แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คิดว่าคงสรุปเรื่องตัณหากับฉันทะเสียที นี้ก็พูดกันมาเยอะแล้ว ก็เอาลักษณะสำคัญของความอยาก 2 ประเภทนี้จะบอกแล้วว่าความอยากในทางธรรมะมี 2 อย่าง ความอยากที่เป็นอกุศล เรียกว่าตัณหา ความอยากที่เป็นกุศลเรียกว่าฉันทะ ตัณหานั้นก็คือความอยากในเวทนาที่เป็นสุข แล้วก็เลี่ยงหนีเวทนาที่เป็นทุกข์ มีลักษณะเป็นความชอบใจไม่ชอบใจ ก็ได้แก่ความอยากในรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสและก็สิ่งที่อยู่ในใจอารมณ์ในใจที่มันน่าพอใจ ตัณหาก็เราแปลง่าย ๆ เลยความใฝ่เสพก็แล้วกันให้เข้ากับภาษาไทย ทีนี้ส่วนฉันทะนั้นเป็นเรื่องของความอยากจะรู้ความจริงของสิ่งต่าง ๆ แล้วก้าวไปสู่การที่อยากให้มันดีแล้วก็อยากทำให้มันดี เราก็เลยแปลง่าย ๆ ว่า อยากรู้อยากทำหรือว่าใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ ทีนี้มาดูลักษณะที่มันต่างกัน ตัณหานี้บอกแล้วว่ามากับอวิชา คืออวิชาเป็นตัวเอื้อโอกาสไม่ต้องมีความรู้อะไรหรอก ไม่ต้องมีการเรียนรู้อะไรทั้งสิ้น สักแต่ว่ามีความรู้สึก คือว่าอายตนะตาหูจมูกลิ้นเป็นต้น มันไปกระทบกับสิ่งที่สนองทำให้เกิดเวทนาที่เป็นสุขแล้วก็ชอบใจ อยากในเวทนานั้น ทีนี้ถ้าหากว่ามีปัญญาขึ้นมาเกิดรู้ขึ้นเมื่อไหร่เนี่ย อวิชาลดลงนี่ตัณหาจะถูกทอนกำลัง ฉะนั้นมันจึงต้องอวิชา พอมีความรู้ขึ้นมาชักจะถูกทำให้ไม่มั่นคง แล้วตัณหา หรือว่าไม่แรงกล้า นี้ถ้ายิ่งไม่รู้มันก็ไปอยู่กับเรื่องของความรู้สึกเต็มที่และความรู้สึกขึ้นมาอย่างน้อยมันก็เอนหันเหหรือว่าบางทีกลับทำลายอำนาจตัณหาไปเลย เช่นว่ารู้ว่าสิ่งที่จะเสพสิ่งที่ให้สุขเวลานะเนี่ยเป็นโทษแก่ชีวิตเป็นต้น พอความรู้อันนี้มาหาย ไอ้ตัณหาหายไปเลย ถ้าแรงพอ ถ้าความรู้นั้นแรงพอ นี้ก็เลยขึ้นต่อว่าปัญญา หรือปัญญาเพิ่มขึ้น อวิชามันลดลงมากน้อยแค่ไหนถ้าปัญญาความรู้มันชัดแจ้งเนี่ยมันจะทำลายกำลังตัณหาหมดไปเลย นี้คนที่ยังไม่มีปัญญาก็ต้องอาศัยด้านความรู้สึกก็ต้องให้ตัณหาชักนำชีวิตไป เพราะฉะนั้นก็อวิชาคู่กับตัณหา แล้วยังไม่ปลอดพ้นจากปัญหามันมักจะก่อให้เกิดปัญหาก็คือทุกข์ แล้วเราขอกอวิชาตัณหา อวิชาตัณหาทุกข์ นี่ก็วงจรของมัน
นี้อีกด้านหนึ่งก็คือว่าฉันทะ ฉันทะนี้มากับปัญญา เริ่มมีความรู้ความเข้าใจขึ้นมา ก็จะเห็นว่าอะไรจึงจะเป็นสิ่งที่ดีที่เป็นคุณแก่ชีวิตของตนเองเป็นต้น พอรู้ว่ามันมีคุณค่าเป็นประโยชน์เนี่ยมันเกิดฉันทะความพอใจมีความอยากในสิ่งนั้นขึ้นมา ซึ่งแต่ก่อนอาจจะไม่เคยอยาก อันนี้ก็ยกตัวอย่างบ่อย ๆ เรื่องอาหารที่เคยพูดไปแล้วว่ากินอาหารก็มีกิน 2 อย่างคือ
1 กินด้วยตัณหา เพื่อเสพรสอร่อย กับเสพด้วยปัญญา ซึ่งจะต้องการคุณค่าที่จะทำให้เกิดคุณภาพชีวิตหรือทำให้สุขภาพดี กินด้วยรู้ว่ากินด้วยสุขภาพแล้วเกิดความอยากในอาหารที่ทำให้มีสุขภาพดีขึ้นได้ อาหารที่มีคุณค่า อาหาที่อร่อยแต่เป็นโทษ พอปัญญาเกิดขึ้นก็ทำลายกำลังตัณหา ทำให้ตัณหาเบาลง หรือทำให้อาจจะหายไปเลย เสร็จแล้วก็จะทำให้ในขณะเดียวกันพอปัญญานี้รู้อาหารนี้มีคุณค่า แม้ว่าอาจจะไม่อร่อยแต่ก็สามารถทำให้เกิดความอยากได้ อยากในอาหารที่มีคุณค่า เพราะว่ามันสนองปัญญา ไอ้ความอยากอาหารในที่มีคุณค่าเห็นว่ามันเป็นไปเพื่อสุขภาพแข็งแรง ความอยากประเภทนี้มันเกิดจากปัญญาสัมพันธ์กับความรู้ ก็เรียกว่าฉันทะใช่ไหม
เพราะฉะนั้นในเรื่องอาหารนี้ก็จะเห็นได้ว่า มันมีจุดแยกระหว่างว่า กินด้วยตัณหากับกินด้วยปัญญา ฉะนั้นจุดสำคัญก็คือตัณหานั้นอวิชาช่วยถ้าอาศัยปัญญามากับปัญญา นี้เป็นลักษณะหนึ่งน่ะ ทีนี้ต่อไปก็คือว่า ตัณหานี้มันวงเวียนอยู่กับสิ่งที่ชอบไม่ชอบ มันจะได้รับสนองมีความสุขจากการที่มีอายตนะกระทบกับสิ่งที่เข้ามาสัมผัส กระทบแล้วเกิดความรู้สึกเป็นเวทนา ก็จบเท่านั้น ไม่ได้อะไรจริงจัง มันเกิดการกระทบแล้วได้ความรู้สึกเวทนาแล้วก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา ไม่ได้อะไรเข้ามาในเนื้อตัวของชีวิตเลยใช่ไหม เป็นความรู้สึกเกิดขึ้นจากการกระทบแล้วก็ผ่านไปจบ
แต่ถ้าเป็นฉันทะใฝ่รู้ใฝ่ดีมันได้อะไรเข้ามาในชีวิตของตัวเองเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นอย่างได้ความรู้เงี้ยเกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อตัวของชีวิตเลยใช่ไหม เราได้ความรู้ ได้การเปลี่ยนแปลง ได้จิตใจที่เปลี่ยนแปลงอะไรต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาขึ้นมา ลักษณะนี้ท่านเรียกว่าเป็นภาวนา ภาวนาก็คือการทำให้เป็นให้มีขึ้นมา เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่เกิดภาพใหม่ ๆ ก็เรียกกันง่าย ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ ทีนี้การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ ในภาษาไทยก็มาใช้สับสน ภาษาเดิมคือคำว่าภาวนา นี่คือการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพหรือพัฒนาเชิงคุณภาพ ทีนี้เรามาใช้ในภาษาไทย เราเอาคำว่าพัฒนามาใช้ พัฒนาก็กลายเป็นเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพใช่ไหม ยุ่งเลยสับสน เพราะว่าในภาษาของพระนั้น พัฒนาเป็นศัพท์สามัญ หมายความว่า ถ้าขยายตัวเติบโตขึ้นมา เปลี่ยนคุณภาพไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพัฒนา เช่นเคยพูดว่ากองขยะใหญ่ขึ้นใหญ่ขึ้นก็เรียกว่ากองขยะนะพัฒนาขึ้นใช่ไหม ที่นี้ภาวนานี้ที่ใช้สำหรับการเปลี่ยนแปลงในทางเพิ่มขยายเชิงคุณภาพ ฉะนั้นเจ้าตัณหามันก็อยู่อย่างนั้นแหละก็คือได้เสพรสอร่อยตาหูจมูกลิ้นมันก็เพิ่มแต่ปริมาณ เพิ่มดีกรีขีดของความกระตุ้นเร้าในการเสพเป็นต้น แต่มันก็วนเวียนอยู่เท่าเดิม ส่วนนี่ฉันทะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพสัมพันธ์กับปัญญา ฉันทะรู้เท่านี้ ฉันทะก็พัฒนาไปตาม เอ้อสิ่งที่นี้ดีนะมีคุณค่าเป็นประโยชน์ ไอ้เจ้าฉันทะก็เกิดตามปัญญานั้น เดิมไม่เห็นคุณค่า ไม่เห็นประโยชน์ ฉันทะไม่มี ถูกไหม ต้องอาศัยปัญญา ปัญญารู้เอ้อดีถูกต้องมีคุณค่ามันควรจะเป็นอย่างนั้น มันต้องดีอย่างนี้ เราก็เกิดความอยากตามนั้นฉันทะก็เกิดตามไป พอปัญญารู้ดีขึ้นว่าไอ้ที่เคยว่าดี มันยังไม่ดีจริง เพราะว่าปัญญานี่มีการพัฒนาใช่ไหม เอ้อแต่ก่อนที่เข้าใจว่าอย่างนี้ดีแล้ว โอ้ย ที่จริงมันยังไม่ดีแท้อย่างโน้นดีกว่า ไอ้ที่เคยอยากก็ไม่อยากแล้ว เปลี่ยนไปอยากใหม่ ฉะนั้นไอ้เจ้าฉันทะมันตามพัฒนาตามปัญญามีการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพใช่ไหม ไม่เหมือนตัณหา ตัณหามันก็วนอยู่แค่นั้น คือว่าได้เสพมากระทบอายตนะเกิดเวทนาขึ้น ก็หมุนอยู่แค่นั้น นั้นฉันทะก็พัฒนาเรื่อยไปตามปัญญา ฉะนั้นมันไม่แน่หรอก แต่ก่อนนี้เคยว่าอย่างนี้ดี ต่อไปก็อาจจะว่า โอ้ยมันไม่ดีจริง ก็ฉันทะก็เปลี่ยนตามปัญญาไป นี้เรียกว่ามีการพัฒนาเชิงคุณภาพก็เป็นภาวนา นี้ก็ต่อไปก็จะเห็นลักษณะของตัณหาอีกอย่างคือว่า มันเกิดมีตัวตนขึ้นมา ตัวตนอยู่ในความคิดปรุงแต่งหรือความรู้สึก ซึ่งมันไม่ได้มีจริงหรอก เวลาจะเสพเนี่ยมันจะมีตัวตนขึ้นมารับเสพ แต่ฝ่ายฉันทะ นี่ไม่มีตัวตน เป็นเรื่องของสภาวะธรรม ความอยากในสภาวะที่ดีมันก็ไปที่สภาวะนั้นอยากให้ภาวะนั้นเกิดขึ้น แต่ว่าถ้าอยากเสพมันมีตัวตนที่จะเสพ ทีนี้ฉันทะเราก็อยากได้ภาวะนั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ดี และอยากจะเข้าถึงความจริงของสิ่งนั้น มันก็ไม่มีตัวตนขึ้นมาหรอก หรือว่ามันจะมีเป็นสภาวะแล้วก็เป็นองค์ประกอบของสิ่งนั้น ๆ เช่นอย่างว่าเรากินอาหารด้วยฉันทะ เราก็อยากให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดีใช่ไหม ก็เป็นสภาวะ เห็นว่าสภาวะอย่างนี้ดีแข็งแรงจึงจะดี ให้องค์ประกอบหรืออะไรส่วนนั้นมันดีมันเจาะไปที่ส่วนนั้น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องของการที่ว่ามันเป็นสภาวะของสิ่งนั้น ๆ ตรงนี้แหละมีจุดที่ซับซ้อนเข้ามา ถ้าเกิดมีตัวตนขึ้นมาปั๊บเนี่ยตัณหาเข้าอาศัยทันที เช่นว่าเรากินเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพดีนี่ ตอนแรกเรามองด้วยปัญญาใช่ไหม โอ้ร่างกายควรจะแข็งแรงมีสุขภาพดี แล้วก็การกินอาหารนี้ก็เพื่ออันนี้ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี นี้โดยสภาวะแท้ ๆ เป็นฉันทะ อยากให้ภาวะนี้ดีเกิดขึ้น พอว่าอยากให้แข็งแรงร่างกายสุขภาพดีสวยงามขึ้นมาปั๊บ มีตัวตนเข้ามาเลยว่า เอ้อเราจะได้สวยใช่ไหม นี่ตัณหามาแล้ว
(1)
คนฟังถาม จะบอกว่าฉันทะนี่ มุ่งไปที่สภาวะ
พระตอบ ก็ตัวเป็นสภาวะ ตัวสภาวะเพราะว่ามันเป็นเชิงจุดหมายมากกว่า เหตุปัจจัยเป็นเหตุที่กระทำใช่ไหม อันนี้มันเป็นจุดหมายที่ว่าต้องการให้สิ่งนั้นอยู่ในภาวะที่ดียังไม่สมบูรณ์ ยังบกพร่อง ยังโทรม ยังอ่อนแอ ก็อยากให้มันแข็งแรง มันเบิกบาน มันแจ่มใส มันดี มันสมบูรณ์อะไรอย่างภาวะนั้น ก็มองไปที่สิ่งนั้น ๆ แต่ละอย่าง แต่ละส่วนเลย มันไม่ได้เกี่ยวกับตัวตนมันเป็นสภาวะเข้าใจใช่ไหมครับ ทีนี้พอเราเกิดตัวตนขึ้นมารับปั้บเข้าตัณหาสนอง เพราะฉะนั้นไอ้ตอนนี้แหละในภาวะปุถุชนนี่ ไอ้ตัณหากับฉันทะจะมีการเกิดสลับกันอยู่ แล้วเอาประโยชน์จากกันและกันได้ ไอ้เจ้าฉันทะเกิดขึ้นมาแล้ว ไอ้เจ้าตัณหาเข้าไปยึดเลย เอ้อเรา ตัวเราจะได้สวยงามคนเขาจะได้ชอบสวย มันก็การที่อยากนี้เพื่ออะไร มันนำไปสู่การเสพอีกใช่ไหม ไอ้เจ้าตัวตนจะเข้ามา ทีนี้เพราะเหตุนี้แหละตัณหามันจึงมีลักษณะ 1 กามตัณหา คืออยากในสิ่งเสพ ในรูปเสียงกลิ่นรสเป็นต้น ที่พูดไปแล้วเนี่ย ทีนี้มันขยายออกเป็นว่ามีตัวตนในภาวะที่ว่าจะได้เสพ มันก็เลยอยากให้ตัวตนเรายิ่งใหญ่ ตัวตนเราสวยงาม ตัวตนเรานี่อยู่ยั่งยืนตลอดไปจะได้มีโอกาสเสพมันเรื่อยนี่ ความอยากในอำนาจอะไรต่ออะไรมา นี่แหละจากกามตัญหาก็มีภาวะตัณหา อยากในสิ่งเสพ เพื่อจะได้เสพต้องมีอยู่เรื่อย ๆ ไปที่จะเสพ ฉะนั้นภาวะตัณหาก็เกิดขึ้นก็คือการอยากในภาวะที่ตัวตนจะคงอยู่ตลอดไปใช่ไหม เพราะมันสัมพันธ์กับตัวตน มันมีตัวตนจากเสพ ก็อยากให้ตัวตนนี้ยังยืนอยู่ในภาวะที่จะได้เสพอยู่เรื่อย ๆ เพราะฉะนันตัณหาก็ออกมาภาวะตัณหา แล้วก็ออกไปสู่วิภวะตัณหาอยากจะพ้นไปจากภาวะที่ไม่สนองการเสพความปรารถนานั้น แต่มีตัวตนทั้งสิ้นใช่ไหม
(2)
คนพังถาม การสะสม
พระตอบ เพราะว่าภาวะตัณหานี้ก็คือ ภาวะที่ต้องการให้ตัวตน นี่มันมีเป็น มีเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เข้าใจไหมครับ เป็นตัวตนที่ยิ่งใหญ่ เป็นตัวตนที่คงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป ให้ตัวเราที่เรายึดถืออยู่ในจิตที่เราสร้างขึ้นมาเนี่ย มันจะได้อยู่ในภาวะที่มันจะได้เสพได้มาก ๆ เป็นต้นใช่ไหม เสพอยู่ได้เรื่อย ๆ ไป นี่ก็ในภาวะเขาตัวตนนี่ ที่จะได้จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ใช่ไหม เข้าใจนะ
(3)
คนฟังถาม ช่วงนี้มันมีปัญหา สังขาลมันทำงานด้วย
พระตอบ อ้าว นี่ก็สังขาล ก็ตัณหาก็เป็นสังขาร ตันหาความชอบใจไม่ชอบใจก็เป็นส่วนหนึ่งของสังขาล เป็นจุดแรกที่มาจากเวทนาเป็นปฏิกิริยาต่อเวทนาความรู้สึก นี้มันมีอย่างที่ว่า ลักษณะสำคัญของมันอันหนึ่งก็คือมีตัวตนใช่ไหม พอเราจะเสพอะไรปั้บ ตัวตนเกิดมามีเสพ แล้วมันก็จะมีการขัดแย้งได้ตามปรารถนาหรือไม่ ทุกข์เกิดมาเพราะมันมีตัวตนกับรับกระทบอยู่ ไอ้ฝ่ายฉันทะนี่ไปที่สภาวะอยากในสภาวะที่ดี มันเป็นเรื่องของสภาวะธรรมตามปัญญามันไม่มีตัวตนเกิด แต่ระวังตอนที่ว่า ไอ้เจ้าฉันทะพอมันไปสนองอะไรที่มันตรงกับความต้องการของตัณหา ตัณหาก็เข้ามารับใช่ไหม แล้วก็มีตัวตนขึ้นมา แล้วตอนนี้ก็เลยกลายเป็นตัณหาขึ้นมา เพราะฉะนั้นต้องระวังสำหรับมนุษย์ปุถุชนก็ยังมีกิเลสอยู่ ตัณหามันก็จะได้โอกาสอยู่เรื่อย ได้ช่องเข้ามามันก็เอาหล่ะ ฉะนั้นก็ต้องระวังว่ามันไม่บริสุทธิ์หรอกชีวิตของปุถุชนเป็นแต่เพียงว่าทำไงจะให้ไอ้เจ้าฝ่ายฉันทะเนี่ยมันเป็นตัวนำ แล้วก็มีสติที่จะว่าคอยคุมตัณหาไว้ เอ้าเพราะฉะนั้นก็เลยไปสู่อีกข้อหนึ่งก็คือว่า ทั้ง 2 อย่างทั้งตัณหาและฉันทะจะต้องละด้วยกันทั้งคู่ แต่ว่าละคนละแบบ ตัณหานั้นละเลย ไม่ต้องไปคำนึงที่มันว่าจะสนองความต้องการหรือไม่ คือว่าถ้าเรารู้เข้าใจกับลดก็ละ ก็เลิก อะไรคุมมันแล้วแต่นะ แล้วแต่ความสามารถของเรา นี้ถ้าเรายังปุถุชนมาก ก็อาจจะยังยอมมันบ้าง แต่ว่าให้เจ้าฉันทะมาช่วยดู ที่นี้ฉันทะท่านบอกว่า ละด้วยการทำให้สำเร็จตามจุดหมายของมัน ละเหมือนกัน แต่ละด้วยการทำให้สำเร็จตามนั้น หมายความว่าฉันทะนี่มันอยากให้มันเกิดภาวะที่ดีอันนี้ใช่ไหม ก็ทำให้มันสำเร็จตามนั้น เรียกว่าละ ละด้วยการทำให้บรรลุจุดหมายของมัน แต่ไอ้ตัณหานี่ละเลย มันเกิดขึ้นมาก็ละมันไปเลย แต่ถ้าตัวไม่สามารถลดก็คุมอะไรต่าง ๆ เข้าไปใช่ไหม ก็เห็นลักษณะที่ต่างกันใช่ไหม
ทีนี้ในแง่ของสุขและทุกช์ ตัณหานั้นก็บางทีก็ทำให้เกิดสุข สุขเวทนา เช่น ได้เวทนาที่ชอบใจก็เป็นสุข พอเจอสิ่งที่ไม่ชอบใจก็ทุกข์ อย่างที่เคยพูดไปแล้วว่าเจ้าตัณหาที่ทำให้มีความสุขทุกข์วนเวียนสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจ แต่เจ้าฉันทะนั้นสามารถมีสุข ทั้งจากสิ่งชอบใจไม่ชอบใจเช่นจากการเรียนรู้ใช่ไหม แล้วก็ตัณหาก็สุขจากการได้รับการบำรุงบำเรอมาเสพตัวจะได้สบายก็คือไม่ต้องทำอะไรเป็นฝ่ายเสวยผล ถ้าต้องทำก็คือทุกข์ ฝ่ายฉันทะนี่เพราะมันอยากทำให้มันดีเพราะฉะนั้นทำมันก็มีความสุข แต่นี้ว่าฉันทะก็ไม่ได้แล้วเป็นหลักประกันว่าจะพ้นทุกข์เพราะมันยังอยู่ในระยะของการพัฒนา ความอยากให้มันดีเพราะว่ามันแรงกล้านี่ มันก็อาจจะไม่ได้หยั่งใจเป็นต้นใช่ไหม มันก็เกิดความเครียดอะไรต่าง ๆ ขึ้นมา อันนั้นตอนนี้มันก็จะสัมพันธ์กันเรื่องตัณหา มันจะให้ช่องแก่ว่าพอเราอยากให้มันดี มันอยากในสภาวะนั้นเป็นฉันทะจริง แต่เสร็จแล้วในระหว่างนี้มันอาจจะเกิดตัวตนขึ้นมาว่า ทำไมเราอยากให้มันดี ทำไมมันไม่ดีใช่ไหม ไอ้ตัวตนเกิดขึ้นมานี่ทุกข์เกิดแล้ว ทำไมมันยังไม่ดี มันไม่ทันใจหรือมันไม่สมใจที่ปรารถนาให้มันดี ไอ้ปัญญารู้เหตุปัจจัยไม่พอที่จะเข้าใจ เจ้าตัณหาก็อยากให้มันได้อย่างใจของตัวใช่ไหม ก็มีตัวตนขึ้นมาอีก ก็เกิดทุกข์ขึ้นมาเลยใช่ไหม ถ้านั้นก็ยังไม่พ้นจากทุกข์เพราะว่ามันยังอยู่ในระยะของการที่เรายังพัฒนาในไตรสิกขาอยู่ ถ้าพูดกันง่าย ๆ เนี่ย ก็ไอ้เจ้าตัณหาก็ต้องการเพื่อตัวตน ที่นี้เจ้าฉันทะนี้ต้องการเพื่อสภาวะที่ดีนั้น ๆ ของสิ่งนั้น ๆ ซึ่งมันเป็นเรื่องของสิ่งนั้น ๆ มันก็ไม่เกี่ยวกับตัวตน ไอ้ทีนี่มันอาจจะมีมอง ๆ อย่างชีวิตของเราเนี่ย ก็พูดให้เห็นง่าย ๆ ว่าถ้าเราปรารถนาแบบตัณหาเราก็มีตัวตน ปรารถนาเพื่อตัวตน ตัวตนจะได้เสพรสอร่อย ทีนี้ถ้าหากว่าเป็นฉันทะเนี่ย อย่างตัวเรานี่มันเป็นการสนองความต้องการของชีวิต ชีวิตที่เป็นสภาวะธรรม การต้องการเสพรสอร่อยของอาหารนี่เป็นความต้องการของตัวตนใช่ไหม การอยากมีสุขภาพดีและการที่มีสุขภาพดีนี่เป็นจุดประสงค์ของชีวิตนะใช่ไหมของชีวิต ชีวิตก็เป็นของตามธรรมชาติซึ่งไม่เกี่ยวกับตัวตน ฉะนั้นความต้องการของชีวิตกับความต้องการของตัวตน นี่บางทึขัดกันใช่ไหม ความต้องการของตัวตนก็อยากเสพรสอร่อย อยากได้อาหารนี้ ถ้าอยากเสพรสอร่อยนี้ เช่นว่าปริมาณเกินไปกินมากไปหรือกินอาหารที่ผิดประเภทเป็นอาหารที่เป็นโทษก็มาทำลายชีวิตถูกไหม เจ้าชีวิตไม่ต้องการมันต้องการอาหารที่มีคุณค่าในปริมาณที่มันเป็นประโยชน์แก่มันให้มันมีสุขภาพดีเจ้าชีวิตต้องการอย่างนี้ แต่เจ้าตัวตนต้องการเสพรสอร่อย เมื่อสนองความต้องการของตัวตนมันก็กลับไปทำลายชีวิตถูกไหม แน่ทีนี้ถ้าต้องการสนองความต้องการของชีวิตให้มีสุขภาพดีก็กลับขัดแย้งกับความต้องการของตัวตน ไอ้เจ้าตัวตนนั้นไม่ได้สมปรารถนาไม่ได้เสพรสอร่อยเพราะว่าสนองความต้องการของชีวิตได้สุขภาพดีมันต้องกินอาหารจำกัดนี่ใช่ไหม จะกินเกินไปไม่ได้ ไอ้เจ้าตัวตนนี่ขัดใจใช่ไหม หรือว่าจะกินอาหาร ไอ้ที่มีคุณค่าก็ไม่ค่อยอร่อย ไอ้ชีวิตได้ สนองความต้องการของชีวิตและตัวตนหมดใช่ไหม งั้นปุถุชนเมื่ออยู่ด้วยอวิชชาตัณหา มันจะต้องขัดมีความต้องการที่ขัดกับความต้องการของชีวิตของตัวเองคือต้องการเพื่อตัวตนขัดกับความต้องการของชีวิต บางทีทำลายชีวิตของตัวเองเลยถูกไหม ถ้ามีปัญญามากขึ้นมันก็จะเรียนรู้ว่า อ้อมันต้องสนองความต้องการของชีวิต ถึงจะถูกต้องใช่ไหม กินเพื่อร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดีกินอาหารในปริมาณนี้จำกัด แล้วก็กินอาหารที่มีคุณค่าอร่อยไม่อร่อยก็เป็นเรื่องรองลงไปใช่ไหม ฉะนั้นก็สนองความต้องการของชีวิต เพราะฉะนั้นเจ้าฉันทะก็ต้องการความดีความงามของชีวิตใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราพูดได้ว่าฉันทะนี้ต้องการคุณภาพชีวิต ต้องการให้ชีวิตมันดีงาม มันก็เกิดจากปัญญาที่รู้ว่า อ้อแม้แต่วัตถุประสงค์ที่กินเพื่อสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตน่ะ แล้วจะกินอะไรจึงจะให้คุณภาพชีวิตมีสุขภาพแข็งแรง ปัญญาทั้งนั้นเป็นตัวกำหนด แล้วฉันทะก็ตามไป ส่วนไอ้ตัณหานั้นอยู่กับตัวตนที่มันไม่รู้อยู่ที่ไหนน่ะ เชื่อไหมไอ้ตัวตนนี่ เชื่อไหม ตัวตนที่ท่านว่า มันอยู่ที่ไหน มันไม่มีชัดขึ้นมาใช่ไหม มันโผล่ ไม่รู้มันอยู่ที่ไหนล่ะ มันมีขึ้นมาเลย ยึดขึ้นมาเลย อันนั้นเราจะเห็นได้ชัดว่าพอปัญญาเกิดนี่มันไปที่สภาวะเลยไม่มีตัวตน ตอนนี้แม้แต่ชีวิตของเรานี้เราเห็นได้ชัดว่า สายอวิชชา ตัณหาจะมีตัวตนขึ้นมา แล้วก็สายปัญญาฉันทะก็จะมีแต่ภาวะของชีวิตนั้น ๆ แม้แต่ในคนเดียวกันเนี่ย มันก็เกิดการขัดแย้งกันอย่างนี้ใช่ไหมขัดแย้งระหว่างกระแสอวิชาตัญหา แล้วก็ปัญหาที่ว่ามันเกิดตัวตนขึ้นมา เกิดความขัดแย้งได้อย่างใจไม่ได้อย่างใจทุกข์ ทีนี้ถ้าว่าถึงในแง่ของปัญญากับฉันทะนี่ มันจะว่าไปตามสภาวะธรรมตามเหตุปัจจัย แล้วมันก็รู้ตัวตามนั้นก็จบหมดเรื่อง นี่แหละแม้แต่ในชีวิตในการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐานนี่มันก็ต่างกันอยู่แล้ว มันมีมาตั้งแต่ในชีวิตประจำวัน ทีนี้เราจะเห็นว่าในการเสพเนี่ย คนว่าต้องการสนองความต้องการของตัวตนในตัณหานี้น่ะ
บางทีมัน ไม่ใช่บางที มันบ่อยมันขัดแย้งกับความต้องการของชีวิตกับตัวตน เช่น เรื่องอาหาร แล้วเราจะเห็นได้ว่าในเรื่องเพศก็เหมือนกัน อันนี้เราพูดกันได้ในสภาวะความเป็นจริง เราจะเห็นชัดว่าคนต้องการจะเสพรสสัมผัสในทางเพศเสร็จแล้วไอ้ความต้องการของชีวิตที่จะสืบพันธุ์ใช่ไหม เขาไม่เอาถูกไหม ไอ้ที่เขาสืบพันธุ์เพื่ออะไร ชีวิตมันต้องการเป็นอยู่ใช่ไหม แต่ที่จริงมันซ้อนว่ามันมีไอ้ความปรารถนาก็อัตราลึก ๆ แต่จะเอาแค่นี้ก่อน เอาแค่ขึ้นพื้น ๆ ที่ปรากฏว่าชีวิตมันต้องการสืบพันธุ์แต่ว่าไอ้เจ้าตัวตนนะมันไม่ยอมให้ มันต้องการเสพรสอย่างเดียว เพราะฉะนั้นมันก็ป้องกันไม่ให้เกิดพันธ์ใช่ไหม มันจะเอาแต่รสอย่างเดียวใช่ไหม ฉะนั้นก็มีการป้องกันด้วยวิธีต่าง ๆ เยอะแยะไปใช่ไหม นี่มนุษย์ต้องการจะเสพรสให้สนองตัณหาของตัวตนเท่านั้นไม่ต้องการสนองความต้องการของชีวิต แต่ที่จริงไอ้ความต้องการที่แท้กว่านะคืออะไร ความต้องการชีวิตใช่ไหม ชีวิตมันต้องการที่จะสืบต่อ ต้องการที่จะแพร่พันธ์ก็คือสืบต่อ จึงเรียกสืบพันธุ์นั่นแหละ บอกชัด ๆ มันต้องการสืบพันธุ์ แต่ว่ามนุษย์กลับไปขัดไม่ยอมให้มันใช่ไหม เอาแต่เสพรสเพื่อตัวตนของตัวเอง เนี่ยเห็นชัดเลย ความขัดแย้งกัน
ต่อไปก็จะเป็นได้ว่าแม้แต่ทางลิ้นเนี่ยมนุษย์อาจจะหาทางใช่ไหม เสพรสอร่อยสนองความต้องการของตัวตนต้องการสนองตัณหาโดยที่ว่าไม่ให้ชีวิตมันได้ เพราะว่าตัวเองฉันชักรู้นี่ใช่ไหม รู้ว่าไอ้กินอาหารอย่างนี้ที่มันอร่อยมันทำลายสุขภาพอันนี้จะเกิดปัญหาซับซ้อนขึ้นมา อาจจะเป็นได้นะคนในสมัยต่อไป คิดหาวิธีเสพได้ลิ้นอร่อยโดยที่ว่าไม่ให้อาหารต้องเข้าไปในร่างกายใช่ไหม นี่แสดงว่าเรื่องของมนุษย์นี้ยุ่งพอสมควร เพราะฉะนั้นมนุษย์ปุถุชนยุคนี้แกอยู่ในค่านิยมบริโภค แกก็สนองความต้องการของตัณหาในเชิงเสพเพื่อตัวตน อันนั้นมันก็จะต้องมีปัญหาซับซ้อนขึ้นมาอย่างนี้ อันนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้พิจารณาต่อไปแม้กระทั่งเรื่องเกย์เรื่องอะไรต่าง ๆ นั้น ๆ น่ะ ว่าโดยสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของตัวตนกับความต้องการของชีวิตที่เป็นธรรมชาติตามสภาวะ มันต่างกันอย่างไร อะไรเป็นของที่แท้จริงตามภาวะที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติใช่ไหม ภาวะชีวิตนี้ก็ธรรมชาติ แต่เสร็จแล้วตัณหาความต้องการของตัวตน มันไม่คำนึงถึงเรื่องของความต้องการตามสภาวะแล้วอันไหนที่มันวิปริต ก็เป็นข้อสำหรับเป็นเหตุผลในการพิจารณาจะทิ้งไว้แค่นี้ก่อน
มีอะไรสงสัยไหมครับคิดว่าวันนี้จะพูดสั้น ๆ ได้เห็นลักษณะทั่วไปแตกต่างทั่วไปของความแตกต่างระหว่างความอยาก 2 ประเภทที่มีตัณหากับเรื่องฉันทะ มีอะไรไหมครับ มานี้แยกกันได้ชัดไหมครับ ชัดน่ะ นี่ความอยาก 2 อย่างนี่ ชาวพุทธแยกไม่ออก เพราะฉะนั้นฐานเสียเลยใช่ไหม เพราะว่าตัวการปฏิบัตธรรมก้าวหน้าในไตรสิขามันต้องอาศัยตัวฉันทะนี่ครับ อันนี้การที่ฉันทะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพก็คือไตรสิกขาใช่ไหม เพราะสิกขาก็คือการพัฒนา เรียนรู้เป็นต้น พอมันสนองฉันทะ นี่มันได้เข้ามาในเนื้อตัวของชีวิตเลย เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตจิตใจ พฤติกรรม ปัญญา ความรู้เปลี่ยนแปลงหมด แต่ไอ้เจ้าตัณหาอยู่นั่นแหละ อยู่แค่กระทบไม่มีอะไรเข้ามาในเนื้อตัวเลย กระทบได้ความรู้สึกจบ กระทบผ่าน กระทบผ่าน
(4)
คนฟังถาม พระเดชพระคุณบอกวว่า ทั้ง 2 ตัวนี้ต้องละไอ้ที่ผมเข้าใจไม่ทราบจะถูกต้องไหมครับ ตัวปัญหาจะต้องรักษาไว้ อย่างที่ใส่พระนี้ต้องภาวนาไป ถึงขั้นสูงสุดจะนำไปสู่วิมุติใช่ไหม
พระตอบ ก็มันเป็นตัวช่วนอยู่ในกระบวนการของไตรสิกขา
(5)
คนฟังถาม คือไปละฉันทะ ก็ต่อเมื่อเราเข้าสู่สภาวะสูงสุดแล้วใช่ไหมครับ
พระตอบ เมื่อกี้พูดบอกว่า ละด้วการทำให้สำเร็จจุดหมายของมัน หมายความว่าจุดหมายของมันในกรณีนั้นคืออะใช่ไหม ก็ทำให้สำเร็จตามนั้นก็ละมันใช่ไหม ถูกไหม ละเฉพาะกรณี ไม่ใช่หมายความว่าละกันจนจบสิ้นเลิกไปเลย หมายความว่าละในกรณีนั้น ๆ ฉันทะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งก็ต้องทำให้สำเร็จ นี่หมายความว่าวิธีละใช่ไหม ละด้วยการทำให้สำเร็จตามนั้นเมื่อมันสำเร็จแล้วก็ละได้ใช่ไหม ทีนี้เจ้าตัณหานี่ ละ ด้วยการที่ว่าเกิดเมื่อไหร่ก็ละมันเลย ว่าอย่างนั้นน่ะ แต่ทีนี้สำหรับปุถุชนนี้ก็อาจจะได้แค่ว่าคุมมันหรือบันเทามัน ทำให้เบาบางลง หรือเอาฉันทะนี่มาดุลมาถ่วง ที่มุ่งที่ว่าให้เห็นจุดแยกความแตกต่างระหว่าง 2 ด้าน ฉันทะก็เป็นองค์ธรรมสำคัญในกระบวนการของไตรสิกขา เพราะทำให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้นในเนื้อตัวชีวิตของเรา ส่วนตัณหานั้นมันไม่ได้อะไรเข้ามาจริงจังอ่ะ กระทบผ่าน กระทบผ่าน