แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ก็เข้ากับคำที่ Eddington พูดเมื่อกี้ ที่บอกว่าวิทยาศาสตร์จะนำมนุษย์เข้าไปถึงได้แต่เพียงโลกแห่งเงาของภาพสัญลักษณ์เท่านั้น เช่นทางคณิตศาสตร์ นี้คือผลที่เกิดขึ้น อย่างที่บอกมาแล้วว่ามนุษย์เกิดความไม่มั่นใจ เนี่ยกลับไปกลับมาแล้ว มั่นใจ มีความหวัง แล้วก็ห่อเหี่ยว แล้วกลับมามั่นใจอีก วิทยาศาสตร์เป็นความจริง บรรทัดฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง มาบัดนี้ไม่มั่นใจอีกแล้ว เอาทีนี้อย่างอื่นก็เป็นอันพอดี ประจวบพอดีว่าประชาชนในสังคมพัฒนาแล้วที่มีวัตถุค่อนข้างพรั่งพร้อมบริบูรณ์ จนกระทั่งถึงสังคมอย่างอเมริกานี้บอกตัวเองว่าฉันเป็นยุค Post Industrial Society แล้ว เป็นยุคผ่านพ้นอุตสาหกรรม ยุคผ่านพ้นหรือเลยอุตสาหกรรมไปแล้วหมายความว่าอุตสาหกรรมได้สร้างความพรั่งพร้อมให้บริบูรณ์แล้ว เป็นสังคมที่ Affluence สังคมที่มีความพรั่งพร้อม ทีนี้สังคมที่มีความพรั่งพร้อมวัตถุบริบูรณ์นี้ ประชาชนเริ่มเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจต่อวัตถุทั้งหลายที่สร้างสรรค์ขึ้นมา มีปัญหาจิตใจมาก มองเห็นว่าความพรั่งพร้อมทางวัตถุไม่สามารถให้ความหมายและความสุขที่แท้จริงแก่ชีวิตได้ ก็เลยมีคนทางตะวันตกไม่น้อยที่หันมาสนใจทางจิตใจมากขึ้น ตลอดจนกระทั่งไปสนใจเรื่อง Mystic เรื่องลึกลับอะไรต่างๆ มีการฟูขึ้นมาในทางตะวันตก อันนี้เป็นเรื่องของความสูญเสียความมั่นใจต่อวิทยาศาสตร์ มีส่วนเป็นตัวผลักดันด้วย เอ้านี้อันหนึ่งละ เป็นอันว่าไอ้ความหวังจากความพรั่งพร้อมบริบูรณ์ทางวัตถุมันก็ผิดหวังอีกแล้ว นึกว่าเมื่อเราใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมผลิตวัตถุพรั่งพร้อม เราจะมีความสุข ตอนนี้มันก็เกิดถึงจุดที่พอดีเบื่อหน่ายไม่สมหวังอีก ก็เป็นปัญหาขึ้นมาซ้อนพอดี ไอ้ในแง่ความจริงก็หมดหวัง ในแง่ความพรั่งพร้อมทางวัตถุที่เคยหวังก็เสียความหวังอีก มาทั้งคู่เลย มาประจวบในยุคนี้ นี้ถึงจังหวะนี้อีก การพิชิตธรรมชาติ การจัดการเอาธรรมชาติมาจัดสรรรับใช้มนุษย์ได้ก่อปัญหาจะทำลายดุลยภายในธรรมชาติ สภาพแวดล้อมเสียอะไรต่างๆ ปัญหากำลังหนักเลยในด้านนี้ แล้วก็ปัญหาธรรมชาติแวดล้อมเสีย โอโซนเลเยอร์โหว่อะไรต่างๆ กรีนเฮ้าส์เอฟเฟกต์ อะไร ผลในเรื่องความร้อน อุณหภูมิสูงขึ้น อะไรฝนน้ำกรด อะไรไม่รู้กี่อย่าง ดิน น้ำเสีย อากาศเสียเนี่ย จะนำความพินาศมาสู่โลกและอารยธรรมของมนุษย์เอง ก็กลายเป็นว่าอันนี้ก็มนุษย์ก็กลับไปมองว่า เนี่ยไอ้ที่ธรรมชาติแวดล้อมเสียอะไรต่างๆ มันก็เป็นผลจากเทคโนโลยีที่เกิดจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ก็ไปโทษวิทยาศาสตร์อีก ก็เป็นอันว่าไอ้การที่เอาความรู้มาจัดการกับธรรมชาติ ที่ว่าเป็นเจ้านายธรรมชาติ ครอบครองธรรมชาติ มีอำนาจเหนือธรรมชาติ แล้วจะมีความสุขจริง นั้นไม่จริงแล้ว ทีนี้มันกลับไปถึงคุณค่าพื้นฐานเลย มันลึกลงไปอีก คือการที่มีความเชื่อว่ามนุษย์จะเป็นเจ้านายมีอำนาจเหนือธรรมชาติ ธรรมชาติรับใช้มนุษย์จะมีความสุข อันนี้ไม่จริงแล้ว เพราะมนุษย์ไม่สามารถเป็นเจ้านายธรรมชาติที่แท้จริงได้ แล้วการจัดการกับธรรมชาติในแบบครอบงำ ครอบครอง เป็นนายไม่สามารถจทำให้เกิดผลดี แต่กลับทำให้เกิดผลร้ายต่อมนุษย์เอง ที่ผลร้ายจากธรรมชาติตีกลับมา ทำให้มนุษย์แย่ลง ฉะนั้นความเชื่อพื้นฐานก็ผิดหมดเลย ตกลงตีเข้ามา 3 อันนี้ โอบล้อมเข้ามาขนาดนี้ แล้วทีนี้ด้านจริยธรรมก็ไม่มีหลักอีกด้วย เพราะว่าไปตีเค้าตกไปแล้ว ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของจริยธรรม จริยธรรมนี้เป็นตัวกำกับวิถีชีวิต การดำเนินชีวิตของมนุษย์ทำให้มีกฎมีเกณฑ์ จริยธรรมนี้ก็เลื่อนลอยไปหมดแล้ว เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดความเชื่อว่าจริยธรรมเป็นคุณค่า ไม่มีความหมาย เป็นเรื่องมนุษย์สร้างเอาเอง ก็เลยไม่มีหลักอะไรเลย มนุษย์ยุคนี้ หมดความหวังความเชื่ออะไรต่างๆ ที่มีมาหมดกัน แค่นี้พอแล้วไม่ต้องไปพูดอื่น ก็เลย อ้าวพอดีว่าวิทยาศาสตร์ช่วงนี้ มันก็พอดีว่าวิทยาศาสตร์ช่วงนี้ได้เอื้ออำนวยในทางดีอันหนึ่ง คือได้ทำให้เทคโนโลยีพัฒนามาถึงขั้นที่เกิดคอมพิวเตอร์ ไอ้คอมพิวเตอร์นี้ก็มาบรรจบกับการที่ว่ามนุษย์ มาถึงการที่ว่าอับจนในความรู้ทางวัตถุ โลกธรรมชาติความจริงทางวัตถุนี้ ไม่สามารถเข้าถึงได้ แล้วก็มันมาบรรจบกับจิตใจ ที่ว่าจิตใจมีส่วนสำคัญในการค้นหาความจริง ก็เริ่มมีนักวิทยาศาสตร์มาสนใจเรื่องจิต ศึกษาเรื่องจิตกันมากขึ้น ก็พอดีคอมพิวเตอร์ก็เกิดขึ้น ไอ้คอมพิวเตอร์ก็กลายเป็นความหวัง ทำให้มีวิทยาศาสตร์บางพวก คือนักวิทยาศาสตร์บางพวกก็ยังมีความเชื่อว่าจิตเกิดจากวัตถุ พอมีคอมพิวเตอร์ก็มีความหวังขึ้นมาว่าไอ้คอมพิวเตอร์นี่แหละจะเป็นตัวช่วย ต่อไปเราอาจจะเข้าใจเรื่องจิตจากคอมพิวเตอร์ หนึ่งแล้วนะ แล้วสองอาจจะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีจิตด้วย อันนี้ก็จะมีนักวิทยาศาสตร์พวกหนึ่งที่มีความเชื่อแบบนี้ ตอนนี้มันมี AI คือ Artificial Intelligence แล้ว เค้าเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ มนุษย์ก็ว่าถึงนี่แหละ ต่อไปเนี่ยไอ้คอมพิวเตอร์รุ่นต่อไปเนี่ยจะพัฒนามากยิ่งขึ้น อาจจะทำให้มีจิตใจขึ้นมา แต่ก็จะมีนักวิทยาศาสตร์อีกพวกหนึ่งไม่เชื่อเลย ถือว่าเรื่องจิตจะต้องทำความเข้าใจต่างหาก แต่ว่าคอมพิวเตอร์จะเป็นตัวที่ช่วยได้ในการที่จะสร้างความเข้าใจ แต่ว่าไม่ใช่อันเดียวกัน อย่างมีหนังสือ Bestseller เล่มหนึ่ง อะไรของนาย Roger Penrose ก็มีขึ้นมาในเรื่องที่พยายามพิสูจน์ให้เห็นว่า คือเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ ก็พิสูจน์ว่าไอ้เจ้าคอมพิวเตอร์เนี่ยมันเป็นคนละเรื่องกับจิต อะไรแต่ถ้าเอาเป็นว่าตอนนี้ก็เป็นถึงจุดบรรจบก็แล้วกัน ว่าวิทยาศาสตร์ก็ทำให้เทคโนโลยีพัฒนามาถึงระดับที่มาบรรจบกับเรื่องจิตใจ ที่จะช่วยให้การศึกษาเรื่องจิตใจนี้ ได้เพิ่มความเข้มข้นยิ่งขึ้น ฉนั้นตอนนี้ก็มาเป็นจุดบรรจบอันหนึ่งที่มาเรื่องจิตใจ เอาเป็นว่าตอนนี้เราอาจจะพูดได้ว่าได้เกิดวิกฤติการณ์ทางปัญญาแล้ว มนุษย์มาถึงพัฒนาการขั้นเกิดวิกฤติทางปัญญา แล้วก็พร้อมกับวิกฤติการณ์ทางปัญญาก็เกิดวิกฤติการณ์ทางระบบคุณค่าในจิตใจ แล้วก็ เกิดปัญหาในธรรมชาติที่มนุษย์หมายใจว่าจะรับใช้ตนให้บรรลุความสุขสมหวังด้วย อันนี้ก็เป็นสภาพของพัฒนาการของวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันที่ได้มีผลต่ออารยธรรมของมนุษย์ ตลอดจนชีวิตและสังคมมนุษย์ที่กำลังปรากฏผลขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราจะต้องตามมองต่อไป แต่ว่าถ้าท่านทั้งหลายเห็นภาพนี้ชัดแล้ว เราจะใช้ภาพนี้ไปศึกษาอะไรต่ออะไรได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทีนี้จะขอข้าม อันนั้นพูดกว้างๆแล้ว ว่าพัฒนาการของวิทยาศาสตร์ในแต่ละยุคนี้ได้เกิดผลกระทบต่ออารยธรรมมนุษย์ ต่อชีวิตจิตใจ สังคมมนุษย์อย่างไร นี้เราก็มาขึ้นหัวข้อที่ 4 หัวข้อใหญ่ที่ 4 หัวข้อใหญ่ที่ 4 ก็จะเป็นเรื่องของปัญหาของวิทยาศาสตร์ที่จะต้องแก้ไขในการที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์ต่อไป เออ วิทยาศาสตร์จะพัฒนาต่อไปนี้ จะต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้นะ เอาหละทีนี้ปัญหาอะไรบ้าง เดี๋ยวอาตมาขอดูเวลาก่อน จวนหมดเวลาแล้ว เหลืออีก 3 หัวข้อ ทีนี้เอาหัวข้อ หัวข้อปัญหาที่วิทยาศาสตร์จะต้องแก้ไขในการที่จะพัฒนาต่อไป ก็หัวข้อที่ 1 หัวข้อย่อย 1. ในด้านสัจภาวะ การเข้าถึงความรู้ในความจริง ถ้าใช้ภาษาปรัชญาเค้าเรียกว่าในแง่ Ontological ในแง่ Ontology พูดง่ายๆ ฟังง่ายๆ ในแง่ Ontology แต่ว่าอันนี้ก็พูดง่ายๆ ก็คือในด้านสัจภาวะหรือการเข้าถึงความรู้ในความจริงของธรรมชาติ ก็มาสรุปกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง บอกว่าวิทยาศาสตร์นี่เคยศึกษา สนใจเอาแต่เรื่องรูปธรรม หรือโลกแห่งวัตถุเท่านั้น แต่มาบัดนี้รู้ชัดแล้วว่า แม้แต่โลกวัตถุที่ตนศึกษานั้นก็ได้แค่ปรากฎการณ์ไม่เข้าถึงเนื้อแท้ เป็นอันว่าจะไม่สามารถเข้าถึงตัวความจริงของธรรมชาติได้ ได้แต่เงาของมันเท่านั้นเอง ทีนี้ทั้งนี้ก็เพราะว่าสิ่งที่ถูกมองไม่เป็นอิสระจากผู้เห็น ยิ่งกว่านั้นผู้มองก็ไม่มองตัวเอง ไม่รู้จักตัวเองซะด้วย หนักเข้าไปอีก แล้วก็ความจริงที่รู้ เป็นเพียงการแปลความหมายของจิตอย่างที่ว่าแล้ว เพราะฉะนั้นก็จะต้องนำไปสู่การแก้ไขในกระบวนการค้นหาความจริง จะต้องมีการพัฒนาว่าการที่จะรู้ความจริง ก็ต้องรู้เข้าใจธรรมชาติของผู้มอง ของตัวมนุษย์เอง ของจิตที่มอง ที่เป็นผู้รู้ความจริงนั้นด้วย จึงเป็นการบังคับในตัวเองให้วิทยาศาสตร์ต้องหันมาสนใจเรื่องจิตใจอย่างที่ว่าเมื่อกี้ ก็อย่างที่บอกแล้วว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนก็หันมาศึกษาเรื่อง Consciousness เรื่อง Mind แล้วก็ผลอันนี้ก็ในการที่จะศึกษาเข้าใจความจริง ก็ต้องขยายความหมายของธรรมชาติจากโลกของวัตถุเนี่ยมาครอบคลุมเรื่องจิตใจด้วย ฉนั้นความหมายของธรรมชาติจะต้องเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงใหม่ ที่วิทยาศาสตร์ โลกตะวันตกเคยเข้าใจว่าธรรมชาติหมายถึงโลกภายนอกจากมนุษย์เนี่ย จะต้องให้คำว่าธรรมชาตินั้นคลุมมาถึงเรื่องมนุษย์ และรูปและนามธรรม จิตใจด้วย ก็เป็นอันว่าจะต้องรู้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม จึงจะสามารถเข้าถึงความจริงของธรรมชาติได้ โดยที่ธรรมชาตินั้นมีทั้งรูปธรรมและนามธรรม ทีนี้ถ้าเรามาประสานพุทธศาสนา เราก็พูดได้สั้นๆว่า พุทธศาสนานั้นบอกอยู่แล้วว่าสภาวธรรม เราใช้คำว่าสภาวธรรม สภาวธรรม สิ่งที่มีอยู่ตามสภาพของมันนั้น ก็ได้แก่รูปธรรมและนามธรรม เราจะพูดคู่กัน ทั้งสองอย่างนี้อิงอาศัยซึ่งกัน และกันด้วย หลักการของพุทธศาสนาถือว่ารูปธรรมและนามธรรมมีทั้งคู่ และอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่ใช่มีต่างหากจากกัน ไม่ใช่ Dualism หรือว่าเดี๋ยวจะกลายเป็น Dualistic ขึ้นมาอีก ทีนี้ด่านที่วิทยาศาสตร์จะต้องเจอในการศึกษาเรื่องจิตใจ คือการแยกไม่ออกระหว่างกฎธรรมชาติด้านนามธรรม ซึ่งอาจจะมีหลายกฎเกณฑ์ อย่างเช่นในทางพุทธศาสนา อ้อ ขอย้อนไปนิดหนึ่งว่าในโลกตะวันตกเอง ก็เคยพยายามศึกษาเรื่องจิตแบบเป็นวิทยาศาสตร์เหมือนกัน ได้แก่วิชาจิตวิทยา แต่เพราะจิตวิทยานั้น ได้พยายามที่จะทำตัวเป็นวิทยาศาสตร์ไปบางคราวเนี่ย ได้กลายเป็นมาศึกษาแต่พฤติกรรมเท่านั้น เลยกลายเป็นว่าหนีออกจากแดนของจิตของตัวเองมาศึกษาเรื่องพฤติกรรม เลยกลายเป็นจิตวิทยาเป็นวิชาว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์ อ้าวไปแค่นั้นอีก เลยกลายเป็นว่าไอ้แทนที่จะช่วยวิทยาศาสตร์ก็กลายเป็นว่ากลับพาหนีออกไปจากกัน แต่ตอนนี้มีนักจิตวิทยาที่หันกลับไปศึกษาเรื่องจิตแท้ๆ นี่มากขึ้น ทีนี้ทางพุทธศาสนานี่มีไอ้ความ มีแนวการให้ความรู้ความคิดเรื่องนี้มาเก่านานละ เราถือว่าธรรมชาตินั้นมีทั้งรูปธรรมและนามธรรม มนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งในธรรมชาติด้วย ทั้งกายทั้งใจเป็นธรรมชาติทั้งสิ้น จิตก็อยู่ในกฎธรรมชาติ กฎธรรมชาติครอบครองทุกสิ่งทุกอย่าง กฎธรรมชาตินั้นแยกเป็นกฎย่อยหลายกฎ อย่างที่เราเรียกว่านิยาม5 มี 1. อุตุนิยาม กฎธรรมชาติว่าด้วยความเป็นไปของธรรมชาติแวดล้อม อันนี้แหละที่เรียกว่าเป็นส่วนที่วิทยาศาสตร์ศึกษา แล้วพุทธศาสนาก็บอกว่า กฎที่ 2. เรียกว่า พีชนิยาม กฎธรรมชาติว่าด้วยพืชพันธุ์ ก็ Biology ก็วิทยาศาสตร์เข้ามาหน่อยนึง แต่ว่ายังอยู่แค่โลกวัตถุ แล้วก็ 3. พุทธศาสนาบอกมี จิตนิยาม กฎธรรมชาติว่าด้วยเรื่องจิต แล้วก็ 4. กรรมนิยาม กฎธรรมชาติว่าด้วยเจตจำนงของมนุษย์ ซึ่งต่างหากจากจิตอีกทีหนึ่ง โดยที่ว่ากฎธรรมชาติแห่งจิต กับกฎธรรมชาติแห่งกรรมนิยาม หรือเรื่องเจตจำนงเนี่ย อิงอาศัยซึ่งกันและกันพัวพันอย่างยิ่ง แต่สามารถแยกเป็นคนละกฎได้ แล้วก็กฎสุดท้ายคือ ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติทั่วไป กฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน นี่นะพุทธศาสนาวางแนวความคิดอย่างนี้มานานเป็นพันๆปี ก็ถือว่าธรรมชาติเนี่ยต้องรวมหมด ทั้งนามธรรมรูปธรรม ทั้งกายทั้งใจ อันนี้ก็เป็นอันว่าตอนนี้วิทยาศาสตร์จะมาบรรจบจุดนี้ การที่ว่าจะต้องมาศึกษาเรื่องจิตเรื่องใจนี้ด้วย แล้วก็ได้พูดไปให้เห็นเมื่อกี้แล้วว่า ตอนนี้ก็มาถึงยุคคอมพิวเตอร์แล้ว มาถึงยุค AI เรื่อง Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์อะไรพวกนี้แล้ว ก็ตอนนี้เราก็จะมาเห็นการก้าวหน้าในการศึกษาเรื่องจิตมากขึ้นเรื่อย ก็คอยดูกันต่อไปว่าวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ พวกนักฟิสิกส์จะเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาเรื่องจิตกันอย่างไร จะพัฒนาคอมพิวเตอร์กันอย่างไร อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่า ก็รวมความก็ด้านสัจภาวะนี่เป็นปัญหาต้องแก้ไข ขยายความหมายของคำว่าธรรมชาติ แล้วก็จะต้องศึกษาเรื่องรูปธรรมนามธรรมให้ครบ ต่อไปทีนี้ 2. ในด้านวิธีการที่จะรู้เข้าใจความจริง ถ้าใช้ศัพท์ทางปรัชญาก็เป็น??? ทางด้านนี้ก็ เราก็มาสรุปทบทวนว่าวิทยาศาสตร์ในยุคที่ผ่านมา ในยุคโลกทัศน์แบบนิวตันนั้น ยอมรับแต่การสังเกต ทดลองโดยใช้ประสบการณ์ทางประสาทหรืออินทรีย์ 5 เฉพาะอย่างยิ่ง ตา หู กายสัมผัส แล้วก็ ก็สรุปอีกบอกว่า แต่เวลานี้บอกว่าประสบการณ์ที่ผ่านประสาทหรืออินทรีย์ทั้ง 5 นั้น เกิดเป็นความรู้โดยการแปลความหมายของจิต ไปไปมามาสิ่งที่รู้ผ่านประสาทหรืออินทรีย์ 5 นั้น ไม่อาจรู้ว่าตรงความจริงหรือไม่ ทีนี้ข้อจำกัดของอินทรีย์ 5 นั้น มี 2 ประการ เรามาดูข้อจำกัดของอินทรีย์ 5 หรือประสาท 5 ว่า ทำไมมันจึงไม่สามารถให้เข้าถึงความจริงของธรรมชาติได้ อินทรีย์ 5 หรือประสาททั้ง 5 นั้น มีข้อจำกัด 2 ประการ ที่ไม่อาจให้การสังเกต ทดลองเข้าถึงความจริงได้ หรือ 2 ระดับ 1. จำกัดโดยวิสัยของมันเอง จำกัดโดยวิสัยเป็นยังไง คือเราใช้ ตา หู จมูก ของเราเนี่ยดูปรากฏการณ์ ดู Object ต่างๆ อินทรีย์ของเรานี่มีวิสัยจำกัด ตาของเรานี่เห็นไกลใกล้ก็มีขีดจำกัด เล็กใหญ่ก็มีขีดจำกัด ยกตัวอย่างเราไม่สามารถดูดาวไปถึงสุดจักรวาล ทีนี้เมื่อมนุษย์มีอินทรีย์จำกัด มนุษย์ก็ขยายวิสัยแห่งอินทรีย์ของตนด้วยการประดิษฐ์เทคโนโลยีขึ้นมา เทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นอุปกรณ์ขยายวิสัยแห่งอินทรีย์นะ เทคโนโลยีความหมายอย่างหนึ่งคืออะไร คืออุปกรณ์ขยายวิสัยแห่งอินทรีย์ของมนุษย์ ด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีก็ขยายวิสัยแห่งอินทรีย์มนุษย์ลง จากตาที่มองเห็นภาพเล็กๆแค่นี้ เครื่องกล้องจุลทรรศน์ก็มาช่วยให้ขยายไปอีก มนุษย์ก็สังเกตได้ ทดลองได้ ขยายวิสัยที่จะสังเกต ทดลองออกไป เรามองไปเห็นดาวได้แค่นี้ เราประดิษฐ์กล้องส่องดูดาว กล้องโทรทรรศน์ขึ้นมา ก็มองไปเห็นไกลอีก แต่อย่างไร ก็ตามแม้แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุดเหล่านั้น ก็ไม่สามารถให้มนุษย์เข้าถึงความจริงได้ เพราะไอ้ตัวมันเองมันก็ยังมีขีดจำกัด ตกลงก็เลยว่าอินทรีย์ 5 ของมนุษย์เนี่ยมีขีดจำกัด นี้เรียกว่าความจำกัดโดยวิสัย อันนี้ประการที่ 1 ฉนั้นเทคโนโลยีที่ประดิษฐ์ขึ้นมายังไม่สามารถให้มนุษย์ได้ถึงความจริงได้ ยังจำกัดอยู่นั่นเอง เดี๋ยวนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถจะส่องถึงสุดจักรวาล ไม่รู้ว่าจักรวาลมีที่สิ้นสุดหรือไม่ ประดิษฐ์กล้องมาเท่าไร มันก็ไปได้เรื่อย มันไม่สิ้นสุดซักที อ้าวทีนี้ 2 จำกัดโดยธรรมชาติของมันเอง โดยธรรมชาติของมันเองก็คือว่าไอ้ประสาท 5 หรืออินทรีย์ 5 เนี่ยมันสัมผัสได้แต่ปรากฎการณ์อย่างที่ว่า สัมผัสได้โดยปรากฎการณ์ มันไม่สามารถสัมผัสเนื้อแท้ของสิ่งนั้น อันนี้โดยธรรมชาติเลย เพราะฉะนั้นถึงจะมีวิสัยไม่จำกัดก็เสร็จอีก เพราะมันมันไม่เห็นเนื้อแท้ มันไปเห็นแค่ปรากฎการณ์ ก็เลยต้องพยายามจะเข้าถึงเนื้อแท้โดยส่งความรู้มาให้จิตตีความ ฉะนั้นเลยไม่เป็นอิสระ ความรู้โดยอินทรีย์ทั้ง 5 หรือประสาททั้ง 5 ไม่สำเร็จ อ้าว พอว่าอินทรีย์ 5 ประสาท 5 มีขีดจำกัดทั้งโดยวิสัยและโดยธรรมชาติแล้ว ก็มาพูดถึงอินทรีย์ที่ 6 ตอนนี้ก็วิทยาศาสตร์เองก็สนใจอินทรีย์ที่ 6 คือจิตใจด้วย เรามามองดูตามหลักพุทธศาสนา ถ้าเราแบ่งอย่างหยาบที่สุด อินทรีย์ที่ 6 คือจิตใจนั้นทำหน้าที่รับรู้ประสบการณ์ 2 ระดับ อินทรีย์ที่ 6 นี้รับรู้ประสบการณ์ 2 ระดับ 1. ประสบการณ์ตรงของจิตเอง ได้แก่ความรู้สึก ได้แก่ประเภทประสบการณ์เช่น ความรู้สึกรัก โกรธ เกลียด กลัว ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้นเนี่ย เป็นประสบการณ์ตรงของจิต พอเกิดขึ้นกับจิตก็รู้แก่ตัวเอง แล้วประสบการณ์อย่างนี้เป็นประจักษ์เลยนะ ความรักเกิดขึ้น ความโกรธเกิดขึ้น ประจักษ์แก่ใจของตัวเองเลย แล้วไอ้ประสบการณ์ตรงของจิตที่ประจักษ์แก่จิตเนี่ย ไม่สามารถรู้ได้ด้วยอินทรีย์อื่นด้วย อันนี้มันตัวสำคัญ อินทรีย์อื่นไม่สามารถรู้ได้ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ นอกจากมันส่งผลออกไปสู่ปรากฎการณ์ทางร่างกาย เช่น หน้าแดง ก็ประเมินเอาว่าโกรธแล้ว แต่หน้าแดงอาจจะไม่ใช่โกรธก็ได้ อะไรทำนองนี้ ตกลงว่าไอ้ตัวนี้ประสบการณ์ตรงของจิตนี้เป็นความรู้ประจักษ์ ต่อไปอันที่ 2 ประสบการณ์ทางประสาทอินทรีย์ 5 ที่ส่งต่อเข้ามาปรากฎในจิตใจ เป็นประสบการณ์ชั้น 2 เป็น Secondary ทางพระท่านเรียกว่าผ่านสัญญาเวทนาเข้ามา แล้วก็อาจจะถูกปรุงแต่งให้ปรากฏในความคิด โดยถูกแปลความหมายตามพื้นเพของจิต หรือเป็นผลของการคิดปรุงแต่ง เกิดจากอวิชชา สังขาร เข้าไปนั้นอีก อันนี้กลายเป็นว่าไอ้ความรู้ที่เราว่าประจักษ์เดิม มาโดยประสาททั้ง 5 โดยอินทรีย์ 5 ตา หู จมูก ลิ้น นั้น มันเป็นประสบการณ์ชั้นรองของจิต มันต้องส่งผ่านมาให้จิตแปลความหมาย ตีความ และปรุงแต่งอีกชั้นหนึ่งด้วย ก็กลายเป็นอย่างนั้นไป ไปไปมามานี่ ความรู้ประจักษ์ที่จริงแท้ของมนุษย์ ที่เขารับรู้ได้โดยตรงแน่นอนมีอย่างเดียว คือประสบการณ์ทางจิตใจในใจของตนเอง ในที่สุดมนุษย์กลายเป็นว่ารู้ความจริงประจักษ์ได้อย่างเดียว คือความรู้ในใจของตนเอง ความรัก ความโกรธ ความหลง อะไรเป็นต้น ที่เกิดขึ้นในใจเป็นความรู้ประจักษ์อย่างเดียวของมนุษย์ที่รู้ได้แน่นอน อย่างอื่นไม่สามารถรู้ได้ เราก็บอกว่าความจริงแท้ที่รู้ประจักษ์ของมนุษย์ ก็มีแต่ประสบการณ์ตรงในใจของตนเองเท่านั้น มนุษย์รู้ได้ รู้จริงแท้ แต่สิ่งที่ประจักษ์อยู่ในใจของตนเอง ก็เลยเนี่ยเป็นตัวย้ำที่ทำให้บอกว่า ไอ้ความจริงทางวิทยาศาสตร์นี่ ไปไม่รอด เค้าจึงบอกว่าไม่สามารถเข้าถึงความจริงของธรรมชาติได้ อันนี้ก็เป็นจุดที่ว่าวิธีการเข้าถึงความจริงก็จะต้องยอมรับประสาทที่ 6 ก็จึงขยายขอบเขตของการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ออกมา ก็ต้องมีวิธีการทางจิตใจว่าจะทำยังไง ก็กลายเป็นเหมือนกับมาเริ่มต้นกันใหม่ อ้าวทีนี้ต่อไป ตอนนี้หมดเวลาแล้ว 11 โมงแล้ว ก็เอาเป็นว่าท่านที่มีธุระก็จำเป็นเพราะหมดเวลา ก็สุดแต่จะมีธุระ แต่ว่าอาตมาถ้าหากว่าทางนี้ไม่ขัดข้องจะต่อ อ้าวก็ขอต่อไปก่อน เพราะว่าพระสามารถฉันประมาณ 11.30 ทีนี้ต่อไปก็เป็นปัญหาในด้านความรู้เท่าทันและปฏิบัติต่อระบบคุณค่า อันนี้วิทยาศาสตร์ก็จะต้องแก้ปัญหาเหมือนกัน ความรู้เท่าทันและปฏิบัติต่อระบบคุณค่า ก็เริ่มมาอีกเพราะว่าเรื่องคุณค่าได้พูดมาแล้ว ทีนี้จำเป็นต้องพูดใหม่เพราะว่ามันมีแง่มุมเพิ่มเติม แต่ก็จำเป็นจะต้องไปพูดย้อนหลังนิดหน่อย ก็ตอนแรกก็ต้องพูดถึงข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องคุณค่าที่สัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์ ประการที่ 1 ก็คือวิทยาศาสตร์ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเกี่ยวข้องอยู่กับคุณค่า เนี่ยที่สำคัญคือไม่รู้ตัว โดยเฉพาะได้ถูกคุณค่าต่างๆ แฝงตัวเป็นอิทธิพลอยู่เบื้องหลังตลอดมาอย่างที่ว่าเมื่อกี้นี้ ในการค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์อะไรต่ออะไร ไอ้ตัวแนวความคิด แรงจูงใจ ใฝ่พิชิตธรรมชาติ การที่ตนเป็นต่างหากจากธรรมชาติ จะต้องเข้าครอบครองธรรมชาติอะไรเนี่ย มันแฝงตัวเป็นอิทธิพลอยู่เบื้องหลังตลอดมาในการค้นหาความจริงและมองความจริงเหล่านั้น ก็ไม่รู้ตัว นี้ต่อไปข้อที่ 2 นอกจากไม่รู้ตัว ก็วิทยาศาสตร์ไม่เข้าใจความจริงเกี่ยวกับเรื่องคุณค่านั้น ก็เมื่อไม่รู้ตัวไม่สนใจ ก็เลยไม่รู้จักด้วยว่าคุณค่านั้นเป็นอย่างไร เพราะว่าตัวเองเป็นศาสตร์ที่เกิดจากมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษที่มีคุณค่า สิ่งที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง กิจกรรมที่ออกจากตัวมนุษย์ทุกอย่างจะมีคุณค่าประกอบด้วย ออกมาด้วยตลอดทุกอย่าง แล้วคุณค่านี้เป็นเรื่องของจิตใจ ถ้าวิทยาศาสตร์จะเข้าถึงความจริงที่สมบูรณ์ของธรรมชาติก็ต้องรู้ความจริงของจิต ซึ่งต้องเข้าใจเรื่องคุณค่าด้วย หมายความว่าเรื่องคุณค่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าใจธรรมชาติ ถ้าเราจะเข้าใจธรรมชาติให้ถึงที่สุดก็ต้องเข้าใจเรื่องคุณค่าด้วย ทีนี้คุณค่าที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์นั้นแบ่งได้ 2 อย่าง 1 คุณค่าที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ แล้วก็ 2 คุณค่าที่เกิดจากวิทยาศาสตร์ อันนี้แบ่ง 2 ก่อน เพื่อเราจะศึกษาให้ชัดเจน ทีนี้ข้อที่ 1 คุณค่าที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ อันนี้ได้พูดมามากแล้ว พูดมาเรื่อยๆเลย ที่พูดมานั้นก็คือคุณค่าที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ อันนี้ไม่สำคัญนักแต่ก็ขอสรุปอีกทีหนึ่ง ก็ขอสรุปว่าคุณค่ามูลฐานตัวเดิมแท้ที่ทำให้วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นและพัฒนามา ก็คือความใฝ่ปรารถนาจะรู้ความจริงของธรรมชาติหรือความใฝ่รู้ ผู้ที่ย้ำเน้นเรื่องคุณค่าอันนี้อย่างหนักก็คือไอน์สไตน์ แต่ปรากฏว่าวงการวิทยาศาสตร์เอง ทั้งๆที่ให้ความสำคัญแก่ไอน์สไตน์ แต่ไอ้ความรู้ความคิดของไอน์สไตน์ในด้านนี้ไม่ค่อยสนใจศึกษา ว่าไอน์สไตน์ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบทฤษฏีสัมพัทธภาพนั้น เค้ามองโลกมีความเข้าใจต่อธรรมชาติอย่างไร ไอน์สไตน์นี้ก็พูดไว้ย้ำเน้นเรื่องไอ้ความใฝ่รู้ หรือความใฝ่ปรารถนาต่อการเข้าถึงความจริงของธรรมชาตินี้มาก แล้วมองว่าไอ้ตัวนี้หละคือเป็นความรู้สึกทางศาสนาซะด้วย มันคือความใฝ่รู้ความจริงของธรรมชาติ ก็จะขออ่านความตอนหนึ่งของไอน์สไตน์ที่บอกว่า วิทยาศาสตร์เกิดได้ วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นได้โดยเป็นการสร้างสรรค์ของคนที่เต็มเปี่ยมด้วยความใฝ่ปรารถนาต่อสัจธรรมและปัญญาที่เข้าใจความจริง บุคคลที่เราเป็นหนี้ผลสำเร็จในทางสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ทุกคน ล้วนเต็มเปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่นทางศาสนาอย่างแท้จริงว่า สากลจักรวาลของเรานี้เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์และสามารถรับรู้ได้ด้วยการแสวงหาความรู้อย่างมีเหตุผล นี่คือความเชื่อ ก่อนที่จะค้นหาไอ้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ มีความเชื่อในใจอยู่ก่อนว่าธรรมชาติมีกฎเกณฑ์ที่เป็นเหตุเป็นผล ฉะนั้นนักวิทยาศาสตร์ วงการวิทยาศาสตร์คนหนึ่งเขียนบอกว่า Tripod ขาหยั่ง 3 ขาของวิทยาศาสตร์มีอะไร 1.Hypothesis สมมติฐาน 2.Observation การสังเกต แล้วก็ 3.Faith ว่างั้นนะ แหมเอา Faith มาเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ได้ไง Faith เรื่องความเชื่อกลายเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ เค้าบอกเป็นหนึ่งใน 3 ขาหยั่งของวิทยาศาสตร์เลย เพราะวิทยาศาสตร์เริ่มด้วย Faith ก่อน มีความเชื่ออย่างไอน์สไตน์นี้มีความเชื่อว่าธรรมชาติมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน สม่ำเสมอ Regular จากความเชื่อนี้ก็ทำให้มีแรงใจที่จะไปค้นคว้าความจริง พอเป็นความจริงแล้ว ความจริงนั้นมันไม่สามารถที่จะเข้าถึงได้โดยตรงแท้ ก็กลับมาเป็นความเชื่ออีก ทั้งต้นของมันและทั้งปลายของมันเป็น Faith ทั้งนั้นเลยของวิทยาศาสตร์ แต่จะเป็น Faith ระดับไหนเท่านั้นแหละ Faith ของวิทยาศาสตร์กับ Faith ของศาสนาโบราณย่อมไม่เหมือนกัน มันคนละระดับแต่ย่อมเป็น Faith ทั้งนั้น อันนี้ไอน์สไตน์ยังกล่าวต่อไปอีกว่า สำนึกทางศาสนาที่หยั่งโยงสรรพสิ่งทั่วสากลนี้ เป็นแรงจูงใจที่แรงกล้าและประเสริฐที่สุดสำหรับการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ฉะนั้นไอน์สไตน์เชื่อว่าไอ้แจงจูงใจใฝ่ปรารถนาต่อความจริง หรือใฝ่รู้ความจริงของธรรมชาติเนี่ย เป็นตัวสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้ อันนี้เราถือว่าเป็นตัวคุณค่ามูลฐานเลย ที่ทำให้วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นและพัฒนามาได้ ไอน์สไตน์เค้าเรียกอันนี้ว่า Cosmic Religious Feeling อันนี้เป็นความรู้สึกที่บริสุทธิ์ บางทีก็ไม่รู้ตัวว่ามี แต่ถ้าไม่มีแล้วความเจริญและพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์เป็นไปได้ยาก อย่างที่บอกแล้วว่า ไอน์สไตน์บอกว่าอันนี้เป็นตัวสำคัญที่จะทำให้เกิดพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ได้ แล้วก็บางทีเราไม่ค่อยสนใจเรื่องความคิดของไอน์สไตน์ในด้านนี้ อันนี้ถ้าหากว่าวิทยาศาสตร์รู้ตัว และควบคุมระบบคุณค่าก็จะรักษาคุณค่านี้ไว้ให้บริสุทธิ์ เพราะไอ้คุณค่าแบบนี้ยังเรียกว่าบริสุทธิ์ เป็นเพียงความใฝ่รู้ความจริงของธรรมชาติ แต่เพราะวิทยาศาสตร์บางทีก็ไม่รู้ตัว โดยมากไม่รู้ตัว ก็เลยไม่ได้จัดการควบคุมระบบคุณค่าที่เกี่ยวกับตนเอง ก็เรียกว่าเปิดช่องเป็นปลายเปิดไว้ ปลายเปิดนี้ก็เป็นโอกาสให้คุณค่าอื่นจากภูมิหลัง ในวัฒนธรรมของตนเองเข้ามาครอบงำ ตลอดจนคุณค่าที่มาจากวงการอื่น ที่ทำให้วิทยาศาสตร์ไม่บริสุทธิ์ เราบอกว่าวิทยาศาสตร์แท้ๆเนี่ย เป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เค้าเรียกว่า Pure Science, Pure Science นี้ไม่ใช่ Apply Science ต่อจาก Pure Science จึงมาเป็น Apply Science เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ แล้วมีเทคโนโลยี แต่วงการวิทยาศาสตร์เอง เดี๋ยวนี้มีคนหนึ่งเขียน นาย Tarnas เขียนไว้ในหนังสือ The Passion of the Western Mind เขาสรุปความตอนหนึ่งบอกว่า The very concept of Pure Science was now criticize by many as entirely illusory. ว่างั้น บอกว่าความเข้าใจ ตัวความคิดว่า Pure Science หรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เนี่ย เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้หมายถึงยุคที่ผ่านไปในยุคนิวฟิสิกส์นี่ ที่ยังพึ่งจะกำลังมาแล้วก็เดินเรื่อยๆไปนี่ ถูกวิจารณ์โดยคนจำนวนมากว่าเป็นเรื่องหลงผิดโดยสิ้นเชิง เป็น Illusion นั่นเอง