แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
อ้าวก็คุยกันไป มีท่านธรรมสิทโธกับท่าน??? ในฐานะที่เป็นเจ้าของเรื่องวันนี้ ที่นัดวันนี้ก็เพราะว่าท่านจะลาก็เลยถือโอกาสมาคุยกันพร้อม ๆ กัน มีอะไรจะถามบ้างมั้ย
คำถาม : ก็อยากจะถามท่านพระเดชพระคุณ เกี่ยวกับเรื่อง ก่อนที่จะเข้ารูป รูปฌานที่ 1 ครับ คือกระผมได้สอบถามท่านพระอาจารย์หลายคนก็ได้ ก็ได้คำตอบมาไม่ค่อยจะเหมือนกัน ก็เลยอยากจะถามท่าน ท่านพระเดชพระคุณว่า การก่อนที่จะเข้ารูปฌานที่ 1 นี่ลักษณะหรือการบ่งบอกว่าเราจะถึงรูปฌานที่ 1 แล้วเนี่ยมันจะเป็นยังไงครับ
คำตอบ : เอาหลักกันเลยนี่นา ทุก ๆ ท่านก็ตอบได้ตามหลัก คือตัวกำหนดองค์ฌานเนี่ย มันมีอยู่แล้ว ที่ว่ามีตัวองค์ธรรมอะไรบ้าง ที่มีในจิตในขณะนั้น และก็เป็นตัวกำหนด คือในเวลาที่ได้สมาธิถึงขั้นฌานหน่ะคุณสมบัติในจิตมันก็มีฝ่ายกุศลเยอะแยะไปหมด ไม่ใช่ว่ามีเฉพาะตัวที่กำหนด แต่ว่า ไอ้ตัวที่จะใช้มาตัดสินเป็นระดับไหน ท่านถือเอา ตัวที่เป็นตัว ต่างจำเพาะในแต่ละฌาน นี้ในปฐมฌานนั่นก็มี วิตก วิจารย์ ปิติ สุข เอกัคคตา อันนี้เป็นตัวกำหนด ตัวเป็นเกณฑ์ ที่ใช้ตัดสินว่าเป็นปฐมฌาน และก็ 5 ตัวนี้ก็จะเป็นเครื่องตัดสินหรือเป็นเครื่องวัดในขั้นต่อ ๆไปด้วย เพราะว่า เมื่อขึ้นสู่ชั้นทุทิยฌาน แล้ววิตก วิจารณ์ ก็จะระงับไป ก็มี ปีติ สุข เอกัคคตา ต่อไปก็จะมีองค์ฌานน้อยลงไป เพราะมีความแนบสนิทมากขึ้น แน่วแน่มากขึ้น ก็จะเหลือจาก ปีติ สุข เอกัคคตา พอถึงฌานที่ 3 ก็เหลือ สุข เอกัคคตา พอฌานที่ 4 ก็ สุขนั้นก็เปลี่ยนเป็นอุเบกขา เอกัคคตา อันนี้ก็เป็นหลักการทั่วไป ทีนี้ว่า ก่อนที่จะถึงรูปฌานเนี่ย ก็จะมีเรื่องของสมาธิที่ว่า มีความก้าวหน้าแนบสนิทยิ่งขึ้นมาตามลำดับ ก็อย่างที่คงจะได้เรียนกันแล้วว่ามีการแบ่งสมาธิแบบให้แยกละเอียดไปหน่อย ก็แยกเป็น 3 เป็นขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ ๆ แล้วก็มาอุปจาระสมาธิ สมาธิที่เฉียดจะถึงแล้ว แล้วก็ไปอัปปนาสมาธิ ก็คือที่เป็นฌาน ทีนี้ตอนที่จะกำหนดได้ฌานนี้ ถ้าดูในแง่ฝ่ายปฏิเสธคือคุณสมบัตินี่ดูได้ฝ่ายมี กับฝ่ายไม่มี เราดูที่ฝ่ายมีก็เราบอกว่ามี วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา ทีนี้ฝ่ายที่ไม่มีก็คือ ละได้เนี่ย ก็กำหนดด้วย ละนิวรณ์ 5 ได้ นิวรณ์ 5 ก็มี กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทะ แล้ว อุทัจจะกุกุจจะ วิจิกิจฉา 5 ตัวเนี่ย พอถึงอุปจาระสมาธิก็เป็นอันว่า นี่ล่ะเฉียดแล้ว ก็คือจะละไอ้เจ้านิวรณ์นี่ เมื่อล่ะเจ้า 5 ตัวนี้ได้ องค์ฌานก็มา ก็คือตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา ก็เจริญไปตามลำดับ ตัวแกนมันก็คือตัวเอกัคคตา ที่เป็นตัวสมาธิ ส่วนตัวอื่นก็เป็นคุณสมบัติประกอบที่มันยังพ่วงมา ที่ว่ามันจะมีความประณีตแค่ไหน ก็เมื่อยังมีตัวอื่นอยู่ มีวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข พวกนี้ก็แสดงว่าสมาธินี่มันยังไม่สนิทที ก็เลยกลายเป็นว่าเป็นเครื่องกำหนดว่า สมาธินั้นยังไม่ลึกทีเดียว ตามปกติก็ถือว่าอัปปนาสมาธิก็คือปฐมฌาน มันก็ยังมีไอ้เจ้า ตัวที่มันทำให้ ไม่แนบสนิทแท้ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุขนี่ แต่ทีนี้ว่าถ้ามันสนิทแท้เนี่ยมันก็จะเป็นอุเบกขา ภาวะจิตนี่ที่สมาธินั้นเป็นตัวแกน แต่ว่าสภาพจิตที่มันแสดงถึงความสนิทแท้เนี่ย สมาธิมันจะแน่ว ก็เมื่อเป็นอุเบกขา ถ้ายังมี ปีติ สุข มีวิตก วิจารณ์ ยังหยาบมาก วิตก วิจารณ์ หยาบ มีปีติ มันก็ยังมีความไม่สงบแท้ เพราะปีติเนี่ยดีมาก แต่ภาวะจิต ??? ปลื้มใจ อิ่มใจ แต่ว่ามันมีความแรง ความพลุ่งของจิต จิตมันอยู่ในภาวะฝ่ายที่น่าพอใจ แต่ว่ามันก็เป็นความน่าพอใจในแง่ที่ว่า มิใช่สงบแท้ ก็ถือว่าดีแต่ว่ายังไม่ใช่ สงบแท้ ถ้าสงบแท้นี่มันถึงอุเบกขา อุเบกขา จิตมันก็เป็นกลางไปเลย เมื่อเป็นกลางแท้แล้วความเป็นสมาธิมันจึงจะสนิท เพราะฉะนั้นมันจึงไปสนิทแท้ที่ จตุตถฌาน ฌานที่ 4 แต่ทีนี้เราก็เอาแค่ ปฐมฌาน ก็อย่างที่ว่าอย่างผู้ปฏิบัติไปนี่ ก็จะก้าวไปตามลำดับ คือผู้ปฏิบัติตามธรรมดา การที่ว่ามีสมาธิก็คือการที่จิตเนี่ย จับอยู่กับอารมณ์อันหนึ่ง ทีนี้อารมณ์อันนั้นก็เป็นสิ่งที่เป็นกลาง ๆ หรือเป็นกุศล คือมันจะไม่ทำให้จิตปรุงแต่งในทางไม่ดี เมื่อจิตไปอยู่กับสิ่งที่เป็นกลาง ๆ เช่นอย่างลมหายใจเนี่ยมันไม่ดีมีชั่ว อะไรมันไม่ชวนให้คิด เค็ดอะไรไปเลย ทีนี้พอจิตไปอยู่กับมันได้ จิตมันก็จะมีเป็นภาพ เรียกว่า นิมิต ขึ้นมาของลมหายใจ คือลมหายใจเนี่ยเวลาเรากำหนด หรือเราเรียกว่า ตามมันไป คือให้จิตจับอยู่ หรือสติจับอยู่กับลมหายใจ มันจับอยู่ เนี่ยมันก็เป็นเพียงอาการที่กระทบหรือผ่านไปมาได้รู้สึก รู้สึกว่าเราหายใจเข้า หายใจออก ทีนี้ก็มีการสอนว่ามันกำหนดยาก เพราะว่า สิ่งที่มันไม่มีรูปมีร่างของละเอียดนี่ จิตมันก็จับไม่ค่อยอยู่ ก็เลยว่าให้กำหนดสิ่งที่จะให้เกิดความชัดเจน ก็คือลมหายใจมันไปกระทบ ความกระทบเนี่ยมันช่วยให้ชัดขึ้นมา เช่น กระทบริมฝีปาก กระทบปลายจมูก แล้วก็เอานั้นไปจุดที่จับของจิต สติมันก็ผูกจิตไว้ที่นั่น ถ้าจิตไม่ไปไหน วอกแว่ก ทีนี้พอจับอยู่ที่ลมกระทบ มันก็เป็นเพียงอาการที่มีการเคลื่อนไหวมากระทบสัมผัส อะไรเท่านั้นเอง เราไม่ได้มองเห็นอะไร แต่ทีนี้ปลาย ๆ จิตมันก็ได้แค่ เป็นสัญญา คือ ??? ที่จิตมันไปจับเนี่ย มันก็กำหนดหมายใช่มั้ย มันก็จับมาเป็นอารมณ์ เป็นก็กลายเป็นชั้นเรียกว่าเป็นภาพในใจ ภาพนี้เรียกว่านิมิต นิมิตมันก็เป็นนิมิตของลมหายใจ นิมิตของลมหายใจก็ ก็แล้วแต่จิตมันจะสร้างเป็นภาพขึ้นมา ภาพลมหายใจก็เป็นไปต่าง ๆ เพราะอาการที่มันมีการหายใจ มันก็เข้า ๆ ออก ๆ มนุษย์เนี่ยเราก็จะสร้างมันเป็นรูปอะไรที่มันไหลเข้า ไหลออก เลื่อนเข้า เลื่อนออก ก็เลยสร้างเป็นรูปริบบิ้น เป็นรูปคล้าย ๆ เปลวควัน อะไรอย่างนี้นะ เข้า ๆ ออก ๆ ก็นี่คือภาพลมหายใจ ที่เรียกนิมิต เกิดขึ้นมา ทีนี้ว่าจิตที่มันกำหนด หรือจับลมหายใจเนี่ย ก็จับอยู่ที่นิมิตนี่เอง ตอนที่มันก้าวหน้าไป มันไม่ไปสู่เรื่องอื่น ถ้าหากว่าจิตอยู่กับภาพนิมิตได้ เรียกว่าได้ สมาธิ ก็ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ตอนแรกนิมิต นี้มันก็อาจจะได้มาแล้วหายไป ได้มาแล้วหายไป ต่อมามันก็ติดอยู่ในใจสนิทขึ้นมา จนกระทั่งว่าแนบ แน่ว ไม่หลุด ไม่หาย ทีนี้ท่านก็ให้พัฒนาความสามารถ ตอนนี้ก็คือว่า ให้ภาพนิมิตของลมหายใจเนี่ย มันเป็นภาพที่อยู่ในใจของเรา มันเป็นของที่ไม่ใช่ของจริง พอมันเป็นภาพในใจเราก็สามารถจะปรุงแต่งได้ ก็เลยท่านก็มีสอนว่า เพื่อให้ใจของเราแนบสนิทอยู่นี่ เราก็เอาภาพนิมิตลมหายใจอันนั้น ขยายบ้าง หดบ้าง ย่อบ้าง ให้เป็นรูปตามที่เราต้องการ จนกระทั่งจิตมันชำนาญ ไม่ไปไหน จิตก็อยู่กัน ที่นี้เมื่อนิมิต มันอยู่แน่ว ไม่หายไป เป็นภาพเทียบเหมือนของจริง ตอนนี้ท่านเรียกว่า เป็นปฏิภาคกับนิมิต ตอนแรก นิมิต ก็คือตัวลมหายใจแท้ ๆ นั้นก็เป็น นิมิตอย่างหนึ่งกับสิ่งที่กำหนด ถ้าเรียกเป็นศัพท์ก็เรียกบริกรรมนิมิต นิมิตเบื้องต้น ทีนี้คนที่อยู่ในขั้นต้นนี่มักจะว่าในใจ หรือบางทีก็เหมือนกับว่าพูดออกมา เพื่อจะช่วยการที่ว่าพูดกับตัวเองในใจเนี่ย ก็เพื่อย้ำไม่ให้จิตมันหนี ทีนี้พอว่าอย่างนั้นในใจ ก็ถือว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการที่เราสร้างสมาธิ คำว่าสร้างสมาธิก็เรียกว่า ภาวนา การที่มาพูดกับตัวเองในใจเลยกลายเป็นว่าเรียกว่าภาวนาไป คำว่า ภาวนาก็กลายความหมาย อย่างที่เราใช้ในภาษาไทย ภาวนากลายเป็น ท่องบ่น คำว่า บริกรรม ก็เหมือนกัน บริกรรมก็เป็นเพียงว่า เป็นวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งในตอนขั้นต้น เพื่อจะผูกจิตให้มันอยู่กะสิ่งที่ตัวกำหนด หรือว่าอารมณ์ที่ตัวเอามาจับเป็นอารมณ์กรรมฐาน ทีนี้มันเป็นเบื้องต้นก็เรียกบริกรรม การที่ทำเป็นส่วนเบื้องต้น หรือขั้นเตรียมตัวอะไรเนี่ย บางทีเราว่าคำอะไรนี้ในใจให้มันจับจิต จับได้ไม่หนีไปไหน เรียกไอ้การว่าอย่างนี้ เป็นบริกรรมไป คำว่า บริกรรม ก็กลายเป็นว่ามุบมิบ ๆ กลายเป็นท่องเทิ่ง อะไรไปเลย เนี่ยความหมายมันกลายหมด แต่รวม ๆ แล้วทั้งหมดนี่คืออยู่ในขั้นเริ่มต้น คือว่า ทำยังไงจะผูกให้จิตมันอยู่กับสิ่งนั้น ๆ ขั้นต้นนี่ แล้วก็พอได้เป็นภาพติดใจขึ้นมา ไม่หลุด ๆ หาย ๆ ทีนี้ติดใจ นิมิตนั้นก็เลื่อนจาก บริกรรมนิมิต มาเป็นคำ???เรียกว่าอุคคหนิมิต อุคคหนิมิตร หมายความว่าใจมัน ??? จับได้แล้ว จับขึ้นมาได้อยู่แล้ว ติดแล้ว แต่จะให้มันแนบสนิทก็ต้องไปอีกขั้น คือจนกระทั่งว่ามันเป็นภาพที่ประจำอยู่ในใจ เป็นของที่เกิดจากจิตสร้างขึ้นมา แล้วก็จะกลายเป็นของที่บริสุทธิ์ ถ้าของเดิม อย่างคนที่กำหนดอารมณ์กสิณนี่นะ เป็นดินบ้าง เป็นสี เป็นอะไรต่ออะไรมันจะต้องเป็นธรรมดาของรูปธรรมวัตถุของเดิมมันมีความหยาบ ความอะไร อยู่ หรือมีอะไรแทรกนิด ๆ หน่อย ๆ ก็อาจจะเห็นเป็นอย่างนั้น แต่ทีนี้พอเป็นภาพนิมิตที่ละเอียดของจิตใจและก็เป็นของบริสุทธ ก็เป็นภาพสิ่งนั้นอย่างที่ว่าลมหายใจก็จะมาเป็นริ้ว เป็นสาย เป็นอะไร เป็นเหมือนเป็นเส้นสายบริสุทธิ์อะไรเงี้ย ทีนี้จิตก็อยู่กับอันนี้ ต่อมาก็สามารถเหมือนกะขยาย หด ทำต่อภาพนี้ได้ ตอนนี้ท่านเรียกว่าเป็นปฏิภาคกับนิมิต ปฏิภาคนี้แปลว่า เทียบเท่าหรือมีค่าเหมือนกับของจริง แต่ว่า เป็นของละเอียด เป็นของประณีต เป็นของ ??? ในใจ อันนี้ถึงขั้นที่เนี่ย เป็นถึงขั้นปฏิภาคกับนิมิต จิตมันอยู่กับอารมณ์ที่กำหนดในกรรมฐานได้จริง ตอนนี้ก็จะได้อุปจารสมาธิ เป็นอุปจารสมาธิแล้วก็มั่นใจได้เลยว่าจะก้าวสู่ อัปปนาสมาธิ เฉียดมันจะถึงอยู่แล้วอุปจารสมาธิก็ถึงขั้นที่เนี่ย ก็คือว่ามันถึงขั้นที่ว่าจะได้ละนิวรณ์ 5 และก็ เกิดองค์ฌานที่ว่า วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา ตอนนี้จิตก็ไม่ไปไหนแล้ว ก็จะอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน ไม่ไปไหนเลย อัปปนาก็แนบสนิท แน่วอยู่ ทีนี้ก็จะมีแต่ว่า องค์ฌานเนี่ยที่มันยังแสดงให้เห็นมันยังเป็นเครื่องวัดให้รู้ว่า อ๋อ จิตยังไม่ได้สนิทแท้นะ ยังมีการที่ว่า มีวิตก วิตก ก็คือการที่ยกจิตขึ้น ต้องคล้าย ๆ ว่าคอยประคองจิตไว้กับอารมณ์นี้อยู่ พูดในแง่หนึ่งก็ยังมีการเพียรพยายามอยู่ วิจารณ์ก็คลออยู่ ยกคลอ ๆ ไว้ ทีนี้พอผ่านอันนี้ไปได้ไม่ต้องแล้ว เหมือนกับว่ามันอยู่ตัวจริง ๆ มันอยู่ตัวจริง ๆ มันก็เหมือนกับไม่ต้องมีความพยายามที่จะยกจิตขึ้นมา แล้วก็คลอจิตไว้ อยู่ตัวสนิทก็มีแต่ส่วนประกอบที่ดี ก็คือ ภาวะจิตที่ปีติ อิ่มใจ อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ปลาบปลื้ม อะไรพวกนี้ แต่อาการที่มันปลาบปลื้ม เป็นต้นเนี่ย แสดงถึงการที่จิตมันยังมีกำลังพลุ่ง ๆ คล้าย ๆ พลุ่งขึ้นมา ก็ยังไม่ใช่สงบแท้ พอมันสงบจากปีติลงไปเนี่ย มันก็จะเป็นสุข สุขมันก็จะเป็นภาวะที่ชื่นฉ่ำ แต่มันไม่ใช่แรงขึ้นไปแบบฟู่ ถ้าเป็นปีตินี่มันจะฟูขึ้นไป อย่างคนขนหัวลุก หรือว่าขนลุก น้ำตาไหล ซาบซ่าน อะไรพวกนี้ อาการพวกนี้มันฟู ๆ เป็นปีติ ทีนี้พอมันหายฟูอะไรพวกนี้ มันก็จะเป็นสงบ เป็นสุข เป็นฉ่ำ ชื่น ทีนี้สุข แหมก็สงบมากแล้ว มันก็ประกอบอยู่กับสมาธิเนี่ย เป็นฌานสูงขึ้นไปถึงฌานชั้นที่ 3 แล้ว แต่ก็ยังถือว่าไม่แนบสนิทที่ว่าต้องจิตเป็นกลาง อุเบกขานั่นล่ะก็จึงจะสงบ แนบสนิทจริง ๆ นั้น ก็เรียกว่าจตุตถฌาน ฌานก็ไม่มีอะไรสูงกว่า จตุตถฌาน ก็รูปฌานก็จบที่นั้น ต่อไปอรูปฌาน ก็อยู่กับฌานที่ 4 นี่ล่ะ ที่อรูปฌานอีก 4 นั่นนะที่จริงอยู่ระดับ จตุตถฌานนี่ล่ะ แต่เป็นส่วนที่ จตุตถฌานมันเหมือนกับเป็นมิติที่ขยายไปอีกที เป็นมิติขยายออกไปของจตุตถฌาน เป็นอรูปฌาน ที่จริงก็อยู่ระดับ อรูป จตุตถฌาน ฌานที่ 4 สูงสุดแล้ว ถ้าเราปฏิบัติไปอย่างนี้ ก็แปลว่าเราก็เลื่อนขณิกสมาธิ ไปเป็นอุปจารสมาธิ และก็ดูที่การที่เราไม่มีนิวรณ์ 5 เป็นอัปปนาสมาธิ ก็ถึงฌาน อัปปนาสมาธินี่ก็คือถึงฌาน พอถึงฌานก็ดูที่องค์ประกอบหรือองค์ฌานที่ว่า วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา แล้วทีนี้มันก็ก้าวต่อไปสู่การที่ประณีตยิ่งขึ้นจนกระทั่งว่าจิตเป็นกลางเลย ก็อธิบายแบบนี้ไม่ทราบท่านจะเข้าใจนะ
คำถาม : ที่นี้ไม่ทราบว่าในการที่ ในการที่นั่งสมาธิแล้วจะละนิวรณ์ 5 เพื่อที่จะเป็นอุปจาระ หรืออัปปนาสมาธิ นะครับคือไม่ทราบว่า ในช่วงที่แบบอย่างสมมติถ้าเราง่วงอย่างนี้ล่ะครับ เราทำสมาธิเพื่อที่ แล้วความง่วงตรงนี้จะสามารถหายไปเลยได้รึเปล่า หรือยังไง หรือว่าเราควรจะพักผ่อนให้หายง่วงก่อน เอ่อ แล้วก็ค่อยทำหรือยังไง ตรงนี้
คำตอบ : คือตามปกติการปฏิบัติไม่ไช่การไปพยายามละนิวรณ์ แต่เราปฏิบัติของเรานี่แหละ แล้วนิวรณ์มันหมดไป แล้วก็เอาการหมดนิวรณ์นั้นเป็นเครื่องวัด ไม่ใช่หมายความไปมัวจะละนิวรณ์ เราก็ปฏิบัติของเราไปนี่แหละ เช่นว่าเรากำหนดลมหายใจ จิตจับอยู่ที่ลมหายใจ คำว่า กำหนดบางคนก็บอกว่า มันเป็นความหมายกำกวมอีก มันยุ่ง ก็ต้องทำความเข้าใจกันว่า เราใช้ศัพท์เหล่านี้เป็นสมมติ สื่อความหมายกันเท่านั้นเอง กำหนดในที่นี้ก็หมายความว่าเอาไปจ่ออยู่ หรือเอาไปจับอยู่กับมัน คือบางทีมันหาศัพท์ยาก สติเป็นตัวที่ช่วยจับช่วยดึงใช่มั้ย เคยอธิบายแล้ว ทีนี้จิตเราเนี่ยเราจะเราจะให้อยู่กับลมหายใจซึ่งเป็นอารมณ์กรรมฐาน เราจะให้จิตนี้อยู่กับสิ่งนั้น คืออยู่กับลมหายใจ เราก็เอาสติมาเป็นตัวดึงไว้ สติเนี่ยเป็นตัวดึงให้จิตอยู่กับสิ่งนั้น ทีนี้เมื่อเราเจริญสติ ก็อย่างอานาปานสติ ก็คือสติที่จับลมหายใจไว้ ให้ให้จิตอยู่กับลมหายใจเนี่ย พอจิตของเราเดินหน้าไป การเรื่องของการที่จะได้สมาธิเนี่ย ไอ้เจ้านิวรณ์เนี่ยมันหมดเอง ถ้าจิตเราเดินถูก ไม่ใช่เราไปพยายามละนิวรณ์ เราทำหน้าที่ของเรา ก็คือจิตของเรานี่ไปอยู่กับอารมณ์กรรมฐานเท่านั้นแหละ ไอเจ้านิวรณ์มันไปมันเอง เป็นแต่เพียงว่าเราดู เพราะท่านมีความชำนาญ ท่านก็เลยบอกไว้ให้ว่า เออเนี่ย เวลาจิตเราถึงขั้นนี้แล้วไอ้เจ้าพวกนี้มันหมดไป เป็นอันว่าเราไม่ไปมัวพยายามละนิวรณ์ แต่ทีนี้ว่าอาการเหล่านี้มันเกิดขึ้นแสดงว่าเรายังไม่ได้ เช่นว่า ถีนมิทธะมันเกิดขึ้น ก็แสดงว่ามันบอกว่าเรายังไม่ได้สมาธินั้น แต่ทีนี้ว่ามันก็กลายมาเป็นอุปสรรคสิในขณะที่เราปฏิบัติไม่สำเร็จ ท่านก็เรียนพุทธประวัติแล้วก็คงจะได้เรียนเรื่องพระมหาโมคัลลนะ ก็ปฏิบัติไป คือเราไม่ได้ต้องไปพยายามมันเหมือนในตัว แล้วก็อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน เราก็ปฏิบัติของเราไป แต่ทีนี้ไอ้เจ้าตัว ถีนมิทธะ ง่วงงุน เป็นต้น เนี่ย เข้ามากวนมันเป็นอุปสรรคอยู่ ท่านก็เลยยังบอกวิธีปฏิบัติว่า ให้มีเครื่องช่วย เพราะจิตเรามันไม่ยอมอยู่ เราก็เลยไปแก้ไอ้เรื่องง่วงโดยวิธี ไปชอนหูบ้าง ไปอะไรบ้าง อันนั้นเป็นวิธีสู้กับการง่วง เพื่อจะให้จิตมันพร้อมที่จะมาปฏิบัติต่อ ที่นี้ถ้าหากว่าเราไปพยายามวิธีเหล่านั้นแล้ว ถ้าไม่สำเร็จท่านบอกให้นอนเลย เพราะว่า แสดว่าร่างกายมันไม่ไหว มันไม่พร้อม และก็มันต้องการ ทีนี้ถ้าร่างกายของเราเนี่ยมันต้องการการหลับนอน เราไปฝืนมันจะยิ่งทำให้จิตมันดิ้นมาก เมื่อจิตมันถูกบีบคั้นดิ้นรนมากมันก็ยิ่งไม่ได้กันใหญ่ เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้จักผ่อนบ้าง คือว่า รู้จักผ่อนในที่ควรผ่อน รู้จักบังคับมันในที่ควรบังคับ เมื่อว่า เอ้อ มันอยู่ในภาวะที่เราก็น่าจะทำได้ มันไม่มีเหตุผลอะไรอื่น จิตมันฟุ้งซ่านเอง เราก็น่าจะบังคับมัน แต่ทีนี้ว่า ถ้ามันมีเหตุผลอย่างอื่น เช่นว่าร่างกายมันป้อแป้ไม่ไหวแล้ว เราจะไปเที่ยวฝืนมันจะดิ้นรนมาก อ้าวนี้ก็เราก็ผ่อนให้มันบ้าง แล้วก็นอนซะ อ่าอะไรอย่างงี้ ถ้าเพียรมากเกินไปก็กลับเป็นโทษได้ กลายเป็นว่าจิตยิ่งดิ้นรนกันใหญ่ เหมือนถูกบีบคั้น บีบคั้นกดดัน ก็ยิ่งดิ้นรน ก็ว่าไปอย่างนี้ มีอะไรสงสัยมั้ยฮ่ะ
คำถาม : ขอแทรกนิดนึง
คำตอบ : อ่า นิมนต์ฮ่ะ.
คำถาม : ตรงพวกปีติ สุข อะไรเนี่ยครับ ถ้าเกิดว่ามันเกิดมาแล้ว มันจะเกิดแล้ว เกิดแล้วหายไป หรือว่า เกิดยาวตลอดเลย
คำตอบ : อันนี้แต่ละคน มันก็ไม่เหมือนกัน มันอยู่ที่การก้าวไปในการปฏิบัติ ก็คือหมายความว่า มันเป็นอาการของจิตแล้วก็กลายเป็นคุณสมบัติ ที่ในแง่หนึ่งก็พึงปรารถนา เพราะมันทำให้จิตดี แล้วก็แสดงความก้าวหน้าไปในระดับหนึ่ง ก้าวหน้าในระดับนึงไม่ได้หมายถึงที่ดีที่สุด ทีนี้มันก็อยู่ที่การปฏิบัติของเราด้วยที่ว่าเมื่อเราปฏิบัติไปเนี่ย เราปฏิบัติถูก เราไม่ต้องไปยุ่งกับมันเนี่ย เราปฏิบัติไปเมื่อมันสงบมากขึ้น สมาธิมันประณีตยิ่งขึ้นแล้ว มันก็ก้าวต่อไป ปีติมันสงบ มันก็เป็นสุขไป ทีนี้ถ้าเรายังไม่ก้าวไป ก็หมายความว่า จิตของเราก็อยู่ในขั้นได้ปีติอยู่เนี่ย เราก็ไม่พ้นฌานที่ 2 อย่างนี้เป็นต้นนะ ก็อยู่แค่ฌานที่ 2 อยู่เนี่ย หลายคนเค้าก็อยู่ได้แค่ฌานที่ 2 เค้าก็ไม่ไปซะที เค้าก็ได้ปีติอยู่เรื่อยสิ เพราะเค้าอยู่ที่ฌานที่ 2 นี้ถ้าเขาปฏิบัติต่อไปมันก็สงบมันก็ไปสู่ฌานที่ 3 เป็นสุขไป ทีนี้ท่านก็เปรียบเทียบ เคยได้ยินมั้ย ความต่างระหว่างปีติกับสุข ต่างกันยังไงทราบมั้ย ทราบแล้วใช่มั้ย เคยเล่าให้ฟังแล้ว ก็อย่างนั้นก็ไม่ต้องเล่าให้ฟังอีกสิ เอ่อ ทบทวนหน่อยก็ได้ ปีติกับสุขนี้ต่างกันอย่างไร ท่านก็เปรียบเทียบให้ บอกว่า เหมือนอย่างเงี่ย เมื่อกี้บอกแล้วนะ ปีติมันมีอาการฟูขึ้น ๆ เหมือนกับพลุ่งขึ้นไป ๆ แต่สุขนี่มันสงบ ทีนี้มันพลุ่ง หรือมันฟู กับมันสงบอย่างไร ท่านก็ยกตัวอย่างเป็นเชิงอุปมา แต่ที่จริงมันก็เป็นความจริงด้วย ก็คืออาการที่เป็นตัวอย่าง มีบุคคลผู้หนึ่งเดินทางไกลมา ท่ามกลางแดดร้อน แห้งแล้ง เดินมาก็กระหายน้ำ ก็รู้สึกเหน็ดเหนื่อย เดินมาๆ ทางข้างหน้า ก็ยาวไกล มองไม่เห็นจุดหมาย ไม่รู้เราจะเดินอย่างนี้อีกนานเท่าไหร่ ขณะที่กำลังเหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำอย่างนี้ กระวนกระวายก็เห็นคน หนึ่ง เดินทางสวนมา โอ้ว ไกล ๆ ตะคุ่ม ก็ดีใจขึ้นหน่อย เอ้อพบคนแล้ว มันคงใกล้หมู่บ้านหรืออะไรสักอย่าง มีคนอยู่ ก็มีน้ำมีอะไรเนี่ย เราก็อาจจะได้พัก หรือได้รับประทานน้ำ ก็จะได้สบาย เนี่ยล่ะ ก็มีปีติแล้ว พอเห็นคน ก็คืออย่างที่เราเรียกว่า ดีใจใชมั้ย ดีใจว่า เอ่อ น่ากลัวจะได้กินน้ำแล้ว เห็นคนเดินสวนมา เดี่ยวเราจะได้ถามเค้ายังไง เค้าเดินยิ่งใกล้เข้ามา ก็ดีใจมากขึ้น ๆ อ้าว เจอกันแล้ว ได้พบก็ทักทายปราศรัยไต่ถาม คุณมาจากไหน ไกลหมู่บ้านมั้ย แค่ไหน คนที่มานี่ ก็เล่าให้ฟัง บอกนี่นะโอ้ย คุณมานี่โชคดีแล้วนะ อีกไม่ไกลหรอกเนี่ย ดูไปเห็นไกล ๆ มั้ย นั้น ตะคุ่ม ๆนั่นนะ นั่นเป็นหมู่ไม้นะ และตรงนั้นแหละมันมีแหล่งน้ำใหญ่ มีสระโบกขรณี แล้วก็มีหมู่ไม้ ร่มรื่น ชื่นฉ่ำ สบายเลย พักผ่อนได้เลย น้ำเนิ้มก็ดีด้วย ใสสะอาด คนนี่ฟังไปก็ดีใจไป จิตปลื้มใจ ปลาบปลื้มใจ เนี่ยปีติเกิดตลอด ทีนี้แกรู้แบบนี้แล้ว แกก็เดินหน้าต่อไป แกก็เดินยิ่งใกล้เข้าไปก็ยิ่งดีใจมากขึ้นเราเดี่ยวเราก็จะได้สบายซะที หายหิว หายกระหาย หายกระวนกระวาย ก็มีปีติเรื่อยเลย ปลาบปลื้มใจ ยิ่งใกล้เข้าไปก็ปลาบปลื้มใจ จนกระทั่งว่า ในที่สุดก็ไปถึงนั่น พอไปถึงนั่นเป็นสระโบกขรณี มีต้นไม้มากมายก็ดีใจเต็มที่ ไปถึงฝั่งสระโบกขรณีเนี่ย นั่นถือว่าปีติถึงที่สุดแล้ว ก็กระโจนน้ำ โครมลงไปเนี่ย ก็สมใจแล้วใช่มั้ย ไอ้สิ่งที่ต้องการก็คือว่า ได้น้ำนี่แหละ พอลงน้ำไป อาบดื่มกิน สมใจตอนนี้ ปีติก็สงบ อาการที่ดีใจ ปลื้มใจ ฟู พลุ่ง ??? สงบ สงบก็เปลี่ยนเป็นสุข อาการที่ว่าลงไปแช่น้ำ ได้กินน้ำ ดื่มน้ำสมใจเนี่ย สุข เข้าใจมั้ยฮ่ะ มันสงบเลย ปีติก็แสนจะดีแล้ว ท่านว่าปีติกับสุขอันไหนดีกว่ากันล่ะ สุขดีกว่า เห็นมั้ย ปีติก็แสนจะดีนะ แหมปีติดี แต่ว่าสุขดีกว่า เข้าใจนะ นี่ล่ะ ผู้ที่ได้ฌานก็จะเป็นอย่างนี้ ฌานที่ 2 ก็ปีติ จะปลื้มใจ ฟูใจ อิ่มใจ ฟู พอถึงฌานที่ 3 ก็เป็นสุข ก็สงบลงไป ก็เลยแปลว่าชื่นฉ่ำ ต่อไปก็ พอฌานที่ 4 ก็คือสุข สงบ ไปเป็นจิตเป็นกลาง ๆ เดี่ยวท่านก็จะว่า อะยังงั้น เราอยู่กับสุขดีกว่า เรื่องอะไรไปอุเบกขา เราแปลเป็นไทยเราก็เฉย ๆ ใช่มั้ย เฉยมันจะไปดีอะไร สู้สุขดีกว่า เนี่ย ท่านก็เลยต้องอุปมาอีกว่า อุเบกขามันดียังไง อันนี้มันภาวะจิตที่สูง ยากที่จะพูดบรรยาย ท่านก็เลยอุปมาให้อันหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่นว่า อันนี้ก็เคยพูดบ่อย ๆแล้วว่า สารถีสมัยก่อนก็ขับรถม้า แล้วขับรถม้านี่คนขับรถม้า หรือสารถีแม้แต่สมัยนี้ เวลาขับรถถ้ายังไม่ชำนาญจริงนั่นน่ะ จิตใจจะกังวล ก็ไม่ค่อยสบายใจ จิตไม่นิ่ง ขับรถออกมาก็ ไหวหวั่น หวาด หรือว่ามีกลัวบ้างอะไรบ้าง กังวลบ้าง จิตนิ่งไม่ได้ออกมา แล้วขับรถเข้าทางอีก จะรักษายังไงให้รถมันไปได้ดี ระแวงระวัง อันโน้นอันนี้อยู่ ทีนี้พูดถึงว่าคนนี้ก็ขับรถจนชำนาญ พอชำนาญได้ที่ดีแล้วเนี่ย เวลาเค้าออกรถไรต่ออะไรต่าง ๆ เค้าก็ทำด้วยความแคล่วคล่อง แล้วก็ไม่มีความกังวลอะไร ทำสบาย โดยเฉพาะเมื่อเค้าขับรถออกมา เอารถเข้าที่ เข้าเส้นทางดี ปรับความเร็วได้ดีแล้วก็ รถก็วิ่งสนิท ทุกอย่างลงตัวหมด ภาวะที่ทุกอย่างลงตัวดีหมดเนี่ย รถก็วิ่งเข้าที่ เข้าเส้นทางดี ถูกทิศถูกทาง ความเร็วพอดี ทุกอย่างลงตัว เขาซึ่งเป็นผู้ชำนาญก็ไม่มีความกังวลอยู่แล้ว แล้วอะไรต่ออะไร มันลงตัวเข้าที่หมดนี่ ตอนนี้เค้าก็นั่งนิ่ง เหมือนกับว่าแทบไม่ต้องใส่ใจกับการขับรถเลย แต่ว่าในภาวะนั้น จิตเค้าไวและพร้อม คือเพราะความชำนาญ ความมีปัญญา รู้เข้าใจหมดเนี่ย ถ้ารถมันจะวิ่งผิดความเร็วนิด เค้าก็รู้ แล้วเค้าก็รู้จะปรับจะแก้ยังไง หมดทุกอย่างเลย เส้นทางมันจะออกนอกทิศมั้ย ความเร็วมันจะผิดมั้ย อะไรเนี่ย เค้าแก้ได้ทันที เค้าพร้อมอยู่แล้ว ภาวะที่เค้าพร้อมอยู่ตลอดเวลาด้วย แล้วทุกอย่างมันลงตัวด้วยสนิท จิตของเขาอยู่ในภาวะนั้น นั่งสนิท สบาย ภาวะที่จิตมันลงตัวกันทุกอย่าง อย่างนี้เรียกว่า อุเบกขา ทีนี้มนุษย์เราอยู่ในโลกเนี่ย เราก็จะมีความไหวหวั่นไปกับสิ่งทั้งหลายรอบตัวในโลกนี้ เราไม่รู้การณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร กิจการทั้งหลายเป็นยังไง คนจะเป็นยังไง จนกระทั่งว่าจิตเนี่ย ได้เจริญพัฒนา มีปัญญา รู้เข้าใจโลกและชีวิตนี่ตามเป็นจริง พอรู้เข้าใจ รู้เท่าทัน อะไรต่ออะไร ก็วางจิตต่อสิ่งทั้งหลายถูกต้อง พอจิตมันวางลงตัวกับทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นอุเบกขา จิตมันลงตัวกับทุกสิ่งทุกอย่าง ได้ที่ ที่ว่ามีสุขเนี่ย ที่จริงลึกลงไปก็ยังมีความไหวหวั่น เช่นความกังวล ความอะไรอยู่ แต่ถึงอุเบกขาเนี่ย ก็จิตมันลงตัวแล้ว สมดุลหมด มีดุลยภาพ ศัพท์หนึ่งก็คือมีดุลยภาพ มันลงตัวเข้าที่ ได้ดุลหมดทุกอย่าง ก็เป็นจิตที่ดี ทีนี้ สุขเสิกมีได้แต่เป็นส่วนประกอบ แต่ว่า สุขเค้าก็เป็นสุขที่บริสุทธิ์ เพราะมันไม่มีอะไรซ้อนใต้น้ำ ถ้าเป็นคนที่จิตยังไม่ลงตัว อุเบกขานั่นมันก็มีอะไรซ้อน ๆ อยู่ เหมือนกับในใต้น้ำมันมีคลื่น หรืออะไร สุขมันยังมีอะไรที่ทำให้มันไม่สมบูรณ์ ถ้าหากว่าจิตมันลงตัว อุเบกขาก็จะมีสุขมีอะไรก็จะสมบูรณ์หมด เพราะฉะนั้นท่านจึงถือจิตอุเบกขาเนี่ยสำคัญ อุเบกขาที่จะได้แท้ ๆ เนี่ยต้องเป็นพระอรหันต์นะ มีปัญญาเต็มที่ แต่ทีนี้ว่า อันนั้นเป็นอุดมสูงสุด เอาล่ะ ในแง่จิตเนี่ยได้จตุตถฌาน ฌานที่ 4 ก็ได้อุเบกขา เพราะว่าในขณะนี้ก็คือว่า เป็นการปฏิบัติเฉพาะหน้า เฉพาะกรณี ทีไม่ใช่เป็นยั่งยืนประจำชีวิต ถ้าจะประจำชีวิตก็หมายความว่าอยู่เป็นปกติในชีวิตประจำวันเนี่ย จิตก็จะลงตัวอย่างที่ว่า เป็นอุเบกขา นั่นพระอรหันต์ได้ปัญญา ปัญญาทำให้จิตพ้นไปเลย แต่ทีนี้ สำหรับคนทั่วไปนี่ก็ต้องอาศัย การเจริญสมาธิ ก็คือโดยที่ว่า แทนที่ว่าจะไปได้ด้วยปัญญา ที่จะทำให้จิตมันเป็นอิสระปลอดพ้นจากสิ่งทั้งหลาย ก็เอาด้านจิตมา ก็คือ สมถะเนี่ย มาช่วยทำให้จิตไปอยู่กับอารมณ์นั้น อันเดียวเสีย พอจิตมันไปอยู่กับอันนี้แล้วมันไม่มีอะไรอื่น แม้แต่สุขมันก็ยังเรียกว่าสงบ เรียบไปเลย มันก็กลายเป็นจิตถึงอุเบกขาได้ เพราะตอนนี้มันก็ไม่มีอะไรกวนอยู่แล้ว จิตในภาวะสมาธิ แต่เป็นการปฏิบัติฝ่ายสมถะ ที่ว่ามันไม่ยั่งยืน ไม่เหมือนกับวิปัสสนา คือไม่ใช่พระอรหันต์ พอออกไปจากสมาธิแล้วก็ไปผจญความเป็นไปในโลก เจอโน่นเจอนี่ ภาวะจิตที่มันมีคลื่นใต้น้ำหรืออะไรมันก็มีอยู่ แต่ทีนี้ถ้าอยู่ในสมาธิเนี่ย ตอนนี้ก็คือสมถะวิธีปฏิบัติแบบที่จับอารมณ์เดียวเนี่ยมันมาช่วยไว้ ก็เลยกลายเป็นว่าได้อุเบกขาตอนเนี่ย ได้อุเบกขาในฌานที่ 4 ก็คือภาวะจิตที่มันลงตัว ได้ที่ทุกอย่าง จึงถือว่าเป็นขั้นที่สูงกว่าสุขอีก เพราะมันสนิทจริง ๆ แล้วคนที่จะได้อุเบกขา มันมีประสบการณ์ในสุขมาก่อนแล้ว อันนี้ก็หมายความว่า ประสบการณ์ในสุขนั้น ในแง่หนึ่งมันก็เหมือนกับมันมีความไม่นิ้ง ของจิต พอมันได้อุเบกขามันก็นิ้งเลย ??? แม้จะไม่ใช่สุข แต่มันดีกว่า จะพอนึกเห็นภาพบ้างมั้ย พอเข้าใจนะ ฮะ ก็ลองคิดถึงคนที่นั่งเป็นสารถีขับรถม้าสมัยก่อน แล้วก็ชำนาญรถวิ่งนิ้งสนิทได้ที่นี่ จิตเค้าเป็นยังไง จะเรียกว่าวิ่งยังไง จะใช้คำยังไงบรรยายได้ พอจะเห็นนะฮะ นี้พระอรหันต์เนี่ยท่านก็มีปัญญา รู้เข้าใจโลกและชีวิต วางจิตลงตัวกับทุกอย่างได้หมดแหละ ไม่มีข้องขัด ไม่มีติดมียึด ไม่มีความกังวลไม่มีอะไรทั้งนั้น มันลงตัวได้ที่หมด มันก็อยู่สบาย นี่แหละเลยใช้คำเพื่อจะให้เข้าง่ายว่า ถ้าจิตเป็นสมาธิ ก็จิตมันอยู่ตัว อยู่ตัวหมายความว่า มันไม่มีอะไรมากวนได้ มันไม่ถูกรบกวน มันอยู่ตัว หรือใครกวนมันก็ไม่หวั่นไหวไป แต่มันก็อยู่ตัวของมันเนี่ย โดยที่ว่ามันตั้งอยู่ท่ามกลางอะไรต่าง ๆ เหมือนกับว่าในแง่หนึ่งมันต้องตั้งตัวอยู่กะไอ้พวกนั้น ต้องให้มันอยู่ที่ ไม่ให้กวนได้ แต่ถ้ามันลงตัวแล้วทุกอย่างมันหมดเลย ลงตัวนี่ก็หมายความว่าเข้าที่ได้หมดแล้วมันไม่มีปัญหากับอะไร กะอะไร จิตอยู่ตัวนี่แค่สมาธิ ถ้าจิตลงตัวนี่อุเบกขา พอจะเข้าใจนะ จะชอบอะไรล่ะ ชอบสมาธิหรือชอบอุเบกขา ???