แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
เรารู้ความหมายของพุทธาวาส เราประกอบพิธีเวียนเทียนเป็นต้นในพุทธาวาสนี้แล้ว ก็มาถึงพิธีที่เราประกอบก็คือการเวียนเทียน แล้วก็เวียนเทียนนี้เป็นเรื่องของวิสาขบูชา เราก็ต้องมาทบทวนความหมายของวิสาขบูชากันทุกๆ ปี ปีละเล็กละน้อย ปีนี้ก็คิดว่าจะพูดเพียงนิดๆหน่อยๆ โดยเฉพาะเด็กๆ เนี่ยสำคัญ ขอให้เด็กๆ ช่วยเรียนไว้ หนูๆจำเรื่องวันวิสาขบูชาเอาความหมายไปใช้ ถ้าหนูๆไม่ชัดก็คุณพ่อคุณแม่ช่วยหน่อย นี่ก็วิสาขบูชาว่ายังไง ก็บอกว่าเป็นวันบูชาพระรัตนตรัย โดยระลึกถึงโอกาสพิเศษคือ การประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
นี่เราก็มาเรียนความหมายของวิสาขบูชาจากเรื่อง ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน กันอีกนิดหน่อย มาดูกันในแง่ง่ายๆ เรื่อง ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน นี่แหละ แล้วประสูติหมายความว่ายังไง เด็กก็บอกว่า ก็อ้าว! ก็เกิดนะสิ ก็จบ แต่มันไม่ใช่แค่นั้นนะ ประสูติมีความหมายมาก นี่เรามาพูดความหมายประสูติอีกสักหน่อย ที่ว่าพระพุทธเจ้าประสูติเกิดมา พระพุทธเจ้าเกิดแน่นรึวันนั้น ถามเด็ก เอ๊ะ! ตอนนั้นยังไม่เป็นพระพุทธเจ้านี่ใช่ไหม? แล้วบอกว่าพระพุทธเจ้าเกิด เกิดมาเป็นพระพุทธเจ้า ยังไม่ใช่พระพุทธเจ้าเกิด เกิดมาเป็นพระพุทธเจ้าก็หมายความว่า เกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม แต่ว่าพระโพธิสัตว์องค์นี่แหละเกิดมาเป็นพระพุทธเจ้า นี่เกิดมาแล้วท่านยังมาเป็นพระพุทธเจ้าก็เป็นจุดกำเนิด ถ้าไม่มีเจ้าชายสิทธัตถะ พระพุทธเจ้าก็ไม่มีใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็สำคัญมาก จุดเริ่มต้นการประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ เรียกว่าการเกิดของพระโพธิสัตว์ นี่การเกิดของพระโพธิสัตว์เป็นนิมิตหมายว่าพระพุทธเจ้าเกิดแล้วนะ พอว่าเป็นนิมิตหมายก็มีนิมิตปรากฏก็คือ เจ้าชายสิทธัตถะกุมาร เนี่ย ประสูติมาก็ย่างเจ็ดก้าว แล้วเปล่งอาสภิวาจา (อคโหมสมิ โลกสส เชฐฺโฐหมสฺมิ โลกสส เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสส) เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้นำใหญ่หัวหน้าของโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก ความหมายตรงนี้ต้องตีให้แตก
ตอนนี้แม้แต่ประสูติความหมายของอภิวาจาหรือเรียกว่าวาจาอาจหาญนี้ ตีความได้หลายอย่างในแง่หนึ่งก็คือในแง่ของชมพูทวีปสภาพแวดล้อมหรือภูมิหลังในยุคพุทธกาลก็คือว่า มีศาสนาพราหมณ์เป็นใหญ่ มีพระพรหมเป็นใหญ่ มีเทวดาเป็นใหญ่ มนุษย์ไม่เป็นตัวของตัวเอง นึกจะทำอะไรก็กลัวเทวดา จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จอยู่ที่เทวดา จะต้องไปบูชา ไปขอร้อง ไปอ้อนวอน เซ่นไหว้ทำพิธีบูชายันต์ ก็นึกแต่อย่างนั้น ไม่นึกถึงตัวเองว่าจะต้องพัฒนาตัวเอง ตัวเองก็มีความสามารถพัฒนาได้ มีปัญญาได้ เลยพระพุทธเจ้าประสูติขึ้นมาสัญลักษณ์ที่เป็นนิมิตก็คือ การประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ เรียกว่าเป็นการประกาศอิสรภาพของมนุษย์ คำที่ใช้เรียกพระพรหมว่า (เชฏโฐหมสฺมิ) นี่เป็นคำของพระพรหม พระพรหมเป็นใหญ่เป็นผู้สร้างโลก ใครจะมาใหญ่เท่าฉันไม่ได้ พระพุทธเจ้าประสูติมาเราก็เป็น(เชฏโฐ)ของมนุษย์นี่แหละ แต่ต้องเป็นมนุษย์ที่พัฒนาแล้วนะ ไม่ใช่อยู่ๆจะขึ้นมาเป็น(เชฏโฐเป็นเสฐโฐ)ได้ เอาล่ะ นี่ในแง่หนึ่ง เป็นการประกาศอิสรภาพของมนุษย์ไม่ให้มนุษย์มัวแต่ไปหวังไปรอคอยการดลบันดาล ให้หันมาดูตัวเอง แล้วทำไง ตัวเองจะ(เชฏโฐ เสฏโฐ) อย่างนั้นได้ ไม่ใช่อยู่ๆ (เชฏโฐ เสฏโฐ) ขึ้นมาเองได้ จะต้องฝึกหัดพัฒนาตน ที่จะต้องเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีขนาดหนักเลย ต้องทำความดียิ่งใหญ่ ที่มีความหมายอื่นก็มาแล้ว เป็น(เชฏโฐ)ยิ่งใหญ่เป็นหัวหน้า (อคโหสมิ)เป็นผู้เลิศแห่งโลกเป็นผู้เยี่ยมยอด เป็นผู้เลิศที่สุดว่างั้นเถอะ (อคโหสมิ)นี้ เลิศยอดก็เก่งที่สุดในโลก เก่งที่สุดในโลกคนทั่วไปก็นึกในแง่มีอำนาจยิ่งใหญ่อาจเป็นกษัตริย์รุกรานประเทศอื่น ไปครอบครองดินแดนทั่วโลกอะไรต่างๆ นี่คืออำนาจยิ่งใหญ่เป็นยอดของคนเก่ง ทีนี้พระพุทธเจ้าประกาศ (อคโหสมิ)เป็นยอดเป็นผู้เลิศในโลกให้ความหมายแก่คำว่าเลิศว่ายอดใหม่เลย ก็คือว่าใครล่ะเป็นเลิศเป็นยอด ก็คือเป็นเลิศเป็นยอดเก่งที่สุดในการทำให้เพื่อนมนุษย์และโลกนี้มีความสุข นี้ความหมายใหม่นะ เขาไม่เคยคิดใครเก่งมันก็ต้องมีกำลังมากไปข่มเหงรังแกคนอื่นใช้อำนาจจะเอาอะไรก็เอาได้ 1 อำนาจที่จะไปเอา ต้องการอะไรต้องได้ 2.ก็คือไปบังคับคนอื่น จัดการอะไรใครก็ต้องเอาตามใจตัวเอง พระพุทธเจ้าบอก (อคโห) ยอดเลิศสุดคือเก่งที่สุดในการทำให้คนมีความสุข
หนูจำไว้จะเก่งจริงยังไง ไม่ใช่เก่งไปทำเบียดเบียนไปชกคนอื่นล้มอะไร ไม่ใช่อย่างนั้นต้องในการที่ว่าจะช่วยให้คนอื่นมีความสุข ถ้าทำอย่างนี้ได้เก่งจริง พระพุทธเจ้านี่เป็นยอดเป็นผู้เลิศสุด เก่งที่สุดในการทำให้โลกนี้มีความสุข แล้วก็ยอดสุดในการนำแสงสว่างแห่งปัญญามาให้ นี้ความเลิศมายอดต้องเปลี่ยนความหมายใหม่ แล้ว(เชฏโฐ)ก็มีความหมายว่าก็เป็นหัวหน้าในการที่นำคนไปในทิศทางนี้ ในการที่จะช่วยกันทำให้โลกมีความสุขนะ ไปทำให้คนอื่นมีความสุขนะ ทำให้คนมีปัญญาขึ้นนะ เป็นหัวหน้าที่เป็นผู้นำในเรื่องนี้เป็น(เชฏโฐ) และ(เสฏโฐหมสฺมิ) คนที่จะมาทำอย่างนี้ได้ต้องฝึกตัวเอง ต้องพัฒนาตัวโดยเฉพาะธรรมชาติมนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐได้ด้วยการฝึก ต้องพัฒนาตนเอง พุทธเจ้าก็ตรัส(ทัน-โต-เสฏโฐ) ในหมู่มนุษย์นั้นผู้ที่ฝึกแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด ก็หมายความว่าเราประเสริฐได้ด้วยการฝึก ก็คือฝึกฝนพัฒนาตน ให้ตนเป็นคนที่มีชีวิตดีงามยิ่งขึ้น มีศีลมากขึ้น มีสมาธิจิตใจดีขึ้น มีปัญญาจนกระทั่งรู้เข้าถึงความจริง อย่างนี้จึงจะเรียกว่าประเสริฐจริงประเสริฐด้วยการฝึก ไม่ใช่อยู่ๆเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ก็ประเสริฐเลย เราบอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ พระพุทธศาสนาบอกมนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึกหรือว่ามนุษย์ที่ฝึกแล้วจึงประเสริฐ พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ อยู่ดีๆจะประเสริฐได้ยังไงล่ะ เกิดมาประเสริฐได้ทันทีที่ไหน ต้องนี่แหละ(ทันโตเสฏโฐมนุสเสสุ) แล้วถ้าหากว่าฝึกดีแล้ว(เสฏโฐเทวมานุสเส) ประเสริฐในหมู่มนุษย์และถ้วยเทพเลย เนี่ยมนุษย์ที่ประเสริฐ ก็เข้าคติที่ว่าพระพุทธเจ้าประสูติพระเจ้าชายสิทธัตถะก็ตรัสอาสภิวาจาก็คือเมื่อมนุษย์ได้ฝึกตัวเองให้ มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา มีปัญญาเข้าถึงความจริงและธรรมชาติอย่างแน่นอนแล้ว มีจิตใจเป็นอิสระหลุดพ้นมีความสุขโดยสมบูรณ์เต็มเปี่ยมแล้ว อย่างนี้แหละ แล้วก็ไปช่วยผู้อื่นทำโลกนี้ให้ดีงามมีความสุขอย่างนี้ จึงจะเป็นผู้เลิศที่แท้จริง ก็เลยให้ความหมายใหม่ เราก็ได้คำว่า (อคโห เชฏโฐ เสฏโฐ) 3 คำ เราก็เอามาตั้งก็ได้ นี่ความหมายของการประสูติพระพุทธเจ้า 3 คำนี้นะ 1.(อคโห) ต้องเก่งในการที่มาช่วยให้โลกนี้มีความสุข ทำได้ไหม อย่าไปคิดจะเก่งว่าจะเอาให้ตัวเองให้ได้มากที่สุด ไปบังคับคนอื่นให้มากที่สุด อย่าไปคิดอย่างนั้น คนก็ไม่ค่อยคิดกันเรื่องอย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ก็ไม่เอาใช่ไหม (อคโห)ยอดเยี่ยมเก่งที่สุดในเรื่องนี้ ถ้าเก่งได้อย่างนี้ดีไหม? เด็กๆตอบหน่อย ดีไหมครับหนู ดีไหมครับเก่งอย่างนี้ดีไหม ดี ต้องเก่งอย่างนี้ เยี่ยมยอดในการทำให้คนอื่นเป็นสุข ตั้งแต่ในครอบครัวก็บอกว่าฉันจะต้องเก่งในการทำให้คุณแม่คุณพ่อมีความสุขแล้วคุณพ่อคุณแม่จะมีความสุขได้ยังไง ก็หนูก็ต้องเป็นเด็กดีตั้งใจเล่าเรียนศึกษาไปเรียนหนังสือเรียนได้สำเร็จคุณพ่อคุณแม่ก็มีความสุข เก่งในการทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความสุขได้ ทำได้ไหม เก่งในแง่นี้ เก่งในการทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความสุข ต่อไปก็เก่งในการทำให้พี่น้องมีความสุข เก่งในการทำให้เพื่อนมนุษย์มีความสุข เป็นผู้นำประเทศก็เก่งในการทำให้ราษฎรประชาชนมีความสุข ใช่ไหม เก่งอย่างนี้สบายเลย เนี่ยเข้าแนวทางพระพุทธเจ้าคติจากการประสูติ หนึ่งละนะ การที่จะเก่งอย่างนี้ได้บอกแล้วว่าตอนที่ประสูตินั้นยังไม่เป็นพระพุทธเจ้าแต่จะเกิดมาเป็นพระพุทธเจ้าที่จะเก่งอย่างที่ว่าเป็นพุทธเจ้าใดต้องยังไง ต้องฝึกตน ต้องศึกษา ต้องพัฒนาตน พระพุทธเจ้าพัฒนาตนด้วยการบําเพ็ญบารมี บำเพ็ญความดียอดเยี่ยม ชนิดที่เรียกว่าคนธรรมดาทำไม่ไหวเลย นี้เราก็ต้องทำแนวทางนั้นแหละก็คือฝึกฝนพัฒนาตนเอง คนเราจะเก่งเป็นอะไรได้ต้องพัฒนาตน ไม่ใช่เป็นคนที่เอาแต่สนุกสนานใช้เวลาผ่านไปไม่มีประโยชน์ไม่ได้ฝึกตัวเองเลย แล้วจะไปเก่งได้ยังไง มันเป็นไปไม่ได้ ต้องเข้มแข็ง จิตใจเข้มแข็ง ปัญญาเข้มแข็งมันต้องฝึกตนทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้นเด็กจะต้องฝึกตน ใช้หลักนี้ไว้เลยว่าเราจะต้องฝึกฝนตน ฝึกตน ฝึกต้น ฝึกเข้าไป เป็นคนแล้วถ้าฝึกมากเท่าไหร่จะเป็นอะไรก็ได้ จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ ก็เป็นได้ด้วยการฝึก เพราะฉะนั้นหนูฝึกเข้าไปเถอะ ไม่ต้องห่วงใช้หลักการของพระพุทธเจ้านี่ สำเร็จแน่นอน เป็นนักฝึกตน มองอะไรๆเป็นแบบฝึกหัดในการที่จะฝึกตนไปหมดเลย มองทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ มองสิ่งที่ประสบทุกอย่างเป็นแบบฝึกหัด ที่เราจะฝึกตน แล้วจะก้าวหน้าแน่นอน คติจากการประสูติเป็นอันว่าคติจากการประสูติก็ต้องฝึกตนเพื่อจะได้เป็นคนที่เก่งที่เยี่ยมยอดในการที่จะทำให้โลกนี้อยู่ดีมีสุข ต่อไปก็ตรัสรู้ ตรัสรู้ทำไง ก็ต้องมีปัญญาพูดง่ายๆรวบรัดที่สุด ตรัสรู้แปลว่ารู้แจ้ง รู้แจ้งถึงความจริงของสิ่งทั้งหลาย รู้ธรรมชาติ รู้ชีวิตเพื่อนมนุษย์ รู้คน ความต้องการทุกข์สุขของเขาเป็นยังไง ถ้าเราไม่รู้นี่เราทำอะไรไม่ถูก แล้วต้องรู้พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ นี่เป็นบทสำคัญเป็นตัวตัดสินเลย ฝึกตัวเองมายังไงไปเถอะ ฝึกหลายด้าน ฝึกพฤติกรรม ฝึกความสัมพันธ์สิ่งแวดล้อม ฝึกจิตใจ ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ฝึกจิตใจให้มีสติ มีสมาธิ ฝึกจิตใจให้มีคุณธรรม มีความดี มีเมตตากรุณา เป็นต้น แล้วก็ฝึกจิตใจให้มีความสุข มีปีติ มีความร่ารื่นเริงเบิกบานผ่องใส ฝึกเข้าไป แต่ในที่สุด สำคัญที่สุด ต้องฝึกให้มีปัญญา ปัญญาเยี่ยมยอดรู้แล้วจึงจะรู้ว่าที่ฝึกมันถูกหรือไม่ถูก ฝึกทางด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ ฝึกจิตใจตัวเองจะรู้ว่าถูกหรือผิดต้องมีปัญญาเป็นตัวบอก เราก็ต้องพัฒนาฝึกปัญญาขึ้นมา ฝึกปัญญาจนกระทั้งปัญญาเนี่ยเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ พอปัญญารู้ความจริงแล้วก็เอาความรู้ในความจริงนั่นแหละ มาใช้ปฏิบัติแล้วก็จะทำอะไรได้สำเร็จ คนที่รู้มีปัญญานี้เขาทำ 2 ขั้น 1.รู้ความจริง 2. นำความรู้ความจริงนั้นมาใช้ก็เกิดการปฏิบัติ เช่น เราจะแก้ปัญหานึงเรารู้แล้วปัญหานี่คืออะไร สาเหตุของปัญหาเป็นยังไงแล้วพอรู้ความจริงเขามาแล้ว เขาเรียกว่ารู้ธรรมชาติ ต่อไป ขั้นที่ 2 รู้โดยเอาความรู้เรื่องของข้อมูลเป็นต้น เกี่ยวกับธรรมชาตินั้นมาใช้วางแผนเป็นต้น ในการที่จะแก้ไขปัญหาหรือในการประดิษฐ์สร้างสรรค์ต่างๆเนี่ย พระพุทธเจ้าการใช้ปัญญา 2 ระดับนี้ จึงเป็นสัมมาสัมพุทธะ 1.ปัญญาขั้นรู้ความจริง 2.ปัญญาขั้นเอาความรู้ในความจริงนั้นมาใช้ได้ ถ้าใครทำได้สำเร็จ 2 ขั้นนี้ ก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จ สามารถเป็น(อคโห)ที่ว่าเยี่ยมยอดได้ ต้องได้ทั้ง 2 ขั้นนะ 1.ขั้นรู้ความจริงถ้าคุณไม่รู้ความจริงคุณใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา ทำอะไรต่ออะไรไปสร้างสรรค์มันก็ไม่สำเร็จ สำเร็จมันก็ไม่จริง เมื่อเวลานี้วิทยาศาสตร์ก็ค้นพบหาความรู้ในธรรมชาติ หาความจริงของธรรมชาติ ถึงความจริงของธรรมชาติ แล้วก็เอาความรู้นั่นแหละ เขาเรียกว่าล้วงความลับของธรรมชาติ แล้วฝรั่งก็บอกฉันล้วงความลับของธรรมชาติแล้ว ฉันจะเอาความลับของธรรมชาตินี้ละมาจัดการกับมันว่างั้นนะ ก็เอาชนะธรรมชาติ ก็คือความรู้ขั้นที่ 2. นี้ปัญหาก็คือมนุษย์เนี่ยรู้ความจริงของธรรมชาติจริงหรือเปล่า บางทีก็รู้ไม่พอ รู้เหมือนกัน พอทำไปๆใช้ความรู้นั้นไป อีก 10 ปี จึงรู้ว่าเกิดโทษและ เพราะรู้ไม่ทั่วถ้วน รู้ไม่ทั่วตลอด ปัญหาเดี๋ยวนี้ก็คือมนุษย์เนี่ยไม่รู้จริง ต้องการรู้ความจริงของธรรมชาติก็รู้ในระดับหนึ่งแล้วก็มาใช้ประโยชน์ในระดับเท่าที่รู้ แล้วมาแก้ปัญหาทางการสร้างสรรค์ต่อ ไปแต่ว่าเพราะไม่รู้ทั่วถ้วน ก็เกิดปัญหาว่าส่วนที่ตัวไม่รู้ก็คือเมื่อตัวทำอะไรขึ้นมาแล้ว มันก็เป็นเหตุปัจจัยส่งผลต่อสิ่งอื่นที่ตัวไม่ได้รู้ ไม่ได้เห็น ไม่ได้มอง มันก็เลยเกิดปัญหาขึ้นมา เพราะฉะนั้นหลักพุทธศาสนาท่านไว้ให้อันนึงนะ โยมจำไว้ด้วย อันนี้ก็คือกฎธรรมชาติเนี่ยกฎทั่วไปเราเรียกว่ากฎแห่งเหตุปัจจัยหรือเหตุและผล สิ่งทั้งหลายที่เป็นผลที่เกิดจากเหตุ เพราะฉะนั้นนักวิทยาศาสตร์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติรู้เหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย เมื่อรู้เหตุเหตุปัจจัยและทำเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลนั้นได้ นีท่านเตือนไว้อันหนึ่งก็คือ มนุษย์มักจะอยู่ในลัทธิที่เรียกว่าลัทธิเหตุผลเดียวผลเดียว เรียกว่า (เอ-กะ-กา-นะ-วาด) เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นนะ ลัทธิเหตุผลเดียวผลเดียว คือมองไปที่เหตุการณ์ก็นึกว่าเธอฉันต้องการผลนี้ ฉันก็หาเหตุของมันให้ได้ ทำเหตุของมันแล้วก็จะได้ผลนั้น ก็จริงก็ได้อยู่ แต่หารู้ไม่ว่าที่จริง ความจริงของธรรมชาติมันไม่ใช่แค่นั้น และความจริงมันเป็นยังไงล่ะ มันไม่ใช่เหตุผลเดียว เหตุหนึ่งปัจจัยหนึ่งก่อให้เกิดผลหลักหลาย ที่เราทำเหตุอันหนึ่งเนี่ย เรามองไปที่ผลเดียวที่เราต้องการ แต่ในขณะนั้นเหตุที่เราทำไปแล้วเนี่ย มันส่งผลออกไปอื่นอีกเยอะแยะเลย แวดล้อมมากมาย อันนี้เราตามไม่ทั่วถึง แล้วมาเกิดผลต่อเราภายหลัง เหมือนอย่างปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติปัจจุบัน เพราะเหตุใดมนุษย์เนี่ย อยู่ในลัทธิเรียกว่า (เอ-กะ-กา-นะ-วาด) เหตุผลเดียวผลเดียว ที่นี้เหตุผลเดียวก่อให้เกิดผลหลักหลาย แล้วผลเดียวก็เกิดจากเหตุปัจจัยหลักหลายเช่นเดียวกัน ผลอันหนึ่งที่เราต้องการมันไม่ใช้เกิดจากเหตุปัจจัยเดียว เราต้องการมะม่วง เรามีเม็ดมะม่วง แล้วเราบอกว่ามีเม็ดมะม่วงแล้วก็ได้เหตุแล้วใช่มั้ย เรามีเม็ดมะม่วงอย่างเดียวเกิดต้นมะม่วงไหม ไม่ ผลคือต้นมะม่วงที่เราต้องการจะเกิดขึ้นได้จากปัจจัยอเนก ปัจจัยอเนกก็คือว่านอกจากเม็ดมะม่วงแล้วต้องมีน้ำมีปุ๋ยมีแก๊สอากาศ อะไรต่างๆ มีความชื้นอุณหภูมิและต่างๆ ที่มันเอื้อทุกอย่าง ท่านเรียกว่าเหตุปัจจัยพร้อมแล้วนี่แหละถึงจะเกิดผลนั้นขึ้นมา นี่คือหลักการที่เรียกว่าไม่ใช่ (เอ-กะกา-นะ-วาด) เวลานี้แม้แต่ชาวพุทธเราเนี่ยคือหลักธรรมก็เป็น(เอ-กะกา-นะ-วาด) กันแทบทั้งนั้น ฉันทำดีแล้วไม่ได้ดี ก็ทำเหตุเลยใช่ไหม เหตุก็คือดี ผลดีไม่เกิด ผลดีจะเกิดได้ยังไง ผลคุณต้องการคืออะไร คุณศึกษาว่าผลดีอันนี้นอกจากตัวเหตุนี้ต้องการปัจจัยอะไรบ้าง คุณต้องศึกษาปัจจัยให้ครบ เหตุปัจจัยนะคุณทำครบไหม ถ้าปัจจัยไม่ครบคุณก็ไม่สำเร็จ และอันนี้มันจะทำให้เราเจริญปัญญา พอเราทำไปแล้วทำไมผลมันไม่เกิดจากเหตุที่เราทำ เราก็มาพิจารณาตัวเองมาศึกษามาวิเคราะห์เหตุปัจจัย ว่าปัจจัยอะไรมันขาดไปการทำกรรมครั้งต่อไปเราจะได้พัฒนาขึ้นทำให้ครบ ไม่ใช่แค่อยู่กรรมดีเกิดผลดี กรรมชั่วเกิดผลชั่ว แล้วก็มองเหตุเดียวผลเดียวอย่างนี้ แล้วก็ไม่ไปไหน พอทำไปแล้วไม่สำเร็จก็ท้อถอย หดหู่ แล้วก็โทษว่าฉันทำดีไม่เห็นได้ดี มันก็ไม่พัฒนา ถ้าคนทำกรรมเป็นก็จะมองตามหลักนี้ ว่าผลหลากหลายจากปัจจัยอเนก เอานะจำไว้โยม หลักการที่แท้ ผลหลากหลายจากปัจจัยอเนก เหตุปัจจัยอย่างหนึ่งนี่ ส่งผลออกไปมากมายแล้วก็ผลอย่างเดียวเกิดจากปัจจัยก็เอนกมากมายหลากหลายด้วย ปัจจัยพรั่งพร้อมเมื่อไหร่จึงจะเกิดผลนั้น อย่างปฏิจจสมุปบาทเนี่ยแปลว่าว่าการเกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัยพรึ่บพร้อม อย่างนี้เป็นต้นเหตุ ไม่ใช่ว่าอยู่ๆเหตุเดียวเกิดผล นั้นคนศึกษาเรื่องนี้มันจึงยากเพราะว่ามันเป็นระบบเหตุปัจจัยที่ซับซ้อน ไม่งั้นปฏิจจสมุปบาทจะยากอะไร คนไปมองแค่เป็นเหตุปัจจัยเหตุผล คิดแค่นั้นไม่ได้ เรื่องมันเยอะ เอาละหลักการนี้โยมต้องจำไว้ เรื่องปัญญาเนี้ย ผลหลากหลายจากปัจจัยเอนก ถ้าไปยึดลัทธิเหตุเดียวผลเดียวท่านเรียกว่าเป็น (เอ-กะ-กา-นะ-วาด) เป็นลัทธิมิจฉาทิฏฐิเราจะพัฒนาตนเราก็ต้องฝึกฝนมีปัญญาวิเคราะห์เหตุปัจจัยหลักหลายนี้ให้ได้แล้วก็พัฒนาทำปัจจัยต่างๆให้พร้อมเพื่อได้ผลที่ประสงค์ แล้ววิทยาศาสตร์ปัจจุบันที่ลำบากก็คือตรงนี้ ตามเหตุปัจจัยไม่ไหว คือทำอะไรขึ้นไปอันนึงแล้วเนี่ยตามไม่ไหวก็มันเป็นส่งผลอะไรบ้าง แล้วก็เวลาต้องการผลเนี่ย บางทีผลไม่ได้เต็มที่ ไม่ได้ดีโดยพร้อมบริบูรณ์สมบูรณ์ก็เพราะว่ามันตามปัจจัยไม่ครบ จะเป็นจุดอับจนของวิทยาศาสตร์ก็เพราะตรงนี้ก็คือตามเหตุปัจจัยไม่ไหวขอให้ลองดูเถอะ เวลานี้มันติดตรงเนี้ยมันไปไม่ไหวจริงๆ ไม่รู้จะตามยังไงก็แค่เหตุเดียวเนี่ยเราทำตามปัจจัยอันหนึ่งเนี่ย เราตามไม่ไหวแล้วนะมันส่งผลไปอะไรบ้าง เอาละพุทธเจ้าตรัสรู้หลักการนี้เลยก็คือเรื่องตรัสรู้นี้แหละ พระพุทธเจ้าถึงได้ถือปฏิจจสมุปบาทเป็นสำคัญ พอตรัสรู้แล้วมาเสวยวุฒิสุขก็ตรัสสิ่งที่เราเรียกว่าเป็นพุทธพจน์อันเป็นปฐมในตอนตรัสรู้ (ยะ-ถา-เว-ปา-ตุ-ปะ-วัน-ติ-ทัม-มา-อะ-ตา-ปิ-โน-ไช-ยะ-โย-พาม-มะ-นัด-สัก) เป็นต้น ก็คือตรัสเรื่องปฏิจจสมุปบาท หมายความว่าพระองค์ตรัสรู้มานี่คือตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน แล้วก็มาทบทวน พระองค์มาเสวยวิมุตติสุขนั้นมาทบทวนปฏิจจสมุปบาทด้วย นี้ตรัสรู้แปลว่าหนูต้องมีปัญญา ฝึกตัวเองมาในที่สุดฝึกทุกอย่างให้ชีวิตดีขึ้นแต่ว่ามีแกนยอดก็คือปัญญา ต้องเป็นคนมีปัญญาฝึกให้มีปัญญาให้ได้ ถ้าไม่มีปัญญาก็แก้ปัญหาไม่สำเร็จ โลกนี้มีปัญหาอยู่เสมอต้องให้เราต้องแก้ เราจะแก้ได้ยังไงถ้าไม่มีปัญญา ปัญญามาปัญหาหมด ถ้าปัญญาไม่มาปัญหาก็ต้องเต็มที่ นั่นก็เป็นอันว่าเราต้องแก้ปัญหาด้วยปัญญา ต้องเป็นคนมีปัญญา ก็ตรัสรู้ ที่นี้จะทำไงตรัสรู้ ก็เป็นอันว่าเราก็ต้องฝึกตนๆ ไปในที่สุดพระพุทธเจ้าตรัสรู้และพระองค์ปรินิพพาน พระองค์เตือนพวกเราไว้ พวกเรานี้ฝึกตนอยู่ยังไม่ตรัสรู้กันเยอะเลย ทำไงพระองค์ก็ลงท้ายด้วยปัจฉิมวาจาพระวาจาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม นั้นที่เธอฝึกตนอยู่นี่นะ ฝึกไว้เถิดอย่าได้ประมาท จงใช้เวลาด้วยความไม่ประมาท เวลาผ่านไปมันไม่รอใคร เวลาและวารีมิได้มีจะคอยใครใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราจะปล่อยเวลาล่วงไปเปล่าไม่ได้ ถ้าปล่อยเวลาล่วงเลยเปล่าท่านเรียกว่าเป็นคนประมาท นั้นเราก็ต้องใช้เวลาให้เป็นประโยชน์จนกระทั่งว่าพระพุทธเจ้าตรัสนี่ เวลาพระองค์ตรัสอย่างหนักอย่างเรียกว่าเอาทุกขณะเลยนะ (คัน-โท-โอ-มา-อุ-ปะ-ชะ-คา) เวลาแม้แต่ขณะเดียวอย่าได้ล่วงเลยท่านไปเสีย นี่ทุกขณะเลยนะ ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติถึงวิปัสสนาเพราะอะไร วิปัสสนาเพราะว่าต้องรู้ทันปัจจุบันทุกขณะเนี่ย วิปัสสนาก็คือรู้ความจริงที่เป็นไปอยู่ทุกขณะเลย ขั้นที่ว่าไม่ประมาทจึงต้อง(คัน-โน-โอ-มา-ปัดจะ-คา) เวลาแม้แต่ขณะหนึ่งๆแต่ละขณะอย่าได้ล่วงท่านกันไปเสีย ยอมให้พวกเรายังไม่ไหวไม่ไหวเอายังไง บอกว่า (อะ-โม-คา-ธิ-วะ-สัง-กะ-ยิ-รา-อับ-เป-นะ-เก-นะ-วา) เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า ไม่มากก็น้อยต้องให้ได้อะไรบ้าง เอาละ ขนาด(อะ-โม-คัง-ธิ-วะ-สัง-กะ-ยิ-รา) นี้ อาจจะบอกไม่ไหว ไม่ไหวก็เอาอันนี้ก่อน จำไว้เลยหนูๆจำให้ดีเลย คาถาศักดิ์สิทธิ์ที่สุดดีกว่าคาถาไสยศาสตร์เยอะเลย คาถาไสยศาสตร์ไม่รู้จะมาสำเร็จเมื่อไหร่ แต่หนูทำอันนี้ได้ทันที จำไว้จะเอาท่อนไหนก็ได้นะ ว่าให้ฟังอีกทีนึง (อะ-โม-คัง-ธิ-วะ-สัง-กะ-ยิ-รา) เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า (อะ-โม-คัง) ก็คือไม่ให้เป็นโมฆะ โมฆะแปลว่าว่างเปล่าเสียเปล่า (อะ-โม-คัง) ก็ทำให้ไม่เป็นโมฆะไม่ว่างเปล่า (ธิวาสัง)ก็วันนั้นเองทาง (อะ-โม-คัง-ธิ-วะ-สัง-กะ-ยิ-รา) พึงทำวันเวลาไม่ให้เป็นโมฆะ ก็แปลความว่าเวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า เอาแค่นี้ก็ได้ ถ้าเอาให้เต็มก็บอกว่า(อัป-เป-นะ-พะ-หุ-เก-นะ-วา) ไม่มากก็น้อยต้องให้ได้อะไรบ้าง ถ้าเราไม่ได้มากก็ให้ได้น้อยนะหนู วันๆนึงต้องตั้งเกณฑ์ไว้เลย บอกว่าวันนี้เราต้องได้บ้างละ ได้อ่านหนังสือบ้าง ตั้งเกณฑ์ไว้ไปกิจวัตร เขาเรียกตั้งวัตรไว้ วิธีฝึกคนเขาให้ตั้งเป็นวัตร วัตรคือข้อปฏิบัติประจำ วันนี้จะต้องทำอะไรบ้างตั้งเป็นวัตรไว้ แล้ววันนั้นจะต้องทำให้ได้ เช่นว่า อ่านหนังสือได้หนึ่งหน้า อ่านหนังสือให้ได้ห้าหน้า หรืออะไรก็ว่าไป ต้องได้ความรู้อย่างนี้ ตั้งเกณฑ์ไว้เลย นี้ต่อไปจะได้วันละนิดละหน่อยนะเดือนนึงได้เท่าไหร่ เดือนได้สามสิบเท่าแล้วใช่ไหม ปีนึงได้ สามร้อยหกสิบห้า สามร้อยหกสิบหก เพราะนั้นก้าวหน้าแน่นอน นั้นก็เอาหลักความไม่ประมาทนี่แหละมาใช้ พระพุทธเจ้าตรัสเตือนเสมอเรื่องความไม่ประมาทเนี่ยตรัสคู่กับเวลา เวลาผ่านไปเนี่ย ชีวิตของเราเป็นต้น สิ่งทั้งหลายก็เปลี่ยนแปลงไป ล่วงไปผ่านไป เพราะฉะนั้นเราจะต้องไม่ประมาทตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจึงบอกว่าพระพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้ในโอกาสของการปรินิพพานเป็นปัจฉิมวาจา วาจาสุดท้ายของพระองค์ว่าจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ก็คือใช้เวลาอย่างไม่ประมาท ก็ครบแล้วสามอย่าง เอาคติอย่างง่ายของวันวิสาขบูชา วันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน 1.ประสูติว่าไง ทวนอีกที สอนว่าจะต้องฝึกตน ฝึกฝนพัฒนาตน ฝึกฝนพัฒนาปรับปรุงตนแล้วแต่จะใช้สำนวนอะไรก็ได้ สั้นๆก็บอกฝึกตน เติมเข้าไปให้หนักแน่ก็บอกต้องฝึกตน ต่อไปก็ตรัสรู้ว่ายังไงครับ ตรัสรรู้ว่ายังไง ตรัสรู้ต้องเป็นคนมีปัญญา 1.ประสูติต้องต้องฝึกตน 2.ตรัสรู้ต้องเป็นคนมีปัญญา แล้วก็ 3.ปรินิพพาน ต้องใช้เวลาอย่างไม่ประมาท เอาละ วิสาขบูชาปีนี้ได้แค่นี้ก็ใช้ได้ ไม่เฉพาะเด็กนะ โยมก็ได้ด้วยใช่ไหม ขอให้โยมได้ด้วยนะ สามข้อเนี่ย เป็นคนต้องฝึกตน 1.ต้องฝึกต้น 2.เป็นคนมีปัญญา 3.ใช้เวลาอย่างไม่ประมาท แล้วญาติโยมก็จะได้ประโยชน์จากวันวิสาขบูชา การฉลองวันมาฆบูชาก็จะมีความหมายอย่างแท้จริง เป็นปฏิบัติบูชาไม่ใช่แค่มา(อามิส)บูชามาถวายธูปเทียนดอกไม้จบ แต่ว่านี้เราได้หมดเราได้ครบ อามิสบูชาก็ทำแล้ว มาร่วมพิธีเราก็ได้ความสามัคคีทั้งกายใจ จิตใจร่าเริง เบิกบาน ผ่องใส มีไมตรีจิต มิตรภาพน้ำใจ ปรารถนาดีต่อกัน เราก็เริ่มปฏิบัติตามที่พุทธเจ้าสอนในวิสาขบูชานี้แหละ แต่ว่าให้ได้หลักไปแล้วก็ไปปฏิบัติให้ครบ คิดว่าวันนี้ก็พอสมควรแก่เวลาและก็ขออนุโมทนา โยม ญาติมิตร สาธุชน ทุกท่าน วันวิสาขบูชาเวียนมาแล้วปีนี้ก็ให้ความหมายเพิ่มแบบง่ายๆอันนึงว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ที่แท้ของชาวพุทธ เมื่อขึ้นปีใหม่แล้วโยมก็ต้องสดใส มีกำลัง เข้มแข็ง โลกนี้เวลานี้ปัญหาเยอะคนไม่เข้มแข็งอยู่ไม่ไหว นี้เลยเตือนเด็กนิดหน่อย หนูนี่แหละสำคัญ ต่อไปอยู่ในโลกนี้นะ ปัญหาจะมาขึ้นโดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมเพราะว่าบรรพบุรุษนี่ทำไว้ให้ บรรพบุรุษนี่สร้างโลกที่มันมีปัญหาสิ่งแวดล้อมเสียให้แก่เด็กๆ เด็กๆก็อย่าไปโทษท่านเลยนะ ท่านไม่ได้เจตนาร้าย ในเมื่อเราได้รับโลกที่มันเป็นอย่างนี้แล้ว เราก็ต้องปฏิบัติต่อมันให้ดี ทำไงเราจะรักษาโลกที่มันมีโลกอันนี้ให้มันอยู่ดีที่สุด เราก็ต้องเรียนรู้ต้องฝึกหัดพัฒนาตัวเอง ต้องเข้มแข็ง นี้คนที่ไม่เข้มแข็งจะไปสู้ปัญหาได้ยังไงล่ะ ปัญหามารอหน้าอยู่แล้วหนูไปเพลินมัวแต่เล่นเกมสนุกสนานมันจะไปได้เรื่องอะไรก็อ่อนแอใช่ไหม เพราะฉะนั้นต้องเข้มแข็ง เข้มแข็งก็ต้องฝึกตนให้เป็นคนมีปัญญา เรียนรู้ศึกษเอาเต็มที่ ต่อไปเราจะได้มาแก้ปัญหาให้แก่โลก แล้วเราจะต้องเป็นคนเก่งอย่างพระพุทธเจ้าคือเก่งในการทำให้โลกนี้มีความสุข เป็นผู้เยี่ยมยอดในเรื่องนี้ ตั้งจุดหมายนี้ให้ได้แล้วเราก็จะมีทางชนะปัญหา ปัญหาของโลกก็จะไม่เหลือวิสัย สำหรับเด็กที่รู้จักพระพุทธเจ้าได้คติจากวันวิสาขบูชา เราก็มาตั้งจุดหมายว่าเราจะต้องเป็นอย่างพระพุทธเจ้าเป็นคนที่เก่งยอดเยี่ยม เก่งยอดเยี่ยมในการที่สร้างโลกนี้ให้เป็นโลกแห่งความสุข ให้มนุษย์ทั้งโลกมีความสุข ด้วยการที่มีปัญญาแล้วก็มาช่วยกันแก้ปัญหาสร้างสรรค์ให้ได้ อย่างนี้ก็เป็นเจตนาที่ดี ฉลองวิสาขบูชาปีนี้มีความหมายแท้จริง ก็ขออนุโมทนาโยม ญาติมิตร ท่านผู้ใหญ่ ตั้งแต่ปู่ย่า ตา ยายลงมา คุณพ่อ คุณแม่ ลูกหลาน เด็กๆทั้งหลายนักเรียน คุณครูอาจารย์ทุกท่านเนี่ย มีเจตนาดี มีศรัทธา มีเมตตา ไมตรี มาประชุมกันที่จิตใจที่ดีงาม มีความมุ่งหมายเป็นกุศลหมดแล้ว ก็ขอให้กุศลและเจตนาของเรานี้เจริญงอกงามยิ่งๆขึ้นไป ด้วยการปฏิบัติตามหลักการที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ด้วยวันวิสาขบูชานี้ (รัตนตรัยนุภาเวนะรัตนตนเตชะสา) ด้วยเดชานุภาพคุณพระรัตนตรัยและบุญกุศลตั้งแต่กุศลในใจของเราที่มีความตั้งใจดีเป็นต้นไป จงเป็นปัจจัยอวยชัยให้พรให้ทุกท่านมีกำลังเข้มแข็งเข้ม ทั้งแข็งทางกายมีสุขภาพดี ทั้งเข้มแข็งทางจิตใจ เข้มแข็งทางปัญญาและเข้มแข็งร่วมกันด้วยความสามัคคี แล้วมาช่วยกันปฏิบัติในวิถีทางแห่งคำสอนพระพุทธเจ้าแก้ปัญหาสร้างสรรค์ให้ชีวิตครอบครัวสังคมนี้มีความร่มเย็นเป็นสุขยั่งยืนนานสืบต่อไป ทุกเมื่อเทอญ