แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
อยากจะพูดเพิ่มเติมนิดหน่อยเกี่ยวกับเรื่องพูดคราวที่แล้ว คือได้พูดถึงแนวความคิดของพุทธศาสนาเกี่ยวกับเรื่องมนุษย์ ที่ท่านมองว่าเป็นสัตว์ที่ต้องฝึก แล้วก็ฝึกได้หรือพัฒนาได้ ศึกษาได้ ทีนี้เมื่อพัฒนาไปให้ได้ผลดีที่สุดเนี่ยมันก็ไปโยงแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ โดยเฉพาะในเหตุเชิงปัจจัย แล้วอันนี้มันเป็นทำให้การมองมนุษย์เนี่ยมันเชื่อมโยงไปหาระบบที่กว้างหมดทั้งจักรวาลเลยใช่ไหม เพราะระบบของสิ่งทั้งหลายบางที่ใช้คำว่าสรรพสิ่ง มันก็เป็นเรื่องของระบบความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย ฉะนั้นก็พอมาโยงที่มนุษย์ มนุษย์ก็อยู่ในระบบความสัมพันธ์นั้นด้วย พอเรามองมนุษย์ก็ต้องเอาระบบนี้มามอง มันก็เลยถึงหมดเลย นั้นก็แง่หนึ่ง ก็บอกว่าเราก็มองว่าการพัฒนามนุษย์ไปขั้นเป็นตอน เป็นขั้นเป็นตอนแล้วก็ระบบปัจจัยที่มันมาสัมพันธ์กัน มันก็มาเกื้อหนุนกันในเรื่องของการแบ่งหรือการก้าวเป็นขั้นตอนต่าง ๆ เพราะว่าการก้าวไปในขั้นตอนจะเป็นปัจจัยแก่กันและกันให้ก้าวหน้าออกไป หนุนซึ่งใจกันและกัน แล้วทีนี้ก็มีอันที่ย่อยลงไปอีกก็คือได้พูดถึงหลักการแก้ไขปรับปรุง เมื่อเรามีขั้นมีตอนในการพัฒนาก้าวไปเนี่ย ก็หมายความว่าเราจะทำให้ดีขึ้นที่เราเรียกว่าพัฒนา การทำให้ดีขึ้นคือการแก้ไขปรับปรุง เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาก็จะเน้นเรื่องนี้ แล้วผมก็ได้ยกศัพท์มาอันหนึ่งก็คือคำว่าปฏิกรรม ซึ่งศัพท์เนี่ยเราไม่ค่อยได้สนใจกันอาจจะมองข้ามไปก็ได้
ท่านเคยได้ยินคำว่าแก้กรรมไหมล่ะ เคยใช่ไหม เมื่อสัก 10 ปีได้แล้วก็มีพระองค์หนึ่งนี่เที่ยวชวนญาติโยมแก้กรรมกัน แล้วก็การแก้กรรมนั้นก็เป็นเรื่องของพิธีกรรมเอาดอกไม้ธูปเทียนมาเข้าพิธี มันเป็นเรื่องของฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์เรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ความลึกลับไปหมด ซึ่งมันกลายเป็นว่าชักจูงประชาชนให้เขวออกไป นี่เรามาดูอาการแก้กรรมที่ถูกคืออะไร การแก้กรรมที่ถูก ก็คือแก้กรรมด้วยความสามารถของเราเองไม่ใช่ใช้อำนาจดลบันดาลภายนอกมาแก้อย่างที่ว่าทำแบบพิธีแบบนั้นก็คือ ไปอาศัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาช่วยแก้หรือว่าอะไรสิ่งที่มองไม่เห็นลึกลับอะไรอย่างนั้น นี้แก้กรรมก็คือเรามีความสามารถในด้านต่าง ๆ แก้ภายนอก ก็แก้ทางด้านพฤติกรรมเป็นเรื่องศีล แก้ทางลึกเข้าไปก็แก้ทางจิตใจ แก้ด้วยวิธีการที่ชะงัดที่สุดได้ผลที่สุดแก้ด้วยปัญญา แก้กรรมก็แก้ที่ตัวเองนั่นแหละตัวเองก็เป็นผู้ที่แก้กรรม ที่ผมพูดให้เห็นว่าคำว่าปฏฺิกรรม มันมีภาษิตหนึ่ง ภาษิตอันนี้อยู่ในหนังสือนักธรรมตรี พุทธศาสนสุภาษิต ที่ว่า กะตะสัทนัทธีปฏิการะ สิ่งที่ทำแล้วทำคืนไม่ได้ ซึ่งเป็นภาษิตที่สมเด็จพระสังฆราชพระองค์หนึ่งตรัสไว้ ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า แต่ก็เป็นความจริงอยู่อย่างนั้นแน่นอนอยู่แล้ว คือสิ่งที่ทำไปแล้วมันก็เป็นอันทำไปแล้วใช่ไหม ทำคืนหมายความให้กลายเป็นไม่ได้ทำ สิ่งที่ทำแล้วจะให้กลายเป็นไม่ได้ทำนี่ มันทำไม่ได้หรอก มันก็เป็นว่าได้ทำไปแล้ว อันนั้นก็เป็นความจริง ภาษิตของท่านก็คงไม่มีใครเถียง แต่ทีนี้ว่า คำว่าปฏิกาลังตัวนี้ ก็ตัวเดียวกับปฏิกัมมะ คืออันนี้เป็นเรื่องของไวยากรณ์ ไวยากรณ์กัมมะการกระทำ เติมปฏิเข้าไปข้างหน้า ก็แปลว่าย้อนกลับหรือแก้ หรือทำใหม่ ทีนี้ไอ้กัมมะนี่ มันเป็นรูปศัพท์ที่มันเป็นนาม ถ้าเป็นกริยาเนี่ยมันจะเป็นปฏิกาละ แล้วก็มันจะเปลี่ยนรูปไปได้ต่าง ๆ วิธีของภาษาบาลี ปฏิกาละ เช่นว่า ถ้าเป็นบุรุษที่ 1 ก็คือฉัน ข้าพเจ้าทำมันก็ออกรูปหนึ่ง เช่น ปฏิกาโลมิ ข้าพเจ้าปฏิกรรม ข้าพเจ้าทำแก้ ทีนี้ปฏิกะโลมิ นี้ก็เป็นปัจจุบันกาล ถ้าเป็นอนาคตกาลจะเปลี่ยนรูปไปอีก ที่ผมยกตัวอย่างให้ดู ท่านจะได้เห็นแนวของไวยากรณ์ของภาษาบาลี ปฏิกะโลมิ เป็นปัจจุบันกาลสำหรับข้าพเจ้าบุรุษที่ 1 ถ้าเป็นอนาคตกาล มันเป็นปฏิกะลิสามิ นี่ไปอีกรูปแล้วใช่ไหม แล้วถ้าเกิดมันเป็นข้าพเจ้าสองคนมันเป็นพหูพจน์ พหูจนะ ปฏิกะโลมิ ก็เป็นปฏิกะโลมะไปแล้ว ไม่เป็นปฏิกาะโลมิ แล้วอนาคตกลาปฏิกะลาสามิ กลายปฏิกาลิสามา อย่างนี้เป็นต้น นี่เป็นยกตัวอย่างเท่านั้นนะ เยอะไปหมด แต่ถ้าเป็นอดีตกาลก็เปลี่ยนรูปไปอีก แล้วก็ทีนี้ถ้าเป็นบุรุษที่ 2 มันเปลี่ยนอีก ไอ้ปฏิกะละเนี่ยมันก็เป็นรูปปฏิกะโลสิ เมื่อกี้เป็นบุรุษที่ 1 ข้าพเจ้าเป็นปฏิกะโลมิ ทีนี้เป็นบุรุษที่ 2 ท่านหรือเธอ เธอเป็นปฏิกะโลสิ ปัจจุบันกาล ทีนี้ถ้าเป็นอนาคตกาล มันกลายปฏิกะลิสะสิ อ้าวไปโน่นอีกแล้ว แล้วถ้าเป็นพหูพจน์อีกล่ะ ก็เปลี่ยนอีก แล้วถ้าเป็นอดีตกาลก็เปลี่ยนอีก เพราะฉะนั้นพวกเรียนบาลีจึงต้องท่องเยอะใช่ไหม แค่นี้ท่านจะเห็นแล้ว ถ้าเป็นบุรุษที่ 3 ล่ะ บุรุษที่ 3 เอ้าก็บุรุษที่ 1 เช่นปัจจุบันกาลนี่ ปฎิกะโลมิ พอเป็นบุรุษที่ 2 เป็นปฏิกะโลสิ พอเป็นบุรุษที่ 3 เป็นปฏิกะโลติ แล้วถ้าเป็นพหูพจน์เป็นปฏิกะโลติ ถ้าเป็นอนาคตกาลก็เป็นปฏิกะลิสะติ พหูพจน์ปฏิกะลิสะติเป็นต้น นี่ผมเพียงยกตัวอย่างให้เห็นว่าเนี้ยก็ที่จริงก็คืออันเดียวกับปฏิกรรม จะเป็นรูปของกิริยา แล้วก็แจกรูปไปตามเรื่องของบุรุษการทดเป็นต้น เยอะแยะหมดเลย
ทีนี้นอกจากนั้นเลยเป็นรูปนาม รูปนามต่าง ๆ รูปนามก็มีหลายรูป ปฏิกรรมมะ บางทีเป็นปฏิกะลานะ ปฏิกาลานะเช่นมาเป็นภาษาไทยเป็นปฏิกรณ์ตัวเดียวกับปฏิกรรม แล้วก็ปฏิกาละก็ได้ ปฏิกาละก็เช่นการตอบแทนบุญคุณปฏิกาละต่อท่านผู้มีพระคุณ กระทำนี่แหละกระทำตอบแทน เหมือนกับทำแก้เหมือนกัน เป็นความหมายอีกแบบหนึ่ง ฉะนั้นมันแจกรูปได้หลายอย่าง แต่ว่าเอารูปที่เป็นหลักเราก็ใช้ปฏิกรรม เอานะให้เห็นว่ารูปปฏิกรรมมันไปหลายรูป ทีนี้ปฏิกรรมที่ว่าเนี่ย เป็นอันว่าที่เมื่อกี้ที่ว่าเราพูดถึงว่าใช้ในความหมายหนึ่งที่สมเด็จพระสังฆราช พระองค์นั้นตรัสไว้เนี่ยก็เป็นภาษิตก็เป็นอันว่า สิ่งที่ทำแล้วทำคืนไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่ทำไปแล้วจะให้กลายเป็นไม่ได้ทำ นี้ไม่ได้ แต่ทีนี้เรื่องมันไม่จบแค่นั้น ปฏิกรรมที่ท่านเน้นในพระไตรปิฎกนั้น ท่านไม่ได้อยู่ที่จุดนั้น เพราะจุดนั้นเป็นความจริงไม่ต้องไปยุ่งกับมันแล้ว แต่ว่าให้ตระหนักรู้ไว้ ที่นี้ที่ท่านต้องการก็คือเอาสิ่งที่ทำได้ พระพุทธศาสนาเน้นในสิ่งที่ทำได้ ไอ้ปฏิกาลังที่ว่า สิ่งที่ทำแล้วทำคืนไม่ได้ ให้กลายเป็นไม่ได้ทำ อันนั้นมันเป็นอันว่ามันแก้ไขไม่ได้แล้ว ก็ไม่ต้องไปยุ่งกับมันให้รู้ไว้ จะได้ไม่ประมาท
ที่นี้ว่าตอนที่ว่าจะทำได้ก็คือปฏิกรรมในความหมายแบบที่พุทธเจ้าตรัสในพระไตรปิฏก ที่เราเห็นง่ายที่สุดก็คือเรื่องปลงอาบัติ ปลงอาบัติเนี่ยเวลาเราปลงอาบัติไม่มีคำนี้ก็จริง แต่เวลาเรียกรวมในตำรานี่ท่านจะเรียกรวม ๆ เป็นปฏิกรรมหรือปฏิกาลานะอะไรพวกนี้ ก็คือการที่เรามาแก้ไข มาปลงอาบัติทำให้พ้นจากความผิด นี่ท่านใช้คำว่าปฏิกรรมต่ออาบัติ หรืออาบัติกาละนะ การแก้อาบัติ ท่านแปลแบบความหมายหนึ่ง แต่ที่จริงมันไม่ใช่แก้ เพราะมันเป็นเรื่องของการตกลงกันทางสังคม ก็เมื่อเราทำความผิดอันนี้ไปแล้ว ก็มีวิธีการที่จะให้พ้นความผิด พ้นความผิดก็คือว่าบัญญัติไว้ในทางวินัย วินัยเป็นเรื่องสมมติ เคยฟังแล้วใช่ไหมครับ ก็แล้วแต่ตกลงพระพุทธเจ้าก็วางแบบแผนไว้ ก็เป็นอันว่า เอ้าเธอทำความผิดแล้วก็มายอมรับความผิดกับฉันซะ วิธีแก้ไขวิธีปฏิกรรม วิธีปฏิกรรมก็คือมายอมรับความจริง อย่างเป็นอาบัติเบา ๆ ก็มาบอกแจ้งแก่เพื่อนสหธรรมิกรูปใดรูปหนึ่งก็ได้เป็นการบอกส่วนตัวเลย ถ้าเป็นอาบัติหนักก็จะมีวิธีต่างหาก ขั้นต้นก็คือบอกความจริงยอมรับความจริง ยอมรับความจริงแล้วก็บอกว่าละเลิกไม่ทำอีก แล้วก็เปลี่ยนเป็นทำสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นปฏิกรรมก็เป็นการแก้ไขตัวอย่างหนึ่ง นี่เพราะฉะนั้นการปฏิบัติต่อาบัติก็คือเป็นเรื่องปฏิกรรมทั้งนั้น สาระสำคัญก็อย่างที่ว่าก็คือเพื่อจะให้เรานี่ละเลิกการกระทำที่ผิดที่เสียหายแล้วจะได้หันไปทำสิ่งที่ถูกต้องแต่มันต้องเริ่มด้วยการยอมรับความจริง ซึ่งไอ้การยอมรับความจริงอะไรต่ออะไรเป็นพื้นฐานในการที่จะพัฒนาบุคคลในการที่จะแก้ไขปรับตัวต่อไป เอาล่ะครับนี่เรื่องอาบัตินะ ปฏิกรรมแก้ไข ขั้นตอนนี้ปฏิกรรม
ที่นี้ที่เราจะได้ยินอีกหนึ่ง ท่านบวชจำพรรษาเนี่ย มาบวชจำพรรษาแล้วออกพรรษาปั้บจะมีสังฆกรรมอันหนึ่ง วันออกพรรษานั้นแทนที่จะเรียกวันออกพรรษาของพระ นี้เรียกชื่ออย่างหนึ่งใครทราบบ้าง พระนี่ไม่ได้เรียกออกพรรษา ท่านเรียกว่าวันปวารณา หรือวันมหาปวารณาเลย ทำไมจึงเรียกวันปวารณา เพราะว่าวันนั้นน่ะวันออกพรรษาเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ตามปกติเราจะลงปาฏิโมกข์ เขาเรียกว่าทำอุโบสถ นี้วันอุโบสถสุดท้ายของพรรษา พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตพิเศษว่าแทนที่จะฟังปาฏิโมกข์ สวดปาฏิโมกข์ หรือเรียกทำอุโบสถนี่ พระพุทธเจ้าก็ให้เปลี่ยนเป็นปวารณา สังฆกรรมก็เปลี่ยนปวารณา ปวารณคืออะไร คือพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษามาด้วยกันนี่ ก็จะมากล่าวปวารณาเปิดโอกาสแก่กัน ปวารณาคือเปิดโอกาสแก่กัน บอกว่า ข้อความ เอ้าผมว่าเป็นภาษาบาลีก็เพราะพวกเราก็เป็นพระด้วยกัน ญาติโยมอาจจะยากหน่อย ท่านถึงแม้จะไม่คุ้นก็ฟังไว้ เพราะต่อไปพอจำพรรษาเสร็จออกพรรษาก็ต้องใช้แล้ว เดี๋ยวต้องท่องแหละ พวกที่จำพรรษา สังฆัมภันเตปะวาเรมิ ทิฏเฐนะวาสุเต นะวาปริสังคายะวา วะทันตุมัง อายัตสะมันโตอนุกัมปัง ปฏิกาลิสามิ นี่เห็นไหมได้ยินแล้ว ปฏิกาลิสามิมาแล้ว เอาละครับผมแปลให้ฟังมันยาวภาษาบาลีทั้งนั้น สังฆัมภันเตปะวาเรมิ กระผมหรือข้าพเจ้าขอปวาวณากับสงฆ์ ปวารณาก็คือเปิดโอกาส เปิดโอกาสกับสงฆ์ หรือเชื้อเชิญก็ยังได้ แต่ว่าเอาแค่เปิดโอกาส ปวารณากับสงฆ์ ทิฏเฐนะวาสุเต นะวาปริสังคายะวา จะด้วยเห็นก็ตาม ด้วยได้ยินก็ตาม ได้ฟังมาก็ตาม หรือด้วยมีเหตุให้สงสัยก็ตาม จงบอกกล่าวข้าพเจ้า วะทันตุมัง จงบอกกล่าวข้าพเจ้า หมายความถ้าเห็นข้าพเจ้าทำอะไรไม่ถูกต้องไม่สมควรหรือได้ยินได้ฟังว่าเป็นอย่างงั้น หรือแม้แต่สงสัยน่าแคลงใจจงบอกกล่าว ปะสังโตกะริสามิ เมื่อข้าพเจ้ามองเห็นจากที่ได้แก้ไข จากได้ทำปฏิกรรม ว่าอย่างงั้น นี่คือปฏิกรรม ก็นี่ก็หมายความว่านี่เป็นชีวิตของหมู่คณะ แล้วก็โยงมาหาการพัฒนาตัว ก็การอยู่ร่วมกันในหมู่สงฆ์นี่ เราก็อาศัยเพื่อนศาสนิกนี้มาเป็นกัลยาณมิตรในชีวิตอยู่ร่วมกัน ก็มาเอื้อต่อกันในการพัฒนาตัวของเรา ว่าเราอาจจะทำอะไรที่ผิดพลาดไป เราก็ต้องการจะพัฒนาชีวิตของเราทำให้ดีขึ้นปรับปรุงตัวเอง เพราะฉะนั้นเราอยู่กันมา 3 เดือนนี้มีอะไรที่บางทีเรามองตัวเองไม่ออกหรือไม่เห็นหรืออะไรก็แล้วแต่ เอ้าท่านได้เห็นได้สงสัยก็บอกกันนะ แล้วผมก็จะได้แก้ไขปรับปรุงตัว ทีนี้อีกอย่างหนึ่งก็จะได้เป็นวิธีการในการอยู่ร่วมกันเพื่อให้สบายใจ เพราะว่าองค์อื่นก็จะได้โล่งใจว่าได้บอกได้กล่าว พระองค์นั้นทำอะไรไม่ถูกเราก็อึดอัดใจใช่ไหม ถ้ามีโอกาสที่จะพูดจะบอกกล่าวกันก็โล่งใจก็เป็นชีวิตที่ดีในการอยู่ร่วมกันสร้างบรรยากาศแห่งความสามัคคีแล้วก็ปลอดโปร่งโล่งเบาใจต่อกัน แล้วก็เป็นชีวิตของการอยู่ร่วมกันที่เปิดเผยตัวต่อกัน มันก็เป็นชีวิตที่โปร่งโล่งสบายชีวิต นี่ชีวิตของสงฆ์เนี่ยมันเป็นเรื่องของการพัฒนาตัวเองของแต่ละคน แล้วก็เรื่องของการที่ให้บรรยากาศของส่วนรวมของชุมชนนั้นมันเอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของทุกคนไปด้วยพร้อมกัน นี้ก็การปวราณานี้ก็เห็นไหม
ย้อนเสริมเข้าไปอีก ปฏิกรรมเรื่องอาบัติก็เป็นเรื่องการปรับปรุงตัวอยู่แล้วเป็นพื้นฐานอยู่แล้วใช่ไหม ปวารณาอันนี้มาเสริมเข้าไปอีก เอ้าละครับนี่ จะเห็นว่า ปฏิกรรมนี่สำคัญอย่างไร แล้วในชีวิตของธรรมวินัย ท่านเน้นเหลือเกิน แต่ว่าเราไม่ได้สังเกตแล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของไตรสิกขา คือช่วยในการศึกษาพัฒนาชีวิต เอ้าผมของขอยกตัวอย่างอีกอันหนึ่ง ที่นี้มีอีกอันนึงเป็นหลักปฏิบัติที่ว่าเมื่อมีการทำผิดไปแล้ว คนเราสำนึกผิดมองเห็นความผิดแล้วก็มาขอโทษต่อกันหรือมาบอกต่อผู้ที่สมควรที่จะรับรู้แล้วก็มีการให้อภัยต่อกัน โดยที่ว่าผู้ที่ทำความผิดนั้นมองเห็นโทษของตนแล้วก็จะแก้ไขละเลิกแล้วก็ปรับปรุงตัวใหม่ อันนี้จะมีเรื่องเยอะในพระไตรปิฎก ซึ่งบางทีเราไม่ได้พูดกัน ก็เป็นหลักปฏิกรรมอันหนึ่ง คือผมยกตัวอย่างเลยดีกว่าเป็นการทำความผิดกันต่อบุคคลบ้าง หรือว่าทำความผิดทั่วไปอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ทำไปแล้วก็ถ้าเห็นความผิดของตัวก็มาบอกกล่าว เช่น บางทีมีพระบางองค์นี่ทำความผิด แม้ต่อพระพุทธเจ้า ในกรณีนี้ไม่ต้องพูดถึงพระเทวทัต เอาตัวอย่างมีกรณีอื่นอีกอย่างหนึ่งในพระไตรปิฏก ผมเล่าให้ฟังซักเรื่องหนึ่ง เรื่องนี้ก็มีว่าครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปถึงเขาเรียกว่านิคม นิคมนี่ก็อาจจะเทียบกับอำเภอ สมัยนั้นเรียกนิคม นิคมชื่อว่าปังคุทา ในแคว้นโกศล ที่นั่นก็มีวัดหนึ่งแล้วก็ที่วัดนั้นก็มีพระภิกษุองค์หนึ่งชื่อกัสสปโคตรเป็นเจ้าอาวาส นี้พระพุทธเจ้าเสด็จไปก็ไปถึงที่นั่น เมื่อเสด็จไปถึงนั้นแล้วก็พระท่านก็ต้อนรับพระองค์ตามปกติและทีนี้พระองค์ไปถึงไหนพระองค์ก็แสดงธรรม พระท่านอยู่กัน พระองค์ก็แสดงธรรมเรื่องเกี่ยวกับเรื่องการฝึกตนและสิกขาบท เรื่องการปฏิบัติตามพระวินัย นี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนพระซึ่งท่านก็ไม่ได้บอกมีจำนวนเท่าไหร่ ตรัสไปตรัสไปเนี่ย ตัวพระที่เรียกว่าเป็นเจ้าอาวาส นี่ท่านฟังแล้วท่านรู้สึกว่าพระพุทธเจ้า แหมทำไมท่านเข้มงวดเหลือเกิน เคร่งครัดอะไรกันหนา ท่านก็เลยรู้สึกในใจคล้าย ๆ ใจท่านทนไม่ไหว แล้วก็เกิดความขัดใจต่อพระพุทธเจ้าแล้วก็คิดในใจว่านี่ ท่านสมณะนี่ อะไรเคร่งงวดเคร่งครัดกันนักหนาว่าอย่างงั้นน่ะ คิดในใจอย่างนั้น นี้ท่านก็ไม่ได้บอกไว้ไง ท่านก็เก็บความรู้สึกนี้ไว้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนพระทั้งหลายเป็นไปด้วยดี
เสร็จแล้วพระองค์ก็เสด็จต่อไป แล้วก็ไปประทับที่เมืองราชคฤห์ ทุกท่านก็คงรู้จักแล้วใช่ไหม ที่เมืองราชคฤห์ พอพระพุทธเจ้าไปทางโน้นแล้วออกจากที่ของพระองค์นี้ไปพระเจ้าอาวาสที่ชื่อกัสสปโคตรนี่ ก็มานึกได้บอกเอ้เราถ้าจะไม่ถูกเสียแล้ว มีความรู้สึกไม่ดีต่อพระพุทธเจ้าแล้วก็ไปคิดในทางที่ว่า พระพุทธเจ้านี่อะไรเข้มงวดเคร่งครัดนักอะไรไปคิดเข้าข้างตัวอะไรแล้วแต่ท่าน ท่านก็คิดไป แล้วเกิดความเดือดร้อนใจ ท่านเรียกว่ามีวิปฏิสาร เดือดร้อนใจว่าเราคิดไม่ดีต่อพระพุทธเจ้าแล้วก็ไม่ถูกต้อง เมื่อเดือดร้อนใจทำไงก็เลยคิดว่าเอ้อเราจะต้องไปขออภัยพระพุทธเจ้า ท่านก็เลยเก็บจีวรอะไรของท่านแล้วก็เดินทางออกจากนิคมนั่น ที่ปังคุทานิคม ที่แค้วนโกศล และเดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ ไปถึงแล้วก็เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ปกติก็จะตรัสทักทาย เป็นยังไงอะไรต่าง ๆ อยู่สุขสบายดีหรือเป็นต้น เสร็จแล้วก็พระองค์นี้ก็เลยบอกเหตุผลที่ตัวท่านมา แต่บอกว่าเนี่ย เมื่อพระองค์เสด็จไปคราวนั้นแหละก็ข้าพระองค์ได้ฟัง พระองค์ทรงแสดงธรรมแก่พระทั้งหลาย แล้วก็เกิดความรู้สึกทนไม่ได้ขัดใจว่าทำไมพระองค์จึงได้เข้มงวดเคร่งครัดกันนักหนาล่ะเนี่ยอะไรนี่ ตอนนี้ข้าพระองค์รู้สึกว่าเดือดร้อนใจว่าไม่ดีคิดผิด แล้วก็มีความรู้สึกไม่ดีต่อพระองค์เป็นความละเมิดล่วงเกิน ก็มาขอให้พระองค์ยอมรับ ท่านเรียกว่ารับความผิดของท่าน หมายความว่าท่านทำความผิดแล้ว พระพุทธเจ้าก็บอกว่า เอ้อเอ้าถ้าท่านเห็นว่าอันนี้เป็นความผิด เราก็ยอมรับ แล้วพระองค์ก็ตรัส ไอ้คำนี้จะเป็นหลักที่มีตรัสในพระไตรปิฎกเลื่อย เอาเป็นภาษาบาลีนะว่าวุฒิเหสา ในกรณีนี้ก็ภิกขุ คือตรัสกับพระองค์นี้ อ้อกัสสป องค์นี้ชื่อกัสสปโคตร ก็ตรัสใช้เรียกกัสสป วุฒิเหสากัสสป อริยะสะวินาเย ท่อนหนึ่งแล้ว โยอะจะยัง อัจจะยะโตทิสะวา ยถาธัมมัง ปฏิกะโลติ อายะติงสังวารังปัจชะตีติ นี่ข้อความภาษาบาลี ก็แปลเป็นท่อน ๆ ว่า อะวุฒิเหสากัสสป อริยะสะวินาเย นี่ท่อนที่หนึ่ง วิฒิเหสา เอกาตัดตัวบุคคลที่เรียกชื่อออกไปมันจะได้ง่ายเข้า แล้วสั้น วุฒิเหสา อริยะสะวินาเย วุฒิเหสานี้เป็นความเจริญ วุฒิ วุฒิภาษาไทยก็เอามาใช้ วุฒิเหสา ข้อนี้เป็นความเจริญงอกงาม อริยะสะวินาเยในวินัยของพระอริยะเจ้า อริยะสะวินาเยก็เอาสั้น ๆ ก็เหลือก็คำว่าอริยวินัย ก็แปลว่าข้อนี้เป็นความเจริญงอกงามในอริยวินัย อริยวินัยก็คือวินัยของอริยชนหรือแบบแผนของอริยชน นี้เรียกว่าอริยชนน่ะ อริยวินัย คือ โยอัจจะยังจะยะโตทิสะวา ยถาธัมมัง ปฏิกะโลติ คือการที่บุคคลมองเห็นความผิดที่ตนได้ละเมิดหรือทำไปแล้วเนี่ยว่าเป็นความผิดแล้วปฏิกะโลติแล้วก็กระทำคืนแก้ไขหรือปฏิกรรม ปฏิกรรมมาแล้ว ยะถาธัมมังให้เป็นไปตามธรรม คือให้เป็นไปโดยถูกต้องชอบธรรม เอาอีกที ต่อไปให้จบก่อนก็ได้ อะยะติงสาวะรังอปัจจติ แล้วถึงความสำรวมระวังสืบต่อไป นี่ก็เป็นหลักการเลยพุทธพจน์อันนี้ใช้กันเลื่อย พระสาวกก็ใช้ตามพระองค์ในเวลามีการที่มีใครทำความผิดแล้วก็มากล่าว คล้าย ๆ ว่าให้ยอมรับความผิดหรือว่าขออภัยกันนั่นแหละ แล้วก็จะเห็นว่าคำขอให้อภัยของท่านนี่จะมีความหมายไม่ใช่ว่าให้อภัยกันเฉย ๆ ใช่ไหม มันมีนัยยะอยู่ด้วย
ผมแปลอีกทีแปลให้เต็ม บอกข้อนี้เป็นความเจริญงอกงามในอริยวินัย คือการที่บุคคลใดได้มองเห็นความผิดที่ได้ล่วงละเมิดไปนั้นว่าเป็นความผิดแล้ว ก็กระทำการแก้ไขให้เป็นไปตามธรรมและถึงความสำรวมระวังสืบต่อไปหมด นี้พุทธพจน์นี้เจอเยอะหมดเลยนะในพระไตรปิฏก ก็จะเป็นข้อความเป็นแบบเลย เพราะว่ามันได้หลักการ
เอ้าผมเล่าอีกสักเรื่องหนึ่ง ก็อีกเรื่องนึงก็คือเรื่องต่อพระสารีบุตร ก็มีเรื่องว่าครั้งหนึ่งนี่พระสารีบุตร ก็ขณะอยู่ท่ามกลางสงฆ์ ก็เป็นธรรมดาที่พระพุทธเจ้านี่จะพบปะกับพระสงฆ์อยู่เสมอ จะมีเวลาที่ว่าเวลานั้นญาติโยมมาเวลานี้ พระสงฆ์มา มาเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมหรือว่าให้ถามปัญหาอะไรกัน อันนี้ก็เพื่อประชุมสงฆ์พระอยู่กันแล้วก็ ตอนนั้นถึงเวลาที่พระสารีบุตรท่านจะลาพระพุทธเจ้าไปที่อื่นไปไกล ก็เลยพระสารีบุตรก็เข้ามาทูลลาพระพุทธเจ้า บอกว่าพระองค์จะไปที่จะถิ่นแดนโน้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสอนุญาตพระสารีบุตรก็จะเดินทางก็ออกจากที่ประชุมนั้นไป นี้พอพระสารีบุตรีออกจากที่ประชุมนั้นไปก็มีพระองค์หนึ่งเนี่ยเข้าไปกราบทูลพระเจ้า บอกว่าเนี้ยพระสารีบุตรเนี่ยทำอะไรกระทบกระทั่งข้าพระองค์แล้วก็ไม่ขออภัยไปเสียนี่ ว่าอย่างงั้นน่ะ ก็คือว่าพระสารีบุตรเนี่ยเดินและก็ท่านก็เดินผ่านไป ทีนี้จีวรของท่านบังเอิญไปถูกพระองค์นั้น พระองค์นั้นเป็นคนยังไงก็ไม่รู้เป็นคนถือโกรธง่าย ๆ ทีนี้พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสให้พระนี่ไปนิมนต์พระสารีบุตรกลับมา คือพระพุทธเจ้าจะต้องแก้ไขปัญหาไม่ใช่ปล่อยให้ปัญหาทิ้งคาอยู่ พระสารีบุตรยังไม่ทันได้เดินทางก็กลับมา ก็มาเฝ้าพุทธเจ้าพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสเล่าให้ฟังว่าเนี่ยพระองค์นี้บอกว่าเธอได้ทำกระทบกระทั่งแล้วก็ไม่ได้ขออภัยจะไปแล้ว ก็เลยพระสารีบุตรก็ต้องแก้ไข ท่านก็เลยก็คงจะมีการสนทนาอะไรว่าได้ทำผิดอะไร ท่านก็ได้เห็นว่าท่านไม่ได้เจตนาที่จะไปล่วงเกินอะไร แต่ว่าท่านจะเป็นคนที่อ่อนน้อมสุภาพถ่อมตัวมากพระสารีบุตรนี่ ท่านเป็นอัครสาวกก็จริง แต่เป็นคนถ่อมตัว นั้นท่านก็จะกล่าวเพียงแต่ว่าให้เห็นว่าท่านนี่ได้ระมัดระวังตัวมาก ท่านก็เลยกล่าวถึงตอนที่ท่านเอามาเล่าไว้ ว่าตัวท่านได้เจริญกายคตาสติเป็นประจำ แล้วก็มองดูตัวเองเนี่ยก็เหมือนอย่างพื้นแผ่นดิน อันนี้ข้อที่ 1 คือผืนแผ่นดินเนี่ยใครจะเอาของดีไปลด เช่นเรามีอะไรดีล่ะ น้ำหวานที่เราชอบแล้วไปลดมัน ก็ไม่ว่าขออภัยจะเอาน้ำมาจมของสกปรกไปลดแผ่นดิน แผ่นดินมันก็ไม่ว่าอะไรใช่ไหม แต่ของสะอาด ของสกปรก ของที่คนชอบใจไม่ชอบใจไปลดไปอะไรต่ออะไร ไปถ่ายลดไปเอาของดีไปฝังเอาทองไปใส่ แผ่นดินก็ไม่ว่าอย่างไงทั้งนั้น แล้วท่านก็เปรียบเทียบต่อไป เหมือนกับน้ำ น้ำก็เหมือนกันใครจะเอาไปลงน้ำใส่ไปในน้ำก็ไม่ว่าอะไร ไปจนกระทั้งท่านก็ทำตัวเหมือนคนจัณฑาล คนจัณฑาลคือคนประพฤติระวังตัวอยู่ตลอดเวลาไม่ให้ไปกระทบกระทั่งละเมิดคนอื่น ท่านก็ว่าของท่านไปเลื่อย จุดหนึ่งก็คือที่น่าสังเกตุก็คือท่านเจริญกายคนาสติ นี่เป็นนัยยะหนึ่ง กายคตาสติท่านเข้าใจไหมครับ ก็สติที่เป็นไปในร่างกาย ก็เช่นว่าให้รู้ว่าในร่างกายของเราเนี่ยมีส่วนประกอบอะไรซึ่งมันก็ไม่ได้น่าดูน่าชื่นชมอะไรใช่ไหม มีตั้งแต่ผมขนเล็บฟันหนังเนื้ออะไรไปจนกระทั่งถึงฝ่ายน้ำ ฝ่ายอาโปธาตุ มีเลือดหนอหรืออะไรต่าง ๆ มากมายนี่น่ะ ถ้าคนที่ได้เจริญกายคตาสติเนี่ยไปก็นอกจากจะเห็นความจริงของร่างกาย แล้วก็จะมีความรู้สึกที่ไม่มาภูมิลำพองของตัวเองในความหมายหนึ่ง แต่พระสารีบุตรนี่ คือจะมองเห็นว่าร่างกายของเราที่เรามายึดถือเป็นตัวตนว่าเป็นตัวเรานะ ความจริงมันก็ไม่มีอะไรมันก็เป็นธรรมชาติ แล้วประกอบด้วยสิ่งที่มีทั้งน่าชื่นชม ไม่น่าชื่นชมและส่วนมากถ้าว่าไปแล้วมันก็ของเน่าของเปื่อยทั้งนั้นใช่ไหม ถ้าเราเข้าใจชีวิตของเราส่วนประกอบของตัวเราอย่างนี้แล้วเราก็ไม่มาถือเนื้อถือตัวอะไรกันนักหนา ว่าไปตามสมมุติตกลงกันอย่างนี้ใช่ไหม อันนี้ก็เป็นนัยยะ ความหมายหนึ่งที่จะได้จากการเจริญกายคตาสติ พระสารีบุตรท่านก็ยกเหตุผลนี้มาด้วยกัน ว่าท่านก็มองตัวเองโดยที่ไม่ได้นึกไปยึดติดอะไรอย่างเงี้ย แล้วท่านพูดไปพรรณาซะหลายข้อ จนในที่สุดพระก็องค์นั้นเนี่ยฟังท่านและทนไม่ไหว เกิดความเสียใจจนกระทั่งต้องมาแสดงออก เข้าไปกราบพระพุทธเจ้าขอให้พระองค์เนี่ยช่วยรับความผิดของท่านด้วย ท่านขอขมานั่นเอง ก็เลยท่านก็บอกว่าเนี่ยท่านได้เห็นความผิดแล้วได้กล่าวโทษพระสารีบุตร เรียกว่ากล่าวตู่ด้วยถ้อยคำที่ไม่เป็นจริงก็คือหมายความว่าเป็น เอาเป็นว่าพระสารีบุตรนี่มาล่วงเกินกระทบกระทั่งท่าน ที่จริงท่านไม่ได้เจตนามากระทบกระเทือนอะไร นี้ท่านก็เลยบอกว่า เนี่ยท่านกล่าวตู่พระสารีบุตร ท่านทนไม่ไหวแล้ว ท่านทนไม่ไหวว่าอย่างงั้นเถอะ ขอให้ยอมรับความผิดของท่าน พุทธเจ้าพระก็ตรัส ว่าเอ้า พระองค์นี้ท่านมาขอโทษอย่างนี้แล้วพระสารีบุตรจะว่ายังไง พระสารีบุตรก็บอกว่าข้าพเจ้าน่าจะยินดีให้อภัย แต่ขอให้ท่านองค์นั้นน่ะให้อภัยท่านด้วย เอ่อน่ะ นี่พระสารีบุตรน่ะครับ ก็คือว่าแม้ท่านจะไม่ได้ทำความผิด แต่ท่านก็เห็นว่าท่านผู้นั้นได้มีความรู้สึกไม่ดี แล้วก็อย่างที่ว่าแม้ท่านไม่ได้เจตนาล่วงเกินมันก็อาจจะไปกระทบกระทั่งแม้ไม่ได้เจตนาแล้ว ก็ให้ท่านให้อภัยด้วย ท่านก็พระสารีบุตรก็เลยขอให้ท่านองค์นั้นน่ะให้อภัยท่าน แล้วท่านก็ให้อภัยแน่นอน ตอนนี้ก็เป็นเรื่องระหว่างพระสารีบุตรกับองค์นั้นเป็นอันว่าให้อภัยกันไป ทีนี้พระพุทธเจ้าตรัส พระองค์ก็เกี่ยวข้องด้วยการที่ว่าพระองค์นั้นเข้าไปขอให้พระองค์ยอมรับความผิดของท่าน พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า ก็เมื่อท่านทำความผิดแล้วท่านมายอมรับความผิดนั้นก็ไม่เป็นไร ก็ตรัสอันนี้แหละ วุฒิเหสาภิกขุ บอกว่าข้อนี้เป็นความเจริญงอกงามในอริยวินัย คือการที่ผู้ใดได้ทำความผิดล่วงละเมิดไปแล้ว หรือล่วงเกินไปแล้วก็มองเห็นว่าเป็นความผิดแล้วก็มาแก้ไขให้เป็นไปตามธรรมถึงความสำรวมระวังต่อไปน่ะ ก็หลักการเดียวกัน เราจะเห็นว่าคือในทางพระศาสนาเนี่ยก็จะพยายามรักษาในด้านหนึ่งก็คือหมู่คณะเนี่ยให้อยู่ร่วมกันด้วยสามัคคี มีอะไรมีการผิดพลาดล่วงเกินต่อกันเนี่ย เราก็มาแสดงออกต่อกันซะไม่มัวเก็บแล้วก็มาอะไร ขืนอะไรต่อกันใช่ไหม มันก็จะหมดปัญหาแล้วก็จะเกิดความสามัคคีแล้วก็ที่สำคัญก็คือมันก็เอื้อต่อการที่จะพัฒนาตัวของเราในการแก้ไขปรับปรุงแล้วก็มีเรื่องต้องแก้ไขปรับปรุงเลื่อยเป็นธรรมดา มองอย่างนี้แล้วมันก็จะได้บรรยากาศของการพัฒนาชีวิตเจริญไตรสิกขา
เพราะฉะนั้นปฏิกรรมในเรื่องของหลักการนี้ก็สำคัญนะ จะเห็นว่าที่ผมพูดมาในวันนี้ก็มีเรื่องปฎิกรรมใดที่ใช้หลักใหญ่
หนึ่งเรื่องของการแก้ไขอาบัติ แล้วก็เรื่องของปวารณา เปิดโอกาสแก่กันในการบอกกล่าวเพื่อช่วยการแก้ไขปรับปรุงตัว แล้วก็ 3 ก็เรื่องการที่ว่าหลักการที่ว่ามองเห็นความผิดแล้วก็มายอมรับต่อกันแล้วก็ให้อภัยกันน่ะ แล้วก็มาตัวเองเมื่อได้รับการ ด้านหนึ่งก็ผู้อื่นให้อภัยตัวเองก็มาแก้ไขปรับปรุงตัวเองต่อไปด้วย ถ้าตกลงว่าไอ้เรื่องที่ว่าสิ่งที่ทำไปแล้วก็เป็นอันว่าได้ทำไปแล้วท่านไม่ว่าอะไรหรอก ก็เป็นอันว่าทำ แต่ทีนี้ถ้าทำไปแล้วมันไม่ดีก็ต้องละเลิก คือ 1 ยอมรับความจริง 2 ก็ละเลิกมันเสีย 3 การแก้ไขปรับปรุงทำให้ดีต่อไป แม้สิ่งที่ไม่ดีถ้ามันเป็นสิ่งไม่ดี เราก็แก้ไขทำให้ดีต่อไปแม้จะเป็นวัตถุ ท่านก็ใช้คำว่าปฏิกรรม เช่น อย่างพระภิกษุเนี่ยจะไปที่อื่น นี้ที่ว่าหลักเกณฑ์ทางวินัย นี้ก็จะมีว่าของสงฆ์นี่เอาไปไม่ได้ใช่ไหม ถ้าก็จะพูดถึงจะยกตัวอย่างว่า พระภิกษุนี่เอาไปที่อื่นแล้วก็หยิบเอาของไป ถ้าเป็นของบุคคล ถ้าเขาอนุญาตก็ไม่มีปัญหาเอาไปได้ แต่ถ้าเป็นของสงฆ์ เป็นครุภัณฑ์ หรือเป็นพวกอสังหาริมวัตถุ ครุภัณฑ์นี่อาจจะเป็นสังหาริมก็ได้เคลื่อนที่ได้ แต่อสังหาริม อสังหาริมก็คือเคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน แต่ว่าสังหาริมที่เคลื่อนที่ได้ เช่น อย่างกล้องถ่ายรูปอะไรต่ออะไรนี่น่ะ กระดาษ สมุด ดินสอ สังหาริมเคลื่อนที่ได้ แต่มันอาจจะเป็นครุภัณฑ์ ครุภัณฑ์เป็นของหนักของใหญ่ เช่นว่าเป็นอะไรดีล่ะ ยกตัวอย่าง เช่นว่า ถังน้ำของวัดอย่างนี้เป็นต้นน่ะ เคลื่อนที่ได้จริงแต่ว่าเป็นครุภัณฑ์อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นของสงฆ์ ของสงฆ์นี้ท่านบอกว่าเอาไปไม่ได้ต้องปฏิกรรม ปฏิกรรมก็คือต้องชดใช้ ถ้าทำเสียเสียหายต้องปฏิกรรมแก้ไขใช่ไหม ถ้าหากว่ามันเอาไปก็ต้องปฏิกรรมแก้ไขด้วยการถ้าของนั้นไปเลยก็ต้องปฏิกรรมก็ต้องชดเชย เราก็มีคำว่าปฏิกรรมสงครามเคยได้ยินไหมอันนี้แหละ ก็มาจากพระนี่แหละใช่ไหม ว่ารบกันแล้วแพ้สงครามฝ่ายญี่ปุ่นนี่ต้องปฏิกรรมสงครามให้พวกสัมพันธมิตรเยอะเลยใช่ไหม อันนี้ก็คือชดใช้นั่นเอง อันนี้พระก็เหมือนกัน พระก็ต้องปฏิกรรมถ้าเอาของสงฆ์ไป ถ้ามันเป็นของที่เราใช้ชำรุดเราก็ต้องปฏิกรรมแก้ไขให้ดี ถ้ามันเป็นของที่เอาไปเลยก็ต้องมาปฏิกรรมชดใช้อะไรนี่ เข้าใจใช่ไหมครับ นี่แหละปฏิกรรมทั้งนั้น ใช้ทั้งวัตถุแล้วทั้งชีวิต ทางนามธรรมด้วย ก็เห็นว่าไอ้ปฏิกรรมในทางวัตถุนี่ ก็เป็นเรื่องของการอยู่ร่วมกันในสังคมก็เป็นการที่จะต้องปฏิบัติได้ในระดับของกฎกติกาที่ต้องมี แต่เรื่องการด้านจิตใจ เรื่องของชีวิตคนก็ต้องเอามาใช้ด้วย แล้วก็จะทำให้ชีวิตเจริญงอกงาม เหมือนกับวัตถุที่ว่ามันเสียหายถ้ารู้จักปฏิกรรมมันก็อาจจะดีและดียิ่งขึ้น นี้ชีวิตของเราถ้าเราไม่ปฏิกรรมเราก็ไม่เจริญงอกงามมันก็แย่ มันก็เสื่อมใช่ไหม ฉะนั้นหลักปฏิกรรมน่าจะคิด น่าจะเอามาใช้กันให้มาก ผมก็เลยเอามาเล่าอีกอันหนึ่ง คิดว่าพอสมควรแล้วเรื่องปฏิกรรมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิสังฆะเลย แล้วก็อยู่ในหลักการพัฒนามนุษย์แนวคิดของพระพุทธศาสนาเรื่องที่มีต่อมนุษย์นี่ อยู่ในส่วนของการพัฒนาชีวิตการศึกษา