แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คนฟังถาม อยากจะเรียนถามพระเดชพระคุณหลวงพ่อน่ะครับ เมื่อกี้ช่วงที่ได้มีพูดถึงว่า เกี่ยวกับอเมริกาว่า เขาก็ต้องปกป้องผลประโยชน์ของประเทศเขา บางที่ในเวทีโลกพูดอีกอย่าง แต่ว่าจริง ๆ ก็ต้องปกป้อง
พระตอบ ก็มีซ้อนอีกชั้นหนึ่ง มันมี 2 Standard
คนฟังถาม ทีนี้เลยกลับมามองในประเทศไทย ผู้ใหญ่ในประเทศหรือแม้แต่ตัวเองก็ตามนี่ เอออย่างบางครั้งเรารู้ว่าสิ่งนี้ทำไปแล้วขัดต่อธรรมะในเรื่องบุญบาปที่ทำอยู่ อย่างเช่นในประเทศไทยนี่ ระบบเศรษฐกิจของเรา ซึ่งกับการส่งออกนี่ ส่งออกเนื้อสัตว์เยอะ เกี่ยวกับกุ้ง เกี่ยวกับไก่อะไรอย่างนี้น่ะครับ ก็คือว่าอย่างคนที่เป็นเจ้าของกิจการก็คือต้องฆ่าไก่ ก็ต้องฆ่ากุ้งอะไรเยอะ ๆ น่ะครับ ที่นี้พอรู้ในพุทธศาสนามันขัดหลักบาปบุญ แต่ว่าส่วนหนึ่งก็เป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติว่าเราก็มีลูกน้องมีพนักงานจะต้องเลี้ยง มีผลประโยชน์ส่วนนี้อยู่ ก็เลยอยากจะเรียนถามพระเดชพระคุณ เกี่ยวกับการวางตัวในจุดนี้ ว่าถ้าเราเป็นผู้ตัดสินใจในตรงนั้น เราควรจะยึดหลักอะไรในการนำส่ง
พระตอบ ก็ดีเป็นคำถามที่ดี คือเราต้องมอง อย่ามองที่พระพุทธศาสนาว่าอย่างนั้น ต้องมองอีกชั้นว่าพุทธศาสนาว่าไปตามธรรมชาติ ทีนี้ถ้าพูดอีกทีหนึ่งก็ไม่ต้องพูดถึงพุทธศาสนาก็ได้ ก็คือว่าธรรมชาติเป็นอย่างนั้น ก็หมายความว่าไอ้การฆ่ากันจะเป็นการฆ่าสัตว์ ฆ่าอะไรก็แล้วแต่น่ะ ที่ว่าบาปนี่ก็คือ เป็นเรื่องของธรรมชาติน่ะใช่ไหมไม่ไช่เป็น ไม่ใช่บาปเพราะว่าพระพุทธเจ้าว่าบาป แต่ว่าบาปเพราะว่าความจริงของธรรมชาติเป็นอย่างงั้น ก็คือว่า ไอ้ธรรมชาติของชีวิตมันไม่เฉพาะมนุษย์หรอก มันก็รักชีวิตของตัวเอง ทีนี้การฆ่าในฝ่ายของผู้ฆ่านี่ เมื่อจะไปทำการฆ่าเขาก็คือ เอาการประทุษร้ายอย่างหนึ่ง ทีนี้การที่จะประทุษร้ายมันก็ต้องมีเจตนา แล้วเจตนาที่จะฆ่ามันก็เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยโทสะหรือการเบียดเบียน อันนี้แหละที่เรียกว่าบาป ถูกไหม บาปก็คือสภาวะตามธรรมชาติ แล้วมันก็มีผลไปตามธรรมชาติของมันเอง ไม่ใช่เป็นเพราะพระพุทธเจ้ามาสั่งบาปเบิบอะไร นี่คือพุทธศาสนา เอาล่ะท่านก็บอกว่าความจริงมันก็เป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นไปได้เรารู้ว่าทุกชีวิตรักตน รักสุขเกียจทุกข์ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นก็ไม่ควรเบียดเบียนกันไม่ควรฆ่ากัน ไม่ควรจะสั่งให้ฆ่าด้วยซ้ำ อันนี้ก็วางหลักกลาง ๆ ไว้ ก็หมายความจริงมันมีอยู่ว่าอย่างนี้ อย่างนี้ เพราะฉะนั้นในทางปฏิบัติจึงควรอย่างนี้ 2 ชั้นน่ะ คำสอนพุทธศาสนาจะมี 2 ชั้นอย่างนี้ 1 ความจริงว่าอย่างนี้ แล้ว 2 ก็เพราะฉะนั้นเราจึงควรอย่างนี้ เหมือนกับบอกว่าไฟมันร้อนน่ะ เพราะฉะนั้นเราควรอย่างนี้ ควรปฏิบัติต่อไปอย่างนี้ ทีนี้ไอ้การฆ่ากันเบียดเบียนกันนี่ มันไม่ดีอย่างนี้ อย่างั้นน่ะ มันมีผลอย่างงั้น ๆ น่ะ เอ้าเพราะฉะนั้นเราไม่ควรฆ่าฟันเบียดเบียนกัน ทีนี้เราก็ต้องมาดูมาวิเคราะห์ความจริงอีกชั้นหนึ่ง ท่านก็ต้องยอมรับบอกว่าเรื่องความเป็นอยู่วิถีชีวิตของมนุษย์ในโลกนี้จะไม่ให้มีการเบียดเบียนกันเลยนี่ มันยังเป็นไปไม่ได้ มนุษย์ก็ยังมีกิเลส ยังมีเรื่องของการที่ว่าอยู่ในท่ามกลางสังคม อยู่ในท่างกลางโลกที่มีการเบียดเบียนกัน สัตว์อื่นมีกิเลสอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ก็ต้องพยายามปฏิบัติตัวให้ดีที่สุด ถ้าทำได้ตัวเองก็ฝึกตนขึ้นไป แล้วก็ช่วยฝึกให้ผู้อื่นให้ฝึกไม่เบียดเบียนกัน นี้ก็ในขณะที่ว่าในส่วนที่ยังต้องเบียดเบียนนี่ เราจะทำแค่ไหนแล้วทำอย่างไรในภาวะที่จะให้เกิดผลเสียน้อยที่สุด นี่ก็คือการที่รู้จักพิจารณาตัดสินใจเรื่องของการใช้ปัญญา ไม่ใช่สักแต่ความเชื่อคำสอนศาสนาสั่งมาแล้วก็ทำใช่ไหม แต่พุทธศาสนากลายเป็นว่าให้เราพิจารณาใช้ปัญญาของเรา เพราะฉะนั้นท่านจึงบอก เอ้าแม้แต่การฆ่าสัตว์ก็มีโทษไม่เท่ากัน เช่นว่า 1 เจตนาของเรา เป็นเจตนาอะไร ถ้าเจตนาที่จะข่มเหงรังแกเบียดเบียนเขาอะไรอย่างนี้ก็เป็นเจตนาที่เป็นบาป ถ้าเจตนาป้องกันตน เจตนาจะใช้เป็นอาหารอะไรต่ออะไร ก็เจตนานี้ก็เบาลงอะไรอย่างนี้น่ะ ก็บาปน้อยลงไป นี้ด้านเจตนา แล้วก็ด้าน 2 ก็ด้านสัตว์นั้น สัตว์นั้นมีคุณประโยชน์มาก เช่นผู้มีพระคุณเงี้ย ไปฆ่าก็บาปมาก ถ้าสัตว์นั้นเป็นสัตว์ที่มีโทษมีคุณน้อยก็บาปน้อย อะไรอย่างนี้ก็ว่าไป อันนี้ท่านก็ยกตัวอย่างให้เราดู เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการที่จะมาพิจารณาตัดสินใจ ในที่สุดเราก็ต้องตัดสินใจด้วยปัญญาของเรา ว่าความจริงมันเป็นอย่างนี้แล้วในทิศทางที่ถูกสมควรมันควรจะเป็นอย่างนี้ แล้วเราน่าจะเอายังไง มันก็สามชั้นนะ หนึ่งความจริงเป็นอย่างนี้ทางที่ควรน่าจะเป็นอย่างนี้แล้วเราจะเอาไง นี่ก็พุทธศาสนิกชนก็เลยต้องเป็นนักฝึกตน ต้อง
1 พัฒนาปัญญาให้รู้ความจริง
2 ก็แล้วก็รู้โยงมาสู่ทางปฏิบัติว่าควรปฏิอย่างไร
แล้วก็ 3 มีความสามารถในการตัดสินใจให้ได้ประโยชน์มากที่สุดมีโทษน้อยที่สุด
อย่างบางครั้งท่านก็ตรัสไว้ บอกว่าเมื่อคำนึงถึงสุขหรือประโยชน์ส่วนน้อย เอ้อของส่วนใหญ่ซิ ส่วนใหญ่ก็สามารถละประโยชน์ส่วนน้อย หรือความสุขส่วนน้อย มัตตาสุขะปริจาคาสัมปะสังวิปะรังสุขัง เห็นแก่สุขอันไพบูลย์ ก็ยอมสละสุขประมาณน้อยอะไรทำนองนี้ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างเป็นแง่มุมในการที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจแต่รวมแล้วก็คือใช้ปัญญา ฉะนั้นเราต้องศึกษาไม่หยุดหาความจริง 2 ก็โยงสู่การปฏิบัติการดำเนินชีวิต เพราะว่าบนพื้นฐานของความจริงนั่นแหละที่มนุษย์จะมีชีวิตได้ดีได้และพัฒนาสังคมให้ดีได้ เมื่อรู้ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรแล้วก็มาเลือกตัดสินใจให้สอดคล้องกับสถานะสภาวะของตนเองและสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น แต่ว่าเจตนาเป้าหมายเราดี มันก็ได้ชั้นหนึ่งแล้ว ก็คือเรามีจุดหมายว่าเราจะพัฒนาต่อไปไม่ใช่หยุดอยู่แค่นั้น จะทำให้ส่วนที่เป็นโทษน้อยลงไป แล้วส่วนที่เป็นความดีงามประโยชน์สูงขึ้นไปเลื่อย พุทธศาสนาเป็นพุทธศนาที่จริงไม่หยุดอยู่ ไม่ใช่มาหัวเราะห้อยความหลังมาเศร้าอยู่กับไอ้เรื่องของอดีต แม้จะทำอะไรผิดไปแล้วก็ไปเศร้าอยู่อันนั้นก็กลายเป็นว่า ถือว่าทำกรรมชั่วเพิ่มเติม เอ้าเพราะทำมโนกรรมไปคิดขุ่นมัวเศร้าหมองอยู่กับไอ้เรื่องนั้นอีก พุทธศาสนา ศาสนาแห่งสิกขาการศึกษาพัฒนาตน เมื่อเรารู้แล้วว่าที่ทำไปมันยังไม่ดีไม่สมบูรณ์มันผิดพลาดหรือดีแล้วยังไม่สมบูรณ์ก็พัฒนาขึ้นไปสิ ถ้ามันไม่ดีก็ปฏิกรรมทำการแก้ไขให้มันดียิ่งขึ้น ทำดีที่อะไรที่มันยังน้อยก็พัฒนามันขึ้นไป เป็นศาสนาที่เน้นการฝึกฝนพัฒนาตนทำให้ดียิ่งขึ้น นั้นท่านจึงไม่ให้มัวมาหัวเราะห้อยกรรมเก่า กรรมเกิยอะไรอยู่นั่นแหละ ที่นี้คนไทยมาติดมาก คือท่านไม่ได้ปฏิเสธกรรมเก่า กรรมเก่าก็อยู่ในกระบวนการของเหตุปัจจัย เราปฏิบัติต่อกรรมเก่าให้ถูก รู้เข้าใจ เมื่อมีความรู้แล้วจะปฏิบัติต่อเรื่องที่เคยผ่านมาได้เป็นบทเรียนสำหรับอนาคต แล้วรู้ว่าควรจะวางเป้าหมายจุดหมายแผนการปฏิบัติต่ออนาคตอย่างไร มันก็จะพัฒนาไปได้เลื่อย ๆ ก็ท่านก็ให้ไม่ประมาทในการศึกษา ไม่ปล่อยละเลยการศึกษา การศึกษาค้นคว้าหาความจริง การหาทางแก้ไขพัฒนาปรับปรุงไปเลื่อย ๆ ก็เข้าหลักธรรมะ ต้องฝึกตนอยู่เสมอใช่ไหม จึงเจริญได้ แล้วก็ว่า ทันโตเสโถ มนุษย์เสสุในหมู่มนุษย์นั้นผู้ที่ฝึกแล้วประเสริฐสุด นั้นก็นี่ดำเนินตามวิธีปฏิบัติอย่างนี้ พอเห็นทางไหมครับ
คนฟังตอบ พอจะได้หลักครับ แต่ว่าตัดสินใจยากอยู่ครับ
พระตอบ เอ้าก็ตัดสินใจก็จะได้มีแนวทางในการตัดสินใจใช่ไหม
คนฟังถาม อย่างยกตัวอย่างก่อนที่จะเข้ามาบวชนี้ ก็จะมีเพื่อนทำธุระกิจพวกนี้เยอะพอสมควร เช่น อย่างทำไส้กรอกปลา อย่างนี้ครับ แต่ว่าทางครอบครัวมีการปฏิบัติธรรม ทีนี้พอเริ่มปฏิบัติธรรมก็เกิดลังเลในใจว่าไม่อยากทำต่อแล้ว แต่ก็เกิดความติดขัดว่าพนักงานก็ต้องเลี้ยง อันนี้เราไม่อยากจะทำก็เลย ก็กลายเป็นว่าตัดสินใจไม่ได้ แล้วก็ขุ่นข้องหมองใจอยู่อย่างนั้น
พระตอบ ตัดสินใจยาก คนฟังตอบครับ
แต่ว่านี่แหละเพราะเรายังไม่รู้ว่าต่อไปไอ้การเบียดเบียนกัน แม้แต่ในระดับอาชีพมันจะมีผลอย่างไรต่อสังคมต่อไปอีก เพราะว่าอย่างเวลานี้สัตว์บางชนิดมันก็ไม่มีความหมายในการมีชีวิตอยู่เลยถูกไหม สักกับว่าเกิดขึ้นมาแล้วก็สำหรับเป็นสิ่งให้มนุษย์เลี้ยงชีวิต แต่ว่าไอ้เขาเอง เขาไม่มีความหมายในการมีชีวิตอะไรเลย แล้วอย่างนี้ต่อไป แล้วมันจะมีผลอะไร แล้วมันอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของไอ้พวกพันธุ์ของสัตว์อะไรต่าง ๆ ด้วยน่ะ ในระยะยาว เพราะว่าสัตว์นี่มันจะมีการพัฒนาอะไรต่ออะไรมันก็เป็นเพราะการดำรงชีวิตของตัวเอง เมื่อการดำรงชีวิตมันไม่มีความหมายเนี่ย การเปลี่ยนแปลงในสายพันธุ์อะไรจะเกิดขึ้นจะเป็นยังไงต่อไปอีก แล้วมันจะส่งผลมายังไงต่อไอ้สัตว์อื่นอะไรอย่างนี้นะมันโยงกันไปหมดระยะยาวบางทีมนุษย์มองไม่ออก ฉะนั้นเราก็ต้องคำนึงเหล่านี้หมด คำนึงทุกด้านไปเลย เอ้านิมนต์ครับ
คนฟังถาม คือโยมก็มีโรงงานเลี้ยงไก่ครบวงจร ซึ่งแน่นอนก็คือจะมีโรงชำแหละโรงเชือดด้วยครับ เสร็จปุ๊บโยมพ่อผมก็เคยถามผม ตอนที่ผมมาบวช ถามว่า คือท่านอยากจะทราบว่าการที่ท่านประกอบอาชีพนี้ มีบาปอย่างไร แต่ตอนนั้นคือผมยังไม่ได้ศึกษาในเรื่องตรงนี้ แต่พอได้ศึกษาปุ้ป มันมีข้อนึงเรื่องมิจฉาอาชีวะ เสร็จปุ๊บมันก็จะไปตรงเรื่องข้อแรกก็คือทำอาชีพที่มีการฆ่าสัตว์ปุ๊ป ผมก็ใจจริงผมก็อยากเตือนท่าน ถ้าคือการที่เตือนท่านแล้วไม่ได้สร้างความกระจ่างให้กับท่าน ก็จะเป็นการสร้างความกังวล เสร็จปุ๊บ ผมก็ลังเลระหว่าง 2 อย่างก็คือระหว่างการที่คือตอนนี้มุมมองของท่าน คือการที่ท่านทำประกอบอาชีพโดยสุจริต คือท่านก็มองคำนึงถึงว่ามันเป็นการเบียดเบียนสัตว์ก็จริง แต่มันก็ก่อเกิดประโยชน์ ซึ่งท่านก็ไม่ได้ถึงกับกังวลใจอะไรมากนัก แต่พอผมมาพิจารณากับหลักธรรมเรื่องมิจฉาอาชีวะ ก็ผมก็ค่อนข้างจะหนักใจ แต่ผมมองในแง่มุมที่ว่า ถ้าท่านเกิดมีเจตนาดี แล้วใจของท่านบริสุทธิ์การกระทำถึงแม้ว่าจะเป็นกรรมมันก็เป็นกรรมที่น้อยถูกไหมครับ
พระตอบ ก็ใช่ มันก็ตามเจตนา แล้วเรามีเหตุผลปัญญา เช่นว่าอาจจะพูดเข้าข้างตัวนะ บอกนี่ที่เราทำอาชีพนี้ถ้าเป็นคนอื่นน่ะ ถ้าเราปล่อยแล้วเราไม่ทำคนอื่นทำเนี่ย มันจะแย่มากเขาจะไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อชีวิตสัตว์เป็นต้น หรืออะไรต่ออะไรเลย แต่เราทำนี่เราทำด้วยความระมัดระวังที่สุดก็ช่วยสัตว์ไปเยอะเลย ว่าอย่างงั้นในแง่หนึ่งน่ะ นี่คล้าย ๆ อาจจะเข้าข้างตนหน่อยแต่มันก็มีส่วนจริง ก็หมายความว่าคนที่มีปัญญารู้หลักการแล้วก็ระวังมากใช่ไหม คือหมายความว่ามีเมตตากรุณาอยู่ เช่นว่าในการที่จะให้สัตว์ตายเนี่ย 1 ก็ต้องคิดว่าจะทำไงให้ไม่ทรมานมาก 2 ก็ทำไงจะไม่ให้สัตว์นี้ต้องตายเปล่ามากมาย เพราะคนที่ไม่คิดเลยนี่นะ มันก็ทำโดยไม่ได้ใส่ใจอะไรเรื่องเหล่านี้เลยจะเกิดผลเสียหลายอย่างเลยนะ 1 ผลเสียต่อชีวิตสัตว์เอง ความทุกข์ทรมานของสัตว์เป็นต้น แล้วก็ผลเสียต่อสังคมอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ พวกนี้ทำแต่ว่าสักแต่ว่าทำให้ตัวเองได้รายได้ แต่คนที่มีปัญญารู้หลักธรรมแล้วเนี่ยก็มีเจตนาที่ไปก่อด้วยเมตตากรุณาต่อสัตว์เพิ่มขึ้น แล้วก็คำนึงถึงประโยชน์ต่อสังคม แล้วก็ทำไงจะให้เกิดผลเสียเหล่านั้นก็จะระวังป้องกันด้วย ก็จะดีกว่าพวกที่ทำโดยไม่มีจิตใจที่ประกอบด้วยคุณธรรมนี่เยอะแยะ มองในแง่นี้ก็เป็นความจริง คนฟังตอบ ครับ ก็คล้าย ๆ ในด้านหนึ่งช่วยสังคม ช่วยในด้านหนึ่ง แต่ว่าเราก็ต้องตั้งเจตนานี้ให้ดี แล้วก็มาคิดในแง่นี้ด้วย ถ้าตราบใดเราจำเป็นต้องทำ เราจะพยายามทำฝ่ายดีให้ได้มากที่สุดเพราะจะช่วยได้เยอะ ในขนะที่เราทำส่วนนี้ ซึ่งเราก็รู้ตัวว่าเราทำเพราะจำเป็นอยู่ แต่เราได้สร้างสรรค์ประโยชน์เยอะเลย ทำคุณแก่ชีวิตสัตว์ ทำคุณแก่ชีวิตมนุษย์ ทำคุณแก่สังคม ก็เรียกว่าทำอย่างมีความรับผิดชอบก็คือด้วยคุณธรรมนั่นเองพอเห็นไหม คนฟังตอบครับ
คนฟังถาม แล้วไม่ทราบว่าตัวผมเองควรจะเตือนท่านหรือไม่ครับ เพราะว่าผมเคยอ่านเจอในเรื่อง มิลินทรปัญหาครับ การที่ไม่รู้ว่าทำบาปถึงแม้ไม่มีเจตนาก็จริงแต่ถ้าเทียบดูแล้วการทำบาปประเภทนี้ถือว่าเป็นการทำบาปที่น่ากลัวที่สุด เพราะเป็นการทำบาปที่ไม่รู้เท่าทัน เหมือนที่ท่านยกไว้ คือเปรียบเสมือนการจับหินร้อนนะครับ คนที่ไม่รู้ว่ามันร้อนด้วยซ้ำ ก็ยังจับ
พระตอบ ก็จับมันเต็มที่ คนฟังตอบ ครับ อย่างเช่นนั้นครับ
เพราะฉะนั้นจึงต้องรู้ พอเรารู้เข้าไปเนี่ยเราจะเริ่มระวังตัว แล้วจับให้ดีขึ้น แล้วเราก็จะค่อย ๆ หาทางไปสู่ปลอดเป็นอิสระจากเรื่องเหล่านี้ ก็เรียกว่ามีการตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผลแล้วเป็นคุณใช่ไหม และเป็นประโยชน์มากขึ้น ก็ทำอย่างคนที่มีปัญญา ไม่ทำอย่างคนที่ไม่รู้เรื่องเลย ซึ่งจะทำให้เกิดโทษ ทีนี้ที่ว่า ในแง่ของความสัมพันธ์ในครอบครัว ถ้ามีโอกาสก็ค่อย ๆ ให้รู้ เข้าใจเรา แล้วก็เมื่อยังทำอยู่ก็จะได้ไประมัดระวังอย่างที่ว่า ในการสร้างสรรค์เราได้ทำฝ่ายสร้างสรรค์มาก เพราะคนทำอาชีพแบบนี้ก็ช่วยสร้างสรรค์ได้เยอะน่ะ หรืออย่างน้อยก็คือช่วยไว้ส่วนหนึ่งแทนที่ว่าปล่อยให้คนที่ พวกที่ไม่มีความรับผิดชอบสักแต่ว่าทำ แล้วพวกนั้นก็ทำให้เสียหายเยอะแยะ ก็ได้เหมือนกับกู้ขึ้นมาส่วนหนึ่ง ถ้ามองในแง่ดี แล้วก็ส่วนของเราเอง เราก็พยายามทำให้ดีที่สุด ก็เรียกว่าตอนแรกก็คือให้บาปน้อยที่สุดและให้ได้บุญมากที่สุดใช่ไหม อ้าวมันพร้อมกันล่ะสำหรับมนุษย์เนี่ย ท่านถือว่ามนุษย์นี่มันเป็นโลกของบุญและบาปปะปนกันไป คือพอเราเกิดมีชีวิตขึ้นมาปั้บ มันเข้ามาอยู่ในโลกแห่งการเบียดเบียนแล้ว พอเราหายใจหน่อยหนึ่งแล้วก็เริ่มแล้วใช่ไหม พอเราหายใจมันก็เริ่มเบียดเบียน สักแต่ว่าโลกอื่น จริงไม่จริง ทีนี้การเป็นอยู่ของเรานี่เราต้องรู้ทันอันนี้ด้วย แต่ทีนี้ว่าเราก็อยู่ในโลกนี้ด้วยความรู้มีปัญญาและเจตนาเราตั้งไว้ดีเนี่ย เราจะเบียดเบียนน้อยที่สุดแล้วเราจะทำประโยชน์มากที่สุด แล้วก็พัฒนาตัวเอง แล้วพัฒนาเพื่อนมนุษย์ให้เข้าถึงโลกแห่งความสุขไร้การเบียดเบียน ที่เคยพูดไว้แล้ว จุดหมายใช่ไหม ทำไงจะให้โลกนี้เป็นอัพญาปะฉังสุขังโรกัง เราอยู่ใน อัพญาปะฉังสุขังโรกัง เข้าถึงโลกเป็นสุขไร้การเบียดเบียน เพราะโลกเวลานี้มันก็เป็นไปตามธรรมชาติที่สัมพันธ์กันเป็นเหตุปัจจัยแล้วมนุษย์สัตว์ทั้งหลายก็มีกิเลส มีโลภโทสะโมหะเป็นต้น ต่างคนก็ต้องเห็นแก่ตัวก็ทำการกันไปก็เบียดเบียนกันไป เมื่อมนุษย์มีความรู้มีปัญญาตระหนักแล้วก็พยายามแก้ไขปรับปรุงโลกนี้ให้มันดีขึ้นมีการเบียดเบียนกันน้อยลงไป มีความสุขมากขึ้นใช่ไหม อันนี้ก็มองอย่างกว้าง ๆ หมายความว่าเราพยายามเดินทางในเส้นทางใหญ่ที่นำโลกไปสู่ความเบียดเบียนกันน้อยลง แล้วก็มีสุขสงบได้มากขึ้น เอ้านิมนต์
คนฟังถาม อยากเรียนถามสมเด็จพระคุณอาจารย์ครับ คือยังอยู่เรื่องประเด็นบุญบาปอยู่ แต่ว่าจะเปลี่ยนจากการฆ่าไก่เป็นฆ่าคน หมายความว่า โทษประหารชีวิตครับ ของผู้พิพากษาที่สั่งไปว่าคุณต้องตายนะ ถ้ามองอีกอย่างหนึ่ง เราเหมือนกับสั่งให้ฆ่าใช่ไหมครับ แต่ว่าเขาสั่ง ถ้าจะมองเหมือนกับฆ่าเพื่อสังคม คือการที่ลดการฆ่าคนอื่น ๆ ออกไปครับ แต่ว่ายังมองจริง ๆ ก็คือฆ่าคนอยู่ดี อยากถามว่า ถ้ามองในพุทธศาสนาน่ะครับ การประหารชีวิต โทษประหารชีวิตนี่ ควรจะมีไหมครับ
พระตอบ ถ้าว่าถึงพุทธศาสนาน่ะ แน่นอนเราไม่ต้องการให้มีฆ่ากันเลย ไม่ต้องพูดถึงว่า มีโทษถึงประหารชีวิตหรือไม่ มันก็อยู่ในตัว แต่ทีนี้ว่า ในเรื่องของการฆ่าแบบนั้นน่ะสำหรับผู้ทำหน้าที่ก็จะคิดมาก ก็มีตัวอย่างที่อาจจะเล่าให้ฟัง หรือจะเคยเล่าแล้วด้วยซ้ำ เรื่องของผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเพชฌฆาต เคยเล่าแล้วใช่ไหม นี่แหละก็คือเรื่องของสังคมนี้อย่างผู้ที่ทำหน้าที่บริหารประเทศชาติสูงสุดในสมัยก่อนก็คือพระมหากษัตริย์ ก็กลายเป็นว่า พระมหากษัตริย์นี่แหละเป็นผู้ตัดสินแล้วก็สั่งฆ่าใช่ไหม สั่งประหาร ก็ยอมมีบาปมาก บาปน้อยเป็นธรรมดา เมื่อมีการสั่งเจตนาฆ่ามันเกิดขึ้นแล้ว เจตนาประทุษร้าย เจตนาทำร้ายก็เกิดขึ้นทำให้ชีวิตเขาตกลงไป มันก็มีบาป แต่ว่าบาปนั้นน้อยหรือมากเราก็ดูได้เจตนานั้นเพื่ออะไร เจตนานั้นแค้นเป็นส่วนตัวต้องการกำจัดข่มเหงเขาอย่างนี้ก็บาปมาก แต่นี้ทำไปโดยหน้าที่ก็เบาลงไปแล้ว แล้วยิ่งมามองเห็นเหตุผล อ้อนี่เพื่อสังคมส่วนใหญ่คนส่วนใหญ่ได้อยู่เป็นสุขไม่ถูกเบียดอะไรต่ออะไรต่าง ๆ เอ้ามีเหตุในฝ่ายดีขึ้นมาอีก เจตนานั้นก็กลายเป็น เจตนาส่วนหนึ่ง ฆ่าก็เป็นบาป เจตนาอีกส่วนหนึ่งเพื่อจะหวังดีปรารถนาดีรักษาสังคมเป็นต้น เป็นเมตตากรุณาก็เป็นบุญ มีทั้งบุญทั้งบาปไปพร้อมกัน นี้แหละโลกมนุษย์มีบุญและบาปผสมกันไปแม้แต่เรื่องเดียวกันนี่ ทีนี้ก็อยู่ที่ว่าบุญหรือบาปมากกว่ากัน เราก็ต้องมาพิจารณา ที่นี้เราก็พยายามให้เว้นบาปซะ เราถึงมีการสมาทานศีล สมาทานสิขาบท สิกขาบทเพื่อจะได้มีศีล ก็คือเว้นซะเลย ก็ฝึกตนในทางลดการเบียดเบียนนั่นเอง ทีนี้มาถึงตัวเพชฌฆาตก็อย่างที่ว่าแล้ว พอทำไปแล้วเนี่ย ถึงยังไงมันก็อดไม่ได้ก็ฝังจิตใจ นี้ตอนแรกตัวเองก็ไม่ได้คิดอะไร ต่อมาวันคืนผ่านไป มันเห็นนี่ครับ เห็นคนที่ถูกฆ่า อาการต่าง ๆ แล้วก็รู้ความเป็นมาเป็นไปของเขานาน ๆ เข้ามันก็เกิดไอ้ความคิดความรู้สึกมองพี่น้องเขามาร้องห่มร้องไห้อะไรบ้างน่ะ เอ้อเห็นความทุกข์คนโน้นคนนี้ เขาเองเขาก็ เวลาเขาจะถูกฆ่า เขาก็เศร้าโศกร้องไห้อะไรต่าง ๆ นี่เขาก็โศกเศร้าตัวเองก็เห็นอยู่ ก็มานึกขึ้นมาจิตใจก็ไม่สบาย นี่ละครับ จิตใจก็ขุ่นมัวเศร้างหมอง จนกระทั่งว่าอย่างที่ผมเล่าไปแล้วก็คือ กัมมะริตะกาโจระวะสุ เรื่องของโจรเคราแดง ได้มาเป็นเพชฌฆาต ฆ่าโจร เสร็จแล้วก็ตัวก็ทำเป็นเพชฌฆาตตามหน้าที่ ก็ฆ่าโจรเป็นไม่รู้กี่ตั้ง 55 ปี ไม่รู้เท่าไหร่ ทีนี้พอแก่ตัวเข้าก็มานึกถึงว่าเรา เอ้เราได้ฆ่าคนก็เยอะ เขาก็เป็นอย่างงั้นอย่างงี้ ใจก็ไม่ดี อย่างพระสารีบุตร ก็มองเห็นอุปนิสัยนี่ทั้ง ๆ ที่คนนี้ฆ่าทำบาปตั้งเยอะ ท่านยังเห็นอุปนิสัยคือหมายความว่าในความดีส่วนหนึ่ง ความชั่วส่วนหนึ่ง เขาคนชั่วก็มีความดีอะไรของเขาอยู่ใช่ไหม ท่านก็เห็นอุปนิสัย ท่านก็มาโปรดก็มาแสดงธรรมให้ฟัง แต่คนนี้ใจแกไปมัวครุ่นคิดระห้อยเรื่องการที่ทำบาปอะไรต่ออะไร ใจก็ไม่อยู่กับการฟังธรรมะเลยใช่ไหม ใจไม่ไป ท่านเรียกว่า ไม่ตาม ไม่ไปตามกระแสพระธรรมะเทศนา ขุ่นข้องอยู่ ก็เลยความติดข้องทำให้ไม่ได้รู้เข้าใจธรรมะ พระสารีบุตรท่านถึงต้องใช้วิธีการที่จะเอาให้ใจเขาเนี่ยพ้นออกไปจากความติดข้องอันนี้ซะ เอ้าคุณนี่ตั้งใจฟังหรือเปล่าฟังรู้เรื่องไหมบอกว่าไม่ค่อยรู้เรื่อง เป็นไปไงล่ะ เพราะว่าคิดถึงคนที่ตัวฆ่าไปตั้งเยอะแยะยังไง จะบาปยังไง ที่คุณฆ่านี่ ฆ่าเองมีเรื่องเขาไปฆ่าหรือว่าใครให้ฆ่า บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินทางการท่านสั่งให้ฆ่า ว่าอย่างงั้น เอ้าแล้วคุณเป็นบาปอย่างไงหรือ แก่ก็นึกว่า โอ้ ไม่ใช่เราคิดฆ่าเองนี่ เราทำตามคำสั่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราไม่บาปแล้ว ตัดไอ้ความติดข้องนี้ใจก็แล่นไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ตั้งใจฟังธรรมมันก็รู้เรื่อง พอรู้เรื่องก็เลยเข้าใจธรรมะ กลับไปได้บุญในส่วนโน้นใช่ไหม ใจก็ผ่องแผ้วสดใสได้รู้จักความดีความงามประโยชน์อะไรต่ออะไรอีก กลายเป็นใจดีไปเลยไปสวรรค์เลย ก็เหมือนกับองคุลิมาล เหมือนกัน องคุลีมาลก็ฆ่าคนมาตั้งไม่รู้เท่าไหร่ใช่ไหม อันนี้มันอยู่ที่ อย่างนี้คือก็เป็นไปตามธรรมชาติ ธรรมชาติจิตของมนุษย์อยู่ที่เรารู้จักปฏิบัติต่อมัน ให้ได้ผลดี ก็ต้องมีวิธีที่เกิดจากปัญญานั่นเอง เพราะฉะนั้นก็เข้ากับที่ท่านบอกที่บอกว่า อ้อ ท่านพูดใช่ไหมว่า คนที่ไม่รู้ไปจับไฟ ก็จับเอาเต็มที่เลยกระโดนเต็มที่ ทีนี้คนที่รู้แล้วก็ระมัดระวังว่า จะจับไฟยังไรให้มันมีโทษน้อย พอเห็นนะครับ
คนฟังถาม ฉะนั้นอย่างนี้เราสรุปอย่างนี้ได้ไหมครับ คือทางที่ดีที่สุด คือพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะไม่ทำบาป แต่ถ้าเกิดว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องหาทางที่ทำบาปให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ทำให้อย่างกรณีฆ่าสัตว์ก็นึกถึงสวัสดิภาพของสัตว์ พยายามทำให้เขาดีที่สุด แล้วก็พยายามทำใจให้ติดยึดกับว่า เราทำบาปเพื่อให้เกิดประโยชน์ใหญ่ต่อไปข้างหน้า แล้วติดอยู่กับประโยชน์อันนั้น น่าจะทำอย่างนี้สุดท้าย
พระตอบ ก็อยู่ที่ปัญญาจะพิจารณาเห็นเข้าใจ แล้วเมื่อปัญญารู้ว่าความจริง ไอ้นี้มันเป็นประโยชน์ถูกต้องจริง ๆ แล้วใจก็จะได้มีไอ้ส่วนที่ว่า มาไว้เป็นตัวกำกับเจตนาของตัวเองให้ดีขึ้น มันก็จะเป็นเจตนาฝ่ายกุศลหรือบาปน้อยลง อย่างน้อยความเป็นบาปก็ลดความรุนแรง แล้วในเวลาเดียวกันก็มีฝ่ายบุญมาด้วย คนฟังตอบ ครับ ก็คนปกติมันก็จะมีถ่วงกันระหว่างบุญกับบาป ที่เคยพูดไปแล้วใช่ไหม เอ้าท่านจารุจิโตมีอะไรไหม เอ้าเมื่อกี้นึก อ๋อไม่ใช่ท่าน ทำท่าจะถาม พอเห็นใช่ไหมครับ
คนฟังถาม ได้ประโยชน์มาก ๆ ได้แล้วทางดำเนินชีวิตด้วย
คนฟังถาม คือผมอยากเรียนถามอีกนิดหนึ่งครับ เพื่อเพิ่มเติมความเข้าใจ คือระหว่างคนที่ไม่รู้ ถ้าคนที่ไม่รู้เจตนาก็จะน้อย กลับกัน คนที่รู้แล้วทำบาป การที่เขาทำบาปในแต่ละครั้งครั้งนั้น การที่เขารู้ แปลว่าเขามีเจตนา ซึ่งมันก็จะเป็นผลกรรมที่แรงกว่า ผมไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่าว่าการที่เราไม่รู้ทำไปครั้งนี้มันน้อยกว่าก็จริง แต่การที่ไม่รู้อาจจะทำให้เขาทำไปตลอด ทำไปตลอดชีวิตทั้ง ๆ ที่เขาไม่รู้ตัว ซึ่งภาพรวมแล้ว ถ้าเมื่อนำมาชั่ง ชั่งเปรียบเทียบกันแล้วมันก็จะมากกว่าอย่างนั้นหรือเปล่าครับ
พระตอบ ผมยังไม่แน่ใจว่าจับคำถามของท่านถูกหรือเปล่า แต่ว่าไม่รู้น่ะต้องแยกเป็น 2 อย่าง คนฟังตอบ ครับ คือไม่รู้สิ่งที่จะทำ คือว่่าเราอาจจะทำไปโดยที่ว่าเราได้เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการฆ่าโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว ไอ้อย่างงั้นแบบหนึ่ง แต่ว่าทำสิ่งนั้นโดยรู้ตัวในสิ่งที่ทำแต่ว่าไม่รู้ว่ามันดีชั่วผิดถูกอย่างไร อันนี้อย่างหนึ่ง ถ้าหากว่าเราทำโดยไม่รู้เข้าใจว่าเป็นบาปเป็นบุญยังไง มีประโยชน์คุณโทษยังไง แต่เรารู้สิ่งที่เรากำลังจะทำใช่ไหม เราก็ตั้งเจตนาต่อสิ่งที่ทำให้นั้นเต็มที่ แต่ว่าเราไม่คำนึงไม่รับผิดชอบอะไรเลย ก็ยิ่งบาปมากใช่ไหม แต่ทีนี้ว่า ไอ้ไม่รู้อย่างก็คือว่าเราไม่รู้เรื่องเป็นแต่เพียงว่า ไอ้การเป็นอยู่หรือการกระทำของเรานี่ มันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการตายหรืออะไรนั้นขึ้นมา อันนั้นก็เป็นแบบที่ว่า เช่นว่าทำให้เขาตายโดยประมาท อย่างนั้นก็เบาลง เพราะเราไม่ได้เจตนาจะฆ่า ไอ้คำว่าไม่รู้ในที่นี้มันกำกวมใช่ไหม ต้องตีความก่อนว่าไม่รู้ในแง่ไหน ทีนี้คนที่อย่างทำอาชีพเนี่ยรู้ชัดเลย ว่าฆ่าเขาตายแน่ แต่ทีนี้ว่าไม่รู้หลักการเกี่ยวกับเรื่องบาปบุญคุณโทษ นี่ซิครับ อันนี้จะทำให้บาปได้มาก เพราะว่าทำเต็มที่ ทำโดยไม่คำนึงถึงอะไรเลยไม่รับผิดชอบอะไรทั้งนั้น ทำมันไป คราวก็ทำเต็มที่เลย ทีนี้พอว่าเรารู้เข้าใจบาปบุญคุณโทษเราก็เลยมาพิจารณา เอ้อทำไงจะให้การกระทำครั้งนี้ กรรมเนี่ยมันเกิดผลเสียน้อยที่สุด เช่นว่า เกิดการทุกข์ทรมานกับสัตว์น้อยที่สุด แล้วก็ทำเท่าที่จำเป็นไม่ใช่ว่าทำโดยทำไปส่ง ๆ ไป แล้วเสียชีวิตเท่าไรช่างมันอะไรเงี้ย แล้วไมคำนึงถึงอะไรอย่างนี้ แล้วก็คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ไอ้การรู้แบบนี้เป็นประโยชน์ช่วยได้มาก เข้าใจน่ะครับ
คนฟังถาม ครับ คือผมจะเทียบกับแง่มุมที่เป็นแบบสมมุตินะครับ อาจเป็นคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ ไปนับถือศาสนาอื่น เช่น อิสลาม ผมขอยกตัวอย่างเป็นต้นนะครับ สมมุติถ้าเขามีความคิดที่ว่าการฆ่าสัตว์เป็นเหมือนการปลดปล่อยทุกข์อะไรประมาณนี้ครับ ซึ่งมุมมองของเขาคือการฆ่านี่เป็นประโยชน์นะครับ กับชีวิตสัตว์ เสร็จปุ้บ เขาฆ่าสัตว์แบบนี้ครับ ถ้าจะว่าตอบธรรมะแล้ว เขาถือว่าบาบของเขาเป็นอย่างไรครับ
พระตอบ อันนี้เป็นบาปไปอีกขั้นหนึ่งเลย เป็นขั้นทิฏฐิ คนฟังตอบ เป็นมิจฉาทิฏฐิใช่ใหมครับ
พระตอบ ขั้นทิฏฐินี่จะเป็นปัญหาระยะยาวกว่า เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ จะมีผลเสียอีกระดับหนึ่ง เหมือนอย่างเราทำอะไรโดยที่เราหลงผิดไป เราก็กลายเป็นว่าทำความชั่วนั้นได้เต็มที่ โดยบางทีดีใจด้วย ดีใจที่ได้ทำน่ะ ในเฉพาะหน้าจะยินดี ดีใจเลย แต่ทีนี้มันกลายเป็นว่าอีกอันหนึ่งก็คือ ในระดับโลภะโทสะโมหะ นี้มันไปอยู่ที่ระดับโมหะ ระดับโมหะเป็นเรื่องทิฏฐิที่ยึดติดเลย อันนี้จะยืดเยื้อเรื้อรังมาก เหมือนอย่างเอาอย่างนี้ เช่นว่าเอาการเบียดเบียนระหว่างมนุษย์ การทำสงคราม การขัดแย้งกันทะเลาะวิวาทกันนี่ ก็มีทั้งโลภะโทสะโมหะ แล้วก็เอาเราเรียกอีกแบบใช้คำว่าตัณหามานะทิฏฐิ ตัณหาก็แย่งชิงผลประโยชน์ มานะก็แย่งชิงความยิ่งใหญ่อำนาจ แล้วก็ทิฏฐิก็คือความเชื่อถือลัทธิศาสนาอุดมการณ์อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ทีนี้เราจะเห็นว่าไอ้โลภะโทสะเนี่ยมันจะทำให้เกิดการฆ่าฟันเบียดเบียน เช่นเป็นกรณี กรณีไป แล้วก็จบ อีตาคนนี้ต้องการโลภอยากได้ทรัพย์ไปเบียดเบียนเขา แล้วก็จบ แต่ถ้าเป็นทิฏฐิแล้วมันจะยั่งยืนยืดเยื้อไปตลอด แล้วก็ไม่รู้จบ เหมือนกับโลกนี้ที่มีการเบียดเบียนกัน ทำให้โลกทุกข์ยากเดือดร้อนนะ มันมีสงครามตัณหาให้แย่งชิงผลประโยชน์ สงครามมานะแย่งอำนาจ แล้วสองอันนี้มันไปด้วยกัน แย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจนี่ บวกกันไป ที่นี้มันมีสงครามอีกอันหนึ่งก็คือสงครามทิฏฐิ สงครามที่ยึดถือหลักอุดมการณ์ลัทธิศาสนาความเชื่อทางศาสนา อันนี้จะยืดเยื้อเรื้อรังตลอดไปแล้วโลกจะสงบสุขไม่ได้เลย เวลานี้สงครามทิฏฐิน่าจะเป็นตัวร้ายที่สุดเลยน่ะ ลึกลงไปแม้แต่สงครามตัณหาและมานะ กลายเป็นมีไอ้สงครามทิฏฐิแฝงอยู่อันนี้จะทำให้โลกเป็นสุขไม่ได้ เรียกว่าทิฏฐิเกี่ยวกับเชื้อชาติ ทิฏฐิเกี่ยวกับศาสนาปักใจยึดมั่นว่าไอ้ชนชาตินี้ไม่ได้อยู่ร่วมโลกกับเราไม่ได้ก็เป็นอันว่าไม่ต้องจบแล้วใช่ไหม นี่โลกก็ไม่สามารถมีสันติสุขได้เลย นั้นสงครามทิฏฐินี้จะยืดเยื้อ
คนฟังถาม ทีนี้อยากจะเรียนถามพระเดชพระคุณหลวงต่อครับ พอทราบอย่างนี้แล้ว เราควรมีท่าทีกับศาสนาอื่นอย่างไร คือเดิมนี่ อย่างเคยอ่านเขียนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พุทธศาสนาในลักษณะศาสนาประจำชาติ คือชาวพุทธนี่เป็นประเทศที่เอื้อเฟื้อ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาไหนเข้ามาเผยแผ่ เราก็ไม่ได้ มีการกีดกั้นอะไร อย่างศาสนาคริสต์ก็เข้ามาได้ เขาก็ ศาสนาคริสต์เขาก็มีความเชื่อของเขา หน้าที่หนึ่งของชาวคริสต์ก็คือต้องเผยแผ่ศาสนาให้มากที่สุดเพราะว่าเชื่อว่าเป็นการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ให้อยู่กับพระเจ้าให้มากที่สุด แต่ทีนี้ชาวพุทธถ้าเรารู้อย่างนี้แล้วว่า เออ เช่นคริสเตียนมีความเชื่อบางอย่างว่า สัตว์ทั้งหลายพระเจ้าสร้างมาเพื่อให้เป็นอาหาร แต่วันนี้เรารู้แล้วว่า ในทางพุทธ ธรรมชาติก็เป็นบาป เราควรมีท่าทีอย่างไรว่าเราก็ควรจะเผยแพร่ศาสนาพุทธเหมือนกัน เราความที่จะทำให้เขาเชื่ออย่างเราเหมือนกันหรือเปล่า เป็นอย่างไร หมายถึงท่าทีของชาวพุทธที่ควรจะมี
พระตอบ อันนี้มันก็มีหลายแง่น่ะ แง่ที่หนึ่งก็คือว่า แม้แต่วัตถุประสงค์ในการเผยแพร่สั่งสอนก็ไม่เหมือนกัน อันนี้อาจจะถือเป็นการเปรียบเทียบไปน่ะ เราก็ต้องขออภัย เราก็พูดตามหลักการ อย่างศาสนาคริสต์นี่เขาจะบอกเลยว่า ให้ไปเอาคนทั้งหลายนี่ ในโลกนี่มาเป็นศาสนิก พูดง่าย ๆ จะใช้คำอะไรก็แล้วแต่คือให้มานับถืออย่างนี้ แล้วพร้อมกันนั้นก็เลยกลายเป็นว่าใครที่ไม่นับถือพระเจ้าเป็นพวกซาตานเป็นคนบาป แล้วก็ถือต่อไปอีก เมื่อเป็นคนของซาตานก็ต้องกำจัดนี่ มันก็เลยหลายขั้นใช่ไหม 1 ก็คือต้องไปเอาคนมานับถือพระเจ้า 2 เมื่อไม่นับถือก็เป็นบาป เมื่อเป็นคนบาป 3 ก็ต้องกำจัด นี่ตอนนี้ที่มันยุ่ง จนกระทั้งต้องตั้งศาลศาสนาขึ้นมา ใครไม่นับถือก็ขึนศาลเผาทั้งเป็นทำนองนี้ ทีนี้พุทธศาสนานี่ไม่บอกว่าให้คนมานับถือไม่มี จงไปสั่งสอนให้ความรู้นั่นเอง ให้เขาเพื่อประโยชน์สุขแก่เขา เราไปนี่คือเราก็เห็นแก่เขาอยากให้เขามีความสุข ได้มีความรู้ปัญญาก็สอนไป คุณมีความสุขก็แล้วกัน ใช่ไหม แต่การที่จะมีความสุขดีก็ต้องมีความรู้เข้าใจถูกต้องว่าไปด้วยกัน เราก็ให้ปัญญา เพราะฉะนั้นในแง่ของพุทธศาสนา ถ้าเอาสรุปแค่ขั้นนี้ เราก็ทำหน้าที่ของมนุษย์ที่ควรจะทำ ก็คือมนุษย์นี่ควรจะศึกษา ควรจะให้ความรู้ เราก็พูดไปสิ เท่าที่เรารู้มาความจริงมันเป็นอย่างนี้ คุณพิจารณาเอาสิคุณมีปัญญานี่ลองใช้เหตุผลพิจารณา เอ้าจริงไหม เราก็ว่าไปตามธรรมชาติพุทธศาสนานี้ไม่ได้บอกว่า มันจริงเพราะพระพุทธเจ้าสอน แต่ว่ามันจริงเพราะพระพุทธเจ้าสอนความจริง มันอย่างนั้นเพราะฉะนั้นเราก็ว่าไปตามที่เราได้ฟังพระพุทธเจ้า แล้วเราเห็นด้วย ว่าเอ้อที่พระพุทธเจ้าสอนเนี่ยว่าจริง เราไม่ได้เชื่อว่าจริง ไม่ได้เป็นเพราะพระพุทธเจ้าสอน แต่ว่าเราได้เห็นว่าพระพุทธเจ้าสอนนี้จริง เราก็เอาไปพูดต่อ เอ้อคุณมีสิทธิ์พิจารณานี่ ฉันก็พูดให้ฟังว่ามันจริงไหม นี่สำคัญว่าโลกมันจะเปิดไหม ทีนี้สำคัญว่าโลกบัดนี้น่ะ มันถึงขนาดที่ว่า อย่าไปฟังมัน ไม่ให้ฟังเสียอีกด้วย แล้วอย่างสมัยพระเจ้าอโศก ท่านเขียนศิลาจารึกชัดเลยน่ะ บอกว่าให้สามัคคีกันระหว่างศาสนิกทุกศาสนา ให้ฟังธรรมของกันและกัน ก็มนุษย์ มันก็ต้องอย่างนี้ใช่ไหมก็ฟังกันสิ เขาพูดอะไรมาเราก็รับฟัง นี่ ในประเทศใกล้ ๆ มีกฎหมายขนาดที่ว่าจะไปพิมพ์หนังสือพุทธศาสนา ต้องพิมพ์ปกติดไว้ ห้ามแจกแก่คนศาสนานันของชาติเขา แจกถูกจับเลยนะ นี่ ๆ เอากันขนาดนี้ แล้วของพุทธเรามีที่ไหน ใครจะแจกก็แจกไป ใช่ไหม แม้กระทั่ง ไม่ใช่แจกธรรม แจกเงินเลย แจกเงินเลยเนี่ย ตอนนั้นเอา เล่าแทรกนิดหนึ่ง ตอนที่ผมอยู่ในกรุงเทพฯ วันหนึ่งก็มีคนยิวมา คนยิวคนหนึ่ง เขาบอก เขาตามภรรยามาทำงานวิจัยเพื่อปริญญาก็ไปทำที่โรงพยาบาลหนึ่งในเชียงใหม่ โรงพยาบาลนี้เป็นของทางศาสนา เขาก็เห็นว่าทางบาทหลวงหรืออะไรเนี่ย หรือศาสนาจารย์ทางศาสนา ท่านก็ใช้วิธีเนี่ย เห็นชัด ๆ ว่าใช้อามิตล่อชาวบ้านให้มานับถือศาสนา ท่านรู้สึกว่าไหมมันใช้ไม่ได้เลย บอกว่าในประเทศของท่านตอนนั้น ท่านพูดทำนองว่าถ้าทำอย่างนี้ต้องเนรเทศ บอกว่าถ้าสอนศาสนาก็สอนไปสิอย่ามาใช้อามิตล่อไม่ได้ บอกว่าประเทศไทยปล่อยได้ยังไง นี่เขาทนไม่ได้ขนาดมาหาพระมาพูดแสดงความรู้สึกไม่พอใจอย่างยิ่ง ประเทศไทยนี่เสรีขนาดหนัก เสรีที่สุดในโลกก็ว่าได้ ใครจะล่อจะใช้เงินอะไร ใครจะเอาอะไรก็เอาไปเนี่ย เอาเป็นว่าพระพุทธศาสนาพูดเป็นกลาง ๆ ว่าท่านจงไปประกาศ หลักความจริงให้ประชาชนเพื่อประโยชน์สุขแก่เขา จบ เขาจะนับถือไม่นับถือฉันไม่ได้มาสอนให้คุณมานับถือ พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้นะ เราไม่ได้สอนเพื่อให้นับถือเรา ตัวคุณเองได้รับประโยชน์ไหม แล้วก็เข้าใจไหมแล้วก็เอาไปใช้ประโยชน์กัน นี่จุดอยู่ที่นี่ นั้นมันจึงไม่มีเรื่องที่ว่าจะเกิดการเบียดเบียน พระพุทธศาสนาก็เป็นไปไม่ได้ แต่ที่นี่ว่าในศาสนาที่เป็นปัญหากันก็เพราะแต่ละฝ่ายก็ถือหรืออย่างนั้น ถ้าไม่นับถือพระเจ้านี้ก็เป็นคนบาป ศาสนานี้ก็มีพระเจ้าของตัว ไม่นับถือพระเจ้าของเราอันนี้ ก็เป็นบาป ฝ่ายศาสนานั้นก็บอกว่าไม่นับถือพระเจ้าของฉันแกบาป แล้วใครบาปก็ต้องสู้กัน มันก็เลยอย่างนี้ ก็เหมือนอย่างนี้พวกที่ไปเป็นหมอผีพ่อมด เอ้าเขาก็ตัดสินใจ ไอ้ตัดสินด้วยหลักการนะ บอกว่าไปนับถือหมอผีพ่อมดเนี่ย ก็นับถือเทวดาเทพเจ้าอื่นจากพระผู้เป็นเจ้า เทวดาอื่นนั้นก็ต้องเป็นพวกซาตาน อันนั้นพวกนี้ก็เป็นพวกลูกน้องซาตาน เมื่อเป็นลูกน้องซาตานก็ต้องฆ่า เพราะซาตานเป็นตัวร้ายของบาปที่สุดเลย หัวหน้าบาป แล้วเราจะไปพูดทั่วไปเขาก็โกรธเราอีก แต่ว่าจะทำยังไง นี่มันยุคประชาธิปไตย ก็เปิดโอกาสแล้วมันน่าจะ ก็บอกว่าให้แสดงความคิดเห็นได้เสรีในทางปัญญา คือถ้าไม่มีเจตนาร้าย ไม่ได้พูดว่าด่า ใช้คำหยาบพูดกันด้วยปัญญานี้ต้องให้เสรีภาพ แต่เวลานี้มนุษย์กำลังจะถูกปิดกั้นแม้แต่เสรีภาพในยุคประชาธิปไตยเนี่ย บอกว่าพอพูดไปแล้วเดี๋ยวจะถือว่ากระทบ ที่จริงไม่ได้กระทบหรอก ถือว่ากระทบศาสนาอื่น ก็บอกว่าไม่ให้พูด เอ้า นี่เสรีภาพอะไรกัน ยุคประชาธิปไตย นี่เดี๋ยวนี้มันเป็นอย่างนี้ ไอ้คำว่าสิทธิเสรีภาพขนาดนี้มีความหมายที่มันยังไงไม่รู้ ต้องมาวิเคราะห์กัน วิจัยกันอีก
คนฟังถาม อาจารย์ครับ ผลประโยชน์ของเขา
พระตอบ ครับ มันคล้าย ๆ อย่างนั้น แล้วก็คล้าย ๆ ระวังกันนะ มันก็เลยกลายเป็นว่าไม่ให้โอกาสมนุษย์ในการพัฒนาตัวเอง เมื่อมนุษย์มีอยู่ มีชีวิตก็ควรจะมีโอกาสพัฒนาชีวิตของตัวเอง โดยเฉพาะพัฒนาปัญญาใช่ไหม เขาก็น่าจะมีโอกาสเรียนรู้รับฟังข่าวสารข้อมูลหลักธรรมคำสั่งสอนอะไรเราไม่ได้ปิดกั้นซิ จะปิดมาไปทำไมล่ะ ก็ต้องพูดให้กันเต็มที่ พอถึงเวลาจะพูด พูดกันทางปัญญาก็ขอให้ได้พูดกันเต็มที่ อย่าถือกัน แม้แต่ทางศาสนาต่าง ๆ มนุษย์เมื่อไหร่จะพัฒนาได้ถึงขั้นนี้ แสดงว่ามนุษย์เดี๋ยวนี้ไม่ได้พัฒนาจริง เพราะแค่นี้มันก็ปิดกั้นกันแล้ว พูดกันไม่ได้ เออ จะว่าอย่างไร จะพัฒนาโลกไปได้ยังไง นี่แหละมันติดตันกันไปหมด อย่างในอเมริกาเองเนี่ย เมื่อซักช่วง 10 ปีที่แล้ว นี้ก็เกิดปัญหามากเรื่องเสรีภาพ เสรีภาพในการพูดนี่แหละ มันยุ่งมันตีความจะเอายังไงกันมันเกิดปัญหา เช่นระหว่างผิวขาวผิวดำ พอเกิดพูดไปแล้วไปกระทบผิวกันเอาอีกแล้ว เกิดเรื่องอีก มันกลายเป็นว่า เอาใช้เสรีภาพแต่กลายเป็นปัญหาเหยียดผิว อย่างนี้เป็นต้น และจะเอาทางไหน จะเอาข้างไหน จะเอาเรื่องเสรีภาพหรือจะเอาเรื่องการแบ่งแยกผิว การแบ่งแยกก็ผิด แต่การไม่มีเสรีภาพก็ผิด ก็เลยทำให้ประเทศอเมริกานี้ เกิดปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออกเยอะเลย นี่ลองศึกษาปัญหาของประเทศอเมริกา เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นปัญหาอย่างนี้อยู่ คนฟังพูด ยุโรปหนักด้วย ครับยังเป็นอยู่ แล้วจะทำยังไงเนี่ย โลกมันติดตันนะ จะว่าเราเข้าข้างเรา ผมก็ว่าไม่ใช่ เราก็บอกลองใช้หลักพุทธศาสนาไม่มีปัญหาเลย จริงไหม คุณจะพูดอะไรก็พูดไปสิ อย่างเรื่องพุทธศาสนา พระพุทธรูปบ้างอะไรก็โดน โดนข่มเหง โดนอะไรต่ออะไร พุทธได้แต่ออกมาว่ากันหน่อย ก็จบ ไม่มีการไปทำร้ายกันใช่ไหม แต่ศาสนาอื่นได้ไหม เอาตายเลย สั่งประหารชีวิตทั่วโลก อะไรอย่างนี้ ที่นี้คนก็ไปกลายเป็นว่า เวลานี้จะกลายเป็นว่าประชาธิปไตยพัฒนาแต่คนพูดกันไม่ได้ แล้วมันจะเป็นประชาธิปไตยจริงไปได้ยังไง ขอให้ช่วยกันคิดนะ ปัญหานี้เป็นปัญหาระดับโลกเลย แล้วโลกกำลังจะติดตันเรื่องนี้มากขึ้นทุกที
คนฟังถาม อย่างนี้ผมขอสรุปอีกนิดนึงว่า เพราะฉะนั้นอย่างนี้ ถ้าเราจะสรุปออกมาว่า ถ้าเหตุการณ์จำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องทำบาปนี่อ่ะ เรามีหลักปฏิบัติเป็นอย่างนี้ได้ไหมครับ ข้อหนึ่งก็คือ ดีที่สุดคือพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ทำบาป ข้อ 2 ถ้าจำเป็นต้องทำเนี่ย ก็เลือกที่จะทำบาปเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ใหญ่กว่า แล้วก็พยายามทำให้บาปนี่น้อยที่สุด โดยทำแบบมีความรู้เท่าทันมีปัญญา มีเจตนาที่ดีและน้อมจิตไปถึงประโยชน์ที่ใหญ่กว่าที่จะเกิดนั้น พระตอบ รู้ตระหนัก
คนฟัง ครับ พระตอบ รู้ตระหนัก รู้ตระหนักในประโยชน์ใหญ่
คนฟังถาม ข้อที่ 3 ก็คือ เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้วเช่น กิจการรุ่งเรืองแล้วมีเงินมีฐานะเพียงพอแล้ว เราก็พยายามลดละเลิกการทำบาปนั้น ไม่ใช่ยังรวยแล้วก็ยังทำต่อไป แล้วก็ข้อที่ 4 ก็คือ ถ้าเกิดสมมุติเห็นคนอื่นที่ทำบาป หรือมีมิจฉาทิฏฐินี่ เราก็ต้องพยายามใช้ปัญญาในการที่จะเผยแพร่ความรู้ให้เขาได้รู้ที่ถูกที่ควรสัมมาทิฏฐิเป็นอย่างไร เป็น 4 ข้อ ถ้าเกิดประพฤติกับคนทำบาปอย่างนี้ได้ไหมครับ
พระตอบ ก็ดี แต่ว่าไอ้คนที่ว่ารอให้ถึงรวยแล้ว อันนี้อาจจะไม่ต้องรอ หมายความว่าระหว่างนี้ก็พยายามหาทางฝึกฝนพัฒนาตัวเอง
คนฟังถาม ถ้าถึงขนาดที่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้แล้ว พระตอบ หมายความระหว่างนี้ก็พยายามไปเรื่อย ๆ
คนฟังถาม ขยับขยายไปทำอย่างอื่นได้ ก็พยายามที่จะขยาย
พระตอบ พยายามไปเรื่อย ๆ เราจะห่างเหินจากการเบียดเบียนได้อย่างไร
คนฟังถาม วันนี้ก็ได้ประโยชน์มาก ๆ ในการดำเนินชีวิตต่อไป เพราะว่าต่อไปเป็นฆราวาสแล้ว เราจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง
พระตอบ ฆราวาสนี้ต้องเห็นใจ ว่ามันมีเรื่องที่จะต้องเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต เรื่องอาชีพการงานเป็นต้นเยอะ แต่ว่าให้ได้หลักไว้
คนฟังถาม กราบขอบพระเดชพระคุณอาจารจ์ครับ ที่แนะนำสิ่งดี ๆ ให้ทุกอย่างเลยครับ
พระตอบ อนุโมทนา ก็ไว้ค่อยถามกันต่อไป คนฟังพูด กราบพระอาจารย์ครับ