แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เอาละครับทีนี้ก็มาเรื่องสวดมนต์ต่อ สวดมนต์ก็ได้พูดไปหลายอย่างแล้วว่าเริ่มทีเดียวก็เป็นวิธีการในการศึกษาโดยเฉพาะของพระทีท่านมาสาธยายสิ่งที่ท่านได้สดับฟังมาเพื่อทบทวนหรือรักษาคำสอนที่ท่านต้องการศึกษา เช่น พระสูตรคำสอนของพระพุทธเจ้า สาธยายก็เป็นวิธีการในการศึกษาได้ทบทวนและฏ็ยกขึ้นมาในการที่จะพิจารณาไตร่ตรองทำความเข้าใจมันก็เลยเป็นส่วนของการเล่าเรียนของตนเอง สองก็เป็นวิธีรักษาพุทธพจน์ นี้ของส่วนรวมแล้วนะ ก็คือ มาประชุมกันสวด บางทีถึงกับแบ่งหน้าที่กันเป็นพระกลุ่มนี้กลุ่มนั้น กลุ่มนี้รักษาพุทธพจน์ในส่วนนี้ เช่น อย่างที่ท่านแบ่งในพระไตรปิฎกเป็นพระสูตร เป็นพระสูตรก็แยกเป็น ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย นี้มากมายอย่างนี้ จะให้หมู่เดียวรักษาหมดนี้หนักมาก ก็เลยเอาว่าเป็นกลุ่มๆไป กลุ่มนี้แล้วก็ผู้เป็นอาจารย์ท่านชอบอยู่แล้วชอบทีฆนิกายอยู่แล้ว ท่านชำนาญถ้ายังนั้นท่านก็รักษาทีฆนิกายไว้ ท่านเป็นหัวหน้าท่านมีลูกศิษย์เยอะก็ตกลงเลยเป็นเหมือนกับว่าใจชอบด้วย ถนัดอยู่แล้ว และก็รับหน้าที่เลยว่ารักษาทีฆนิกายไว้ ท่านเรียกทีฆภาณกะ แปลว่า ผู้สวดพระที่สวดทีฆนิกาย ชื่อก็บอกว่าศัพท์บอกว่าภาณกะ พอสวดผู้สวดทีฆนิกายคณะนี้ก็ใช้วิธีสวดรักษาทีฆนิกายไว้ แล้วคณะอื่นก็รักษามัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตตรนิกาย แบบนี้ก็เป็นการรักษาพุทธพจน์ อันนี้ก็ได้วัตถุประสงค์ที่สอง สามต่อมาความจำเป็นในการรักษาด้วยการสวดก็น้อยลงหรือแทบไม่มีก็เลยมุ่งไปที่ประโยชน์อย่างอื่น ก็ใช้อันหนึ่งก็ได้มีประสบการณ์กันมาก็เห็นว่าการสวดนี้เป็นกิจกรรมที่โน้มจิตไปสู่ความสงบ เป็นเครื่องฝึกตัวเองอย่างหนึ่ง ก็คือ ทำใจให้พร้อมที่จะทำสมาธิก็เลยใช้เป็นการฝึกทำจิตให้พร้อมที่จะเจริญสมาธิบางทีเป็นบุพพภาคของการเจริญสมาธิ บุพพภาคเข้าใจนะ บุพพภาค ก็คือ สวดเบื้องต้น สวดนำหน้าก่อนจะฝึกสมาธิ สวดมนต์จิตก็จะพ้นจากเรื่องวุ่นวายมาจากท้องถนนเรื่องเยอะเหลือเกินมาสวดมนต์ซะก่อน สวดมนต์แล้วก็สงบสักทีตัดเรื่องพวกนั้นไปกันพวกที่วุ่นวายนั้นออกไปแล้วก็พร้อมที่จะเจริญสมาธิแล้วต่อไปอีกอันหนึ่งก็คือว่าเพื่อช่วยจิตใจของมนุษย์ ประชาชนที่เป็นมนุษย์ปุถุชนอยู่ในโลกยังมีความหวาดหวั่น ยังมีความกลัวโน่นนี่ ทางจิตใจบ้าง ทางเหตุการณ์ที่ไม่รู้ล่วงหน้าในอนาคตบ้าง ก็จะมีปัญหาเรื่องเหล่านี้ อันนี้จะใกล้กับศาสนายุคโบราณก็คือเป็นเครื่องปลอบประโลมใจแล้วก็ช่วยทำให้เกิดความมั่นใจ ทำให้เกิดความมั่นใจเราอยู่กับพระนะ แล้วได้บทสวดนี้ และในนั้นคำสวดก็จะมีข้อความที่ช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าได้อยู่กับพระรัตนตรัย เราก็จะได้ปลอดภัย ท่านคุ้มครองเราอย่างพระสูตรธชัคคสูตรก็มีเรื่องมาเลยว่าพระนี้ไปปฏิบัติธรรมกันอยู่ในป่าห่างไกล แล้วก็พวกเทวดาที่นั้นพระมาอยู่ตัวเองก็อยู่ไม่ได้สะดวกอย่างที่ใจชอบ ต้องเกรงใจพระบ้างอะไรบ้างไม่อยากให้อยู่ให้ไปซะดีกว่า ก็เลยแกล้งมาทำให้เห็นเป็นโน่นเป็นนี่น่ากลัวพระก็กลัวจนหนีกันไป ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เลยมอบบทเรียกว่า ธชัคคสูตร แปลว่าเป็นพระสูตรยอดธง ยอดธงนี้ก็หมายถึงยอดธงเทวดา พระพุทธเจ้าตรัสก็เป็นเรื่องของทำนองเปรียบเทียบบอกว่าเนี่ยเทวดา อสูร ทำสงครามกัน เรื่องสงครามเทวดาอสูรนี้มีเรื่อย เพราะว่าอสูรนี้แกไปอยู่ดาวดึงส์มาก่อน เขาเรียกบุพพเทวดานะอสูรนี้ ชื่อเขาบุพพเทวดา แปลว่า เทวดาเก่า เขาอยู่ดาวดึงส์มาก่อนทีนี้พวกพระอินทร์ก็มารบแย่งชิงดินแดนทำให้อสูรตกจากสวรรค์ ตกจากสวรรค์จริงๆ ก็คือว่า ทำให้อสูรกินเหล้าพอกินเหล้าแล้วแกก็เมา เมาก็รบไม่ได้สิใช่ไหม พอเทวดามารบก็เลยพวกอสูรเมาแล้วตั้งตัวไม่ติดก็จับอสูรเหวี่ยงลงจากสวรรค์ สมัยนั้นฮินดู-พราหมณ์เขาเชื่อว่าเทวดาอยู่บนเขาพระสุเมรุใช่ไหม ก็เหวี่ยงจากเขาพระสุเมรุลงมา พวกอสูรนี้ก็เป็นบุพพเทวดาเทวดาเก่าก็ตกจากสวรรค์หล่นลงมาที่เชิงเขาพระสุเมรุก็เพราะเหตุที่กินสุราแล้วก็ถูกเขาจับเหวี่ยงลงมาเนี่ย พวกอสูรก็เลยโกรธตัวเองว่าเรามากินเหล้าทำให้เราเสียดินแดน ต่อไปนี้เราจะไม่กินเหล้าอีกแล้ว ไม่กินเหล้าอีกแล้ว ก็เลยได้ชื่อว่า อสูร แปลว่า ไม่เอาเหล้าอีกแล้ว ว่างั้น อสุรา สุราแปลว่าเหล้าใช่ไหมและก็ อ แปลว่าไม่เอาแล้ว นี้คือเหตุที่มาของคำว่า อสูร ทีนี้อสูรก็แปลว่าตกลงมาอยู่ที่เชิงเขาพระสุเมรุ ทีนี้แดนสวรรค์ดาวดึงส์มีต้นไม้ประจำ ต้นไม้ประจำแดนดาวดึงส์ ชื่อว่า ต้นปาริชาตกะ หรือเพี้ยนมาเป็นปาริชาตเคยได้ยินไหม ต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ชื่อว่า ปาริชาตกะ หรือ ปาริชาต แปลว่าต้นดูสิอยู่ตรงนี้นึกชื่อไทยไม่ออกตรงริมรั้วนี้มีทองหลางลาย ทองหลางต้นทองหลางลายนะดอกเค้าจะแดง พวกอสูรนี้ตกลงไปอยู่เชิงเขาพระสุเมรุก็ไปอยู่แดนใหม่นั้นต้นไม้ประจำแดนอสูรใหม่นี้ชื่อว่า ต้นจิตติปาตลี แปลว่า ตันแคฝอย พอถึงฤดูดอกแคฝอยบานเมื่อดอกแคฝอยบานพวกอสูรก็ระลึกถึงแดนตัวเองที่เก่าของตัวเองที่ดาวดึงส์ก็ฮึดฮัดโกรธขึ้นมาเลย ความแค้นก็ปะทุขึ้นมาเพราะฉะนั้นก็นึกถึงต้นปาริชาต แค้นขึ้นมาก็พากันยกทัพขึ้นไปรบกับเทวดาอีกก็เลยรบกันอยู่นี้ มีเรื่องในพระไตรปิฎกที่ว่าเทวดาอสูรรบกันนี้หลายแห่งเขาเรียกว่า เทวาสุรสงคราม สงครามระหว่างเทวดากับอสูรในธชัชคสูตรพระสูตรที่ว่าด้วยยอดธง พระพุทธเจ้ายกเรื่องในอดีตเคยมีมาแล้วเทวดากับอสูรรบกันเวลารบกันอย่างพวกเทวดานี้ลูกน้องพวกบริวารรบไปก็มีความหวาดความกลัวเหมือนกัน หวาดกลัวขนพองสยองเกล้าทำยังไงพวกเทวดาผู้ใหญ่ ท้าวสักกะ พระอินทร์ ท้าวประชาบดี เทวดาใหญ่ๆก็จะมีธงเป็นธงของแม่ทัพประจำตัว ทีนี้พวกลูกทัพพอหวาดกลัวขึ้นมาก็มองยอดธงแม่ทัพก็จะเกิดความฮึกเหิมขึ้นมาแกล้วกล้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสพวกเทวดาเวลาเขากลัวเขาหวาดหวั่นพรั่นใจเขาก็มองดูยอดธงของแม่ทัพเขาแล้วเขาก็เกิดความกล้าขึ้นมา แต่ทว่าเทวดาเหล่านั้นยังมีกิเลสและไม่ใช่แค่เทวดาบริวารเท่านั้นแม้แต่หัวหน้าแม่ทัพที่เป็นเจ้าของธง เทวดาพระอินทร์เอง ท้าวปชาบดีเอง ก็ยังมีกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ยังมีความหวาดสะดุ้ง เสียใจ แล้วลูกน้องก็ยังอาศัยธงแม่ทัพที่ยังมีความหวาดนั้นแล้วมองแล้วก็ยังกล้า แต่ตถาคตพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ไม่มีความหวาดหวั่นพรั่นใจ ไม่มีความกลัวใดๆทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นพวกเธอทั้งหลายเมื่ออยู่ในป่าในเขาที่ไหนก็ตามเกิดความหวาดกลัวหวาดหวั่นพรั่นสะพรึงใจขึ้นมาก็ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็จะหายกลัวหายหวาดหวั่นเกิดความแกล้วกล้ามั่นใจขึ้นมา เพราะว่าขนาดเทวดาเขาดูธงแม่ทัพซึ่งยังมีกิเลสความกลัวอยู่เขายังหายกลัว อันนี้เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ที่ไม่มีกิเลสไม่มีความกลัวเป็นอันว่าไม่มีปัญหาเลยไม่ต้องกลัวอะไรทั้งนั้นนี้คือธชัชคสูตร พระสูตรนี้คือระลึกถึงพระคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดกำลังใจ ถ้าอย่างกรณเมตตยสูตรก็แบบเดียวกันก็เรื่องของเรื่องนี้จะมีหลายเรื่องเลยที่พระไปปฏิบัติธรรมในป่า ก็เป็นธรรมดาพระก็ปุถุชนอยู่ถิ่นห่างไกลก็กลัวกลัวอย่างที่ว่านี้ อีกสูตรหนึ่งก็กลายเป็นว่าให้บทแผ่เมตตาให้บทที่แผ่ขยายความรู้สึกปรารถนาดีต่อทุกคน ต่อเทวดา ต่ออะไรทุกอย่าง นี้ก็เป็นคาถากันผีอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นคาถากันผีต้องมีแบบพุทธคุณ ธรรมคุณ สัฆคุณ แบบพวกแผ่เมตตา แบบอุทิศกุศลมีทั้งนั้น และอย่างพวกองคุลีมาลสูตร ก็มาเป็นองคุลีมาลปริตร เรื่องที่ว่าพระองคุลีมาลมาบวชแล้วออกบิณฑบาต คนเคยมีความโกรธแค้นที่ท่านเป็นมหาโจรเก่า บางทีก็ขว้างปาอะไรต่ออะไรทำร้ายท่านเจ็บแต่ว่าท่านไปเจอผู้หญิงคนหนึ่งที่มีครรภ์ และผู้หญิงก็กลัวเจอองคุลีมาลมากลัวเลยเลยหนีมาอารามตกใจนั้นมีช่องรั้วอยู่แคบๆก็แหวกรั้วไปอีกทางก็ติดท้อง เอาเป็นว่าท่านประสบการณ์ในด้านหนึ่งท่านก็เจ็บตัวอีกด้านก็พลอยสงสารผู้อื่น เห็นหญิงมีครรภ์ก็สงสารเลยมากราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำให้บอกเขาแสดงความปรารถนาดีให้รู้ว่าท่านไม่มีความคิดที่จะเบียดเบียนเขาหรอก นอกจากนั้นแล้วให้คติธรรมไปด้วยและก็ข้อความตรงนี้ที่ว่า วันต่อมาพระองคุลีมาลก็ไปเจอผู้หญิงคนนี้และก็กล่าวคำบอกว่า ตั้งแต่เราเกิดเป็นอริยชาติก็ไม่มีความคิดที่จะเบียดเบียนอะไร ไม่เคยคิดที่จะฆ่าสัตว์ทำชีวิตให้ตกร่วงไปอะไรอย่างนี้ ด้วยสัจจะวาจานี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของเธอ เอเตนะสัจจะวัชเชนะ โสตถิ เตโหตุ โสตติ คัพภัสสะ ผู้หญิงนั้นก็สบายใจคลอดมาง่ายเลย ก็เลยเอามาเป็นคาถาสำหรับให้คลอดสะดวกใช้คาถานี้เวลาหญิงคลอดยากก็มาขอน้ำมนต์พระให้น้ำมนต์นี้เอาไปแล้วก็จะไปดื่มไปกินไปอาบหรือไปรดอะไรที่ทำให้เด็กคลอดได้สะดวก อย่างนี้เป็นต้น ปริตรมีต่างๆก็แล้วแต่เรื่องที่เป็นมามีหลายเรื่องที่มีตำนานทำนองนี้ พระก็ไปสวดเพื่อจะช่วยจิตใจประชาชนอันนี้ก็เกิดเป็นบทสวดประเภทหนึ่งก็เลือกสรรออกมาจากพระคัมภีร์โดยเฉพาะจากพระไตรปิฎกที่เป็นบทสวดที่เป็นคำสอนประเภทที่เกี่ยวกับเรื่องความคุ้มครองป้องกันอำนวยอวยชัยให้พรแผ่เมตตาอะไรทำนองนี้ก็คัดเอามาที่มาเป็นบทสวด 7 ตำนาน 12 ตำนาน พวกนี้พวกปริตรเรียกกันว่าปริตร เริ่มต้นแต่ก่อนนี้ไม่มีอันหนึ่งมาเติมมงคสูตรเข้าไปด้วย ปริตรนี้แปลว่าป้องกันทีนี้มงคลสูตรไม่ใช่แบบป้องกัน อันนี้ท่านคงเห็นมงคลสูตรนี้ยิ่งดีใหญ่เลยให้ความเป็นมงคลให้ความสุขสวัสดีเจริญงอกงามก็เอามานำเลย ตอนหลังก็เลยเอามงคลสูตรนี้มาเติมเข้าไปในบทสวดจำพวกปริตรนี้ใส่เป็นบทแรกนำก่อนบทอื่นเลย ทำอย่างไรถึงจะให้ไม่มีภัยก็ให้มีมงคลเป็นความสุขความเจริญ แต่มงคลพวกนี้พอมองเข้าไปเป็นคำสอนว่าไม่ใช่มาอ้อนวอนอะไรหรอก เป็นการให้ประพฤติปฏิบัติตัวให้ดี ไม่คบคนพาลคบบัณฑิต บูชาบุคคลที่ควรบูชา ก็เลยว่าหนึ่งสงเคราะห์ประชาชนอย่างน้อยให้จิตใจเกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยจะได้ตั้งหน้าตั้งตาตั้งใจทำกิจหน้าที่การงานได้เต็มที่ไม่มัวหวาดผวา แล้วพร้อมกันนั้นก็เป็นบทที่จะช่วยโน้มนำเข้ามาสู่การศึกษาพระธรรมแล้วก็จะได้ประพฤติปฏิบัติดีงาม เป็นโอกาสที่ว่าพระได้พบประชาชนและก็มีโอกาสก็มาแปลบทสวดนี้มีคำสอนอย่างนี้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติเข้าสู่มงคลที่แท้จริงอย่าติดแค่มงคลภายนอก อันนี้แล้วแต่พระจะไปมีวิธีการในการปฏิบัติ ก็กลายเป็นว่าวัตถุประสงค์ที่เท่าไรและในการที่ว่าเป็นบทที่มาคุ้มครองป้องกัน สี่แล้วนะอันนี้ก็เวลาจะสวดแบบนี้ก็จะมีการเรียกว่าชุมนุมเทวดา นึกออกใช่ไหม ชุมนุมเทวดานี้ต้องเข้าใจให้ถูกไม่ใช่หมายความว่าพระไปอ้อนวอนเทวดาเป็นไปไม่ได้ที่พระต้องไหว้เทวดาเทวดาต้องไหว้พระ พระไม่มีหน้าที่ไม่มีเรื่องที่จะไปไหว้เทวดา เทวดามีแต่จะเกรงใจพระ อย่างพระพุทธเจ้าพระสงฆ์เดินผ่านเข้าไปซุ้มประตูบ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เทวดาอยู่ไม่ได้ต้องลงมาข้างล่าง เขาอยู่บนซุ้มประตูก็ต้องลงมาเทวดาก็เลยโกรธพระพุทธเจ้าว่าเราลำบากทุกทีที่พระพุทธเจ้ามา เลยเกิดเรื่องอีกมากมายนี่ก็เรื่องเทวดาเยอะอย่าเพิ่งเล่าเอาเฉพาะสั้นๆก่อน นี้ก็มีการชุมนุมเทวดาว่าพระเราก็คงจะเห็นใจญาติโยมว่าญาติโยมนี้โดยมากก็มาจากศาสนาอื่น ไม่งั้นไม่มาจากศาสนาไหนชาวบ้านก็กลัวเทวดาหวั่นหวาด เพื่อจะให้สบายใจยิ่งขึ้นเทวดาเขาจะเอายังไงเราก็ไม่รู้ พระก็เลยสวดบทชุมนุมเทวดาปกติให้ชาวบ้านชุมนุมก็ได้ ชุมนุมเทวดาข้อความในนั้นจะบอกเทวดาอยู่ที่ไหนที่ไหนไม่ว่าที่ไหนหมดทุกแห่งทุกหนเลย สัคเค กาเม จะรูเป คิริสิขะตะเฎ จันตะลักเข วิมาเน จะอยู่ท้องฟ้ากลางหาว จะอยู่ซอกภูผาอะไรก็แล้วแต่เทวดาในทะเล ทะเลบก เทวดาทั้งหลายทั้งปวงอยู่ที่ไหนพรรณาไป เอาละเชิญมาธัมมัสสะวนะกาโล อะยัมภะทันตา อันนี้บอกเทวดาท่านผู้เจริญทั้งหลายถึงเวลาฟังธรรมแล้ว ก็คือเชิญเทวดามาร่วมฟังธรรมกับชาวบ้าน ชาวบ้านจะรู้สึกเทวดากับเราเป็นพวกเดียวกันและก็นับถือธรรมะ อยากจะฟังธรรมเรามาฟังธรรมเทวดาก็มาฟังอยู่ด้วยพวกเดียวกันไม่ต้องกลัว งั้นมานึกว่าเราอยู่อย่างนี้แล้วเทวดาท่านจะชอบใจหรือไม่ชอบใจมัวกังวลอยู่ใจฟังธรรมไม่เป็นสมาธิ เลยเชิญเทวดามาฟังธรรมไว้ด้วยกัน เป็นอันว่าบทชุมนุมเทวดาก็คือเชิญเทวดามาประชุมชุมนุมฟังธรรมกับประชาชนจะได้เข้าใจถูก อันนี้ก็เป็นเกร็ดในเรื่องของบทสวดทีนี้ต่อไปวัตถุประสงค์ประการที่ห้า ก็คือว่าแต่ก่อนเราก็มีการสวดเพื่อรักษาพุทธพจน์ ทีนี้การที่มาสวดแล้วมาประชุมกันก็เป็นกิจกรรมส่วนรวมขึ้น แม้ว่าความจำเป็นในการรักษาพุทธพจน์นี้เบาลงไปก็ตาม แต่ว่าความหมายหนึ่งก็คือการที่เป็นกิจกรรมของส่วนรวมของชุมชนหรือของสังฆเป็นโอกาสให้พระได้มาพบพร้อมกัน แล้วก็มีกิจมีธุระมีเรื่องข่าวสารอะไรจะบอกจะกล่าว เช่น เจ้าอาวาสมีเรื่องราวข่าวสารที่จะบอกกับลูกวัดก็จะได้แจ้งข่าวให้ทราบและก็มีเรื่องอะไรกิจการธุระที่จะทำร่วมกันก็จะได้ปรึกษาหารือแล้วก็มีโอกาสที่เจ้าอาวาสหรือว่าหัวหน้าได้พบกับพระในวัดมีอะไรที่จะแนะนำตักเตือน จะให้ความรู้ก็มาแนะนำสั่งสอนให้ความรู้กันตอนนี้ด้วย อย่างน้อยก็ประจำทุกวันได้ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก็ได้มาพบปะพร้อมกันมีอะไรสุขทุกข์ มีเรื่องราวอะไรข่าวสารมีเรื่องปรึกษาหารืออะไรก็มาได้พูดคุยกัน แล้วก็นั่นแหล่ะเป็นโอกาสที่จะได้ให้ความรู้ไปด้วย สั่งสอนแนะนำ ก็เลยกลายเป็นว่าสวดมนต์ก็เลยเป็นกิจกรรมของหมู่คณะกิจกรรมชุมชนเพื่อให้เป็นจุดนัดหมายที่จะมาพบปะพร้อมกัน พอแล้วได้ 5 ข้อเดี๋ยวนี้ก็มาอยู่ที่ทำวัตรมุ่งมาอันที่ 5 เป็นกิจกรรมส่วนรวม