แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ขอเจริญพรอนุโมทนาทั้งทางโรงเรียน ทั้งโยม ทั้งที่เคยมา และยังไม่เคยมา ที่มาเยี่ยมที่วัดนี้ในวันนี้ แต่ที่อนุโมทนาสำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ เรื่องของการที่ได้ทราบว่าทางโรงเรียนแล้วก็ทางญาติโยมในวงการพุทธศาสนามีศรัทธา มีความตั้งใจที่จะนำหลักชาวพุทธไปสู่การปฏิบัติ เรื่องหลักชาวพุทธนี้ก็เป็นส่วนสำคัญในสยามสามไตรที่เป็นเรื่องที่ชัดเจนในแง่ของการออกสู่การปฏิบัติ ทีนี้การปฏิบัตินี่ ในเรื่องหลักชาวพุทธที่ว่านี่ ก็เป็นเรื่องของฝ่ายญาติโยม พุทธบริษัท ฝ่ายคฤหัสถ์ คือ ฝ่ายพระก็มีหลักปฏิบัติอยู่แล้ว เรื่องตั้งแต่วินัยซึ่งเป็นวินัยของพระสงฆ์ ก็อยู่ในฐานเบื้องต้น วินัยถือว่าเป็นฐาน จะให้พระนี่อยู่ในธรรมะหรือปฏิบัติก้าวหน้าไปในธรรมะได้ ด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น ก็เลยเรียกคู่กันว่าธรรมวินัยก็ต้องมีทั้ง 2 อย่าง
ทีนี้มาในส่วนของโยมคฤหัสถ์ บางทีเราก็ลืมนึกถึงว่า เอ๊ะ ทางคฤหัสถ์ซึ่งก็เป็นพุทธบริษัทเหมือนกัน อยู่ในพุทธบริษัท 4 ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ย่นย่อลงก็เป็น 2 เป็น คฤหัสถ์ กับ บรรพชิต ฝ่ายบรรพชิตก็อย่างที่กล่าวนั้นชัดเจนอยู่แล้วว่ามีวินัยเป็นฐาน แล้วก็นำเข้าสู่ธรรมะ ทีนี้ฝ่ายโยมก็ชัดเจนว่ามีธรรมะจะต้องเรียนรู้ศึกษาปฏิบัติ แต่บางทีนึกไม่ออกว่ามีวินัยหรือเปล่า ก็เลยบางทีก็มองข้าม ๆ กันไป ความจริงเรื่องหลักชาวพุทธนี่ก็ส่วนใหญ่ก็อยู่ในเรื่องวินัยนั้นเอง วินัยในฝ่ายคฤหัสถ์ วงการชาวพุทธที่จริงแต่เดิมก็มี เดี๋ยวค่อยพูดถึงก็ได้ รวมความว่าที่จริงต้องมีวินัย ไม่ว่าใครก็ตามเป็นพุทธแล้ว เป็นพระ หรือเป็นคฤหันถ์ก็มีฐานที่วินัย นี่เมื่อได้ยินว่าโยมตั้งใจเอาหลักชาวพุทธไปปฏิบัติกันจริงจังนี่ก็อนุโมทนา แต่การปฏิบัตินั้นก็เป็นเรื่องของผู้ที่ปฏิบัตินั้นเต็มใจเอง คือ ตามหลักพระพุทธศาสนานี่ไม่มีการบังคับ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเทศนา แสดงธรรมไป ชี้แจงให้เห็นว่าอะไรเป็นความจริง อะไรถูกต้อง อะไรดีงาม ควร ไม่ควร ถ้าให้ดีงามควรจะเป็นอย่างนี้ สังคมควรจะเป็นอย่างนี้ ควรจะปฏิบัติกันอย่างนี้ ท่านบอกให้แต่ว่าท่านไม่ได้บังคับก็เลยถ้าผู้ฟัง ฟังแล้วเห็นชอบด้วย มีความยินดีแล้วก็มีกำลังใจจะปฏิบัติก็ตกลงใจเอง ทีนี้บางทีใจก็ยังไม่เข็มแข็งก็เข้ามาบอกกับพระขอสมัคร คล้าย ๆ ทำนองให้พระเป็นพยาน คือให้พระช่วยเป็นกัลยาณมิตรให้ นี่พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าพระองค์เป็นกัลยาณมิตร ก็ให้พระช่วยเป็นกัลยาณมิตรจะได้ช่วยส่งเสริม ให้กำลังแนะนำเพิ่มเติมต่าง ๆ จนกระทั่งเรามีหลักที่เป็นประเพณีสืบมา อย่างเรื่องชาวพุทธ คฤหัสถ์ อยากจะแม้แต่ที่เราเรียกว่าถือศีล รักษาศีล ก็มาขอศีล จะเห็นได้ว่าเราไม่ได้ไปบังคับ ขนาดจะปฏิบัติโยมยังต้องมาขอเลย โยมมาขอว่าจะขอปฏิบัติ นี่เราเรียกกันว่าพระให้ศีล แต่ที่จริงพระก็ไม่ได้ให้ศีล ถ้าสังเกตให้ดีแล้วไม่มีหรอกการให้ศีล อันนี้เป็นสำนวนชาวบ้าน พระให้ศีลมีที่ไหน ดูให้ดี โยมขอศีลว่า ขอศีล 5 ก่อน ไม่ต้องพูดถึงศีล 8 ศีล 8 ก็ขอเหมือนกัน ศีล 5 โยมก็ขอว่า
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ บางทีก็เติมว่า วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล 5 พร้อมสรณคมณ์ ถ้าวิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ก็เพื่อจะรักษาแยกเป็นส่วน ๆ ทีนี้ ตรงนี้เป็นอันว่าโยมขอศีล 5 แต่เวลาพระบอกที่เราเรียกว่าให้ศีลไม่มี ให้ศีล พระบอกว่ายังไง ถ้าพระบอกแล้วลองดูให้ดี มีนัยบอกว่า โมทนานะที่โยมขอศีล แต่ศีลนี่ให้กันไม่ได้ จะมีศีลโยมต้องปฏิบัติเอง นี่ถ้าโยมอยากจะมีศีลนะชั้นจะบอกข้อปฏิบัติให้ แล้วก็เป็นเรื่องของโยมเองนะจะถือปฏิบัติ เมื่อโยมถือปฏิบัติแล้วโยมก็มีศีลเอง ศีลก็เกิดจากตัวเองทำขึ้นมา แล้วพระก็บอก พระบอกยังไง เริ่มตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปท สมาทิยามิ บอก ถ้าโยมอยากจะมีศีล โยมก็ปฏิบัติ โยมก็ตกลงใจกับตัวเองแล้วก็พูดอย่างนี้นะว่า ข้าพเจ้าขอถือเอา หรือถือปฏิบัติซึ่งข้อฝึกตน ข้อศึกษาสิกขาบท นี่สิกขาปท สมาทิยามิ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ ข้าพเจ้าขอสมาทาน คือขอถือปฏิบัติสิกขาบท คือข้อฝึก ข้อศึกษาสิกขาบท ข้อฝึกปฏิบัติในการที่จะงดเว้นจากการทำชีวิตให้ตกล่วงไป ข้อต่อ ๆ ไปก็เหมือนกันทุกข้อ จะเป็นว่าข้าพเจ้าเองนั้นแหละ ตกลงใจว่าถือเอาข้อฝึกตนอย่างนั้น แล้วก็โยมไปปฏิบัติตามนี้แล้วโยมก็มีศีลเอง พระไม่เคยให้ศีล แปลว่าโยมก็ตกลงใจ โยมก็สมาทาน เราเรียกว่าสมาทานศีล สมาทานก็ถือเอาข้อปฏิบัติที่เรียกว่า สิกขาบท คือ พระนี่ไม่มีข้อบังคับ มีแต่ข้อฝึกท่านเรียกว่าสิกขาบท ศีลพระทั้งหมดนั้นที่จริงจะเรียกให้ถูกเป็นภาษาทางการ เรียกว่า สิกขาบท ศีลที่โยมเรียกก็เหมือนกันเรียกว่า สิกขาบททั้งสิ้น สิกขาบทที่ 1 สิกขาบทที่ 2 ถ้าชื่อเป็นทางการให้เรียกว่า สิกขาบท 5 ไม่ได้เรียกว่าศีล 5 ในวินัยปิฏก ในพระไตรปิฏกมีคำที่เรียกศีล 5 อยู่ไม่กี่แห่ง เรียกแบบไม่เป็นทางการ ถ้าเรียกเป็นทางการเรียก สิกขาบท 5 เพราะว่าเป็นข้อฝึก เป็นข้อศึกษานั่นเอง เพราะสิกขาบทก็ปะทะกับข้อสิกขาปศึกษา ข้อศึกษาก็คือ เราก็ฝึกตนเอง แล้วเราก็เป็นผู้มีความประพฤติดีงามยิ่งขึ้น เราต้องเรียนรู้ในแต่ละข้อนั้นว่าจะปฏิบัติยังไงจะถูกต้อง จะพัฒนาในการถือศีลข้อนั้นด้วย ไม่ใช่ว่าหยุดอยู่แค่นั้น แล้วก็จบ ก็ต้องศึกษาต่อไปเพราะเป็นข้อศึกษาทั้งนั้น
นี่ก็เป็นตัวอย่างโยมขอศีลพระก็สิกขาบทให้ ไปปฏิบัติเองแล้วโยมก็มีศีลเอง แล้วพระก็สรุปท้ายบอกว่า อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ โยมจะเห็นเลยว่าพระสรุป จะบอกว่านี้คือสิกขาบทหรือข้อฝึกทั้ง 5 จบแล้วพระจึงจะบอกว่าอานิสงส์ สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสทะเย ก็บอกว่าด้วยศีลหมายความว่าโยมไปปฏิบัติแล้ว โยมก็เกิดมีศีลขึ้นในตัวเอง ด้วยศีลที่โยมมีขึ้นมานั้นนะก็จะนำไปสู่สุขคติ แล้วก็โภคะสัมปะทา ช่วยให้เกิดความพรั้งพร้อมสมบูรณ์ของโภคะ แล้วก็มาสุดท้ายก็ นิพพุติง ยันติ ก็นำไปสู่พระนิพพานด้วย หมายความว่าไปประกอบกับข้อปฏิบัติอื่น ๆ อันนี้ก็เป็นเรื่องของศีล นี้เป็นตัวอย่าง ทีนี้เรามีข้อปฏิบัติครบชุด เราเรียกว่า ไตรสิกขา มี ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งหมดนี้ก็เช่นเดียวกัน โยมไปขอสมาธิ พระก็ว่าสมาธิชั้นให้ไม่ได้ โยมต้องปฏิบัติเองแต่ชั้นบอกหลักการวิธีการข้อปฏิบัติให้ได้ เมื่อโยมตกลงแล้วโยมก็ไปปฏิบัติ เพราะฉะนั้นเวลาโยมขอสมาธิ พระก็บอกกรรมฐานให้ กรรมฐานก็คือ ข้อปฏิบัติในการที่จะไปฝึกให้เกิดสมาธิ โยมต้องไปปฏิบัติสมาธิเอง แล้วโยมขอปัญญา พระก็บอกสุตตะให้ สุตตะก็คือ ข้อมูล ข้อรู้ ข้อคิด และหลักการวิธีการในการที่จะพัฒนา เช่น วิธีคิด แล้วโยมก็ไปคบคิด เป็นต้น ในเรื่องของข้อมูลที่ท่านเรียกว่า สุตตะ นั้น แล้วโยมก็เกิดปัญญาขึ้นกับตนเอง เป็นอันว่าศีล สมาธิ ปัญญานี้ให้กันไม่ได้ เพราะงั้นจึงเป็นธรรมเนียมมาว่าพระนี่ก็แนะนำ สั่งสอนโยม ทั้งแนะนำว่า คือ อะไรเป็นอย่างไร ดีอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ถ้าไม่ทำแล้วมีโทษอย่างไร ถ้าทำแล้วจะดีงาม เป็นคุณ เป็นประโยชน์ทั้งแก่ชีวิตและสังคมอย่างไรก็บอกไปแหละ แต่ในที่สุดแล้วโยมเห็นด้วยแล้วโยมก็ถือปฏิบัติ อันนี้ก็เป็นหลักการทั้วไป หมายความว่า พระไม่ได้มาบังคับ ไม่ได้มาแม้แต่ว่าเรียกร้องโยม แต่ก็ไม่ได้นิ่งเฉย ไม่ได้ปล่อยปะละเลย ก็ทำหน้าที่เต็มที่ แต่ในที่สุดนั้นก็เป็นกัลยาณมิตรให้ นี่ก็เช่นเดียวกันเรื่องของหลักชาวพุทธ หลักชาวพุทธนี้ก็จะเน้นหลักเบื้องต้นในด้านธรรมะ เช่น ศรัทธา แต่ว่าลงมาสู่ปฏิบัติการก็เป็นเรื่องของวินัยนั่นเอง วินัยก็จัดตั้งเป็นระบบ เป็นข้อปฏิบัติขึ้นมาแล้วแต่เราจะตกลงกัน โดยมีสาระที่เป็นธรรมะอยู่ในนั้นว่าเราต้องการ ธรรมะอะไรเราจึงวางข้อปฏิบัติวินัยอันนี้ขึ้นมาให้นำไปสู่ธรรมะนั้น หรือว่าให้เป็นเครื่องที่จะมั่นใจว่าจะมีการปฏิบัติ เราก็มีหลักชาวพุทธนี้ขึ้น เมื่อได้ยินว่าโยมจะตั้งใจปฏิบัติ แล้วอาตมาภาพคอยเป็นฝ่ายฟังโยมว่า โยมมีความตั้งใจว่าจะปฏิบัติกันยังไง จริงจังแค่ไหน แล้วก็ต้องคอยนึกว่า เอ้ แล้วจะปฏิบัติกันไปได้ดีแค่ไหน จริงจังมั่นคง อันนี้ก็อยู่ที่ว่า หลักชาวพุทธก็อยู่ในส่วนที่ว่า ส่วนมากที่เป็นวินัย วินัยนี้อย่างที่บอกแล้วว่าเป็นสิ่งจัดตั้ง เป็นข้อจัดตั้งของเรา ซึ่งเรามองเห็นว่าธรรมะนั้นดี แล้วเราจะทำยังไงให้ธรรมะนั้นเกิดขึ้น เราก็จัดตั้งสิ่งที่เรียกว่าวินัยขึ้นมา เป็นข้อปฏิบัติที่มนุษย์จัดวางขึ้นมา นี้ตอนที่มนุษย์จัดวางวินัยตอนนี้เรามาจัดวางกันขึ้นใหม่หรืออะไรอยู่บนฐานเดิมนั้นเอง ก็มานึกในแง่ว่า เราต้องการให้เกิดผลจริงจังแล้วก็กว้างขวางด้วยทั่วไปในหมู่ชาวพุทธ ก็เลยต้องมานึกทั้ง 2 ด้าน ก็คือ
1. ก็คือข้อปฏิบัตินั้น ปฏิบัติได้จริง อันนี้สำคัญมาก
2. ก็คือคนที่ปฏิบัติ จริงจังในการปฏิบัติ
ถ้าได้ 2 ด้านมารวมกันก็ไปได้ ถ้าข้อปฏิบัตินั้นปฏิบัติไม่ได้จริง มันก็จะไปเกิดความติดขัด เกิดปัญหาทีหลัง ฉะนั้นก็ต้องช่วยกันให้เกิดความมั่นใจอันนี้ แล้วก็ 2 พอข้อปฏิบัตนั้นเป็นข้อปฏิบัติที่ทำได้จริง อันนี้เราก็ต้องหาคนที่เอาจริง คนที่ตั้งใจจริง เอาจริงเอาจังในการปฏิบัติ ถ้าขั้นที่ 1 ผ่านก็มาถึงขั้นที่ 2
ซึ่งอาตมาภาพก็มานึกในแง่ที่ว่า ถ้าเราจะเริ่ม เกิดโยมคิดว่าจะเอาจริงเอาจังแล้วนะ จะทำให้เกิดผลนี่ในวงกว้างออกไป ตอนนี้เราต้องยอมรับว่าในวงการชาวพุทธนี่ย่อหย่อนมาก โยมจะยอมรับหรือไม่ แต่อาตมาภาพมองว่าอย่างนั้น ย่อหย่อนกันเหลือเกิน เมื่อย่อหย่อนกันอย่างนี้แล้วนี่เราต้องมีคนจริงเป็นตัวอย่าง เด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น เข้มแข้งมั่นคง พอเอาจริงเอาจังแล้วก็
1. ก็ตัวคนปฏิบัติไม่ถอยเดินหน้าตั้งมั่น ไม่คลอนแคลน ไม่ง่อนแง่น
2. เมื่อตนเองปฏิบัติได้จริงจังมั่นคงแล้ว ก็จะเป็นแบบอย่างและเป็นเครื่องกระตุ้นเตือน ชักนำให้คนอื่นพลอยโน้มจิตใจสนใจขึ้นมา มีกำลังใจขึ้นมา มีความใฝ่ปรารถนา มีฉันทะที่จะปฏิบัติด้วย ถ้าอย่างนี้ก็จะขยายวงกว้างออกไป เพราะอย่างนี้อาตมาภาพมองว่าการเริ่มต้นนี้สำคัญ เมื่อได้ยินว่าโยมเริ่มต้นกันแล้ว พลอยอนุโมทนาอย่างที่กล่าวแล้ว แสดงว่ามีท่านที่มีความคิด มีความดำริ มีความตั้งใจ มีฉันทะที่จริงจังเข้มแข็ง แต่นี้ว่าอย่างที่ว่าเราก็ควรจะมองให้รอบด้านอย่างที่ว่า อาตมาภาพก็ทวนอีกทีหนึ่งว่า 1. โยมมั่นใจใช่ไหมว่าข้อปฏิบัตินี้ปฏิบัติได้จริง 2. แล้วผู้ปฏิบัติมั่นใจตัวเองว่าเอาจริง ทำจริงจัง ไม่ถอยหละ เดินหน้าเด็ดเดี่ยวมั่นคง ถ้าอย่างนี้ก็สบายใจได้ นีวันนี้ก็เหมือนว่าอาตมาภาพกลับกลายเป็นฝ่ายฟังนะเพราะว่าหลักชาวพุทธนี้ก็ปรากฏณ์ออกมาแล้ว ที่จะปรากฏณ์ออกมาแล้วก็โดยปรึกษาหารือทั้งพระทั้งโยม อือ อย่างนี้ปฏิบัติได้ไหม ดีไหมเหมาะกับชีวิตสังคมปัจจุบันไหม อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ นี้ก็พอจะมาออกสู่สังคมกว้างขึ้นไปจริง ๆ ก็เลยได้ยินแล้วก็อยากจะฟังอยู่ ว่าได้คิดกันมายังไงแล้วก็ได้มาทบทวนกันอีกทีด้วย เจริญพร