แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
[01:12] ผู้ถาม: ผมกราบขอความกรุณาพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ช่วยสอนวิธีไปสู่พระนิพพานในชาตินี้ โดยวิธีที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อพวกเราและผมเองนี่จะได้นำไปสอนครอบครัว ทั้งเด็กและผู้ใหญ่และญาติโยมที่สนใจครับ ได้ไหมครับ
1. ปราโมทย์สภาพจิตที่นำไปสู่นิพพาน
[01:38] ตอบ: ก็ไปในวิถีแห่งนิพพาน คือว่านิพพานนี่แม้แต่กระทั่งพอลึกๆ ท่านก็มีการแยกให้นะ เหมือนกับเป็น ตทังคนิพพุทโต นิพพานด้วยองค์นั้นๆ ก็คือชั่วคราว อันนี้ท่านก็ยอมรับ ถือเป็น ตทังคนิพพาน นิพพานชั่วคราว ชั่วครู่ๆ ด้วยองค์นั้นๆ ก็หมายความว่า ด้วยการที่มีคุณสมบัติดีเกิดขึ้นมาแล้วจิตมันก็สะอาด บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสก็ถือเป็นนิพพาน แต่ทีนี้ว่าถ้าเราจะพูดตรงกลางหลักใหญ่ๆ พูดได้หลายอย่าง เช่น ถ้าง่ายนิดเดียว จะไปนิพพานนะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ ภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์
[02:33] ปราโมทย์นี่เป็นสภาพจิตที่ดีครับ เป็นสภาพจิตที่ร่าเริงเบิกบาน พอร่าเริงเบิกบานนี่มันก็จะไม่มีความขุ่นมัวเศร้าหมอง
[02:44] หนึ่ง ในแง่ของสภาพจิตก็ดี เช่นมีความสุข เพราะฉะนั้นปราโมทย์มานั้นก็ นำไปสู่สมาธิ แล้วพอมันไม่ขุ่นมัวเศร้าหมองมันร่าเริงเบิกบานมันก็เป็นจิตที่เปิด
1.1 ธรรมะสมาธิ
[03:00] สอง จิตที่เปิดมันก็ให้โอกาสแก่ปัญญา มันจะพัฒนาไปทั้งด้านจิตด้านปัญญา ฉะนั้นปราโมทย์มา หนึ่ง นำไปสู่สมาธิ ฉะนั้นจะมีหลักที่ท่านเรียกว่า ธรรมะสมาธิ มี 5 ข้อ 1. ปราโมทย์ 2. ปิติ 3. ปัสสัทธิ 4. สุข 5. สมาธิ เวลาพระพุทธเจ้าตรัสถึงผู้ที่ปฏิบัติธรรม จะเริ่มจุดไหนก็แล้วแต่ ถ้าพระองค์ตรัสในระหว่างว่าเขาปฏิบัติไปแล้วนี่ ก็มักจะตรัสอันนี้ด้วยว่า เขาพอเริ่มแล้วใช่เปล่า เขาไปพิจารณาธรรมนี่หรือไปสดับธรรมะมาแล้ว แล้วก็มาไตร่ตรอง แล้วเขาเกิดปราโมทย์ ให้มาเป็นชุดมี ปิติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ 5 ข้อ ท่านเรียกว่า ธรรมมะสมาธิ
[03:53] พอธรรมะสมาธิเกิดแล้วก็จะเกิดจิตตสมาธิ จิตตสมาธิ ก็สมาธิของจิต ธรรมสมาธิ ก็หมายความว่า ความอยู่ตัว ลงตัวของธรรมะที่มันสมดุล ก็ลงตัวนั่นแหละดีที่สุดและ ที่มันจะทำให้จิตนี่เป็นสมาธิได้ด้วย ห้าตัว ท่านจึงเน้น ทีนี้เราไม่ค่อยพูดถึง เรียกว่าธรรมะสมาธิมี 5 ตัว 1. ปราโมทย์ 2.ปิติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ
[04:28] ปราโมทย์ความร่าเริงเบิกบานใจ 2. ปิติความอิ่มใจ ปลื้มใจ 3.ปัสสัทธิ ความผ่อนคลาย สงบเย็นกายใจ
[04:40] พอถึงปัสสัทธินี้ ด้านกายใจจะประสานเลย นี่เป็นจุดบรรจบสำคัญ ปัสสัทธิ บอกว่าถ้ากายผ่อนคลาย จิตผ่อนคลาย จิตผ่อนคลายกายก็ผ่อนคลายด้วย ทีนี้จะผ่อนคลายและปัสสัทธิ พอปัสสัทธิเกิดก็ทีนี้ก็สุขมา ฉ่ำชื่นลื่นใจ พอสุขมาก็เปิดโอกาสให้สมาธิเพราะว่าถ้ามีทุกข์จิตมันจะดิ้น มันถูกบีบคั้น พอสุขมันก็ปลอดโปร่งคล่อง จิตมันไม่มีอะไรมากวน มันก็เลยได้โอกาสกับสมาธิ แต่ต้องระวังไม่งั้นก็ขี้เกียจไปเลย ทีนี้ถ้ามันในแง่จิตดีมันก็เป็นสมาธิ นั้น 5 ข้อ
[05:30] นี่ผมพูดไปเข้าเรื่องธรรมะสมาธิ ทีนี้ไม่ต้องพูดถึงธรรมะสมาธิเอาตัวปราโมทย์ แม้แต่ปราโมทย์ข้อเดียวพระพุทธเจ้าตรัสไว้เลย ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ สงฺขารูปสมํ สุขํ ฯ
[05:54] ก็บอกว่าภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์มีจิตผ่องใสในคำสอนของพระพุทธเจ้าจะบรรลุจะถึงสันตบท สันตบทก็หมายถึงนิพพาน
[06:07] บทที่สงบเป็นสันติ อันเป็นที่สงบการปรุงแต่งไปหมด หมายความว่าไม่มีการปรุงแต่งของสังขาร เป็นความสุขที่ปลอดโปร่งเรียกว่า ???(ภาษาบาลี)เรียกว่า นิพพานสุข เพราะฉะนั้นก็ ปฏิบัติถูกนี่ให้ตั้งหลักไว้เลย มีจิตปราโมทย์ ได้แค่นี้ก็มีทางและ ก็เรียกว่าท่านเริ่มเข้าในทางและ แค่นี้ก็ได้งานหนึ่งและ ถ้าเอาอื่นก็เดี๋ยวค่อยว่ากันอีกที ได้แค่นี้ ก็บอกว่า
[06:49] เธออยากไปนิพพานนะทำจิตให้ดีๆ ไว้ ทำจิตให้บันเทิง ใครจะมายั่วให้โกรธก็อย่าไปโกรธ เพราะเราเสียปราโมทย์ไม่ได้ นี่ใช่ไหมถ้าเราไปพลอยโกรธเขาแล้วก็เสียปราโมทย์สิ ก็แค่รักษาปราโมทย์ได้จิตปราโมทย์ได้ จิตดีถมไปและนี่ใกล้พระนิพพานแล้ว ภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์ และอีกคาถาหนึ่งก็มี ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ เหมือนกัน
[07:14] ลงท้ายบอกว่าอย่างไง ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ ผู้มากด้วยปราโมทย์นี่จักทำทุกข์ให้หมดสิ้นไป ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ ทำที่สุดแห่งทุกข์ก็คือนิพพานเหมือนกัน เพราฉะนั้นอย่างนี้ก็ง่ายนะ เอายากขึ้นไปอีกก็ค่อยว่ากันอีก นี่เอาอย่างง่ายเลย บอกญาติโยมนี่ทำใจให้ปราโมทย์ไว้ แล้วต่อจากนี้ก็ เรารู้นี่ที่เราปราโมทย์นี่ มันเพื่อส่งเสริมคุณภาพจิตใจ จิตใจจะได้ไม่ขุ่นมัวไม่เศร้าหมองไม่มีอำนาจกิเลสเข้ามายุ่ง
[07:50] ใจปราโมทย์นี่มันใจผ่อง มันร่าเริงเบิกบาน โล่ง ผ่อง ทีนี้มันก็ดี มันก็เป็นสภาพจิตที่ดีแล้วก็ จะมีกิเลสมีอะไรเกิดได้ยาก เหมือนกับเกิดเหตุการณ์ร้ายนี่ เราก็รักษาปราโมทย์ไว้อย่าไปพลอยโกรธกับเขาด้วย ทีนี้ถ้าพวกที่ไปอยู่ในฝ่ายเรา มีปราโมทย์ไว้ได้ แกก็จะไม่ทะเลาะกันหรอก ถึงจะเถียงกันอย่างไงก็ไม่ทะเลาะ และก็ไม่ตบตีกันใช่ไหม พวกเราต้องปราโมทย์ไว้ก่อน ไปบอกทุกคนในนั้น ปราโมทย์ไว้ ปราโมทย์ไว้ ปราโมทย์ไว้มันก็ไม่ทุบตีกัน ใช่ไหมแค่นี้ก็ได้ความและรักษาสังคมได้เลย
[08:34] ท่านให้ปราโมทย์ไว้เอาล่ะครับหนึ่งละปราโมทย์นี่สำคัญ
2. กระบวนการพัฒนาปัญญา
[08:40] และทีนี้ก็มันเพราะอยู่ในกระบวนการพัฒนาปัญญาด้วย เราก็พัฒนาปัญญา ทีนี้ด้วยจิตที่ปราโมทย์นี่เราก็รับฟังใช่ไหม จะพูดอะไรมาจิตเราปราโมทย์ เราก็ฟังด้วยดี ไม่ไปมัวติดมัวยึดถูกใจเราไม่ถูกใจเรา มันไม่มี มันก็ไม่โกรธไม่อะไรกัน ไม่งั้นไม่มีปราโมทย์แล้วมันยุ่งไปหมดแหละ รับฟังกันก็ไม่ได้ ตั้งปราโมทย์เป็นหลักใจไว้ก่อนเลย เอาเอาอันนี้ก่อน
[09:12] ผู้ถาม: พระเดชพระคุณหลวงพ่อครับ ปราโมทย์นี้ที่ว่าทำใจให้เบิกบานนี่
[09:18] ตอบ: ภาวะที่จิตเบิกบาน ร่าเริงเบิกบาน บันเทิง
[09:23] ผู้ถาม: มันบันเทิงจากการที่เราฟังสิ่งที่ชอบใจ อาจจะเป็นสื่อบันเทิง ภาพยนตร์เพลงอะไรอย่างเนี้ยครับ ฟังตลก ฟังอย่างงี้ครับ???
2.1 สติกับการฟัง
[09:34] ตอบ: อันนั้นอยู่ที่สติต้องระวัง ฉะนั้นท่านจึงยอมเหมือนกันนะเรื่องเพลง เรื่องอะไร คือเราต้องนึกว่าพระพุทธศาสนานี่มองคนในแง่ของการพัฒนามนุษย์ ฉะนั้นท่านจะไม่ไปตอบอะไรที่เรียกว่า เอกังสวาท ตอบโผงๆ ไม่ได้ๆ ต้องแยกแยะให้ดี แม้แต่คนชั่ว พระพุทธเจ้ายังแยกเลย เขาชั่วในแง่นี้แต่เขามีดีในแง่นี้ ว่างั้นนะ อย่าไปพูดเด็ดขาดผางเข้าไปเลยไม่ได้ จะตอบอะไร
[10:02] โยม: การที่เราฟังสื่อบันเทิง
[10:05] ตอบ: ใช่ๆ นี่อย่างดนตรีนี่เป็นตัวอย่าง ดนตรีนี่ในระดับศีล 5 ล่ะท่านไม่ว่า แล้วท่านให้ฝึกตัวเอง
2.2 ดนตรีในระดับศีล
[10:14] ทำไมให้งดเว้น พวกดนตรีในระดับศีล 8 ก็เพราะว่าอย่างน้อย
[10:19] หนึ่ง จะได้ให้เริ่มเป็นอิสระ ไม่ไปฝากความสุขขึ้นต่อสิ่งภายนอก ไม่งั้นเรา ต่อไปก็ต้องขึ้นกับมันไม่มีมันแล้วเราไม่มีสุข นี่ก็ต้องสามารถที่จะอยู่ได้ เป็นอิสระลำพังตัวได้ แต่ว่า ไปเกี่ยวข้องกับมันใช้ให้เป็นประโยชน์
[10:41] นี้อย่างดนตรีนี่ ในระดับศีล 5 นี่ไม่มีปัญหาเลย พระพุทธเจ้ายังเคยแต่งเพลงให้มานพเลย มีนะ ในคัมภีร์มีพระพุทธเจ้าแต่งเพลงให้มานพ แกจะไปเกี้ยวสาว แล้วค่อยเล่าอยู่ในธรรมบท แต่ว่าพระพุทธเจ้าทรงมีในพระทัยแล้วจะนำเขาสู่ประโยชน์ที่สูงขึ้นไป และจะให้ประชาชนได้ประโยชน์ด้วยเพราะว่า ถ้าแกแต่งเอง แล้วแกแต่งเพลงที่ไปย้อมจิตให้คนมัวเมาหมกมุ่นก็จิตคนประชาชนเรานั้นก็ต่ำลง พระองค์ก็ทรงแต่งให้ ก็กลายเป็นว่ามานพนี้ไปร้องเพลงนี้ก็กลายเป็นว่าไปช่วยให้ธรรมแก่ประชาชนพวกนั้น
[11:56] ประชาชนก็มีจิตดีขึ้นก็ยกระดับจิตใจกลายเป็นทำบุญทำกุศล ช่วยให้จิตเขาเป็นกุศล เพราะฉะนั้นหลักการวินิจฉัยแล้วนี่ บางทีท่านไม่พูดอันนั้นเป็นอย่างนี้ไหม แต่ท่านให้หลักการกว้างๆ เช่น อย่างว่า พบเห็นอันนี้หรือพบเห็นอันใด แล้วทำให้กุศลเกิดขึ้นหรือเจริญขึ้น กุศลที่ยังไม่เกิดก็เกิด กุศลที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญภิญโญงอกงามยิ่งขึ้น
[11:54] หรือได้ยินได้ฟังอันนี้ แล้วอกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญอันนี้ดีใช้ได้ ไม่ต้องไปพูดว่าอันนี้ดีหรือไม่ดีไม่ต้องพูด ใช้หลักกว้างเลย เข้าใจไหม
[12:09] นี่เป็นข้อปฏิบัติที่ใช้กันแต่ละคนได้ ได้ยินอะไรแล้ว อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ อันนี้ใช้ได้ อันนี้เป็นหลักง่ายๆ อันนี้ก็เป็นข้อหนึ่ง
3. การถือธุดงค์เพื่อประโยชน์ในการฝึกตน
[12:23] หรืออย่างถือธุดงค์นี่ ธุดงค์นี่ก็เป็นตัวอย่าง เป็นข้อวัตร วัตรไม่ใช่ศีล วัตรคือข้อปฏิบัติที่ถือประจำเพื่อประโยชน์ในการฝึกตนอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็ธุดงค์นี่ใครจะถือก็ได้ ไม่ถือก็ได้ ถือว่าขัดเกลาตนเอง ตนเองนี่เป็นคนตามใจตัวเอง ในเรื่องนี้มากไป เช่นตามใจในเรื่องฟุ่มเฟือย พระถึงจะไม่ฟุ่มเฟือยมากบางทีก็ ปล่อยตัวมีผ้าอดิเรกเยอะอย่างนี้ ก็เลยถือธุดงค์จะได้ใช้เฉพาะผ้าอย่างนี้เท่านั้น
[12:57] นี้ธุดงค์ก็มีตั้ง 13 ข้อให้เลือก ถือสั้นถือยาวก็ได้ ถือก็ได้ไม่ถือก็ได้ แต่ว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกตน
3.1 หลักการถือธุดงค์เพื่อเจริญกุศลธรรม
ท่านก็มีหลัก เช่นบอกว่า แล้วบางองค์นี่ถือธุดงค์ข้อนี้แล้วจะเสื่อมก็ได้ ไม่ใช่ว่าถือธุดงค์แล้วจะดีเสมอไป
[13:17] ท่านก็บอกว่า ถ้าตัวท่านถือธุดงค์ข้อนี้แล้วอกุศลธรรมเจริญกุศลธรรมเสื่อม ไม่ควรถือ ถ้าถือแล้วอกุศลธรรมเสื่อมหาย กุศลธรรมเจริญควรถือ อย่างนี้เป็นต้น อันนี้เป็นหลักที่ใช้ได้กว้างๆ ในกรณีที่เราไม่มีเรื่อง เฉพาะนี้ถ้าเป็นเรื่องของการฝึกตนที่เป็นเรื่องของชุมชนนี่ ก็ต้องมีบทบัญญัติร่วมกัน อย่างศีลของพระนี่ก็เพื่อว่า จะได้ไม่เลยขอบเขต เดี๋ยวผมตอบหมดหรือยังไม่รู้ ตอบท่านฐานิสโร ใช่ไหมนี่ตอนนี้
???
อ้อ แล้วตอบใครล่ะ
???
4. ศีล 5 และศีล 8 การฝึกตนเพื่อผู้อื่นและตนเอง
[14:04] เรื่องดนตรี ก็เป็นอย่างนี้ คือ ศีล 8 นี่ท่านให้ฝึกตน ฝึกตนว่า ลองสิเราจะอยู่ได้ และอยู่ได้ดีด้วยไหม โดยไม่ต้องพึ่งพาขึ้นต่อสิ่งเหล่านี้ ท่านจึงไม่ได้ให้ถือตลอดเวลาไง
[14:22] คฤหัสถ์นี่ มักจะมีความสุขจากการเสพบริโภคมากไป แล้วก็ไปๆ ก็ไปยุ่งกับการบันเทิง ๆ ต่อไป มันกลายเป็นพึ่งพา มีความสุขแบบพึ่งพา ขาดสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ ทีนี้พอไปขึ้นต่อสิ่งเหล่านั้นแล้ว จิตใจก็ยิ่งวุ่นวายเพราะคิดนึงไปหาสิ่งเหล่านั้นอยู่เรื่อย คอยจะคิดถึงแต่การเสพบริโภค แล้วก็โยงไปหาสิ่งที่เกี่ยวข้อง จิตใจก็ขุ่นมัวเศร้าหมอง มันก็ไม่เอื้อต่อการพัฒนาจิตใจ ท่านก็เลย ให้เปิดโอกาสแก่การที่จะฝึกตน ในการที่จะเจริญพัฒนาทางจิตปัญญา
4.1 ศีล 5 กับการอยู่ร่วมกัน
[15:01] พอคุณได้ศีล 5 นี่ แค่ว่าเพื่อให้สังคมนี่มันไม่ลุกเป็นไฟ ให้มันอยู่กันได้ไม่เบียดเบียนกัน ศีล 5 เอาแค่นั้น แต่ว่าถ้าเราต้องการจะฝึกชีวิตยิ่งขึ้นไป เราก็เริ่มทำชีวิตให้เป็นอิสระจากวัตถุเสพบริโภค
[15:21] ศีล 5 มันมาช่วยคนในการที่ว่าเขายังหาสิ่งเสพบริโภค หากันหนาแล้วมันแย่งชิงเบียดเบียนกันใช่ไหม หาทรัพย์สินเงินทองอะไรต่ออะไร แล้วมันก็ทะเลาะกัน แล้วมันก็ฆ่าฟันกัน แล้วก็พูดปดอะไร อย่างเรื่องที่เราเล่า สังคมพัฒนาวันนั้นน่ะ แค่สมัยโบราณเริ่มต้นพอว่าแบ่งเขตกันนิดเดียว ยุ่งแล้ว แค่นั้นก็มุสาวาท อทินนาทาน ปาณา มาได้หมดเลย แค่นั้น นี้มนุษย์นี่สังคมมันเป็นอย่างนี้ ต่างคนต่างก็จะหาประโยชน์เพื่อตนเอง ก็เลยว่า คุณจะหาก็หาไป ไม่ว่าละ สุขจากเสพจากสุขบริโภคก็ยอมรับมนุษย์ปุถุชน ก็เลยเอา 5 ข้อนี่ไว้ก่อนว่า หาไปอย่างไงก็หา อย่าละเมิด 5 ข้อนี้ พอสังคมมันอยู่ได้ เนี้ยมันจะได้เป็นฐานให้มีทางพัฒนาอื่น
[16:13] ทีนี้เราเกิดต้องการพัฒนาสูงขึ้นไป ท่านก็บอกว่า คุณนี่อยู่ศีล 5 นี่บางทีคุณยังพึ่งพาสิ่งเสพบริโภคมาก ยังหลงใหลมัวเมาได้ เป็นแต่เพียงไม่เบียดเบียนคนอื่น ตนเองนี่ยังลุ่มหลงมัวเมา ท่านก็เลย ทีนี้มาฝึกตัวเองบ้าง เพราะฉะนั้นศีล 8 ที่เพิ่มนี่ ไม่เกี่ยวกับคนอื่น
[16:34] ศีล 5 นี่เกี่ยวทั้งนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน พอไอ้อีก 3 ข้อนั่น รวมทั้งไปเปลี่ยน ข้อ 3 ในศีล 8 เป็นเรื่องตัวเองหมดเลยไม่เกี่ยวกับคนอื่น ก็เป็นเรื่องตนเองที่ว่าจะได้ไม่ต้องพึ่งพาฝากความสุขไว้กับสิ่งเสพบริโภค ก็มาฝึกตนว่า 8 วันทีหนึ่ง หรือคนจะถือมากกว่านั้นท่านก็ไม่ว่า แล้วแต่ใครจะตกลงใจกับตัวเอง ก็ให้ฝึกตัวเอง โดยที่ว่า เราเคยกินอาหารตามชอบใจตอนนี้เรากินเป็นระเบียบ ฝึกตัวเองไม่กินเกินเวลา นอกเวลา เอาแค่นี้พอมื้อเดียว หรือ 2 มื้อก่อนเที่ยง
[17:18] แล้วก็เคยฟ้อนรำขับร้องหาความสุข เพลิดเพลินกับเรื่องเหล่านี้ 8 วันงดซะทีเป็นวันอิสระงดบันเทิง
[17:28] แล้วก็เคยต้องแต่งตัววุ่นวายกะเรื่องแต่งตัว เสียเวลาวันไม่ใช่น้อยนี่ เงิน เงินก็เสียเยอะนี่ 8 วันก็ลองงดดูซะที
[17:38] และก็เคยนอนหรูหราตามใจตัวเอง ก็งดสักวันหนึ่งดูสิ แล้วเราจะอยู่ได้ดีโดยไม่ต้องพึ่งพา แล้วเราจะอยู่อย่างมีความสุขไหม โดยไม่ต้องพึ่งมัน อย่างน้อยก็จะเป็นเครื่องเตือนสติตัวเอง แล้วก็ฝึกตัวเองว่าให้เราอยู่ได้ อยู่ได้โดยไม่ต้องขึ้นต่อกับสิ่งเหล่านี้ ไม่ให้เอาความสุขไปฝากไว้
4.2 ศีล 8 กับความสุขแบบไม่พึ่งพา
[18:02] ตอนนี้เริ่มจะมีความสุขแบบไม่พึ่งพา ความสุขจากการเสพบริโภคนี่ต้องพึ่งพา ต้องขึ้นต่อสิ่งภายนอกใช่ไหม ต้องมีนั่นมีนี่ ไม่มีอยู่ไม่ได้ บางคนพึ่งพาพาเกินไป หมดอิสระภาพเลย ขาดไม่ได้แล้ว ขาดแล้วจะตาย ไม่มีความสุข นี้พอเราไม่ต้อง ตอนนี้เราฝึกด้วยศีล 8 เราก็ วันนั้นเรามีเราก็อยู่กันไป เราก็มีความสุข ถึงเราไม่มีก็อยู่ได้ นี่ก็เลยมีโยมที่ เอาคำไปพูดว่า มีก็ดีไม่มีก็ได้ ตอนนี้ไอ้วัตถุเสพเหล่านั้นมันจะมาขั้นนี่ที่เรารู้สึกว่าเราเริ่มเป็นอิสระมากขึ้น
[18:45] มีก็ดี มีก็ดีเหมือนกัน แต่ไม่มีก็ได้ ฉันไม่ถึงกับตายหรอก เราก็มีก็ดีไม่มีก็ได้
[18:53] ต่อมาเรารู้สึกว่า ของมากบางอย่างมันเลอะเทอะรุงรัง รุงรัง แทนที่เราจะสุขมัน มันไม่เป็นสุข เบื่อหน่ายบ้างอะไรบ้าง แต่ว่านั่นแหละบางคนมันชอบโล่งๆ คล่องตัวดี ก็เลยชักจะกลายเป็นว่ามีก็ได้ ไม่มีก็ดี มีก็ได้ไม่มีก็ดี ของเหล่านี้มีก็ได้แต่ไม่มีก็ดี ไม่มีเรายิ่งสบายใหญ่ เป็นอิสระดี ก็อย่างนี้แหละครับนี่ฝึกตนเอง
[19:23] ถ้าศีล 8 ก็จะถึงขั้นมีก็ได้ไม่มีก็ดี หรือมีก็ดีไม่มีก็ได้ ต่อจากนั้นก็จะฝึกต่อไป ทีนี้ก็ได้โอกาสเราก็หนึ่งสงวนเวลา สงวนเรี่ยวแรงกำลังที่ไปยุ่ง ไอ้เกี่ยวกับการเสพบริโภค แสวงหาสิ่งเหล่านั้น
[19:39] ท่านก็ให้ใช้เวลาในการรักษาอุโบสถ ไปทำอนวัชกรรม แล้วก็ฝึกฝนทางจิตปัญญา อนวัชกรรม ก็คือกรรมที่ไม่มีโทษ ก็คือการบำเพ็ญประโยชน์ ไปช่วยเหลือคนยากจน ไปช่วยเหลือเด็กกำพร้า ไปทำอะไรต่ออะไรให้เป็นประโยชน์ หรือไปหาความรู้ ไปฟังธรรม ไปอ่านหนังสือ อะไรก็แล้วแต่ อนวัชกรรมแล้วก็เจริญปัญญา ไปฟังธรรมไปสนทนาธรรม นี่ก็ได้ประโยชน์จากไอ้ตัวการรักษาอุโบสถ ไม่ใช่รักษาเฉยๆ รักษาอุโบสถแล้วก็ไปฝึกตนแล้วก็ใช้ให้เป็นประโยชน์ด้วย โดยทำอนวัชกรรม กรรมที่ไม่มีโทษบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ
[20:28] ผมตอบคำถามเรื่องอะไร ไม่ใช่เรื่องๆ ดนตรีเรื่องๆ ขับร้องฟ้อนรำ เป็นอันว่าไม่ใช่พูดอะไรเด็ดขาดทีเดียวต้องแยกแยะ เรียกว่า วิภัชวาช แยกแยะว่าอันนี้มันจะดีในแง่นั้น เสียในแง่นั้น ถ้าเราปฎิบัติต่อมันอันนี้อันเดียวกันนี่นั่นแหละ คนหนึ่งถ้าวางจิตอย่างนี้ก็ผิด วางจิตอย่างนั้นถูก หรือคนเดียวกันนั่นแหละวางจิตอย่างนี้ก็ผิด วางจิตอย่างนั้นถูก จะเกิดคุณเกิดโทษ ไม่ต้องเด็ดขาดต้องมีข้อที่เกี่ยวกับตัวปัจจัยองค์ประกอบ ที่เกี่ยวข้องเข้ามา
5. ดนตรีกับการพัฒนากุศล
[21:05] คนเรานี่มันละเอียดซับซ้อนมาก เป็นอันว่าศีล 5 ท่านที่เป็นนักดนตรีก็สามารถทำตัวประโยชน์ได้เลย
[21:15] มนุษย์ทั่วไปในสังคมนี้เป็นคนเป็นระดับศีล 5 เท่านั้นเองนี่ เราก็เอาดนตรีไปช่วย ท่านมีเลยหลักของท่าน เพลงประกอบธรรม ธรรมประกอบเพลง ถ้าเอาธรรมมะไปประกอบเพลง เอาธรรมมะไปเล่นเสีย อย่างนี้ไม่ถูก ท่านไม่เอาด้วย
[21:36] แต่ว่าเอาเพลงมาเป็นเครื่องประกอบธรรม ช่วยสนับสนุน ทำให้จิตของคนนี่เกิดความเบิกบานผ่องใสอะไรท่านให้เลย เพราะฉะนั้นในพระไตรปิฎกก็มีพระสูตรหนึ่งเป็นเพลง คือ ปัญจสิกขาเทพบุตร เป็นลูกน้องพระอินทร์ ก็ไปรักกับเทพธิดาคนหนึ่ง ก็ร้องเพลงที่มีธรรมะด้วย อะไรผมก็พูดใช้สำนวนไม่ถูก เขาร้องเพลงถึงคู่รักของเขา ด้วยจิตใจที่คิดถึง นี่อยู่ในพระสูตร
ชื่อ “สักกปัญหสูตร”
[22:21] มีเพลงของปัญจสิกขาเทพบุตร ซึ่งในนั้นก็มีทั้งในเรื่องของการพรรณนาถึงความรักต่อคู่รัก พร้อมทั้งเรื่องของความเลื่อมใสต่อพระรัตนตรัย ถ้าหากว่าอย่างนี้มันยังโยงกันอยู่นี่ ก็จะดึงจิตเขาขึ้นมาสู่ความดีงาม ไม่ใช่เอาสิ่งเหล่านี้มาพาคนให้ลุ่มหลงไป นั้นเราก็อย่าทิ้งโอกาส ที่ว่าทำไงเมื่อเราทำดนตรีได้เพลงได้ เราต้องหาทางเอาเพลงดนตรีนี่มาช่วยคน มาเป็นเครื่องปลุกเร้ากุศล แล้วนำคนเข้าสู่กุศลธรรม ทำพัฒนาจิตใจให้ดีขึ้น แล้วเพลงก็จะเป็นประโยชน์
5.1 เพลง คีตะ และสรภัญญะ
[23:01] เรื่องคาถาอะไรต่างๆ กึ่งเพลงทั้งนั้น คาถาเป็นคีตะ ที่สังคายนาก็สังคีติ สวดพร้อมกัน การสวดมันกึ่งเพลงเข้าไปแล้ว สวดที่เพราะเข้าไปอีกเรียก “สรภัญญะ” แทบเป็นเพลงเลย พระพุทธเจ้าก็อนุญาตมีในวินัยปิฎก
[23:22] พระไปดูการมโหรสพ เข้าใจว่า ???การละเล่นบนยอดเขา อย่างพระสารีบุตร โมคคัลลานะก็ที่ออกบวชก็เพราะไปดู??? มโหรสพบนยอดเขาดู
[23:37] วางจิตดีบางทีสิ่งเหล่านี้มันกลับทำให้ได้ธรรมะ มันไปกระตุ้นไปกระทบ พระสารีบุตรโมคคัลลานะอุปติสสะ โกลิตะ ไปดูมหรสพบนยอดเขาก็ได้รู้สึกขึ้นมาเพราะมีประสบการณ์มาก เหมือนกับปลงเลย จิตปลง นี่โลกก็อย่าง เห็นมนุษย์ลุ่มหลงอะไรต่ออะไรก็แล้วแต่ คือถ้าที่จิตมันพัฒนาขึ้นมาระดับหนึ่งมันจะมองเปลี่ยนไป ก็เป็นเหตุให้ออกบวช
[24:08] แต่ทีนี้พระไปดูมหรสพบนยอดเขา ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ชาวบ้านติเตียนว่าทำไมพระไปเที่ยวดูมหรสพอย่างนี้เหมือนชาวบ้าน พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบทไม่ให้ดู ทีนี้ก็พระชุดนี้ไม่ได้ไปดูมหรสพ วันหนึ่งก็ร้องเพลง ไม่ได้ไปดูมหรสพก็เอาเพลงมาร้อง พระพุทธเจ้าก็บัญญัติสิกขาบทอีก ไม่ให้พระร้องเพลง นี้พระทั้งหลายพอพระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบทนี้ก็
[24:39] บทสวดชนิดหนึ่ง สรภัญญะนี่ก็เป็นการสวดที่ไพเราะมาก ก็รังเกียจไม่กล้า เอ้อจะสวดได้หรือเปล่า ก็เลยไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เลยบอกเราอนุญาตสรภัญญะ สรภัญญะ แปลว่า การกล่าวธรรมด้วยเสียง เอาเสียงเป็นเครื่องมือในการกล่าวธรรม เอาเสียงเป็นสื่อ ไม่ใช่เอาแค่คำพูด
[25:07] ตามปกติเราเอาคำพูดเป็นสื่อธรรมะใช่ไหม คำพูดนี่ก็พูดดีก็ได้ พูดไม่ดีก็ได้ ก็เหมือนกัน คำพูดที่ไม่ดีมันก็ทำให้เกิดความเสียหาย เกิดอกุศลธรรม แต่ว่าเอาคำพูดนี่มาพูดธรรมก็ไม่เป็นไร ใช่ไหม ก็เป็นธรรมกถาไป ทีนี้ ถ้าเพราะขึ้นไปจากธรรมกถา ก็เป็นธรรมคาถา ตอนนี้ชักไพเราะและเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ละ ธรรมคาถา
[25:37] ทีนี้ พระท่านก็ถามพระพุทธเจ้าว่า สรภัญญะ จะทำไง พระพุทธเจ้าก็อนุญาตก็หมายความว่า ตอนนี้ไม่ใช้แค่ใช้ถ้อยคำ คำพูดเป็นสื่อธรรมะ เอาเสียงเป็นสื่อ ก็คือเสียงที่ไพเราะ มีความเป็นระเบียบ ราบรื่นกลมกลืน อะไรนี่แหละเป็นสื่อธรรมะได้ ทำให้จิตคน ฟังธรรมแล้วเกิดความปลาบปลื้มปีติ เกิดปราโมทย์ ถ้าท่านทำเป็น
[26:06] พวกบทเพลงดนตรีนี่ทำให้จิตคนปราโมทย์ ร่าเริงเบิกบานใจ ก็อยู่ที่ว่ามันทำให้จิตเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ถ้าดนตรีนั้นทำให้คนนั้นจิตเป็นกุศลก็ถูกต้อง ดี แต่ถ้าทำให้เขาฟังแล้วเกิดอกุศล ไม่ดี
[26:26] แล้วมันก็ขึ้นต่อผู้ฟังด้วย บางอันก้ำกึ่ง บางคนฟังแล้วเกิดกุศล บางคนฟังแล้วเกิดอกุศล เราก็ต้องระวังไม่ประมาท เมื่อท่านจะทำก็ต้องพยายามทำให้โน้มจิตไปทางกุศล ก็กลายเป็นว่าดี
6. พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์
[26:42] สำหรับปุถุชนนี่เราต้องยอมรับเขาตามที่มันเป็น เขาอยู่ในระดับการพัฒนาขั้นนี้ เราจะช่วยเขาได้อย่างไง เครื่องมืออุปกรณ์ เรามีเจตนาดีต่อเขา ก็เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าก็วางแนวไว้ให้แล้ว ระดับศีล 5 ละท่านบอกว่าเอามาใช้ แต่ว่าใช้ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนากุศล
[27:05] ทีนี้พอเราจะฝึกต่อไปก็อย่างที่ว่า ตอนนี้ฉันชักเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อสิ่งภายนอกให้อยู่กับใจตัวเองได้ให้เป็นสุขภายในพัฒนาอยู่กับสุขที่เป็นอิสระ แล้วก็เจริญจิตเจริญปัญญาขึ้นไป มันเป็นขั้นตอน อันนี้ที่อยากจะพูดอีก
[27:22] การพัฒนามนุษย์ในแนวพุทธศาสนา คือพุทธศาสนานี่ไม่ได้ถือสังคมเป็นอย่างเดียวตายตัว นี่เป็นจุดสำคัญตายตัว ในเรื่องของทิฐิ ทิฐิของนักอะไรทั้งหลายนี่ ที่เขามีความหวังดีต่อสังคม มันไปจบตรงนี้ คือสังคมจะต้องเป็นอย่างนี้ แล้วก็ห้ำหั่นฆ่าฟัน จะต้องทำให้สังคมเป็นอย่างที่ฉันคิดให้ได้ ท่านจะต้องมาเทียบกับพุทธศาสนา
[7:51] พุทธศาสนาถือว่ามนุษย์นี่อยู่ในระดับต่างๆ ของการพัฒนา แม้แต่ความสุขก็ยังต้องการไม่เหมือนกันเลย นี่ไปบังคับให้เขามีความสุขแบบเดียวกัน แล้วจิตเขาไม่ถึงจะไปบังคับเขาอย่างไง มันเป็นไปไม่ได้ มันอยู่ไม่รอด
[28:07] ฉะนั้นท่านต้องคู่กันไป สร้างระบบสังคม ที่ ในนั้นมีภาวะหลากหลาย ที่จะเหมาะกับคนที่จะพัฒนาในระดับนั้นๆ คนก็ต้องการความสุขไม่เท่ากัน บางคนต้องการความสุขระดับนี้ ก็มีแต่ขอบเขตว่าต้องไม่ละเมิดไม่ให้เสียหายแค่นี้ได้ ยอม
[28:31] แต่ว่ามีเกณฑ์อย่างหนึ่ง เงื่อนไขว่า คุณต้องพัฒนาตลอดเวลา ก็คือว่ายอมรับคนตามที่เขาเป็นในทุกระดับ แต่ขออย่างเดียวว่า คุณอย่าหยุดการพัฒนา แล้วเราก็จัดสังคมที่เหมาะแก่คนที่มีพัฒนาการ ในระดับต่างๆ ระบบ สังคมในพระพุทธศาสนานี่เป็นสังคมที่จัดโดยมีอะไรทุกอย่าง ที่มันสนองความต้องการที่เหมาะกะคนที่มีพัฒนาการในระดับนั้นๆ โดยมีกรอบเกณฑ์อย่างต่ำว่า ไม่ให้ละเมิดอันนี้ๆ เช่น ถือศีล 5 ที่จะทำให้เกิดการเบียดเบียนกันอยู่ไม่ได้ แล้วก็กรอบอย่างสูง
[29:14] อย่างของพระนี่ก็มี เกณฑ์อย่างต่ำ เกณฑ์อย่างสูง มีหลายอย่างที่ท่านให้เลือกเอา พระบวชเข้ามาแล้ว ถือศีล 227 เหมือนกันแต่อัธยาศัยความต้องการการพัฒนาไม่เท่ากัน ก็ต่างกันอย่างนี้ก็ให้เลือกเอา อย่างธุดงค์ที่ผมเล่าให้ฟัง ก็เป็นตัวอย่างของการให้เลือกได้ ในข้อปฏิบัติ จะอยู่ป่าอยู่บ้านเลือกเอา จะอยู่นานหรืออยู่สั้นก็เลือกเอา พระองค์นี้อยากจะไปถือธุดงค์อยู่ป่า ท่านอยู่ 3 เดือนก็พอ องค์นี้อยู่ตลอดชีวิตก็เอา ท่านไม่ว่า ให้เลือกได้ทั้งนั้น คือระบบแบบนี้ จะเป็นที่ว่ามีกรอบในระดับหนึ่ง แต่ผู้ที่จะเข้าสู่กรอบนั้น ถามก่อนคุณสมัครใจไหม เมื่อสมัครใจก็ยอมรับละฉันเอากรอบนี้ใช่ไหม แล้วไอ้กรอบนี้ก็เป็นเครื่องฝึกเรา นี่ทำไงเราจะสร้างสังคมแบบพุทธได้ยากไหม พอเห็นไหม พอเห็นนะ