แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ผู้ถาม (ผู้ชาย) : ประเด็นที่ว่าผมอยากจะทราบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับบุตรครับ คนที่เป็นบุตรควรจะเลือกที่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อตัวเองก่อน หรือว่าเพื่อบุพการีก่อนครับ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : อันนี้มันต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ เหมือนกันนะ เพราะบางอย่างมันเป็นการกระทำที่เพื่อทั้งสองฝ่าย คล้ายๆ ว่าทำเพื่อเราก็กลายเป็นทำเพื่อท่านไปด้วย เหมือนอย่างลูกตั้งใจเล่าเรียนศึกษา ก็มองในแง่ มองแคบๆ สั้นๆ จะมองว่าทำเพื่อตัว ถูกไหม ศึกษาเล่าเรียน แต่ที่จริงนั้นก็คือ ทำเพื่อพ่อแม่ด้วยใช่ไหม เพราะว่าเมื่อลูกมีการศึกษาเล่าเรียนจนเติบโตดี ก็เกิดแก่พ่อแม่อย่างมากเลย เชื่อไหม มากอย่างยิ่งด้วย เพราะว่าอนาคตก็เหมือนกับพ่อแม่นี้ฝากชะตากรรมก็ว่าได้นะ ไว้กับลูกเยอะเลย ถ้าลูกมีความเจริญงอกงาม มีความก้าวหน้า มีกำลังความสามารถพ่อแม่ก็ ใช้ภาษาโบราณเขาว่าได้พึ่ง ถูกไหม ไหนกลายเป็นว่าเมื่อลูกทำเพื่อตัวเองที่ว่าเล่าเรียนศึกษาหรือพัฒนาตัวให้ดีเนี่ย ก็กลายเป็นว่าก็ทำเพื่อพ่อแม่ด้วย ทีนี้ถ้าเป็นเรื่องอื่นมันก็ต้องดูเป็นเรื่องๆ เช่นว่าเรื่องเงินทองหรืออะไรอย่างนี้ เลยพูดยาก ต้องแยกว่าบางอย่างเป็นประโยชน์ที่ถึงกันเอง อย่างเรื่องการศึกษาเล่าเรียน หรือแม้แต่การประพฤติปฏิบัติดี การดำเนินชีวิตที่ดีงามเนี่ย ถึงกันเอง ทีนี้ว่าบางอย่างนี่ อย่างที่เรื่องว่าเป็นกรณีเฉพาะที่ว่าพ่อแม่แก่เฒ่า แล้วทีนี้ตัวเองก็มีภาระเรื่องการงานอาชีพ ต้องหาเงิน แล้วก็ต้องใช้เวลาในเรื่องของอาชีพเพื่อให้เจริญก้าวหน้าไปด้วยดี อันนี้ก็เหมือนกับว่ามันจะมาเน้นที่ตัวเอง ทีนี้ก็ไม่มีเวลาที่จะไปเลี้ยงดู เอาใจใส่พ่อแม่ ในกรณีนี้จะทำยังไง เป็นแบบนี้หรือเปล่า คล้ายๆ ทำนองนี้ไหม
ผู้ถาม (ผู้ชาย) : ก็อันนั้นพอจะเข้าใจ แต่พอดีมันมีประเด็นที่ผมเคยสงสัยว่า อย่างเช่นกรณีที่ลูกบวช ลูกบวชแล้วบวชไม่สึก หรือว่าในลักษณะนี้แล้วพ่อแม่ที่บางคนบางท่านรับไม่ได้ ไม่เข้าใจ แล้วก็จะทำเป็นลักษณะว่าเกลียดพระพุทธศาสนาว่ามาพรากลูกเขาไป อะไรลักษณะนี้ครับ แล้วถ้าการที่ลูกอยู่ต่อเนี่ยไม่สามารถเปลี่ยนมิจฉาทิฐิของพ่อแม่ตรงนั้นได้ แต่ถ้าลูกสึกออกไปแล้วสามารถโน้มนำกลับมาให้พ่อแม่ไม่เกลียดพระพุทธศาสนา แต่ว่าเริ่มจะเข้าหาเนี่ย ถ้าเป็นลักษณะนั้นนี่ก็เลยไม่รู้ว่าการกระทำแบบไหนที่จะถือว่าเป็นไปด้วยดี
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : อันนี้เข้าใจอันนี้ เกี่ยวกับพระศาสนา อันนี้ก็สำคัญนะ ต้องเลือกตัดสินใจให้ดี เพราะในบางกรณีมันก็เป็นไปได้ว่าเราบอกว่าเราปฏิบัติตามหลักพระศาสนาคือบวชเนี่ย แต่ว่าความคิดความเข้าใจของเราเนี่ยมันอาจจะเป็นไปเพื่อสนองความต้องการของตัวเอง โดยที่จริงไม่ใช่ประโยชน์ต่อพระศาสนาเท่าไหร่ก็ได้ มันขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจและเจตนาด้วย เพราะฉะนั้นในกรณีอย่างนั้นมันก็กลายเป็นว่าตัวเองละทิ้งพ่อแม่ ไม่ใส่ใจ ไม่รับผิดชอบ ในสมัยพุทธกาล แม้แต่ลูกเป็นพระอยู่ พระพุทธเจ้าก็ยังอนุญาตให้เลี้ยงพ่อแม่ได้ ถูกไหม ทีนี้ก็ต้องดูว่า หนึ่ง-เราต้องดูว่าการที่เราจะบวชอยู่เนี่ย ตัวเราเนี่ยทำเพื่อตัวเองอย่างเดียว อยากจะ อย่างบางคนพอเขาบวชเขาก็อยู่สบายก็มีนะ เชื่อไหม บวชหากินหรือบวชอาศัยพระศาสนานี่กลายเป็นคนขี้เกียจ อย่างนี้ก็กลายเป็นว่าเจตนาแล้วก็ความคิดมันชัดว่าเขาทำด้วยเห็นแก่ตัว ละทิ้งพ่อแม่ เขาไม่ได้รับผิดชอบหรอก อ้างว่าฉันบวชเพื่อ จะอ้างอย่างไรก็แล้วแต่ เอาพระศาสนาไปอ้าง อย่างนี้ก็เสีย ทีนี้ในกรณีที่เราบวชแล้วเรามีเหตุผล เราไม่ได้คิดเห็นแก่ตัว เราเห็นว่าทางนี้เป็นทางที่ถูกต้อง เป็นชีวิตที่ดี เราจะฝึกฝนพัฒนาแล้วเราก็ทำงานเพื่อการพระศาสนา เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนตามหลักธรรมะ ที่ว่าเป็นงานของพระ อันนี้แสดงว่าเรามีเหตุผล แต่ว่าพร้อมกันนั้นเราก็ต้องคิดหาทางว่าพ่อแม่เรามีคนดูแลรับผิดชอบไหม ถ้ามี อย่างเช่นมีพี่มีน้องดูแลรับผิดชอบ เราก็พูดกันไว้ให้ดี เราเบาใจในเรื่องโยมพ่อแม่ อย่างนี้ก็เรียกว่าตัดปัญหาไปได้ ถ้าเรามีคุณธรรมอยู่ แล้วเราไปบวชอยู่ พ่อแม่ไม่ได้รับการเหลียวแล หรือเราไม่มั่นใจว่าท่านจะอยู่ได้ดีหรือเปล่า เราเองเมื่อมีคุณธรรม เราเองจะไม่สบายใจ จะห่วงกังวล ก็กลายเป็นตัวขัดขวางการปฏิบัติของตัวเองด้วยนะ ใช่ไหม กลายเป็น ??? ฉะนั้นเราก็ต้องทำให้มั่นใจว่าเราถ้าเจริญในธรรมวินัย แล้วเรามีเรื่องภาระทางโยมอยู่ เราจะทำให้ภาระอันนี้มันหายไปหรือมั่นใจว่ามีผู้ที่ทำให้ท่านอยู่ได้ดีพอสมควร เมื่อทำให้สบายใจ เบาใจแล้ว เราก็อยู่ได้ แล้วก็พูดปรับใจกันให้รู้เรื่อง อย่างนั้นก็เรียกว่าหมดปัญหาไป ก็เจตนาเราก็ดีแล้วเราต้องไม่ทอดทิ้งท่าน ก็ต้องดูอันนี้ถ้าไม่มีพี่น้องแล้วเราจะมีทางยังไง จัดสรรยังไงให้อยู่ด้วยดี อยู่ในสังคมปัจจุบันนี้ ถ้าท่านยังแข็งแรงอยู่ เราก็มีการจัดเอื้อเฟื้อเพื่อให้ท่านมีทางที่จะเลี้ยงดูชีวิตของท่านได้ เรื่องการเงินการทองอะไรก็แล้วแต่ คือให้มันเรียกได้ว่าได้ทั้ง 2 ทาง มันก็จะดำเนินไปด้วยดี ทีนี้ในกรณีที่เกี่ยวกับทิฐิด้วย ว่ามาบวชอยู่ท่านก็เลยมาเห็นว่าพระศาสนานี่ทำให้ลูกต้องแยกพ่อแยกแม่ไป อะไรท่านก็กลายเป็นชังทางพุทศาสนาอย่างที่ท่านว่า อันนี้ก็ต้องดูให้ดี คือมันก็อยู่ที่มองใกล้มอไกลด้วย ถ้าหากว่าไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับภาระ ท่านก็อยู่ดีแล้ว ท่านไม่ได้มีปัญหาเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ เป็นแต่เพียงเรื่องความคิดเห็นเท่านั้น ท่านยังไม่เข้าใจพระศาสนา อันนี้อาจจะเป็นคนละปัญหากับเมื่อกี้ อันนี้อาจจะป็นเรื่องที่ว่าเราไม่ทิ้ง แต่ระยะเฉพาะหน้านี้ เรามองเห็นว่าการที่เราบวชมันจะได้มีการพัฒนาแล้วเป็นประโยชน์อะไรดีแน่นอน แล้วเรามองในการณ์ข้างหน้า เมื่อเราพัฒนาตัวนี้แล้ว เราจะไม่ทิ้งพ่อแม่ เราจะมาใหม่ จะมาพูดมาคุยหรือชี้แจง อันนี้ก็เป็นวิธีหนึ่งนะ เรื่องอย่างนี้มันมีทั้งในปัจจุบันและในอดีต สมัยพุทธกาลก็มีที่หลายองค์ เรื่องในพระไตรปิฎก อย่างพระรัฐบาล เคยได้ยินไหม พระรัฐบาล ท่านก็พ่อแม่ ท่านเป็นลูกเศรษฐี ที่นี้ก็เกิดไปเลื่อมใส อยากจะบวช ทีนี้พระพุทธเจ้าก็บัญญัติพระวินัยว่า ลูกจะบวชได้ต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ ก็ไปขออนุญาต โยมพ่อแม่ก็รักลูกมากไม่อยากให้ไปไหน อยากให้สืบต่อความเป็นทายาทเป็นต้น ก็ไม่ยอม พระรัฐบาล นี้ก็ศรัทธาแรงกล้ามากก็ไม่ยอมกินไม่ยอมนอน จนกระทั่งทำท่าจะตาย พ่อแม่ก็รักลูก ด้วยความรักลูก อยากจะให้อยู่ ความรักลูก รักชีวิตลูก รักชีวิตมันยิ่งใหญ่กว่า ถ้าหากว่าเอาเขาอยู่เขาก็ตาย ฉะนั้นเอาชีวิตเขาไว้ดีกว่า ก็เลยตกลงยอม ยอมเขาก็ไปบวช อย่างนี้ก็เหมือนกับว่า ถ้าในแง่ในใจก็คงไม่พอใจพระพุทธเจ้าใช่ไหม ว่าทำให้ลูกเรานี่ต้องพรากไป ทีนี้พระรัฐบาลก็จากไปนาน ไปบวชจนได้เป็นพระอรหันต์ แล้วต่อมาก็มาที่บ้านโยม ตอนนี้มันนานมากพอสมควร คนที่บ้านก็ชักจำไม่ค่อยได้แล้ว ท่านไปบวชเป็นพระก็อยู่แบบง่ายๆ ไปบิณฑบาตร มาที่บ้าน คนในบ้าน วันนั้นพอดีตอนเช้า คนรับใช้เขาก็เอาอาหารที่มันจะบูดไปทิ้ง ท่านมาบิณฑบาตท่านก็มายืนดู แล้วเรื่องก็ดำเนินไปจนกระทั่งว่า ถ้าอาหารเขาจะทิ้งแล้วก็ ท่านแสดงอาการรู้กันว่าต้องการอาหาร ทีนี้เขาก็บอกว่าจะทิ้งแล้ว ท่านก็บอกว่าไม่รังเกียจอะไร เขาก็เลยเอามาถวาย พอมาใกล้ๆ กันก็มีโอกาสที่ว่าได้เห็นหน้าชัด หรืออาจจะมีการทักทายถามไถ่ ก็เลยนึกได้ว่านี่พระรัฐบาล คนใช้เกิดจำได้ขึ้นมา ก็เลยไปบอกโยมพ่อแม่ เรื่องก็เลยต่อมาถึง ตอนนี้ก็จำไม่แม่นแล้วนะ รวมความก็คือท่านก็ไป รวมความท่านก็กลับก็มาถึงบ้าน มาโปรดทางบ้าน นี่ก็หมายความว่าไปทำตัวให้สมบูรณ์ก่อน เพราะตอนนั้นตัวยังไม่พร้อม จะอธิบายกับพ่อแม่ก็พูดไม่เป็น ไม่มีหลักพอ ทีนี้แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ก็ตามเรื่องพระพุทธเจ้าก็เสด็จออกผนวชทั้งๆ ที่พระพุทธบิดา พระมารดาเลี้ยง ญาติพี่น้องก็ไม่ปรารถนา ใช่ไหม ก็อยากให้อยู่ครองราชย์สมบัติ ตามพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าบอกว่าเรานี่ทั้งๆ ที่เกศายังดำสนิท แล้วก็ขณะที่มารดาบิดาร่ำไห้อยู่ ก็ได้ออกผนวช ก็หมายความว่าท่านก็เศร้าเสียใจ ก็ไปทั้งอย่างนี้ แต่ว่าพระองค์มองเห็นแล้วว่า ถ้าอยู่อย่างนี้ก็ไม่ได้ช่วยพ่อแม่ได้ดีกว่าที่จะได้ที่เรียกว่าโลกียสมบัติ ใช่ไหม ท่านมีอะไรที่ท่านแนะใจว่าจะให้มากกว่านี้ ท่านก็ยอมในเฉพาะหน้านี้ก่อน ท่านก็ไปบวช แล้วก็เมื่อสำเร็จแล้วใช่ไหม เป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงเสด็จมาโปรดพระพุทธบิดาพระมารดา อันนี้ก็คือการมองการณ์ไกล อันนี้เป็นอีกแง่หนึ่ง หรือเอามาปัจจุบันนี้อย่างพระฝรั่ง ก็มีหลายองค์ ลองไปอ่านประวัติดู เรารู้จักเป็นส่วนตัว โยมบิดามารดาไม่พอใจมาก พอบวช เพราะเขาไม่เข้าใจพุทธศาสนาเป็นยังไง ใช่ไหม ตอนแรกก็โกรธ โกรธทั้งลูก โกรธทั้งพระศาสนา แต่ว่าพ่อแม่ตัดลูกไม่ขาด เธอไม่ได้ไปทำชั่วอะไรนี่ เพียงแต่ว่าไม่ทำตามความปรารถนาของพ่อแม่ ท่านก็มาบวช มาศึกษาเล่าเรียน ในที่สุดก็ คือแสดงให้รู้ว่าท่านไม่ได้ละทิ้งพ่อแม่ ใช่ไหม พ่อแม่นานๆ เข้าก็ค่อยๆคลายลง ต่อมาก็เลยมีโอกาสพบกัน ลูกอยู่เมืองไทยก็มาหา เมื่อมาพบกัน บางทีลูกไปโน่นก็ไปพบไปเยี่ยม แล้วมีโอกาสก็ได้สนทนา ได้พูดหลักธรรมให้ฟัง ยิ่งพ่อแม่พอแก่ลง ความต้องการทางจิตใจก็มากขึ้น พอความต้องการทางจิตใจก็มากขึ้น โอกาสที่จะพูด เพราะว่าลูกเนี่ยทำให้จิตใจพ่อแม่มีความสุข ยิ่งลูกพูดในทางที่บำรุงจิตใจพ่อแม่ ก็ยิ่งซาบซึ้ง ยิ่งทำให้โน้มจิตใจได้ง่าย ต่อมาพ่อแม่ก็เลิกความรู้สึกที่ไม่ดี ความรู้สึกด้านลบก็ค่อยๆ หมดไป ก็ไปกันได้ กลายเป็นว่าช่วยโน้มจิตใจมาให้ได้ธรรมะเป็นความสุข เป็นประโยชน์กับชีวิต แล้วโดยเฉพาะพอแก่เฒ่าแล้ว การเห็นประโยชน์ของวัตถุอะไรต่ออะไรมันก็เบาลง ท่านก็อยากจะให้ลูกไปเจริญทางด้านวัตถุ ทีนี้พอแก่เฒ่าลง ตัวเองต้องการทางจิตใจมากขึ้น มันก็กลับมารับกันพอดี ลูกก็ตอนนี้ก็ก้าวหน้าในธรรมวินัยพอสมควร ก็เลยมาช่วยพ่อแม่ ก็มีท่านที่รู้จักกันที่ไปอย่างนี้ ไปเยี่ยมพ่อแม่เป็นครั้งคราว โดยเฉพาะเวลาป่วย ท่านไม่ได้ทิ้ง ท่านก็ไปเยี่ยมแล้วก็มาเล่าให้ฟังว่าท่านก็ไปคุยกับโยมพ่อโยมแม่ ทำให้โยมสบายใจ แล้วในที่สุดเรียกในภาษาอังกฤษก็ว่า happy ending จะพอมองเห็นแง่ไหม ก็เรียกว่าเอาเรื่องมองใกล้มองไกล แต่ว่าหลักการโดยรวมก็คือไม่ทอดทิ้งกัน แต่ทั้งนี้ขึ้นกับสติปัญญา ความเข้าใจ ในเรื่องของชีวิตด้านวัตถุ ความเป็นอยู่นี่เราควรมีความรับผิดชอบในระดับที่พอว่า ทำยังไงจะให้ท่านอยู่ได้ หาอะไรเป็นหลักประกันหน่อย พออย่างนั้นแล้วเรื่องของจิตใจก็อยู่ที่เรามีความมั่นใจตัวเองแค่ไหน มีแง่มุมอีกไหมที่จะถาม
ผู้ถาม (ผู้ชาย) : แล้วถ้าช่วงเวลา ถ้ามองไกลมันก็ดีครับ แต่ถ้าช่วงมองใกล้นี้ ถ้าเราเห็นพ่อแม่เป็นทุกข์เนี่ยครับ มันก็ลำบากใจ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : คือถ้าเป็นเฉพาะหน้า ก็ต้องพยายามพูดกันให้เต็มที่ก่อน จนกระทั่งว่าในขณะพูดเราเองเราก็จะมีความคิดเดินหน้าไปด้วยว่าเราควรปฏิบัติอย่างไร ในการพูดสนทนาแลกเปลี่ยน เรียกว่าปฏิสัมพันธ์กันน่ะ ก็จะค่อยๆ มีความคิดเกินหน้าว่าเราควรจะตัดสินใจยังไง ถ้าเห็นว่าเรามั่นใจว่าเราจะทำความดีงามประโยชน์ให้แก่พ่อแม่ที่เป็นสาระยั่งยืนยาวนานได้ดีกว่า ที่มันจะคุ้มกันกับความไม่สบายใจ ไม่พอใจเฉพาะหน้าปัจจุบัน อย่างนี้เราก็จะตัดสินใจอีกทีหนึ่ง ถ้ายอม ยอมเฉพาะหน้าก่อน หรือแม้แต่เราเอาเรื่องเก่าๆ อย่างที่ว่านี่เล่าให้ท่านฟัง เรื่องของพระโพธิสัตว์ เรื่องของพระพุทธเจ้า ก็เป็นตัวอย่าง มีในอดีตมาแล้ว และปัจจุบันก็มีอยู่
ผู้ถาม (ผู้ชาย ) : คำถามก็อาจจะใกล้เคียงกัน เพราะว่าสิ่งที่ผมเตรียมมาก็เป็นเรื่องของชีวิตในครอบครัว แต่ว่าจะเป็นอีกแง่มุมหนึ่ง ในการใช้ชีวิต มันเหมือนกับว่าบุพการีคาดหวังกับตัวเราไว้สูงมาก เกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงาน เรื่องชีวิตคู่ หรือว่าเรื่องอื่นๆ ถ้าเราทำให้เขาได้ทุกอย่างอย่างที่เขาต้องการ ปัญหาก็คงจะไม่เกิด แต่ว่าปัญหามันจะเกิดตรงที่ว่าเราทำให้เขาได้ไม่ทุกอย่าง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : มันก็ยากที่จะทำให้ได้ทุกอย่าง ต้องยอมรับความจริง
ผู้ถาม (ผู้ชาย ) : ผมก็เลยอยากจะถามพระเดชพระคุณท่านว่า เราจะมีวิธียังไงที่จะทำให้ทั้งตัวเราสบายใจ แล้วตัวเขาเองก็สบายใจด้วย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ก็ต้องหาจุดพอดีนะ จุดพอดี บางทีมันก็จะให้ได้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้พอใจโดยสมบูรณ์ก็ไม่ได้ ทีนี้ต้องอยู่ที่ว่าทางไหนจะปรับให้ลงกันได้ ทีนี้มันก็ขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างกัน การพูดจากัน ทำความเข้าใจอะไรต่างๆ แต่โดยวิธีที่ว่าไม่ให้เกิดความรู้สึกในแง่ที่ว่าเป็นการไม่เคารพ หรือว่าเป็นการที่ว่าไม่คำนึงถึงน้ำใจกัน อย่างนี้นะ แต่ให้รู้ว่ามีน้ำใจ ไม่ใช่ต้องการที่จะฝืนใจขัดใจอะไร แต่เรามีเหตุผลของเรา ซึ่งขอโอกาสที่จะชี้แจงด้วยความเคารพอย่างเต็มที่เลย ก็ขอพูดว่าเราก็เข้าใจท่าน แล้วมองเห็นความหวังดี ปรารถนาดี ในความรักของท่านทุกอย่าง เรามีความเคารพท่าน ถ้าท่านจะให้โอกาสก็ขอได้ชี้แจงความเข้าในของตัวเองให้ทราบว่าเป็นอย่างนี้ๆ ท่านก็น่าจะรับฟังนะ ทีนี้ก็อยู่ที่ว่า อันนี้เป็นเรื่องของอัธยาศัยของบุคคลซึ่งไม่เหมือนกัน บางท่านก็ยอมรับฟังลูกๆ หรือเด็กๆ อย่างดี บางท่านก็ไม่ค่อยฟัง มันก็อยู่ที่อันนี้ด้วยนะ จะพอพูดกันได้ไหมล่ะ
ผู้ถาม (ผู้ชาย ) : ยากครับ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : เหรอ ไม่ค่อยยอมฟัง
ผู้ถาม (ผู้ชาย ) : ครับ เขาจะมองว่าเราจะเป็นเด็กในสายตาเขาตลอด ก็คือไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม เขาก็ไม่ค่อยเชื่อถือเราเท่าไหร่
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : อ้าว อย่างนี้เราก็ต้องเลือกท่านใดท่านหนึ่งก่อน คือว่าสองท่านนี้ท่านไหนพูดง่ายกว่า มีไหม
ผู้ถาม (ผู้ชาย ) : ก็จะมี จะเป็นโยมพ่อที่ไม่ค่อย จะดูเราอยู่ห่างๆ มากกว่า แต่ว่าโยมแม่ก็จะคอยเข้มงวดเรามาก
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : นั่นสิ ก็พูดกับท่านที่เห็นพูดง่ายกว่า แล้วให้ท่านไปเป็นสื่อต่ออีกที ใช่ไหม นี่มันก็ต้องหาเทคนิค ถ้าหากทั้งสองท่านไม่เอา เรามีป้า มีอา หรืออะไรที่จะเป็นสื่อไหม ไปพูดกับท่านหน่อย บางทีท่านไม่ฟังเด็กจริง แต่ว่าท่านฟังกันและกัน บางทีท่านกลับไปฟังผู้ใหญ่ที่ท่านเกรงใจ ถ้าเรารู้ใช่ไหม เราก็ไปหาท่านผู้นั้น ถ้าท่านผู้นั้นเป็นผู้ที่รับฟัง แล้วก็มีความเข้าใจในตัวเรา ท่านอาจจะพูดแล้วก็ได้ผลด้วย คือในกรณีอย่างนี้ต้องหาบุคคลตัวกลางเข้ามาช่วย ซึ่งก็เป็นเรื่องทั่วไปอย่างนี้ แม้แต่คนทั่วไปที่เขามีกรณีพิพาทใช่ไหม ก็ยังต้องหาคนกลางมาช่วย อย่างนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่าบุคคลนี่เป็นตัวสำคัญ ความเชื่อถือศรัทธา อยู่ที่ว่าโยมพ่อโยมแม่มีศรัทธาต่อใคร ถ้าได้คนนั้น เราพูดกับคนนั้น แล้วเขาพูดให้ ก็จะได้ผลดี เพราะความพร้อมที่จะรับมีอยู่ ถ้าหากว่าลูกนี่ ถ้าไม่เคยมีความรู้สึกที่ว่า จะเห็นว่าจะต้องรับฟังลูก ทีนี้พอไปพูดปั๊บ ในท่านอาจจะต้านขึ้นมาเลยก็ได้ ฉะนั้นก็กลายเป็นไม่รับฟังเพราะฉะนั้นมีทางไหม บุคคลที่สาม
ผู้ถาม (ผู้ชาย ) : มีครับ ก็คืออยากจะให้พระเดชพระคุณท่านพูดผ่านทางเทปอันนี้เลยได้ครับ ทั้งในแง่เป็นเหมือนความคาดหวังของผู้เป็นพ่อเป็นแม่
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) :คาดหวังในเรื่องไหน เรื่องคู่ครอง เรื่องอาชีพการงาน เรื่องอะไร
ผู้ถาม (ผู้ชาย) : แทบจะทุกเรื่องครับ ที่เขาจะคาดหวังกับตัวเราไว้สูง แต่ว่าตัวเราก็ไม่ได้เลวร้ายกว่าที่เขาคิด แต่ว่าก็ไม่ได้ดีได้ทุกอย่างอย่างที่เขาต้องการ ก็เลยไม่ทราบเหมือนกันว่าทางออกของปัญหามันคือตรงไหน
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : ทางออกก็อย่างที่ว่า ลูกก็มีความรู้เข้าใจว่าพ่อแม่นี่รักเรามาก ท่านมีน้ำใจอย่างยิ่งเลย หาที่ไหนเทียบไม่ได้แล้ว เราเข้าใจอันนี้ท่าน แล้วเราไม่เคยที่จะลืม หรือว่าเรามีความคำนึงถึงอยู่เสมอ ไม่ได้ละทิ้ง ไม่ได้ทอดทิ้งเลย แต่พร้อมกันนั้น ก็ตามหลักธรรมเนี่ย ในอนาคตพ่อแม่ไม่ได้อยู่กับลูกตลอด ถูกไหม ลูกจะต้องรับผิดชอบชีวิตของตัวเอง ทีนี้ตอนนี้แหละที่ว่าถ้าหากว่าพ่อแม่ทำให้ทั้งหมด ลูกก็อาจจะกลายเป็นว่าไม่ได้เตรียมตัว ไม่ได้ฝึกตัวเองให้พร้อม เหมือนกับว่าพ่อแม่ไปเห็นว่าอย่างนี้ดีๆ จัดให้หมด ที่นี้ลูกมีความทสอดคล้องสมกับอันนั้นแค่ไหน ก็ไม่รู้ แต่ท่านหวังดีจัดให้ ทีนี้ถ้าลูกไม่มีความพร้อมเนี่ย ต่อไปก็จะมีปัญหา แม้แต่สิ่งที่พ่อแม่คิดว่าดี เพราะว่ามีความไม่สอดคล้องกันยังไง เรายังไม่เห็น ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือต้องหาโอกาสให้ลูกได้ฝึกตัวเอง ได้พัฒนาตัวเอง เพื่อจะได้สามารถรับผิดชอบชีวิตของตัวเองได้ในอนาคต เริ่มตั้งแต่ปรับตัวเข้ากับสิ่งอื่นๆ แม้แต่สิ่งที่พ่อแม่จัดให้ ถ้าพ่อแม่จะจัดอะไรให้ ก็ไม่ใช่จัดให้ปุ๊บปั๊บ ต้องมีการเตรียมตัว แต่การเตรียมนี่ก็พ่อแม่เป็นเพียงจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ลูกได้เตรียมฝึกหัดตัวเอง พัฒนาตัวเอง ให้พร้อม ให้รับได้กับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งพ่อแม่จะต้องดู จะได้มีโอกาสดูด้วยในเมื่อมีการเตรียมพร้อมนะ ว่าเขาพัฒนาตัวให้สอดคล้องกับสิ่งนั้นหรือไม่ ถ้าเราไปจัดให้ปุ๊บปั๊บเนี่ย มันก็กลายเป็นว่าเรานี่เอาตามใจตัวเองโดยที่ไม่คำนึงถึงตัวความจริง ไม่รู้ว่าความจริงมันจะเป็นยังไง หลักการก็คือต้องอย่างนี้ จะทำให้อย่างเดียวไม่ได้ ต้องให้ลูกมีโอกาสฝึกตัว พัฒนาตัว แล้วก็เพื่อไปรับผิดชอบชีวิตของตัวเองในอนาคต รู้ว่าพ่อแม่หวังดีอยากจะทำให้ แต่ว่าพ่อแม่ก็ไม่สามารถที่จะอยู่ทำให้ตลอดไป ใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็ต้องมีหลักในการนี้ เมื่อชีวิตเป็นของเจ้าของชีวิตเขาเอง ก็ต้องให้โอกาสกับชีวิตของเขา ในทางที่ว่า เราเองเราคิดว่าเหมาะกัน พ่อแม่คิดว่าลูกเหมาะกับอันนี้ๆ แม้กับบุคคลนี้ แต่ว่าตัวใครที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเหมาะจริงหรือเปล่า ก็คือเจ้าตัวเขา ถ้าเจ้าตัวเขา เขาไม่เหมาะกัน สอดคล้องกัน ไม่สมกันจริง ไปกันไม่ได้ ระยะยาวแล้วทำไง มันก็ต้องเกิดปัญหา เพราะฉะนั้นต้องยอมรับความจริงอันนี้ แล้วก็ต้องดูให้ชัดเลยว่ามันเป็นไปได้ไหม ก็ให้อย่างน้อยก็คือให้โอกาสที่เขาจะได้เวลาที่จะดูว่าพัฒนาตัวปรับตัวไปกันได้ไหม อันนี้ตรงประเด็นหรือเปล่าเนี่ย ตรงนะ ก็คืออย่างที่ว่าต้องให้โอกาส พ่อแม่ก็ ทุกคนรู้ดี โดยเพราะว่าลูกที่เคารพรักพ่อแม่ก็สำนึกในเรื่องนี้ ไม่ได้ทอดทิ้งแน่นอน เพื่อประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ด้วย ต้องให้พ่อแม่แน่ใจว่าแม้ท่านไม่อยู่ ลูกก็จะมีความสุข ใช่ไหม ถ้าท่านพอไม่อยู่ ก็ห่วงข้างหน้าจะเป็นยังไง อย่างนี้ก็แย่ ต้องให้เป็นแบบมั่นใจ การที่จะมั่นใจก็คือต้องได้มีโอกาสเห็นลูกได้พัฒนาตัว ปรับตัวได้ดี พออย่างนี้เข้าที่แล้วทีนี้ พ่อแม่ก็สบายใจเลย หายห่วง ไม่ต้องไปคำนึงถึงการณ์ข้างหน้าจะเป็นยังไง ถ้ามัวแต่จัดให้ดีตามใจตัวในขณะนี้ แล้วตัวเองจะไปเป็นห่วงข้างหน้า จะมีความไม่มั่นใจต่อไป เพราะฉะนั้นให้ตัวเขาพัฒนาตัว ปรับตัว จัดให้มันเรียบร้อยซะเลย ฉะนั้นให้ 2 ส่วนนี้มาประสานกัน คือความปรารถนาดีของพ่อแม่ ตั้งใจจะจัดทำให้ดีที่สุดเพื่อลูก กับการที่ลูกเขาจะพัฒนาตัวเองให้สอดคล้องให้เข้ากับความปรารถนาของพ่อแม่ มันต้องกลมกลืนพร้อมกัน ถ้าไม่ได้ล่ะก็ ยุ่งแน่ มีแง่อะไรอีกไหม
ผู้ถาม (ผู้ชาย) : แง่ของการดูดวงชะตา อยากให้เจ้าคุณอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องนี้สักนิดหนึ่ง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) : เรื่องดูดวงนะ ดูดวงนี้มันก็ คือมันเป็นเรื่องของคล้ายๆ มันมีเหตุผลอยู่บ้างเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่มีเหตุผล แล้วเราต้องยอมรับความจริง คือในแง่หลักความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลาย แล้วตัวความสำคัญก็คือมีปัจจัยมากมาย ปัจจัยบางอย่างก็มีความสำคัญกับเรามาก บางอย่างก็น้อย บางคนน้อยบ้างมากบ้าง แล้วเราบางทีก็ไม่รู้ถึงปัจจัยนั้นด้วย ไม่ได้คิดถึงหรือแม้แต่รู้ว่ามีอยู่ เอาล่ะ มันก็เลยมีแง่คิดขึ้นมาว่าในเมื่อปัจจัยมันมีหลากหลาย เราจะเอายังไง เราจะรู้ไปทั่วปัจจัยทุกอย่างก็เป็นไปไม่ได้ แล้วปัจจัยบางอย่าง รู้เราก็ไปจัดการไม่ได้ แต่มันมีปัจจัยบางอย่างที่มันอยู่ในวิสัยของเราที่จะทำได้ ใช่ไหม อันนี้เราต้องยึดก่อน ต้องเอาปัจจัยที่เราจัดการได้ แล้วเราก็พยายามศึกษาให้เข้าใจ แล้วจัดการให้ดีที่สุด แล้วปัจจัยนั้นก็เอาเป็นปัจจัยหลักๆ ที่มีกำลังสำคัญ
หนึ่ง จัดการได้
สอง เป็นปัจจัยที่สำคัญ
ส่วนปัจจัยนอกเหนือจากนั้น เช่นปัจจัยเล็กๆ น้อยๆ ปลีกย่อย ไปรู้ให้ทั่วถึง แล้วก็ไม่รู้ด้วย ที่จัดการไม่ได้ด้วยเนี่ย เราก็ไปมัวให้เวลากับสิ่งนั้น เราก็เลยกลายเป็นละทิ้งปัจจัยที่เราจะจัดการได้ ที่มันมีผลจริงจังเห็นชัดๆ ต้องจับอันนี้ไว้ก่อน พระพุทธเจ้าให้เอาสิ่งที่มันจะปฏิบัติจัดการได้ก่อน ใช่ไหม เนี่ยอันนี้ ต้องคำนึงถึงอันนี้ก่อน ทีนี้ส่วนปัจจัยแวดล้อมที่ว่ามันก็อาจจะมีผล แต่ว่าเราก็ต้องอาศัย เช่นความมีสติ มาคอยกันคอยช่วย คอยหลีกเลี่ยงอะไรพวกนี้นะ ทีนี้ขอย้อนไปพูดถึงเรื่องว่าความเป็นไปได้ของสิ่งเหล่านี้ ที่เขาเรียกว่าความลึกลับเหนือธรรมชาติ จริงๆทางพระท่านไม่ถือว่าเหนือธรรมชาติ เพียงแต่ว่าเป็นธรรมชาติส่วนที่เรายังไม่รู้ ยังไม่เข้าใจ เราก็เลยเรียกว่าเหนือธรรมชาติ ขอยกตัวอย่างเช่นว่า บางสิ่งที่เราไม่ได้คิดว่ามันจะมีผล นักวิทยาศาสตร์บางครั้งก็ เอ๊ะ มันชอบกลเหมือนกัน สมัยหนึ่งอาจจะมองว่าไม่มีเหตุผล มาอีกสมัยหนึ่งกลับเห็นว่าเป็นเหตุผล แล้วชักมองเห็นความเชื่อมโยงของปัจจัย ตอนที่ว่าไม่มีเหตุผล คือตอนที่ยังไม่เห็นความทสำคัญ ที่ว่ายกตัวอย่างก็คือท่านอาจจะฟังเคยฟังแล้วก็ได้ เคยพูดในเทป เคยมีนักวิทยาศาสตร์ที่เขามาวิจัย เขามองดูว่าในวันพระจันทร์เท่านั้นค่ำ เรียกแบบเราเนี่ย มันจะมีเหตุการณ์ประเภทนี้เกิดมากเป็นพิเศษ เขาก็ไม่รู้มันเป็นเพราะอะไร แล้วก็พยายามสืบสาวในเหตุปัจจัยความสัมพันธ์ แล้วเขาก็มาเสนอแนวคิดที่ยังไม่ถึงกับตัดสิน แต่ว่ามันน่าจะเป็นได้หรือไม่ เขาก็บอกว่าเราจะเห็นว่าพระจันทร์เนี่ย มีอิทธิพลต่อน้ำขึ้น-น้ำลง จริงไหม นี่หนึ่งนะ น้ำขึ้น-น้ำลง นี่ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติธรรมดานี่แหละ เราเรียนวิทยาศาสตร์เราก็เข้าใจ ทีนี้ที่ว่าน้ำขึ้น-น้ำลงเนี่ย ในแม่น้ำในทะเลอะไรก็แล้วแต่ มันก็เป็นเพียงที่เรามองเห็นชัดๆ ข้างนอก ที่เรานึกถึง แต่มันไม่ใช่แค่นั้นนะ ในร่างกายของทุกมีน้ำมากมาย แล้วเมื่อขึ้น 15 ค่ำ ขึ้น 8 ค่ำ อะไรพวกนี้ ก็หมายความมันมีผลต่อการดึงดูดน้ำในตัวได้ด้วย ทำให้ความเปลี่ยนแปลงของน้ำนี่เกิดขึ้น แล้วความเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำอะไรที่มีผลต่อความสัมพันธ์ต่อส่วนอื่นของร่างกายเนี่ย มีผลต่อสมอง ความคิด จิตใจ แล้วจะทำให้คนมีความโน้มเอียงในความรู้สึกแบบนี้มากในเวลาพระจันทร์ขึ้น ที่ 8 ค่ำ 15 ค่ำ เขาก็สันนิษฐานอันนี้ แล้วก็โยงไปเหนุการณ์นั้น คำอธิบายเขาเข้าทีไหม เห็นว่าเนี่ย แล้วแต่ก่อนคนนึกไหม ก็ไม่นึกใช่ไหม ว่ามันจะมาสัมพันธ์ได้ยังไง นี่ก็คือความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลาย เรียกว่าแท้ที่จริงแล้วมันไม่ได้พ้นหลุดจากกันสิ้นเชิง มันก็ถึงกันหมด เล็กน้อย มากบ้าง แต่เราจะมัวไปคิดกับมันยังไง อย่างนี้ เรื่องพระจันทร์ขึ้น น้ำขึ้นในตัวเรา แล้วเราจะจัดการยังไง ใช่ไหม แต่ว่าเราจัดการได้ในแง่ว่า เช่นเขาบอกว่าในเวลาเท่านั้นค่ำอย่างนี้ ใจคนจะโน้มไปทางกามรมณ์ เราก็ต้องเอาหลักสติมา ใช่ไหม เราก็มาจัดการกับสถานการณ์นี้ ในแง่อีกแง่หนึ่ง เช่นการมีสติ ก็กลายเป็นว่าแม้เป็นปัจจัยที่ไม่ได้อยู่ในวิสัยเราก็จะได้ อย่างเรื่องโหรนี่ก็เหมือนกัน เรื่องดวงดาวนี่จะมาอันดับหนึ่ง ก็เข้าเรื่องเมื่อกี้เลยใช่ไหม เขาก็จะพูดถึงอิทธิพลของดวงดาว ดาวนั้น ดาวนี้ มีอิทธิพล ก็มีความสัมพันธ์ในธรรมชาติ เราไม่ไปปฏิเสธ แต่เราก็บอกว่าเนี่ยอิทธิพลนี้มันมีจนกระทั่งว่ามันน้อย จนกระทั่งอาจจะเป็นเรื่องความโน้มเอียงอะไรบางอย่าง แล้วเขาก็ยอมรับ แล้วเขาก็จะยอมรับ อย่างพวกว่า ถ้าคนไปบวชเป็นต้น อิทธิพลของพวกนี้มันจะลดลงไป เพราะมันมีวินัยกั้นเป็นต้นนะ หรือว่าชีวิตที่มีสติดี ก็จะกันพวกนี้ได้ ทีนี้เราจะมัวไปหมกมุ่นกับเรื่องเหล่านี้ หวังพึ่งขึ้นต่อมัน มันคุ้มหรือเปล่า ก็กลายเป็นว่าเป็นเรื่องเสียเวลามาก แล้วก็ไปจัดการอะไรไม่ได้ แล้วคนทำนายก็ไม่ได้มีความรู้จริง เขารู้เป็นเพียงตามสถิติ ถ่ายทอดกันมาใช่ไหม ขึ้นกับเทคนิคการทำนาย มันก็มีความไม่แน่นอน เรามัวไปเชื่ออยู่ เราก็แย่สิ เกิดทำนายไม่ถูก แล้วก็ปรากฏว่าทำนาผิดก็เยอะแยะไป อย่างปฏิวัติ ในอดีตเมืองไทยปฏิวัตบ่อย เราปฏิวัติรัฐประหารก็กเคยมีเรื่อง อย่างคราวหนึ่งเนี่ย ก็ไปดูฤกษ์ไว้ พวกคณะที่จะปฏิวัติ ดูฤกษ์ไว้ว่า เอาล่ะ ตี 3 อะไรเนี่ยนะ ทีนี้ฟังกันไม่ชัด 3 3 อะไรเนี่ย 3 ทุ่ม ตี 3 อะไรเนี่ย ที่นี้พอว่าบอกกันอย่างนั้นใช่ไหม ตามเวลาฤกษ์เนี่ย พวกหนึ่งมันฟังผิด เข้าใจเป็น 3 ทุ่ม ไปเริ่ม ก็ไม่พร้อมกันสิ ใช่ไหม อีกพวกหนึ่งไม่ได้ทันทำอะไร ไอ้นี่เริ่ม ก็โดนตายเลย โดนจัดการเลย เลยแพ้เลย ตกลงว่ายุ่ง มันก็กลายเป้นว่าแพ้ไป ไม่สำเร็จ แล้วก็อีกรายหนึ่ง เมืองไทยนี่ปฏิวัติรัฐประหารบ่อย ก็กำหนดเวลาเท่านั้นไว้ ฤกษ์ดี จะชนะ อีกฝ่ายหนึ่ง คามลับมันรู้ถึงก่อน พวกนั้นก็ชิงจัดการก่อนเลย ฝ่ายตรงข้าม ก่อนเวลานั้นเลย ตัวเองก็แพ้ไป ตกลงฤกษ์นั้นก็กลายเป็นไม่มีผล ฉะนั้นจะไปมัวเอาชีวิตไปฝากกับสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ แต่ว่ามันมีอันหนึ่งก็คือว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วย คล้ายๆ ว่าในกรณีที่มันไม่ได้มีเรื่องอื่นที่เข้ามาแข่งปัจจัยอื่น มันทำให้เกิดความมั่นใจ ทีนี้ถ้าตัวไปเชื่อซะแล้วเนี่ย ถ้าไม่ทำตามปั๊บ ใจมันไม่มั่น ใจรู้สึกเกิดความกังวล พอกังวลก็กลายเป็นว่าตัวเองเนี่ยอ่อนแอ พอใจอ่อนแอก็กลายเป็นผลร้ายไปเอง ผลร้ายจากการที่ตัวเองไปเชื่อเกินไป เพราะไปเชื่อแล้วพอไม่ได้ทำตามนั้น ใจคอไม่สบาย แล้วความที่ใจคอไม่สบายกลายเป็นเคราะห์มาทำร้ายตัวเอง ไม่ใช่เป็นเพราะแม่นยำตามฤกษ์ เป็นเพราะใจมันเสีย ทีนี้ถ้าเป็นคนที่เขามีจิตใจเข้มแข็ง มีปัญญา มั่นใจเพียงพอ เขาก็ไม่ยอมขึ้นกับสิ่งเหล่านี้ แล้วก็ใจเขาไม่หวั่นไหวไปด้วย ถ้าใจเขาไม่หวั่นไหว เขาเข้มแข็งพอ เขาก็สำเร็จของเขา เพราะอันนี้มันขึ้นต่อพลังจิตใจภายในด้วย อันนี้เป็นปัจจัยภายนอกใช่ไหม ซึ่งอาจจะมีกำลังอ่อน แต่เพราะเราไปเชื่อเราก็เลยเอาปัจจัยภายในของเราซ้ำเติมเข้าไป ซ้ำเติมตัวเอง ที่จริงปัจจัยภายในคือตัวเองที่ใจอ่อนแอ ลังเล กังวล นี่มันเป็นตัวร้ายเลยที่จะทำให้ตัวเองแย่ ทีนี้ถ้าคนที่เขามีความเข้มแข็ง เขามั่นใจ ใช่ไหม เขาก็มีปัจจัยภายใน ความเข้มแข็งของจิตใจล้างกำลังของปัจจัยภายนอกได้ ฉะนั้นเรื่องอย่างนี้จึงใช้หลักที่ว่าเมื่อกี้ หลักว่าเราไม่ได้ปฏิเสธ สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มีความสัมพันธ์กัน มีปัจจัยต่างๆ มีความสัมพันธ์ใกล้ไกล เล็กน้อย มากบ้างอะไรต่างๆ แต่เราจะมัวไปวุ่นอยู่กับปัจจัยห่างเหินเล็กๆ น้อยๆ อะไรเหล่านั้น มองไม่เห็น มันไม่ไหว เราต้องเอาปัจจัยที่มันแน่นอน ที่มองเห็นและจัดการได้ เป็นสำคัญ แต่ขอให้มองให้ชัด??? ต่อจากนั้นพวกนั้นก็เอามาเป็นตัวประกอบ ถ้ามันมาได้ด้วยก็ไม่ว่าอะไร เราก็อาจจะขึ้นกับการพัฒนาของตัวเอง อย่างผู้ที่จะพ้นจากเรื่องนี้ จริงๆ ในทางธรรมมะก็ถือว่าต้องพระโสดาบันขึ้นไป พระโสดาบันจึงจะพ้นจากเรื่องการพวกเนี่ยที่จะหวั่นไหว เพราะคนทั่วไปมันจะมีความไม่แน่ใจต่อสิ่งทั้งหลายที่มองไม่เห็น เหนือธรรมชาติ ก็จึงมีอย่างที่พูดกันคราวที่แล้วใช่ไหม ที่มีพระสูตรที่ท้าวโลกบาลมาถวายพระพุทธเจ้าไว้ บอกว่าให้สาธยายเวลาไปในที่น่ากลัวเนี่ย พวกลูกน้องของท้าวโลกบาลก็จะได้ไม่มารบกวน ไม่มารังแกข่มเหง เนี่ยก็คือหาเครื่องมาช่วยสำหรับทำให้เกิดความมั่นใจ เมื่อเขาเชื่อสิ่งที่เหนือธรรมชาติก็เอาสิ่งที่เหนือธรรมชาติอีกด้านหนึ่งมาหักหลบลบกันซะก่อน มาประคับประคองไว้ ในแง่ที่ว่าไม่ให้เกิดโทษ เอามาใช้ในทางไม่ให้เกิดโทษก่อน จะพอมองเห็นทางปฏิบัติไหม เอาละ เราก็ไม่ไปปฏิเสธใคร เรียกว่าของผลุบๆ โผล่ๆ พวกนี้ อิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ พวกของขลัง พวกหมอดูอะไรเนี่ย เป็ยพวกของผลุบๆ โผล่ๆ จะเอาแน่จริงให้มันชัดขึ้นมาก็ไม่ได้ซะที อย่าไปหลงงมงายแล้วฝากชีวิตขึ้นกับมัน แต่ว่าเราก็ไม่ไปดูถูก เดี๋ยวนี้เขาใช้คำว่า ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ แต่เราอย่าอยู่แค่นั้น ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ มันไม่บอกทางปฏิบัติ ใช่ไหม เราต้องมีหลักปฏิบัติของเรา ที่ว่าไม่เชื่อแต่เราไม่ลบหลู่ แต่เราปฏิบัติด้วยปัญญา แล้วไม่ได้ฝากชีวิตไว้แค่ศรัทธาที่เราไม่รู้ชัดเจน ก็ไม่ลบหลู่นี่ใช้ได้อยู่ แต่ว่าอย่าไปหยุดแค่ไม่ลบหลู่ แล้วก็ศึกษาต่อไป เราเห็นปัจจัยอื่นๆ ที่มันมั่นใจกว่าก็ก้าวไป แต่ว่าตัวผูกอันหนึ่งที่จะทำให้ขึ้นกับสิ่งเหล่านี้ก็คือความไม่มั่นใจตัวเอง ความกังวล แล้วยิ่งไปหาสิ่งเหล่านี้ ยิ่งมาบอกกล่าวมาย้ำกัน ยิ่งทำให้คนจิตใจก็ยิ่งหมกมุ่น ก็ยิ่งเกิดความหวาดหวั่นมากขึ้นด้วย ก็ต้องระวัง เพราะฉะนั้นท่านจึงให้ใช้ในเชิงปัญญา อย่ามัวเอาแต่ความเชื่อ เพราะศรัทธาก็ให้เป็นศรัธทาญาณสัมปยุต ศรัทธาที่ประกอบด้วยความรู้หรือปัญญา ไม่เป็นศรัทธาที่งมงาย มีอะไรอีกไหม ไม่มีนะ ไม่มีก็เอาเท่านี้นะ อนุโมทนา ไว้มีโอกาสก็คุยกันใหม่