แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ขออนุโมทนาทุกท่านในที่ประชุมสงฆ์นี้ ที่ได้มาร่วมกันประกอบสังฆกรรมในการธรรมหาปวารณา ก็มีทั้งท่านพระนักศึกษาจากน้ำทองสิกขาลัย ที่ได้มาร่วมกับพระสงฆ์ในวัดนี้ ก็มาประกอบสังฆกรรมด้วยกัน จะได้มาทำอุโบสถด้วยกันมาตลอดพรรษาแล้ว ความจริงก็มีชีวิตแห่งการศึกษา เจริญไตรสิกขาร่วมกันนั่นแหละ แล้วเราก็ถือว่ามีความเสมอกัน ร่วมกัน แล้วก็สามัคคีกันตลอดมาและก็หวังว่าต่อเนื่องสืบไป วันนี้ก็เป็นการทำสังฆกรรมสำคัญที่เป็นเครื่องหมายด้วยว่าเป็นการสิ้นสุดการจำพรรษา ก็ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าพุทธบัญญัติพิเศษมีขึ้นสำหรับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ในวันสุดท้ายของพรรษานี้ แทนการทำอุโบสถ คือแทนที่จะทำอุโบสถ คือการฟังปาติโมก การสวดปาติโมกกันตามปกติ ก็เปลี่ยนเป็นทำปวารณา เรียกว่ามหาปวารณา ก็เลยเรียกวันนี้ว่าวันมหาปวารณา เรื่องราวในการที่มีพุทธบัญญัติเกี่ยวกับปวารณานี้ก็มาทบทวนกันอีกทีหนึ่ง แม้จะทราบกันอยู่ แต่ก็ควรเอามายกขึ้นทบทวนคือการย้ำกันอยู่เสมอๆ ก็คือเรื่องของการปวารณานี้ก็สืบเนื่องมาจากการจำพรรษา ก็มีเรื่องว่าพระภิกษุจำนวนหนึ่งที่จำพรรษาร่วมกัน ท่านมาคิดกันว่าจะอยู่ยังไงดี จะสามัคคีกันและก็จะได้ตั้งใจปฏิบัติเต็มที่ พรรษานี้จะได้เป็นอยู่กันดำเนินไปอย่างมีประโยชน์มากที่สุด ตามความคิดเห็นของท่านเหล่านี้ก็คิดว่าถ้าเราไม่พูดกันนี่ก็คงไม่ค่อยมีเรื่อง แล้วก็นอกจากว่าไม่ค่อยมีเรื่อง อาจจะไม่ทะเลาะเบาะแว้งอะไรกัน ไม่ขัดแย้งกันละก็ จะได้ตั้งใจทำกิจของตนในการปฏิบัติเต็มที่ด้วย ก็เลยมาตกลงกัน ก็เรียกได้ว่าวางกติกาว่าตลอดพรรษานี้ 3 เดือน เราจะไม่พูดกันละ หากเรียกภาษาพระก็เรียกว่าเป็นการถือวัตรชนิดหนึ่ง เป็นข้อปฏิบัติประจำว่าไม่พูดกัน ก็ตกลงกันไว้ว่าวันๆ หนึ่งจะทำอะไรบ้าง และมีวิธีปฏิบัติยังไงก็ทำตามนั้น แล้วก็ไม่ต้องพูดจา ไม่ต้องปราศัย ท่านก็อยู่กันมายังงี้จนกระทั่งตลอดพรรษา เมื่อครบ 3 เดือนแล้ว ออกพรรษา ก็เลยเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เป็นธรรมเนียม จะตรัสถามทักทาย ถามสุขทุกข์ เช่นว่า กัจจิ ภิกขเว คะมณียัง กัจจิยา ปะนียัง กัจจิ สะมัคคา สัมโมทะมานา วิวัฒทะมานา ผาสุกัง วิหะริทถะ วัทสิทถะ อะไระพวกนี้จะพินนะเกนะ อะระพิทถะ ก็จะบอกว่าท่านทั้งหลายอยู่กัน ยังชีวิตให้ดำเนินไปได้ด้วยดี มีความสามัคคีกัน มีความเป็นอยู่ผาสุก ไม่ลำบากด้วยการบิณฑบาตร อะไรยังงี้ พระเหล่านั้นก็กำลังมีภูมิใจว่าตัวได้มีข้อปฏิบัติพิเศษ ซึ่งไม่เคยได้ยินว่ามีพระที่อื่นปฏิบัติ ก็เลยนำมากราบทูลพระพุทธเจ้าว่า พวกข้าพระองค์นี้ก็อยู่กันผาสุกดี ก็ยังได้มีข้อปฏิบัติพิเศษที่ตกลงกันไว้ด้วยก็คือไม่พูดกัน เมื่อพระเหล่านั้นกราบทูลพระพุทธเจ้าจบ พระพุทธเจ้าแทนที่จะทรงอนุโมทนา ยินดีด้วย กลับทรงติเตียนเลย ตรัสเรียกว่า เธอพวกโมฆะบุรุษ เรียกเป็นโมฆะบุรุษเลย เวลาเรียกพระที่ประพฤติไม่ถูกต้องอะไรยังงี้ พระพุทธเจ้าจะใช้คำว่าโมฆะบุรุษ เธอทั้งหลายนี้อยู่กันอย่างปสุสังวาส ก็ใช้คำว่าปสุสังวาส ก็อยู่กันอย่างปสุสัตว์นั่นเอง ปสุสัตว์ก็คือสัตว์เลี้ยง มันไม่พูดกัน แล้วก็ประมัตตะวาสะ อยู่อย่างผู้ประมาท ตรัสติเตียนถึงแสดงโทษต่างๆ ของการปฏิบัติเช่นนี้ แล้วก็ทรงวางสิกขาบท การปฏิบัติยังงี้ที่ถือวัตรไม่พูดกันนี้ ก็มีศัพท์เรียกว่า มูคะวัตร มูคะก็แปลว่าคนใบ้ มูคะวัตรก็คือวัตรของคนใบ้หรือข้อปฏิบัติของคนใบ้ แต่บาลีก็มักจะใช้เป็นรูป ค ก็คือมูคัพพัตตัง มูคะพัตตังหรือมูคัพพะตัง บางทีวัตตะ ใช้ภาษาบาลีเป็นวะตะ เป็นวัตตะก็มี แต่พูดง่ายๆ ก็คือ มูคะวัตร นั่นเอง พระพุทธเจ้าก็ตรัสสิกขาบทไว้ว่า นะ ภิกขเว มูคะวัตตัง ติฏฐิยะสะมาทานัง สมาธิยิตัพพัง โยสะมาธิ ญัยยะ อาปัตติ ทุกขะตัสสะ ว่างั้นน่ะ แล้วก็บอกว่า ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสมาทานข้อปฏิบัติหรือข้อถือกันของพวกเดียรถีย์ นี่เรียกว่านี่เป็นเรื่องของข้อปฏิบัติของเดียรถีย์เลยนะ ติฏฐิยะสมาทาน คือมูคะวัตร ในที่นี้ ติฏฐิยะสมาทาน นั้นมีหลายอย่าง ในกรณีนี้ก็คือ มูคะวัตร ถือปฏิบัติอย่างคนใบ้ ไม่พูดกัน มูคะวัตรที่เป็นติฏฐิยะสมาทาน ผู้ใดถือมูคะวัตรต้องอาบัติทุกกฏ นี่ก็เป็นพุทธบัญญัติห้ามไว้ นี่ก็ขอแทรกหน่อยเรื่องมูคะวัตรนี้ แม้ในปัจจุบันนี้ก็มีในบางศาสนาที่ถือเคร่งครัด อย่างในเมืองฝรั่งเนี้ยะ ก็มีบางลัทธินิกายของศาสนาคริสต์ที่ถือปฏิบัติเคร่ง ก็เข้าไปในวัดเขาแล้วก็ นักบวชซึ่งเขาเรียกว่า มังค์ (monk) ในกรณีก็จะไม่พูดกัน เข้าเขตนั้นแล้วก็เป็นอันไม่พูดกัน นี่ก็ยังถือกันอยู่ แต่ในพระพุทธศาสนานี่บัญญัติห้ามไว้ เมื่อทรงบัญญัติสิกขาบทห้าม การถือมูคะวัตรแล้ว ก็ทรงบัญญัติอนุญาตให้สงฆ์ทำปวารณา เป็นข้ออนุญาตต่อจากการบัญญัติห้ามมูคะวัตรนั้นเลย ก็หมายความปรารภมูคะวัตรนี่แหละ แทนที่จะให้ถือมูคะวัตรก็ให้มาทำปวารณาว่าให้พระภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ร่วมกันตลอดจำพรรษาแล้วนี้ให้ปวารณา โดยสานสถานะ โดยทิฐเฐ นะ วาสุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา ก็คือโดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยระแวงสงสัย ดังที่เดี๋ยวได้กล่าวกันไปนี้ อันนี้ก็เรียกว่าปวารณา นี่ก็คือพุทธบัญญัตินี้เกิดขึ้นมา ในเหตุการณ์นี้ก็เป็นวิธีปฏิบัติในพระพุทธศาสนาที่ให้เห็นว่าต่างจากข้อปฏิบัติแบบเดียรถีย์ ทีนี้สาระสำคัญของปวารณาคืออะไร มีวัตถุประสงค์อย่างไร คำว่าปวารณานี้ก็ความจริงที่แปลกันเป็นหลักก็แปล 2 อย่าง คือตัววาระธาตุในกรณีนี้ นี่พูดกันเรื่องภาษาบาลีกันหน่อย อันนี้แทรกถือเป็นความรู้ประกอบ ท่านว่ามาจากวาระธาตุ วาระธาตุมีความหมายในกรณีนี้ท่านแยกเป็น 2 วาระธาตุ ในอิจฉา ในความหมายว่าปรารถนาอย่างหนึ่งและวาระธาตุในความหมายว่าอัชเฌตะนะ การเชิญ การเชื้อเชิญอย่างหนึ่ง นี้ในความว่า ปรารถนาในตอนนี้มันเป็น เหตุ กัตตุวา จก แล้วเราใช้ก็เป็น เหตุ กัตตุกะวา จก ให้ปรารถนา ก็เลยถือเอาความว่าเชิญ อันนี้เป็นการต้องตามนัยยะของศัพท์อีกทีหนึ่ง แล้วก็ ออขอ อะวะระ…?...(นาทที่ 11.39) แปลว่าปรารถนา วาระ ขออภัย วาระอีกอย่างหนึ่งแปลว่าห้ามเอ่ย ลืมไป วาระธาตุนี่แปลอีกความหมายหนึ่งว่าห้าม เอาความหมายหลัก เอางี้ก่อนนะว่า ห้ามกับปรารถนา ขอโทษเถอะ พูดเผลอไป แล้ววาระธาตุในความหมายว่าห้ามอย่างหนึ่ง วาระธาตุในความหมายว่าปรารถนา นี่ปรารถนานี่ก็ในทีนี้ก็เป็นให้ปรารถนา ให้ปรารถนาก็มาตรงคำว่า อัชเฌตะนะ ก็แปลว่าเชิญ ทีนี้ความจริงการใช้ทั้งสองความหมายก็มีในพระไตรปิฏก ในพุทธบัญญัติ อย่างความหมายว่าห้ามกันในโภชนะวรรคของปาฏิกติยะสิกขาบทนี่ โภชนะวรรคที่สี่เปิดสิกขาบทที่ห้าก็มีนี่(นาทีที่ 12.35) ปะโย ปะนะ ภิกขุ ภุตตาวี ปะวาริโต ตัวนี้ ภุตตาวี ปะวาริโต นี่น่ะปวารณา โย ปะนะ ภิกขุ ภุตตาวี ปะวาริโต ขาทะนียัง วา โภชะนียัง วา ขาเทยยะ วา ภุญเชยยะ ปาจิตติยัง ก็ภิกษุใดฉันแล้ว ห้ามพัดแล้ว แล้วก็เคี้ยวก็ดี บริโภคก็ดี ซึ่ง ขาทะนียะ โภชนียะ เป็นปาฏิกติยะ เป็นห้าม ทีนี้เชิญก็คือใช้ในกรณีนี้ ก็ในความหมายว่าให้ปรารถนา ว่าเชิญ ก็ปวารณาอย่างนี้ นี่ในเรื่องห้ามนี่ วาระธาตุนี่ใช้เยอะเชียว นิวรณ์ อาวรณ์ สังวรณ์ อะไรพวกนี้ ตรงข้ามกับเปิด อันนั้นปิดเป็นห้าม เปิดก็วิวรณ์ ก็มาปวารณาวันนี้ ก็เแปลว่าเปิดโอกาส ใช้ในความหมายยังงั้นกัน เรื่องของศัพท์ก็ฟังเป็นเพียงความรู้ประกอบ เอาเป็นว่าในกรณีนี้ท่านแยกว่าอย่างนี้ นี่เป็นการพูดไปตามคัมภีร์ รุ่นหลังๆ นี่เรียกว่านิรุทติทีปะนี บ้างก็เป็นตะนีติบ้าง ท่านก็ว่าไป อ้างอย่างนี้ นิรุทติทีปะนี ก็อ้างอภิชชานะปะทีฎีกา สองความหมายที่ว่านี่ ก็รวมความก็นี่ก็คือที่มาของศัพท์ที่ท่านพยายามวิเคราะห์ แต่ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เพื่อให้รู้ที่มาที่ไปในทางรากศัพท์ เป็นเรื่องของภาษา ที่นี่ภาษามันเป็นเรื่องไม่จบแค่เรื่องของศัพท์ ความหมายตามตัวอักษร มีความหมายที่สำคัญก็คือความหมายโดยอัฐฐะ ทีนี้การปวารณานี้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ ก็เป็นเรื่องของการที่จะให้ชีวิตของพระภิกษุที่มุ่งหมายจะเจริญไตรสิกขาคือการฝึกฝน พัฒนาตน เจริญก้าวหน้าไปในการพัฒนาตนหรือพัฒนาชีวิต ทำชีวิตให้ดีขึ้นในศีล สมาธิ และปัญญา โดยเฉพาะก็เริ่มต้นก็คือขั้นศีล ซึ่งอาศัยวินัย วินัยนี้ก็มาเป็นเรื่องของชีวิตที่อยู่ร่วมกัน ชีวิตชุมชน ชีวิตสังฆะ ทีนี่ชีวิตสังฆะก็ต้องทำสังฆะชีวิตหมู่คณะนี้ให้มาเอื้อต่อการเจริญไตรสิกขา การฝึุกฝนพัฒนาตนของแต่ละบุคคล พระพุทธเจ้าก็จะทรงวางวิธีปฏิบัติมากมายเพื่อการอยู่ร่วมกันหรือชีวิตสังฆะนี้มาเอื้อต่อการพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา เรื่องของสังฆกรรมปวารณานี้ก็เป็นอย่างหนึ่งที่จะให้เกิดวิธีปฏิบัติในการที่ว่าการอยู่ร่วมกัน ชีวิตส่วนรวมนั้นมาเอื้อต่อการพัฒนาตัวของแต่ละบุคคล แล้วมันก็เลยทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นหรือความหมายที่ดีงามขึ้นทั้งสองด้าน ทั้งชีวิตบุคคลและชีวิตส่วนรวมของสังฆะ ในแง่สังฆะนั้นก็ทำให้เกิดความสามัคคี จึงมองได้กว้างๆ เมื่อเรามีการเปิดเผยตัวต่อกัน โอกาสเกิดการเชื้อเชิญกันให้มาบอกกล่าวว่ามีการทำผิดอะไร ก็ไม่ต้องมัวอึดอัดกันอยู่ แล้วก็เก็บไว้ในใจ เกิดความกดดัน เกิดความเคลือบแคลงกัน ก็มาพูดจาเปิดเผยกันได้ ทำให้เกิดความสามัคคี อันนี้ก็เป็นข้อสำคัญในชีวิตส่วนรวม อันนี้ด้านหนึ่ง แต่ว่าลึกลงไปก็คือในการที่มีสามัคคีนั้นก็ให้ผู้ที่อยู่ร่วมกันมาเอื้อประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตัวของแต่ละบุคคล แต่ละคนนั้นก็ได้โอกาส ได้เพื่อนตัสทานิก (นาที 17.20) เป็นกัลยาณมิตรมาช่วยแนะ ช่วยนำ ช่วยบอกกล่าว แม้แต่เรื่องสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่สมควร ก็จะได้มีทางปรับปรุงตน จุดนี้แหละที่ว่ามาเป็นถ้อยคำในการปวารณา ซึ่งเราก็ต้องมาแปลกันอีก เหมือนกับเตือนหรือมาย้ำกัน ข้อความในการปวารณานี้ก็ชัดเจนว่าเป็นเรื่องของการที่จะมาแก้ไขปรับปรุงตน บอกว่า สังฆัง ภันเต ปะวาเรมิ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอปวารณากับสงฆ์ ปวารณากับสงฆ์ก็อย่างที่ว่า เชิญหรือว่าเปิดโอกาส บางทีเราแปลกันสองแบบนี้ แบบหนึ่งก็คือเปิดโอกาส อย่างปวารณา โยมปวารณากับพระก็เปิดโอกาสให้ขอได้ โยมปวารณากับพระ พระปวารณาต่อกันก็เปิดโอกาสให้มาเตือนกัน ให้มาชี้ความผิดกัน ถ้าว่าในที่นี่ถ้าแปลเป็นเชิญเลยนะ อ่ะขอแทรกสักนิด พระไตรปิฏกของฝรั่งก็ตกลงกันเขาก็ใช้คำว่าเชิญ เวลาแปลปวารณานี้ก็ใช้หัวข้อว่า The immitation คือใช้เป็นศัพท์ เหมือนกับศัพท์บัญญัติ คล้ายๆ งั้น ใช้เรียกการปวารณาที่เป็นสังฆกรรมนี้ว่า The immitation ก็ใช้ว่าเป็นการเชิญ จะเป็นเชิญไปเปิดโอกาสก็ได้สาระความหมายเดียวกัน ข้าพเจ้าขอปวารณากับสงฆ์ ขอเปิดโอกาสหรือเชิญสงฆ์ ทิฐเฐ นะ วาสุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา จะโดยได้เห็นก็ตาม ได้ยินก็ตาม หรือแม้แต่เหตุระแวงสงสัยก็ตาม หมายความว่า เห็น ได้ยิน หรือว่าสงสัยข้าพเจ้าทำความผิดประพฤติไม่เหมาะสมในเรื่องนั้นเรื่องนี้ อย่างนั้น อย่างนี้ วะทันตุมัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปปาทายะ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อาศัยความเกื้อการุณ อนุกัมปัง อุปปาทายะ จงบอกกล่าวกับข้าพเจ้าหรือว่ากล่าวข้าพเจ้า วะทันตุมัง, ปัสสันโต กะริสสามิ เมื่อข้าพเจ้าเห็นจะแก้ไข อันนี้ก็มาจบที่ท้ายนี่แหละ ก็ทำความผิดอะไรต่ออะไร ได้มาพิจารณาตัว ตรวจสอบตัวเองตามที่ท่านได้มาบอกกล่าว แล้วก็เมื่อเห็นข้อผิดพลาด ไม่สมควร แล้วก็จะได้แก้ไข ตกท้ายที่คำว่า ปะฏิกะริสสามิ นี้สำคัญที่สุด ก็ตัวหัวใจเลย ปะฏิกะริ นี่เป็นตัว ปะฏิกะระ นี่เป็นตัวสำคัญ ปะฏิกะริสสามิ ก็คือ ปะฏิกกะระ เข้าหลักสำคัญในทางธรรมะ หรือในที่นี้ก็คือเรื่องของข้อปฏิบัติในทางวินัย เรียกว่า ปฏิกรรม จะเห็นว่าปวารณานี้ก็สาระสำคัญอยู่ที่ให้มีวิธีปฏิบัติในการที่จะช่วยกันในการแก้ไขปรับปรุงความประพฤติปฏิบัติของกันและกัน ซึ่งแต่ละท่านนั้นก็อยู่ในสังฆะที่เป็นผู้ที่จะเจริญไตรสิกขา เรียกว่าเป็นหน้าที่ในการเจริญไตรสิกขา ในการที่จะพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญาให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป เราก็จะมีปะฏิกกะระเป็นวิธีปฏิบัติสำคัญอันหนึ่ง ปฏิกกะระนี้เมื่อทำเป็นศัพท์นามก็เป็นปฏิกกรรม เพราะฉะนั้นในคัมภีร์นี่จะมีคำว่าปฏิกกรรมเยอะ ซึ่งเราไม่ค่อยได้สังเกตกัน เมื่อเราพูดรวบรัดสรุป ก็บอกว่าสาระของปวารณานี้อยู่ที่ปฏิกกรรม หรือการปวารณานี้เป็นปฏิบัติสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เพื่อที่จะช่วยให้หลักปฏิกกรรมนี้เดินไป หลักปฏิกกรรมนี้สำคัญมาในพระพุทธศาสนา แล้วในระดับของวินัยจะมีอย่างน้อยสามหลักที่มา จะเรียกว่าเอื้อหรือมาเป็นตัวกำหนดก็ได้ ให้เกิดปฏิกรรม เรียกว่ากำหนดก็ได้ กำหนดให้เกิดปฏิกรรม เอื้ออะไรบ้าง หลักสามอย่างในระดับวินัยที่พระพุทธ
เจ้าทรงวางสั่งสอนไว้ให้เพื่อให้เกิดปฏิกรรม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการทำกรรม ในการปฏิบัติในเรื่องกรรมให้ถูก แล้วจะได้เข้าสู่กระบวนการของไตรสิกขา เจริญในไตรสิกขา ก็หนึ่งง่ายๆ ก็คือเรื่องของอาบัติ การออกจากอาบัติทั้งหมด ท่านเรียกว่าปฏิกรรม เวลาสรุปใช้ศัพท์สั้นๆ ลองไปดูในคัมภีร์ ในพระไตรปิฏก ท่านตั้งหัวข้อนี้ อย่างเราแสดงอาบัติ มันก็ได้แค่เทศนาวิธี เป็นต้น อาปัติเทสะนา ก็แสดงอาบัติ ในอาบัติ ปฏิเทสะนา ก็ ปฏิเทเสนิ มันก็ได้แค่ระดับหนึ่ง มันไม่ครบ แต่ถ้าปฏิกรรมนี่ครบ อาบัติก็ยังแก้ไขได้ ก็อยู่ในปฏิกรรมหมด เพราะฉะนั้นคำสรุปหรือคำรวมของท่านในการแก้ไขในเรื่องการทำความผิดที่เรียกว่าอาบัติก็คือปฏิกรรม นี่คือหลักที่หนึ่ง ข้อปฏิบัติในระดับวินัยที่หนึ่ง ท่านต้องการว่าภิกษุทำความผิดแล้วต้องเปิดเผยตัวบอกความจริง การแสดงอาบัติ เปิดเผยตัว บอกความจริง แล้วก็ไม่ใช่แค่นั้น ก็แก้ไข ต่อไปก็ละเลิก ไม่ทำความผิดนั้นอีก แล้วไปทำสิ่งที่ดี ที่ถูกต้อง สำรวม ระวังต่อไป เห็นไหม (นาทีที่ 23.55) หายะติง สังวะรายะ เพื่อความสำรวมระวังต่อไป นี่แหละจุดสำคัญของปฏิกกะระนี้จะไปสัมพันธ์กับสังวะระอีก เพื่อสังวรต่อไป ฉะนั้นหลักที่หนึ่งชัดเลยก็คือเรื่องของอาปัตติ ก็เรียกง่ายๆ ว่า อาปัตติ ปัตติกัมมะ การแก้ไขในเรื่องของอาบัติ แล้วก็มาปวารณานี้ ปวารณานี้ก็ชัดก็ ปฏิกกะริสามิ จะแก้ไขก็ปฏิกรรม พูดเป็นภาษาไทยก็จะทำปฏิกรรมนั่นเอง ทีนี้ต่อไป นี้ยังมีอีกหลักหนึ่ง นี้ขยายกว้าง ไม่ใช่เป็นวินัยแค่ในสิกขาบทในปาฏิโมกข์ 227 และก็นอกปาฏิโมกข์ในขันทะกะ แต่อันนี้กว้างออกไปถึงอริยวินัย อริยวินัยนี่ถึงคฤหัสถ์ด้วย อริยวินัย ท่านสังเกตนะ วินัยนี้มีคำหนึ่งที่สำคัญคืออริยสะวินัยเย ถ้าพูดง่ายๆ ก็คืออริยวินัย ซึ่งใช้กับคฤหัสถ์ด้วย ตอนนี้ก็จะมีวิธีปฏิบัติที่วางเป็นแบบเลยในเรื่องปฏิกรรมนี้ บางครั้งมีพระภิกษุบางรูปปฏิบัติไม่ดีต่อพระพุทธเจ้า ท่านรู้ตัวท่านก็ บางทีเดินทางมาไกลนะ เพื่อมาขอขมาต่อพระพุทธเจ้า มาขอให้พระพุทธเจ้าจงรับว่าท่านทำความผิดไปแล้ว คิดไม่ดีต่อพระพุทธเจ้า คือยกตัวอย่างที่ปังกะทานิคม พระพุทธเจ้าเสด็จไปก็แสดงธรรมเรื่องต่างๆ เรื่องเกี่ยวกับสิกขาบท เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระวินัย พระหัวหน้าที่นั่นเป็นเจ้าอาวาส ฟังแล้วขัดใจ ว่าพระพุทธเจ้านี่อะไรกันนักหนา เคร่งครัด หยุมหยิม ท่านก็มีใจไม่ดีนะ คิดไม่ดี ง่ายๆ ต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าแสดงธรรม แสดงวินัย สั่งสอนเสร็จ ต่อมาพระองค์ก็จาริกต่อไปจนกระทั่งเสด็จมาถึงที่ประทับ แล้วท่านองค์นี้ที่เป็นเจ้าอาวาสมาเกิดสำนึกผิดว่า เอ...ที่เราคิดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง ก็เกิดร้อนใจว่าต้องไปขอขมา ก็เดินทางไปหา ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็บอกว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปนี้ทรงแสดงธรรม แสดงวินัย อธิบายสิกขาบทต่างๆ ข้าพระองค์ได้มีความคิดไม่ดีต่อพระองค์อย่างนี้ๆ บัดนี้ข้าพระองค์สำนึกผิด ก็ขอมา คล้ายๆ ขอขมา พระพุทธเจ้าก็ตรัส นี่จะเป็นแบบ จะเป็นทำนองว่าพระองค์นี้ชื่อเป็นกัสสะปะโคตร พระพุทธเจ้าก็ใช้คำอาระปะนะเรียกว่ากัสสะปะ ก็บอก วุฒิเหสา กัสสะปะ อะริยะสะ วินะเย นี่น่ะสำคัญ วุฒิเหสา กัสสะปะ อะริยะสะ วินะเย โย อัจจะ ยัง อัจจะ ยะ โต ทิตะวา ยะถา ธัมมัง ปฏิกะโรติ อายะติง สังวะรัง อาปัตสะติ มาล่ะปฏิกรรม ชัดเลย ปฏิกะโรติ ก็บอกว่า นี่เป็นความเจริญงอกงามในวินัยของพระอริยะ เราก็แปลให้เข้ายุคสมัยว่า นี่เป็นความงอกงามของในวินัยของอริยชน วุฒิเหสา กัสสะปะ อะริยะสะ วินะเย โย อัจจะ ยัง อัจจะ ยะ โต ทิตะวา คือการที่บุคคลเห็นโทษที่ล่วงเกินหรือข้อที่ละเมิดล่วงเกินกันไปแล้ว โดยความเป็นโทษที่ล่วงเกิน ยะถา ธัมมัง ปฏิกะโรติ แล้วกระทำการแก้ไขตามธรรม นี่ล่ะ ยะถา ธัมมัง ปฏิกะโรติ ตัวปฏิกรรมมาละ ก็คือที่ล่วงเกิน ยะถา ธัมมัง ปฏิกะโรติ แล้วทำการแก้ไขตามธรรมใช่ไหม ยะถา ธัมมัง ปฏิกะโรติ นี่แหละตัวปฏิกรรมมาแล้ว ก็คือทำปฏิกรรมให้เป็นไปตามธรรม อายะติง สังวะรัง อาปัตสะติ ถึงความสำรวม ระวังต่อไป ก็สังวะระอีกแล้ว ก็แบบเดียวกับอาบัติ ก็มีสังวะระนี้ ตกลงว่าปฏิกรรมมาชัดเลย จะมีเรื่องเยอะ แล้วพุทธพจน์หรือคำกล่าว แม้แต่เป็นของพระเถระต่างๆ ก็จะใช้เรียกได้ว่าเป็นคำแบบอย่างนี้เหมือนกันหมด ก็เปลี่ยนแต่ตัวอาระปะนะอย่างเดียว อย่างมีเรื่องพระภิกษุบางรูปประพฤติผิดต่อพระสารีบุตร แล้วมาขอให้พระพุทธเจ้าทรงรับความผิด แล้วก็ขอขมา ก็จะมีพุทธพจน์นี้ออกมา หรือแม้แต่มีกษัตริย์บางองค์เคยคิดไม่ดีทำไม่ถูกต่อพระพุทธเจ้า แล้วก็ต่อมาสำนึกผิด พระพุทธเจ้าก็ตรัสคำนี้ แต่เปลี่ยนเป็นว่า วุฒิเหสา มหาราชะ อะริยะสะ วินะเย ก็จะเห็นว่าหลักการนี้ขยายกว้างไปถึงคฤหัสถ์ด้วย ด้วยอริยวินัยกว้างขวาง ก็เลยยกให้เห็นว่าเรื่องปฏิกรรมนี้เรื่องใหญ่ ก็จะเป็นหลักปฏิบัติสำคัญเพื่อจะให้การเจริญไตรสิกขานี้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมา เรื่องแต่ระดับศีลขึ้นไปโดยการวางข้อปฏิบัติในทางวินัยให้มาเอื้อ มาช่วย มาหนุน มากำกับหรือมาสำทับให้มันเป็นไปได้ เราอย่าไปมองข้าม เพราะฉะนั้นน่าจะยกไอ้ปฏิกรรมนี้ขึ้นมา เน้นให้ความสำตัญกัน เพราะบางทีไม่ได้สังเกตว่าไอ้คำว่าปฏิกรรมนี้มีในคัมภีร์ เป็นคำสำคัญ แล้วก็ออกมาในรูปต่างๆ อย่างที่เราเห็นนี้มันกลายเป็นรูปกิริยา มันก็เลยปฏิกะริสามิบ้าง ปฏิกะโรติบ้างใช่ไหม บางแห่งก็เป็นปฏิกะระนะ บาลีก็อันเดียวกันแหละ ปฏิกะระ แล้วก็จะแจกรูปไปเป็นอะไร เป็นการวจนบุรุษ ก็ว่าไป แล้วก็จะเป็นปฏิกะระนะ เป็นปฏิกิริยา เป็นปฏิกรรม เป็นปฏิการะ ปฏิการะมาตอบแทนคุณบิดามารดา เป็นต้น ก็แก้ทั้งนั้นแหละ คือการแก้ไขอันทำตอบแทน ทำใหม่ให้มันดีขึ้น การแก้ไขปรับปรุงนั่นเอง พูดง่ายๆ ในการแก้ไขปรับปรุงนี้ คือปฏิกรรมนี้เป็นข้อปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นส่วนเบื้องต้นก็ว่าได้ของการเจริญไตรสิกขา แล้วสำหรับคฤหัสถ์ก็น่าจะนำมาแนะนำกันให้มากๆ เพราะบางทีเราเอาไปพูดเรื่องแก้กรรมกันในความหมายที่มันผิดๆ คือเป็นการแก้กรรมโดยไปทำพิธีอะไรก็ไม่รู้ ไปเรื่องของการอะไร เรื่องพิธีศักด์สิทธิ์ เรื่องของอภินิหารกันไป แทนที่จะเป็นการแก้กรรมโดยการปฏิกรรมตามพุทธโอวาทหรือว่าพุทธานุสาสนี คำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เอาละ เป็นว่าวันนี้ก็เลยเป็นวันที่ถือว่าควรได้ยกหลักเรื่องปฏิกรรมนี้ขึ้นมาย้ำมาเน้น เพราะว่าวันปวารณาก็คือวันหนึ่งที่มีการเตือนกันมา เตือนกันขึ้นมาให้นำเอาหลักปฏิกรรมนี้ขึ้นมาใช้ และก็ใช้เรื่อยๆ ไปแหละ เพราะปาวรณาท่าน ไม่ใช่ข้อปฏิบัติเฉพาะวันนี้ มาทำกันในที่ประชุมน่ะ ชัดว่าเราเปิดโอกาสในการที่จะมาเตือนกันได้ ก็เตือนกันได้เรื่อยไป แล้วก็นอกจากนั้นก็ยังมีว่าเฉพาะตัวก็ทำผิดเป็นอาบัติก็ปฏิกรรมนี่อีก แล้วก็อย่างที่ว่า มีการล่วงเกินกันก็ปฏิกรรมอีกในเรื่องของหลัก วุฒิเหสา อะริยะสะ วินะเย นี้ สามอันนี้ช่วยเยอะเลยในสังคม ทั้งสังฆะและสังคมคฤหัสถ์ ก็น่าจะได้ขยายแพร่ออกไป เพราะบางทีชาวพุทธเรานี้ มองหลักการของกรรมนี้แคบ ไม่คิดในการแก้ไขปรับปรุง เราพูดได้ว่าเป็นนักรอกรรม รอกรรมหรือรอผลกรรม เป็นกันมาก อันนี้น่าเป็นห่วง รอกรรม รอผลกรรม กลายเป็นลัทธิประเภทไม่กระทำ ลัทธิอกิริยา ลัทธิประเภทหนึ่ง พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็นไปเพื่ออกิริยา เพื่อการไม่กระทำ นี่เป็นมิจฉาทิฐฐิ เรียกว่า สิทถายะตะนะ 33.24 เป็นลัทธิเดียรถีย์ เป็นไปเพื่ออกิริยา เพื่อการไม่กระทำ ที่ตรัสไว้สามแดง สิทถายะตะนะ สิกขายะตะนะอะไรบ้าง หนึ่ง ปุพเพกะตะเหตุวาท ลัทธิที่ถือว่าบุคคลจะประสบสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุข มิใช่ทุกข์ก็ดี เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน อย่ามาปนกับพระพุทธศาสนานะ ลัทธิกรรมเก่า แล้วก็สองลัทธิอิสสะระนิมมานะเหตุวาทหรืออิศวรนิระมิตตะวาท ลัทธิที่ถือว่าบุคคลจะประสบสุข ประสบทุกข์ ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ เป็นอย่างไร ก็เป็นไปเพราะเทพผู้ยิ่งใหญ่บันดาล อันนี้ก็เราทำอะไรไปก็ไม่มีประโยชน์ ก็แล้วแต่เทพเจ้าจะโปรดหรือไม่ ถ้าอยากจะให้ท่านโปรดก็ไปอ้อนวอนเอาใจท่านซะ อะไรทำนองนี้ อันนี้ลัทธิที่สอง ลัทธิที่สามก็คือว่าบุคคลจะประสบสุข ประสบทุกข์ ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ นี้ ก็เป็นไปแล้วแต่โชค ถึงคราวมันก็เป็นไปเอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เรียกว่า เหตุ อะปัจจะยะวาท เรียกสั้นๆ ว่า อะเหตุวาท ลัทธิพวกนี้ถือเข้าแล้วก็ มันไม่เห็นมีความจำเป็นที่จะต้องทำอะไร เพียรพยายามอะไร ก็รอผลกรรมชาติปางก่อน หนึ่ง รอให้เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ท่านโปรดอย่างหนึ่ง แล้วก็รอโชคอย่างหนึ่ง แล้วแต่มันจะเป็นไป ลัทธิสามลัทธินี้ไม่เอื้อต่อการกระทำความเพียร ไม่เอื้อต่อหลักกรรม ไม่ทำให้เราประกอบกรรมที่ดี ลัทธิหลักกรรมที่แท้ มันไม่ใช่รอผลกรรม ไม่ให้ทำกรรม กรรมที่ชั่ว ที่ไม่ดี ที่เป็นอกุศลก็ละเลิกเสีย เมื่อละเลิกทำชั่วร้ายแล้ว ก็หันมาทำกรรมที่ดีหรือเปลี่ยนมาเป็นกรรมที่ดี ตอนนี้ก็เป็นปฏิกรรมขั้นหนึ่งแล้ว ละกรรมชั่ว หันมาทำกรรมดี ก็เป็นปฏิกรรม แล้วก็ทำกรรมที่ดีน้อยหรือได้ผลน้อยก็มาปรับปรุงแก้ไข ทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น หรือได้ผลดียิ่งขึ้น และนี่ก็เป็นปฏิกรรมเหมือนกัน อันนี้แหละหลักกรรมมันสำคัญอยู่ที่นี่ แล้วถ้าเราทำกรรมตามหลักนี้แล้ว มีการละชั่ว ทำดีๆ ยิ่งขึ้นไป มันก็เจริญในไตรสิกขา ฝึกฝนพัฒนาตน มันก็เป็นไปได้ กรรมมันก็กลายเป็นที่มาเจริญไตรสิกขานั่นเอง การเจริญไตรสิกขาก็คือละกรรมชั่ว ทำกรรมดี ทำกรรมดียิ่งๆ ขึ้นไป ก็เป็นมโนกรรม กายกรรม วจีกรรม อะไรต่างๆ เหล่านี้ หลักกรรมก็เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ถ้าได้ทำกรรมดีเพื่อจะให้มาเจริญ พัฒนาชีวิต มันก็เข้ามาไตรสิกขานั่นเอง เมื่อทำกรรมถูกต้องก็เจริญในไตรสิกขา เรื่องกรรม แล้วก็เรื่องไตรสิกขาก็เรื่องเดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้นคนไทยเราจะเจริญในไตรสิกขาได้ไงถ้ามัวรอกรรมอยู่ รอผลกรรม รอผลกรรม ดีไม่ดีก็ไปลัทธิที่หนึ่ง ใช่ไหม เป็นปุพเพกะตะเหตุวาท รอผลกรรมเก่าในชาติปางก่อน ฉะนั้นก็คงต้องช่วยกันเยอะๆ หน่อย คือว่าไม่ให้รอผลกรรม ไม่ให้เป็นนักรอผลกรรม รอไปแล้วก็เลยตกอยู่ในความประมาท ตกในความประมาทก็ไม่พัฒนาตนใช่ไหม ไม่พัฒนาตนก็ไม่ปรับปรุงแก้ไขกรรมที่ทำมาให้มันดียิ่งขึ่น ก็ไม่เจริญในไตรสิกขา มันก็เดินหน้าไปในมัณฑาหรืออริยมรรคไม่ได้ ฉะนั้นตรงนี้ต้อง แม้แต่หลักกรรมที่เป็นหลักที่รู้กันทั่วไปก็ต้องมาตรวจสอบและแก้ไขกันให้ถูกต้อง มันจะได้เกิดปฏิกรรมขึ้นมา วันนี้ก็เลยเอามาคุยกันเรื่องหลักที่ถือว่าที่จริงขั้นต้นๆ ที่เรามองข้ามไป ก็เลยอยากจะยกคำว่าปฏิกรรมนี้กันขึ้นมาให้มาสนใจกันอีกที สามหลักแล้วนะ หนึ่งเรื่องของการแก้ไขอาบัติ อาปัตติ ปัตติ กัมมะ สองก็เรื่องของปวารณานี้ก็ชัดเจนว่าเป็นเรื่องของปฏิกรรม สามก็ดรื่องของการละเลิกต่อกันตามพุทธพจน์ที่ตรัสเป็นแบบมาในพระไตรปิฏกมากมายหลายแห่ง วุฒิเหสา จุดๆๆ อะระปะนะ แล้วก็ อะริยะสะ วินะเย ที่เป็นว่า ยะถา ธัมมัง ปฏิกะโรติ ทำปฏิกรรมให้เป็นไปตามธรรม ได้สามข้อนี้ก็มีทางที่จะเจริญไตรสิกขา การปฏิบัติในเรื่องกรรมจะได้ถูกต้องขึ้น แล้วก็การแก้กรรมก็จะได้ไม่เอาไปใช้ผิดๆ ก็เลยวันนี้ เอาเรื่องนี้มาคุยกัน ก็ขอว่าอนุโมทนาทุกท่านที่ได้มาศึกษาเล่าเรียน เฉพาะวันนี้ก็มาร่วมสังฆกรรมที่เป็นหลักการสำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นหลักการในทางพระวินัยในเรื่องสังฆะ เป็นเรื่องของชีวิต ของส่วนรวมที่เราร่วมกันที่จะมา อย่างที่พูดเบื้องต้นว่ามาวางวิธีปฏิบัติหรือปฏิบัติตามวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงวางเป็นแบบไว้ เพื่อให้เรานี้ได้มาอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี พร้อมกันนั้นก็ให้แต่ละท่านที่อยู่ร่วมกันนี้มามีชีวิต มีความเป็นอยู่ มีการปฏิบัติที่เอื้อต่อกันและกันในการที่แต่ละบุคคล แต่ละท่าน จะได้เจริญงอกงามในพระธรรมวินัยนี้ยิ่งขึ้นไป ด้วยการแก้ไขปรับปรุงตน แล้วก็เจริญขึ้นไปในปฏิกรรมและในการพัฒนาไตรสิกขา วันนี้ก็คงจะขออนุโมทนาไว้เท่านี้ เพราะต่อไปนี้ก็ออกพรรษา พอรุ่งอรุณก็เป็นอันว่าอาจจะมีการจาริกไป แยกย้ายกันไป ถ้าสถาบันการศึกษาปิดด้วยก็เลย แยกไปอยู่โน่นอยู่นี่กันไป ก็ไปโปรดญาติโยม ประชาชน ทว่าไปแล้ว ออกพรรษานี้ก็คือระยะเวลาที่พระสงฆ์ออกจาริกกันใหม่ เหมือนกับว่าเรามีการตักบาตรเทโว พระพุทธเจ้าวันนี้ เรามีประเพณีตักบาตรเทโวว่า ในวันมหาปวารณา พระพุทธเจ้า ครั้งหนึ่งเสด็จไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แสดงพระธรรม พระเทศนาในพระอภิธรรมกถาตลอดเวลาสามเดือนไตรมาสโปรดพุทธมารดา พร้อมทั้งเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็รวมทั้งพุทธมารดาที่ลงมาจากชั้นดุสิต เสร็จแล้วพอออกพรรษา วันมหาปวารณา ก็เสด็จลงจากเทวโลก ก็เรียกว่าเทโวโรหะนะ ชาวโลกคือชาวมนุษย์ทั้งหลายนี้ คิดถึงพระพุทธเจ้ามาเป็นเวลานานถึงสามเดือน ไม่ได้เฝ้า คิดถึงมาก ตอนที่พระพุทธเจ้าจะกลับมาที่เราแล้ว ก็เลยตอนรับเป็นการใหญ่ ก็เกิดประเพณีตักบาตรเทโว ก็มองกว้างไปก็เหมือนกับว่าตอนนี้ญาติโยมก็ทำพิธีต้อนรับพระสงฆ์ที่กำลังจะจาริกออกจากวัดไปสู่ท้องถิ่นชนบทต่างๆ เพื่อโปรดประชาชน ตอนนี้ก็คือเข้าสู่ฤดูกาลที่ประชาชนเขาบอกแล้วว่า เราทั้งหลายขอต้อนรับผู้เป็นเจ้าทั้งหลายที่จะจาริกมาโปรดสัตว์ ไปแสดงธรรมแก่ญาติโยมต่อไป ก็เราได้ปวารณากันแล้ว ก็ได้สร้างทุน เสริมทุนเพิ่มเติม ในการสร้างความสามัคคีในสงฆ์แล้ว ก็ขอให้ต่อแต่นี้ก็นำเอาข้อปฏิบัติ ความรู้ คำสอนของพระพุทธเจ้านี้ไปเผื่อแผ่ประชาชนสืบต่อไป ก็คิดว่าถ้าสถาบันการศึกษาได้ทราบว่า ก็จะปิดในระยะนี้ด้วย แต่ละท่านก็จะได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนท้องถิ่น ญาติโยม นำเอาธรรมะไปให้ทั้งโดยพูดและโดยไม่พูด นำธรรมะไปโดยไม่ต้องพูด อย่างน้อยให้ญาติโยมเห็นแล้วก็ชื่นใจ ได้ภาษาพระก็จิตใจผ่องใส เบิกบาน มีความสุข นำความร่มเย็นเป็นสุขไปให้ แล้วก็ถ้าสามารถก็ช่วยแสดงธรรมะให้โยมมีความรู้ความเข้าใจ ได้ศีล ได้สมาธิ ได้ปัญญาเจริญงอกงามยิ่ง ก็จะทำให้ชีวิตของญาติโยมประชาชนมีความสุข แล้วก็เผื่อแผ่ขยายกว้างขวางออกไป ก็เป็นสุขโดยทั่วกัน ก็จะเข้าคติตามพระพุทธโอวาทที่ตรัสไว้ว่าให้จาริกไปเพื่อเผชิญ พระอุชชะนิยะ หิตายะ พระอุชชะนะ สุขายะ โลกานุกัมปายะ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ปุถุชน เกื้อการุณแก่ชาวโลก ก็ขอให้ทุกท่านได้มีกำลังพรั่งพร้อม ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งปัญญา ทั้งความสามัคคี ไปบำเพ็ญกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน ดังที่กล่าวมา พร้อมทั้งตนเองก็ได้เจริญงอกงามในพระธรรมวินัยยิ่งขึ้นไป ก็ขออนุโมทนาทุกท่าน ขอให้เจริญสุขทุกท่านนทุกเมื่อเทอญ