แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ว่าถึงเรื่องความสุขขั้นเหนือปรุงแต่งก็คิดว่าจะไม่ยาว นี้เราก็พูดกันมาแล้วถึงความสุขหลายระดับ ในระดับนี้ก็ถึงระดับสูงสุด นี้ความสุขนี่ก็ มีข้อย้ำอยู่อันหนึ่งก็คือว่ามันก็ดี แต่ว่ามันก็มีโทษได้ในแง่ที่ว่าไปหลงติดอย่างที่ว่าไปแล้ว ถ้าไปติดปั๊บล่ะก็เกิดปัญหาทันที ติดหลงเพลิดเพลินมัวเมาก็ทำให้เกิดความประมาท เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ ว่านอกจากให้ไปสุขที่ชอบธรรมแล้วก็ยังไม่ให้หลงติด เพลิน สยบด้วย และความสุขแทบทุกอย่างก็จะมีติดได้ มีอยู่ขั้นเดียวที่ว่าจะไม่ติดก็คือ ความสุขขั้นเหนือปรุงแต่งนี่แหละ ขั้นเหนือปรุงแต่งไม่ติดล่ะ ถึงมีสุขก็ไม่ติด เพราะว่ามันเป็นความสุขที่บรรลุด้วยจิตของผู้ที่เป็นอิสระแล้ว นั้นมันก็เลยไม่มีเชื้อที่จะให้ติด หมายความว่า ตัวเหตุปัจจัยที่จะทำให้ติดมันไม่มี ท่านผู้บรรลุสุขขั้นสูงสุดนี้ แต่ก็ทั้งนี้ก็ต้องหมายถึงว่า ก็ต้องหมดกิเลสอาสวะ ก็คือ เป็นพระอรหันต์นั่นเอง ที่นี้จะพูดอย่างนี้มันก็ยังอาจจะทำให้มีแง่ที่ว่าเป็นสุขเหนือปรุงแต่งนี้ ในกรณีที่เป็นพระอริยะอื่นๆ ยังไม่เป็นพระอรหันต์ก็อาจจะยังติดเพลินได้เหมือนกันนะ ที่ว่าไม่ติดเพลินนี้ก็หมายถึงนี่แหละต้องเป็นพระอรหันต์ เพราะหมดเหตุปัจจัยที่จะทำให้ติด มีจิตเป็นอิสระโดยสมบูรณ์ นั้นเราก็พูดได้ในแง่ว่า สุขที่เป็นอิสระ สุขเหนือปรุงแต่งขั้นสูงสุด ก็หมายถึง สุขของพระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานโดยแท้จริงแล้วจึงจะไม่มีการติดเพลินอีก เมื่อไม่ติดเพลินก็ไม่มีทางที่จะประมาท พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า พระอรหันต์เป็นผู้ที่ไม่อาจจะประมาท นี้การที่เข้าถึงความสุขระดับที่เหนือปรุงแต่งก็เป็นการเข้าถึงด้วยปัญญา ปัญญานี้เข้าถึงความจริงนั่นเอง หมายความว่า ได้รู้เข้าใจสังขาร หรือเห็นโลกและชีวิตนี้ตามเป็นจริง หรือจะใช้สำนวนว่า ตามที่มันเป็นก็ได้ เมื่อรู้เห็นตามที่มันเป็นเข้าถึงความจริงแล้ว จิตที่เข้าถึงความจริงแท้นี่มันก็ไม่มีอะไรจะปรุงแต่งแล้ว เพราะความจริงมันไม่ใช่เรื่องปรุงแต่ง เมื่อเข้าถึงความจริงด้วยปัญญาก็เกิดความเป็นอิสระ เป็นความสุขประเภทโล่ง โปร่ง เบา เหมือนอย่างคนที่ว่าจิตยังไม่โล่ง ไม่โปร่ง ยังมีความติดข้อง มีความไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรบางอย่าง มันก็ยังมีความไม่สว่าง ไม่โปร่ง ไม่โล่ง อย่างคนที่ดำเนินชีวิตอยู่ในโลกในระดับของสามัญชนเนี่ย ที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรต่างๆ พอไปติดขัด ยังไม่มีปัญญารู้ว่าจะปฏิบัติต่อสิ่งอย่างนั้นอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร ความติดขัดก็เกิดขึ้น ในขณะนั้นแม้จะได้สิ่งบำรุงบำเรอสบายอย่างไร จิตมันก็ข้อง มันไม่ได้โปร่งได้โล่ง นี้เมื่อไรเกิดความรู้ว่าอะไรเป็นอะไร จะต้องทำอะไรต่ออะไรอย่างไร ความโล่งโปร่งเบาก็เกิดขึ้น ก็เรียกว่าพ้นจากทุกข์เป็นอิสระ หรือดับทุกข์ได้ อันนี้มันเป็นความสุขในตัวเองเลย การที่ว่าหมดปัญหาจิตไม่ติดขัด รู้ว่าจะต้องทำอะไรต่ออะไรอย่างไร การที่รู้เข้าใจทางปัญญานะมันเป็นความสุขอยู่ในตัวเอง แต่เป็นความสุขที่มีลักษณะแปลก คือว่า มันเป็นความสุขที่ไม่ต้องการการบำรุงบำเรออะไร นี่มันรู้เข้าใจความจริงก็เกิดความโปร่งโล่งเบาก็สบาย ความสุขแบบนี้ท่านเรียกว่า ความสุขแบบไร้ทุกข์ คือไม่มีความทุกข์ หรือว่าดับทุกข์ หรือจะใช้คำยังไงก็แล้วแต่ ที่นี่ปัญญาที่รู้เข้าใจความจริง อันนี้มันจะรู้เข้าไปจนถึงธรรมชาติของโลกและชีวิตในขั้นสุดท้ายอย่างที่เคยพูดไว้แล้ว ก็คือรู้สภาพของสิ่งทั้งหลายทุกอย่างที่มันเป็นไปตามความจริงของมัน ดำรงอยู่ตามสภาพของมัน มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไป ไม่อยู่ในภาวะเดิม หรือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของบังคับบัญชา เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ความรู้ความเข้าใจความจริงอย่างนี้จนถึงกระทั่งว่ารู้ สว่าง โล่ง มันก็ทำให้จิตนี่วางตัว วางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้อง อย่างที่เคยพูดไว้แล้วว่า ในธรรมชาติสังขารทั้งหลายมันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามกฎแก่มนุษย์ ในความสัมพันธ์แก่มนุษย์ว่า มันไม่อยู่ในภาวะที่ตัวต้องการ ??? ทีนี้มันไม่อยู่ในสภาพของมันอย่างเดิม มันมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย มันก็เป็นภาวะของสิ่งนั้นตามปกติเป็นธรรมชาติของมัน เราเรียกด้วยศัพท์ว่า เป็นทุกข์ นี้ภาวะที่เป็นทุกข์ในสิ่งทั้งหลายมันก็มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่นี้พอมาสัมพันธ์กับมนุษย์ มนุษย์นี้ไปวางท่าที มีความต้องการต่อมัน เมื่อมีความต้องการก็ต้องการให้มันอยู่ในภาวะอย่างหนึ่งที่ตัวปรารถนา เมื่อมันไม่อยู่ในภาวะนั้นก็เกิดเป็นทุกข์ในใจคนด้วย อันนี้ก็คือ ลักษณะจิตใจของปุถุชนที่ไปสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านั้น พอมีปัญญารู้แจ้งว่า สิ่งทั้งหลายมันก็เป็นสภาพของมันอย่างนั้น ที่มันเกิดดับไม่อยู่ในภาวะที่เราต้องการ เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นอย่างนั้น มันเป็นภาวะแห่งความเปลี่ยนแปลง การตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ก็เรียกว่าเป็นทุกข์ตามธรรมชาติ ตอนนี้เพราะปัญญารู้นี่ มันรู้แต่ภาวะที่เป็นทุกข์ในธรรมชาติของสิ่งนั้นเอง แต่ว่ามันไม่มีไอ้เจ้าตัวความต้องการ ความปรารถนาของตัวเองต่อสิ่งนั้นที่จะไปขัดขืนกัน มันก็เลยกลายเป็นว่า ทุกข์ที่เป็นสภาวะอยู่ในธรรมชาติก็เป็นภาวะอยู่ในธรรมชาติของมันอย่างนั้น ไม่เข้ามาก่อให้เกิดเป็นทุกข์ในจิตใจของเรา อันนี้ก็เป็นภาวะที่หลุดพ้น เรียกว่าความพ้นทุกข์ เพราะฉะนั้นจิตใจก็จะวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้อง สิ่งเหล่านั้นไม่เกิดเป็นปัญหาแก่ตัวเอง นี้ความสัมพันธ์ด้วยปัญญาก็จะมีออกมาสู่เรื่องของการที่ว่าจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร จะดำเนินชีวิตอย่างไรด้วย นี้คนทั้งหลายนี่อยู่ในโลกนี่ก็
หนึ่ง ก็มีความปรารถนาต่อสิ่งเหล่านั้น มีความต้องการให้เป็นอย่างที่ตัวต้องการ
สอง ในการดำเนินชีวิต ในการปฏิบัติ เค้าแยกไม่ออก เค้าก็นึกว่าไม่เป็นไปตามความต้องการของเขา ก็เกิดความขัดแย้ง ปะทะกันก็เกิดปัญหาที่เรียกว่าความทุกข์ขึ้นมา ถ้าเราจะเปรียบอุปมาก็เหมือนกับว่า เราพูดเป็นกระแสไป ว่าใจของคนเรานี่เวลาไปเกี่ยวข้องกับอะไร เราก็มีความต้องการต่อสิ่งนั้น อยากให้เป็นอย่างนู้นอยากให้เป็นอย่างนี้ การที่อยากให้เป็นอย่างนู้นอย่างนี้ เราเรียกว่าเป็นกระแส คือกระแสความต้องการ หรือ กระแสความอยาก ก็คือกระแสตัณหานั่นเอง กระแสความอยาก กระแสตัณหา กระแสความปรารถนา เป็นกระแสของคนเราในใจ กระแสในใจของคนที่คนเราเกิดความรู้สึกนึกคิดก็เรียกง่ายๆว่า กระแสของคน กระแสของคนก็คือกระแสของความอยากความปรารถนาต่อสิ่งทั้งหลาย ที่นี้ตัวของสิ่งนั้นๆเองล่ะที่คนเข้าไปเกี่ยวข้องมันก็มีความเป็นไปของมัน ความเป็นไปของมันนั้นเองคือ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันตามกฎธรรมชาติ เราก็พูดได้ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นก็มีกระแสความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ใช่มั้ย ตอนนี้มันก็เท่ากับว่ามีกระแสสองกระแส
หนึ่ง กระแสของความอยาก ความต้องการในใจของคน หรือ กระแสตัณหา พูดสั้นๆว่า กระแสของคน ก็คือ การที่จะให้สิ่งนั้นเป็นไปอย่างนั้นเป็นไปอย่างนี้ กระแสหนึ่ง
ทีนี้กระแสของไอ้เจ้าตัวสิ่งนั้นเอง คือ กระแสของกฎธรรมชาติ หรือ กระแสธรรมะ กระแสความจริง การที่สิ่งนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ตอนนี้เท่ากับว่าสิ่งเดียวกันนี่อยู่ในสองกระแส สิ่งนั้นอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของคนก็อยู่ในกระแสของตัณหาความปรารถนา และตัวมันเองก็อยู่ในกระแสแห่งเหตุปัจจัยของมัน มีสองกระแสโดยที่สิ่งเดียวกันนั้นอยู่สองกระแส ทีนี้เมื่อมันมีสองกระแส เจ้าสองกระแสนี่โดยมากมันจะไม่ตรงกัน ไอ้กระแสความอยากของคนอยากจะให้มันเป็นอย่างนี้ๆ ส่วนไอ้สิ่งนั้นก็มีกระแสความเป็นไปของมันตามเหตุปัจจัยของมัน อันนี้พอว่า สองกระแสนี่ไม่เหมือนกัน กระแสความอยากของคนอยากให้เป็นอย่างนั้น ไอ้กระแสเหตุปัจจัยของสิ่งนั้นก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่ง เกิดการขัดแย้งกัน ถามว่ากระแสไหนชนะ กระแสความอยากให้เป็นของคนในใจ อยากให้สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นๆ กับกระแสของมันเองที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย กระแสไหนชนะ กระแสเหตุปัจจัยก็เป็นกระแสของมันเองก็ชนะ เมื่อกระแสเหตุปัจจัยชนะ สองกระแสนี้ขัดแย้งกัน แล้วกระแสของคนแพ้นี่ กระแสของคนก็ถูกบีบ ถูกบีบก็เกิดความทุกข์ในใจขึ้นมาใช่มั้ย นี่คือปัญหาของมนุษย์ อันนี้แหละครับก็เป็นสองกระแส กระแสคนกับกระแสธรรมชาติ หรือกระแสตัณหากับกระแสของความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนี่มันขัดกัน นี้คือเรื่องของมนุษย์ที่เกิดทุกข์โดยทั่วไป อันนี้มนุษย์อย่างนี้ก็เกิดมีความทุกข์แน่นอนเมื่อไปสัมพันธ์กับอะไรก็ตาม จะเอาแต่กระแสตัณหากระแสความปรารถนาของตัว แล้วก็ไม่ศึกษาไม่ทำตามเหตุปัจจัย มันก็ไม่ได้ผล
หนึ่ง ตัวเองก็ทุกข์
สอง ก็ไม่ได้ทำตามเหตุปัจจัยด้วยปัญญา มันก็ไม่ได้ผลที่ต้องการอีก ทั้งทุกข์ด้วย ทั้งไม่ได้ผลด้วย
ที่นี้ พอมาพัฒนาตามไตรสิกขาก็พัฒนาปัญญาขึ้นมา ตอนนี้แทนที่จะเอาตามความอยากของตัวเอง ว่าอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นยังไง กำหนดเอาว่าตัวเองต้องการอะไร แล้วก็รู้เท่าทันความจริงว่าสิ่งทั้งหลายมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันใช่มั้ย อย่างนี้แล้วเราก็รู้แล้วว่า เออถ้าเราต้องการจะให้เป็นยังไง เราก็ต้องไปทำตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็เอาเป็นว่า เออรู้ทันแล้วว่าสิ่งทั้งหลายเนี่ยมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน มันจะไม่เป็นไปตามความอยาก ความปรารถนา หรือตัณหาของเราแน่นอน นั้นถ้าจะให้มันเป็นอย่างไร ก็ไปศึกษาเหตุปัจจัยของมัน เมื่อศึกษาเหตุปัจจัยของมันได้ความรู้เข้าใจ ได้ปัญญานี้ รู้เหตุปัจจัยแล้ว ก็ทำตามเหตุปัจจัย ก็เหตุปัจจัยจะให้เป็นอย่างนั้น มันจะทำให้เกิดผลที่เราไม่ต้องการ เกิดผลเสีย เราก็ไปแก้ไข กำจัด ป้องกันเหตุปัจจัยนั้นเสีย นี้เราจะให้เป็นยังไง เราก็ไปศึกษาจากเหตุปัจจัยอะไรจึงจะทำให้เป็นอย่างนั้น แล้วทำให้ตามเหตุปัจจัยนั้น ก็จะได้ผลเท่าที่ทำเหตุปัจจัยได้สำเร็จใช่มั้ย ตอนนี้หนึ่งกระแสในใจของคนเปลี่ยนเป็นกระแสปัญญา ไม่ใช้กระแสความอยากมาเป็นตัวกำหนด เป็นกระแสปัญญา กระแสปัญญาก็ไปรู้สิ่งนั้นตามเหตุปัจจัยของมัน ที่นี้สิ่งนั้นเองมันก็เป็นไปตามกระแสเหตุปัจจัยของมัน กลายเป็นว่ากระแสปัญญาในใจคนกับกระแสความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของสิ่งนั้นเป็นกระแสเดียวกันไปเลย กลมกลืนกัน ตอนนี้ไม่เกิดความขัดแย้งนะ กระแสของคนก็คือกระแสปัญญาที่รู้สิ่งนั้นตามเหตุปัจจัยของมัน และกระแสของสิ่งนั้นเองก็คือความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เป็นอันว่ากระแสคนกระแสปัญญาประสานเป็นกระแสเดียวกันแล้ว ตอนนี้ไม่มีความขัดแย้ง ฉะนั้นเราก็รู้ตามเหตุปัจจัยว่า อะไรมันสำเร็จหรือไม่สำเร็จแค่ไหนตามเหตุปัจจัยของมัน แล้วเราทำตามเหตุปัจจัย หนึ่งใจก็ไม่ทุกข์ สองทำได้ผลดีที่สุด ถ้ามันไม่สำเร็จก็รู้อีกแหละ ก็รู้ว่าเหตุปัจจัยมันไม่พอที่จะให้เป็นอย่างนั้น เราอาจจะศึกษาเหตุปัจจัยรู้ไม่ทั่วถึง ก็แก้ไขโดยไปพัฒนาปัญญาของเรา ไปศึกษาเหตุปัจจัยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มันก็จะไม่ทุกข์ หรือแม้มีทุกข์นี่ก็จะเริ่มมีความสามารถในการแก้ปัญหาแก้ทุกข์ได้ดีขึ้น เอานะนี่ก็เป็นเรื่องของชีวิตของท่านผู้ที่อยู่ด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นพระอรหันต์นี่ท่านพ้นจากการอยู่ด้วยตัณหา มาเป็นชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ลักษณะของพระอรหันต์ที่เราเรียกว่า เป็นผู้หมดกิเลสก็เป็นอย่างนี้ ไม่ใช่หมดกิเลสไปเฉยๆ แต่หมายถึงอยู่ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันความจริง แล้วทำการไปตามปัญญา แล้วก็ด้วยความรู้เท่าทันเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย เป็นอันว่าทั้งจิตที่รู้เท่าทันก็ไม่ทุกข์ สบายโปร่งโล่ง แล้วก็แถมทำการก็ได้ผลด้วยเพราะทำตรงตามเหตุปัจจัยของมัน อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เป็นลักษณะจิตใจของผู้ที่ว่าไม่มีความทุกข์ จะมีความสุขแบบที่ว่าไม่มีการปรุงแต่งหรือเหนือปรุงแต่ง ทีนี้เมื่อท่านอยู่ด้วยปัญญาอย่างนี้จะไม่เก็บเอาอารมณ์ต่างๆมาปรุงแต่งจิตใจ สิ่งต่างๆนี้จะไม่ตกค้าง เพราะฉะนั้นพระอรหันต์จะมีลักษณะอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่าไม่มีอะไรค้างใจ คนธรรมดานี่จะมีปัญหาเรื่องสิ่งค้างใจนี่เยอะ เมื่อสิ่งค้างใจก็มาระคาย กระทบกระเทือน ติดขัด รบกวนในใจให้ไม่สบาย ไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่เบา นี้พระอรหันต์นี่ก็ไม่มีอะไรค้างใจ ใจก็โล่งโปร่ง แล้วด้วยปัญญานั้นก็เป็นจิตที่มองอะไรต่ออะไรไปในระบบความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย ท่านเรียกว่าเป็นจิตที่ไม่มีขอบเขต ไม่มีเขตแดน เป็นจิตไร้พรมแดน เดี๋ยวนี้เราใช้คำว่าโลกาภิวัตน์ หมายถึงว่าไร้พรมแดน แต่ว่าในขณะที่โลกไร้พรมแดนทางด้านการข่าวสารข้อมูลเรื่องรูปธรรม แต่จิตของมนุษย์นี้ยิ่งแคบใหญ่เลยใช่มั้ย จิตมนุษย์ยุคนี้ตรงกันข้ามกับสภาวะของเรื่องการสื่อสาร เรื่องของความเจริญของโลก เราพูดกันด้วยความภูมิใจว่าโลกไร้พรมแดน แต่จิตของมนุษย์ยิ่งแคบหนักเข้าไปอีกนะ มีแต่สิ่งที่คั่งค้างในใจ มีแต่สิ่งที่บีบคั้น มีแต่ความคับแคบลงไปทุกที นี้จิตพระอรหันต์นี้ท่านไร้พรมแดน นี้ถ้าหากว่าโลกไร้พรมแดนแล้วจะทำให้คนอยู่ในโลกนี้ได้อย่างดี ก็ต้องพัฒนาคนให้จิตไร้พรมแดนด้วย แต่นี้มันสวนทางกัน เดี๋ยวนี้จิตคนมันคับแคบที่สุด ยิ่งโลกยิ่งขยายกว้างไร้พรมแดน จิตคนก็ยิ่งแคบเข้าทุกที ปัญหาก็ยิ่งหนักขึ้นไป ???พระอรหันต์ก็หมายว่าเป็นผู้ที่มีจิตไร้พรมแดน อันนี้ไม่มีอะไรค้างใจ ไม่มีอะไรกังวล จิตก็สบายไม่มีอะไรถูกรบกวนเลย ไม่มีอะไรระคายเคือง นี้จิตอย่างนี้เป็นจิตปลอดโปร่งสบาย เป็นภาวะที่พร้อมที่จะเสวยสุขอื่นๆ สุขอย่างนี้เป็นสุขพื้นฐานของความสุขอย่างอื่น คนเราที่อยู่ในโลกที่แสวงหาความสุขระดับต้นๆนี่นะ พอมองลึกลงไปในใจเนี่ย มันมีอะไรติดค้างในใจ มีความห่วง มีความกังวล มีความหวาดหวั่น มีความระแวง อย่างคนมนุษย์ที่อยู่ในระดับของความสุขจากการเสพ หรือกามสุข ???สามิสสุข เมื่อไม่พัฒนาจิตของตัวเอง ในขณะที่อยู่กับสิ่งเสพเหล่านั้นจิตไม่ได้มีความโปร่งโล่ง มีความหวั่นหวาด มีความระแวง มีอะไรต่างๆ มีความขุ่นมัวเศร้าหมอง เพราะฉะนั้นไอ้สุขอันนั้นก็สุขไม่เต็มที่ สุขไม่โล่งไม่โปร่ง เป็นสิ่งที่คล้ายๆว่า มาช่วยทำให้ตื่นเต้นเป็นชั่วคราว หรือมาเป็น แม้จะได้สมาธิก็เป็นสิ่งกล่อมพอให้ตัวนี่หลบหรือกลบความทุกข์อะไรต่ออะไร มันจิตใจลึกซึ้งลงไปเนี่ย มันไม่ปลอดโปร่งไม่บริสุทธิ์ ทีนี้ถ้าหากว่าได้พัฒนาจิตอย่างเป็นพระอริยบุคคล พอจิตที่เป็นสุขจากไม่เกิดปรุงแต่งนี่ มันไม่มีอะไรไปรบกวนระคายเคืองในจิตที่ลึก เพราะฉะนั้นมันเป็นความพร้อมของการที่จะเสวยความสุข จะไปเสวยความสุขอะไรก็ได้เต็มที่ จะไปเสวยสุขจากสมาธิก็ได้สุขเต็มที่ใช่มั้ย ไม่มีอะไร ลึกลงไปไม่มีอะไรรบกวน หรือแม้แต่มาเสพกามสุขก็สุขเต็มที่อีก เพราะฉะนั้นถ้าพระโสดาบัน โสดาบันยังเสพกามอยู่นะ โสดาบันเป็นอริยบุคคล แต่ก็ในสุขในแง่ของอิสระก็ยังไม่สูงสุดยังไม่บริบูรณ์ แต่เรียกว่า ท่านอยู่ในแนวทางนี้แหละ เป็นผู้มีสุขในระดับเป็นโลกุตระด้วย แล้วก็ในเวลาเดียวกันก็ยังเสพกามอยู่ ยังมีครอบครัวอยู่ นั้นคนที่ในใจเนี่ยลึกลงไปไม่มีอะไรระคายเคือง มีสิ่งระคายเคืองน้อยที่สุด เมื่อมาอยู่กับความสุขแบบปุถุชนก็จะมีความสุขนั้นเต็มที่ด้วยใช่มั้ย ปุถุชนนี่เราพูดได้เลย ตามปกติเสพสุขเนี่ยในใจมันยังมีอะไรระคายเคืองอยู่ ไม่สุขเต็มที่ นี้พระพุทธเจ้าเคยเปรียบเทียบอย่างพระโสดาบันกับมนุษย์ปุถุชนว่า พระโสดาบันนี่มีทุกข์เหลือน้อย เหมือนอย่างคน เหมือนอย่างคนปุถุชนนี้ทุกข์ที่เหลือนี่เหมือนภูเขาหิมาลัย ทุกข์ในใจของพระโสดาบันเหมือนก้อนกรวดว่างั้น ลองคิดดูสิว่า ทุกข์ในใจของพระโสดากับทุกข์ของปุถุชนนี้ต่างกันแค่ไหน เพราะฉะนั้นส่วนระคายเคืองใจมันมีน้อยเหลือเกิน ท่านจะเสพจะเสวยสุขอะไร ท่านก็สุขได้เต็มที่ เพราะว่าลึกลงไปข้างในไม่มีสิ่งที่จะมาก่อกวนระคายเคืองจิตใจอย่างที่ว่ามาแล้วนะ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าไปเป็นพระอรหันต์เสร็จแล้วซึ่งเป็นผู้ที่พร้อมที่สุดที่จะเสวยสุขทุกอย่าง แม้ว่าจะเสวยสุขอะไรก็ได้เต็มที่ แต่บางทีกลายเป็นว่าพอเอาเข้าจริง ท่านก็กลับไม่มาเสวยความสุขขั้นที่เป็นต้นๆ ขั้นพื้นฐาน เพราะอะไรนี่ก็มีคำเปรียบเทียบ มีพุทธพจน์เปรียบเทียบไว้เป็นคำสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับพราหมณ์ชื่อ มาคันทิยะ ก็ผมก็เคยเอามาเล่าแล้ว เช่นอย่างเรื่องกรณีที่ว่า เหมือนกับคนที่เคยเป็นโรคเรื้อน แต่ก่อนนี้ถ้าได้เกาที่คัน หรือเอาตัวไปย่างไฟก็มีความสุข แต่ต่อมาพอหายโรค มีสุขภาพดีแข็งแรงแล้ว ก็ไม่เห็นไม่อยากมาเสพสุขจากการเอาตัวไปย่างไฟอีกใช่มั้ย เพราะฉะนั้นคนก็จะมีความสุขสองแบบ คือ สุขแบบเกาที่คัน กับ สุขแบบไม่มีที่คันจะต้องเกา ??? เออเนี่ยสองแบบเนี่ย คนที่มีที่คันจะต้องเกา มันก็ได้ความสุขจากการเกาที่คัน แต่คนที่ไม่มีที่คันจะต้องเกามันเป็นความสุขอยู่ในตัว เค้าก็ไม่เห็นความจำเป็นจะต้องไปเกาอะไรใช่มั้ย ??? เค้านึกว่าเอ๊ะจะไปเกากลับเป็นทุกข์ซะด้วยซ้ำ มันไม่เห็นน่าจะต้องเกา อันนั้นมันก็เลยใจของคนที่อยู่ระดับสูงนี่ คนระดับล่างก็มองไม่ถึง ว่าเอ๊ะทำไมท่านจะไปอยู่อย่างนั้น ที่นี้ถ้าท่านมีสิทธิและถ้าท่านจะเสวยสุขอย่างนี้ ท่านจะสุขอย่างสมบูรณ์เพราะว่าท่านไม่มีอะไรที่จะมาระคายเคืองในใจ หวาดหวั่น กังวลอะไรที่จะทำให้มัวหมอง ที่ทำให้สุขมันไม่เต็มที่
ที่นี้มียังอุปมาไว้อีก พระพุทธเจ้าก็ตรัสอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า อย่างเด็กที่เกิดใหม่ๆนี่ เล่นแม้แต่มูตรคูถของตนเอง คือ เล่นอุจจาระปัสสาวะของตนเอง แล้วเด็กนั้นก็สนุกสนานใช่มั้ย (อ้าว)ที่นี้ต่อมาเด็กนั้นโตขึ้นก็เลิกเล่นอุจจาระปัสสาวะของตนเอง แต่มาเล่นเครื่องเล่นต่างๆ ของเล่นของเด็ก รถคันเล็กๆ เครื่องบินลำเล็กๆ เรือลำเล็กๆ ปืนบ้างอะไรบ้าง ทรายบ้าง เล่นไปเถิด เล่นเหล่านี้ หมอนเล็กๆอะไรต่างๆ แล้วก็รักสิ่งเหล่านี้มีความยึดติดผูกพันอย่างยิ่งเลย รักอย่างชีวิตเลยนะ เด็กบางคนนี่ของรักของเขานี่ใครไปแตะนี่จะร้องไห้นะ เหมือนเป็นชีวิตของเขาเลยใช่มั้ย แล้วผู้ใหญ่ไปดูไปเห็นเด็กมีอาการอย่างเนี้ยก็จะขำใช่มั้ย บางทีก็ไปแกล้งเด็กไปล้อเด็กนะ เห็นเค้ารักของนี้มาก แกล้งดึงเอาไปซะ เด็กก็จะร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร เนี่ยตอนนั้นเด็กนั้นก็มีความสุขจนของเล่นเล็กๆน้อยๆอย่างนี้ ต่อมาเด็กคนนี้โตขึ้นพอเป็นผู้ใหญ่ เค้าก็จะไม่เห็นเป็นความสุขที่จะมาเล่นของเล่นนี้อีก ถูกมั้ย เค้าก็ไปสุขจากเรื่องของหนุ่มๆสาวๆ ที่นี้ถ้าจิตพัฒนาไปเป็นพระอรหันต์มาเห็นหนุ่มสาวมีความสุขแบบนี้ก็เหมือนกับคนผู้ใหญ่ที่ไปเห็นเด็กเล่นของเล่น หรือไปเห็นเด็กตัวเล็กๆเล่นมูตรเล่นคูถ เพราะฉะนั้นจิตของคนก็พัฒนาได้เป็นลำดับๆ นี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า ถ้าเราไม่บรรลุสุขที่ประณีตสูงกว่า เราก็รับรองตัวเองไม่ได้ว่าจะไม่เวียนกลับมาสู่กามสุขนะ พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้เลย แต่นี่เพราะเราได้บรรลุสุขที่ประณีตสูงกว่า เราจึงไม่เวียนกลับมาหากามสุข เพราะฉะนั้นที่พระพุทธเจ้าไม่เวียนมา ไม่มายุ่งกับเรื่องเหล่านี้ ก็เพราะจิตเนี่ยมันเหนือระดับขึ้นไปแล้ว มีสุขที่สูงกว่าเหนือกว่า อันนี้ก็เป็นสุขระดับที่เรียกว่าปุถุชนมองไม่เห็นไม่สามารถจะเข้าใจ เป็นสุขระดับเหนือปรุงแต่ง อันนี้ลักษณะของสุขแบบนี้ก็จะเป็นสุขที่มีอยู่ประจำในตัวเองเลย กลายเป็นคุณสมบัติของตนเอง ความสุขกลายเป็นคุณสมบัติของชีวิตจิตใจของท่านผู้นั้น แต่ก่อนนี้ตอนต้นความสุขมันไม่เป็นคุณสมบัติภายในนะ เป็นสิ่งที่ต้องหา มนุษย์ยุคนี้ก็จะพูดกันบ่อยว่าหาความสุข การที่พูดว่าหาความสุขนี้ก็เท่ากับยอมรับว่าตัวเองไม่มีความสุขอยู่ในตัวใช่มั้ย (เอ้อ)ความสุขที่ต้องไปหาก็แสดงว่าตัวเองขาดความสุขแล้ว ก็ไปเที่ยววิ่งทะยานหากัน ก็เลยแย่งกัน เพราะว่าความสุขนั้นต้องหาก็แย่งความสุขกัน พอแย่งความสุขกันคนหนึ่งได้สุข อีกคนหนึ่งก็ได้ทุกข์ไป เมื่อคนหนึ่งได้ คนหนึ่งก็อด ความสุขที่ต้องหานี่ ตัวเองขาดแคลนด้วยแล้วเป็นเหตุให้เกิดการแย่งชิงเบียดเบียนกัน นี้พอพัฒนาไปๆความสุขนั้นอยู่ภายในตัวเองได้เลยโดยไม่ต้องไปเที่ยวหาจากภายนอก ไม่ขึ้นต่อวัตถุสิ่งเสพ ก็เป็นอิสระมากขึ้น ความสุขนี่จะเป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับจนถึงขั้นสูงสุดที่ว่า เหนือการปรุงแต่ง ในที่สุขความสุขจะกลายเป็นคุณสมบัติของชีวิตจิตใจ เป็นของมีอยู่ในตัวและตลอดเวลา ไอ้ความสุขแบบต้องหานี่มันไม่อยู่ในตัวด้วย และมันไม่อยู่ตลอดเวลาด้วย มันได้เฉพาะเวลาเสพ แต่ความสุขแบบอิสระนี้เป็นความสุขที่มีประจำตัวเลย เป็นคุณสมบัติของชีวิต เมื่อมันเป็นคุณสมบัติของชีวิตมีติดตัวอยู่ตลอดเวลานี่ ท่านก็ไม่ต้องหาความสุขอีก ก็กลายเป็นคนเต็ม เมื่อเป็นคนเต็มแล้ว ทำไง ความสุขมันอยู่ในตัวไม่ต้องหาความสุข กว่าคนจะพัฒนามาถึงระดับนี้ได้นี่ คุณสมบัติด้านอื่นมันเต็มบริบูรณ์หมดแล้ว ศีลก็พัฒนามาจนสมบูรณ์ จิตใจก็พัฒนามาจนสมบูรณ์ ปัญญาบริบูรณ์ กว่าปัญญาจะสมบูรณ์ด้านพฤติกรรมจิตใจก็มาสมบูรณ์ด้วย มาถึงจุดนี้อะไรต่ออะไรสมบูรณ์หมดแล้ว ความสุขก็สมบูรณ์เป็นคนเต็มภายใน ตอนนี้ท่านเรียกว่าไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีก ศัพท์พระเรียกว่าเป็นผู้บรรลุประโยชน์ตน คนเรานี่ปกติมันต้องหาประโยชน์ตนใช่มั้ย มันหนีไม่พ้นแม้จะตั้งอุดมคติว่าให้พยายามบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น แม้แต่เป็นพระโพธิสัตว์นี่ ให้บำเพ็ญกิจเพื่อประโยชน์ผู้อื่น บำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ แต่ก็ยังต้องทำเพื่อประโยชน์ตนอยู่นั่นล่ะ อย่างพระโพธิสัตว์ก็คือยังไม่บรรลุนิพพาน ประโยชน์ที่เป็นจุดหมายแห่งชีวิตของตนยังไม่ถึง นั้นพระโพธิสัตว์ก็บำเพ็ญคุณธรรมความดีด้วยความเสียสละด้วยความตั้งใจ แต่ก็ยังมีเรื่องเพื่อตนเอง แต่พระอรหันต์นี่จะเป็นผู้ที่ว่าบรรลุประโยชน์ตนแล้ว เพราะว่าพัฒนาตัวเองสมบูรณ์แล้ว เป็นคนเต็มก็เลยไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป จุดนี้ที่สำคัญที่พระอรหันต์ต่างจากพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์จะเก่งจะบำเพ็ญความดียังไง บางทีบำเพ็ญความดีจนกระทั่งคนอื่นทำไม่ได้ เกินดีไปก็มีบางทีนะ หมายความว่าท่านสละเต็มที่ ทำด้วยปณิธานสละชีวิตของตนเองอะไรต่างๆเพื่อทำความดีนั้น แต่ก็เพื่อจุดหมายเพื่อบรรลุประโยชน์ตน คือพัฒนาตนให้เป็นพระพุทธเจ้า ยังมีสิ่งที่ต้องทำเพื่อตนเองอยู่ แต่พระอรหันต์นี่บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีก เป็นคนที่เต็มบริบูรณ์ เพราะฉะนั้นท่านก็เมื่อไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตนเองอีก พลังชีวิตที่มีอยู่ก็เอาไปใช้เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น เพราะว่าพฤติกรรมจิตใจปัญญาพัฒนาดีแล้ว มีความรู้ความสามารถ และเข้าใจมนุษย์ผู้อื่น เห็นเค้ามีความทุกข์ เห็นเค้ายังไม่บรรลุประโยชน์ตน ก็ตัวเองมีความสามารถ ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีก พลังชีวิตก็มีอยู่ ก็เลยเดินทางไปเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ไปช่วยเขาให้เป็นอิสระ เขายังไม่เป็นอิสระก็ไปช่วยเขาให้เป็นอิสระ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ร่วมทั้งพระพุทธเจ้าด้วยจึงใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ทำประโยชน์ให้แก่เพื่อนมนุษย์ โดยไม่ต้องมีการคำนึงถึงตัวเองอีกต่อไป เพราะตัวเองนี้มีสุขอยู่ประจำเป็นเนื้อตัวเป็นคุณสมบัติภายในแล้ว จะไปทำอะไรก็ได้ ไปเดินทางไปจาริกไปไหนก็มีความสุขอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นก็เอาความสุขไปเผยแพร่ เอาความสุขไปให้แก่ผู้อื่น เป็นนักให้ความสุขได้เต็มที่บริบูรณ์ นั้นก็ตรงข้ามกับมนุษย์ปุถุชนที่มีทุกข์ก็เอาทุกข์ไประบายให้แก่ผู้อื่น แล้วไปหาความสุขให้กับตัวเอง ไปแช่งแย่งความสุขกัน ส่วนพระอรหันต์นี่มีความสุขบริบูรณ์แล้วก็เอาความสุขนั้นไประบายให้แก่ผู้อื่น ไปแจกจ่ายความสุข ไปให้ความสุขแก่ผู้อื่น นี้คือชีวิตของพระอรหันต์ อันนั้นก็เป็นชีวิตที่ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตนเอง ก็ทำเพื่อผู้อื่นได้เต็มที่
??? (อัน) นี้ลักษณะจิตใจที่เป็นพื้นของพระอรหันต์ ก็เป็นอันว่าอยู่ด้วยปัญญา เมื่ออยู่ด้วยปัญญา จิตใจนี้จะมีความรู้สึกที่เป็นพื้นก็คือ อุเบกขา ซึ่งเคยพูดไปแล้วนะ อุเบกขานี่ก็คือภาวะจิตที่มันลงตัวกับทุกอย่าง ซึ่งเคยอุปมาให้แล้วบอกว่า ภาวะอุเบกขานี่เป็นภาวะที่เรียกว่าลึกซึ้งที่สุด จะเข้าใจได้ก็ด้วยอุปมา ก็ขอเล่าอุปมาซ้ำอีกที ที่บอกว่าเหมือนอย่างสารถีขับรถม้า หรือขับรถยนต์นี้ก็ได้ เอาสมัยก่อนนี่ขับรถม้า สารถีขับรถม้านี่ถ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้วนี่นะ เวลาขับรถม้าออกมาตอนแรกก็จะต้องขยับแส้ ดึงบังเหียนอะไรต่างๆนี่เพื่อจะให้รถและให้ม้านำรถเข้าไปสู่ทาง เมื่อนำรถเข้าไปสู่ทางวิ่งตรงทางดีแล้วความเร็วได้ที่แล้ว สารถีที่มีความชำนิชำนาญ มีปัญญารู้ว่า การขับรถม้านี้ทำยังไง และถ้ามีอะไรปัญหาเกิดขึ้นจะแก้ไขยังไงด้วยความรู้เข้าใจอย่างนี้ จิตใจเค้าจะสงบ แน่วดิ่ง สบาย เรียบลื่นมาก โดยที่ว่าพอทุกอย่างลงตัวอย่างที่บอกเมื่อกี้ว่า ม้าวิ่งเข้าที่ดี ความเร็วสนิทดี ตรงทางดี เค้าก็นั่งเรียบ จิตใจเค้าเป็นอุเบกขา แต่เป็นจิตใจ จิตใจที่เป็นอุเบกขานี้คือจิตใจที่มีปัญญารู้พร้อมเลย ถ้าม้าวิ่งผิดความเร็วนิดหนึ่ง จะออกนอกทางนิดหนึ่งอะไรเนี่ย เค้าจะแก้ได้ทันควันเลย จิตที่มีความรู้ปัญญาอยู่เต็มบริบูรณ์ ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา แต่เรียบสงบดิ่งอย่างนี้เป็นจิตที่เรียกว่าอุเบกขา ที่นี้คนมนุษย์ทั่วไปเนี่ยในการเดินทางชีวิตเนี่ยก็เหมือนกับคนขับรถม้าที่ยังไม่เชี่ยวชาญ ไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้น จะเป็นยังไงอะไรเกิดขึ้นจะทำยังไง จิตเนี่ยมีความหวาดหวั่นมีความกังวลอะไรต่างๆอยู่ตลอดเวลา จิตมันไม่ลงตัวกับชีวิตของตนเอง ที่นี้พระอรหันต์นั้นมีความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลาย รู้ธรรมะ รู้ความเป็นไปของกฎธรรมชาติ จนกระทั่งจิตนี้ลงตัวพอดีกับชีวิตของตนเองแล้ว เพราะฉะนั้นอยู่ด้วยความที่มีสติ มีปัญญารู้เข้าใจเต็มที่ จิตลงตัวก็เป็นอุเบกขา เป็นจิตที่เรียบสบายตลอดเวลาเลย นี่ก็เป็นอุปมาหนึ่งเพื่อให้เห็นถึงลักษณะจิตใจว่า อุเบกขานี่สำคัญมันเหนือกว่าสุข สุขนี่ยังต่ำกว่าอุเบกขา เพราะว่าสุขมันยังมีลักษณะที่ต้องอาศัยทำให้ อะไรคล้ายๆว่าเป็นการที่ยังไม่ลงตัวทีเดียว พอจิตลงตัวนี่มันจะเป็นอุเบกขาเรียบสงบ เป็นจิตที่อยู่ในภาวะที่สูงมาก ก็อันนี้ก็ ได้พูดมาคิดว่าในเรื่องของสุขขั้นเหนือปรุงแต่งก็พอสมควรแก่เวลา
(มีผู้ถามคำถาม) ??? ที่พระอาจารย์บอกว่า พระอรหันต์นี่เป็นจิตใจ ???
(สมเด็จฯตอบคำถาม) ??? เรามองในแง่ของการที่จะฝึกฝนในมนุษย์ปุถุชน แต่พระอรหันต์ท่านจะเป็นปกติอย่างนั้น อันนี้เราพยายามฝึกว่า ทำไงให้คนนี่พยายามทำตามหลักการพุทธศาสนาขึ้นมา ฝึกตัวขึ้นมา ให้มองอะไรแคบๆมองให้กว้าง มองให้ไปทั่วโลก มองให้เห็นระบบความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยในชีวิต ในสังคม ในโลกนี้ทั้งหมด และคิดไกลเห็นกระบวนการเหตุปัจจัยที่สืบมาจากอดีตไปสู่อนาคตอย่างไรใช่มั้ย และใฝ่สูงก็คือตั้งเป้าหมาย ดำเนินชีวิต หรือทำกิจกรรมเพื่อจุดมุ่งหมายที่ดีงาม ไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งที่เพียงเพื่อลาภยศอะไรต่างๆเป็นของที่ต่ำ มีอะไรสงสัยอีกมั้ย
(มีผู้ถามคำถาม) ??? เมื่อบรรลุภาวะสูงสุดอย่างนิพพานแล้ว อรหันต์ทุกรูปก็น่าจะเหมือนกันหมดในคุณสมบัติ แต่ทำไมก็ยังมีเรื่องของอินทรีย์ที่ติดตัวมา มีเรื่องของลักษณะที่ ???
(สมเด็จฯตอบคำถาม) มันมีส่วนที่เหมือนกัน พระพุทธเจ้ายังตรัสเลยบอกว่า พระพุทธเจ้าพระองค์เองกับพระอรหันต์ปัญญาวิมุติต่างกันอย่างไร ในแง่ของความเป็นพระอรหันต์ไม่ต่างกันเลย แต่ต่างในแง่ของคุณสมบัติอื่นใช่มั้ย อย่างความสามารถอะไรต่างๆก็ไม่เหมือนกัน เพราะอันนี้มันเกิดจากการสั่งสมด้วยใช่มั้ย อย่างความบริสุทธิ์ของจิตที่ไม่มีกิเลสก็เหมือนกัน แต่พลังที่จะใช้ ขอบเขตความสามารถไม่เหมือนกันใช่มั้ย อย่างแนวโน้มก็ยังไม่เหมือนกัน อย่างพระมหากัสสปะชอบอยู่ป่า พระสารีบุตรท่านชอบอยู่กับผู้คน ไปช่วยเด็กเล็ก เอามาเรียนหนังสือ จัดชั้นให้ สอนอะไรต่างๆ ท่านเอายุ่งกับเรื่องเหล่านี้ ไม่เหมือนกัน อัธยาศัยต่างๆกันไป