แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
สมเด็จฯ ตามลำดับ
1. ขาขวาทับขาซ้าย
2. มือขวาทับมือซ้าย
3. ตั้งตัวตรง นั่งให้สบาย
4. หายใจเข้าลึกๆ ทำใจให้สบาย
5. ตั้งจิตกำหนดลมหายใจเข้าออก ตามวิธีที่ถนัด
( สมเด็จฯ นำสวดมนต์ )
สมเด็จฯ เต็มหรือต้น ต้นสิ ที่ถามเรื่องอริยสัจ ก็เลยพูดเพิ่มซะอีกหน่อย อริยสัจเป็นหลักความจริง ที่ทำให้คนผู้รู้ ผู้เข้าถึงนี่เป็นอริยบุคคล ถ้าแปลตามตัว หรือเป็นความจริงของอริยบุคคลก็ได้ ที่จริงคำว่าอริยะนี่เป็นภาษาบาลี สันสกฤตเค้าเรียก อารยะ เคยได้ยินมั้ยคำว่าอารยะ อารยชน อารยชาติ เคย อารยะ ก็แปลกันว่าผู้เจริญ ถ้าโบราณเขาแปลว่าผู้ประเสริฐ อริยะกับอารยะ คำเดียวกันเลย อริยะ บาลี อารยะ สันสกฤต นี่เป็นความจริงของอารยชนหรือความจริงที่ทำให้เป็นอริยบุคคล อารยชนแท้ๆ
วิธีรู้จักอริยสัจง่ายๆ ก็คือ มองว่าเป็นวิธีแก้ปัญหา นี่เป็นแบบง่ายๆ ที่สุด หลักความจริงในการแก้ ปัญหา หรือวิธีแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง ถ้าเราจะแก้ปัญหานี่ เราจะต้องทำยังไง ก็ต้องทำตามหลัก อริยสัจ คือ 1. ก็ต้องรู้อะไรก่อน ก็ต้องรู้ตัวปัญหา ต้องรู้ตัวปัญหา บางทีคนไม่รู้นะว่าตัวปัญหา คืออะไร
เหมือนอย่างเราเจ็บไข้ได้ป่วยนี่ มีอาการซูบซีดลงไป ผอมเหลืองลงไป ชักเบื่ออาหาร กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นปัญหาเหมือนกัน แต่ยังไม่รู้จักตัวปัญหา ถ้ารู้จักตัวปัญหา เป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญตรวจดู ตรวจดู เอ เป็นอะไรนี่ เป็นอะไร นี่ตอนนี้ถึงจะใช่ คือมันจะต้องได้ภาวะเป็นโรค จึงจะเรียกว่า รู้ปัญหา ถ้าหากว่าไม่รู้ตัวปัญหานี้ ตั้งต้นแก้ไม่ถูก เห็นผอมเหลืองอะไรลงไปก็นึกว่า ขาดอาหารรึ เอาอาหารมา ให้กิน ก็กินไม่ได้อยู่ดี เอ้า ให้กิน วิตามินเข้าไป ก็ไม่เห็นดีขึ้น หมอต้องตรวจ ต้องเอกซเรย์ นี่ค้นอย่างเดียว เพื่อจะให้รู้ว่าเป็นอะไร เป็นปัญหาอะไร เป็นโรคอะไร ตรวจไปตรวจมาเอกซเรย์บ้าง บางทีเครื่องเอกซเรย์อย่างดีก็ คอมพิวเตอร์ เดี๋ยวนี้มีเอกซเรย์ตรวจอย่างดีอีก เลยกว่าคอมพิวเตอร์อีก เอ้ย เลยกว่าใช้เอกซเรย์ อีก เขาเรียกอะไร เอ็ม อาร์ ไอ ใช้คลื่นแม่เหล็ก
เณร คลื่นแม่เหล็กที่เอาคน เป็นกลมๆ แล้วเอาคนมาใส่
สมเด็จฯ เอาคนใส่ ถึงแบบคอมพิวเตอร์เอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ก็ใช้เหมือนกัน แต่เอ็ม อาร์ ไอ นี่ก็ใช้ แต่ว่า
ใช้คลื่นแม่เหล็กแทน ไม่ใช้เอกซเรย์ นั่นแหละ ใช่ ชัดยิ่งกว่าใช้เอกซเรย์อีก นี่ก็ไม่รู้แหละ ผลที่สุด อะไรที่เสียเงินเสียทอง ใช้เครื่องมือกันมากมาย เพื่อจะตรวจให้รู้ว่า เป็นโรคอะไร ใช่มั้ย เท่านั้น เอง งั้นกว่าจะรู้ว่าทุกข์อะไรนี่ เป็นทุกข์อะไร ทุกข์ก็คือ ตัวปัญหา โอ้โห ค้นกันแทบแย่ ต้องผู้เชี่ยว ชาญนี่ พอค้นแล้ว อ๋อ เป็นโรคตับ ไม่ใช่เป็น โรคขาดอาหาร เพราะว่าผอมเหลือง อะไรลงไป ซีดเซียวลงไปนี่ อาจจะเป็นอะไรก็ได้ ใช่มั้ย บางทีเป็นมะเร็งที่ปอด บางทีเป็นที่โรคกระเพาะก็มี อย่างรายนี้ก็หมายความว่าตรวจไปตรวจมา ผลที่สุด อ๋อ เป็นโรคตับ นี่ได้นะ เพิ่งได้ขั้นที่หนึ่ง รู้ทุกข์ ต้องกำหนดตัวปัญหาให้ได้ก่อน ต่อไปอะไรทีนี้
เณร สมุทัยครับ
สมเด็จฯ ต้องสมุทัย สมุทัยก็คือตัวต้นเหตุของปัญหา ต้องดูเชื้อให้รู้เลย อ้าว ที่เป็นโรคตับนี่อะไร ตับ อักเสบ นี่ตับอักเสบเป็นประเภทไหน เป็นตับอักเสบไวรัสเอ ไวรัสบี หรือว่าเป็นมะเร็ง ตับแข็ง หรืออะไร โอ้ หลายเรื่องใช่มั้ย โรคตับอย่างเดียวก็มีหลายสมุฏฐาน เหตุต้องหาให้ได้ ถ้าไม่ได้เหตุ ก็รักษาไม่ถูกอีก เท่าที่รู้เป็นโรคตับ จะเป็นไวรัสบี เอ้า ก็จะได้รักษาแบบให้มันตรงสมุฏฐานแก้ ไวรัส หรือเป็นมะเร็งในตับ หรือว่าเป็นตับแข็ง หรือว่าเป็นอะไรก็ว่าไป ตอนนี้เรียกว่า ดูสมุฏฐานเหตุของปัญหานั้น ต้องค้นสาเหตุของปัญหา เพื่อที่จะไปแก้ที่สาเหตุ ก็ต้องกำจัดไวรัสบี หรือถ้า เป็นมะเร็งก็ว่าไปอีกเรื่อง
ทีนี้พอรู้สาเหตุแล้วต้องนิโรธละ มาล่ะ นิโรธ คืออะไร การแก้ปัญหาแท้ๆ ตัวการแก้ปัญหาเลย ได้แก่ จุดหมายว่าเป็นไปได้แค่ไหน เวลาเราจะรักษาโรคนี่ หมอต้องกำหนดเลยว่า มันจะรักษา ได้แค่ไหน จุดหมายที่เราจะเอาได้ สิ่งที่เราต้องการว่า รักษาสำเร็จ จะได้แค่นี้ หมอจะต้องกำหนด ให้ได้ก่อน หมอก็กำหนดตั้งเป้าสูงสุด ผลเลิศคือให้หายเด็ดขาด แต่ต้องรู้ว่ามันอาจจะเป็นไปไม่ ได้ถึงขนาดนั้น ถ้ามันไม่ได้เด็ดขาดนี่ เราจะเอาหรือจะแก้ได้แค่ไหน มันเป็นไปได้แค่ไหน ต้องกำหนด พอเสร็จแล้วจึงจะชัดเจนในการที่จะวางวิธีแก้ นี่คือขั้นนิโรธ ต้องรู้จุดหมาย สิ่งที่ ต้องการว่าเป็นไปได้แค่ไหน รู้สิ่งที่ต้องการนั่นเอง พร้อมกันนั้นก็รู้กระบวนการแก้ด้วย พอในเมื่อ รู้ว่าเหตุมันมีแค่นี้ คืออันนี้แล้ว แก้ปัญหาได้แค่นี้ ก็เห็นกระบวนการแก้
เอาละทีนี้ต่อไปข้อสุดท้าย คืออะไร
เณร มรรค
สมเด็จฯ คือมรรค มรรคก็วิธีปฏิบัติในการแก้ปัญหา วิธีปฏิบัติในการแก้ปัญหา ตอนนี้ละเรื่องใหญ่
คนกับหมอกับพยาบาลอะไรทั้งหมด ต้องทำทุกอย่างเลย ตอนนี้ จะต้องใช้ยาอะไรบ้าง ยาอันไหน จะต้องกินเวลาไหน ก่อนหลังอาหาร เป็นจำนวนเท่าไหร่ คอร์สยาวเท่าไหร่ วิธีปฏิบัติตัวของคนไข้ จะต้องทำยังไงบ้าง ในระหว่างนี้จะต้องมีการคอยเอกซเรย์ ตรวจดูเป็นระยะยังไง นี่ทั้งหมด นี่เรียกว่า วิธีปฏิบัติในการแก้ปัญหา เรียกว่า มรรค นี้ถึงเราทำเรื่องอื่นก็เหมือนกัน เราจะแก้ปัญหาอะไรสักอย่างนี่ต้องเริ่มด้วยการ
1. กำหนดรู้ทุกข์ คือ ตัวปัญหา
2. ศึกษาหาสาเหตุของปัญหา
3. กำหนดสิ่งที่ต้องการจุดหมาย กำหนดจุดหมายความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา แล้วก็
4. กำหนดวิธีปฏิบัติในการแก้ปัญหา แล้วทำตามวิธีนั้น
นี่คือ อริยสัจ 4 คือ ท่านจึงบอกว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาของอริยชน ไม่ใช่ไปมัวอ้อนวอนกราบ เทพเจ้าอยู่นะ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่ของอารยชน ไม่ใช่ของอริยเจ้า อริยเจ้าก็ต้องนี่ ตกลงทั้งหมดนี่ ก็ต้องใช้ปัญญาทั้งนั้นเลย ใช่มั้ย ต้องใช้ปัญญา ถ้าเราไม่รู้สาเหตุละก็ มันก็ทำไม่ถูก บางทีเราทำ ไปโดยบังเอิญ ไปถูกเข้าตรงเหตุก็แก้ปัญหาได้ ก็มี แต่การที่จะให้บังเอิญอย่างนั้นล่ะก็ โอกาสที่จะ แก้ได้มันน้อย ใช่มั้ย โดยมากมันจะไม่ตรง อย่างนั้นก็เรียกว่า ทำสุ่มสี่สุ่มห้า ถูกก็ดีไป ไม่ถูกก็แย่ ไปเลย
นี่ก็เรื่องอริยสัจ ก็ทีนี้มาใช้กับชีวิตมนุษย์นี่ มันก็รวมไปหมดถึงปัญหาจิตใจ ถ้าเราจะมีทุกข์ เราก็ ต้องกำหนดให้ได้ เหตุมันมาจากอะไร เหตุสำคัญคือความเอาแต่ใจอยากของตัวเอง ไม่รู้ความ เป็นไปที่แท้จริงของสิ่งนั้นว่าเหตุเกิดจากอะไร คือไม่เอาตามเหตุปัจจัย เอาตามใจอยาก อย่างที่ว่า มาแล้ว นี่เป็นต้น แต่ว่าวิธีที่จะเข้าใจอริยสัจง่ายๆ ก็นึกถึงการแก้ปัญหาที่ว่า นี่เป็นความเข้าใจ อริยสัจแบบที่เป็นพื้นฐาน
ทีนี้อริยสัจนี่ก็สรุปแล้วมันก็มี ๒ ตัวเท่านั้นเอง ทุกข์หรือปัญหานั้นเป็นผล คือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมา แล้ว มันต้องมีเหตุ เขาเรียกสมัยใหม่ เขาเรียกปรากฏการณ์ เคยได้ยินมั้ยคำว่า ปรากฏการณ์
เณร เคย
สมเด็จฯ ปรากฏการณ์ ก็คือสิ่งที่มันปรากฏขึ้นมาเนี่ย สิ่งที่ปรากฏเนี่ย มันต้องเป็นผลละ ใช่มั้ย พอคน ที่มีปัญญาจะต้อง เอ๊ะ มีปรากฏการณ์นี่ขึ้นแล้ว ต้องมีเหตุ พอสืบสาวหาเหตุ นี่จะได้คู่หนึ่ง คือตัวปรากฏการณ์ที่เป็นปัญหานั้นเป็นผล แล้วก็สืบสาวลงไปก็พบเหตุ นี่คู่หนึ่งแล้วนะ ผลแล้วก็เหตุ ทีนี้จุดหมายที่ต้องการ เป็นอะไร เป็นผลใช่มั้ย จุดหมายที่เราต้องการเป็นผล แล้ววิธีปฏิบัติใน การที่จะเข้าถึงจุดหมาย หรือแก้ปัญหานี่ คืออะไร
เณร เหตุ
สมเด็จฯ ก็เป็นเหตุ ใช่มั้ย ตกลงได้อีกคู่นึงแล้ว นิโรธก็เป็นผล มรรคก็เป็นเหตุ ก็ที่จริง 4 ข้อ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นี่ไม่ใช่อะไรหรอก หลักการแห่งเหตุและผลเท่านั้น พูดสั้นๆ ใช่มั้ย
ทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ นิโรธเป็นผล มรรคเป็นเหตุ ตกลงผลเหตุ 2 คู่ เป็นผลเหตุฝ่ายที่เรา ไม่ต้องการฝ่ายหนึ่ง แล้วก็ผลและเหตุฝ่ายที่เราต้องการอีกฝ่ายหนึ่ง เราก็เอาฝ่ายนิโรธและมรรค เมื่อพูดย่อๆ ก็เป็นอันว่า อริยสัจ 4 ย่อเหลือสองเท่านั้น เหตุและผล พอพูดเป็นอันเดียวก็คือ หลักการณ์ของเหตุและผล หรือความจริงว่าด้วยเหตุและผล จบ ใช่มั้ย หลักอริยสัจก็เท่านี้เอง เพราะฉะนั้นจึงรวมลงในคำว่าธรรมะ เพราะธรรมะเป็นหลักการแห่งเหตุและผล ก็เลยธรรมะ เป็นคำที่คลุมหมด ก็แยกไปเป็นอริยสัจ
พอเราพูดถึงอริยสัจ พูดถึงเหตุผล มันก็คลุมหมดทุกอย่างในโลกแล้ว ก็เลยหลักอริยสัจนี่คลุมหมด แต่เรื่องของมนุษย์นี่ ก็เรื่องของการแก้ปัญหานี่เป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินชีวิตของเรา ถ้าเราใช้ หลักการอริยสัจแก้ปัญหาแล้ว เราจะมีทางที่จะทำให้ปัญหาสำเร็จได้ด้วยดี ไม่งั้นเราจะแก้กันผิดๆ พลาดๆ ไปนอกลู่นอกทาง ไขว้เขวไปกันใหญ่ เอาละวันนี้ ก็เนี่ย ให้เข้าใจอริยสัจแบบง่ายๆ เณรเต็มพอเข้าใจมั้ยครับ
เณร เข้าใจครับ
สมเด็จฯ อย่างนี้ง่ายดีนะ