แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ก็คุยกันต่อจะขึ้นเรื่องสังคหวัตถุ แล้วก็มานึกถึงเมื่อเช้าเลยแทรกก่อนนิดหน่อย เรื่องเกี่ยวกับเรื่องความเจริญและะความเสื่อม พูดถึงสังคมไทยที่ว่าก้าวเข้าสู่หลักการของพระพุทธศาสนา เอาพุทธศาสนาเรียกเอาหลักธรรมมะมาใช้ยังไม่ได้เท่าที่ควร หรือบางทีก็ใช้เขว ๆ ไป อันนึงก็จะเห็นได้จากการที่ว่า เราจะไปอยู่ในความเชื่อ แล้วก็หลักคำสอนในขั้นพวกตำนาน พวกชาดกอะไรต่อะไรเนี่ยมาก แล้วก็คัมภีร์ยุคหลัง ๆ เช่นอย่างคัมภีร์ในสมัยสุโขทัย ก็ไตรภูมิ เรียกว่าไตรภูมิพระร่วงมีอิทธิพลมาก เรีกว่าเมืองไทยในยุคที่ผ่านมาอดีตนี่ คติเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่เราเชื่อเราปฏิบัตินี่ ไปในแนวนี้ ในแนวของไตรภูมิเนี่ยแทบทั้งนั้นเลย นี่ไตรกูมีนี้เป็นคัมภีร์ของไทยเรานี่เองนะ แต่ว่าเป็นการประมวลจากคัมภีร์เก่า ๆ ซึ่งเป็นรุ่นหลังพวกพระคัมภีร์ชั้นอรรถกถาฎีการุ่นหลัง ๆ มาใช้ เราไม่ค่อยได้ใช้ถึงคัมภีร์ดั้งเดิมที่เป็นหลักแท้ ๆ พระไตรปิฎก คือเป็นพระไตรปิฎกลักษณะที่ผ่านมาจากคัมภีร์รุ่นอธิบายอีกที ก็ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างที่เข้ามาวิจารณ์กันเรื่องความชอบธรรมของผู้ปกครองประเทศตามไตรภูมิเนี่ย ก็จะพูดถึงบุญญาธิการว่า พระเจ้าแผ่นดินพระมหากษัตริย์นั้นเป็นผู้ที่ได้ทำบุญไว้ในปางก่อน ก็จึงได้มาเกิดขึ้นมาอยู่ในฐานะอย่างนี้เป็นกษัตริย์ หมายความว่า ความชอบธรรมของพระองค์ก็อยู่ที่การที่ได้ทำบุญไว้ในชาติก่อน แล้วมาเกิดเป็นกษัตริย์ ฝรั่งเขาก็ศึกษานี่แหละ พวกนักวิชาการสมัยใหม่ก็บอกว่าเนี่ย พุทธศาสนาก็ถือเอาความชอบธรรมของกษัตริย์อยู่ที่กรรมดีที่ได้ทำไว้ในชาติก่อน แต่ว่าถ้าเราไปดูตามพระไตรปิฎกนี่ความชอบธรรมของผู้ปกครองอยู่ที่ไหน ก็จะเห็นว่าอยู่ที่ธรรมะใช่ไหม อยู่ที่ธรรม ธรรมเป็นตัวตัดสิน เช่นอย่างในอัคคัญญสูตรนี้จะชัดมาก ว่าอัคคัญญสูตรนี่จะพูดถึงเรื่องวรรณคดีต่าง ๆ ก็ไม่ถือว่า คือของพราหมณ์เขาก็ถือชาติกำเนิดเป็นตัวตัดสิน ชาติกำเนิดนั้นเป็นความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าหรือพระพรหมท่านสร้างมาอย่างนั้น ฉะนั้นก็ความขอบธรรมก็อยู่ที่วรรณะของเขาเองที่เกิดมา นี้พระพุทธศาสนาบอกว่า ไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด อยู่ที่การกระทำ แต่ว่าการกระทำนั้นเอาอะไรตัดสิน กรรมที่จะถูกต้องก็กรรมที่เป็นธรรมใช่ไหม ธรรมป็นตัวตัดสินขั้นสุดท้าย เพราะฉะนั้นในอัคคัญญสูตรจะมีคาถาที่สรุป หรือข้อความทั้งร้อยแก้วที่สรุปอยู่เรื่อย ๆ ทีเดียว ธรรมเป็นสูงสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา ว่าอย่างนั้นจะมีข้อความนี้อยู่เรื่อยเลย คือพุทธศาสนนี้ถือธรรมสูงสุด ทีนี้ถ้าเราเอาตามไตรภูมินี่ ไตรภูมิจะไม่มีคำสอนถึงระดับนี้ ไตรภูมิจะอยู่แค่เรื่องกรรมดีที่ทำไว้ในปางก่อน มีคติที่ถือแบบนี้ทำให้โน้มเอียงไปในที่ว่าไปเอียงในด้านกรรมเก่าใช่ไหม จนกระทั่งคนไทยนี่นับถือเรื่องกรรมเชื่อเรื่องกรรมในความหมายในแบบกรรมเก่าเสียมาก จนบางทีกลายเป็นเชื่อแบบนิครนถ์ไปเลย ก็คือกลายเป็นออกนอกพุทธศาสนา เพราะว่าลัทธิกรรมเก่าก็คือลัทธนิครนถ์ ที่พระพุทธศาสนาติเตียน คือไม่ใช่ติเตียน คัดค้าน เพราะนิครนถ์เขาถือว่าอะไรจะเป็นอย่างไรคนจะได้สุขได้ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์เป็นเพราะเป็นกรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน ลัทธินี้เรียกลัทธิบุพเพกตเหตุวาท พระพุทธเจ้าค้านไว้หลายแห่ง ก็มีลัทธิอยู่ 3 ลัทธิ ที่ถือว่าเป็นลัทธิที่ไม่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาไม่สนับสนุนการกระทำ ก็หนึ่งลัทธิกรรมเก่าที่ว่านี่ซึ่งลัทธินิครนถ์ แล้วก็สอง ลัทธิพระผู้เป็นเจ้าบันดาลว่าอะไรจะอะไรก็เป็นเพราะพระเทพพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่บันดาล แล้วก็ 3 ลัทธิแล้วแต่โชค นี้เมืองไทยเรานี่เราไปเน้นเรื่องกรรมที่ทำไว้ชาติก่อน แม้ว่าจะเน้นเรื่องการที่ให้พยามทำกรรมดีกรรมชั่วเอามาโยงกับปัจจุบันให้คนนี่นึกถึงผลกรรมที่ดีชั่วจากอดีตแล้วก็เตือนตัวเองให้ทำกรรมดีเว้นกรรมชั่ว แต่ว่าไป ๆ มา ๆ จุดเน้นไปอยู่ที่กรรมในชาติก่อน แล้วก็อย่างที่เคยพูดไปแล้วคนไทยเอาหลักธรรมมาใช้ในแง่ที่ว่าให้มาอยู่สุขสบาย ชีวิตก็สบายแล้วก็สังคมก็อยู่กันสันติสุขไม่เบียดเบียนกันในปัจจุบันก็ดีแล้ว มันก็เลยกลายเป็นว่ามาใช้หลักธรรมในเชิงของการหยุดนิ่งมากกว่า มากกว่าที่จะเดินหน้า นี้เรื่องกรรมก็มาเน้นในแง่เรื่องบุญเรื่องบาป กรรมที่ดีเป็นกรรมที่เป็นบุญ กรรมชั่วเป็นบาป ให้เว้นบาปทำบุญก็อยู่ในระดับนี้ ทีนี้ก็ถือว่าคนที่มาเกิดดีชาตินี้ก็เพราะกรรมดีเป็นบุญที่ทำไว้ในปางก่อนถือว่าเป็นคนมีบุญ ซึ่งมันเป็นด้านหนึ่งของพุทธศาสนาไม่ใช่ตัวตัดสินที่เด็ดขาด ตัวเด็ดขาดที่ทำให้กรรมนั้นมันเป็นกรรมที่ดีก็คือธรรมใช่ไหม เพราะฉะนั้นในพระไตรปิฎกจะชัดมาก อย่างอำนาจของผู้ปกครองก็จะไปอยู่ที่ธรรม เพราะธรรมเป็นตัวตัดสิน ธรรมก็ดูได้ในบัดนี้เลยในปัจจุบัน นี่เป็นตัวอย่างของการที่ว่าสังคมไทยนี้เรายังก้าวมาไม่ถึงหลักการที่แท้ของพุทธศาสนา มาได้ในระดับหนึ่งแล้วเสร็จแล้วพอมาได้ระดับหนึ่งแล้วเกิดยึดติดอันนั้น ก็เลยไอ้ตัวการยึดติดนั้นกลับไปถ่วงตัวเองไว้ไม่ให้เดินหน้าต่อ
ฉะนั้นในสังคมไทยที่ผ่านมานี้ก็ไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถาของพระเจ้าลิไทก็มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมาตลอดความเชื่อในทางพระศาสนาก็อยู่ในระดับของไตรภูมิเสียมาก อีกอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลมากก็ชาดก ได้แก่ทศชาติ ทศชาติก็มายึดในเรื่องของ ชาติเป็นพระเวสสันดรที่เราเรียกว่ามหาชาติ ซึ่งเน้นเรื่องทานและบารมี อันนี้เราจะมีวรรณคดีที่เกี่ยวกับเรื่องมหาชาตินี้ตั้งแต่ยุคอยุธยาเลย อย่างมหาชาติคำหลวง ต่อมาก็มีกาบมหาชาติ แล้วก็มีประเพณีเทศน์มหาชาติแผ่ไปทุกถิ่นเลย ทั้งภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือมีไหม เรียกอะไรภาคเหนือ ภาคอีสานเรียกว่าทำบุญพระเวทใช่ไหม ทางภาคกลางก็มีเรียกเทศน์มหาชาติ ทางภาคใต้ก็มี ทางภาคเหนือเรียกว่าอะไร แต่ก็มีนั่นแหละ นี่มีอิทธิพลไปทั่ว เราก็ใช้หลักคำสอนพระพุทธศาสนาในระดับของชาดก แล้วก็มีการเทศน์ชาดกอื่น ๆ ในโอกาสต่าง ๆ ก็เรื่องเป็นเรื่องของศีลธรรมการอยู่ร่วมกันในสังคมทั่ว ๆ ไป จะมีคนจำนวนน้อยที่จะเข้าถึงหลักธรรมที่เป็นเรื่องของปัญญาสุขุมลึกซึ้ง ซึ่งไม่ใช่ไม่มีนะบางยุคก็จะเอาจริงเอาจังกัน ก็จะมีคนจำนวนน้อยอันนี้มันก็ต้องยอมรับเรื่องของสังคมคนหมู่ใหญ่จะให้มาเข้าถึงคำสอนทั้งหมดเป็นไปได้ยาก แต่ว่าถึงหลักการทั่ว ๆ ไปนี่ คนส่วนใหญ่ก็มาอยู่แค่ระดับนั้น ก็ทีนี้ทานเรามาเน้นกันในชาดกเทศน์มหาชาตินี่ก็ได้ผลในสังคมไทยทำให้คนไทยนี้ไม่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มาก แล้วเราเน้นในเรื่องเมตากรุณาอยู่แล้ว แล้วแถมทานนี้ก็เข้ามาเป็นคำสอนใหญ่ทีเดียว ปรากฏว่าคนไทยที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความพร้อมที่จะบริจาคและให้แก่กันและเป็นคนที่ให้อย่างมีจิตใจกว้างขวางใช่ไหม ไม่ว่าจะช่วยเหลือกันทั่วไปเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันทั่วไปหรือว่าจะบำรุงพระศาสนา เวลาทำบุญธรรมทำกุศลต่าง ๆ ก็เน้นเรื่องทานนี้ คนไทยจะเรียกว่าแทบไม่อั้น จนกระทั้งว่า เวลาเราพูดว่าทำบุญนี้ก็จะเน้นไปที่ตัว ก็คือไปถวายทานไปเลี้ยงพระตาหารพระนี้แหละก็คือเรื่องทาน แล้วก็ลักษณะที่พร้อมที่จะบริจาคให้นี่ถ้าไปเทียบกันกับคนตะวันตก เราจะเห็นชัดเคยยกตัวอย่าง เช่น อย่างวัดไทยไปตั้งในอเมริกานี่ บางวัดก็มีตู้บริจาค ที่ตู้บริจาคจากนี้คนไทยเราไปอยู่อเมริกาก็มีฐานะดีบ้างไม่ดีบ้าง เวลามาวัดจะหย่อนในตู้บริจาคคนไทยจะใส่เป็นธนบัตรอเมริกันทีละ 5 เหรียญ 10 เหรียญ หรือบางคนอาจจะ 20 เหรียญก็แล้วแต่ แต่ 5 เหรียญ 10 เหรียญนี้ก็มักจะทั่วไป แต่ฝรั่งมานี้จะหยอดเหรียญเดี๋ยวก็ไปได้ยากเนี่ย ทั้ง ๆ ที่ว่าคนไทยไปอยู่ที่นั่นก็ย่อมไม่ได้มีฐานะดีกว่าฝรั่งใช่ไหม เงินฝรั่งก็แพง เหรียญหนึ่งตั้ง 20 บาท 25 บาท นี้คนไทยนี่รู้สึกมันง่ายเหลือเกิน คนไทยก็จะเรียกเงินเหรียญ 1 ว่าเหรียญ ก็เรียกว่าบาทเดียว 1 บาทใช่ไหม บาทหนึ่งก็คือเหรีญเดียวนั่นเอง งั้นจะเป็นเรื่องคล้าย ๆ ว่าธรรมดาของคนไทยที่มีจิตใจที่พร้อมจะให้ อย่างการที่ว่า อยู่ในหมู่เพื่อนฝูงก็เลี้ยงกันใช่ไหม ไปเลี้ยงกันก็แย่งกันเลี้ยง แย่งกันออกเงิน ซึ่งสำหรับฝรั่งเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม เราก็ได้ยินคำว่า อเมริกันแชร์ ต่างคนต่างออก นี่ก็กลายเป็นเรื่องของวัฒนธรรมไปด้วย ที่ว่ามานี้ก็เป็นเรื่องของการจะพูดให้เห็นว่าคนไทยเรานี่นำพระพุทธศาสนามาใช้หรือเอาหลักธรรมไปปฏิบัตินี่ เป็นเพียงการพยายามก้าวเข้ามาสู่ศาสนา แต่ว่าต้องพิจารณาว่าก้าวไปได้แค่ไหนเพียงไร
เรื่องไตรภูมิพระร่วง เรื่องเทศน์มหาชาติ ก็เป็นตัวอย่างในระดับสังคม ทีนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า การที่คนไทยเอาธรรมะมาใช้ในลักษณะที่ว่าพอให้อยู่สบายในลักษณะเชิงหยุดสงบนิ่ง อันนี้อาจจะเป็นด้วยอิทธิพลสภาพแวดล้อมทางด้านการเกษตรด้วยก็ได้ ชีวิตที่มีธรรมชาติแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ในน้ำมีปลาในนามีข้าวเนี่ย ทำให้คนก็ไม่ดิ้นรนขวนขวายอยู่แล้ว ทีนี้ว่าธรรมะนี้มาใช้ก็เพียงเพื่อว่าให้อยู่ร่วมกันสงบสุขไม่เบียดเบียนกันก็พอใจแล้วใช่ไหม นี้ธรรมะต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ อย่างสันโดษ เอามาใช้ก็ให้สบายอยู่สบายก็พอแล้ว จะสันโดษในแง่ที่ว่าจะได้เป็นพื้นฐานให้พร้อมที่จะก้าวไปอันนั้นเราก็ไม่มาใช้ อันนี้อาจจะเป็นเพราะลักษณะชีวิตแบบชีวิตเกษตรที่อุดมสมบูรณ์นี่จะมีแนวโน้มที่เป็นวงจรแบบว่าซ้ำเดิมอยู่เรื่อย ๆ ถึงเวลาน่าทำนา ก็ทำมาหากิน ทำไร่ไถนาอะไรไป พอถึงฤดูแล้งก็เสวยผลใช่ไหม ก็อยู่สบายพักผ่อน บางทีก็ตีไก่ แล้วมาสนุกสนานจะหนักไปเรื่องของประเพณี เรื่องของความสนุกสนานบันเทิง จะมีพวกประเพณีเกี่ยวกับเรื่องของความสนุกสนานนี้มาก สมัยปัจจุบันนี้พอเสื่อมลงหนักไปหน่อยก็คือว่า พอถึงหน้าแล้งก็ตั้งวงกินเหล้าเมายา เป็นมาก ในชนบท ก็ไม่กระตือรือร้นขวนขวายอะไรสภาพชีวิตมันก็สบายพอสมควร พอถึงฤดูทำมาหากินทำนาก็ทำไป พอเสร็จงานทำนา ก็พักผ่อน พอถึงหน้านาก็ทำกันใหม่ นี่เราก็ใช้ธรรมะแค่ว่า เอาพอมาให้อยู่กันสบายร่มเย็นเป็นสุขไม่เบียดเบียนกันก็พอแล้ว นั้นก็ไม่มีความโน้อมเอียงไปในทางที่จะใช้ธรรมะในเชิงเป็นฐานของการก้าวไปข้างหน้า
นี้ก็อาจจะเป็นเหตุหนึ่งของปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมชีวิตที่มีการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ แล้วก็อย่างเทคโนโลยี เทคโนโลยีในการพัฒนาเทคโนโลยีก็อาศัยความจำเป็นในการดำเนินชีวิตอย่างความขาดแคลน และในทางที่จะหาทางดิ้นรนเพื่อจะให้อยู่ได้รอดหรือดีขึ้น ทำให้พวกนี้ต้องพยายามหาทางออกก็ทำให้เกิดการประดิษฐ์สร้างสรรค์เทคโนโลยีได้ก้าวหน้า นี้การที่เทคโนโลยีก้าวหน้านี่ มันก็ค่อย ๆ ก้าวไปทีละน้อย ๆ ไม่ใช่พรวดเดียวไปได้มากมาย เมื่อก้าวไปทีละน้อย ๆ เรามาดูในคนไทยที่มีชีวิตสบาย ๆ
1 ความจำเป็นบีบคั้นที่จะทำให้มาสร้างสรรค์ทำเทคโนโลยีก็ไม่มีอยู่แล้ว
2 ถ้าใครทำอะไรได้แปลกเป็นเทคโนโลยีแบบชาวบ้านขึ้นมาได้นิดหน่อย คนอื่นจะไม่ค่อยสนใจ ไม่ค่อยตื่นเต้น ถ้าทำไปแล้ว เอ้าทำแล้วก็แล้วกัน เห็นแล้วก็อย่างนั้นแหละ แต่ถ้าเป็นเมืองฝรั่งนี่ ไอ้ความจำเป็นมันทำให้เกิดความต้องการ ถ้าทำอะไรได้ใหม่นี่มันรู้สึกตื่นเต้นเลย มันมีความสำคัญมาก แต่ในสังคมไทยคนอื่นก็จะไม่ค่อยเอาใจใส่ด้วย ทำได้ก็ทำไป แล้วเสร็จแล้ว ถ้าหากว่าจะต้องทำมันต้องใช้ความเพียรพยายามอีกใช่ไหม ก็เลยไม่อยากเอาใจใส่ ฉะนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีก็เป็นไปได้ยาก อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เราควรนำมาพิจารณาเป็นเพียงเรื่องของตัวอย่าง ที่ให้เห็นว่าปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่นสภาพแวดล้อมเป็นต้น ก็มีอิทธิพลในเรื่องของการสร้างความเจริญแบบที่เราเรียกกันในปัจจุบันซึ่งเน้นความเจริญทางด้านวัตถุ อันนี้เป็นเรื่องแทรกหรือเสริมจากเรื่องที่พูดมาแล้ว ก็เห็นจะพอสมควรน่ะ
ทีนี้ก็มาเข้าเรื่องสังคหวัตถุ เรื่องสังคหวัตถุนี่เป็นเรื่องต่อเนื่องจากพรหมวิหาร 4 ประการที่พูดไปแล้ว ที่นี้พรหมวิหารธรรมประจำใจของพรหม ซึ่งเป็นธรรมะที่เป็นคุณสมบัติของคนที่จะอยู่ร่วมสร้างสรรค์สังคมนี้หรือว่าสร้างโลกอภิบาลโลกนี่ ก็มี 4 อย่างที่ว่าไปแล้วเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา แต่ว่าพรหมวิหาร 4 นี้ที่จริงเป็นธรรมะในระดับคุณสมบัติในใจเท่านั้น ยังไม่ได้ออกมาในภาคปฏิบัติการจริง ๆ เวลาเราพูดกันอธิบายกันเนี่ย พูดเหมือนกับว่าออกมาสู่การปฏิบัติด้วย เพราะว่ามันเนื่องกันอยู่ อยู่ในใจแล้วก็แสดงออก แต่ที่จริงมันเป็นเพียงขั้นคุณสมบัติในใจ ที่ว่าเป็นพื้นฐานของการแสดงออกอีกทีหนึ่ง การแสดงออกนี้มันไม่ใช่ตัวพรหมวิหารแล้ว ถ้าเรามีแค่พรหมวิหารก็ได้แค่ท่าทีของจิตใจ แล้วก็เป็นคุณธรรมภายใน นี้ถ้าไม่ออกสู่การปฏิบัติเนี่ยก็จะมีผลน้อย เหมือนอย่างว่ามาแผ่เมตตากันนี่ ก็ปรารถนาดีอยากให้คนอื่นเป็นสุข เหมือนเรานั่งสมาธิเสร็จ ก็แผ่เมตตาว่าสัพเพสัตตาเป็นต้น ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด นี้ฝรั่ง มีฝรั่งที่มาเรียนรู้พุทธศาสนาผิว ๆ เผิน ๆ ในแง่หลักธรรมแล้วก็มาเรียนจากพฤติกรรมของชาวพุทธบางส่วน ก็ไปเขียนหนังสืออย่างนาย Albert Schweitzer ซึ่งเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงทางตะวันตก ก็ไปเขียนว่า โอ้ ดูคำจำกัดความคำว่า ทำดีในพุทธศาสนานี่ ทำดีในพุทธศาสนาคือเว้นชั่ว แล้วก็ให้มีเมตตากรุณา เมตตากรุณาก็ไม่เห็นออกมาเป็นการปฏิบัติ ฉะนั้นการทำความดีของชาวพระพุทธศาสนานี่ ไม่มีผล ไม่มีการปฏิบัติในระดับสังคม เหมือนกับว่านอนแผ่เมตตาอยู่ในมุ้งก็เป็นการทำความดีแล้ว นี่น่ะทัศนะของ Albert Schweitzer ซี่ง Professor and Sutton Robert I. Sutton ที่มาร่วมในการก่อตั้งคณะรัฐประหารศาสตร์ ที่มหาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นได้เอามาตั้งเป็นสถาบันบัฒฑิตพัฒนาบริหารศาสนค์ปัจจุบัน หรือนิด้า นี่ Professor Robert I. Sutton นี่ก็ได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง ชื่อ Public Administration in Thailand แกก็ไปอ้างเอาคำของ Albert Schweitzer นี้มาให้เห็นว่า อ้อ พุทธศาสนานี้ไม่ได้ช่วยให้พัฒนาสังคมเลย การทำดีในพุทธศาสนาก็แค่ไม่ทำชั่วแล้วก็มีเมตตากรุณา เมตตากรุณา ก็แค่แผ่เมตตาอยู่ในมุ้งทีว่าน่ะ แกไม่ได้พูดใช้คำนี้แหละ แต่ผมพูดเอาสาระสำคัญ สรุปได้ว่าแกพูดทำนองนี้ เพราะฉะนั้นเมื่อเอาแค่มีเมตตาอยู่ในใจ แค่นอนแผ่เมตตาในมุ้งก็เป็นทำดีแล้วก็เลย ชาวพุทธก็ไม่ต้องไปทำอะไรที่เป็นปฏิบัติการในสังคมใช่ไหม เพราะฉะนั้นจะทำให้สังคมเจริญพัฒนาได้อย่างไร เขาก็บอกพุทธศาสนาก็เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ขัดขวางการพัฒนาประเทศ นี่เป็นทัศนะของ Robert I. Sutton ที่มาเป็น Professor สอนด้วยและร่วมกันก่อตั้งดำเนินงานของคณะรัฐประหารศาสตร์ ที่ว่าต่อมาได้มาตั้งเป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
นี้ชาวพุทธเองก็ต้องมาตรวจสอบตัวเองด้วย การที่เขาเขียนอย่างนั้น มันก็เป็นโอกาสให้เราได้มาสำรวจตัวเองเหมือนกัน ทีนี้ ชาวพุทธเราตอนนั้นก็มีไปโกรธตา Sutton นี่ ด่าทอ Sutton กันเยอะเหมือนกัน ถ้าเราไปมัวด่าทออยู่ก็ไม่ได้ประโยชน์เท่าไหร่ ถ้าเขาพูดผิดมาก็ชี้แจงเป็นไปด้วยเหตุผลด้วยปัญญา แล้วก็ตัวเองก็ต้องสำรวจตัวเองว่าเรามีข้อบกพร่องอย่างไรหรือเปล่าด้วย พุทธเจ้าตรัสก็สอนไว้ ถ้าใครมาติเตียนพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ อย่าไปโกรธเขานะว่าอย่างงั้น แล้วถ้าหากว่าเขาติเตียนไม่ถูกก็ชี้แจงไปตามเป็นจริงว่าความจริงเป็นยังไง ทีนี้ก็เราก็ควรจะสำรวจตัวเอง ที่จริงชาวพุทธก็อย่างที่ว่าเมื่อกี้ บางทีการนำธรรมะมาใช้ ก็ใช้ไม่ครบถ้วน อย่างพรหมวิหารก็ใช้ไม่ครบ หรืออย่างการเชื่อมต่อจากภาคคุณสมบัติในใจมาสู่ปฏิบัตินี่เราก็ไม่ค่อยชัดกัน นี่ก็เอามาพูดว่า พรหมวิหารเป็นธรรมะที่เป็นคุณสมบัติในใจ ทีนี้จะทำให้เกิดผลทางปฏิบัติ มันก็ต้องมีธรรมะอื่นมารับช่วง ธรรมะที่จะมารับช่วงมีเยอะ แต่ชุดหนึ่งที่รับกันโดยตรงเลย ก็คือสังคหวัตถุนี่แหละ สังคหวัตถุนี้ก็แปลว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์ สังคหก็แปลว่าการสงเคราะห์ วัตถุแปลว่าเป็นที่ตั้ง ถ้าใช้เป็นภาษาไทย ที่ตั้ง ธรรมะเป็นที่ตั้ง ก็คือหลักนั่นเอง วัตถุก็คือหลัก สังคหก็การสงเคราะห์ ทีนี้การสงเคราะห์แปลอะไร ในภาษาไทยเราก็จะมองว่าการสงเคราะห์ก็คือการช่วยเหลือกัน แต่ที่จริงไม่ใช่ความหมายที่แท้ในภาษาบาลี คำว่าสังคหหรือสงเคราะห์นี่ แปลตามตัวแปลว่าจับมารวมเข้าด้วยกัน จับรวมเข้าด้วยกัน แปลว่าสังคห หรือ สงเคราะห์ พอมาใช้ในภาษาไทยเราใช้ในความหมายว่าช่วยเหลือกัน ทีนี้พอใช้ความหมายใกล้กว่าเดิม เราก็ให้ว่าสังเคราะห์ ที่จริงจะเป็นสังเคราะห์หรือสงเคราะห์ ตัวศัพท์เดิมมันก็อันเดียวกัน แต่พอมาใช้เป็นไทยแล้วสงเคราะห์ความหมายหนึ่ง สังเคราะห์ไปอีกความหมายหนึ่ง ทีนี้สังเคราะห์ก็เป็นรูปที่ไปทางสันสกฤต บาลีเป็นสังคหะ บอกแล้วจับรวม จับรวมก็คือประมวล หมายถึงหลักการที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจคนแล้วรวมให้คนนี้อยู่มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็ทำให้คนนี้ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันนั่นเอง ฉะนั้นสังคหะนี้ หลักสร้างความเป็นปึกแผ่น ความมั่นคง ความมีเอกภาพขึ้นในสังคม สังคมข้อสำคัญ ทำไงจะทำให้รวมกันได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ นั้นก็เวลาพูดถึงเรื่องสังเคราะห์นี่ เราจะเห็นในหลักธรรมหลายอย่าง พระพุทธเจ้าจะตรัสไว้ซึ่งมีคำชุดว่า สังคหะ แล้วไม่วิวาท แล้วก็สามัคคี แล้วก็เอกีภาพ จะมาเป็นชุดเลย อย่างสาราณียธรรมเป็นต้น พอมีสาราณียธรรมแล้วจะทำให้ไปด้วยสังคหะ ก็คือการที่ร่วมกัน รวมกัน หรือเป็นปึกแผ่น แล้วไม่วิวาทกัน แล้วสามัคคีกัน แล้วเป็นเอกภาพ นั้นตกลงว่าการสงเคราะห์หรือสังคหวัตถุคือหลักการที่ว่าจะยึดเหนี่ยวให้หมู่ชนนี่อยู่รวมกันได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมีเอกภาพนั่นเอง นี้การที่จะยึดเหนี่ยวกันเป็นเอกภาพนี้ การช่วยเหลือนี่เป็นสำคัญเลย เพราะฉะนั้นความหมายที่ขยายออกมาก็เป็นในรองลงมาว่าช่วยเหลือกันนั่นเอง สงเคราะห์ แต่ความหมายแท้ก็คือว่า ยึดเหนี่ยวรวมประสาน ประสานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความหมายรองว่าช่วยเหลือกัน เพราะการช่วยเหลือกันนั้นจะนำไปสู่การยึดเหนี่ยวใจกันและประสานให้อยู่ร่วมกันได้ดี
ทีนี้ดูว่าเอาแล้วหลักการสงเคราะห์ที่ว่ายึดเหนี่ยวให้รวมกันได้มีอะไรบ้าง ก็มี 4 ข้อ ก็คงจะได้ยินกันมาแล้วนะว่าได้ไหม เอามี 1 ทาน 2 ปิยวาจา 3 อัตถจริยา 4 สมานัตตตา แต่เข้าใจว่าทุกท่านคงรู้ความหมายด้วย แต่ว่ามาพูดวันนี้ก็ถือว่ารู้แล้วทวนเท่านั้นก็พอ อันนี้เราต้องการชี้ให้เห็นว่าสังคหวัตถุนี้เป็นธรรมะภาคปฏิบัติการ แล้วก็มาชี้ว่ามันโยงไปหาภาคคุณสมบัติในจิตใจอย่างไร
1 ทาน การให้ การแบ่งปัน ถ้าพูดในแง่ช่วยเหลือ ก็ช่วยเหลือกันด้วยวัตถุสิ่งของทรัพย์สินเงินทองใช่ไหม นี่ทานคือช่วยเหลือด้วยสิ่งของ เราพูดว่าการให้
2 ปิยวาจา นี่วาจาเป็นที่รัก หรือวาจาที่เกิดจากน้ำใจรัก อันนี้เป็นด้านคำพูดแล้ว ถ้าเราจะเอาคำว่าช่วยเหลือกันมาใช้ก็จะช่วยเหลือด้วยถ้อยคำ อันที่ 1 นี้ช่วยเหลือเงินทองสิ่งของ ข้อที่ 2 นี้ช่วยเหลือด้วยจาคือถ้อยคำ
3 อัตถจริยา แปลว่าการบำเพ็ญประโยชน์ อันนี้หมายถึงการช่วยเหลือกันด้วยเรี่ยวแรงกำลังกาย นี่คนจะช่วยเหลือกันมันก็มีหลัก 3 ด้าน 1 ช่วยเหลือด้วยสิ่งของเงินทอง 2 ช่วยเหลือด้วยถ้อยคำ 3 ช่วยด้วยเรี่ยวแรงกำลัง ที่นี้ต่อไป 4 อันนี้ไม่เห็นเป็นการช่วยเลย ข้อ 4 ใช่ไหม เนี่ยรองดูในพรหมวิหารนี่ 3 ข้อแรก จะมีลักษณะสอดคล้องกัน แต่พอมาข้อ 4 แล้วไม่เหมือนแล้ว เมตตากรุณามุตทิตานี่ จะไปแนวเดียวกันพอมาข้อ 4 นี่ มีลักษณะพิเศษออกไป นี่ก็เหมือนกัน ในสังถุคหวัตถุ 3 ข้อแรกนี่เป็นเรื่องช่วยเหลือกันอย่างที่ว่า แต่มาข้อ 4 ไม่เห็นเป็นการช่วยเหลือเลย สมานัตตตาแปลว่าความมีตนเสมอ ความมีตนเสมอหรือภาษาไทยที่เอามาจากบาลีก็แปลว่าสมาน เพราะว่าสมานัตตตา ศัพท์เองก็บอกว่าสมณะอยู่แล้ว สมานัตตตา สมานะอัตตตา ตาแปลว่าความหรือภาวะ อัตตะแปลว่าต้น สมานะแปลว่าเสมอ คำว่าเสมอก็คือสมานะ สมานะอ่านเป็นไทยสะมาน สมานตัวนี้คิดว่าคงไม่ผิดต้องเอามาจากบาลีตัวนี้ สมานในภาษาไทยที่ปัจจุบันนี้เรามาแปลกันว่าประสานใช่ไหม สมานกลมกลืนกัน จนกระทั่งว่าคนไทยนี้ไม่ได้เข้าใจความหมายของคำว่าสมาณะว่าเสมอแล้ว เวลาเห็นคำว่าสมานนี่คนไทยไม่ได้มองความหมายว่าเสมอ แต่คนไทยมองความหมายว่าประสานกลมกลืน ถ้าเรายอมรับว่าสมาน สมานในภาษาไทยมาจากสมานะในภาษาบาลี ก็แสดงว่าความหมายของคำว่าสมานะที่แปลว่าเสมอนี่ สำหรับคนไทยแล้วเน้นแง่ของการประสานกลมกลืน ซึ่งสอดคลองกับความหมายเดิมของภาษาบาลี ที่ว่าสมานะเป็นความเสมอในเชิงประสาน เป็นข้อสังเกตุให้เห็นว่าต่างกับยุคปัจจุบันที่คนมองความเสมอในทางแบ่งแยก ขอใช้คำว่าแบ่งแยกและแก่งแย่ง คนปัจจุบันนี้มีความเสมอภาคในลักษณะแบ่งแยกและแก่งแย่ง คือจะมองด้วยความรู้สึกแข่งกัน หรือว่าจ้อง เช่นว่า เพ่งว่า เอ้อเขาได้เท่าไหร่ เราได้เท่าเขาหรือเปล่าใช่ไหม นี่คำว่า เสมอก็คือเท่าใช่ไหม ถ้าเขาได้ 50 เราต้องได้ 50 เขาได้ 50 เราไม่ได้ 50 แสดงว่าเราไม่เสมอภาคใช่ไหม จะมีการจ้อง เมื่อจ้องก็คือตัวเองก็อยากจะได้ อยากจะเอาต้องได้เท่ากัน เมื่อต่างคนต่างจะเอาแล้วมองว่าได้เท่ากันจะมองเป็นลักษณะที่แบ่งแยกกัน แล้วก็แก่งแย่งกัน
ทีนี้ลองดูความหมายของคำว่าเสมอแบบเดิม เสมอแบบเดิมที่มาจากพุทธศาสนาซึ่งใช้คำว่าสมาณะ อ่านเป็นไทยว่าสมาน กลายเป็นประสานกลมกลืน ทำไมเสมอมีความหมายเป็นเชิงประสานได้ ก็ดูความหมายเดิมสมานัตตตา ท่านอธิบาย อธิบายว่าสมานัตตตาความเป็นผู้มีตนเสมอ คือเสมอในสุขและทุกข์หรือมีสุขและทุกข์เสมอกัน ท่านอธิบายความหมายหนึ่งว่าสมานสุขทุกขตา ความเป็นผู้มีสุขและทุกข์เสมอกัน พอสุขและทุกข์เสมอกัน ก็เสมอในสุขและทุกข์ เสมอในสุขและทุกข์คือยังไง เขาสุขก็สุขด้วย เขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วยใช่ไหม เสมอในสุขและทุกข์นี้มีลักษณะร่วมทันทีเลย เพราะฉะนั้นแปลเป็นไทยนี่มีสุขและทุกข์เสมอกัน จะแปลเป็นไทยว่าร่วมสุขร่วมทุกข์ใช่ไหม พอร่วมสุขร่วมทุกข์ ทุกข์นี้มันประสานทันทีแล้ว หมายความว่ามีสุขก็สุขด้วย แต่มีทุกข์ก็ไม่ทิ้งกัน ความหมายแต่เดิมมามันน้อมให้รู้สึกว่าเสมอนั้นคือร่วมใช่ไหม ฉะนั้นไป ๆ มา ๆ สมานะที่แปลว่าเสมอเนี่ย อ่านเป็นไทยว่าสมานก็มีความหมายเป็นประสานกลมกลืนกันเลย จนกระทั่งเวลานี้แล้วสมานก็จะมีความหมายต่างจากเสมอไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่ตัวเดิมมันคือที่มาของคำว่าเสมอ แต่พจนานุกรมก็คำว่าสมณะในภาษาบาลีที่อ่านเป็นไทยเป็นสมานก็เลยมีความหมายเป็นว่าประสานกลมกลืน ต่างจากคำว่าเสมอไปแล้ว ทีนี้ในพจนานุกรรมราชบัณฑิตสถานมีไม่แน่ใจว่าจะให้รากศัพท์ที่มาของศัพท์ไว้ว่าสมานในภาษาไทยมาจากสมานะในภาษาบาลีหรือเปล่า อาจจะไม่ให้ก็ได้น่ะ เพราะกลัวว่าเดี๋ยวจะหาว่าลากเข้าวัด แต่คิดว่าไม่ผิด สมานะ สมาน สมานในไทยน่าจะต้องมาจากสมานะของภาษาบาลี แล้วมันมีเค้าที่ชัดเจน ก็เป็นอันว่า คำว่าเสมอคือสมานในภาษาบาลีนั้น มาในคำว่าสมานัตตตามีตนเสมอกัน หมายถึงความเสมอภาค แต่เป็นความเสมอที่มีความหมายเชิงประสานกลมกลืน เพราะว่าความหมายเบื้องต้นก็คือว่า มีสุขและทุกข์เสมอกัน หมายความว่าร่วมสุขร่วมทุกข์ บางคนร่วมสุขร่วมทุกข์มันก็ประสานกลมกลืนแล้วใช่ไหม มันไม่มีแบ่งแยกมาจ้องกันว่าในแง่แย่งชิงผลประโยชน์ว่าใครได้มากกว่ากัน ถ้าหากไปแก่งแย่งผลประโยชน์แล้วมันก็ต้องแบ่งแยกกันใช่ไหม
ทีนี้ความเสมอภาคคนปัจจุบันนี่บางทีแทบจะนึกไม่ออกว่ามันจะมีความหมายเชิงประสานได้อย่างไรใช่ไหม แสดงว่าไปมากแล้ว เหตุที่ไปมากอย่างนี้เพราะคนปัจจุบันนั้นมีหลักการของเรื่องของความเสมอภาคอยู่ใต้อิทธิพลของลัทธิทุนนิยม ลัทธิเศรษฐกิจที่แสวงหาผลประโยชน์ของแต่ละบุคคล ก็ทำให้แต่ละคนในเพ่งต้องหาผลประโยชน์ของแต่ละคน ความเสมอภาคก็มีความหมายมาสนองไอ้ความต้องการอันนี้ การต้องการแย่งชิงผลประโยชน์ ก็ทำให้แบ่งแยกจากกันและแก่งแย่งกัน แล้วกลายเป็นว่า ถ้าแกได้ 50 ฉันก็ต้องได้ 50 ถ้าแกได้ 100 ฉันต้องได้ 100 ความหมายอย่างนี้ก็คือความหมายเชิงแก่งแย่งผลประโยชน์และแบ่งแยก แต่ถ้าความหมายแบบสมานัตตตาก็เสมอแบบประสานที่ว่า เสมอในสุขและทุกข์ มีสุขและทุกข์เสมอกัน ร่วมสุขร่วมทุกข์ ต่อจากนั้นยังมีความหมายไปอีกว่าที่ว่าเสมอกัน เอ้า
1 ไม่ดูถูกดูหมิ่นกัน การไม่ดูถูกดูหมิ่นกันเป็นความเสมอชนิดหนึ่ง ทำให้ประสานได้ใช่ไหม พอไม่ดูถูกดูหมิ่นกันมันก็ทำให้เกิดความเสมอภาคเชิงสมาน เชิงประสาน ต่อไปไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง เรื่องที่รักผลักที่ชังนี้ก็ช่วยให้คนประสานกันได้ ก็เป็นความเสมอภาคเชิงประสานอีกแล้ว ต่อไปไม่เอารัดเอาเปรียบกันก็เป็นความหมาในเชิงประสาน คนเราแม้จะช่วยกันด้วยดี มีการให้ การพูดดี แต่รองไม่มีความเสมอภาคในข้อสุดท้ายเนี่ยก็รักษาสังคมไว้ไม่อยู่ใช่ไหม แตกแยกหมด แล้วลองเลือกที่รักผลักที่ชังซิ ทั้ง ๆ ที่ทานก็ให้ วาจาก็พูดดี แต่ลงเลือกที่รักผลักที่ชังก็จบ ไม่สามารถรักษาความสามัคคีไว้ได้ แตกแยกอีก เพราะฉะนั้นข้อสุดท้ายคุมหมดเลย แล้วมันก็คือการรักษาความเป็นธรรมนั้นเองถูกต้องตามหลักการใช่ไหม เพราะฉะนั้นสมานัตตตานี้จะสอดคล้องกับหลักเรื่องอุเบกขา เพราะรักษาธรรมะ รักษาความถูกต้อง รักษาความควรจะเป็น รักษาความเป็นเหตุเป็นผล รักษาตัวความยุติธรรมตัวธรรมะความชอบธรรมทั้งหมดไว้ ก็เลยพูดได้ว่าหลักสังคหวัตถุ 4 ประการเนี้ย สืบเนื่องสอดคล้องกันกับหลักพรหมวิหาร 4 พรหมวิหาร 4 ก็อยู่ในใจออกมาเป็นภาคปฏิบัติ ก็สังคหวัตถุ ทีนี้เราก็มาดูความสอดคล้องกันเริ่มตั้งข้อ 1 ทานการให้ช่วยเหลือกันด้วยวัตถุสิ่งของและเงินทอง เราก็ช่วยได้เมตตา 1 ให้ด้วยเมตตา ให้ด้วยความรักในยามในเขาเป็นปกติ เราก็เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในกันเขาไม่มีทุกข์เดือดร้อนอะไร ยกตัวอย่างบ่อย ๆ เช่นว่า สมัยก่อนเนี้ยคนไทยเราเวลาทำกับข้าวอร่อย ๆ เป็นพิเศษ เราจะมีการแบ่งไปให้เพื่อนบ้าน วันนี้บ้านนี้แกงนี้ ก็จะเอาแบ่งไปให้บ้านโน้น พอวันพรุ่งนี้บ้านโน้นทำกับข้าวนี้อร่อยพิเศษก็มาแบ่งให้บ้านนี้ อย่างนี้เรียกว่าให้ด้วยเมตตาด้วยไมตรี เขาก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรนี่ไปให้เขา แล้วอย่างเราอยู่กันธรรมดา บางทีเราก็แบ่งปันให้กันทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เดือดร้อน การให้อย่างนี้เรียกว่าให้ด้วยเมตตา หรือไมตรี ทีนี้ 2 เขาตกทุกข์ได้ยากเดือดร้อน คนน้ำท่วม ไฟไหม้ เราก็บริจาคเงินทองสิ่งของไปช่วย อย่างนี้เรียกว่าให้ด้วยกรุณาใช่ไหม นี้การให้ก็ต่างไปตามคุณธรรมในใจ ก็คือพรหมวิหาร ให้ด้วยกรุณา 3 เขาทำความดี เขาขาดเงินขาดทอง เราก็ไปให้เงินบริจาคเพื่อช่วยสนับสนุนการกระทำความดีนั้น อันนี้ให้ด้วยมุตทิตาใช่ไหม แต่ในสังคมนี้ของเรา การให้ด้วยมุตทิตานี้อาจจะน้อย การให้ด้วยเมตตากรุณานี้มาก การให้เพื่อส่งเสริม การกระทำความดีที่อาจจะเบาไปหน่อย
แต่เดิมเราให้ โดยที่ว่าเป็นประเพณีจึงเป็นวัฒนธรรมแล้วกลายเป็นเรื่องทำบุญทำกุศลนี่ ที่ทำบุญส่วนมากนี้เป็นการให้ด้วยมุตทิตาน่ะ ก็วัดนี่เป็นแหล่งของการศึกษาเป็นต้น เป็นแหล่งของการทำความดีและสร้างสรรค์ กิจกรรมในวัด การศึกษา การให้ การอบรมแก่พระสงฆ์ กิจกรรมสร้างสรรค์นี้มาอยู่ที่วัดมากเพราะว่าวัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาและศูนย์กลางของสังคม นั้นเราจะต้องการส่งเสริม การกระทำความดีงามหรือการสร้างสรรค์ในสังคม แล้วก็เลยนิยมไปบริจาคให้วัด เช่นว่าไปสร้างกุฏิก็คือที่อยู่ของกุลบุตรกุลธิดาในชนบท ในชุมชนในหมู่บ้านนั้นทั้งหมดซึ่งทุกคนมีสิทธิ์จะมาอยู่กันทั้งนั้น หมุนเวียนกันมาอยู่ ทำไมสร้างวัด กุฏิสวยงาม ตอนหลังคนไม่เข้าใจนึกว่า เอ้ทำไม วัดนี้สร้างพระที่อยู่ดีกว่าชาวบ้าน ชาวบ้านรอบวัดยากจนที่อยู่แย่ วัดนี่สร้างกุฏิสบาย ซึ่งปัจจุบันก็อาจจะเลยเถิดไปน่ะ เพราะมันกลายเป็นส่วนตัวไป พระอยู่อย่างสบาย อย่างนี้ไม่ใช่ แต่ของเดิมไม่ใช่อย่างนั้น ของเดิมก็คือกุฏิเนี่ยก็เป็นสมบัติส่วนรวมของชุมชนนั้น เพราะวัดทั้งวัดเป็นสมบัติของชุมชนอยู่แล้ว แล้วไม่เป็นของผูกขาด พระที่อยู่ในวัดก็ไม่ได้เป็นเจ้าของวัด ไม่ใช่เป็นเจ้าของกุฏิ เวลาสร้างขึ้นมาแล้วชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกัน แล้วคนในหมู่บ้านนั้นก็หมุนเวียนกันไป บวชมาตั้งแต่ปู่ ทวด มาพ่อก็ไปบวชที่วัดนั้น มาลูกก็ไปบวช แล้วลูกไปบวชก็ไปเรียนหนังสือไปอยู่ที่กุฏิใช่ไหม ก็ใช้กุฏินั้น กุฏินั้นก็เป็นสมบัติร่วมกันของหมู่บ้าน นั้นเป็นสมบัติของส่วนรวม เพราะฉะนั้นชาวบ้านเขาก็เห็นความสำคัญของสมบัติส่วนรวมนี้ ไอ้สมบัติของส่วนตัวก็ช่างมันเถิด แต่ว่าส่วนรวมที่เราใช้ประโยชน์ร่วมกันและใช้เพื่อความดีงามนี่ก็ต้องเอาใจใส่ นั้นการทำด้วยมุตทิตานั้นมีมาแล้ว ก็คือการทำบุญที่วัดนั้นเอง ถ้าเป็นเมตตากรุณาก็อยู่ในหมู่ชาวบ้านนี่ ตกทุกข์ได้ยากกันช่วยเหลือกันไป พอจะสร้างสรรค์ให้ทานแบ่งปันให้ด้วยมุตทิตา ก็จะไปส่งเสริมกิจกรรมของวัด เช่นการสร้างกุฎิ ที่อยู่ศาลาเป็นที่ประชุมของชุมชนใช่ไหม ศาลาการเปรียญเป็นที่ชาวบ้านจะมาทำกิจกรรมของชุมชนร่วมกัน จะมาฟังธรรม มารักษาศีล มาอยู่ค้างคืนรักษาอุโบสถ มาเป็นที่ประชุมของชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน แถมเวลาสงครามก็มาประชุมกันที่ลานวัดนี่อีกใช่ไหม ใช้ศาลาวัดอีกใช่ไหม สมัยก่อนนี่ลองดูซิ ตอนที่มีสงคราม ในหลวงจะยกทัพออกไป ก็ต้องหาวัดใหญ่ ๆ ไปประชุมกันที่ลานวัด นั้นวัดนี่เป็นศูนย์กลางกิจกรรมของชุมชน ต่อมาเราไม่สามารถเข้าใจความหมายเดิมนี้ มันเพี้ยนไปหมด แม้แต่ว่าพระเราก็ไม่รู้ว่าตัวเองนี่มีวัดเพื่อสนองความต้องการของชุมชน เป็นประโยชน์แก่สังคมก็กลายเป็นของตัวเอง เอาใจใสแต่การที่จะอยู่ ตัวเองจะอยู่ให้สบายกูฏิกลายเป็นเรื่องส่วนตัวไปเลย งั้นก็มีส่วนมีเหตุผลให้ชาวบ้านเขาไปติเตียนเหมือนกันว่า พระนี่อยู่สบายสร้างกุฏิอยู่หรูหร่า ดีกว่าชาวบ้านแต่ที่จริงนั้นความหมายเดิมไม่ใช่อย่างนั้น ความหมายเดิมนั้นคนไทยจะต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า อันนั้นก็คือสมบัติร่วมกันของชุมชนหรือสังคมและก็เป็นทางที่จะทำให้สังคมนั้นมีความเจริญก้าวหน้าเป็นแหล่งของการสร้างสรรค์ทำความดี เราจึงเรียกไปทำบุญ ไปบริจาคให้วัด ก็นี่แหละเข้าหลักที่เรียกว่า ให้ด้วยมุตทิตาน่ะ เอาละครับ ทีนี้ก็เป็นอันว่า ข้อทานให้ ก็มาจากพรหมวิหาร ได้ทั้งเมตตากรุณามุทิตา
ต่อไปปิยวาจา พูด หรือช่วยเหลือกันด้วยถ้อยคำ ก็เช่นเดียวกัน ยามปกติเขาไม่ได้เดือนร้อนเป็นทุกข์ เราก็พูดจากไพเราะอ่อนหวาน เจอกันก็ทักทายปราศรัยพูดดีต่อกันเป็นมิตรไมตรีนี่แสดงว่า ปิยวาจาพูดดีด้วยเมตตา ต่อมาเขาประสบทุกข์เดือดร้อน ตกต่ำมีปัญหาเราก็ไปช่วยด้วยวาจา คือไปพูดปลอบโยนให้กำลังใจให้ต่อสู้อย่างไปท้อถอย หรือว่ามีสติปัญญาเราก็ใช้คำพูดแนะนำว่าควรจะแก้ปัญหาอย่างนี้ บอกวิธีแก้ปัญหา ให้ความรู้ในการที่จะแก้ปัญหา เอ้าปิยวาในกรณีนี้ ก็เป็นการ ปิยวาพูดดีช่วยด้วยวาจาซึ่งเกิดจากกรุณาใช่ไหม นี่แปลว่าพูดดีด้วยกรุณา ต่อไปเขาทำความดีเราก็ไปพูดส่งเสริมให้กำลังใจให้เขาทำความดียิ่งขึ้น เขาประสพความสำเร็จในสิ่งที่ดีงามเราก็เป็นพูดจาพลอยแสดง พลอยแสดงความยินดีด้วย ส่งเสริมให้กำลังใจสนับสนุนยิ่งขึ้นไป นี้แสดงว่าพูดดีด้วยมุทิตาใช่ไหม ก็ครบแล้ว ปิยวาจาก็มาจากเมตตาก็ได้ กรุณาก็ได้ มุทิตาก็ได้
ต่อไปอัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือเรี่ยวแรงกำลัง อันนี้ก็เช่นเดียวกัน เขาอยู่เป็นปกติก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร เราก็ช่วยเหลือมีแรงกำลังก็มาช่วยกัน ยกเข้ายกของให้ ยกเกาอี้ให้ อะไรอย่างนี้น่ะ ก็เหมือนอย่างกับเพื่อนเรานี่แหละ เขาก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร เดินไปด้วยกันก็ถือของหนักกว่าเรา เขาไปคนเดียวเราไม่ไปด้วยเขาก็ถือไหว แต่เราไปด้วยมือเราว่างกว่า เราก็เอ้อ เดี๋ยว ๆ ช่วยถือ แบ่งเบากับเขาอย่างนี้เรียกช่วยกันด้วยเมตาใช่ไหม ก็สละแรงงานของเราให้แก่เขา ต่อมาคนอื่นเขาประสพความทุกข์ความเดือดร้อน ตกน้ำว่ายน้ำไม่เป็น เราแข็งแรงว่ายน้ำเป็นด้วย เราก็สละเรี่ยวแรงกำลังของเราโดดน้ำลงไปช่วย ช่วยคนตกน้ำนี่แสดงว่าอัตถจริยาด้วยกรุณาและบำเพ็ญประโยชน์เอาแรงช่วยด้วยกรุณา
ต่อไปเขาทำความดีกัน ทำความดีสร้างอะไรที่เป็นประโยชน์ เราก็ไปช่วยเอาแรงเข้าไปช่วยสนับสนุนอย่างสมัยโบราณนี้บอกแล้วว่าวัดนี่เป็นศูนย์กลางของสังคมเป็นแหล่งที่ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เวลาสร้างกุฏิก็คือสร้างที่อยู่อาศัยของทุกคนที่จะได้ไปบวชไปเรียน ไปเรียนคนละ 3 เดือนได้ใช้กุฏินั้น นัดกันมาเยอะเป็นต้น ทีนี้พอเขาสร้างกุฏิกันนี่ชาวบ้านจะไปสละแรงไปช่วยกัน ในกรณีนี้การที่เป็นแรงงาน เอาแรงงานไปช่วยก็เป็นการสนับสนุนการทำความดีในกรณีนี้เรียกว่าช่วยด้วยมุทิตาใช่ไหม ไปช่วยสร้างกุฏิไปช่วยขุดบ่อน้ำ หรืออย่างประเพณีประจำปีก็คือขนทรายเข้าวัด การที่ชาวบ้านไปสละแรงงานช่วยขนทรายเข้าวัด ก็เป็นการช่วยอัตถจริยาด้วยมุทิตานี่เป็นตัวอย่างตกลงครบแล้วนะ สังคหวัตถุเป็นภาคปฏิบัติการในสังคมชัดเลย แล้วก็เอาไปคูณกับพระวิหารในใจ 3 ข้อแรก ทานให้ ปิยวาจาพูดดี แล้วก็ 3 อัตถจริยา การช่วยด้วยเรี่ยวแรงกำลังบำเพ็ญประโยชน์ แล้วเอาไปคูณกับพรหมวิหารเมตตากรุณามุทิตาแสดงออกอย่างละ 3 เป็น 9 สถานการณ์ 9 สถานการณ์ออกมาแล้วน่ะ
เป็นอันว่าทานให้ด้วยเมตตาก็ได้ ให้ด้วยกรุณาก็ได้ ให้ด้วยมุตทิตาก็ได้ ปิยวาจา พูดดีด้วยเมตตาก็ได้ พูดด้วยกรุณาก็ได้ พูดด้วยมุทิตาก็ได้ อัตถจริยาเอาแรงกายเข้าช่วยบำเพ็ญประโยชน์ทำด้วยเมตตาก็ได้ ด้วยกรุณาก็ได้ ด้วยมุทิตาก็ไดใช่ไหม ก็เป็นอันว่า 9 สถานะการณ์ สอดคล้องกันหมด
นี้ต่อไปข้อ 4 สมานัตตตาแปลว่าความมีตนเสมอ นี้บอกแล้วต้องอาศัยอุเบกขาเป็นสำคัญ 3 ข้อแรกนี่เป็นการปฏิบัติต่อกันให้ก็ให้แก่กัน ปิยวาจาก็พูดต่อกัน แล้วอัตถจริยาก็เอาแรงกายมาช่วยต่อกัน แต่พอข้อ 4 สมานัตตตานี้เอาตัวเข้าคลุกเลยน่ะ เอาตัวเข้าร่วมเลย ข้อ 4 จึงมีลักษณะต่างกัน ไม่ใช่ต่อกันเสียแล้ว เข้าร่วมเลย พอข้อ 4 นี้เข้าร่วม แต่ว่ามีลักษณะก็คือความเท่าเทียมกันความเสมอภาค แต่เป็นแบบประสาน อาศัยอุเบกขามาช่วยที่ จริงมันข้อ 1 2 3 เมตตากรุณามุทิตามาเสริมสมานัตตตาได้หมด แต่ตัวที่เป็นหลักสำคัญเป็นฐานก็คืออุเบกขา เพราะมันเป็นตัวรักษาธรรมะ เป็นตัวรักษาความเป็นธรรม ความเสมอภาคนี้ต้องอาศัยความเป็นธรรมใช่ไหม อย่างที่บอกแล้วว่า เอ้าก็มีทุกข์ มีสุขก็สุขด้วยแล้ว เวลาทุกข์ไปทิ้งกันมันก็ไม่เป็นธรรมแล้วใช่ไหม ทีนี้พอเราเขาทุกข์ เราก็ทุกข์ด้วย สุขก็สุขด้วยร่วมสุขร่วมทุกข์ ก็มีความเป็นธรรมก็เสมอภาคก็ประสานกัน แล้วก็ไม่ดูถูกดูหมิ่นกัน ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง ไม่ใช่ว่าเอ้อ คนโน้นแล้วก็ให้พิเศษ คนนี้ไม่ให้ อะไรนี้น่ะ หรือเวลาตัดสินวินิจฉัยอะไรกับเขาหาคนนู้นคนนี้เลือกที่รักผลักที่ชังน่ะ แล้วก็เสียความเสมอภาค เสียสมานัตตตา แล้วก็ไม่ดูไม่เอารัดเอาเปรียบกันเนี่ย พอว่ามีความเสมอภาคแบบนี้แล้วมันก็เข้ากันได้หมด ดังนั้นสมานัตตตาความมีตนเสมอก็ทำให้เข้ากันได้กลมกลืนเลย ความเสมอภาคจึงเป็นเรื่องของความประสานกลมกลืนอย่างที่ว่ามานี้ ก็สอดคล้องกันหมดแล้วนะ เป็นอันว่านี่คือหลักสังคหวัตถุหลักการสงเคราะห์ 4 ประการ ซึ่งเป็นภาคปฏิบัติการ ไปสืบเนื่องรับกันกับคุณธรรมในใจ 4 ประการที่เรียกว่าพรหมวิหาร 4 นั้นถ้าไม่มีสังคหวัตถุ 4 พรหมวิหารก็อยู่แค่ไหนใจก็ไม่ออกผลต่อสังคมเท่าที่ควร แต่ถ้าไม่มีเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาเป็นพรหมวิหารอยู่ในใจ สังคหวัตถุ 4 ประการที่เป็นภาคปฏิบัตินี้ก็จะ 1 เกิดขึ้นได้ยากใช่ไหม มันไม่ค่อยเกิดขึ้น ทีนี้จะทำให้เกิดขึ้นทำยังไง ก็ต้องมีแรงจูงใจอื่น เช่นว่าทานนี่ การให้ไม่เกิดจากเมตตาไม่มีเมตตาความรักหรือกรุณาความสงสารอยากช่วยเหลือมาเป็นแรงจูงใจและทำไง จะให้ก็ต้องกลายเป็นแรงจูงใจอย่างอื่น เช่นอยากจะได้หน้าได้ตา เอาละสิใช่ไหม นี่ต้องมีแรงจูงใจอย่างอื่นแล้ว กลายเป็นว่าให้เพราะอยากได้หน้าได้ตา หรือมีผลประโยชน์ตอบแทนหวังผลประโยชน์จากเขาระยะยาว เสียน้อยจ่ายน้อยเพื่อให้ได้มาก หรือว่าหวังได้ผลตอบแทนเป็นยศ เป็นเงินตรา เป็นเหรียญตรา อะไรนี้ถึงต้นใช่ไหม เป็นอันว่าถ้าไม่มาจากพรหมวิหารเป็นคุณสมบัติเป็นฐานอยู่ในใจแล้วถ้าปฏิบัติการในสังคม 1 เกิดขึ้นได้ยาก 2 ถ้าเกิดขึ้นไม่จริงใจใช่ไหม เมื่อไม่จริงใจ ไม่พอดี ถ้ามันเกิดจากคุณธรรมมันจะพอดีใช่ไหม เอ้อเขามีสถานการณ์อย่างนี้ เราก็ให้เขา แล้วมีอุเบกขาไปคุมว่าให้อยู่ในเหตุในผล แต่พอว่า เช่นว่าให้โดยแรงจูงใจต้องการผลตอบแทนหรือต้องการได้หน้าได้ตาเนี่ย มันจะไม่ให้ชนิดพอดีหรอกใช่ไหม เอ้ออันนี้ได้หน้าได้ตาก็ให้ ให้จนกระทั่งเกินที่ควรจะให้ ทีนี้ไอ้ที่ไม่ได้หน้าได้ตาก็เลยไม่ยอมให้ จะได้นิด ๆ หน่อย ๆ นี้ถ้าให้ด้วยเมตตากรุณามุตทิตาอุเบกขามีธรรมอยู่ในใจแล้วพอดีเลยใช่ไหม ก็เป็นอันว่าเกิดขึ้นได้ยากและเกิดขึ้นแล้วไม่จริงใจแล้วไม่มั่นคง เมื่อใดที่ตัวไม่ได้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นต้น ก็ไม่ช่วย ไม่มีสหวัตถุออกมาใช่ไหม นั้นจะวิปริดไปหมด ไม่สามารถจะดำรงสังคมนี้ให้อยู่ด้วยดีได้ นั้นจึงเป็นความจำเป็นจะต้องประสานกันระหว่างคุณธรรมในใจกับปฏิบัติการในสังคม ถ้ามีแต่คุณธรรมในใจไม่ปฏิบัติการทางสังคมมันก็ไม่เพียงพอที่จะให้สังคมนี้อยู่ดี แต่ถ้าปฏิบัติการในสังคมไม่มีคุณธรรมอยู่ในใจก็อย่างที่ว่าแล้วมันจะไม่จริงใจ ไม่มั่นคงยั่งยืน ไม่พอดีแล้วก็แถมเกิดขึ้นได้ยากด้วย นั้นนี่ก็เป็นเรื่องของความประสานสอดคล้องของคุณธรรม ที่ว่าต้องมีทั้งภาคที่อยู่ในใจเป็นคุณสมบัติแล้วก็แสดงออกเป็นภาคปฏิการ นี้ก็เป็นตัวอย่างที่รับกันของธรรมะ 2 ชุด ซึ่งมีจำนวนเท่ากันเลย ก็เห็นจะพอสมควรเรื่องสังคหวัตถุ มีอะไรสงสัยไหม
คนฟังถาม ยังไม่กระจ่างอุเบกขาเข้า
พระตอบ อุเบกขาเป็นตัวรักษาความเป็นธรรมไงใช่ไหม เป็นตัวรักษาดุลอยู่แล้วให้พอดี ถ้าไม่มีอุเบกขาตัวรักษาความเป็นธรรม ความเสมอภาคไม่มีแล้วใช่ไหม รักคนนี้มาก ให้คนนี้มาก ช่วยคนนี้มาก คนนี้ไม่ค่อยชอบก็เลยกลายเป็นว่าคนนี้ถูกละเลยไม่ค่อยเอาใจใส่เท่าที่ควร
คนฟังถาม สมเด็จพระคุณอาจารย์ครับ ผมเสนอว่าถ้าอุเบกขามองไปในแง่ของตัวทานปิยวาจา 3 ข้อแรก เป็นตัวสร้างสมดุลด้วย คล้าย ๆ เป็นขอบเขตว่าไม่ให้มันมากหรือมันน้อยเกินไป
พระตอบ ใช่ ใช่ แน่นอน
คนฟังถาม คุมด้วย
พระตอบ คุมด้วย แต่ที่นี้หมายถึงว่า ตัวรับกันในเชิงปฏิบัติการ ตัวไหนที่เด่น ตัวเด่น ตัวเด่น หมายความว่าตัวแสดงออกที่เด่น นี้มันอยู่ที่ข้อไหน คือฐานนั่นเอง คือฐานในใจที่มาแสดงออก ตัวไหนเป็นตัวหลักให้ เมตตากรุณามุทิตานี่ก็มาเด่นที่ทานปิยวาจา เพราะเป็นเรื่องของการช่วยเหลือกัน ทีนี้พอมาอยู่ร่วมกันที่จะให้ประสานกลมกลืนนี้มันจะหนักที่ความเสมอภาคความเป็นธรรม ถ้าเสียความเป็นธรรมเมื่อไหร่ทั้ง ๆ ที่ช่วยกันดี ไม่อยู่น่ะใช่ไหม ไปทันทีเลย ลองเอารัดเอาเปรียบ หรือว่าไม่เสมอภาค เลือกที่รักผลักที่ชังปั้บ ถึงแม้จะพูดดีอย่างไงก็ไม่อยู่ใช่ไหม ความสามัคคีไม่อยู่ แตกทันที ฉะนั้นอุเบกขาจึงเป็นตัวที่คุม เรื่องสมานัตตตายังสำคัญ ความเสมอภาคก็คือตัวรักษาความเป็นธรรม
คนฟังถาม คือในบางครั้ง ผมว่า เรามองพิจารณาเปรียบเทียบ เพราะเคยเห็นสังคมตะวันตก ผมมีความรู้สึกว่า ถึงแม้จะเรียกเขาว่าเป็นชาวคริสต์ใช่ไหม แต่ที่จริง ๆ แล้วเขามีความเป็นพุทธะมากกว่าคนไทยในบางข้อ ยกตัวอย่าง เขามีมุตทิตา ฝรั่งเขานี่เข้าใจคำว่ามุตทิตาค่อนข้างจะชัดเจน แต่ในภาคปฏิบัตินี่ เขาก็ทำได้เต็ม ยกตัวอย่าง อย่างนักกีฬาของเขาการตอบแทนนักกีฬา เขาจะได้ผลประโยชน์ในเรื่องของความเป็นอยู่ที่ดี และชื่อเสียง แต่สังคมไทยนี่เราไม่ใช่ พอเรารู้สึกจะมุตทิตาอะไรสักอย่าง เราก็โหมให้จนกระทั่งละเลยขอบเขตไป จนกระทั่งการที่เราหมั่นไส้เราอิจฉา เราก็พาลที่จะไม่ใช้มุตทิตา ที่จริงแล้วสังคมไทย เราควรจะต้องหันกลับมาเน้นเรื่องการใชมุตทิตาให้เหมาะสม
พระตอบ ก็เคยพูดบ่อยอยู่แล้ว บอกว่าคนไทยปัจจุบันเนี่ย ก็เน้นเรื่องเมตตากรุณา จนกระทั่งเมตตากรุณามาเป็นคำสามัญในภาษาไทยก็หมายความว่าในหลักพรหมวิหาร 4 นี่เราใช้ 2 ข้อแรกมาก แต่มุทิตานี้เราแทบไม่พูดถึง เพิ่งจะมาใช้ในการแสดงออก ก็กลายเป็นพิธีกรรมเป็นรูปแบบไป เป็นเพียงแสดงออกเท่านั้นเองใช่ไหม เป็นแสดงออกในเชิงสังคมได้หน้าได้ตาบ้างอะไร บางที่แสดงใปแสดงมุตทิตาให้เงินนี่ไม่ใช่ด้วยใจจริงหรอก ไปแสดงเอาหน้าเอาตาใช่ไหม ไม่ใช่มุตทิตาที่เป็นธรรมะในใจมันกลายเป็นมุทิตามากลายเป็นการปฏิบัติการทางสังคมไปแล้ว ผิดด้วย ศัพท์นี้ไม่ถูกใช่ไหม วิธีมุตทิตาจิตนี่เอาของไปให้ มุตทิตามันเป็นคุณธรรมในใจไม่ใช่ ไอ้ที่ไปให้เป็นการทานแล้วใช่ไหม จะเอาเงินให้ เอาของไปให้ นี่เป็นทาน ถูกไหม แต่ทานนั้นเกิดจากมุตทิตา แล้วก็เกิดจากมุตทิตาจริงหรือเปล่า ต้องไปดูในใจ แล้วเกิดจากใจยินดีส่งเสริมหรือเปล่าถูกไหม นั้นที่ไปให้นั่นที่บอกมุตทิตานั้นไม่ได้แน่เป็นเพียงพิธีกรรมและมุฑิตามันอยู่ที่คุณสมบัติในใจ ทีนี้ว่ามันอาจจะเป็นการขาดตอนอย่างหนึ่งในสังคมไทยหรือเปล่า หรือเมื่อกี้ยกตัวอย่างแล้วว่า มุทิตาสมัยก่อนเนี่ย เพราะสังคมไทยเรามีศูนย์กลางอยู่ที่วัด วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนและการทำความดีสร้างสรรค์เพื่อความเจริญก้าวหน้าของสังคมก็ไปเด่นอยู่ที่วัดใช่ไหม อย่างที่ว่า จะสร้างที่เล่าเรียน ศึกษา กุฏิ ให้ผู้เล่าเรียน ก็คือพระใหม่ไปอยู่เนี่ย มันก็อยู่ที่วัดทั้งนั้น นั้นคนก็เลยไปให้เงินบริจาคกันที่วัด เพื่อไปสร้างสรรค์ทำอะไรต่าง ๆ สนับสนุนการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าของชุมชนไปทำที่วัดเราเรียกกันว่าการทำบุญ เวลาต่อมาคำว่าทำบุญนี่ ก็มีความหมายเหลืออยู่แค่ว่าได้ผลตอบแทนของตัวเองคือทำบุญแล้วตัวเองก็หวังว่าจะได้ไปเกิดดีไปสวรรค์ต่าง ๆ ไอ้ความหมายในเชิงที่เป็นประโยชน์ปัจจุบัน ว่าที่จริงก็คือการไปสนับสนุนส่วนรวมของเราที่วัดเนี่ย ให้ได้มีสิ่งดีงามเกิดขึ้น เนี่ยมันหายไปถูกไหม ฉะนั้นตอนนี้กิจกรรมเดิมแนวทางการสร้างสรรค์ที่เป็นเรื่องของการแสดงออกของมุทิตาเนี่ย มันก็เลยค่อย ๆ เลือนหาย ทั้งความหมาย ทั้งกิจกรรมด้วยใช่ไหม เพราะคนปัจจุบันก็ไม่รู้แล้วว่าที่วัดเนี่ยที่เราไปบริจาคนั้น คือการไปร่วมกันสร้างสรรค์ทำความดีอย่างไรถูกไหม มันเลือนหายไปหมดแล้ว ทีนี้มันก็เท่ากับมาเริ่มมาตั้งต้นใหม่ เพราะสังคมมันย้ายออกมาจากวัดแล้ว ทีนี้พอสังคมส่วนข้างนอก มันขาดตอนเลยไม่รู้จะแสดงมุทิตากันยังไงแล้ว คนไทยก็เคว้งคว้างเลย ไอ้คำว่ามุตทิตาเดิมมันไปอยู่ในรูปของคำว่าทำบุญใช่ไหม ส่วนปัจจุบันนี่มันหายไปทำบุญ ก็กลับความหมายก็กลายไปแล้ว ส่วนมุทิตาก็คำนี้มันก็ไม่ได้ใช้มาตั้งนานแล้ว พอมาใช้ก็ใช้สักแต่เป็นพิธีไปเลย ก็ทีนี้ก็ในเมื่อเอามาใช้แล้วก็ทำไงแล้วจะให้พิธีมุทิตาที่เป็นเรื่องเชิงสังคมเนี่ยกลับมาเป็นตัวกระตุ้นเร้าให้เกิดมุตทิตาที่แท้ในจิตใจขึ้นได้ ก็ทำได้อย่างนี้ก็ใช้ได้ ก็เป็นอันว่าจะต้องมาหนุนกระตุ้นให้คนไทยนี้มีพรหมวิหารให้ครบ 4 ข้อ ไม่ใช่มาหนักอยู่ที่เมตตากรุณา มุตทิตาก็ต้องเสริมขึ้นมา แล้วก็อย่าลืมอุเบาขานะ ว่าถึงแม้จะมีมุทิตาแล้ว แต่อุเบกขายังไม่มี ก็ไปไม่รอดเหมือนกัน แล้วนอกจากนั้นก็เอาพรหมวิหารเชื่อมต่อโยงเข้าหาตัวสังคหวัตถุให้เป็นปฏิบัติการในสังคมด้วย
คนฟังถาม พระเดชพระคุณอาจารย์ครับ ผมตั้งข้อสังเกตุ คุณธรรม 3 หมวดที่ท่านเจ้าคุณได้เมตตาแสดงมา 3 วัน ตั้งแต่เรื่องอิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 แล้วก็สังคหวัตถุ 4 ผมสังเกตุว่าข้อ 4 ที่เป็นข้อสุดท้ายในหมวดธรรมแต่ละหมวดนี่ หนึ่งข้อที่เน้นเรื่องปัญญาอยู่เสมอเลย
พระตอบ ปัญญาเป็นตัวคุมนี่ พระพุทธศาสนาจะเน้นปัญญาข้อสุดท้าย ธรรมะหมวดไหนมีศรัทธามา ศรัทธาจะมาเป็นตัวต้น แล้วจะต้องมีปัญญามาควบปิดท้ายทุกที ใช่ไหม ก็ดูเลยว่า ศรัทธามาที่ไหนปัญญาจะมาที่นั่น แล้วก็ปัญญาจะเป็นตัวสุดท้าย
คนฟังถาม แล้วลักษณะที่พระเดขพระคุณจะพยายามเน้นอยู่ตลอดเวลาคือต้องใช้ธรรมะ
พระตอบ ก็ใช่สิ คนไทยเราธรรมะมันกระจัดกระจายหมด ก็เป็นข้อเสียเป็นการผิดพลาด แล้วพอจัดเป็นหลักสูตร กระทรวงศึกษาก็มายิ่งแยกหนักเข้าไปอีก มาเอาธรรมะเป็นตัว ๆ เลย แล้วเอามาเลือกเอาแต่ละตัว แต่ละตัว ตัวไหนเอาเมตตาไป และข้ออื่นก็อาจจะไม่เอาเลย หรือเอากรุณาไปด้วย เลยไม่พูดถึงข้ออื่น นั้นธรรมะก็แตกกระจัดกระจายหมด เสียระบบ แล้วมาถึงยุคนี้ก็บอกว่า เอ้อที่ผ่านมานี่วิชาการ แนวความคิดอะไรต่าง ๆ นี่มันเป็นความคิดแยกซอย แบ่งส่วนไปหมด แยกส่วนแบ่งส่วน ต้องเป็นระบบบูรณาการ มีดุลยภาพเป็นองค์รวมอะไรต่าง ๆ พูดกันเยอะ แต่ไม่ได้มาดูที่จริง ตัวเองก็ยังชอบแบ่งแยกส่วนอยู่นั่นแหละใช่ไหม ก็สักแต่เป็นความนิยมของยุคสมัยที่จะบูรณาการจะเป็นองค์รวมเป็นดุลยภาพ ในทางปฏิบัติก็ไม่รู้จุดว่าอะไรบ้างที่จะต้องเป็นองค์รวม แม้แต่การพิจารณาเรื่องชีวิตคน เรื่องการพัฒนาหรือการศึกษาอะไร ก็ยังมองกันไม่ค่อยออก ว่าองค์รวมนั้นอยู่ที่ไหน บูรณาการอะไร หลักธรรมของพระพุทธเจ้าตรัสไว้นี่มันเป็นหลักธรรมที่ออกมาจากพื้นฐานคือการมองความจริงของชีวิต แล้วก็มาดูว่าทำไงชีวิตจะดำเนินไปด้วยดีสอดคล้องกับความเป็นจริงใช่ไหม ก็มาวางเป็นระบบ มันก็เป็นระบบที่สอดคล้องกับชีวิต ซึ่งเป็นระบบ ชีวิตของคนมันเป็นระบบอยู่แล้ว การดำเนินชีวิตก็ตาม ตัวชีวิตก็ตามเป็นระบบทั้งนั้น ฉะนั้นธรรมะที่เข้ามาเกี่ยวข้องจะใช้ในชีวิตมันก็เป็นระบบ มันเป็นตั้งแต่ระบบใหญ่คลุมทั้งหมด เรามองที่ธรรมะไหนก็เป็นระบบหมด เช่นว่า อริยสัจ 4 ก็ระบบใช่ไหม มาซอยเป็นภาคปฏิบัตเฉพาะในข้อ 4 ของมรรค ก็เป็นระบบไตรสิกขาอีก ในไตรสิกขาแยกย่อยออกไปแต่ระอย่างก็เป็นระบบ อย่างพรหมวิหาร 4 เป็นระบบย่อย ซอยออกไปก็มีระบบย่อย ย่อย ย่อยออกไป เอาละน่ะ