แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ไฟล์ถอดเสียงนี้ยังไม่ได้ผ่านพิสูจน์อักษร นำขึ้นมาเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ
ก็คุยกับพระ ญาติโยมเล็กน้อย ก็ถือเป็นเรื่องเกร็ดความรู้ เพราะตอนนี้บอกแล้วว่าร่างกายไม่ค่อยจะสะดวก ก็วันนี้บอกตรงๆว่าเจ็บหน้าอกมากหน่อย ก็พูดเรื่องสั้นๆ เกร็ดความรู้ วันนี้ก็ไม่ใช่หลักธรรมอะไรมากมาย คือเรื่องที่เราได้ยินได้ฟังกันมามาก เป็นประเภทนิทาน เรามักจะรู้จักชาดก ชาดกก็เป็นเรื่องที่ชาวบ้านมองว่าเป็นนิทานแต่ว่าเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ เราเรียนว่าครั้งเสวยพระชาติ พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนั้นเป็นนี้ เช่นเป็นพระเวสสันดร เป็นมโหสถ เป็นอะไรต่างๆ มากมาย รวมทั้งหมด 547 ชาติ เราก็พูดกันแบบสั้นๆ ใช้ตัวเลขเต็มๆว่า 500 ชาติ อันที่จริงนั้นมี 547 ทีนี้ที่อยากจะพูดวันนี้ก็คือ เราต้องมีหลักในการเรียนการฟังชาดกด้วย เพราะว่าเป็นเรื่องความรู้และก็เป็นการสอนธรรมะด้วย ธรรมะที่สอนในชาดกก็เป็นเรื่องของคำพูดของตัวละครในชาดกเยอะโดยเฉพาะก็ที่ถือเป็นหลักก็พระโพธิสัตว์ แต่ก็ไม่ใช่แค่นั้น เราก็ต้องจำให้ถูกว่าเราจะต้องปฏิบัติหรือควรปฏิบัติหรือมีใจเชื่อถือเป็นต้น ต่อถ้อยคำ แนะนำสั่งสอนหรือพูดจาเหล่านั้นอย่างไร นี้เมื่อกี้ก็บอกแล้วว่าชาดกนั้นเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัสรู้ก็คือยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า ยังเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ทีนี้เรื่องชาดกก็คือพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้วตรัสเล่าเรื่องอดีตครั้งที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ฉะนั้นก็เป็นเรื่องเก่า นี้จุดที่เป็นที่สังเกตก็คือถ้อยคำในนั้นก็จะเป็นถ้อยคำโดยมากก็เป็นคำสนทนาโต้ตอบกัน ระหว่างตัวละครต่างๆในนั้น ตัวละครสำคัญก็คือพระโพธิสัตว์ นี้คำเหล่านั้นเราก็เอามาใช้เป็นภาษิตกันเยอะ ก็ต้องมีความเข้าใจ ทีนี้บอกแล้วว่าแม้แต่เป็นพระเอกในนั้นก็คือพระโพธิสัตว์ก็ยังไม่ได้ตรัสรู้ โพธิสัตว์ก็แปลว่าสัตว์ผู้มุ่งต่อโพธิ มุ่งต่อปัญญาตรัสรู้ก็คือยังบำเพ็ญเพียร บำเพ็ญคุณธรรมอย่างยวดยิ่งเรียกว่าบารมี บารมีก็คุณธรรมที่จะได้ทำให้เรียกว่าคุณธรรมทั้งหลายเจริญงอกงามเพิ่มพูน จนกระทั่งว่าเรียกว่าแก่กล้า แล้วก็จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแต่ว่าจุดสำคัญก็อย่างที่บอกเมื่อกี้มุ่งต่อโพธิ โพธิก็ปัญญาตรัสรู้ ฉะนั้นจุดสำคัญก็คือปัญญา ธรรมะที่จะทำให้ตรัสรู้ได้ก็ปัญญา เพราะฉะนั้นพระโพธิสัตว์ก็ทรงแสวงปัญญาที่จะทำให้ตรัสรู้ เพราะฉะนั้นในระหว่างที่บำเพ็ญเพียรเป็นพระโพธิสัตว์ ปัญญาก็ยังไม่ถึงขั้นตรัสรู้ ปัญญายังไม่เต็มที่ ถ้าว่าในแง่จิตใจก็คือจิตใจดีเต็มที่ ตั้งใจดีเต็มที่ เช่นมีน้ำใจเต็มที่ เพียรพยายามทุกอย่าง ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นจนกระทั่งยอมสละชีวิตของตนเอง ความดีงามในเรื่องทั่วไปอย่างนี้มากมายเหลือล้น แต่ว่าปัญญาก็ยังไม่บริบูรณ์ เมื่อปัญญาไม่บริบูรณ์เนี่ย การปฏิบัติการกระทำต่างๆ ก็ยังไม่ถือว่าเพรียบพร้อมถูกต้องสมบูรณ์ ถ้าเราพูดง่ายๆก็เช่นว่า พระโพธิสัตว์เกิดในสมัยไหน สังคมสมั้ยนั้นมีความดีอะไรที่เขายึดถือกันอยู่ หรือว่าเขาถืออย่างนั้นเป็นคุณธรรมยอดยิ่ง พระโพธิสัตว์ก็ทำได้ ทำได้ดีที่สุดของหมู่ชน ของยุคสมัย หรือบางทียุคสมัยนั้นเขาถือผิด พระโพธิสัตว์มีปัญญาแม้ยังจะไม่ตรัสรู้ ก็เห็นว่ามันยังไม่ถูกต้อง ก็จะพูดในสมัยนี้ว่าแหวกแนว พระองค์ก็ทำได้แปลกไปจากที่คนยุคนั้น หมู่นั้นเขาเชื่อถือ ก็ทำให้คนได้ละเลิกความเข้าใจผิดไปได้ แต่พระองค์ก็ยังไม่ตรัสรู้อยู่นั่นแหละ เราจะเห็นว่าพระโพธิสัตว์ก็ยังไปเป็นฤาษี ไปบำเพ็ญเพียร บำเพ็ญฌาณได้ฌาณสมบัติ ได้ทั้งรูปฌาณ อรูปฌาณ สิ้นชีพแล้วก็ไปเกิดเป็นพรหมอะไรอย่างนี้ อันนี้ก็ยังไม่ถูกต้องนะต้องเข้าใจ เพราะว่าพระพุทธศาสนาไม่ถือว่าอันนั้นจบ อันนี้ก็ว่าเป็นเพราะยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ก็อันนั้นก็ดีที่สุดแล้ว เขาถือว่าได้บำเพ็ญฌาณได้สมาบัติอย่างที่ว่าแล้ว ครบสมบูรณ์แล้ว พระองค์ก็ยังต้องบำเพ็ญบารมีต่อไป ในบางพระชาติก็มีเหมือนกันนะในบางชาดก ท่านก็เล่าให้ฟังไว้ให้รู้ว่า บางพระชาตินี้มีพระโพธิสัตว์ทำผิดพลาดเหมือนกัน อันนี้ก็ฝากเป็นการบ้านใครสนใจศึกษาให้ไปค้นว่าชาติไหนมีที่ทำผิดพลาด คืออ่านก็รู้ ท่านก็ต้องการบอกให้รู้ว่าทำผิดพลาด แล้วอ่านชาดกนี้อ่านต้องเข้าใจ ไม่ใช้ตัวคำสอนสมบูรณ์นั้นเป็นชาดก เอาละในแง่นั้นก็เป็นเรื่องที่ให้ทราบในเบืิ้องต้น ทีนี้ในชาดกนี้ที่เป็นชาดกแท้ๆ อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 27,28 เป็นคาถาล้วนๆ มีอยู่ชาดกเดียวที่เป็นร้อยแก้ว บอกเคยฝากไปแล้วที่ให้ไปค้น มีชาดกเดียวเท่านั้นที่เป็นร้อยแก้ว นอกนั้นเป็นคาถา เป็นคำร้อยกรอง เป็นฉันท์หมด ทีนี้อรรถกถาที่เป็น ขอโทษ ชาดกที่อยู่ในพระไตรปิฎกเนี่ย เนื่องจากเป็นฉันท์ก็อ่านเข้าใจยาก หนึ่งละ สองก็คือว่าท่านนำมาเฉพาะคำ โดยเฉพาะโดยมากก็เป็นคำโต้ตอบของตัวละครในเรื่อง ทีนี้เรื่องราวเป็นมาอย่างไร เช่นว่าเรื่องเป็นมาก่อนที่จะเกิดการสนทนานั้นว่ายังไง และก็ในการสนทนานี้เมื่อพูดไปอย่างนี้แล้ว ฝ่ายโน่นมีความรู้สึกอย่างไรจึงได้ตอบอย่างนี้อะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็ไม่มีอธิบายไว้ อันนี้เราก็ไปอ่านจากคำภีร์อธิบายที่เรียกว่าอรรถกถา
อรรถกถาเนี่ยก็จะอธิบายเรื่องราวในพระไตรปิฎกที่เป็นชาดกนั้นว่า เรื่องเป็นมาอย่างนี้นะก่อนที่จะเกิดการสนทนานี้คือว่าเป็นอย่างนั้นๆ คนนั้นไปอย่างนั้น ทำนั่นทำนี่มาแล้วมาเจอกัน แล้วคนหนึ่งก็พูดอย่างอย่างนี้ อีกคนกนึ่งตอบว่าอย่างนั้น นั่นก็อย่างหนึ่ง และทีนี้ก็อธิบายถ้อยคำในคาถาว่าที่ท่านผู้นี้ได้กล่าวคำนี้ขึ้นมาเป็นคาถาเนี่ย คำนั่นหมายความว่าอย่างนั้น คำนี้หมายความอย่างอย่างนี้ รวมทั้งหมดถ้อยคำนี้ท่อนนี้เป็นวลีนี้ เป็นประโยคนี้ มีใจความสำคัญว่าอย่างไร อะไรต่ออะไรท่านก็อธิบายไป ฉะนั้นการที่จะอ่านชาดกได้เข้าใจ ก็เลยจะต้องอ่านอรรถกถาชาดก ที่เราเรียกเป็นภาษาบาลีเรียกว่า ชาตกัฏฐกถา (???นาทีที่ 10.12 ) ชาดกที่เราเรียนกันฟังกันก็มาจากอรรถกถา เพราะเอาจากพระไตรปิฎกโดยตรงมาเล่าฟังกันไม่รู้เรื่อง มีแต่คำสนทนาโต้ตอบ ไม่รู้เรื่องไปมาอย่างไรอย่างเรื่องที่เฝ้าสวนอย่างเนี่ย ถ้าไปอ่านในนั้นก็ เอ้อ ทำไมคนนี้พูดอย่างนี้ คนนี้พูดว่าอย่างนี้ ก็ไปอ่านในอรรถกถาก็รู้เรื่องราวหมด นี้ก็เลยความสำคัญในอรรถกถา ก็มาอธิบายชาดกนั้นอีกต่อหนึ่ง นี้ก็ให้รู้เข้าใจว่าชาดกที่เราฟังกันเนี่ยตามปกติก็คือฟังตามอรรถกถาเล่ามา ทีนี้อีกข้อหนึ่งที่ว่าเป็นความรู้สำคัญเมื่อกี้บอกว่าพระโพธิสัตว์ตอนนั้นก็คือยังไม่ตรัสรู้ ท่านไปเกิดอยู่ก็เท่ากับว่าพูดง่ายๆ เป็นตัวละครอยู่ในแต่ละเรื่อง และก็เป็นผู้กล่าวคาถาโต้ตอบ หรือแม้แต่สั่งสอน หรือให้คติอะไรต่างๆในนั้น นี้คำของท่านนี้ก็บางครั้งก็เป็นฤาษี บางท่านก็แม้แต่เป็นสัตว์เดรัจฉาน แล้วแต่เรื่องราวในนั้น ก็กล่าวมาก็ถือว่าเป็นภาษิต นี้ก็ภาษิตเหล่านี้ ที่ตัวละครแม้เป็นพระโพธิสัตว์กล่าวเนี่ยก็ต้องรู้จักแยก คือพระพุทธเจ้าเมื่อทรงเล่าเรื่องเหล่านี้ ก็ตรัสเล่าตัวละครตัวนี้พูดอย่างนี้ ตัวละครตัวนั้นพูดว่าอย่างนั้น ตัวละครที่เป็นพระโพธิสัตว์ว่่าอย่างนี้ เสร็จแล้วบางครั้งพระองค์ก็ตรัสแถม ต้องเข้าใจว่า พระองค์ในที่นี้ก็คือพระองค์ผู้เล่าละ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตรัสสอนเป็นคติในเรื่องนี้อีก จะเรียกว่า (??? นาทีที่ 12.23) หรือว่ารวมความที่เป็นจุดยอดของเรื่องนี้ อะไรนี้ คำตรัสอันนี้อรรถกถาจาร์ยท่านสอนให้รู้จักแยกออกมา ไม่ใช่เป็นคำพูดของตัวละคร ตัวละครแม้แต่เป็นพระโพธิสัตว์กล่าวไว้ในคาถานั้น ก็ยังไม่ถือเป็นตัวสำคัญแท้ ทีนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าและพระองค์ตั้งขึ้นมาอีกทีหนึ่ง ในฐานะที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นผู้เล่าเรื่อง อันนี้ท่านให้รู้จักแยก อันนี้เป็นคำที่ตรัสเมื่อตรัสรู้แล้ว อันนี้จึงถือเป็นสำคัญได้ว่า ออ นี้เป็นพุทธพจน์ อรรถกถาจาร์ยท่านเรียกว่า อภิสัมพุทธคาถา ได้แยกออกมาจากคาถาที่มีในชาดก เพราะฉะนั้นก็ให้เป็นจุดสังเกต เวลาเราอ่่านชาดกศึกษาชาดก เราก็รู้ว่า โอ อันนี้นะเป็นอภิสัมพุทธคาถา เป็นคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อเล่าเรื่องนี้ แต่พระองค์ไม่ได้อยู่ในเรื่อง ไม่ได้เป็นตัวละคร พระองค์ตรัสคาถานี้ในฐานะผู้เล่าที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ที่ว่าอรรถกถาท่านใช้คำว่าอภิสัมพุทธคาถา อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่ควรจะรู้จักแยกออกมา อันนี้ก็เป็นเกล็ดความรู้ สำหรับวันนี้เช่นอย่าง เรื่องหนึ่งที่เคยเล่าแล้วแต่ว่าวันนี้นึกตัวคาถาไม่ค่อยออกเอามาเล่าให้เป็นตัวอย่างแล้วไปค้นเอาเอง ที่เคยเล่าอะไร ว่าที่เกาะแห่งหนึ่ง มีคนอยู่กันก็มีคนมากมายก็เลยมีหัวหน้า หัวหน้า(??? นาทีที่ 14.26) ไม่รวมกันหมดก็เลยแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งก็เป็นฝ่ายที่จะเรียกว่าเป็นหัวหน้าเป็นผู้้ร้ายก็ได้ แล้วก็อีกฝ่ายหนึ่งอีกกลุ่มหนึ่งหัวหน้าก็คือพระโพธิสัตว์ อยู่กันมา อยู่กันมาวันหนึ่งมีเทวดามาบอกข่าวมาสำแดงตนแจ้งให้ทราบ ว่านี้นะต่อไปอีกสักเท่านั้นเดือนจะสามเดือนหรือกี่เดือนจำไม่ได้แล้วไปอ่านเอา ก็จะเกิดน้ำทะเลมาท่วมเกาะนี้เป็นน้ำท่วมใหญ่ครั้งใหญ่มาก เรียกว่าหมดละเกาะนี้เลย อันนี้ก็เป็นการแจ้งข่าว แต่สมัยนี้ก็จะเทียบเทคโนโลยีพิเศษว่าบอกข่าวให้ทราบนะ ให้เตรียมตัวไว้ ทีนี้ก็คนสองกลุ่มนี้ก็มีกลุ่มละหัวหน้า หัวหน้ากลุ่มหนึ่งก็บอกลูกน้อง บอกเกาะนี้เราอยู่กันมากี่ชั่วคนแล้ว บรรพบุรุษ ไม่มีหรอกเรื่องที่น้ำมันจะท่วม อยู่กันไปดูสิไม่มีหรอก เราก็อยู่กันตามสบายนี้แหละและก็สนุกสนาน (??? นาทีที่ 15.52) เฮฮากันไป กินเหล้าเมายากันไปเรื่อยๆ ทีนี้อีกกลุ่มหนึ่งนั้นที่ว่าหัวหน้าเป็นพระโพธิสัตว์ท่านก็พิจารณาดู ใช้ปัญญาไตร่ตรองว่าไม่ควรประมาท ก็เตรียมการไว้ก็เลยชวนคนในกลุ่มนั้นที่มีฝีมือมาต่อเรือกัน ต่อเรือใหญ่ ไม่รู้ว่านิทานนี้มาอย่างเดียวกับโนอาห์หรือเปล่า นี้แหละ นี้ก็พระโพธิสัตว์ก็เป็นช่างและเป็นผู้นำก็ต่อเรือใหญ่มาก(??? นาทีที่ 16.28) ที่จุคนหมดที่อยู่บนเกาะนั้นก็อาจจะต่อเฉพาะเท่าที่ตกลงว่าจะไปด้วย จนสำเร็จก็ทันการพอถึงวันเวลาที่เทวดาบอกไว้ก็มีลมพายุใหญ่มากัน น้ำก็ขึ้นเอ่อมาอย่างรวดเร็ว แล้วในที่สุดก็ท่วมเกาะนั้น พระโพธิสัตว์นั้นก็เตรียมเรือไว้แล้วก็พาคนในกลุ่มนั้นขึ้นเรือก็เลยรอดตายกันทั้งหมด ฝ่ายว่าอีกกลุ่มหนึ่งอีกหมู่หนึ่ง หมู่ใหญ่ที่มีความประมาทกิน มัวแต่สนุกสนาน กินเหล้าเมายาอะไรต่ออะไรก็ตายหมด เป็น(ทัก ษา อะ รา ทะ ตำ) ไป อันนี้ก็เป็นตัวอย่าง ทีนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสก็มีถ้อยคำอะไรต่างๆ ของตัวละครในชาดก แล้วก็ตอนท้ายก็มีคาถาที่เราเรียกว่าอภิสัมพุทธคาถาที่พระองค์ตรัสเอง อันนี้ก็จำไม่ได้แล้วเพราะว่าไม่ได้ดูมาหรอก ให้เอาไปค้นเอาเอง (???นาทีที่ 17.45) จะตรัส อนาคะตัง ปฏิกะยิราถะ กิจจัง (มา มัง กิจ จา กา เร พะ ยะ เท สิ) ทำนองนี้ ก็บอกว่าพึงเตรียมทำกิจสำหรับอนาคตให้พร้อมไว้ก่อน อย่าให้กิจนั้นบีบคั้นตนเมื่อถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้า พอถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้าไม่ทันซะแล้ว บีบคั้นตัวแย่ไปเลย ฉะนั้นต้องไม่ประมาท อันนี้ก็คือลักษณะความไม่ประมาทอย่างหนึ่ง มีเรื่องอะไรที่ต้องทำไว้สำหรับอนาคตก็ต้องทำให้พร้อมไว้ เพราะว่าเมื่อก่อนก็มาเล่าไว้ทีหนั่งในเรื่องที่ว่าอยู่กับปัจจุบัน เมื่อก่อนที่พูดทีนึงละในทำนองนี้ (??? นาทีที่ 23.24) จะเข้าใจผิดคำสอนอยู่กับปัจจุบันเลยเป็นฝ่ายหัวหน้าชาวเกาะนั้นที่เป็นพาล ที่เป็นพาลก็อยู่กับปัจจุบันแต่เป็นปัจจุบันที่ไม่ถูกต้อง บอกแล้วบอกว่าจิตอยู่กับปัจจุบัน ปัญญา ปัญญาไม่มีจำกัดในกาล ปัญญาต้องรู้หมดอดีต อนาคตปัจจุบัน ท่านตรัสสำหรับจิต จิตอยู่กับปัจจุบัน แต่ปัญญานี้ไม่มีกั้น ปัญญานี้ต้องรู้หมด อดีต ปัจจุบัน อนาคต และก็มาทำที่ปัจจุบัน ทำในอดีตมันก็ไม่ได้ ทำอนาคตได้มั้ย มันก็ไม่ได้ ก็ทำในปัจจุบัน จิตอยู่กับปัจจุบันก็ทำกับปัจจุบัน แต่ด้วยปัญญาที่รู้หมด รู้อดีต รู้ปัจจุบัน รู้อนาคต อย่าไปเข้าใจผิด พอบอกว่าให้อยู่ พระพุทธเจ้าสอนให้อยู่กับปัจจุบันก็เลยไม่เอาเรื่องเอาราวอะไรละ เนี่ยผิดมากต้องทำความเข้าใจถูกต้อง ต้องแยก หรือจิตเนี่ยถ้าไปวุ่นวายกับเรื่องอดีตก็เศร้าสร้อย ละห้อยโหยหา และก็ไปวุ่นกับอนาคตก็เป็นฝันเพ้อ(???นาทีที่ 20.05) ครวญ อะไรต่ออะไรเนี่ย ไร้สาระ จิตอันนั้นละก็จิตก็เลยถูกบีบคั้น ไม่ดี จิตนี้อยู่กับปัจจุบัน แต่ปัญญาเนี่ยเป็นความรู้ ความรู้นี้มันโยงไปที่ความจริง มันไม่เข้าใครออกใคร มันเป็นความสว่าง ฉะนั้นอย่่าไปจำกัดมันนะ ปัญญานี้ ปัญญาต้องรู้แจ่มแจ้ง รู้ความจริงนี้ พระพุทธเจ้ามีทั้งปุพเพนิวาสานุสติญาณ บอกให้อยู่กับปัจจุบันนั่นแหละ แล้วพระพุทธเจ้ารู้พระอดีตแต่ไม่รู้เท่าไหร่ชาติใช่ไหม ปุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วมีอตีตังสญาณ ปัจจุปปันนังสญาณ อนาคตังสญาณ มีพระญาณทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต มีครบหมดแล้ว ถ้าด้านปัญญาแล้วก็ไปดูเถอะ เรื่องต้องโยงอดีต เราไม่รู้อดีตจะมาโยงเหตุปัจจัยถึงปัจจุบันได้ยังไงใช่ไหม ก็ต้องรู้อดีตสิ ท่านบอกว่าเรื่องของปัญญาเนี่ยที่สำคัญมากคือรู้เหตุปัจจัย เรื่องปัจจยาการ อะไรต่ออะไรเหล่านี้ เพราะฉะนั้นอย่าไปเข้าใจผิด เดี่ยวไปบอกว่าอยู่กับปัจจุบันแล้ว ไม่เอาแล้ว เลยกลายเป็นหัวหน้าชาวเกาะที่โดนน้ำท่วมตายหมดเลย ดูให้ดีนะอยู่กับปัจจุบันไม่เป็นละก็ ก็เลยถูกน้ำทะเลท่วมตายหมด นี้เป็นคติสอนใจไว้ เอานะ เอาเป็นว่าปัญญาไม่มีจำกัด รู้ต้องรู้ทั่วรอบตลอดจบสิ้นและก็เลยวันนี้มาอยู่กับเรื่องชาดก ก็ให้เข้าใจชาดกว่านี้เป็นตัวอย่างของที่เรียกว่าอภิสัมพุทธคาถา คาถาที่ตรัสเมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว เป็นตอนที่พระองค์ตรัสเล่าเรื่อง ย้ำอีกทีว่าในชาดกก็มีคำของตัวละครทั้งผู้ร้ายและก็พระเอกและก็ตัวประกอบทั้งหมด และก็บางครั้งพระพุทธเจ้าก็ตรัสเพิ่มเข้าไปเป็นคำสอนคติธรรมพิเศษเรียกว่าอภิสัมพุทธคาถา ถ้าแยกได้อย่างนี้ละก็จะได้ปฏิบัติต่อชาดกถูก ไม่ใช่ไปนึกว่าสิ่งที่พระโพธิสัตว์ทำแล้วคือถูกต้องหมด พระโพธิสัตว์ก็ยังไปเป็นเที่ยวเป็นฤาษีชีไพร ไปบำเพ็ญฌาณสมาบัติอยู่แค่นั้นแล้วก็ไม่ถูกแล้ว แล้วก็ไปกล่าวอะไรต่ออะไรบางทีก็กล่าวไปตามยุคสมัย ต้องแยกให้ถูกถ้าศึกษาไม่เป็นละก็วุ่นวายจับจุดไม่ได้ วันนี้ก็บอกไว้ว่าพูดเกร็ด พูดความรู้สั้นๆ ก็เห็นจะพอเท่านี้ก่อน ก็ขออนุโมทนา เอาหละ