แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
สมเด็จฯ พูดมาเยอะแล้ว อยากจะถามว่าแต่ละองค์ ชอบ หรือว่า จำธรรมะบทไหน ชุดไหนได้แม่นที่สุด เอาชอบก็ได้ หรือ จำแม่นก็ได้
เณร เป็นยังไงครับ
สมเด็จฯ ธรรมะที่เรียนๆ มา
เณร อ๋อ ที่ท่านอาจารย์สอนมา
สมเด็จฯ ที่พระอาจารย์ทั้งหลายสอนมา องค์ไหนก็ได้ เอ้า ถามละกัน เณรวุฒิไปเลย มีบทไหนที่ชอบหรือจำแม่น
เณร ขอผ่านไปก่อน ได้มั้ยครับ
สมเด็จฯ เอ นึกไม่ออก นึกไม่ทัน เณรอนุรักษ์มีมั้ย
เณร ชอบภาษาอังกฤษครับ
สมเด็จฯ อืม ชอบภาษาอังกฤษ เอาละ ทีนี้เอาธรรมะ
เณร อ๋อ ธรรมะหรือครับ
สมเด็จฯ ธรรมะหมวดไหน ชุดไหน
เณร ชอบการคบเพื่อนครับ
สมเด็จฯ อ๋อ ชอบการคบเพื่อน มิตรแท้ มิตรเทียมหรือไง
เณร ครับ
สมเด็จฯ อ๋อ ทำไมถึงชอบเรื่องมิตร
เณร ก็คิดว่าจะได้เอาไว้เป็นแนวปฏิบัติในการคบเพื่อน
สมเด็จฯ นึกออกมั้ย ธรรมะอะไร
เณร ลองนึกดูก่อนนะครับ
สมเด็จฯ ลองนึกดูก่อน นึกไม่ออก เรียนเยอะแล้วสิท่า แต่ธรรมะที่เราเรียนๆ กันนี่นะ ว่าโดยย่อก็จะมี 2 ประเภทเป็นหลัก คือ
1. ธรรมะที่แสดงตัวความจริง ความจริงเป็นอย่างงั้นๆ บอกให้รู้ ทีนี้
2. ก็ธรรมะที่แสดงการปฏิบัติ หมายความว่า เราควรจะทำยังงั้นยังงั้น
อย่างที่หนึ่ง บอกว่า ความจริงเป็นยังไง อะไรคืออะไร เป็นยังไง เป็นเพราะอะไร อย่างที่สอง บอกว่า เราควรจะทำอะไร เราควรจะประพฤติอย่างไร ทีนี้ที่เรียนส่วนมาก จะเป็นประเภทไหน ประเภทแสดงความจริง หรือประเภทแสดงการปฏิบัติ
เณร ปฏิบัติ แสดงการปฏิบัติ
สมเด็จฯ ปฏิบัติมากกว่า
เณร แต่ที่วุฒิชอบ ชอบความจริงมาก
สมเด็จฯ เหรอ
เณร ก็เหมือนต้นครับ ชอบความจริงมากครับ
สมเด็จฯ เหรอ อ้าว แล้วธรรมะบทไหนที่แสดงความจริงที่เรียนไปแล้ว
เณร มิตร มิตรหรือเปล่าครับ
สมเด็จฯ มิตรไม่ใช่ มิตรมันก็เป็นความจริงบ้าง แต่จุดเน้นจะไปอยู่ที่ควร ใช่มั้ยที่ว่าต้องการให้ปฏิบัติ เลือกคบมิตรให้ถูกต้อง ควรจะคบคนดี ควรจะหลีกเลี่ยงมิตรชั่ว อะไรอย่างนี้ มันก็เป็นเรื่อง ของการปฏิบัติ ธรรมะที่แสดงความจริงนี่ สังคหวัตถุก็เป็นประเภทปฏิบัติ ให้ทำ ให้ทาน ให้สงเคราะห์
เณร แล้วพรหมวิหาร 4 ล่ะครับ
สมเด็จฯ พรหมวิหาร 4 ก็เป็นประเภทปฏิบัติเหมือนกัน ปฏิบัติแถวๆ นั้น
เณร แล้วอริยสัจ 4 ล่ะครับ
สมเด็จฯ นั่น อริยสัจ 4 เนี่ย อริยสัจ 4 แสดงหลักความจริงว่า สิ่งทั้งหลายเป็นอย่างนั้น สิ่งทั้งหลายเป็น สิ่งที่คงทนอยู่ไม่ได้
เณร ท่านช่วยอธิบาย มันมี 4 อย่าง เช่น อะไรบ้าง
สมเด็จฯ อ๋อ อริยสัจ 4
1.ก็ทุกข์ไง 2.สมุทัย 3.นิโรธ 4.มรรค
ทุกข์ก็เป็นความจริงอย่างหนึ่งของสิ่งทั้งหลายว่า มันคงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ถ้าใครไปยึดถือ เอา จะให้เป็นไปตามความปรารถนาของตัว ก็ต้องเกิดความบีบคั้นตัวเอง เพราะว่าสิ่งทั้งหลาย มันไม่ได้เป็นไปตามใจอยากของเรา อย่างที่เคยพูดไปแล้ว มันเป็นไปตามอะไร สิ่งทั้งหลายนี่เป็น ไปตามอะไร
เณร ธรรมชาติ
สมเด็จฯ ธรรมชาติน่ะพูดรวมๆ ธรรมชาติก็กฎของมันคืออะไร ความจริง
เณร ธรรมะ
สมเด็จฯ นั่นสิ กฎความจริงที่ว่า ธรรมะ คือมันเป็นยังไง ที่มันจะเป็นไปน่ะ มันเป็นไปตามอะไร
เณร เป็นไปตามตัวของมันเอง
สมเด็จฯ ตามตัวของมันเอง เอ มันก็คลุมสิ มันก็วนอยู่นี่
เณร ตามลักษณะของมันเอง
สมเด็จฯ มันก็คลุม มันก็วนอยู่อย่างนั้น มันไม่ชัด ต้องชี้ให้ชัดอย่างไร
เณร ตามความจริง
สมเด็จฯ ตามความจริงมันก็ชัด มันก็คลุมอยู่อย่างนั้น
เณร เป็นไปตามสภาพรึป่าวครับ
สมเด็จฯ สภาพก็ยังคลุมอยู่นั่นแหละ มันไม่ชัด ชี้ให้ชัด ตามเหตุปัจจัยของมันสิ ใช่รึเปล่า ใช่มั้ย
เณร ใช่ครับ
สมเด็จฯ นั่นสิ สิ่งทั้งหลายมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน มันไม่ได้เป็นไปตามใจอยากของเรา ถ้าใคร ไปยึดถือ จะให้เป็นไปตามใจอยากของตัว ก็ไปขัดกับความจริงของมัน พอขัดกัน ใครชนะ อย่าง ที่เคยว่ามาแล้ว เหตุปัจจัยชนะ หรือใจอยากได้ของเราชนะ
เณร เหตุปัจจัยชนะครับ
สมเด็จฯ พอเหตุปัจจัยชนะ มันก็บีบคั้นใจเรา เพราะไม่ได้ตามใจปรารถนา ใช่มั้ย มันก็เป็นทุกข์ล่ะสิ เรียก ว่าบีบคั้น ทุกข์ด้วยความบีบคั้น เวลาเราฝึกตรวจทุกข์นี่จะรู้สึกบีบคั้น ใช่รึเปล่า มีความบีบคั้น กดดัน อัดอั้น ติดขัดในใจ นี่เรียกว่าทุกข์ ในภาษาไทยเรามักจะเรียกว่าปัญหา ปัญหาก็ติดขัดอยู่ นั่นแหละ ให้นึกถึงคำว่าทุกข์ในความหมายว่า บีบคั้น ติดขัด กดดัน นี่เป็นลักษณะของอาการที่ เรียกว่า ทุกข์ เพราะฉะนั้น นี่ความจริงของมันเป็นอย่างนี้ ในที่นี้ก็เลยพูดทั้งข้อ 1 และข้อ 2 เสร็จ ทุกข์นั้นก็ภาวะที่เกิดความบีบคั้นขึ้นมา สมุทัย ก็เหตุของมันก็คือ ความปรารถนา จะเอา ตามปรารถนา ไม่เอาตามเหตุปัจจัย ใช่มั้ย ข้อที่ 3 นิโรธ หลักการดับทุกข์ ไม่ให้เกิดปัญหา ไม่ให้ เกิดความบีบคั้นขึ้นมา ก็คือว่า ต้องไม่เอาตามใจอยากของตัวเป็นหลัก ต้องเข้าใจตามเป็นจริง ตามเหตุปัจจัยนั้น ต่อไปข้อ 4 มรรค ข้อปฏิบัติ นี่แหละตอนนี้ถึงข้อปฏิบัติแล้ว
เณร อาจารย์ นิโรธนี่แปลอย่างย่อๆ แปลว่าอะไร
สมเด็จฯ นิโรธ แปลว่าความดับทุกข์ ดับทุกข์ก็คือ การที่ไม่เอาตามใจอยากของตัว ใช่มั้ย คือไม่เอาตาม ปรารถนา ไม่เอาตามตัณหา ตัณหาคือใจอยากของตัวเอง เอาตามความจริงของมัน คือ การดับ เหตุปัจจัยของมัน ใช่มั้ย การดับเหตุ เมื่อเราต้องการจะดับทุกข์ เราก็ต้องดับเหตุของมัน ก็เท่านั้น เอง แก้ปัญหา เพราะฉะนั้น เราต้องศึกษาหาความจริงให้รู้ว่าอะไรเป็นเหตุปัจจัยของปัญหา แล้ว แก้ที่เหตุปัจจัย ไม่ใช่ว่าเอาใจอยากของตัว แล้วก็มาบ่นเพ้อไป ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ทีนี้ตอนนี้เป็น ท่านบอกความจริงให้รู้หลัก ทีนี้
ข้อที่ 4 เป็นมรรควิธี เป็นหนทางหรือวิธีปฏิบัติ อันนี้ก็คือว่า ท่านก็แจกแจงรายละเอียดของการปฏิบัติว่า เริ่มคุณจะต้องเข้าใจความจริงว่า สิ่งทั้งหลายนี่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยนะ แล้วก็คิด ดำริชอบ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ก็เข้าใจหลักความจริงว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย 2. ก็มีความดำริถูกต้อง ดำริที่จะทำการไปตามหลักเหตุปัจจัย ไม่ใช่ทำตามอยากของตนเอง ปัจจัยอยากของตัวเองก็อยากจะได้เห็นตามเห็นแก่ตัว ขัดใจขึ้นมา อยากจะเบียดเบียนคนอื่น อะไรทำนองนี้ อยากจะปล่อยตัวเองตามสบาย แกล้งสัตว์ทั้งหลาย หรือว่าแกล้งมนุษย์ทั้งหลาย โดยที่ไม่มีเหตุมีผล นี่เรียกว่า คือ ความคิดที่ไม่ถููกต้อง เราก็พูดกันมา ก็พูดเรื่อยเปื่อยไม่ได้เรื่อง เอาแต่ใจอยากของตัว ก็ไม่ได้ ต้องพูดโดยที่ว่า พิจารณาสิ่งที่สมควรถูกต้องคำพูดที่เป็นเหตุเป็น ผล คำพูดที่จะช่วยให้คนอยู่ร่วมกันได้ดี หรืออะไรต่างๆ เหล่านี้ สุจริต เป็นความจริง ไม่พูดเท็จ ถ้าทำออกมาก็ไม่เบียดเบียนกัน อะไรต่างๆ นี่ก็เรื่อยไปเนี่ย
ข้อมรรคก็แยกเป็น 8 อย่าง เป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ เราเห็นถูกต้อง ภาษาโบราณ ชอบก็คือ ถูกต้อง ดำริชอบก็คิดในทางที่ถูกต้อง แล้ววาจาชอบ เจรจาชอบก็คือ พูดในสิ่งที่ถูกต้อง แล้วก็ กระทำชอบ หรือ ทำการงานชอบ ในที่นี้หมายถึงว่า ถ้าทำสิ่งทั้งหลายไปในทางที่ถูกต้อง เช่น ไม่เบียดเบียนกัน แล้วก็มีความเพียรพยายามในทางที่ถูกต้อง หรือเพียรชอบ แล้วก็มีสติระลึก ในสิ่งที่ถูกต้อง ในทางที่ถูกต้อง แล้วก็สมาธิตั้งจิตมั่นให้ถูกทาง หรือว่าในทางที่ถูกต้องนั่นเอง ก็เรื่องอริยสัจเป็นเรื่องที่คลุมหมดแหละ หลักพระพุทธศาสนาทั้งหมด ก็รวมอยู่ในเรื่องอริยสัจ แต่ทีนี้ที่บอกเมื่อตะกี้เอาง่ายๆ จะสั้นกว่าอริยสัจอีก ก็คือว่าธรรมะนี่ ก็แสดงหลักความจริง ก็แสดงหลักปฏิบัติ ว่าเราควรจะทำอะไร
นี้อย่างว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง อยู่ในสภาพเดิมของ มันไม่ได้หรอก มันจะต้องเปลี่ยนแปลงไป แล้วก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย อย่างนี้เรียกว่าแสดงอะไร
เณร แสดงความจริงครับ
สมเด็จฯ แสดงความจริง ถ้าบอกว่าทำอย่างโน้นไม่ดีนะไปเบียดเบียนกัน ควรจะเว้นจากการฆ่าสัตว์ ควร จะเว้นจากการพูดปด อย่างนี้แสดงอะไร
เณร แสดงการปฏิบัติ
สมเด็จฯ แสดงหลักปฏิบัติ นี่ธรรมะก็จะโดยทั่วไปก็มี ๒ แบบ ทีนี้สองอย่างนี่มันจะมาสัมพันธ์กันนะ จะยก ตัวอย่าง ท่านสอนมาว่า สิ่งทั้งหลายมันไม่เที่ยง มันไม่อยู่กับที่ มันต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แล้วก็มันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย นี่แสดงความจริงแล้วนะ นี้ก็จะสอนหลักปฏิบัติสิ เพราะมันไม่ เที่ยง สิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน ไม่คงอยู่กับที่ ชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่เที่ยง ไม่คง อยู่กับที่ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น เอาล่ะทีนี้ พอแสดงความจริงแล้ว ต่อจากนั้น จะบอกหลักปฏิบัติ เพราะฉะนั้นเรา จะนิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้ มีธุระการงานหน้าที่อะไร ความดีอะไรต้องรีบทำ ไม่งั้น ชีวิตจะผ่านไป อย่างว่างเปล่า อย่างนี้เรียกว่าแสดงหลักปฏิบัติ แล้วมันเนื่องจากความจริงหรือเปล่า เพราะความจริงเป็นอย่างนั้นว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไป ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเร่งทำหน้าที่การงาน เร่งทำความดีงาม อันนี้เรียกว่าเป็นเหตุเป็นผลกันใช่มั้ย ความจริงเป็นตัวหลักที่ทำให้เราต้องปฏิบัติ คือหลักความ จริงที่ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง ทำให้เราต้องรีบทำหน้าที่การงาน เรียกว่าไม่ประมาท การที่เร่งขวน ขวายทำอะไรต่างๆ ทำความดีงามอะไรต่างๆ นี่ เรียกว่าไม่ประมาท
ทีนี้ท่านบอกต่อไปว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย นี้ที่แสดงความจริง เพราะฉะนั้นเราต้องการจะแก้ปัญหา เราต้องศึกษาเหตุปัจจัย เราต้องเรียนรู้ พิจารณาเหตุปัจจัย ของมัน การพิจารณาเหตุปัจจัยนี่เป็นการปฏิบัติใช่รึเปล่า ใช่มั้ยครับ ใช่มั้ยการพิจารณานี่ ที่บอกว่าต้องไปพิจารณาเหตุปัจจัยนะ สืบสาวหาเหตุปัจจัย แต่ตัวเหตุปัจจัยนั้นเป็นความจริง แต่ การที่เรามาคิดพิจารณาหาเหตุปัจจัย อันนี้เป็นการปฏิบัติของเรา แสดงว่าความจริงกับการปฏิบัติ มันสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
นี้หลักพุทธศาสนาที่สำคัญเนี่ย ที่แสดงความจริงนี่มันก็มากมายล่ะ แต่เอาหลักสำคัญที่สำคัญ ที่เราควรจะกำหนดไว้เป็นเรื่องใหญ่ คือความเป็นไปตามเหตุปัจจัย สิ่งทั้งหลายเนี่ย มันจะเป็น ไปอย่างไร เป็นไปตามเหตุปัจจัย นี่คือความจริงที่เป็นหลักสำคัญ
งั้นจาก หลักนี้ จะทำให้เราปฏิบัติได้เยอะแยะ แต่เราจะต้องไม่ประมาท เร่งขวนขวายทำอะไร ต่างๆ เพราะสิ่งทั้งหลายมันไม่ คงอยู่กับที่ เหตุปัจจัยมันก็มีใหม่มาเรื่อยๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ เราจะ รอช้าอยู่ ไม่ได้ และเราจะต้องใช้ความคิดพิจารณาใช้ปัญญาหาเหตุปัจจัย ถ้าคนไหนยิ่งใช้ปัญญา พิจารณารู้เข้าใจความจริงเหตุปัจจัย ก็ยิ่งทำสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้อง แก้ปัญหาได้ถูกต้อง แม้เราจะ ทำอะไร ที่เรียกว่าสร้างสรรค์ใหม่ๆ ก็จะสร้างขึ้นมาได้ ถ้าเราไม่รู้เหตุปัจจัยของมันนี่เราทำไม่ถูก ถ้าเราทำถูกตรงเหตุปัจจัย เราก็ได้ผลที่ต้องการ เพราะว่าผลเกิดจากเหตุ สิ่งที่เราต้องการก็คือผล งั้นผลจะเกิดขึ้นมาลอยๆ ตามต้องการของเราหรือ ไม่เกิด เราต้องทำเหตุมาก่อน เพราะฉะนั้นจึงต้องศึกษา ใช้ปัญญา งั้นตกลงหลักสำคัญของพุทธศาสนาที่มีสอนเยอะแยะนี่ ผลที่สุดจะไปอยู่ที่ปัญญาเรื่องใหญ่ที่สุด ใช่มั้ย ตัวหลักความจริงนั้น จุดสำคัญอยู่ที่เรื่องเหตุปัจจัย ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย อะไรที่จะทำให้เราเข้าถึงเหตุปัจจัยได้ อะไร
เณร ปัญญา
สมเด็จฯ ปัญญา เพราะฉะนั้นปัญญาจึงเป็นตัวคู่สำคัญมาก จะมีธรรมะ ให้ปฏิบัติโน้นปฏิบัตินี้หลายอย่าง แต่ผลที่สุดแล้วจะไปจุดยอดอยู่ที่ปัญญา ปัญญาจะทำให้แก้ปัญหาได้ เพราะเข้าถึงเหตุปัจจัยของ มัน เป็นจุดจบหมดเลย
นี่สมมติว่าเราจะมีสังคหวัตถุ เราจะให้ทาน ให้แบ่งปันอะไรต่างๆ บางทีเราให้ไป เอ๊ะ ทำไมมันไม่ ได้ผลดีล่ะ เกิดผลเสียอะไรต่ออะไร อ้าว เพราะเราไม่รู้เหตุปัจจัยเรื่องความจริง เราให้ผิดไม่ถูก เรื่องกัน คนนี้เขาเป็นคนที่มีใจร้าย มีใจ เบียดเบียน ถ้าเขาได้ของไปแล้ว แทนที่เขาจะเอาไปทำ ประโยชน์ เขากลับเอาไปทำในทาง ไปมีความสามารถในการทำการเบียดเบียนผู้อื่น หรือทำความ ชั่วได้มากขึ้น งั้นถ้าเราให้ทานโดยไม่มีปัญญา ก็กลายเป็นสนับสนุนเขาทำชั่วไป ใช่มั้ย อย่างนี้ เป็นต้น ก็เรียกว่า ผลที่สุดแล้วจะต้องมีปัญญาคลุมหมด
เณรจะไปเพียรพยายาม ทำอะไร ถ้าเพียรไม่ถูกเรื่อง อุตส่าห์ทำแทบตาย หมดแรงเลย ไม่สำเร็จ เพราะทำไม่ถูกจุด ทำไม่ถูกเหตุปัจจัย ฉะนั้นถึงมีความเพียรพยายาม ถ้าไม่มีปัญญา ผลที่สุดก็ไป ไม่รอด อย่างที่เคยเล่าอ่ะ คนไม่มีทรัพย์เลย แต่มีปัญญา ยังไม่มีทรัพย์สักสตางค์แดงเดียว แต่มอง เห็นอะไรต่ออะไรเป็นเงินไปหมด เพราะรู้ว่าจะเอาอะไรไปทำยังไงมันจะเกิดเป็นเงินขึ้น ก็เรียกว่า รู้เหตุปัจจัย ก็เอาละ
ตกลงว่า ธรรมะ 1. ก็แสดงความจริง 2. ก็แสดงหลักปฏิบัติ
ทีนี้ในด้านความจริง ที่สำคัญก็ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ในด้านหลักปฏิบัติจุดสำคัญก็คือปัญญา ในส่วนเรื่องอื่นๆ ก็มาประกอบเข้าไป แต่เราจะพัฒนาไปปัญญาจะงอกงามยิ่งขึ้น เราไม่มีความ เพียร ปัญญาก็ไม่เจริญเหมือนกัน ใช่มั้ย เราไม่เพียรพยายามคิดไม่พยายามค้นคว้าหาความจริง ปัญญาไม่พัฒนา เพราะฉะนั้นต้องมีความเพียร ถ้าไม่มีสมาธิ ถ้าไม่ตั้งใจฟัง จิตใจไม่แน่วแน่ ก็เรียนไม่รู้เรื่องอีก ปัญญาก็ไม่เกิดอีก เพราะฉะนั้น มันต้องมีตัวอื่นมาช่วยเยอะแยะไปหมดเลย แต่ว่าจุดสำคัญก็ปัญญาเป็นตัวที่จะเป็นแกน
เอาละ วันนี้ก็คุยกันเรื่องธรรมะกว้างๆ พอสมควร ทีนี้พรุ่งนี้จะมีหลวงปู่ลังกามา ที่เราเตรียมที่ ต้อนรับ ก็เดี๋ยวจะต้องวางเรื่องของสถานที่อะไรต่างๆ จัดกันอีก จะมีเรื่องที่ต้อง ไหนเณรว่ายังไง
เณร หลวงพ่อลังกา นี่พูดภาษาไทยไม่เป็นใช่มั้ยครับ
สมเด็จฯ อ๋อ ไม่เป็นน่ะ ท่านพูดแต่ได้ภาษาอังกฤษกับภาษาบาลี
เณร ภาษาบาลีท่านพูดได้
สมเด็จฯ ท่านพูดได้ ได้ยินว่าท่านพูดได้ เห็นว่าพูดเก่งซะด้วย ใช่มั้ยฮะ
พระ ครับ
สมเด็จฯ ทีนี้ ท่านมาก็บ่าย บ่ายก็ เณรก็มาฟังด้วยนะ ดีมั้ย
เณร ดีครับ
สมเด็จฯ จะได้ดู ได้มีประสบการณ์ ท่านอายุตั้ง 95 แล้ว คิดดู
เณร ฟังอะไรครับ
สมเด็จฯ ก็ เณรก็มาดู ถ้าฟังออกด้วยก็ฟัง ภาษาอังกฤษนี่ บางที บางตัวอาจจะฟังออกบ้างก็ได้ ถึงฟังไม่ ออก เราก็ให้เป็นประสบการณ์ไว้ พระท่านอายุ 95 ท่านยังแข็งแรงนี่ก็เป็นที่น่าแปลกใจอยู่ เห็นว่ายังแข็งแรงมาก เดินเก่งใช่มั้ยฮะ
พระ ครับ เดินขึ้นเขา
สมเด็จฯ ท่านอายุ 95 นี่ไม่ใช่เบานะ สติยังดี ยังตอบปัญหาได้เก่ง ท่านชื่อ อานันทเมตตรัยยะ หรือเรียก กันอีกอย่างว่า อานันทไมตรี จริงๆ บาลีเรียกว่า อานันทเมตตรัยยะ เรียก อานันทไมตรี ก็เรียก แบบสันสกฤต เราก็มาฟังมาดูท่านเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่ง อันนี้ว่าที่สำคัญก็คือว่า
การฉันอาหารจะจัดยังไง 2. สถานที่เวลาสวดมนต์นี่ อย่างนี้ จะมาจัดกันยังไง เดี๋ยวต้องวาง แผนกันต่อไป แล้วก็ 3. ก็ที่จำวัดจะจัดยังไง แล้วก็ 4. ห้องน้ำ ห้องน้ำเราก็มีแค่สอง นี่จะต้องทำ ยังไงให้ท่านสะดวก เป็นผู้ใหญ่และผู้เฒ่ามาด้วย เราจะพยายามอำนวยความสะดวก ให้ท่าน สำหรับเณรก็ เอ้า ฉันเลย