แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
มีโยมครั้งหนึ่งถามว่าระหว่างสมาธิกับวิปัสสนา เวลาปฏิบัติจริงๆ ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นวิปัสสนา ก็ขอตอบว่า สมาธิเป็นเรื่องของจิต ส่วนวิปัสสนานั้น เป็นปัญญา อธิบายสักหน่อยว่า สมาธิเป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะ คือ การทำจิตให้แน่วแน่ ให้ตั้งมั่น ให้สงบ อะไรต่างๆรบกวนไม่ได้ จิตอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งเดียว สภาวะอย่างนี้เรียกว่าสมาธิ ถึงบอกว่าเป็นเรื่องของจิต ถ้าเราหยุดอยู่แค่นี้ก็จบแค่สมาธิ แต่ทีนี้เราไม่หยุดแค่สมาธิ เราปฏิบัติต่อไป เพราะเราต้องการไปสู่ปัญญา การปฏิบัติในขั้นปัญญานี้ เรียกว่าวิปัสสนา ก็คือการที่จะรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลาย ตามเป็นจริง หรือว่ารู้ตามที่มันเป็น แต่ในการปฏิบัตินั้น เราจะใช้ปัญญา เราก็ใช้จิตนี่แหละทำงาน คืออาศัยจิตเป็นที่ทำงาน เพราะฉะนั้น วิปัสสนาก็เลย เกี่ยวข้องกับสมาธิ ภาษาของพระท่าน เรียกว่าเอาสมาธิเป็นบาท คือใช้เป็นพื้นฐานทำกิจให้พร้อม เมื่อเราก็สามารถไปสู่วิปัสสนา คือเอาจิตเป็นที่ทำงาน ในการที่จะเจริญปัญญา ยิ่งจิตเป็นสมาธิดีเท่าไร ก็สามารถเจริญปัญญาได้ผลดีมากขึ้นเท่านั้น แต่ว่าก็ต้องหมายความว่าเราไม่ติดอยู่แค่จิตสงบ คือถ้าเราอยู่แค่สมาธิ เราพอใจกับการที่จิตมันสงบ เราก็ไม่ไปสู่วิปัสสนา ถ้าเราต้องการไปสู่วิปัสสนาก็คือ เราต้องการความรู้ โดยอาศัยจิตที่เป็นสมาธินั้นเป็นที่ทำงานในการใช้ปัญญา คือพิจารณาดูให้รู้ให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ในเวลาฝึก อาจจะใช้วิธีที่เรียกว่าค่อยเป็นค่อยไป คือตอนนี้ ต้องเข้าใจความหมาย แยกกันได้ ระหว่างสมาธิกับวิปัสสนา และรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสองอย่างนั้นด้วย ที่ว่าไปแล้วนั้น เข้าใจว่า ก็จะเห็นชัดแล้วว่าต่างกันหรือสัมพันธ์กันอย่างไร ต่อไปนี้จะพูดถึงการฝึกในขั้นวิปัสสนา เมื่อกี้บอกว่า ในเวลาฝึกวิปัสสนานั้น อาจจะใช้วิธีที่เรียกว่าค่อยเป็นค่อยไป ก็หมายความว่า เรารู้อยู่ว่าจุดมุ่งหมายของวิปัสสนาก็คือ การรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง แต่ทีนี้ ลองมาดูคนธรรมดาสามัญทั่วๆไป เราก็มีความรู้เหมือนกัน แต่ไม่รู้ตามความเป็นจริง ที่ว่าไม่รู้ตามความเป็นจริงก็คือว่า รู้ตามที่คิดเห็นอย่างที่มันเป็น เช่นว่า รู้ตามที่อยากให้มันเป็นนั้น ก็หมายความว่า เรารู้เราเห็น เรามองไปตามที่ชอบใจไม่ชอบใจ คือคนทั่วไปหรือคนสามัญ ปุถุชนนั้น เคยชินกับการมองอะไรชอบใจ ไม่ชอบใจ แล้วก็คิดปรุงแต่งไปตามชอบใจไม่ชอบใจนั้น การที่เรามองไปตามที่ปรุงแต่งเนี่ย ทำให้เราไม่มองชีวิตตามที่มันเป็น เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญในขั้นต้น ก็คือจะต้องฝึก ให้สามารถตัดหรือกันเอาตัวชอบใจไม่ชอบใจนั้นออกไป ไม่ให้ความชอบใจไม่ชอบใจนั้น มาเป็นตัวเคลือบ เป็นตัวคลุม มาหุ้มมาห่อหรือมาปรุงแต่งความรู้สึกนึกคิดหรือตัวรู้นั้น ถ้าตัวความรู้นั้นถูกความชอบใจหรือไม่ชอบใจเข้าไปยุ่งไปปรุงไปแต่ง ก็เหมือนกับคนที่ใส่แว่นสี แทนที่จะเห็นตามที่มันเป็น ก็จะเห็นเป็นเขียวเป็นแดงเป็นต้น ไปตามสีของแว่น นี่ก็เหมือนกัน เมื่อเรามองดูรับรู้อะไรด้วยความชอบใจไม่ชอบใจ เราก็ไม่เห็นสิ่งนั้นตามที่มันเป็นจริง แต่เราเห็นไปตามความชอบใจไม่ชอบใจ หรือว่าความรู้ของเรานั้น ถูกตัวความชอบใจไม่ชอบใจมาปรุงมาแต่ง ทำให้เห็นเอนเอียงไป ทีนี้การที่จะฝึก ก็ต้องมาตัดหรือมากั้นเอาความชอบใจไม่ชอบใจนั้นออกไป ตัวที่จะมากันก็คือสติ ฉะนั้นก็เอาสติมาคอยจับสิ่งนั้นให้ปัญญาคือความรู้เนี่ย ดูรู้เห็นไปแค่นั้น แค่ตามที่มันปรากฏ ตามที่เราเห็นจริง เพราะฉะนั้นตอนแรกเนี่ย ท่านจะใช้คำว่า รู้ก็สักว่ารู้ เห็นก็สักว่าเห็น คำว่าสักว่าเนี่ย เดี๋ยวนี้มันใช้ไม่ดีแล้ว มันกลายเป็นว่าไม่เต็มใจ สมัยก่อนสักว่าหมายความว่าแค่ เห็นก็แค่เห็น ได้ยินก็แค่ได้ยิน ที่ว่าสักว่าเนี่ย หมายความว่าแค่นั้น พอดีๆ เพราะว่าเห็นก็แค่เห็น ไม่ใช่เห็นแล้วก็เลยไปเป็นอยากได้ ชอบไม่ชอบ เอาเห็นแค่เห็น ได้ยินก็ได้ยิน คือตรงไปตรงมา อย่างนี้จึงจะเกิดความรู้ คือหมายความว่า ความรู้ที่จะไม่บิดเบือน ไม่เกิดเป็นอย่างแว่นสีเนี่ย ก็คือว่ามีสติมา แล้วก็ดูรู้เห็นได้ยินได้ฟัง ก็แค่ตามที่ได้เห็นได้ยินได้ฟัง ไม่ไปปรุงแต่งต่อ ตอนนี้ก็เริ่มเข้าสู่วิปัสสนา คือว่าสมาธิเนี่ยนะ ลักษณะของมันเนี่ย มันจะกำหนดอะไรแล้วมันก็จะอยู่กับสิ่งนั้นเรื่อยไปเลย จะพยายามไม่ให้จิตไปเรื่องอื่น จะกำหนดลมหายใจก็ต้องอยู่กับลมหายใจ อยู่กับสิ่งเดียวไม่ยอมไปเรื่องอื่น แต่พอวิปัสสนามันไปอีกแบบเลย คือมันรับรู้ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าเห็นได้ยินอะไรต่ออะไรเนี่ย กลับตามทันหมด สติมันทำคนละแบบ สติที่จะสร้างสมาธิเนี่ย กำหนดอะไรก็ให้อยู่กับสิ่งนั้นตลอดไป ไม่ยอมไปเรื่องอื่น แต่วิปัสสนาเนี่ย สติตามทันทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ไปติดอยู่กับอันใดอันหนึ่งเลย อันนี้ลักษณะไปคนละแบบ แต่ว่าสติที่จับตามทันนั้น มันสำพันธ์กับการรู้ พอทันอันนั้นแล้วก็รู้ รู้เข้าใจตามนั้น ตอนแรกก็จะฝึกแค่นี้ก่อน คือฝึกแค่ว่าแค่นิสัยเคยชิน ที่ว่า พอเจออะไรปั๊ป ก็จะชอบใจไม่ชอบใจ แล้วก็จะตกอดีต ท่านเรียกว่าตกอดีต หมายความว่าอันไหนชอบก็ติดกับที่ชอบแล้วคิดต่อ ทีว่าตกอดีตก็คือว่า สิ่งที่เราไปติดใจชอบใจ มันเป็นอดีตไปแล้ว มันผ่านไปแล้วไปอยู่ในความคิดความจำของเรา ทีนี้เราไม่ตกอดีต เราตามทันสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไป ก็รู้ไปตามนั้น ตอนแรกฝึกแค่นี้ก่อน ฝึกแค่ให้ทันกับปัจจุบัน รับรู้ แค่รู้เห็น ต่อไปเนี่ย ภาวะของสิ่งนั้น ที่มันเป็นของมันอย่างนั้น เมื่อเรารู้โดยไม่มีตัวปรุงแต่งของเราเข้าไปขัดขวาง ไม่เข้าไปวุ่นวายเนี่ย มันก็จะเห็นความเป็นไปของมันตามเป็นจริง คือการที่สิ่งนั้นเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เปลี่ยนแปลงไปอะไรเนี่ย ก็ถือว่า ก็จะเกิดความเข้าใจสภาวะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จากการที่ดูรู้เห็นตามที่มันเป็นไปเรื่อยๆอะไรแบบนี้ โดยไม่มีอะไรมาเคลือบแฝง มาปิดมาบังมาคลุม ตามไปแล้วมันเป็นไปเองก็คือว่า จากการที่รู้เห็นมัน เรียกว่าสิ่งทั้งหลายมันเปิดเผยตัวของมันตลอดเวลา ไม่เคยปิดบังเรา แต่ว่าเราไปปิดบังตัวเองบ้าง เราไปบิดเบือนมันบ้าง ทีนี้เราเลยไม่เห็น แต่พอเราดูมันตามที่มันเป็นอย่างนี้โดยไม่ไปปรุงแต่งมัน ตัวเราเองไม่ไปยุ่งไปทำให้มันเสีย มันก็เลยเห็นความจริงตามที่มันเป็น ตอนนี้ก็คือก้าวไปเรื่อยๆ จากการที่ว่าตอนแรก มีความสามารถที่จะแก้นิสัยเก่า ที่ว่าไปมองตามชอบชัง ไปบิดเบือนมัน ไปปรุงแต่งแต้มสี เลิก แล้วก็ไม่ตกอดีต ไม่ปรุงแต่ง ก็เห็นทันมันๆ ตอนนี้ครั้งแรกที่ว่า ให้สติทัน โดยเขาจะย้ำตรงนี้ ตอนที่ให้ทันเนี่ย ต่อมาเมื่อดูรู้เห็นตามที่มันเป็นไปเรื่อยๆแล้ว สภาวะก็ปรากฏอย่างที่ว่า มันไม่ได้ปิดบังตัวมัน สิ่งทั้งหลายที่ดูรู้เห็นก็จะมีความเปลี่ยนแปลง เกิดดับไปเรื่อยๆ ตอนนี้ก็จะเห็นภาวะที่ว่าอนิจจังอย่างทีว่าเมื่อกี้ ต่อไปก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไป ว่ามีความสัมพันธ์กันสิ่งต่างๆ ความสัมพันธ์นั้นอยู่ในรูปความเป็นเหตุปัจจัยกัน เกิดเป็นผลอย่างนี้ๆ มันก็ตามมาเป็นขั้นตอน ตอนนี้ท่านจะเรียกว่าเป็นขั้นตอนในระดับต่างๆ เป็นญาณที่ตอนแรกก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร รู้อะไรเป็นอะไรเช่นรู้ว่าเป็นรูปเป็นนามเป็นต้น หรือว่าแยกสิ่งนั้นเป็นสภาวะอย่างนู้นอย่างนี้เป็นรูปธรรมนามธรรมอะไรอย่างนี้ เรียกว่า นามรูปริเฉทญาณ ต่อมาก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ต่อไปก็จะเห็นความสัมพันธ์เชิงเหตุปัจจัยไปตามลำดับ ซึ่งจะต่างกันมากกับสมาธิ สมาธิมันก็อยู่แค่นี้ จิตสงบ จิตแน่วแน่ อยู่กับอารมณ์หนึ่งเดียวที่ต้องการ คือไม่ไปเรื่อยอื่นเลยจะกำหนดอะไรจิตก็อยู่กับเรื่องนั้น ยิ่งจิตอยู่กับเรื่องเดียวได้ นานเท่าไรก็ยิ่งดี นี่คือเรื่องของสมาธิ คือไม่มีอะไรจะมากวนได้เลย มันสงบหนักแน่นลึกซึ้งดื่มดำ จนกระทั่งไปฌานไปอะไร ดีไม่ดีก็ไปรู้สึก ดื่มด่ำเข้าไปรวมกับสภาวะอะไรไปเลย แต่ว่าวิปัสสนาไม่ใช่อย่างนั้น วิปัสสนานี่ ไปดูความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นภายในตัวเรา ภายในจิตใจของเรา รูปธรรมภายในภายนอกนี่ รับรู้ดูเห็นได้หมดเลย ไม่มีการปิดบัง ไม่มีการกั้น ไม่มีการจำกัด ถ้าพูดในแง่นี้สมาธิกับวิปัสสนาไปคนละทางเลย แต่ที่จริงอาศัยกัน เพราะจิตที่จะไปทำงานให้เกิดปัญญาเป็นวิปัสสนานั้น มันก็ต้องเป็นจิตที่มีสมาธิดีด้วย ยังไงๆก็ขอให้ฝึกสมาธิไว้ก่อนเป็นพื้นฐาน บางสำนักก็จะเน้นว่า อย่าพึ่งเลยวิปัสสนา ฝึกสมาธิให้มันดี ให้จิตมันแน่วแน่ดีซะก่อน แล้วก็จะได้ใช้สติตามดูอะไรต่ออะไรได้ดี เพราะจิตที่เข้มแข็งเนี่ย มันจะไม่ไปถูกตัวความชอบไม่ชอบเข้ามาแทรกแซง หันเหไปง่าย เพราะจิตมีสมาธิ มีพลัง แม้แต่ชั่วขณะเดียว จับกับอะไรมันก็แน่ว แต่ว่ามันไม่ใช่ว่าแน่วแล้วอยู่กับนั่นไปเลย มันแน่วไปเฉพาะขณะๆ ทีนี้ถ้ามีสมาธิดีเนี่ย จิตมันก็เหมือนมีความเข้มแข็ง การที่จะไปตกอดีต หรือมีตัวปรุงแต่งเข้ามาก็ยาก เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นสมาธิก็ทำงานดีในการก้าวสู่วิปัสสนา บางสำนักก็จะเน้น อย่าไปยุ่งกับวิปัสสนาเลยตอนนี้ทำสมาธิให้ดีซะก่อน เน้นให้ได้ฌานได้อะไรไปเลย เลยอยู่กับเรื่องสมาธิ บางสำนักก็บอกว่า อย่าไปยุ่งเลยบอกว่า สมาธิไม่ต้องหรอก เริ่มเลย ปฏิบัติวิปัสสนา พอเราเริ่มเดี๋ยวมันก็ดีขึ้นเอง สมาธิมันก็อาศัยการที่เราฝึกวิปัสสนา สมาธิมันก็ดีขึ้นด้วย บางสำนักเน้นคนละแบบ ก็เลยว่าจะเห็นว่าสำนักต่างๆสอนไม่เหมือนกัน ความจริงก็อยู่ที่จุดเน้นเท่านั้นเอง มันอยู่ที่อุปนิสัยของผู้ปฏิบัติด้วย คือว่า ผู้ปฏิบัติเองก็มีพื้นฐานไม่เหมือนกัน มีความพร้อมไม่เหมือนกัน บางคนในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เกิดมาเนี่ย เขามีสมาธิดีเยอะแล้ว เขาฝึกโดยไม่รู้ตัว ไม่เรียกว่าการฝึก เกิดจากการที่เขาเป็นอยู่ จะทำงานอะไรต่ออะไรเนี่ย เหมือนกับว่าฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา คนแบบนี้สมาธิเขาดีอยู่แล้ว แต่บางคนก็ตรงข้ามเลย จิตไม่มีสมาธิเลย พื้นฐานคนก็ไม่เหมือนกัน จริตอัธยาศัยก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะเอาตายตัวลงไปว่าต้องแบบนี้ๆ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้หลายอย่าง เรียกว่า สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า หรือพูดเป็นภาษาไทยง่ายๆว่า สมถะนำหน้าวิปัสสนาตามหลังก็มี คือหมายความว่าเน้นเอาสมถะให้แน่นแล้วค่อยปฏิบัติวิปัสนา อีกอย่างท่านเรียกว่า วิปัสสนาปุพพังสมถะ เอาวิปัสสนานำหน้าสมถะตามหลัง อีกอย่างท่านเรียกว่า ยุคนัทธสมถวิปัสสนา เอาสมถะวิปัสสนาเข้าคู่กันไปเลย ก็หมายความว่าพระพุทธเจ้าเองยังทรงยังเยื้องให้เหมาะว่าเลือกได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องตายตัว ทีนี้พระอาจารย์ที่เป็นเจ้าสำนักต่างๆ ก็มักจะเอาตัวเป็นเกณฑ์ หนึ่งประสบการณ์ของฉัน ฉันทำมาของฉันอย่างนี้ ฉันก็จะเอาอย่างนี้ ใครมาหาฉันต้องปฏิบัติอย่างนี้ ความยืดหยุ่นหรืออะไรก็ไม่มี ฉะนั้นก็ อยู่ที่ผู้ปฏิบัติตัวเองถูกกับสำนักไหน ก็ไปเลือกเอา เพราะฉะนั้นนี่แหละ จึงเป็นความแตกต่างระหว่างอาจารย์ทั้งหลายกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงรู้ความเข้าใจ หนึ่งก็รู้ว่าตัวความจริงนี้กว้างขวางสมบูรณ์ รู้วิธีปฏิบัติที่สามารถจัดให้เหมาะ โดยพิจารณาตัวบุคคลนั้นมาเป็นตัวเป้าหมายที่สำคัญว่า ให้เขาได้ผล จะต้องใช้วิธีไหน เพราะฉะนั้นพระองค์จะเน้นเรื่องความแตกต่างระหว่างคน ทีนี้พระอาจารย์ที่ปฏิบัติส่วนมากเนี่ย หลายแห่งจะไม่คำนึงถึงความแตกต่าง หมายความว่าจะเอาวิธีเดียว ถ้าเธอจะเข้าสำนึกก็ทำวิธีเดียวก็แล้วกัน ก็ให้รู้หลักเอาไว้ก็แล้วกัน
(ถาม) เราจะมีวิธีทราบคร่าวๆได้อย่างไร
(ตอบ) ก็ต้องลองดู ไม่มีใครมาช่วยก็ต้องลองดู อย่างน้อยก็ต้องเอาหลักทั่วไปไว้ก่อนว่า การปฏิบัติที่ดีนั้นจะต้องมีสมาธิเป็นฐานบ้างพอสมควร เราอาจจะไม่จำเป็นต้องรอ พอปฏิบัติไปได้บ้างก็เริ่มทดลองทำสมาธิแล้วเข้าสู่วิปัสสนา อย่างวิธีที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้วิธีหนึ่ง อย่างอานาปานสติเนี่ย ก็มีอานาปานสติที่มุ่งสมาธิล้วนๆ อันนี้ก็จะเป็นเรื่องธรรมดา แล้วก็มีอานาปานสติที่ว่าโยงเข้าหาวิปัสสนาไปด้วยเลย ปฏิบัติอานาปานสติไปด้วยพอมีปรากฏการณ์ทางจิตเกิดขึ้นในระหว่างที่บำเพ็ญสมาธิเนี่ย ก็เอาปรากฏการณ์ทางจิตที่ปรากฏนั้นน่ะ เอามาพิจารณาในเชิงวิปัสสนาได้เลย เริ่มจากจุดเดียวกันคืออานาปานสติเนี่ย สามารถที่จะก้าวไปสู่วิปัสสนาในระหว่างนี้ได้ โดยวิธีที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ที่ท่านเรียกว่าอานาปานสติ 16 ขั้น ในตอนนี้มันก็จะมีปรากฏการณ์ทางจิตเกิดขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ปรากฏการณ์นั้นเราสามารถปรุงแต่งขึ้นมา แต่เราเอาปรากฏการณ์ที่เราปรุงแต่งขึ้นมาก็คือของจริงว่าที่เราปรุงแต่งก็คือความจริงอย่างหนึ่ง ความจริงของการปรุงแต่ง ก็เกิดปรากฏการณ์ขึ้นมาในจิต ก็เอาปรากฏการณ์นั้นมาพิจารณา ไม่ใช่เอามาพิจารณา คือพิจารณามันน่ะ ดูเข้าใจมัน แล้วก็กลายเป็นวิปัสสนาไปเลย
(ถาม) ถ้าทั่วไปนี้เราก็สามารถที่จะดูได้ตลอดทุกเวลา?
(ตอบ) คือว่าในชีวิตประจำวันเนี่ย อย่างบางสำนักเนี่ย เขาก็จะจัดวิธีฝึกให้ เพื่ออย่างน้อยขั้นต้นเนี่ย ให้สติทันกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันไม่ตกอดีตใช่ไหม เช่นอย่างสำนักหนึ่ง อย่างวัดมหาธาตุเนี่ย ใช้วิธียุบหนอพองหนอ และใช้การกำหนดอิริยาบถ การเคลื่อนไหวทุกอย่าง แม้แต่ฉันอาหารเนี่ย ก็ให้มีสติทันหมด คือไม่ใช่ฉันไปเรื่อยๆ ฉันไปใจก็ไปอยู่กับเรื่องอื่น โดยส่วนมากคนก็จะเป็นอย่างนี้ใช่ไหม เวลารับประทานอาหารไป ก็ไม่ได้รู้ตัวหรอก จิตก็ไปคิดเรื่องอื่น ฝึกว่าในการเคลื่อนไหวทุกอย่างนี้ให้สติอยู่กับการกระทำนั้นทั้งหมด ทัน แต่ละขณะๆที่เป็นปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเวลาฉันอาหารก็กำหนดไปหมดเลย บางทีซอยละเอียด เช่นว่า ยกช้อนขึ้น เคลื่อนช้อนไป ตักยกขึ้นมา มาใส่ปาก ก็กำหนด เพื่อจะกำกับจิตไม่ให้มันตกอดีต ไม่ให้มันไหลไปไหน มันทัน ก็เลยใส่คำว่าหนอเข้าไปดู หนอเนี่ยเป็นตัวช่วยจิต ช่วยกำกับการกระทำนั้น ยกหนอ มาหนอ ใส่ปากหนอ เคี้ยวหนอ กลืนหนอ อะไรอย่างนี้นะ อย่างนี้นะ ก็เป็นการกำหนดเรื่องของสตินั่นเอง แต่ไอ้ตัวที่สำคัญคือตัวรู้ ตัวหนอไม่ใช่ตัววิปัสสนาหรอกนะ แต่เป็นตัวมาช่วยกำกับจิต เพื่อจะให้สติเนี่ยมันอยู่กับอันนั้น ในขณะที่กำหนดหนอก็คือว่า รู้ด้วย รู้การกระทำนั้น รู้สิ่งนั้น ขณะนั้นที่กำลังกระทำอยู่นั้น ไม่ไปอื่น อย่างนี้จะตัดความฟุ้งซ่าน ความกังวล ความคิดปรุงแต่งอะไรต่างๆไปได้หมด อย่างง่ายๆ ก็คือเดินจงกรม เดินจงกรมบางสำนักก็จะกำหนดละเอียดแยก คือ นี่แล้วแต่บางสำนักก็แยกสามใช่ไหม เดินนะ เวลาเดินจงกรมเนี่ย ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ บางสำนักแยกหกขั้นเลย เพราะกลัวว่าลูกศิษย์เนี่ย จิตจะไม่ทัน เดี๋ยวจะมีทางให้ฟุ้งไป ก็เลยกำหนดให้ละเอียด จิตจะได้คอยกำกับ เพราะยิ่งละเอียดยิ่งตั้งใจ แต่ทีนี้ บางคนไม่อย่างนั้น พอแยกละเอียดจิตเหนื่อย จิตเหนื่อยไม่ไหว เลยกลายเป็นว่า ความเหมาะกับคนไม่เหมือนกัน บางสำนักนี่บอกว่า ไม่เอาแล้วไม่ต้องไปแยกแล้ว ย่างหนอ ย่างหนอ ไปเลย ทีเดียวเลย หมายความว่าเอาขั้นเดียวเลย ย่างหนอก็หมายความว่าไปทีละก้าวๆ ย่างหนอกำหนดทีเดียว บางสำนักอย่างที่ว่าสาม บางสำนักก็หกเลย ก็แล้วแต่ บางคนก็ถูกกับวิธีแบบว่าธรรมชาติ บางสำนักท่านก็บอกว่าให้ย่างเลยเนี่ย ก็คือให้เหมือนเป็นธรรมชาติ เพราะว่าถ้าไปแบบแยกหกเนี่ยช้ามาก กว่าจะเดินไปได้ก้าวหนึ่งนะ คนแก่ๆบางคนก็เดินไม่ไหว พอยกขาเดียวมันไม่อยู่ มันจะล้ม บางคนก็สู้ไม่ไหว บางคนจิตหนัก เหนื่อย ก็เลยชอบวิธีธรรมชาติ นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นว่าแต่ละคนเนี่ย จะเหมาะไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอย่าไปเอาตายตัว ต้องรู้จุดมุ่งหมายว่าจะเอาอะไร สาระสำคัญก็คือว่า ให้สติอยู่กับการกระทำนั้น ไม่ฟุ้งซ่านลอยไปไหน ให้รู้ตามที่มันเป็น โดยไม่มีความชอบใจ ไม่ชอบใจเป็นต้นเข้ามาปรุงแต่ง แล้วก็ตกไปในอดีตอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว พอเข้าใจนะ ก็ให้เห็นหลักก่อน พอเห็นหลักอย่างนี้แล้ว ต่อไปเราก็เห็นทางปฏิบัติ ก็อาจจะไปอ่านเรื่องอานาปานสติ 16 ขั้นมาช่วยเสริมอีกก็ได้ จะช่วยให้ความเข้าใจนี้ ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ว่าเบื้องต้นเนี่ย ให้เห็นหลักการอย่างนี้ก่อน
(ถาม) ที่ว่าตัวรู้เนี่ย คือสติใช่ไหมครับ
(ตอบ) ไม่ใช่ สติทำงานคู่กับสัมปชัญญะ ตัวรู้คือสัมปชัญญะ สติคือเป็นตัวจับ เวลาเราใช้คำเนี่ย เราใช้สติ ขอใช้คำภาษาอังกฤษคือ left as understood (อันนี้ไม่แน่ใจว่า live หรือ left) คือให้รู้สัมปชัญญะอยู่ด้วย คือเราไม่ต้องออกชื่อสัมปชัญญะ เราพูดคำว่าสติเนี่ย เราโยงไปหาสัมปชัญญะด้วย ทีนี้เวลาพูดกันไปแบบว่า ละไว้ในฐานที่เข้าใจเนี่ย พอพูดบ่อยๆเลยเข้าใจเป็นสติรู้ไปซะเนี่ย สติมันไม่รู้หรอก เราพูดเหมือนกับว่า เราละคำว่าสัมปชัญญะไว้ในฐานที่เข้าใจ พูดบ่อยๆ คำว่าสติ สติเลยกลายเป็นรู้ไปเลย ที่รู้คือสัมปชัญญะ สติเป็นตัวจับ เป็นตัวกำหนด มันต้องคู่กัน พอสติจับอะไร สัมปชัญญะก็รู้อันนั้น เหมือนกับเราขับรถน่ะ อันนั้นคือกว้างๆ ไม่ต้องเอาเป็นขณะ เวลาเราขับรถ สติอยู่ใช่ไหม สัมปชัญญะก็รู้เลย ในเวลานั้นก็ไม่ต้องไปคิดละ มันรู้พรึ่บว่าเรากำลังจะไปไหน วิธีการขับรถเป็นอย่างไร สภาพแวดล้อมเราอยู่อย่างไร ถนนเป็นอย่างไร ความรู้พรึ่บตรงนั้นเรียกว่าสัมปชัญญะ ความรู้พรึ่บที่พรั่งพร้อมอยู่กับสติ เรียกว่าสัมปชัญญะ เวลาคนมีสติเนี่ย สัมปชัญญะมันจะทำงานขึ้นมาทันทีเลย แต่ถ้าสติไปปั๊ป สัมปชัญญะมันจะหายไปหมดเลย พอสติไม่อยู่กับการขับรถ สัมปชัญญะที่รู้เรื่องการขับรถมันหายไปด้วยเลย พอสติอยู่กับการขับรถ สัมปชัญญะมันก็รู้เรื่องการขับรถพร้อมพรึ่บในตัว สติก็มีหน้าที่จับไว้ ตรึงไว้ ดึงไว้
(ถาม) พูดถึงสมถะและวิปัสสนา ??? (ฟังไม่ชัดเลยครับ นาทีที่ 29)
(ตอบ) ก็มีวิธีพูดได้หลายแง่ แง่หนึ่งก็คือเอาตัวคำก่อน ตัวคำว่าสมถะเนี่ยเป็นชื่อหนึ่งของคำว่าสมาธิ อย่างพระพุทธเจ้าใช้แทนกัน คำว่าสมาธิ ??? ก็เอาคำว่าสมถะมาแทนคำว่าสมาธิ อันนี้ก็แยกง่ายๆ ??? ทีนี้คำว่าวิปัสสนา อันนี้ก็ชัดในแง่วิปัสสนา จะเอาคำแปลก็ตาม หรือเอาตัวศัพท์ตัวความหมายในการใช้จริงๆก็ตาม ตัวศัพท์มันก็แปลว่าการเห็นแจ้ง ก็คือปัญญา แล้วก็เวลาใช้ในเชิงของธรรมบรรยายก็เป็นอีกชื่อหนึ่งของปัญญา สมถะเป็นเรื่องของสมาธิ วิปัสสนาก็เป็นเรื่องของปัญญา ถ้าในแง่ไตรสิกขาจะเห็นเลยว่า จะเห็นได้เลยว่า ศีล สมาธิ ปัญญา สมถะก็สมาธิ วิปัสสนาก็ปัญญา ในเมื่อสมถะเป็นเรื่องสมาธิ มันก็เป็นเรื่อง ??? เพราะฉะนั้น สมถะเราเรียกเต็มก็จะเรียกว่า สมถฐกรรมฐานบ้าง สมถะภาวนาบ้าง ก็จะไปตรงกับคำว่าจิตตภาวนา ก็คือ การพัฒนาจิตใจ ส่วนวิปัสสนา ก็ใช้ว่า ปัญญาภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนาก็ใช้แทนกันได้ เกณฑ์หลักรูปใดก็คือว่า สมถะฝ่ายสมาธิ วิปัสสนาฝ่ายปัญญา ทีนี้เอาหลักการในแง่ของตัวการที่อาการของมันที่เกิดขึ้น ก็คือว่า หลักก็มีแค่ว่า สมถะก็คือการที่จิตมันสงบ แล้วก็แน่วแน่อยู่กับสิ่งที่ต้องการนั้นไม่ฟุ้งซ่านไปไหน อันนี้เป็นเรื่องของสมถะ การที่จิตจะสงบจะแน่วแน่ จะดิ่งจะลึกจะอะไรแค่ไหน สมถะหมด ตราบใดที่ยังเป็นเรื่องที่จิตมันสงบ มั่นคงแน่วแน่ ทีนี้ฝ่ายวิปัสสนานั้นใช้ความรู้หมด วิปัสสนาเป็นเรื่องความรู้ความเข้าใจการเห็นแจ้ง เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นสังขาร เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ??? เนี่ยจะชัดเลย ถ้าเป็นเรื่องของการที่ว่าจะทำจิตยังไงให้มันแน่วแน่ ให้มันอยู่ตัวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเรื่องสมถะหมด ถ้าพูดถึงว่าจะรู้เข้าใจโน่นนี่ สังขาร โลก ชีวิตเป็นอย่างไร นี่เป็นวิปัสสนา หลักการมันแยกกันหมด แยกกันได้เลย เพราะสมถะเนี่ยเป็นเรื่องคุณสมบัติของจิตใจ จิตใจที่สงบแน่วแน่ แต่วิปัสสนาเป็นเรื่องความรู้ ความเข้าใจกัน การมองเห็นความจริง มองเห็นสิ่งทั้งหลาย มักจะไปสรุปที่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วิปัสสนาเนี่ยจะไม่พ้นไปจากเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะฉะนั้นวิปัสสนาก็จะกลายเป็นเรื่องของญาณปัญญา ความรู้ความเข้าใจ ส่วนสมถะเนี่ยจะไปเรื่องฌาน ถ้าพูดง่ายๆ สมถะนี่ นำไปสู่ฌาน วิปัสสนานำไปเกิดญาณ
(ถาม) ???
(ตอบ) อ๋อ โยง หมายถึงโยงใช่ไหม โยงก็คือว่า ปัญญาต้องอาศัยจิตเป็นที่ทำงาน ถ้าเราไม่มีจิต ปัญญามันไม่รู้จะรู้ยังไง ทีนี้ ตอนนี้แหละ ถ้าจิตของเราเนี่ยฟุ้งซ่าน การที่จะเห็นอะไรต่างๆไม่ชัด สับสน จิตใจว้าวุ่นไม่มีสมาธิ ปัญญาความรู้ความเข้าใจก็พร่าหมด พอจิตแน่วแน่ดิ่งสงบ มั่นคง การคิดพิจารณาก็ชัดเจน เป็นขั้นเป็นตอนเป็นลำดับ รู้กว้างรู้ลึก เพราะฉะนั้น ปัญญาอาศัยจิตเป็นที่ทำงาน ก็เลยมาเชื่อมเอาตรงนี้ ฉะนั้นผู้ที่เป็นวิปัสสนาก็เลยต้องอาศัยสมาธิได้ โยงกันตรงที่ว่าเอาสมาธิเป็นคุณสมบัติของจิต แล้วปัญญาก็อาศัยจิตเป็นที่ทำงาน เพราะฉะนั้นปัญญา ฝ่ายวิปัสสนาจะทำงานได้ผล ก็ต่อเมื่อจิตมีสมาธิดี ดังนั้นก็เลยว่า การปฏิบัติสองอย่าง สมถะวิปัสสนาก็เลยมาโยงหากัน ตรงจุดที่ว่า สมถะมาช่วยให้จิตเป็นสมาธิแล้ว แล้วเราจะได้พร้อมที่จะก้าวไปสู่การใช้ปัญญาในวิปัสสนา
(ถาม) ???
(ตอบ) ถ้าจะให้ก้าว การทำก็คือว่า วิปัสสนาก็คือ การที่เราจะมองเห็นความจริงของธรรมชาติ ของสิ่งทั้งหลาย อะไรก็ได้ มันก็อยู่ในธรรมชาติ ทีนี้ ง่ายๆก็คือว่า ใกล้ชิดตัวที่สุด ก็คือ ชีวิตของเรา ชีวิตของเรานี้มีร่างกายกับจิตใจ เลือกที่ไหนก็ได้ พอจิตมันสงบแน่วแน่มันพร้อมแล้ว ก็มามองมาพิจารณาความจริงของชีวิต ดูร่างกายดูจิตใจ เช่นว่า ในจิตใจ พอจิตสงบแล้วมันจะมีคุณสมบัติต่างๆเกิดขึ้นในจิต รวมทั้งตัวสมาธิด้วย สมาธิก็เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของจิต เหมือนอย่างตอนนั้นจะเกิดความสุข มีปิติ ความอิ่มใจ อะไรก็แล้วแต่ในจิตใจเนี่ย เอาอันนั้นแหละมามองเลย แต่ก่อนนี้อาศัยมันเพียงเพื่อจิตสงบ ไม่ได้ดูมัน ตอนนี้กลับเอาที่เรามี ที่ทำให้จิตเราสงบเนี่ย เอามาดู ดูยังไง ดูว่า มันเกิดขึ้นอย่างไร อาการของมันเป็นอย่างไร มันเจริญขึ้นหรือเสื่อมลงอย่างไร ก็ตามดูเห็นความจริงที่มันเป็นไป เราจะรู้ความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นความจริงที่เราเห็นจากตัวแท้ของสิ่งทั้งหลาย เรียกว่า มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทีนี้ก็ดูอันโน้น อันนี้มากขึ้นเนี่ย มันก็เกิดความเข้าใจ ว่า อ๋อ สิ่งทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้นี่เอง มันไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป คุณสมบัติอย่างนี้เกิดมีขึ้น ไปสัมพันธ์กับตัวโน้น ตัวนี้ เพื่อให้ตัวนั้นเกิดขึ้น เจริญได้ พอตัวนั้นเกิด ตัวนี้ก็ดับหายไป พอตัวนั้นเจริญไป เดี๋ยวก็เปลี่ยนแปลงไปกุศลธรรมเกิดขึ้นแล้ว เดี๋ยวก็มีความรู้สึกไม่ดีเกิดขึ้น ความทุกข์ความเศร้าหมองเกิดขึ้นมา แล้วก็หายไป นี่ก็เป็นปัจจัยแก่กันด้วย ตอนนี้ท่านเห็นความจริง การที่เห็นความเปลี่ยนแปลง การคืบเคลื่อน ความสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กัน เป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นก็ วิปัสสนาก็มาต่อสมถะตรงที่ว่า เอาสิ่งที่สมถะมันทำมาแล้ว เอามาใช้ดู แต่ถึงไม่ดูอันนั้นก็ได้ ดูสิ่งภายนอกก็ได้ ดูร่างกายดูอะไรก็ได้ ดูการเคลื่อนไหวก็ได้
(ถาม) ??? ตอนทำสมาธิ อย่างที่พระท่านสอนให้ดู ???
(ตอบ) อ๋อ อันนั้นเรียกเวทนา ????
(ถาม) อันนั้นง่ายเพราะเห็นชัดเจน ทีนี้ถ้าพิจารณาจิต ไม่รู้จะดูอย่างไร พอนั่งสมาธิแล้ว มันไม่รู้จะดูอะไร มันว่างๆ มันดูยาก ท่านบอกให้ตามดู ต่อให้จิตมันคิดอะไรก็ดู ทีนี้มันดูไปด้วยคิดไปด้วย ดูไปด้วย ยังมองไม่เห็นว่ามันจะดูยังไง มันมีแต่ว่าคิดๆ นึกได้ ไปมัวคิดอยู่ ไอ้ดูว่าที่มันคิดไปแล้ว ???
(ตอบ)
อันนั้นเรียกว่าสลับกัน สลับกันอย่างรวดเร็วมาก ในขณะที่คิดก็ไม่ได้ดู ขณะดูก็ไม่ได้คิด ใช่ไหม พอคิดไปแล้วก็มาดูที่คิด แล้วก็คิดต่อเลิกดู พอกลับไปดูที่คิด กลับไปกลับมา
(ถาม) ??? นาทีที่ 39 เป็นต้นไป
(ตอบ) ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาธิขั้นลึก เป็นสมาธิในชีวิตประจำวัน ท่านเรียกว่าขนิกสมาธิ
(ถาม) ??? นาทีที่ 41.10
(ตอบ) คือสาระมันอยู่ที่ว่า เห็นความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย แล้วก็คือเป็นภาวะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่นเอง การเห็นอันนี้เป็นวิปัสสนา ทีนี้ว่า เราจะเห็นในที่ไหนตรงไหน มันก็อยู่ที่ว่า ปัญญานี้จะเกิดขึ้นไหมเท่านั้นเอง ถ้าปัญญานี้เกิดขึ้นได้ วิปัสสนาก็เกิด แต่ว่าตอนเขาจะเกิดเนี่ย จิตของเราจะต้องมีความสงบในระดับหนึ่ง มันจะต้องมีความแน่วอยู่ในระดับหนึ่ง มันถึงจะเข้าใจได้
(ถาม) ที่ว่าจิตสงบแล้วมันเกิดอะไรได้ ไม่ใช่ในแง่วิปัสสนาเนี่ย ??? มันเกิดขึ้นในทางที่ ??? ในชีวิตประจำวัน ???
(ตอบ) อันนี้ก็เข้าหลักอยู่แล้ว เพราะสมาธิมันทำให้เหมาะกับการใช้งาน พอจิตมันสงบมันแน่วดิ่ง สิ่งที่ความคิดมันเดินอยู่ แต่จิตมันไม่สงบ มันก็ว้าวุ่นสับสนก็พลาดไป มองไม่ชัด พอจิตสงบเหมือนกับเปิดโอกาสให้ สิ่งนี้ ไม่ใช่เราคิด ??? เราคิดอยู่ แต่ว่ามันไม่ออกมา พอจิตสงบเนี่ย มันก็ให้โอกาสมันแสดงตัวของมันได้ มันมีอยู่แล้ว แต่โอกาสของจิตมันไม่ให้
(ถาม) ???
(ตอบ) อาตมาว่าโยงกัน คือว่า เราจะปล่อยโอกาสให้เสียเปล่า ไปรอว่าต้องเข้าสมาธิแล้วจึงทำวิปัสสนา ก็เราก็ มาเริ่มจากในชีวิตประจำวันเนี่ย แล้วต่อไปมันจะเดินหน้าไป ตัวสมาธิที่เราสามารถทำได้ลึกกว่านั้น มันก็กลับมาช่วย แต่ถ้าเราไม่เริ่มตอนนี้ เราก็ข้ามไป พยายามจะเอาตอนสมาธิลึกอย่างเดียว ถ้าเราทำให้เป็นนิสัยไปเลยจิตมันก็คุ้นใช่ไหม กับการมองสิ่งเหล่านี้อยู่เรื่อยๆ แล้วก็ลึกลงไปๆ ก็คือสมาธินั้น มันแน่วแน่ยิ่งขึ้นนั่นเอง ทีนี้สิ่งที่เราดูนั้น เราเคยดูตั้งแต่ระดับที่จิตยังไม่ลึก สมาธิยังไม่พอ เรายังไม่รู้เข้าใจขนาดนี้ ทีนี้เราไม่ทิ้งมัน เราก็ดูต่อไป สิ่งที่เราดู อารมณ์ที่เราดูนั้น มีจิตที่เป็นสมาธิเพียงเล็กน้อย ต่อไปเราดูด้วยจิตที่เป็นสมาธิมากยิ่งขึ้นๆ มันก็ควรจะได้ประโยชน์ชัดยิ่งขึ้น ถ้าเราไปรอทีเดียว จะไปดูตอนสมาธิมันลึก เราก็ไม่เคยดูมาก่อน เราก็ไปฝืนมัน ไปพยายามดูให้ได้ เราก็สร้างสมมาตั้งแต่ดูไปในชีวิตประจำวันดีกว่า ??? เราก็สร้างสมอุปนิสัยให้แก่วิปัสสนาก็ได้ ก็ได้ ดูในชีวิตประจำวัน ความจริง อาตมาว่า ตอนที่โยมดูความโกรธเนี่ย อันนั้นจิตเริ่มสงบ พอเราดูความโกรธนะ จิตที่จะดูความโกรธมันจะสงบ แล้วก็จึงมีปัญญาทำงานได้ดีขึ้น แล้วต้องมองเห็น
(ถาม) มันจะมีสติระลึกได้อยู่ เวลาเราโกรธ ???
(ตอบ) แต่สติสมาธิมาแล้วตอนนั้น ตอนที่จะดู เพราะว่าตอนนั้นคือ เราไม่โกรธ??? เพราะว่าเราโกรธเราระลึกได้ เราดูมัน ตอนนี้เราพ้นอำนาจความโกรธแล้ว ดูความโกรธ ตอนนี้จิตไม่ใช่จิตโกรธแล้ว แต่เป็นจิตที่มีสมาธิ ตอนนี้มันยังสลับ จิตมันยังไปๆมาๆ
(ถาม)
(ตอบ) ??? คือเรามีความปรารถนาว่า เขาน่าจะเป็นอย่างนั้น ทำไมเขาไม่เป็นอย่างนั้น อันนี้บางทีมันพูดไม่ได้ ???
มันจะคอยผุดขึ้นมา ในเมื่อมีอะไรขึ้นมากระทบรู้สึก มันก็จะเป็นจุดกระตุ้นให้ความโกรธนั้นเกิดขึ้น ตราบใดอันนี้ยังอยู่ มันก็แสดงบทบาทของมันอยู่ ก็ถ้าอย่าคนใกล้ชิด ลูกอย่างนี้ เราจะมีความปรารถนาว่า ลึกๆเราแทบจะไม่รู้ตัวว่าเราอยากให้เขาเป็นอย่างนั้น ทำไมเขาไม่เป็น
(ถาม) แต่ในแง่หนึ่ง ไม่จำเป็นว่าจะต้องนั่งสมาธิแล้วไปวิปัสสนา ในชีวิตประจำวันเราต้องการฝึกมากๆ เพราะเราต้องการผลของวิปัสสนาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ลืมตาตลอดชีวิต 24 ชั่วโมง นี่คือผลของวิปัสสนาใช่ไหมคะ
(ตอบ) อย่างของคุณหมอพูด มันก็ปนกันแหละ ตั้งแต่นั่งสมาธิธรรมดานี่แหละ ให้จิตมันสงบ มันก็ได้ประโยชน์ ??? กับสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ทีนี้ วิปัสสนา ก็หมายความว่า ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เห็นความจริงต่อสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะถ้ารู้ไปจนถึงขั้นเข้าใจที่ เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้นแหละ เป็นไปตามเหตุปัจจัยเป็นต้น ซึ่งเราจะถามจิตเป็นอิสระได้ ว่า เราเคยมีความหวังความปรารถนาเอาความชอบใจไม่ชอบใจของเราเนี่ยไปจับ ไอ้สิ่งนั้นเป็นการที่เราชอบไม่ชอบ อยากให้เป็นไม่อยากให้เป็น ทีนี้เรารู้ธรรมชาติของจิตทั้งหลาย มันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ??การให้เหตุปัจจัยนั้นเป็นอิสระกับเรา ไม่ขึ้นกับเรา เราจะเอาความชอบใจไม่ชอบใจความปรารถนาของเราไปกำหนดไปบังคับมันไม่ได้พอเราเห็นความจริงของสิ่งทั้งหลายตามธรรมชาติ มันเริ่มถอน ทำให้จิตเป็นอิสระมา ไม่ครอบครองไปยึดติดว่าไปสร้างความปรารถนากำหนดอะไรต่างๆ ตามชอบใจไม่ชอบใจ การมองเห็นความจริงอันนี้กลับมามีผลที่เรา ทำให้เราคลายความที่เคยจะบังคับสิ่งทั้งหลายด้วยใจของเราจะให้เป็นไปตามที่เราอยาก พอเราเบาอันนี้ ความทุกข์ความบีบคั้นก็ลดลง แล้วเราก็จะพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองแบบสมัยใหม่เรียกว่า objective มากขึ้นคือมองอย่างที่มันเป็น แต่ว่าแทนที่เราจะรอสมาธิให้ลึกกว่านี้เราไม่รอแล้ว เอาสมาธิเท่าที่มีขณะนี้ เอาไปใช้วิปัสสนา
(ถาม) ???
(ตอบ) อาตมาต้องขอทวนอุปมานิดหนึ่ง อุปมานี่มีสามอย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา เวลาเราจะทำงานเนี่ย เราจะอาศัยมันทั้งสามอย่าง จึงจะสำเร็จ ทีนี้ก็เปรียบเทียบว่า ศีลเปรียบเหมือนพื้นที่เหยียบอยู่ สองสมาธิเปรียบเหมือนผลักกำลังให้แรงขึ้นไปอีก ปัญญาเหมือนตัวอาวุธ เช่น ขวาน เช่นเราจะตัดต้นไม้ เราจะต้องมีทั้งสามอย่าง หนึ่งเราต้องมีที่ยึดที่เหยียบตั้งตัวให้อยู่ ก็คือศีล สองก็มีแรงกำลัง ที่จะทำงาน แล้วก็สามต้องมีอาวุธ คือมีดคือขวาน อันนี้ก็ศีลเป็นพื้น สมาธิเป็นแรงกำลัง แล้วปัญญาเป็นอาวุธ หรือเป็นมีดเป็นขวานที่คมเวลาเราทำงานแล้ว ต้องใช้สามอย่าง แต่ว่าเราจะเห็นอัตราส่วนของการที่ว่า ถ้าอันหนึ่งมันแรง อีกอันหนึ่งอันจะเบาหน่อยก็ยังไหว เช่นว่าถ้าเรามีปัญญามีดเนี่ย ขวานเนี่ย ไม่คมนัก แต่ด้วยแรงกำลังมาก ที่เหยียบมั่นคงมาก เราจะสามารถตัดต้นไม้ได้ ถ้าหากว่ามีดนี้คมมาก ขวานนี้คมมาก แม้กำลังเราจะไม่ดีนัก แล้วพื้นเนี่ย เหยียบยันได้ดีมั่นคง เราก็ยังตัดได้ บางทีพื้นที่เหยียบไม่มั่นคงแต่ยังมีที่ยันบ้าง อาจจะไหวบ้าง แต่ก็ยังพออาศัยมัน แต่กำลังของเราแข็งแรงมาก มีดเนี่ยคมเฉียบเลย ก็ยังตัดไหว แต่ถ้าไม่มีสักอย่าง ไปไม่รอด ที่เหยียบก็ไม่มี หรือขาดหมดเลย ไม่มีที่เหยียบยันเลย ถึงมีแรงมีมีดคมก็ทำไม่ได้ ที่เหยียบยันดี ไม่มีแรงเลย มีดคมก็ทำไม่ได้ แล้วก็มีที่เหยียบยันมั่นคง แรงกำลังดี ไม่มีอาวุธ ก็ทำไม่ได้ ต้องมีทั้งสามอย่าง แต่อัตราส่วนไม่แน่นอน เป็นอันว่า ที่เหยียบไม่ดี หรือแรงอ่อนหน่อย แต่ก็มีอยู่ ไม่แข็งแรงนัก แต่มีดคมเฉียบ มีดไม่คมเฉียบ แรงกำลังดี ที่เหยียบดี พอไหว แต่ว่าต้องอาศัยทั้งสามอย่าง
(ถาม) ???
(ตอบ) ต้องมีพร้อมกัน ในตำราอย่างวิสุทธิมรรค ท่านจะอธิบายบอกหมด ในขณะที่จิตทำงาน เมื่อบำเพ็ญเรื่องมรรคเนี่ย มันจะมาพร้อมกันสามอย่าง แต่ในขั้นตอนการปฏิบัติในการฝึกโดยธรรมดา เพราะเราจะต้องเน้นในขั้นตอนนี้ จะต้องเน้นศีลเพื่อเตรียมพื้นให้ดี ต่อมาพอศีลดีแล้วก็ไปเน้นสมาธิ พอสมาธิพร้อมแล้วก็ไปเอาปัญญา อันนี้บอกว่าเป็นจุดเน้นแต่ละขั้น แต่ในทางปฏิบัติในแต่ละขั้น ขณะเป็นศีลก็ต้องอาศัยสมาธิ ปัญญา ในขณะที่มันเป็นสมาธิก็ต้องอาศัยศีลและปัญญามาช่วย พอในขณะที่บำเพ็ญปัญญาก็ต้องมีศีลและสมาธิ คือความจริงมันไม่ได้แยกจากกัน ก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน แต่ว่า จุดเน้นในการทำงานขั้นสุดท้าย ตัวที่ทำงานแท้ ก็คือปัญญา แต่ว่าในขณะนั้นก็คือหมายความว่า ตัวศีลสมาธิมันมา มาช่วยกัน ถ้าเวลาอย่างตรัสรู้เนี่ย มรรคต้องพร้อมด้วยองค์แปด แปดข้อนี่เป็นปัญญาสองข้อ เป็นสมาธิสามข้อ เป็นศีลสามข้อ ?? เพราะฉะนั้นเวลาบรรลุธรรมเนี่ย ต้องครบองค์หมด
(ถาม) บางสำนัก ???
(ตอบ) ถ้าแบบนั้นก็จะเหมือนฤๅษี โยคีในอินเดีย ก็เขานั่งสมาธิแล้วทำไมไม่ตรัสรู้สักที ได้ฌาน ได้อภิญญาเลย สมาธิอย่างเดียวเนี่ย มันเป็นเพียงตัวเอื้อให้จิตพร้อม อุปมาเหมือนอย่างนี้ คือพระพุทธเจ้าตรัสว่า (สมาหิโต ยะถาภูตัง ปะชานาติ) เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว จะมีปัญญารู้ชัดตามเป็นจริง ตรัสไว้อย่างนี้ แต่มันหมายถึงภาวะที่จิตพร้อมจะรู้ชัด มันไม่ได้หมายความว่า มีสมาธิแล้วปัญญาต้องมาเอง ก็เหมือนอย่างกับว่า ถ้าจิตของเราไม่มีสมาธิ จิตของเราก็ไม่อยู่กับสิ่งที่ควรอยู่ ไม่โฟกัส อย่างน้อยไม่โฟกัส หนึ่งไม่อยู่กับสิ่งที่จะดู สองอยู่ก็ไม่โฟกัส มีตาก็เห็นไม่ชัด ถ้าไม่อยู่เลยไม่เห็นเลย แต่อยู่ไม่โฟกัสก็เห็นไม่ชัด ทีนี้พอมีสมาธิก็คือ จิตอยู่กับสิ่งนั้นแล้ว แล้วโฟกัสตอนนี้พร้อมที่จะเห็นแต่ไม่ลืมตา ถ้าไม่ลืมตาก็ไม่เห็นนั่นเอง ตอนนี้ก็หมายความว่าปัญญาต้องใช้ด้วย ตอนนี้จิตอยู่กับสิ่งนั้น โฟกัสให้แล้ว นี่คือสมาธิ สมาธิมันทำให้พร้อมแล้ว ขออย่างเดียวขอให้คุณดู เราเอาแต่สมาธิไม่เอาปัญญาคือไม่ลืมตาดู ก็เลยเป็นขั้นตอนความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิกับปัญญา สมาธินี่ก็เอื้อมาก ปัญญานี้จะไปไม่รอดถ้าไม่มีสมาธิมาช่วย พร้อมกันนั้น สมาธิก็ไม่ทำให้ปัญญาเกิดขึ้นมาเองเหมือนกัน แต่พร้อมที่จะให้เกิดปัญญา ขอให้เราจับมันมาร่วมงานกัน อย่างพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ต้องมีการเปรียบจิตที่เป็นสมาธิ เปรียบเหมือนคนที่มายืนบนฝั่งลำธารที่ใส เมื่อน้ำใสนี่ คนตาดีมองอยู่ก็เห็นหมดเลย มีกรวด มีทราย มีปลาว่าย มีปูอะไรอย่างนี้เห็นหมด แต่ถ้าตาไม่ดีก็ไม่เห็น ตกลงว่า สมาธิก็คือสภาพจิตที่ใส พร้อมแล้วที่จะให้ดู แต่ว่าต้องมีอีกอันหนึ่งคือตาดี และมองดู อันนี้คือปัญญา พร้อมองค์ประกอบเพื่อใช้งาน