แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
อันนี้ก็จบเรื่องพระรัตนตรัยโดยย่อ พูดให้เห็นหลัก ที่นี่จะพูดเรื่องอะไรต่อ ขอให้นึกตอนที่บวชเวลาเณรบวช จะมีตอนที่กล่าวถึงพระรัตนตรัย ตอนไหน ลองทบทวนซิ เณรตอบเวลาฉัน อ่อนั่นแหละ ตอนนั้นจะเป็นตอนที่ทำอะไร เณรตอบก่อนรับศีล ก็นั่นไง จะเห็นว่าเณรขอศีลแล้วใช่ไหม อะระหังภันเตสะรานะ สีรังนิยามิ แปลว่าผมขอสรณะและศีล ใช้สรณะด้วยศีล ตอนนั้นเราเรียกว่าสรณะไม่ได้เรียกว่ารัตนะ ก็คือ ไตรสรณะ นั่นเอง ตอนนั้นคือรับ สรณะ 3 อย่าง นี่คือจุดเบื้องต้น ตอนที่จะเป็นเณรนั่นคือตอนนี้ ตอนที่รับสรณะเป็นตอนที่จะให้เป็นจริง ตอนแรกจะทำพิธีเบื้องต้นที่มาขอบรรพชา ชัดเจนว่าตอนที่เป็นเณรก็ตอนรับสรณะแล้วต่อด้วยศีล สรณะนั่นก็คือการที่ว่าได้เข้ามาเป็นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา นับถือพระรัตนตรัยอย่างแท้จริงแล้วเอาเป็นสรณะแล้ว ทีนี้พอเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พรสงฆ์ เป็นไตรสรณะแล้ว ก็ต้องฝึกหัดเริ่มฝึกฝนพัฒนาตน การเริ่มฝึกฝนพัฒนาตนจะเห็นว่าเริ่มต้นด้วยศีลเลย แสดงว่าศีลนี่สำคัญ เป็นบทเบื้องต้นของการฝึกฝนพัฒนาตนเลย ก็ศีลนี้คืออะไรล่ะ ศีลนี้แหละที่พูดเมื่อวานนี้ว่าอันเดียวกับวินัย ศีลกับวินัยนี่ใช้พูดแทนกันได้บ่อย ๆ บางทีเราพูดว่าวินัย บางทีเราก็พูดว่าศีล ใช้แทนกัน แบบว่าพระปฏิบัติตามพระวินัยก็คือรักษาศีล 227 ข้อ ที่นี้เณรก็รักษาวินัยของเณร คือศีลอะไร ศีล 10 ข้อ วินัยกับศีลนี่ใช้แทนกันได้ แต่ที่จริงนะมันมีความหมายต่างกันนิดหน่อย ไม่เหมือนกันดียวที วินัยกับศีล ใครรู้บ้างว่าวินัยต่างกันศีลอย่างไร แต่ทีนี้เราใช้คำเหล่านี้เราก็ควรจะมีความเข้าใจชัดเจน ใครสามารถตอบได้ว่าวินัยกับศีลต่างกันอย่างไร เราปฏิบัติตามวินัย วินัยบอกวางไว้ไม่ให้ทำอันโน้น อันนี้ เป็นกฎเป็นระเบียบ นั่นเป็นวินัย วินัยจะเป็นอย่างนั้น อย่างกฏหมายก็เป็นวินัยชนิดหนึ่ง หรือว่าระเบียบของโรงเรียนก็เป็นวินัยชนิดหนึ่ง ข้าราชการก็ต้องมีวินัยใช่ไหม เพราะกฎระเบียบข้อบังคับทั้งหลายที่เราจะต้องรักษาก็วินัย วินัยก็เป็นตัวกฏตัวระเบียบและการจัดระเบียบให้คนนี้ได้มีความเรียบร้อย ที่นี้การที่คนรักษาระเบียบนั้น
ที่นี่หันมาพูดที่ตัวคนบ้าง เราเป็นผู้รักษาระเบียบนั้น การที่เรารักษาระเบียบนั้นเรียกว่าศีล ศีลเป็นคุณสมบัติของคน วินัยนั้นเป็นตัวบทบัญญัติเป็นตัวการจัด ศีลคือคุณสมบัติของคนที่รักษาระเบียบนั้น ทีนี้เราเอามาใช้ปน ๆ กันไป ศีล 227 ศีล 10 อะไรนี่ นี่ก็คือ ที่จริงมันตัววินัย แต่เอาศีลที่ตัวเรา เราเอาปฎิบัติเราก็มีศีล เราใช้สับสนกันหน่อย ก็เลยปล่อยไป ก็ถือว่าใช้แทนกันได้ ฉะนั้นอย่างเวลาให้ศีลนี่ จะเห็นว่าไม่มีคำว่าศีล ในตัวนั้นแต่ละคำ ไม่มีคำว่าศีล เวลาให้ศีล บอกว่า พระขอสรณะและศีล เวลาให้แต่ละข้อนี่ เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาปะทังสะมาทิยามิ สิกขาปะทังไม่มีคำว่าศีล สิกขาปะทังก็คือมาตรา 1 ข้อ 1 ข้อแต่ละข้อของวินัยนั้นเรียก สิกขาบท สิกขาบทแปลว่าอะไร สิกขาการฝึกฝนการศึกษา บทก็แปลว่าข้อ สิกขาบทก็คือ ข้อที่จะต้องศึกษา ก็คือข้อที่จะฝึกฝนพัฒนาตน สิกขาคือการฝึกฝน ฉะนั้นข้อฝึกหัดนั่นเอง สิกขาบทก็คือข้อฝึกหัด ศีลที่เราเอามารักษากันนี่ ที่จริงท่านเรียกข้อฝึกหัด เราเอามาฝึกหัดตัวเราให้รู้จักเว้นจากการเบียดเบียนฆ่าฟัน เว้นจากการลักเอาของที่เขาไม่ได้ให้ เว้นจากการประพฤติผิดในของรักของหวงของแหนของผู้อื่น เว้นการพูดเท็จ เป็นฝึกของเราเป็นบทฝึกหัด อันนี้ก็ตกลงว่า วินัยนั้นเป็นตัวระเบียบและการจัดระเบียบ ศีลก็คือตัวคุณสมบัติของเรา งั้นถ้าเราปฏิบัติตามวินัย ก็คือเราก็มีศีล นี้ก็ความหมายที่ให้เข้าใจเบื้องต้น ตกลงว่า 2 อย่างนี้ก็อยู่ด้วยกัน วินัยกับศีล ถ้าเรารักษาวินัยเรามีศีล แต่เวลาใช้ตามทั่วไป ก็ปล่อยเขา เขาใช้ปนเปก็ปล่อย พอเรียกวินัยเป็นศีล ก็อย่างที่ว่า เณรรักษาศีล 10 นี่ ที่จริงคือรักษาสิกขาบท 10 สถานข้อฝึกฝนตัวกลางบทบัญญัติของวินัย แต่ละข้อเขาเรียกอะไร กฎหมายก็คือวินัย แล้วแต่ละข้อของกฎหมายนี้เขาแบ่งเป็นอะไร เณรตอบมาตรา มาตราก็เหมือนกับคำว่าสิกขาบท สิกขาบทก็มาตรา วินัยก็แแปลว่ากฎหมาย
ที่นี้ในที่นี้ต้องการให้เห็นว่าการฝึกในเรื่องศีลนี่เป็นเรื่องเบื้องต้น พอเริ่มฝึกท่านก็ให้เอาศีลนี้ก่อนเลย ทำไมจึงเริ่มฝึกวินัยหรือให้มีศีลก่อน ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เณรตอบเป็นการฝึกเบื้องต้น นั่นซิทำไมเอาอันอื่นมาเป็นการฝึกขั้นต้นก่อน มาเอาที่วินัยก่อน สมมุติถ้าเราเข้าอยู่บ้านเราจะทำอะไรได้ ตอนแรกเราต้องทำยังไงก่อน อะไรนะครับ สมมุติว่าเราาจะเข้าไปอยู่ในบ้าน บ้านสร้างเสร็จ ทีนีเราเข้าไปอยู่ในบ้าน พอเข้าไปมาอยู่ในบ้านปั้บนี่ เราต้องมีของมีอะไรต่าง ๆ เนี่ย เราจะต้องทำยังไงก่อน เณรตอบจัดก่อน จัดก่อนใช่ไหม จัดข้าวจัดของจัดวางอะไรต่ออะไรให้เป็นที่เป็นทาง อย่างนี้การจัดนี่เอง ก็คือการทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อยใช่ไหม นี่แม้จะแต่เราจะอยู่ในบ้าน จะให้สุขสบายเราก็ต้องจัดของให้เรียบร้อยก่อนใช่ไหม จัดเพื่ออะไร จัดของให้เรียบร้อยเพื่ออะไร ทำไมเราถึงต้องเริ่มต้นด้วยการจัด เณรตอบเพื่อไม่ให้มันรก ก็ใช่ จะได้สะดวกจะได้ทำอะไรให้ได้เต็มที่ใช่ไหม ถ้าเราไม่ขืนไม่จัดของมา ของเราขนย้ายเข้ามาในบ้านใหม่ วางเต็มไปหมดทำอะไรไม่ได้เลยใช่ป่ะ ใช่ไหม ทำอะไรไม่ได้วุ่นไปหมดเลย เพราะฉะนั้นต้องจัดของให้เรียบร้อย พอจัดของให้เป็นที่เป็นทางแล้วเราก็มีช่องเดินแล้ว จะรับประทานอาหารก็มีที่รับประทานอาหาร เราจะทำอะไร ทำกิจกรรมอะไรก็ทำได้สะดวก ฉะนั้นการจัดระเบียบนี่เป็นเรื่องสำคัญเป็นสิ่งเบื้องต้น ชีวิตของเราก็เหมือนกันเราจะทำกิจกรรมอื่น เรามีเรื่องต้องทำอีกเยอะแยะ ตอนแรกต้องจัดระเบียบเสียก่อนให้เรียบร้อยให้มันเข้าที่ เราจะได้มีช่อง เราเรียกจัดโอกาส ทำให้มีโอกาสทำอะไร ก็รุงรังมันก็ทำอะไรไม่สดวก
นี่ก็เรื่องการฝึกฝนพัฒนาตนเองเหมือนมันก็เริ่มจากการจัดระเบียบขึ้นเสียก่อน ทีนี้อย่างง่าย ๆ อย่างชีวิตเราแต่ละวันอย่างที่เคยพูดเนี่ยที่มีกิจวัตรก็เป็นเรื่องของวินัยเหมือนกัน เพื่ออะไร เพื่อว่าเราจะได้ตกลงกันจะทำอะไรได้สะดวก บอกว่า ถึงเวลานี้เณรออกไปบิณฑบาตพร้อมกันนะจัดเป็นระเบียบถึงเวลาเราก็ออกบิณฑบาตพร้อมเพียงกัน เราก็ไปได้สะดวก ไม่ใช่คนโน้นยังไม่พร้อมคนนี้ยังไม่พร้อม ถึงเวลาแล้วไม่พร้อมแล้วก็ยุ่ง ทำอะไรก็ทำไม่ได้ เลยกว่าจะไปบิณฑบาตได้ก็หมดเวลาไปเยอะเรื่องอื่นเสียหมด เอ้าพอบิณฑบาตเสร็จ ฉันไม่มา องค์นั้นมา องค์นี้ไม่มายุ่งอีกแล้ว เลยงานอื่นก็เลื่อนกันหมดเสียหมด พอฉันเสร็จถึงแล้วก็ต้องทำวัตร ก็ทำวัตนมันก็เป็นระเบียบขึ้นมาแล้วมันทำให้ทุกอย่างมันเป็นไปได้สะดวกด้วย แล้วก็มีเวลาเหลือจะทำอย่างอื่นได้ ถ้าไม่เช่นงั้นแล้วขัดข้องไปหมด เอ้าเด็ก ๆ ไปพักเสียก่อน
อันนี้ตกลงว่าวินัยนี่ก็เป็นการจัดระเบียบเบื้องต้นเพื่อจะห้ทำอะไรได้สะดวกชีวิตของเราสังคมก็เหมือนกัน ชีวิตแต่ละคนนี่ต้องจัดระเบียบ อย่างน้อยเช่นมีการจัดเวลาได้ พอจัดเวลาได้เราก็ทำอะไรได้สะดวกแล้วก็ทำอะไรได้ผลด้วย วัน ๆ หนึ่งก็ทำอะไรได้เยอะแยะ ถ้าคนไม่มีระเบียบแล้ว แล้ววันหนึ่งนี่ มีเวลามากก็เหมือนเวลาน้อย ทำอะไรนิดหน่อยก็หมดเวลา เพราะมันก็วุ่นไปหมด
นี้สังคมก็เหมือนกันถ้าไม่มีระเบียบก็สับสน เริ่มตั้งแต่ว่าคนเบียดเบียนกัน เราก็ไม่มีความสุขจะทำอะไรก็หวาดระแวง ไปไหนก็ขัดข้อง แล้วอย่างก็ถนนเนี่ย ถ้ามีระเบียบคนอยู่ในวินัย รถมันก็ไปด้วยดีขึ้น ถ้าไม่มีระเบียบมันก็ติดกันอยู่อย่างนั้น เพราะว่าไม่มีการจัดจราจร รถมาที่สี่แยก ไอ้คันนี้ก็จะไปให้ไว คันโน้นก็จะไปให้ไว แทนที่จะไปได้ไว กลายเป็นไปไม่ได้ หรือติดกันอยู่นั่นแหละใช่ไหม แทนที่จะไวยิ่งช้าเข้าไปใหญ่ ถ้ายอมเสียเวลานิดหน่อย จัดให้เป็นระเบียบ ก็ไปได้ดีกว่า ยอมเสียเวลานิดเดียว เสียเวลานิดเดียวกลับทำให้ถนนไปได้คล่อง งั้นวินัยนี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก วินัยมีจุดมุ่งหมายก็เพื่อให้เรามีโอกาสทำอะไรต่อะไรได้สะดวกได้ผล เราจะพัฒนาตนต่อไปนี่มีเรื่องต้องทำเยอะแยะ ถ้าเราไม่จัดระเบียบชีวิต ไม่จัดระเบียบการเป็นอยู่ร่วมกันให้ดีก่อนเสียแล้ว มันจะยุ่งทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ฉะนั้นท่านจึงเอาวินัยเป็นข้อแรก ให้เรามีศีลรักษาศีล
นี่ก็เป็นหลักเบื้องต้นวินัยตกลงว่า ถ้าเขาถามว่าวินัยมีเพื่ออะไร ต้องถามอย่างนี้ เพราะการที่เราทำอะไรต้องมีจุดมุ่งหมายมีวัตถุประสงค์ก็เอาข้อนี้ไปตอบ จะตอบว่ายังไง วินัยเพื่ออะไร นี่เรารักษาวินัยเพื่ออะไร เราเรามีศีลเพื่ออะไร เณรตอบความเป็นระเบียบ เพื่อความมีระเบียบ เพื่ออะไรล่ะ ไอ้ตัวความเป็นระเบียบเป็นวินัยแล้ว ที่มีระเบียบนี้เพื่ออะไร หรือจะตอบก็ได้ว่าให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่ออะไร เณรตอบเพื่อพัฒนาตน นี่มันก็ถูกล่ะแต่มันยังเป็นกำปั้นทุบดินอยู่ อย่างที่พูดมาเมื่อกี้ทั้งหมด ก็เพื่อให้เกิดความสะดวก หรือให้เกิดโอกาสในการที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการที่จะพัฒนาตนเป็นต้น ใช่เปล่าใช่ไหม ถ้าเราจัดทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว โอกาสก็เกิดขึ้นแล้ว เราจะทำอะไรก็สะดวกขึ้น การพัฒนาตนฝึกฝนตนก็สะดวกขึ้น เอาแล้วนะ ตกลงวินัยเพื่ออันนี้ แล้ววินัยได้ผลพลอยได้อะไรอีกด้วย มีผลพลอยได้นี่สำคัญ คำว่าเป็นระเบียบเรียบร้อยนี่มันจะมากับคำอะไรอีกคำ พอเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำให้แลดูเป็นอย่างไร เณรตอบสวยงาม นี่เป็นสิ่งที่พ่วงมา ไม่ใช่ตัววัตถุประสงค์น่ะเราไม่ใช่จัดระเบียบเพื่อให้สวยงาม สวยงามเป็นสิ่งที่เป็นผลพลอยได้ ที่ว่าความมีระเบียบเรียบร้อยแล้วก็จะทำให้สวยงามด้วย แล้วก็ในการที่เราฝึกตัวเองให้มีวินัยนี่ เราจะได้ผลสำคัญเราจะต้องมีการรู้จักควบคุมตนเอง บังคับตัวเองได้ นี่เป็นการฝึกพัฒนาตนที่สำคัญ เพราะคนที่จะพัฒนาตนฝึกฝนตนได้นี่ ต้องรู้จักบังคับควมคุมตนเองเป็น ถ้าบังคับควบคุมตนเองไม่ได้ เราก็ทำอะไรไปไม่ได้ เพราะว่ามันฝืนความต้องการ ฝืนความชอบเราก็ไม่ยอมทำ นี้คนที่มีวินัย รักษาวินัยนี่เขาจะเริ่มรู้จักบังคับควบคุมตัวเอง เช่นอย่างเณรถึงเวลาบิณฑบาตยังอยากนอนจัง ก็ถ้าตามใจตัวเองก็ไปบิณฑบาตไม่ได้ใช่ไหม ถึงเวลาฉัน แล้วตามวินัยต้องไปกฏเกณฑ์วางไว้ เราต้องบังคับควบคุมตัวเองให้ไป ถึงเวลาฉันไม่มีระเบียบอยากทำตามใจชอบ จะให้มีวินัยก้ต้องมีวินัยต้องรู้จักควบคุมตัวเองฉันให้มีระเบียบเรียบร้อย หรือมานั่งอย่างนี้เอาอีกแล้ว ถ้าจะทำตามใจชอบก็ไม่เป็นระเบียบไม่มีวินัยก็ต้องคุมตัวเอง เพราะฉะนั้นวินัยก็ทำให้เรามีการบังคับควบคุมตนเองการบังคับควบคุมตัวเองนี่เป็นเบื้องต้นในการที่เราจะเจริญก้าวหน้า เพราะการบังคับควบคุมตัวเองก็มีความหมายอย่างหนึ่งของการฝึกฝนตนเอง การที่เราจะฝึกตนเองได้เราต้องบังคับควบคุมตนเองได้ งั้นตกลงว่าวินัยนี่มีวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดโอกาสและความสะดวกในการที่ทำการต่าง ๆ เพื่อจะฝึกฝนพัฒนาตนยิ่งขึ้นไป แล้วก็วินัยนี่ทำให้เกิดผลพลอยได้คือ ความสวยงาม แล้วก็วินัยนั้นทำให้เราได้มีการมีการฝึกฝนขอโทษ ได่มีการบังคับควบคุมตัวเองได้ในการฝึกฝนตนได้ต่อไป
ทีนี้ให้เข้าใจความสำคัญของวินัย เมื่อเราฝึกปฏิบัตตามวินัยเราก็เป็นผู้มีศีล ตอนนี้ก็มีศลีแล้วล่ะ ถ้าทำตามวินัย ถ้าไม่รักษาวินัยเราก็ไม่มีศีล อันนี้ก็ได้ความหมายพอสมควรแล้ว วันนี้เอาแค่เรื่องนี้แค่วินัยก่อน ที่พอเรารับสรณคมน์แล้วก็ต่อเป็นการรับศีลไปเลย เพื่อจะได้ฝึกกันอย่างนี้ อันนี้ก็พอสมควรแก่เวลา นี่ก็ 9 โมง ถอยแล้วเราจะต้องทำให้สำเร็จ เพราะนี่คือการฝึกฝนพัฒนาตนที่สำคัญ มีระเบียบ มีวินัยเอาอะไรต่อะไรเอามาเลยกี่อย่างเอามาเลย ฉันทำได้หมดน่ะ อย่างงั้นทำใจให้เข้มแข็ง
เอาล่ะวันนี้ก็อนุโมทนาเณรเตรียมที่จะได้ไปพักแล้วก็ได้เเล่าเรียนหนังสือต่อไป ฉะนั้นตอนนี้ก็ยุติเพียงเท่านี้ กราบพระพร้อมกัน
ก็เรื่องศีลอีกนิดหน่อย พูดมาแล้วเรื่องวินัย เรื่องศีล ก็บอกว่าเวลารับสรณคม พุทธังสะระณังคัจฉามิ เป็นต้น และก็ต่อด้วยการรับศีล ต่อด้วยรับศีล ศีลเณรนี่มีกี่ข้อ ทีนี้มาทวนกันหน่อยแล้ววันนี้ บวชมาตั้งนานยังไม่ได้ทวนศีล ศีลเณรมีกี่ข้อ 10 ข้อ เณรวุฒิว่าได้ไหมนี่ เพราะเณรวุฒิท่องกระชั้นมากก็เลยไม่คล่อง เอ้าเณรอนุลักษณ์ว่าได้หมดไหมครับตอนนี้ ยังไม่หมด อ้าวรองไล่ตั้งแต่ต้น ข้อ ที่ 1 แบ่งกัน ๆ 3 องค์ ข้อที่ 1 ปาณาติปาตาเวรมณี อทินนาทานาเวรมณี ปฐมจริยาเวรมณี เอาแค่นี้ก่อน ทีนี้เณรต้นต่อ ยถาเวรมณี กาเมรสุมิฉาเวรมนี เอ้าต่อ อีกสักข้อ เอ้าล่ะเณรเต็มต่อไหวไหมครับ ต่อไหวไหมครับ สารนะ วยามะเวรมนี ถูกข้อเดียว เอาละก็ยังใช้ได้ ก็ทวนไว้บ้าง ไม่งั้นเดี๋ยวลืม ก็ดียังมีคล่อง ๆ กันอยู่ เณรวุฒิท่องหน่อยน่ะ ไหน ๆ มาบวชแล้ว ถึงแม้เวลาจะบวชไหน ๆ ไม่มีเวลาพอ ไหน ๆ บวชมาแล้ว เราต้องจำศีลให้ได้ ก็มี 10 ข้อ ปกติเป็นฆราวาสเขาต้องรักษาศีล ทีนี้ศีลฆราวาสมีกี่ข้อ ชาวบ้านน่ะ ฆราวาส 5 ข้อ เกือบเหมือนของเณรเลย คือ 5 ข้อต้น เณรแถมเข้ามาอีก 5 แล้วเปลี่ยนข้อไหน 5 ข้อแรก เณรตอบเปลี่ยนข้อ 3 เปลี่ยนข้อ 3 จากกาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี มาเป็น ปะธรรมจริยาเวรมนี ก็เติม 5 ข้อ นี่เราลองสังเกตดูทำไมฆราวาสมี 5 ข้อก็พอ แล้วเณรทำไมของเณรเติมอีก 5 ข้อ แล้วไปยังเปลี่ยนข้อ 3 ไป อีก ไอ้นี้ถ้าเราเห็นความหมายแล้วเราจะเข้าใจเรื่องวินัย มาพูดกันไปก็วินัยของเณรเนี่ยคือศีล 10 ที่จริงเรียกสิกขาบท 10 สิกขาบทที่บอกไปแล้วข้อฝึกหัด 10 ข้อ ก็เหมือนกับกฏหมายของเณรนี่มี 10 มาตรา วินัยก็คือกฏหมาย พูดอย่างง่าย ๆ แล้วสิกขาบทก็มาตรา เราก็เลยบอกกฏหมายเณรมี 10 มาตรา ก็รักษาแค่นี้เองนิดเดียว ทีนี้ใน 10 มาตรนี่ก็เพิ่ม เป็นฆราวาส 5 อย่างที่บอกเมื่อกี้
นี้ฆาราวาส 5 ข้อพอ เพราะว่าก็อยู่กันในสังคมนี่
1 ก็ไม่ทำร้าย ไม่ฆ่ากัน ไม่ทำร้ายร่างกายกัน
2 ก็ไม่ลักทรัพย์ไม่ละเมิดกรรมสิทธิ์สิ่งของกัน
3 ไม่ละเมิดคู่ครองกัน ครอบครัวใครครอบครัวมัน
4 ก็ไม่พูดเท็จ ไม่ละเมิดกันทางวาจา ไม่หลอกลวงกัน
5 ก็ไม่ทำลายสติสัมปชัญญะของตัวเอง คนที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ คนอื่นไว้ใจไม่ได้ใช่ไหม ลองคนกินเหล้าเมายาปั้บ ครองสติอยู่ไว้ใจไม่ได้แล้ว เอะคนนี้จะมาท่าไหน ทั้ง ๆ เขายังมีสติดีอยู่เราก็ไว้ใจได้ คนนี้เราเคยเห็น เขาไม่ทำอะไร แต่พอเขาไม่มีสตินี้เราก็ไม่แน่ใจแล้วเขาจะทำอะไรไม่รู้ ฉะนั้นมันก็เป็นอันตรายกับคนอื่น คนที่กินเหล้าดิ่มของมึนเมา ติดยาเสพติด เป็นอันตราย คนอื่นไม่แน่ใจไว้ใจไม่ได้ เพราะเป็นอันตรายต่อสังคม บางที 5 ข้อนี้ ถ้าคนทั่วไปนี่ คือชาวบ้านเนี่ยรักษาได้ก็พอที่จะอยู่ร่วมกันด้วยดีแล้ว ฉะนั้นฆราวาส 5 ก็พอ
ที่นี้พอจะมาบวชเป็นเณรเป็นพระนี่ เราต้องการฝึกในชีวิตด้านจิตใจเพิ่มขึ้นและการดำเนินชีวิตของพระเณรก็ไม่เหมือนชาวบ้าน มันจะต้องจัดระเบียบชีวิตให้เหมาะ เพราะฉะนั้นจึงมีอีก 5 ข้อลองสังเกตข้อที่ 6 คือ วิกาลโภชนาเวรมณีนี้คืออะไร ให้เว้นจากอะไร เณรตอบฉันอาหารในยามวิกาล ฉันอาหารยามวิกาลก็คือว่าผิดเวลานั่นเอง วิกาลแปลว่าผิดเวลา เวลาที่ไม่ถูกต้องสำหรับพระเณร คือตั้งแต่เที่ยงไปแล้ว ก็ทำไมล่ะ เพราะพระเณรนั้น
หนึ่ง พระต้องอาศัยชาวบ้านเขาเป็นอยู่ตัวเองไม่ได้ทำมาหากินเอง อย่าให้เป็นภาระมากกับชาวบ้านกินแค่ครึ่งวันพอแล้ว ถ้าขืนไปฉันมากมาย ชาวบ้านเขาลำบากวุ่นวายเขา
สอง พระพุทธเจ้าสอนให้ปฏิบัติบางทีไปนั่งกรรมฐาน นั่งสมาธิหรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วก็
สาม เผยแผ่ธรรมะ
หน้าที่ใหญ่ 3 อย่างนี่ นี้พระเณรจะทำหน้าที่นี้ได้สะดวก ก็ต้องพยายามตัดกังวล มัวแต่หาอาหารฉันหลังเที่ยงอีกแล้วนี่ ยุ่งมันเสียเวลาในการที่จะมาเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติเผยแผ่ นี้เสียเวลามาก ถ้าเรามีอาหารพอแค่เที่ยงแล้ว เราก็ใช้เวลาที่เหลือเนี่ยมาทำหน้าที่ของเรามาทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่ งั้นก็จะเห็นได้ว่าศีลข้อวิกาลโภชนา นี่ก็เป็นการจัดระเบียบชีวิตเพื่อให้ทำงานของตัวได้สะดวก
ที่นี่อีกอย่างนึงก็ เดี๋ยวนี้เขามองเห็นกันแล้วว่า อาหารฉันแค่เที่ยงวันก็พอแล้ว เดี๋ยวนี้เขาเริ่มเห็นกันมากขึ้นว่ากินอาหารมื้อเย็นนี้อะไรนี่มันเกินพอ สมัยใหม่เขาเริ่มรู้กันมากขึ้น การแพทย์อะไรต่ออะไรก็เริ่มค้นพบ เพราะฉะนั้นพระเณรนี่ก็ฉันแค่เที่ยงก็พอ บางองค์ถ้าไม่ได้ใช้พลังงานมากฉันมื้อเดียวพอด้วยซ้ำ ตกลงก็เห็น ทีนี้ต่อไปข้อ นัจจะคี คืออะไร เว้นอะไรครับ เณรตอบ เว้นการดูหนังดูละคร เว้นการฟ้อนรำขับร้อง แล้วก็ดูการละเล่นต่าง ๆ ใช่ไหม ต่อไป มาลาคันทิเวกานันทะนะสถานะเวรมณี เว้นอะไรครับ เณรตอบแต่งตัวทาแป้ง ทัดทรงดอกไม้ของหอมแต่งตัวต่าง ๆ ประดับประดา ต่อไป อุจาเจมะเสระนา เว้นจากอะไรครับ เณรตอบ ห้ามนอนในที่สูง ห้ามนอนบนที่นอนนั่งนอนสูงใหญ่คือหรู่หรานั้่นเอง ที่นอนหรู่หราฟุ่มเฟือย อันนี้เพื่ออะไร ก็ลองคิดดู ก็พระเณรเราก็ต้องการฝึกฝนทางด้านจิตใจไม่มุ่งในการบำรุงบำเรอความสุขแก่ร่างกายใช่ไหมนั้นเราตัดตัวกังวลด้านนี้ ถ้าเรามัวไปแต่งตัวไปดูไปเต้นอะไรต่าง ๆ อะไรสนุกสนาน แล้วก็จะเสียเวลาไปมากมาย แล้วก็จะต้องมายุ่งใช้พลังงานกับเรื่องนี้มากด้วย เพราะฉะนั้นท่านก็ให้ตัดกังวลเรื่องเหล่านี้เสีย แล้วก็จะได้ระเบียบชีวิตที่ดี เราจะได้้ใช้ชีวิตของเราในการฝึกฝนทางด้านจิตใจได้เต็มที่
ที่นี้ต่อไปข้อสุดท้าย คะปะรูปติปทานัง เณรตอบสะสมเงิน ห้ามในเรื่องการสะสมเงินทอง หมายความเอาเงินมาสะสมไว้ เพราะว่าถ้าหากพระเณรยิ่งสมัยก่อนเนี่ยการเดินทางการอะไรต่ออะไรไม่ต้องใช้เงินทอง ฉะนั้นก็มันไม่จำเป็นชีวิตพระเณร นี้ก็อาหารก็ชาวบ้านก็เลี้ยงอยู่แล้ว ของใช้อะไรที่จำเป็นสำหรับชีวิตก็เพียงพอ แล้วไม่ต้องมาหาเครื่องประดับประดาหรูหร่าอะไร เงินทองก็เลยไม่จำเป็น ก็อยู่ตัวได้แล้ว จะได้คล่องตัวไปไหนมาไหนก็สดวก ยิ่งข้ออุจาเจมะเสระนา การนอนที่นอนสูงใหญ่หรูหร่าฟุ่มเฟือยยัดนุ่นยัดอะไรให้มันนอนสบายนี่ นี่พระเณรในสมัยก่อนเดินทางมาก จะไปเผยแผ่พระศาสนา นี่เดี๋ยวไปนู่นไปนี่ไม่ได้หยุดเลยพอออกพรรษาแล้วไปตลอด เพราะมัวหาที่นั่งที่นอนสบายก็นอนได้ทำบาปใช่ไหม พระเณรจะปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวก ต้องค่ำไหนนอนนั่นได้ทันที ถึงไหนนอนได้หมด ฉะนั้นต้องก็นอนง่าย กินอยู่ง่าย หลับนอนได้ง่าย เพราะฉะนั้นการวางระเบียบชีวิตวินัยเพื่อให้ท่านทำงานได้สะดวกได้เต็มที่ นี่เราจะเห็นว่าวินัยนี่มีความหมายอย่างที่ว่ามาแล้ว หรืออย่างข้อธรรมะจริยา ข้อที่ 3 ของคฤหัสถ์มันต้องเปลี่ยนเพราะไม่มีคู่ ก็ชาวบ้านมีคู่ครองก็มีไป แต่ว่าพระเณรนี่ก็ตัดกังวล ในเรื่องนั้นถ้ามีครอบครัวก็เป็นเรื่องใหญ่เป็นเรื่องภาระมากมาย แกจะดำเนินชีวิตหน้าที่แบบสะดวกก็ต้องเว้นจากมีครอบครัว เพราะตกลงว่า ศีลพระศีลเณร พระจัดไว้ ชีวิตของพระของเณรจะได้ทำหน้าของตัวเองได้เต็มและสะดวกคล่องตัวมาก
ทีนี้ถ้าเราไม่ทำตามศีลของเราปั้บยุ่งทันที ก็ทำให้ดำเนินชีวิตไม่สะดวก พระเณรก็ไม่เอาเวลามาใช้ในการปฏิบัติการศึกษาเล่าเรียนเผยแผ่ศาสนาไม่ทำแล้ว ก็ไปเสียเวลากับการหาของดี ๆ มาใช้ ตกแต่งประดับอะไรต่าง ๆ ไม่ทำหน้าที่แล้ว ฉะนั้นวินัยจึงสำคัญมาก พอบวชเข้ามาปั๊บก็ต้องเริ่มด้วยมีวินัยควบคุม แต่ก่อนที่จะมีวินัย วิธีบวชเข้ามาในสงฆ์เนี่ย เราได้ก่อนแล้วถึงได้ กัลยาณมิตร น่ะ ตอนก่อนนี้ได้บอกว่าสงฆ์สัมพันธ์ 3 อย่างใช่ไหม 1 มีกัลยาณมิตรจะได้มีการสงเคราะห์กัน 2 มีวินัย 3 สามัคคี นั้นกัลยาณมิตรได้แล้ว พอบวชคือมีกัลยาณมิตร เราก็ได้พระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์เป็นกัลยาณมิตร แล้วก็ได้อุปชาอาจารย์แล้ว พอบวชแล้ว เราไม่ใช่บวชขึ้นมาเอง เราก็ต้องมีอุปชาอาจารย์ ได้กัลยาณมิตรแล้ว แล้วก็วินัยก็คือศีลที่รับตอนนั้น เพราะฉะนั้น 2 ข้อนี้มา แล้วต่อจากนั้นก็ดำเนินชีวิตให้มีความสามัคคีกันอยู่ร่วมกันตามวินัย ก็สามัคคีก็เกิดขึ้น วินัยก็จะบัญญัติให้เรามาทำอะไรพร้อมเพียงกัน มาทำวัตรพร้อมกัน สวดมนต์พร้อมกัน ความสามัคคีก็เกิดขึ้น ก็ได้ 3 อย่าง อันนี้นี่เป็นหลักของการดำเนินชีวิตในพระพุทธศาสนา
ที่นี้ชาวบ้านก็เหมือนกัน ชาวบ้านเขามี 5 ข้อก็พอ ชาวบ้านเขาจะนอนที่นอนสูงใหญ่อะไรต่ออะไรก็ชั่งเขา เราไม่ว่า เพราะชีวิตเขาไม่ต้องการ ไม่จำเป็นต้องฝึกฝนให้มากขึ้นในทางจิตใจ แต่ว่าถ้าใครทำใจทำได้ ก็สนับสนุนเพราะฉะนั้นท่านจึงเปิดโอกาสฆราวาสคนไหนต้องรักษาศีลศีล 8 ก็รักษาได้ แต่บางทีก็สนับสนุน ก็บอกว่า วันธรรมดาไม่รักษา แต่ว่าวันพระ วันพระรักษาศีลทีหนึ่ง ก็จะได้เป็นการฝึกตัวเอง นี่ถ้าฆราวาสคนไหนเป็นอยู่ได้ง่าย มันก็มีความสุขเหมือนกัน บอกว่าเราไม่จำเป็นต้องเป็นห่วงว่าจะต้องมีที่นอนสบายหรูหรา กินง่ายนอนง่าย อย่างนี้มันก็ได้ความสุขอีกอย่างหนึ่ง บางคนนี้ถ้าไม่มีที่นอนสบาย ๆ นอนไม่เป็นสุขเลย บางคนเขาฝึกตัวมาเป็นธรรมดาแล้ว เขาเห็นว่าที่นั่งที่นอนหรูหรานั้นเกะกะวุ่นวายเปล่า ๆ เขานอนง่าย ๆ เขาก็สบายแล้ว ฉะนั้นก็อยู่ที่ว่า ถ้าใครเห็นชอบจะฝึกแบบพระก็ได้ ฆราวาสก็ไม่มีปัญหา นี่คนไทยเราสมัยก่อนเนี่ย มีประเพณีมาตอนที่ไม่ถึงบวชเณรตอนนี้ยังเด็ก ๆ ไม่บวช เราก็มีประเพณี ประเพณีให้บวชพระตอนอายุเท่าไหร่ เณรตอบอายุ 20 20 ปี นี่บวชกันทุกคนเลยสมัยก่อน อ้อแล้วก็จะมีอีกอันหนึ่ง คืออะไร ใกล้ ๆ กับบวชนี่ มีอีกอันหนึ่ง เณรตอบเข้าพรรษา ใช่ แต่ว่านอกจากมาบวชเณรบวชพระแล้ว สังคมไทยบังคับให้อีกอย่างไปเป็นอะไร ให้ไปทำอะไรอีกอย่าง เณรตอบเป็นทหาร ตอนไหนเป็นทหาร ก่อนบวชพระหรือหลังบวชพระ เณรตอบก่อน หลัง หลังใช่ไหม พออายุ 20 ก็บวชพระ พออายุ 21 ก็เกณฑ์ทหารใช่ไหม อ้าวนี่แหละ 2 อย่างนะ บวชพระกับเกณฑ์ทหารเนี่ย เหมือนกับเป็นหน้าที่ของลูกผู้ชายชาวไทยเรา อันนี้ 2 อย่างนี้จะมีอยู่เหมือนกันอยู่ลักษณะหนึ่ง พระนี่ก็หนักในเรื่องวินัยศีลใช่ไหม ส่วนทหารเรื่องใหญ่ก็เรื่องระเบียบวินัยให้กัน ทหารก็เรื่องวินัย ก็เรื่องใหญ่ เพราะฉะนั้นผู้ชายชาวไทยนี่ จะได้วฝึกวินัยกันมากตอนอายุ 20, 21 บวชพระก็ฝึกวินัย เป็นฆราวาส เป็นทหารก็ฝึกวินัย แล้วก็ต้องมีอีกอย่างหนึ่งก็ต้องสามัคคีเหมือนกันใช่ไหม ชีวิตทหารนี้ต้องการวินัยอย่างมากเลย ฝึกมากแล้วเอาจริงเอาจังลงโทษกันรุนแรงด้วย ไม่ได้ปล่อยมากเหมือนของพระเณร แล้วก็สามัคคีก็สำคัญมาก ทีนี้ทำไมเราจึงต้องฝึกวินัยกันมาก ทั้งเป็นพระ เป็นฆราวาสทั้งทหาร 2 อย่างนี้ เพราะว่าจะต้องการกำลังไปใช้ในการต่อสู้ พระเณรต่อสู้กับอะไร เณรตอบกิเลส ต่อสู้กับกิเลส ทหารต่อสู้กับอะไรครับ เณรตอบสู้กับข้าศึก ต่อสู้กับข้าศึก ถ้าพูดอีกอย่างพระเณรต่อสู้ทางจิตใจ ทหารต่อสู้ทางไหน เณรตอบร่างกาย ทางร่ายกายทั้ง 2 อย่างนี้ต้องการวินัยมาก ทหารไม่มีวินัยแล้วรบแพ้แน่เลยใช่ไหม ทำอะไรก็ต้องเป็นระเบียบ ต้องตามกติกา ตามกฎ ต้องเชื่อฟังกัน ต้องมีอะไรทำตามหน้าที่ชัดเจนไปเลย แล้วจะต้องพร้อมเพียงกัน เพราะวินัยต้องสามัคคีด้วย ของพระเณรก็การฝึกวินัยมาก แต่ว่าเราฝึกเพื่อรู้จักพัฒนาตนเอง ควบคุมจิตใจของตนเอง
นั้นก็พูดผู้ชายชาวไทยก็มีโอกาสจะฝึกฝนในเรื่องวินัยสำคัญ 2 ครั้งติด ๆ กันเลย คือตอนที่เป็นพระ กับตอนที่เป็นทหาร แต่มีวัตถุประสงค์คนละอย่าง ก็เป็นการฝึกด้วยกันทั้งคู่ สำหรับพระเณรนี่ก็ฝึกเพื่อพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ที่นี่เรานี่ฝึกเพื่อมุ่งไปทางจิตใจ ที่จะไปบำเพ็ญประโยชน์เพื่อนมนุษย์ การที่เราจะทำประโยชน์ได้ดีเต็มที่ เราก็ต้องพร้อมพัฒนาตัวเองให้ดีเสียก่อน ฉะนั้นก็จึงให้มาฝึกวินัยนี้สามัคคีอยู่ร่วมกันอย่างเป็นกัลยาณมิตรมีต่อกัน นี่ถ้าหากว่าบวชพระฝึกวินัยไว้ดีแล้ว ต่อไปเป็นทหารก็มีพื้นที่ดีแล้วในการฝึกวินัยมาก่อน ไปฝึกวินัยของทหารก็ง่ายขึ้นด้วย โบราณก็เลยเอาเป็นว่ามาฝึกวินัยแบบพระเณรก่อน แล้วก็ไปฝึกวินัยทหาร เดี๋ยวจะว่าฝึกวินัยพระเณรมามีพื้นดีแล้ว ก็ไปฝึกวินัยทหารก็ง่ายขึ้นด้วย เสร็จแล้วฝึกทหารนี้มันเป็นหน้าที่ชั่วคราว ไปทำหน้าที่ป้องกันบ้านเมือง
แต่ที่ระยะยาวถาวรก็คือ วินัยแบบพระ คือการฝึกอบรมทางจิตใจ เพื่อพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพเป็นสังคมที่ดีงาม ทหารก็ได้แค่แก้ป้องกันประเทศชาติต่อสู้เวลามีศัตรูเวลามีศัตรู แต่แท้ที่จริงแล้วก็คือจิตใจ พัฒนาชีวิตตนเอง อย่างคนที่ไปฝึกวินัยของทหารนั้น ที่ได้ประโยชน์ติดตัวมาก็ใหส่วนที่เป็นการพัฒนาชีวิตจิตใจของตัวเองในการที่ว่ารู้จักบังคับควบคุมจิตใจตนเองเป็นต้น รู้รักษาระเบียบอะไรต่าง ๆ นี่ รู้จักประโยชน์ส่วนรวม รู้จักรับผิดชอบ อันนั้นเป็นประโยชน์ระยะยาวที่มาใช้ในชีวิตไม่เฉพาะไปเป็นทหารต่อสู้กับคนอื่นเท่านั้น นั้นนี่คือประโยคที่เราต้องการซึ่งวินัยของพระสงฆ์นี่แหละจะเป็นส่วนที่จะช่วยได้มากฝึ่ก เพราะเป็นการฝึกเรื่องนี้โดยตรง นั้นมาบวชเข้ามาแล้วก็เพียรพยายามฝึกฝนพัฒนาตนเอง นี่ถือว่าเป็นโอกาสแล้วที่เราจะได้ทำชีวิตของเราให้ของเราเจริญงอกงาม โดยการฝึกฝนพัฒนาอย่างที่ว่ามา แล้วก็เรื่องวินัยก็ควรจะจบเท่านี้ เณรมีอะไรสงสัยไหม ไม่มี เณรพูดไม่ค่อยมีอะไรข้อสงสัย ไหนวันนี้ไม่มี หรือเมื่อยแล้ว ไหนครับ ไม่มีหรือว่าเมื่อยแล้ว เมื่อยไหมครับ เมื่อยไม่มากก็เมื่อยนิดหน่อย เณรอนุรักษ์ก็ไม่มีคำถาม เณรต้นก็ไม่มี ไม่มีนะ ก็ระหว่างนี้หลังจากประชุมไปแล้วมีคำถามอะไรก็มาไว้ถามกันต่อได้ วันนี้จวน 9 โมงแล้ว สมควรแก่เวลา จะได้ไปเตรียมตัวเข้าห้องเรียนกันต่อไป วันนี้ก็นิมนตเตรียมตัว กราบพระพร้อมกัน