แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เอ้ามีแง่มุมอะไรจะถาม
คนฟังถาม ก็อยากจะขอถามเกี่ยวกับเรื่องเกี่ยวพันธ์กับเศรษฐกิจนิดหนึ่งว่า อยากจะทราบว่าการเก็งกำไร ไม่ว่าจะเป็นทั้งในตลาดหุ้นเอยหรือว่าในที่ดินในคอนโดอะไรต่าง ๆ ถือว่าเป็นการขัดต่อหลักพระพุทธศาสนาหรือเปล่าครับ พระตอบ เอ้านิมนต์ถามให้จบ คนฟังพูดต่อ ก็อยากถามว่า คือในเศรษฐกิจนี่ก็อย่างที่รู้ว่ามันมีทั้งช่วงที่เฟื่องฟูแล้วก็ช่วงที่ถดถอยมาก ก็อย่างช่วงที่ถดถอยเนี่ย อย่างปี 40 นี่ แล้วก็มีคนที่ขาดทุนในตลาดหุ้นอะไรนี่ค่อนข้างมาก บางคนถึงขนาดฆ่าตัวตาย ก็อยากให้พระเดชพระคุณช่วยให้แง่คิดซักนิดหนึ่งเกี่ยวกับว่า ถ้าสมมุติว่า ช่วงนั้นนี่เกิดขึ้นมาอีก คนที่ประสบเหตุในช่วงเหตุการณ์นั้นนี่ต้องขาดทุนมาก ๆ นี่ เราสามารถผ่านพ้นในช่วงเวลานั้นได้อย่างไรครับผม
พระตอบ คือเวลาเกิดวิกฤตที่ว่ามันเป็นโอกาส ทีนี้มันก็เป็นโอกาส 2 แบบ โอกาสสำหรับพวกหนึ่งก็สำหรับพวกฉวยโอกาสใช่ไหม มันได้โอกาส พวกนี้น่ะ มันโอกาสดีที่จะได้แสวงหาผลประโยชน์เอาจากคนอื่นได้มากที่สุด หรือเอาจากสถานการณ์ ทีนี้วิกฤตเป็นโอกาสอีกแบบหนึ่งสำหรับมาฝึกตน อันนั้นเป็นหลักในทางพัฒนาชีวิต เป็นเรื่องของธรรมะ นี้เรื่องของการเก็งกำไรอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ มันก็เป็นเรื่องของชีวิตของชาวบ้านที่ทางพระ ท่านก็ยอมรับความเป็นจริง แต่ให้รู้เท่าทันแล้วก็ระวังไม่ให้เป็นเหตุให้เกิดการเบียดเบียน หรือเกินไป คือท่านยอมรับว่ามนุษย์มันก็อยู่อย่างนี้ ท่านถึงเอาศีล 5 มาบอกเธอ เขาจะหาสนองตัณหากันแค่ไหนก็อย่าให้มันถึงกับเบียดเบียนผู้อื่น อย่าให้มันละเมิด 5 ข้อนี้ ก็เอาไปเถอะ ท่านก็ยอมให้ในแง่นี้ แต่ทีนี้ว่าถ้าคนมีปัญญามากขึ้นก็จะพิจารณากว้างออกไป ก็การกระทำของเรานี่มันจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความเสื่อมความเจริญอย่างไรบ้างกับส่วนรวม เราควรจะมีส่วนในการแก้ปัญหาอย่างเกิดวิกฤตการอย่างนี้เนี่ย เอ้อเราควรจะทำยังไง ตอนนี้สติปัญญาคนไม่เท่ากันแล้ว บางคนคือไม่มองเลยทั้ง ๆ ที่มีปัญญา แต่ว่าไอ้กระแสตัณหามันแรงมันคิดจะเอาท่าเดียว ตอนนี้ธรรมะก็จะมาเป็นประโยชน์ในแง่ฝึกคน สอนให้คนที่ก็มีปัญญาดีแต่ว่ามัวแต่ตกเป็นทาสของตัณหาเสียก็เลยไม่ได้ใช้ปัญญาในทางแก้ปัญหาของผู้อื่นของสังคม ฉะนั้นต้องมาเตือนกันให้มาก ต้องมาพูดจาจี้จุดอะไรต่ออะไรกัน ย้ำมาเน้นกันว่าให้ช่วยกันนะ อย่าไปมองเอาแต่ผลประโยชน์ของตัวเองต้องหาทางช่วยกันแก้ปัญหาสังคม คุณจะเอาเดียวอย่างนั้นไม่ได้สังคมมันจะทรุดมันจะเสื่อมอะไรอย่างนี้นะ ก็ต้องจี้กันไป นั้นก็คือสำหรับคนที่มีปัญญาจะฉวยโอกาสจากสถานการณ์อะไรก็จะได้ยั้ง ๆ คือเอาละเรา จะเอาก็อย่าให้มันเป็นส่วนที่จะไปผลักดันสังคมนี้สู่ความล่มจมพินาศน่ะ ก็เรียกว่ารู้จักเข้าหลักรู้จักประมาณ แล้วก็มีสติอย่างน้อย คือเราต้องมีหลักเกณฑ์ขอบเขตไว้ เอาขอบเขตแค่ไหนว่าไม่ให้เรานี่เป็นตัวเหตุทำลายสังคม เอ้อเอาแค่นี้ขั้นหนึ่ง เอาขั้นนี้ก่อนไม่ทำลายนะเราจะทำยังไงจะเอาก็อย่าให้มันทำลายสังคมแล้วไม่ทุจริต แล้วเสร็จแล้วคิดต่อไปในทางบวกสร้างสรรค์ เราจะมีส่วนสร้างสรรค์อะไรได้บ้าง เราจะทำอะไร แล้วก็จะมองไปทางต่อไปก็ร่วมมือกับผู้อื่นในการสร้างสรรค์ ก็อย่างนี้ก็คือว่าให้มันได้อย่างหลักเริ่มต้นที่เคยพูดไว้แล้ว ไม่เบียดเบียนตนไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็ถ้ามันจะเบียดเบียนบ้างก็อย่างให้มันมาก ก็อย่าให้เสียศีล แล้วก็ทำประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นใช่ไหม ก็พยายามไปถ้าเรามีพลังมาก เราต้องคิดว่าเรามีพลังกำลังมาก เรามีโอกาสมากกว่าเขา อย่าเลยนะเราอย่าเอากำลังและโอกาสของเราไปใช้ในทางทำลาย เราจะทำอย่างไรจะให้กำลังและโอกาสของเรานี่ มันเป็นไปในทางสร้างสรรค์ในทางบวก ในทางช่วยเหลือเกื้อกูล ช่วยเหลือเกื้อกูลมนุษย์ในยามที่เขาลำบากยากเข็ญนี้ทำไงจะช่วยกู้สถานการณ์ของสังคมประเทศชาติอะไรอย่างเนี้ย อย่าเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว พอจะมีทางไหมครับ สติมันก็ช่วยแหละ นี่แหละธรรมะก็จะมาเป็นประโยชน์ตอนนี้ แต่ท่านยอมรับความจริงไอ้เรื่องของสังคมมนุษย์นี่ มันก็อยู่อย่างเงี้ยก็ถึงได้วางธรรมะเป็นระดับ เรื่องของมนุษย์ก็คือเรื่องของการพัฒนา พัฒนาชีวิตพัฒนาสังคม แต่พัฒนาสังคม มันจะเป็นไปได้ก็ต้องพัฒนาคนนั่นแหละ เมื่อพัฒนาคนได้ก็พัฒนาสังคมได้ เราก็ต้องมาดำเนินชีวิต ด้วยมีการพัฒนาตนอยู่เสมอ ก็ต้องให้การศึกษาที่ให้คนมีจิตสำนึกนี้ไว้ ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้มีการทำประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมอะไรต่างๆ เหล่านี้น่ะ จะเป็นเรื่องเน้นมามาก ที่นี้บางยุคบางสมัยการศึกษามันไม่ค่อยช่วย มันทำให้คนเอาทางเห็นแก่ตัวมากเกินไป นี้ธรรมะท่านจะวางว่าเป็นระดับต่าง ๆ เอ้าระดับนี้คุณก็มันไปสัมพันธ์กับเรื่องความสุขด้วย พวกนี้ก็จะได้ความสุขจากการหาใช่ไหมครับ หาความสุขนี้ก็ไม่รู้จักจบไม่มีพอ นั้นก็เอากันไว้แค่ศีล 5 ก่อน คุณจะหาจะบำรุงบำเรอยังไงก็ขออย่าให้มันละเมิดศีล 5 คนอื่นมันยังพออยู่ได้ สังคมยังไม่ถึงก็ลุกเป็นไฟเอาแค่นั้น แต่ว่าฉันไม่รับประกันไอ้แค่ศีล 5 มันจะอยู่กันดีจริง เอาพออยู่กันได้ ศีล 5 พออยู่กันได้น่ะ แล้วอยู่กันดี พออยู่กันได้แล้วคุณเอง คุณก็ไม่ใช่มีความสุขจริงหรอกแค่ศีล 5 คุณยังเอาความสุขไปพึ่งพาขึ้นต่อวัตถุอะไรต่าง ๆ อยู่ แล้วคนอื่นก็อาจจะยังมีปัญหากันไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกันหรอกก็ระวังกันอะไรต่าง ๆ ระแวงระวังกันอยู่เรื่อย นี่ท่านก็ให้พัฒนากันขึ้นไป ถึงได้มีธรรมะต่าง ๆ มาช่วย มีพรหมวิหารเข้ามา เพื่อจะให้เดินหน้าในพรหมวิหารมีเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาออกสู่ปฏิบัติการมีสังคหวัตถุ 4 เมตรกรุณามุทิตาอุเบกขานี้อยู่ในใจนะ ออกสู่ปฏิบัติการ ก็เช่นโดยเฉพาะที่ตรงที่สุดก็คือสังคหวัตถุ 4 ทานที่ว่าการให้ ๆ พอช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันตามปกติ ให้ในยามเขาตกยากทุกข์เดือดร้อนก็ช่วยฉุดดึงเขาขึ้นมาให้พ้นจากทุกข์ก็เป็นกรุณา ให้ไปส่งเสริมการทำความดีก็เป็นมุทิตา แล้วก็ปิยวาจาก็พูดดีพูดกันตามปกติก็สุภาพอ่อนโยน ทีนี้ถ้าเขาตกยากลำบากทุกข์เข็นวาจาก็เป็นวาจาแนะนำปลอบโยนให้กำลังใจบอกหนทางแก้ไขปัญหา ปิยวาจาด้วยกรุณา พอเขาทำความดี เอ้าปิยวาจาก็ส่งเสริมอย่างนี้เป็นต้น ชวนกันส่งเสริมทำความดี แล้วก็ต่อไปก็อัตถจริยาบำเพ็ญประโยชน์ช่วยด้วยกำลังความรู้ความสามารถเรี่ยวแรงกำลังกายอะไรก็แล้วแต่ ความสามารถกำลังต่าง ๆ เอามาใช้ช่วยกัน ก็ตามปกติก็อยู่กันสบายก็ไม่มีอะไรก็มาช่วยยกเก้าอี้ให้บ้าง ช่วยถือของเดินไปด้วยกัน อย่างนี้ก็เรียกว่าอัตถจริยาตามปกติเป็นมิตรไมตรี พอเขาเดือดร้อนมากบ้านไฟไหม้น้ำท่วมตกน้ำอย่างนี้ อัตถจริยาต้องใช้กำลังจริง ๆ แล้ว อัตถจริยาอย่างนี้เรียกว่าอัตถจริยาด้วยกรุณา เอาเรี่ยวแรงกำลังไปช่วยคนตกน้ำพ้นภัยต่าง ๆ นี้ก็ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ทำความดีเป็นการสร้างสรรค์ เช่น สมัยก่อนทำงานวัด จัดงานวัดก็เอากำลังไปช่วยหนุนทางการทำความดีเรียกว่าอัตถจริยาด้วยมุทิตาใช่ไหม นี่ก็คือเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาเนี่ยมันออกสู่การปฏิบัติด้วยสังคหวัตถุ 4 มี 3 * 3 เป็น 9 สถานการณ์ แล้วก็ไปอุเบกขาก็ความเที่ยงธรรม ก็คือเสมอภาคกันน่ะ อุเบกขานี่ออกสมานัตตตามีตัวตนเสมอ เสมอภาคกันไม่เอาแล้วรัดเอาเปรียบกัน ไม่ดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามกัน ไม่เลือกที่รักผลักที่ชังกัน หรือมัดที่ชังก็แล้วแต่ ก็คือว่ามีความเป็นธรรม แล้วก็สมณะสุขตะตา มีสุขทุกข์เสมอกัน ร่วมสุขร่วมทุกข์ แล้วทำตนให้เข้ากันได้ ไม่ถือเนื้อถือตัว ข้อสุดท้ายสมณะตะตานี่คลุมหมดเลย คนมันถึงกันแล้วก็มีความเป็นธรรมมันก็อยู่ด้วยกันได้ ไม่มีความเป็นธรรมเดี๋ยวก็เกิดเรื่อง เพราะฉะนั้นท่านก็ให้ไว้ 4 อันเป็นที่แสดงออกของพรหมวิหาร 4 นี้เราเอาหลักนี้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาสังคมได้ใช่ไหมครับ มันก็พออยู่กันได้แล้วก็จะทำให้มีความรักใคร่สามัคคียึดเหนี่ยวน้ำใจกันได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรียกว่าเอกภาพ สังคมจะมีความอย่างที่ว่าสามัคตี อันนี้สำคัญ นั้นท่านก็ต้องยิ่งในยามที่บ้านเมืองวิกฤตมีเหตุการณ์ร้ายแรงยิ่งต้องมีสังคหวัตถุให้มากแทนที่จะมัวไปคิดจะเอาแต่ตัวแย่งชิงกัน มันก็ทำลายผู้อื่นด้วย แล้วก็ทำลายส่วนรวมนั่นเอง ทำอย่างไรเราจะกู้สังคมส่วนรวมขึ้นมา ตอนนี้ก็คือเวลาที่มันเดือดร้อนก็คือเวลาที่ทำไงเราจะกู้สังคมทั้งหมดขึ้นมา ไม่ใช่แต่ละคนนี่ไปคิดแต่จะเอาแต่ตัวก็คือยิ่งมาช่วยกันทำลายใช่ไหม ไอ้สังคมก็จะแย่อยู่แล้วแต่ละคนก็ฉวยโอกาสว่าฉันจะเอาให้แก่ตัว มันก็หมดพินาศเท่านั้นเอง ล่มจม นั้นเราก็พอถึงเวลานั้นก็คือเวลาที่จะต้องมาช่วยกู้สังคม ทำให้ดีที่สุดช่วยเหลือเกื้อกูล แต่ว่าเราต้องให้ตัวอยู่ได้ ไม่งั้นไปช่วยคนอื่นไม่ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราก็ต้องทำตัวเองให้มีกำลัง แต่ไม่ใช่คิดเอาแต่ตัวเองคนเดียว ถ้าทำอย่างงี้ แล้วประโยชน์ตนก็ได้ ประโยชน์ผู้อื่นก็ไม่ทิ้ง ไม่ใช่เอาแต่ตัวคนเดียว นี่ก็ธรรมะต่าง ๆ ก็มาในสถานะการณ์ต่าง ๆ ไอ้พวกนี้มันใช้อยู่ประจำ อย่างพรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 มันทำต้องใช้อยู่ประจำ ใช้มากใช้น้อย ใช้หนักข้อไหนก็ไปดูกันตามสถานะการณ์ แล้วก็ตัวเองก็ต้องพัฒนาตนไปจากศีล 5 ก็ขึ้นเป็นศีล 8 ทำไมเราจึงรักษาศีล 8 เออเอ้าถามหน่อย ผมถามหน่อย ผมถามบ้างแล้ว ท่านถามผมเยอะแล้ว
คนฟังตอบ มีอิสระภาพของตัวเอง ไม่ให้พึ่งพากับวัตถุเสพภายนอกมากเกินไป
พระตอบ อ้อครับ ก็ดีน่ะแหละ ก็หมายความว่า หลักศีล 8 นี่ท่านเอามาฝึกคนนั่นเอง เราจะพัฒนาชีวิตขึ้นไป เราไม่ใช่อยู่แค่ศีล 5 ศีล 5 ก็คือกันไม่ให้คนเบียดเบียนกัน กันไม่ให้ตัวเองนี่ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสเกินไป พอตัวเองตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสโลภะโทสะโมหะจะเอาอย่างเดียวจะเบียดเบียนเขาอะไรต่ออะไร เต็มที่น่ะเลย มันก็แย่ตัวเองก็กลายเป็นว่าตัวเองก็ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสเหล่านั้นด้วย 2 ก็ไปทำร้ายคนอื่นทำเบียดเบียนคนอื่นแย่งชิงคนอื่นมากด้วย เสียทั้งสองด้าน ถ้ามองลึกลงไปแล้วเสียทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น แล้วก็ตัวเองก็ไม่ได้พัฒนาชีวิต ท่านก็เลยเอาศีล 8 มาช่วย ศีล 5 นั่นก็เป็นเรื่องระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ที่นี้มาศีล 8 นี่ ศีล 5 ก็ยังอยู่ แต่เพิ่มส่วนที่ฝึกตัวเองแหละทีนี้ ตอนที่เพิ่มเข้ามานี้แต่เรื่องตัวเองทั้งนั้นไม่เกี่ยวคนอื่นแล้วใช่ไหม ศีล 8 ส่วนที่เพิ่มไม่มีเรื่องคนอื่นเลย เรื่องตัวเองจะคุมตัวเองยังไงจะฝึกตัวเองยังไง เอ้อทำไงจะไม่กินมากเกินไปใช่ไหม จะเอาแต่เสพเห็นแก่กินอยากกินก็กิน เอ้อคุมมันซะบ้าง เอาวินัยมากำกับแล้วฝึกตัวเองซะ กินแค่ตามเวลานี้พอไหม อยู่ดีได้ไหม มีความสุขได้ไหม ความสุขไม่ต้องพึ่งกิน ไม่ต้องพึ่งแต่กิน อยู่โดยกินแค่พอดีและสุขภาพเราอยู่ได้อะไรแค่นี้ มันดีต่อร่างกายด้วยแล้วเราจะอยู่เป็นสุขได้ไหมโดยไม่ต้องพึ่งอาหารอร่อย เอ้อได้นิ ก็ถือวิกาลโภชนา เคยดูเดือนดูหนังฟังเพลงดูทีวีอะไรต่ออะไร เล่นสนุกจึงจะมีความสุข เอ้เราจะต้องพึ่งมันก็ต้องมีแต่สนุกสนานอย่างเดียว อย่างนี้ไม่มีอยู่ได้ไหม เอ้าทดสอบตัวเองดู งดเสียเอง ไม่ต้องไปรอให้ขาด ไม่ต้องรอให้มันไม่มี ไม่รู้เมื่อไหร่มันจึงจะไม่มี เพราะฉะนั้นก็ลองไม่มีซะเอง ก็งด งดซะบ้าง งดสักวัน เอ้ออยู่ได้ไหม เราไม่ต้องมีมัน มันก็ไม่ได้เป็นอะไรไม่อะไร สาระสำคัญของชีวิตอะไรเนี่ย เราก็อยู่ได้ ก็งดซะวันวันว่าไม่ให้ชีวิตของเรานี่ เอาความสุขไปพึ่งพาขึ้นต่อไอ้เรื่องเหล่านั้น การบำเรอตาหูจมูกลิ้นกายนี่ ก็เว้นจากนัจจะคีมาลา แล้วก็อุจจาเรื่องการนอน ก็นอนง่าย ๆ แล้วเสร็จแล้วเราจะได้เป็นอิสระด้วย เวลาจะไปไหน ไม่ต้องหอบหิ้วมากเกินไป ไปไหน ฉันไปไหนนอนได้ นอนเป็นสุข อะไรอย่างนี้ก็คือฝึกตัวเองให้มองในแง่หนึ่งก็อยู่ง่ายกินง่าย แต่มองลึกเข้าไปก็คือว่าให้ตัวเองเป็นอิสระไม่ต้องพึ่งพาขึ้นต่อวัตถุเสพ หรือสิ่งบำรุงบำเรอปนเปรอเกินไป ชีวิตจะได้เป็นตัวของมันเองได้ ชีวิตคนเราเนี่ยลองพยายามอยู่ด้วยตัวของมันเองได้ไหม เป็นอิสระได้ไหม เอ้อย่างที่ว่า มีก็ดีไม่มีก็ได้ ว่าอย่างงั้น ดีไหม มีก็ดี เราอยู่บ้านเรามีมันใช้มันไป เสริมความสุขไป ถึงไม่มีเราไปที่อื่นเราก็อยู่สบาย ถ้า 8 วัน เราก็ฝึกมันสักที อะไรอย่างนี้น่ะ ถ้าฝึกอย่างนี้ละก็ มันก็ยังมีอิสรภาพอยู่ดีที่ว่า อย่างน้อยมันก็มีสติยั้งตัวเองไว้ไม่ให้กลายเป็นคนลุ่มหลงมัวเมา อย่างที่ว่า ต้องเป็นทาสของวัตถุไปเลย คนที่เป็นมาก ๆ นี่เป็นทาษของวัตถุมีไหมครับ มีใช่ไหม แย่เลยน่ะ คนนั้นไม่ต้องไปรอสังคมตกยากหรอกชีวิตเขาเอง คนเราเนี่ย พอหนึ่งเจ็บไข้ เอาละซิ พอเจ็บไข้ ไอ้สิ่งเสพบำรุงบำเรอความสุขนี่มันช่วยไม่ได้แล้วใช่ไหม อาหารเคยกินอร่อยไม่อร่อยแล้วใช่ไหม ที่นี้คนที่ไม่เคยฝึกตนทุกข์เพราะความสุขมันพึ่งพาเพราะขึ้นกับสิ่งเหล่านั้น กินก็ไม่ได้จะหาความสุขอะไรก็ไม่ได้ โอ้โฮทุรนทุราย ที่นี้พอเราฝึกไว้แล้ว เอ้า ตอนนี้เราเจ็บไข้ ไอ้พวกอินทรีย์ของเราที่จะเสพมันไม่เอาด้วย เออเราก็ไม่เป็นไรเราก็อยู่กับใจของเราได้นิใช่ไหม ไม่ต้องพึ่งมัน ไม่ต้องขึ้นต่อมันอะไรอย่างนี้ แต่ที่สำคัญก็คือในชีวิตคนแต่ละคนจะแก่เฒ่า พอแก่เฒ่าลงอินทรีย์ทั้งหลายเสื่อม เชื่อไหม ตาก็เสื่อม หูก็เสื่อม ลิ้นอะไรเสื่อมหมด ประสาทที่จะเสพตอนนี้ไม่ค่อยได้ทำงานแล้ว นี้ถ้าเราไปฝากไอ้ความสุขไว้กับสิ่งปรนเปรอบำรุงบำเรอพอเราแย่ลง อินทรีย์เสื่อมตอนนี้ละแย่แล้วใช่ไหม โอ๋ทีนี้อยู่กับจิตใจตัวเองไม่ได้ เพราะว่าจิตใจมันทุรนทุรายมันจะวิ่งพล่านจะไปหาเสพก็อยู่กับความทุกข์เท่านั้นละครับ กระวนกระวายเดือดร้อน ทีนี้คนที่ฝึกตัวเองไว้แล้วตัวเองความสุขไม่ขึ้นต่อการเสพทางอินทรีย์ อินทรีย์ของเรามันไม่ช่วยมันไม่เอื้ออำนวย เราก็อยู่ของเราไปใช่ไหม มันเสพมาพอแล้ว พอสมควรแล้วตอนนี้ก็ เอ้ออยู่กับใจของตัวเอง มันต้องอยู่กับใจ คนแก่นี้ต้องอยู่กับใจตัวเองให้ได้ นี้ถ้าท่านผู้ชราไม่ได้ฝึกใจตัวเองไว้นี่ ลำบาก นี้ทุรนทุรายอยู่ไม่เป็นสุข นี่ก็แต่ก่อนนี้ไอ้ตัวเองมีกำลังจะไปหาเศษมันก็ง่าย ไปบำรุงบำเรอตาหูจมูกลิ้นมันก็ง่าย ตอนนี้ไม่มีกำลังไปไหนก็ไม่ได้ ก็อยู่กับสิ่งที่เข้ามาทางตาทางหู ตอนนี้มันไม่เป็นไปตามที่ใจตัวเองไปหา มันก็เจอสิ่งที่ไม่ชอบเสียเยอะเลย เห็นอะไรอย่างที่ผมเล่าวันนั้น ท่านผู้สูงอายุนี่เห็นลูกหลานมา บางทีทำโน่นทำนี่กระทบตากระทบใจขัดหูขัดตา เห็นไหม เออก็คิดมากก็อยู่กับใจ แล้วอินทรีย์นั้นมันใช้ตามสนองความต้องการของใจไม่ได้ แต่มันกลับพาอารมณ์ที่ไม่ชอบใจเข้ามาใช่ไหม เออไอ้ที่จะเอา ไม่เอาไม่ได้ แทนที่จะไม่เอามันมา เอาละสิทีนี้ มันก็มีไอ้สิ่งที่เข้ากระทบหูกระทบตาก็เก็บมาคิดปรุงแต่งความทุกข์อย่างที่ว่า ฉะนั้นจึงต้องฝึกกันไว้แต่บัดนี้ พอเราฝึกใจของเราเข้มแข็งดีแล้วอยู่กับใจของเราได้ดี จะมีอะไรเสพไม่มีก็ไม่เห็นจะต้องไปห่วงกังวลอะไรเลยใช่ไหม ก็อยู่กับใจของเราได้ ใจของเราก็มีสติ มีอะไรที่มันจะเป็นอารมณ์มาก่อความทุกข์ความรำคาญรบกวนเราก็ปิดกั้นมันซะ หยุด สติก็หยุดกั้นไว้ แล้วก็ฝ่ายดีก็ดึงมันขึ้นมา เออสติมันทำหน้าที่ทั้งแปลว่าไม่ปล่อยไม่ลืมไม่เลื่อนลอยใช่ไหม ก็ทั้งดึงมาและดึงไว้ ทีนี้ไอ้ดึงมาก็คืออดีต อย่างที่ว่าในความทรงจำมีเรื่องเก่า ๆ ที่ดี ๆ ก็ดึงมาปรุงแต่ง ที่นี้ ไอ้ดึงไว้ก็หมายความว่าเอาไว้แต่ไอ้ที่มันดีที่มันเป็นประโยชน์ อย่างนี้ก็ฝึกใจไว้ต้องทำ ก็เตรียมไว้ตั้งแต่ยังหนุ่ม ไปประมาท ทีนี้แก่แล้วไม่ทั้นแล้วใช่ไหม เนี่ยเพราะฉะนั้นคนที่ท่านสูงอายุทำไม่ได้ฝึกตัวเองไว้ลำบากจะมีความทุกข์มาก การปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าจึงไม่ให้รอว่า จะต้องไปปฏิบัติธรรมตอนแก่ ตอนนี้ฉันยังหนุ่มอยู่หาความสุขให้เต็มที่ ที่ไหนได้แย่ตอนแก่เลยน่ะ อ้าวไม่รู้ตอบเรื่องอะไร ตอบตรงหรือเปล่า ตรงน่ะ ใช้ได้น่ะ ไม่รู้ถามว่ายังไง ลืมเลย ถามว่าไงเมื่อกี้ลืม พูดเรื่อยเปื่อย ว่าอย่างไงน่ะถาม
คนฟังถาม อันแรกก็เรื่องการเก็งกำไรครับ
พระตอบ อ๋อ ครับ ทำไงมาอันนี้ได้ เอ้ก็หมายความว่ารู้จักประมาณเป็นต้น แล้วก็อย่างลืมคำนึงถึงสังคมส่วนรวมให้เอาเบนความคิดมาทางที่ว่าช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้มาก เอาให้ตัวแต่พอประมาณไม่ให้เบียดเบียน แล้วก็ใช้วิกฤตเป็นโอกาสในทางไม่ใช่ฉวยโอกาส แต่ใช้เป็นโอกาสในการที่จะมาพัฒนาคนเป็นต้น ฝึกตนเป็นต้น วิกฤตก็เหมือนกับเรื่องทุกข์นั่นแหละ ถ้าใช้เป็นมันก็เป็นเหมือนเครื่องช่วยในการฝึกฝนพัฒนาชีวิต พัฒนาสังคม สังคมนี้โดยมากพอสมบูรณ์พูลสุข ก็จะลุ่มหลงฟุ้งเฟ้อมัวเมาแล้วก็เสื่อม ฉะนั้นพอประสบเหตุการณ์บางอย่างนี่ ถ้าผู้นำสังคมเก่งก็จะช่วยเอาเหตุการณ์นั้นมาเป็นเครื่องเตือนสติสังคมให้คนได้ตื่นตัวขึ้นมาแก้ปัญหาช่วยกันพัฒนาชีวิตพัฒนาสังคม ฉะนั้นสังคมที่เจริญมีความสุขแล้วนี่ยากที่จะไม่ให้เสื่อมที่จะไม่ให้ลุ่มหลง ฉะนั้นอารยธรรมทั้งหลายมันจึงล่มจมกันหมดใช่ไหม ในอดีตอารยธรรมอะไรก็ตามพอเจริญถึงจุดหนึ่งก็เสื่อม อย่างพวกโรมันอย่างนี้ เป็นตัวอย่างเลย โรมันนี่ตอนแกมั่งคั่งสมบูรณ์เจริญรุ่งเรืองมาก คนก็หันไปทางกาม มัวเมากามกันแล้วก็เสื่อม พอมัวเมากามมันก็อ่อนแอใช่ไหม อ่อนแอมันก็สู้เขาไม่ได้สิว่าบาเบเลี่ยนมาก็จบ พวกอนารยคนป่าอะไรพวกนั้นมา ไอ้พวกโรมันก็ล่มจมเพราะบาเบเลี่ยน พวกอารยธรรมที่เจริญ โดยมากล่มจมเพราะบาเบเลี่ยน อย่างวัชชีที่เคยเล่านั่น พระพุทธเจ้าก็ตักเตือนบ่อยน่ะ ไม่เฉพาะอารยธรรม อย่างบางพระสูตรให้ฟัง ตราบใดที่พวกวิชวีทั้งหลายจะไม่เห็นแก่นอน ยังหนุนหมอนไม้ว่าอย่างงั้นน่ะ แล้วก็ฝึก ฝึกการใช้อาวุธอะไรต่าง ๆ เหล่านนี้ ก็ฝึก คือฝึกในเรื่องของการที่จะทำหน้าที่ของนักรบผู้ป้องกันบ้านเมืองตราบนั้นวัชชีจะไม่เสื่อม แต่เมื่อวัชชีมาเพลินกับการนอน ๆ ให้สบายหาที่นอนสบาย ๆ แล้วก็นอนนาน ๆ ตอนนี้วัชชีเสื่อมอ่อนแอใช่ไหม นี้สังคมนี้มันยาก พอมันอุดมสมบูรณ์แล้วมันก็ชวนให้ประมาท แล้วมันเลยเป็นเรื่องที่ทวนกระแสที่เห็น อย่างน้อยกระแสกามกระแสตัณหานี่มันแรงมาก พอมันมีอุดมสมบูรณ์ใช่ไหม มันก็มองแต่จะหาเสพกันละทีนี้ แล้วมันก็มัวเมาในกาม ที่นี้ไอ้การที่จะฝึกฝนพัฒนาชีวิตอะไรต่าง ๆ ก็หลงลืมก็ตกอยู่ในความประมาทมันก็อ่อนแอก็เสื่อม พอประมาทมันก็เสื่อมแล้ว คนเรามันต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจควบคุมตนเองได้มีวินัยมีความรับผิดชอบจิตใจมีความเข้มแข็งใช่ไหม เอ้อแม้แต่จะยับยั้งการไม่บำรุงบำเรอตัวเองได้ แล้วก็เข้มแข็งขึ้นไปในการฝึกฝนอะไรต่าง ๆ อะไรต่าง ๆ พวกวิชาต่าง ๆ อย่างทหารนี่ไม่ฝึกไม่ได้เลยใช่ไหม เลิกฝึกได้ไหม ไม่ได้บอกฉันเป็นแล้ว ฉันเป็นแล้วเลยไม่ฝึก ก็จบสิใช่ไหม นี่มันต้องฝึกอยู่เสมอ นี่แหละใช้คติที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพวกวัชชี วัชชีถ้าตราบใดที่ยังนอนหนุนไม้หมายถึงเวลาฝึกลุกขึ้นมาฝึกไม่เห็นแก่นอนอย่างนี้แล้วก็ไม่เสื่อมหรอก วัชชีก็อยู่ได้ด้วยสามัคคีก็ต้องอาศัยกำลังของทุกคนเข้มแข็ง นั้นสังคมของเราเหมือนกันแล้วพระพุทธเจ้าตรัสเพื่อมาสอนพระที่บอกชาววัชชีตราบที่ยังนอนหนุนหมอนไม้ฝึกอาวุธอะไรต่ออะไรเข้มแข็งอย่างนี้ไม่เสื่อมก็ภิกษุทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องไม่เห็นแก่นอนเป็นต้น ต้องตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมกิจวัตรอะไรต่าง ๆ ก็จะเจริญงอกงาม พัฒนาชีวิตด้วยพัฒนาสังฆะไปด้วย ก็เป็นอันว่าเราก็ทั้งรับผิดชอบชีวิตตัวเองประโยชน์ส่วนตนพัฒนาชีวิตให้เจริญงอกงาม ทั้งรับผิดชอบต่อส่วนรวม ถ้าเป็นพระก็ต้องรับผิดชอบต่อสังฆะ เป็นประชาชนก็รับผิดชอบต่อสังคม ต้องช่วยกันนั้นก็ไม่ปล่อยปละละเลย นี้การที่จะไม่เอาแต่ตัวเองไม่ตกไปอยู่ใต้กระแสตัณหามานะทิฏฐิก็ช่วยนี้เต็มที่ พอไปอยู่ใต้อำนาจตัณหามานะทิฏฐิปั้บก็เอาแต่ตัวแล้วเห็นแก่ตน การช่วยเหลือเกื้อกูล ช่วยเหลือแก้ปัญหาสังคมอะไรต่ออะไร ก็หายไปเอง นิมนต์ครับ มีอะไรคุยกันไป
คนฟังถาม ต่อต่อเนื่องอีกนิดหนึ่ง การมีวินัย มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่าง ๆ นี้ครับทำยังไงจะไม่ให้มาพร้อมกับความเครียดครับ
พระตอบ อย่างน้อยถ้าเรามีจิตสำนึกในการว่าเราจะฝึกตนก็ลดความเป็นไปได้ที่จะเครียดนี่ลงไปแล้ว คือมันมีฉันทะที่จะฝึก ความอยากจะฝึก เช่นเราจะฝืนใจทำอะไรสักอย่าง เอาละจะเครียดแล้วใช่ไหม คือ มันฝืนความต้องการ ที่ว่าฝืนก็คืออะไร ฝืนความต้องการ ฝืนความอยาก พูดง่าย ๆ ความอยากความต้องการในที่นี้ถือว่าความหมายเดียวกัน ทีนีถ้าเราต้องการปั้บนี่ ไม่ฝืนปั้บนี่ ความเครียดมันแทบจะหายเลย ทีนี้เราไปฝืนใจมันก็เครียด ที่ฝืนมันกลายเป็นฝึกเพราะใจมันต้องการ พอเราต้องการฝึกเราเกิดไปต้องการเต็มใจฝืน ตอนแรกมันฝืนใจใช่ไหม ฝืนใจก็คือไม่เต็มใจใช่ไหม ไม่เอาด้วย แต่พอจะฝึกมันกลายเป็นเต็มใจฝืน เอะมันเป็นยังไงกลับกันได้น่ะ ฝืนมันก็ไม่เต็มใจ เอ้ทำไมเต็มใจฝืน เพราะมันคิดจะฝึก คิดจะฝึกเพราะมันความต้องการฝึก พอต้องการฝึกมันก็พลิกเลย เต็มใจฝืนน่ะ อยากจะฝืนใจตัวเอง เออไอ้ฝืนตอนแรกมันก็คือ ไม่เป็นตามอยากใช่ไหม แต่ตอนนี้มันเกิดอยากจะฝืน แต่อย่าไปอยากฝืนคนอื่นน่ะ อยากจะฝืนใจตัวเอง เพราะเรามีปัญญา มองเห็นประโยชน์ของการฝืนว่า ทำอย่างนี้มันดีใจเรายังไม่อยากมันก็ฝืนใจ แต่ทีนี้ปัญญามันบอกว่าถ้าไม่ทำเนี่ยไม่ดี มันเป็นโทษ ทำแล้วเป็นประโยชน์ จะได้พัฒนาอย่างงั้น โอ้เห็นคุณค่าขึ้นมา ฉันทะก็เกิดแล้ว ไอ้ฉันทะก็เริ่มเข้ามาดุนตัณหาแล้วใช่ไหม ทีนี้พอมันมีพลังมากกว่าฉันทะมันมากก็สบายเลย กลายเป็นว่าไอ้การฝืนใจนั้นกลายเป็นการสนองความต้องการ เอ้อเอ้า การฝืนกลายเป็นการสนองความต้องการไปแล้ว ด้านหนึ่งที่ทุกข์มีอยู่จากฝืนใจเพราะตัณหา ฝืนความอยากของตัณหา มันมีอยู่หน่อย แต่ก็พร้อมกันนั้นเรามีการสนองความต้องการของความอยากด้านฉันทะ ความสุขมันก็มาอีก อย่างน้อยสุขเริ่มมี ทีนี้พอเราเต็มใจเต็มที่ว่า เอ้ยเต็มใจฝืนมัน เราอยากจะฝืนใจเราอยากจะฝึก เราก็ยิ่งมีกำลังฉันทะแรงขึ้นเราก็ได้สนองความอยากด้านฉันทะ สนองความต้องการของฉันทะแล้วก็สุขมากขึ้นด้านนี้ เดี๋ยวไอ้เจ้าฝืนนั้นค่อยหมดไป เคลียดก็หายไปเอง เชื่อไหมเป็นไปได้ไหม เป็นไปได้ถ้าฉันทะมาแรงละหมด มันกลายเป็นเต็มใจทำ ก็เด็กไม่อยากทำ ลักษณะเด็กสมัยนี้อันหนึ่งที่เป็นทาสของเทคโนโลยีพึ่งพา หมายความเทคโนโลยีทำให้หมดใช่ไหม ต่อไปเป็นคนไม่อยากทำอะไรเลย จะต้องทำอะไรเป็นทุกข์หมด มีครูนานแล้วครับเข้ายุคเทคโนโลยีเนี่ย ครูก็บ่นบอกว่าเด็กนักเรียนสมัยนี้ไม่อยากทำอะไรเลย พอทำแล้วมันทุกข์หมด เพราะฝืนใจมันไม่มีฉันทะ ไม่มีความอยากจะทำ เพราะว่าไปสนองตัณหาแล้วก็มีเทคโนโลยีมาช่วยทำอะไรก็นึกเทคโนโลยีทำหมดมันก็เลยเคยตัว นี้ทำอะไรก็ไม่ค่อยเป็นด้วย ทำอะไรก็ฝืนใจเป็นทุกข์ไปหมด ก็ไม่พัฒนาตัวเอง นี่ละครับมันจึงต้องบอกว่าต้องฝึกตัวเองไว้เสมอ ต้องไม่ประมาท เทคโนโลยียิ่งเจริญ เรายิ่งต้องพัฒนาตัวเองเราต้องเหนือเทคโนโลยีตลอด อย่าให้เทคโนโลยีมาเป็นนายของเราให้ได้ เราต้องเป็นฝ่ายใช้มัน เราต้องเหนือมัน เพราะฉะนั้นต้องฝึกอินทรีย์มันเหนือมันไว้ แล้วไม่ต้องขึ้นต่อมัน นี้เราก็พัฒนาตัวเราไว้ ที่นี่ไอ้ตัวฉันทะนี่ เป็นตัวที่จะมาช่วยเราอันนี้ ต้องมีความอยากความต้องการที่ถูกต้องเป็นฉันทะนี่ เพราะฉะนั้นอันนี้ย้ำไว้น่ะ ต้องปลูกความอยากที่ถูกต้อง คนไทยสมัยก่อนนี่ชักเขว คือเป็นนึกว่าเป็นชาวพุทธแล้วอยากไม่ได้ว่าอย่างงั้นน่ะ อยากเป็นเสียหมด นึกว่าอยากเป็นตัณหา นี่เสียหลักเลย ก็เลยแย่ไปเลยน่ะ เพราะว่าพระท่านบอกไว้แล้วความอยากหรือความต้องการมี 2 อย่าง ฝ่ายกุศลกับฝ่ายอกุศล ถ้าอยากแบบตัณหาอย่างนั้นเราก็เป็นฝ่ายอกุศล ถ้าอยากด้วยฉันทะก็เป็นฝ่ายกุศล แล้วต้องพัฒนาต้องเสริมต้องเร่งต้องให้มันมีกำลัง ฉันทะนี่แหละจะทำให้เกิดความสำเร็จ ถ้าคุณไม่มีฉันทะไม่มีทางไป จะไปนิพพานก็เริ่มต้องมีฉันทะแล้วน่ะ ฉันทะเป็นจุดเริ่มต้นให้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ฉันทะภูลังกาสัพเพธัมมา ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล เป็นมูลก็คือเป็นต้น เป็นต้นเดิม เป็นต้นตอ เป็นจุดเริ่มต้นให้ ทั้งฝ่ายร้ายฝ่ายดี ฝ่ายร้ายก็ตัณหาเป็นจุดเริ่ม คนเราต้องการอยากก็เลยไปแล้วอะไรต่ออะไรก็ถูกความอยาก พาหมด พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า โลกนี้ถูกตัณหานำไปว่าอย่างงั้นน่ะ ตัณหาเป็นผู้นำน่ะ พาไป นี้เราก็ต้องให้ฉันทะมานำ พอฉันทะมานำก็ไปถูก ฝึกตัวเองเลื่อยเลย ไม่ต้องกลัวหลอกท่าน ยอมฝืนตอนแรกนิดนึง เพราะมันเต็มใจฝืนแล้วทีนี้เป็นฝึกเลย ความฝึกนั่นคือเต็มใจฝึน พอเต็มใจฝืนแล้วท่านก็เริ่มจะมีความสุข แล้วเดี๋ยวก็หายฝืน แล้วก็ไปได้ แล้วก็เป็นการฝึกตนจุดเริ่มต้นที่สำคัญเลยน่ะ เราจะสามารถเต็มใจฝืนตัวเองได้ไหม ในเมื่อรู้ว่าอันนี้ดีถูกต้องที่ควรทำ พอเห็นไหมครับ เอ้าสร้างฉันทะขึ้นมา ฉันทะมันมีแรงแล้วทีนี้ก็ไอสไตล์ก็มาได้ เอ้าใช่ไหม เออไอสไตล์แกไม่ต้องกินต้องนอน ก็ทำของแกไป ค้นหาความรู้ เอ้ออยากจะรู้อันนี้นี่ ฉันทะมาแล้ว เอ้ไม่ต้องกินต้องนอนกันแล้ว ไม่เห็นแก่เอร็ดอร่อยใช่ไหม ไม่เห็นแก่การเสพทางลิ้นไม่เห็นแก่การนอน ผมเพ้าไม่ต้องตัด ลืมเลย นี่ถ้าไม่มีฉันทะทำได้ไหม ไม่ได้ไม่มีทาง อันนั้นก็พวกมหาบุรุษ พวกไอสไตล์อะไรพวกนี้ก็เกิดจากฉันทะ ฉันทะมันมีกำลังมาก เอ้า ตอบอะไรยังไม่ตรงจุดก็ช่วยเตือนด้วย แล้วถ้ามีอะไรแง่มุมอะไรก็ถามต่อ มีไหมครับ ไหน ชั่วโมงแล้วเหรอ คุยกันเลื่อยไป ก็มาอยู่กันนี่ก็เป็นสุขดีนะครับ เออดีแล้ว ไหน คนฟังตอบ ดีมาก พระตอบ ดีก็อนุโมทนาด้วย แล้วก็ขอให้มีความสุข วัตถุประสงค์ที่ถูกก็ต้องอย่างนั้น ทุกคนนี่อยู่กันมีความสุข ความสุขมีหลายด้าน ความสุขในการอยู่ร่วมกันด้วยจิตใจที่ดีมีน้ำใจมีพรหมวิหาร ความสุขกับธรรมชาติ นี่ก็ธรรมชาติต่าง ๆ ก็นับว่าดีใช่ไหม คนฟังตอบ ใช้ได้ เราก็อย่างนี้ถ้าหากว่าใจเรามีฉันทะ มันก็มีความสุขได้ ฉันทะก็มากับพวกธรรมชาติ พระอรหันต์ก็มีความสุขกับธรรมชาติ พระอรหันต์พรรณาธรรมชาติ อย่างมหากัสสปะขึ้นเขา เคยอ่านไหมครับ คาถาพระมหากัสสปะท่านกลับจากบิณฑบาตก็เดินขึ้นเขาท่านก็มีความสุขชื่นชมธรรมชาติ เห็นต้นไม้เป็นทิวแถว เห็นฟ้า เห็นเมฆ ได้ยินเสียงสัตว์ร้องอะไรต่าง ๆ ท่านกล่าวเป็นคาถา แสดงว่า มีความรื่นรมณ์ คือฉันทะนี่ที่บอกแล้ว มันอยากหรือมันต้องการให้สิ่งทั้งหลายเนี่ยอยู่ดีงามสมบูรณ์ตามสภาวะที่ควรจะเป็น สภาวะของมัน ๆ เป็นอย่างนั้นมันเต็มของมันอย่างงั้น แล้วมันอยู่ในภาวะทีดีเป็นอย่างนั้น พอเราเห็นปั้ป นี่อ้อ ก็สนองความต้องการทันที ความสุขนี้เกิดจากการได้สนองความต้องการ เมื่อสิ่งนั้นมันอยู่ในภาวะที่ดีแล้วมันก็สนองความต้องการทันทีมันก็สุข ฉะนั้นไอ้เจ้าฉันทะทำให้เกิดความสุขได้ทันที ถ้ายังไม่ดีงาม ไม่สมบูรณ์เต็มสภาวะของเขา ตอนนี้ก็จะมีความอยากฉันทะจะก้าวไปขั้นที่ 2 ขั้นที่ 1 ก็คือฉันทะต้องการให้สิ่งทั้งหลายอยู่ในภาวะที่ดีงามสมบูรณ์ของมัน และอยู่ในความดีงามสมบูรณ์เต็มตามสภาวะของมัน พอเจอปั๊บมันก็สนองความต้องการก็สุข เหมือนกับเห็นเพื่อนมนุษย์หน้าตาผ่องใสยิ้มแย้มร่างกายดี เราก็สนองความต้องการแล้วก็สุข นั้นก็เมตตา เมตตามาเลยพอเห็นคนเขาอยู่กันดี ก็ดีแล้วล่ะก็มีความสุข ทีนี้ถ้าเขาไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าสิ่งทั้งหลายไม่อยู่ในภาวะที่สมบูรณ์ต้นไม้กระพร่องกระแพร่งอะไรอย่างเงี้ย ทีนี้ก็มาขั้นที่ 2 อยากหรือต้องการให้มันสมบูรณ์ อยากให้มันสมบูรณ์ เมื่อมันไม่สมบูรณ์อยากให้มันสมบูรณ์ก็ทำไง อยากทำให้มันสมบูรณ์ ต้นไม้นี่เฉาขาดน้ำทำไงให้มันสมบูรณ์ ถ้ายังไม่มีความรู้ก็อยากรู้ว่าจะทำไงจึงจะทำให้มันสมบูรณ์ อยากทำก็เป็นปัจจัยให้เกิดความอยากรู้ อยากรู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะสมบูรณ์ อยากรู้ว่าจะทำอย่างไรได้ รู้แล้วทีนี้ก็ทำ อยากทำก็เอ้าไปหยิบ เอากระป๋องกระเป๋งน้ำอะไรมาไปตักน้ำมารด ก็ทำแล้วใช่ไหม พอทำแล้วต้นไม้สดชื่นขึ้นมาก็สมใจก็มีความสุข หรือแม้แต่ตอนได้ทำก็เห็นแล้วว่าเดี๋ยวมันต้องดีขึ้นก็มีความสุข นั่นก็คือสนองฉันทะ นี้ฉันทะนี่เป็นคุณประโยชน์มาก มันก็คืออยากเห็นสิ่งทั้งหลายอยู่ในภาวะที่มันเต็มมันดี มันงามมันสมบูรณ์ขึ้นมา เมื่อมันยังไม่เต็มไม่ดีก็อยากทำให้มันเต็มให้มันสมบูรณ์ให้มันดี ทีนี้ ฝึกเด็กฝึกลูกหลานให้เป็นเรื่องเรื่องนี้ดี แล้วเด็กก็จะเก่งใช่ไหม เพราะมันเป็นสัมพันธ์กับการเรียนรู้เพราะว่าอยากจะทำอยากจะรู้ศึกษาทั้งนั้นเลย ได้ฝึกได้ทำได้อะไรพัฒนาตัวเองหมด พัฒนาพฤติกรรมจิตใจปัญญาพัฒนากายวาจาจิตใจหมด นี่แหละการศึกษาก็มาด้วยฉันทะทั้งนั้น ตัณหามาไอ้การศึกษาไม่มาแล้วเชื่อไหม เอ้ออยากอร่อยตักมากิน จบ ไม่ได้อะไรเลย ถูกไหม ฉันทะนี่แหละเป็นจุดเริ่มของการศึกษา ถ้าท่านไม่สามารถให้ลูกมีฉันทะอยู่กับตัณหา อย่าไปหวังเลยว่าลูกจะมีการศึกษาที่ดี ต้องฝึกให้ได้ นี่แหละครับการศึกษาจะมาแล้วเขาจะมีความสุขในการศึกษาด้วย ถ้าไม่งั้นเรียนเป็นทุกข์ นี่แหละฝืนใจจริง ๆ ตัวเด็กก็อยากจะเสพ อยากจะหาความสุขจากเสพ ตาหูอะไรต่ออะไร แต่ต้องเรียนมันฝืนใจเหลือเกิน มันไม่มีฉันทะใช่ไหม ก็เรียนด้วยความทุกข์ ได้ผลน้อย ต้องเอาเงื่อนไข เอารางวัลมาตั้ง นั้นเรียกว่าระบบเงื่อนไข เพื่อจะมาร่อใจอะไรต่าง ๆ มันเป็นการทางอ้อม ทางที่ไม่ถูกใช้ระบบเงื่อนไข ไม่ใช่ทางตรงให้
เอ้าเดี๋ยวจะไปกันใหญ่ คุยกันเลื่อยไป ท่านบอกว่าพอก็พอ แล้วทำอย่างไงกันต่อ นี่กี่โมงกันแล้ว อ๋อโน่น นาฬิกา 4 โมงครึ่ง ให้คุณทองสุขได้จัดก่อน เอ้าไปใช้นะ ธรรมะไว้ใช้ แต่ไม่ใช่ใช้กับตัวเอง ใช้ฝึกลูกฝึกหลานด้วย ท่านว่าใช้ได้ไหม ได้ดี ใครมีครอบครัวบ้าง แล้วหรือ นอกจากท่านไพศาล อ๋อมีรูปเดียว ก็ถึงไม่มีท่านที่ต่อไปจะมีก็ต้องมองการข้างหน้า แล้วก็เตรียมไว้ให้พร้อมดี อย่าลืมใช้อุเบกขาน่ะ ใช่ไหม อุเบกขานี่จะพัฒนาได้ก็ได้ด้วยอุเบกขานี่แหละ ไอ้เมตตากรุณามุทิตานี่เป็นตัวหล่อเลี้ยงไว้ แต่ว่ามันจะเจริญ มันต้องอาศัยอุเบกขา