แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พระนวกะ : อยากจะเรียนถามพระเดชพระคุณต่อครับ พูดถึงเรื่องจิต จิตที่ลงตัวเป็นเกี่ยวกับทางลักษณะจิตในการนั่งสมาธิในการฝึก แต่ทีนี้ถ้าพูดถึงคำว่า “ชีวิตที่ลงตัว” ครับ นอกจากเรื่องจิตแล้วหมายความว่า..เรา..อย่างเช่นว่าเราลาสิกขาออกไปแล้วเนี่ย ไปเจอกับโลกภายนอกเนี่ย(1.22) ซึ่งจิตเราฝึกมาระดับหนึ่งแต่ว่าก็ต้องไปเจอสิ่งที่กระทบอยู่ มันจะต้องมีเรื่องของการสัมพันธ์กับผู้อื่นการอะไรอย่างนี้(1.30)นะครับ อยากจะขอแนวทางว่า ทีนี้นอกจากคำว่าจิตที่ลงตัว แล้วคำว่าชีวิตที่ลงตัว ท่านพระเดชพระคุณมีข้อแนะนำอย่างไงบ้าง ควรจะเน้นที่การฝึกจิตหรือว่าควรจะฝึกปฏิบัติอย่างไรครับ(1.42)
ตอบ : ก็แน่ละว่าชีวิตมันจะลงตัวได้(1.44)จิตมันต้องลงตัว..ใช่มั๊ย? ถ้าจิตมันยังลงตัวไม่ได้ ชีวิตมันจะลงตัวยังไงละ แต่ทีนี้ว่าจิตมันจะลงตัวได้ก็ต้องปัญญาช่วยให้มันลงตัว ถ้าปัญญาไม่พอมันลงตัวไม่ได้นะ เพราะปัญญามันเป็นตัวปรับตัวแก้(2.01)ตัวทำให้หลุดพ้นเป็นอิสระใช่มั๊ย เช่นความรู้เท่าทันอะไร วางใจได้ถูกมันต้องมาจากปัญญา แล้วจริงๆให้ฝึกความมีปัญญารู้เท่าทันอะไรต่างๆเหล่านี้ เอาละ..แต่ทีนี้ว่า(2.14)เราอยู่ในโลกในขณะที่เรายังมีจิตไม่ถึงกับลงตัว ปัญญาเรายังไม่พอเนี่ย เราก็ฝึกซิครับ ก็ถือเป็นการฝึกไง ก็เราตั้งจิตวางจิตเป็นการฝึกเสีย เราก็จะได้รู้สึกว่าไม่ถูกกดถูกบีบ เพราะว่าถ้าเราไม่วางจิตให้ถูก เราก็กระทบกระทั่ง เราก็เป็นฝ่ายรับ เดี๋ยวก็เจอนั่นเอาอีกแล้วมันเอาเราอีกแล้ว(2.42) เราแย่จริงเจอโน่นเจอนี่ เราก็ต้องแย่ต้องตั้งไอ้ความรู้สึกว่าเราถูกกระทำอยู่เรื่อย นี้ถ้าเราตั้งจิตไว้เป็นว่าเราจะฝึกตน เราก็เริ่มก็เท่ากับมีความพร้อมที่จะเจอกับสิ่งที่กระทบกระทั่งทันทีเลย เท่ากับจิตมันพร้อมแล้ว จะฝึกปั๊บ..เออ..ก็ฝึกได้มันก็เจอสิ่งกระทบซิ..ใช่มั๊ย ฝึกจิตนี่นะก็ต้องหาสิ่งมาฝึกเราจะได้ฝึกได้ยังไงก็ต้องเจอมัน พอเจอมันเราก็นึกได้ทันทีว่าเราจะได้แล้ว(3.18)แทนที่จะถูกกระทำ เราก็เริ่มเป็นผู้กระทำ การที่เราเป็นผู้กระทำเนี่ย เท่ากับเราได้เปรียบขึ้นมาทันทีส่วนหนึ่งแล้ว ฉนั้นเราต้องตั้งจิตไว้ก่อนว่าเราจะฝึกตัว เราก็กลายเป็นไม่เป็นผู้ตั้งรับถูกกระทำ แต่เราคอยหาสิ่งที่เราจะทำ เราเจอเราก็ตั้งจิตได้ถูกมันก็ได้ไปส่วนหนึ่ง(3.40) เรียกว่าท่าทีของจิตมันดี แล้วก็สุขภาพจิตก็ดีด้วย นี่ก็อยู่ที่ตอนฝึกนั่นแหละว่าเราจะมีความชำนาญในการจัดการกับมัน เช่น มีโยนิโสมนสิการแค่ไหน ตั้งใจฝึกก็คือวางท่าทีของจิตได้ถูก(3.57) แล้วทีนี้พอเจอจริงจะฝึกก็ต้องมีโยนิโสมนสิการเป็นตัวสำคัญ แต่โยนิโสมนสิการนั้นทำงานไปกับสติ โยนิโสมนสิการนั้นมันหล่อเลี้ยงสติให้อยู่เอง(4.09) ถ้าใครยังเดินโยนิโสมนสิการอยู่สติจะอยู่ สติมันต้องมาถูกเรียกร้องให้ทำงาน ฉนั้นมันก็เลยกลายเป็นว่าธรรมะเค้าเรียกร้องกันเอง เมื่อตัวหนึ่งมาแล้วไอ้ตัวอื่นก็ต้องมาด้วย(4.25) เราก็ไม่ต้องไปยุ่งกับเขาแล้ว เขามาเขาเอง เราก็ใช้ไอ้โยนิโสมนสิการให้ดี ฉนั้นเราจึงได้ฝึกกันว่าให้รู้จักมองสิ่งทั้งหลายในแบบของโยนิโสมนสิการแบบต่างๆ ถ้าเราคอยมองไว้บ่อยๆ ต่อไปมันก็มีความชำนาญ จิตเราตั้งรับไว้ถูกแล้วนี่เราก็เป็นผู้กระทำต่อสิ่งทั้งหลาย(4.51) เวลาเราใช้โยนิโสมนสิการเราเป็นผู้กระทำนะถูกไหมเราไม่เป็นผู้ถูกกระทำแล้ว ทีนี้เวลาเราทุกข์เรา..จิตบีบคั้นเพราะเราถูกกระทำ จิตไม่มีทางไปไม่มีทางเดินก็อัดอั้นบีบคั้นก็ทุกข์ซิ ทีนี้จิตมันจะหายทุกข์ก็คือมันมีทางไปอะ จิตมันไม่อัดอั้นไม่ถูกกดดันมันมีทางไปมันก็หายทุกข์ซิ(5.15) มันเดินหน้าไปได้ มันเป็นอิสระ ทีนี้อะไรมันจะช่วยให้หายอัดอั้น ติดขัด คับข้อง ก็คือปัญญา เครื่องมือของปัญญาก็ตัวปัจจัยสำคัญก็ตัวโยนิโสมนสิการ พอโยนิโสมนสิการทำงานกระบวนการ สติ ปัญญา สัมปชัญญะ มันมากันใหญ่เลย (5.35) ก็ไปได้เดินหน้าไป จิตมันก็ไม่อั้น จิตไม่อั้นมันก็ไม่ต้องมาทุกข์อยู่ ก็ไปได้ อันนี้ก็เป็นทางหนึ่ง พอจะเห็นไหมฮะ แล้ว..แล้วเนี่ยถึงแม้จะยังไม่ได้ลงตัวโดยแท้นะ คล้ายๆว่ามันมีทางเดินไปมันก็ปรับได้ซิ อย่างนี้ไม่ใช่ลงตัวแท้ก็คือปรับได้ หมายความว่าปัญญาของเราที่มาช่วยปรับจิตให้เข้ากับสิ่งต่างๆไปได้ พอมันปรับได้เหมือนกับเราปรับตัวได้ มันก็เหมือน(6.07)ลงตัวนั่นแหละ มันก็ไปของมัน สำคัญอย่าไปติดขัดอัดอั้น ทุกข์ก็คือบีบคั้น ติดขัด อัดอั้น คับข้อง ก็ไปไม่ได้ อะท่านฐานิสโร(6.21)
พระนวกะ : อีกสักนิดหนึ่ง คือ..(6.24)สติที่จะเกิดขึ้นโดยที่มีโยนิโสมนสิการเหมือนเป็นอาหารหล่อเลี้ยงตรงนี้นะครับ หมายความว่าสตินี้จะเกิดตอนที่เรากำลังคิดพิจารณาใช้โยนิโสมนสิการหรือว่าเราคิดพิจารณาแล้ว แล้วเห็นเป้าหมายแล้ว แล้วเรากำลัง..การกระทำตอนนั้นเนี่ย(6.42)จะเป็นไปด้วยสติสัมปชัญญะคือ คือไม่ทราบว่าไอ้ตัวสติจะเกิดตอนไหน ตอนคิด หรือว่าตอนที่กระทำแล้ว ต่อจากตรงนี้นะครับ
ตอบ : มันไปด้วยกัน(6.54)เลย เพราะว่าไอ้เจ้าโยนิโสมนสิการมันเรียกร้องสติ เพราะว่าสติคืออะไรล่ะ ไอ้สติก็คือว่าเป็นตัวดึงจิตไว้กับอารมณ์ ทีนี้โยนิโสมนสิการมันทำงานได้(7.08)มันก็คำนึงพิจารณามองสิ่งนั้นๆอยู่ มันจะมองได้ไงล่ะมันก็ต้องจิตต้องอยู่กับสิ่งนั้น จิตมันก็ต้องอยู่กับสิ่งที่มันจะมองจะพิจารณาอะไรเงี้ย สติมันก็ต้องอยู่ซิสติมันจะไปไหน ไม่มีสติจิตมันก็มองสิ่งนั้นไม่ได้ถูกมั๊ย เพราะฉนั้นมันก็มาเองนะ คือมันคลอไปด้วยกันหมด เพราะว่ากระบวนการการทำงานของจิตนี้มัน(7.33)เป็นธรรมชาติ องค์ประกอบต่างๆมันต้องพร้อมไม่งั้นมันไม่ทำงานหรอก เหมือนกับรถจะวิ่งมันก็ต้องมีล้อมีอะไรต่ออะไรทุกอย่างที่มันมาช่วยให้เดิน..วิ่งไปได้นะ(7.45) มีแต่ล้อไม่มีเพลามันก็หลุดนะซิ ล้อมันหมุนไปมันไม่มีเพลาไม่มีอะไรยึด ไอ้ล้อมันก็วิ่งจริงแต่ไม่วิ่งอยู่กับรถ ถูกไหมฮะ เพราะฉนั้นไอ้นี่มันทุกอย่าง(8.00)มันเป็นองค์ประกอบอยู่ในกระบวนการเดียวกันคือชีวิตของเรา ฉนั้นในอภิธรรมเวลาศึกษาลึกท่านจึงบอกว่าเวลาองค์ธรรมนี้อยู่นะ ไอ้องค์ธรรมอันนั้น..อันนั้น..อันนั้นมันจะอยู่ด้วย ถ้าองค์ธรรมอันนี้มีอยู่แล้วไอ้เจ้าตัวนั้นเข้ามาไม่ได้อะไรอย่างเนี้ย(8.19) อันนั้นก็คือการศึกษาแยกแยะ วิเคราะห์ ว่ากระบวนการทำงานของจิตเป็นยังไง พอจะเห็นไม่ฮะ สติมาของมันไปเรื่อยๆแหละ ตอนนั้นสติทำงานคือมันก็ทำงานของมันไปตามธรรมชาตินั่นเอง เราก็เพียงแต่วิเคราะห์ว่าอ๋อไอ้ตัวไหนเป็นสติ ไอ้ตัวไหนเป็นอะไร(8.41) ก็คือไอ้ตัวที่มันตรึงหรือจับหรือดึงจิตของเราไว้กับสิ่งนั้น สิ่งที่เรากำลังมองกำลังพิจารณากำลังนึกถึงหรืออะไรก็แล้วแต่นะ สิ่งนั้นแหละสิ่งนั้นก็เรียกว่า “อารมณ์” นะ(8.59) สิ่งที่จิตเรามอง นึกถึง พิจารณา อะไรอยู่เนี่ย คำนึงอะไรอยู่ก็แล้วแต่เนี่ยสิ่งนั้นเรียกว่า “อารมณ์” ทีนี้จิตจะไปอยู่กับสิ่งนี้ได้ก็คือสติมันดึงไว้ให้มันอยู่ด้วยกัน ที่เคยเปรียบเทียบแล้วนะเหมือนกับว่าไอ้เจ้าวัวพยศ(9.19)จับมาแล้วก็มันก็จะวิ่งเข้าป่าไปเรื่อย เราก็เลยฝึกโดยเอาเชือกมามัดผูกไอ้เจ้าวัวนี้ไว้กับหลัก หลักก็คืออารมณ์หรือสิ่งที่เราต้องการ เช่น อารมณ์กรรมฐานที่ลมหายใจเนี่ยเป็นเหมือนกับหลักหรือเสา(9.39) แล้วก็ไอ้จิตของเราก็เหมือนกับวัว ไอ้วัวพยศก็จะวิ่งออกไปเรื่อยไม่ยอมอยู่กับเสากับหลัก แล้วทำไงก็เอาเชือกมาผูกไว้ เชือกมาผูกก็คอยดึงให้มันอยู่กับหลัก อาการที่คอยดึงไว้(9.56)คอยจับคอยลากเข้ามาอยู่กับหลักนี่นะไอ้นี่คือสติ พอเข้าใจมั๊ย เนี่ยไอ้ตัวที่ดึงไว้กับหลักไม่ให้ไปเนี่ย พอจะไปก็ดึงปุ๊บกลับเข้ามาดึงเข้ามาเหมือนกัน ต่อไปพอมันชำนาญจิตมันอยู่ ทีนี้ไม่ต้องมีเชือกดึงแล้ว(10.18) อยู่เลยอยู่กับหลักไม่ต้องมีเชือกดึง เชือกไม่ต้องทำงานดึง ตอนนี้จิตอยู่ อยู่กับหลักเลย อยู่กับอารมณ์นั้นจะอยู่กับลมหายใจโดยไม่ต้องมัวคอยดึงกันอีก ตอนนี้สติก็เหมือนกับไม่ต้องมีภาระแล้ว ก็เป็นสมาธิไป ตอนที่เป็นสมาธินั้นสติอยู่ตลอดมันคลออยู่แต่ว่ามันไม่มีบทบาทเด่นหรอก ตอนที่ยังไม่ได้สมาธิเนี่ยเจ้าสติทำงานหนักเลย ดึงแล้วดึงอีก(10.53) พอมันอยู่ตัวก็จิตก็อยู่กับหลัก อยู่กับอารมณ์นั้นสนิทไปเลย สติก็คลออยู่เฉยๆจนเหมือนกับไม่ได้ทำงาน พอจะเห็นมั๊ย แต่อาจสงสัยอะไรไม่รู้ตอบตรงคำถามหรือเปล่า..เอ้อ
พระนวกะ : ก็ตรงครับ(11.13) อยากจะถามต่ออีกนิดหนึ่ง เรื่องที่..เอ่อสติ..สติสัมปชัญญะนี่บอกว่าก็จะเป็นอาหารต่อไป ให้กับ..เอ่อ..ให้กับอินทรียสังวร แล้วก็อินทรียสังวรก็จะเป็นอาหารต่อไปให้กับเอ่อ..สุจริต๓ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ใช่ไหมครับ แล้วก็จะเป็นอาหารต่อไปให้สติปัฏฐาน๔(11.41) โภชฌงค์๗ แล้วก็จนถึงวิมุตเลยตรงนี้ แล้วทีนี้..เอ่อไม่..ไม่ทราบจะถามยาวไปหรือเปล่าว่า แล้วช่วงระหว่างที่สติสัมปชัญญะครบสมบูรณ์แล้วจะไปเป็นอินทรียสังวร ตรง..ตรงนี้ละครับ คือยังไม่ได้ยัง..ยังไม่เห็นภาพตรงจุดนี้
ตอบ : อ้าวแล้วอินทรียสังวรคืออะไร(12.04)ละก็คือความสำรวมอินทรีย์ คำว่าสำรวมก็คือว่าทำให้อินทรีย์มันอยู่กับภาวะที่เป็นกุศลได้โดยที่ว่าไม่เที่ยววุ่นวายไปกับอารมณ์ที่มาล่อเร้า..นะ ให้เกิดความลุ่มหลงเป็นต้น ทีนี้ว่าไอ้ตัวที่จะมาทำให้อินทรีย์ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา(12.34)เนียะ ไม่วุ่นวายถูกล่อหลอกไปได้ ก็คืออะไร ก็คือสติ สติมัน..มันมากับสัมปชัญญะที่มีความรู้ปัญญา ก็เราเรียนมาแล้วเนี่ยไอ้สตินี่มันมี มันเป็นตัวจับไว้กับหลัก หลักนั่นเรารู้แล้ว(12.53)เรารู้ว่าไอ้นี่เป็นกุศลไอ้นั่นเป็นอกุศลไอ้นั้นไม่ดี และการปฏิบัติของเรามุ่งหมายอะไรเรารู้จุดหมายรู้หมดแล้ว เรานี่รู้อยู่แล้วปัญญาเรารู้อยู่แล้ว ไอ้สติมันก็เอาพวกนั้นแหละมาเป็นหลัก(13.07) เวลาเราไปทำงานอะไรไปดำเนินชีวิตเนี่ยเราก็ใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเรา เห็นโน่น ดูนี่ที สติมันก็ต้องมาช่วยการใช้อินทรีย์ของเรา ตา หู ฯ ไม่ให้ถูกล่อถูกหลอกออกไปจากหลัก ใช่มั๊ย เอ่อสติมันก็เอ้า..เธอนะ หลัก(13.30)ของเรามีอย่างนี้รู้อยู่แล้วนี่ มันจับไว้นี่ ไอ้นี่มันจะออกไปถูก โลภะ โทสะ โมหะ กามฉันทะ หรืออะไรก็แล้วแต่ใช่มั๊ย อารมณ์นี่มันล่อเล้านี่..ใช่มั๊ย มันเป็นตัวกระตุ้นจะล่อออกไป สติมัน..เค้าก็คอยดึงไปซิ (อ้าวชั่วโมงหนึ่งแล้ว) สติมันก็ดึงไว เรียกอีกอย่างก็คือเตือนไว มันเหมือนนายประตูนะ(13.58) นายประตูมันก็เตือนไว้อย่าให้เขวนะ ไม่ให้เขวไปก็คือว่าให้การใช้อินทรีย์ของเราเนียะไม่ถูกล่อเร้าให้ออกไปเกิดโลภะ โทสะ โมหะ แต่ให้อยู่กับสิ่งที่เป็นกุศล เช่นว่า ให้เกิดปัญญา ให้รู้เข้าใจอะไรต่ออะไร ซึ่งมันก็ไปพร้อมกับความรู้ที่เรียกว่า “สัมปชัญญะ” มันก็เป็นตัวที่เหมือนกับในแง่หนึ่งเหมือนกับที่กำกับเราไว้(14.31)ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ท่านจึงเรียกว่าเหมือนหางเสือไง เหมือนกับเรือแล่นไปนี่นะหางเสือมันก็กำกับไว้ไม่ให้เรือออกนอกทิศนอกทาง สติจึงมีคำอุปมาหลายอย่าง เป็นเหมือนเชือกดึงบ้าง เป็นเหมือนหางเสือบ้าง เป็นเหมือนนายประตูบ้างนะ ถ้าเป็นนายประตูก็ตรวจคนเข้าออก(14.52) อ้า..มันก็อินทรีย์ของเราเหมือนกัน อารมณ์ที่มันจะล่อเร้าให้เขวออกไปทาง โลภะ โทสะ โมหะ ไอ้เจ้าสติมันรู้นี่ไอ้เจ้านี่มันจะผิดหลักไม่ถูกหลักแล้ว มันก็กันไม่ให้เอารับอารมณ์นี้เข้ามาเหมือนนายประตู เรารู้หลักอยู่แล้วว่าคนอย่างไหน(15.13)จะให้เข้าหรือไม่ให้เข้า สติมันก็เหมือนนายประตูกันแล้วก็ตรวจไว้ โดยสัมปชัญญะเข้ามาทำงานให้เวลาจะตรวจจะพิจารณา(15.24) สติเป็นตัวก็จำไว้ ดึงไว้ กั้นไว้ ยั้งไว้ เอ้อ..ไอ้เจ้าตัวนี้อย่าเพิ่งไปนะว่างั้น ไอ้สติมันก็กั้นไว้ก่อน..ใช่มั๊ย ไอ้สัมปชัญญะมันเป็นปัญญามันรู้มันตรวจได้อีกใช่มั๊ย(15.37) มันก็ทำงานคู่กันไป เข้าใจมั๊ย เพราะฉนั้นอินทรียสังวรมันทำงานได้ก็เพราะไอ้เจ้าสตินี่แหละ(15.47) ไม่ใช่ทำงานได้..มีอินทรียสังวรณ์ได้สำเร็จก็เพราะว่าสติมาทำงาน(15.50) ถ้าไม่มีสติทำงานก็จบ เพราะว่าอารมณ์ที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่แหละตัวร้ายแหละ..ใช่มั๊ย(15.58) ก็คือชีวิตของเราวันวันก็อยู่ด้วยอารมณ์สิ่งที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และไอ้เจ้าพวกนี้แหละที่มันจะล่อเราไปทางไหน จะเป็นกุศล หรือ อกุศล ใช่มั๊ย เจ้าโลภะ โทสะ โมหะ ก็เลยว่าอินทรียสังวรณ์(16.15) เป็นข้อปฏิบัติที่จะมากันไว้ให้อารมณ์ล่อเร้าภายนอกมาชักจูงให้เราไปในทางแดนอกุศล ทีนี้อินทรียสังวรณ์จะดำเนินไปได้ก็ต้องอาศัยสตินะ(16.27) เอานะ..(หัวเราะ) เอ้า..นิมนต์สงสัยอะไร
พระนวกะ : พอพูดถึงเรื่อง(16.34)อินทรียสังวรณ์ครับ ก็เลยมีคำถามต่อเนื่อง เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในโลกภายนอกนิดหนึ่งว่า ถ้าอย่างเราฝึกปฏิบัติในเรื่องควบคุมอินทรียสังวรณ์ ควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (16.44)ที่รับเข้ามาเนี่ย บางครั้งเนี่ยมัน..มันมีผลต่อมนุษยสัมพันธ์ที่เราปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในโลกภายนอก เอ่อ..บางทีรู้สึกมีผลทำให้เราดูเหมือนเป็นคนยึดในหลักการนี้มากๆ(16.58) อย่างเช่นไม่รู้จักผ่อนปรนเลย บางทีในการสังสรรค์ก็ตาม เลี้ยงลูกน้องหรือเพื่อนฝูง บางทีเหมือนดึงเราไปทางนั้นบ้าง ก็เลยอยากจะถามพระเดชพระคุณว่าจุดที่พอเหมาะพอดีเกี่ยวกับ “มนุษยสัมพันธ์” กับ “อินทรียสังวรณ์” มัน..มันอยู่ตรงไหน มีข้อแนะนำมั๊ยครับ
ตอบ : ไม่เป็นไร ในกรณีนี้อินทรียสังวรณ์(17.18)มันเป็นเพียงช่วยให้เราไม่หลงระเริงไป คือเรารู้ คือเราต้องอยู่ด้วยปัญญารู้เท่าทัน มันมีสัมปชัญญะด้วย สติมันมากับสัมปชัญญะ เรารู้ว่าเวลานี้เราอยู่ในสถานการณ์ไหน(17.31) แล้วเราก็ต้องดูว่าในเรื่องนี้ขอบเขตความพอดีแค่ไหน เราตระหนักอย่างไร ฉนั้นถ้าเราจะ..นึกว่าเราอาจจะมีปัญหา(17.41)กับเรื่องนี้ได้ เราก็อาจจะเตรียมใจไว้บ้างโดยใช้ปัญญาพิจารณา(17.45) ให้เห็นว่า..เอ้อ..ในเรื่องนี้เช่นความสนุกสนานเรื่องนี้นะ ขอบเขตของความพอดีที่จะไม่เกินเลย(17.54)ไปเนี่ยะ ไม่เลยเถิดไปแค่ไหน พอเรากำหนดได้แล้วเราก็จะได้เอาสติมา สติมันก็จะมาคุมเอง อินทรียสังวรณ์ก็มาในขณะนั้นนะ เข้าใจมั๊ยฮะ เราตั้ง(18.08)เกณฑ์ไว้ก่อน ไม่ใช่ว่าเราก็ไป..เอ้เราจะทำยังไงดี เราก็สมาธิไม่มี เราก็ยุ่งซิ ใช่มั๊ยฮะ ก็เรียกว่าเราตระหนักไว้ก่อนแล้ว..ว่าแค่ไหนมันพอดี แค่ไหนมัน(18.21)เลยเถิด มันกลับมาช่วยทำให้เราไม่เลยเถิด ไม่งั้นเราก็อาจจะเลยเถิดเกินไป นี่แหละครับอินทรียสังวรณ์มาช่วย ทีนี้มัน..มันมองสองด้าน ไอ้การที่เราไม่แสดงออกเลยเถิดนั้นเป็น(18.37)ด้านหนึ่งเท่านั้น แต่..สิ่งที่สำคัญเนี่ยท่านมุ่งในแง่ฝึกตนก็คือว่าก็เพื่อตัวเรานี่แหละจะได้ไม่ลุ่มหลง จะไม่เสียหาย จะไม่ได้ออกนอกลู่นอกทาง(18.52) ทีนี้ถ้าเรามีหลักการของเราไว้แล้ว เราก็อาศัยสติไปทำงานในตอนอินทรียสังวรณ์เนี่ย ก็คือว่าเมื่อเราเข้าไปในกิจกรรมนั้นเนี่ย เรา(19.03)จะต้องได้รับอารมณ์อะไรต่างๆ ล่อเร้า ชักจูง อะไรต่างๆบ้าง เราก็จะไม่หลงเตลิดเพลิดไปตามนั้น ไม่ใช่เพียงการแสดงออกเท่านั้นนะ แต่ว่าที่รับเข้ามาเนี่ยะจะไม่มาเป็นตัวอิทธิพลทำให้เราเนี่ยลุ่มหลง อะไรต่างๆไปด้วย อันนี้ส่วนนี้ที่สำคัญ(19.24)คือไม่ให้มันมาเป็นตัวชักจูงเราให้เสีย จะให้เราได้ประโยชน์เมื่อเราเข้าไปอยู่ในนั้น(19.32) เราก็ตระหนักนอกจากจุดมุ่งหมายไม่เกินไม่เลยแล้ว เนี่ย..เรายังมีว่าเอ้อกิจกรรมนี้มีเป็นการสังสรรค์มนุษยสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกัน แล้วก็อาจจะทำให้เป็นส่วนประกอบเป็นปัจจัยในการอยู่ร่วมกันที่ดี แต่ถ้าคนไม่รู้จักมีความสัมพันธ์ที่ดีในการสนุกสนาน(19.56) ดีไม่ดีก็ไปทะเลาะวิวาทกันด้วยซ้ำเสียหาย เพราะฉนั้นไอ้จุดหมายที่แท้มันอยู่ที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีเราสนุกสนานกันเนี่ย(20.03) หนึ่งเราก็ไม่ใช่ไปมัวหลงระเริง สองเราต้องให้กิจกรรมนี้เป็นเครื่องส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี(20.12)ก็ตั้งจิตเมตตาเป็นต้น ในแง่ต่อผู้อื่นเราก็ตั้งจิตเมตตาไป เราปรารถนาดีต่อทุกคนอยากให้ทุกคนได้ประโยชน์จากกิจกรรมนี้นะ(20.23) และเราก็จะคุม ไอ้สติมันจะบอกหมดเลย เมื่อเราตั้งหลักไปงี้แล้ว นี่คือเราเตรียมหลักให้สติ ไอ้สติไม่ใช่อยู่เฉยๆมันจะคว้าได้หมดนะมันต้องมีหลักให้อยู่แล้ว ท่านจึงเรียกว่ามีคติให้เพื่อสติจับ(20.41) ถ้าคนยังไม่มีอะไรให้ท่านก็เอ้าหาคติไปสักอันหนึ่งสติมันจะได้เอาคตินี้ไว้จับ(20.50) ทำไมเค้าจึงบอกว่า เอ้อ..ถ้าจะโกรธอะไรให้นับสิบก่อนนะ ไอ้นับสิบนี้เป็นตัวอย่างของคติ มันเป็นการตั้งหลักให้ เพื่อให้สติมันมีที่จับ พอมันเกิดเรื่องจริงๆขึ้นมาใช่มั๊ย(21.05) ไอ้นั่นมันด่าเราแล้ว เราจะโกรธแล้ว สติมันก็ต้องหาที่จับทีนี้ ถ้าเคว้งคว้างมาหาที่จับยากมันก็เลยไม่ค่อยได้ผล ทีนี้(21.17)ไอ้สติมันได้คติไว้ก่อนแล้ว มันจำไว้เลยนะ สตินี้แปลสองอย่าง หนึ่งจำสิ่งที่ควรจำได้ไม่หลงลืม สองก็ดึงจิตไว้ได้กับสิ่งที่ควรจะเป็นหลักของจิตที่ได้ประโยชน์ที่จะเกี่ยวข้อง ทีนี้ว่าหลักนี้เราได้อยู่แล้ว เอ้อ..ก่อนจะโกรธนับสิบก่อนนะ(21.42) พอไปเกิดเรื่องขึ้นมาสติมันก็ได้หลักปั๊ปจับได้เลยใช่มั๊ยไม่ต้องมัวหาที่จับแล้ว จับปุ๊ปมันก็เอามาใช้เลย ฉนั้นก็เลยว่าเรามีการสอนภาษิตหรืออะไรต่ออะไรเป็นคติเนี่ยเพื่อจะช่วยสติ พอมีคติปั๊ปไอ้สติก็มีที่จับ..เข้าใจนะฮะ ทีนี้ว่าเวลาเราจะเข้าสู่กิจกรรมเราก็พิจารณาไว้ก่อนแบบสบายสบาย เอ้อ..กิจกรรมนี้นะเพื่อความสนุกสนานร่าเริง ต้องทำให้พอดี ให้เกิดคุณประโยชน์ อย่าให้เกิดโทษ(22.18)ทั้งตัวเราและผู้อื่น ตัวเราก็อย่าไปมัวหลงระเริงแล้วก็เลยเถิด หนึ่งก็ไม่หลงระเริงทำให้เสียหายในจิตใจ(22.27)ของเรา ออกนอกลู่นอกทาง สองก็ไม่เตลิดแสดงออกเกินไป แล้วก็ในแง่ผู้อื่นกิจกรรมนี้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทำให้คนมีความมิตรไมตรีกันยิ่งขึ้น เอ้อ..ต้องให้ได้นะจุดมุ่งหมายเหล่านี้ ฉนั้นเวลาเราเข้าสู่การปฏิบัติในนั้นนะไอ้สติมันก็จะจับเอาหลักเหล่านี้ไว้ซึ่งเป็นความมุ่งหมายในตัวใช่มั๊ยว่าเอ้อ..หนึ่งเราไม่เตลิดไป ไม่ถูกล่อเร้าชักจูงเสียหาย สองเราไม่แสดงอาการเลยเถิดเกินขอบเขตที่พอดี(23.02) สามเราช่วยหมู่คณะด้วยว่าไม่ให้เสียหายให้อยู่ในความเป็นมิตรไมตรีเป็นเครื่องส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี มีอย่างเราไปสนุกสนานเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีกลับไปทะเลาะกันเสียนี่เลยกลายเป็นศัตรูกันไปหรือทะเลาะวิวาทเกิดเรื่องเข้าคุกกันก็มี..ใช่มั๊ย แทนที่มันจะเป็นอย่างนั้น มันผิดแล้ว ไอ้สติของเรามันช่วยคนอื่นได้ด้วย(23.26) ช่วยทั้งตัวเอง ช่วยผู้อื่น เราก็คอยคุมไว้ให้มันอยู่ในขอบเขต เลยนอกจากเตือนตัวเองเตือนผู้อื่นได้ด้วยอีก แล้วแต่เหตุการณ์ ก็ดีหมดเลย พอเห็นไหมฮะ เอานะ..ให้ได้ นี่แหละอินทรียสังวรณ์ก็มีประโยชน์ เอ้ามีอะไรไหม...ไม่มีแล้วนะ ก็เอา..เอ้านะ