แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ก็ได้คุยกันมาเยอะแล้วในเรื่องทั่วๆไป ก็ว่าจะเข้าสู่หลักการพระพุทธศาสนาซะที ก็นึกว่าควรจะพูดไปเชื่อมโยงถึงความเป็นมาก่อนเกิดพระพุทธศาสนา ซึ่งที่จริงก็พูดไปในเรื่องราวที่ผ่านไปแล้ว ก็เป็นส่วนประกอบ คร่าวนี้ว่าเราจะเข้าเรื่องก็ควรจะมาทบทวนหรือจัดให้เป็นลำดับเสียนิดน่อย เพราะฉะนั้นก็จะไปซ้ำกับเรื่องที่พูดไปแล้วบ้าง
พระพุทธศาสนานั้นเกิดในประเทศอินเดีย หรือว่าเรียกภาษาเก่าว่า “ชมพูทวีป” ชมพูทวีปนั้นเป็นดินแดนที่เจริญด้วยอารยธรรมมาแต่โบราณ ตามที่นักประวัติศาสตร์สืบกันขึ้นมาก็บอกว่า เคยมีอารยธรรมเก่าแก่ในอินเดีย ตั้งแต่ซักห้าพันปีมาแล้ว เป็นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งยังมีซากทางโบราณคดีอยู่ ต่อมาก็มีชนเผ่าที่เร่ร่อน เป็นนักรบบนหลังม้าก็เก่งกล้าในการสงครามก็บุกเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือก็มาสู้รบกัน และพวกที่เข้ามาใหม่นี้ชนะ พวกที่เข้ามาใหม่จากตะวันตกเฉียงเหนือ เรียกว่า อารยัน ในภาษาบาลีเรียกว่า อริยกะ พวกนี้ต่อมาก็ใช้ศัพท์เป็นความหมายว่า ผู้เจริญ เราจะเห็นว่าคำว่า อริยะ ก็แปลว่า ผู้ประเสริฐ หรือ ผู้เจริญ เป็นภาษาสันสกฤตว่า อริยะ(อารยะ) ฝรั่งเรียกว่า อารยัน ก็เป็นชนเผ่าหนึ่ง ชนพวกเก่าที่อยู่ลุ่มแม่น้ำสินธุนั้นที่จริงเขามีอารยธรรมรุ่งเรืองกว่า เขาตั้งบ้านตั้งเมือง มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม มีเรื่องวิถีชีวิตอะไรต่างๆที่พัฒนาไปมากแล้ว แต่ว่าแพ้ ในสมัยโบราณก็จะมีเรื่องราวเช่นนี้เยอะ ที่ว่า พวกที่มีอารยธรรมเจริญตั้งบ้านตั้งเมือง และต่อมาก็แพ้พวกที่ เป็นพวกคนป่าเถื่อนบุกรุกเข้ามา ทีนี้พวกชมพูทวีปนี่ก็ เป็นอันว่าพวกที่ตั้งหลักฐานอยู่เดิมลุ่มแม่น้ำสินธุก็แพ้ พวกอารยันก็เข้ามา เข้ามาครอบครองและก็รับเอาความเจริญของพวกนี้เข้าไปด้วย คนพวกเก่านี่เมื่อแพ้ ถูกลดฐานะลงไปหรืออาจจะถูกจับเป็นทาส เป็นคนชั้นต่ำ อันนี้ก็อาจจะเป็นเบื้องหลังของการที่เกิดเป็นชนวรรณะต่างๆด้วย พวกอารยันที่เข้ามาก็ยกตัวสูงขึ้นไป ก็มีการแบ่งชั้นวรรณะ คนในถิ่นเดิมนี่ ก็กลายเป็นคนชั้นทาส ชั้นต่ำ พวกตัวเอง อารยัน ก็เป็นคนชั้นสูง ในหลักการของพวกอารยันในตาม อารยัน นี่ก็ มีวัฒนธรรมที่สืบมาโดยศาสนา ตามหลักศาสนาพราหมณ์ก็จะถือเอา พวกอารยันหมายถึงคนวรรณะสูง ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ และแพศย์ ส่วนพวกวรรณะต่ำสุดก็ไม่เป็นอารยัน ไม่เป็นอริยกะ เพราะฉะนั้นความหมายของ อริยะ เดิมเนี่ยนะ ก่อนที่จะเกิดพระพุทธศาสนา ความหมายของ อริยะ เป็นเรื่องของชนชั้น ตามหลักศาสนาพราหมณ์ หรือที่จริงก็คือตามหลักวัฒนธรรมเดิมของพวกที่เข้ามาจากภายนอก เรื่องราวในแง่ประวัติศาสตร์ก็เป็นการสันนิษฐานเท่าที่เขาค้นคว้าได้
เรามาพูดกันในแง่ของความเชื่อถือทางศาสนา การถือปฏิบัติซึ่งกันมา ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้จะชัด เพราะว่ามันไปอยู่ในบทบัญญัติของศาสนาและก็เป็นเรื่องของการถือปฏิบัติมาในชีวิตจริงที่สืบกันมา และตอนนี้จะตัดตอนเรื่องประวัติศาสตร์ เราจะไม่ค่อยเข้าไปเกี่ยวข้องนอกจากว่าจะพูดถึงในเมื่อมันเกี่ยวโยงเข้ามาบ้าง พวกอารยันก็อยู่ในอินเดียมาก็เจริญ สร้างบ้านสร้างเมืองกัน จนกระทั่งมาถึงยุคพุทธกาล เมื่อถึงยุคพุทธกาลนั้นสังคมชมพูทวีปหรืออินเดีย อยู่ภายใต้ความเชื่อถือการประพฤติและการปฏิบัติตามหลักศาสนาพราหมณ์ ศาสนาที่พวกอารยันนำเข้ามา ศาสนาพราหมณ์ ถือว่าการที่คนเป็นวรรณะเป็นชั้นต่างๆ ซึ่งที่จริง คำว่า วรรณะเองก็แปลว่า สีผิว นั่นเอง แสดงว่าเดิมมันคงเกิดจากการที่ว่าแบ่งสีผิวกัน หรือว่าสีผิวเป็นเครื่องกำหนด เพราะพวกที่เข้ามาใหม่ก็คงสีผิวอย่างหนึ่ง และก็พวกที่อยู่เดิมในอินเดียก็สีผิวหนึ่ง ก็แยกสีผิวกัน ศาสนาพราหมณ์ ต่อมาก็ได้มีบทบัญญัติลงไป บอกว่าการที่แบ่งเป็นชนชั้นวรรณะต่างๆเหล่านี้ เป็นความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ พระพรหม เป็นเทพสูงสุด ก็ขอย้อนเล่าไปนิดนึงว่าเดิมทีเดียวนั่น ตอนที่พวกอารยันเร่ร่อนนั่น เขาก็นับถือเทพเจ้า เช่นเดียวกับพวกคนในสมัยโบราณ พวกอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุก็ย่อมนับถือเทพเจ้าเหมือนกัน เมื่อสองเผ่านี้เข้ามาอยู่ด้วยกันแล้ว เรื่องของเทพเจ้าต่างๆก็จะมีการที่อาจจะเข้ามาผสมกลมกลืนหรือมาปะปนอะไรกันบ้าง เดิมเขาสันนิษฐานเหมือนกันว่า ตอนที่พวกอารยันเร่ร่อน พระอินทร์น่าจะเป็นเทพเจ้าสูงสุด แต่ว่าเขาก็นับถือเทพเจ้ามากมาย จนกระทั่งมาอยู่ในอินเดียแล้วก็พัฒนาความเชื่ออะไรต่างๆกันขึ้นมา จนกระทั่งในที่สุดก็มีเทพเจ้าสูงสุดผู้เดียวก็คือ พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก เทพเจ้าอื่นก็ลดหลั่นต่ำลงมา เพทเจ้าสูงสุดพระพรหมก็เป็นผู้สร้างสรรค์บันดาลโลกและทุกสิ่งทุกอย่าง พราหมณ์ก็บอกว่าที่มนุษย์แบ่งกันเป็นวรรณะต่างๆเป็นชนชั้น มาจากการสร้างสรรค์บันดาลของพระพรหม พระพรหมท่านสร้างมาเรียบร้อยแล้ว ให้ใครเกิดมาอยู่ในคนวรรณะไหน ก็แบ่งคนเป็นวรรณะสี่ คือ ของเขาเขาเรียก พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ถือว่าพราหมณ์เป็นวรรณะสูงสุด ทางกษัตริย์ก็พยายามที่ถือว่ากษัตริย์สูงสุด ก็จะเรียง กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร สองวรรณะสูงสุด คล้ายๆว่าอาจจะมีการแย่งอำนาจกันอยู่เหมือนกัน พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร พราหมณ์นั้นเป็นพวกปัญญาชน เป็นพวกศึกษาคัมภีร์ เป็นเจ้าหน้าที่ศาสนา เป็นเจ้าพิธีกรรม ตอนนั้นความเป็นนักบวช ความเป็นนักวิชาการ ความมีปัญญาอะไรต่างๆอยู่ในคนพวกเดียวกัน ซึ่งสมัยโบราณจะเป็นอย่างนั้น ศาสนาเป็นที่มาของการเจริญทางด้านปัญญา การศึกษารู้ธรรมชาติ เพราะพวกนี้มีเวลาไม่ต้องไปยุ่งกับเรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีพมาก การประกอบพิธีทำให้มีเวลาคิดพิจารณาต่างๆ มีปัญญามากกว่าเขา ได้เป็นผู้รักษาสืบต่อหลักคำสอนที่สืบต่อกันมา พราหมณ์ก็เป็นปัญญาชนเป็นเจ้าพิธี เป็นเจ้าหน้าที่ศาสนา ก็บอกว่าพระหรหมสร้างพราหมณ์ขึ้นมาจากพระโอษฐ์ คือปากของคน สร้างมามีหน้าที่ที่จะได้กล่าวแนะนำสั่งสอนบอกพิธีการจัดอะไรต่างๆ แนะนำ แม้แต่หลักการประพฤติปฏิบัติในสังคม สอง. ชนวรรณะที่สูงเหมือนกันก็คือ กษัตริย์ หรือ ขัตติยะ สันสกฤตก็ กฺษตฺริย บาลีก็เป็น ขัตติยะ ชนพวกนี้ก็เป็นนักรบเป็นนักปกครอง ก็บอกว่า พระหรหมสร้างจากพระพาหาของพระองค์คือแขน แขนก็เป็นเครื่องหมายของการใช้กำลัง การต่อสู้ การรบ ต่อไปวรรณะที่สาม. วรรณะแพศย์ หรือบาลีเรียกว่า ไวศยะ ก็ว่าพระพรหมสร้างจากตะโพกต้นขาที่ใช้เดิน เพราะฉะนั้นพวกนี้จะเป็นพวกพ่อค้าวาณิชย์ เดินทางไปค้าขาย สมัยก่อนนี้พ่อค้าก็จะเดินทางค้าขายจากเมืองนี้ไปเมืองนู้นนำกองเกวียนกัน ภาษาฝรั่งเขาเรียกกัน คาราวาน นำกองคาราวานไปจะมีเรื่องในคัมภีร์เยอะ พวกพ่อค้าพากันเดินทางไปค้าขายจากเมืองนี้ไปเมืองนู้นกองเกวียนกัน ก็จะบอกกันว่า ห้าร้อย ตัวเลขห้าร้อยก็จะเป็นหลัก เพราะมันมาก ต่อไปวรรณะที่สี่. สุดท้ายต่ำสุด เรียกว่า วรรณะศูทร(สูตร) บาลีก็เป็น ศูทร หมายถึงพวกคนชั้นกรรมกร พวกคนรับใช้ คนรับจ้างเป็นแรงงานต่างๆ พวกนี้พราหมณ์ก็บอกว่า พระผู้เป็นเจ้าพระพรหมนั้นสร้างมาจากพระบาทคือเท้า เพราะฉะนั้นก็มารับใช้เขา ทั้งสี่วรรณะนี้ เกิดมาอย่างไรก็ต้องอยู่อย่างนั้นจนตาย และพราหมณ์ก็บอกว่าบอก พระผู้เป็นเจ้าทรงบัญญัติว่า ใครจะอยู่ในสถานะสูงต่ำอย่างไร พรามหณ์จะต้องได้รับความเคารพนับถือยกย่องเป็นผู้ที่สูง เป็นผู้บริสุทธิ์ มีฐานะเป็นที่เคารพบูชา และก็จะต้องเป็นผู้ที่สื่อสารกับพระพรหมได้ บอกความประสงค์ของพระองค์พระผู้เป็นเจ้าว่าพระองค์จะเอาอย่างไรเพราะฉะนั้นคนอื่นต้องเชื่อฟัง พราหมณ์ก็ผูกขาด คัมภีร์ที่พราหมณ์สืบต่อกันมาเป็นที่รักษาคำสอนอะไรต่างๆของพระพรหมที่ท่านสื่อสารมาก็เรียกว่า พระเวทย์. พระเวทย์แบ่งเป็น 3 ส่วนสำคัญ เรียกว่า ไตรเพท ก็มีคัมภีร์เพิ่มเข้ามาอีกจาก ไตรเพท เรียกว่า อถรรพเวท เกี่ยวกับเรื่องของอาถรรพ์ เรื่องของสิ่งไสยศาสตร์ สิ่งลึกลับมาในคัมภีร์นี้ เป็นพระเวทย์ ที่จริงเป็นที่สี่ เขาก็ไม่นับเข้า เขาก็เรียกว่า ไตรเพท อันนี้เป็นพระเวทย์อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ หลักการก็บัญญัติเกี่ยวกับชีวิตคนเรื่องวรรณะอะไรต่างๆก็จะถือตามกันมา ถือว่ามาจากพระพรหมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นพวกวรรณะเหล่านี้ก็ต้องปฏิบัติไปตามจะประพฤตินอกออกไปไม่ได้ ใครเกิดมาในวรรณะไหนก็ต้องทำไปตามและต้องยึดมั่นในวรรณะของตน ถ้าเกิดไปทำอะไรที่ผิดพลาดก็ถือว่าบาป แล้วก็แต่งงานนอกวรรณะข้ามวรรณะไม่ได้ ถ้าแต่งออกมามีลูกเป็นคนนอกวรรณะ เรียกว่า จัณฑาล เป็นคนชั้นต่ำ ถูกดูถูกหนักเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นก็ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ จัณฑาลเป็นพวกที่ต่ำสุด เขาเรียกว่าเป็นพวกที่แตะต้องไม่ได้ คำว่าแตะต้องไม่ได้ จริงๆมันมองในแง่ดีก็คือ มันสูงซะเหลือเกิน แต่ทีนี้มันกลายเป็นว่า ต่ำซะสุด แตะต้องแล้วก็เป็นบาปไปหมด ใครไปถูกตัว อย่าว่าแต่ถูกตัวเลย คนจัณฑาลนี่เดินผ่านมาเงามาคาดที่จานข้าวต้องขว้างทิ้งหมดเลย กินไม่ได้ ข้าวนั้นเป็นเสนียดจัญไร เพราะฉะนั้นก็แตะต้องไม่ได้ ต่อมาเขาเรียกว่าพวก Untouchable (อันทัชเชเบิ้ล) ซึ่งเป็นปัญหา เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นปัญหาในสังคมอินเดียอยู่ เป็นว่าพวกนี้ก็ถือพวกวรรณะรุนแรงมาก ต่อมา ในด้านอื่นๆนอกจากว่าพระเจ้าจะสร้างคนมาแบ่งเป็นวรรณะต่างๆ เพราะเหตุที่ถือว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างสรรค์บันดาลโลกเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด อะไรจะเป็นอย่างไรก็สุดแต่พระองค์ เพราะฉะนั้นก็เกิดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเพทเจ้า แล้วมนุษย์จะทำอย่างไรเพราะอะไรต่ออะไรก็แล้วแต่พระองค์ ก็เราจะได้ดีมีสุขหรือประสบความทุกข์มันก็เป็นเพราะว่าความสัมพันธ์ของเราต่อพระผู้เป็นเจ้าหรือเทพเจ้ามันดีหรือไม่ดี หากว่าราทำไม่ดีพระผู้เป็นเจ้าเทพเจ้าไม่โปรด เราก็แย่ หากว่าเราทำให้ท่านโปรดพอพระทัย เราก็ได้ประสบผลดีที่ปรารถนา แล้วทำอย่างไรล่ะทีนี้ เรามนุษย์มันก็ดีๆร้ายๆ มันก็ประสบเหตุการณ์ความผันผวนเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งภายในชีวิตของตนเอง ในสังคมของตนเอง และก็ในธรรมชาติแวดล้อมที่ตัวบังคับควบคุมไม่ได้ แต่เหตุกาณ์ภัยธรรมชาติน้ำท่วม แผ่นดินไหว อะไรต่ออะไรต่างก็มา คร่าวนี้ทำอย่างไร พวกก็จะต้องไปอ้อนวอน เซ่นสรวงบูชาเอาใจเทพเจ้า ถ้าหากว่าจะมีภัยอันตรายหรือกลัวก็ต้องไปอ้อนวอนขอให้ท่านช่วยป้องกัน ปัดเป่าภยันตราย หรือต้องการผลที่ปรารถนาก็เช่นเดียวกันก็ต้องไปอ้อนวอนเอาอกเอาใจ ซึ่งอันนี้มันก็เป็นแนวเดียวกันกับศาสนาโบราณทั้งหลายอื่นที่พวกนักปราชญ์ ท่านนักวิชาการ เขาบอกว่าเหตุเกิดศาสนาก็มาจากความกลัว โดยเฉพาะภัยธรรมชาติ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว น้ำท่วม ลมพายุ มาอะไรต่างๆเหล่านี้ พวกนี้พาคนประชาชนหวาดกลัว ไม่รู้เหตุรู้ผลมันเป็นมาอย่างไร ก็นึกมองในแง่เทียบกันในสังคมมนุษย์ว่า เราจะเป็นอย่างไรมันก็มีคนที่ใหญ่กว่าเรา ซึ่งจะมาทำร้ายเราหรือมาใช้อำนาจจัดการกับเราได้ นี่คงจะมีอะไรในธรรมชาติที่มีผู้ยิ่งใหญ่มีอำนาจมาบันดาล เพราะฉะนั้นมนุษย์ก็เลยสร้าง ถ้ามองในแง่ของเราก็คือมนุษย์สร้างเทพเจ้าขึ้นมาจากภาพของมนุษย์ด้วยกัน ก็คือภาพของมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ ก็มีเทพเจ้าที่มีอำนาจที่บันดาลทุกอย่าง เพราะฉะนั้นมนุษย์ก็จะไปเส้นสรวงอ้อนวอน ทำให้เกิดศาสนา ศาสนาพราหมณ์ก็มีความสัมพันธ์แบบนี้ พราหมณ์เขาเป็นผู้ที่ติดต่อพระผู้เป็นเจ้าได้ เป็นธรรมดาที่คนทั้งหลายที่เกรงกลัวอำนาจ เร้นลับเหนือธรรมชาติซึ่งมาจากผู้เป็นเจ้าก็ต้องไปติดต่อพราหมณ์ พราหมณ์ก็บอกสิว่าจะต้องทำอย่างไร จะอ้อนวอนกันอย่างไร ต่อมาพราหมณ์มีเวลา พราหมณ์ก็คิดวิธีขึ้นมา พวกเทพเจ้านี่มีมากมาย ตั้งแต่เทพสูงสุดลงมา และก็เทพเล็กๆน้อยๆ มันก็เป็นไปได้ที่ว่า พราหมณ์ก็จะต้องบอกว่า เทพเจ้าองค์นี้นะเก่งในด้านนี้ องค์นี้เก่งในด้านลาภ องค์นี้เก่งในด้านยศ องค์นี้เก่งในด้านของการที่จะให้ผลตามปรารถนาเกี่ยวกับเรื่องครอบครัว การมีลูกหรืออะไรต่างๆเหล่านี้ ก็ว่ากันไป… ทีนี้เทพเจ้าจะลงก็อาจจะชอบเรื่องเซ่นสรวงอ้อนวอนเหมือนกัน พระองค์ชอบอย่างนี้อย่างนั้น พราหมณ์ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญ รู้ใจเทพเจ้ารู้วิธีติดต่อ ทำพิธีกรรมที่จะติดต่อ พิธีกรรมก็กลายเป็นเรื่องเครื่องมือวิธีการ ระเบียบปฏิบัติในการสื่อกับเทพเจ้า ก็คือมีความหมายในเชิงศักดิ์สิทธิ์เร้นลับ ขลังอย่างที่ว่าที่เราพูดกันเรื่องความหมายพิธีกรรมที่คน ชาวบ้านเข้าใจกันเยอะ คร่าวนี้ชาวบ้านก็ต้องการผลในทางที่ปัดเป่าเคราะห์ร้ายหรือว่าต้องการผลในทางโชคลาภก็ไปหาพราหมณ์ พราหมณ์ก็ประกอบพิธีกรรมให้ซึ่งเราเรียกกันว่า เซ่นสรวงบูชา ทีนี้การเอาใจเทพเจ้าซึ่งเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น เราไม่รู้ใจท่าน ก็เอาใจยาก มนุษย์ก็จะต้องทำอย่างดีที่สุดของตัวเอง สมมุติว่าเราไปอ้อนวอนบูชาเซ่นสรวงไปครั้งนี้ก็ไม่ได้ผลสำเร็จ มนุษย์มีความเชื่ออยู่แล้วเทพเจ้าเป็นผู้บันดาลผล ก็ย่อมนึกว่า เอ๊ะเรานี่ทำไม่ถูกพระทัยท่าน เขาไม่นึกเป็นอย่างอื่น เขาไม่นึกว่ามีหรือไม่มี เขาไปนึกในแง่ว่าเราทำไม่ถูกพระทัยพระองค์ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมาดัดแปลงหรือมาเพิ่ม เราอาจจะถวายเครื่องเซ่นสรวงบูชาน้อยไป ก็ต้องมาเพิ่มอีก ทีนี้เพิ่มทำไปหรือไปหาพราหมณ์ พราหมณ์ก็จะบอกอย่างนั้น บอก…เธอนี่ทำไม่ถูก วิธีผิดอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ต้องมาเอาใจก็ไปทำเพิ่มอีก พอเพิ่มแล้วเกิดมันจำเพาะไม่ได้ผลบางอย่างคือนิดๆหน่อยๆ คนมันก็มองเข้าข้างตัว ดูท่ามันจะเข้าเค้าล่ะแต่ว่ามันยังน้อยไป ถ้าเราเพิ่มเครื่องเส้นทำให้มันใหญ่โตอีกหน่อย ท่านคงจะโปรดมากกว่านี้ ก็ยิ่งเพิ่มเข้าใหญ่ พอได้มาคร่าวนี้ เพราะได้มาบ้างแล้ว…ต่อไปก็ให้ได้มากที่สุด ก็จะยิ่งเพิ่ม ถ้าอย่างนี้ก็จะพัฒนาในเรื่องการเซ่นสรวงไม่มีที่สิ้นสุด เราจะเห็นได้ว่าการเซ่นสรวงสังเวยนี้ยิ่งใหญ่ขึ้นทุกที การเซ่นสรวงบูชาเป็นรูปแบบต่างๆเรียกว่า ยัญญะ ก็คือการบูชายัญ ฉะนั้นการเซ่นสรวงต่างๆในศาสนาพราหมณ์ก็ร่วมอยู่ในคำว่า ยัญ เราเรียกเป็นภาษไทยว่า บูชายัญ การบูชายัญก็เป็นเรื่องสำคัญที่ว่าพราหมณ์จะเป็นผู้ช่วยประกอบพิธีในการที่มนุษย์จะติดต่อกับเทพเจ้า โดยการเอาอกเอาใจถวายเครื่องเซ่นสรวง สังเวย เพื่อจะให้ท่านได้โปรดโปรน และก็บันดาลผลที่ต้องการให้ ทีนี้การบูชายัญก็วิจิตรพิสดารขึ้นมา มากมายเพราะเอาใจไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งพวกที่มาบูชายัญนั้นเป็นพวกผู้มีอำนาจเป็นเศรษฐี ก็ยิ่งมีพิธีกรรมใหญ่โต จนกระทั่งว่ากษัตริย์จะต้องการที่จะแผ่อำนาจ อยากจะรบชนะ ก็ต้องเอาใจเทพเจ้าอีก ก็มาหาพราหมณ์ว่า จะต้องบูชายัญ พราหมณ์ก็บอกว่าจะรบครั้งนี้ยิ่งใหญ่นัก จะต้องประกอบพิธีบูชายัญให้ใหญ่จะได้รบชนะ ต่อมาก็มีพิธีกรรมเขาเรียกว่า อัศวเมธ การฆ่าม้าบูชายัญ ฆ่าม้าบูชายัญก็เขาเรียกว่า ปล่อยม้าอัสสกาณ เอาเจ้าชายซึ่งเป็นนักรบที่กลั่นกรองแล้วหนึ่งร้อยองค์ พร้อมทั้งทหารบริวารไปกับม้าที่เลือกแล้ว เรียกว่าม้าอัสสกาณ เดินทางไป 1 ปี ผ่านดินแดนไหนดินแดนนั้นต้องเปิดให้ผ่าน ถ้าไม่ผ่านรบกัน จนกระทั่งว่าครบ 1 ปีก็กลับมาถึงดินแดนของตนเอง พอกลับมาก็จัดพิธีใหญ่โต ฉลองกันเต็มที่แล้วก็ฆ่าม้านั้นเสีย บูชายัญ ก็อัศวเมธ ในที่นี้หมายถึงการฆ่า อัศวเมธก็ฆ่าม้าบูชายัญ ทั้งนี้ก็เป็นการฉลองชัยชนะไปด้วย นี่เป็นตัวอย่างอย่างอื่นก็มีมากมาย ที่ใหญ่พอสมควรก็จะเห็นว่ามีในพระไตรปิฎกบ่อย ก็คือเรื่องที่ว่ากษัตริย์หรือพราหมณ์ผู้ใหญ่จัดพิธี ซึ่งมีพิธีกรรมต่างๆ ระเบียบพิธีมากมาย และส่วนหนึ่งก็คือ ฆ่าแพะ 500 แกะ 500 วัว 500 อันนี้จะเป็นระเบียบทั่วไป คร่าวนี้พวกที่จัดพิธี พวกข้าทาสก็เดือดร้อนกันวุ่นวายหมด พระพุทธเจ้ามาแก้เรื่องปัญหาบูชายัญหลายครั้ง การบูชายัญก็มี จนกระทั่งในที่สุดก็เอาใจขนาดฆ่าคนเลย ก็ถือว่าถ้าฆ่าคนบูชายัญได้ ก็เป็นการที่ได้เอาใจพระผู้เป็นเจ้า เทพเจ้าอย่างสูงสุด เขาเรียกว่า สรวเมธ. สรวเมธ เป็นภาษไทยคือ สรรพเมธะ(สรรพเมธ) สรว แปลว่า สรรพทั้งปวง เมธะก็ฆ่าบูชา. สรวเมธ(สรวเมธะ) หรือ สรรพเมธ(สรรพเมธะ) ก็คือ ฆ่าหมดทุกอย่างครบ มีฆ่าคนด้วย ฆ่าคนบูชายัญ นี่ก็เป็นมาอย่างนี้สภาพของสังคม ความสัมพันธ์กับเทพเจ้าแบบที่บวงสรวงอ้อนวอน มนุษย์ก็มองไปรอบตัวซิ อะไรจะเป็นไปอย่างไร ตัวเองจะต้องการผลอย่างไร แทนที่จะคิดว่า เออ..ตัวเราจะต้องทำอะไรบ้างหรือถ้าทำไปแล้วมันไม่ได้ผลดี แทนที่จะคิดว่าตัวเราจะต้องปรับปรุงแก้ไขการกระทำของเราอย่างไร ไม่คิดเลย คิดแต่ในแง่ว่า เราจะไปให้เทพเจ้าองค์ไหนท่านทำให้ แล้วถ้ามันไม่ได้ผลดีแทนที่คิดปรับปรุงก็อย่างที่ว่า ก็ไปปรับปรุงพิธีกรรมว่าทำอย่างไรจะทำพิธีกรรมการบูชายัญให้ได้ผลตามปรารถนา ใจคนมันออกไปข้างนอกหมด ไม่พัฒนาตัวเอง มุ่งหวังผลสำเร็จจากการดลบันดาลของเทพเจ้า นี่เป็นสภาพของสังคมอินเดีย ก็มีเรื่องหมู่มนุษย์เป็นเรื่องวรรณะแกว่งไปหมดเลย มนุษย์ก็ต้องอยู่ในสภาพแบบนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทีนี้มันก็มีผลไปอีก พราหมณ์แกเป็นผู้สื่อสารกับเทพเจ้าแกก็ถือตัวว่ารู้หมด แกก็ผูกขาดการศึกษา คัมภีร์พระเวทย์นี่เป็นที่บรรจุของพัฒนาการทางความคิด ความเข้าใจความเชื่อของมนุษย์ก็มารวมอยู่ในนี้ ทีนี้พวกชั้นต่ำเขาก็กรีดกันไม่ให้เรียนด้วย อย่างชนวรรณะศูทร ก็เรียนพระเวทย์ไม่ได้ อย่างที่เคยเล่า คัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่พยายามที่จะทำระบบวรรณะให้มั่นคงยิ่งขึ้นต่อมาก็ถึงกับบัญญัติว่า คนวรรณะศูทรถ้ามาฟังพระเวทย์ให้เอาตะกั่วหลอมรูหูมัน ถ้ามันมาสาธยายพระเวทย์ให้ตัดลิ้นมันเสีย ถ้ามันมาเรียนพระเวทย์ให้ผ่ากายมันเป็น 2 ซีก ก็ตายแน่ๆ บัญญัติกันไว้อย่างนี้พวกวรรณะศูทรก็ยังเรียนฟังพระเวทย์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันจำกัดถูกตัดขาดการศึกษา คนชั้นต่ำไม่มีทางเลย อย่างภาษาสันสกฤตเป็นภาษาชั้นสูง ภาษาสันสกฤตเป็นภาษายุคหลังที่เกิดจากภาษาพระเวทย์อีกที ภาษาพระเวทย์เป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาก็วิวัฒนาการเป็นภาษาสันสกฤตเป็นภาษาของชนชั้นสูง ฉะนั้นการศึกษาก็อยู่ในพวกชนชั้นสูงเท่านั้น พวกชนชั้นต่ำมันถูกจำกัดสิทธิอะไรต่างๆอยู่แล้ว และยิ่งโอกาสในการศึกษาไม่มี มันก็ไม่มีทางที่จะพัฒนาตัวก็จมอยู่อย่างนั้น สภาพสังคมก็อยู่ในภาวะอย่างนี้ การศึกษาก็จำกัดผูกขาดกัน จนกระทั่งว่าคนจันฑาลนั้นไม่มีทางได้เล่าเรียน ในชาดกก็มีเรื่องถึงว่าพระโพธิสัตว์ไปเกิดเป็นคนจันฑาล (เหมือนจะเคยเล่าไปแล้ว) แล้วก็พวกคนสมัยก่อนเขาไปเรียนกันที่เมืองตักศิลา ที่เมืองตักศิลาก็มีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ทิศาปาโมกข์ก็แปลว่าเป็นอาจารย์ผู้เป็นประมุขในทิศนั้น หมายความว่าเป็นที่ลือลั่น ยิ่งใหญ่ในทิศของตัวของตน ทีนี้กษัตริย์หรือเศรษฐีอะไรต่างๆพวกวรรณะสูงๆอยากจะศึกษาก็ต้องส่งลูกไปเรียน สมัยก่อนการคมนาคมก็ไม่ได้สะดวก ต้องเดินทางฝ่าความทุรกันดาร ฝ่าภัยอันตราย ผจญภัยเดินทางกันไปไกล ก็ไปเรียนที่ตักศิลาซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ก็จะมีเรื่องราวเป็นการผจญภัยของพวกเจ้าชายหรือพวกลูกเศรษฐีเหล่านี้บ้าง แม้แต่หมอชีวกก็ไปเรียนที่นั่น คร่าวนี้ก็มีเรื่องในชาดกว่าครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์เกิดเป็นจัณฑาลก็อยากจะศึกษา แต่ว่าการศึกษาสมัยนั้นผูกขาดเขาไม่ให้คนวรรณะต่ำและนอกวรรณะเล่าเรียน แม้แต่ศูทรยังเรียนไม่ได้เลย นี่จัณฑาลยิ่งต่ำหนักเข้าไปอีกจะไปเรียนได้อย่างไร แต่พระโพธิสัตว์นี่เป็นผู้ใฝ่ศึกษาก็อยากจะเรียน ก็เลยต้องปลอมตัว คือไม่ต้องปลอมตัว แต่ว่าจะเข้าไปเรียนโดยไม่ต้องเปิดเผยวรรณะของตนเอง ก็เท่ากับปลอมตัวนั่นล่ะ ว่าเป็นวรรณะสูงเลยเข้าไปเรียนได้ไปเรียนที่สำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ แต่ทีนี้เรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละวรรณะมันต่างกันอยู่แล้ว แล้วมันก็ไม่มีโอกาสที่ได้มาเกี่ยวข้องสังสรรค์กัน เพราะฉะนั้นคนวรรณะต่ำเขาก็ยังไม่รู้เรื่องของชีวิตของคนชั้นสูงเท่าไหร่ มันปิดไม่ไหว พระโพธิสัตว์นั้นก็เข้าไปเรียนอยู่กับเพื่อนๆซึ่งเป็นวรรณะสูงๆ ต่อมามันปิดไม่อยู่ไอ้สภาพ การประพฤติปฏิบัติ ถ้อยคำ หรืออะไรต่างๆเหล่านี้มันแสดงออก พวกเพื่อนๆก็จับได้ว่าไอ้นี่มันมาจากวรรณะต่ำ พอจับได้ทั้งๆที่เป็นเพื่อนอยู่ด้วยกันใกล้ชิดสนิทสนมมาตั้งนานแล้ว ซ้อมกันซะไม่มีเลย ซ้อมพระโพธิสัตว์ เลยต้องหนีออกมาจากสำนักหมดโอกาสเล่าเรียน นี่เรื่องพุทธศาสนา พุทธศาสนาต่างกันที่วรรณะก็ให้เห็นตัวอย่างว่าเขาผูกขาดการศึกษากัน สังคมอินเดียก็เป็นอย่างที่ว่า การศึกษาผูกขาดด้วยคัมภีร์พระเวทย์ ถือคัมภีร์พระเวทย์ศักดิ์สิทธิ์ถ้าใครไม่ได้เรียนพระเวทย์ไม่เข้าถึงพระเวทย์ก็ไม่มีทางที่จะหลุดพ้นบรรลุจุดหมายของชีวิตที่ดีงามได้ คนก็แบ่งเป็นวรรณะสี่ต้องอยู่ในวรรณะของตน มนุษย์จะได้ดีมีสุขต้องอยู่ที่ดลบันดาลของเทพเจ้าความสำคัญด้วยการบูชายัญ นี่ก็เป็นสภาพที่เราควรจะตั้งเป็นข้อสังเกตุที่สำคัญๆ ทีนี้อีกด้านหนึ่งก็คือว่า เมื่อศาสนาพราหมณ์ได้เจริญรุ่งเรืองอยู่อย่างนี้ ก็ในด้านบ้านเมืองก็มีกษัตริย์ต่างๆ ธรรมดากษัตริย์ก็ย่อมมีการแย่งชิงดินแดน รบราฆ่าฟันกัน ในที่สุดก็จะมีแว่นแคว้นหรือรัฐบบางรัฐใหญ่ขึ้นใหญ่ขึ้นเพราะมีอำนาจมาก แต่ก่อนอาจจะเป็นแว่นแคว้นเล็กๆน้อยๆในสมัยพุทธกาลบอกว่ามี 16 ประเทศ เรียกว่ามหาชนบทประเทศใหญ่ 16 ประเทศ คือ อังคะ มคธ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ และกัมโพชะ มี 16 แคว้น แต่พอถึงพุทธกาลจริงนี่ปรากฎว่า บางแคว้นก็ถูกปราบปรามรวมเข้าในแคว้นใหญ่ๆ เช่น อังคะ ก็เข้าไปรวมอยู่ใน มคธ ที่เขาว่าเดี๋ยวนี้คือแทบๆ เบงกอล กาสี ซึ่งมีเมืองพาราณสีเป็นเมืองหลวง ก็มีประวัติการรบราฆ่าฟันกับ โกศล นี่ยาวนานมาก มีในชาดกในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเล่าไว้ แต่มาถึงพุทธกาลแคว้นกาสีก็ได้ถูกรวมเข้าในแคว้นโกศลไปแล้ว แล้วก็ยังมีแคว้นอื่นๆอีก รวมแล้วที่ใหญ่จริงๆในสมัยพุทธกาลก็มีราวๆ 5-6 แคว้น ก็มีมคธ ยิ่งใหญ่มากคู่กับโกศล มคธ โกศล ตอนนั้นเรียกว่าใหญ่คู่เคียงกันเลย ต่อมาหลังพุทธกาลไม่ช้าก็โกศลก็ไปก็สลาย และอีกแคว้นที่ใหญ่มากสู้รบกันอยู่เป็นมหาอำนาจก็คือ วัชชี. วัชชีก็สู้ก็แข่งอำนาจกับมคธ แต่พอถึงสิ้นพุทธกาลไปไม่ทันไร มคธก็ปราบวัชชีได้ มคธก็ยิ่งใหญ่ขึ้นใหญ่ขึ้น จนกระทั่งในที่สุดมคธก็เป็นที่เรียกว่าเหลือผู้เดียวเลย เหลือแคว้นเดียว ทางไกลไปก็มีแคว้นอวันตี นั่นก็ใหญ่เหมือนกันและก็แคว้นวังสะ อยู่อีกแถบออกไปทางกลางทางตะวันตก ต่อมาก็เข้าไปอยู่ในมคธ มคธก็ปราบหมด กษัตริย์เหล่านี้ก็แย่งชิงอำนาจกันอย่างที่ว่าแคว้นต่างๆก็มีอำนาจมีการพัฒนาบ้านเมืองใหญ่โตขึ้น การเดินทางระหว่างกันก็มากขึ้น พ่อค้าพาณิชย์ก็เดินทางค้าขาย คนวรรณะหนึ่งก็ได้เจริญขึ้นมาก็คือพวกพ่อค้า มีเงินมีทองมากก็เป็นเศรษฐี เศรษฐีก็มีความสำคัญเพราะว่ามีความหมายถึงความเจริญทางด้านวัตถุ เศรษฐกิจของบ้านเมืองนั้น จนกระทั่งว่าพวกกษัตริย์ประเทศต่างๆจะต้องพยายามให้มีเศรษฐีบ้านเมืองของตน บางแคว้นนี่มีเศรษฐีน้อยก็ไปขอเศรษฐีจากอีกแคว้นมา และมีการตั้งตำแหน่งเศรษฐี เรียกว่ายกย่องผู้ที่มีเงินมีทองมาก บ้านเมืองก็ให้เกียรติตั้ง เป็นพระราชาตั้ง ตั้งให้เป็นเศรษฐีเขาเรียกว่าบูชาด้วยตำแน่งเศรษฐี เศรษฐีก็จะมีหน้าที่ไปเฝ้าพระราชาวันละ 2 หน เป็นต้น เงินทองสะพรั่งมีการบำรุงบำเรอคนก็เริ่มมีความสะดวกสบายก็หันมาหมกหมุ่นในเรื่องของกามสูตรมากขึ้น นี่ก็ด้านหนึ่ง นี่ก็เป็นสภาพบ้านเมืองที่เจริญ แต่ว่าอีกด้านหนึ่งก็คือว่าบางคนจากความเจริญเกิดขึ้นความพรั่งพร้อมทางวัตถุก็จะมีคนที่เบื่อหน่าย คนที่เบื่อหน่ายโลกก็สละโลกออกไปหาความสุขทางจิตใจก็ไปอยู่ป่า เป็นฤาษีชีไพร พวกนี้ก็จะตัดขาดจากสังคมไม่เอาเรื่องเอาราวกับใครไปหาความสงบทางจิตใจ ไม่เกี่ยวข้องกับชาวบ้าน ซึ่งพวกนี้ก็สืบมาจากเก่าเหมือนกัน แต่ว่าในตอนยุคพุทธกาลนี่ก็ชีวิตอย่างนี้มีเคล้าว่าจะเริ่มปรากฏเด่นๆขึ้นมา ทีนี้พวกนี้ไปอยู่ป่าตัดขาดจากสังคมไม่อยากยุ่งกับใครก็ไปถั่วกิน เก็บมันกิน เก็บผลไม้มากินเอาเอง ก็เท่ากับว่ามีชีวิต 2 แบบ คือ ชีวิตหมกหมุ่นในกามรมณ์ หาความสุขทางวัตถุ หามิตร และก็พวกที่ตัดขาดปลีกตัวจากสังคมไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร หาความสงบทางจิตใจได้ ฌานสมาบัติ แล้วก็เล่นฌาน เป็นฌานนักกีฬา พวกฤาษีชีไพร และนอกจากนั้นก็ยังมีพวกการแสวงหาสัจจธรรมอะไรต่างๆก็มีนักบวชเร่ร่อน อย่างพวก ปริพาชก พวกนี้ก็จะเที่ยวเดินทางไปโต้วาทะ ท้าคน โต้วาที เพื่อแสวงหาปัญญาสัจจธรรมว่าอะไรคือความจริง ก็เป็นสภาพในพุทธกาล ซึ่งแสดงถึงความเจริญทางอารยธรรม แต่ว่าผู้คนก็มีความสับสนอยู่พอสมควรว่าอะไรคือความจริงความแท้ ก็มีผู้ที่มาตั้งตัวหรือว่ามีความสามารถที่ได้รับยกย่องขึ้นมาเป็นหัวหน้าหมู่คณะ เป็นศาสดาเป็นเจ้าลัทธิต่างๆก็มากพอสมควร อย่างในพุทธกาลเราก็บอกมีศาสดา 6 ลัทธิ นี่นอกจากพวกพราหมณ์ พวกพราหมณ์เองก็เป็นวรรณะใหญ่ ศาสนาพราหมณ์ครอบงำสังคมอินเดียทั้งหมดมีอิทธิพลมากที่สุด ตัวพราหมณ์เองแกเป็นนักบวช เป็นชนชั้นวรรณะนักบวช เป็นเจ้าพิธี หรือเป็นปัญญาชน เป็นนักวิชาการไปขอ็ไปขอ แต่แกครองเรือนเป็นครอบครัว แกอยู่บ้าน บัญญัติของวรรณะของแกคือ มีเข้มงวดมากเพื่อที่จะรักษาวรรณะไม่ให้ปะปนพราหมณ์ที่บริสุทธิ์จริงๆ จะต้องบริสุทธิ์มาเท่านั้นจะกี่ชั่วอายุคน บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่ายอะไรต่างๆว่าไป พราหมณ์ก็เป็นนักบวชด้วยแต่ครองเรือนด้วย พราหมณ์นี่ก็ชักมีอำนาจมากขึ้น ในบางคนก็ครองดินแดนเลย บางคนก็ได้รับหมอบหมายอำนาจจากกษัตริย์ให้ปกครองดินแดนส่วนนี้เป็นทั้งพราหมณ์ เป็นทั้งผู้ปกครองแว่นแคว้นไปด้วย สภาพอย่างนี้ก็มีอยู่พระพุทธศาสนาก็มาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าได้มาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะในแคว้นศากยะ พระองค์ก็ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนต่างๆสภาพความเชื่อถือการปฏิบัติ ต่อมาพระองค์ก็ได้เสด็จออกผนวช ซึ่งตามเรื่องก็บอกว่า พระองค์ได้พิจารณาเห็นว่า คนทั้งหลายเกิดมาก็ตกอยู่ใต้อำนาจคติธรรมดา กฎธรรมชาติเกิด แก่ เจ็บ ตาย มันก็อยู่กันเท่านี้หมุนเวียน ไม่มีทางออก ชีวิตมันไม่มีความหมายอะไรดีกว่านี้หรือ พระองค์ก็เลยคิดแสวงหา อย่างที่มีเรื่องเป็นว่าพระองค์ได้เสด็จออกไปนอกพระราชวังเสด็จไปประพาสก็ได้เห็นเทวทูต 4 ที่จริงคือนิมิตร 4 ในพระคัมภีร์ท่านไม่ได้เรียกเทวทูต 4 ท่านเรียกว่า นิมิตร 4. นิมิตร 4 นั่นคือ เทวทูต 3 กับสมณะ ก็เลยมาเรียกรวมกัน ความจริงอันที่ 4 ไม่ได้เป็นเทวทูต สมณะไม่ได้เป็นเทวทูตซักหน่อย ถูกรวมว่าเป็นเทวทูตอยู่ด้วย เทวทูต 3 ก็คือว่า เทวทูตเขาให้ความหมายว่าเป็นสื่อ เป็นสื่อของเทพเจ้าคือ ยมเทพ ยมเทพก็คือ ความตาย หมายความว่า คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นสื่อของพญายม เป็นทูตของพญายม แก่แล้วเจ็บแล้วก็ตาย เป็นทูตของพญายม ใครเห็นแล้วก็ต้องรู้ ถ้าเรามองในแง่คติธรรมว่ามันเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงกฎธรรมชาติที่ว่าจะต้อง แก่ เจ็บ แล้วในที่สุดจะต้องตายไปหาพญายม เพราะฉะนั้นพวกนี้เรียกว่าทูตพญายม ส่วนสมณะเป็นทางออกที่จะให้พ้นจากคติธรรมดานี้อย่างน้อยเป็นความหวังเพราะฉะนั้นก็ไม่ได้เรียกว่า เทวทูต เพราะว่ามันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับพญายม คร่าวนี้พระโพธิสัตว์ก็ไปเห็นเทวทูต 3 พร้อมทั้งสมณะ เทวทูตมีชุด 3 กับ ชุด 5 ชุด 5 ก็เพิ่มเกิดด้วย เกิด แก่ เจ็บ และก็คนถูกลงโทษ คนทำความผิดต้องโทษ พระราชาเอาไปใส่คุก จองจำต่างๆด้วยวิธีลงโทษ ตามหลักศาสนาพรามหณ์ ลงโทษนี่รุนแรงมาก เมืองไทยเราก็รับเอาประเพณีการลงโทษแบบนี้จากของฮินดูเข้ามา ในสมัยโบราณก็มีวิธีเหล่านี้ ขื่อ คาน อะไรต่างๆเอามาจากอินเดียเยอะ นี่ก็เป็นอันว่ามี คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนถูกลงทัณฑกรรมกร เขาเรียก กรรมกรณะ โดนลงโทษ จองจำ เป็นต้น และก็คนตาย 5 อย่างนี้เป็นเทวทูต ชุด 5 และชุด 3 ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นเทวทูต คร่าวนี้พระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จประพาสในเมืองกบิลพัสดุ์ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย พระองค์ก็มานึกถึงเรื่องนี้ เรื่องมนุษย์เกิดมาก็อยู่ใต้คติธรรมดา ไม่มีอะไร เกิดแล้ว แก่ เจ็บ ตายไป ชีวิตมีความหมายอะไร ต่อมาอีกครั้งหนึ่ง พระองค์ก็ไปเห็น สมณะ มีลักษณะชีวิตที่น่าเลื่อมใสแล้วก็โยงมาหาพระองค์ว่า อันนี้อาจจะเป็นทางออกที่ทำให้เราได้ค้นหาสิ่งที่ดีมีความหมายแท้จริง เป็นทางรอด ทางหลุดพ้นจากเรื่องของการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความทุกข์ของมนุษย์เหล่านี้ ก็เลยทรงนึกถึงสมณะนี้ว่าน่าจะเป็นทางออกได้ และก็เป็นเหตุให้พระองค์คิดจะออกไปมีชีวิตอย่างสมณะนั้น เพราะฉะนั้นสมณะนั้นไม่ใช่เทวทูต ก็เป็นทางออกหลังจากเห็นเทวทูต นี้ก็เป็นเรื่องตามประวัติในตำนานพระพุทธศาสนาในคัมภีร์ด้วย ก็เรียกว่าเป็นภาพของพระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าในสังคมนั้น แต่ว่าในนั้นจะไม่ได้อธิบายถึงในเรื่องของชีวิตที่กว้างออกไป ซึ่งเราจะต้องไปอ่านเยอะแยะ มนุษย์ที่เกิดมาเหล่านี้ที่ว่าวนเวียนอยู่ในเกิด แก่ เจ็บ ตาย มันไม่ได้อยู่เกิด แก่ เจ็บ ตายเฉยๆ มันอยู่ในสังคมมนุษย์ที่มีความเชื่อมีความประพฤติปฏิบัติประเพณีเหล่านี้ ซึ่งการที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้มันก็รวมไปที่การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการที่เป็นอยู่ การประพฤติปฏิบัติ ความเชื่ออะไรต่างๆเหล่านี้ด้วย พระพุทธเจ้าในที่สุดก็ได้เสด็จออกบรรพชา เพื่อที่จะไปแสวงหาความจริง หาทางออกให้แก่ชีวิต และแก่หมู่มนุษย์ทั้งหลายที่เราเรียกว่าสังคม ก็ไปค้นหาวิธีการที่ว่า มีความหวังว่าจะเป็นไปได้ คนสมัยนั้นอย่างที่เล่า หาทางออกกันอยู่แล้ว อย่างบางพวกก็ตัดขาดจากสังคมไปอยู่กับฤาษีชีไพร บางพวกก็เห็นว่าการที่บำรุงบำเรอตนด้วยอามิส วัตถุสิ่งของ สิ่งเสพต่างๆเหล่านี้ มันมัวแต่ลุ่มหลงเพลิดเพลิน มันไม่ได้ทำให้ได้ความหมายที่แท้จริง ความหมายที่แท้จริงมันน่าจะอยู่ที่จิตใจ ร่างกายนี่เราไปตามปรนเปรอมัน มันก็เลยทำให้มาครอบคลุมบดบังความหายที่แท้จริงที่จะได้จากจิตใจ เพราะจิตใจมัวไปลุ่มหลงในสิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้นก็ต้องตัดสิ่งลุ่มหลงเหล่านี้ออก เพราะฉะนั้นต้องไม่ตามใจตนเอง ไม่บำรุงเรอ เมื่อกายมันต้องการสิ่งเสพอะไรต่างๆบำรุงบำเรอ มันก็ทำให้ขัดขวางมาทำให้จิตใจพร่ามัว เพราะฉะนั้นต้องไม่ตามใจมัน อาจจะต้องถึงกับว่าบังคับกันเลย ไปๆมาๆก็เลยเกิดการบำเพ็ญตบะ การบำเพ็ญตบะก็ทรมานร่างกาย เช่นว่า บางลัทธินี้ก็บอกว่า อย่าไปตามใจมันร่างกายมันจะทำให้จิตของเราหมกหมุ่นลุ่มหลงพร่ามัวไปหมด เพราะฉะนั้นก็ทรมานมัน เช่นว่า นอนสบายปรนเปรอก็มีความสุข ไม่ดี นอนบนหนามมันเลย ตามใจมันสบาย เวลาเย็นก็ต้องการอุ่น เวลาร้อนก็ต้องการเย็นสบาย เราก็ไปทรมานมันอย่าไปตามใจมัน เพราะฉะนั้นเวลาแดดออกร้อนๆก็ไปนอนไปยืนกลางแดด เวลาหนาวก็ลงไปแช่ตัวในแม่น้ำ ทรมานมันอย่าไปตามใจมัน ยืนซะ อย่าไปตามใจ อยากนอนก็นอน อยากนั่งก็นั่ง เดี๋ยวพักผ่อนตามใจมัน ไปยืนมันขาเดียวด้วย ยืนสองขามันก็สบายเกินไป ยืนขาเดียวกลางแดดยิ่งดีใหญ่ ทีนี้เราหายใจมันก็กินอาหารก็ตามใจตัวเอง ไม่เอาล่ะอย่าไปกินมัน อดมัน ถ้ามันไหวจริงๆก็กินมันหน่อยนึง ถ้าอดเลยสิ้นเชิงก็ตายแน่ ก็ต้องพยายามอดให้มันอดให้ได้มากที่สุด ก็อดมันเท่าที่อดได้และก็กินน้อยๆ และก็มีการบัญญัติว่าจะต้องให้กินครั้งละแค่นั้นๆ มีปริมาณจำกัดเลย ใครจะเก่ง ต่อไปก็กลายเป็นอวดกันแข่งกัน ใครจะกินน้อยกว่ากัน ใครจะอดได้นานกว่า นอกจากนั้นแล้วเราหายใจ เราก็ตามใจมันมากไป เพราะฉะนั้นก็กลั้นลมหายใจกันบ้าง ไปกันใหญ่ล่ะ คร่าวนี้พวกหนึ่งก็ไปบำเพ็ญสมาธิ นั่งเข้าสมาธิได้ ฌานสมาบัติ จิตก็ดื่มด่ำมีความสุข พวกฤาษีเล่นฌานกีฬาอย่างที่ว่า บางก็ว่าได้เข้าไปรวมกับภาวะอะไรก็ไม่รู้ เป็นพรหมัน เป็นอาตมัน ดื่มดื่นรวมเข้าไปเป็นอันนึงอันเดียวกัน นี่ก็สารพัดเลย คร่าวนี้พระพุทธเจ้าก็ทรงแสวงหาทางออกก็ไปในลัทธิสำนักต่างๆเหล่านี้ เขาบำเพ็ญโยคะก็บำเพ็ญกับเขา ไปนั่งเข้าสมาธิได้ฌานสมาบัติ อย่างที่เคยเล่าไปเข้าสำนักการดาบส การปาโคตร พระองค์ก็ได้ถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ จบความรู้อาจารย์ เป็นอรูปฌานชั้นที่ 3 และก็ออกไปสู่สำนักอุทกดาบส รามบท ก็ได้จบในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสมาบัติ 8 รูปฌานครบถ้วน จบความรู้อาจารย์ อาจารย์ก็ชวนให้สอนในสำนัก พระองค์ก็เห็นว่ายังไม่ใช่ทางที่ถูกต้องมันอยู่แค่จิตดื่มด่ำไปทำให้จิตสงบได้ โดยเหมือนการเรามาคุมมันไว้ แต่ความจริงก็คือจิตนั้นมันก็ยังเป็นอย่างนั้น จิตแท้ๆยังมีกิเลสนอนอยู่ ถ้าไปประสบอารมณ์อะไรต่างๆเข้า เหตุการณ์เข้า มาจากภายนอกก็จะมีจิตหวั่นไหวไปตาม เพราะไม่รู้แจ้งความจริงของสิ่งต่างๆ เพราะองค์ก็ออกไปแสวงหาต่อของพระองค์ ต่อมาก็มีการไปบำเพ็ญตบะ บำเพ็ญทุกรกิริยา เขามีบำเพ็ญตบะอย่างที่เล่าไป พระองค์ก็ให้ถึงที่สุด อดอาหารเต็มที่ กลั้นลมหายใจอะไรต่างๆพระองค์ทดลองหมด จนกระทั่งในที่สุดก็สรุปได้ว่า ไอ้การกระทำแบบนี้มันไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง พระองค์ก็หลังจากที่บำเพ็ญตบะก็มาทรงเสวยภัตตาหารเอง เพราะถือว่าการที่จะใช้สติปัญญาให้ดี มันจะต้องให้ร่างกายมีกำลัง แต่ไม่ใช่หมายความว่าไปปรนเปรอมันมันอยู่ระหว่างกลาง คือพวกหนึ่งก็จะปรนเปรอร่างกายให้มีความสุขหาความสุขจากการเสพจากการกินอร่อย และอีกพวกหนึ่งก็บอกไม่ใช่ไม่ได้ก็ไปทรมานร่างกายไม่กิน อันนี้มันก็เป็นสุดทางที่จริงชีวิตที่เราจะดี เราอาศัยร่างกายเพื่อที่จะได้ค้นหาแสวงหาต่อไป เพราะฉะนั้นจะต้องให้ร่างกายแข็งแรง แต่ก็ไม่ใช่ไปปรนเปรอ เพราะฉะนั้นพระโพธิสัตว์ก็เปลี่ยนมาเสวยภัตตาหารพอให้ร่างกายมีกำลัง และจะได้ใช้กายนี้ไปทำประโยชน์คือไปแสวงหาความจริงต่อไป และพระองค์ก็มาเดินทางว่า ตอนนี้ก็คือเดินทางข้ามพ้นจากที่คิดเอาแต่ด้านร่างกายว่าจุดหมาย มันอยู่ที่เรื่องวัตถุและกาย และก็ข้ามพ้นระดับเพียงเอาแค่จิตที่ว่า ไม่เอาตามใจกายต้องมามุ่งที่จะมาอบรมจิต หรือว่ามาทำให้จิตเข้าถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้ด้วยสมาธิ ให้จิตบังคับตัวเองได้ มีพลังเข้าถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้ จนกระทั่งมีฤทธิ์มีเดช มีปาฏิหาริย์ เรื่องจิตนี่ก็จะทำให้หลุดพ้นเก่งกาจ พระองค์ก็ว่าไม่ใช่ ก็เลยเข้าสู่ลำดับที่ 3 ก็ปัญญา เข้าสู่มัชฌิมาปฏิปทา และก็บูรณาการทั้งกายจิตปัญญาว่าให้กายมาใช้ประโยชน์ในขอบเขตของมันที่ถูกต้องนั้นคือแค่ไหน จิตมีประโยชน์แค่ไหนแล้วจะต้องพัฒนามันอย่างไร แล้วมาประสานกับปัญญา แล้วมันจึงจะสมบูรณ์ ก็เกิดเป็นมัชฌิมาปฏิปทาซึ่งพระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ อันนี้ก็เป็นประวัติพอที่จะให้เห็นสภาพภูมิหลัง แต่ว่าสิ่งที่ต้องการให้เห็นก็คืออิทธิพลที่ครอบงำของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งยิ่งใหญ่ที่สุดเพราะว่าสังคมทั้งหมดคนทั้งหลายดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้การครอบงำ ความเชื่อ และการปฏิบัติและบทบัญญัติของศาสนาพราหมณ์ อย่างที่ว่าเป็นวรรณะต่างๆและความสัมพันธ์กับเทพเจ้า มีพระพรหมเป็นต้น ที่ว่ากระทำการสัมพันธ์ด้วยการบูชายัญ เป็นการเซ่นสรวงอ้อนวอน ขออำนาจดลบันดาลของเทพเจ้ามาให้ผลที่ปรารถนา ทั้งในการที่จะช่วยให้พ้นภัยและในการที่จะให้สมปรารถนาต่างๆ ทีนี้พระพุทธเจ้าได้มาประสบสิ่งเหล่านี้ เรื่องนึง วรรณะ พระองค์ก็ไม่เห็นด้วย พระพุทธเจ้าออกประกาศเป็นศาสนาเจอสภาพนี้ พระองค์ก็เลิกล้มไม่เอา พยายามที่จะสอนไม่ให้คนมายึดติดอยู่ในวรรณะ และตั้งคณะสงฆ์ขึ้นมารับคนจากทุกวรรณะ แม้แต่จัณฑาลก็ได้ให้เข้าไปศึกษาเล่าเรียน และก็ถือว่าสูงสุดอยู่ที่การพัฒนาตนเอง ใครก็ตามมีโอกาสที่จะได้ศึกษาเท่ากัน เมื่อศึกษาแล้วผู้ที่สูงสุดก็คือผู้ที่พัฒนาตนบรรลุ ทำสูงสุดเป็นพระอรหันต์หมดกิเลส หมดความทุกข์ด้วยปัญญาที่ได้พัฒนาเต็มที่ โดยการบูรณาการระหว่าง ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา และอีกด้านหนึ่งก็คือว่า เอาชีวิตของผู้คนที่มีความสัมพันธ์กับเทพเจ้า ในการอ้อนวอนมีการบูชายัญ พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปเจอพวกกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง ทำการบูชายัญ พระองค์ก็ไปสอนให้เห็นว่าการดำเนินชีวิตของการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้วผลที่ปรารถนาแท้จริงมันควรจะมาอย่างไร ก็ทำให้เขาเลิกล้มการบูชายัญกันไปบ้าง ทีนี้สำหรับประชาชนทั่วไปก็ทำอย่างไรจะทำให้คนมาสู่แนวทางดำเนินชีวิตที่ว่าไม่ไปมัวหวังพึ่งอำนาจดลบันดาลจากเทพเจ้า ซึ่งมันหมายถึงว่าทำให้ระบบการดำเนินชีวิตวิปาลาสไปหมด คนอย่างที่พูดว่า ไม่คิดว่าตัวเองจะต้องทำอะไรบ้าง มีอะไรที่ต้องการก็ไปมองแต่เพียงว่า จะให้เทพองค์ไหนบันดาลให้ ไปขอความช่วยเหลือจากเทพองค์ไหน ไม่คิดว่าเรานี่ล่ะต้องทำอะไร และเมื่อผลที่ต้องการยังไม่สำเร็จก็ไปหาทางเพิ่มหรือว่าปรับปรุงในพิธีกรรมการอ้อนวอนบูชายัญแทนที่จะคิดว่าเราจะต้องพัฒนาตัวเรา แก้ไขปรับปรุงการกระทำของเราอย่างไร พระพุทธเจ้าก็สอนหลักการใหม่ขึ้นมา ซึ่งอันนี้มันจะเป็นการแย้งกันกับแนวความคิดของยุคสมัยนั้น อะไรล่ะที่พระพุทธเจ้าสอนในตอนนี้ หลักการใหญ่ก็มาแล้ว เอาจับจุดว่ายุคนั้นถือว่า ความเป็นไปในโลกและสังคมมนุษย์ขึ้นต่อเทพเจ้าสูงสุดจะบันดาล มนุษย์สัมพันธ์ด้วยการที่ไปขออ้อนวอนให้ท่านโปรดปราน บันดาลคนที่ต้องการให้โดยใช้อำนาจภายนอก คร่าวนี้พระพุทธเจ้าก็มาสอนใหม่บอกผู้คนทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายอย่ามัวไปมองดูเทพเจ้าทั้งหลายและไปหวังพึ่งอำนาจของท่าน สิ่งทั้งหลายมันมีความจริงของมันอยู่ ความจริงของมันเป็นไปตามธรรมดาธรรมชาติ ก็คือการที่สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ผลจะเกิดก็เกิดจากเหตุ เหตุทำให้เกิดผล อันนี้ก็อยู่ที่วิธีสอนจะให้เห็นว่าสิ่งต่างๆที่มันเกิดมีเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ซึ่งความเป็นจริงนี้มันอยู่ในธรรมชาติเป็นกฎธรรมชาติ ตัวความเป็นจริงอันนี้เรียกว่า ธรรมะ ธรรมะก็คือความจริงของสิ่งทั้งหลาย คือการที่สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันโดยธรรมดาไม่ได้ขึ้นต่อเทพเจ้าหรืออะไรทั้งสิ้น ความเป็นจริงในกฎธรรมชาตินี้ สิ่งที่ท่านจะต้องเอาใจใส่ เพราะว่าท่านจะดำเนินชีวิตถูกต้องท่านจะทำการได้ผลอยู่ที่ท่านจะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์นี้ เพราะเมื่อสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ผลมันจะเกิดก็เกิดตามเหตุปัจจัย นี่ท่านต้องการผลท่านต้องดูว่าเหตุปัจจัยมันมีพอไหม เหตุปัจจัยมันมีพอที่จะให้เกิดผลนี้ไหม ถ้ามันไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดผลนี้ท่านก็ต้องทำเหตุปัจจัยนั่นเอา ก็ตอนนี้ก็เท่ากับว่าเริ่มเปลี่ยนหลักการพื้นฐานเลย หลักการพื้นฐานเดิมว่ามีเทพเจ้าสูงสุดสร้างสรรค์บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง เราต้องการอะไรก็ต้องให้ท่านบันดาลก็มาเป็นว่าเป็นตัวความจริงในกฎธรรมชาติที่เป็นตามเหตุปัจจัย ถ้าต้องการผลต้องทำเหตุ ก็เรียกว่า ดึงจากเทพสู่ธรรม เดิมเขานับถือเทพเจ้าถือหลักการในเทพเจ้า พระพุทธเจ้ามาสอนธรรมะคือหลักความจริงของกฎธรรมชาติที่สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ก็เรียกว่า เปลี่ยนหลักการพื้นฐานจากเทพมาสู่ธรรม ที่พระพุทธเจ้าทำก็คือดึงคนจากเทพมาสู่ธรรม ทีนี้พอดึงจากเทพมาสู่ธรรมแล้ว คนก็ต้องเปลี่ยนความสัมพันธ์ใหม่ เดิมสัมพันธ์กับเทพเจ้าอำนาจบันดาลอยู่ที่เทพเจ้าต้องไปอ้อนวอน เพราะฉะนั้นว่าความสัมพันธ์เทพก็อยู่ที่ไปอ้อนวอนขออำนาจช่วยเหลือ ทีนี้มามีธรรมะ คนก็ต้องมีความสัมพันธ์กับธรรมะ สัมพันธ์กับธรรมะนี่ทำอย่างไร ธรรมะคือกฎธรรมชาติความจริง ความจริงมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเอง คร่าวนี้มนุษย์จะไปสัมพันธ์กับมันอย่างไร มนุษย์สัมพันธ์กับมันก็คือกระบวนการของเหตุปัจจัยที่ว่าผลเกิดจากเหตุ เราต้องการผลเราต้องทำเหตุปัจจัย ถ้าอย่างนั้นท่านต้องการผล ถ้าเป็นเทพเจ้าท่านต้องไปอ้อนวอนให้เทพเจ้าช่วย แต่ถ้าท่านสัมพันธ์กับธรรมะท่านต้องทำ ท่านต้องทำเหตุปัจจัย เมื่อต้องทำ ก็จากธรรมะก็มีคำว่าท่านต้องทำ การกระทำเรียกว่า กรรมะ จะทำก็เลยต้องเกิดมีหลักกการแห่งธรรม ในแง่ที่ธรรมะมาสัมพันธ์กับมนุษย์ ธรรมะก็คือหลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาของมัน ทีนี้มนุษย์ไปสัมพันธ์กับความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาก็คือมนุษย์ต้องการผลสำเร็จ มนุษย์ก็ต้องทำ การกระทำเรียกว่า กรรม ก็แยกกันแล้วนะ ด้านเทพความเป็นจริงความเป็นไปทุกอย่างขึ้นอยู่กับเทพ มนุษย์ไปสัมพันธ์โดยการอ้อนวอนบูชายัญ ทีนี้ด้านพระพุทธศาสนาหลักการใหญ่ทุกอย่างเป็นไปตามธรรม เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามธรรม มนุษย์สัมพันธ์กับธรรมโดยการทำกรรม ถ้าท่านทำกรรมดีก็คือทำกรรมที่ตรงเหตุปัจจัยให้เกิดผลดีก็ได้ผลดี ถ้าท่านทำกรรมไม่ดีกรรมนั้นเป็นเหตุปัจจัยร้ายก็ทำให้เกิดผลร้าย เอาล่ะทีนี้มนุษย์ต้องทำกรรมนะ ทีนี้ถ้าไปอ้อนวอนเทพเจ้า ท่านอ้อนวอนท่านทำอะไรไม่ได้เพราะมันขึ้นต่อเทพเจ้าท่านก็นอนรอ เราก็ไม่ต้องทำอะไร แต่ทีนี้ถ้าท่านสัมพันธ์กับความเป็นจริงทั้งหมดของธรรมชาติท่านต้องทำ ความสำเร็จอยู่ที่การกระทำของท่าน ท่านต้องมีความเพียรพยายาม ถ้าอันโน้นก็นอนรอได้ แต่อันนี้ต้องเพียรพยายาม เพราะฉะนั้นหลักกรรมก็โยนมาหาความเพียร พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเราเป็น กรรมวาที เราเป็น วิริยะวาที คู่กัน กรรมวาทีแปลว่าผู้ประกาศหลักแห่งการกระทำ วิริยะวาทีแปลว่าผู้ประกาศหลักแห่งความเพียรพยายามแล้วพุทธศาสนาก็เลยมีชื่อว่า กรรมวาทะวิริยะวาทะ ต้องเรียกคู่กัน กรรมวาทะวิริยะวาทะ แปลว่า หลักคำสอนว่าด้วยการกระทำ หลักคำสอนว่าด้วยความเพียร ก็มาด้วยกัน บางคนจะทำการได้ต้องมีความเพียร นี้ก็เป็นการที่ให้มองเห็นลักษณะพุทธศาสนา ทีนี้ว่าต่อไปอีกเมื่อเราทำการและทำด้วยความเพียรพยายาม บอกแล้วว่าที่เราทำนั่นก็เพื่อทำเหตุปัจจัยให้มันตรงตามกฎธรรมชาติ คร่าวนี้ถ้าเราทำแล้วไม่ตรงเหตุปัจจัยที่มันจะให้เกิดผลที่ต้องการทำอุตส่าห์ทำเหนื่อยยากมีความพากเพียรจริง เหนื่อยเปล่าไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นการทำกรรมยังไม่เป็นหลักประกัน ก็ต้องทำกรรมที่ดีที่ถูกต้อง ทำอย่างไรจะทำกรรมที่ดีที่ท่านเรียกว่า กุศล จะให้เกิดผลที่ต้องการได้ เพราะฉะนั้นจะเป็นเพียงทำๆทำไปมีความเพียรไม่ได้หรอกเหนื่อยยากบากเปล่าไร้ผลต้องรู้เหตุปัจจัยจะได้ทำได้ตรงตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นการที่จะทำการด้วยความเพียรให้สำเร็จผลก็มีข้อเรียกร้องขึ้นมาว่า ธรรมะนั้นบอกว่าต้องรู้เหตุปัจจัย เมื่อรู้เหตุปัจจัยก็ทำตรงเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยดีให้เกิดผลที่ต้องการ ทำตรงเหตุปัจจัยก็ได้ผล ถ้าเหตุปัจจัยมันร้ายเราไปทำเข้าก็เกิดผลร้าย นั่นเราก็พัฒนาด้วยการให้รู้เหตุปัจจัย ความรู้คืออะไร? คือปัญญา เพราะฉะนั้นคนจะต้องมีปัญญา แต่คนจะมีปัญญาได้อย่างไรจะต้องมีพฤติกรรมถูกต้อง ต้องมีจิตใจเข้มแข็งมีความเพียร มีความอดทน มีใจสู้ เช่นเจอปัญหาแล้วมีความเข้มแข็งที่จะสู้ คิดสู้ปัญหามีความอยากรู้อะไรต่างๆ มีฉันทะอะไรต่างๆเหล่านี้ มันต้องมาประกอบกัน แต่จุดหมายคือปัญญาที่รู้เหตุปัจจัย เป็นอันว่าต้องมีปัญญา ทีนี้ปัญญาจะเกิดได้อย่างไรก็ต้องเรียนรู้ เป็นอันว่าเราต้องการปัญญา แต่ว่าปัญญาจะเกิดมาได้อย่างไร ต้องเรียนรู้ต้องศึกษา ตกลงว่าสิ่งที่มนุษย์ต้องทำคือต้องศึกษา ศึกษาตัวนี้บาลีเรียกว่า สิกขา สิกขาก็เลยเป็นหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนามาจบที่ตรงนี้มนุษย์ต้องทำอะไร ส่วนธรรมะนั้นเป็นหลักความจริงมีอยู่ในธรรมชาติตามธรรมดา มนุษย์จะรู้หรือไม่รู้จะทำหรือไม่ทำมันก็อยู่อย่างนั้นไม่ไปกระทบกระเทือนมันได้ มนุษย์มาสัมพันธ์กับธรรมะตรงนี้อย่างไร ก็สัมพันธ์โดยที่ว่า หนึ่งท่านต้องทำเหตุปัจจัยให้จงนั้นและท่านต้องมีความเพียรนี่คือหลักกรรมและความเพียร ถ้าท่านจะทำกรรมโดยใช้ความเพียรให้ได้ผลจริง ท่านต้องทำให้ตรงเหตุปัจจัยท่านต้องรู้เหตุปัจจัยต้องมีปัญญา ทำอย่างไรท่านจะมีปัญญาท่านต้องเรียนรู้ ต้องฝึกฝนต้องพัฒนาตน คือต้องสิกขาต้องศึกษา ในที่สุดก็มาจบที่สิกขา ชีวิตมนุษย์นี่จะดีจะงามจะประเสริฐ จะเป็นชีวิตที่ได้ผลมีชีวิตอยู่อย่างดีก็ต้องศึกษา ตกลงว่า สิกขาก็มาเป็นหลักการปฏิบัติทั้งหมดของพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายนั้นต้องการปัญญาแต่บอกไปว่าปัญญาจะเกิดอย่างไร ปัญญาต้องอาศัยทุกด้านของชีวิตมาร่วมกัน จิตใจต้องเข้มแข็ง ต้องมีความขยันความอดทน อย่างมีปัญหาเกิดขึ้นต้องมีความเพียรที่จะคิด ถ้าเราย่อท้ออ่อนแอ เราก็หันไปหาสิ่งช่วยเหลืออื่น ไม่คิด เมื่อไม่คิดปัญญาก็ไม่เกิดหรือว่าเจออะไรต้องทำ เราไม่สู้อ่อนแอก็จบ เพราะฉะนั้นจิตใจต้องเข้มแข็ง ต้องมีความขยันหมั่นเพียร มีความอดทน เป็นต้น จิตใจก็ต้องสงบ วุ่นวายเดือดร้อนสับสนก็คิดอะไรไม่ออกเหมือนกันก็ต้องทำให้จิตใจสงบมีสติคุมตัวเองได้ จิตต้องระลึกอยู่กับสิ่งที่เอามาใช้ประโยชน์นั้นต้องมีจิตใจที่เป็นสมาธิแน่วแน่ แล้วจึงจะคิดการณ์ได้ดี ปัญญาจึงจะเดินได้ดี จิตใส เมื่อจิตมันขุ่นมัวก็คิดอะไรไม่ออก เมื่อจิตใสเป็นสมาธิก็คิดออก เพราะฉะนั้นด้านจิตก็สำคัญต้องพัฒนาจิตขึ้นมาด้วย ปัญญาจึงจะพัฒนาได้ ปัญญาพัฒนาบนฐานของจิตที่ดีตามที่พัฒนาแล้ว ทีนี้จิตก็ต้องอาศัยพฤติกรรม ปัญญาก็ต้องอาศัยพฤติกรรม เราจะเรียนรู้เราจะมีปัญญา เราก็ต้องใช้ขาเดินต้องใช้ปากพูด เป็นต้น ต้องใช้มือไปจับทำสิ่งต่างๆแล้วไปทดลอง เป็นต้น ข้อมูลที่จะให้เราเกิดปัญญามันอยู่ที่นั่น เราต้องเดินไป เราต้องขยันไปหาข้อมูล เก็บข้อมูล ถ้าเป็นคนด้วยกัน คนนั้นเขาเรียนรู้มา คนนั้นเขารู้เรื่องนั้นเรื่องนี้เราก็ต้องรู้จักใช้ปากไปหาเขา รู้จักวิธีพูด ปรับปรุงวิธีพูด ทำให้เขาเข้าใจความประสงค์ของเราว่าถามอะไร ถ้าถามไม่เป็นพูดไม่เป็นเขาฟังไม่รู้เรื่อง ทีนี้หรือพูดไม่ดีแทนที่เขาอยากจะพูดเขาก็จะเดินหนีไปเลย เพราะฉะนั้นก็จะต้องปรับปรุงวิธีพูดด้วย รู้จักพูดพูดให้เขาเข้าใจได้ดี และก็ใช้ถ้อยคำที่มันน่าฟังชวนให้คนเขาอยากพูดด้วย ถ้าเมื่อรู้จักพูดดีรู้จักโต้ตอบสนทนามันก็ได้ข้อมูลได้รับการถ่ายทอดความรู้ จนตัวเองก็พัฒนาปัญญาได้ เรื่องพฤติกรรมก็เป็นสำคัญที่จะทำให้พัฒนาปัญญาได้ เพราะฉะนั้นตกลงว่า จะพัฒนาปัญญาก็ต้องอาศัยพัฒนาทั้งพฤติกรรมและจิตใจไปด้วย และเมื่อคุณพัฒนาปัญญาไปแล้ว ปัญญาของคุณก็มาช่วยทำให้คุณยิ่งเรียนรู้พัฒนาพฤติกรรมของคุณ ในการที่แสวงหาข้อมูล เป็นต้น ได้ผลดียิ่งขึ้นอีก และจิตใจของคุณพอมีปัญญาก็ทำให้จิตใจของตัวเองก็พัฒนาได้ อย่างน้อยเราเจอปัญญา นี่ทุกข์แล้ว บีบคั้นติดขัด พอเรามีปัญญาคิดออกว่าจะทำอย่างไร หายทุกข์โล่งสบายมีความสุขหรือว่าปัญญาเห็นคุณค่าสิ่งที่กระทำ แต่เดิมไม่อยากทำไม่เต็มใจทำ พอปัญญาเห็นคุณค่าเห็นประโยชน์ก็เปลี่ยนเป็นพอใจ มีความสุขในการกระทำ เพราะฉะนั้นปัญญาก็เป็นตัวที่กลับมาเป็นปัจจัยแก่จิต ตกลงต้องพัฒนาไปด้วยกัน เรียกว่า พฤติกรรม จิตใจและปัญญา พฤติกรรมก็ด้านกาย วาจา ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นเพื่อนมนุษย์ในทางสังคมก็ดี เป็นปัจจัย 4 วัตถุสิ่งต่างๆก็ดีพัฒนาหมด พฤติกรรมเรียกว่า ศีล และพัฒนาทางด้านจิตใจมาอาศัยสมาธิเป็นแกน เพราะว่าใจที่ดีที่สุดที่เหมาะแก่การใช้งานเรียกว่า กัมนียะ นั้นต้องอาศัยสมาธิคือจิตใจที่สงบแน่วแน่ มั่นคง เรียบ ได้ดุลย์ลงตัว จิตที่เป็นสมาธิก็คือจิตที่อยู่ตัวของมันได้ดุลยภาพ เป็นจิตที่ท่านใช้งานได้ดีที่สุดแล้วก็มาสู่ปัญญา ก็เรียกระบบทั้งหมดนี้ว่าไตรสิกขา การศึกษา 3 ด้าน พุทธศาสนาก็เลยมาอยู่ตรงนี้เอง พุทธศาสนาก็อยู่ที่ไตรสิกขาระบบการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ทั้งหมดที่จะให้ชีวิตดีงามนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคมก็อยู่ที่ไตรสิกขานี้ทั้งนั้น วันนี้ก็คิดว่าเอาเท่านี้ก่อนเป็นจุดบรรจบที่ว่าพุทธศาสนานี้เกิดขึ้นมาแล้วมาอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร แล้วก็แก้ไขปัญหาอย่างไร แต่ว่าจุดที่เรียกว่าต่อยังมีอยู่อีกนิดก็คือว่า เมื่อพระพุทธศาสนาสอนหลักการใหม่อันนี้แล้ว ทีนี้มนุษย์ทั่วไปเราต้องยอมรับความจริงว่าเขายังอยู่ในจุดที่เราเรียกได้ว่า ยังไม่รู้ไม่พัฒนา ส่วนใหญ่ๆ หรือไม่อย่างนั้นก็หลงผิดไปติดในทิฐิ ในทฤษฎีในแนวคิดต่างๆ เราจะไปให้เขาพรวดพราดมาสู่ในจุดที่้ต้องการทันทีเป็นไปไม่ได้ ทีนี้ในแง่ของการอยู่กับหมู่มนุษย์จำนวนมาก และมีการพัฒนาระดับต่างๆไม่เหมือนกัน เราจะทำอย่างไร ตอนนี้เป็นเรื่องของความสามารถของผู้สอน พระพุทธเจ้าจะต้องทรงใช้ความสามารถในการสอนในฐานะพระศาสดาว่าจะทำอย่างไรให้มนุษย์เดินมาสู่หลักการนี้ แต่หลักการพระพุทธศาสนาเป็นหลักแห่งสิกขาคือการเรียนรู้ฝึกฝน พัฒนาตนให้เกิดปัญญา ได้บอกไปแล้วว่าหลักการนี้ทำให้บังคับกันไม่ได้ มนุษย์จะต้องพัฒนาตนเองโดยอาศัยท่านที่มีความรู้กว่าพัฒนากว่าโดยเฉพาะพระพุทธเจ้าเข้ามาช่วยประคับประคองมาช่วยแนะนำสั่งสอนค่อยๆพัฒนาไป ด้วยการมีจิตปรารถนาดีมีเมตตากรุณา เพราะฉะนั้นหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาจึงมีสอง 1.ปัญญา 2.กรุณา ปัญญาหมายความว่าต้องการให้เกิดปัญญา ปัญญาเป็นตัวตัดสินที่จะให้บรรลุธรรมหรือว่าจะให้ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง แต่ปัญญาจะเกิดได้อย่างไร ในการที่คนอื่นจะเกิดปัญญาได้ เราไปบังคับเขาไม่ได้ ปัญญาไปยัดเยียดใส่สมองไม่ได้ก็ต้องไปช่วยเหลือเขา ค่อยๆไปแนะนำหาทางที่จะเกื้อกูลจากสภาพแวดล้อมให้เกื้อหนุนอะไรต่ออะไร เขาจะได้เรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนขึ้นมา เพราะฉะนั้นก็ต้องมีจิตใจที่มีกรุณา คิดจะช่วยเหลือเขาให้ขึ้นสู่ความดีงามและความรู้นี้ ก็เลยมีหลักการใหญ่ 2 อัน 1.ปัญญา พระพุทธเจ้าต้องมีปัญญารู้แจ้งทำด้วยพระองค์เอง 2.มีปัญญาที่จะมาหาทางสอนคนอื่นให้ได้ผลด้วย ปัญญาก็ออกสองด้าน ปัญญาหนึ่งคือตัวเองต้องรู้ความจริง ปัญญาที่สองก็คือเมื่อรู้ความจริงนั้นทำอย่างไรจะเอาความจริงนั้นมาสื่อให้คนอื่นเข้าใจได้ประโยชน์กับเขาได้ ถ้าได้แค่ปัญญาขั้นที่หนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ได้ประโยชน์เฉพาะพระองค์เป็น ปัจเจกพุทธะ แต่เพราะพระพุทธเจ้ามีปัญญาอีกอันหนึ่งก็คือ ปัญญาที่สามารถเอาความรู้ความจริงนั้นมาสื่อให้คนอื่นเข้าใจได้ให้เป็นประโยชน์กับคนหมู่มากก็เป็น สัมมาสัมพุทธ และตัวที่จะทำให้พระองค์เอาธรรมะเอาปัญญาที่พระองค์ได้ที่รู้ธรรมะความจริงไปสื่อให้เป็นประโยชน์คนหมู่ใหญ่ก็คือคุณธรรมที่เรียกว่ากรุณา ที่อยากจะไปช่วยเขา ทีนี้ในส่วนพระองค์เองที่มีปัญญา ก็ทำให้พระองค์ได้บรรลุจุดหมายแล้วก็คือเป็นผู้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ ภาวะนั้นเรียกว่า วิสุทธิ์หรือวิมุตติ เราก็เลยเติมเข้าไปอีกคุณก็คือว่าในส่วนพระองค์นั้นตัวยืนที่พระองค์ได้บรรลุจุดหมายแล้วก็คือพระองค์มีวิสุทธิคุณความบริสุทธิ์ หรือจะเรียกว่า วิมุตติคุณ วิมุตติคุณก็คือความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ แต่ว่าตัวแกนสำคัญในทางปฏิบัติก็ปัญญากับกรุณา เพราะฉะนั้นในคัมภีร์เก่าๆท่านจะเอาแค่สอง ข้อที่สามท่านถือว่าพระพุทธเจ้าก็บรรลุก็จบไปแล้ว ท่านจะมาใช้ภาคปฏิบัติการก็ปัญญาอันหนึ่ง กรุณาอันหนึ่ง ที่ทำให้พระองค์บำเพ็ญพุทธกิจ ทีนี้พระพุทธเจ้าก็มีพระปัญญามาสั่งสอนสื่อธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้แล้วให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ปัญญาอันนี้ก็มาจัดตั้งวางระบบ จัดวิธีสอน จัดชุมชน จัดสภาพแวดล้อมเป็นระบบในสังคมมนุษย์ขึ้นมา จนกระทั่งเกิดสงฆ์ เป็นต้น การจัดระบบอะไรต่างๆเหล่านี้เรียกว่าวินัย ทีนี้ธรรมะคือความจริงที่พระองค์ตรัสรู้ปัญญาในแง่ที่หนึ่งรู้ความจริงของธรรมดาธรรมชาติ เรียกว่ารู้ธรรมะ รู้ธรรมะรู้ความจริง ธรรมะนั้นก็เพียงแต่เอามาแสดง เพราะว่าพระพุทธเจ้าเกิดหรือไม่เกิด ธรรมะก็มีอยู่ตามธรรมดาของมัน พระองค์ก็ตรัสไว้ว่า อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง, ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา, พระองค์ก็ตรัสไว้ว่า ตถาคตทั้งหลายคือพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตามความจริงมันก็มีอยู่ตามธรรมดาของมันว่าดังนี้ๆว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา เป็นความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาไม่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเกิดหรือไม่ แต่พระพุทธเจ้าไปค้นพบตรัสรู้เข้าถึงความจริงนี้แล้วก็นำมาเปิดเผยแสดงชี้แจ้งให้ง่ายเข้าใจกันได้ อันนี้ก็คือหน้าที่ของพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่ใช่หน้าที่หมายความพระองค์ได้ทำ เป็นอันว่าหนึ่งธรรมะความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาไม่ขึ้นกับการเกิดของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไปค้นพบเมื่อค้นพบแล้วก็เอามาแสดง แสดงเท่านั้นเอง ใช้คำว่าแสดงทีนี้ถ้าจะมาจัดวางตั้งวางเป็นระบบเช่นมาจัดลำดับเป็นหมวดเป็นหมู่แบบนี้เรียกว่าบัญญัติบางครั้งบางส่วนพระพุทธเจ้าก็บัญญัติด้วย คือมาจัดตั้งวางระบบแต่ว่าที่จัดวางระบบอย่างจริงจังก็คือว่าเอาความรู้ธรรมะมาสื่อให้เป็นประโยชน์แก่หมู่มนุษย์จำนวนมากด้วยการจัดหมู่ชน จัดระเบียบชีวิต การจัดตั้งองค์กรขึ้นมา เพื่อจะให้ธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้เข้าถึงคนเหล่านี้และคนเหล่านี้จะได้ประโยชน์ การที่เอาความรู้ในธรรมะมาจัดตั้งวางระบบในสังคมมนุษย์ จัดระเบียบชีวิตจัดตั้งองค์กร เป็นต้นนี้เรียกว่าวินัย อันนั้นพระพุทธเจ้าก็ทำสองอย่าง หนึ่งแสดงธรรม สองบัญญัติวินัย บัญญัติวินัยก็จัดตั้ง สังคะ ขึ้นมา สังคะก็จะเป็นชุมชนที่เป็นระบบที่จัดขึ้นมาเพื่อให้เป็นสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่อการที่คนที่อยู่ในชุมชนนี้จะได้ประโยชน์จากธรรมะนี้เอง เพราะฉะนั้นสองอันนี้จะต้องมาประสานกัน ก็คือหลักการแห่งธรรมะกับวินัย พุทธศาสนาก็เลยประกอบด้วยองค์สองส่วนคือธรรมะกับวินัย ธรรมะเป็นความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา พระองค์จะเกิดหรือไม่เกิดมันก็มีอยู่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็เพียงค้นพบแล้วก็มาแสดง แต่เพื่อให้ธรรมะนี้เกิดประโยชน์แก่หมู่มนุษย์พระองค์ต้องมาจัดตั้งวางระบบ จัดระเบียบชีวิต จัดระบบสังคม จัดตั้งองค์กร จัดตั้งสังคะ ขึ้นมา การกระทำนี้เรียกว่าวินัยเพื่อให้มนุษย์เหล่านี้ได้ประโยชน์อย่างธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้ แล้วให้ดำเนินตามธรรมะ เพราะฉะนั้นก็จะต้องจัดให้มันสอดคล้องกับธรรมะนี้ด้วย เพราะฉะนั้นวินัยจึงต้องตั้งอยู่บนฐานของธรรมะ และมีธรรมะเป็นจุดหมาย วินัยนี้ไม่ใช่หมายความว่าเป็นระเบียบอะไรต่างๆในภาษาไทย วินัยนี้หมายถึงการจัดตั้งวางระบบ ระเบียบชีวิต ระบบสังคมทั้งหมด ระบบเศรษฐกิจ การเมืองการปกครองอะไรต่างๆเหล่านี้อยู่ในวินัยหมด ว่าเราจะใช้ปัจจัย 4 กันอย่างไร จะกิน จะอยู่กันอย่างไร จะปกครองกันอย่างไร มันจึงจะเป็นชุมชนที่ดี ที่จะดำเนินตามหลักการที่แท้จริงของธรรมชาติได้ประโยชน์ ความจริงของธรรมชาตินั้นชีวิตจะได้เจริญงอกงามจะได้เป็นชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อเกื้อหนุน และต่อการที่แต่ละคนจะได้ฝึกฝนพัฒนาตนในไตรสิกขา นี่จุดหมายที่สำคัญอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นวินัยก็เลยจัดสรรระบบชีวิตและระเบียบสังคมเพื่อให้คนในชุมชนนั้นได้พัฒนาในไตรสิกขาอย่างดีที่สุดมาประสานกันระหว่างธรรมะกับวินัย เป็นหลักการสองอย่างของพระพุทธศาสนา ถ้ารู้แต่ธรรมะอย่างเดียวก็เป็น ปัจเจกพระพุทธเจ้า แต่เพราะว่าสามารถมาสื่อธรรมะให้เป็นประโยชน์แก่หมู่มนุษย์จำนวนมากได้ด้วยการจัดตั้งวางระบบที่เรียกว่าวินัย จึงเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า ทีนี้นี่เป็นหลักการใหญ่แต่ว่าทำอย่างไรล่ะ ในเมื่อหมู่มนุษย์มีมากมายคนที่จะเดินหน้าหน่อยเอาจริงเอาจังก็เข้าสู่ชุมชนที่เป็นระบบจัดตั้งนี้ได้ แล้วคนหมู่ใหญ่ที่เหลืออีกล่ะ ที่ยังวุ่นวายอยู่กับความลุ่มหลงงมงาย ยังหวังอำนาจดลบันดาลภายนอกยังมีความอ่อนแอทำอย่างไร มันก็ต้องมีวิธีปฏิบัติหลายระดับ อันนี้บอกแล้วว่าบังคับไม่ได้ มีเมตตากรุณาเป็นที่ตั้งไปช่วยเหลือเขาต้องไปพบกับเขา ณ จุดที่เขายืนอยู่ อันนี้ก็กลับไปสู่สิ่งที่เคยพูดไว้แล้ว เพราะฉะนั้นคนจำนวนมากยังอ่อนแอ ยังมาเพิ่งปัจจัยภายนอก ทำอย่างไร? ก็มีการที่ว่าหาจุดเชื่อมต่อ จุดเชื่อมต่อนี้อาจจะเป็นไปเองในการที่คนนั้นจะเข้าสู่พระพุทธศาสนา หรือเขาเริ่มเข้ามานิดๆหนึ่ง พอย่างเหยียบเข้ามานิดหน่อย เท้านึงเข้ามาแต่อีกเท้ายังอยู่ข้างนอก ข้างนึงก็หวั่นใจในเรื่องของความเชื่อเก่าอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพเจ้าจะว่าอย่างไร อีกด้านหนึ่งก็อยากจะเข้ามาสู่พระพุทธศาสนา นี่แหละพระพุทธศาสนาไม่บังคับ ถ้าบังคับก็แกไม่ทำแกตาย นี่พระพุทธศาสนาไม่มีทำอย่างไรล่ะก็อาศัยกรุณา บางทีก็ต้องยอมรับ คุณทำไปคุณเชื่ออย่างไรก็เชื่อไว้ก่อน แต่ว่าขออย่างเดียวอย่าให้มาผิดหลักการของพระพุทธศาสนา เช่นว่า อย่าไปฆ่า อย่าไปทำลาย บูชายัญนี่มันต้องไปฆ่าทำลายชีวิตสัตว์ ในส่วนนั้นเอาออกไปเสีย บูชายัญเรามาบูชากันใหม่ว่า บูชายัญนี่มันเพื่ออะไร บูชายัญตอนนี้เราไม่ต้องไป ขออำนาจดลบันดาลเทพเจ้าแล้ว บูชายัญความหายหนึ่งก็คือว่าเป็นการกระทำกิจกรรมทางสังคมที่ออกมาแล้วให้มันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอะไรต่างๆก็ให้ความหมายบูชายัญไปจนกระทั่งถือว่ายัญนั่นก็คือการทำทาน ทำประโยชน์ช่วยเหลือคนยากไร้ให้อะไรต่างๆเหล่านี้ นี่คือเรื่องเชื่อมต่อก็เข้ามา เพราะว่าคนยังไม่พร้อม และเขาก็อยู่ระหว่างความเชื่อเก่าปฏิบัติตามประเพณีเขาอยู่ในสังคมของเขา เขามีวัฒนธรรมมาเดิม ทำอย่างไรก็ให้สิ่งเหล่านั้นประณีตไม่ให้มันเสียหาย ไม่ให้เกิดโทษก็ไม่ให้ผิดหลักการก็เอาล่ะ ปล่อยเขาไปทำไป เพราะฉะนั้นมันจึงได้เกิดในเรื่องของการเชื่อมต่อระหว่างกิจกรรมในพุทธศาสนากับศาสนาเก่า แม้แต่ว่าเดี๋ยวนี้มาก็มีสวดมนต์ มีสายสิญจน์ มีทำน้ำมนต์อะไรต่างๆเหล่านี้ แต่ว่าขัดเกลาแล้วให้ประณีต อย่างที่ว่าพระพุทธเจ้าเคยบัญญัติเรื่องไม่ให้เหยียบผ้าขาว เสร็จแล้วก็พอพระเดินไปตามถนนมีกลุ่มผู้หญิงเอาผ้าขาวมาให้เหยียบ ขอให้เป็นมงคลพระมายอมเหยียบ เขาก็โพนทะนาว่ากล่าวก็กลายเป็นเสียหายไปอีก พระพุทธเจ้าก็ทรงปรับปรุงแก้ไขสร้างอนุบัญญัติขึ้นมาว่าเว้นแต่เขาขอเพื่อเป็นมงคลและก็ให้เหยียบได้อย่างนี้เป็นต้น นี่อย่างนี้เป็นต้นว่าเป็นตัวอย่างที่ว่าจะสื่ออย่างไร แต่ว่าเราก็มีหลักการว่าก็บอกแล้วว่า เพื่อจะให้มันเป็นไปได้ไปยอมรับเขาตามที่เขาเป็นพบกับเขา ณ จุดที่เขายืนอยู่ แต่เรามีจุดชัดเจน หนึ่ง.อย่าให้ผิดหลักการ หลักการของพระพุทธศาสนาเรื่องกรรม เรื่องสิกขาก็ไปสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้อย่างไรก็ตาม อย่าให้ขัดหลักการแห่งกรรม คือการทำกรรมด้วยความเพียร กัมวาทะ วิริยะวาทะ แล้วก็อย่าให้ขัดหลักสิกขาคือการฝึกฝนพัฒนาตนยิ่งๆขึ้นไป แล้วก็พระพุทธเจ้าท่านตรัสย้ำเรื่องความไม่ประมาทอย่าให้ขัดเรื่องความไม่ประมาทกลายเป็นคนประมาทใช้ไม่ได้และก็อย่าให้ขัดเรื่องการพึ่งตนเอง ความอิสระ ต้องเอาชีวิตอนาคตอะไรของตนเองเอาไปฝากสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวของตัวเองก็พึ่งตนเองไม่ได้ไม่มีอิสระภาพ เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาก็บอกว่าถ้าหากว่ายังปฏิบัติแล้วมันไม่ขัดหลักการเหล่านี้หรือเอามาหนุนได้ใช้ได้ เพราะฉะนั้นอย่างเรื่องของแม้แต่พระที่เข้าไปในป่าไปบำเพ็ญสมณธรรมแล้วก็เกิดหวาดกลัว กลัวพวกผี สาง เทวดา เทวดามาแกล้งอะไรต่างๆ พระพุทธเจ้าก็ยังสอนเรื่องว่าให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยแล้วจะได้หายกลัวสิ่งเหล่านี้ หรืออย่างมหาสมัยสูตร ที่ว่าท้าวจตุโลกบาลก็มาเฝ้าบอกว่าเดี๋ยวพวกที่เป็นชาวบ้านชาวพุทธทั้งหลายทั่วไป ไปอยู่ในที่ต่างๆพวกเหล่าปีศาจ ยักษ์ มารอะไรต่างๆเหล่านี้ที่มันไม่รู้จักพุทธศาสนามันก็จะมากลั่นมาแกล้ง ก็เอาคำของเทวดาหัวหน้าเหล่านี้ไปกล่าวซะ พวกนั้นมันจะได้ไม่กล้าหรือมันจะได้เคารพก็จะได้ไม่รังแกมาเบียดเบียนไม่มารังควาน ไม่รบกวน อันนี้ก็เห็นได้เลยว่าเป็นเรื่องของการที่ว่าปฎิบัติไปตามสภาพความเป็นจริงท่ามกลางความเชื่อเหล่านั้นแต่ไม่ให้ขัดหลักการก็เป็นอันว่าพุทธศาสนาจะมีจุดที่ชัดเจนว่า จุดที่ชัดเจนของพระพุทธศาสนาก็คือว่าเมื่อไปสัมพันธ์กับความเชื่อเหล่านี้ซึ่งเราอาจจะเรียกว่าความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนาจภายนอกก็ไม่ให้หยุดอยู่แค่นั้น จะต้องเดินหน้าไปสู่ไตรสิกขาได้ถ้าไปจมอยู่ไปหวังพึ่งหมกอยู่ก็เป็นอันว่าตันเพราะฉะนั้นถ้าใช้สิ่งเหล่านั้นแล้วเดินหน้าไปได้ในไตรสิกขาหรือว่าเป็นสื่อในการดึงขึ้นไปก็รอด นี่ก็คือการเชื่อมต่อ สอง.การเชื่ออำนาจเร้นลับเหล่านั้นการใช้สิ่งเหล่านั้นจะต้องไม่เป็นไปในทางร้ายซึ่งผิดหลักการพระพุทธศานาคือเป็นการสนองกิเลส มุ่งแต่ความเห็นแก่ตัว แย่งชิงผลประโยชน์กันทำร้ายผู้อื่น ใช้โทสะ ซึ่งศาสนาเก่าเป็นอย่างนี้มาก ไสยศาสตร์อะไรต่ออะไรแกล้งกัน กระทำคุณไสย หรือเอาอ้างคุณเอาเทวดามาบันดาลทำร้ายศัตรูหรืออะไรก็แล้วแต่ ในทางร้ายพุทธศาสนาไม่เอาก็เอาคุมเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ในความหมายที่เป็นความดีงามเป็นคุณธรรมและความบริสุทธิ์ ทีนี้อะไรที่จะมาเป็นตัวทำให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ในความหมายอย่างนี้ก็ดีที่สุดก็นำพระรัตนตรัยเข้ามาแทนพวกนั้นเลย พระรัตนตรัยก็มีความหมายสำหรับคนทั่วไปในเชิงศักดิ์สิทธิ์มีอำนาจได้ ทีนี้ก็กลายเป็นสองความหมาย ความหมายสำหรับชาวพุทธที่แท้ที่จะเดินในไตรสิกขา ก็คือความหมายที่ว่าระลึกถึงพระพุทธเจ้า นี่เป็นแทนของมนุษย์แสดงศักยภาพของมนุษย์ที่สามารถฝึกฝนพัฒนาได้จนถึงที่สุดเป็นบุคคลประเสริฐแบบอย่าง เราก็มีศัยภาพนี้เมื่อระถึงพระพุทธเจ้าก็เตือนเราว่าเราก็เป็นมนุษย์เหมือนกันมีศักยภาพมีความมั่นใจเรียกว่า ศรัทธาเชื่อมั่นในตถาคตโพธิ เชื่อในปัญญาตรัสรู้ที่ทำให้มนุษย์เป็นพุทธะได้ที่มีอยู่ในทุกคน แล้วก็จะได้ตระหนักในหน้าที่ว่าเราจะต้องมีชีวิตที่ดีด้วยการพัฒนาศึกษาเรียนรู้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องพัฒนาตน ต้องเดินในไตรสิกขา และเกิดกำลังใจได้แบบอย่าง ซึ่งเราจะอธิบายกันต่อไป เอาเป็นว่าเราก็ระลึกถึงพระพุทธเจ้าในความหมายที่แท้มันก็จะจูงเข้าสู่ไตรสิกขาและอริยสัจ แต่ว่าสำหรับคนทั่วไปมันก็จะมาหยุดที่จุดเชื่อมต่อที่เขานับถือสรณะที่พึ่งแบบอำนาจดลบันดาลภายนอกเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทีนี้สำหรับชาวพุทธผู้ที่อยู่ในจุดหัวต่อนั้นซึ่งจะมองความหมายของสรณะที่พึ่งในความหมายแบบโบราณ ก็จะมองว่าพระรัตนตรัยเป็นแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่พระรัตนตรัยที่นับถือแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้ จะปิดกั้นส่วนทางเสียหายได้ เพราะหนึ่งเมื่อมานับถือพระรัตนตรัยแล้วจะเป็นจุดที่สามารถดึงต่อให้เจริญในไตรสิกขาไม่หยุดอยู่แค่นั้น เพราะฉะนั้นกันผลเสียอันนี้ได้ ก็เอาเป็นว่าเป็นสื่อเป็นจุดเชื่อมต่อว่ามานับถือพระรัตนตรัย
แบบสิ่งศักด์สิทธิ์แล้ว เราจะได้พัฒนาเขาสร้างความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงพระรัตนตรัยอีกชั้นหนึ่งแล้วเขาก็จะเดินหน้าไปสู่ไตรสิกขาได้ก็มีประโยชน์แม้เขาจะนับถือแบบนี้ เพราะโทษที่มันตัวร้ายก็คือทำให้เขาจมอยู่ ทีนี้เราปิดกั้นในการจม วนเวียน หมกตัวอยู่ อันนั้นได้เสียมันก็หมดปัญญา เพราะว่ามันกลายเป็นสิ่งเสริมกำลังใจได้ด้วย ทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติยิ่งขึ้น เหมือนอย่างพระที่ไปอยู่ในป่า มัวกลัวมัวหวั่นหวาดอยู่ไม่เป็นอันปฏิบัติใจไม่เป็นสมาธิ ทีนี้พอหายกลัวมีจิตมั่นคงแล้วก็มีกำลังใจในการปฏิบัติ เพราะหน้าที่ของตัวก็ต้องทำอยู่แล้ว ก็ทำได้เต็มที่ซิ จิตใจดีขึ้น เพราะฉะนั้นก็กลับเป็นดีไป แต่ว่าก็อย่างที่บอกแล้วก็คือว่า พระรัตนตรัยเข้ามาเป็นจุดเชื่อมต่อ เป็นอันว่า หนึ่ง.นับถือในความหมายแบบศักดิ์สิทธิ์แต่ว่าต้องให้เป็นจุดเชื่อมดึงเขาให้เดินหน้าต่อไปได้ ไม่ใช่ไปจมอยู่ แล้วสามารถทำให้เกิดกำลังใจในการบำเพ็ญในการปฏิบัติดียิ่งๆขึ้นไปด้วย ทีนี้ศาสนาก็จะไม่มีความหมายเป็นเพียงที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจที่ว่า พอไปยึดเหนี่ยวจิตใจที่เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวเกาะแล้วจมลง เหนี่ยวลงดึงลง แต่ว่าเป็นความหมายของศาสนาในแง่ว่าเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เหนี่ยวแล้วเกาะแล้วดึงขึ้นทำให้สูงขึ้นไป ก็คือทำให้เขาเนี่ยเดินหน้าในการพัฒนาชีวิตของเขา เจริญในเรื่องของพฤติกรรม จิตใจ และปัญญาต่อไป เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นหลักการใหญ่ที่ว่าถ้าพระจะไปสัมพันธ์กับชาวบ้าน มีเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์เข้าไปเกี่ยวข้องจะทำอย่างไรให้ใช้สิ่งเหล่านี้ดึงเขาให้พัฒนาในไตรสิกขา ทำให้เขาเจริญพัฒนาขึ้นมาด้วยไม่ใช่อยู่แค่เดิม ถ้าไปได้แค่ทำให้เขาปลอบประโลมจิตใจมีขวัญดีหายขวัญฝ่อต่างๆ มันก็ได้แค่ศาสนาโบราณอย่างที่นักสังคมวิทยาคนหนึ่งเขาอาจไม่รู้ไม่เข้าใจเขาก็เลยบอกพระก็เหมือนหมอผี ไปหาหมอผีแล้วมันก็สบายใจ ชุ่มฉ่ำประโลมใจได้ ก็อบอุ่นใจมีความหวัง ฉะนั้นก็ได้เท่านั้นเอง ถ้าศาสนามีความหมายเท่านี้พระพุทธศาสนาก็ไม่ต้องเกิด เพราะศาสนาพราหมณ์เขาสนองความมุ่งหมายนี้ได้อยู่แล้ว แต่ว่ามันทำไม่จมอย่างที่ว่า ก็เป็นอันว่าต้องให้ความศักดิ์สิทธิ์เป็นตัวเชื่อมไปสู่การพัฒนาไตรสิกขาให้ได้ พระจะต้องทำอันนี้ให้ได้ ถ้าทำอันนี้ไม่ได้ไม่ใช่หน้าที่ของพระ ตกลงว่าเรายอมได้ในแง่ของความศักดิ์สิทธิ์แบบนี้ สอง.ก็คือความศักดิ์สิทธิ์นั้นก็กันกิเลสความชั่วร้าย เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่มาอาศัยพระรัตนตรัยมาช่วยคนไปอาศัยอำนาจดลบันดาลภายนอกก็ไปยุ่งกับเรื่องกิเลสไปใช้ทางเห็นแก่ตัวในทางสนองโลภะ สนองโทสะ ทำร้ายกันอะไรต่างๆ เพราะฉะนั้นเมื่อเอาความศักดิ์สิทธิ์มาอยู่พระรัตนตรัย ความศักดิ์สิทธิ์นั้นเปลี่ยนความหมายมาที่ความบริสุทธิ์ คุณธรรม แล้วก็ปัญญา โดยเช่นอย่างเราสร้างพระพุทธรูปก็มีพระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์ว่าพระพุทธรูปของเราเหล่านี้เป็นเครื่องหมายความศักดิ์สิทธิ์ที่สูงสุดอยู่ที่ความบริสุทธิ์ คุณธรรมมีเมตตากรุณา นั่งสงบยิ้ม ไม่เหมือนเทพเจ้าที่มีอำนาจดลบันดาลนอกศาสนาที่จะต้องทำท่าผาดโผนโจนทะยาน มีอาวุธร้ายสำแดงเดช มีมือมีเท้ามากเป็นร้อยเป็นพัน เพราะฉะนั้นก็เปลี่ยนความหมายความศักดิ์สิทธิ์ให้ความศักดิ์สิทธิ์นี้อยู่ในขอบเขตของความดีงามความบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นเมื่อเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาความหมายความศักดิ์สิทธิ์ที่ได้สาระที่ทำให้ในแง่จิตใจได้ผลอันเดียวกัน แต่มันได้ความดีพ่วงมาด้วย หนึ่ง.ดึงขึ้นไปสู่ความดีงามยิ่งขึ้นพัฒนาในไตรสิกขาเป็นจุดเริ่มต้นให้ แล้วก็สอง.ก็คือเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่ให้อยู่ในคุณธรรมความดีไม่มีเรื่องกิเลส โลภะ โทสะ เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เลยเป็นโอกาสเพื่อจะช่วยดึงคนไม่ให้ไปติดหลงกับเรื่องของกิเลสเหล่านั้นด้วย ก็ดึงคนเข้ามาสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาแทน เพราะฉะนั้นก็อยู่ที่ว่าจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไรโดยเข้าใจหลักการไม่ให้พลาดเพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นโบราณของเราจึงมีหลักการในการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้เพราะถึงอย่างไรเราต้องยอมรับความจริงว่าหมู่มนุษย์ทั่วไปนั้นยังไม่ได้พัฒนาพอ จิตใจไม่มีความเข้มแข็ง เมื่อเกิดเหตุร้ายภยันตรายขึ้นมาก็ตั้งจิตไม่ทันไม่มีสติ จิตเตลิดไปแล้วขวัญเสียก็ทำอะไรไม่ถูก ได้เคยบอกแล้วว่าสิ่งเหล่านี้มันเป็นความเชื่อ หรือว่าเป็นเรื่องของการปฏิบัติการมีพฤติกรรมที่ต้องออกมาจากจิตไร้สำนึก การมาเพียงสอนกันเท่านี้นั้นไม่พอ คนมันยังมีความเชื่อในสิ่งเหล่านี้อยู่ ก็ยกตัวอย่างก็คือสิ่งที่พูดไปแล้ว เมื่อเจอเหตุการณ์ร้ายขึ้นมา เช่นไปในป่าแล้วได้ยินร้องว่าเสือมาเท่านั้น มันไม่ต้องไปคิดว่าเสือรูปร่างเป็นอย่างไร เสือคืออะไร เสือมันดุอย่างไร เสือมันมาหาเราแล้วมันจะกัดเรา เราจะเป็นอย่างไร ภัยอันตรายจะเกิดขึ้นไม่ต้องคิด พอเขาบอกว่าเสือมาเท่านั้นล่ะ ตัวสั่น ขาอ่อนไปหมดแล้ว ทันทีเลยไม่ต้องไปคิดเรื่องอย่างนี้ไม่ต้องคิดเรียกว่าออกมาจากจิตไร้สำนึก แล้วทำอย่างไรจึงจะมีตัวแก้อันนี้ ถ้าไม่มีมันก็ช่วยตัวเองไม่ได้แล้วเกิดภยันตราย เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะมาแก้ก็ต้องลงสู่จิตไร้สำนึกเช่นเดียวกันต้องทันกัน โบราณก็อาศัยความเชื่อแต่เป็นความเชื่ออำนาจดลบันดาลที่อาจจะเป็นภัยอันตรายอย่างที่ว่าไม่ได้ขัดเกลาไม่ได้พัฒนา แต่เขาก็ได้ผลในแง่ทำให้จิตมันตั้งมั่นทำให้เกิดความเข้มแข็ง เช่นเชื่อว่าเทพเจ้านั้นจะมาช่วยใจอยู่เลยใช่ไหม ไม่ขวัญหนีดีฝ่อ ทีนี้ทางพระพุทธศาสนาก็เอาพระรัตนตรัยเข้าไปแทน เพราะว่าจะเป็นสื่อที่นำไปในการพัฒนาและอยู่ในความดีงามด้วย ทั้งคลุมกรอบด้วยทั้งดึงขึ้นด้วยเดินหน้าต่อไปด้วย เราก็เอานี้ไปใส่และก็ให้ได้ผลอันนั้นด้วย คือพอเกิดประสบเหตุการณ์ร้ายอะไรฉับพลันทันทีก็ไม่ขวัญหนีดีฝ่อ ก็ความเชื่อที่ลงลึกในด้านนี้ก็ช่วยจิตของเขาไว้ได้ อันนี้ล่ะเป็นจุดที่ว่าจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ด้วยความรอบคอบ มิเช่นนั้นแล้ว ผู้ที่ไปใช้วิธีหักด้ามพระไปสอนไปด่าไปติเตียนบางทีกลายเป็นตีประชาชนเหล่านี้ให้ออกจากพระศาสนาหรือว่าทำให้เขาไม่สามารถเข้าใจอะไรได้ ทีนี้เราจะเห็นว่าของเราแต่โบราณก็มีประสบการณ์นี้คงคิดว่าสังคมไทยนี้ได้ประสบความสำเร็จพอสมควรในเรื่องนี้ แม้ว่าบางครั้งจะเพลี่ยงพล้ำไปบ้าง บางยุคสมัยก็เพลี่ยงพล้ำให้แก่เรื่องของความเชื่อศาสนาโบราณเข้ามา แต่ว่าโดยทั่วไปภาพรวมประสบความสำเร็จที่เราสามารถรักษาหลักการของพระศาสนาไว้ได้ในขณะที่ต้องให้ประชาชนยังยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้แต่ว่าอยู่ในกรอบ คืออยู่ในหลักการที่ว่า หนึ่ง.ดึงขึ้นด้วย สอง.อยู่ในกรอบของความดีงามไม่สนอง โลภะ โทสะ โมหะ เนี่ยทำอย่างไรถ้าทำได้อันนี้ นี่ก็ผู้ที่เป็นสำคัญคือผู้นำของสังคม เช่นผู้ปกครองประเทศแล้วก็พระสงฆ์เองที่เป็นผู้ที่เป็นศูนย์กลางเป็นที่ผู้ดำรงหลักการพระศาสนา นี่ถ้าพระสงฆ์ยังยึดหลักการนี้ได้ก็ไม่เพลี่ยงพล้ำ ไม่ใช่ว่าตัวเองนี่ก็ไม่เข้าใจหลักการพระศาสนาและยังแถมไปจูงประชาชนออกจากพระศาสนาไปทำให้กลายความหมายเป็นความศักดิ์สิทธิ์แบบสมัยโบราณไป ทีนี้ผู้นำประเทศก็สำคัญเราจะเห็นว่าอย่างในหลวงรัชกาลที่ 1 ก็จะมีเรื่องนี้ประชาชนในยุคนั้นจะเห็นชัดเลยจากประกาศของพระองค์ว่าได้มีความเชื่อหลงไปในเรื่องเหล่านี้ พระองค์ก็ประกาศขึ้นมา แสดงว่าผู้นำของเรานี้ทรงฉลาดมาก คล้ายๆว่าประชาชนจะอย่างไรก็ขอให้ผู้นำก็ตรึงไว้ได้เป็นหลักให้แก่สังคม เพราะฉะนั้นผู้นำถือว่าเป็นผู้พัฒนาดีแล้วมาเป็นผู้นำของสังคม อย่างในหลวงรัชกาลที่ 1 ก็ตาม ในหลวงรัชกาลที่ 5 ก็ตาม มีเอกสารที่แสดงว่าพระองค์เห็นประชาชนต้องไปสัมพันธ์กับความเชื่อเหล่านี้จะถูกชักจูงออกนอกพระศาสนาไปสู่ความเหลวไหลไม่เข้าเรื่อง ก็จะทรงมีประกาศออกมา ก็สังคมของเราก็มีท่านที่เป็นหลักให้ เพราะฉะนั้นผู้นำประเทศและพระสงฆ์ โดยเฉพาะพระสงฆ์นี่หนึ่งล่ะ เพราะเป็นแกนกลางโดยตรงจะต้อง เข้าใจและรักษาหลักการไว้ให้ดี ส่วนสังคมส่วนใหญ่คนทั่วไปนั้นเราจะไปหวังให้เขามาเข้าถึงหลักการพระศาสนาทันทีนั้นเป็นไปไม่ได้ ทำอย่างไรจะให้มันปฏิบัติอยู่ในกรอบขอบเขต ไม่เสียหลักการพร้อมทั้งให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนเหล่านั้นด้วย เพราะที่สุดแล้วพระศาสนาที่มีขึ้นก็เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนนั่นเอง จะทำให้เขาเข้าถึงชีวิตที่ดีงามแต่ว่าชีวิตที่ดีงามไม่ใช่เกิดขึ้นฉับพลันจะต้องมีการพัฒนาต้องเรียนรู้ต้องมีสิกขา เราต้องยอมรับความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์แล้วก็ทำการด้วยปัญญา พร้อมทั้งมีคุณธรรมคือกรุณาที่จะเป็นแหล่งจูงใจให้ปฏิบัติการให้สำเร็จ