แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
บอกไว้ว่าจะพูดเรื่องสันโดษเพราะว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องตัณหาเรื่องฉันทะที่พูดไปแล้ว แต่ว่าเรื่องสันโดษเคยพูดแทรกมาบ้างตอนพูดเรื่องการใช้ชีวิตพระ เพราะว่าสันโดษนั้นเป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นพิเศษกับพระภิกษุสงฆ์ซึ่งมีชีวิตที่เน้นในเรื่องของภาคจิตใจ นามธรรม และนอกจากนั้น ชีวิตด้านวัตถุยังไปฝากไว้กับชาวบ้านอีกด้วย ทีนี้เรามาดูเรื่องสันโดษในแง่ที่มาสัมพันธ์กับยุคสมัย เมื่อคืนนี้ได้ปรารภเรื่องที่ว่าเมื่อเริ่มยุคพัฒนาในประเทศไทย พ.ศ. 2500 เศษๆ ประมาณ 2503 ทางรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีได้มีสาสน์ไปถึงที่ประชุมพระคณาธิการทั่วประเทศว่าประเทศชาติกำลังพัฒนา ต้องการจะสร้างสรรค์ให้มีความเจริญ ก็ขอให้งดสอนหลักธรรมเช่นเรื่องสันโดษนี้ เพราะจะทำให้คนเนี่ย เป็นทำนองว่าก็ไม่อยากได้อยากดีอะไร ทำให้อยู่กันไปตามที่เป็นอย่างเคย เป็นยังไงก็อยู่อย่างนั้น ก็จะทำให้ไม่ขยันทำการทำงานและก็ไม่ช่วยกันสร้างอะไรต่ออะไรให้เพิ่มพูน ประเทศชาติก็จะไม่เจริญ ทีนี้ดูว่ามันเป็นอย่างไร ปัญหามันที่จริงก็จะไปว่าทางบ้านเมืองอย่างเดียวก็คงไม่ถูก บ้านเมืองเค้าก็ว่าไปตามความเข้าใจของคนในสังคมไทยเอง ซึ่งจำนวนมากทีเดียวก็เห็นอย่างนั้น คือมองไปว่า เออถ้าคนสันโดษแล้วนี่ ก็ไม่อยากได้อยากดีอะไร สันโดษนั้นความหมายก็จะเป็นว่ามีอย่างไรก็พอใจอย่างนั้น พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ทีนี้ถ้ามันด้วนแค่นี้มันก็อาจจะตีความผิด เข้าใจพลาดได้ ทีนี้ว่า สำหรับทางฝ่ายบ้านเมืองก็มองไปว่าถ้าหากว่าคนจะมีความขยันหมั่นเพียรหาเงินหาทองให้มากแล้ว ประเทศชาติก็จะเจริญ ก็คิดว่าต้องให้คนโลภเยอะๆ อยากมีกินมีใช้เยอะๆ มีของฟุ่มเฟือยมากๆ ทีนี้ถ้าไปพอใจตามที่มีที่เป็นอยู่ก็ไม่อยากได้วัตถุเหล่านี้ มันก็ไม่ทำการทำงานไม่หาเงินหาทอง พัฒนาไม่ได้ แต่คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยก็มองเห็นในทำนองนี้เหมือนกัน ก็นึกว่าธรรมะเรื่องสันโดษนี้ขัดขวางความเจริญทำให้ประเทศชาติไม่พัฒนา ทีนี้พฤติกรรมของชาวพุทธและเรื่องความเข้าใจเองด้วยก็อาจมีการพลาด ไม่ใช่อาจจะ มันก็ต้องพลาดด้วย คือว่าคนไทยชาวพุทธจำนวนมากก็เข้าใจว่าก็สันโดษก็อย่างนั้นแหละ พอใจตามที่มีที่เป็น ก็ไม่อยากได้อะไร ก็ยังแถมเข้าใจไปว่าโอ้คนมีความสุข ถ้าคนมีสันโดษก็จะได้มีความสุข มีความสุขกับของที่มี เมื่อมีความสุขแล้ว ก็ไม่ดิ้นรนขวนขวาย ทีนี้พฤติกรรมมันก็ชวนไปในทางที่ โอ้มีความสันโดษมีวัตถุอย่างไรก็อยู่เท่านั้น ก็อยู่สบายมีความสุขแล้ว ไม่ขวนขวายหา ลักษณะอย่างนี้มันก็ชวนให้คล้ายกับคนขี้เกียจเหมือนกัน อันนั้นมันก็ไม่สร้างสรรค์เหมือนกัน ทีนี้คนไทยเองก็ ชาวพุทธเองนี้แหละเข้าใจความหมายของสันโดษก็ไม่ถูกต้องเหมือนกัน ก็ทำให้คนภายนอกที่ไม่ค่อยใกล้ชิดหรือเพ่งมองชาวพุทธอยู่แล้ว ก็เลยมองเป็นว่าสันโดษนี่ทำให้ชาวพุทธนี่เป็นคนที่ไม่ขวนขวาย ไม่สร้างสรรค์ ไม่เพียรพยายาม ไปจนกระทั่งถึงเป็นคนขี้เกียจเลย ก็มีแง่มุมที่ทำให้เค้ามองในแง่นั้นได้เหมือนกัน ก็ต้องโทษทั้งสองฝ่ายว่า ฝ่ายบ้านเมืองนั้นในฐานะเป็นผู้ใหญ่เป็นผู้รับผิดชอบจัดการ ว่าที่จริงก็ต้องศึกษาเรื่องสันโดษให้เข้าใจชัด ในขณะที่ประชาชนไม่เข้าใจ ไม่รู้แท้จริงเนี่ย ก็ผู้นำก็ต้องศึกษาให้ชัดแล้วก็เอาสันโดษที่ถูกต้องมาสอนประชาชนเช่นเดียวกัน แต่นี่กลายเป็นว่าผู้นำก็ไม่เข้าใจ ก็เป็นเหมือนชาวบ้านก็เข้าใจเท่ากัน ก็เหมือนกับทางฝ่ายวิชาการก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องติเตียนการศึกษาทางฝ่ายสังคมวิทยาด้วย สังคมวิทยาในเมืองไทยเราก็ตามแบบตะวันตก ในหมู่สังคมวิทยาก็จะเข้าใจพวกคำสอนทางพุทธศาสนาเนี่ย โดยแยกไม่ออกระหว่างความเข้าใจและความเชื่อที่เป็นความเชื่อทางพุทธศาสนา ตามความประพฤติปฏิบัติและความเข้าใจของชาวบ้านอย่างหนึ่ง และพุทธศาสนาที่เป็นหลักการที่แท้อย่างหนึ่ง ทีนี้พวกนักสังคมวิทยาเวลาศึกษาพุทธศาสนา แกแยกไม่ออก แกไม่แยก แกก็จะเอาพุทธศาสนาตามที่ชาวบ้านเค้าเชื่อและปฏิบัติ คือนึกว่าที่ชาวบ้านเค้าเชื่อและปฏิบัติคือพุทธศาสนาหรือว่าสิ่งที่ชาวบ้านซึ่งเชื่อว่าเป็นชาวพุทธเชื่อถือปฏิบัติอย่างไรนั่นคือพุทธศาสนา เมื่อแกเข้าใจอย่างนี้ แกก็ได้แค่นี้ แกก็ช่วยสังคมไม่ค่อยได้ แทนที่จะช่วยบริการ สร้างปัญญาให้แก่สังคมโดยที่เออชาวบ้านนี่นะได้เข้าใจพุทธศาสนาไม่ถูกต้อง ปฏิบัติไม่ถูกต้อง แล้วเราก็แยกให้เห็นว่าพุทธศาสนาที่แท้ หลักการที่แท้สอนอย่างไร มันก็จะมาช่วยเหลือสังคม ในการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น แกก็ทำไม่ได้ แกก็ไปได้แค่อย่างฝรั่ง ฝรั่งก็มาศึกษาสังคมพุทธศาสนา ก็มีบางคนที่พยายามเข้าถึงตัวหลักการ แต่โดยมากก็ได้แค่แบบเดียวกัน ก็คือว่าคำว่าพุทธศาสนาของเขาก็คือ พุทธศาสนาตามความเชื่อละการปฏิบัติของชาวบ้าน ทีนี้พุทธศาสนานั้น ก็เคยพูดไปแล้วว่ามีลักษณะศาสนาแห่งปัญญา ไม่ใช่ศาสนาแห่งศรัทธา ฝรั่งเค้าเคยรู้จักแต่ศาสนาแห่งศรัทธา ศาสนาแห่งศรัทธาคือความเชื่อคือศาสนาที่เรียกว่าด็อคม่า (Dogma) ด็อคม่าก็คือข้อกำหนด ความเชื่อ และการประพฤติปฏิบัติที่ตายตัว ตื่นมา ต้องทำอย่างนั้น วันหนึ่งต้องกราบไหว้เท่านั้นหน อะไรต่างๆเหล่านี้ เชื่อต้องเชื่อพระเจ้าอะไรต่างๆ ตายตัว ถ้าไม่เชื่ออย่างนี้ก็ผิดเลย ความเชื่อตายตัว ข้อปฏิบัติตายตัว ศาสนาประเภทนี้ เราเคยพุดกันไปแล้วว่าทำให้ดำรงรักษาตัวได้มั่นคงเหมือนกัน เพราะว่าไม่ต้องถาม ไม่ต้องศึกษาแล้ว มาก็บอกปั๊บเลย เชื่อไงทำไง ก็จบ ทีนี้พุทธศาสนานี่ไม่มีด็อคม่า ไม่มีข้อกำหนดตายตัวเพราะให้อิสระเสรีทางปัญญาทางความคิด เพราะฉะนั้นก็ต้องศึกษาก่อน ศึกษาแล้วเข้าใจ รู้แล้วก็เอาสิ เมื่อคนเข้าใจแล้วก็ใช้วิจารณญานในการปฏิบัติ ศาสนาแบบนี้ต้องขึ้นกับการศึกษา ถ้าไม่มีการศึกษา ต่อไปก็เคลื่อนคลาดหมด ก็หลักธรรมในพุทธศาสนานี่จะเห็นได้ชัดเลยว่าเมื่อคนขาดการศึกษาแล้วก็ว่าตามกันไป พูดต่อๆกันไป เพราะว่าพูดต่อๆกันไปมันก็ชักขาดแหว่งนิดแหว่งหน่อยไปเรื่อยๆ บางทีตรงข้ามไปเลย เหมือนอย่างประชาธิปไตยในสังคมไทยเนี่ย ประชาธิปไตยนี่จะได้ของที่เป็นประโยชน์ที่แท้จริงก็ต้องมีการศึกษาใช่มั้ย ถ้าไม่มีการศึกษาก็เคลื่อนคลาดหมดเหมือนอย่างสมัยก่อนนี้ หลายสิบปีมาแล้ว ถามชาวบ้านว่าประชาธิปไตยคืออะไร ชาวบ้านก็ไม่รู้เรื่อง บอกว่านู่นน่ะที่อยู่ในพานรัฐธรรมนูญที่อนุสาวรีย์ตรงถนนราชดำเนิน นี่ประชาธิปไตย แสดงว่าแกไม่รู้เรื่องอะไรเลยใช่มั้ย เนี่ยประชาธิปไตยในความหมายของชาวบ้านไม่น้อยเลย คือว่าไม่รู้เรื่องเลย ปฏิวัติทำให้เกิดประชาธิปไตยก็ได้ นู่นแน่ะพานรัฐธรรมนูญที่อนุสาวรีย์ เพราะเอาไปตั้งเชิดชูบูชาไว้นี่ใช่มั้ย แสดงว่าสำคัญมาก ถึงเดี๋ยวนี้ก็เถอะมีชาวบ้านเท่าไหร่ที่เข้าใจประชาธิปไตย ก็จะมองว่าการเลือกตั้งนี่คือประชาธิปไตย การเลือกตั้งนี่เป็นไปเพื่ออะไร มันมีส่วนสำคัญในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างไร ก็ไม่ชัดไม่เจน ที่นี้ประชาธิปไตยที่แท้ก็ต้องอาศัยคนที่มีการศึกษา ในพุทธศาสนาก็เป็นศาสนาที่ให้คนใช้ปัญญา ให้มีเสรีภาพทางความคิด ในเมื่อไม่มีข้อกำหนดทางความเชื่อและข้อปฏิบัติแบบตายตัวเหมือนศาสนาอื่น ฉะนั้น ถ้าคนไม่มีการศึกษามันก็เคลื่อนคลาดไปเรื่อยๆ ทีนี้ก็เลยเป็นความจำเป็นสำหรับสาสนาแบบนี้ ผู้ศึกษาจะต้องแยกได้ระหว่างตัวหลักการที่แท้ของพุทธศาสนา ซึ่งเราจะอาศัยพุทธพจน์เท่าที่เราจะหาได้ ก็มีในพระไตรปิฎกนี่แหละเป็นแหล่งใหญ่สำหรับมาวินิจฉัยเป็นมาตรฐาน และอีกด้านหนึ่งก็คือพุทธศาสนาตามความเชื่อความเข้าใจของประชาชนชาวบ้าน และก็คอยปรับความเชื่อการปฏิบัติของชาวบ้านให้มาเข้ากับตัวหลักการที่แท้อยู่เสมอ ก็มีสิ่งที่เรียกว่าสังคายนาเป็นต้น คอยปรับความเชื่อการปฎิบัติให้เข้าหลักอยู่เรื่อยๆ แล้วก็ให้การศึกษาประชาชนตลอดเวลา ถ้าขาดอันนี้ปั๊บก็มีแต่ความเคลื่อนคลาดไป ทีนี้เรื่องสันโดษก็เช่นเดียวกัน มันก็เป็นเรื่องที่ว่ามีความเข้าใจเป็นพื้นพูดต่อๆกันมา ก็ได้บางส่วน ทีนี้ไอ้การที่ได้บางส่วน ก็ไม่สมบูรณ์ ความไม่สมบูรณ์ก็เป็นความผิดพลาดได้ในแง่หนึ่ง ทีนี้สันโดษนี่เป็นยังไง สันโดษนั้นเมื่อคนไทยว่าไอ้ความอยากนี่ไม่ถูกต้อง คนไทยมองว่าสำหรับชาวพุทธ ความอยากนี่ใช้ไม่ได้ ผิด ก็เข้าใจเป็นตัณหาไปหมด พอเข้าใจความอยากเป็นตัณหาไปหมดนี่ก็ทำให้เข้าใจสันโดษผิดด้วย เพราะว่าสันโดษนี้จะไปคุมด้านตัณหาแล้วมาเสริมเรื่องฉันทะ เมื่อไม่เข้าใจเรื่องฉันทะเลย ก็จบ ก็นึกว่าสันโดษมาคุมมาละมาลดตัณหา ก็ด้วนเลย ทีนี้ก็ขาด มันก็ไม่ไปต่อฉันทะแล้ว อ้าวทีนี้เป็นยังไงหล่ะ เรามาดูก่อน เริ่มตั้งแต่ว่าโดยทั่วไปแล้วพระพุทธเจ้าจะตรัสเรื่องสันโดษนี้แก่พระ ตามปกติจะไม่มีตรัสแก่คฤหัสถ์แก่ชาวบ้าน ตรัสแก่พระก็จะบอกว่าภิกษุสันโดษด้วยจีวร ด้วยบิณฑบาต ด้วยเสนาสนะ ตามมีตามได้ คือตามที่เป็นของตนตามที่ตนได้มา หมายความว่าภิกษุนี่ได้อาหารมาอย่างไรก็พอใจอย่างนั้น ได้บิณฑบาตได้จีวรอย่างไรก็ยินดีตามนั้น ทีนี้ขั้นต้น ความหมายก่อนก็คือว่าจุดที่สังเกตก็คือว่าพระพุทธเจ้าให้ภิกษุสันโดษกับพกปัจจัย 4 ซึ่งเป็นวัตถุสำหรับบริโภคเลี้ยงชีพ นี่ด้านหนึ่งแล้วที่ต้องสังเกต ถ้าพูดอย่างนี้ก็หมายความว่าไม่ได้ตรัสเลยเรื่องสันโดษในการทำกิจหน้าที่ ด้านการบำเพ็ญกรรมฐาน บำเพ็ญสมาธิ บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสให้พระสันโดษนะ สันโดษแต่ปัจจัย 4 หนึ่งละนะข้อสำคัญ ให้สันโดษในปัจจัย 4 ทีนี้ก็เมื่อสันโดษในปัจจัย 4 แล้ว ต่อไปในธรรมะชุดเดียวกันนั้น จะตรัสอะไรต่อด้วยหรือเปล่า ก็จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสต่อไปว่าพอสันโดษแล้วให้มีธรรมะต่างๆตามมาในบรรดาสิ่งที่ตามมาต่อจากสันโดษคือความเพียร อ้าวสันโดษแล้วทำไมในชุดเดียวกันต่อจากสันโดษจึงให้มีความเพียร เพียรในการทำกิจหน้าที่ของตัวใช่มั้ย ด้านกิจหน้าที่นี้ไม่ให้สันโดษ แล้วในธรรมะที่มาจำเพาะเลยชัดๆ ท่านเรียกว่าอริยะวงศ์ 4 อริยะวงศ์ 4 นี่ก็ หนึ่ง สันโดษด้วยจีวร สอง สันโดษด้วยบิณฑบาต สาม สันโดษด้วยเสนาสนะที่อยู่อาศัย และ สี่บอกว่ายินดี พอใจ ในการละอกุศลธรรมและก็พอใจในการเจริญกุศลธรรม นี่คือเป้าหมายเลย มีสันโดษใน 3 ข้อต้นก็เพื่อที่จะมาทำให้ข้อที่ 4 ได้ นี่เป็นความสัมพันธ์ แต่เป็นจุดสังเกตที่ว่าไม่ได้จบแค่สันโดษ มีเรื่องความเพียร เรื่องการทำหน้าที่ต่อมา แล้วมาสัมพันธ์กันในแง่ว่าสันโดษมาเป็นตัวหนุน มาเป็นตัวช่วยเอื้อโอกาสให้มาทำตัวสุดท้ายคือความเพียรพยายามในการทำกิจหน้าที่นี่ได้ผล ถ้าไม่สันโดษแล้วมันก็จะมาขัดขวาง ทำไมถ้าไม่สันโดษแล้วขัดขวางการทำหน้าที่ ภิกษุหน้าที่สำคัญก็คือการพัฒนาชีวิตในไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ทีนี้ถ้าภิกษุไม่สันโดษในปัจจัย 4 ก็มัวแต่จะหาจีวรสวยๆ อาหารอร่อยฉัน อยากจะมีมากๆ มีที่อยู่สบายที่สุดอะไรต่างๆ ขวนขวายแต่เรื่องวัตถุปัจจัย ทีนี้ใจก็ไม่อยู่กับหน้าที่การงาน ใจไม่อยู่เพราะคอยครุ่นคิด ทำอย่างไรจะได้จีวรสวยๆมาอย่างชนิดเนื้อดีที่สุด ราคาเป็นกี่พัน หรือว่าอาหารฉันอะไรต่ออะไร คิดแต่เรื่องอย่างนี้ ความครุ่นคิด ใจ ไปอยู่กับเรื่องการหาวัตถุเสพย์ ก็เป็นอันว่าไม่มีใจจะมาคิดเรื่องการพัฒนาในไตรสิกขาว่าเจริญศีล สมาธิ ปัญญา อย่างไร ไม่เอาแล้ว สอง เมื่อครุ่นคิดอย่างนั้นแล้ว ก็ใช้เวลาในการหาสิ่งนั้นๆ และใช้แรงงานไปในการหาสิ่งเหล่านั้น เวลาก็หมดไป แรงงานก็หมดไป ความคิดก็วุ่นวายอยู่กับเรื่องการหาเสพย์ หาวัตถุ หน้าที่ของตัวก็เสียหมดสิใช่มั้ย พูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา จะพูดในแง่ของศาสนกิจว่าเล่าเรียนปริยัตรและปฏิบัติตามคำสอนคือปริยัตรที่เล่าเรียนนั้น แล้วก็นำธรรมะไปเผยแผ่ ศาสนกิจหน้าที่ของพระสำคัญ สามอย่างนี้ มัวไปยุ่งกับการหาวัตถุเสพย์สำหรับตัวเองก็หมด งานเหล่านี้เสียหมด เพราะฉะนั้นก็คือว่าถ้าไม่สันโดษแล้ว เวลา แรงงาน และความคิด ก็จะหมดไปกับการหาวัตถุเสพย์ แล้วก็เลยไม่มีเวลา แรงงาน และความคิดที่จะมาใช้ในการทำศาสนกิจ ในการที่เจริญสมณะธรรมในการบำเพ็ญไตรสิกขาอย่างที่ว่า ก็เสียหมดใช่มั้ย ทีนี้นอกจากนั้นแล้ว ชีวิตของพระนี่ก็เป็นชีวิตที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับวัตถุอยู่แล้ว เป็นชีวิตที่พยายามสละมา จะไปแสวงหาเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้มันก็ตรงข้ามกับแนวทางของตน และนอกจากนั้นชีวิตของพระในทางวัตถุก็ไปฝากไว้กับชาวบ้าน โดยวินัยให้พึ่งชาวบ้าน ทีนี้เมื่อพระไม่สันโดษ คิดแต่จะหาวัตถุมันก็เบียดเบียนชาวบ้านสิ หาทางจะได้ ดีไม่ดีก็ไปหาในทางที่ไม่สมควร ไปหลอกลวงชาวบ้าน หรือไปหาทางที่จะล่อชาวบ้านให้มาให้ลาภสักการะแก่ตน ก็เรียกว่าเกิดเป็นมิจฉาชีพของพระขึ้นมา หาเลี้ยงชีพไม่สุจริต แล้วก็ทำให้เบียดเบียน เดือดร้อนชาวบ้าน ทำตนให้เลี้ยงยาก อย่างน้อยก็ทำให้ชาวบ้านลำบาก ดังนั้น ชีวิตของเราทางด้านวัตถุนี้ก็ฝากไว้กับชาวบ้าน ก็ทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย การสันโดษก็ช่วยให้ไม่ไปเบียดเบียนไม่ไปทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เขาถวายมา เขาศรัทธาเราก็ได้มาฉันพอให้มีชิวิตอยู่ และก็มาทำกิจหน้าที่ของตนเอง อันนี้พูดในแง่ของพระ ก็เป็นอันว่าสาระสำคัญก็คือว่าสันโดษนี้เป็นตัวเอื้อ มันช่วยให้เราสามารถสงวนเวลา แรงงาน และความคิดเอาไว้ สงวนเวลา แรงงานและความคิดเอาไว้เพื่อจะได้เอาเวลา แรงงาน และความคิดนั้นมาทุ่มเทให้แก่การทำกิจหน้าที่ของตนเอง พอพระสันโดษปั๊บ เวลา แรงงานและความคิดมีเยอะแยะแล้วทีนี้ ก็มาทำงานของตัวเอง จะเล่าเรียน จะปฏิบัติ จะเผยแผ่ธรรมก็ทำไปเต็มที่เลย ไม่ต้อมากังวล จิตใจก็ไม่ฟุ้งซ่านด้วย มีสมาธิมากขึ้น ใจแน่วแน่ในการทำกิจ บำเพ็ญไตรสิกขาก็เต็มที่ นี่ก็คือวัตถุประสงค์ของสันโดษ เราจะเห็นว่าสันโดษก็จะไปคุมตัณหา ตัณหาก็คือความอยากเสพ อยากเสพวัตถุ หาความสะดวกสบายปรนเปรอตัวเอง แล้วก็มาหนุนฉันทะ มาหนุนฉันทะยังไง ฉันทะก็คือความอยากให้มันดีที่พูดไปแล้ว อยากจะรู้ อยากจะสร้างสรรค์ อยากจะชีวิตตนเองเจริญงอกงามในไตรสิกขา อยากจะทำอะไรต่ออะไรให้บรรลุผลที่ดีงาม บรรลุแม้แต่นิพพาน ใช่มั้ย นี้ก็คือความอยากที่ดี เรียกว่าฉันทะ คืออยากเจริญงอกงามในธรรมะ เค้าเรียกว่าอยากในกุศลธรรมนั่นเอง พออยากในกุศลธรรมก็เป็นฉันทะไป ถ้าอยากในวัตถุเสพก็เป็นตัณหา ถ้าอยากในกุศลธรรมก็เป็นฉันทะ ทีนี้สันโดษก็มาคุมความอยากในวัตถุเสพลดลงไป แล้วก็ให้มาส่งเสริมเกื้อหนุนความอยากในกุศลธรรม ในแง่ของกุศลธรรมท่านให้เอาเต็มที่เลย ก็คือว่าพระพุทธเจ้าก็จะตรัสเรื่องว่าให้สันโดษในวัตถุเสพหรือปัจจัย 4 แล้วพร้อมกันนั้นพระองค์ก็บอกว่าให้ไม่สันโดษในกุศลธรรม อันนี้ก็คือหลักธรรมที่ชาวพุทธทั่วๆไปไม่ค่อยนึก พอสันโดษก็จบที่สันโดษ ที่จริงพระพุทธเจ้าให้ไม่สันโดษด้วย คู่กัน เพราะฉะนั้นต้องมีตัวต่อว่าให้สันโดษในอะไรให้ไม่สันโดษในอะไรไม่ใช่ไปทิ้งไว้ด้วนๆว่าสันโดษ เค้าบอกสันโดษในปัจจัย 4 หรือวัตถุเสพ และก็ต่อด้วยไม่สันโดษในกุศลธรรม ถ้าในกุศลธรรมแล้ว ไม่ให้สันโดษ ถ้าสันโดษในกุศลธรรม พอใจในสิ่งดีงาม กิจหน้าที่ที่ตัวได้ทำแล้วพอแล้ว ถ้าอย่างนี้เรียกว่าประมาทเลย ถ้าใครพอใจ มีสันโดษในกุศลธรรมผู้นั้นท่านเรียกว่าเป็นผู้ประมาท ผิดทันที ใช่มั้ย ถ้าในกุศลธรรมเป็นเรื่องที่ดีงามแล้ว ท่านไม่ให้สันโดษ ต้องก้าวหน้าต่อไปตลอดเลย ตราบใดยังไม่บรรลุจุดหมายสูงสุด ไม่ให้หยุด เพราะฉะนั้นก็ จะยกพุทธพจน์ที่ตรัสไว้อีกอันหนึ่งมาสนับสนุน พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรม เราสรรเสริญอย่างเดียวแต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย และอย่างธรรมบทก็มีคาถาที่บอกภิกษุจะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติ เป็นพหูสูต คงแก่เรียน มีความรู้ในธรรมวินัย เก่ง เชี่ยวชาญ หรือจะเป็นผู้ที่ได้สมาธิ ได้ฌานหรือได้มีความสุขในทางเนกขัมมะจากการอยู่ปลีกหลีกเร้นแล้ว อะไรต่างๆก็ตามเนี่ย ตราบใดที่ยังไม่สิ้นอาสวะ อย่าได้ถึงความนอนใจ วิสาสมาปาธิอัปปัตโตอโสขยัง (??????) คือถ้ายังไม่ถึงจุดหมายแล้วไม่ให้หยุด ไม่ให้นอนใจ ไม่ให้ไม่สันโดษ ในพระสูตรหนึ่งก็บอกว่าภิกษุได้บรรลุคุณวิเศษในระดับอริยบุคคลแล้วก็เกิดความพอใจสันโดษว่า โอ้ เราได้บรรลุธรรมพิเศษแล้ว พอสันโดษเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า เธอนี่เป็นประมาทวิหารี เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท ก็เป็นอันว่าถ้าสันโดษในกุศลธรรมเมื่อไหร่เรียกว่าประมาท ผิดทันที เนี่ยจับจุดอันนี้ให้ได้ ทีนี้ความสันโดษในวัตถุเสพก็มาหนุนความไม่สันโดษในกุศลธรรม ที่ว่าไปแล้ว ตัวเชื่อมก็คือว่ามันสงวนเวลา แรงงาน และ ความคิดเอาไว้ ก็เลยกลายเป็นตัวเอื้อโอกาสแก่การทำกิจหน้าที่ของตนเอง อันนี้ได้หลักการแล้ว ทีนี้ มีข้อสังเกตอีกก็คือว่า คนจำนวนมากไปเข้าใจว่าโอ้สันโดษแล้วจะได้มีความสุข อันนี้เป็นการจับที่ผิดมาก นึกว่าสันโดษแล้วจะได้มีความสุข มันก็ถูกอยู่ คือคนสันโดษนั้นก็ทำให้ป็นคนสุขง่ายด้วยวัตถุน้อย ได้อะไรมาเป็นของตนมีแค่ไหนก็พอใจ เมื่อพอใจก็มีความสุขใช่มั้ย แต่ความสุขมันไม่ใช่ที่ดีที่ชั่วหนิ ความสุขนี่ไม่ใช่สิ่งดีสิ่งชั่วในตัวมันเอง ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติธรรม เป็นเพียงวัตถุประสงค์พลอยได้ เป็นผลพลอยได้ในการปฏิบัติ ดังนั้นมันไม่ใช่วัตถุประสงค์ของความสันโดษ จุดพลาดคือไปเข้าใจว่าสันโดษคือความสุข ก็เอาความสุขเป็นวัตถุประสงค์ของสันโดษไป เราพูดได้เลยว่าความสุขเป็นเพียงผลพลอยได้ของสันโดษ แล้วมันเป็นตัวหนุนทำให้เราสามารถมาระดมกำลัง ใช้แรงงานความคิดในการทำกิจหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น เพราะว่าถ้าเรายังไม่มีความสุขกับวัตถุเนี่ย จิตใจเราว้าวุ่นใช่มั้ย ว้าวุ่นมันก็ไม่เป็นอันมาทำกิจหน้าที่สิ จะมาบำเพ็ญไตรสิกขา ใจก็ไปห่วงวุ่นวาย ตัวเองไม่มีความสุข ร้อนรนกระวนกระวาย มันก็ปฏิบัติไม่ได้ผล ทีนี้พอมีความสุขกับวัตถุแล้ว มันก็สงบ แล้วมาเกื้อหนุนให้ปฏิบัติกิจหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ใจก็จะมาอยู่กับงานกับการ แล้วมีความสุขจากงานได้ด้วย ทีนี้คนบางคนเข้าใจไปว่าสันโดษเพื่อสุข แล้วมันจริงอย่างนั้นด้วย พอสันโดษปั๊บ ได้วัตถุมาเท่าไหร่ก็พอใจเท่านั่น ก็มีความสุข แต่ว่ามันด้วน เพราะว่ามันไม่ไปรับกัน มันไม่ไปส่งต่อว่าจะเจริญก้าวหน้าต่อไปในการปฏิบัติธรรมอย่างไร ใช่มั้ย พอมันด้วนอย่างนี้ สันโดษก็ขาดลอย วัตถุประสงค์มาอยู่แค่สันโดษ ก็สันโดษแล้วสุข สุขก็นอนเลย ถ้าอย่างนี้สันโดษก็ส่งเสริมความขี้เกียจ ถูกอย่างเขาว่า แล้วมันก็สันโดษนี่มันก็ส่งเสริมตัณหา เพราะว่าสันโดษแล้วเป็นไง จะได้สุข พอใจในความสุข อยากได้ความสุขอย่างนั้น ตัณหาน่ะไม่ใช่ดีนะ ขี้เกียจก็คือตัณหานะแหละ คนเรานี่ตัณหามันทำให้ร้อนรนกระวนกระวาย วิ่งทะยาน พล่านไปอย่างหนึ่ง แล้วอีกอย่างหนึ่งก็ทำให้ขี้เกียจ ตัณหานี่ทำให้มี 2 แบบ ตัณหาแบบพล่าน กับตัณหาแบบขี้เกียจ มันสบาย มันติดในความสุข มันไม่อยากทำอะไร อยากจะเสพย์มันก็มีเสพย์ มันสบาย แล้วก็นอนเสพย์สบาย ขี้เกียจ อีกอย่างก็คือพล่านมันยังไม่ได้ ก็พล่านหาเสพย์ ทีนี้ ทำอะไรมันก็ทุกข์ใช่มั้ย มันเป็นเงื่อนไข จิตใจมันก็ไม่สบาย เพราะฉะนั้น ตัณหานี่กลายเป็นว่าขี้เกียจก็ตัณหา พล่านไปก็ตัณหาเหมือนกัน ตัณหาทั้งคู่ ฉะนั้น คนที่สันโดษเพื่อความสุข ก็เป็นสันโดษเพื่อตัณหา ไม่ใช่เป็นธรรมะที่แท้จริง ไม่ถูกต้อง ทีนี้ คนไทยเมื่อไม่เข้าใจเรื่องฉันทะ ก็เลยต่อไม่ได้ ก็เอาสันโดษมา นึกว่าข่มตัณหา ไม่อยากได้วัตถุมากมาย แต่กลายเป็นว่าพอสบายก็สุขดี เลยติดสุขอีก ก็เลยลุ่มหลงในความสุขนั้นได้ เพลินๆ อย่างน้อยก็เป็นโมหะไป อันนี้ก็ว่าซะรุนแรงนะ ก็เป็นอันว่าไม่ดี ผิดนั่นแหละ ก็สันโดษนี้ด้วน ก็เป็นเหตุให้เขาว่าได้ ดังนั้นชาวพุทธก็ต้องยอมรับตัวเองว่าปฏิบัติกันไม่ถูกต้อง หนึ่งแล้วนะไปเข้าใจว่าสันโดษคือความสุข ความสุขเป็นวัตถุประสงค์ของสันโดษ ต้องเข้าใจว่าสันโดษเป็นเพียงผลพ่วงมา เมื่อสันโดษแล้วมันก็สุขมาเอง ไม่ต้องไปคิด ไม่ต้องไปพยายาม มันได้มาเอง พอสันโดษปั๊บ สุขในตัว หมายความว่าสุขจากวัตถุมันได้มาทันที เมื่อเราสันโดษ มันพอใจเท่านั้น แต่ทีนี้ไอ้สุขตัวนี้มันก็ทำให้ตัดความกระวนกระวายด้านวัตถุ มันตัดถูก แล้วก็มาส่งต่อให้ฉันทะไปทำกิจหน้าที่ ปรารถนาที่จะทำสิ่งที่ดีงามต่อไป มันจึงจะรับกัน แล้วก็เลยต่อด้วยไม่สันโดษ พอไม่สันโดษในกุศลธรรมก็คือฉันทะมาแล้ว ฉะนั้น สันโดษในวัตถุเสพย์ก็มารับกันกับไม่สันโดษในกุศลธรรม คุมตัณหาปั๊บ ฉันทะก็มาต่อ สันโดษก็สำเร็จความมุ่งหมาย แล้วก็เป็นไปตามหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา ก็คือว่าธรรมมะต่างๆในพระพุทธศสานานี้อยู่ในระบบไตรสิกขา อันนี้ไม่มีใครปฏิเสธได้ เมื่ออยู่ในระบบไตรสิกขา อยู่ในระบบของการฝึกฝนพัฒนามนุษย์ให้ก้าวต่อไปสู่จุดหมายสูงสุดชีวิตที่ดีงาม พ้นจากความทุกข์ ตราบใดที่ยังไม่ถึงจุดหมายนี้ หยุดไม่ได้ อย่างที่ว่าไปแล้ว ทีนี้ธรรมะทุกข้อนี้อยู่ในระบบไตรสิกขาอยู่ในกระบวนปฏิบัติก้าวไป ในเมื่อมันอยู่ในกระบวนการที่จะก้าวไปในไตรสิกขา ในการฝึกฝนพัฒนาตัว ธรรมะแต่ละข้อจะต้องมีความสัมพันธ์กับข้ออื่น โดยส่งผลต่อกันอย่างไร ไม่ใช่ด้วนๆ ไม่ใช่มีความหมายเฉพาะตัวมันแล้วก็จบ ถ้าธรรมะมีความหมายเฉพาะตัว ข้อไหนข้อนั้น ก็แสดงว่ามันไม่สัมพันธ์ในระบบ มันไม่อยู่ในกระบวนการของไตรสิกขา แสดงว่าไม่ถูก หรือเข้าใจไม่ครบ เพราะฉะนั้นมันจะต้องต่อได้ว่าข้อปฏิบัติข้อนี้ธรรมะข้อนี้มันส่งผลต่อกันอย่างไรให้เราคืบหน้าไปในไตรสิกขา เพราะฉะนั้น เราต้องดูว่าสันโดษนี่มันส่งผลต่ออย่างไร ถ้าอย่างนี้ชัดแล้วใช่มั้ย พอสันโดษปั๊บ สงวนเวลา แรงงาน และความคิดไว้ แล้วเอาเวลา แรงงานและความคิดไปใช้ในการบำเพ็ญกุศลธรรม ทำสิ่งที่ดีงามต่อได้แล้ว อย่างนี้ต่อในไตรสิกขาได้เลย มันก็หนุนๆกันไปต่อกับไม่สันโดษในกุศลธรรมก็ได้ ต่อกับความเพียรก็ได้ ไปได้หมด เป็นตัวเอื้อโอกาสนั่นเอง ก็เป็นธรรมะเบื้องต้นไนระดับการสร้างโอกาสในการที่จะเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติหรือในการดำเนินชีวิตที่ดีหรือในการศึกษานั่นเอง นี่ก็คือหลักการของไตรสิกขาที่ใช้ได้ทั่วไป เช่นเรื่องสมาธิก็เช่นเดียวกัน ทไมสมาธิในที่ที่ผิด สมาธิผิดเพราะอะไร เพราะว่าไปกล่อม ไปกล่อมก็จบในตัวเอง ได้ความสุขแล้วหยุด ทีนี้สมาธิที่ถูกต้องอยู่ในไตรสิกขา มันต้องส่งผลต่อสมาธิเป็นตัวเอื้อให้แก่อะไร เช่น ทำจิตเหมาะพร้อมที่จะทำงาน และเอาจิตนี้ไปทำงานในการใช้ปัญญา สมาธิก็ส่งผลต่อปัญญา อย่างนี้เรียกว่าปฏิบัติถูก เพราะว่ามันมีการส่งผลต่อกันในระบบไตรสิกขาให้ก้าวหน้าไปได้ ไม่ใช่ทำให้หยุด และธรรมะข้อไหนยังอยู่ระหว่างปฏิบัติและทำให้หยุด ด้วนเลย แสดงว่าพลาดแล้ว นี่ก็เป็นหลักวินิจฉัยทั่วไปที่ใช้ได้ในข้ออื่นๆด้วย ไม่เฉพาะข้อไตรสิกขา ก็คิดว่าหลักการนี่ได้แล้วนะ ทีนี้เมื่อคนมีฉันทะอยากทำสิ่งที่ดีงามที่เราพูดไปแล้ว ก็เป็นอันว่าไม่มีปัญหา การพัฒนาสร้างสรรค์ก็ต้องอาศัยแบบนี้แหละ ถ้าไปอาศัยตัณหาก็พลาดเลย คนเราก็อยากจะได้วัตถุเสพย์ แย่งชิงกันแล้วไม่อยากทำการทำงาน สังคมก็ปั่นป่วน เรรวน แล้วก็ผุโทรมไปหมด มาดูในแง่ของพระสงฆ์บ้าง และของชาวบ้านบ้าง คฤหัสถ์นะ คฤหัสถ์นี่ เราเอาคติเรื่องสันโดษมาใช้ได้ เพราะว่าสาระสำคัญมันอยู่ที่ว่า หนึ่ง สันโดษในวัตถุเสพย์ และไม่สันโดษในกุศลธรรม สอง สันโดษเพื่อสงวน ออมเวลา แรงงาน และความคิด และเอาเวลา แรงงาน และความคิดนั้นไปทุ่มเทให้กับการทำสิ่งที่ดีงาม แค่นี้ใช้ได้แล้ว ผลพลอยได้ก็คือคนสันโดษก็มีความสุขง่ายในวัตถุน้อย เมื่อสุขง่ายในวัตถุน้อยก็ไปหนุนอีกว่าทำให้ไม่มัวเมาฟุ้งซ่าน จิตใจไม่มาว้าวุ่นกับการหาความสุขทางวัตถุ พอมันพอแล้ว มันก็ไปตั้งใจแล้วก็มีความสุขในการทำงาน ทีนี้มาดูคนที่ไม่สันโดษจะเกิดผลอะไรบ้าง คนไม่สันโดษก็คือคนที่ไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่แล้ว ความสุขไปอยู่กับสิ่งที่ยังไม่มี ไม่ได้ เมื่อความสุขไปอยู่กับสิ่งที่ยังไม่มี ไม่ได้ แกพล่าน แกจะหาสิ่งที่ยังไม่มี สิ่งที่มีแล้วนี่ แกไม่มีความสุข เมื่อแกไม่สามารถหาความสุขกับสิ่งที่มี แกไปฝากความสุขกับสิ่งที่ยังไม่ได้ แกก็ไม่ถึงความสุขนั้นซักที คนไม่สันโดษ หนึ่ง ความสุขจากวัตถุก็ยังไม่ได้ เพราะว่ามันไปอยู่กับสิ่งที่ยังไม่มี ยังไม่ได้ ความสุขจากวัตถุยังไม่ได้ หนึ่งแล้วนะ สอง แกก็ต้องเอาเวลา แรงงาน และความคิดไปทุ่มเทให้แก่การหาสิ่งเสพย์ เมื่ออย่างนี้ แกก็อาจจะเบียดบังเวลา สมมติว่าแกมีกิจมีหน้าที่ที่จะต้องทำอะไรเนี่ย แกก็ไม่เป็นอันทำแล้ว ใจก็ไม่อยู่กับงานการหน้าที่แล้ว แกก็ไปอยู่กับว่าจะหาสิ่งเสพย์อย่างไร แกก็อาจจะเบียดบังเวลา แรงงานออกไป ทุจริต ทีนี้บางทีก็ไม่ได้เบียดบังเฉพาะเวลาและแรงงานด้วย บางทีว่าสิ่งเสพย์นั้นต้องซื้อมา หามาด้วยเงิน เงินไม่พออีก ก็เบียดบัง อาจจะทุจริตเรื่องเงินเรื่องทองอีก ทุจริตวิ่งราวทรัพย์ไปหาสิ่งเสพย์ ทุจริตหนุนโลภะเข้าไป สาม ก็คือว่าเพราะตวามสุขแกยึดอยู่กับวัตถุที่ยังไม่ได้ ไอ้ทีการงานนี่ทำให้แกต้องขาดความสุขที่แกต้องการ เพราะฉะนั้นการทำงานคือความเดือดร้อนเป็นทุกข์ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นคนไม่สันโดษนี่จะทำงานด้วยความทุกข์เป็นอย่างยิ่ง ทรมานใจเวลาทำงาน ไม่ตั้งใจทำงาน งานก็เสียอีก เสียไปหมดเลย ชีวิตตัวเองก็ไม่มีความสุข มีผลเสียต่อสังคม งานการเสียหมด ไม่ตั้งใจทำงานทำการ ทีนี้เราไปดูคนที่สันโดษ คนสันโดษก็ตรงข้าม หนึ่ง ความสุขจากวัตถุก็ได้แล้ว เพราะว่าได้เท่าไหร่ก็ยินดีพอใจเท่านั้น สุขจากวัตถุได้แล้ว สอง แกก็มีความสุจริตได้ง่าย รักษาความสุจริตได้ง่าย เพราะว่าแกไม่ต้องเบียดบังเวลา แรงงาน และความคิด และเงินทองที่จะเอาไปหาสิ่งเสพย์ ทีนี้ แกก็ตั้งใจทำงาน มีความรักงาน ใจมันอยากจะให้งานมันสำเร็จ ไม่มีความห่วงด้านวัตถุเสพย์เข้ามากีดขวาง แกก็อยากจะทำงานให้ได้ผล ใจอยู่กับงาน รักงาน พอรักงานก็คือรักในกุศลธรรม รักในความดีงาม มีฉันทะ แกก็ทำงานด้วยความสุข แกได้ความสุขจากการทำงานอีก แล้วผลที่เกิดแก่สังคมก็คือสี่ สังคมก็ได้ประโยชน์ไปด้วย ได้ทั้งการเบียดเบียนกันน้อยลง ทั้งในแง่งานที่สร้างสรรค์สังคม ฉะนั้น ตามกิจหน้าที่ก็ได้ด้วย ตกลงได้ประโยชน์สี่อย่างเลย สุขของตัวเองก็ได้ ทั้งสุขจากวัตถุก็ได้แล้ว สุขจากการงานก็ได้อีก ได้ซ้ำสอง ไอ้เจ้าคนไม่สันโดษนี่ สุขจากวัตถุไม่ได้ และยังทุกข์จากการทำงานอีก เสียทั้งคู่ ตกลงว่าสันโดษถ้าใช้อย่างถูกต้องแล้วเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นฐานสำคัญของการพัฒนา ก็เห็นจะพอสมควรนะ ก็เป็นอันว่านี่แหละ ต้องเข้าใจธรรมะให้มันมีความสัมพันธ์ในระบบการเป็นไตรสิกขาอย่างถูกต้อง ฉะนั้นจึงได้พูกบอกว่านี่มันก็เป็นความผิดพลาดทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้บริหารประเทศก็ไม่เข้าใจว่าไปตามชาวบ้านถือสืบกันมา ชาวพุทธเองก็ไม่เข้าใจเองด้วย ทำให้คนอื่นเขามองผิดพลาด ฉะนั้น ก็ต้องปฏิบัติธรรมให้มันครบแง่มุมของมันด้วย ต่อให้ได้ว่าธรรมะแต่ละข้อโยงไปข้ออื่นอย่างไร จุดนี้สำคัญนะ อย่าไปเข้าใจความหมายของธรรมะข้อนั้นอย่างเดียว ความหมายจะชัดต่อเมื่อไปโยงกับระบบว่าธรรมะข้อนี้อยู่ตำแหน่งไหนในระบบไตรสิกขา แล้วมันมีความสัมพันธ์ส่งผลต่ออันอื่นอย่างไร ถ้าจับอันนี้ไม่ได้ละก็ยังไม่ชื่อว่าเข้าใจธรรมะ ถ้าอยู่ในสังคมหรืออยู่ในระบบที่ชื่อว่าประชาธิปไตยหรือว่าระบบอะไรก็ตามนี่ เราก็ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของเรื่องนั้นๆในระบบมันด้วย จึงจะมีความชัดเจน
คำถาม : ความต้องการนี่ คิดถึงสิ่งที่ยังไม่ได้ไม่มีแล้ว เป็นความต้องการวัตถุเสพย์มาสนองความต้องการนี่ ขึ้นอยู่กับการได้รับการอบรมสั่งสอนมาหรือว่าเกิดจากสาเหตุใดครับ หรือว่ามีทางแก้ที่จะลด ละ อย่างไร
พระอาจารย์ : ก็ค่อยๆฝึกไป ถ้าเราไปสร้างในหมวดฉันทะมากขึ้น ไอ้ด้านนี้มันก็จะเบาลงเอง เราไปสร้างความใฝ่รู้ อยากทำโน่นทำนี่ เราเกิดมีงาน ความคิดที่ดีงามเห็นด้วยปัญญาว่าดี เราก็จะอยากทำมัน พออยากทำมัน จะมีความสุขจากการทำ แล้วมันเพลินไปเอง มันจะสุขแล้วเลยลืมเสพย์ เบาลงไป ในการศึกษาอบรม แน่นอนเลย ตั้งแต่อิทธิพลทางวัฒนธรรม อิทธิพลทางวีถีชีวิตในสังคม อย่างสังคมปัจจุบันนี้อยู่ใต้ครอบงำของค่านิยมบริโภค แน่นอนว่าคนที่เกิดในสังคมอย่างนี้ จะต้องมีนิสัยอยากเสพย์ คิดแต่จะทำอย่างไรให้หามาได้ อยากเสพย์ เหมือนอย่างนักเรียน นักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัย ก็ไปพูดไปคุยกันว่า เมื่อเราเรียนจบแล้ว เราต้องเอาผลอย่างนั้นก่อน ผมจะต้องเอารถเบนซ์ก่อน คนนั้นบอกว่าต้องเอายี่ห้อนั้นก่อน ต้องสร้างบ้านสวยๆอย่างดี นี่มันก็เรื่องเสพย์ทั้งนั้น ใช่มั้ย มันคิดถึงแต่ตัวแล้ว จะเอาท่าเดียวแล้ว เพิ่งเข้าเรียนเท่านั้นหล่ะคิดแล้ว มาพูดกันแต่เรื่องเหล่านี้ แทนที่จะคิดว่าเออเราจะตั้งใจเรียนอย่างไรให้มันได้ผลดี จะไปสร้างสรรค์อย่างไร ไปช่วยแก้ปัญหาสังคมอย่างไร ไม่พูด เป็นจริงมั้ย เป็นอย่างนี้มากนะเดี๋ยวนี้ ฉะนั้น การเรียน การทำงานเดี๋ยวนี้มันเป้าหมายมันไปอยู่ที่ผลประโยชน์หมดเลย สมัยก่อนก็ไปอยู่ที่อำนาจความเป็นใหญ่เป็นโต แต่ตอนนี้อาจจะเอาทั้งคู่ก็ได้นะ เอาทั้งทรัพย์ทั้งอำนาจเลย ทั้งร่ำรวยและยิ่งใหญ่เลย ทีนี้ก็วิถีของสังคม สภาพสังคมก็ครอบงำเรา หล่อหลอมจิตใจเรา ทีนี้ถ้าในบ้านในครอบครัวไม่รู้ทันก็หนุนอีก ก็ยิ่งไปกันใหญ่เลย ทีนี้ถ้าในบ้านในครอบครัวรู้ทัน ก็จะพัฒนาในด้านฉันทะ ความใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ไป ก็จะมาสร้างดุลขึ้นมาได้ ทีนี้ถ้าหากว่าในบ้านในครอบครัวก็ยังไม่ได้ ก็ต้องมาฝึกตัวเองแล้ว คล้ายๆว่าเกิดความเข้าใจเรื่องอย่างนี้เมื่อไหร่ก็มาแก้ไข พยายามพัฒนาไป
คำถาม : ถ้าผู้ใหญ่ทั้งในบ้านเมืองและในครอบครัวก็หลงทางแล้ว ให้ศีลให้พรก็ขอให้ร่ำรวยเงินทอง ไม่ขอให้เป็นคนดีจริงๆแล้วครับ
พระอาจารย์ : นั่นสิ ก็อย่างนี้แหละ ก็คือถูกสภาพสังคมปัจจุบันหล่อหลอมเอา มันเป็นกระแสสังคมทั้งหมดแล้วนะเวลานี้
คำถาม : ทั้งบุคคลและองค์กร
พระอาจารย์ : ก็ใช่แน่นอนละ องค์กรก็ไปอย่างนี้แน่ แต่ละคนก็มุ่งหาอย่างที่ว่า ใช่มั้ย แต่ว่าครูอาจารย์นี่คือฐานของสังคมเลยใช่มั้ย ผู้ให้การศึกษา ครู อาจารย์ยังมุ่งแต่เรื่องผลประโยชน์แล้ว มันก็หมดแล้วระบบ การจะไปคิดว่าทำอย่างไรจะให้ลูกศิษย์เป็นคนดี ทำอย่างไรจะให้การศึกษาให้เขามีปัญญา ใจไม่ได้อยู่ที่จะทำให้ลูกศิษย์ดี มันไปอยู่ที่ตัวเองจะได้ผลประโยชน์อย่างไร
คำถาม : พระมาเขกหัวให้เป็นนายกด้วย
พระอาจารย์ : ก็นั่นแหละ ไปหนุนอีก จะให้ยิ่งใหญ่ ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ เขกหัว บอกว่าคุณอย่าไปคิดใหญ่โตเลย ต้องคิดว่าทำอย่างไรคุณจะสร้างสรรค์ทำความดีงาม
คำถาม : พระเดชพระคุณอาจารย์ครับ จากที่ความเข้าใจคือว่าในสมัยพระพุทธกาลนี่แม้กระทั่งพระที่จะเข้าสู่อริยบุคคล ไม่ทราบว่าได้อริยบุคคลรึยังนะครับที่ว่าพระพุทธเจ้าท่านตักเตือนน่ะครับ
พระอาจารย์ : เป็นอริยสิ อริยบุคคลขนาดโสดาบันแล้ว
คำถาม : อ๋อ แม้กระทั่งเข้าสู่กระแสแล้ว
พระอาจาย์ : ตอนนี้ท่านสันโดษในกุศลธรรมนะ ไม่ใช่ไม่สันโดษในวัตถุ พระอย่างนี้ก็สูงแล้วนะ คือท่านสันโดษในวัตถุเสพย์ ไม่มีปัญหาเรื่องนั้น ท่านมาปฏิบัติจนกระทั่งบรรลุคุณวิเศษได้โสดาบัน สกิทาคามี แต่ท่านเกิดความพอใจในวิเศษที่บรรลุแล้ว ท่านเรียกว่าสันโดษ ศัพท์นี้ตรงเลยบอกว่าสันโดษในธรรมที่บรรลุแล้ว พอสันโดษ พระพุทธเจ้าก็ตรัสเรียกว่าเธอคนนี้เป็นประมาทวิหารี ผู้อยู่ด้วยความประมาทในทางหลักธรรมบอกเลยว่ามีบุคคลระดับเดียวที่จะไม่ประมาทแน่นอนคือพระอรหันต์ ตราบใดที่ยังไม่บรรลุอนันตผลแล้วอยู่ใต้อำนาจความประมาท อาจจะถูกครอบงำด้วยความประมาทได้เสมอ เพราะฉะนั้น ความประมาทนี่เป็นตัวกับดักสำหรับคนที่ดี คนที่สุข คนที่สำเร็จไง พ้นมาจากทุกข์แล้ว หมายถึงพ้นในระดับสัมพัทธ์ ในระดับทั่วๆไปเนี่ย ได้ประสบความก้าวหน้า มีความสุขสำเร็จ พวกนี้จะมาตกหลุมความประมาท ฉะนั้น พระพุทธเจ้าต้องเตือนนักเรื่องความไม่ประมาท บอกว่าตราบใดยังไม่ถึงอาสวะขัย คือความสิ้นอาสวะ อย่าได้ถึงความนอนใจ แล้วก็บอกไว้เลยว่ามีบุคคลเดียวที่จะไม่ประมาทแท้คือพระอรหันต์ เพราะว่ามันไม่อยู่ใต้อำนาจของความติดอะไรทั้งนั้นเลย อย่างพระอริยบุคคล ขนาดโสดาบันท่านยังติดในสุขได้ ติดในสุขที่ประณีต ฉะนั้นท่านก็ประมาทได้อีก มีอะไรสงสัยอีกมั้ย และเห็นด้วยมั้ยถ้าหากว่าเราสร้างสันโดษอย่างถูกต้อง ประเทศชาติจะพัฒนาได้ เห็นด้วยนะ ทีนี้ขอแถมนิดหนึ่งนะ ถ้าเราเข้าใจสันโดษผิดเป็นว่าสันโดษก็คือว่าพอใจตามมีตามได้ที่เป็นของตนและหยุดเท่านั้น สบาย สุข ทีนี้มันจะเป็นหลุมดักคนได้ส่วนใหญ่ เพราะตัวสุขอันนี้มันเป็นเหยื่อของตัณหาเหมือนกัน ฉะนั้นกระแสตัณหามันเข้ากันได้ เพราะว่าไม่ทะยานหา มันก็มาสุขจากการที่พอ แต่ทีนี้ ถ้าเราเอาไอ้ตัวสันโดษที่คุมตัณหาแล้วไปหนุนฉันทะนี่ มันจะมีทางที่ว่ามันจะไม่มามีตัวคั่นสันโดษแบบหยุดนี้มา ไม่มีตัวสันโดษแบบหยุด มันก็มีสันโดษแบบตัวส่งให้เดิน คือให้พ้นจากไอ้ตัวร้ายตัณหาเนี่ย ไปเดินในทางฉันทะถูกมั้ย เราก็จะเห็นว่าคนเรานี่ถ้าไปยังไม่ถึงฉันทะมันก็ยังอยู่กับตัณหา มันก็อยู่สองพวกนี้ มันก็อยู่พวกดิ้นรนทะยานหาเสพย์พวกหนึ่ง แล้วก็พวกที่มีความเพียรในการทำสิ่งที่ดีงามอีกพวกหนึ่ง ไอ้ตัวกลางนี่จะน้อย เพราะฉะนั้น เราก็เห็นได้ชัดว่าไอ้คนที่จะไปได้หมดน่ะมันเป็นไปไม่ได้ ไอ้ที่จะไปในฉันทะ ไม่สันโดษในกุศลธรรม เป็นไปทั้งหมดในสังคมเป็นไปไม่ได้ แต่ทีนี้คนที่ยังไปไม่ได้ก็อยู่กับเรื่องของไม่สันโดษในวัตถุ มันก็จะมีสองพวกนี้เป็นใหญ่ เราก็จะมาหนุนให้มาทางฉันทะซึ่งจะเป็นเรื่องของการขวนขวายเหมือนกัน การไม่อยู่นิ่ง การเดิน แต่ว่าเดินคนละสาย แต่ถ้ามาสันโดษแบบที่ว่าไม่ต่อด้วยฉันทะ หยุดเลย นอนนี่ขี้เกียจ อันนี้มันจะดึงตนส่วนใหญ่มาได้นะ ดึงมาได้เยอะเลยสามารถสร้างเป็นค่านิยม อันนั้นมันอยู่ในกระบวนการพัฒนาใช่มั้ยที่ว่าจากเรื่องของการหาเสพย์มาสู่การสร้างสรรค์ อันนั้นเป็นเรื่องของการพัฒนาคน เดินหน้ากันต่อไป ฉะนั้นเราจะเห็นสภาพสังคมของการเคลื่อนไหวไม่ใช่สังคมที่หยุดนิ่ง