แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
พูดเรื่องความสุขยังไม่จบเพิ่งจะได้ความสุขขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นความสุขที่เกี่ยวเนื่องความเป็นอยู่ประจำวันหรือชีวิตประจำวันเป็นความสุขขึ้นพื้นฐาน เนื่องด้วยชีวิตเองซึ่งหมายความว่า ถ้าเราได้อันนี้ไว้เป็นฐานนี่มันเป็นทุนที่สบายไปในตัวเยอะแหละ แต่มนุษย์ปัจจุบันนี่มาสูญเสียความสุขขั้นพื้นฐานนี้ไปซะโดยที่ไปมัวแสวงหาทะยานร่านลนหาสุขจากการเสพแล้วก็ได้มาซึ่งสิ่งบำรุงบำเรอนั้นแต่อีกด้านหนึ่งก็สูญเสียความสุขขั้นพื้นฐานนี้ไป นี่ยังไม่พูดถึงการที่จะพัฒนาให้มีความสุขอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเลยนะ แค่ความสุขพื้นฐานก็มีปัญหาเสียแล้ว ทีนี้พูดทิ้งไว้ขั้นนี้ก็มีแง่มีเกร็ดแทรกอีกนิดหน่อยที่บอกว่าคนที่ทะยานหาสิ่งเสพมาบำเรอสุขทางด้านอายตนะหรืออินทรีย์ตาหูจมูกลิ้นกาย ที่เรียกกามสุข หรือว่าเป็นสุขประเภทอาศัยวัตถุภายนอก เรียกว่าสามิสสุข ก็เลยทำให้เกิดการห่างเหินและแปลกแยกจากสิ่งที่ชีวิตต้องเกี่ยวข้องหรือเป็นอยู่โดยสัมพันธ์ตลอดเวลา 3 อย่างคือ
ห่างเหินแปลกแยกจากธรรมชาติ
ห่างเหินแปลกแยกจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกันหรือสังคม
แล้วก็ห่างเหินแปลกแยกจากกิจกรรมแห่งชีวิตของตัวเองที่อยู่กับตัวเองนี่
ทีนี้ความห่างเหินกับแปลกแยกนี่ก็จะต่างกันนิดหน่อย ในระยะไม่กี่ปีมานี้มีศัพท์แปลกแยก ซึ่งเป็นศัพท์ที่บัญญัติ หรือว่าคิดขึ้นมาเพื่อจะแปลคําศัพท์ภาษาอังกฤษว่า alienation ก็นับว่าเป็นคนคิดเข้าใจหาศัพท์เหมือนกันนะกว่าจะได้ศัพท์ว่าแปลกแยก ก็เป็นวิวัฒนาการทางภาษาที่ได้ประโยชน์ความแปลกแยกนี้ให้ความหมายดีเหมือนกันไปสื่อคำว่า alienation นี้ในภาษาไทยเดิมก็เราไม่รู้หรอกใช้ศัพท์อะไร สำหรับคำว่าแปลกแยก ห่างเหินกับแปลกแยกก็ไม่เหมือนกันทีเดียว อย่างห่างเหินจากธรรมชาติ กับแปลกแยกกับธรรมชาติ ห่างเดินหมายความว่ามันไกลจากกัน แต่แปลกแยกนี้หมายความทั้งอยู่ด้วยกันแต่มันแปลกแยก ทีนี้ยกตัวอย่างธรรมชาตินี่มนุษย์ปัจจุบันจะมีทั้งห่างเหินและแปลกแยก ห่างเหินก็ยังคนที่ยกตัวอย่างเมื่อเช้าว่าแกไม่ได้พบไม่ได้ปะกับธรรมชาติเลย สิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีเข้ามนุษย์นี่มันเกิดขึ้นมามากจนกระทั่งว่าได้สร้างขึ้นเป็นโลกของมนุษย์ที่แยกต่างหากจากโลกของธรรมชาติ นี้คนจำนวนไม่น้อยนี้ก็อยู่กับโลกของมนุษย์ที่เป็นโลกของสิ่งประดิษฐ์ โลกของเทคโนโลยี ก็ห่างเหินจากธรรมชาติไม่เจอไม่พบกัน ไม่เห็นว่าพระจันทร์ ไม่เห็นพระอาทิตย์อะไรต่าง ๆ แล้วก็ไม่เห็นต้นไม้ ไม่เห็นภูเขา นาน ๆ จะออกไปสักทีจะต้องไปตั้งใจไปหาธรรมชาติ ทีนี้ห่างเหิน
ที่นี้ปลกแยกละ แปลกแยกก็หมายความว่าทั้ง ๆ ที่อยู่ด้วยกันก็ใจก็ไม่สามารถจะเข้าถึงมันไม่สามารถจะสัมพันธ์กับมันในทางที่จะให้เกิดความรู้สึกเช่นซาบซึ้งได้ความสุขจากมันได้ อย่างมนุษย์ยุคปัจจุบันเนี่ยที่มัววุ่นวายกับการหาสิ่งเสพจนออกมาเป็นระบบบริโภค ระบบการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ ทีนี้แกก็วุ่นวายอยู่กับการหาผลประโยชน์ ความคิดแกก็มาหมกมุ่นกับเรื่องเหล่านี้จิตใจความรู้สึกก็วุ่นวายกับเรื่องเหล่านี้ เช่นว่ามีการห่วงกังวลว่าเราจะไม่ได้ผลประโยชน์อันนั้น มีความห่วงกังวลว่าผลประโยชน์อันนั้นจะสูญเสียไป มีความห่วงกังวลว่าคนอื่นจะมาเอาไป คนอื่นจะแย่งไปได้กลัวว่าตัวเองจะได้น้อยกว่า กลัวจะแพ้อันนั้นยังไม่ได้อันนี้จะได้ยังไงเนี่ย แม้แต่เวลาที่ไปอยู่ท่ามกลางธรรมชาติใจนี่ ใจไม่อยู่ แม้เขาจะไปหาโอกาสไปหาธรรมชาติบ้างแต่จิตใจเขาวุ่นวาย ใจเขาไม่อยู่ที่นั่น ใจเขาไปอยู่ในเมือง ใจเขาไปอยู่ที่วันข้างหน้าวันที่เปิดทำงานอีกเขาจะต้องไปวิ่งวุ่นวายแย่งชิงผลประโยชน์กับคนอื่นอะไรต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ตัวอยู่กลางธรรมชาติ อยู่ท่ามกลางสายลมแสงแดดดอกไม้อะไรนี่ แต่ว่ามันไม่สามารถได้รับรสความสุขสัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นได้จริงเพราะใจมันไปวุ่นวายเร่าร้อนไปอยู่ห่วงกังวลกับสิ่งที่อยู่ในบ้านในเมืองในชีวิตแห่งการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์นั้นใช่ไหม นี่ก็คือลักษณะที่แปลกแยก นั้นทั้ง ๆ ที่ตัวไปอยู่ใจก็ไม่อยู่ ใจไม่สามารถได้ความสุขจากสิ่งแวดล้อม อย่างตัวอย่างเรื่องธรรมชาติที่ชีวิตของเขาต้องสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่ชีวิตของเขาก็เป็นส่วนหนึ่งด้วยนี่ก็
1 ห่างเหินธรรมชาติแวดล้อมนั้นมีน้อยลงแล้ว หนึ่งห่างเหินแล้ว
2 ยังมีน้อยอีก
3 ที่มีน้อยนั้นก็อยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอีก
4 เวลาเข้าไปอยู่เขาก็ไม่สามารถได้รับสัมผัสแห่งความสุขความรื่นรมย์จากมันได้จริงอย่างเต็มสมบูรณ์ 4 ประการนี่แย่ที่เขาต้องสูญเสียไปเป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเสพบริโภค เพื่อจะให้ได้ความสุขด้านนั้นนะ เอาละทีนี้ นี่ก็เป็นข้อสังเกต
ทีนี้ในเมื่อมนุษย์เดิมเนี่ยมันมีแหล่งความรู้พื้นฐาน 3 ประการที่ว่าก็ไม่ใช่ว่ามนุษย์สมัยเดิมนี้แกจะได้ความสุขจากแหล่งทั้ง 3 นี้เสมอไปนะ คือว่าด้านธรรมชาติ ด้านเพื่อนมนุษย์ ด้านกิจกรรมแห่งชีวิตเนี่ย คนสมัยก่อนเขาก็มีปัญหา หรือว่าคนจะอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ยังไม่มีสิ่งเสพมากมาย เขาก็มีปัญหาได้เหมือนกันแต่ว่ามันมีอันหนึ่งก็คือว่ามันไปชดเชยกันได้ เช่นว่าบางคนเนี่ยเข้ากับเพื่อนมนุษย์ไม่ค่อยได้ สมัยก่อนเขาก็เป็นเข้ากับใครก็ไม่ค่อยได้ แต่แกก็ยังมีธรรมชาติแวดล้อมให้อยู่ แกก็หลบไปหาธรรมชาติแวดล้อมใช่ไหม ไปหาความสุขจากธรรมชาติหรือไม่งั้นแกก็ไปหาความสุขจากกิจกรรมแห่งชีวิต แกชอบอะไรแกก็ไปทำของแกง่วนไม่ยุ่งกับใครแล้ว หาความสุขของแกไปก็ชดเชย หมายความใน 3 อย่างนี้อาจจะเสียอันโน้น ก็ไปเอาอันโน้นมาช่วยมาแทนกันไปหรือคนที่ว่าไม่ชอบอยู่กับธรรมชาติก็ไปสังสรรค์กับเพื่อนมนุษย์ใจมันก็มีความบริสุทธิ์ใจมันไม่มีคลางแคลงไม่มีไอ้เรื่องของความแปลกแยกความหวาดระแวงอะไรอยู่มันก็มีความสุขจริงพอสมควรเป็นอันว่าชดเชยกัน ที่นี้มนุษย์ยุคนี้นะ ทีนี้ถ้าจะชดเชยก็ชดเชยยากใช่ไหม เข้ากับเพื่อนมนุษย์ไม่ได้จะไปหาธรรมชาติ ธรรมชาติก็อยู่ในภาวะที่ไม่เอื้อไม่มีให้มากมายเพียงพอหรือไม่อยู่ในสภาพที่ตัวเองจะได้ความสุขอะไรอย่างนี้มันไม่เต็มที่ นั้นยุคปัจจุบันนี่ถ้าดูในแง่นี้ก็นับว่าเสียเปรียบคนสมัยโบราณ นี่ก็เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง
ทีนี้ในสมัยโบราณนี่เขาก็มีปัญหาในเรื่องเหล่านี้ อย่างคนที่ออกไปบวชเป็นฤๅษีชีไพรตั้งแต่ก่อนพุทธกาลนี่ เขาก็อาจจะเบื่อหน่ายเพื่อนมนุษย์ เบื่อหน่ายครอบครัว เบื่อหน่ายคนที่เกี่ยวข้อง แล้วก็เบื่อชีวิตที่มายุ่ง สมัยนั้นก็มีอยู่การแย่งชิงผลประโยชน์การเสพแกเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายอามิส เบื่อหน่ายกาม แกก็ปลีกตัวออกไปอยู่กับธรรมชาติใช่ไหม อย่างฤษีชีไพรนี่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสังคมตัดขาดกับสังคม ไปหาความสุขไปบำเพ็ญเพียรทางจิตได้สมาธิ ได้ฌานก็เล่นฌาน ยังวันเวลาให้ผ่านไปด้วยกันเล่นฌานมีความสุขจากสมาธินั้น ท่านเรียกว่าฌานนักกีฬา เป็นลักษณะของพวกฤษีชีไพรได้ฌานสมาบัติ นี่เป็นทางออกของมนุษย์ที่มีมา แต่เดิมแต่ว่ากลายเป็นว่าในแง่นี้แล้วมนุษย์ยุคก่อนนี้ได้เปรียบ มนุษย์ยุคนี้ได้เปรียบมากได้มีสิ่งเสพมาก แต่ว่าไม่รู้ลงทุนนี้ได้ผลกำไรคุ้มหรือเปล่า หรือขาดทุนยับเยินก็ไม่รู้ เพราะไอ้ส่วนที่สูญเสียไปก็เยอะ ได้เปรียบมีสิ่งเสพเทคโนโลยีเยอะ บำรุงบำเรอแต่ว่าในด้านเสียก็เสียแหล่งพื้นฐานแห่งความสุข 3 ประการนี้ไป แล้วทางที่จะไปหามาชดเชยก็ยาก ยิ่งต่อไปอย่างคนจะหลบสังคม หลบสิ่งเสพไปหาป่าหาเขาที่หลบ เดี๋ยวนี้จะยากขึ้นทุกทีน่ะ หาที่หลบไม่ไหว ไม่มีที่จะให้ไปหาความสุข แต่อย่างไงก็ตามพระพุทธศาสนาก็ไม่เห็นด้วยกับลัทธิที่ปลีกตัวหลบไป พุทธศาสนาไม่ใช่ลัทธิฤษีชีไพร พระพุทธศาสนาให้อยู่กับความจริงของชีวิตโดยเฉพาะแหล่งความสุข แหล่งความสัมพันธ์พื้นฐานทั้ง 3 อย่าง อันนั้น
1 ธรรมชาติพุทธศาสนาก็ให้มนุษย์นี่ไม่แปลกแยก ไม่ห่างเหิน
2 ก็เรื่องของเพื่อนมนุษย์พุทธศาสนาก็ให้พัฒนาความเป็นอยู่ความสัมพันธ์ที่ดีไม่ใช่ให้ไปตัดขาดจากสังคม นั้นพุทธศาสนานี่ไม่ได้ให้พระนี่ไปจะอยู่อย่างฤษีชีไพรปลีกตัวไป พระนี้อยู่กันเป็นสงฆ์ อยู่เป็นชุมชน พระพุทธเจ้าตั้งเป็นชุมชนเป็นสังฆะขึ้นมา แล้วสังฆะนี่องค์พระรัตนตรัยเลยเป็นหลักการสำคัญเพราะว่าพุทธศาสนานั้นไม่ใช่ลัทธิที่ออกไปอยู่โดดเดี่ยว แล้วก็กิจกรรมแห่งชีวิตก็ให้พัฒนาในแง่กิจกรรมที่เป็นประโยชน์สร้างสรรค์ไม่เป็นการทำลาย ไม่เป็นการเบียดเบียน การสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ที่ดีให้เป็นไปในการเกื้อกูลกันมีมิตรไมตรีเมตตาตามหลักพรหมวิหารรักษาความเป็นธรรมไว้ด้วย อันนี้แหละที่สำคัญ นี้เราไม่ใช่ปล่อยไปตามพื้นฐานเดิม แม้แต่มีแหล่งความสุขพื้นฐานแล้วถ้าไม่พัฒนามันก็เกิดปัญหาจากสิ่งเหล่านั้นได้ นั้นก็จะต้องมีการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีงาม นี้ฝรั่งนี้ไม่เข้าใจพุทธศาสนา ฝรั่งไม่น้อยมาศึกษาพุทธศาสนานี้ก็แยกไม่ออกจากลัทธิฤษีชีไพร บางคนก็บอกว่าพุทธศาสนานี้เป็นอาเสทติคซิสซึ่ม อาเสทติคซิสซึ่มก็คือลัทธิอาเสทติค อาเสทติกก็พวกฤษีโยคี ลักษณะของลัทธิอาเสทติค อาเสทติคก็ตัวคน ถ้าเป็นลัทธิก็เป็นอาเสติคซิสซึ่ม ลักษณะของชีวิตแบบนี้ก็คืน หนึ่ง ปลีกตัวไม่ยุ่งไม่เกี่ยวกับใคร เช่นเป็นอย่างพระเวสสันดร พระเวสสันดรนี่เป็นพระโพธิสัตว์ก็จริงแต่ว่าพระโพธิสัตว์นั้นไม่ใช่หมายถึงว่าไม่ใช่ผู้ที่บรรลุจุดหมายในพุทธศาสนาแล้วยังลองผิดลองถูกอยู่ คนยังมองโพธิสัตว์นี่ไม่ค่อยเป็น คนฟังถาม เจ้าแม่กวนก็เป็นพระโพธิสัตว์
พระโพธิ์สัตว์นั่น ก็เป็นพระโพธิสัตว์มหายานแล้วยิ่งเพี้ยนไปกันใหญ่เลย อันนั้นเคยพูดแล้วนะเรื่องพระโพธิสัตว์ความหมายที่เพี้ยนไป โพธิสัตว์แบบเดิมนี่มีปณิธานในการที่จะบำเพ็ญความดีคุณธรรมต่าง ๆ ที่เรียกว่าบารมีอย่างยวดยิ่งใช่ไหม อันนี้ในการบำเพ็ญบารมีนั้นในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชนก็ทำให้ดีที่สุด แต่ปัญญายังไม่เป็นโพธิยังไม่เป็นพุทธะ ก็ทำเท่าที่ เช่นว่าสติปัญญาตัวเองว่าดีหรือเห็นว่าสังคมเขานิยม สังคมก็ตกลงกันว่าเป็นคุณธรรมที่ดีท่านก็รู้เท่านั้นก็ทำให้ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์ยุคนั้นจะทำได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าพระโพธิสัตว์นี่ที่จะทำถูกหมดใช่ไหม หมายความในระดับที่มนุษย์ยอมรับกันในระดับสังคมค่านิยมที่ดีอะไรต่าง ๆ เท่าที่ปัญญามนุษย์ในยุคนั้นจะคิดได้ในพระโพธิสัตว์ยอดสุดละ แต่ก็ยังไม่เป็นพุทธะ เพราะฉะนั้นการกระทำของท่านนี่ยังไม่สามารถเอามาเป็นเกณฑ์วินิจฉัยความถูกต้องโดยสมบูรณ์ เพราะท่านยังทดลองอยู่ใช่ไหม
คนฟังถาม พระเดชพระคุณครับ อย่างนั้นพระภิกษุก็กราบรูปเจ้าแม่กวนอิมไม่ได้ใช่ไหมครับ
พระตอบ ก็จะไปกราบได้ยังไงล่ะครับ ไม่มีทาง
คนฟังถาม ก็เอาไปบูชาไม่ได้เหมือนกัน
พระถาม ไม่ได้
คนฟังถาม อย่างบางวัด อย่างบางสำนักสงฆ์มีเจ้าแม่กวนอิมไว้
พระตอบ ก็เอามาเป็นเพียงพระโพธิสัตว์แบบเดียวมากราบพระพุทธรูปเอามาวางตั้งไว้ข้าง ๆ แต่ว่าพระจะไปกราบไปไหว้ไม่ได้ พระโพธิสัตว์เยอะแยะไปกราบไหว้ไม่ได้ ก็ไปกราบไหว้เจ้าชายสิทธัตถะได้ที่ไหน เจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม เราไปกราบได้ที่ไหนล่ะยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า ไปไหว้กราบพระเวสสันดรได้ที่ไหนใช่ไหม เจ้าแม่กวนอิมก็เป็นพระโพธิสัตว์ อันนี้เป็นพัฒนาการยุคหลัง พ.ศ. 6 700 ราว ๆ สัก ราว ๆ นั้น 5 600 ปี
คนฟังถาม ที่พิษณุโลก มีวัดมีเจ้าแม่กวนอิมสลักด้วยหินอ่อนที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย เอาไว้ให้คนไปบูชากัน แต่หลายต่อหลายคนไปมีความยึดติดที่ว่า เจ้าแม่กวนอิมนั้นสามารถบรรดาลได้หลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น รักษาโรคภัยไข้เจ็บ ไปแมะหรือไปกินอธิฐาน ก็จะเป็นวัดหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลกที่คนจากหลายจังหวัดไป
พระตอบ แต่คฤหัสถ์ไปไหว้ได้ไม่เป็นไร แต่ไหว้ก็ต้องไหว้ให้ถูกคติพระโพธิสัตว์ คติพระโพธิสัตว์แท้ตามความหมายเดิมของพุทธศาสนาก็เคยพูดแล้วนะ บอกเป็นแบบอย่างในการบำเพ็ญความดีเป็นเครื่องเตือนใจเรา แล้วให้เกิดกำลังใจในการทำความเพียรในการบำเพ็ญคุณธรรมใช่ไหม เราทำความดีต่าง ๆ แล้วเราอาจจะท้อถอยเพราะเราเป็นมนุษย์ปุถุชนยังอ่อนแอ เราได้พระพุทธเจ้า ได้พระโพธิสัตว์มาเป็นแบบอย่างว่าท่านทำความเพียรท่านช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์สละชีวิตของท่านได้ เรากำลังเกิดความท้อแท้เราเริ่มอ่อนแอลง พอเรามานึกถึงท่านเราก็จะเข้มแข็งฮึดสู้ต่อไปทำความดี แต่ทีนี้ว่าพอมามองก็พระโพธิสัตว์ โดยเปลี่ยนความเข้าใจใหม่เป็นว่าพระโพธิสัตว์ท่านมีความเพียรในการทำความดีท่านมีเมตตากรุณาสูงช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ท่านพร้อมที่จะช่วยคนอื่น ท่านมีกรุณามากเพราะฉะนั้นเราก็ไปขอความช่วยเหลือจากท่าน พอเป็นอย่างนี้ปั้บมันกลับไปเป็นแบบศาสนาโบราณเหมือนกับเจ้าแม่กวนอิมนี่เป็นแบบเทพเจ้าก็เป็นลัทธิไปอ้อนวอนบวงสรวงขอผลประโยชน์ขอความช่วยเหลือไป แล้วกลับไปทำให้คติโพธิสัตว์นี่เป็นเหมือนคติเทพเจ้าใช่ไหม คือนี่มันผิดหลักพระกวนอิมก็คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งเกิดในอินเดีย เกิดในลัทธิมหายานประมาณ พ.ศ. 5 600 อย่างที่ว่า ซึ่งเคยเล่าไปแล้ว คงไม่ต้องเล่าใหม่นะ อันนี้ก็เกิดจากการที่แง่หนึ่งก็คือ แข่งกับศาสนาฮินดูที่เขามีเทพเจ้าให้คนกราบไหว้ขอความช่วยเหลือ นี้ทางฝ่ายพุทธศาสนามหายานก็เลยหาทางให้ชาวพุทธนี้ได้มีความอบอุ่นใจ มีสิ่งปลอบประโลมใจ มีสิ่งที่จะมาช่วยให้ความหวังในการช่วยเหลือ ก็เลยเอาคติโพธิสัตว์มาใช้ในความหมายใหม่ ในความหมายที่ไปเป็นแบบฮินดูไป คือไม่ใช่คติเดิมที่พระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่างในการทำความเพียรในการทำความดีอย่างเอาจริงเอาจังอย่างเข้มแข็งอย่างเด็ดเดี่ยวและอย่างเสียสละใช่ไหม ก็เลยเปลี่ยนความหมายไป เอาแล้วละครับทีนี้ก็ย้อนกลับมาเรื่องนี้ เลยไม่รู้พูดไปถึงไหนว่า คนฟังบอก พระเวชสันดร พระเวชสันดรก็พูดแล้ว ก็คือหมายความพระโพธิสัตว์ว่าพระโพธิสัตว์นี้ก็ท่านยังบำเพ็ญความดี ยังบำเพ็ญบารมีอยู่ยังไม่ตรัสรู้ นี่เรื่องที่ไหว้ไม่ได้อะไรต่าง ๆ นี้จุดเริ่มที่พูดเรื่องนี้ไปจากเรื่องอะไร คนฟังบอก ลักษณะของลัทธิฤษีชีไพร
อ๋อ พระเวชสันดรเป็นฤษีชีไพร ท่านก็ไปอยู่โดดเดี่ยวของท่าน นี้ในพุทธศาสนานี่ พระพุทธเจ้าตั้งสังฆะขึ้นมาเป็นชีวิตชุมชนใช่ไหม จะมีส่วนยืดหยุ่นมากในด้านหนึ่งก็ส่งเสริมให้พระปลีกตัวหาความสงบสงัด แต่ในการปลีกตัวความสงบสงัดนั้นเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองนะมีจุดมุ่งหมาย ไม่ให้ไปแยกตัวโดดเดี่ยวและให้มีความผูกพันกับชุมชนโดยที่ว่า 15 วันต้องมาเข้าที่ประชุมครั้งหนึ่งใช่ไหม นี่คือชีวิตสังฆะ แล้วจะต้องมาพึ่งพาอาศัยอาหารจากชาวบ้าน ต้องมาบิณฑบาตร ต้องมาสื่อสัมพันธ์ มาแลกเปลี่ยนให้ธรรมะแก่ประชาชนได้ปัจจัยอาหารไปนะ ก็หมายความอย่างพระนี่ที่ถือว่ามีชีวิตสงบสงัดที่สุดก็ยังแยกตัวตัดขาดจากสังคมไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นสังคมพระด้วยกันหรือสังคมพระกับคฤหัสถ์ ในแง่พระกับคฤหัสถ์ก็วินัยผูกมัดชีวิตพระสงฆ์ไว้ว่าจะไปเที่ยวหากินเองไม่ได้ต้องมาฝากท้องกับชาวบ้านโดยการบิณฑบาต ในแง่ของสงฆ์ก็มีวินัยซึ่งเป็นสังฆกรรมว่าเวลามีกิจกรรมของหมู่ต้องเข้ามาร่วมในการพิจารณาตัดสิน นั้นพุทธศาสนานี่จึงไม่ใช่อะเสติคซิสซึ่ม ในแง่ที่หนึ่ง ก็คือแง่ที่ปลีกตัวตัดขาดจากสังคม
ในแง่ที่สองก็คือข้อปฏิบัติอะเสติคนี้จะมีข้อปฏิบัติแบบทรมานตนเอง พุทธศาสนาไม่ใช่ลัทธิแบบนั้น แต่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา แล้วการที่ว่าจะใช้วัตถุเสพน้อยอะไรนี่ มันก็ต้องสัมพันธ์กับการพัฒนาจิตใจ เช่นการสันโดษมักน้อย เขาจะทำได้ดีก็เมื่อเขาพัฒนาจิตใจให้เป็นอิสระมีความสุขทางจิตใจได้มาแล้วก็เลยมีอิสระทางจิตใจขึ้นต่อวัตถุเสพน้อยลงไม่ใช่เขาไปทรมานตัวเอง ถ้าในระหว่างตอนต้นอาจจะใช้เป็นการฝึกอย่างที่ว่ามาแล้วเห็นว่าตัวเองนี่ตามใจตัวเองในเรื่องเหล่านี้ ปรนเปรอตัณหามากไป ถ้ามัวตามใจตัวเองอย่างนี้ก็จะไหลลงตามกระแสเรื่อยไปก็เลยมาฝึกตนเอง ตอนแรกก็อาจจะรู้สึกเหมือนกับว่าลำบากบ้าง แต่พอฝึกแล้วก็จะเกิดความรู้สึกยินดีพอใจก็ได้พัฒนาตัวเองไป เอ้าละครับอันนี้ก็เรื่องของพุทธศาสนา ไม่ใช่พุทธศาสนาจะไปชื่นชมยินดีกับระบบชดเชยแบบที่ฤษีชีไพรที่แกไม่เอาวัตถุเสพสังคมเพื่อนมนุษย์เบื่อก็เลยออกไปอยู่ปลีกตัวไปหาธรรมชาติอย่างเดียวก็ไม่ถูกเหมือนกันนะ นี้ก็พุทธศาสนาก็เป็นระบบชุมชนให้มนุษย์อยู่กับชุมชนที่พัฒนาแล้ว ก็เป็นอันว่าไม่แปลกแยกห่างเหินทั้งจากธรรมชาติเพื่อนมนุษย์ด้วยกันและกิจกรรมแห่งชีวิต
นี้มนุษย์ยุคปัจจุบันนี้ในเมื่อแกวุ่นวายกับการหาสิ่งเสพติดนี่แกไม่รู้ตัวหรอกอารยธรรมวัฒนธรรมนี่เมื่อเน้นให้คุณค่าตีค่าวัตถุเสพสูงสุด ก็ลืมพัฒนาความสุขด้านอื่น ๆ เพราะฉะนั้นแกก็จะพัฒนาชีวิตเหมือนกัน แต่พัฒนาชีวิตคือให้เกิดมาสามารถที่จะหาสิ่งเสพเหล่านี้มาสนองความต้องการ อันนี้การที่จะพัฒนามนุษย์นี่ก็คือ ระบบที่เรียกว่าการศึกษา นั้นการศึกษาก็จะเลยมีความหมายว่าเป็นการพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพมาบำเรอความสุขเป็นการพัฒนาด้านเดียว อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้การศึกษามีส่วนไม่น้อยที่โดยไม่รู้ตัวได้มีความหมายเช่นนี้ ส่วนความหมายอื่น ๆ ก็ยิ่งลบเลือนหายไป กลายเป็นว่าได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้โดยไม่รู้ตัว ได้โดยบังเอิญ ได้โดยเป็นผลข้างเคียงก็เลยแทนที่จะเป็นผลให้เกิดปัญญารู้ความจริง นั้นการศึกษาปัจจุบันนี้ก็ขอย้ำอีกทีว่าได้กลายเป็นการศึกษาที่มีความหมายว่าเป็นการพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพมาบำเรอความสุข โดยมีวัตถุเสพนั้นเหมือนกับเป็นจุดหมายของชีวิตไป เรียกว่าได้วัตถุเสพพรั่งพร้อมก็คือความสุขความสมบูรณ์ของชีวิต อันนี้มันก็เป็นการพัฒนามนุษย์ที่เสียดุลภาพ เพราะว่ามนุษย์นั้นสามารถพัฒนาชีวิตในด้านการที่จะมีความสุขอื่น ๆ แม้แต่ความสามารถที่จะมีความสุขด้วยตนเองมากขึ้นแทนที่จะต้องไปหาสิ่งเสพมาแล้วก็พอพัฒนาความสามารถนี้หาสิ่งเสพได้มาชีวิตก็ยิ่งขึ้นต่อวัตถุเสพมากยิ่งขึ้น พอชีวิตของเขาขึ้นต่อสิ่งเสพมากยิ่งขึ้นแล้วเขาแปลกแยกห่างเหินจากแหล่งความสุขพื้นฐานและไม่สามารถพัฒนาความสุขที่ปราณีตลึกซึ้งที่เป็นอิสระขึ้นมา ต่อมาก็จะมีลักษณะที่คล้าย ๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นความสุขของคนประเภทที่เรียกว่าความสุขของคนที่เกาที่คัน เป็นความสุขจากการเกาที่คันใช่ไหม หรือเป็นความสุขของคนโรคเรื้อน คนโรคเรื้อนนี้จะมีลักษณะอย่างหนึ่งคือ แกมีแผลตามตัวแล้วก็คัน เมื่อแกคันนี้นะไอ้ตัวไอ้ความคันนี่มันจะรุมเร้าแกให้แกต้องเกาใช่ไหม เมื่อแกเกาแกก็มีความสุขจากการเกาที่คัน เมื่อยิ่งเกาก็ยิ่งคันขึ้นมาอีก ยิ่งคันก็ยิ่งเกา ยิ่งเก่าก็ได้ความสุขจากการเกา แล้วก็ ๆ ยิ่งคัน ก็ยิ่งเกา ยิ่งเกาก็ได้ความสุขจากการเกานะ นั้นคนยุคปัจจุบันนี้ก็จะมากระตุ้นเร้าไอ้ตัวตัณหาความทะยานอยากอันนี้ คือความรุมเร้าในการที่อินทรีย์ตาหูจมูกลิ้นจะต้องการสิ่งเสพให้รุนแรงยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์มันต้องการสิ่งเสพรุนแรงยิ่งขึ้นก็ยิ่งใช้ตัวสิ่งสนองความต้องการหรือสิ่งเร้านั้นรุนแรงยิ่งขึ้นใช่ไหม จนกระทั่งต่อมาไอ้สิ่งเร้าที่มันอ่อนกำลังที่มันเป็นพี้น ๆ เนี่ย มันจะไม่สามารถให้ความสุขได้ใช่ไหม เหมือนกับการเกาที่ต้องแรงขึ้น แรงขึ้น นั้นคนที่เป็นโรคเรื้อนนี้ก็จะมีลักษณะอีกอย่างหนึ่งก็คิดว่านอกจากการเกาก็คือแกชอบไปผิงไฟ การผิงไฟนี่จะทำให้แกได้ความสุข นี้ยิ่งร้อนแกก็จะมีความสุข นั้นแกก็ไปถ้ามองในแง่ของคนทั่วไปคนที่เป็นปกติสุขภาพดีก็จะรู้สึกว่าไม่ได้มีความสุขเลยในการที่ไปผิงไฟ มันน่าจะร้อนเป็นทุกข์ด้วยซ้ำใช่ไหม แต่ว่าไอ้คนที่มันเป็นโรคเรื้อนมันสุขนะใช่ไหม มันสุขในการที่เป็นไปผิงไฟให้มันร้อน ๆ ๆ ๆ เพราะมันแหมรู้สึกว่ามันสะใจหรือยังเกาที่คันก็เหมือนกัน ถ้าคนสุขภาพดีไม่คันเนี่ยไปเกาเข้านี่มันทุกข์ใช่ไหม ลำบากแต่ว่าคนที่คันนี่ เกาแล้วมันมีความสุข แล้วก็เลยคันเขยอ เกาจนกระทั่งแผลเผลอปากแผลเฟอะเลย แย่ไปเลย นี่คือเรื่องของกามสุข สามิสสุข ก็จะมีลักษณะแบบนี้พระพุทธเจ้าก็เปรียบไว้แห่งหนึ่งเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน 1 ก็มีความสุขจากการเกาที่คัน ยิ่งคันยิ่งเก่า ยิ่งเกายิ่งสุข ยิ่งสุขยิ่งคัน ยิ่งคันยิ่งเกา ยิ่งเกายิ่งสุข ยิ่งสุขยิ่งคัน ยิ่งคันยิ่งเกาไปเรื่อยนะ แล้วก็ที่ว่าเอาตัวไปย่างไฟไปผิงไฟมันไม่ใช่แค่ผิงมันเหมือนย่างไฟนะ ทำให้มีความสุข อันนี้ถ้าหากว่าคนได้พัฒนาตัว พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกว่า ต่อมาสมมุติว่า นี่สมมติในแง่ภาษาไทยนะ ต่อมาถ้าหากว่าคนที่เป็นโรคเรื้อนน่ะแกไปรักษาตัวได้แพทย์ที่มีความสามารถได้ยาดี แล้วก็แกก็มีสุขภาพดีหายโรคเรื้อนนั้น ร่างกายเป็นปกติดี ถามว่าแกจะอยากไปเกาอย่างนั้นไหม แกจะอยากไปผิงไฟอย่างนั้นไหม ถามอย่างงี้ ตอบว่าไม่ใช่ไหม แกจะไม่เอาด้วย แกจะรู้สึกอู้ฮู ถ้าหากว่าจะไปผิงไฟนั่นแกไม่ไปแน่ ถ้าเกิดมีคนจะดึงตัวแกไปนี้ก็จะดิ้นสุดตัวเลยใช่ไหม ดิ้นไม่ยอมให้เขาพาไปผิงไฟย่างไฟอย่างเก่าอีก เนี่ยก็เหมือนกับคนที่ว่าไม่ตกอยู่ใต้อำนาจกามแล้วพัฒนาให้เกิดความสุขให้สุขภาพจิตสมบูรณ์ เมื่อจิตมันสมบูรณ์ดีแล้วเนี่ย เหมือนกับคนที่ร่างกายมีสุขภาพดี นี่เปรียบเทียบทางกายกับจิต จิตสมบูรณ์คือมีสขุภาพของจิตสมบูรณ์แล้วเนี่ย มันจะไม่เห็นไอ้การที่ไปเสพการไปปรนเปรอบำเรอกามสุขทางด้านอินทรีย์เหล่านี้ว่าเป็นความสุขอีก เหมือนกับคนที่หายจากโรคเรื้อนสุขภาพดีแล้วจะไม่เห็นการที่ไปเกาที่คันและการไปย่างไฟเอาตัวไปย่างไปผิงไฟว่าเป็นความสุขนะ อันนั้น นี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสอุปมาเอาไว้ ทีนี้ภาวะที่มีสุขภาพดีย่อมเป็นที่ปรารถนาของมนุษย์ฉันใด การมีสุขภาพจิตสมบูรณ์ก็คือการบรรลุนิพพานนะ ความเป็นความไม่มีโรคหรือความมีสุขภาพจิตสมบูรณ์นั้นเป็นชื่อหนึ่งของนิพพาน ภาวะที่เป็นอิสระ อันนั้น นี่คือการที่มนุษย์พัฒนาไปให้ถูกต้องจนกระทั่งจิตมีสุขภาพสมบูรณ์ ก็จะเป็นเหมือนกับคนที่หายจากโรคเรื้อนก็จะไม่แสวงหาความสุขจากการเกาที่คันและไม่มองเห็นการเอาตัวไปย่างไฟเป็นความสุขอีกต่อไปนะ
อันนี้ก็เป็นเรื่องของความสุขอย่างที่ 1 เรื่องกามสุข ไหน ๆ พูดไปแล้วก็มาสรุปประมวลเรื่องของกามสุขซะหน่อยก่อนที่จะก้าวไปสู่ความสุขระดับอื่น ๆ เรื่องกามสุขหรือสิ่งเสพทางตาหูจมูกลิ้นกายเนี่ย เราได้พูดกันมาก็เยอะแล้ว แต่ว่าพูดแบบกว้างๆ ทีนี้เราลองมาประมวล เอาแล้วพระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า กามมีทั้งแง่ดีและแง่เสีย พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสในแง่โทษอย่างเดียว แงดี แง่อร่อย แง่น่าชื่นใจของกาม ท่านเรียกกามสุข แล้วเป็นกามสาทะ กามะอาสาทะนั่นเอง อัสสาทะของกามคืออะไร ก็คือความเอร็ดอร่อยความสุขความชื่นใจที่ได้จากการเสพทางตาหูจมูกลิ้นกายนั้นเรียกว่าอัสสาทะของกาม ที่นี้ต่อไปอาทีนวะโทษของกามละ โอ๋โทษของกามก็มีเยอะอยู่ โทษของกามแต่ที่เป็นสำคัญก็คือ 1 การที่ว่าต้องขึ้นต่อสิ่งเสพภายนอก กามเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกเราต้องขึ้นต่อมัน ถ้าเราจะมีความสุขต้องอาศัยมันไม่อยู่ในตัวของเราเองนี่ลักษณะที่ 1 คือขึ้นต่อมัน เมื่อขึ้นต่อมันยังไม่ขึ้นต่อแค่นิดหน่อยคือมันขึ้นต่อลักษณะที่ว่าตอนแรกมันเสพแค่นี้ก็สุข ต่อมาปริมาณดีกรีเดิมเท่าเดิมไม่สุขต้องเพิ่มปริมาณดีกรีอีก นี่มันก็ทำให้การขึ้นต่อนี้มันมีความหมายอื่นที่จะต้องขึ้นมากยิ่งขึ้น อาศัยมันยิ่งขึ้น ทีนี้มนุษ์นั้นปกติอาศัยสิ่งเสพเหล่านี้ในแง่ที่จะให้ชีวิตเป็นอยู่ เช่นอาหารนี่เราอาศัยมันอยู่แล้วในแง่ชีวิตความเป็นอยู่ที่จะให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ แค่นั้นไม่พอต้องมาขึ้นต่อมันในแง่ความสุขอีกนีสิใช่ไหม เราขึ้นต่อมันในแง่การที่จะให้มีชีวิตอยู่ได้นี่ก็มากอยู่แล้วนะ ยังต้องไปขึ้นต่อมันในการที่จะมีความสุขอีกด้วย ทีนี้มันน่าจะทำไงให้เรานี่ขึ้นต่อมันในแง่ชีวิตเป็นอยู่ได้ แล้วความสุขของเราเป็นอิสระจากมันมากขึ้น นี่เราต้องกลายเป็นต้องขึ้นต่อมันทั้งสอง ทีนี้การขึ้นต่อมันในแง่ของอาศัยเลี้ยงชีพเนี่ย มันมีปริมาณหนึ่งจำกัด แต่พอขึ้นต่อมันในแง่ความสุขนี่ มันกลายเป็นเกินขอบเขตของการที่ต้องอาศัยได้แง่ชีวิตเป็นอยู่ใช่ไหม เช่นอย่างอาหารเนี่ยเราขึ้นต่อมันอยู่แล้วในแง่ชีวิตต้องอาศัยเป็นอยู่ในปริมาณหนึ่งเท่านั้นเอง แต่พอในแง่ความสุขเรา โอ๋โฮคราวนี้ขึ้นต่อมันมหาศาลเลยปริมาณไม่รู้เท่าไหร่เลยใช่ไหม กลายเป็นระดับที่เกินจำเป็นกลายเป็นลำดับที่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ แล้วก็สิ้นเปลืองเสียเปล่า แล้วก็กลายเป็นการทำลายไปเงยใช่ไหม นั้นหลักการก็คือว่าพระพุทธเจ้ายอมให้ในการที่ชีวิตเราขึ้นต่อมันในแง่ความเป็นอยู่ชีวิตเป็นอยู่ แต่อย่าให้ต้องไปขึ้นในแง่ความสุข แล้วก็ถ้าขึ้นแง่ความสุขเอาให้มันสัมพันธ์กันในแค่ว่าในระดับหรือปริมาณของความจำเป็นในการเป็นอยู่ได้ไหม ชีวิตเราต้องอาศัยมันอยู่แล้วให้ความสุขขึ้นต่อมันในระดับปริมาณพอ ๆ กันไม่ใช่ว่าชีวิตขึ้นต่อมันเท่านี้ โดยปริมาณเท่านี้เสร็จแล้วต้องไปขึ้นต่อมันในแง่ของความสุขนี่ เพิ่มไม่รู้จักหยุดเลยจนเกิดปัญหามากมายใช่ไหม นี่คือปัญหาของมนุษย์ เอาละครับเป็นอันว่าขึ้นต่อมันไม่ใช่เฉพาะแง่ชีวิตเป็นอยู่ แต่ขึ้นได้แง่ความสุขด้วย แล้วในแง่ความสุขนี้จะขึ้นต่อมันอย่างชนิดที่ไม่มีสิ้นสุดเลย เกินจำเป็น เกินปริมาณ เกินกว่าที่ชีวิตจะอาศัยมัน ทีนี้ต่อไปเอาลักษณะที่ขึ้นต่อมันนี้มันก็นำมาซึ่งอะไรอีก นำมาซึ่งความรู้สึกสภาพจิตใจอีก มีผลต่อจิตใจ มีผลต่อจิตใจยังไงล่ะ เอ้าก็ต้องอยู่โดยที่ว่าเพราะชีวิตขึ้นต่อมันนี่ เราก็ต้องอยากจะได้จะเอานะ มันก็พัฒนาสภาพจิตที่อยากจะได้จะเอา เมื่ออยากจะได้จะเอา ยังไม่ได้ก็ต้องคิดแสวงหาอยู่ด้วยความหวังว่าจะได้ เมื่อมีความหวังก็จะคู่กับความหวาด คนที่ตราบใดยังมีหวังว่าจะมีหวาดด้วยใช่ไหม เมื่อหวังว่าจะได้ก็ต้องหวาดจะไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อหวังก็หวาดคู่กัน ทีนี้ถ้าไม่สมหวังในขณะที่ยังไม่ได้ ถ้ามันช้าไปนี่มันจะอยู่ด้วยความทุกข์ทรมานในขณะที่ยังไม่ได้ก็ทรมานในการที่ยังไม่ได้มา ทีนี้ก็เกิดความกลัวจะไม่ได้ก็เป็นทุกข์ แล้วก็เมื่อไม่ได้จริงก็ผิดหวังก็ทุกข์อีกใช่ไหม เมื่อไม่ได้ก็ผิดหวัง ทีนี้ถ้าได้ก็เกิดความสมหวัง พอสมหวังแล้วต่อมาก็เคยชิน พอเคยชินก็ชินชา ต่อมาเกิดเบื่อเสียอีก พอเบื่อหน่ายแล้วก็เกิดต้องอยู่กับสิ่งเสพอันนั้นสิ่งปรนเปรอที่เคยให้ความสุข พอต้องอยู่ก็กลายเป็นจำใจฝืนกลายเป็นทุกข์ไปอีก ไอ้สิ่งเดียวกันที่เคยให้สุข กลายเป็นต้องทุกข์ แล้วในระหว่างที่ยังชอบยังให้ความสุขได้ก็เกิดความยึดมั่นเกิดความยึดติดหวงแหนเป็นทุกข์เพราะมัน เป็นห่วง เป็นหวงนะ ห่วงด้วยหวงด้วย เป็นห่วงเป็นกังวลก็ทุกข์เพราะมันอีก ถ้าไม่สามารถวางจิตใจปฏิบัติให้ถูกต้องก็เป็นทุกข์เป็นทาสเลยจิตใจ เป็นความทุกข์เพราะสิ่งเหล่านี้ในหลายประการด้วยกัน ตกลงว่าตอนหวังก็มีหวาด ตอนไม่ได้ก็ผิดหวัง ตอนสมหวังแล้วก็ได้มาก็ยึดติดหวงแหนเกิดความห่วงกังวลเพราะมัน ห่วงแหนเพราะมัน ทุกข์เพราะความหวาดระแวงผู้อื่น เกิดพอเบื่อหน่ายขึ้นมาอีก จำใจอยู่อีกแยกจากมันไม่ได้ทุกข์อีกใช่ไหมวุ่นวาย มัน ๆ ปัญหามันเยอะเหลือเกิน นี้พระพุทธเจ้าก็สอนไว้เพื่อให้รู้ทัน ถ้าเรายังอยู่กับมันจะเอาสุขจากมันก็ต้องปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง ว่าทำใจยังไงเพื่อจะให้เรามีทุกข์น้อยใช่ไหม ไอ้นี่คือความจริงถ้าเราทำใจไม่ถูกแล้วต้องทุกข์แน่ เพราะฉะนั้นคุณถ้ายังอยู่กับกามนะ คุณต้องวางใจให้ถูกต้อง ว่าทำไมคุณจะไม่ทุกข์เพราะมันมาก ในขณะที่ยังไม่ได้ ต้องวางใจให้มันดีนะ เราไม่ได้ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยเอาหลักของความจริงความรู้เท่าทันธรรมะในกฎธรรมชาติมาช่วยมันก็จะบรรเทาลง ในขณะที่ยังไม่ได้มีความหวังแต่ก็อย่าไปหวาดให้รู้ว่าเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อมันหวังอยู่อย่างนั้นก็อย่าไปทำให้เกิดความรู้สึกระแวงผู้อื่นหรือว่าไปแย่งชิงกัน แล้วก็อย่าไปรู้สึกผิดหวัง ถ้าหากไม่ได้ก็ให้รู้ทันปรับใจได้หรือว่าได้แล้วก็อย่าไปอยู่ด้วยความยึดติดหวงแหนเป็นทาสของมัน มัวแต่ห่วงกังวลแล้วก็ขัดแย้งกับผู้อื่นเพราะความหวงแหน แล้วก็อย่าไปทุกข์ทรมานในเมื่อเบื่อหน่ายใช่ไหม ไอ้นี้คุณต้องรู้จักปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้องให้คุณทุกข์น้อยแต่คุณต้องรู้ความจริงนะในเมื่อคุณยังอยู่กับกามสุข คุณจะต้องเจอใช่ไหม แล้วอยู่ที่คุณจะปฏิบัติได้ถูกแค่ไหน
ทีนี้ เอ้าทีนี้ต่อไป ในลักษณะที่มันขึ้นต่อสิ่งเหล่านี้นะ สิ่งเหล่านี้มันมีธรรมชาติของมันอีกคือเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา เอาอีกแล้วซิใช่ไหม ทีนี้มันเป็นไปตามกฎธรรมชาติ มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน แล้วชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน ตัวเราชีวิตเราก็เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงไปไม่อยู่สภาวะอย่างเดิม แล้วก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย จะไปสั่งบังคับตามใจเราไม่ได้ สิ่งทั้งหลายอื่นก็เช่นเดียวกันอีก เป็นอนิจจังไม่เที่ยงเกิดดับ เปลี่ยนแปลงไม่อยู่ในภาวะเดิม ไม่มีใครเป็นเจ้าของบังคับบัญชาเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ดำรงอยู่ตามสภาวะเดิม ทีนี้ถ้าเราไปยึดมั่นสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงก็เกิดทุกข์อีกใช่ไหม ทีนี้ที่ว่ามาทั้งหมดนี่ไอ้สาเหตุที่มันมีความผิดหวังเสียดายหรืออะไรต่าง ๆ นี่ มีการพลัดพลากอะไรต่าง ๆ ก็เพราะมันเป็นไปตามอนิจจังทุกขังอนัตตานี้ด้วย แล้วอนิจจังทุกขังอนัตตานี้ก็ต้องรู้เท่าทัน ถ้าไม่รู้เท่าทันก็จะปรับใจให้เบาจากทุกข์ลงได้ แต่ตัวอนิจจังทุกขังอนัตตาที่กฏธรรมชาตินี่ ก็จะเป็นเหตุให้คนที่ไม่รู้เท่าทันนี้เกิดทุกข์เพราะสิ่งเหล่านี้ แต่ก็ต้องรู้ความจริงว่า ในเมื่อเราไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้ที่ต้องเป็นไปตามอนิจจังทุกขังอนัตตาแน่นอนใช่ไหม เอาละนี้ก็คือว่าตัวข้อบกพร่องจุดอ่อนของสิ่งเหล่านี้ เมื่อกี้ข้อดีของกาม นี่ข้อบกพร่องจุดอ่อนข้อเสียของกาม
ก็ตกลงเรื่องของกามนี้ก็มีข้อเสียหลายอย่างวันนี้ผมอาจจะนึกมาไม่ทันหมดนะเพราะเคยประมวลไว้เวลามาพูดทีหนึ่งมันก็นึกออกบ้าง นึกไม่ออกบ้างอันนี้ก็ขอข้ามไปละ ทีนี้ในแง่ชีวิตของตัวเองที่ต้องไปขึ้นกับมันแล้วก็เป็นไปตามอนิจจังทุกขังอนัตตาอะไรนี่
อันนี้ 2 ในแง่สังคม ในแง่สังคมเพราะว่าในเมื่อคนนี่จะหาสุขจากสิ่งเสพซึ่งเป็นสิ่งอยู่ภายนอกเป็นวัตถุที่มีอยู่จำกัด โดยมากก็มาจากธรรมชาติและก็มีการมาผลิตด้วยระบบของมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมเป็นผลิตภัณฑ์อะไรต่าง ๆ เป็นเทคโนโลยีเหล่านี้มันก็มีปริมาณจำกัดว่าแต่ละคนนี้หาความสุขจากสิ่งเสพมันก็มีลักษณะที่ว่าต้องมีให้มากที่สุดด้วยต้องเพิ่มด้วยมันก็เลยเกิดการที่แต่ละคนต้องเอาให้มากที่สุด เมื่อเอาแต่ให้มากที่สุด มันก็เกิดการแย่งชิงกันก็เกิดการเบียดเบียนข่มเหงกันเอารัดเอาเปรียบกันในสังคมก็เกิดทุกข์ในสังคมเกิดการเดือดร้อน นี่ปัญหาที่ 2 จากกามนะ เป็นทุกข์โทษในสังคม
แล้วก็ 3 ในปัจจุบันก็คือทำลายธรรมชาติแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ ในกระบวนการผลิตก็จะต้องมีการถ่ายของเสียออกไปในอากาศเป็นควันในปล่องโรงงานบ้าง เป็นน้ำเสียลงไปในแม่น้ำบ้าง ลงไปในดินเสียบ้าง แล้วทำให้เกิดอุณภูมิสูงขึ้นในบรรยากาศเกิดจากที่เราปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไปอะไรเนี่ย มันก็เป็นเรื่องของมลภาวะธรรมชาติแวดล้อมเสื่อมโทรม อันนี้ก็เป็นปัญหาอีกด้านหนึ่งเป็นปัญหาของยุคปัจจุบันที่กำลังหนักขึ้นไปทุกที ตกลงปัญหา 3 อย่าง ชีวิตจิตใจเรา แย่ 2 สังคมแย่ 3 ธรรมชาติแวดล้อมแย่ พอสังคมแย่ ธรรมชาติแวดล้อมแย่ อากาศเสียดินเสียน้ำเสียไฟเสีย ไฟเสียก็คืออุณภูมิมันสูงขึ้นในบรรยากาศ ดินน้ำลมไฟเสียหมด มันก็ส่งผลกระทบกลับมาต่อสุขภาพกายของมนุษย์อีก ทำให้ร่างกายต้องเป็นโรคเป็นภัยต่าง ๆ เช่น อยู่ในธรรมชาติแวดล้อมปัจจุบันในกรุงเทพฯเนี่ยคนก็เป็นโรคเพราะอากาศเสียเยอะเลย ในประเทศในบ้านเมืองที่เจริญพัฒนาก็เช่นเดียวกัน เมื่อสังคมที่แก่งแย่งกัน เอารัดเอาเปรียบแข่งขันกันเบียดเบียนกันก็ทำให้จิตใจคนอยู่ด้วยความเครียด พอเครียดก็กลับมาเป็นโรคทางกาย จิตก็เป็นทุกข์ กายก็เป็นทุกข์อีก ก็เลยเป็นปัญหาไปหมด อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นนี้ก็เกิดจะโทษของกามทั้งสิ้น เรียกสามิสสุข สุขเกิดจากอามิสหรือสิ่งเหยื่อร่อ เป็นอันว่าข้อดีของกามก็มีอย่างที่ว่ามา แต่ข้อเสียของกามจุดอ่อนก็เยอะแยะแล้วถ้าใครยังอยู่ในกาม ยังแสวงหากามสุขต้องปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้องให้เกิดโทษทุกข์น้อยที่สุดก็ต้องระวังอันตรายอย่างที่ว่ามาว่าทำไงไม่ให้เกิด นี้แต่ตราบใดที่ยังอยู่ในระดับที่แสวงหากามสุขอยู่ไม่ปลอดภัย เพราะมันไม่มีตัวช่วยไม่มีตัวดุลภาพที่ว่าจะทำให้เขาไปได้ความสุขทางอื่นแล้วเขาไม่ต้องมามัววุ่นวายกับความสุขจากกาม เพราะว่าถ้าเขายังมุ่งหาสุขจากกาม กามเป็นช่องทางเดียวแห่งความสุข สุขก็มาจากสิ่งเสพอามิสเหยื่อยล่อ การที่เขาจะต้องปฏิบัติไม่ให้เกิดโทษมากนี่เขาต้องยับยั้งชั่งใจตัวเดียว การยับยั้งชั่งใจก็จำใจก็ฝืนใจ เมื่อฝืนใจก็อยู่ด้วยความทุกข์ ถ้าอยู่ด้วยความทุกข์
1 ตัวเองก็ไม่สบายไม่สุขจริง 2 มันมันฝืนอยู่นี่มันอาจจะระเบิดเมื่อไหร่ก็ได้ นั้นคนจำนวนมากยังไม่ยอมฝืนฝืนไม่ไหวก็ต้องระเมิดออกไป ระเมิดออกไปก็ไม่มีหลักประกัน ไอ้ระบบความปลอดภัยของชีวิตของสังคมของธรรมชาติแวดล้อมไม่ปลอดภัยหรอกตราบใดที่มนุษย์จะอยู่แค่ว่ายับยั้งตัวเองนะ อดกลั้นฝืนใจไม่ได้ นี่คือจริยธรรมของมนุษย์ปัจจบันได้แค่นี้นะ เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาบอกเราจะต้องพัฒนาชีวิตก้าวต่อไป แล้วเมื่อพัฒนาชีวิตขึ้นไปตามหลักศีลสมาธิปัญญานั้นความสุขก็จะมีช่องทาง มีมิติเพิ่มขึ้นอีก ทำให้คนนี้มีความสุขที่เป็นของตัวเองเป็นอิสระไม่ต้องมาขึ้นต่อสิ่งเสพติด แล้วนอกจากนั้นแล้วก็จะมาทำให้การแสวงหาสิ่งเสพนี้มันดีไปเป็นวิธีการที่ดีที่ถูกต้องเองโดยอัตโนมัติด้วยใช่ไหม อันนี้คือเรื่องที่เราจะพูดต่อไป วันนี้พูดมาซะยืดยาวยังไม่พ้นเรื่องความสุขจากสิ่งเสพทางวัตถุเลยนะ ก็ยังอยู่ในขั้นกามสุข แล้วก็สามิสสุข ก็คิดว่าในขั้นนี้พอสมควรแล้ว ที่นี้เอาไว้ครั้งต่อไปก็จะพูดเรื่องการพัฒนาชีวิตเพื่อให้ได้มนุษย์ได้มีความสุขเพิ่มขึ้น
คนฟังถาม พระเดชพระคุณอาจารย์ครับ เน้นเรื่องนี้ดีแล้ว เพราะว่ายังไงคนยังอยู่ในวัฏจะอันนี้
พระตอบ เหรอ ก็จะได้มีสติ
คนฟังถาม พูดแล้วชักคัน วนกันอยู่ตรงนี้
พระตอบ วนนี่ใช่ไหม ก็การศึกษาปัจจุบันนี่วนด้วย เพราะว่ามันไม่ใช่เฉพาะออกไปทำงานแล้วนะตั้งแต่เรียนก็เลยจุดมุ่งใช่ไหม จุดมุ่งก็เพื่อไปหาสิ่งเสพ แล้วก็การศึกษาพัฒนาความสามารถไปหาสิ่งเสพ เวลาเรียนก็พูดกันแต่ว่า จบแล้วจะไปหาเงินหาทองยังไงมาก หาสิ่งเสพรถยนต์ โทรทัศน์อะไรต่าง ๆ สิ่งเสพทั้งนั้นเลยใช่ไหม อยู่ในกามสุขหมดเลย พัฒนาด้านเดียว