แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ขอเจริญพร รายการ เล่าเรื่องให้โยมฟัง วันนี้ อาตมภาพคิดว่าจะมาพูดเรื่องข้อปฏิบัติทางฝ่ายพระบ้าง
คุณสมบัติของพระ มีอย่างหนึ่งที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ว่าความหมาย บางทีก็ไม่ชัดเจน เพราะถือว่าลักษณะของพระที่ดีอย่างหนึ่งก็คือว่า มักน้อยสันโดษ บางทีเราก็เอามาใช้กับคฤหัสถ์ด้วย ชาวบ้านก็ถ้ามักน้อยสันโดษ ก็นับว่าเป็นผู้มีความดีที่น่ายกย่องเหมือนกัน แต่ตามปกติแล้ว ใช้กับคุณสมบัติของพระภิกษุ
คำว่า มักน้อย กับ สันโดษ มักจะพูดมาพร้อมกัน เหมือนกับว่าเป็นคำพูดหรือถึงกับเข้าใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และตามความเป็นจริง ความหมายก็ใกล้ ๆ กัน คือเป็นธรรมะประเภทเดียวกัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่ข้อเดียวกัน บางคนอาจจะมีสันโดษ แต่ว่าไม่ถึงกับมักน้อย แต่ถ้าถึงกับมักน้อยแล้วก็มักจะสันโดษด้วย คือความมักน้อยนี่เป็นคุณสมบัติในทางเคร่งครัดมากขึ้น
มีความหมายต่างกันอย่างไร สันโดษ นั้น เป็นคุณสมบัติ จะเรียกว่าขั้นต้นกว่าก็ได้ แต่หมายถึง ความยินดีในของของตน บางทีนี่ก็แปลว่า ยินดีตามมีตามได้ คือว่าได้อะไรมาที่เป็นของชอบธรรม เป็นของเหมาะสมแก่ตนก็ยินดี ยินดีพอใจอันนั้น อันนี้เรียกว่า สันโดษ ถ้าให้ความหมายเต็ม ก็อาจจะแปลว่า ความยินดีพอใจ มีความสุขได้ด้วยสิ่งของที่ได้มาเป็นของตนด้วยความเพียรอันชอบธรรม ก็มีหลักอยู่ว่า ต้องเป็นความชอบธรรมด้วย แล้วก็มันจะเกิดเป็นความเพียรพยายามของตน เมื่อได้มาแล้วก็มีความพอใจ ก็มีความสุขได้ในของนั้น ก็เป็นความสันโดษ
ทีนี้ สันโดษนี้ ในอรรถกถานี่ ท่านแยกแยะเป็น ๓ ด้าน อันที่หนึ่ง ก็เรียกว่า สันโดษ คือ พอใจตามที่ได้ ได้ของอย่างไรมา เมื่อตนเองเพียรพยายามทำไปแล้ว ได้ตอบแทนมา ก็พอใจในของนั้น ไม่โลภยิ่งกว่านั้น แล้วก็ไม่อิจฉา ไม่ริษยาของที่คนอื่นได้ อย่างนี้เรียกว่า ยินดีตามที่ได้ ท่านเรียกเป็นศัพท์ทางพระว่า ยถาลาภสันโดษ
แล้วต่อจากนั้นยังมีอีกว่า พอใจตามกำลัง พอใจตามกำลังนี่ หมายความว่า ของที่ได้มานั้นต้องพอกับการใช้สอยของตนเอง ถ้าเกินจะใช้สอย เกินกำลังการใช้สอย ก็ไม่หวงเอาไว้ ทั้ง ๆ ที่เป็นสิทธิของตนโดยชอบธรรม เห็นว่าคนอื่นเขาควรจะใช้ของนี้ได้ เราก็เอาไปให้แก่เขา พอใจเพียงแค่กำลังการใช้สอยของตน หรือกำลังการใช้งานของตน อย่างนี้เรียกว่าพอใจตามกำลัง ภาษาพระท่านเรียกว่า ยถาพลสันโดษ
แล้วยังมีอย่างที่สามอีก บอกว่า พอใจตามสมควร คือ พอใจในสิ่งที่เหมาะสมกับตน เช่นว่า ตนเป็นพระภิกษุ ได้ของบางอย่างมา อาจจะไม่เหมาะกับพระใช้ เช่นว่า ได้ผ้ามา เป็นผ้าบางอย่าง อาจจะสวยงาม ก็ไม่เหมาะกับพระใช้ ก็นำเอาของนั้นไปบริจาค ไปให้แก่ผู้อื่นที่เขาสมควรจะใช้ได้ หรืออย่างเป็นพระด้วยกัน ตอนเป็นพระป่าอยู่ป่า แล้วก็มุ่งกรรมฐาน ได้ของใช้ เช่น พวกหนังสือบางอย่างมา ซึ่งก็ ตนเองไม่มีโอกาสจะใช้จะอ่านได้มาก ก็เก็บไว้เฉพาะส่วนที่ว่าตัวเองจะต้องอ่านเพื่อการปฏิบัติ แล้วมีท่านผู้อื่นเป็นนักเรียนนักศึกษา เห็นว่าหนังสือนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้นั้น เหมาะสมกับท่านผู้นั้น ก็เอาไปแบ่งไปให้ ไปมอบให้ อย่างนี้ก็เรียกว่า ยินดีตามที่สมควรแก่ตน
อันนี้ก็เป็น หลักในเรื่องเกี่ยวกับความสันโดษ ท่านก็แยกแยะไว้เป็น ๓ อย่าง ตามที่กล่าวมา คือ ยินดีตามที่ได้ ยินดีตามกำลัง แล้วก็ ยินดีตามสมควร
หลักสันโดษเดี๋ยวนี้ เข้าใจว่า สำหรับญาติโยมก็นำไปใช้ประโยชน์ได้เหมือนกัน คือทำให้เรามีความโลภน้อย หรือว่าเป็นอุบายสำหรับกำจัดความโลภ เพราะสันโดษนั้นเป็นศัตรูอย่างหนึ่งของความโลภความปรารถนาอยากได้ นี่เรากลับกำจัดความโลภ ของที่เราได้มาเป็นสิทธิของเรา แต่เราพอใจที่จะใช้ประโยชน์ของตัวเองเพียงเท่านี้ ที่เหลือเราก็นำไปให้ ก็แบ่งให้แก่ผู้อื่น อันนี้เป็นลักษณะของความสันโดษ
ทีนี้ เกินจากนี้ยังมีความมักน้อยอีก มักน้อย นั้น คือ ประพฤติให้เคร่งครัดในเรื่องการที่จะได้ลาภผล แม้เขาให้มากก็เอาไว้แต่น้อย บางทีโยมเอามาถวายมาก บอกว่า ฉันรึ จำเป็นต้องใช้เพียงเท่านี้ บอกโยมบอกว่า ฉันขอรับเพียงเท่านี้ เอามา ๑๐ ส่วน อาจจะรับไว้เพียง ๕ ส่วน ๓ ส่วน เท่าที่จำเป็น ถ้ารับไว้แต่น้อยเท่าที่จำเป็นจริง ๆ หรือเขาให้น้อยก็รับ เออ เขารับ ให้มากรับไว้แต่น้อย อย่างนี้เรียกว่า ความมักน้อย ... ??? (นาทีที่ 7:12) หลายท่านก็ประพฤติปฏิบัติควบไปด้วยกัน ก็เรียกว่า มักน้อยสันโดษ
มักน้อยสันโดษนี้ ใช้กับเรื่องปัจจัย ๔ หรือใช้กับวัตถุสิ่งของที่จะเอามาเพื่อบำรุงความสุข หรือว่าช่วยอำนวยความสะดวกสบาย แต่ไม่ได้ใช้กับกุศลธรรม หมายความว่า เราควรจะสำรวจมักน้อยในอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เสนาสนะ ยารักษาโรค นี่พูดจำเพาะสำหรับพระภิกษุ สำหรับญาติโยม ก็เอาไปประยุกต์ใช้ตามสมควร มุ่งเอาที่ปัจจัย ๔ เป็นสำคัญ
แต่ทีนี้ ถ้าเป็นกุศลธรรม เช่น การปฏิบัติเพื่อบรรลุคุณธรรมเบื้องสูง เช่น ตอนนี้เป็นปุถุชน เป็นปุถุชนชั้นดีขึ้นมาแล้ว เรียกว่าเป็น กัลยาณปุถุชน เกิดไปพอใจแล้วว่า โอ้ เราเป็นกัลยาณปุถุชนแล้ว ก็นับว่าดีแล้ว พอ หยุดเท่านี้ อย่างนี้ สันโดษไม่ถูกต้อง สันโดษในกุศลธรรม ท่านถือว่าไม่ถูกต้อง เป็นข้อปฏิบัติที่ผิด ท่านให้ใช้กับวัตถุสิ่งของ เราสันโดษในวัตถุก็เพื่อจะได้เอากำลังความเพียรพยายามนั้น เอาแรงงานนั้นมาใช้ในการปฏิบัติกุศลธรรมให้ดียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น การสันโดษในวัตถุ ก็เกื้อกูลกับการปฏิบัติ ส่วนในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดกุศลธรรมนั้น ท่านไม่ได้ให้สันโดษ ท่านถือว่าต้องไม่สันโดษด้วยซ้ำไป
พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า พระองค์ได้ปฏิบัติคุณธรรมสองอย่างประจักษ์กับพระองค์เองมาแล้ว ซึ่งทำให้พระองค์ได้ตรัสรู้ คุณธรรมสองอย่างนั้น คือ หนึ่ง ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย แล้วก็ สอง ความเพียรไม่ท้อถอย เพราะฉะนั้นในแง่กุศลธรรมแล้ว ท่านให้ไม่สันโดษ พอเป็นกัลยาณปุถุชน ก็ต้องพิจารณาว่า เราจะต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นโสดาบัน เป็นโสดาบันต้องปฏิบัติสูงขึ้นไป จนกระทั่งได้บรรลุอรหัตผล
ทีนี้ ส่วนในความมักน้อยก็เช่นเดียวกัน มักน้อยก็ใช้กับวัตถุสิ่งของ เป็นพระก็ใช้กับปัจจัย ๔ ถ้าเป็นธรรมะ สัน มักน้อย จะแสดงออกในรูปของการไม่อวด เช่นว่า ตนเองมีความรู้เท่านี้ ก็ไม่อวดความรู้ ตนเองได้บรรลุคุณธรรมหรือว่าธรรมวิเศษสูงขั้นนั้น ๆ ก็ไม่อวดไม่โอ้กับผู้อื่น การที่ไม่อวดความสามารถของตน หรือข้อปฏิบัติ ภูมิธรรมที่ตนบรรลุ ตลอดจนกระทั่งว่า ตนกำลังประพฤติปฏิบัติสิ่งที่ดีงามอะไรก็ไม่ไปเที่ยวโอ้อวดเขาว่า ฉันทำอันนี้ได้อันนั้นได้ อันนี้เป็นความมักน้อยอย่างหนึ่ง ก็เป็นอุบายที่จะขัดเกลากิเลส เพราะว่าคนเรานั้นเป็นธรรมดา เราทำอะไรถ้าทำได้ดี เราก็อยากจะอวดเขา ทีนี้ เมื่อมีความมักน้อย ก็เป็นเครื่องขัดเกลากิเลสตนเอง เป็นเครื่องควบคุม ตนเองจะได้สามารถมีความเข้มแข็งในทางจิตใจ แล้วสามารถปฏิบัติธรรมอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเราไม่เอาใจไปคิดในการที่จะโอ้อวดแล้ว เราก็เอาใจนั้นมาคิดในการที่จะปฏิบัติธรรมอื่น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น
นี่ก็เป็นเรื่องของความมักน้อยสันโดษ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่โดยปกติแล้วมุ่งหมายสำหรับพระสงฆ์เป็นสำคัญ พระสงฆ์นั้นควรเป็นผู้มักน้อยและสันโดษ เพื่อจะได้นำเอาแรงงาน ความเพียรพยายามไปใช้ในการปฏิบัติให้ได้ผลดียิ่งขึ้น แล้วก็จะได้เป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่ลำบากแก่ญาติโยม เพราะว่าตนเองไม่ได้เป็นผู้ที่ทำมาหาเลี้ยงชีพ ไม่ได้เป็นผู้ทำอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เป็นต้น ขึ้นมาด้วยตนเอง แต่ต้องอาศัยฝากท้องไว้กับญาติโยมทั้งหลาย ก็ควรทำตนให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย แล้วก็จะได้ไม่เป็นผู้มีกังวล เพราะว่าเก็บสิ่งของมาก ??? (นาทีที่ 11:18) เมื่อไม่มีกังวลแล้ว จิตใจปลอดโปร่ง ก็ส่งเสริมการปฏิบัติให้ได้ผลดียิ่งขึ้นด้วย
ทีนี้ ในการฝึกตนเพื่อความมักน้อยสันโดษนั้น ท่านก็มีข้อปฏิบัติต่าง ๆ หลายอย่าง แต่ข้อปฏิบัติอย่างหนึ่งที่มีชื่อเสียง ก็คือ เรื่องธุดงค์ โยมทุกท่านคงเคยได้ยินคำว่า ธุดงค์ แต่ว่า ธุดงค์ ที่เราใช้ในภาษาไทยนั้น เป็นการใช้ในความหมายที่มักจะเข้าใจคับแคบ นั่นก็คือว่าคลาดเคลื่อน ??? (นาทีที่ 11:48) พอได้ยินบอกว่า พระธุดงค์นี่ เรามักจะเข้าใจเป็นว่า เป็นพระที่เดินทาง เดินทางไปในถิ่นต่าง ๆ เดินทางโดยนอนแรมไปในป่าหรือเดินทางไปในที่อาจจะอัตคัดดันดารอะไรก็ตามนี่ เราเรียกว่า ธุดงค์ แต่ความจริงนั้น ธุดงค์ นั้น ไม่ได้แปลว่า เดินหรืออะไรสักนิดเดียว
ธุดงค์มาจากคำว่า ธุต บวกกับ องฺค ภาษาบาลีเรียกว่า ธุตงฺค แปลว่า องค์คุณแห่งท่านผู้ขัดเกลากิเลส หรือเป็นผู้สลัดกิเลส ก็หมายความว่า เป็นคุณสมบัติของท่านผู้ที่ปฏิบัติเพื่อจะขัดเกลากิเลส กำจัดกิเลสให้น้อยลง เป็นคุณธรรม หรือข้อปฏิบัติที่ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ และธุดงค์นี้มีถึง ๑๓ ข้อด้วยกัน ขอให้โยมลองมาพิจารณาว่าข้อไหนที่ทำให้เข้าใจ ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นเดินเที่ยวป่า
ธุดงค์มี ๑๓ ข้อ ส่วนใหญ่ก็เกี่ยวข้องกับปัจจัย ๔ เพราะว่าเรื่องความมักน้อยสันโดษนี่ ท่านให้ใช้กับปัจจัย ๔ ลองมาดูธุดงค์ ๑๓ ข้อ ก็แบ่งตามปัจจัย ๔ นั่นเอง
สองข้อแรกจะเกี่ยวข้องกับเรื่องจีวร คือ ผ้านุ่งผ้าห่มของพระ อันนี้ท่านกล่าวโดยมุ่งเอาพระเป็นเกณฑ์ สองข้อแรก ข้อที่ ๑ ว่า ปังสุกูลิกังคะ ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร นี่ ๆ ธุดงค์ข้อที่ ๑ ไม่เกี่ยวกับเดินไปไหนเลย อยู่กับที่ก็เป็นธุดงค์เลย (นาทีที่ 13:22) ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
คือผ้าที่พระสงฆ์จะใช้ได้นี่เรียก จีวร จีวรนั้น ท่านอนุญาตไว้เป็นผ้าที่พระทำขึ้นเอง โดยไปเก็บเอาของที่เขาทิ้ง ๆ ไว้ เช่น ผ้าห่อศพ ผ้าที่เขาตัดเย็บเป็นเศษแล้วก็ทิ้งตามกองขยะอะไรก็ตามนี้ แล้วพระท่านก็เก็บเอาส่วนที่มันใหญ่พอที่จะตัดได้ ก็เอามา แล้วเก็บรวม ๆ เข้า แล้วก็เอามาปัก มาเย็บ มาย้อม ทำให้เรียบร้อย ก็เป็นจีวรขึ้นมา ผ้าประเภทนี้เรียกว่า บังสุกุล ผ้าบังสุกุล เดี๋ยวนี้เราเอามาใช้ในผ้างานศพ บางทีโยมก็เลยไม่เข้าใจว่านี่เป็นผ้าบังสุกุลเป็นอย่างไร ที่แท้จริงแล้ว ต้องที่เขาทิ้ง ทีนี้ ผ้าที่คละตามในของที่เขาทิ้งอย่างนี้ก็เป็นผ้าบังสุกุล แล้วพระพุทธเจ้าอนุญาตให้อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ผ้าคหบดีจีวร คือผ้าที่คฤหบดีเขาถวาย ญาติโยมเอามาถวายนี่เรียกว่า คหบดีจีวร ก็เป็นอันว่า พระองค์ทรงอนุญาตไว้ ๒ ชนิด ทีนี้ สำหรับพระที่ถือธุดงค์ข้อที่ ๑ ก็ปฏิญาณหรือสมาทานว่า จะใช้แต่ผ้าบังสุกุลเท่านั้น คือผ้าที่เขาเอาของที่ทิ้งมาตัดเย็บย้อมชุน พอถืออย่างนี้ เรียกว่า เป็นพระผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตร เป็น ปังสุกูลิกังคะ นี่เป็นข้อที่ ๑ ... ??? (นาทีที่ 14:49)
ต่อไป ธุดงค์ข้อที่ ๒ เตจีวริตังคะ พระที่ถือแต่ผ้าจีวรเพียง ๓ ผืน เรียกว่า ไตรจีวร คือ ผ้านุ่งที่เรียกว่า สบง ผ้าห่มที่เรียกว่า อุตราสงฆ์ แล้วก็ผ้าซ้อนที่เรียกว่า สังฆาฏิ ๓ ผืนเท่านี้ ที่เป็นชุดของพระแท้ ๆ ทีนี้ พระพุทธเจ้ายังทรงอนุญาตไว้อีกว่า นอกจาก ๓ ผืนนี้แล้ว มีผ้าเกินพิเศษได้ ท่านเรียกว่า ผ้าอดิเรก จีวรอดิเรก หรือ จีวรอาศัย นี่สำหรับพระที่ถือธุดงค์ข้อที่ ๒ นี่ ท่านจะสมาทานว่า ฉันจะใช้เฉพาะผ้า ๓ ผืนเท่านั้น ผ้าอาศัย ผ้าอดิเรกไม่ใช้เลย นี่ก็เรียกว่าเป็นธุดงค์ข้อที่ ๒ ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับการเดินอีกแหละ อยู่กับที่ก็เป็นธุดงค์ได้ ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับจีวร นี่สองข้อแรกเกี่ยวกับจีวร
ต่อไป ชุดต่อไปนี้เกี่ยวกับอาหาร...??? (นาทีที่ 15:44) เกี่ยวกับอาหารก็มี ข้อที่ ๑ ถือบิณฑบาตเป็นวัตร นี่ พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ จะบิณฑบาตก็ได้ แล้วก็ดีด้วยถ้าบิณฑบาตเป็นประจำ แต่พระองค์ก็อนุญาตไว้ว่า ถ้าโยมมานิมนต์ไปฉันที่บ้านก็อนุญาตเหมือนกัน ทีนี้ พระที่ถือธุดงค์ข้อนี้ ก็จะสมาทานวัตร บอกว่า ฉันจะบิณฑบาตเป็นประจำ ไม่รับนิมนต์ ถ้าถืออย่างนี้เรียกว่าเป็นธุดงค์ข้อที่ ๓ เป็นข้อที่ ๑ ในหมวดอาหาร ก็เป็นอันว่าถือบิณฑบาตเป็นประจำ พระที่บิณฑบาตเป็นประจำนี่ถือว่าเป็นพระธุดงค์ เจริญพร ??? (นาทีที่ 16:25) ท่านไม่ต้องเดินทางไปไหนเลยก็เป็นพระธุดงค์ ต่อไป สปทาน เออ อันที่ ๑ นี่เรียกว่า ปิณฑปาติกังคะ
ต่อไป ข้อที่ ๒ ในหมวดอาหาร หรือบิณฑบาตนี่เรียกว่า สปทานจาริปังคะ แปลว่า ถือบิณฑบาตตามลำดับ ตามลำดับบ้าน ไม่ใช่เห็นว่า เอ๊ะ ที่นี่เขาอัตคัด เว้นในหมู่บ้านนี้ หรือบ้านแถวนี้ไม่บิณฑบาตแล้ว ข้ามไปบิณฑบาตที่โน้นเลย ที่เห็นว่าเขาถวายอาหารมาก ๆ พระที่ถือสมาทานธุดงค์ข้อนี้ จะต้องบิณฑบาตไปตามลำดับ จะได้มากได้น้อยไม่ต้องถือเป็นสำคัญ พระที่ถือข้อที่ ๒ ในหมวดอาหารนี้ เคร่งครัดยิ่งกว่าข้อถือบิณฑบาตประจำ เพราะต้องบิณฑบาตประจำอยู่แล้ว นอกจากบิณฑบาตประจำแล้ว ยังถือว่าต้องบิณฑบาตไปตามลำดับ ข้ามไม่ได้ อันนี้เป็น สปทานจาริปังคะ
ต่อไป เอกาสนิกังคะ ฉันที่อาสนะเดียว ฉันอาสนะเดียวนี่ก็คือ ฉันมื้อเดียว ฉันมื้อเดียว แล้วก็ลุกขึ้นไปแล้วก็แปลว่าไม่ยอมรับฉันอีกเลย นี่แหละ นั่งอาสนะเดียว นั่งคราวเดียว ลุกขึ้นไปแล้วไม่ฉันอีก อันนี้เป็นธุดงค์อันหนึ่ง ถ้าพระองค์ไหนถือว่าฉันมื้อเดียว นั่งอาสนะเดียว ไม่ฉันอีก ลุกขึ้นแล้วไม่ฉันอีกเลย อย่างนี้เรียกว่า ถือธุดงค์ข้อ เอกาสนิกังคะ นี่แหละ
ต่อไป ทีนี้ อีกองค์หนึ่งสมาทานวัตรบอกว่า ฉันจะฉันเฉพาะในบาตร ไม่ฉันในภาชนะอื่นเลย นี่ก็เป็นธุดงค์อีกข้อหนึ่งเหมือนกัน เรียกว่า ถือฉันในบาตรเป็นวัตร เรียกว่า ปัตตปิณฑิกังคะ นี่แหละ
ต่อ ต่อไปยังมีอีกข้อหนึ่ง ขลุปัจฉาภัตติกังคะ แปลว่า ถือฉันอาหารเฉพาะส่วนที่รับไว้แล้ว ไม่รับเพิ่ม คือพอนั่งฉันนี่... ??? (นาทีที่ 18:35) เขาเอาอาหารมาหรือมีอาหารอะไรจะฉัน เมื่อตกลงลงมือเริ่มฉันแล้ว ใครจะเอาอาหารมาอีกตอนนี้ไม่ฉันแล้ว ไม่รับเลย นี่เรียกว่าไม่รับอาหารที่มาภายหลัง นี่เคร่งเข้าไปอีกใช่ไหม... ??? (นาทีที่ 18:49) องค์ที่ฉันอาสนะเดียวนั่น ฉันมื้อเดียวจริง แต่ว่าโยมนำมาถวายอาจจะรับเพิ่ม พอองค์นี้ พอลงมือฉันแล้ว ไม่รับอะไรอีก อย่างหลังนี่เรียก ขลุปัจฉาภัตติกังคะ
นี่แหละ ธุดงค์ทั้งนั้น พวกนี้ไม่เห็นเกี่ยวกับเดินสักนิดเลย โยมคงแปลกใจ นี่เรามาใช้ธุดงค์อย่างไรเป็นเดินไปได้
เอาละ ทีนี้ต่อไป ต่อไปหมวดที่ ๓ นี่เกี่ยวกับเสนาสนะ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยนะ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยก็เริ่มด้วยข้อว่า อารัญญิกังคะ อยู่ป่า นี่ไง ?? (นาทีที่ 19:23) หรืออยู่ป่าเป็นวัตร นี่แหละ ของพระนี่ก็ เดี๋ยวนี้ก็เห็นกันมากแล้วนะ ...??? (นาทีที่ 19:26) หรืออยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าถือเคร่งครัดก็ถือตลอดไปเลย ...??? (นาทีที่ 19:33)
ทีนี้ ต่อไป องค์ที่ ๒ ถือ รุกขมูล เรียกว่า รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร นี่แหละ อันนี้ก็ไปอยู่ตามใต้ต้นไม้ เจริญพร ??? (นาทีที่ 19:45) อันนี้ก็มีพระบางองค์เขาเรียกพระรุกขมูล...??? (นาทีที่ 19:50) อันนี้ก็ไปเที่ยวอยู่ตามโคนต้นไม้
ต่อ ต่อไป เขาเรียกว่า อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร องค์นี้ไม่อยู่ที่ในที่ใต้ร่มไม้ ไปอยู่กลางแจ้ง เขาเรียก อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่กลางแจ้งเป็นวัตร
แล้วต่อไป อีกองค์หนึ่ง ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร นี่แหละ ไม่มีเรื่องการ...อะไรหรอก ?? (นาทีที่ 20:13) หลวงพ่อเกษมถืออยู่สุสาน อยู่ป่าช้าเป็นวัตร เรียกว่า โสสานิกังคะ เจริญพร ??? (นาทีที่ 20:20)
แล้วก็ต่อไป มีอีกองค์ที่เรียกว่า ยถาสันถติกังคะ ถืออยู่ในที่ตามแต่เขาจะจัดให้ อันนี้เขา เขาจัดให้อย่างไรก็อยู่ที่นั่น นี่แหละ ไม่เรียกร้องเอาตามใจของตัวเอง ก็เป็นวิธีการขัดเกลาตัวเองด้วยวิธีการต่าง ๆ เจริญพร อันนี้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับเสนาสนะ
แล้วก็ไปสุดท้าย เจริญพร เนสัชชิกังคะ แปลว่า ถือนั่งเป็นวัตร องค์นี้ไม่นอนเลย จะหลับก็นั่งหลับเอา พักผ่อนด้วยการนั่งเท่านั้น เจริญพร
ก็เป็นอันเข้าใจว่าครบแล้ว ๑๓ ข้อ เจริญพร เรียกว่า ที่นี่แหละคือ ธุดงค์ ล่ะ แล้วมีข้อไหนไหมที่เดิน... ??? (นาทีที่ 21:06) นั่นสิ ทำไมเราไปใช้คำว่า ธุดงค์ เป็นเดินไปก็ไม่ทราบ เขาใช้เป็นภาษาไทยไปแล้ว ก็เลย ก็เรียกว่าช่วยไม่ได้ เจริญพร ความหมายภาษาไทยเราก็เป็นว่า ธุดงค์ นั่นคือ เดิน พระธุดงค์ก็พระที่ท่านจาริกไป
ก็ นี่คือธุดงค์ เป็นข้อปฏิบัติสำหรับขัดเกลากิเลส ทำตนให้มีความมักน้อยสันโดษ เพื่อเตรียมจิตให้พร้อมที่จะปฏิบัติเพื่อคุณธรรมเบื้องสูงยิ่งขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม ธุดงค์ นี้ ท่านเรียกว่าเป็นวัตร คือเป็นข้อปฏิบัติที่เลือกถือได้ตามพอใจ ตามสมัครใจ ท่านผู้ใดสมัครใจก็สมาทาน ท่านผู้ใดไม่สมัครใจก็ไม่ต้อง แล้วท่านยังมีหลักอีกว่า ถ้าหากว่า ท่านผู้ใดสมาทานธุดงค์แล้ว เป็นเหตุให้กรรมฐานไม่เจริญ ก็ไม่ควรสมาทาน แต่ท่านผู้ใดสมาทานธุดงค์แล้ว ช่วยให้ปฏิบัติกรรมฐานได้ผล ก็ควรสมาทาน เป็นข้อปฏิบัติที่ไม่ใช่บังคับกัน แล้วเรียกว่าเป็นวัตร
อันนี้ก็ควรเป็นข้อที่จะให้พิจารณาสำหรับแยกระหว่าง ศีล กับ วัตร ศีล นั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ควรถือเสมอกัน เช่น เป็นพระก็ถือศีลอย่างเดียวกัน ข้อปฏิบัติเหมือนกัน อย่างนั้นเป็นศีล ส่วน วัตร นั้น โดยปกติแล้วเป็นข้อปฏิบัติจำเพาะ หรือข้อปฏิบัติที่สมัครใจถือ เพื่อจะขัดเกลากิเลสของตนเอง หรือจะบำเพ็ญความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
สำหรับโยมก็เช่นเดียวกัน โยมก็มีศีล ก็มีวัตรนี่ ถ้าสับสนเข้าแล้วจะยุ่ง บางทีก็มาว่ากัน เอา ศีล นี่ เราควรจะมี แค่ศีล ๕ นี่ เราควรจะมีเหมือนกัน ถ้าเป็นคฤหัสถ์ เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ควรมีศีล ๕ เป็นฐาน ทีนี้ ต่อจากนั้นก็มีข้อปฏิบัติพิเศษให้ฝึกตนเองให้มีคุณความดียิ่งขึ้นไป ตอนนี้เป็น วัตร แม้แต่อุโบสถนี่ก็เป็นวัตรนะ เจริญพร ใครจะถือหรือไม่ถือก็ตามสมัครใจ ก็ไม่ใช่เป็นข้อที่ตัดสินว่าถูกหรือผิด แต่เป็นว่า ถ้าใครทำได้ก็ดี แล้วท่านผู้อื่นก็ยกย่องสรรเสริญ แต่ไม่เป็นข้อที่สำหรับจะเอามาว่ากันนะ ถ้าหากว่าเป็นศีลแล้วก็ควรจะว่าได้ โอ้ ท่านเป็นพุทธศาสนิกชน ทำไมไม่บำเพ็ญศีลให้ถูกต้อง แม้แต่ศีล ๕ ข้อปฏิบัติยิ่ง ๆ ขึ้นไป อย่าง อุโบสถ ก็เป็น วัตร หรือว่า แม้แต่ธุดงค์บางข้อ โยมก็ปฏิบัติได้ โยมปฏิบัติได้เป็นบางข้อ แต่สำหรับพระนั้นปฏิบัติได้ทุกข้อ แต่ทุกข้อก็ไม่ได้ทุกเวลา อย่างธุดงค์ข้อ รุกขมูลิกังคะ หรือ รุกขมูล นั้นก็ ในพรรษาท่านห้ามไม่ให้ถือ เพราะว่าท่านมีบทบัญญัติไว้ว่า เวลาจำพรรษาแล้วจะต้องมีที่อยู่อาศัยให้เรียบร้อย จะไปจำพรรษา อยู่กลางแจ้งธรรมดา หรือ รุกขมูล ก็ไม่ได้ เขาถือได้แต่นอกพรรษา
อันนี้ก็ อาตมาภาพก็นำเอาเรื่องธุดงค์มากล่าวนี้ ก็เพื่อจะเป็นตัวอย่างของข้อปฏิบัติที่ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ ก็ให้เห็นหลักเรื่องความมักน้อยสันโดษ ก็เลยได้เรื่องธุดงค์ด้วยว่า ธุดงค์นั้น ความหมายที่แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วก็เลยคาบเกี่ยวมาถึงเรื่อง ศีล และ วัตร อีกอย่าง ศีล และ วัตร ก็เป็นข้อที่โยมควรจะแยกกันให้ถูก เพราะว่ามีบางท่านที่แยกไม่ได้ระหว่าง ศีล วัตร ก็ทำให้เอามาต่อว่ากัน เอาวัตรมาเที่ยวว่าคนอื่นว่า ทำไมท่านโน้นไม่ประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ผิดอะไรนี่ ที่จริงที่ตนว่านั้น เป็นเรื่องของวัตร เป็นข้อปฏิบัติที่ตามสมัครใจ ถ้าถือได้ก็ดี คือไม่ใช่ถูกหรือผิด แต่เป็นเรื่องดียิ่งขึ้นว่า เราไม่ผิดแล้ว แต่ถ้าเราถือวัตรอันนี้แล้ว ก็ดียิ่งขึ้น เราทำถูกแล้ว แล้วเรามีดียิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่ทำ ก็ไม่ใช่ไม่ดี ไม่ได้ชั่วช้าเสียหาย แล้วก็ไม่ได้ผิด อันนี้ก็เป็นประโยชน์ในการเข้าใจเรื่องคำว่า ศีล และ วัตร
สำหรับวันนี้ อาตมาภาพก็นำเอาเรื่องเหล่านี้มาเล่าให้โยมฟัง ก็เป็นการประดับความรู้ เป็นส่วนเสริมการปฏิบัติ ก็พอสมควรแก่เวลา วันนี้ก็ขออนุโมทนาโยมเท่านี้ เจริญพร