แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ต่อไปเราโตขึ้นเนี่ย เราไปทำงานทำการต่อไปนับวันแต่ว่าเราจะทำใจตามใจตัวเองไม่ได้ ต้องมีการบังคับตัวเองด้วย การที่จะดำเนินชีวิตให้ก้าวหน้าจะต้องไปทำงานเมื่อเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่นเนี่ยก็มีเรื่องที่จะต้องปรับตัวอยู่เรื่อย ทีนี้การปรับตัวนี่ก็สำคัญที่เราจะต้องรู้จักบังคับควบคุมตัวเองได้ เหมือนคนที่ฝึกในวินัยได้ดีก็จะมีความสามารถในการปรับตัวได้ดี เพราะรู้จักบังคับควบคุมตนเอง ทีนี้การบังคับตัวเองนี่ไม่ใช่ว่าทำโดยฝืนใจ แต่ต้องมีความภูมิ เอ้อ ความสบายใจหรือดีใจว่าการที่เราสามารถบังคับควบคุมตนเองได้ เพราะเราเห็นว่าสิ่งที่เราทำนั้นดีมีประโยชน์สมควร มีเหตุมีผล (01.48???)เมื่อเราเห็นว่าดีมีเหตุมีผลเราก็เห็นว่า เอ้อ เราทำนี่ถูกต้องและก็สบายใจที่จะทำ ไม่ฝืนใจ และอีกอย่างเรามีความรู้สึกว่าเราได้พัฒนาตัวเองได้ดีขึ้น จะทำให้เกิดความอิ่มใจด้วยซ้ำว่าเราสามารถบังคับควบคุมตนเองให้ทำในสิ่งที่ดีงามยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นเราจะไม่รู้สึกฝืนใจ เราไม่รู้สึกว่าบีบคั้นตัวเอง ฉะนั้นฝึกวินัยไว้เนี่ยเป็นประโยชน์แต่เราต้องเข้าใจความมุ่งหมาย ทีนี้ อีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะพูดก็คือว่าเรื่องรองเท้า เณรถ้าหากว่าสามารถเอารองเท้าวางให้เป็นระเบียบได้จะสวยมาก นะ ว่าให้มันเข้าเป็นคู่เป็นคู่เป็นคู่เรียงกันได้เป็นแถว มันจะทำให้เกิดความเรียบร้อยสวยงามแล้วเวลาจะใส่จะอะไร ใช้มันก็สะดวกด้วย แต่ว่าต้องอาศัยความเข้มแข็งของจิตใจหน่อย เพราะว่าเราจะทำแบบตามสบายใจเราก็ไม่ได้ เรียกว่าเราต้องรู้จักฝึกตนเองบังคับใจตนเองได้ ดีไหมครับ (เณร - ก็ดีครับ แต่02.58???มันหลุด) เหรอ อ่าแล้วทำไงดี หลุดแล้วยังอยู่เปล่าครับ (เณร – 03.10???มันหลุดที่กองทราย???ที่ก่อสร้าง) ยังพอจะหาได้ไหมครับต้องเก็บ (เณรยุทธเขาเจอแล้วครับแต่ไม่รู้03.17???) เหรอ แล้วไม่ได้เก็บมา นะ (โยม - ไม่ได้เก็บมา) แล้วยังพอจะหาได้รึเปล่า (โยม - ไม่เจอ) ไม่เจอซะแล้ว คือว่าถ้าเจอเราก็จะได้เอามาแล้วมาตอกใหม่ ถ้าไม่เจอก็ต้องส่งไปวัดพระพิเรนทร์ เดี๋ยวท่านถวัลย์ท่านช่วยเอา ให้ร้านเขาตัดแล้วก็เสริมให้ได้ ก็เลยกลายเป็นว่ารองเท้าเณรเต็มก็ข้างหนึ่งสูงข้างหนึ่งต่ำ ใส่ไม่สะดวก หา (เณร - พอใส่ได้) ก็ไม่สะดวกสบายหรอกเดี๋ยวเดินขย่มเดินเขย่ง เดี๋ยวก็กลายเป็นว่าถ้า(04.00???)อีกข้างก็ได้ต้องเฉือนอีกข้างหนึ่งให้เท่ากัน อย่างงั้น ตกลงว่าเป็นอันว่าหาไม่เจอเลยนะ ที่กองทรายเนี่ย เอ๊ะ มันจะหายไปไหนล่ะไม่ได้มีใครมาทำอะไรมัน หาดีแล้วเหรอ ลองหาอีกทีได้ไหม แล้วก็เอามาต่อซะ นะ (เณร - เณรเต็มคิดว่าทรายอาจจะกลบอยู่) นั่นซี นั่นล่ะมันคงอยู่ในนั้นแหละ แต่ให้ใครหาได้เนี่ย ว่าง ๆ ก็ไปลองคุ้ย ๆ ดูอีกสักที วิธีหนึ่งก็คือทรายเนี่ยมัน มันอ่อน ก็เอาไม้เนี่ยไปลองแกว่งไปแกว่งมาเหมือนเลื่อนไปเลื่อนมาในนั้น ก็จะเจอสิ่งที่มันเป็นชิ้นได้ ถ้าเราไปคุ้ยมันอยู่มันเสียเวลามาก ใช่ไหมครับ อะ ลองดูมั้ย เออ เอานะ เดี๋ยวทีนี้เดี๋ยวคุยกันต่อ รับซะก่อน ดีมั้ย เณรต้อมชอบไหมครับ เห็นด้วยใช่ไหม ตกลง เณรเต็มล่ะครับ เห็นด้วยมั้ย เห็นด้วย นี่แหละเขาเรียกมีฉันทะ ถ้าเราทำด้วยฉันทะแล้วมันก็สำเร็จเข้าใจมะ เอาละ เดี๋ยวคุยกันต่อนิดหน่อย อันนี้ยังร้อนใช่มะ อ่าร้อน เดี๋ยวคุยกันนิดหนึ่ง คุยกันเรื่องนี้ก็ไม่มีอะไรมากหรอก คือว่าเรื่องสงฆ์เนี่ยมีค้างอยู่นิดหน่อย ใครเคยได้ยินคำว่าสมมติสงฆ์บ้าง (05.39 – 05.42 ???) เอ้าอะไรว่าไง ภูมิว่าไง เอ้าต่อนิดหน่อย พระของผู้ใหญ่เขาจะได้ยินกันบ่อย สมมติสงฆ์คู่กันกับอริยสงฆ์ คือสงฆ์เนี่ยแบ่งเป็นสองอย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่าสมมติสงฆ์ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าอริยสงฆ์ สมมติสงฆ์ก็แปลว่าสงฆ์โดยสมมติ คือโดยตกลงกันโดยยอมรับกัน สมมตินี่แปลว่ายอมรับกันหรือตกลงกันไว้ คนจำนวนมากตกลงกันไว้ว่าอย่างนั้นเขาเรียกว่าสมมติ สมมติว่าเราจะบอกว่า เอางี้นะ ให้เป็นอันนั้นอันนี้ ตกลงเรียกกันว่าอย่างนี้นะอย่างนี้เขาเรียกว่าสมมติกันไว้ แต่ที่จริงที่เราพูดกันเนี่ยสมมติเสียทั้งนั้นน่ะ คือเราเรียกว่าถ้วยเนี่ยก็เป็นสมมติ ใช่รึเปล่า สมมติ (หัวเราะ) ฝรั่งเขาไม่ได้เรียกถ้วยใช่มะ ฝรั่งเรียกอะไร ฝรั่งเรียก cup (คัป) นั้นฝรั่งก็สมมติเหมือนกัน ถ้าเราไปพูดว่าถ้วย ฝรั่งก็ไม่รู้เรื่อง เพราะว่ามันไม่ใช่ของแท้จริงใช่ไหมเราสมมติตกลงกันไว้อย่างนั้น เขาเรียกว่าสมมติ เอานะ สมมติว่าอย่างงั้นสมมติว่าอย่างนี้ ทีนี้อย่าง อ้าว รับแล้วรึยังเนี่ย (โยม - เรียบร้อยแล้วครับ) ทีนี้อย่างที่เรามาบวชกันเนี่ย เป็นสมมติเหมือนกันนะ สมมติกันว่าเป็นเณร สมมติว่าเป็นพระ อย่างสงฆ์เนี่ยที่มาบวชกันเนี่ยเป็นพระภิกษุเนี่ย ถ้ามีจำนวนเป็นหมู่ เคยบอกแล้วใช่ไหมสงฆ์แปลว่าหมู่ ใช่ไหมครับ สงฆ์แปลว่าหมู่ องค์เดียวนี่ไม่ใช่สงฆ์นะ ภาษาไทยเขาเรียกเพี้ยนอีกอะ ภาษาไทยที่เรียกพระองค์เดียวว่าเป็นสงฆ์ ที่จริงผิดนะถ้าจะเอากันตรง ๆ ภาษาไทยนี่มีหลายคำที่เรียกผิดไปจากเดิม เพราะสงฆ์แปลว่าหมู่แล้วองค์เดียวจะเป็นสงฆ์ได้ยังไง ใช่ไหม (07.40???) นั่นแหละถึงเรียกว่าพระสงฆ์ที่จริงก็ต้องหมายถึงว่าต้องเป็นหมู่ แต่เราก็ยอมรับกันน่ะ เอาละ พระสงฆ์ก็เรียกกันไป แต่ว่าที่จริงที่จะเป็นสงฆ์ได้น่ะต้องเป็นหมู่ ทีนี้หมู่ตาม ก็คือเรื่องของวินัยแล้วจะต้องกำหนด เพราะสมมติก็คือต้องมีการตกลงกันไว้ก่อน แล้วทางวินัยก็เป็นผู้ที่กำหนดข้อตกลงนี้ วินัยก็กำหนดข้อตกลงว่าต้องมีสี่องค์ขึ้นไปถึงเรียกว่าสงฆ์ ตกลงว่าพระเนี่ย เนี่ยแต่ละองค์เรียกว่าภิกษุนะ เคยได้ยินไหมครับ คำว่าภิกษุ เคยไหม เณรต้น เณรเต็มเคยได้ยินไหมครับ เนี่ย เนี่ยพระแต่ละองค์เนี่ยชื่อว่าภิกษุ แล้วสี่องค์ขึ้นไปเนี่ยเรียกว่าเป็นสงฆ์ เรียกเต็มว่าภิกษุสงฆ์ ภิกษุสงฆ์ก็คือหมู่แห่งภิกษุนั่นเอง แล้วพระภิกษุสงฆ์เนี่ยที่เป็นอย่างเนี้ย ที่เป็นหมู่สี่องค์ขึ้นไปเนี่ยเป็นสงฆ์โดยสมมตินะฮะ เป็นสมมติสงฆ์ คือโดยที่เราตกลงวางระเบียบกันขึ้นว่าให้มีการบวชอย่างนี้อย่างนี้นะ เมื่อบวชแล้วห่มเหลืองอย่างนี้อย่างนี้เรียกว่าเป็นหมู่สงฆ์ เป็นภิกษุ เป็นหมู่สงฆ์ นี่เรียกว่าสงฆ์โดยสมมติ ทีนี้อีกอย่างหนึ่งคือเป็นอริยสงฆ์ อริยสงฆ์คืออะไร แปลว่าหมู่แห่งพระอริยะ อริยะก็คือคนที่ได้บรรลุคุณธรรมความดีอย่างชั้นสูง ทำกิเลสให้หมดไปเป็นขั้น ๆ มีคุณธรรมความดีจริง ๆ ที่บวชเป็นภิกษุอย่างนี้เราไม่แน่ใจหรอก เพียงแต่บวชกันมาตามระเบียบถูกต้องแล้ว แล้วก็มีจำนวนสี่องค์ขึ้นไปก็เรียกว่าสงฆ์ แต่ว่าในใจของแต่ละองค์นั้นที่เป็นภิกษุน่ะจะดีจริงหรือเปล่าเรารู้ไหม (09.34 หมู่เณร - ไม่รู้???) ไม่แน่ แล้วแล้วบางองค์ก็ไม่ดีจริง ๆ ด้วย ใช่เปล่า เพราะฉะนั้น อริยสงฆ์นี่ต้องหมายถึงคุณสมบัติในใจ ต้องเป็นคนที่มีคุณธรรมความดีจริง ๆ แล้วก็หมู่แห่งคนอย่างนั้นเรียกว่าอริยสงฆ์ ก็ต้อง เขาก็ต้องกำหนดว่าต้องมีคุณธรรมระดับไหน จะมีปัญญาระดับไหน หรือละกิเลสได้แค่ไหนแล้วเราถึงจะเรียกว่าเป็นอริยะ อริยะนี่เคยรู้ไหมว่ามีอะไรบ้าง ใครเคยได้ยินคำว่าพระอริยะบ้าง (โยม - เคยได้ยิน) เคยได้ยิน ใครเคยได้ยินคำว่าพระโสดาบันบ้าง (โยม - เคย) เคย พระโสดาบันนี่ก็เป็นพระอริยะองค์หนึ่งล่ะ ใครรู้นอกจากโสดาบันรู้จักเพิ่มกว่านี้ใครรู้บ้าง (โยม – พระอรหันต์) พระอรหันต์ เออ พระอรหันต์ก็เป็นอริยะเหมือนกัน สูงสุด ตกลงว่าเณรต้อมบอกสองละ มีโสดาบันกับอรหันต์ โสดาบันนี่ขั้นต้นสุด อรหันต์นี่สูงสุด ระหว่างนี้มีอีก ใครรู้บ้างระหว่างนี้มีอะไรบ้าง ระหว่างขั้นต่ำสุดโสดาบันขั้นสูงสุดอรหันต์ ในระหว่างเนี้ย เอาแค่จำนวนก็ได้ว่ามีกี่อย่างมีกี่ระดับในระหว่างนี้ มีอีกสองเป็นสี่ระดับ อีกสองนี่ชื่ออะไรบ้างไม่ต้องจำนะ เอาพอผ่าน ๆ หู พอจากโสดาบันไปสูงขึ้นไปเขาเรียกสกิทาคามี พออีกขั้นหนึ่งเขาเรียกอนาคามี เคยได้ยินไหมครับ เคย แล้วก็สูงสุดอรหันต์ ตกลงมีสี่ขั้น โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ พระโสดาบันนะเริ่มกำจัดกิเลสได้บ้าง อรหันต์นั่นกำจัดได้หมด สกิทาคามี อนาคามีก็กำจัดได้มากขึ้นมากขึ้นทำให้กิเลสน้อยลงตามลำดับ ไม่ต้องรู้ในรายละเอียด อันนี้แหละเรียกว่าอริยบุคคล คือบุคคลที่เป็นอริยะสี่ประเภทหรือสี่ขั้น ภิกษุสงฆ์สมมติก็ต้องสี่องค์เหมือนกันใช่ไหม แปลกนะที่ว่าอริยสงฆ์ก็สี่เหมือนกันแต่ต้องกำหนดด้วยคุณสมบัติภายใน แล้วไม่ต้องมาบวชก็ได้ เป็นชาวบ้านนี่แหละ เป็นผู้หญิงผู้ชายได้ทั้งนั้น ใครก็ตามที่มีคุณธรรม เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี อนาคามี อรหันต์แล้วเขาเรียกว่าเป็นชุมชนอริยะเป็นหมู่อริยะสงฆ์โดยคุณสมบัติ เนี่ย ให้รู้จักสมมติสงฆ์อริยสงฆ์แต่เป็นหมู่ สมมติสงฆ์ก็คือหมู่สงฆ์โดยสมมติที่ตกลงกันไว้มีวินัยระเบียบแบบแผนกำหนดให้ เอารูปแบบเป็นเครื่องกำหนด (เสียงโยม 12.43??? ต้องบวช) ใช่ ต้องบวชแต่หมายความต้องเป็นพระภิกษุไง เรียกว่าสมมติสงฆ์ (โยม – แล้วอริยสงฆ์เป็นชาวบ้าน) อริยสงฆ์เป็นใครก็ได้ เป็นพระภิกษุอย่างนี้ก็ได้เป็นชาวบ้านก็ได้ ใครก็ตามบุคคลผู้ใดก็ตาม เป็นพระเป็นคฤหัสถ์เป็นผู้หญิงผู้ชายเป็นเด็กเป็นคนแก่อะไรก็ได้ แต่ว่าได้มีคุณสมบัติเป็นพระโสดาบัน เป็นสกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ แล้ว คนเหล่านั้นน่ะเรียกว่าเป็นอริยสงฆ์ เป็นหมู่ หมายความว่าตั้งแต่โสดาบันจนถึงอรหันต์เนี่ยรวมเป็นหมู่ ชุมชนอริยะ นะ ดังนั้น เราจะเห็นว่าอย่างหนึ่งกำหนดโดยรูปแบบ ตกลงกันไว้ วินัยระเบียบว่าอย่างนั้นใช่ไหม ระเบียบกำหนดไว้รูปแบบว่าอย่างนี้ต้องมาบวชห่มผ้าอย่างนี้โกนหัวอย่างนี้ เนี่ยอย่างนี้เป็นหมู่สมมติสงฆ์ ทีนี้อีกอย่างหนึ่งกำหนดโดยคุณสมบัติภายใน คุณสมบัติของเขาอย่างนี้เรียกว่าอริยสงฆ์ อย่างหนึ่งกำหนดโดยรูปแบบระเบียบกำหนดไว้ อีกอย่างกำหนดโดยคุณสมบัติ (13.44??เหมือนเทปโดนตัด) คนที่เข้ามาอยู่ในสมาคมนี้จึงจะมีสิทธิ์เรียกว่าเป็นสมาชิกใช่เปล่า แต่ที่จริงคนที่เขามีความรู้แพทย์แผนโบราณที่เขาไม่ได้อยู่ในสมาคมนี้มีไหม แล้วบางทีเขาอาจจะรู้ดีกว่าก็มีใช่เปล่า แต่เขาไม่ได้มาเป็นสมาชิกใช่ไหมครับ แน่ ทีนี้เราเอาตามระเบียบตามกฎหมายเข้าว่าต้องอยู่ในสมาคมแพทย์แผนโบราณ เนี่ย ถ้าเขาตรากฎหมายไว้จึงจะไปประกอบอาชีพอย่างนี้ได้ เป็นเพราะเขากำหนดไว้อย่างนี้ แล้วคนที่มีความรู้เป็นแพทย์แผนโบราณเก่ง แต่ว่าไม่มีใบอนุญาต ไม่ได้เข้าสมาคมนี้ไปทำก็ผิดกฎหมายใช่รึเปล่า ทั้ง ๆ ที่มีคุณสมบัติ นี่แหละ อันนี้ก็เราก็จะเห็นว่าหนึ่งสมมติสงฆ์ก็เทียบได้กับว่าสมาคมแพทย์แผนโบราณ ก็ต้องเป็นสมาชิกต้องตามระเบียบ เขาเข้าสมาคมนี้ได้ทั้ง ๆ ที่บางคนก็เก่ง บางคนก็ไม่เก่งเลย ไม่ได้ความเลยก็มี แต่ก็เป็นสมาชิก โก้เลยล่ะสมาคมแพทย์แผนโบราณนี่ติดป้ายได้เลย ใช่ไหม แต่คนที่ไม่ได้มาเข้าสมาคมนี้ทั้ง ๆ ที่เขาเก่งเขาก็ไม่มีสิทธิ์ อย่างนี้เรียกว่าถ้าคนที่อยู่ข้างนอกนั้น ถ้าเราเอาความเป็นแพทย์แผนโบราณที่แท้จริง มันอยู่ที่ความสามารถใช่หรือเปล่า ไม่ได้อยู่ที่ว่ามาเข้าเป็นสมาชิกหรือไม่ ฉะนั้น เขาอยู่นอกสมาคม ความเป็นแพทย์แผนโบราณความสามารถเขาก็มีอยู่ไม่มีใครสามารถไปลบล้างได้ ฉะนั้น ความเป็นแพทย์แผนโบราณที่แท้จริงแบบอริยสงฆ์ก็คือว่าเขาจะอยู่ในสมาคมหรือนอกสมาคมก็แล้วแต่ นี่เรียกว่าใครมีความสามารถอย่างนั้นเรียกว่าเป็นแบบเทียบได้กับอริยสงฆ์ เป็นแพทย์แผนโบราณที่แท้จริง หรือเหมือนอย่างกับนี้ก็เหมือนกัน เหมือนกับว่าเรียนมหาวิทยาลัยเนี่ย ต้องมาเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ต้องมาลงทะเบียนเรียน ต้องสอบได้มีกำหนดเกณฑ์ผ่านได้เท่านั้น หน่วยกิตสำเร็จปริญญาให้ใบปริญญาบัตร จึงเรียกบัณฑิตใช่ไหมครับ อ้าว พอได้เป็นบัณฑิตแล้วเนี่ย ก็คนนี้ก็เอาใบไปสมัครงานอะไรต่ออะไรได้ใช่ไหม มีสิทธิ์เต็มที่ แต่ว่าบัณฑิตคือคนที่เก่งในเรื่องนั้น ๆ นะ จำเป็นหรือที่ต้องว่าจบมหาวิทยาลัยทุกคน มีไหมคนข้างนอกที่เขาเก่งอย่างนี้มีไหม มี แล้วบางคนก็เก่งมากด้วยจริงรึเปล่า อ้าว แต่ว่าเขาไม่มีใบปริญญา ใช่ไหม เลยเอาไปสมัครงานไม่ได้ใช่ไหม อันนี้ก็เหมือนกัน ฉะนั้น บัณฑิตบางคนจบมหาวิทยาลัยแล้วที่จริงไม่ได้ความมีหรือเปล่า (โยม - มี) ไม่ได้ความไม่ได้เก่งเลยก็มีใช่ไหม ได้แต่ชื่อใบปริญญาไม่รู้สอบมาได้ยังไง เนี่ยก็คนก็ไม่ได้เรื่องเหมือนกันแต่ก็มีสิทธิ์ อันนี้ก็คือเรื่องของสังคมเนี่ยเราต้องเอารูปแบบซึ่งมีกำหนด เหมือนมนุษย์อยู่ร่วมกันถ้าไม่มีระเบียบแบบแผนไม่มีกฎหมายตรามันก็ยุ่งใช่ไหม เพราะฉะนั้นในเรื่องของวินัยเรื่องของแบบแผนเรื่องสมมตินี่ก็สำคัญเหมือนกัน ก็ต้องมีเป็นแบบหนึ่งเหมือนกับความเป็นบัณฑิตการเป็นปริญญา แต่อีกด้านหนึ่งความสามารถที่แท้จริงก็สำคัญ คุณสมบัติภายในเนี่ย ฉะนั้นแม้จะเป็นบัณฑิตที่จบปริญญาเนี่ย ที่จริงเราต้องการให้เขาเป็นบัณฑิตที่แท้ที่ความสามารถไม่ได้อยู่ที่ใบปริญญา ฉะนั้น เราก็จะต้องมีวิธีการ บางกรณีเนี่ยเราอาจจะไม่เอาใบปริญญาเป็นสำคัญ เราจะเอาความสามารถ มีเหมือนกันใช่ไหม นะ เพราะฉะนั้นนี่แหละ ให้เณรเห็นโดยเปรียบเทียบว่าสมมติสงฆ์กับอริยสงฆ์ต่างกันยังไง สมมติสงฆ์ก็มีวินัยเป็นเครื่องกำหนด เอาระเบียบแบบแผนเข้าว่า มีรูปแบบอย่างนี้ ซึ่งแต่โดยทั่วไปแล้วเนี่ย สมมติสงฆ์ก็ คนที่มาอยู่ในสมมติสงฆ์เนี่ยก็น่าจะมีคุณสมบัติดีกว่าคนข้างนอกทั่วไป น่าโดยทั่วไปใช่ไหม เหมือนกับคนที่เรียนมหาวิทยาลัยสำเร็จปริญญาเนี่ยก็หวังได้ว่าโดยมากจะมีคุณสมบัติดีกว่าคนที่อยู่ข้างนอกใช่ไหม คนที่อยู่ข้างนอกที่จะมีความสามารถเก่งอย่างที่ว่าเนี่ยมันก็น้อยหรอก มันเป็นตัวยกเว้น อันนี้ก็เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบเณรคงพอเห็น เสร็จแล้วเราต้องแยกให้ได้ว่าไอ้ตัววินัยกับตัวธรรมะ ตัวรูปแบบกับตัวคุณสมบัติที่แท้เนี่ยมันสองแบบ ซึ่งอิงอาศัยซึ่งกันและกัน นี่เราให้เห็นสมมติสงฆ์กับอริยสงฆ์ พระพุทธเจ้านั้นท่านต้องการจุดมุ่งหมายอุดมคติคือสร้างอริยสงฆ์ พระที่มาบวชนี่ต้องการแม้แต่กำหนดรูปแบบเป็นสมมติสงฆ์แล้ว แต่ท่านต้องการให้พัฒนาตัวเองให้เป็นอริยสงฆ์ แต่ถึงแม้ไม่มาบวชก็เราสามารถมีสิทธิ์พัฒนาตัวเองได้ เอาละนี่ก็อันหนึ่ง ทีนี้สมมติสงฆ์เนี่ยเคยเล่าให้ฟังแล้วบอกการเป็นสงฆ์เนี่ย เริ่มต้นเนี่ย เราเพียงแต่ว่า หนึ่งมีกัลยาณมิตร เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน สองก็มีวินัย สามต้องมีสามัคคี แค่นี้ก็สมมติสงฆ์ก็เกิดแล้ว เนี่ยเราบวชเข้ามานี่เณรบวชเข้ามาปั๊บเนี่ย รุ่นนี้มีกัลยาณมิตรอุปัชฌาย์อาจารย์เลย ได้แล้ว คือท่านต้องการให้อุปัชฌาย์อาจารย์เนี่ยเป็นกัลยาณมิตรของผู้ที่บวช บวชเข้ามาก็ได้แล้วกัลยาณมิตร เอ้า พอบวชปั๊บนี่ให้ศีลและรับศีล มีวินัยแล้วใช่ไหม แล้ววินัยที่กำหนดก็เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวบ้าง เกี่ยวกับเรื่องการอยู่ร่วมกันบ้าง วินัยที่เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันเนี่ย เช่น มาประชุมพร้อมกันอะไรต่าง ๆ เนี่ยเป็นเรื่องสามัคคี ดังนั้นสามัคคีต้องมาในวินัยด้วย เวลาปฏิบัติตามวินัยในเรื่องของการอยุ่ร่วมกันก็จะเกิดสามัคคีขึ้น เณรเต็มรอได้ไหมครับ รอนิดหน่อยนะ อีกนิดเดียวอีกนิดเดียว นี่แแหละวินัยและความสามารถในการบังคับตนเอง นะ เปล่า เณรเต็มยังไม่ได้ฉันหรอก เพียงแต่ว่าเอาช้อนเก็บ เอ้าทีนี้เอานะ เป็นอันว่าเป็นกัลยาณมิตรกัน มีวินัยสามัคคีเนี่ย สมมติสงฆ์เป็นหลักสำคัญ แต่ว่าถ้าเราพัฒนาตัวอย่างพระพุทธเจ้าให้มีปัญญาวิสุทธิ์กรุณาเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนสมบูรณ์ นั่นคือการปฏิบัติตามแนวทางที่จะเป็นอริยสงฆ์ ฉะนั้นก็เราก็ไม่พอใจแค่นี้ การที่จะสร้างสังคมที่ดีงามเนี่ย จริงอยู่มีกัลยาณมิตร การมีวินัยสามัคคีก็ใช้ได้เแล้ว ลองได้แค่นี้ก็ดีถมไปแล้วใช่ไหม แต่ว่าอยู่กันเข้ามามีกัลยาณมิตร เป็นกัลยาณมิตรกันสงเคราะห์กันด้วยทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา แล้วก็มีวินัยช่วยกันรักษาวินัยส่วนรวม เป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความสามัคคีแค่นี้อยู่กันสบายแล้ว สมมติสงฆ์ก็ใช้ได้แล้ว แต่นี้เราต้องการให้พัฒนายิ่งกว่านั้น ก็เลยว่าให้มีการพัฒนาตัวเองให้มีปัญญา ให้มีวิสุทธิ์กรุณามากขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่า(21.52???) แล้วก็ใครก็ตามปฏิบัติตามนี้เขาก็จะสร้างความเป็นอริยสงฆ์ให้เกิดขึ้นในตัวเขา ก็เอาละ นี่ก็เล่าให้ฟังว่า เนี่ยในทางพุทธศาสนานี่มีวิธีในการฝึกฝนคนพัฒนาคนอย่างไร เณรก็จะได้ความรู้เรื่องนี้เราก็จะได้สามารถแบ่งสมมติสงฆ์อริยสงฆ์ได้ วันนี้ก็พอสมควรแก่เวลา เณรมีสงสัยอะไรไหม (22.28??)ครับ ไม่มียังไม่มี เณรเต็มเห็นแต่ก่อนว่าเป็นคนมีคำถามเยอะ วันนี้ไม่เห็นค่อยมีคำถาม ก็ไม่เป็นไรนะ เผื่อมีคำถามก็เอามาถามกันต่อไป (เณร - 22.46 ???) อะไรครับ (เณร - 22.49??) เหรอ เอ้า ที่นี่ไม่ต้องกลัว ที่นี่มีพระอยู่เยอะ ผีกลัวเลย ผีต้องกลัวเราสิ เราไปกลัวผีทำไม เออ ตอนนี้เราบวชเณรแล้ว อย่าว่าแต่ผีเลย เทวดายังไหว้เลย เทวดาไหว้พระไหว้เณรนะ เพราะฉะนั้นเณรเต็มไม่ต้องกลัวผี แล้วแล้วรู้สึกอย่างไรเณรเต็ม (เณร - 23.20??) โยมกลัวรึเปล่าครับ (23.25 ??) เป็นบ้าง เป็นบ้างตอนไหนหรือครับ (เณร - ตอนที่อยู่คนเดียว) อ๋อ แล้วมีตอนไหนอยู่คนเดียวล่ะ ก็เห็นอยู่กันตั้งสามองค์ มีเหมือนกันหรือครับตอนไหนอยู่องค์เดียว ตอนไหน (23.47??) กลางคืนเหรอ เอ๊ะ กลางคืนมีเณรเต็มอยู่องค์เดียวเหรอ (โยม - ก็จะมีสามองค์ลงมาแล้วเหลือเณรเต็มอยู่) อ๋อ ลงมาทีหลัง (โยม - สงสัยบางทีเปิดไฟแล้วมองออกไปที่นอกหน้าต่างแล้วก็จินตนาการภาพ 24.01??) เหรอ อ๋อ เณรเต็มอย่าไปกลัวนะครับ ต้องนึกตอนนี้ข้าพเจ้าเป็นเณรแล้ว ผีและเทวดาต้องไหว้ข้าพเจ้า (เณร - 24.15??) ไหน (เณร - 24.16??) อ๋อ สึกไปก็ตอนนั้นก็เอาคาถาแผ่เมตตาไป พอคาถาแผ่เมตตาไปก็ไม่เป็นไร แล้วถ้ายิ่งเราทำตัวเป็นอริยสงฆ์ได้เทวดาก็ต้องไหว้เหมือนกัน นะ สมมติสงฆ์เนี่ยเขายังไหว้เลยแล้วเป็นอริยสงฆ์ก็ยิ่งไหว้ใหญ่ แต่ถ้าคนเดียวไม่เป็นสงฆ์หรอก เขาเรียกเป็นอริย(24.42??)หรืออริยบุคคล แต่เป็นอริยบุคคลนี่ก็เทวดาก็ไหว้แล้วล่ะ เพราะฉะนั้นเณรเต็มไม่ต้องกลัว ตกลงว่าตอนเป็นเณรนี่นะสบายใจได้ สบายใจยังครับ (เณร - 24.58??ขึ้นบ้าง) สบายขึ้นบ้าง ทีนี้ การจะ(25.01???)นี่ท่องคาถาเอาไว้นะครับ นะ แล้วก็ถ้าสงสัยคาถาอะไรดีก็มาถามได้นะครับ ตกลงนะ เอาอย่างงั้น เอาล่ะวันนี้นิมนต์ฉันได้