้เก่าก็ทำประโยชน์ได้มากขึ้นเพราะว่าสามารถสอนกับคนที่มีความมุ่งหมายที่สนใจอยู่แล้ว ไม่ใช่จะต้องไปเสียเวลาแรงงานมากเกินจำเป็น แล้วนอกจากนั้นก็คือ ที่นี่ก็กลายเป็นแหล่งที่ว่าคนก็รู้กันว่า อ้อ นี่นะ ชุมชนนี้ ที่นี่ หรือวัดนี่ เป็นแหล่งของธรรมะ ถ้าต้องการธรรมะ ต้องการฝึกฝนปฏิบัติ ต้องการปัญญาเพิ่มขึ้น ก็มาที่นี่เลย เป็นแหล่งที่จะสามารถมาปรึกษาไถ่ถามได้ แล้วจะได้บรรยากาศ ได้ความสงบ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมในทางจิตใจในการพัฒนาชีวิตของตัวเองด้วย แล้วก็ชุมชนนี่เอง เมื่อมีผู้ที่มีความรู้ มีการพัฒนาศึกษาดีแล้วอยู่ด้วยกันมาก ๆ นอกจากว่าจะทำประโยชน์แก่ผู้มาหาแล้ว ตัวเองก็สามารถออกไป ขยายออกไป กระจายกันออกไป ไปทำงาน ไปช่วยสั่งสอนผู้อื่นก็เป็นแหล่งเผยแพร่ธรรมะ เผยแพร่ระบบการฝึกฝนพัฒนามนุษย์ไปด้วย ก็ได้ประโยชน์หลายแง่หลายประการ ฉะนั้น วินัยคือการจัดตั้งนี่จึงเป็น มีความสำคัญอย่างยิ่ง นี้ผู้ที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องมีความสามารถพิเศษ ๒ ชั้น
[00:16:03] ความสามารถพิเศษ ๒ ชั้นของผู้จัดตั้ง
คือขั้นที่ ๑ ก็ต้องรู้ เข้าใจ เข้าถึงตัวธรรมะ ขั้นที่ ๑ นี่สำคัญที่สุดก็คือขั้นธรรมะเนี่ย พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ เข้าถึงความจริง เข้าถึงธรรมะนั้น อันนี้เป็นปัญญาขั้นที่ ๑ นี้ใครก็ตามที่สามารถเข้าถึงความจริงอันนี้ มีปัญญาตรัสรู้ได้ เราเรียกว่าพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว ไม่ว่าใครทั้งนั้น นี้ถ้าหากว่าเป็นผู้ตรัสรู้เอง ค้นพบเอง โดยไม่ได้รับฟังจากผู้อื่น ก็เป็นพระพุทธเจ้า แล้วยังมีฐานะพิเศษอีก ต่อไปก็ดูว่าถ้าออกไปสั่งสอนทำให้เกิดประโยชน์แก่คนอื่นรู้ตามได้ด้วย ึอย่างพระพุทธเจ้าของเราคือพระสมณโคดมหรือพระศากยมุนีนี้ นอกจากตรัสรู้ด้วยพระองค์เองแล้ว ยังไปสามารถไปสั่งสอนให้คนอื่นรู้ตามได้มาก ๆ จัดตั้งชุมชนสงฆ์ขึ้นมา จัดวางวินัยด้วย ถ้าอย่างเงี้ย ทำได้ ๒ ชั้นอย่างนี้ เราเรียกว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่ทีนี้ถ้าหากรู้เอง เข้าถึงความจริงตรัสรู้แล้ว แต่ว่าไม่ถนัดในการไปสั่งสอนผู้อื่น ไม่สามารถในการจัดตั้งวางระบบให้เป็นชุมชน เป็นสงฆ์ขึ้นมา ให้คนจำนวนมากได้ประโยชน์จากธรรมะ ธรรมะนั้นก็จำกัดอยู่เฉพาะตัวเอง ก็เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกันแต่จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่าเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แปลว่าพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เฉพาะตัวเองผู้เดียว ก็เลยเกิดมีพระพุทธเจ้า ๒ ประเภท คือ
ขั้นแรกมีความเหมือนกันที่ว่า ค้นพบธรรมะเข้าถึงตัวธรรมะ ตอนนี้เป็นพระพุทธเจ้า แต่ถ้าสามารถสั่งสอนผู้อื่น จัดวางระบบชุมชนสงฆ์ขึ้นมาให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์กันเป็นจำนวนมาก อันนี้ก็เรียกชื่อเติมเข้าข้างหน้าเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า
ส่วนท่านที่ค้นพบความจริงอย่างนั้น แต่ไม่สามารถ ไม่ถนัด ในการสั่งสอน ไม่ได้จัดวางระบบสงฆ์ขึ้นมา ไม่ได้มีความสามารถในทางที่เรียกว่าวินัย คือการจัดตั้งนั้น ก็เป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า อันนี้ส่วนท่านผู้อื่นที่ว่ามาฟังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ได้ฝึกฝนพัฒนาตามคำสอนคำแนะนำของพระพุทธเจ้านั้น ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ก็พลอยได้เข้าถึงธรรมะได้รู้ความจริงนั้นไปด้วย ก็เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน แต่เพราะไม่ได้ค้นพบด้วยตนเอง เป็นผู้ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้สดับ ได้เรียนตาม ก็จะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งเติมคำว่าอนุเข้าไปข้างหน้า ก็เป็นอนุพุทธะ หรืออนุพุทธเจ้า ก็เลยเกิดมีเป็นพระพุทธเจ้า ๓ ประเภท อย่างพระสารีบุตร พระโมคคัลลา พระอานนท์ พระมหากัสสปะ เป็นต้น ท่านเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นพระพุทธเจ้าประเภทที่ ๓ คืออนุพุทธเจ้าทั้งนั้น ตอนนี้เราก็ได้แล้วว่ามีพระพุทธเจ้า ๓ ประเภท แต่ทีนี้ที่จะเป็นพระพุทธศาสนาได้นี่ จะต้องเกิดขึ้นโดยพระพุทธเจ้าประเภทที่ ๑ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีความสามารถสองชั้น
ก็ย้ำอีกทีนึงว่า [00:20:00] พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีความสามารถพิเศษ ๒ ชั้น ชั้นที่ ๑ ก็คือว่า ตรัสรู้ มีปัญญา ค้นพบธรรมะความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดานั้น ด้วยพระองค์เอง ขั้นที่หนึ่งแหละ นี้ขั้นที่ ๒ ก็คือว่า นอกจากรู้ด้วยตนเองแล้ว ยังสามารถจัดตั้งวางระบบในสังคมมนุษย์ เพื่อให้คนจำนวนมากนี้ ได้ประโยชน์จากธรรมะตามพระองค์ด้วย อันนี้เรียกว่าวินัย ธรรมะที่มีอยู่ตามธรรมดาธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าไปค้นพบรวมกับวินัย ระบบในทางสังคม การจัดตั้งวางระเบียบกฎเกณฑ์กติกาขึ้นในชุมชนนี้ อันนี้เรียกว่าวินัย ๒ อย่าง ธรรมะกับวินัยนี้เป็นพระพุทธศาสนา อันนี้ก็มีความสัมพันธ์ระหว่างธรรมะกับวินัย อันที่หนึ่งก็คือว่า เพราะมีธรรมะ วินัยจึงเกิดมีขึ้นมาเพื่อให้คนได้ประโยชน์จากธรรมะ [00:21:18] เพราะมีธรรมะ วินัยจึงเกิดมีขึ้นมาเพื่อให้คนได้ประโยชน์จากธรรมะ]
[00:21:24] การจัดตั้งวินัยต้องมีธรรมะเป็นฐาน
นี้ถ้าจัดตั้งวินัยขึ้นมาเฉย ๆ โดยไม่ได้มีธรรมะเป็นฐานก็ลอยเลย ใช่มั้ย ลอยก็ทำไปทำไม อาจจะจัดตั้งเพื่อผลประโยชน์อื่นไป ใช่มั้ย เช่นว่า จัดตั้งเพื่อไปรบราฆ่าฟันกันเป็นต้น เขาก็จัดตั้งเหมือนกันใช่มั้ย คนโกรธแค้นกันระหว่างเผ่าระหว่างพวก ก็จัดตั้งกันขึ้นมา เป็นกองทัพ แล้วก็ยกไปตีกัน ฆ่ากัน อย่างงี้ก็ถือเป็นการจัดตั้งเหมือนกัน แต่ว่าอันนี้ขาดธรรมะเป็นฐานก็ไม่มีความหมาย ก็เสียเลยใช่มั้ย ทำให้เกิดผลร้าย การเบียดเบียนกัน ดังนั้น ต้องมีธรรมะเป็นฐานก่อน ฉะนั้น ธรรมะนี่แหละเป็นตัวหลักยืน เป็นแกนกลาง แล้วเรามีวินัยคือการจัดตั้งวางระบบขึ้นมาก็เพื่อให้คนได้ประโยชน์จากธรรมะ ดังนั้นธรรมะจึงเป็นจุดหมายของวินัย วินัยเพื่อให้คนเนี่ย เพื่อช่วยคน เพื่อสร้างสภาพเอื้อให้คนเนี่ย จำนวนมาก ๆ ได้เข้าถึงธรรมะ แล้วก็จัดวางดี ๆ ยิ่งดีก็ยิ่งช่วยให้เข้าถึงธรรมะได้ง่ายขึ้น ใช่มั้ย แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า อ้าว ถ้าจะจัดตั้งระบบที่เรียกว่าวินัยให้ได้ผลดีนี่ ก็ต้องรู้ธรรมะด้วย รู้เข้าใจความจริง ถ้าไม่รู้เข้าใจตัวธรรมะความจริงนั้นอย่างถ่องแท้ การจัดระบบที่เรียกว่าวินัยก็จะไม่เกิดผลสำเร็จ อ้าว ก็ถ้าเราไม่รู้ว่าสิ่งที่เราต้องการคืออะไรแน่ ตัวธรรมะนั้นคืออะไร แล้วจะให้คนนี่เข้าถึงสิ่งเนี้ย [00:23:23] จุดหมายของธรรมะ เมื่อฝึกตนพัฒนาชีวิตตามธรรมะแล้ว จะได้มีจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสพ้นจากความทุกข์อะไรต่าง ๆ เหล่าเนี้ย ซึ่งเป็นจุดหมาย ชีวิตมีอิสรภาพ ต้องรู้ว่าธรรมะนี่จะให้เกิดผลอะไร ธรรมะเป็นอย่างไร จึงจะวางวินัย จัดวางระบบชุมชนสังคมให้สอดคล้องกันได้ ถ้าไม่รู้ธรรมะนี้ก็ การจัดตั้งนั้นก็เลื่อนลอย ไม่ได้ผล ฉะนั้น ก็เลยกลายเป็นว่่าธรรมะนี้เป็นทั้งจุดหมายแล้วก็เป็นฐานของวินัย ต้องรู้ เข้าใจ ธรรมะถ่องแท้จึงจะวางวินัยได้ผลดี แล้วที่วางวินัยเพื่ออะไร ก็เพื่อให้คนไปเข้าถึงธรรมะ ก็ยุติได้ว่า ธรรมะนั้นเป็นทั้งฐานและเป็นทั้งจุดหมายของวินัย หรือเป็นทั้งเบื้องต้น เป็นทั้งราก แล้วก็เป็นทั้งยอดของวินัย [00:24:09] ธรรมะนั้นเป็นทั้งฐานและเป็นทั้งจุดหมายของวินัย หรือเป็นทั้งเบื้องต้น เป็นทั้งราก แล้วก็เป็นทั้งยอดของวินัย]
[00:24:21] การจัดตั้งวางระบบในสังคมมนุษย์
ทีนี้ เรามาพูดถึงเรื่องของสังคมมนุษย์ พูดกว้างออกมานี่เราพูดเริ่มจากพระพุทธศาสนา เนี่ยเป็นอันว่าพระพุทธศาสนาก็มี 2 ส่วนนี้แหละ ความสามารถพิเศษของพระพุทธเจ้าก็อยู่ที่ ท่านเข้าถึงธรรมะและสามารถจัดตั้งวินัย ระบบสังคม
ทีนี้สังคมมนุษย์ในวงกว้างก็เช่นเดียวกันอะ ก็คือว่ามนุษย์นี่ต้องการ การอยู่อย่างมีสันติสุข ต้องการสังคมที่ดีงาม ต้องการให้มนุษย์ที่อยู่ในสังคมนี้ มีชีวิตที่ดีงามมีความร่มเย็นเป็นสุข แสดงว่าก็คือต้องการธรรมะใช่มั้ย คราวนี้เพื่อจะให้คนเนี่ยได้ประโยชน์ ได้ ได้สิ่งที่เรียกง่าย ๆ ว่าธรรมะเนี่ย คือว่าชีวิตที่ดีงาม มีความร่มเย็นเป็นสุข และไม่เบียดเบียนกัน นั่นคือเรียกว่าธรรมะ พูดง่าย ๆ เพื่อจะให้คนได้ประโยชน์จากธรรมะเนี่ย สังคมมนุษย์ตลอดประวัติศาสตร์ก็พยายามกันมาที่จะจัดตั้งวางระบบสังคมชุมชนของตนใช่มั้ย จนกระทั้งเกิดเป็นอารยธรรมสังคมที่พัฒนาก็ยิ่งมีระบบแบบแผนมากขึ้น จนกระทั่งว่า ซอยละเอียดลงไป ระบบการเป็นอยู่ทั้งหมดเนี่ยถ้าเรายังไม่ซอยเนี่ยมันจะมีอะไร ก็เช่นว่า เอ้อ เรื่องการเป็นอยู่ เรื่องอาหาร ปัจจัย 4 ใช่มั้ย ก็ต้องจัดวางระเบียบว่า เออ เราจะแบ่งกันยังไง ต้องมีระบบกรรมสิทธิ์แหละ อ้าว ใครจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้เท่าไร จะมีปัจจัย 4 กินได้ยังไง ใช่มั้ย ทำไงคนที่อยู่ด้วยกันจะไม่เบียดเบียนกัน ไม่ใช่ว่าคนไหนมีกำลังมีอำนาจ ก็เอาเปรียบคนอื่น จนกระทั่งคนอ่อนแอก็ไม่มีอะไรจะกิน อะไรเงี้ย สังคมก็จะต้องมาจัดวางระบบ การเป็นอยู่ การจัดสรร การแบ่งปันอะไร พวกปัจจัย 4 เป็นต้น แล้วก็ระบบการทำมาหาเลี้ยงชีพ จะหากินอย่างไร แล้วต่อมาก็ถ้าคนทำผิดจะลงโทษยังไง ใช่มั้ย จะมีวิธีจัดการยังไง เพื่อจะปราบปรามป้องกันความชั่ว การทำผิด ทำไงจะส่งเสริมความดี แล้วต่อไปทำไงคนจะรู้ผิดรู้ถูก เออ แล้วก็รู้จักวิธีทำมาหากิน ก็ต้องมีการศึกษา มีระบบอะไรต่าง ๆ ขึ้นมาเรื่อย จัดตั้งโรงเรียน ที่เรียน มีการสอน แล้วก็ แต่ทั้งหมดนี้ก็คือว่า เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วก็จะต้องมีการปกครอง จึงจะอยู่กันได้ดี ในสังคมที่เป็นพื้น ๆ ง่าย ๆ เนี่ย แม้แต่เล็กน้อยก็จะมีสิ่งเหล่านี้ แต่ว่ามันจะไม่มีการแยกชัด
พอเป็นสังคมใหญ่ ๆ ขึ้นนี่ แยกออกมาเป็นระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครอง ระบบทางด้านสังคมต่าง ๆ แม้แต่เรื่องอย่างที่ว่า การลงโทษผู้กระทำความผิด เป็นต้น หรือการจัดระบบการเล่าเรียนศึกษาอะไรต่าง ๆ เหล่านี้นะ แยกไปเป็นด้าน ๆ ไปหมดเลย อันนี้พอแยกเป็นระบบต่าง ๆ เนี่ย ต่อมามันก็มีความซับซ้อนมากขึ้น นี้แต่ว่าทั้งหมดเนี่ยจะเป็นระบบที่ยังไม่ได้แยกย่อยก็ตาม หรือเป็นระบบใหญ่ที่แยกออกไป ซอยเป็นระบบย่อยต่าง ๆ ก็ตาม ที่จริงมันก็อันเดียวกัน ก็คือมุ่งหมายเพื่อทำไงจะจัดให้มัน คนเนี่ยมันได้ประโยชน์จากธรรมะ ใช่มั้ยฮะ คือจะทำให้เขามีชีวิตดีงาม มีความสุข อยู่ร่วมกันด้วยดี ไม่เบียดเบียนกัน อะไรเงี้ยนะ ร่วมมือกัน เพื่อจะสร้างสรรค์สังคม ก็มุ่งหมายอยู่อย่างเงี้ย มันก็อันเดียวกันนั่นแหละ ทีนี้ถ้าคนเข้าถึงความจริงคือตัวธรรมะนี้ รู้ว่า อ้อ ชีวิตของเรานี่คืออะไร อะไรเป็นความดีงามของชีวิต ชีวิตที่ดี มีความสมบูรณ์เป็นยังไง ถ้าอันนี้มันมีความชัดเจนเนี่ย การจัดตั้งวางระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบแบบว่า กว้าง ๆ คลุม ๆ หรือจะแยกเป็นระบบย่อยแบบว่าเป็นด้าน ๆ ระบบเศรษฐกิจการเมืองการปกครอง ระบบการศึกษาอะไรต่ออะไรเนี่ย ไม่ว่าจะเป็นยังไงก็ตามเนี่ย ถ้ามันมีความเข้าใจในตัวความจริงนั้น คือตัวธรรมะชัดเจนเนี่ย การจัดวางระบบก็มีทางที่จะได้ผล จะถูกต้องขึ้นใช่มั้ย แต่ก็ต้องขึ้นกับความสามารถของคนจัดด้วย ก็อย่างที่ว่าก็ต้องมีความสามารถ 2 ชั้น หนึ่ง ต้องเข้าถึงตัวความจริงที่เรียกว่าธรรมะ สอง แล้วก็มีความสามารถในการจัดตั้ง เนี่ย ทำไงจะให้คนได้มีความสามารถครบทั้งนี้
นี้มนุษย์ ก็พยายามวางระบบกันมาตลอดประวัติศาสตร์เพื่อจะให้ได้ผลดีที่สุด แล้วก็ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ปรากฏว่าบรรลุผลสำเร็จ บางทีวางไปแล้ว วางไปแล้วนี่ บางทีไประยะยาวกลายเป็นพิษเป็นภัยใช่มั้ย เช่นระบบการอยู่ร่วมกันอย่างระบบเศรษฐกิจ ก็มีเป็นระบบแบบคอมมิวนิสต์ ระบบทุนนิยม ทุนนิยมก็มีหลายระบบ ระบบบางระบบนี้เน้นปัจเจกนิยมจัด แล้วก็มีระบบการแข่งขัน อย่างของอเมริกันนี้ถือว่า ถ้าเป็นระบบแข่งขัน แล้วเอาแต่ตัว ทุกคนนี่ทำเพื่อตัวเองหาผลประโยชน์ให้มาก ก็จะขยันขันแข็งสร้างสรรค์กันใหญ่ แล้วเสร็จแล้วสังคมส่วนรวมก็จะเจริญพัฒนาไปเอง เขาว่าอย่างงั้นนะ อย่างนี้เป็นต้น บางระบบบอกไม่ได้อย่างนี้ มันเอาเปรียบกัน ต้องเป็นระบบที่มาจัดสรร ไอ้พวกปัจจัยพื้นฐานในการครองชีพ เรื่องทุนนี้ต้องเป็นของส่วนรวม แล้วก็ให้คนนี้มีความเป็นอยู่ใกล้เคียงกัน รัฐก็เข้ามาแทรกแซงอะไรต่าง ๆ เหล่านี้นะ นี้ก็คือการคิดของมนุษย์ว่า ทำไงมันจึงจะได้เข้าถึงไอ้ตัวชีวิตที่ดีงาม มีความสุขจริง ก็คือเข้าถึงตัวธรรมนั่นเอง นี้ว่า คนที่จะจัดวางนี้ จะให้เขาเข้าถึงอะไร มันก็ต้องรู้อันนั้นจริง ๆ ใช่ไหม ทีนี้ปัญหาก็คือว่า มนุษย์เนี่ยรู้ไอ้ความจริงอันนี้ไหม มนุษย์ก็พยายาม การพยายามที่จะเข้าถึงไอ้ตัวธรรมคือความจริงนี้ เขาก็คิดในทางเหตุผลกัน ก็ออกมาในรูปที่เรียกว่าทฤษฎีต่าง ๆ ใช่มั้ย ทฤษฎีต่าง ๆ ก็คือการพยายามเข้าถึงตัวธรรมะนี่เอง แต่ว่า มันไม่รู้ว่าเข้าถึงจริงไม่จริง มันก็ออกได้ในรูปของทฤษฎีก่อน นายคนนี้ก็มีปัญญาก็ โอว พยายามเข้าถึงไอ้ความจริงแท้ มันเป็นอย่างงี้ ๆ นะ ฉันคิดได้แค่นี้ ก็วางเป็นระบบความคิดของตัวเอง แนวความคิดของตัวเองก็ได้เป็นทฤษฎีหนึ่ง อย่างคาร์ล มาคส์ แกก็ได้แนวคิดทฤษฎีหนึ่งใช่มั้ย อย่างคนอื่นก็ได้แนวทฤษฎีหนึ่ง ทฤษฎีหนึ่งขึ้นมา แล้วก็บนฐานของทฤษฎีนั้น ก็มาตั้งระบบขึ้นมาเป็นรูปธรรม งั้นตัวทฤษฎีก็คือการพยายามเข้าถึงตัวธรรมะ แล้วก็จัดระบบขึ้นมาบนฐานของทฤษฎีนั้น หลักการเดียวกันคือหลักธรรมะวินัย ใช่มั้ย ธรรมะก็คือได้แค่ขั้นทฤษฎี วินัยก็คือระบบต่าง ๆ ซึ่งแยกเป็นระบบเศรษฐกิจการเมืองการปกครอง เป็นต้น และแถมระบบการเมืองการปกครอง เพราะว่าทฤษฎีมันเกิดต่างกัน มันมองเห็นความจริงไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน มันก็เลยพลอยต่างกันไปหมดเลย
[00:31:52] ปัญหาการไม่เข้าถึงธรรมะคือความจริงของทฤษฎี
นี้ปัญหาก็มีขั้นที่หนึ่ง คือว่า ตอนนี้เราจะหาทฤษฎีอะไร ที่เข้าถึงไอ้ตัวธรรมะคือความจริงเนี้ย เนี่ย ถ้าตราบใดที่ทฤษฎีนั้นยังไม่เข้าถึงตัวธรรมะตัวความจริง สร้างวัตถุมาเสพให้เยอะ ๆ ใช่มั้ย ทีนี้ถ้าไอ้แนวคิดนี่มันผิดล่ะ ก็หมดเลยใช่มั้ย ระยะยาวก็พังนะฮะ นี่อย่างตอนเนี้ย เราก็มามองว่าไอ้ทฤษฎีทุนนิยม โดยเฉพาะระบบแข่งขันนี่ กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก แล้วถ้าทฤษฎีนี้ผิด จบใช่มั้ย แล้วมันผิดหรือถูกอะตอนนี้ ก็ มนุษย์ความสมบูรณ์ของชีวิต อยู่ที่มีวัตถุเสพสมบูรณ์ใช่มั้ย ถ้าเราบอกว่า อ้าว มองตามแง่พระพุทธศาสนาไมใช่แน่ ใช่มั้ย แสดงว่าทฤษฎีนี้ไม่ได้เข้าถึงตัวความจริงที่เรียกว่าธรรมะ เมื่อฐานแกไม่ถูกแล้ว แกจัดวางระบบแกก็ต้องผิด แล้วไม่สามารถนำมนุษย์ไปถึงธรรมที่จริง ๆ เพราะธรรมะมันเป็นจุดหมายของวินัยคือระบบ อันนี้หนึ่งแล้วนะ ทฤษฎีต่าง ๆ นี่ เข้าถึงตัวธรรมะหรือเปล่า ความจริง
สอง ก็คือว่าเวลานี้ทฤษฎีต่าง ๆ เนี่ย แยกกระจัดกระจายหมด ทั้ง ๆ ที่ไอ้ตัวความจริงนั้นของชีวิต การอยู่ของมนุษย์นั้นมันธรรมชาติอันเดียว ธรรมะมันอันเดียวใช่มั้ย ทีนี้มนุษย์เก่งขึ้น พัฒนาอริยธรรมวัฒนธรรมขึ้น แยกทฤษฎีเป็นด้าน ๆ ระบบการจัดสรรสังคมเป็นด้าน ๆ แยกการปกครองการเมืองไปด้านหนึ่ง แยกเด่นเศรษฐกิจไปอีกด้านหนึ่ง แยกการศึกษาไปอีกด้านหนึ่ง แต่ที่จริงนะ ไอ้ความจริงของธรรมชาติตัวธรรมะมันอันเดียวกันหนิ ใช่มั้ย ความจริงพื้นฐานของชีวิต มันเพื่อชีวิตอันหนึ่งอันเดียวกัน ระบบความเป็นอยู่ของมนุษย์อันเดียวกัน แล้วไปแยกเป็นระบบเศรษฐกิจการเมืองการปกครอง ทีนี้เกิดมนุษย์ไม่รู้ตัวว่า ไอ้ที่จริงนั้นพื้นฐานมันต้องอันเดียวกันแหละ เพราะชีวิตมนุษย์ก็ชีวิตอันเดียว ธรรมชาติทั้งหมดก็อันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดไม่ระลึกไม่ตระหนักถึงอันนี้ แกก็แยกกันไปเลย นี่คือมนุษย์เพลิน หลง ตอนแรกก็พยายามจะจัดให้มันดีใช่มั้ย ออกไปออกไปก็เก่งเข้าเก่งเข้าก็แยกส่วนออกไปสิ เป็นด้าน ๆ ไปเลย ก็เกิดเป็นลัทธิชำนาญพิเศษ Specialization เกิดเป็นระบบของแนวความคิดแบบแยกส่วน ระบบเศรษฐกิจก็ไปเรื่องหนึ่ง ระบบการเมืองการปกครองก็ไปเรื่อง ระบบการศึกษาก็ไปเรื่องหนึ่ง ระบบการ รวบว่า การดำรงรักษาในเรื่องของจริยธรรมก็ไปเรื่องนึง อะไรเงี้ย แยกไปแยกกันไป
ทีนี้ เพราะไม่ตระหนักความจริง ว่าที่จริงไอ้ตัวธรรมะมันอันเดียวกัน แกก็โยงไม่ได้สิ ทีนี้ไอ้ระบบเหล่านี้มันก็ตีกันสิ ใช่มั้ย ระบบเศรษฐกิจกับระบบการเมืองนี่มันสอดคล้องกันหรือเปล่า อย่างเดี๋ยวนี้ก็เป็นปัญหาอะไรใช่ไหม ฉะนั้น [00:34:58] ถ้ามันเป็นของแท้เนี่ยมันต้องโยงกันได้ แล้วมันต้องสัมพันธ์เป็นอันเดียวกันใช่มั้ย มันต้องกลมกลืนกัน อย่างทฤษฎีเศรษฐกิจกับทฤษฎีการปกครองการเมืองเนี่ย ตอนนี้ก็ยุ่งแหละใช่มะ อ้ะ ในด้านการเมืองการปกครองอาจจะใช้ระบบประชาธิปไตย แต่ด้านเศรษฐกิจใช้ระบบอะไร บางประเทศบอก อ้อไม่ได้ ฉันต้องใช้ระบบสังคมนิยมหนะ ต้องใช้ระบบเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ระบบที่รัฐเป็นเจ้าของทุนทั้งหมดอะไรทำนองนี้ เป็นต้น ไอ้ระบบเศรษฐกิจอย่างของพวกประเทศทุนนิยมก็ไปใช้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแข่งขันเรื่องเสรีอะไรพวกนี้นะ ก็ใช้คนละแบบ ตกลงว่ามันไม่มาประสานกัน เพราะถ้าไม่ประสานกันนี่ มันก็ต้องเกิดความขัดแย้ง มันก็จะต้องมีปัญหา ก็อย่างน้อยก็คือความไม่ได้สมบูรณ์ ไม่ได้ผลสมบูรณ์นั่นเอง
[00:36:05] ความจริงตามธรรมชาติเชื่อมโยงกันได้หมด
[00:36:05] ตอนนี้มนุษย์เมื่อพัฒนาอริยธรรมมากขึ้น ๆ ก็เลยกลายเป็นว่า ไอ้ปัญญาที่มันตระหนักในความเป็นจริงอย่างน้อยขั้นพื้นฐานว่า ตัวความจริงแท้ ๆ เนี่ยต้องเป็นอันหนึ่งเดียวกัน อันนี้มันก็ไม่ตระหนัก มันก็เลยแยกเป็นระบบอย่างที่ว่า เป็นระบบเศรษฐกิจก็ไปเรื่อง ระบบการเมืองก็ไปเรื่อง ระบบการศึกษาก็ไปเรื่อง และไม่สามารถมาเชื่อมโยงกันได้ ประโยชน์ที่จะเกิดกับชีวิตมนุษย์มันก็ไม่จริง กลายเป็นว่ายิ่งมีอารยธรรมเจริญขึ้นมา ก็เลยยิ่งยุ่งกันใหญ่ ใช่มะ เพราะมันขาดไอ้ตัวความเข้าใจพื้นฐาน ไม่เฉพาะว่าแยกกันเป็นระบบเศรษฐกิจการเมืองการปกครอง ระบบทางสังคม ระบบการวินิจฉัยคดี ระบบการศึกษาอะไร เป็นต้น ไม่เฉพาะแยกงั้น แม้แต่ในระบบอย่างเดียวกันก็ตั้งอยู่บนฐานทฤษฎีคนละอย่าง หลายอย่างมีหลายทฤษฎีด้วยใช่มั้ย อย่างการจัดระบบการศึกษาก็มีหลายทฤษฎี ทฤษฎีคนโน้น ทฤษฎีคนนี้ ทฤษฎีคนนั้น ก็นิยมกันไป มนุษย์ก็วกวน วนเวียน อยู่ในการควานหาสิ่งเหล่านี้ใช่มั้ย
เดี๋ยวไทยเราก็ไปเอาทฤษฎีการศึกษาแบบของอเมริกัน อเมริกันก็มีหลายทฤษฎี ยุคนี้ก็ใช้ทฤษฎีนี้ ต่อมาอีกคนนึงบอกไม่ได้ ใช้ทฤษฎีนั้นผิด ต้องทฤษฎีนี้ ไอ้ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีก็คือการพยายามเข้าถึงธรรมตัวความจริง แล้วเสร็จแล้วก็ มนุษย์ที่ใช้ทฤษฎีเหล่านั้น ตัวเองก็ไม่รู้ ไอ้ตัวผู้ตั้งทฤษฎีเองก็ไม่แน่ว่าเข้าถึงหรือเปล่า ก็พยายามควานกันอย่างเนี่ย เพราะฉะนั้นมนุษย์มันจึงอยู่ในสภาพของการแสวงหาตลอดเวลา มันก็ไม่ได้ตัวความจริงที่สมบูรณ์ แต่โดยหลักการก็เป็นอันว่า หนึ่ง ต้องมีความเข้าใจในตัวธรรมะ ตัวความจริงนี่เป็นฐาน สอง ตัวธรรมะนั้นเป็นความจริงตามธรรมชาติ ต้องเป็นระบบความสัมพันธ์อันหนึ่งอันเดียวกันทั้งหมดเชื่อมโยงกันได้หมด ถ้ามนุษย์ยังไม่สามารถเข้าถึงจุดนี้ก็เป็นอันว่า สังคมมนุษย์ ชีวิตมนุษย์จะเข้าถึงความดีงามที่แท้ได้ยาก หนึ่ง เข้าถึงธรรมตัวความจริงมั้ย สอง ประสานระบบต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันบนฐานความจริงนั้นได้หรือเปล่า อันนั้นแหละ นี่คือเรื่องธรรมะกับวินัยใช่มะ พุทธศาสนาก็สรุปลงก็มีเท่านี้ มีธรรมะกับมีวินัย แล้วถือว่าสำคัญทั้ง ๒ อย่าง
อันนี้ คนปัจจุบันนี้มองพุทธศาสนามักจะมองไปด้านเดียว ก็คือมองด้านธรรมะ ถ้ามองด้านธรรมะเนี่ยมันเป็นด้านของความจริงตามธรรมชาติ เราจะไปเน้นที่ตัวบุคคล คือชีวิต บุคคลนี่เป็นคำลวงตานะ เอ้ย ลวงสมอง เพราะว่า บุคคลนี่คือความหมายของคนในแง่ที่เป็นสมาชิกของสังคม เป็นตัวตนอันหนึ่ง ๆ อยู่ในสังคมใช่มั้ย เราเรียกว่าเป็นสมาชิกของสังคม แต่ในบุคคลนั้นน่ะ ตัวเนื้อหาที่แท้ของเขาก็ชีวิตของเขา บุคคลนั้นมีเนื้อหาแท้ ๆ ก็คือชีวิต และชีวิตของเขาเนี่ยเป็นธรรมชาติและอยู่ในธรรมชาติ ถ้าเราพูดว่าบุคคลนี่ทำให้เราแยกคนออกจากธรรมชาติทันที จึงได้พูดบ่อย ๆ ว่า คนนี่นะมีสองด้านนะ คน ด้านหนึ่งของเขาคือชีวิต และชีวิตนี้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเป็นไปตามธรรมชาติ อีกด้านหนึ่ง คนนั้นเป็นบุคคล เป็นสมาชิกของสังคม เวลาเราพูดว่าบุคคลเนี่ย เราจะเน้นไปในแง่ความหมายที่เกี่ยวกับสังคม อ้อ คนนี้อยู่ในสังคม แต่ละบุคคลก็มีส่วนร่วมในสังคมนั้น อาจจะมีส่วนร่วมในแง่ลบ ก็คือว่ามีส่วนร่วมที่จะได้ผลประโยชน์แล้วก็มาแย่งกัน ใช่มั้ย หรือมีส่วนร่วมในทางบวกก็หมายความว่า จะได้ไปร่วมกันในการที่จะสร้างสรรค์ให้สังคมนั้นดีงาม มีความสุขความเจริญ อันนี้ นี่เป็นด้านบุคคล แต่ว่าพื้นฐานของเขาในตัวเขานั้นก็คือชีวิต ชีวิตของเขานั้นเกิดจากธรรมชาติ มีร่างกายมีจิตใจ ร่างกายของเขาก็เกิดจากธาตุต่าง ๆ มาประชุมกันเข้าเป็นไปตามกฎธรรมชาติ เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา นี้ด้านนี้ชีวิตเนี่ยน่ะ นี้เวลาเราพูดถึงบุคคลเนี่ย เราจะลืมมองด้านชีวิตไป ทั้ง ๆ ที่ด้านชีวิตนี้สำคัญมาก แล้วถ้าการสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่คนเนี่ย ไม่เข้าถึงตัวชีวิตเนี่ย มนุษย์จะพลาด เพราะมันไม่ถึงตัวธรรมะไม่ถึงธรรมชาติ เราจะไปมองว่าสนองความต้องการของบุคคล นี่คือการมองคนในแง่เขาอยู่ร่วมสังคม และชีวิตของมนุษย์นั้นเป็นธรรมชาติไม่มีใครปฏิเสธได้ นี้ถ้าเราไปให้ประโยชน์แก่บุคคล ไอ้ประโยชน์นั้นบางทีไปขัดกับประโยชน์ที่แท้จริงของชีวิตใช่มะ เสียหายแน่ บางทีประโยชน์ที่เกิดแก่บุคคลนั้นไปทำลายประโยชน์แก่ชีวิต ไปทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตของเขาใช่มะ ก็ไม่ได้ประโยชน์
[00:41:16] มองคนคือบุคคล ไม่ได้มองคนในฐานะชีวิต
ฉะนั้น อย่างปัจจุบันนี่ มนุษย์มาแยกศาสาตร์ต่าง ๆ เป็นด้าน ๆ เป็นมนุษยศาสตร์ เป็นสังคมศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์ พอพวกสังคมศาสตร์ แกก็มองในแง่คนกับสังคม ไอ้คนที่แกมองคือบุคคล แกไม่ได้มองคนในฐานะชีวิตใช่มั้ย แกพูดว่าคนนี่แกยังไม่ชัด ความจริงแกคนแกมองคนในแง่บุคคลเท่านั้น ในแง่บุคคลในสังคม เช่นเศรษฐศาสตร์ก็เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ แกก็มองในแง่ว่า เอ้า เอ้อ เศรษฐศาสตร์ก็เป็นเรื่องทางด้านเศรษฐกิจเรื่องของปัจจัย 4 เรื่องของวัตถุเสพบริโภคที่สนองความต้องการของบุคคล พอแกบอกว่าให้สนองความต้องการของบุคคลได้แล้วก็พอแล้ว จุดหมายของเศรษฐศาสตร์จะเป็นอย่างนั้นใช่มั้ย สนองความต้องการของบุคคล และทีนี้บุคคลมันต้องการแบบไหนล่ะ ใช่มั้ย มันต้องการอร่อย กินอาหารให้มาก อ้าว เมื่อสนองความต้องการของมันก็ไปสิ ให้มันกินให้อร่อยให้มันมากที่สุดใช่มะ อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุดแหละ เราจะมีเศรษฐศาสตร์ที่พัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญจะได้สนองความต้องการของบุคคลได้เต็มที่ อยากได้กินอะไรยิ่งระบบทุนนิยมใช่มะ สนองความต้องการของแต่ละบุคคลเป็นปัจเจกชน มีอยากกินเท่าไรกินเท่านั้น คราวนี้นอกจากสนองความต้องการนี้ไม่มีที่สิ้นสุดแล้ว จะสัมฤทธิ์ผลบรรลุจุดหมายได้ยาก อีกด้านหนึ่งก็คือว่าตัวเขาเองนั่นแหละ เป็นภัยอันตราย สนองความต้องการไม่มีขอบเขต แต่ทีนี้ถ้าเรามองไอ้เจ้าคนนี้ไปถึงชีวิตของเขาใช่มะ เราก็จะเห็นเลยว่า เอ้อ ไอ้ที่เศรษฐศาสตร์ไปสนองความต้องการของคนนั้นน่ะ มันควรจะสนองจุดไหน สนองในแง่บุคคลคนที่อยากจะกินอร่อยแค่ไหน แล้วสนองความต้องการของชีวิตที่แท้ก็คือว่า ไอ้เจ้าชีวิตที่มันต้องการสุขภาพดีแข็งแรงถูกมั้ย เมื่อมันต้องการสุขภาพดีแข็งแรงนี่ เศรษฐศาสตร์ควรจะสนองความต้องการของชีวิตที่จริงกับของบุคคลที่ต้องการอร่อยน่ะแค่ไหน ใช่มะ และความต้องการอันไหนเป็นตัวแท้ ที่เป็นประโยชน์แท้จริงนี่ที่เข้าถึงตัวธรรมะ ใช่มั้ย ก็อาจจะเศรษฐศาสตร์ก็จะพัฒนาได้แง่ว่า โอ้ว ไม่ได้หรอก เราต้องพยายามเข้าถึงไอ้ตัวการสนองความต้องการที่แท้จริงของชีวิต ให้คนเนี่ยได้อยู่ดีกินดี คือการที่เขามีชีวิตที่ดีมีสุขภาพดี ถ้าเป็นเรื่องของการสนองความต้องการวัตถุนี้ คือชีวิตเขาดี ร่างกายเขามีสุขภาพแข็งแรง มีความสุข อาจจะมองต่อไปว่า อ้อ เพื่อเขามีสุขภาพดีแข็งแรงแล้ว เขาจะได้ไปใช้ชีวิตนี้ทำประโยชน์อะไรต่ออะไรสร้างสรรค์ได้ ไม่ใช่จบแค่ว่า สนองความต้องการทางวัตถุเสพและก็จบใช่มั้ย โดยไม่รู้ว่ามันเสพเพื่ออะไร นั้นเวลาไปแยกพวกศาสตร์ต่าง ๆ นี้ไปเป็นความชำนาญเฉพาะด้านเนี่ย มันก็เลยเกิดโทษอย่างที่ว่านี่ มองไม่ตลอด พวกสังคมศาสตร์ก็มองแค่คนในฐานะบุคคลในสังคมแล้วก็จบ ก็เลยไม่มาเชื่อมกับความจริงของธรรมชาติ และอย่างงี้ประโยชน์ที่แท้มันจะเกิดได้ยังไง ใช่มั้ย แล้วมันจะแก้ปัญหาของมนุษย์ได้อย่างไร ฉะนั้น ความจริงมันจึงต้องเป็นระบบที่เขาเรียกว่าบูรณาการ เวลานี้มนุษย์ก็เริ่มพอเห็นความจำเป็นของบูรณาการแล้วว่า เอ้อ ระบบของการแยกส่วนมาเป็นด้าน ๆ ชำนาญพิเศษนี่มันไม่พอแล้ว แก้ปัญหาของมนุษย์ไม่ได้ เช่นเศรษฐศาสตร์แก้ปัญหามนุษย์ไม่ได้เป็นต้น แกได้แค่ว่า ความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด ว่าอย่างงั้นนะ เอา สนองความต้องการนี้ไป สนองความต้องการนี้หมายถึงอะไร แกก็นึกว่าความต้องการของบุคคลที่แกไม่สามารถแยก ว่าเป็นความต้องการของชีวิตกับความต้องการของบุคคลมันต่างกันยังไง เป็นต้น แกก็ไม่สามารถพัฒนาเศรษฐศาสตร์ขึ้นไปโยงกับความจริงของธรรมชาติได้ ดังนั้น ปัญหาอันเนี้ยมีอยู่ตลอดเวลา ก็จะต้องใช้ไอ้ตัวเนี่ย ตัวการเข้าถึงความจริงของธรรมชาติตัวธรรมะเป็นหลัก ทีนี้ [00:45:13] ในทางพุทธศาสนานี่ เรามีระบบที่ถือตัวธรรมะความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์ ของโลกมนุษย์ ระบบความสัมพันธ์ใหญ่ทั้งหมด ชีวิตมนุษย์คืออะไร ต้องการความดีงามยังไง จุดหมายคืออะไรใช่มั้ย มองอันเนี้ยให้ชัดก่อน แล้วมองชัดแล้ว การจัดวางระบบมันมาสนองอันนี้หมดเลย มันก็จะได้
นี้ก็ย้อนกลับไปพูดถึงเรื่องว่า ในเมื่อคนเนี่ยมี 2 ด้าน ด้านที่เป็นบุคคลเป็นสมาชิกของสังคม และก็ด้านที่เป็นชีวิตที่เป็นไปตามธรรมชาติ คนนี้ก็เลยเป็นตัวกลางที่เชื่อมระหว่างธรรมชาติกับสังคมมนุษย์ใช่มะ เวลาเรามองสังคมมนุษย์แล้วมองไปที่ตัวคนแล้วมองให้เห็นทั้งสองส่วนเนี่ย เราจะมองโยงไปถึงธรรมชาติด้วย แล้วมองคนในฐานะเป็นชีวิต แต่เขาเป็นบุคคลด้วย แล้วก็โยงไปหาสังคมด้วย มันจะไม่พลาด ไม่ใช่มองแค่ด้านเดียว นี้ในประวัติศาสตร์ทางวิชาการและอารยธรรมของมนุษย์เนี่ย จะเป็นการมองแค่ครึ่งซีกอย่างที่ว่า คือมองแค่คนกับสังคม ก็ไปด้านเดียว บางทีก็มองแค่ชีวิตด้านเดียว ชาวพุทธเราเองก็มีแนวโน้มต้องระวังเหมือนกัน ถ้าไม่เข้าใจหลักธรรมะวินัยก็จะมองด้านเดียว เวลานี้ก็ยังมีในความเน้นหรือว่าการมองแคบน่ะ นี้เรามองว่าคนในฐานะเป็นชีวิตเนี่ย ชีวิตเนี้ยมันรับผิดชอบต่อกฎธรรมชาติ เมื่อชีวิตรับผิดชอบเป็นไปตามกฎธรรมชาติเนี่ย มันจะเป็นเรื่องของแต่ละชีวิต เมื่อเรามองไปที่คน มันก็เลยเป็นปัจเจกชน ชีวิตแต่ละคนนี่รับผิดชอบต่อกฎธรรมชาติ เป็นไปตามกฎธรรมชาตินะ เราทำกรรมดีทางกายทางวาจาทางใจ น่ะมันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในชีวิตของเรานี่เรียกว่ากรรมใช่มั้ย ผลกรรมก็เกิดขึ้นแต่ละชีวิต เพราะแต่ละคนก็รับผิดชอบกรรมของตนเอง เนี่ยเป็นเรื่องแต่ละบุคคล ถ้าเรามองในแง่นี้เนี่ยมันจะเน้นในแง่บุคคล ซึ่งเป็นความจริงตามธรรมชาติคือด้านธรรมะ นั้นด้านธรรมะเนี่ยจะเน้นปัจเจกชน แล้วก็ เพราะว่ามันออกมาจากจิตใจเป็นใหญ่ ก็จะเน้นด้านจิตใจใช่มั้ย แต่ที่จริงไม่ครบนะ มันต้องมีพฤติกรรมจิตใจและปัญญาที่เราเคยพูดไปแล้ว แต่ว่าเพราะมันเริ่มที่ในใจ มันเลยเน้นที่จิตใจ และแล้วเมื่อเน้นที่ตัวบุคคล เน้นที่จิตใจ นั้นถ้าคนที่มองด้านเดียวของพุทธศาสนาคือด้านธรรมะเนี่ย ก็อาจจะเกิดคำพูดทำนองเนี้ย โอ้ว จะเอาอะไรกัน สังคมมนุษย์นี่ ถ้าทุกคนเป็นคนดีมันก็ดีเอง ว่างั้นนะ อะนะใช่มั้ย จริงมั้ย ถ้าทุกคนเป็นคนดี สังคมมันก็ดีเอง ถูกไม่ถูก ถูก.. ถูกแต่มันทำให้เราไม่ ไม่มีวิธีการ ไม่ก้าวไปสู่การปฏิบัติ ใช่มั้ย มันก็หยุดแค่นั้น เอ้อ ก็ถ้าทุกคนดี มันก็ดี ก็แต่ละคนก็รับผิดชอบกับความเป็นจริงของกฎธรรมชาติอันนั้น
[00:48:22] จะให้แต่ละคนดี ต้องจัดสรร วางระบบความสัมพันธ์
ถามต่อ ถ้าวินัยจะถามต่อ วินัยจะถามต่อ แล้วทำไงจะให้แต่ละคนเป็นคนดี เออ วินัยจะไม่หยุดแค่นั้น เพราะว่าถูกแล้วพระพุทธเจ้าค้นพบความจริงก็เป็นพระพุทธเจ้า แต่ว่าพระองค์มาสั่งสอน แล้วพระองค์ต้องคิดว่า ทำยังไงจะให้ธรรมะเนี่ย เกิดประโยชน์กับคนมากมายให้ได้ การทำขั้นนี้ได้เป็นวินัยใช่มั้ย อันนั้น วินัยจะมาต่อ ตอนแรกพูดในแง่ธรรมะเราจะบอกว่า โอ้ว ก็ถ้าทุกคนดี โลกมนุษย์สังคมมันก็ดีเองอะ และวินัยจะถามว่า แล้วทำไงจะให้แต่ละคนดี เอ้า ต้องจัด จัดสรรวางระบบ หนึ่ง จัดสภาพแวดล้อม ระบบการเป็นอยู่ ให้ปิดกั้นโอกาสที่เกิดความชั่ว เอาแล้วนะหนึ่งนะ “จัด” จัดวางวินัย ระบบระเบียบชีวิตของการดำเนินชีวิตของเรานี่ เพื่อจะให้เป็นชีวิตที่มีการฝึกตนเอง เป็นชีวิตที่ปิดกั้นโอกาสในการไหลเป็นทางชั่ว ใช่มะ นี้นี่เกิดวินัยแล้ว แล้วก็นอกจากเฉพาะตัวแล้ว ชีวิตในการอยู่ร่วมกันล่ะ ทำไงเราจะอยู่ร่วมกันและเป็นการเอื้อต่อกัน ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ทำร้ายกัน แล้วก็ชักจูงกันไปทางที่ดี มีระบบการสั่งสอน มีอุปัชฌาย์อาจารย์ มีครูมีอาจารย์ คนนั้นมีความรู้มีการศึกษาดีกว่า พัฒนาดีกว่าจะได้มาช่วยสอนคนนั้น ไอ้คนนั้นก็จะได้รู้ขึ้นมาแล้วก็พลอยไหลไปทางดี อะไรต่าง ๆ จัดสภาพแวดล้อมนะ อย่าให้สิ่งยั่วยวน อย่างให้มีแหล่งอบายมุขมาก ใช่มั้ย จัดให้มันดี สภาพแวดล้อมมันเอื้อ มันปิดกั้นโอกาสในทางเสียหาย ไม่ใช่ไปเที่ยวปล่อยให้เปิดโอกาสในความชั่วเต็มไปหมด พอปิดกั้นโอกาสในทางชั่วแล้ว เสริมโอกาสในทางที่จะดี ใช่มั้ย เอ้อ ระบบความสัมพันธ์ สภาพแวดล้อมอะไรต่ออะไรมันดีหมด พอจัดอย่างงี้มันก็ทำให้คนมีทางดีขึ้นใช่มั้ย นี่คือวินัยเข้ามาแล้ว
เพราะฉะนั้น วินัยก็มาเป็นตัวช่วยให้ธรรมะนี้ออกผลในชีวิตและสังคมมนุษย์ถูกมั้ย ทีนี้ใครเก่งก็มาจัดวินัยให้ดีสิ อย่าไปท้อใจ แค่ว่า เอ้อ คนแต่ละคนมันดีสังคมก็ดีเอง แล้วเมื่อไหร่จะเกิดอย่างนั้นล่ะ ใช่มั้ย ฉะนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้หยุดอยู่แค่ว่า เอ้อ ฉันรู้ธรรมะ ฉันก็เลยเข้าถึงความจริงอย่างนี้ และคนอื่นก็รู้ว่าจะเป็นอย่างฉัน แล้วก็ไม่ได้ทำอะไร ใช่มั้ย พระพุทธเจ้าทำด้วย คือว่ามาดำเนินการในขั้นวินัย ฉะนั้น [00:50:53] มองพุทธศาสนาจะต้องมองให้ครบ มองว่า หนึ่ง ในขั้นที่ว่า ตัวธรรมะความจริงตามธรรมชาติ แต่ละชีวิตรับผิดชอบเป็นไปตามกฏนี้ สอง เพื่อให้มันมีผลจริงจังในสังคมมนุษย์ ให้มนุษย์จำนวนมากได้รับประโยชน์จากธรรมะนี้ จัดตั้งวางระบบขึ้นมา
ทีนี้ขั้นที่ ๑ ก็สำคัญใช่มะ ต้องรู้ธรรมะต้องรู้ความจริง ถ้าไม่รู้แล้ววินัยการจัดตั้งก็ผิดพลาดหมด ไม่ได้ผลดี ไร้ความหมาย แต่ว่าได้แต่ธรรมะแล้วไม่มาจัดตั้งวางวินัย เป็นระบบชุมชนและสังคมมนุษย์ ธรรมะนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อคนจำนวนมาก แต่ว่าถ้าไม่รู้ธรรมะ จัดวางวินัยขึ้น วินัยนั้นก็ผิดพลาดไม่ได้ผลจริงเหมือนกันนะ ฉะนั้นก็ต้องประสานทั้งสองส่วน ต้อง หนึ่ง รู้ธรรมะ เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ แล้ว สอง ก็มีความสามารถในการจัดตั้งวางระบบ ถ้าได้ครบอย่างนี้ นี่คือพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการในสังคมทุกยุคทุกสมัย อารยธรรมมนุษย์นี่ พยายามแสวงหา พยายามขวนขวายหาสิ่งนี้มาตลอดประวัติศาสตร์ ก็ยังไม่บรรลุผลอยู่แค่นี้เอง คือเพื่อให้ได้ธรรมะกับวินัยเท่านั้น ที่มันถูกต้อง ก็เลยอยู่แค่ ธรรมะก็อยู่แค่ทฤษฎี วินัยก็เป็นระบบต่าง ๆ ทางสังคม ที่แยกส่วนเป็นด้าน ๆ ที่ไม่สามารถประสานเป็นอันเดียวกันได้ อันนี้ ถ้าเราได้หลักนี้เราก็พยายามมาช่วยในสังคมมนุษย์ขึ้นมา ได้อย่างที่บอกเมื่อกี้ บอกว่า ต้องมองให้ครบสองด้าน
ที่นี้ชาวพุทธเองก็มีข้อบกพร่อง ที่เวลาเนี้ย ไม่ได้มองภาพพุทธศาสนาแบบนี้ เช่น มองแง่ธรรมะด้านเดียว ก็เลยมองเป็นในแง่เป็นเรื่องของบุคคลไป แต่ละบุคคลก็รับผิดชอบ แต่ละคนก็มีกรรมของตัวเอง เป็นไปตามกรรม ใช่มั้ย อันนี้ วินัยเนี่ยมันจะมาช่วยเสริมอันนี้ อย่างเวลาเกิดเรื่องเกิดราวเนี่ย ถ้าคนไม่รู้หลักธรรมวินัยก็มองด้านเดียว เช่นบอกว่ามีพระทำความผิด ก็บอกว่า โอ้ แล้วท่านก็ได้รับผลกรรมของท่านเอง อย่างงี้ คนที่พูดอย่างงี้ แสดงว่าพูดตามความหมายของธรรมะ ใช่มั้ยฮะ คือ กรรม เพราะชีวิตแต่ละชีวิตนี้เป็นไปตามกฎธรรมชาติ กรรมนั้นเป็นกฎธรรมชาติ ใช่มั้ยฮะ การกระทำเป็นเหตุให้เกิดผล เขาคิดยังไง เขาพูดยังไง เขาทำอะไร มันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเขา แล้วก็มีผลเชื่อมโยงไปในระบบของการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ ในธรรมชาติ มีปฏิกิริยากลับมามันก็เป็นไปโดยกฎธรรมชาติเอง อันนี้เป็นความรับผิดชอบเขาที่เรียกว่าเป็นไปตามกรรม
[00:53:42] ปัญญา : ปัจจัยฝ่ายมนุษย์
แต่ว่าพระพุทธเจ้าจัดตั้งวางระบบขึ้นมา เพื่อให้นี้ เพื่อให้มันมีปัจจัยที่มาช่วย เรามีปัจจัยชนิดจงใจจัดเข้ามาเลย ไม่ใช่ปล่อยไปตามปัจจัยที่มันจะมีของมันเรื่อยเปื่อย วินัยแล้วจะจัดปัจจัยบางอย่างขึ้นมาเพื่อช่วยหนุน ให้มันเป็นไปในทางที่เราประสงค์เลย อันนั้นก็มีสงฆ์ มีวินัย มีกฎเกณฑ์กติกาว่าถ้าใครทำความผิดแล้ว จะต้องจัดการอย่างนี้ ใช่มั้ย ฉะนั้น ถ้าหากว่าตามธรรมะก็คือ ชีวิตของคนที่ทำกรรมนั้นก็จะเป็นไปตามกรรมได้รับผลกรรมของเขาเอง แต่ในแง่ของสังคมมนุษย์ วินัย เราไม่พูดอย่างนั้น ถ้ามีใครทำความผิดเช่นพระทำความผิดล่ะ โอ้ เดี๋ยวท่านก็รับกรรมของท่านเอง วินัยไม่บอก วินัยบอกเอามาจัดการเลย ใช่มั้ย เพราะฉะนั้น คนที่พูดแบบว่า แล้วท่านก็รับกรรมท่านเอง นี่แสดงว่าไม่เข้าใจหลักการพุทธศาสนาอันนี้ ทำไงสังคมมันจะอยู่ดีได้ ก็ต้องอาศัยระบบการจัดตั้ง เราไม่รอแต่เพียงปัจจัยที่มันเป็นไปตามเรื่องที่เราไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง แต่เราสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องเพราะคนเรานี้เป็นปัจจัยได้หนิ ใช่มั้ย ก็กฎธรรมชาติสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกระบวนการของเหตุปัจจัย อ้าว มนุษย์เรามีปัญญาหนิ ปัญญาก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งใช่มั้ย ทำไมไม่เอาปัจจัยปัญญานี้เข้าไปใช้ล่ะ เอาปัญญาเข้าไปเป็นปัจจัยในกระบวนการนี้ด้วยซิ แล้วปัญญาเนี้ยก็ออกผลเป็นการปฏิบัติ ใช่มั้ย เป็นการกระทำ เมื่อมนุษย์เข้าไปในกระบวนการของเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ มนุษย์นั้นก็กลายเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในกระบวนการของธรรมชาติด้วยจริงมั้ย ใช่มั้ยฮะ
วินัยก็เอานี้แหละ วินัยก็เป็นการจงใจเลย เอาปัจจัยเพิ่มเข้าไปในกระบวนการของธรรมชาติ คือปัจจัยฝ่ายมนุษย์ เช่นสติปัญญาเป็นต้น และวิธีปฏิบัติ วิธีการที่ชาญฉลาด เพราะฉะนั้น เวลาพระทำความผิด อ้่าว พระพุทธเจ้าก็วางกฎกติกาไว้ พุทธบัญญัติว่า ภิกษุทำละเมิดอันนี้ มีความผิดสถานนั้น ถ้าไม่ยอมรับสงฆ์จัดการ มีกระบวนการวิธีปฏิบัติอย่างนี้ ใช่มั้ย นี่ก็คือว่า เอาการกระทำ เอาสติปัญญา หรือเอามนุษย์ทั้งตัวเนี่ย เข้าไปเป็นปัจจัยร่วมในกระบวนการของกฎธรรมชาติ เพื่อให้ออกผลไปสนองสติปัญญาของมนุษย์ ให้เป็นไปในทางที่พึงประสงค์ นี่แหละเป็นความสามารถของมนุษย์ตรงนี้ ฉะนั้นวินัยเราพูดอีกอย่างหนึ่ง เราจึงบอกได้ว่า [00:56:54] วินัยก็คือ การนำเอาปัจจัยฝ่ายมนุษย์ เข้าไปร่วมในกระบวนการของกฎธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัยนั้น ให้ออกผลในทางที่พึงประสงค์ ที่มนุษย์มองเห็นด้วยสติปัญญาว่าควรจะเป็นอย่างนี้ ถูกมั้ย แล้วตกลงวินัยไม่ได้ขัดกะกระบวนการกฎธรรมชาติ ถูกมั้ย ขัดมั้ย ไม่ขัด ใช่มั้ย เป็นแต่ความสามารถที่เอาปัจจัยเพิ่มเข้าไปในกระบวนการธรรมชาติเท่านั้นเอง เรื่องอะไรจะไปปล่อยล่ะ แล้วตัวเองมีสติปัญญาแล้วไม่ทำ ใช่มั้ย [(00:56:54) วินัยก็คือ การนำเอาปัจจัยฝ่ายมนุษย์ เข้าไปร่วมในกระบวนการของกฎธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัยนั้น]
[00:56:56] กรรมของวินัยไม่รอกรรมฝ่ายธรรม
ฉะนั้น ฝ่ายวินัยจึงไม่รอ ถ้ามีผู้ทำความผิดก็จะไม่ปลงว่า โอ้ว แล้วเขาก็รับผลกรรมเขาเอง พระพุทธเจ้าก็จะบัญญัติกรรมฝ่ายของวินัยขึ้นมา กรรมฝ่ายธรรมะ มันก็เป็นกรรมตามกระบวนกฎธรรมชาติ ส่วนกรรมในวินัยนี้จะมีหลายกรรมเลย มีตัชชนียกรรม มีนิคหกรรม ชื่อรวมนิคหกรรม แล้วมีตัชชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม มีอุเขปนียกรรม กรรมในวินัยเยอะหมดเลย [00:57:26] กรรมของวินัยนี้ไม่ต้องรอกรรมฝ่ายกฎธรรมชาติ ไม่ต้องรอกรรมฝ่ายธรรมะ กรรมฝ่ายวินัยนี้เป็นเรื่องสังคมจัดการ เอาเลย มีอะไรเกิดขึ้นจัดการเลย ใช่มั้ย ฉะนั้นก็แยกกรรมฝ่ายธรรมะกับกรรมฝ่ายวินัย กรรมฝ่ายวินัย เอาเลย แล้วก็พอทำได้ดีก็กลายไปเป็นส่งเสริมธรรมะใช่มะ ก็คือเอาปัจจัยฝ่ายมนุษย์เข้าไปร่วมในกระบวนการของเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ ให้กระบวนการของธรรมชาตินั้นเป็นไปในทิศทางที่เกิดผลดีงามแก่มนุษย์ ใช่มั้ย นี่คือความสามารถ นี่แหละ เราจึงยกย่องพระพุทธเจ้าเพราะอันนี้ เพราะมีทั้งธรรมะและวินัย จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ สังคมมนุษย์ก็ไม่ได้ข้ามพ้นอันนี้ไป ไม่มีอะไรมากกว่านี้ใช่มั้ย แค่จะให้ได้เท่านี้ก็ยังทำไม่ได้ เอามั้งนะฮะ มีอะไรสงสัยไหมครับ [(00:57:26) กรรมของวินัยนี้ไม่ต้องรอกรรมฝ่ายกฎธรรมชาติ ไม่ต้องรอกรรมฝ่ายธรรมะ กรรมฝ่ายวินัยนี้เป็นเรื่องสังคมจัดการ]
[00:58:22] ถาม-ตอบ Q&A
พระใหม่ถาม – อย่างสมมุติว่าถ้าเกิดเราเป็นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในการทำโทษ อย่างสมมติว่ามีผู้กระทำผิดอย่างงี้นะครับ ถ้าเราตัดสินใจคือโดยใช้วินัยลงโทษเขา อย่างเช่น อาจจะต้องปลิดรูปหรือจะต้องประหารชีวิต เพื่อที่่จะรักษาระเบียบในสังคมที่อยู่ ใช่มั้ยครับ แต่มันจะเป็นความผิดติดตัวเราไปหรือเปล่า คืออย่างเช่นเราตัดสินให้เขา ทำผิดต้องไปรับโทษใช่มั้ย แต่มันจะเป็นความผิดติดตัวเราไปหรือเปล่า เพราะว่าอย่างในสมัยพระเตมีย์ ท่านทรงระลึกได้ว่า ท่านเคยตัดสินให้คนถูกลงโทษ แล้วท่านต้องไปอยู่ในนรกตั้ง ๘๐,๐๐๐ ปี
สมเด็จตอบ – อ๋อ ก็มีข้อพิจารณาสองชั้น
ชั้นที่หนึ่ง ตัวกฎกติกาบัญญัติที่รวมเป็นวินัยในสังคมนั้นเป็นไปโดยชอบตั้งอยู่บนธรรมะจริงหรือเปล่า ๑ แล้วนะฮะ ใช่มั้ย อันนี้เป็นปัญหาตลอดนะฮะ คือ ๑ พระวินัยเช่นกฎหมายเป็นต้นนี่ ตั้งขึ้นด้วยสติปัญญาที่รู้ธรรมะจริงหรือเปล่า ๑ ใช่มะ เพราะว่าอาจจะตั้งถูกต้อง ต้องรู้ธรรมะ รู้ความจริง ๒ ตัวเองพูดวางกฎหมายมีเจตนาบริสุทธิ์หรือเปล่า ที่เคยพูดกันไปแล้ว บางทีไม่ได้มีเจตนาบริสุทธิ์เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทำให้เกิดกฎหมายที่มันวิปริตต่าง ๆ นี้ นี้ในขั้นวางแล้วนะ กฎหมายรึกติกาอะไรต่าง ๆ เนี่ย ถูกต้องดีหรือเปล่า ๒ ผู้ใช้ เวลาเราใช้จิตใจเราบริสุทธิ์มั้ย ใช่มั้ยฮะ ทำได้มั้ย ไม่มีความรู้สึกประสงค์ร้ายหรืออะไรต่อผู้ที่ถูกพิจารณาโทษ บริสุทธิ์จริง ๆ ถ้าบริสุทธิ์จริง ๆ เนี่ยมันจะเข้าหลักที่มาในพระสูตรในพระไตรปิฎกเลย
ผมอาจจะเคยเล่าแล้วก็ได้แต่เล่าซ้ำ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ ๆ พระอานนท์ยังอยู่ ทีนี้ก็ วันหนึ่งพระอานนท์เนี่ยอยู่ที่วัด ก็กำลังสนทนาปราศรัยอยู่กับพราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปหาท่าน รู้จะชื่อโคปกโมคคัลลานพราหมณ์ เข้าไปสนทนากับพระอานนท์ก็ถามโน่นถามนี่ พระอานนท์ก็กำลังตอบอยู่ พอดีมหาอำมาตย์ชื่อวัสสการพราหมณ์นะ ตัวสำคัญ วัสสการพราหมณ์ วัสสการพราหมณ์นี่แกก็เที่ยวตรวจราชการใช่มะ แกก็ผ่านมาทางวัด แกก็ เอ้อ แวะวัดซะหน่อยนะ แกก็เข้าไปหาพระอานนท์ แล้วก็เข้าไปสนทนากับพระอานนท์ ตอนนั้นพระพุทธเจ้าอย่างที่บอกเมื่อกี้ว่าปรินิพพานใหม่ ๆ แล้วพอดีพราหมณ์กำลังสนทนาอยู่ แกก็ไปฟังต่อ แกก็ต่อเรื่อง ตอนนั้นสนทนากันเกี่ยวกับเรื่องเนี้ย เกี่ยวกับเรื่องว่า เอ้ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วนี่ แล้วพระพุทธเจ้าตั้งใครเป็นประมุขสงฆ์แทนพระองค์ เอาละนะ พระอานนท์ก็ตอบบอกว่าไม่ได้ตั้ง วัสสการพราหมณ์ก็ไปได้ยินเข้า วัสสการพราหมณ์ก็บอก เอ๊ะ เราเป็นนักปกครองนี่ เอ้ การปกครองมันต้องมีหัวหน้า มีผู้นำใช่มั้ย มีประมุข แล้วก็ ปกครองได้อย่างไงล่ะ อยู่กันได้ยังไงไม่มีหัวหน้า พระพุทธเจ้าไม่ตั้งใครเป็นหัวหน้า วัสสการพราหมณ์ก็ชักนึกไม่ดี ก็เลยถามออกมาอย่างเงี้ย บอกว่า เอ้ แล้วท่านจะอยู่กันยังไงล่ะไม่มีหัวหน้า ว่างั้น พระอานนท์ก็บอกว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักการไว้ให้ ว่าภิกษุใดประกอบด้วยคุณสมบัติ ๑๐ ประการนี้เรียกว่าเถรธรรม ภิกษุทั้งหลายก็ควรจะยกย่องเชิดชูพระภิกษุนั้น ขึ้นมาเป็นผู้ที่สมควรจะได้เคารพนับถือเชื่อฟังคำ ก็คือเป็นหัวหน้าใช่มั้ยฮะ พระอานนท์ก็บอกว่า เนี่ยพระพุทธเจ้าไม่ได้ตั้งใครจริง แต่พระองค์วางหลักการไว้ให้อย่างเงี้ย เพราะฉะนั้นภิกษุทั้งหลายก็ดูภิกษุไหนมีคุณสมบัติตามนี้ก็ยกย่องขึ้นเท่ากับเป็นหัวหน้า พราหมณ์ยอมรับ ใช่มั้ยฮะ เอ้อ ถ้าแบบของเขาก็ต้องมีสืบตระกูลใช่มั้ย พระเจ้าอชาตศัตรู พอพระเจ้าอชาตศัตรูสิ้นแล้วใครจะมารับก็ลูกใช่ไหม แต่ว่าวงศ์พระเจ้าอชาตศัตรูนี่ ฆ่ากันหมด พระเจ้าอชาตศัตรูก็ฆ่าพระเจ้าพิมพิสาร พอตัวอชาตศัตรูเอง ลูกชื่ออุทัยภัทร ก็ฆ่าพ่ออีกเหมือนกัน ก็ขึ้นสืบตระกูลอีก และลูกอุทัยภัทรก็ฆ่าอุทัยภัทรต่ออีก ดูจะฆ่าอยู่เจ็ดชั่วกษัตริย์ จึงได้ถูกพวกอำมาตย์และราษฎรจับถอดเลยนะ เขาเบื่อเต็มทีว่าฆ่าพ่อกันมาตลอด ทีนี้เอาแล้ว นี้ฝ่ายเขาก็จะเป็นอย่างนี้ ทีนี้ฝ่ายของพระพุทธเจ้าก็บอกอย่างเงี้ย พระพุทธเจ้าวางหลักการไว้ให้
อ้าว ทีนี้ต่อไปก็พูดถึงวิธีการบริหารปกครอง พระอานนท์ก็เล่าถึงว่า ๑๕ วันเนี่ย พระสงฆ์ทั้งหลายที่อยู่ในเขต ๑ นี่ก็จะก็จะมาประชุมพร้อมกันนะ แล้วก็มีอะไรที่ใครทำผิดก็มาพิจารณากัน มาทบทวนกัน เรื่องของบทบัญญัติที่พระพุทธเจ้าวางไว้เรียกว่าปาติโมกข์ ใครทำผิดก็ว่าไปตามผิด ทีนี้ถ้ามีภิกษุทำความผิด สงฆ์ก็จัดการใช่มั้ย ท่านเรียกว่า ให้ผู้ทำความผิดนั้นปฏิบัติไปตามธรรม ทีนี้การที่ลงโทษอะไรต่าง ๆ เนี่ย ไม่ได้ถือว่าภิกษุรูปหนึ่งรูปใด หรือแม้แต่สงฆ์นั้นลงโทษภิกษุนั้น ถือว่าธรรมะลงโทษ ธรรมะในที่นี้ก็คือตัวหลักการเช่นบทบัญญัติในวินัย ภิกษุทั้งหลาย หรือสงฆ์ หรือประชุมนั้น เป็นเพียงกระบอกเสียงให้แก่ตัวธรรมะใช่มั้ย คือผู้ลงโทษนั้นคือตัวบทบัญญัตินั่นเอง ตัวหลักการนั่นเอง เป็นผู้ลงโทษ ภิกษุทั้งหลายไม่ได้มีเจตนาไปมุ่งร้ายต่อภิกษุรูปนั้นอะไรทั้งสิ้นใช่มั้ย ทำไปตามกติกาหรือหลักการ เพราะฉะนั้น เรียกว่าธรรมะลงโทษ ภิกษุทั้งหลายก็ดี สงฆ์ก็ดี ไม่ได้ลงโทษ นี่คือทำด้วยจิตที่มีปัญญาพร้อมและบริสุทธิ์ใจจริง ๆ ใช่มั้ย ถ้างั้นเมื่อทำไปตามนี้แล้วก็ธรรมะลงโทษเขา ใช่ไหม แต่นี้วิสัยปุถุชนเนี่ย สมมุติว่าจะลงโทษประหารชีวิตเนี่ย จิตมันวางไม่ได้ถึงขั้นนี้ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นมันก็เลยมีบาป แต่ว่าตราบใดที่ยังยึดหลักการนี้ คือว่าเจตนาบริสุทธิ์ที่สุด แล้วปฏิบัติไปตามตัวหลักการที่วางไว้ จะมีบาปน้อยที่สุดเลย นี่แหละอุเบกขาหนึ่ง
พระใหม่ถาม - พระเดชพระคุณอาจารย์ครับ ตรงจุดตรงนี้เนี่ยครับ ผมความคิดที่อยากจะถามย้ำนะครับ ว่าแม้กระทั่งพระวินัยเรานี่ พระทำผิดชุมชนเนี่ย ท่านปาริชก ก็คือขาดจากการเป็นพระ แต่ชีวิตนั้นก็ยังมีอยู่ ถ้าเราเปรียบเทียบโดยยึดหลักของธรรมในข้อนี้นะครับ ถึงแม้บุคคลจะทำผิดกฎของสังคมก็ตามเนี่ย เราก็ควรจะรักษาชีวิตของเขาไว้ แบบให้เขาจำกัดขอบเขตหรือสภาพของเขาให้เหมาะสม
สมเด็จตอบ – ก็ถ้าเป็นสังคมที่ไม่ประมาท ไม่เป็นสังคมที่ขี้เกียจ คือถ้าสังคมไม่ขี้เกียจ ก็จะพยายามหาทางว่า ทำยังไงจะให้เจ้าคนเนี้ยมันดีขึ้นได้ นี่ถ้าสังคมขี้เกียจ ก็ตัดปัญหามันไปเลย ฆ่ามันทิ้งหมดเรื่อง ทีนี้อยู่ที่สังคมจะขี้เกียจไหม
พระใหม่ถาม – ผมเกรงว่าถ้าเรายอมรับให้ได้ว่า ก็จัดการมันไปเสียเลยเนี่ย พอเรายอมรับได้ก็ไปทำ เพราะไม่อย่างนั้น อีกหน่อยพอเราเห็นอะไรเข้าเนี่ย เราก็คิดแต่ว่า เราก็ดำเนินอย่างงั้นซะ คนก็ยิ่งไม่พัฒนาใหญ่สิครับ
สมเด็จตอบ - ก็นั่นแหละเรียกว่าประมาท แต่ว่าบางทีเขาคิดอีกอย่างหนึ่ง คือเขาคิดว่ามันจะได้เป็นแบบอย่างไว้ จะได้คนอื่นได้กลัวใช่มั้ย คือว่า ฆ่าไก่ให้ลิงดูใช่มั้ย ไอ้เจ้าลิงทั้งหลายมันจะได้กลัว ใช่มั้ย ฆ่าเจ้าคนนี้แล้วคนอื่นก็ โอ้ว ไม่ได้ ถ้าเราไปทำอันนี้เข้าถูกฆ่าใช่มั้ย อาศัยความกลัว ก็หมายความว่าใช้กิเลสของปุถุชนมา ใช้ประโยชน์จากกิเลสของปุถุชน ก็คือความกลัวเนี่ย มาสร้างระเบียบในสังคมถูกมั้ย ที่เขาคิดว่าลงโทษประหารชีวิตนี้ก็เพื่ออันนี้ด้วยนะฮะ
พระใหม่ถาม - แต่มันก็ไม่ได้ใช้ธรรมะสูงสุดนี่ครับ
สมเด็จตอบ - อ้าว ก็ไม่สูงสุด แต่ว่าไปก็เท่ากับยอมรับว่าเราไม่มีความสามารถมากกว่านี้ไง
พระใหม่ถาม - แล้วหลักธรรมะที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องฝึกฝนได้ แล้วก็ขาดหายไปจากการพิสูจน์ได้
สมเด็จตอบ - ก็สังคมบอกแล้วว่า สังคมนี้ยังขี้เกียจอยู่ คือ ขี้เกียจทำอะไรให้มันยิ่งกว่านี้ แหม มันเหนื่อย มันลำบากจริง ๆ คนนี้
พระใหม่ถาม - ขอแสดงความคิดเห็นครับ ที่ท่านพูดอย่างนั้น อยากจะถามว่า ใครล่ะจะเป็นคนแก้ไขคนนี้ให้มันดีได้ ใช่มั้ย มันไม่มี
สมเด็จตอบ – อะนี่แหละ นี่แหละเป็นคนท้อใจ เป็นคนที่ท้อแล้วนี่ ถ้าหากว่าเป็นคนที่มีความเพียร มันก็จะต้องไม่ท้อ ก็ต้องหาทางว่า เอ้อ ทำยังไงจะช่วยนายคนนี้แก้ไขใช่มั้ย คือเอาง่าย ๆ ก็แล้วกัน พูดสำนวนรวบรัดก็บอกว่า สังคมมันยังขี้เกียจอยู่ เพราะฉะนั้นก็ตัดบทมันเลย ไอ้เจ้านี่มันทำชั่วอย่าให้เป็นแบบอย่างเลย แล้วก็ใช้วิธีนี้เอาความกลัวเข้ามากั้นคนอื่นซะ ถ้าไม่งั้นเราต้องเพียรกว่านี้เยอะนะ ต้องหนึ่ง เพียรว่าแก้ไขนายคนนี้ยังไง สอง ก็คือว่าจะใช้วิธีอื่นยังไงเพื่อจะให้ป้องกันคนอื่นไม่ให้ทำชั่วอย่างงี้ใช่ไหม ทีนี้การลงโทษรุนแรงมันก็เลยเป็นที่เถียงกันอยู่ อย่างอเมริกานี่เป็นตัวอย่างเลย รัฐโน้นไม่มีโทษประหารชีวิต แล้วแนวโน้มของสังคมอเมริกันในยุคก่อนนี่จะเป็นแนวโน้มที่ค่อย ๆ เลิกโทษประหารชีวิต จนกระทั่งเหลือไม่กี่รัฐใช่มะ รัฐส่วนมากไม่มีโทษประหารชีวิต มีอยู่ไม่กี่รัฐที่ลงโทษประหารชีวิต แต่ตอนนี้ชักกลับ พอมีอาชญากรรมมาก ๆ ขึ้น ชักมีการพิจารณาจะเอาโทษประหารชีวิตกลับมาอีก แสดงว่ามนุษย์เนี่ยมันก็จะมีไอ้เรื่องนี้ ความไม่แน่ใจว่าจะใช้วิธียังไง เพราะฉะนั้นระบบวินัยเนี่ยมันจึงขึ้นต่อความสัมพันธ์กับธรรมะเนี่ย ว่าความเข้าใจในธรรมะเนี่ยจะแค่ไหนใช่มั้ยฮะ แล้วความเพียรในการฝึกฝนมนุษย์เนี่ย แต่ว่าถ้าว่าตามหลักพุทธศาสนาแล้ว ความจริงก็มีอยู่ว่า เมื่อฆ่าก็ต้องบาป ถูกมั้ย ถ้าเราไม่ต้องการให้มีบาปเลยก็ต้องไม่ฆ่า
พระใหม่ถาม - ก็ต้องยอมรับความจริงข้อนี้ก่อน
สมเด็จตอบ - อ้าวก็ไม่รู้แหละ จะเอาไม่ล่ะ ความจริงว่าอย่างงี้เราจะเอาอย่างไง มันสองขั้นนะ ขั้นที่ ๑ คือความจริงเป็นอย่างงี้ ขั้นที่ ๒ เมื่อความจริงเป็นอย่างงั้น จะเอาอย่างไง แต่บางคนก็บอกว่า ไอ้จริงคือบาป แต่ฉันจะยอมบาปแล้ว แต่ว่า แต่อย่าไปปฏิเสธความจริง
พระใหม่ถาม - มีพระองค์หนึ่งท่านพูดในที่ชุมนุม เขาถามปัญหาไง ท่านบอกว่าไม่บาป อย่างท่านเจ้าคุณพูดเมื่อกี้เนี้ย ก็ทำโดยความบริสุทธิ์ กฎหมายบริสุทธิ์ แต่ผมมาดูในเรื่องของกรรมหนะ บาป บาปนี้เรียกว่า กตัตตากรรม กรรมสักแต่ว่าทำ เพื่อไม่ให้ผล อย่างอื่นไม่ให้ผลหมดแล้วนะ กรรมนี่จะแสดงผล นี่คือกรรม
สมเด็จตอบ - ไม่ให้พูดง่าย ๆ พูดตามหลักน่ะพูดง่าย คือเจตนามันมี เจตนาที่ฆ่ามันมี เมื่อเจตนาฆ่ามีม้ันก็เลยบาป อันนี้ก็เป็นตัวกรรมตามธรรมชาติอยู่แล้ว ทีนี้ว่าก็อยู่ที่ว่าจะทำไงให้จิตบริสุทธิ์ได้ดีที่สุด บาปจะน้อยที่สุด
พระใหม่ถาม - แต่ตรงข้อถกเถียงที่มันมีอยู่เนี่ย ๒ ประเด็นตรงเนี้ย มันอยู่ตรงที่ว่า คนคิดจะฆ่าแต่ไม่ยอมรับบาปด้วย ก็จะโยนบาปทิ้งไปด้วย เขาบอกว่า จะใช้โทษฆ่าแต่ไม่ยอมรับบาป ซึ่งก็จะทำให้คนที่ไม่เห็นด้วย ว่าถ้ายึดธรรมะสูงสุดแล้วมันฆ่าไม่ได้ เพราะว่าหลักธรรมะสูงสุดคือความเมตตา
สมเด็จตอบ - เอ้อ ไอ้เรื่องความจริงต้องยอมรับ นี่คือว่า แนวคิดปัจจุบันโดยมากเนี่ย มันไม่สามารถแยกได้ 2 ชั้น คือ แยกในระดับความจริงเป็นความจริง มนุษย์จะเอายังไง ว่าอีกขั้นหนึ่ง นี้พอตัวจะเอายังไงก็หาเหตุผลให้ตัวการกระทำของตัวถูก เดี๋ยวนี้มันเป็นอย่างงั้นใช่มั้ย ก็นั่นซิ ต้องแยกให้ได้ คือขั้นความจริง พิจารณากันเลยความจริงเป็นอย่างไง ใช่มั้ย เมื่อเป็นการฆ่า มีเจตนาฆ่า ก็คือเจตนาทำลาย ก็เกิดบาป แต่ว่าจะบาปมากบาปน้อยก็อยู่ที่เจตนานั้น ถูกมั้ย แต่ว่าถ้าทำได้แบบที่ว่าอย่างพระอานนท์พูดนี่ใช่มั้ย มันก็ตั้งอยู่ในอุเบกขา รักษาธรรม ธรรมะลงโทษเขา จิตนี้จะหวั่นไหวน้อยที่สุดใช่มั้ย จิตจะบริสุทธิ์มากที่สุด เพราะฉะนั้นจะบาปน้อยอย่างยิ่ง ที่นี้ ถ้าหากว่าตัวเอาเจตนาของตัวเข้าไปผสมใช่มะ ก็คิดไอ้นี่ มันตายเสียได้ก็ดีอย่างงี้ เอาแล้ว ตัวเองบาปมากละใช่มั้ยฮะ แล้วตกลงว่าหลักการมีอยู่แล้ว ก็คืออุเบกขานี้จะเป็นตัวมาช่วย อุเบกขาอยู่ได้ด้วยอะไร ก็อยู่ได้ด้วยปัญญาถูกมั้ยฮะ ฉะนั้น ก็ได้หลักการไว้ก่อน
ทีนี้ว่าก็เรื่องของสังคมมนุษย์ เพราะว่ามนุษย์เนี่ยยังมีกิเลสกันอยู่ บางทีก็มีความประมาท บางทีก็จะเอาง่าย ๆ ก็ตัดบทอย่างที่ว่า ฉะนั้นสังคมมนุษย์ตอนนี้ก็ยังมีปัญหาเรื่องนี้มาก อย่างการที่ว่าจะลงโทษประหารชีวิตจะเอาหรือไม่เอา พระพุทธเจ้าก็เคยเล่าเรื่องไว้ ว่าการแก้ไขปัญหาสังคมเนี่ย อย่างในจักรวรรดิสูตร พระพุทธเจ้าเล่าไว้เรื่องหนึ่งว่า จักรพรรดิปกครองกันมา จักรพรรดิในที่นี้หมายถึงกษัตริย์ผู้มีอำนาจมาก แต่พร้อมกันนั้นมีธรรมะนะ ในความหมายพุทธศาสนาไม่เหมือนจักรพรรดิของข้างนอก พระพุทธเจ้าพยายามให้สิ่งที่ชาวโลกเขาต้องการเนี่ย ให้เข้ามาสู่แนวทางของธรรมะ ก็จะบอกว่าจักรพรรดิจะต้องมีจักรวรรดิวัตร ไม่ใช่ว่่ามีเพียงอำนาจแล้วก็ปกครองเขา เมื่อมีจักรวรรดิวัตรก็คือมีข้อปฏิบัติประจำเป็นหลักการ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นข้อใหญ่ ๕ ข้อในสังคมไทยเราก็มาแยกเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่าจักรวรรดิวัตร ๑๒
ทีนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นี่ ก็มีว่า หนึ่ง จักรพรรดินั้นต้องเป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ เอาความจริงความถูกต้องความดีงามเป็นหลัก แล้วตลอดจนกระทั่งกฎเกณฑ์กติกาที่วางเป็นหลักขึ้นบนจากฐานของความจริงความถูกต้อง คือจากความเป็นธรรมนั้นวางวินัยนั่นเอง ทั้งสองขั้นเนี่ย ก็ถือหลักการเป็นใหญ่ ถือธรรมะเป็นใหญ่ ไม่ใช่ว่าถือผลประโยชน์ของตัวเองหรืออะไร หรือความตามใจปรารถนาของตัว นี่จักรพรรดิจะต้องมีข้อ ๑ ธรรมาธิปไตย ถือธรรมะเป็นใหญ่ ต่อไปข้อสอง ข้อ ๒ ก็จัดการรักษาคุ้มครองป้องกันอันเป็นธรรมให้แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า นี้ท่านก็แยกไปว่า หมู่ไหนบ้าง ตั้งแต่ภายในวัง ออกมาคนในปกครอง บุตรภรรยา เสนา ข้าราชการฝ่ายการปกครอง ฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือนอะไร ไปจนกระทั่งถึงชาวชนบท คนชายแดน จนกระทั่งมิคปักษีเนื้อและนก ว่าอย่างงั้นนะ ต้องได้รับการคุ้มครองหมด โดยชอบธรรม ต่อไป ๓ บอกว่า ต้องป้องกันห้ามปรามกำราบไม่ให้มีการกระทำที่ผิดธรรมะ ข้อ ๔ ต้องจัดสรรปันทรัพย์ให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ หมายความว่าต้องเน้นไปที่คนขาดแคลนยากไร้ จะต้องหาทางเฉลี่ยปันทรัพย์ทำให้ทั่วถึง และก็ ๕ ต้องแสวงปัญญา ไม่ใช่ถือดีว่าฉันเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แล้ว มีสติปัญญาทำตามที่ตัวคิดเห็น ต้องแสวงหาปัญญา ต้องไปปรึกษาสมณพราหมณ์ที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ไม่มัวเมาไม่ประมาท ไปถามไปสนทนาว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรควรทำไม่ควรทำอยู่เสมอ นี่เป็นจักรวรรดิวัตร ๕ ประการ ทีนี้จักรพรรดิแต่ละท่านที่จะขึ้นครองเนี่ยจะต้องเรียน เพื่อปฏิบัติตามหลักการนี้ ต่อมาก็มีจักรพรรดิท่านหนึ่งเนี่ย ไม่ได้สนใจเอาใจใส่ ที่จะได้หาความเข้าใจในเรื่องนี้ชัดเจนแล้วปฏิบัติให้เต็มที่ ก็ปฏิบัติบกพร่อง ปฏิบัติบกพร่องก็เริ่มจากการที่ขาดการเอาใจใส่คนยากไร้ ว่างั้น ก็เลยไม่ได้จัดสรรปันทรัพย์เฉลี่ยให้มีกินกันอยู่ได้กันทั่วไป ก็เกิดความยากจน พอเกิดความยากจน ต่อมาความจนก็แผ่กระจายออกไป พอแผ่กระจายไอ้คนยากจนก็เลยหาทางอยู่รอด ก็อาชญากรรม ก็ไปลักขโมยนะ นี้พุทธศาสนาจะเห็นว่า เรื่องทางวัตถุพระพุทธเจ้าให้ความสำคัญมาก ในพระสูตรหลายพระสูตร จะถือเรื่องของการบำรุงทางด้านเศรษฐกิจให้ดี ที่นี้พอยากจนแล้ว คนยากจนก็เลยไปลักขโมย พอไปลักขโมย ต่อมาก็ลักขโมยกันมากขึ้น เพราะความจนมันแผ่ออกกว้างขวาง ทีนี้จักรพรรดิก็เลย เอ้ เราบกพร่องยังไงล่ะ นั้นก็สอบถามผู้รู้ เขาก็บอกว่า เนี่ยหลักการของการปกครองจักรพรรดิที่ผ่านมา ต้องมีอย่างงี้ ๆ โดยเฉพาะข้อที่จะต้องแก้ไขปัญหาความยากจน ไม่ให้มีความยากจนแพร่กระจาย ก็เลย อ้าว ตายแล้วเราบกพร่องข้อนี้ ทำไงล่ะ เกิดมีขโมยโจรขึ้นมาแล้ว จับมา ทีนี้ก็จับมา แต่ว่าจับมาแล้วก็ให้ทรัพย์ ให้ทรัพย์ไปเพื่อจะได้เขาจะได้เป็นอยู่ได้ เพราะแก้ไขปัญหาความยากจนนี้ แต่ว่าผลมันไม่ไปเป็นตามที่คาดหมาย มันไปลักขโมยจับมาแล้วให้เงินทองไป ไอ้คนที่ยากจนอื่นมันได้ตัวอย่าง เอ้ ถ้าเราไปลักขโมยแล้วเราก็ได้เงินอย่างงี้เราก็ดีสิ เราต้องไปลักของแล้วเราก็จะได้เงิน ก็เกิดคนทำตามกัน ก็มีคนจนไปลักขโมยเพิ่มมากขึ้นใหญ่ เอ้ ทำไง ยิ่งจับมาได้ ยิ่งให้ ยิ่งมีขโมยมากใหญ่ จักรพรรดิก็เลยคิดใหม่ ไม่ได้อย่างนี้มันต้องตัดต้นต่อกันเลย ใช้วิธีกลัวแล้วทีนี้ ต้องทำให้มันกลัว ต้องตัดต้นตอมัน จับมาได้คราวนี้ประหารชีวิต อ้าว คราวนี้ก็เอาจริง พอจับมารายใหม่นี่ ประหารชีวิตเลย พอประหารชีวิตไปใช้วิธีรุนแรง ไอ้โจรที่มันขโมยอื่น ตอนนี้มันมีมากแล้วนะ มันก็ เอ้ ถ้าเราถูกจับได้ รู้ว่าเป็นใครเราก็ถูกประหารชีวิต เพราะฉะนั้นอย่าให้รู้เลยว่าเป็นใคร งั้นพอปล้น ปล้นแล้วก็ฆ่าเจ้าทรัพย์เสร็จ พอปล้นก็ฆ่า ปล้นก็ฆ่าเจ้าทรัพย์ เอ้ ไปกันใหญ่เลย แก้ไขปัญหาไม่สำเร็จ เลยสังคมก็ยุ่งเหยิงเลย เนี่ยเพราะฉะนั้น จับจุดพลาดแต่ต้นก็เลยปัญหาบานปลาย
นี่เป็นจักรวรรดิสูติพระพุทธเจ้าตรัสเล่าไว้ ถ้างั้นก็ต้องระวังมากเหมือนกัน การใช้วิธีรุนแรงว่าจะได้ผลแค่ไหนนะฮะ แต่ว่า บางทีมันไม่ออกผลรุนแรงแบบที่ว่า ได้ผลภายในระดับหนึ่ง แต่ไปออกผลอีกระดับหนึ่งเนี่ย เป็นข้อที่น่าสังเกต อย่างประเทศพวกอาหรับเนี่ย จะใช้วิธีลงโทษรุนแรง ตาต่อตาฟันต่อฟันใช่มั้ยฮะ ลักทรัพย์ตัดมือ แล้วลงโทษก็ฆ่า ประหารชีวิตอะไรต่าง ๆ เหล่าเนี้ย ทีนี้ดู ๆ ในแง่หนึ่งก็เหมือนกะว่า ก็มีการลักขโมย เป็นต้น น้อยเพราะคนกลัว แต่ว่าจิตรู้สึกว่าจะรุนแรงใช่มั้ยฮะ เกิดการพิพาท การรบ สงคราม การก่อการร้ายมาก จิตมันรุนแรงด้วย เพราะฉะนั้นวิธีการไหนดีที่สุด ก็นั่นสิ ทำไงจะได้มัชฌิมาปฏิปทา แล้วใช้ปัญญา แล้วไม่ขี้เกียจขี้คร้าน ตัดปัญหา คือหมายว่าต้องมีความพยายามในการจัดวางระบบสังคมคือวินัยเนี่ย ให้ได้ผลดีที่สุดในการแก้ไข คนชั่วร้าย นิสัยร้าย ทำไงจะพัฒนาแก้ไขให้การศึกษาอบรมที่จะทำให้กลับตัวเป็นคนดีหรือดีขึ้น หรือว่าตัดโอกาสใช่มั้ย ถ้ามันกลับตัวไม่ได้ กลับตัวยาก ต้องหาทางตัดโอกาสมัน ไม่ให้มันไปทำอะไรร้ายได้ใช่มั้ย แล้วก็ทำในทางส่งเสริมให้มาก แล้วก็สังคมทั่วไปก็ต้องพยายามปิดโอกาสในเรื่องความชั่วร้าย ถ้าขืนปล่อยไป ไอ้คนพวกนี้ก็ไม่มีสิ่งที่น่ากลัวว่าตัวเองทำอะไรผิดแล้ว ก็ไม่กลัวการลงโทษใช่มั้ยเพราะมันไม่รุนแรง แต่เสร็จแล้วเราไม่มีวิธีการที่จะพยายามกล่อมเกลาให้เขาอยู่ในความดีพัฒนาตัวเอง ก็ประพฤติเสื่อมเสียเหลวแหลกอีก สังคมก็เละอีกเหมือนกัน
ฉะนั้น สังคมมนุษย์นี่ก็อยู่ที่ว่าทำไงจะจัด ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ประมาทนี่ที่ยากใช่มั้ย โดยมากมันก็จะตัดบทเอาง่าย ๆ เพื่อให้มันเสร็จเรียบร้อยไป ใช้ความกลัวเสียเลยน่ะ หรือไม่งั้นก็ปล่อยกันตามสบาย ก็ไม่ได้จัดไอ้เรื่องของระบบการต่าง ๆ ให้ละเอียดประณีต ที่จะให้ได้ผลในการพัฒนามนุษย์ เพราะฉะนั้น ในที่สุดสังคมมนุษย์ถ้าจะให้ดีจริง ๆ ก็เป็นสังคมที่ต้องมีการฝึกฝน พัฒนามนุษย์อยู่เรื่อยใช่มั้ย นี้สังคมปัจจุบันนี่มันทำการย้อนทาง คือเป็นสังคมที่พยายาม คือไม่ค่อยมีการฝึก การฝึกก็จะมีแค่การศึกษาในวงจำกัดระดับหนึ่ง โดยมองความหมายของการศึกษาแคบ แล้วคล้าย ๆ จะปล่อยให้มนุษย์สนองความต้องการของตัวเอง ในด้านหนึ่งก็ปล่อยอย่างนี้ แล้วเสร็จแล้วก็จะมาวางหาทางให้สังคมนี้อยู่เรียบร้อย มันก็เป็นไปได้ยากนะ คล้าย ๆ กับกระแสมันสวนทางกัน แต่เอาเป็นว่าตอนนี้ก็จับหลักการให้ได้ก่อนว่า ในทางพุทธศาสนานั้นเรามีหลักใหญ่เป็นชื่อเดิมของพระพุทธศาสนาคือคำว่าธรรมะวินัย แล้วสำหรับพระพุทธเจ้าก็จะเติมคำว่า “นี้” ธรรมะวินัยนี้ คือหมายความว่าตัวหลักความจริงที่พระพุทธเจ้าองค์นี้ได้ทรงค้นพบและได้นำมาจัดตั้งระบบไว้เนี่ย และเรียกว่า “ธรรมะวินัยนี้” หรือธรรมะวินัยที่พระตถาคตประกาศ จากหลักการอันเนี้ย ถ้าเรานำมาประยุกต์ใช้ เราก็จะเห็นว่า เรื่องของสังคมมนุษย์นี้ควรจะเป็นยังไง อย่างน้อยก็ให้มันมีหลักการที่เป็นฐานของความรู้ความเข้าใจไว้นะ แล้วก็เพียรพยายามเพื่อจะให้มันบรรลุผลนี้ ว่า
หนึ่ง ต้องเข้าถึงความจริง มีปัญญาที่รู้ความจริงของชีวิตและโลก ระบบของธรรมชาติ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย สอง จากความรู้เข้าใจตัวธรรมะนี้ก็มาจัดตั้งวางระบบในชีวิตสังคมมนุษย์ เพื่อให้ได้ผลตามนั้น
ก็เอาเป็นว่าเอาหลักการกันอย่างนี้ก็แล้วกัน เข้าไป 10 โมงกว่า
พระใหม่ถาม – สละอวัยวะเพืื่อรักษาชีวิตนี่ เอาชีวิตกับเอาอวัยวะไปนี่ ควรจะทำอย่างไงดีครับ
สมเด็จตอบ - อ๋อ ก็ท่าน คือนี้มันเรื่องของตัวเองสละใช่มะ สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต สละชีวิตเพื่อรักษาธรรมใช่มั้ย เหมือนอย่างคนเป็นเบาหวานใช่มั้ย เป็นแผลที่ขาใช่มะ เพื่อรักษาชีวิตก็ยอมตัดขา นี่คือสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตใช่มั้ย แต่ว่าท่านบอกว่าแค่นี้ยังไม่พอเนี่ย ถ้าหากว่าเป็นเรื่องธรรมะแล้ว ต้องยอมสละชีวิตได้ใช่มั้ยฮะ สละได้หมดอะ หมายความ สละ ท่านไม่บอกแค่สละชีวิตหรอก เพราะเห็นแก่ธรรม ให้สละได้ทั้งทรัพย์ ทั้งอวัยวะ ทั้งชีวิต ทีนี้ท่านจักรพันธ์ว่ายังไงนะฮะ
พระจักรพันธ์ถาม – ผมหมายถึงว่า สังคมเดี๋ยวนี้น่ะ ความร้ายมีมากมาย ควรมั้ยที่ว่าเราต้องสละอวัยวะบางส่วน ที่มันเน่าแล้วฯ
สมเด็จตอบ - อ๋อ เอาอันนี้มาอุปมา ด้วยการอุปมา เอามาเทียบสังคม มันก็เป็นวิธีตัดบทอันหนึ่ง แน่นอนแล้ว
พระใหม่ถาม - มันสัมพันธ์กันครับ
สมเด็จตอบ - ใช่ คือหมายความว่าแน่นอนแหละ ถ้าว่าตามหลักการเนี่ยนะ รักษาชีวิตไว้ก็ต้องดีกว่ารักษาอวัยวะ ถูกมั้ยฮะ อันนี้แน่นอน
พระใหม่ถาม – ตัดออกไป ดีว่าไปรักษามันไว้ เพราะมันจะเน่า ถึงที่สุดแล้วก็ต้องตัดเหมือนกัน
สมเด็จตอบ - แต่ทีนี้ว่า ทีนี้ถ้า มันต้องว่าเป็นขั้น ๆ ถ้าเรามีความสามารถมากกว่านั้นนะ เราทั้งรักษาอวัยวะด้วย รักษาชีวิตด้วย โดยไม่ให้อวัยวะนั้นเป็นโทษแก่ชีวิต แล้วก็ทำให้อวัยวะนั้นดีขึ้น นี้หมายความว่าเราไม่ละความเพียร เรามีปัญญาแน่นอน ต้องมีปัญญาเป็นฐาน แล้วมีความเพียรด้วยไม่ประมาทด้วย คือว่า การตัดบทก็เป็นวิธีประมาทแบบหนึ่ง ก็หมายความว่า เราหยุดแค่นั้น แต่ทีนี้ถ้าเรา การตัดบทอาจจะมี ๒ ขั้น เดี๋ยวนี้เท่าที่เรามีปัญญาเราทำได้แค่นี้ใช่มั้ย แต่เสร็จแล้ว ที่ไม่ประมาทก็คือว่า อย่าไปหยุดว่าแค่นี้พอ เราจะต้องพัฒนาหาวิธีการ ว่าอาจจะมีวิธีการที่ดีกว่านี้พัฒนาต่อไป เหมือนแพทย์ไงฮะ แพทย์เวลานี้รักษาคนไข้ได้แค่นี้ต้องยอม เพราะไม่มีทางใช่มั้ย แต่ว่า ถ้าไปบอกว่า เอ้อ แค่นี้พอ ต่อไปก็ไม่พัฒนา ถ้าคิดว่าเท่าที่เรามีสติปัญญารู้ทำได้ขนาดนี้เราทำได้แค่นี้ แต่อันนี้เป็นบทเรียน เราทำไงจะหาทางทำให้ดีกว่านี้อีกต่อไป เพื่อจะให้ได้อันนี้ตอนนี้ต้องให้ได้ผลดี ๗๐% ต้องยอมเสีย ๓๐% สมมุติว่าอย่างนั้นนะ หรือบางทีต้องยอมเสีย ๕๐ ได้ ๕๐ นี้เราไม่พอใจแค่นี้ นี่คือไม่สันโดษในกุศลธรรมใช่มั้ย ไม่สันโดษในกุศลธรรมแล้วก็ไม่ประมาทต่อไป เราจะต้องพัฒนาให้ได้ผลดีกว่านี้ เพื่อก้าวไปสู่การที่ได้จาก ๕๐ เป็นได้ ๖๐% ได้ ๗๐% ไอ้ฝ่ายเสียก็จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ ถูกมั้ย นี่คือในแง่ระยะยาวไม่ประมาท คืออย่าไปตัดบท ถ้าตัดบทแล้วก็กลายเป็นประมาทไป ก็ถ้าได้อย่างงี้ก็ยังดี
ประเด็นสำคัญ (Dot point)
[00.00.01] พระพุทธศาสนาก็คือธรรมวินัย
[00.06.46] การจัดตั้ง : วิธีการทำให้เกิดประโยชน์แก่คนจำนวนมาก
[00.16.03] ความสามารถพิเศษ ๒ ชั้นของผู้จัดตั้ง
[00.21.24] การจัดตั้งวินัยต้องมีธรรมะเป็นฐาน
[00.24.21] การจัดตั้งวางระบบในสังคมมนุษย์
[00.31.52] ปัญหาการไม่เข้าถึงธรรมะคือความจริงของทฤษฎี
[00.36.05] ความจริงตามธรรมชาติเชื่อมโยงกันได้หมด
[00.41.16] มองคนคือบุคคล ไม่ได้มองคนในฐานะชีวิต
[00.48.22] จะให้แต่ละคนดี ต้องจัดสรร วางระบบความสัมพันธ์
[00.53.42] ปัญญา : ปัจจัยฝ่ายมนุษย์
[00.56.56] กรรมของวินัยไม่รอกรรมฝ่ายธรรม
[00.58.22] ถาม-ตอบ Q&A
คำโปรย
[00.09.59] เรื่องของการจัดเป็นชุมชนแล้วก็มีกฎเกณฑ์กติกา มีความเป็นอยู่ที่เอื้อหรือเหมาะแก่การมาศึกษา มาเรียนรู้ มาพัฒนาตัวเองทั้งหมดเนี่ย เราเรียกกันว่าวินัย วินัยก็คือการจัดตั้งวางระบบของชุมชนและสังคมแล้วก็ระเบียบแบบแผนในการดำเนินชีวิต ในการอยู่ร่วมกัน ก็พูดง่าย ๆ ว่า การจัดสภาพชีวิต ระบบการอยู่ร่วมกัน การดำเนินกิจการ และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เนี่ย ให้เอื้อต่อการปฏิบัติที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชุมชนนั้น
[00.20.00] พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีความสามารถพิเศษ ๒ ชั้น ชั้นที่ ๑ ก็คือว่า ตรัสรู้ มีปัญญา ค้นพบธรรมะความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดานั้น ด้วยพระองค์เอง ขั้นที่หนึ่งแหละ นี้ขั้นที่ ๒ ก็คือว่า นอกจากรู้ด้วยตนเองแล้ว ยังสามารถจัดตั้งวางระบบในสังคมมนุษย์ เพื่อให้คนจำนวนมากนี้ ได้ประโยชน์จากธรรมะตามพระองค์ด้วย อันนี้เรียกว่าวินัย ธรรมะที่มีอยู่ตามธรรมดาธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าไปค้นพบรวมกับวินัย ระบบในทางสังคม การจัดตั้งวางระเบียบกฎเกณฑ์กติกาขึ้นในชุมชนนี้ อันนี้เรียกว่าวินัย ๒ อย่าง ธรรมะกับวินัยนี้เป็นพระพุทธศาสนา อันนี้ก็มีความสัมพันธ์ระหว่างธรรมะกับวินัย อันที่หนึ่งก็คือว่า เพราะมีธรรมะ วินัยจึงเกิดมีขึ้นมาเพื่อให้คนได้ประโยชน์จากธรรมะ
[00.23.23] จุดหมายของธรรมะ เมื่อฝึกตนพัฒนาชีวิตตามธรรมะแล้ว จะได้มีจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสพ้นจากความทุกข์อะไรต่าง ๆ เหล่าเนี้ย ซึ่งเป็นจุดหมาย ชีวิตมีอิสรภาพ ต้องรู้ว่าธรรมะนี่จะให้เกิดผลอะไร ธรรมะเป็นอย่างไร จึงจะวางวินัย จัดวางระบบชุมชนสังคมให้สอดคล้องกันได้ ถ้าไม่รู้ธรรมะนี้ก็ การจัดตั้งนั้นก็เลื่อนลอย ไม่ได้ผล ฉะนั้น ก็เลยกลายเป็นว่่าธรรมะนี้เป็นทั้งจุดหมายแล้วก็เป็นฐานของวินัย ต้องรู้ เข้าใจ ธรรมะถ่องแท้จึงจะวางวินัยได้ผลดี แล้วที่วางวินัยเพื่ออะไร ก็เพื่อให้คนไปเข้าถึงธรรมะ ก็ยุติได้ว่า ธรรมะนั้นเป็นทั้งฐานและเป็นทั้งจุดหมายของวินัย หรือเป็นทั้งเบื้องต้น เป็นทั้งราก แล้วก็เป็นทั้งยอดของวินัย
[00.36.05] ตอนนี้มนุษย์เมื่อพัฒนาอริยธรรมมากขึ้น ๆ ก็เลยกลายเป็นว่า ไอ้ปัญญาที่มันตระหนักในความเป็นจริงอย่างน้อยขั้นพื้นฐานว่า ตัวความจริงแท้ ๆ เนี่ยต้องเป็นอันหนึ่งเดียวกัน อันนี้มันก็ไม่ตระหนัก มันก็เลยแยกเป็นระบบอย่างที่ว่า เป็นระบบเศรษฐกิจก็ไปเรื่อง ระบบการเมืองก็ไปเรื่อง ระบบการศึกษาก็ไปเรื่อง และไม่สามารถมาเชื่อมโยงกันได้ ประโยชน์ที่จะเกิดกับชีวิตมนุษย์มันก็ไม่จริง กลายเป็นว่ายิ่งมีอารยธรรมเจริญขึ้นมา ก็เลยยิ่งยุ่งกันใหญ่
[00.45.13] ในทางพุทธศาสนานี่ เรามีระบบที่ถือตัวธรรมะความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์ ของโลกมนุษย์ ระบบความสัมพันธ์ใหญ่ทั้งหมด ชีวิตมนุษย์คืออะไร ต้องการความดีงามยังไง จุดหมายคืออะไรใช่มั้ย มองอันเนี้ยให้ชัดก่อน แล้วมองชัดแล้ว การจัดวางระบบมันมาสนองอันนี้หมดเลย มันก็จะได้
[00.50.53] มองพุทธศาสนาจะต้องมองให้ครบ มองว่า หนึ่ง ในขั้นที่ว่า ตัวธรรมะความจริงตามธรรมชาติ แต่ละชีวิตรับผิดชอบเป็นไปตามกฏนี้ สอง เพื่อให้มันมีผลจริงจังในสังคมมนุษย์ ให้มนุษย์จำนวนมากได้รับประโยชน์จากธรรมะนี้ จัดตั้งวางระบบขึ้นมา
[00.56.54] วินัยก็คือ การนำเอาปัจจัยฝ่ายมนุษย์ เข้าไปร่วมในกระบวนการของกฎธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัยนั้น ให้ออกผลในทางที่พึงประสงค์ ที่มนุษย์มองเห็นด้วยสติปัญญาว่าควรจะเป็นอย่างนี้ ถูกมั้ย แล้วตกลงวินัยไม่ได้ขัดกะกระบวนการกฎธรรมชาติ ถูกมั้ย ขัดมั้ย ไม่ขัด ใช่มั้ย เป็นแต่ความสามารถที่เอาปัจจัยเพิ่มเข้าไปในกระบวนการธรรมชาติเท่านั้นเอง เรื่องอะไรจะไปปล่อยล่ะ แล้วตัวเองมีสติปัญญาแล้วไม่ทำ
[00.57.26] กรรมของวินัยนี้ไม่ต้องรอกรรมฝ่ายกฎธรรมชาติ ไม่ต้องรอกรรมฝ่ายธรรมะ กรรมฝ่ายวินัยนี้เป็นเรื่องสังคมจัดการ เอาเลย มีอะไรเกิดขึ้นจัดการเลย ใช่มั้ย ฉะนั้นก็แยกกรรมฝ่ายธรรมะกับกรรมฝ่ายวินัย กรรมฝ่ายวินัย เอาเลย แล้วก็พอทำได้ดีก็กลายไปเป็นส่งเสริมธรรมะใช่มะ ก็คือเอาปัจจัยฝ่ายมนุษย์เข้าไปร่วมในกระบวนการของเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ ให้กระบวนการของธรรมชาตินั้นเป็นไปในทิศทางที่เกิดผลดีงามแก่มนุษย์
วรรคทอง
[00:11:56] การจัดตั้งวางระบบแบบแผนระเบียบกฎเกณฑ์กติกาของชุมชน นี้ถ้าจัดวางได้ดีนี่ คนที่มาอยู่ในชุมชนนี้จะได้ประโยชน์มาก
[00:21:18] เพราะมีธรรมะ วินัยจึงเกิดมีขึ้นมาเพื่อให้คนได้ประโยชน์จากธรรมะ
[00:24:09] ธรรมะนั้นเป็นทั้งฐานและเป็นทั้งจุดหมายของวินัย หรือเป็นทั้งเบื้องต้น เป็นทั้งราก แล้วก็เป็นทั้งยอดของวินัย
[00.34.58] ถ้ามันเป็นของแท้เนี่ยมันต้องโยงกันได้ แล้วมันต้องสัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน
[00:56:54] วินัยก็คือ การนำเอาปัจจัยฝ่ายมนุษย์ เข้าไปร่วมในกระบวนการของกฎธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัยนั้น
[00:57:26] กรรมของวินัยนี้ไม่ต้องรอกรรมฝ่ายกฎธรรมชาติ ไม่ต้องรอกรรมฝ่ายธรรมะ กรรมฝ่ายวินัยนี้เป็นเรื่องสังคมจัดการ