แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เอ้ามาต่อกันที่สำนักสงฆ์พุทธมณฑลอีก ก็เป็นคนเราก็ต้องฝึกฝนพัฒนากันเรื่อยไป ฝึกฝนไปมาก ๆ เมื่อยไหมเณรเต็มไม่เมื่อย ฝึกกันบ่อย ๆ รู้สึกว่าหนัก แต่ก็ต้องจำเป็นนะ เพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้า เราก็จำเป็นต้องฝึกฝนพัฒนาตัวเรา คราวที่แล้วก็พูดไปแล้วหลักการพัฒนาแล้วก็ให้เห็นด้านต่าง ๆ ที่จะต้องพัฒนา 4 ด้านก็หมด นี้ถ้าเราพัฒนาตัวเองสมบูรณ์ครบ 4 ด้านนี้ เราก็เรียกว่าได้ประโยชน์แก่ชีวิตของเราเต็มที่ การที่เรามีความเจริญงอกงามชีวิตของเราดีอยู่ในตัวอย่างนี้แหล่ะเรียกว่ามีประโยชน์ที่แท้จริง คนโดยมากไปนึกถึงประโยชน์ข้างนอก นึกถึงผลประโยชน์ว่าต้องได้ทรัพย์สินเงินทอง ต้องได้อะไรต่าง ๆ ที่ว่าเป็นผลตอบแทนกับตัวเองที่มาจากข้างนอก เรามักจะมองเห็นประโยชน์ในแง่นี้ แต่ทางหลักธรรมแล้วท่านถือประโยชน์ที่แท้ตัวความเจริญพัฒนาเพราะชีวิตของเรา ซึ่งมันจะเป็นรากฐานของผลประโยชน์อื่น ๆ ต่อไป ฉะนั้นประโยชน์ในทางธรรมะนี่จึงเป็นประโยชน์ไม่ขัดกันระหว่างคนกับผลประโยชน์ ถ้าเป็นผลประโยชน์ข้างนอก ถ้าเราได้คนอื่นไม่ได้ หรืออาจจะต้องเสียด้วย เพราะฉะนั้นมันก็ต้องขัดกัน แต่ถ้าเรามองประโยชน์ที่แท้จริงของชีวิตอันนี้ไม่ขัดกันใช่ไหม ก็คุณควรจะพัฒนาตัวเองให้ชีวิตคุณดีงามยิ่งขึ้นไป เมื่อไหร่มีปัญญามากขึ้นเมื่อไหร่ มันก็ไม่ไปทำให้อีกคนเสียไปด้วย ไม่สูญเสีย ไม่ขัดแย้งกัน เพราะฉะนั้นนี้เป็นประโยชน์ที่แท้จริงของชีวิต ซึ่งแต่ละคนทำได้ทำให้แก่ตนได้เต็มที่ ไม่ต้องกลัวจะไปแย่งชิงคนอื่น กลับมีผลประโยชน์ช่วยคนอื่นได้ด้วย เพราะเรายิ่งพัฒนาตัวเองได้ดีเท่าไหร่ เราก็มีความสามารถที่จะทำประโยชน์ให้คนอื่นได้มากเท่านั้น นี่คือความต่างระหว่างประโยชน์ที่แท้จริงกับผลประโยชน์ข้างนอก
นั้นในทางธรรมะก็เป็นอันว่าให้มองเห็นว่านี่ประโยชน์ที่แท้จริงของชีวิตเราที่จะได้ก็คือ การที่ว่าเราพัฒนาตัวให้เจริญงอกงามอย่างนี้ และอันนี้เป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์ภายใน อย่างปัญญาเป็นต้น ความเจริญงอกงามในด้านกายศีลจิตปัญญานี่เป็นทรัพย์ภายในตัวเองทั้งนั้น เป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์ ทรัพย์ที่ประเสริฐก็เป็นสิ่งที่มีค่าด้วย แล้วก็ทำให้เราเป็นมนุษย์ที่เป็นสัตว์ประเสริฐที่แท้จริง ความประเสริฐของมนุษย์ก็อยู่ที่การพัฒนาชีวิตของเราให้เจริญทั้ง 4 ด้านนี้ งั้นที่พูดมาถึงว่าเราจะเป็นสัตว์ประเสริฐหรือว่ามีทรัพย์ภายในอะไรต่าง ๆ มันก็ต้องมารวมอยู่ในหลักนี้ด้วย เหมือนกับที่เรานับถือพระรัตนตรัย นับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็เพราะว่าการนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ นั้นจะทำให้เรามาพัฒนาตัวเองอย่างนี้ ทำให้เราได้ประโยชน์อย่างนี้ซึ่ง เป็นประโยชน์ที่แท้จริงแก่ชีวิต แล้วจึงเรียกพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็เป็นสิ่งที่มีค่า เป็นดวงแก้วมีค่าเพราะอย่างนี้ เพราะทำให้เราได้ประโยชน์ที่แท้จริงในชีวิต การที่เราถือเป็น การนับถือพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงห์ก็คือเอาเป็นสรณะที่ว่ามานี้เป็นเครื่องเตือนใจเราให้พัฒนาตัวเองอย่างว่านี้ อย่างนี้เอาล่ะ เป็นอันว่าเมื่อเราได้พัฒนาตัวเองอย่างนี้แล้ว เราก็ได้ประโยชน์เต็มที่ แต่เป็นประโยชน์ของตัวเอง เป็นประโยชน์แก่ชีวิตของตนเอง
ผู้ที่พัฒนาสมบูรณ์เราเรียกว่า เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยประโยชน์ตน เวลาเราพูดถึงคนที่เต็มเปี่ยมหรือพร้อมด้วประโยชน์ดีคือคนพัฒนาตนแบบนี้ ทีนี้นอกจากพัฒนาตนเองทำให้ตนเองได้ประโยชน์แล้ว ท่านบอกว่าพร้อมกันนั้นชีวิตที่ถูกต้องนี่ มันจะมีการทำประโยชน์แก่ผู้อื่นพร้อมกันด้วย ฉะนั้นเราก็จะก้าวมาสู่หลักธรรมที่ขยายกว้างออกไป ตอนที่แล้วมาทำประโยชน์ตนให้แก่คนอื่น ทำประโยชน์ของตนให้สมบูรณ์โดยพัฒนาตนฝึกฝน 4 ด้าน ทีนี้ในการฝึกฝนพัฒนาตนนั้นพร้อมกับเราต้องทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย ไม่ใช่มองแต่ตัวเองอย่างเดียว แล้วการที่เราทำประโยชน์แก่ผู้อื่นช่วยเหลือผู้อื่น นั่นแหละเป็นการพัฒนาตนเองด้วยไปในตัว อันนั้นถึงหลักพระพุทธศานาถึงตอนนี้ ท่านบอกว่าต้องทำทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น
ทีนี้ประโยชน์ตนนี้เราจะทำให้สมบูรณ์อย่างที่บอกแล้วว่า ต้องพัฒนาตนนั้น ตัวหลักคุณสมบัติที่เป็นแกนกลางคืออะไรน่ะ รองทวนอีกที ตัวคุณสมบัติหลักตัวแกนกลางในการที่เราจะฝึกฝนพัฒนาตัวเองให้ได้สำเร็จ คืออะไรน่ะทีพูดไปแล้ว อะไรน่ะ เณรตอบ พระวินัย พระวินัยนันเป็นตัวกลาง ไอ้ตัวที่จะทำให้ฝึกได้คืออะไร ปัญญาไง นึกออกแล้วใช่ไหม ตัวปัญญาเป็นตัวแกนเป็นคุณสมบัติหลัก ทีนี้เมื่อเรามีปัญญาเราก็พัฒนาตนเองได้เต็มที่ ในแง่ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นล่ะ คุณสมบัติอะไรที่จะเป็นแกนกลางเป็นหลักใหญ่ ตอนนี้เราจะได้คู่แล้ว ทำประโยชน์ตน พัฒนาตนให้สำเร็จนี่ต้องเอาปัญญาเป็นหลัก ทีนี้จะทำประโยชน์แก่ผู้อื่น อะไรจะเป็นหลักที่จะทำให้เราทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นได้ เณรตอบ ใจ ก็ใจทั้งนั้นแหละ ทำอะไรก็ต้องใจสั่ง เณรตอบกาย ไหนกายก็เป็นเครื่องมือ เครื่องมือในการทำ ตัวเหตุผลักดันไงที่จะให้ทำได้อะไร เณรตอบเมตตา จวนแล้ว เมตตา อันนี้ในภาษาไทยก็อาจจะมีความหมายไปช่วยเหลือด้วย ทีนี้เมตตานั้นเป็นเพียงการมีไมตรีกัน ปรารถนาดีอยากให้ผู้อื่นมีความสุข ทีนี้เวลาคนอื่นมีความทุกข์เดือดร้อนที่จะไปช่วยเหลือเขาอย่างจริงจังตัวไหน เณรตอบกรุณา กรุณา กรุณาคือการที่เห็นอกเห็นใจคนอื่น รู้สึกสุขทุกข์ผู้อื่น เมื่อเห็นเขาเดือดร้อนก็ต้องพร้อมที่จะช่วยเหลือ การที่จะไปช่วยเหลือคนอื่นจริงจังตัวแกนของมันคือกรุณา เอาน่ะ
เพราะฉะนั้นหลักในการทำประโยชน์ตนคือปัญญา หลักในการทำประโยชน์แก่ผู้อื่นคือกรุณา พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนคนทั้งหลายทั่วไป เรียกว่าไปทำประโยชน์แก่มวลชนนี้เรียกว่ากรุณา ในพุทธคุณเราก็พูดมาแล้ว มีปัญญาคุณวิสุทธิคุณ กรุณาคุณใช่ไหม กรุณาคุณเป็นตัวที่ทำให้พระพุทธเจ้าช่วยเหลือผู้อื่นด้านเดียวกัน เพราะฉะนั้นตัวหลักสำคัญคุณสมบัติใหญ่ที่จะทำให้ไปช่วยผู้อื่นก็คือกรุณา ก็เป็นอันว่าเราได้หลักแล้วตอนนี้ ตัวคุณสมบัติหลักใหญ่ที่จะทำให้เราพัฒนาตนเองทำประโยชน์ตนให้เต็มที่ เป็นประโยชน์ที่แท้จริงคือปัญญา แล้วตัวคุณสมบัตหลักที่จะไปทำประโยชน์แก่ผู้อื่นได้อย่างแท้จริงก็คือกรุณา 2 อัน
ทีนี้การทำประโยชน์ตนได้เต็มที่ สมบูรณ์ด้วยประโยชน์ตนเรียกเป็นศัพท์ท่านเรียกพระเรียกอัตตสมบัติ อันนี้ไม่ต้องจำหรอกบอกให้ผ่าน ๆ หูไว้ ทีนี้การทำเพื่อประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นซึ่งเป็นคู่กันนี่ ท่านเรียกว่าปรหิตะปฏิบัติ ไม่ต้องจำ เอาแต่ตัวคุณสมบัติที่ทำให้ปัญญาฝ่ายหนึ่งให้มีกรุณาฝ่ายหนึ่ง ตกลงตัวเรานี่จะต้องให้มี 2 อันนี้คู่เคียงกันไปเรื่อย ๆ ปัญญากับกรุณา แล้วการทำประโยชน์ตนต่อผู้อื่นจะไม่ขัดกันเลย จะเสริมกันด้วย ถ้าเรามีประโยชน์ตนสมบูรณ์พัฒนาตนเองให้เต็มที่ เรายังมีความสามารถในการช่วยเหลือผู้อื่น เพราะกายเราพัฒนาดีแล้ว ศีลพฤติกรรมการแสดงออกของเราก็พัฒนาดีแล้ว จิตใจเราก็ดี ปัญญาเราก็ดี เราจะทำอะไรก็เป็นประโยชน์ได้เต็มที่ จะช่วยผู้อื่นก็ช่วยได้เต็มที่ ถ้าเราไม่พัฒนาตัวเองแล้วจะไปช่วยคนอื่นอย่างไร เหมือนกับคนจะไปช่วยคนตกน้ำ ตัวเองว่ายน้ำไม่เป็น ไม่พัฒนาตนเอง ไม่ฝึกตนเองให้ว่ายน้ำเป็นก่อน คนอื่นเขาตกน้ำกระโจนลงไป จะไปช่วยเขาเลยตายด้วยกันทัังคู่ เพราะฉะนั้นจะช่วยคนอื่นได้ดีก็เมื่อพัฒนาตนทำประโยชน์ตนให้สมบูรณ์ นั้นในทางธรรมะคนยิ่งทำประโยชน์ตนมากเท่าไหร ยิ่งทำประโยชน์ผู้แก่อื่นได้มากเท่านั้น แล้วในการที่เราทำประโยชน์แก่ผู้อื่นไป คือพัฒนาตัวเราเองด้วย เพราะเราไปช่วยคนอื่น เราก็พยายามช่วยให้ได้ผลดี
เวลาเราพยายามช่วยให้ได้ผลดีก็คือพัฒนาตัวเองด้วย พัฒนาความสามารถ พัฒนาปัญญา พัฒนาจิตใจ พัฒนาพฤติกรรมอะไรต่าง ๆ ไปหมด แล้วก็ในเวลาเดียวกันเมื่อเราก็ทำประโยชน์ ก็เป็นอันว่าทั้ง 2 อย่าง
1 ทำประโยชน์ตนพรั่งพร้อมก็ยิ่งมีความสมารถช่วยเหลือผู้อื่น
2 เมื่อช่วยผู้อื่นก็พัฒนาตัวเองไปด้วย
เพราะฉะนั้นประโยชน์ 2 ด้านอันนี้เป็นหลักการในพุทธศาสนาที่สำคัญน่ะ เป็นอันว่าเราว่าตามลำดับ พัฒนาตนเองเพื่อประโยชน์ตนในพรั่งพร้อมเป็นประโยชน์ที่แท้จริงแก่ชีวิต เราก็ได้ประโยชน์ตน เพราะฉะนั้นเราก็ทำประโยชน์แก่ผู้อื่นไปด้วย ก็ 2 อันนี้ก็ดำเนินชีวิตก็สมบูรณ์
อันนี้ให้หลักอย่างที่ว่ามานี้ วันนี้ก็เอาแต่หลักใหญ่ ๆ ค่อย ๆ ลองดูให้ชีวิตตัวเราให้ครบแง่ด้านต่าง ๆ ของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เอ้าทีนี้เณรมีข้อสงสัยอะไรบ้าง มีคำถามอะไรก็ได้ ที่เกี่ยวกับที่พูดมาหรือไม่เกี่ยวก็ได้ เณรเคยชอบมีข้อสงสัยในคำถาม ตอนนี้ไม่ค่อยมี มีไหมครับ ไม่มีเสียแล้วตอนนี้ ใครอื่นมีไหม เอ้าทีนี้ถามบ้าง เป็นอย่างไรบ้างไปอยู่ภูเขา ชอบไหมไปอยู่ภูเขา ชอบไหมไปอยู่ภูเขา เณรวุฒิ เณรตอบชอบ ชอบในแง่ไหน เณรตอบเงียบกว่าที่นี้ ชอบ เงียบกว่าเยอะ เณรอนุรักษ์ชอบ ในแง่ไหน เณรตอบอากาศบริสุทธิดี แล้วเณรต้น ชอบในแง่ไหน เณรต้นตอบอากาศแห้ง โอ้อากาศแห้งไม่ชื้น อันนี้เป็นข้อสังเกตุที่ชัดเจนดี ที่นี้ดีกว่าเยอะ เณรเต็มละครับ ชอบในแง่ไหน เณรเต็มตอบชอบไม่มียุง ชอบไม่มียุง คำถาม ๆ ไม่ถูกเมื่อตอนไปอยู่ใหม่ ๆ ก็ถามทวนอีกทีว่า ความรู้สึกยังเหมือนเดิมไหม ก็ตอบเหมือน ๆ กัน แสดงว่าที่โน่นดีมาก เณรตอบน้ำหนักลดไปกิโล เพราะอะไร เณรตอบไม่ทราบ เดินขึ้นเขา ก็ดีเหมือนกันน่ะ น้ำหนักลดแบบนี้ไม่เป็นไรคล่องตัวขึ้น ทำให้ประเปรียวก็แข็งแรง น้ำหนักลดแต่ไม่ได้ลดความแข็งแรง ยังแข็งเรงเหมือนเดิมดีน่ะ ดีไม่ดีก็แข็งแรงกว่าเก่าด้วยใช่ไหม เณรตอบใช่ เอาละวันนี้พอเท่านี้ก่อน นิมนต์กราบพระแล้วขึ้นไปพัก