แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
คนฟังถาม อาจารย์ครับ ปัญญานี้เท่าที่ฟัง นี่จะพบความเพี้ยนในศาสนาพุทธ เท่าที่ฟังรู้สึกถ้าทางตะวันตกนี่ ศาสนาของเขาเน้นทางด้านศรัทธา ปัญญาเขาจะค่อนจะข้างหายไป
พระตอบ เอ้าก็มันมีจุดสัมพันธ์ระหว่างศรัทธากับปัญญา ศรัทธาในพุทธศาสนานี่เป็นศรัทธาที่เอื้อต่อปัญญาเป็นไปเพื่อปัญญา ศรัทธาที่ถูกต้อง ๆ อย่างนี้ ถ้าศรัทธาไม่ถูกนะเป็นศรัทธาขวางปัญญาแล้ว ศรัทธามี 2 แบบ ศรัทธาที่ขวางปัญญาดับปัญญา กับศรัทธาที่หนุนปัญญา ศรัทธาในพุทธศาสนานี่เป็นตัวนำเบื้องต้นเข้าสู่ปัญญา นี้ต้องพูดกันต่อไปอีก
คนฟังถาม
พระตอบ ก็อันนั้นก็ด้วย แต่ว่าโดยเฉพาะเอากันโดยตรงเลยระหว่างศรัทธากับปัญญา เป็นหลักการสำคัญในพุทธศาสนาที่จะต้องพูดนะ ถ้าผมลืมพูดก็ต้องเตือนให้พูดด้วยว่า ศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นอย่างไร แล้วไปสัมพันธ์กับเรื่องปัญญาอย่างไร อ้าวเลยพูดเติมเข้าอีกนิดหนึ่ง ศาสนาต่าง ๆ ที่จะให้คนมีความเพียรนะในเมื่อมีเทพเจ้าให้พึ่งแล้วเนี่ย ผลที่สุดทำไง เขาจะต้องมีคติขึ้นมาใหม่เพราะมิฉะนั้นคนก็เป็นรอเทพเจ้าช่วยใช่ไหม ศาสนาในหมู่ฝรั่งก็จะสอนกันเพราะว่า พระเจ้าจะช่วยคนที่ช่วยตัวเองใช่ไหม ตกลงก็ต้องมาเอาตรงนี้ ตกลงแกข้ายังไม่ช่วยหรอก แกต้องช่วยตัวเองก่อนข้าจึงจะไปช่วยถูกไหม ไม่งั้นคนก็ไปหวังพึ่งก็ไม่ต้องทำอะไร เทวดาทำให้ใช่ไหม ก็ถ่ายโอนภาระให้เทวดา ยกปัญหาให้เทวดาแก้ ฝรั่งก็เจออันนี้เข้า ฝรั่งก็หาทางออก ฝรั่งก็เลยบอกว่าพระเจ้าจะช่วยคนที่ช่วยตัวเองเท่านั้น ถ้าแกไม่ช่วยพระเจ้าก็ไม่ช่วย ตกลงก็มาลงที่ช่วยตัวเอง ทีนี้ยิวบ้าง ยิวเป็นอย่างไง ยิวก็เชื่อพระยะโฮวาใช่ไหม พระยะโฮวาก็มาเป็น God ของคริสต์ด้วย เอ้าก็เชื่อเทพเจ้าสูงสุดพระผู้เป็นเจ้าอีกแหละ แต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจะยังไม่ได้ทำอะไรให้ ให้แต่แผ่นดินแห่งสัญญาบอกแกต้องช่วยตัวเองไปจนไปกระทั่งแผ่นดินสัญญานั้น นี่เห็นไหมศาสนาที่มีเทพเจ้าก็จะต้องเอาอุบายอะไรมาเพื่อให้มนุษย์ไปช่วยตัวเอง ในระหว่างนี้พระเจ้าไม่ช่วยแล้ว แกดิ้นของแกไปก็แล้วกัน โน่นแผ่นดินแห่งสัญญาพระเจ้าให้ความหวังไว้ ก็อยู่ด้วยความหวังอันนั้น แต่ก็ความหวังนี้ไม่ใช่ความหวังที่จะได้มาโดยเขาช่วยน่ะ ความหวังที่ตัวเองจะต้องดิ้น อันนั้นพวกยิวก็ต้องดิ้นสุดฤทธิ์ซิทีนี้
คนฟังถาม ต้องใช้ระยะเวลาเป็น 1000 ปี
พระตอบ เป็น 1000 ปี ใช่ แผ่นดินแห่งสัญญา พอไปถึงแผ่นดินแห่งสัญญา แล้วก็ยังโดนพวกอาหรับบีบซะจะตายอีกใช่ไหม พระเจ้าท่านก็ยังไม่เห็นว่าทำให้สบายเลยใช่ไหม เสร็จแล้วต้องระแวงภัยหวาดหวั่นตลอดเวลาใช่ไหม พวกอาหรับมันจะโจมตีจะบุกอยู่ตลอดเวลา ถ้ายิวอ่อนแอเมื่อไหร่อาหรับเอาตายใช่ไหม อย่างนัตเซอร์ตอนนั้น ตอน พ.ศ.ระยะใกล้ พ.ศ. 2500 แหมตอนนั้นอียิปต์นี่เข้มแข็งมากมีผู้นำที่ผู้ยิ่งใหญ่ชื่อนัตเซอร์ นัตเซอร์ขึ้นมาแหมพวกอียิปต์ก็นึกว่าตอนนี้ เราจะยิ่งใหญ่ที่สุด ตอนนี้นัตเซอร์ก็ปราบยิวเอาให้หมดแผ่นดินเลยคราวนี้ ก็วางแผนเตรียมรบอย่างดีเลยทุ่มเทกำลังเต็มที่ อียิปต์ยังไม่ทันขึ้นเลย เครื่องบินยิวมาถึงบอมบ์สนามบินอียิปต์หมดเลย เครื่องบินขึ้นไม่ได้ 7 วันยิวปราบอียิปต์จบ สงคราม 7 วัน อียิปต์แพ้เลยยกธงขาว นี้แต่ว่าอะไรล่ะ นี่ผมบอกแล้วหลักการของมนุษย์ปุถุชน มนุษย์นั้นเมื่องถูกทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามก็จะลุกขึ้นดิ้นรนขวนขวาย คนไทยเหมือนกันเวลาอยู่สบายก็ทะเลาะกันว่ากันวุ่นวาย พม่ายกทัพมาตี โอ๋สามัคคีลุกขึ้นมาสู้เต็มที่ใช่ไหม นี่แหล่ะทุกข์บีบคั้นภัยคุกคามก็จะเข้มแข็งดิ้นรนขวนขวาย แต่ถ้าไปหวังพึ่งเสร็จอีกไปไม่รอดอีกใช่ไหม ต้องไม่มีใครช่วยแล้ว ต้องเอาเต็มที่แล้วตอนนี้มันก็เข้มแข็ง ทีนี้ยิวแกอย่างนี้ใช่ไหม ภัยอันตรายรอบด้าน อาหรับเต็มไปหมดเลยกี่ประเทศ ประเทศเดียวก็หลายสิบล้านแล้วยิว 3 ล้าน ประเทศเดียวก็สู้เขาไม่ได้แล้ว ถ้าเอากำลังคนใช่ไหม แต่ทำไม 3 ล้านมันอยู่ได้ท่ามกลางเป็น 100 ล้านใช่ไหม แล้วศัตรูเท่านั้นไม่มีใครเอาดีด้วยเลยจะห่ำหันจะปราบอย่างเดียวมีช่องเมื่อไหร่เอาทันทีใช่ไหม แต่ว่ายิวก็หนามเต็มตัวเลย เพราะฉะนั้นพวกนั้นก็คร้ามไม่กล้า เพราะอะไร ก็เพราะภัยอันตราคุกคามก็เข้มแข็งใช่ไหม ดิ้นรนเต็มที่ อันนั้นยิวนี่ตื่นตัวตลอดเวลา พัฒนาตัวเองตลอดเวลา เข้มแข็งบอกว่า เขามีคติอยู่อันนึงบอกว่า คนยิวต้องทำได้ทุกอย่าง ทุกคนด้วยไม่ว่าหญิงหรือชาย ขึ้นรถขับรถได้ ลงเรือขับเรือได้ ขึ้นเครื่องบินขับเครื่องบินได้ ต้องทุกคน นี่มันถึงขนาดนี้นะ ก็มันฝึกกันขนาดนี้มีคติอย่างนี้ ตั้งแต่เด็กแต่เล็กเกิดมาก็เป็นอย่างนี้แล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็เข้มแข็ง นี่คนมันอยู่ที่การฝึก เพราะฉะนั้นยิวคนเดียวนี่สู้กับอาหรับ 10 คนได้สบายเลยใช่ไหม อันนั้นมันจึงเอาไม่อยู่ เพราะฉะนั้นก็ตกลงแผ่นดินแห่งสัญญามาถึงแล้วก็ยังพระเจ้าก็ยังไม่ทำให้สบายอีกต้องมาสู้กันตลอดเวลา ในการที่ต้องสู้ช่วยตัวเองต้องเข้มแข็ง นั้นต้องระวังมากในสังคมไทยเป็นสังคมที่หวังพึ่งมนุษย์ด้วยกันเอง หวังพึ่งอำนาจเร้นลับภายนอก ซึ่งเป็นส่วนที่ดี เราจะพูดกันต่อไปว่าส่วนดีแค่ไหนส่วนเสียแค่ไหน ถ้าใช้ไม่เป็นแล้วก็จะเกิดโทษได้มาก อย่างที่บอกแล้วว่าได้ไม่คุ้มเสีย อาจจะต้องทุ่มชีวิตนี้ให้ทั้งชีวิต ไปโดยที่ตัวเองไม่ได้สิ่งที่ประเสริฐที่ควรจะได้ในเวลาที่ 100 ปีที่เกิดมา
ปานะที่เรียกว่าอัฐบาน น้ำปานะ 8 อย่าง ในวินัยก็แสดงไว้ว่ามีน้ำนั่น ๆ ๆ ๆ ๆ 8 อย่าง ทีนี้อัฐบานมีอีกชุดหนึ่งมาอยู่ในคัมภีร์นิเทศ นิเทศนี่ก็เป็นพระไตรปิฎกในพระสูตร เล่มแถวที่ 29 กับ 30 นี้เรียกว่านิเทศเป็นมหานิเทศ กับจุลนิเทศ อัฐบานก็มีอีกชุดหนึ่งในนั้นก็มีปโยปานังน้ำนมด้วย ก็เลยฝ่ายที่ถือว่า เอ้นี้ไปอยู่ในชุดโภชนะอันประณีต ก็ฉันไม่ได้ เป็นโภชนะ ทีนี้ท่านที่ถือหลักฐานตามคัมภีร์นิเทศ ก็บอกว่าเป็นปโยปานะ เป็นน้ำปานะคือน้ำนม ก็ต้องฉันได้ ก็เลยต่างคนก็เอาตามหลักฐานของตัวที่มี ก็ท่านที่ถือตามนิเทศก็ฉัน ท่านที่ถือตามสิกขาบทว่าเป็นโภชนะอันประณีตไปมีชื่อระบุอยู่น่ะ ก็เลยไม่ฉัน เรื่องก็เป็นอย่างนี้
คนฟังถาม ถ้าเป็นอย่างนั้น ข้อสงสัยจริง ๆ เราควรไม่ฉันไม่ใช่หรือครับ เพราะเป็นข้อสงสัยขึ้นมาแล้ว
พระตอบ ถ้าเป็นสงสัยเราสงสัยเองนี่ เพราะเราสงสัยใช่ไหม
คนฟังถาม ถ้าเราไม่สงสัยก็ฉันได้
พระตอบ ก็เพราะว่าท่านถือว่าท่านมีหลักฐานนี่ หลักฐานชัดอยู่ปโยปานังท่านว่าอย่างนั้ มันมีในคัมภีร์
ที่ได้พูดกันมาก่อนหน้านี้ ก็พูดถึงเรื่องสิ่งที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันทั่วไป สภาพแวดล้อมที่ชาวพุทธจะต้องดำเนินชีวิตอยู่สัมพันธ์อยู่เรื่อย ๆ ซึ่งก็โยงไปถึงเรื่องสภาพของความเชื่อถือโดยทางศาสนาต่าง ๆ แม้ที่มีอยู่ก่อนพุทธศาสนาเกิดขึ้นเป็นการเกี่ยวข้องกับวัตถุบ้าง เรื่องพิธีกรรมบ้าง แล้วก็ความเชื่อต่าง ๆ บ้าง ที่นี้ในเมื่อพุทธศาสนไปเกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านั้น ซึ่งรวมทั้งเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับผีสางเทวดา เทพเจ้าต่าง ๆ ด้วยเนี่ย พุทธศาสนาจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร อันนี้พุทธศาสนานั้นก็มีลักษณะอย่างหนึ่งที่ว่าถือว่ามนุษย์นั้นจะต้องเรียนรู้ต้องฝึกฝนพัฒนาตน ในการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนนี่สิ่งสำคัญก็คือต้องเกิดปัญญา ปัญญาเป็นตัวแกนกลางสำคัญที่สุดที่จะทำให้มนุษย์พัฒนาตนขึ้นมาในที่สุดมนุษย์จะต้องรู้นั่นเอง ต้องรู้เข้าใจความจริงของสิ่งต่าง ๆ ทีนี้ปัญญานี่เป็นสิ่งที่ยัดเยียดบังคับกันไม่ได้ นั้นก็โดยธรรมชาติเองก็เป็นเรื่องที่ว่าแต่ละคนจะต้องเรียนรู้ฝึกตนขึ้นมาพัฒนาตัวขึ้นมา แต่ผู้อื่นก็มาช่วยได้โดยที่มาบอกเล่าสั่งสอนแนะนำ แล้วก็ช่วยจากสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนเป็นต้น ทีนี้ในเมื่อปัญญาซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ศึกษาเนี่ยเป็นสิ่งที่บังคับกันไม่ได้อย่างนี้โดยธรรมชาติเองก็เป็นอันว่าหลักการพุทธศาสนาก็ต้องเป็นหลักการของการที่ให้เสรีภาพ คือไม่อาจจะบังคับได้ แล้วนอกจากนั้นพระพุทธศาสนาก็โยงไปถึงการที่เมื่อมนุษย์มีปัญญารู้แจ้งเข้าใจความจริงโดยสมบูรณ์แล้วเนี่ยจิตใจเป็นอิสระก็เข้าใจผู้อื่นถูกต้องก็เกิดความเห็นอกเห็นใจ การเข้าใจผู้อื่นตามความเป็นจริงก็ทำให้รู้ถึงสุขถึงทุกข์ของเขา ก็เกิดคุณธรรมตามมามีเมตตากรุณาเป็นต้น อันนี้มันก็เลยเป็นไปเองโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่พัฒนาแล้วอีกอย่างหนึ่ง ที่ว่าจะมีความรู้สึกที่ดีงามปรารถนาดีต่อผู้อื่นสำหรับท่านที่พ้นจากทุกข์ไปแล้วเข้าถึงสัจธรรมแล้วก็มองเห็นมนุษย์ที่อื่นที่ยังตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลสและความทุกข์ก็เกิดความกรุณา ฉะนั้นท่านที่เข้าถึงความจริงสูงสุดมีปัญญาสูงสุดแล้วก็เลยมีกรุณาสูงสุดด้วย ทีนี้กรุณาที่เกิดสูงสุดเนี่ย นี้ก็เท่ากับมาเป็นตัวนำทางหรือว่าเป็นตัวปัจจัยอยู่ในตัวเองว่าทำให้การบังคับเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม ทั้งโดยหลักการธรรมชาติปัญญาก็บังคับไม่ได้แล้วท่านผู้ที่จะเข้าถึงความจริงเองมีปัญญาแล้วอยากจะให้ผู้อื่นมีปัญญาด้วย ท่านก็มีกรุณาสูงสุดด้วย เพราะฉะนั้นจะไปบังคับเขาได้อย่างไรก็ต้องประพฤติต่อเขาโดยดี โดยที่ว่า เอ้อไปช่วยทำยังไงจะให้เขาได้เรียนรู้ได้ฝึกตนได้มีปัญญาขึ้นก็เลยไปเที่ยวแนะนำสั่งสอนด้วยเมตตากรุณานั้นก็เลยเป็นกัลยาณมิตร
ทีนี้คนเขาอยู่ในภาวะที่เขายังไม่รู้เรื่องรู้ราวแล้วก็มีสติปัญญามีอินทรีย์ต่าง ๆ กัน มีความสามารถในการเรียนรู้ต่าง ๆ กัน นี่เราจะทำอย่างไร วิธีปฏิบัติที่สำคัญก็คือว่าต้องยอมรับความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์เหล่านั้น แล้วก็โดยทั่วไปก็ต้องไปพบกับเขาที่จุดที่เขายืนอยู่ จะไปเรียกร้อง จะไปบังคับ ให้เขากระโดดมาหาตัวก็ทำไม่ได้ ถ้าสามารถมากก็สอนให้เกิดความรู้เข้าใจ ถ้าเขามีปัญญาดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้วศักยภาพสูง เรียกว่ามีธุลีในดวงตาน้อยก็แสดงธรรมให้เขาเกิดความเข้าใจได้อย่างที่ต้องการได้เลย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นต่อความสามารถของผู้สอนเองด้วย นี่ความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้มันก็ขึ้นต่อผู้สอนเองอีก ถ้าผู้สอนมีปัญญาเข้าใจความจริงแต่ว่าความสามารถในการสอนน้อยทำอย่างไร ก็ต้องมีวิธีปฏิบัติมากหมาย แต่รวมแล้วหลักการก็คือว่า ต้องการช่วยให้เขานี่ฝึกฝนพัฒนาตนขึ้นมา แล้วก็จุดหมายก็คือให้เขาเข้าถึงความจริงด้วยปัญญาเช่นเดียวกับที่ท่านพูดไปสอนเขานั้นได้ถึงแล้ว พร้อมกันนั้นก็ต้องเข้าไปสัมพันธ์ด้วยเมตตากรุณา ไปช่วยเหลือเขา แล้วต้องอดทนต้องพยายามค่อย ๆ แนะ ค่อย ๆ นำตามอินทรีย์ของเขาบางทีเขาอินทรีย์ไม่พร้อม
อย่างพระพุทธเจ้าไปสอน พระองค์ว่าต้องรอให้อินทรีย์เขาสุกงอม บางทีเขาอินทรีย์เขายังไม่ยอมสุขงอม พระองค์ต้องหาวิธีการจะเรียกว่าเทคนิคก็ได้เพื่อจะให้เขาเนี่ยได้บ่มอินทรีย์ว่าอย่างนั้นน่ะ มีวิธีปฏิบัติบ่มอินทรีย์ให้เขางอม แล้วจึงจะได้สามารถสอนสิ่งที่ต้องการได้ ฉะนั้นเรื่องการที่จะไปสอนผู้อื่นนี่เป็นเรื่องใหญ่เหลือเกินเป็นเรื่องที่จะต้องมีวิธีการมากมาย ต้องทั้งคุณสมบัติของผู้สอนเองด้วย ต้องพัฒนาตัวเอง พัฒนาความสามารถในการสอนทั้งรู้จักใช้วิธีการสอน ต้องรู้จักตัวผู้ที่เราจะไปสอนเขาแค่ไหนเพียงไร นี่เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ก็เป็นเรื่องใหญ่อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นด้านหนึ่งของพระพุทธคุณ ที่ว่าพระพุทธเจ้านอกจากตรัสรู้สัจธรรมแล้ว ด้วยพระองค์เองก็ยังมีความสามารถในการสอนด้วย แต่ว่าจุดที่ต้องการพูดในวันนี้ก็คือ ที่ว่าพระองค์สอนพุทธศาสนาในท่ามกลางสภาพแวดล้อม ซึ่งสมัยก่อนก็คืออินเดียที่อยู่ใต้อิทธิพลศาสนาพราหมณ์ เขามีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ อย่างไร พระพุทธเจ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างนั้น ทรงเห็นมนุษย์อยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านั้น พระองค์ก็จะต้องเกี่ยวข้องทั้งตัวคนแล้วตัวสภาพแวดล้อมของเขา พระองค์จะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร แล้วก็ในเมื่อไม่ใช้วิธีบังคับแล้วไปพบกับเขานะจุดที่เขายืนอยู่ก็ต้องยอมรับเขาตามที่เป็นจริง
ทีนี้ก็การปฏิบัติในเรื่องเหล่านี้ก็เลยเกิดเป็นวิธีการขึ้นมา คล้าย ๆ ว่า อ้าวพระพุทธเจ้าจะทรงสอนกระทั่งพระภิกษุว่าให้ปฏิบัติหรือสอนประชาชนอย่างไรที่เขามีเครื่องพิธีกรรมบ้าง เรื่องของความเชื่อเทพเจ้าเทวดามีการบูชามีการเซ่นสรวงอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ พระองค์จะมีการปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติอย่างไรโดยที่ว่าไม่เสียหลักการของพุทธศาสนาด้วย ยังรักษาหลักการพุทธศาสนาไว้ได้ พร้อมกันนั้นก็ยังจะเป็นจุดเชื่อมต่อ เพื่อนำเขาเข้าสู่พุทธศาสนา หรือว่าเพื่อดึงเขาให้พัฒนาตัวเขาได้ยิ่งขึ้นไป อันนี้เป็นจุดที่สำคัญ ทีนี้พอดีว่าบทสวดในวันนี้เป็นบทสวดประเภทอนุโมทนาได้เคยบอกไว้ว่า บทสวดวันศุกร์ในสำนักนี้จัดไว้เป็นประเภทบทอนุโมทนาก็อวยชัยให้พรแก่ญาติโยม นี้ในบรรดาบทอนุโมทนาเหล่านี้ก็มีบางบทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเทวดามีการอุทิศกุศลให้แก่เทวดา แม้แต่พูดถึงเทวดาที่มาคุ้มครองหมู่มนุษย์อะไรต่าง ๆ ด้วย บางบทนี้จะเป็นเฉียด ๆ ไป ถ้าไม่พิจารณาให้ดีแล้วถ้าไม่รู้หลักการของพุทธศาสนาชัดเจนนี่ คล้าย ๆ เอ้นี่คล้าย ๆ นี่จะให้ชาวบ้านไปบูชาเซ่นสรวงเทวดาด้วยหรืออะไรทำนองนี้ ถ้าเราไม่รู้หลักการไว้ก่อน มาอ่านบทอนุโมทนาเหล่านี้ บางทีชักจะสับสนเหมือนกัน คล้าย ๆ ว่าอย่างที่ว่าเมื่อกี้ชักเฉียด ๆ กันไปเลย เฉียดการเซ่นสรวงบูชาเข้าไป
ฉะนั้นก็ตอนนี้แหละก็เลยเห็นว่า อ้อในเมื่อวันนี้เรามีบทสวดอนุโมทนาที่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องเทวดาด้วย ก็เลยคิดว่าจะแปลบทสวดสำหรับวันนี้ทั้งหมด แต่ว่าจะให้ตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษสำหรับบทที่เกี่ยวข้องกับเทวดานั้น แล้วเราก็มาโยงกับเรื่องที่เคยพูดไปแล้วที่ว่าพุทธศาสนานั้นไปเกี่ยวข้องกับประชาชนที่เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมในความเชื่อทางศาสนาพิธีกรรมวัตถุต่าง ๆ เหล่านั้นตามที่เขาเป็นแล้วพุทธศาสนาปฏิบัติอย่างไร แล้วทำไงจะดำรงรักษาหลักการพุทธศาสนาไว้ หรือแม้แต่จะใช้สิ่งเหล่านั้นมาเป็นสื่อ เพื่อจะค่อย ๆ นำเขาขึ้นมาสู่ความดีงามที่สูงขึ้นไป คือให้เขาเจริญอยู่ในไตรสิกขาสู่ศีลสมาธิปัญญาให้เจริญขึ้นในพฤติกรรมจิตใจและปัญญา ตอนนี้ก็พูดนำว่าอย่างนี้ เพื่อจะได้เป็นข้อสังเกตแล้วเราก็มาดูบทสวดมนต์กันต่อไป
ที่นี้บทต่อไปเนี่ยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทวดาชัดมาก เทวะตาทิสสะทักขิณานุโมทะนาคาถา 1 แล้วนะ แล้วก็บทถัดไป เทวะตาภิสัมมันตะนะคาถา ก็เกี่ยวกับเทวดา 2 บทนี้ เพราะเกี่ยวกับเทวดานี่เวลาไปสวดก็เลยสวดต่อไปเลย ฉะนั้นพอขึ้นบทแรก ยัสมิง ปะเทเส กัปเปติ พอจบ สทานิปะสะทานิปะสติ ก็ต่อ ยานีธะภูตานิ เลย ไม่ต้องให้ขึ้น ไม่ต้องให้หัวหน้าขึ้นใหม่ ลักษณะที่ชัดก็คือ 2 บทนี้เกี่ยวข้องกับเทวดา นี้ เทวะตาทิสสะทักขิณานุโมทะนาคาถา คาถาอนุโมทนาทักษิณาแปลว่าทานที่ถวายโดย เทวะตาทิสสะโดยอุทิศต่อเทวดา นี่ถวายทานอุทิศเทวดา ยัสมิงปะเทเสกัปเปติวาสังบัณฑิตะชาติโย ท่านผู้มีชาติแห่งบัณฑิตหมายความว่าคนที่เป็นบัณฑิตนั่นเอง จะไปอยู่ในที่ใดก็ตาม สีละวันเตตถะโภเชตวา สัญญะเตพรัหมะจาริโน ก็ให้ท่านมีศีลผู้สำรวมผู้เป็นพรหมจารีในที่นั้นได้บริโภค หมายความว่าก็เลี้ยงดูนั่นเอง ก็เลี้ยงดูถวายภัตตาหาร เอาละน่ะ ยาตัตถะเทวะตาอาสุง และในที่นั้นมีเทวดาเหล่าใดอยู่ หรือเทวดาเหล่าใดอยู่ในที่นั้น ตาสังทักขิณะมาทิเส ก็พึงอุทิศทักษินาเพื่อเทวดาเหล่านั้น ด้วย เติมเข้าก็ได้ หมายความว่า นอกจากจะถวายทานแก่ท่านผู้มีศีลแล้วก็ยังไปควรให้ทักษินาแก่เทวดาเหล่านั้นด้วย ตาปูชิตาปูชะยันติ เทวดาเหล่านั้นได้รับการบูชาแล้วก็จะบูชาต่อว่าอย่างนั้นน่ะ มานิตา มานะยันตินัง ได้รับการนับถือแล้วก็จะนับถือตอบแทนด้วย ตะโต นังอะนุกัมปันติ ลำดับนั้นเทวดาทั้งหลายก็จะอนุเคราะห์เกื้อกูลหรือเกื้อหนุนบุคคลนั้น คือท่านที่ไปบูชาที่ไปอุทิศกุศลให้ มาตา ปุตตังวะโอระสัง ประดุจมารดาที่อนุเคราะห์บุตรผู้เกิดจากอกว่าอย่างงั้น ผู้เกิดจากอกตนนั่นเอง เหมือนประดุจดังมารดาผู้ที่อนุเคราะห์บุตรของตน เทวะตานุกัมปิโตโปโส บุคคลที่เทวดาอนุเคราะห์แล้ว สะทาภัทรานิปัสสะติ ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่ดีงามทุกเมื่อว่าอย่างงั้นน่ะ เอานะนี่จบไปหนึ่งแล้ว
แล้วก็ต่อด้วยต่อไปว่าเทวะตาภิสัมมันตะนะคาถา คาถาที่กล่าวเรียกเทวดาก็ได้ หรือว่ากล่าวพูดกับเทวดา หรือปรึกษากับเทวดา ก็คือคล้าย ๆ ทำนองว่า หารือหรือพูดง่าย ๆ ก็คือสอนนั่นเอง ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ บอกว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่าใดมาประชุมกันในที่นี้ ภุมมานี ยานิวะ อันตะลิกเข จะเป็นเหล่าสัตว์ที่เป็นภาคพื้นดินหรือเป็นผู้ที่อยู่ในท้องฟ้าเวหาก็ตามนี่ ในที่นี้ก็มุ่งที่พวกเทวดานั่นแหละ สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ ขอสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งปวงจงเป็นผู้มีจิตใจดีงาม จิตใจดีงามก็แปลว่าดีใจก็ได้ ใจดีหรือดีใจใช่ไหม คิดดูซิภาษาไทย ใจดีกับดีใจ มันแปลกลับกันน่ะ ใจดีมันความหมายอย่างหนึ่ง ดีใจอย่างหนึ่ง แต่ว่าในที่นี้ สุมนานี่แปลได้ทั้งใจดีและดีใจ จงมีใจดี จงดีใจ ว่าอย่างนั้นน่ะ อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง และทั้งขอจงสดับฟังภาษิตโดยเคารพ เอาล่ะซินี่ บอกเทวดาแล้วน่ะ สุภาสิตัง กิญจิปิโว ภะเณมุ ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะกล่าวสุภาษิตซักนิดหน่อยกับท่านทั้งหลาย ว่าอย่างนั้น สักนิดหน่อยน่ะ ไม่กล่าวมากหรอก สุภาษิตจะกล่าวสุภาษิต
ปุญเญ สะตุปปาทะกะรัง อะปาบัง โยงมาจากคำว่าสุภาษิต จะกล่าวคำสุภาษิตซักนิดหน่อยกับท่านทั้งหลายอันเป็นถ้อยคำที่เตือนสติในบุญทั้งหลาย เตือนสติในบุญ หมายความว่าเตือนสติให้ระลึกถึงบุญความดีงามใช่ไหม ไม่ได้ทำความดี อะปาปัง อันไม่เป็นสิ่งเสียหายไม่มีสิ่งชั่วร้าย ธัมมูปะเทสัง จะกล่าวก็กล่าวนั่นแหละ ยังไม่จบ ถ้อยคำ ที่แสดงซึ่งธรรมะ อะนุการะกานัง แก่ท่านทั้งหลาย แก่ชนทั้งหลาย ก็พวกนั้นแหละเหล่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นผู้กระทำการอนุเคราะห์ ก็หมายความว่า มองเทวดาในแง่ว่าโดยประเพณีก็ถือว่าเทวดานี้เป็นผู้ที่เหนือกว่า หรือมีอำนาจมีกำลังมากกว่ามนุษย์มีหน้าที่ ๆ จะช่วยเหลือเกื้อหนุนมนุษย์นั่นแหละ มนุษย์ก็หวังความช่วยเหลือ ตัสมา หิ ภูตานิ สะเมนตุ สัพเพ เพราะฉะนั้นขอท่านทั้งหลายจงยังสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงให้สงบ เมตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ ท่านทั้งหลาย นี่พูดกับเทวดาแล้ว ท่านทั้งหลายจงกระทำเมตตาแก่หมู่ชาวมนุษย์ทั้งหลาย เอาล่ะน่ะ นี่จะว่าไปก็เท่ากับสอนเทวดาด้วยน่ะ บอกว่าเนี่ยให้คิดเกื้อกูลให้มีเมตตาต่อมนุษย์ทั้งหลายอย่าไปคิดร้ายต่อเขาเลย ท่านทั้งหลายจงกระทำเมตตาในหมู่ประชาที่เป็นมนุษย์ ภูเตสุ พาฬหัง กะตะภัตติกายา ทิวา จะรัตโต จะหะรันติเยพะลิง พวกเหล่ามนุษย์ทั้งหลายเหล่าใดนำเอาพลีกรรม นี่แหละเครื่องบูชามาถวายแก่พวกเหล่าภูตหรือเหล่าสัตว์ทั้งหลายที่เป็นพวกเทพเทวดาเหล่านี้อย่างเอาจริงเอาจังกันอยู่เรื่อย ๆ ทั้งกลางวันกลางคืน ปัจโจปะการัง อะภิกังขะมานา เขาทั้งหลายก็ปรารถนาความช่วยเหลือตอบแทนว่าอย่างงั้นน่ะ นี่ถามมนุษย์ทั้งหลายก็หวังตอบแทนให้ช่วยเขานะ เตโขมะนุสสาตะนุกานุภาวา มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นนะเขาเป็นผู้มีอานุภาพน้อยว่าอย่างงั้น เขาเป็นผู้มีอำนาจมีอนุภาพมีกำลังน้อย ภูตาวิเสเสนะ มะหิทธิกาจะ ส่วนท่านทั้งหลายนั้นเป็นผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์มีอำนาจมากเป็นพิเศษว่าอย่างงั้นน่ะ อะทิสสะมานา มะนุเชหิ ญาตา ถึงท่านทั้งหลายจะไม่ปรากฏตัวแต่มนุษย์ทั้งหลายเขาก็รู้จักกันดี ตัสมา หิเน รักขะถะ อัปปะมัตตา เพราะฉะนั้นขอท่านทั้งหลายจงอย่าได้ประมาทช่วยรักษามนุษย์เหล่านั้นด้วยเถิดว่างั้นนี่ เอ้าลองมองดูซินี่ คาถานี้แสดงความสัมพันธ์ของพุทธศาสนากับเรื่องเทวดาอย่างไร ในขณะที่ในอินเดียชมพูทวีปนี่เขานับถือเทวดากันอยู่ใช่ไหม หวังความช่วยเหลืออะไรต่าง ๆ นี้มองได้หลายอย่างใช่ไหม เอ้าท่านมองอย่างไร ท่านโอรัช
คนฟังตอบ มองว่ามนุษย์บางคนที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ก็พยามที่จะพึ่งเทวดาเรื่อยไป ท่านเกิดเห็นอยากจะช่วยมนุษย์เหล่านั้นได้ แต่ก็มีมนุษย์บางพวกที่สามารถจะช่วยตัวเองได้ ท่านอาจจะไม่ต้องช่วย หรือว่าคอยดูแล อย่างนี้เป็นต้น
พระถาม เอ้าท่านอื่นมีความเห็นอย่างไร ท่านมหาวิชาญออกความเห็นด้วยก็ได้ ว่าอย่างไง ไม่จำเป็นจะต้องท่านนวกะเท่านั้น
คนฟังตอบ ครับ ก็คงจะมองเห็นในลักษณะที่ว่า แม้แต่เทวดาเองนี่ก็คงจะต้องมีคุณธรรมส่วนใหญ่ในขณะที่ผู้คนที่ด้อยกว่าเทวดา เทวดานี้ต้องรักษา
พระถาม เอ้าที่นี้ท่าน อีก 2 ท่าน มีความเห็นอะไรไหมครับ
คนฟังตอบ เรื่องฝึกตนเรื่องปัญญาน่ะครับ เทวดาก็ต้องให้ความคุ้มครอง
พระถาม เอ้าท่านสุรเดชว่าอย่างไง
คนฟังตอบ ไม่มีความคิดเห็น ไม่ค่อยชัด
พระตอบ ชัดแล้ว คนฟังตอบ ชัด พระตอบ นั่นสิชัดแล้ว จับสาระอย่างไง
คนฟังตอบ เทวดานี่ต้องมีหน้าที่เป็นคนจะในส่วนที่จะต้องทำตามกฏของธรรมชาติ ก็คือ เมื่อมนุษย์ยังบูชาเทวดาด้วยเครื่องสักการะ เทวดาควรนี่ก็ควรตระหนักแล้วก็ปฏิตามกฎของธรรมชาติ ก็คือทำหน้าที่ของตัวเองด้วย ก็คือควรตอบแทนด้วยการให้ความคุ้มครองดูแลเขา
เอ้า จับสาระสำคัญของคาถานี้น่ะ ก็คือเป็นคาถาที่พุทธศาสนานี่พูดกับเทวดาใช่ไหม พูดกับเทวดาซึ่งเป็นตัวแทนของความคิดความเชื่อในศาสนาเก่าใช่ไหม พระพุทธศาสนาพูดกับเทวดาน่ะ ตอนนี้พระพุทธเจ้าพูดกับเทวดาว่างั้นเถอะ หรือว่าพวกเราก็ได้ชาวพุทธนี่พูดกับเทวดา แต่ว่าโดยเฉพาะก็คือ พระซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้สอนธรรมะพูดกับเทวดา พูดกับเทวดาโดยเอาหลักการหรือพื้นฐานประเพณีเดิมที่เชื่อกันมาในสังคมของเขานั่นแหละมาเป็นหลัก มากำหนดหน้าที่ของเทวดาให้ชัด เพราะในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทวดาที่เป็นมาแต่เดิมนั้นก็รู้อยู่แล้วว่ามนุษย์นั้นไปหวังความช่วยเหลือจากเทวดาไปอ้อนวอนไปบวงสรวงอะไรต่าง ๆ ใช่ไหมเนี่ย แล้วก็เลยเทวดาช่วยเหลือมนุษย์เพราะมีอำนาจมาก แต่เท่าที่เป็นมานั้นไม่แน่นะ เทวดาอาจจะไม่ช่วยก็ได้ เทวดาต้องรอเครื่องเซ่นใช่ไหม ฉะนั้นพุทธศาสนาก็เข้ามาใช้ฐานความเชื่อเดิมที่ว่าความสัมพันธ์ก็คือมนุษย์ด้อยกว่า อ่อนแอกว่านั้นก็เทวดามีอำนาจที่จะช่วยเหลือก็มาคล้าย ๆ กำหนดหน้าที่ให้ชัดเลย ยกขึ้นมาเป็นหน้าที่เลยว่า เอาน่ะท่านทั้งหลายนี่ มนุษย์เขาอ่อนแอกว่าท่านเขาอุตส่าห์มาพยายาม มาเซ่นสรวงบูชาอะไรต่าง ๆ ท่านเนี่ย ก็หวังความช่วยเหลือจากท่าน ฉะนั้นขอให้ท่านเนี่ยเอาใจใส่อย่าได้ประมาทจงช่วยรักษาเขาด้วยว่างั้นน่ะ คล้าย ๆ ว่ามากำหนดให้ชัดเลยว่าเป็นหน้าที่ของเทวดาจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ช่วยมนุษย์ถูกไหมครับ อันนี้ก็เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่ว่ามันเป็นการยกระดับขึ้นมาอีกอัน อย่างน้อยก็ให้ขอบเขตมันชัดขึ้นมา ท่าทีนี้ก็คือการที่มีเมตตาต่อกันระหว่างมนุษย์กับเทวดาแต่ว่าพุทธศาสนาไม่ได้พูดเฉพาะกับมนุษย์เท่านั้น พูดกับเทวดาด้วยแล้วการที่พูดกับเทวดาอย่างนี้แหละคือการที่ทำให้มนุษย์นี่มองเทวดาใหม่ด้วยใช่ไหม เพราะไม่ใช่สอนมนุษย์จะมองอย่างไรเท่านั้น มนุษย์อาจไม่ชัด เพราะไปมองแง่บทบาทของตัวเอง ทีนี้พอไปสอนเทวดา มนุษย์ก็มองบทบาทของเทวดาชัดขึ้นมาด้วย ว่าเทวดาควรทำอย่างไร เพราะฉะนั้นบทนี้อาจจะแปลอีกทีหนึ่ง อาจจะช่วยชัดขึ้นน่ะ
นี้อาจจะแปลเหล่าสัตว์เมื่อกี้ ที่จริงก็มุ่งหมายมาที่พวกเรา ผีสางเทวดาอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เหล่าสัตว์ เหล่าภูตผีสางเทวดาทั้งหลายเหล่าใดที่มาประชุมกันในที่นี้จะเป็นผู้อยู่ในภาคพื้นดินหรืออยู่ในท้องฟ้าเวหาก็ตาม ขอให้เทพผีสางเทวดาเหล่านั้นทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดีดีใจและทั้งจงสดับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวโดยเคารพ ข้าพระเจ้าจะกล่าวคำสุภาษิตกับท่านสักนิดหน่อย ถ้อยคำเหล่านั้นจะเป็นคำที่เตือนสติในความดี ไม่มีสิ่งชั่วร้ายเสียหาย เป็นคำแสดงหลักธรรมะแก่ผู้มีหน้าที่ ๆ จะเกิดเกื้อหนุนคนทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จง คำเหล่านั้นขออภัย จะทำให้ผีสางเทวดาเทพเจ้าทั้งหลายมีใจสงบ ขอให้เหล่าผีสางเทพเจ้าทั้งหลาย จงกระทำเมตตาในหมู่ประชาชาวมนุษย์ หรือในหมู่ประชาชนชาวมนุษย์ผู้นำเอาพลีกรรมสิ่งเซ่นสรวงมาแสดงออกต่อผีสางเทวดาทั้งหลายอย่างเอาจริงเอาจังทั้งกลางวันกลางคืน โดยที่เขาเหล่านั้นก็มุ่งหวังการช่วยเหลือตอบแทนบรรดามนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้อ่อนแอมีอานุภาพน้อย ส่วนท่านทั้งหลายผู้เป็นภูตผีสางเทวดานั้นมีอิทธิฤทธิ์มาก มีอำนาจยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ แม้จะไม่ปรากฏตัว แต่หมู่มนุษย์ทั้งหลายก็รู้จักกัน เพราะฉะนั้นขอท่านทั้งหลายจงอย่าได้ประมาท จงรักษามนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นเทอญ ว่าไง
คนฟังถาม อันนี้เป็นพระสูตรเก่า หรือยังไง
พระตอบ นี่แหละพระสูตรแบบนี้มีเช่นในมหาสมัยสูตรจะเป็นทำนองนี้ สูตรนั้นยาวมากมาในทีฆนิกายเลย ยาวมากเลย
คนฟังถาม แต่จริง ๆ มีจุดเน้นอื่นที่ใช้เรื่องการใช้วหลักเมตตาระหว่าง ใช้ไหมค่ะ
พระตอบ ใช้หลักเมตตานั่นแหละ แต่ว่า
คนฟังถาม ถ้าจะให้ดีที่ช่วงหลังนี่แสดงถึงหลักความจริงว่า เทวดามีฤทธิ์มากกว่ามนุษย์นี่ แล้วมนุษย์ก็ยังใช้เครื่องเซ่นสรวงเทวดา ฉะนั้นความสัมพันธ์ตรงนั้นก็ยังมีอยู่
พระตอบ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ขออภัยน่ะ นี่กำลังพูดถึงว่าสอนเทวดานะ นี่กำลังพูดกับเทวดาน่ะ พูดสอนเทวดาว่าท่านทั้งหลาย มนุษย์นี่เขาพากันเอาเครื่องเซ่นสรวงพลีกรรมมา มาบูชาท่านอยู่ทุกวันทุกคืนเนี่ยเขาเอาใจใส่ทำกันอย่างจริงจังนี่น่ะ เขามีกำลังน้อยอ่อนแอกว่าท่านใช่ไหม เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายเนี่ย จงเอาใจใส่เขา รักษาเขา คือพูดกับเทวดาไม่ได้พูดกับมนุษย์ใช่ ไหม ให้เทวดาสำนึกว่าเนี่ยมนุษย์เขาอุตส่าห์เอาเครื่องเซ่นสรวงบูชามากราบไหว้กันนี่ทั้งวันทั้งคืน นี่คือพูดถึงสภาพที่เป็นอยู่ ที่เป็นอยู่แล้วใช่ไหม นี่เขาอุตส่าห์เอาใจใส่มาทำอย่างนี้เพราะเขาอ่อนแอกว่าท่าน และเขามา นี่เขาก็หวังความช่วยเหลือตอบแทนจากท่าน เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายจงได้เอาใจใส่รักษาเขาด้วย นี้เป็นการพูดถึง เหมือนสอนผู้ใหญ่ใช่ไหม นี่คนทั้งหลายเหล่านั้นที่เขามาคอยบูชาเคารพท่าน ท่านต้องนึกถึงเขาเอาใจใส่เขาน่ะใช่ไหม ไม่ใช่ไปหมายถึงไปสนับสนุนอะไรใช่ไหม เจริญพร คงจะเข้าใจน่ะ คนฟังตอบ ค่ะ เข้าใจค่ะ
ตรงนี้ท่านตัดมาตอนเดียว อาตามายังไม่ได้ไปสอบดู เข้าใจว่าจะเป็นพวก อาจจะเป็นคำกล่าวของเทวดาด้วยกันก็ได้ แต่เป็นเทวดาที่นับถือพุทธศาสนา คืออย่างในมหาสมัยสูตรนี่ ทั้งสูตรเลยนี่เป็นสูตรที่เทวดากล่าว เป็นของพวกท้าวจตุโลกบาล คือคนอินเดียเขานับถือท้าวจตุโลกบาล แปลว่าเทวดาที่รักษาทั้ง 4 ทิศ ทีนี้ท้าวจตุโลกบาลนี่ ก็มาปรารภ คือมาเฝ้าพระพุทธเจ้าตามเรื่องในพระสูตร ว่าวันหนึ่งได้เข้ามาเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วก็กราบทูลบอกว่านี่ พระภิกษุเป็นต้น หรือใครก็ตามนี่ ก็หมายถึงว่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย อุบาสก อุบาสิกา ตั้งแต่พระเป็นต้นไปนี่ ไปอยู่ในที่ต่าง ๆ อาจจะไปอยู่ตามป่าตามเขาเนี่ย ในสถานที่เหล่านั้นก็จะมีพวกภูตผีสางเทวดาที่อยู่ในสังกัดของท้าวจตุโลกบาล เป็นยักษ์หมด เป็นกุมพันบ้าง เป็นเทวดาอะไรต่าง ๆ น่ะ พวกนี้ก็อาจจะยังไม่รู้จักพุทธศาสนา ไม่รู้จักธรรมะ ซึ่งต่างกับตัวท้าวจตุโลกบาลเอง ซึ่งเดี๋ยวนี้มาเป็นพุทธศาสนิกชนแล้วนับถือพุทธศาสนารู้ธรรมะ แต่ลูกน้องเหล่านั้น เขาอาจจะไม่รู้จัก เพราะฉะนั้นเขาก็จะมา บางทีเขาจะมาแกล้ง เขาจะมาทำอะไร ทีนี้พวกข้าพเจ้าก็เลยคิดว่าเนี่ย เอาคำนี้มากล่าวไว้ว่าถ้าหากว่าพระสงฆ์หรือพุทธศาสนิกชนเนี่ยได้กล่าวคำนี้ ซึ่งเป็นคำกล่าวออกมาจากหัวหน้าของเขา พวกผีสางยักษ์อะไรต่าง ๆ เหล่านั้นอมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นก็จะได้มีจิตเป็นมิตร เพราะว่าได้ฟังคำหัวหน้าแล้วนี่ใช่ไหม เจริญพร เพราะฉะนั้นก็คล้าย ๆ ว่าเอาคำของตนเองซึ่งเป็นผู้ใหญ่เป็นหัวหน้าเนี่ยเอามาถวายพระพุทธเจ้าไว้แล้วก็ ทีนี้ก็พระชาวพุทธก็จะเอาคำเหล่านี้ไปกล่าวที่ไหนก็ตาม พวกผีสางเทวดาก็ได้ยินได้ฟัง โอ้หัวหน้าเราว่าอย่างนี้ ไม่ได้เราจะต้องตั้งใจดีเป็นมิตรต่อชาวพุทธต่อพวกคนเหล่านี้ทั้งหลาย นี่สาระแบบเดียวกันอันนี้
นี้คือการที่พระพุทธศาสนาเข้าไปสัมพันธ์กันความเชื่อถือเก่าใช่ไหม เขาต้องยอมรับความจริงว่าคนอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างนั้น เข้ามานับถือพุทธศาสนาแรกเริ่ม ยังไม่เข้าใจอะไรหรือมีความเข้าใจบ้าง แต่ความหวาดหวั่นต่อสิ่งที่เคยเชื่อถือ หรือที่สังคมเขาเชื่อถือมีอำนาจเล้นลับต่าง ๆ มันยังครองใจตลอดเวลาที่เคยพูดไว้ว่า ความหวาดหวั่นมันมี ฉะนั้นพุทธศาสนาก็เอาพวกนี้เข้ามาอยู่ในร่มของธรรมะของพุทธศาสนาให้หมดให้มาเป็นมิตรซะ อย่างน้อยก็ทำให้ชาวพุทธนี่ไม่ต้องไปหวาดหวั่นสิ่งเหล่านั้น ที่เรียกว่าปิดช่องความหวั่นใจซะ เสร็จแล้วจะได้ไม่ต้องกังวลในสิ่งเหล่านั้นจะได้หันมาศึกษาธรรมะ พิจารณาฟังธรรมะโดยสมบูรณ์เลยใช่ไหม คือไม่อย่างงั้นมันยังก้ำ ๆ กึ่ง ๆ ไอ้ใจหนึ่งก็จะศึกษาในพุทธศาสนาจะเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนปฏิบัติตามคำสอน อีกใจหนึ่งก็ยังหวั่นว่า ไอ้เทวดาทั้งหลายภูตผีสางยักษ์ อมนุษย์มันจะมารังควานอย่างไงใช่ไหม ก้ำ ๆ กึ่ง ๆ เกิดมีเหตุการณ์ขึ้น ไม่ได้ บางทีออกไปเสียอีก นี้ก็เป็นอันว่าเริ่มตั้งแต่หมดทุกชั้นเลยที่นี้ ตั้งแต่พระพรหมณ์ลงมา ก็มานับถือพระพุทธเจ้าหมด มากราบมาไหว้ พระอินทร์ก็มาเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เวลาพระพุทธเจ้าประชวรนี่พระอินทร์ ขอประทานอภัยเถิด มาเทกระโถนเพราะเคารพพระพุทธเจ้ามาก เทกระโถนมูตรคูถอ่ะ แล้วก็เทวดาทั้งหลายก็หมด เพราะว่าพระอินทร์เป็นเทวราชา เป็นราชาแห่งเทพทั้งหลายใช่ไหม แล้วพรหมณ์ก็เป็นสูงสุด ทีนี้ก็มาพวกท้าวจตุโลกบาลนี้ระดับต่ำลงมาแล้วใช่ไหม ระดับที่ใกล้เคียงเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตลอดเวลา ก็ท้าวจตุโลกบาลก็มานับถือพระพุทธเจ้าอีกใช่ไหม แล้วยังแถมมากล่าวคำนี้ไว้ที่พระพุทธเจ้ามาแสดงความเคารพมาประชุมพร้อมกัน แล้วเสร็จแล้วก็มาเป็นห่วงพุทธศาสนิกชน มาถวายคำไว้ว่า คำเหล่านี้เอาไปพูดว่าหัวหน้าเขาพูดว่าอย่างนี้น่ะ ตกลงว่าครอบคุมหมดใช่ไหม ให้ชาวพุทธสบายใจ เวลาสวดมนต์ฟังธรรม ใจก็ยังอาจจะหวั่น นี่ก็เชิญเทวดามาฟังด้วยกัน เดี๋ยวนี้เป็นพวกเดียวกันแล้วใจก็อุ่น โอ้เทวดายังเป็นพวกเราด้วยกันมานั่งฟังธรรมอยู่ด้วยกันนี่ใช่ไหม สบายใจหมดทีนี้ไม่ต้องเป็นห่วงกังวลแล้ว ต่อไปนี้จะได้มุ่งมั่นมีสมาธิตั้งใจสดับฟังธรรมปฏิบัติธรรมจริงจังเต็มที่
ทีนี้บางทีเราไปมองว่า เอ้อพระสูตรเหล่านี้คงไม่ใช่ของพุทธศาสนา ว่าเป็นคำสอนนอกศาสนาเข้ามา ว่าพระไตรปิฏกนี้อาจจะมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามามาก นี่บางทีเป็นเพราะจับจุดไม่ถูก พระสูตรที่เข้ามาในพระไตรปิฎกย่อมมีจุดมุ่งหมายต่าง ๆ กัน แต่อันนี้อันหนึ่งที่สำคัญ ก็คือเราต้องยอมรับความจริงพุทธศาสนาเกิดขึ้นสภาพแวดล้อมอะไรใช่ไหม แล้วจะไปโยงกับสิ่งเหล่านั้นอย่างไร หลักการที่บอกเมื่อกี้ว่าพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาที่ถือว่ามนุษ์ต้องพัฒนาฝึกฝนตนเอง แล้วการที่มนุษย์จะฝึกฝนพัฒนาตนเองนี้มันจะไปบังคับไม่ได้ นี้ต้องไปพบกับเขาจุดที่เขายืนอยู่ ยอมรับมนุษย์ตามที่เขาเป็น แต่ยอมรับ ไม่ใช่ปล่อยอย่างนั้น ไม่ใช่ยอมรับแล้วก็เลยปล่อยว่าให้อยู่อย่างนั้น ยอมรับคือรู้เขาตามที่เขาเป็นแล้วพยายามไปช่วยดึงเขาขึ้นมา นี้การที่จะดึงเขาขึ้นมา มันก็ต้องเริ่มจากจุดที่เขาอยู่นั่นแหละ อย่างน้อยให้เขาเกิดความมั่นใจแล้วเปลี่ยนทัศนะคติท่าทีต่อสิ่งที่เขาเคยมีใช่ไหม นั้นนี่สิ่งเหล่านี้เมื่อเข้ามาสู่พุทธศาสนา เรื่องเทวดา เรื่องอะไรก็มันไม่เหมือนของเดิมแล้ว อย่างพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องเทวดาเลย สาระสำคัญมันไม่เหมือนกับของศาสนาพราหมณ์แล้วใช่ไหม ท่าทีความสัมพันธ์ความรู้สึกอะไรมันต่างกันหมด เทวดาของพราหมณ์จะต้องยกทัพไปรบเก่งกาจ แล้วจะยกทัพไปห่ำหันใครใช่ไหม นี่อาวุธนั้นอาวุธนี้มา พอมาเข้าในพระสูตรพุทธศาสนาเทวดามาประชุมกันมีแต่เรื่องดี พูดถึงสิ่งที่ดีงาม เรื่องธรรมะ เรื่องเมตตา อะไรต่าง ๆ ให้ช่วยเหลือกัน ให้มีจิตใจดีต่อมนุษย์น่ะ อย่างทีว่ามนุษย์นี่เขาอุตส่าห์นี่ว่าตามประเพณีใช่ไหม นี่ว่าตามพื้นฐานเดิม นี่มนุษย์เขาอ่อนแอกว่าน่ะ เขาอุตส่าห์มาพยายามเซ่นสรวงบูชาหาพลีกรรมมา เซ่นสังเวยท่านตลอดทั้งกลางคืนกลางวันเอาใจใส่ตลอดเวลา ก็เพราะเขาอ่อนแอกว่า เขาก็หวังให้ท่านช่วยเหลือตอบแทนเขา เพราะฉะนั้นท่านอย่าได้ประมาทน่ะ เอาใจใส่ช่วยรักษาเขาด้วยน่ะ อันนี้ก็เทวดาผู้ใหญ่สอนเทวดาลูกน้องใช่ไหม ก็สอนตามหลักธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอน จะว่าไปก็ยืมปากเทวดาพูดอีกทีหนึ่ง คล้าย ๆ กับธรรมะเอาปากเทวดาด้วยกันไปพูดใช่ไหม เทวดาใหญ่พูดเทวดาน้อยก็ต้องฟัง
ทีนี้เทวดาก็ตาม พรหมณ์ก็ตามนี่ ในที่สุดแล้วยังกลัวมาร มารนี่เป็นคู่ต่อสู้เรื่อยเลยกับพวกเทวดาพระพรหมณ์ อันนี้อย่างจะเห็นได้ชัดก็ตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ นี่ก็เป็นหัวต่อของศาสนาเดิมพุทธศาสนาเหมือนกัน ก็จะมีเรื่องที่เรามาตีความเรื่องบุคลาธิษฐานกันใช่ไหม ว่าพระพุทธเจ้าไปประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ เป็นโพธิ์บัลลังก์ ตอนที่จะตรัสรู้ก็ต้องได้ทรงรบกับมารใช่ไหม ต่อสู้กับมาร พิชิตมาร เพราะว่ามารบอกว่าพระพุทธเจ้าจะพ้นอำนาจเข้าเสียแล้วไม่พอใจ มารนี้เป็นพวก ปรนิมมิตวสวัตตี เรียกว่า วะสะตี วะสะวัดตีมาร มารผู้ที่หยั่งสัตว์ทั้งหลายเป็นอำนาจของตนเอง โดยเฉพาะก็อยู่ในชั้นกามาวะจร สัตว์ทั้งหลายจะต้องติดอยู่ในกามจะพ้นไปไม่ได้ ถ้าพ้นไปก็พ้นอำนาจมารใช่ไหม มารไม่พอใจ นี้พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้นี้จะพ้นอำนาจมาร โอ้มารยอมไม่ได้ ตอนนี้ต้องราวีเต็มที่ใช่ไหม พอยกทัพมาตามตำนานก็พรรณนากองทัพมารครั้งนี้ใหญ่หลวงที่สุดล่ะ ทุกชนิดทุกประเภทเลย ก็ยกทัพกันมา พอมารมาน่ะครับตอนนั้นพวกเทวดา พวกพระพรหมณ์นี่ด้วยดีใจว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้พากันมาห้อมล้อมเต็มไปหมดเรียกว่ามาเฝ้าเลย เต็มหมดเลย แน่นเลย พอได้ยินว่ามารมาเท่านั้นแหละครับ เทวดา พระพรหมณ์ หนีไปสุดขอบจักรวาลเลย มารไม่ได้ล่ะมารนี่ยิ่งใหญ่ที่สุด พอเทวดาพระพรหมณ์ก็หนีสุดกู่เลยใช่ไหม เหลือพระพุทธเจ้าองค์เดียว นี่ ๆ ที่บอกว่าไม่มีใครช่วยแล้ว เพราะว่าพรหมณ์ยังหนี่เตลิดเปิดเปิง นี้กองทัพมารนี่มาเต็มไปหมดเลยใช่ไหม พระพุทธเจ้าอยู่องค์เดียว นี่แหล่ะตอนเป็นพระพิชิตมารใช่ไหม ก็พระพุทธเจ้าชนะมารพร้อมทั้งเสนาหมด ในคืนนั้นก็ตรัสรู้เป็นพระพิชิตมาร ก็สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แปลว่าพิชิตมาร ชนะมาร นี่ปรางค์นี้ที่ประทับนั่งอยู่ข้างหลังเรา เป็นผู้ประเสริฐ ไม่ต้องมีอาวุธ ไม่ต้องมีอะไร ใช้พระคุณ พระปัญญาคุณ วิสุทธิคุณ มหากรุณาคุณชนะมารได้ เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปกลัว เทพเทิบพรหมณ์ต่าง ๆ นี่ ชนะหมด ประเสริฐน่ะครับ
คนฟังถาม พระเดชพระคุณครับ ที่มีคติเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระแม่มารีบีบมวยผม
พระตอบ ก็ตอนนั้ก็พูดถึงบารมีเพื่อจะอ้างบารมี ก็ว่าอ้างบารมีที่พระพุทธเจ้าที่ได้บำเพ็ญมาใช่ไหม นางธรณีก็เป็นพยานบีบมวยผมน้ำนองท่วมทัพมารหมดใช่ไหม ว่าความดีพระพุทธเจ้าบำเพ็ญมานี้ ไม่รู้เท่าไหรเลย อันนี้ก็เป็นเรื่องของการพูดถึงเหตุปัจจัยที่สร้างสมความดีเก่าที่ว่าบำเพ็ญมา กำลังแห่งความดีที่สร้างมามากมาย พิชิตความชั่วร้ายได้ แล้วพระพุทธเจ้าของเราก็ชนะด้วยพระคุณอย่างนี้ โดยไม่ต้องเป็นแบบเทวรูปฮินดูที่จะต้องผาดโผนโจนทะยานลุกขึ้นยกแข้งยกขายกแขนอ้าแล้วก็ถืออาวุธมากมายมี 20 มือ มี 1000 มือะไรต่าง ๆ ไม่ต้อง พระพุทธรูปของเราพระพิชิตมาร ชนะมารนี่สงบที่สุดเลยใช่ไหม แล้วก็มีเมตตากรุณายิ้มแย้มพร้อมที่จะมีเมตตาเกื้อหนุนให้ธรรมะความดีงามแก่สัตว์ทั้งหลายตลอดเวลาใช่ไหม นี่ยอดสุดของฤทธิ์อำนาจของภานุภาพก็อยู่ที่ความดีงามพระคุณต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ใช่อยู่ที่การมีโลภะโทสะโมหะเต็มที่ นั้นก็เป็นการที่ว่าเปลี่ยนจากอำนาจพลังแห่งกิเลสมาเป็นพลังแห่งคุณธรรมแห่งความดีงาม นี้ในคาถาที่เรานี้ก็ยังไม่ได้พูดถึง อย่างคาถาที่มีอยู่เช่นว่า ผู้ที่พัฒนาตนดีแล้ว เทวดาพระพรหมณ์เคารพบูชาใช่ไหม นี่จะมีต่อไปอีก แต่ในนี้ไม่ได้เอามาเพราะไม่ได้เป็นคาถาสวดในการอนุโมทนา เพราะว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องของการที่ว่าจะไปให้พรหรือว่าจะช่วยเหลือ เพราะว่าคาถานี้เกี่ยวกับการช่วยเหลือมนุษย์ใช่ไหมแต่ไปสอนเทวดา แล้วก็เอามาอยู่ในบทอนุโมทนาด้วย ที่จริงน่าจะรวมด้วยกันก็ดีที่ว่า
พระพุทธเจ้าหรือบุคคลที่จะฝึกตนพัฒนาตนดีแล้ว แม้เทพพรหมณ์เคารถบูชา ว่ามนุษย์นี่ในที่สุดเมื่อฝึกตนแล้ว มนุษย์นี่กลับเป็นผู้สูงสุดประเสริฐสุด ความประเสริฐสุดก็วัดอยู่ที่คุณความดีความบริสุทธิ์อย่างที่ว่า ที่บอกว่า มิมุตะพูตัง สัมพุทธัง อะคะตัง สมาหิตัง แล้วก็ว่าไปเยอะ เทวาปิ นะมะสันติ แปลว่าพระสัมพุทธเจ้านี้ทั้งที่เป็นมนุษย์นี่แหละ แต่ว่าพัฒนาหรือฝึกอบรมพระองค์เองแล้วเป็นผู้มีพระหทัยนี้ได้อบรมถึงที่แล้ว แม้เทพทั้งหลายก็น้อมนมัสการ ในคาถาอื่นก็ยังพระพรหมด้วย ความจริงในคาถาอนุโมทนายังมีบทให้พรที่เราใช้สวดกันตลอดทุกครั้งเลย แต่ไม่ได้มารวมด้วย เพราะว่ามันง่ายเกินไปอย่างที่เล่าแล้วว่า ในหนังสือเล่มนี้เกิดจากพระที่เป็นพระเก่า ชำนาญสวดอยู่แล้วก็เลย เป็นบทง่ายเกินไปก็ไม่เอาเข้ามา ต่อมาต้องเอาเข้ามาด้วย บทที่สวดบ่อยที่สุดคืออะไรล่ะ ก็คือบท พะวะตุสัพคะมังคะรัง ระขันตุสัพเทวะตา สัพพาพุทาตาเนวะสะทานัง อะโสถีพะวังตุเต นี้ใช่ไหม พะวะสุสัพคะรัง ขอสัพพะมงคล หรือมงคลทั้งปวงจงมี ระขันตุสัพเทวะตา ขอให้เทวดาทั้งปวงจงรักษา สัพพะพุทานะพาเวนะ ด้วยอนุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง สะทาโสถีพะวันตุเต ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านตลอดกาลทุกเมื่อ
แล้วต่อไปคาถาที่ 2 ก็เป็นพระธรรม ก็บอกแบบเดียวกันว่า ขอสัพมงคลจงมี ขอเทวดาทั้งปวงจงรักษาด้วยอนุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวงความสวัสดีจงมีแก่ท่านตลอดกาลทุกเมื่อ
แล้วก็คาถาที่ 3 ก็ของสัพพะมงคลจงมี ขอเทพหรือเทวดาทั้งปวงจงรักษาด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านตลอดกาลทุกเมื่อ อันนี้สวดทุกครั้งเลยเวลาอนุโมทนา จะได้ยินยกเว้นแต่บทสวดสัพโรจะเอาสั้น เอาแค่
คนฟังบอก มีอยู่แล้วน่ะครับ พระตอบ มีเหรอ คนฟังบอก ซ้อนด้านหลัง พระตอบ ไปไว้ตรงไหนล่ะ
คนพังบอก ไว้ข้างหลังบท
พระตอบ อ๋อไปไว้แล้ว ผมก็ไม่ได้ดู เพราะว่าไม่ได้ใช้สวดซักที คนฟังตอบ ครับ เพราะเหตุว่าง่ายเกินไปก็เลยไม่เอามาสวด อ๋อเอามาใส่ไว้แล้ว คือที่จริงก็ต้องใส่หมดแหล่ะ บทง่ายบทยากอะไรก็ให้มันเต็มซะ ทีนี้ก็เป็นอันว่ามีแล้ว ก็หมดเรื่องไปน่ะ
นี้ก็อันนี้บทสวด พะวะตุสัพ นี่เป็นบทยุคหลังไม่มีในพระไตรปิฎก ก็เป็นการที่ว่ามาโยงเชื่อมต่อจากความเชื่อศาสนาเก่าเข้าสู่พุทธศาสนา แต่ว่าต้องระวังให้ดีนะ พระยุคหลังบางทีชักเลย ๆ ไปเหมือนกัน ชักจะกลายไปชักจะอ้อนวอนไปแล้ว อันนั้นถ้ายุคเก่าแล้วก็แนวในทัศนะนี่ชัดมาก ท่าทีต่อเทวดาอะไรต่าง ๆ ก็คิดว่านี่ที่พูดมานี่ก็คงจะให้ได้แนวคิดแล้วก็เป็นเครื่องมายืนยัน หรือมาย้ำเสริมสิ่งที่พูดไปแล้ว เพราะพูดเรื่องนี้มาเยอะแล้วนะ ท่าทีจะชัดเจนแล้วก็ยังจะพูดต่อไปอีก ไหน ๆ ก็วันนี้มีบทสวดอนุโมทนาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เลยมาแปลซะด้วย
คนฟังถาม ญาติธรรมนี่ ครับ พระตอบ ญาติธรรม ก็ธรรมะต่อญาติไง
คนฟังถาม ธรรมะต่อญาติ
พระตอบ ตอนนี้มาใช้ผิด ใช้เป็นคนไป ใช้จนกระทั่งดึงไม่กลับแล้ว กู่ไม่ไหว ไปเรียกเป็นคน บางสำนักเอาไปใช้ผิดก่อน แล้วก็ใช้ตามกันไป คนไม่ได้ ญาติธรรม ก็ธรรมะต่อญาติ
คนฟังถาม ธรรมะต่อญาติ
พระตอบ ก็หน้าที่ต่อญาติ ก็หมายความว่า การที่เราไปอุทิศกุศลให้ท่านด้วยการทำบุญ ก็การทำหน้าที่ต่อญาติใช่ไหม ธรรมะต่อญาติ ทีนี้เดี๋ยวนี้มาเรียกเป็นคนเป็นญาติธรรมไปยุ่งกันไปหมด
คนฟังถาม เขาเรียกว่าญาติทางธรรม
พระตอบ ไม่ อย่างงั้นไม่เป็นไร ญาติทางธรรมก็หมดไป แต่เข้าเรียกญาติธรรมเลย
คนฟังถาม ครับ ครับ ด้วย ครับ
พระตอบ คืออันนั้นไม่ด้วยล่ะ เรียกว่าญาติทางธรรมจึงจะถูก แต่ไปเรียกญาติธรรมนี่ไม่ถูก ญาติทางธรรม ญาติโดยธรรมไม่มีปัญหา นี้เป็นภาษาไทยแต่ไปเรียกญาติธรรมผิดน่ะ เพราะเอาภาษาบาลีมาใช้วิปลาสไป ญาติโดยธรรมมันก็เป็นภาษาไทยไปใช่ไหม
คนฟังตอบ อ๋อครับ พระตอบ ญาติโดยธรรม ญาติทางธรรม แต่ญาติธรรมใช้ไม่ได้
ไหน ๆ วันนี้มีบทสวดอนุโมทนาที่เกี่ยวเรื่องนี้ก็เลยมาแปลซะด้วย ทีนี้ยังแปลไม่หมด เพราะฉะนั้นก็แปลต่อซิ บทต่อไปนี้ ไม่เกี่ยวกับเทวดาแล้วมั้ง อันนี้ อาทิยะสุตตะ คาถาว่าด้วย คาถาที่มาใน อาทิยะสุต หมายความว่าพระสูตร อาทิยะสูตนี้ยาวมีร้อยแก้วด้วย ตัดเอามาเฉพาะคาถา คาถาในอาทิยะสุต ในอาทิยะสุตนี่ก็เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรจะถือเอาจากโภคทรัพย์ หมายความพระสูตรที่ว่าด้วยการใช้จ่ายทรัพย์ว่า เรามีทรัพย์แล้วควรจะใช้ประโยชน์อย่างไร ไม่ใช่มี แล้วก็มีเฉย ๆ แล้วเกิดโทษ ทีนี้ท่านบรรยายจบแล้วท่านก็สรุปคาถาไว้ พระพุทธเจ้าตรัสคาถาสรุป คาถาสรุปนี้ก็ต้องไปดูเนื้อความในร้อยแก้วอีกที มาอ่านเฉพาะคาถาสรุปนี้ก็ไม่ได้ความสมบูรณ์ ฉะน้้นก็เป็นการที่ว่ามาพิจารณาตัวเองว่า อ๋อได้ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้ว มาพิจารณาอย่างนี้ คือว่าเอ้อเราได้ปฏิบัติตามที่พุทธเจ้าสอนปฏิบัติใช้ทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ถูกต้องตามหลักการแล้วก็ ภุตตา โภคา ภัจจา วิติณณา อาปะทาสุเม ก็พิจารณาแล้วก็ได้เห็นว่า อ้อ ภุตตา โภคา ภัจจา โภคทรัพย์เราก็ได้ใช้มันแล้ว ภัตตา ภัจจา คนที่ควรเลี้ยงเราก็ได้เลี้ยงแล้ว วิติณณา อาปะทาสุเม ในบรรดาภยันตรายทั้งหลายเราก็ข้ามพ้นแล้วนี่ด้วยอาศัยทรัพย์ใช้สอยก็ใช้ป้องกันอันตรายต่าง ๆ แล้วก็ข้ามพ้นไปได้ขจัดปัดเป่าภัยอันตราย อุทธัคคา ทักขิณา ทินนา ทักษิณาทานคือทานที่ถวายด้วยเชื่อกรรมอุทิศกุศลอะไรต่าง ๆ ที่มีผลในเบื้องสูง หมายความ เราก็ได้ถวายแล้วหมายความว่าได้ถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นทานที่มีผลในเบื้องสูง อะโถ ปัญจะ พะลี กะตา อีกที้งพลี 5 ประการ เราก็ได้กระทำแล้ว พลี 5 ประการ ท่านสอนไว้แล้วในบทร้อยแก้ว พลี 5 การมีอะไรบ้างละ
1 ญาติพลี แปลว่า สละสงเคราะห์ช่วยเหลือญาติ หมายความว่าทรัพย์ส่วนหนึ่งจะเตรียมไว้ สำหรับช่วยเหลือสงเคราะห์กันในหมู่ญาติ
2 อติถิพลี ใช้รับแขก คนที่รู้จักคุ้นเคยไปมาหาสู่ก็จัดไว้เตรียมไว้ แบ่งทรัพย์ไว้ส่วนหนึ่งที่จะได้ต้อนรับขับสู้ปฏิสันถารส่วนหนึ่ง
3 อะไรน่ะ ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ บิดามารดา บุพการีชน บรรพชนล่วงลับไปแล้วก็ทำบุญอุทิศให้แก่ท่าน
4 เทวตาพลี 4 มันต้องราชพลีก่อนซิ ราชพลี เพราะว่าสละบำรุงพระราชาก็หมายความว่าบำรุงถวายหลวง ถวายหลวง หมายความว่าเสียภาษีอากร เพื่อจะบำรุงให้ท่านได้มีกำลังมาดูแลรักษาประชาชน
ต่อไปก็ 5 ก็เทวตาพลี บำรุงเทวดา นี่ก็ท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบนั้น นี่ก็หมายความที่จะขยายที่จะบำรุงให้กว้างออกไป เอ้าพลี 5 อย่างเราก็กระทำแล้ว
อุปัฏฐิตา สีละวันโต สัญญะตาพรัปมะจาริโน ท่านผู้ทรงศีลผู้สำรวมผู้เป็นพรหมจารีเราก็อุปถัมภ์บำรุงแล้ว
ยะทัตถัง โภคะมิจเฉยยะ บัณฑิตโตฆะระมาวะสัง บัณฑิตอยู่ครองเรือนพึงปรารถนาโภคะทรัพย์เพื่อประโยชน์ใด
โส เม อัตโถ อะนุปปัตโต ประโยชน์นั้นหรือจุดมุ่งหมายนั้น เราก็ได้บรรลุถึงแล้วนี่
กะตัง อะนะนุตาปิยัง การงานการกระทำกรรมอันไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เราก็ได้กระทำแล้ว หรือแปลอีกอย่างว่า เราได้กระทำแต่กรรมที่ไม่ก่อความเดือดร้อน
เอตังอะนุสสะรัง มัจโจ อะริยะธัม เม ฐิโต นะโร บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมของอริยเจ้าหรือในอารยธรรมนี้แหละอารยธรรมมาตรงนี้ อริยธรรมเม แปลว่าอารยธรรม คนที่ตั้งตนอยู่ในอารยธรรมมาระลึกถึงความดังที่กล่าวมานี้
อิเธวะ นัง ปะสังสันติ ย่อมเป็นที่ได้รับการสรรเสริญทั้งในโลกนี้
เปจจะ สัคเต ปะโมทะตีติ จากโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ว่าอย่างงั้นน่ะ
เห็นไหมหลักธรรมชัดเลยใช่ไหม ว่าให้เรารู้จักปฏิบัติต่อทรัพย์ อันนี้คาถานี้จะใช้สวดในเรื่อง เอ้กับคนตายก็ได้ ที่จริงจะใช้ในงานวันเกิดก็ได้ วันเกิดแล้วที่จริงน่าสวด ถ้าถึงวันเกิดรอบปีนึงน่ะ เอ้อ เราได้ใช้จ่ายทรัพย์ระลึกทวนความจำว่าเราได้ใช้จ่ายทรัพย์ตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้ อย่างนี้ พอเราระลึกแล้วก็เกิดความปีติอิ่มใจใช่ไหม แต่ที่นี้ท่านไปใช้สวดเพราะไปมันมีคำว่าอิเธวะ นัง ปะโมทะตีติ เปจจะ สัคเต ปะโมทะตีติ ด้วย บอกว่าได้รับการสรรเสริญในโลกนี้จากโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ ไปเอาคำว่า จากโลกนี้ไป ก็เลยไม่ยอมมาสวดให้คนเป็น ไปสวดให้คนตายเสียนี่
เอ้าแปลอีกทีก็ได้ บอกว่าทรัพย์สมบัติเราก็ใช้สอยให้เป็นประโยชน์แล้ว คนที่ควรเลี้ยงดูเราก็ได้เลี้ยงแล้ว พยานอันตรายเราก็ได้ป้องกันข้ามพ้นไปได้แล้ว ทานอุทิศผลที่มีผลในเบื้องสูงเราก็ได้ให้แล้ว หรือได้บำเพ็ญแล้วอีกทั้งพลี 5 ประการเราก็ได้กระทำแล้ว ท่านผู้มีศีลสำรวมดีเป็นพรหมจารีเราก็ได้อุปถัมภ์บำรุงแล้ว บัณฑิตครองเรือนพึงปรารถนาโภคะเพื่อประโยชน์ใดประโยชน์นั้นเราก็ได้บรรลุถึงแล้ว อีกทั้งเราก็ได้กระทำแต่กรรมที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนให้แก่ใคร ๆ คนผู้ตั้งอยู่ในอารยธรรมระลึกถึงความดังที่กล่าวมานี้ ย่อมได้รับการสรรเสริญทั้งในโลกนี้จากโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ อย่างน้อยมันก็เกิดปิติแล้วใช่ไหม มาสำรวจตัวเอง โอ้ถึงวันเกิดทีนึงนี่ เราได้ใช้จ่ายทรัพย์เป็นไปตามวัตถุประสงค์นี้ สบายใจอิ่มใจใช่ไหม สำรวจตัวนี่ ที่จริงต้องสำรวจน่ะ เอ้อใช้จ่ายทรัพย์ให้เป็นประโยชน์หรือเปล่า คนที่ควรเลี้ยงเรา เราเลี้ยงดูให้เขาสุขทั่วหรือเปล่าใช่ไหม ใช้ทรัพย์ป้องกันภัยอันตรายถูกต้องแล้ว เราได้ทำประโยชน์ทำหน้าที่ต่อแผ่นดินเสียภาษีอากร ทำหน้าที่ต่อญาติ ต่อมิตร ต่ออะไรต่าง ๆ ดีแล้วยัง
ต่อไปก็สุดท้ายวิหาระทานะคาถา แปลว่า คาถาในการถวายวัด หรือในการถวายที่อยู่ หรือในการให้ที่อยู่ แปลอย่างกว้าง วิหาระทาน คือการให้ที่อยู่ ในที่นี้ประสงค์ให้เป็นการถวายที่อยู่กุฏิเสนาสนะตลอดจนสร้างวัด แต่ตามเรื่องมันมาในพระไตรปิฎก ในวินัยปิฎกก็คือว่า ได้มีเศรษฐีเนี่ยถวาย คือเศรษฐีเนี่ยเรื่องราวเล่านิดเดียวว่า เศรษฐีมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทีนี้ตอนนั้นพระสงฆ์เนี่ยยังไม่มีกุฏิที่อยู่นะ เพราะว่าพระนี่ถ้าเขาไม่ถวายก็อยู่ไม่ได้เดิมรุขมูลเสนาสนังอยู่ขอนไม้ ทีนี้ไม่มีขอนไม่ก็อยู่ตามลอมฟางอะไรต่าง ๆ ทีนี้เศรษฐีก็มองเห็นเมื่อเช้า ๆ นี่พระก็ออกมาจากที่เหล่านี้ไม่มีกุฏิจะอยู่ ก็เลยมาคิดว่า เอ้จะทำไงให้ท่านอยู่กันสะดวก ท่านจะได้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นสบายขึ้นบำเพ็ญสมณะธรรมทำหน้าที่ก็มีสปายะขึ้น ก็เลยไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าจะขอถวายสร้างกุฏิที่อยู่ เรียกว่าวิหาร วิหารแปลว่าที่อยู่ ถวายพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาต คือหมายความให้มีเรื่องก่อน ว่ามันจะต้องมาจากความดีของพระที่ทำขึ้นมาใช่ไหม แล้วเขาศรัทธา เอ้าเขาศรัทธา พระพุทธเจ้าก็อนุญาต ทีนี้เศรษฐีนี่ก็เลยสร้างวัดถวาย
สร้างวัดแล้วก็เลยมีคาถานี้อนุโมทนา ว่าอ้อ การที่ หรือการสร้างวัดหรือสร้างกุฏิถวายพระนี่ควรจะปรารภเหตุผลอันใดและมีประโยชน์อย่างไรด้วย ควรสร้างเพื่อเหตุผลวัตถุประสงค์ใดแล้วมีประโยชน์อย่างไร สีตัง อุณหัง ปะฏิหันติ ตะโต วาฬะมิคานิจะ บอกว่า ที่อยู่หรือกุฏิอะไรต่าง ๆ เหล่านั้นทีว่าไป ย่อมป้องกันความหนาวความร้อนพร้อมทั้งสัตว์ร้ายทั้งหลายนี่ ป้องกันแล้วใช่ไหม ป้องกันหนาวร้อนสัตว์ร้ายทั้งหลาย อีกทั้งเหลือบยุง สิริงสะเป จะ มะกะเส สิสิเร จาปิ วุริฏฐิโย อีกทั้งเหลือบและยุงทั้งหลายพร้อมทั้งน้ำค้างและน้ำฝน ว่าอย่างงั้นน่ะ น้ำค้างก็กันได้ น้ำฝนก็กันได้ ตะโต วาตาตะโป โฆโร นอกจากนั้นแล้วยังป้องกันสายลมและแสงแดดที่แผดกล้า อันจะเกิดมีขึ้นมาด้วยว่าอย่างงั้นน่ะ เลนัตถัญจะ สุขัตถัญจะ ฌายิตุง จะ วปัสสิตุง วิหาระทานัง สังฆะสะอะคังพุเทวังนิตัง การถวายที่อยู่เป็นประโยชน์แก่ตน วิหาเร การะเย รัมเม ก็พึงสร้างกุฏิวิหารที่อยู่อาศัยอันรื่นรมย์ รัมเมอันรื่นรมย์ วาสะเยตถะ พะหุสสุเต แล้วพึงนิมนต์พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูตรที่มีความรู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาอยู่อาศัยในกุฏิวิหารนััน เตสัง อันนัญจะ ปานัญจะ วัตถะเสนาสะนานิ จะ ทะเทยยะ อุชุภูเตสุ วิปปะสันเน จะเตสา พึงถวายข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม พร้อมทั้งเครื่องเสนาสนะทั้งหลาย อุชุภูเตสุ ในท่านทั้งหลายเหล่านั้นผู้ประพฤติตรง ผู้ตรงต่อธรรมะ วิปปะสันเนนะเจตะสา ด้วยจิตใจที่ผ่องใส เต ตัสสะธัมมัง เทเสนติ ท่านพระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็จะแสดงธรรมแก่บุคคลนั้น สัพพะทุกขา ปะนูทะนัง อันเป็นธรรมที่บรรเทาเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง ยัง โส ธัมมะมิธัญญายะ ซึ่งผู้ถวายทานนั้นได้รู้แล้ว ปะรินิพพา ตะนะนาสะโวติ ก็จะหมดกิเลสอาสวะปรินิพพานได้แม้ในโลกนี้ นี่จะเห็นเลยว่าการถวายสร้างวัด มีเหตุผลอะไร วัตถุประสงค์อย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ควรปฏิบัติอย่างไรใช่ไหม
เอ้าแปลซะอีกทีหนึ่งใช่ไหม นี้ถ้าเราปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าสอนไม่ค่อยมีปัญหา แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้คำนึงถึงที่ตรัสไว้ เวลาอนุโมทนา เวลาถวายวัด ถวายกุฏิก็จะใช้บทอุนโมทนานี้ แต่บางทีพระสวดก็สวดโดยไม่รู้ความหมายก็สวดไปอย่างนั้นเองใช่ไหม นี้ถ้ารู้ความหมายนี่ จะทำให้เราปฏิบัติได้ถูกต้อง ว่า เอ้อสร้างวัดแล้วนี่เพื่อใคร ควรจะทำยังไง
เอ้าแปลซะอีกทีว่า วิหาระนะคาถา คาถาว่าด้วยการถวายกุฏิหรือที่อยู่หรือวัด สีตัง อุณหัง ปะฎิหันติ คะโต วิฬะคานิ จะ กุฏิวิหารหรือวัดวาอารามนั้น ย่อมช่วยป้องกันหนาวร้อนกับทั้งสัตว์ร้าย สิริงสะเป จะ มะกะเส สิสิรี จาปี วุฏฐิโย ป้องกันทั้งเหลือบและยุง ทั้งน้ำค้างและน้ำฝน ตะโต วาตาตะโป โฆโร สัญชา โต ปะฏิหัญญะติ นอกจากนั้นยังป้องกันสายลมและแสงแดดที่แผดกล้าอันเกิดมีขึ้นมา เลนัตถัญจะ สุขัตถัญจะ ฌายิตุง จะ วิปัสสิตุง วิหาระทานัง สังฆัสสะ อัคคัง พุทเธหิ วัณณิตัง การถวายกุฏิวิหารที่อยู่อาศัยวัดวาอารามแก่สงฆ์ เพื่อการหลีกเร้น เพื่อความสะดวกสบาย เพื่อบำเพ็ญฌานและวิปัสสนา อัคคัง พุทเทหิ วัณเณีตัง อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่าเป็นสิ่งที่ดีเลิศ ตัสมา หิปัณฑิโต โปโส เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน เมื่อมองเห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์แท้จริงแก่ตน วิหาเร การะเย รัมเม พึงสร้างกุฏิวิหารที่อยู่อาศัยอันรื่นรมย์ วาสะเยตถะ พะหุสสุเต แล้วก็นิมนต์เอาหรือเชื้อเชิญท่านผู้เป็นพหูสูตรผู้รู้ธรรมรู้วินัยมาอาศัยอยู่ในที่นั้น เตสัง อันนัญจะ ปานัญจะ วัตะเสนาสะนานิ จะ ทะเทยยะ อุชุภูเตสุ พึงถวายหรือให้ข้าวน้ำ ผ้านุ่งห่ม พร้อมทั้งเครื่องเสนาสนะ แก่ท่านเหล่านั้น โดยมีใจเลื่อมใสในท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติตรง เต ตัสสะธัมมัง เทเสนติ ท่านเหล่านั้นก็จะแสดงธรรม สัพพะทุกขาปะนุทะนัง ที่บรรเทาเสียซึ่งสัพพะทุกข์แก่บุคคลผู้ถวายผู้สร้างวัดนั้น ยัง โส ธัมมะมิธัญญายะ ปะรินิพพา ตะยะนาสะโวตะ อันเป็นธรรมที่บุคคลได้สดับรู้เข้าใจแล้วจะได้หมดกิเลสอาสวะดับเย็นในโลกนี้ เอ้าล่ะน่ะ จบ ก็เป็นอันว่า หมดแล้วบทสวดสำหรับวันศุกร์น่ะ ดีไหม แปลให้ฟัง ไม่งั้นเราก็สวดกันไปเรื่อย ๆ ก็ได้แต่ภาษาบาลีพอเป็นทำนอง ทีนี้เราก็รู้ความหมาย ก็คงจะพอแล้ววันนี้ แล้วค่อยไปพูดต่อในเรื่องเนื้อสาระต่อไป
คนฟังถาม เรียนถามนิด ที่พระอาจารย์พูดที่ท้าวเวชสุวรรณมาทูลพระพุทธเจ้า
พระตอบ อ๋อ โลกบาล
คนฟังถาม ภาณยักษ์ หมายถึง
พระตอบ เอ้า ภาณยักษ์ ชื่อมันเรียกกันภาณยักษ์ ก็คือมหาสมัยสูตร ชื่ออันเดียวกัน
คนฟังถาม เรียนถาม ผมเคยได้ยิน คำว่าภาณยักษ์เป็นพระสูตรอะไร
พระตอบ ภาณยักษ์ ก็หมายความว่า บทกล่าวของยักษ์ ภาณพระก็คำกล่าวของพระ
คนฟังถาม แล้วมันใช้พระสูตรไหนไม่ทราบครับ
พระตอบ เอ้ผมไม่ใจภาณพระนี่ ปกติน่ะ ภาณยักษ์ก็คำกล่าวของยักษ์ ยักษ์กล่าว ยักษ์พูด ก็ยักษ์นี่ก็ พวกนี้ท้าวจตุโลกบาล 4 มียักษ์เป็นต้น นี่ก็ยักษ์นี่คือว่าคนไทยนี่ กลัวยักษ์มาก แล้วรู้จักยักษ์มาก ท้าวจตุโลกบาลอื่นก็ยังไม่ค่อยรู้จักเท่าไหรใช่ไหม เพราะฉะนั้นพูดภาณยักษ์ชัดที่สุด คนไทยรู้จักดี
คนฟังถาม ภาณพระนี่ไม่ทราบว่าใช้สูตรอะไร พระตอบ เอ้ อันนี้ไม่ทราบ ต้องไปค้นดูก่อนคือมีใครพูดหรอ
คนฟังถาม ครับ เคยมีคนพูดแล้วเคยอ่านเจอ
พระตอบ ที่จริงภาณพระเยอะแยะไป พระพุทธเจ้าตรัสไม่รู้กี่สูตร
คนฟังถาม ไม่ใช่ ไม่ใช่ แต่หมายความว่า พระตอบ ที่เป็นชื่อเฉพาะ
คนฟังถาม อย่างหนังสือกล่าวว่า อย่างตอนรัชกาลที่ 2 ตอนที่พยายามที่ พระพูด เกิดอหิวา
คนฟังถาม รัชกาลที่ 2 ตอนที่พยายามทำบทสวดมนต์ใหม่ เสร็จแล้วก็มีบอกว่าในวังสวดได้ ภาณยักษ์ ภาณพระ
พระตอบ อ๊อ ไม่รู้สิว่าจะหมายแค่ไหน ภาณพระมันเยอะไป บทสวดของพระ นี้ก็ภาณยักษ์ก็นี่บทสวดที่เป็นคำกล่าวของยักษ์ ถ้าภาษาวิชาการก็คือมหาสมัยสูตร พระสูตรว่าด้วยการประชุมใหญ่ มหาสมัยแปลว่าการประชุมใหญ่ สมัยแปลว่าการประชุมน่ะ การประชุมใหญ่ ก็หมายถึงว่าพวกท้าวจตุโลกบาลพร้อมทั้งพวกลูกน้องบริวารมาประชุมกันเต็มไปหมดเลย ชวนกันใหญ่พวกนั้น พวกกุมพัน พวกยักษ์มากัน โอ้มากันใหญ่มาประชุมมาหาพระพุทธเจ้า เสร็จแล้วท้าวจตุโลกบาลก็นี่มากราบทูลพระพุทธเจ้า อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่า ผู้ที่นับถือพระพุทธเจ้าเป็นชาวบ้านชาววัดอะไรก็ตามไปอยู่ในที่ต่าง ๆ พวกลูกน้องท้าวจตุโลกบาลก็ไม่รู้ไม่เข้าใจ บางทีก็อาจจะมาเบียดเบียนด้วยแกล้งประการต่าง ๆ ก็ขอให้เอาถ้อยคำของท้าวจตุโลกบาลนี่ไปกล่าวพวกนั้นจะได้เข้าใจแล้วก็จะได้เป็นมิตร ทีนี้ก็ คำสวดนั้นก็ต้องเป็นเรื่องดี ๆ ที่แสดงความเคารพพระพุทธเจ้าพระรัตนตรัยใช่ไหม ทีนี้บทนี้ เพราะว่าเกี่ยวกับเรื่องยักษ์ เรื่องภูตผีปีศาจ มนุษย์ก็เลยนิยมเอามาใช้เวลาที่เกิดเหตุเภทภัยใหญ่ ๆ
คนฟังถาม
พระตอบ ก็แล้วแต่เรื่องร้าย ๆ ทั้งหลายที่กลัวยักษ์ กลัวมาร กลัวอมนุษย์ กลัวผี แล้วคนไทยเราก็ถือว่าอหิวาต์ ก็เป็นห่าใช่ไหม ก็เป็นพวกผีมากันใหญ่ใช่ไหม ก็เพราะฉะนั้นเวลาเกิดโรคระบาดใหญ่ เกิดอหิวาตกโรคคนตายกันมากมายนี่ก็จะสวดภาณยักษ์กัน โดยเข้าใจว่าพวกผีพวกยักษ์มากันเยอะก็มาสวดภาณยักษ์ ทีนี่เพื่อจะให้มันสมจริงใช่ไหม ก็ต้องดุเดือดหน่อยใช่ไหม สวดแล้วก็กระทุ้งไปด้วย กระแทกเสียงไปด้วย พวกผีพวกยักษ์ นี้มันต้องแบบนี้ หมายความนักเลงมันต้องสู้กับนักเลง ก็ทำเสียงให้มันน่ากลัว พวกผีพวกยักษ์มันจะได้กลัวแล้วมันจะได้ตั้งใจฟังใช่ไหม ไม่งั้นมันก็ไม่เอาใจใส่ พวกผีพวกยักษ์อมนุษย์นี่
คนฟังถาม ก็ไม่ใช้ท่าทีด้วยเมตตาถ้อยคำ
พระตอบ ด้วยถ้อยคำเมตตาเอง แต่หมายความนิสัยเข้าอย่างนั้น หมายความว่าตอนนี้เราไปเกี่ยวข้องพวกนักเลงนี่เราต้องพูดดุเดือดหน่อย แต่ว่าไอ้ลักษณะท่าทีการพูดใช่ไหม ดุเดือดหน่อยแต่ใจเมตาถ้อยคำเมตตาไม่มีอะไร แกทำไมไม่รู้จักพระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ท้าวจตุโลกกระบาลนายของแกเนี่ยก็นับถือพระรัตนตรัยแกไม่รู้หรือ อะไรทำนองนี้ใช่ไหม ก็พูดดุเดือดหน่อยซิใช่ไหม เพราะฉะนั้นเรามันต้องมีเมตตาต่อกันซิ เราจะพูดกับคนนักเลงก็ต้องอย่างนี้ใช่ไหม อันนี้ก็เพื่อให้สมจริงก็เลยต้องเอากระแทกเสียงอะไรต่ออะไร ดุเดือด
คนฟังถาม พระอาจารย์ใช้ปิยวาจาไม่ได้กับยักษ์ซิครับ
พระตอบ ปิยวาจา แต่ปิยวาจานั้นหมายถึงว่า ลักษณะวิธีพูด ท่านบอกปิยิวาจาแม้แต่แม่ด่าลูก ก็ยังไม่ผิดเพราะว่าน้ำใจนั้นไม่ได้ขัดเคืองไม่ได้คิดร้าย ท่านยกตัวอย่างบอกว่านี่ ลูกคนหนึ่งว่าไม่ฟังไปเที่ยวท่าไปเที่ยวเรื่อย แม่ก็กลัวลูกจะไปเป็นอันตราย ลูกอย่างไปเลย แม่เป็นห่วงที่นั่นมันมีอันตราย ก็ไป แม่ก็ทั้งโกรธทั้งรัก เอ้อเอ็งไปให้กระทิงมันกัดตายว่าอย่างงั้น ท่านบอกว่าที่แม่พูดอย่างนี้ไม่เสียปิยวาจา เพราะใจรักมีเมตตาใช่ไหม ฉะนั้นมันอยู่ที่ใจรักว่าอย่างนั้น อาจจะต้องถึงกับด่าว่ากันก็อย่างไปถือเลย น้ำใจท่านดีว่าอย่างนั้น ทีนี้ได้ทั้งสาระและรูปแบบก็ดีหมายความว่าทั้งตัวถ้อยคำที่เป็นรูปแบบก็ดีด้วย ทั้งสาระคือเนื้อหาก็มาจากเมตตาธรรมด้วยใช่ไหม เพราะเป้าหมายนั้นคือเรื่องความดีงามใช่ไหม นั้นทีนี้พูดกับยักษ์ อย่างที่ว่าเป็นนักเลง แต่บางทีพระเราก็ว่ากันจนกระทั่ง มันชักจะสนุก เอาเป็นว่ากระแทกกระเทิกสวดกัน แหมว่ากันโอ๋สวดกันให้จริงจัง ทีนี้ในแง่หนึ่งมันได้ในแงให้กำลังใจแก่ประชาชน ประชาชนได้ยินแหมสวดกระเทกดังอย่างงั้น ยิ่งเกิดกำลังใจใหญ่ โอ้ยผีมันหนีแน่ แล้วถูกไหม คนฟังบอก เจ้าเข้า ไหนครับ เจ้าเข้าเลยนี่ใช่ไหม ก็นี่แหละบอกแล้วไง เรื่องนี้มันอยู่ที่จิตไร้สำนึก บางคนนะครับพรมน้ำมนต์ปั้บตัวสั่น โอ้ยแทบจะลอยเลยใช่ไหม บางคนเป็นทุกทีพอโดนน้ำมนต์ทีไร เคยเจออยู่คนหนึ่งเป็นลูกของญาติโยมที่วัดพระพิเรนทร์ พอพรมน้ำมนต์ทีไรเอ้าล่ะสั่นผับ ๆ ๆ ๆ นี่มันลงจิตไรัสำนึก เพราะฉะนั้นบอกแล้วเรื่องนี้มันเรื่องที่เราจะต้องเข้าใจนะ ในเรื่องนี้ระดับเหตุผลไม่พอ มันจะมัวมาคิดอยู่ว่า อันนั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ควรจะเป็นอย่างนั้นไม่ได้ อย่างที่บอกว่าเข้าป่า พอเขาบอกเสือมาเท่านั้น มันไม่ต้องคิด เสือรูปร่างเป็นอย่างนี้ มันดุร้ายอย่างนี้ ถ้ามันกัดเรา ๆ มันตายแน่นะใช่ไหม เราควรจะหนีหรือจะทำไงมันไม่ต้องคิดใช่ไหม มันสั่นทันทีเลย มันพรึบเดียวใช่ไหม มันต้องมานั่งคิดพิจารณาไหมที่จะกลัว มันมาจากไหนล่ะ เนี่ยมันอยู่ลึกถึงจิตไร้สำนึกใช่ไหม ไอ้อย่างนี้แหละอะไรที่จะทันกันล่ะมันก็ต้องมีไอ้ตัวที่มันลงไปถึงจิตไร้สำนึกด้วยเช่นเดียวกัน เช่นความเชื่อที่ลึกซึ้งที่แรงมากหรือปัญญาที่รู้เด็ดขาดไปเลยมันก็แก้กันได้ แต่จะมาเอาไอ้สิ่งที่เป็นเหตุผลว่ามัวไปคิดกันอยู่นี่ไม่มีทางหรอก เพราะฉะนั้นจึงต้องคำนึงถึงอันนี้ด้วย เวลาเกิดเหตุผลนี้เรามันเตลิดเปิดเปิงหมดจิตใช่ไหม นี้คนที่ว่าพอเขาตะโกนว่าเสือมาแล้วก็สั่น ผับ ๆ ๆ ๆ ถ้าเขาเกิดอยู่ในที่ ๆ มันปลอดภัยเด็ดขาด เสือมันทำอะไรไม่ได้ก็ไม่ต้องคิดเช่นเดียวกัน เสือมามันก็เฉยถูกไหม ความรู้อันนี้ที่มันทำให้มีปฏิกิริยาทันที นี้มาจากไหน มันเป็นความรู้พร้อมเฉพาะที่ทันทีไม่ต้องไปนั่งคิดถูกไหม นี่ซิอันนี้ที่สำคัญมันต้องให้ถึงขึ้นนี้ อันนั้นคนที่จะจัดการกับเรื่องเนี่ยมันไม่ใช่แค่มาเอากันระดับจิตสำนึกมาพูดมาจากันอยู่ใช้เหตุผลเท่านั้นไม่พอ ต้องเป็นความเชื่อ หรือเป็นความรู้ที่เด็ดขาดไปเลย เชื่อก็ต้องเชื่ออย่างแรงกล้า หรือรู้ก็ต้องรู้เด็ดขาดไปเลย อันนี้จึงจะจัดการกับไอ้ตัวฝ่ายตรงข้ามที่มันลึกลงไปในจิตไร้สำนึกได้ใช่ไหม
ที่นี้ว่า เอาล่ะที่จริงเป็นเรื่องที่ต้องพูดต่อไป แต่พูดนำไว้นิดหนึ่งก็ได้ คือว่าเรื่องศาสนาต่าง ๆ เนี่ยมันจะให้ความเชื่อเป็นหลัก ทีนี้ความเชื่อในมันให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยพอเชื่ออันนี้ปั้บ มันความรู้สึกมั่นคงเชื่อปลอดภัยมีมาแล้วก็ได้ประโยชน์ใช่ไหม จิตใจมันก็อยู่มันก็ไม่ประหวั่นพรั่นพรึงไม่ตัวสั่นงันงกก็ได้ประโยชน์ แต่ว่าถ้าเราอยู่ด้วยความรู้สึกมั่นคงจะพอไหม นี่คือศาสนามักจะให้อันนี้ที่สำคัญ ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ก็คือเชื่อว่าปลอดภัย หวังว่าปลอดภัย พุทธศาสนาบอกว่ามันต้องถึงขั้นที่เป็นความมั่นคงปลอดภัยจริง ๆ อันนี้ไม่เหมือนกันนะ ความรู้สึกว่ามั่นคงปลอดภัย กับความมั่นคงปลอดภัยที่แท้จริง ทีนี้ศาสนาอาจจะให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยชะโลมใจทำให้เขาสบายใจได้ แต่พุทธศาสนาบอกแค่นี้ไม่พอนะคุณต้องถึงความมั่นคงปลอดภัยที่แท้ ไอ้ความมั่นคงปลอดภัยที่แท้นี้อยู่แค่ขั้นความความเชื่อไม่พอ ต้องขั้นปัญญารู้เด็ดขาดแก้ปัญหาได้ ทีนี้เมื่ออยู่ด้วยความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยเนี่ย จริงอยู่เป็นประโยชน์ แต่พร้อมนั้นเป็นโทษ ถ้าคนเกิดสบายใจเสียแล้วรู้สึกมั่นคงปลอดภัยก็เลยไม่แก้ปัญหา ไม่สร้างความมั่นคงปลอดภัยที่แท้จริงใช่ไหม ก็หยุดเท่านั้นนี่แหล่ะ เพราะฉะนั้นพุทธศาสนากลับเป็นโทษตรงนี้ ถ้าไปติดปั้บอยู่เลยทีนี้ อันนี้ตอนนี้ที่เป็นปัญหามาก ก็คือว่าศาสนามันช่วยให้เป็นประโยชน์จริง สร้างความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย แต่เสร็จแล้วก็เลยทำให้คนวนอยู่ที่นั่น จมอยู่ที่นั่น อยู่กับความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย อยู่กับความหวัง อยู่กับความเชื่อ อยู่กับความอุ่นใจนั้นเสียไม่ก้าวต่อ มันก็เลยกลายเป็นตัวขัดขวาง ไม่ให้เขาไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยที่แท้จริง บางทีกลับร้ายกว่า กลับการที่ปล่อยให้คนนี่ไม่รู้สึกมั่นคงปลอดภัย แล้วพวกนั้นจะดิ้นเต็มที่ ๆ เพื่อจะให้ความมั่นคงปลอดภัยที่แท้จริงใช่ไหม นั้นจึงบอกว่าไม่แน่น่ะระหว่าง 2 เมื่อวานหรือเมื่อวานซืนพูดที่หนึ่งแล้วว่า 3 ระดับ
1 มนุษย์ที่ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่หวังเลยแย่ที่สุดเลย
2 มนุษย์ที่มีความรู้สึกหวังอุ่นใจใช่ไหม
3 มนุษย์ที่ มนุษย์ที่ช่วยตัวเองได้โดยสมบูรณ์
3 ระดับไหนดีที่สุด ช่วยตัวเองแก้ปัญหาได้เสร็จสมบูรณ์ดีที่สุด ระดับที่ 2 เราบอกว่า อ๋อ หวังความช่วยเหลือจากอำนาจโน้นอำนาจนี้มาได้มีความอุ่นใจใช่ไหม ดีที่ 2 ไอ้พวกที่ไม่มีอะไรเลยยากไร้แย่ที่สุดใช่ไหม เรามองงี้ แต่ไม่แน่ บางทีไอ้พวกที่แย่ที่สุดนี่แหละ เพราะมันไม่มีความหวังนี่มันดิ้นสุดฤทธิ์เลยมันแข็งขึ้นมา ไอ้พวกที่มีความหวังซะอีกจมอยู่ที่นั่นแหละไม่แข็งแรงอ่อนแอหวังพึ่งเขาเลยไม่ไปไหนแล้ว ฉะนั้นไอ้พวกที่แย่ที่สุดกลับแข็งแรงไปได้ก้าวไปสู่ขั้นที่ 3 เลยใช่ไหม สามารถแก้ปัญหาไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยที่แท้จริง งั้นท่านจึงต้องเอาตัวที่ 3 เป็นหลักตัดสิน ว่าต้องเอาความมั่นคงปลอดภัยที่แท้จริงจะมาได้ด้วยอันที่ 1 ที่ 2 เอาทั้งนั้นนะ อย่าไปเอาแต่ที่ 2 บางกรณีต้องให้เขาเจอเลย เจอกับภัยอันตรายอย่างแท้จริง เอาพอให้เขาตาย เอาพอไม่ให้ตายก็แล้วกัน ให้มันคางเหลืองไป แต่ว่ามันจะดิ้น มันจะได้สำนึก มันจะได้ฝึกตนแล้วมันจะได้แข็งขึ้นมาใช่ไหม บางทีดีกว่าไปทำให้เขาเพลินสบายอยู่ด้วยความหวังแล้วก็เลยอ่อนแอแล้วก็จมอยู่แค่นั้น ฉะนั้นนี่ก็อยู่ที่การปฏิบัติด้วยว่า ในฐานะผู้สอนเราดำเนินตามพระพุทธเจ้า เราจะใช้วิธีไหนใช่ไหม ไม่ใช่ว่าจะไปเอาศาสนามากล่อมช่วยให้เขาสบายใจได้ก็ดี ไม่แน่
คนฟังถาม ถ้าศรัทธาสูงสุด ก็เป็นสิ่งกล่อมอันตรายที่สุดได้ไหม
พระตอบ ก็แล้วแต่พูด เอาตามที่ว่ามาก็แล้วกัน มันก็มีทั้งดีทั้งร้าย แต่ว่ามันมีโอกาสมากที่จะดึงให้จมอยู่น่ะใช่ไหม เพราะคนนี่พอมันสบายใจ มีความโน้มเอียงที่จะหยุดแล้ว สบายใจแล้วฉันไม่ต้องทำอะไรใช่ไหม บางทีมันเป็นการหรอกตัวเองว่าปลอดภัย เหมือนกันนกชนิดหนึ่งมันหนีภัยนี่ มันจะเอาหัวซุกทรายที่นี้พอเอาหัวซุกทรายหัวมันพ้นแล้ว มันมองไม่เป็นภัยแล้ว มันก็สบายเลยใช่ไหม ที่ไหนได้ภัยมันไม่หมดมาข้างหลัง อาจจะมากัดก้นก็ได้ใช่ไหม นี่เพราะฉะนั้นอันตราย คนที่อุ่นใจด้วยสิ่งที่หวังว่าเป็นที่พึ่งอะไรมาช่วยเหลือนี่ บางทีจะเหมือนกับนกชนิดนี้ ที่ว่าเวลาหนีภัยแล้วก็เอาหัวไปซุกทราย พอหัวไปซุกกองทรายแล้วตาไม่เห็นภัยนั้นก็สบายใจว่าตัวพ้นภัยแล้ว แต่ที่จริงไม่ได้พ้นหรอกนะ ก็เพราะฉะนั้นก็ต้องระวังแล้ว
ตกลงจับหลักพุทธศาสนาว่าท่านไม่ต้องการให้มาให้เสีย คือว่า 1 ข้อ 2 ก็ไม่เอาทั้งนั้นแหละ แต่ว่าเวลาใช้ประโยชน์ จะใช้อันที่ 1 หรือ 2 โดยที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าก้าวไปสู่อันที่ 3 นี่ เข้าไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยที่แท้จริง อย่างไปหยูด ทีนี้ศาสนาเป็นอันมากเนี่ย ไปนึกว่าอันที่ 1 มันไม่ดีแล้วต้องช่วยด้วยอันที่ 2 แล้วก็อยู่ที่นั่นใช่ไหม เพราะฉะนั้นจึงได้ย้ำนัก เอ้อ เรื่องการเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์ปาฏิหาริย์ไสยศาสตร์เนี่ยต้องระวังใช้ให้ดี ถ้ามันไปขัดขวางทำให้เป็นตัวกล่อมให้หยุด ให้จมอยู่ มันไม่ไปถึงที่สุด ไม่ได้นึกถึงความมั่นคงปลอดภัยที่แท้จริงมนุษย์จะต้องพัฒนาต่อไปจะต้องเข้มแข็งมีปัญญารู้เข้าใจแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างแท้จริงในที่สุด เดี๋ยวจะกลายเป็นพูดเลยต่อไป ที่จริงเรื่องนี้จะเป็นเรื่องพูดต่อไปอีก ก็เขาควรจะเรียนรู้ต่อไปใช่ไหม นั้นอาตมาไม่ไปกลัวหรอกเรื่องจะไปพรมน้ำมนต์น้ำเมิน เราต้องมีหลัก เราต้องมีความมั่นใจว่า เราทำอะไร เราทำเพื่ออะไรใช่ไหม ฉะนั้นก็อยู่ที่ว่าอ้าว เมื่อเขาสงสัยก็มาคุยกันสิ
คนฟังถาม นี่หนูกำลังจะถามว่าเวลาทำพิธีต่าง ๆ เราต้องธรรมบทไหมเจ้าค่ะ พระตอบ ก็ส่วนหนึ่งก็เป็นประเพณี
คนฟังถาม ทีในระดับนี้ถึงว่าเรามี
พระตอบ ก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ว่าเราต้องจับหลักของเราให้ดีนะ คล้าย ๆ อย่างน้อยก็แสดงความปรารถนาดีต่อกัน แล้วบอกแล้วที่เมื่อกี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตไร้สำนึกเลย อันนั้นในเมื่อเราไม่ได้ถึงฝั่งเด็ดขาดนี่ ใจเรามันมี 2 แบบ เอาอีกแล้วก็เป็นเรื่องวิชาการขึ้นมาอีก คือในเมื่อเรายังไม่รู้แน่เด็ดขาด แล้วเราก็ไม่พร้อมจริง มันกลายเป็นว่าหลอกตัวเอง ว่าฉันนี่ไม่ปรารถนา ไม่เอาสิ่งเหล่านี้ แล้วเสร็จแล้วก็แสดงออก ในว่าปฏิเสธ หรือแม้แต่ว่า แม้แต่ประนาม แต่ใจตัวเองก็ไม่พร้อมมีท่าทีที่ไม่ถูกต้อง คือมันต้องเป็นจากความมั่นใจแล้วเขาจะทำต่อสิ่งเหล่านี้ได้อย่างสบายใจใช่ไหม ทีนี้มันไม่มีความชัดเจน คล้าย ๆ เป็นปฏิกิริยาในทางลบ ว่าโอ้ไม่ได้แล้วเรื่องนี้ฉันไม่เอาด้วยว่าอย่างงั้นใช่ไหม แต่ตัวเองนะไม่ได้เข้าใจด้วยปัญญาที่แท้จริง มันเป็นเพียงปฏิกิริยาในขั้นความรู้สึกมันเป็นเรื่องทางด้านจิตเท่านั้นเอง ถ้าอย่างนี้แล้วเขายังข้ามไม่พ้น นั้นเราจึงไม่สามารถจะหวังแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ อย่างท่าทีพุทธศาสนาที่บอกว่าเทวดามีไม่มีฤทธิ์ปาฏิหาริย์จริงไม่จริงนี่ เราไม่ต้องไปห่วง ถึงมีถึงจริงก็ไม่หวังพึ่ง นี่พุทธศาสนาใช่ไหม ท่าทีนี้เด็ดขาด เพราะเรามีหลักการ เราต้องชัดในหลักการอันนี้ ที่นี้เราจะมาเห็นว่าพวกคนในสมัยปัจจุบันจำนวนมากเป็นผู้ที่นิยมวิทยาศาสตร์อะไรต่าง ๆ เหล่านี้จะไปติดว่า ไอ้จริงไม่จริง มันไม่จริง เราก็ปฏิเสธ เทวดามันไม่จริง ฤทธิ์ปาฏิหาริย์ไม่จริง ไสยศาสตร์มันไม่จริง ก็เลยไม่หวังพึ่งมัน ทีนี้ต่อมาประสบเหตุการณ์อะไรที่มันไม่แน่ใจ เอ้าถ้ามันจริง คราวนี้พึ่งเลย ถูกไหม พอชักจะไม่แน่ใจ พวกนี้ไม่มีทางปลอดภัยหรอก พอจะเห็นจะเค้าว่า ชักมีจริงกันตอนนี้หันรีหันขวางแล้ว แล้วที่นี้ต่อไปปรากฏว่าชักเชื่อว่าจริงเลยไปหวังพึ่งเต็มที่เลย ทีนี้เลยไม่มีท่าทีที่ถูกต้องจริงไหม เกิดขึ้นอย่างนี้ นี่ทีนี้พุทธศาสนานี่ไม่ต้องไปเถียงเรื่องนั้นเลย จริงมียอมรับได้เลย แต่ไม่หวังพึ่ง เรามีท่าทีเด็ดขาดใช่ไหม มันชัดกว่าไอ้ที่จะไปเป็นแบบนั้น คล้าย ๆ เหมือนกับคนยังไม่มีความแน่ใจกับตัวเองแล้วไม่มีหลักด้วย เป็นแต่เพียงว่าด้วยความเชื่อต่อวิทยาศาสตร์ก็ปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ ว่าไม่มี แล้วก็แยกไม่ออกระหว่างการ เอ้อถ้ามีแล้วจะทำอย่างไร ก็กลายเป็นว่า เอ้อมันไม่มี เราก็ไม่เกี่ยวข้อง แต่ถ้ามีขึ้นมาก็โอ้เราต้องพึ่งมันแล้วใช่ไหม กลายเป็นอย่างนั้นไปเลย อันนั้นนี่ท่าทีน่ากลัวสำหรับสังคมปัจจุบันที่หันรีหันขวางและจุดนี้ที่เป็นปมร้ายมากสำหรับสังคม เพราะสังคมขณะนี้วิทยาศาสตร์เริ่มเสื่อมลง คนเริ่มคลายความเลื่อมใสต่อวิทยาศาสตร์ อิทธิพลของวิทยาศาสตร์น้อยลงใช่ไหม ฉะนั้นก็เป็นโอกาสที่ความเชื่อแบบเก่านี้จะขึ้นมาอีก ฉะนั้นพอคนเสื่อมจากความเชื่อต่อวิทยาศาสตร์ปั้บ ก็กลายเป็นไหลเข้าคติความเชื่อแบบนี้เลย ทีนี้หลักการพุทธศาสนาไม่ต้องไปขึ้นต่อเรื่องวิทยาศาสตร์เจริญไม่เจริญไม่ได้เกี่ยวอะไรกันเลย ท่าทีมันชัด เราไม่ได้หวังพึ่งนี่มันมีเหตุผลอื่น มันไม่ใช่เรื่องมีไม่มีถูกไหม มันคนละเหตุผล นี้เขาแยกไม่ออกอันนี้ เพราะฉะนั้นยุคนี้ที่น่ากลัวมากเพราะว่าวิทยาศาสตร์มันเสื่อมความเชื่อถือลง เมื่อเสื่อมแล้วคนก็จะต้องไหลกลับไปสู่ไอ้ความเชื่อแบบเก่า ของศาสนาโบราณ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นชัดเลยเดี๋ยวนี้หันกลับไปเยอะ ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์เรื่องภูตผีเทวดาเจ้าพ่อเจ้าแม่ ก็กลาดเกลื่อนขึ้นมาอีก ก็นี่แหละเพราะว่าวิทยาศาตร์มันเสื่อมลง เสื่อมสถานะแล้ว ก็กลายเป็นว่ามนุษย์ยุคปัจจุบันนี้ก็ไม่มีหลัก