แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
วันนี้เป็นวันที่ ภาษาชาวบ้านเค้าเรียกกันว่า วันออกพรรษา แต่ภาษาพระเรา เรียกวันมหาปวารณา
เพราะเหตุว่า การออกพรรษานั้นเป็นไปเอง เพราะอธิษฐานจำพรรษาไว้ 3 เดือน
ครบ 3 เดือนเมื่อไหร่ก็ออกเอง วันนี้ที่จริงก็เป็นวันสิ้นสุดพรรษานั่นเอง สิ้นสุดการจำพรรษา
ออกพรรษาต้องพรุ่งนี้เช้าได้อรุณ รับอรุณวันใหม่ จึงออกพรรษาจริง
แต่เราก็เรียกไปตามภาษาชาวบ้านญาติโยม ก็ไม่ถือกัน ไม่ต้องไปเคร่งครัดในภาษา
ที่นี้ ที่เป็นวันมหาปวารณา ก็เป็นพุทธานุญาตพิเศษ ว่าให้ภิกษุที่จำพรรษา
แล้วทำสังฆกรรมที่เรียกว่า ปวารณา ปวารณานั้นก็มี ในวาระอื่นได้ด้วย
เพราะฉะนั้น ก็มีคำเรียกพิเศษสำหรับวันสิ้นสุดการจำพรรษาต้น นี้ว่า มหาปวารณา
อย่างผมเนี่ยะ เมื่อครบ 3 เดือน คือกลางเดือน 12 วันนั้นก็จะทำปวารณา
ก็หมายความว่า อีก 4 รูปเนี่ยะ ก็ทำปวารณาเหมือนกัน
แต่ว่าไปทำเอาตอนกลางเดือน 12 ก็เป็นสิ้นสุดจำพรรษา
ถ้าได้จำพรรษาหลังนะ ถ้าไม่ได้จำพรรษาหลัง ก็ไม่ได้ถือว่าไม่ได้จำพรรษาอีกเหมือนกัน
อันนั้นก็เป็นปวารณา ไม่เรียกว่ามหาปวารณา นี้ ปวารณา นี่ก็เป็นสังฆกรรมพิเศษ
มีพุทธานุญาตไว้เพื่อความสามัคคี อุโบสถนั้น ก็เป็นเรื่องความสามัคคีอยู่แล้ว
แต่มุ่งไปที่การได้ตรวจสอบ การรักษาวินัยในพระปาฏิโมกข์ตามปกติ ที่นี่
ปวารณาก็เป็นการเสริมความสามัคคีนั้นในโอกาสพิเศษ ที่ได้จำพรรษามาครบ 3 เดือน
ได้อยู่ร่วมกันมา ได้รู้เห็นความเป็นไป ความประพฤติอะไรต่างๆ ของกันและกันแล้ว
ก็เลยมาให้โอกาสกันที่จะว่ากล่าว คำว่า ปวารณา ก็เลยเกิดขึ้น
ก็เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวกันได้ ส่วนธรรมที่ว่า ที่ปวารณานั้น ก็บอกไปในตัว
แสดงว่าได้อยู่ร่วมกันมา จึงได้บอก ??? (03:51) ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา
พอได้อยู่ร่วมกันมาแล้ว ก็เลยว่า จะได้เห็นก็ตาม ได้ยินได้ฟังก็ตาม ระแวงสงสัยก็ตาม
มีอะไรที่ไม่เหมาะไม่สม ผิดพลาดไป ควรจะแก้ไขปรับปรุง ก็บอกกัน
ไม่ใช่หมายความว่าบอกเฉพาะในที่ประชุมนี้ ที่ว่า ปวารณา
คือ ปวารณา นี่ก็เป็นโอกาส เป็นเวลาสำหรับที่มากล่าวคำเปิดโอกาสนั้น ต่อจากนี้ ก็
เปิดโอกาสกันแล้ว บอกเรื่อยๆ ปวารณา นี่ก็เปิด ตรงข้ามกับปิด เราจะมีคำว่า ปิด ก็ นิวารณา
อันนี้ ปวารณาก็เปิด นิวารณาก็ปิด เดี๋ยวนี้ถ้าเป็นทางจิตใจก็มีกิเลสที่ว่า นิวรณ์
ก็ปิดนั่นแหละ กั้น กั้นขวางความเจริญก้าวหน้าในกุศลธรรม โดยเฉพาะปัญญา
ต่อทีนี้ ปวารณา นี่เพราะว่า แปลว่า เปิด ก็มีความหมายเลยต่อไปถึง เชิญเลย
ก็เลยมีความหมายที่ให้ไว้ตัวหนึ่งว่า ??? (05:12) อัชเชสนะ แปลปวารณา ว่าการเชื้อเชิญได้นะ
ก็เชิญเลย
เชิญนี่หนักแน่นยิ่งกว่าเปิดโอกาสอีก เชิญให้ว่ากล่าว อย่างของฝรั่ง คัมภีร์พระวินัยปิฏกของฝรั่งเนี่ยะ
เค้าก็แปลคำว่า ปวารณา เป็น INVITATION แปลว่า การเชิญ
นี้การเชิญหรือการเปิดโอกาสนี้ โดยทั่วไป มี 2 อย่าง 1 ก็ของพระเนี่ยะ ปวารณา
เปิดโอกาสกันให้ว่ากล่าวตักเตือน แล้ว ปวารณา อีกอย่างคือ โยม โยมปวารณากับพระ
อันนั้นก็คือ เปิดโอกาส หรือเชิญนิมนต์ให้ขอได้ ให้บอกความต้องการได้
นี้จะมีวินัยมากหลายข้อที่ว่า ภิกษุจะขอได้ เช่น จีวร อาหารอะไรกับโยมที่เป็นญาติ
หรือปวารณา ถ้าเค้าปวารณาไว้แล้วจึงขอได้ ถ้าเค้าไม่ได้ปวารณาไว้ ไม่ได้เป็นญาติ
ไปขอเค้า ก็ต้องอาบัติ อันนั้นก็เป็น ปวารณา ที่ญาติโยมปวารณากับพระ
นี่ อันนี้เรา พระต่อพระ ก็ปวารณา เปิดโอกาสให้บอกว่ากล่าว หรือเชิญนิมนต์ให้ว่ากล่าวกัน
ปวารณา นี่ก็ถือว่า เป็นว่าปฏิกรรมอย่างหนึ่ง ในปฏิกรรมใหญ่อยู่ 3 อันที่เกี่ยวกับวินัย
ปฏิกรรมที่ 1 ก็ทำอยู่เป็นประจำ คือ ปลงอาบัติ เรียกว่าปฏิกรรมเหมือนกัน
คำรวมก็เป็นปฏิกรรม ปวารณา นี่ก็เป็นเรื่องของการปฏิกรรม ปฏิกรรมของการปลงอาบัติ
นั้นก็เป็นเรื่องของอาบัติเฉพาะข้อนั้นๆ ว่า กับแก้ไขตัวเอง ไม่ทำอย่างนั้นอีก เลิกทำ
แต่ปวารณานี้ ก็เป็นการที่ว่า ต่อจาก ปวารณาแล้ว เค้าบอกกล่าวแล้ว ตัวเองก็จะได้ปฏิกรรม
ตัวเองก็จะได้แก้ไข ทีนี้ อันนี้กว้างเลย จะแก้ไขปรับปรุงเรื่องอะไรก็แล้วแต่
สิ่งที่ท่านผู้อื่นได้บอกแนะนำนั้น ก็เลยไปอยู่ท้ายคำว่า (07:45) ??? ปสันโต ปฏิกริสามิ
เมื่อกระผมมองเห็น ก็จักได้ปฏิกรรม ??? (07:50) ปฏิกริสามิ ก็คือ ปฏิกรรม จะได้แก้ไขเสียกลับตัว
แล้วปฏิกรรมอีกอย่างก็กว้างออกไป ถ้าเรียกว่า อยู่ในอริยวินัย อันนี้ วินัยของพระ
สองอันนี้ ปลงอาบัติปวารณา และอีกอันหนึ่งนั้น ก็เป็น อริยวินัยนั้นกว้างไปหมดเลย
สำหรับคฤหัสถ์ด้วย พระด้วย หมด อันนั้นก็เป็นการที่ว่าเช่นว่า
มีใครมากระทำล่วงเกินละเมิดต่อผู้อื่น ด้วยเข้าใจผิดหรือด้วยเจตนาไม่ดี
สำนึกตัวได้ก็มากล่าวคำขอขมาอภัย แล้วก็ขอขมาอภัย แล้วก็แก้ไขตัวซะ
เลิกทำการที่ไม่ดีที่ละเมิดต่อผู้อื่นนั้น พระพุทธเจ้าก็จะตรัสไว้
มีผู้ที่มากล่าวคำขอขมาอภัยพระพุทธเจ้า มีหลายเรื่องหลายราว มีทั้งพระ ทั้งโยม
พระบางองค์ก็เคยประพฤติ มีความรู้สึกไม่ได้ต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไปเยี่ยมที่วัดของท่าน
แล้วท่านไปเทศน์อะไรเข้า พระองค์นั้นไม่พอใจ ต่อมาสำนึกได้ก็ตามมาที่ประทับพระพุทธเจ้า
ตอนนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาแล้ว ตามมาขอขมาอภัย อย่างพวกนายขมังธนู
ที่พระเทวทัตจัดตั้งขึ้นไป ให้ไปยิงปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า แต่นายขมังธนูนั้นก็ทำไม่ได้
ด้วยอานุภาพพระเมตตากรุณา พระมหากรุณาธิคุณ ก็เลยกลายเป็นว่า เข้าไปกราบขอขมาอภัย
เนี่ยะ พระพุทธเจ้าก็จะตรัสว่า การที่ทำล่วงเกินละเมิดอะไรไปนี้ก็ เมื่อรู้สำนึกแล้ว ก็ปฏิกรรมเสีย
ทำการแก้ไข ก็จะเป็นความเจริญงอกงามในอริยะวินัย หรือที่เรียกว่า ??? (09:57)
เป็นความเจริญในวินัยของอริยะชน ปฏิกรรมใหญ่ก็มี 3 อัน ก็แปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า แก้กรรม
แก้กรรมนี้ ก็แปลว่ามีได้ แต่ว่ามีในทางที่ถูก ไม่ใช่
แก้กรรมแบบเอาดอกไม้ธูปเทียนไปบนบานศาลกล่าวอะไร
ที่เคยมีพระไปชวนญาติโยมทำแก้กรรมกัน ก็กลายเป็นเรื่องไสยศาสตร์ เป็นเรื่องถือโชคถือลางไป
อันนี้แก้กรรมในทางพระวินัย ก็คือ การแก้ไขปรับปรุงตัว ละเลิกสิ่งที่ผิด ทำกรรมที่ดียิ่งขึ้นนั่นแหละ
ปฏิกรรมนี้หลักใหญ่นะครับ หลักธรรมสำคัญอันหนึ่ง แต่ว่าไม่ค่อยพูดกัน
ก็เลยพูดแต่กรรม กรรม กรรม เคยเล่าแล้ว บางทีเราก็ไปอ้างพุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่ง
ในพุทธศาสนสุภาษิตเล่มหนึ่งสำหรับนักธรรมชั้นตรี ??? (11:02)กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ (กะตัดสะ
นัดถิ ปฏิการัง ) แปลว่า การที่ทำแล้วทำคืนไม่ได้
อันนี้ก็ใช้คำว่า ปฏิกรรม เหมือนกัน ปฏิกาละ ก็ ปฏิกรรม นั่นแหละ คือ ปฏิกรรม นี่มีหลายรูป
ปฏิกิริยาก็เป็นปฏิกรรม ปฏิกรรม ปฏิการ เป็นปฏิกรรมทั้งนั้น ที่นี้ อันนั้นทำคืนไม่ได้
หมายความว่า ที่ทำแล้วกลับให้เป็นไม่ทำไม่ได้ แต่ ปฏิกรรม ในความหมายของพระพุทธเจ้า
หมายถึงว่า แก้ไขสิ่งที่ทำแล้ว ที่มันผิดก็ไม่ทำอีก กลับตัวนั่นเอง
แล้วก็ไปทำสิ่งที่ดียิ่งขึ้นไปเป็นหลักการปรับปรุงพัฒนา เป็นส่วนสำคัญเลย
เมื่อทำกรรมแล้วก็ ต้องทำกรรมที่ดีที่เป็นกุศล นี่ถ้าทำกรรมไม่ดีก็ให้ปฏิกรรม
แล้วก็จะได้แก้ไขปรับปรุงพัฒนาขึ้นไป เป็นคำใหญ่อันหนึ่ง แต่ในหลักที่เราเรียนกันไม่เอามาใช้
บางทีก็เลยทำให้ขาดจุดเน้นสำคัญอันหนึ่งไป ก็เอาแค่นี้ก็พอแล้วนะ
ก็ ปวารณา หลักการก็เนี่ยะ ให้ผู้ที่อยู่ร่วมกันมาตลอดพรรษา ก็มาเปิดโอกาสนิมนต์เชิญกันว่า
ได้รู้ได้เห็น ได้ยินได้ฟัง ระแวงสงสัยอะไรว่า กระผมทำไม่ถูกต้องไม่ดีอะไร ก็ขอให้บอกกล่าวกัน
เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุง เมื่อได้พิจารณามองเห็น ก็เป็นอันว่า เปิดโอกาสกันแล้วเมื่ออยู่กันด้วย
การเปิดเผยตัวต่อกัน บอกกล่าวแนะนำกันได้ ก็เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน
เป็นเครื่องช่วยในการพัฒนาตัว เพราะว่า ผู้ที่อยู่ธรรมวินัยนั้น วัตถุประสงค์สำคัญ ก็คือ
การพัฒนาชีวิตการศึกษา ในการปวารณา ก็เลยเป็นเครื่องช่วยในการพัฒนาชีวิต
ในการศึกษา ที่จะเจริญงอกงามในไตรสิกขายิ่งขึ้นไปของทุกๆ ท่าน
อันนั้นก็หนึ่งสำหรับแต่ละบุคคล ก็เอื้อต่อการที่จะได้เจริญไตรสิกขาพัฒนาชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
แล้วสองในแง่ส่วนรวม ก็เป็นการทำให้เกิดความสามัคคี เพราะว่า เมื่อว่ากล่าวกันได้
ไม่กินแหนงแคลงใจ ไม่เอาเก็บอะไรไว้ค้างในใจ มันก็ทำให้สบายใจ พูดกันได้เต็มที่
ก็หมดเรื่องไป ก็เลยในแง่ส่วนรวม ก็เป็นการรักษาความสามัคคี
แล้วก็ สังฆะนี้ ถือความสามัคคีเป็นสำคัญ จุดใหญ่ก็อยู่ที่นี่แหละ ในหลักนี้
ในทางปฏิบัติเวลานี้ เลยกลายเป็นพิธีกรรมไป เดี๋ยวนี้ สังฆกรรมต่างๆ
ก็มักจะเหลือแค่เป็นพิธีกรรม ก็ว่ากันแล้วก็จบไป ก็ไม่ได้เอาจริงเอาจัง ก็เลยสักแต่ว่า
ทำเป็นพิธีไปซะ อะไรๆ เดี๋ยวนี้ก็เป็นพิธีสังฆกรรมเป็นพิธีกรรมไปซะหมด
ที่จริงคำว่า พิธีกรรม เองก็เดิมก็เป็นคำที่ดี พิธีกรรมก็คือ การกระทำที่เป็นวิธีการที่จะให้ได้บรรลุ
จุดหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ว่ามันกลายเป็นว่า พิธีเดี๋ยวนี้มันเป็นเพียงรูปแบบ
ทำรูปแบบตามที่กำหนดวางไว้ แล้วก็ถือว่านั่นคือพิธี พิธีมันก็เลยไม่สื่อ
ไม่เป็นเครื่องนำไปสู่จุดหมาย มันก็เลยตายอยู่แค่นั้นเอง นั่นก็ต้องมารื้อฟื้น
แล้วก็มาบอกความหมายเตือนกันไปเป็นครั้งคราวอยู่เรื่อยๆ ถ้าทำได้ก็ดี ปฏิบัติกัน
ได้ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ส่วนรวม แล้วก็ขยายไปญาติโยมด้วย
อย่างเวลานี้ สังคมกำลังยุ่ง ทะเลาะวิวาทกันนะ ถ้าปวารณากันได้ก็คงดี ใช่ไหม
นี่ไม่ยอมปวารณากันเลย มีแต่เอาดีเข้าตัว เวลาว่า ก็ว่าด่าอีกฝ่ายหนึ่งเต็มที่เลย
อีกฝ่ายไม่มีดีเลย ใช่ไหม ตัวมีแต่ดีไม่มีผิดเลย เนี่ยะมันเป็นอย่างนี้ใช่ไหม ตอนเนี่ยะ
สังคมไทยกำลังจะแย่ก็เพราะอันนี้ เพราะฉะนั้นก็ ปวารณา นี่ พอดีมาถึงตอนนี้
ตอนระยะที่เค้ากำลังยุ่งกันอยู่เนี่ยะ น่าจะเป็นประโยชน์ เป็นแบบอย่างให้แก่พวกคฤหัสถ์
ว่า เออ ท่านทั้งหลาย ควรจะปวารณากันซะนะ เปิดโอกาสแก่กันและกันบ้าง
ให้ว่ากล่าวกันทั้ง 2 ฝ่าย มันก็มีทั้งข้อผิดข้อถูกด้วยกันแหละ ไม่ใช่มีแต่ผิดอย่างเดียวถูกอย่างเดียว
นี่ก็เลยกลายเป็นว่า ฝ่ายฉันถูกหมด ฝ่ายคุณผิดหมด อีกฝ่ายหนึ่งก็ฝ่ายฉันถูกหมด
ฝ่ายคุณผิดหมดเหมือนกัน มันไปกันไม่ได้ ในที่สุดมันก็ทะเลาะกัน ในที่สุดมันจะถึงขั้น
ไม่ทะเลาะด้วยวาจา แต่ทะเลาะด้วยกายด้วย ถ้าออกมาทางกาย
ก็จะทำให้เกิดสิ่งที่ปัจจุบันเค้าเรียกว่า ความรุนแรง ก็จะหนีพ้นรึเปล่ายังไม่รู้
เพราะว่าบางครั้งดูเหมือนอย่างกับว่า หรือเค้าวิจารณ์กันว่า
มีความมุ่งหมายเลยที่จะให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง เพื่อจะได้เป็นโอกาสให้ได้ก้าวไปสู่จุดหมายได้
ถ้าไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น ก็เหมือนตีบตันอยู่อย่างนี้ นี่ก็เป็นเรื่องที่ว่า มันมีลู่ทางที่มันจะเป็นอย่างนั้น
ไม่รู้จะแก้ไขได้รึเปล่า ถ้าเอาปวารณาไปช่วยคงแก้ได้ ที่นี้ก็ช่วยกันเตือนญาติโยมด้วยนะ
เพราะว่า มันไม่เฉพาะที่ทะเลาะกันในที่ชุมนุมหรือเป็นกลุ่มเท่านั้น เวลานี้มันขยายไปทั่วประเทศเลย
ชาวบ้านทั่วไปก็พลอยแตกแยกกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เพราะฉะนั้นก็บอกญาติโยมได้หมด บอกว่า
ถึงเวลาปวารณาแล้ว พระก็ปวารณากันแล้ว โยมปวารณากันรึยัง เปิดโอกาสกันซะ
จะได้แก้ไขปรับปรุง รับฟังได้อย่างน้อย เค้าเตือนก็รับฟังได้ รับฟังแล้วก็สามารถพูดจากันอีก
แล้วก็ในที่สุด ก็นี่แหละแก้ไขปรับปรุง เป็นจุดหมายแล้วก็เกิดความสามัคคี
ถ้ามาใช้ในสังคมนี้ ประชาธิปไตยก็พัฒนา ประชาธิปไตยต้องเติมหลักนี้เข้าไป
แล้วก็ช่วยให้ประชาธิปไตยพัฒนาแล้ว ประชาธิปไตยไม่ได้สมบูรณ์แล้ว ประชาธิปไตยยังต้องพัฒนา
แม้แต่ประชาธิปไตยของประเทศที่เราเรียกว่าพัฒนาแล้ว บางทีเค้าเรียกพัฒนาสูงสุดก็มีนะ
อย่างประเทศอเมริกาอะไรพวกเนี่ยะ มันไม่ใช่ประชาธิปไตยสมบูรณ์หรอก เค้าก็ยังยุ่งกันอยู่
ก็ยังเป็นประชาธิปไตยในขอบเขตจำกัดอย่างนั้นอย่างนี้ แม้แต่เวลานี้
เป็นประชาธิปไตยที่จำกัดด้วยลัทธิเศรษฐกิจ 18:25 เป็น FREE MARKET DEMODRACY ว่างั้น
เป็นประชาธิปไตยแบบตลาดเสรี ก็คือประชาธิปไตยแบบทุนนิยม จำกัดด้วยเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
คือตอนนี้ก็เห็นว่ามีศัพท์ใหม่อีกละ ของประธานธิบดีบุช ไม่รู้ใครเป็นคนพูด พูดขึ้นก่อน
แต่บุช เนี่ยะใช้ว่างั้น ว่า DEMOCRATIC CAPITALISM เป็นทุนนิยมแบบประชาธิไตย ว่างั้นนะ
อันนี้ก็คือ เอาได้ตัวประชาธิปไตยมาผนวกกับเศรษฐกิจ แล้วในที่แท้ก็คือ เป็นประชาธิปไตยที่
ถ้าใช้คำแรงก็บอกว่า เป็นประชาธิปไตยที่เป็นทาสรับใช้เศรษฐกิจ เพราะว่าจุดหมายที่แท้
มันจะอยู่วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยมันก็เป็นประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์
มีความคับแคบ วัตถุประสงค์ก็อยู่ จุดหมายสำคัญก็อยู่ที่นั่น ต้องช่วยกันต้องพัฒนาประชาธิปไตยต่อ
ที่นี้ ก็เอาเรื่องปวารณาเนี่ยะไปช่วยเค้าก็อาจจะดีขึ้น โดยเฉพาะสถานการณ์เฉพาะหน้า
มาถึงตอนนี้แล้วก็เลยเอาไปขยายให้เป็นประโยชน์ ช่วยตักเตือนญาติโยมอย่างที่ว่า
นี่ นอกจากเรื่องของคฤหัสถ์แล้ว แม้แต่พระสงฆ์เราก็อย่างที่บอก เป็นปวารณา ก็เป็นพิธีกรรมไป
ไม่เฉพาะในกิจการในวัด ในส่วนที่ประชุมย่อยๆ เป็นจุดเป็นที่ อย่างวัดเดียวอะไรเท่านั้น
แม้แต่สงฆ์ทั้งหมดก็มีปัญหา ไม่ค่อยมีการเปิดเผยที่จะได้แก้ไขปรับปรุง ลองมองดูสงฆ์ส่วนรวม
แม้แต่ทางด้านการศึกษา นี่พระใหม่ท่านก็เพิ่งสอบเสร็จ ก็สอบนักธรรมตรีกันไป สอบนวกภูมิกันไป
ความจริงเรื่องหนังสือเรียนเนี่ยะ ก็เป็นตัวอย่าง ที่จริงก็น่าปวารณากัน หนังสือเรียนที่เราเรียนเนี่ยะ
ก็มีที่ยังผิดหลายแห่ง แต่ว่าก็เป็นปัญหาที่ยังไม่ได้ยกมาพูดในเวลานี้กันมาก พูดกันบ้างแต่น้อย
แต่ต่อไปถ้าไม่มีการแก้ไขปรับปรุงก็คงจะเกิดปัญหา อย่างที่เราเรียนกันเนี่ยะ อย่างบอกว่า
พระอานนท์เป็นโอรสของใคร เนี่ยะ ถ้าเรียนตามหนังสือเรียนก็บอกเป็นของพระเจ้าชายสุทโธทนะ
ใช่ไหม แต่ถ้าดูคัมภีร์ส่วนมากก็จะเป็นพระอมิโตทนะ พระบิดาของอานนท์ คัมภีร์ส่วนใหญ่จะเป็น
พระอมิโตทนะ มีอยู่แห่งบอก สุทโธทนะ แต่อันนั้นก็อาจผิดอยู่ที่ สุทโธทนะ กลายเป็นว่าที่ถูกก็เป็น
อมิโตทนะ อย่างนี้เป็นต้น อันนี้แบบเรียนก็ยังเป็นสุทโธทนะ ที่นี้ก็ถ้านักเรียนเกิดไปตอบ อมิโตทนะ
อาจารย์ไม่ได้ดูไม่รู้คัมภีร์ก็เอาตามหนังสือเรียน ก็ตก องค์ที่ตอบ อมิโตทนะ
หรืออย่างเนี่ยะ อย่างตัวอย่างง่ายๆ พุทธประวัติอีก อย่างพระพุทธเจ้าเจ้าชายสิทธัตถะ
เสด็จออกบรรพชา เราก็จำไปว่า เห็นเทวทูต 4 แต่ถ้าว่าตามคัมภีร์อย่างพระไตรปิฏก เนี่ยะ
??? (22:05) นิมิเต จาตุโร ทิสฺวา พระองค์ได้เห็นนิมิต 4 นิมิต 4 จึงเสด็จออกบรรพชาเพราะว่า
ใน 4 อย่างนั้น 3 อย่างแรกเป็นเทวทูต แต่พระภิกษุไม่ได้เป็นเทวทูต ใช่ไหม เทวทูตมี 3 ก็ได้
มี 5 ก็ได้ ถ้ามี 5 มีอะไรบ้าง มีคนเกิดคนแก่ คนเจ็บคนตาย ??? (22:33)คนถูกลงทัณฑกรรมกร
ถูกลงโทษ
ที่นี่ พระนี่ นักบวชบรรชิต ไม่ได้เป็นเทวทูต ไม่ได้อยู่ในชุด นั้นก็เป็นว่า พระพุทธพระเจ้าชายสิทธัตถะ
พอเห็นเทวทูต 3 แล้วก็บรรพชิต หมายความว่าหลังจากเห็นเทวทูต 3 เตือนพระองค์แล้ว
ก็เห็นทางออกที่ เนี่ยะ ที่บรรพชิตเป็นทางออก ก็โอ้ นี่เทวทูตมันเตือนว่า ว่าอย่างนี้
เตือนสภาพมนุษย์ ชีวิตเกิดมาก็อย่างนี้ แย่แล้วใช่ไหม พอเห็นบรรพชิต สมณะ ก็เลยเห็นทางออก
ตรงข้ามกันเลย 3 อย่างแรกกับข้อสุดท้าย แต่ว่าในพระไตรปิฏกในปาฐกถา จะใช้ความรวมว่า
ทรงเห็นนิมิตร 4 ก็คือทั้ง 4 อย่างนี้เป็นเครื่องหมายหมด นี่ถ้านักเรียนไปตอบเห็นนิมิต 4 ดีไม่ดี
อาจารย์ที่ตรวจ เอาตกเลย งั้นต้องตอบ เทวทูต 4 แต่เทวทูต 4 ก็ยอมให้ได้ในแง่ว่า
คือท่านไปออกในแง่ว่า เพราะว่าทั้ง 4 อย่างที่พระโพธิสัตว์ได้พบเห็นนั้น เป็นเทวดามาทำให้เห็น
มาสำแดง ก็เลยเป็นเรื่องที่เทวดาสำแดงออกมา ก็เลยเรียกเทวทูต แต่ที่จริงถ้าเอากันเคร่งครัดก็
ก็ต้องบอกว่า เห็นเทวทูต 3 และบรรพชิต หรือถ้าเรียกรวมว่าก็เลยเป็น นิมิตร 4 อย่างนี้เป็นต้น
หรืออย่างเรื่อง อสิตดาบสหรือกาฬเทวิลดาบส เนี่ยะ หนังสือเรียนเรา ไม่ว่าเป็นพุทธประวัติ
หรือพุทธานุพุทธประวัติ ก็จะบอกว่า อสิตดาบสก็ทำนายเป็น 2 อย่าง หมายความว่า
ถ้าอยู่ครองคฤหัสถ์ก็เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ออกบรรพชาก็เป็นพระพุทธเจ้าตรัสรู้
??? (24:30)สมุทสัมมาสัมโพธิญาณ แต่ในพระไตรปิฎกเองในพระสูตร เนี่ยะ อสิตดาบส
มาเยี่ยมเจ้าชายสิทธัตถะประสูติใหม่ พระเจ้าสุทโธทนะ นี่ก็นำเอาเจ้าชายสิทธัตถะ มา ก็แทนที่ว่า
จะมานมัสการ ก็กลายเป็นว่า พอมาถึงเข้าไปใกล้ ละก็ กลายเป็นว่าพระบาทของเจ้าชายสิทธัตถะ
ตวัดขึ้นไปอยู่บนเศียรของ อสิตดาบส นี้ อสิตดาบสดูลักษณะแล้วก็ ตอนแรกก็ดีใจ
และต่อมาก็ร้องไห้ ดีใจก็เพราะว่าได้ชื่นชมพระโพธิสัตว์ แต่ว่าร้องไห้ก็คือว่า
ตัวเองจะไม่ได้อยู่ได้รับคำสอน ในนั้นก็บอกแต่เพียงว่าจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
แล้วหลังจากที่ได้มาแล้วก็ออกไปก็ ไปบอกกับหลานของตัวเองว่า ตัวท่านเองนะ ไม่ได้อยู่ละ
ท่านจะต้องสิ้นก่อน อายุท่านมากละ ขอให้หลานรอ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะบรรพชา
ก็ขอให้ได้ตามเสด็จไปเฝ้าไปฟังคำสอน ไปบอกหลานไว้ ก็เป็นอันว่าเท่ากับว่า อสิตดาบส
ทำนายอย่างเดียว อันนี้ก็เคยมีครูอาจารย์ที่เค้าไม่ได้เรียนมาในแบบสายนักธรรม คือธรรมศึกษา
เค้าไปเรียนอีกสายนึงมา ก็ไปเจอพระไตรปิฏก แต่พจนานุกรมเค้าก็เขียนประท้วงว่า อ้าว ทำไม
พจนานุกรมบอกว่า อสิตดาบสบอกว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เนี่ยะ ถ้าอยู่ก็จะเป็นจักรพรรดิ์ครองเรือน
ถ้าเป็นบวชก็จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า อย่างนี้เป็นต้น นี่ก็ขัดแย้งละ เราก็ต้องชี้แจงว่า
ต้องให้โอกาสกับพวกสอบนักธรรม หนังสือนี้มุ่งที่ผู้สอบนักธรรม พจนานุกรรมนี่เขียนไว้แต่ต้นบอก
26:40 มุ่งสำหรับ ตามตอนแรกเนี่ยะ เรียกเลยว่า พจนานุกรมสำหรับนักเรียนนักธรรม
ก็เลยต้องเอาตามตำราเรียนเป็นหลัก ไม่งั้นเดี๋ยวนักเรียน ตก นะ นี่ถ้านักเรียนไปตอบตามพระไตรปิฏก
ก็อาจจะตกได้ นี่ข้อที่ว่าปวารณาก็คือว่า ผู้ที่ทำหนังสือเรียนที่รักษาไว้เนี่ยะ
ก็ควรจะเปิดโอกาสที่มีการแก้ไขสิ่งเหล่านี้ เพราะมันเป็นประโยชน์ส่วนรวมแก่นักเรียน
กับวงการศึกษาทั่วไป นี่ก็เหมือนกับปิดไว้ไม่ยอม เลยมากลายเป็นมีสุดโต่ง 2 พวก
พวกนึง ก็คือ ก็ไม่ยอมละ ต้องรักษาไว้ตามที่ ท่านที่ตัวเคารพนับถือทำแบบเรียนไว้
อันนี้ มันหนังสือมันก็เป็นของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
นี้ผู้ที่รักษามาก็ไม่ยอมให้มีการแก้ไข ที่นี้อีกพวกนึงก็ไปสุดโต่ง ก็ไปเป็นติเตียนท่านว่าทำผิด
อะไรต่ออะไร ที่จริงควรเห็นพระคุณท่านอย่างสูง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า นี่ งานท่านมากเหลือเกิน
ทั้งการปกครองทั้งการศึกษา งานเยอะๆ อย่างนั้น หนึ่ง มันก็ต้องมีบ้าง พลั้งพลาดเล็กๆ น้อยๆ
ส่วนที่ทำไว้ดีงามมากมายเหลือเกิน ก็เป็นเรื่องของลูกศิษย์คนรุ่นหลัง ที่จะต้องมาดู
ก็มาช่วยต่อจากท่าน ท่านทำไว้ให้เป็นพื้น แล้วก็มาช่วยกันดูตรงไหนที่มันผิดพลาดบกพร่อง
ก็มาช่วยกันแก้ไขบอกไว้ ก็ควรรำลึกพระคุณเป็นอย่างยิ่งเลย ท่านทำไว้ให้อย่างดี
การศึกษาในเวลาที่สั้นนี่ ที่ทำให้ไว้ให้ไม่รู้เท่าไหร่เลยนะ การปกครองก็ปรับปรุงแก้ไข
พวกตำรับตำราก็ทำไว้เยอะแยะหมด อันนี้เป็นส่วนที่สำคัญแต่ทีนี้ความเจริญก้าวหน้า
ของส่วนรวม มันก็ต้องอาศัยว่ามีท่านที่ทำไว้ให้ เบิกทางไว้แล้ว เราก็ช่วยกัน สืบต่อแล้วก็ขยาย
ทำให้มันเจริญงอกงามยิ่งขึ้น งั้นท่านค้นคว้าคัมภีร์ไว้ เออ ค้นกันเยอะแล้วคนต่อมาไม่ค้นต่อ ซะนี่
เอาไงดีท่านบอกให้มา ก็จบละสิใช่ไหม ไม่สมกับวัตถุประสงค์ ช่วยกันค้นขยายต่อไป
อย่างนี้มันจึงจะเจริญงอกงาม เนี่ยะก็ เวลานี้มันกลายเป็นว่า มีสุดโต่ง 2 อย่าง
พวกนึงก็ปิดกั้นไม่ยอมให้แก้ไขปรับปรุง ท่านทำไว้อย่างไรต้องถูกหมด
อีกพวกนึงก็ เจอนิดเดียว ก็หาว่าท่านอย่างงั้นอย่างงี้ ผิดพลาด มันเลยกลายไปกันไม่ได้
ส่วนรวมก็ไม่เจริญงอกงาม ก็แบบเดียวกันในสังคมไทย ที่เป็นปัญหาในขณะนี้
มันไม่ยอมรับความดีของกันและกัน แล้วก็เพ่งโทษกันและกัน ไม่ยอมเปิดเผยตัวต่อกัน
ว่ากล่าวพูดจากันไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็เลยตรัสไว้ว่า วาจาเนี่ยะสำคัญต้องใช้วาจา
ก็เรื่องของเรานี่ มันก็วาจาทั้งนั้นใช่ไหม ทำพระอุโบสถ ปวารณาก็ใช้วาจา
ในทางที่ดีงาม ที่จะทำให้เกิดความเจริญพัฒนายิ่งขึ้นไป ไม่ใช่วาจาปิดกั้น
นี้ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเรื่องปวารณาขึ้นมา มันเกิดจากต้นบัญญัติที่ว่า
พระชุดหนึ่ง ผมเคยเล่าให้ฟังไปละ พระชุดหนึ่งที่ว่าไปจำพรรษาแล้วตั้งกติกากันว่า
เราจะถือปฏิบัติพรรษานี้ให้เคร่งครัด ปฏิบัติอย่างเดียวเพราะฉะนั้นไม่พูดกัน
ก็ตั้งกติกาว่าตลอดพรรษานี้ไม่พูดกัน ที่นี่พอออกพรรษา แล้วก็มากราบพระพุทธเจ้ากัน
แล้วก็พระพุทธเจ้าตรัสถามสุขทุกข์ ท่านก็เลยเหมือนกับดีใจว่า จะได้อวดตัวว่าปฏิบัติอย่างดี
พรรษาที่แล้ว พวกเกล้ากระหม่อมก็ได้ตั้งกติกากันไว้ ไม่พูดกันปฏิบัติเต็มที
พระพุทธเจ้าก็ตรัสติเตียนว่า ไฉนเธอทั้งหลายจึงอยู่อย่างปศุสัตว์ โอ้ แทนที่จะสรรเสริญ
กลายเป็นว่า ตำหนิเต็มที่เลย แล้วก็เลยบัญญัติสิกขาบทว่า มิให้ภิกษุถือมูควัตร อันเนี่ยะ
การที่ถือปฏิบัติไม่พูดกันเนี่ยะ กติกานี้เรียกว่า เป็นมูควัตร เป็นข้อปฏิบัติของผู้ใบ้
ถือเป็นใบ้นั่นเอง ถ้าใครถือมูควัตรนี้ ปรับอาบัติทุกกฏ แล้วก็เลยบัญญัติต่อให้ปวารณา
นี่แหละ มาตอนนี้ ก็ตรงข้ามเลย แทนที่จะมาเป็นใบ้ไม่พูดจากัน นี่ ต้องพูดกัน
แล้วก็จะได้มีโอกาสฝึกวาจา การฝึกวาจา หนึ่งฝึกวาจาด้วย สองใช้วาจานั้นมาเป็นเครื่องช่วย
ประโยชน์ทั้งส่วนตนและส่วนรวม ก็ช่วยกันมาปวารณาในโอกาสนี้ มาช่วยกันในการฝึกด้วย
แล้วก็ช่วยในเรื่องกิจการส่วนรวม วาจาก็เพียงแต่ว่า ก็พัฒนาซะทำให้เป็นวาจาดี
พ้นจากวจีทุจริตมาเป็นวจีสุจริต เป็นวจีสุจริต แล้วก็ทำให้เป็นวาจาที่ส่งเสริมการศึกษาไตรสิกขา
แล้วก็ประโยชน์สุขของส่วนรวม ก็เลยได้ผลดี เนี่ยะก็ เป็นอย่างนี่แหละ ก็เราก็เทียบกันเลย
บอกว่าเนี่ยะ พระพุทธเจ้าให้รู้จักใช้วาจา แทนที่จะเป็นนิ่งเป็นใบ้เสียใช่ไหม
ไม่พูดกันไม่ได้ความหรอก มาฝึกวาจาเนี่ยะ ให้พูดให้เป็นให้ดี แล้วก็ใช้ให้เป็นประโยชน์
ของสงฆ์เรา มาติดเนี่ยะ มีท่านที่สร้างความเจริญงอกงามไว้ มาทำไว้ริเริ่มไว้บ้าง
อะไรแล้ว เราก็ไม่ค่อยต่อไม่ค่อยขยาย แล้วก็เลยปิดกั้นกันอยู่เนี่ยะ ก็เอา
วันนี้ ก็เลยพูดกันไปเรื่อยๆ นะ ก็เห็นจะพอสมควร ก็เป็นเรื่องปวารณา
อย่าลืมไปเตือนญาติโยม ช่วยกันหน่อย เอาละ อนุโมทนา