แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ก็ขอสรุป สรุปอีกทีเป็นหัวข้อสุดท้ายข้อที่ 6 เอามาบรรจุกับพุทธศาสนานิดหน่อย เอาอย่างนี้เลยก็เป็นด่วนหน่อยตอนนี้จะพูดแบบว่าเหมือนกับท่านจะอ่านเลย คือพุทธศาสนานั้นมองว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในธรรมชาติ ธรรมชาติของมนุษย์มีทั้งรูปธรรม และนามธรรมที่จะต้องรู้เข้าใจ และความรู้เข้าใจนั้นจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง
พุทธศาสนายืนยันว่ามนุษย์สามารถเข้าถึงสัจธรรม หรือเข้าถึงความจริงของธรรมชาติได้ และการเข้าถึงความจริงแท้นั้นจะมีความหมายเป็นการเข้าถึงอิสรภาพของมนุษย์เองด้วย และในการที่จะเข้าถึงอิสรภาพของมนุษย์นั้นก้าวแต่ละก้าวในการเข้าถึงความจริงนั้นก็คือการพัฒนาตนเองของมนุษย์ ได้แก่ การพัฒนาปัญญา เป็นต้น สถานะของมนุษย์ในจักรวาลนั้นชัดเจนมาแต่ไหนแต่ไรเป็นพันๆปีว่า มนุษย์เป็นสมาชิกตัวหนึ่ง สมาชิกหนึ่งอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติเป็นไปตามหลักไตรลักษณ์ มีอนิจจังไม่เที่ยง เป็นต้น และมนุษย์นั้นอยู่ในโลกซึ่งเป็นหน่วยย่อยภายในจักรวาลมากมายแสนโกฏิจักรวาล ใช้คำโบราณว่าอย่างนั้น คำว่าแสนโกฏิจักรวาลนี่พูดกันมาไม่รู้นานเท่าไหร่ และก็มนุษย์ปฏิบัติถูกต้องก็อยู่ได้สบายๆพอสมควร ที่นี้เรามาดูว่าในอารยธรรมตะวันตก มนุษย์นั้นมีโลกทัศน์ที่นำไปสู่แนวความคิดที่ว่าจะต้องไขว่คว้าหา security ความมั่นคง คือจากโลกทัศน์ของเขาเนี่ยทำให้อารยธรรมตะวันตกเนี่ยมีลักษณะอย่างนี้เสมอมา คือการไขว่คว้าหาความมั่นคง และการที่จะเป็นเจ้านาย dominate ธรรมชาติ อันนี้เป็นความไขว่คว้าในอารยธรรมตะวันตก และก็ในการทำอย่างนี้ก็ผูกตัวเกาะติดกับโลกเพื่อจะมีอำนาจครอบงำ ส่วนในทางพุทธศาสนานั้นมีโลกทัศน์ของการให้รู้เท่าทันความจริงตามที่มันเป็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง แล้วปฏิบัติให้ถูกต้องต่อภาวะอนิจจังนั้น ดำรงตนอยู่ได้อย่างเป็นอิสระ อันนี้ต่างกันมาก ตอนนี้มีนักเศรษฐศาสตร์คนหนึ่ง เขียนบอกว่าคนอายุต่อไปนี้จะสอนลูกของตัวเองเนี่ย อย่าไปสอนเลยว่า ทำยังไงจะมี security แต่จะต้องสอนว่าทำไงจึงจะ handle uncertainty ได้ อันนี้สำคัญนะ คนในยุคนี้จะมาถึงจุดนี้แล้ว อย่าไปสอนให้ลูกทำว่าหาทางทำตัวให้มีความมั่นคง แต่ว่าทำไงจะให้ลูกฉลาดมีความสามารถที่จะจัดการกับความไม่แน่นอนทั้งหลาย นี่ต่างหากที่เยี่ยม แต่พุทธศาสนานี่สอนเรื่องของความจริงพื้นฐานมันเป็นอย่างนั้น อารยธรรมตะวันตกนี่มุ่งอย่างนี้อย่างเดียวเลยจะไขว่คว้าหาความมั่นคง จะ dominate ธรรมชาติ อยู่อย่างนี้ตลอดมาแล้วพัฒนามาอย่างนี้ ในตอนออก พุทธศาสนาบอกให้รู้ความจริงของธรรมชาติที่เป็นอนิจจัง แล้วเราเป็นอิสระได้ อ้าว ทีนี้ก็ เดี๋ยวจะพูดนานไป จะเที่ยงแล้ว จะเที่ยงก็ยอมอดฉันไปเลย แต่ที่จริงจะจบอยู่แล้วอีกไม่กี่คำ ข้อสรุปของวิทยาศาสตร์เป็นข้อสรุปใหญ่นะ อาตมาสรุปให้อีกทีนะ เพราะตอนนี้มันเป็นในตัว concept สำคัญๆ concept สำคัญๆ
1.วิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามาเรื่อย เปลี่ยนแปลงมาเรื่อย พัฒนามาเรื่อย ในการที่จะเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ ถ้าความจริงนั้นก็เปลี่ยนแปลงมาเรื่อย แต่ก็ยังไม่เข้าถึงความจริงนั้น จนกระทั่งถึงจุดที่ยอมรับว่าไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ของธรรมชาติได้ อันนี้อันที่ 1 ความจริง
แต่ข้อ 2.รากฐานทางความคิดจิตใจซึ่งเป็นคุณค่าที่แฝงอยู่เบื้องหลังนั้น เป็นอันเดียวตลอดมา นี่สรุปสำคัญนะ นี่สรุปที่พูดมาก็สรุปแบบนี้ด้วย ในแง่ความจริง ภาพความจริงเปลี่ยนเรื่อย แต่คุณค่าอยู่เบื้องหลังอันเดียวตลอดมา ทีนี้ก็ต้องพัฒนาโดยยอมรับปรับเปลี่ยนทั้ง 2 ข้อ ทั้ง 2 ข้อนี้เป็นจุดเด่น วิทยาศาสตร์จะต้องมาตกลงว่าจะเอายังไง การพัฒนาวิทยาศาสตร์ต่อไปจะสำเร็จอย่างไรอยู่ที่จัดการกัน 2 ข้อนี้ทีนี้ต่อไป ทีนี้มาดูลำดับความคิดนิดหน่อย บอกว่าวัฒนธรรมตามคำสอนของศาสนาตะวันตก บอกว่ามนุษย์ถูกสร้างให้เป็นนายเหนือธรรมชาติ แต่อยู่ใต้อำนาจต้องเคารพบูชาเทพเจ้า มนุษย์นี้ถูกสร้างมาให้อยู่เหนือธรรมชาติแต่อยู่ใต้เทพเจ้า ทีนี้วิทยาศาสตร์ว่าไง วิทยาศาสตร์ก็บอกว่า วิทยาศาสตร์จะให้มนุษย์นี้เป็นนายเหนือธรรมชาติเหมือนกัน โดยพึ่งพาอาศัยอำนาจของเทคโนโลยี
ในก็เปลี่ยนแล้วนะ ก็เทพเจ้าของศาสนาตะวันตกนั้นเปลี่ยนมาเป็นเทคโนโลยี เทคโนโลยีคือก้อนของตะวันตก ทางวิทยาศาตร์จะให้มนุษย์เป็นนายธรรมชาติได้ โดยพึ่งพาอาศัยอำนาจของเทคโนโลยี ทีนี้ต่อไปศาสนาตะวันตกบอกว่ามนุษย์ต้องเคารพบูชาเทพเจ้า โดยอยู่ใต้อำนาจความยิ่งใหญ่ของเทพเจ้า เพื่อว่าตนจะได้ครอบครองความเป็นใหญ่เหนือธรรมชาติและก็เข้าถึงความสุข อันนี้จำให้ดีนะ มนุษย์เคารพบูชาเทพเจ้าอยู่ใต้อำนาจของเทพเจ้า และตัวก็ได้เป็นใหญ่เหนือธรรมชาติ แล้วก็เข้าถึงความสุข วิทยาศาสตร์ก็บอกว่ามนุษย์จะพึ่งพาเทคโนโลยี โดยอาศัยอำนาจของเทคโนโลยีเพื่อตนจะได้ครองความเป็นใหญ่เหนือธรรมชาติ เอาธรรมชาติมาใช้บำเรอความสุขนะ บำเรอความสุขเหมือนกัน เข้าถึงความสุข ทีนี้มาพุทธศาสนา พุทธศาสนาบอกว่าไง พุทธศาสนาบอกว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในธรรมชาติ สามารถมีความดีความงามประเสริฐจนเป็นที่เคารพบูชาของเทพเจ้าได้ อันนี้ทัศนะไปคนละเรื่องเลย ทีนี้ก็ต่อไป ก็บอกว่ามนุษ์จะเป็นที่เคารพบูชาเทพเจ้าได้ก็ด้วยการพัฒนาตน พัฒนาปัญญาขึ้นมา และปัญญานั้นก็จะทำให้เกิดอิสรภาพ โดยเป็นอิสรภาพท่ามกลางธรรมชาติด้วย และก็เมื่อมาถึงเทคโนโลยี พุทธศาสนาก็จะตอบแบบนี้ มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งในธรรมชาติ มนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างมีความเป็นอิสระของตนได้ จึงไม่ต้องขึ้นต่อเทคโนโลยี และก็มนุษย์สามารถดำรงความเป็นอิสระ โดยใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทันคุณโทษของมัน เพื่อตนจะได้อยู่ร่วมในธรรมชาติได้ด้วยดี มีความสุขในความอิสระท่ามกลางธรรมชาติ อันนี้ข้อสรุปในตอนนี้ก็คือว่า มนุษย์สามารถมีอิสรภาพได้โดยไม่ต้องไปครอบงำผู้อื่น อันนี้จุดสำคัญนะ คือตะวันตกนั้นมองจุดว่า เราต้องอยู่ในความทางอิสรภาพ อิสรภาพของเราคือการที่เราไปครอบงำมัน ต้องไปจัดการมีอำนาจเหมือนมัน แต่พุทธศาสนาบอกว่าเราสามารถมีอิสรภาพได้โดยไม่ต้องไปครอบงำผู้อื่น อันนี้ก็เป็นอันหนึ่ง แล้วก็ทัศนะนี้ก็โยงไปถึงความสุข คือความสุขในอารยธรรมตะวันตกจะต้องอาศัยสิ่งภายนอก มนุษย์จะต้องขึ้นต่อสิ่งอำนวยเอื้ออำนวยความสุขจากภายนอก มนุษย์บอกว่าให้พุทธศาสนาบอกว่ามนุษย์สามารถเข้าถึงความสุขโดยลำพังภายในตัวเอง อ้าว สิ่งที่มีภายนอกมาเป็นเครื่องประกอบเสริมความสุขเท่านั้นนะ อันนี้จุดในด้านคุณค่านี้จะเป็นตัวที่ทำความแตกต่างหมดเลยในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และความรู้ของมนุษย์ ฉะนั้นเราจะต้องมาทำความสุขให้เกิดขึ้นในภายในมิได้โดยลำพังตัวเองในของภายนอก เทคโนโลยีมาไม่เป็นไร มาเสริมความสุข แต่ถ้ามองแบบตะวันตก เราจะมีความสุขไม่ได้ถ้าขาดเทคโนโลยี อ้าวทีนี้ ก็อารยธรรมตะวันตกโดยสรุปแล้วก็แล่นจากสุดโต่งหนึ่งไปสู่สุดโต่งหนึ่ง แต่อยู่ในแนวคิดอันเดียวกัน คือ ปรารถนาอำนาจครอบงำธรรมชาตินั้นถึงเวลาที่จะต้องหาจุดพอดีแห่งทางสายกลางที่จะรู้จักความจริงทั้งของธรรมชาติภายนอกและธรรมชาติภายในของตนเอง อย่างที่ว่าทั้งโลกวัตถุ และโลกจิตใจ และก็ทำให้ความรู้นั้นเป็นการพัฒนาตนเองที่จะนำไปสู่อิสรภาพ และให้มนุษย์เป็นอยู่ดีอย่างมีความสุขได้ โดยที่ตนเองกับธรรมชาติมีความกลมกลืนและเกื้อกูลต่อกัน อันนี้ความสัมพันธ์กับธรรมชาติจะต้องเปลี่ยนไป โดยอยู่ร่วมกันได้ กลมกลืนและเกื้อกูลต่อกัน ที่ผ่านมาคือมนุษย์เนี่ยยังไม่มีความสามารถให้มาประสานเกื้อกูล แต่มันยังมีความเป็นปฏิปักษ์ เมื่อธรรมชาติมาบีบคั้นมนุษย์ มนุษย์ก็แย่ ทีนี้มนุษย์คิดตรงข้ามไปจัดการกับธรรมชาติ จะทำไงตอนนี้เราคิดใหม่ว่า ทำไงให้มนุษย์เนี่ยอยู่กับธรรมชาติได้ แต่ว่าแทนที่จะปล่อยให้ธรรมชาติมาเบียดเบียนเนี่ย เราทำให้มันเกื้อกูลกัน อันนี้คือเรื่องของการศึกษาและคุณค่าที่แท้ของวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง ตกลงว่ามันมี 2 ด้าน เรื่องตัวความรู้และก็คุณค่าที่เกิดจากความรู้นั้น อาตมาก็พูดมามากมายเกินเวลาเยอะแยะแล้ว ตอนนี้ก็เกินเวลา ก็ขออนุโมทนาทุกท่านในที่ประชุม ก็ขออนุโมทนาที่ได้กรุณารับฟัง ปาฐกถามาจนจบ และก็ขออวยชัยให้พรให้ทุกท่านได้มีความเจริญก้าวหน้าในทางความรู้ ในการพัฒนามนุษย์ของเรานี้ ให้เข้าถึงอิสรภาพให้เกิดประโยชน์สุขที่แท้แก่สังคมและชีวิตของมนุษย์สืบไป ตลอดชั่วกาลนิจนิรันดร์เทอญ สาธุ